๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น
๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น เสฐียรพงษ์ วรรณปก
กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์มติชน ๒๕๕๘
๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น • เสฐียรพงษ์ วรรณปก พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, เมษายน ๒๕๕๘ ราคา ๑๐๕ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม เสฐียรพงษ์ วรรณปก. ๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๑๐๔ หน้า. ๑. ศาสนา. I. ชื่อเรื่อง. ๒๐๐ ISBN 978 - 974 - 02 - 1400 - 7 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : สุพรรณี สงวนพงษ์ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ ภาพปกและภาพประกอบ : TurquoiseTing • ออกแบบปก : ประภาพร ประเสริฐโสภา ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
ส า ร บั ญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน
๘ ๑๐
พุทธ-เซ็น-เต๋า-ขงจื๊อ พระพุทธศาสนา เซ็น เต๋า-ขงจื๊อ
๑๗ ๑๗ ๒๐ ๓๑
๙ พุทธ ๑. ธิดาช่างหูกนิรนามผู้เฉียบแหลม ๒. กินของเก่า ๓. ยาฟื้นคืนชีพ ๔. ท�ำอย่างไรเมื่อถูกด่า ๕. ผู้มีศีลฉันอย่างไร ๖. รักใดไหนเล่าจะเท่ารักตน
๓๙ ๔๐ ๔๔ ๔๖ ๔๙ ๕๑ ๕๓
๗. ปัญหาโลกแตกตอบไปก็เท่านั้น ๘. คนขันคว�่ำ ๙. จอมปลวกประหลาด
๕๕ ๕๗ ๕๙
๙ เต๋า ๑. ใครผิดปกติกันแน่ ๒. จะเลือกอย่างไหน ๓. ที่สะอาดเสือกท�ำเปื้อน ๔. เลี้ยงลูกให้เป็นปราชญ์ ๕. ร้ายกว่าเสือ ๖. ตายแล้วยังท�ำให้คนยึดติด ๗. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ๘. อมตพจน์ของขงจื๊อ ๙. กฎเกณฑ์ของการเป็นคนดี
๖๓ ๖๔ ๖๖ ๖๘ ๗๐ ๗๓ ๗๕ ๗๗ ๗๙ ๘๑
๙ เซ็น ๑. ชาล้นถ้วย ๒. ยังงั้นรึ ๓. คุณยังไม่วางอีกหรือ ๔. เซ็นทุกนาที ๕. นอนกลางวัน ๖. ผิดกับถูก ๗. ต่างคนต่างเงียบ ๘. ความเจริญสุขที่แท้จริง ๙. นอนซะ
๘๕ ๘๖ ๘๗ ๘๙ ๙๐ ๙๑ ๙๒ ๙๔ ๙๖ ๙๘
๑๐๐
เกี่ยวกับผู้เขียน
คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์
ผลงานคัดสรรของ “ศาสตราจารย์พเิ ศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก” ปราชญ์เมธีทางพระพุทธศาสนาของไทยเล่มนี ้ ได้รวบรวมเรื่องเล่าที ่ แฝงนัยระหว่างบรรทัดอย่างละ ๙ เรื่องจากศาสนาและค�ำสอนส�ำคัญ ได้แก่ พุทธ เต๋า-ขงจื๊อ และเซ็น มีผู้ให้ความหมายต่อศาสตร์ทั้งสามไม่เหมือนกัน บ้างว่า พุทธ คือหนทางสู่ความหลุดพ้น บ้างว่า เต๋า-ขงจื๊อ เป็นปรัชญา-จริยธรรมในการด�ำเนินชีวิตที่ กลมกลืนไปกับธรรมชาติ บ้างว่า เซ็น เน้นการปฏิบัติ พุ่งตรงสู่ความจริง เป็นความว่าง เปล่า ความเป็นพุทธ เต๋า-ขงจือ๊ และเซ็นอาจต่างกันไปในรายละเอียด 8 เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หากกล่าวโดยรวม ผู้ศึกษามักพบว่า ศาสตร์ทั้งสามเป็นการพามนุษย์ ไปสู่ “ความรู้แจ้ง” ทั้งสิ้น ความหมายแท้จริงของทั้งสามศาสตร์อาจไม่อยู่ในหนังสือเล่ม นี้เลยก็ได้ เพราะอาจารย์เสฐียรพงษ์เป็นเพียงผู้ท�ำหน้าที่น�ำสารเพื่อ เป็น “เครื่องบอกทาง” ให้ผู้อ่านได้มุ่งตรงไปสู่เป้าหมายของการด�ำรง ชีวิตที่แต่ละคนตั้งเอาไว้ ๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น เป็นเรือ่ งเล่าอ่านง่าย สัน้ ๆ จบในตอน อ่านครั้งแรกให้ความหมายหนึ่ง ครั้งที่สองอาจเป็นอีกความหมาย ครั้งที่สามอาจพบรายละเอียดเล็กๆ ที่ไม่ทันได้สังเกต หากต้องการความหมายที่ลึกซึ้ง จึงต้องทบทวนและลองน�ำ เอาไปใช้ ต้องพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง ส�ำนักพิมพ์มติชน
๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น 9
คํ า นํ า ผู้ เ ขี ย น
๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น เล่าเรื่องพุทธศาสนาโดยย่อ พูดถึง “อริยสัจ ๔” ที่ชี้เป้าหมายแห่งชีวิตและแนวทางบรรลุ เป้าหมายนั้น ตลอด ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้าทรงอุทศิ พระวรกายเพือ่ สัง่ สอน คนเพื่อเป้าหมาย ๓ ระดับ คือ ระดับต้น เป็นระดับที่พระสั่งสอน ผู้ ที่ต้องการชีวิตฆราวาส เพื่อความสุขอย่างผู้ครองเรือนอย่างไรจึงจะ ส�ำเร็จตามความมุ่งหมาย ระดับกลาง ไม่เพียงสอนให้พึ่งตัวเองทาง วัตถุเท่านั้น ทรงสอนให้พัฒนาชีวิตให้งอกงามด้วยคุณธรรมต่างๆ เช่น มีศีลศรัทธาที่ถูกต้อง เป็นต้น ระดับสูง ส�ำหรับผู้ต้องการหลุด พ้นจากความทุกข์ ก็ทรงสอนให้ลด-ละ-เลิกกิเลสอาสวะทั้งหลาย เซ็น หรือ ฉาน ซึ่งเพี้ยนมาจากค�ำเดิมในภาษาสันสกฤตว่า 10 เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ธฺยาน ผมชอบเขียนเซ็นมากกว่า เพราะตรงกับค�ำว่า zen ซึ่งออก เสียงกระชับกว่า เซ็นเกิดขึ้นเมื่อใดไม่ทราบ ทราบแต่ว่าพระอินเดียรูปหนึ่งชื่อ โพธิธรรม เดินทางไปประเทศจีน เมื่อสมัยพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่ ซึ่งคน จีนเรียกว่า “ตั๊กม้อ โจวชือ” ท่านได้วางรากฐานพระพุทธศาสนานิกาย เซ็นไว้มั่นคง เต๋า-ขงจื๊อ ว่าตามหลัก ๒ อย่างนี้มิใช่ศาสนา หากเป็นเพียง “ลัทธิ” ตามหลักวิชาที่จะเรียกว่า “ศาสนา” ได้ ต้องประกอบด้วยองค์ ประกอบ ๓ ประการ คือ (๑) จะต้องมีหลักค�ำสอนระดับศีลธรรม (๒) จะต้องมีค�ำสอนระดับปรมัตถ์ เป้าหมายสูงสุดของชีวิต (๓) จะ ต้องมีพิธีกรรมที่ประกอบตามความเชื่อในศาสนานั้น เรื่องเล่าที่น่าสนใจมีมากมาย แต่ที่อยากคัดเลือกมาให้ผู้อ่าน ได้รับรู้ก็มีอย่างเช่น... พุทธ... กินของเก่า เศรษฐีเห็นพระภิกษุมาบิณฑบาต ยืนอยู่ที่หน้า บ้าน เศรษฐีแกล้งไม่เห็น หันข้างให้พระภิกษุ นางวิสาขาจึงค่อยๆ ถอยออกไปพูดกับภิกษุรูปนั้นให้ดังจนบิดาสามีได้ยิน “พระคุณเจ้า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด บิดาของดิฉันก�ำลังกินของเก่า” เศรษฐีได้ยินดังนั้น ไฟออกหูเลย หาว่าลูกสะใภ้ดูถูกตนว่า “กินของเก่า” จึงไล่นางออกจากตระกูลของตน พราหมณ์ ๘ คนที ่ เศรษฐีพ่อของนางวิสาขาสั่งให้มาดูแลนางได้ทำ� การสอบสวนเรื่องราว ๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น 11
เรียกทั้ง ๒ คนมาสอบถาม นางวิสาขาอธิบายว่า นางมิได้ดูถูกบิดาสามีว่า “กินของเก่า” (กินอุจจาระ) แต่ค�ำของนางหมายถึงว่า บิดาสามีของนางได้เกิดเป็น เศรษฐีทุกวันนี้เพราะ “บุญเก่า” ที่ท�ำไว้แต่ปางก่อน แต่เศรษฐีมิได้ สร้างบุญใหม่เลย ท่านเศรษฐีจึงได้ชื่อว่า “กินของเก่า” พราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ตัดสินว่า นางวิสาขาไม่ผิดและเศรษฐีก็ให้ อภัยนาง ไม่ส่งนางกลับตระกูลเดิมต่อไป แถมยังหันมานับถือพระ พุทธศาสนาตามนางอีกด้วย เต๋า-ขงจื๊อ... ร้ายกว่าเสือ ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ ได้ยินเสียง สตรีนางหนึ่งร้องไห้น่าเวทนาจึงให้ลูกศิษย์ชื่อ จื๊อกุง ไปถามว่ามี ทุกข์อะไร นางกล่าวว่า น้าชายของฉันถูกเสือกัดตายไม่นานมานี้เอง ต่อมาวันนี้ สามีของฉันก็ถูกเสือกัดตายอีกคน จื๊อกุงถามว่า ท�ำไม ไม่ย้ายไปอยู่ที่อื่น นางกล่าวว่า “ฉันย้ายไม่ได้” “ท�ำไมล่ะ” “ก็ที่นี่ไม่มี รัฐบาลกดขี่ข่มเหงนะสิ” เมื่อจื๊อกุงไปเล่าให้อาจารย์ฟัง ขงจื๊อผู้เป็นอาจารย์ได้กล่าวว่า “พวกเจ้าจงจ�ำไว้เถิด รัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชนร้ายกว่าเสืออีก” เซ็น... นอนซะ โบสถ์สร้างไม่เสร็จ ลูกศิษย์ลูกหาไปเยี่ยมไข้ บ่นกับ ศิษย์ว่า “ถ้าแกตายไปแล้วใครจะดูแลวัด ใครจะมาสร้างโบสถ์ต่อให้ เสร็จ” ลูกศิษย์จึงดุว่า “นอนเสียเถอะ หลวงตาแก่” 12 เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เรื่องอย่างนี้มองได้หลายแง่ สมภารมีความรับผิดชอบ ขนาด ป่วยยังไม่ค�ำนึงถึงอาการเจ็บไข้ของตัวเอง ซักถามเรื่องราวภายในวัด กับศิษย์ด้วยความเป็นห่วง นี้เป็นตัวอย่างของผู้บริหารรับผิดชอบงาน มองได้ว่า สมภารท�ำไมมาห่วงเรื่องวัตถุสิ่งปลูกสร้างมากกว่า เรื่องของศาสนา ของจิตใจ ควรจะแสดงความห่วงใยว่า ตนตายไป แล้วจะมีใครสั่งสอนธรรมสืบแทน มองลึกลงไปอีก มิใช่การยึดติดในวัตถุเท่านั้นที่ควรปล่อย วาง แม้เรื่องนามธรรม เช่น เรื่องธรรมะ ศาสนา ก็ไม่ควรยึดติดด้วย เพราะท�ำให้ใจทุกข์ได้เช่นกัน มองให้ลึกลงไปอีก คนอยู่ในอ�ำนาจนานๆ มักจะลืมตัว นึกว่า ไม่มีตนแล้ววัดจะอยู่ไม่ได้ เป็นความยึดติดในอัตตาอย่างแรง บวช เรียนมาจนเป็นสมภารยังไม่เข้าใจหลักไตรลักษณ์แม้แต่น้อย เสฐียรพงษ์ วรรณปก ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น 13
๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น
พุทธ - เซ็น - เต๋า - ขงจื๊อ
ในหนังสือเล่มนี้เลือกสรรนิทานแทรกความคิดจากพระพุทธ ศาสนาดั้งเดิม (เถรวาท) พระพุทธศาสนานิกายเซ็น และจากลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อมาเล่าให้ฟัง เพื่อความเพลิดเพลินและเป็นเครื่องลับ สมอง พัฒนาปัญญา เพือ่ ให้เห็นภาพรวมของศาสนาและลัทธิดงั กล่าว ผมขอเล่าโดยสรุปดังต่อไปนี้
พระพุทธศาสนา
เกิดขึน้ ด้วยการตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้า เมือ่ พระองค์ตรัสรูแ้ ล้วก็ เสด็จไปแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ แสดงแนวพัฒนาตนให้สมบูรณ์ และแสดงภาระหน้าที่ที่ผู้บรรลุเป้าหมายสูงสุดแล้วพึงปฏิบัติ เพื่อ ประโยชน์สุขแก่ชาวโลก ๙ พุทธ ๙ เต๋า ๙ เซ็น 17
หลักอริยสัจ ๔ คือหลักที่ชี้เป้าหมายแห่งชีวิตและแนวทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้าทรงอุทิศพระองค์ เพื่อสั่งสอนคนทุกหมู่เหล่า เพื่อเป้าหมาย ๓ ระดับ คือ ระดับต้น ใครที่ต้องการครองชีวิตแบบชาวบ้านทั่วไป ก็ทรง แสดงหลักธรรมส�ำหรับพัฒนาตน เพื่อให้พึ่งตนเองทางวัตถุได้ ให้มี ทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยสุจริต เพียงพอที่จะเลี้ยงตนเอง ครอบครัว คนที่ พึ ง เลี้ ย ง และที่ เ หลื อ ไว้ จุ น เจื อ สั ง คม สอนหลั ก ธรรมส� ำ หรั บ อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ระดับกลาง ไม่เพียงสอนให้พึ่งตนเองได้ทางวัตถุเท่านั้น หาก สอนให้พัฒนาตนเอง ให้งอกงามด้วยคุณธรรมต่างๆ เช่น มีศรัทธาที ่ ถูกต้อง ซาบซึ้งในบุญกุศล มั่นใจในการท�ำความดี มีความประพฤติ ที่สุจริตดีงาม มีความเสียสละและท� ำการสร้างสรรค์เกื้อกูลเพื่อน มนุษย์และสังคม ฯลฯ ละชั่วท�ำดี ท�ำประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์สังคมให้พร้อม ระดับสูง ส�ำหรับผู้ที่ต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์ ก็ทรง สอนให้ ล ด ละ เลิก ซึ่ง กิเ ลสอาสวะทั้ง หลาย บรรลุ พ ระนิพ พาน (ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล) อันเป็นเป้าหมายสูง สุดแห่งชีวิต ทรงสอนหลักแห่งการพึ่งตน ไม่ให้งอมืองอเท้ารอโชคชะตา หรือการดลบันดาลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทรงย�้ำเตือนว่า ถ้าความส�ำเร็จ มีได้ด้วยการร้องขออ้อนวอน มนุษย์ในโลกนี้คงไม่มีใครยากจนทุกข์ ร้อน เพราะอยากได้อะไรก็ร้องขอเอาได้ 18 เสฐียรพงษ์ วรรณปก