ตึกเก่า โรงเรียนเดิม

Page 1


ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


สารบัญ

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม

คำ�นำ�

(๗)

บทนำ�

โรงเรียนมิชชันนารีชาย-หญิงแห่งแรกในสยาม

กรุงเทพคริสเตียน-วัฒนาวิทยาลัย

๑๓

“คะเด็ตสกูล” จากมหาดเล็กไล่กาสู่

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

๒๙

ตึกกอลมเบต์ ของโรงเรียนอัสสัมชัญ หรืออาซมซานกอเล็ศ (Le Collège de L’Assomption)

๔๒

“ตึกยาว”

สวนกุหลาบวิทยาลัย

๕๗

อาคารพระพุทธเจ้าหลวง

โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

๗๐

โรงเรียนสตรีวิทยา กับพระกตัญญุตาในสมเด็จพระราชชนนี

๙๓


ตึกแม้นนฤมิตร

โรงเรียนเทพศิรินทร์

๑๐๙

เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โรงเรียนคาทอลิกหญิงในประเทศสยาม

๑๑๘

โรงเรียนราชินี อนุสรณ์ว่าด้วยอาคาร “สุนันทาลัย”

๑๓๑

วชิราวุธวิทยาลัย “อีตันแห่งสยาม”

และมูลเหตุแห่งตึกเรียนทรงสถาปัตยกรรมไทย

๑๔๙

ศึกษานารี โรงเรียนสตรีย่านฝั่งธนบุรี

๑๖๕

อาคารโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ที่กรมมหาดเล็กสร้างอุทิศถวายพระพุทธเจ้าหลวง

๑๗๗

จากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน กว่าจะเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

๑๘๘

โรงเรียนเผยอิง ตึกเก่าถิ่นเจ้าสัว

๒๐๔

อนุสรณ์ “ตึกแดง”

โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

๒๑๘

บรรณานุกรม

๒๓๐

(6)

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


คำ�นำ�

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม

“ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม” เป็นคอลัมน์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เพราะค�ำปรารภของคุณสุพจน์ แจ้งเร็ว ท่านบรรณาธิการ ที่ต้องการให้ ผู้เกี่ยวข้องได้เห็นความส�ำคัญของอาคารเรียนที่มีคุณค่าทางประวัติ ศาสตร์เพือ่ จะคงอนุรกั ษ์ไว้ในยุคต่อๆ ไป เพราะคุณค่าทางสถาปัตยกรรม เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของรากฐานที่แข็งแกร่งของระบบการศึกษาไทยใน ปัจจุบัน ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าและรวบรวมความส�ำคัญของ อาคารเรียนหลังเก่าเท่าที่ยังมีปรากฏให้เห็น โดยเริ่มต้นจากอาคาร สุนันทาลัยของโรงเรียนราชินีในครั้งนั้นเพื่อใช้ประกอบบทความประจ�ำ เล่มในเรื่อง “สมเด็จพระนางเรือล่ม” โดยไม่ได้คิดมาก่อนว่าเมื่อเขียน บทความชิ้นแรกแล้วเสร็จ จากโรงเรียนแห่งที่หนึ่งก็จะได้รับมอบหมาย ให้เขียนถึงโรงเรียนแห่งทีส่ อง สาม สี่ ตามมาอีกจนท้ายสุดมากถึง ๑๖ โรงเรียน และเป็นความเอื้อเฟื้อของส�ำนักพิมพ์มติชนที่เห็นคุณค่าของ “ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม” จึงได้รวบรวมบทความทัง้ หมดนัน้ มาจัดพิมพ์เป็น รูปเล่มดังที่ปรากฏอยู่นี้ ในฐานะผู้เขียนต้องขอสารภาพว่า บทความเหล่านี้ท�ำได้เพียง การหยิบยกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของโรงเรียนเท่าที่มีเอกสาร ปรากฏ แต่ในส่วนของค�ำบอกเล่าหรือความผูกพันในสถานศึกษาที่เกิด เป็นคุณค่าความประทับใจของศิษย์เก่าทัง้ หลายนัน้ ผูเ้ ขียนคงไม่สามารถ รวบรวมได้ครบถ้วนมากเท่าแรงปรารถนาของศิษย์เก่าทีต่ า่ งก็ลว้ นผูกพัน กับสถานศึกษาของตน จึงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ เพราะดังที่กล่าวมา ยุวดี ศิริ (7)


ตั้งแต่ต้น ว่าจุดมุ่งหมายเฉพาะของการบอกต่อเรื่องราวในโรงเรียน เดิมนั้นเป็นการบอกต่อเรื่องราวของตึกเก่าอันทรงคุณค่าซึ่งกลายมา เป็นรากฐานและสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่ส�ำคัญต่อสถานศึกษา แห่งนั้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในรุ่นต่อๆ มาได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้เป็นสมบัติ ทางการศึกษาของรุ่นต่อๆ ไป หนังสือเล่มนีส้ ำ� เร็จลุลว่ งลงได้ ผูเ้ ขียนใคร่ขอขอบคุณ คุณสุพจน์ แจ้งเร็ว ผู้จุดประกายให้ส่งผ่านคุณค่าของมรดกทางสถาปัตยกรรม ที่ส�ำคัญต่อรากฐานระบบการศึกษาไทย ขอบคุณ คุณธัชชัย ยอดพิชัย และคุณอพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ ที่ช่วยเหลือในการจัดหาภาพประกอบ และปรับปรุงเนื้อหาให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ส�ำหรับศิษย์เก่าของโรงเรียนเดิมหลายแห่งที่เอื้อเฟื้อข้อมูลที่มิอาจระบุ นามได้ทั้งหมด ท้ายสุดในฐานะที่ผู้เขียนเป็นเพียงผู้บอกต่อเรื่องราวในฐานะ ผู้ค้นคว้าคนหนึ่ง ด้วยมิได้เป็นผู้สัมผัสกับความผูกพันแห่ง “ตึกเก่าโรงเรียนเดิม” ได้เท่ากับผู้ที่ได้รับการประสิทธิ์ประสาทความรู้จากสถาน ศึกษาแห่งนั้นโดยตรง จึงอาจท�ำให้เรื่องราวบางส่วนขาดหายไม่ครบ ถ้วน ผู้เขียนไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ และขอน้อมรับความผิดพลาดนั้นไว้แต่ เพียงผู้เดียว และยินดีเป็นอย่างยิ่งหากหนังสือเล่มนี้สามารถท�ำให้ใคร อีกหลายคนได้หวนกลับไปร�ำลึกถึงสถานศึกษาที่ท่านผูกพันเมื่อครั้ง เยาว์วัยได้อีกครั้งหนึ่ง จะเพียงแค่เป็นการร�ำลึกนึกถึงหรือจะเพื่อกลับ ไปแสดงกตัญญุตาต่อสถานศึกษาทีไ่ ด้ประสิทธิป์ ระสาทความรูไ้ ม่วา่ ทาง ใดทางหนึ่งก็เป็นเรื่องที่สมควรยินดีได้เสมอกัน ยุวดี ศิริ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(8)

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


บทนำ�


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ด�ำเนินไปพระราชทานรางวัลนักเรียนที่โรงเรียนพระต� ำหนัก สวนกุหลาบทีส ่ อบไล่ได้เป็นครัง้ แรกเมือ่ วันศุกร์ที่ ๕ ขึน ้ ๑๒ ค�ำ่ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๗ มีพระราชด�ำรัสในที่ประชุมซึ่งมีข้อความ ส�ำคัญตอนหนึ่งว่า “...วิชาหนังสือเปนวิชาที่นับถือแลเปนที่สรรเสริญ มาแต่โบราณ ว่าเปนวิชาอย่างประเสริฐ...การต่อไปภายหน้า จะต้องเลือก ว่าผู้ใดไม่รู้หนังสือไล่ได้ตามสมควรแก่ที่ก�ำหนด ผู้นั้นจะเปนขุนนาง ไม่ได้เลย... บัดนี้ เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเปนลงไปตลอดจนถึง ราษฎรที่ตำ�่ สุดจะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าขุนนางว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึ่งขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อ ส�ำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้...” การศึกษาเล่าเรียนของไทยในอดีต คนไทยอาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง ในการศึกษา ทั้งการสอนให้อ่านออกเขียนได้ และการสอนวิชาช่างใน ด้านต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ไทยได้ท�ำการติดต่อกับชาติตะวันตก อย่างกว้างขวาง อันเป็นผลมาจากการท�ำสนธิสัญญาเบาริ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ และท�ำให้พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยทีจ่ ะศึกษาภาษาอังกฤษ เป็นอย่างมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๐๔ โปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างนาง แอนนา เลียวโนเวนส์ (Anna Leonowens) สตรีชาวอังกฤษมา เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา อันแสดงให้ เห็นว่าพระองค์ทรงเห็นความส�ำคัญของการศึกษาสมัยใหม่แบบตะวันตก รากฐานที่ส�ำคัญนี้เองที่ท�ำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะปฏิรูประบบการศึกษาของไทยให้ ทัดเทียมอารยประเทศ เพราะนอกจากจะเห็นความจ�ำเป็นที่จะต้อง ปฏิรปู ระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาของชาติตะวันตก แล้ว ก็พบว่ามีมูลเหตุที่ส�ำคัญอีกหลายประการ๑ ประการที่ ๑ เพราะภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติ ตะวันตก ทีเ่ ริม่ เข้ามาตัง้ แต่ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้า เจ้าอยู่หัว ครั้งนั้นพระองค์ทรงเตือนแก่ขุนนางข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้า เมื่อใกล้สวรรคต ความว่า “การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะ ยุวดี ศิริ 3


นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ครูฝรั่งวังหลวงที่รัชกาลที่ ๔ ทรงจ้างมาสอนภาษาอังกฤษ ให้กับพระราชโอรสและพระ ราชธิดา

ไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขา ได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่ อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว” ๒ ภัยคุกคามดังกล่าวส่งผลให้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงยินยอมท�ำ สนธิสัญญาให้สิทธินอกอาณาเขตแก่คนต่างชาติทั้งหลายที่อ้างว่าเพราะ ระบบกฎหมายและการศาลยุติธรรมของเราป่าเถื่อน ไม่ทันสมัย ฯลฯ จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องทรง ยินยอมเสียสละประโยชน์ส่วนน้อย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนใหญ่ของ ชาติไว้ ประการที่ ๒ การเผยแพร่อิทธิพลทางด้านความคิดตามแบบ ตะวันตกทั้งจากชาวยุโรปและอเมริกัน ที่ใช้วิธีการเผยแพร่แนวความ คิดผ่านลัทธิความเชื่อทางศาสนาและวิทยาการสมัยใหม่ โดยการตั้ง โรงเรียน การออกหนังสือพิมพ์ หรือการรักษาโรคตามวิชาการแพทย์ สมัยใหม่ การศึกษาที่ชาวตะวันตกจัดขึ้นนี้เองจะเป็นช่องทางชักจูงให้ 4

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


ความรู ้ ท างการแพทย์ สมัยใหม่จากตะวันตก เช่น หนังสือครรภ์ทรั กษาที่ หมอ บรั ด เลย์ แ ปลมาจากต� ำ รา ภาษาอังกฤษ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕

คนรุ่นใหม่ศรัทธาเลื่อมใสในความคิดแบบตะวันตก จนอาจเกิดผล กระทบอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์ต่อสังคมไทย ประการที่ ๓ การเสด็จพระราชด�ำเนินเยือนต่างประเทศของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในระยะที่ยังมีผู้ส�ำเร็จ ราชการ จนถึงการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ก็ได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการศึกษาอย่างส�ำคัญ ประการที่ ๔ ความต้องการบุคคลที่มีความรู้เข้ามารับราชการ ผลจากการปรับปรุงประเทศในหลายด้านท�ำให้เกิดความต้องการคน ที่จะเข้ามาด�ำเนินการ แต่ครั้นเมื่อจะด�ำเนินการให้การงานด้านต่างๆ ได้เจริญรุดหน้าไปอย่างทีต่ งั้ พระราชหฤทัยไว้ กลับปรากฏว่าไม่มบี คุ คล ที่มีความรู้ความสามารถมาสนองงานด้านต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ ยุวดี ศิริ 5


การปฏิรูประบบการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น ทรงด�ำเนิน การแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยทรงเริ่มจัดตั้งโรงเรียนหลวงและโรงเรียน สอนภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ตัง้ อยูภ่ ายในพระบรมมหาราชวัง โรงเรียนแห่งนีแ้ ตกต่างจากการเรียนแบบโบราณภายในวัด คือมีสถานที่ เล่ า เรีย นที่จัด ไว้ เ ฉพาะ มีฆ ราวาสเป็ น ครู แ ละท� ำ การสอนตามเวลา ที่ก�ำหนด ถัดมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนส�ำหรับทหาร มหาดเล็กขึ้น และขยายออกไปเป็นโรงเรียนส�ำหรับที่จะสอนพลเรือน ด้วยในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ณ พระต�ำหนักสวนกุหลาบ จนกระทัง่ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ จึงทรงจัดตัง้ โรงเรียนส�ำหรับราษฎร ขึ้นครั้งแรกที่วัดมหรรณพาราม ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรยังคงคุ้นชินว่า ลูกหลานของตนก็ยงั ได้รบั การศึกษาจากวัดดังเช่นแต่กอ่ น เพียงแต่มกี าร จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นกิจจะลักษณะ แต่เมื่อเริ่มขยายการศึกษาจากวัด มาสูร่ ะบบโรงเรียนให้ราษฎรเมือ่ เริม่ แรกนัน้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยูห่ วั ยังทรงประสบปัญหาหลายอย่างหลายประการ เริม่ ตัง้ แต่ แรกทีเดียวต้องท�ำความเข้าใจกับราษฎรว่า การจัดให้เด็กได้เล่าเรียนจะมี คุณประโยชน์อย่างไร ปัญหาใหญ่เบือ้ งต้นอยูท่ ตี่ อ้ งขจัดความหวาดกลัว ของพ่อแม่ เพราะมีข่าวลือว่าที่ทรงจัดตั้งโรงเรียนขึ้นนั้นเพื่อจับเอาเด็ก ไปเป็นทหาร จึงทรงต้องใช้พระราชกุศโลบายต่างๆ ที่จะชักจูงให้เด็กเข้า เรียนในโรงเรียน ถึงกับต้องพระราชทานสิทธิพิเศษ เช่น ทรงจ้างเด็ก เรียนบ้าง เด็กผู้ชายที่เล่าเรียนได้จบชั้นที่ก�ำหนดได้รับยกเว้นไม่ต้องสัก ข้อมือ ซึ่งหมายความว่าจะไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงมาท�ำราชการ เป็นต้น ดังประกาศพระบรมราชโองการ เรื่อง “ประกาศตั้งโรงเรียน” ความว่า ประกาศตั้งโรงเรียน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก่พระราชวงศา นุวงศ์ แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ในพระบรมมหาราชวัง แลพระราชวังบวรฯ กับทวยราษฎร์ทั้งปวงให้ทราบทั่วกันว่า ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชด�ำริเห็นว่า การ 6

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


โรงเรียนราษฎร์สมัยแรกๆ โปรดสังเกตเด็กนักเรียนก�ำลังหัดเขียนหนังสือลงบน กระดานชนวน (ค�ำบรรยายและภาพจาก กรุงเทพฯ ในอดีต. โดย เทพชู ทับทอง, ๒๕๑๘)

ครูและนักเรียนโรงเรียนสุนันทาลัย ปัจจุบนคือโรงเรียนราชินี (ภาพจาก ส�ำนักหอ จดหมายเหตุแห่งชาติ)

ยุวดี ศิริ 7


วิชาหนังสือเปนต้นทางของวิชาความรู้ทั้งปวง สมควรที่จะทะนุบ�ำรุง ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป เพราะคนในพื้นบ้านเมืองสยามเรานี้ ที่จนโต ใหญ่ไม่รู้หนังสือก็มีโดยมาก ที่รู้พออ่านได้เขียนได้แต่ไม่ถูกถ้วนนั้นก็มี โดยมาก เพราะโรงเรียนที่สอนวิชาตามแบบหลวงยังมีน้อยไม่พอกับผู้ที่ จะเล่าเรียน มีพระราชประสงค์จะให้พระราชวงศานุวงศ์และบุตร์หลาน ข้าราชการแลราษฎรทัง้ ปวงได้เล่าเรียนศึกษาหนังสือไทยให้รโู้ ดยละเอียด ตามแบบทีถ่ กู ต้อง จึงทรงเสียสละพระราชทรัพย์ออกตัง้ โรงเรียน แลจ้าง ครูสอนบ�ำรุงการเล่าเรียนสิ้นพระราชทรัพย์เปนอันมาก โรงเรียนซึ่งได้ โปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นแล้ว ตามพระอารามหลวงเปนแห่ง แลยังทรงพระ ราชด�ำริจะให้ตั้งโรงเรียนให้มีสำ� หรับพระอารามหลวงทุกๆ พระอาราม เพื่อจะให้บุตร์หลานของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้เล่าเรียนโดยสะดวก ไม่ ต้องเสียเงินทองอะไรเลย แลโรงเรียนส�ำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นแล้วที่พระต�ำหนักสวนกุหลาบแห่งหนึ่งยังจะตั้ง โรงเรียนส�ำหรับข้าราชการอีกแห่งหนึง่ พระราชด�ำริหข์ องพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้จัดการโรงเรียนทั้งปวงนี้ก็เพราะทรง พระมหากรุณาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน แลมีพระราชประสงค์จะให้วิชา หนังสือไทยรุ่งเรืองแพร่หลายเปนคุณแก่ราชการแลเปนความเจริญแก่ การบ้านเมืองยิ่งขึ้นไป บัดนีท้ รงทราบใต้ฝา่ ละอองธุลพี ระบาทว่า ราษฎรตืน่ เล่าฤๅกันว่า ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนั้น พระราชประสงค์จะเก็บเด็กนักเรียน เปนทหาร ผู้ที่จะส่งบุตร์หลานเข้ามาเล่าเรียนหนังสือก็มักจะพากัน หวาดหวั่นครั่นคร้าม ว่าบุตร์หลานจะต้องเปนทหารเปนอันมาก ที่พูด เล่าฤๅนี้เปนการไม่จริง ห้ามอย่าให้ผู้ใดพลอยตื่นเต้น เชื่อฟังค�ำเล่าฤๅ นี้เปนอันขาด คนที่ควรจะชักเปนทหารก็มีอีกพวกหนึ่งต่างหาก ไม่ต้อง ตั้งโรงเรียนเกลี้ยกล่อมเด็กมาเปนทหารเลย อนึ่งเด็กทั้งปวงนี้ก็แต่ล้วน เปนบุตร์หลานไพร่ฟา้ ข้าแผ่นดินทัง้ สิน้ ด้วยกัน ถ้าจะเก็บเอามาเปนทหาร เสียตรงๆ นั้นไม่ได้หรือ จะต้องตั้งโรงเรียนเกลี้ยกล่อมให้ลำ� บาก แล เปลืองพระราชทรัพย์ด้วยเหตุใด ผู้เล่าฤๅโจทย์กันอย่างนั้น เหมือนเปน คนไม่มกี ตัญญูไม่รพู้ ระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อัน 8

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


ทรงพระมหากรุณาทรงพระราชด�ำริห์จัดการจะให้เปนคุณเปนประโยชน์ แก่ประชาราษฎรทั่วไปในพระราชอาณาจักร ถ้อยค�ำของคนเช่นนั้น ใครๆ ไม่ควรจะเชื่อเอาเปนประมาณ ถ้า ใครมีบุตร์หลานอยากจะให้ได้เล่าเรียน ให้มีความรู้ส�ำหรับตัวก็ส่งเข้า เล่าเรียน ในโรงสอนทีใ่ กล้เคียงเขตร์บา้ นทีอ่ ยูน่ นั้ เถิด อย่าคิดหวาดหวัน่ ครั่นคร้ามด้วยข้อที่บุตร์หลานจะต้องติดเปนทหารนั้นเลย ประกาศมา ณ วันศุกร์ เดือน หก แรมสามค�่ำ ปีรกา สัปตศก ๑๒๔๗ เปนปีที่ ๑๘ หรือวันที่ ๖๐๑๖ ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ๓ เมื่อการจัดตั้งโรงเรียนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ก็ทรงจัดตัง้ หน่วยงานทีต่ อ้ งเข้ามารับผิดชอบอย่างจริงจัง ใช้ชอื่ ว่า “กรม ศึกษาธิการ” เพื่อรับผิดชอบการจัดการศึกษา ทั้งเรื่องหนังสือแบบ เรียนและการสอบไล่ รวมถึงการจัดตั้งโรงเรียนทั้งในกรุงเทพฯ และ ตามหัวเมืองต่างๆ จนเมื่อมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ จึงยกฐานะกรมศึกษาธิการขึน้ เป็น “กระทรวงธรรมการ” ในที่สุด ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงประวัติศาสตร์บางส่วนของระบบ การศึกษาไทยในยุคเริม่ ต้นของการปฏิรปู การศึกษาจาก “วัด” มาสูร่ ะบบ “โรงเรียน” แต่ในประวัติศาสตร์อีกด้านหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการ จัดตัง้ โรงเรียนในสมัยเริม่ ต้นก็คอื “อาคารเรียน” เมือ่ เรียนจากวัด ศาลา การเปรียญ กุฏิพระ ต่างก็สามารถใช้เป็นสถานที่เล่าเรียนได้ แต่เมื่อมี การจัดตัง้ โรงเรียนตามแบบตะวันตก สถานทีเ่ พือ่ ใช้ในการจัดการศึกษา จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น อาคารเรียนทีถ่ กู สร้างขึน้ จากยุคเริม่ ต้นระบบการศึกษาสมัยใหม่ ถูกเก็บรักษาไว้อย่างทรงคุณค่าได้จนถึงในปัจจุบัน หลายหลังเกิดขึ้น พร้อมกับการจัดตั้งโรงเรียน หลายหลังเกิดขึ้นในยุครุ่งเรือง และหลาย หลังมีประวัติความเป็นมาให้สืบเสาะเป็นความภาคภูมิใจ ฯลฯ ความ ส�ำคัญประการหนึง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดการคงอยูข่ องอาคารเรียนเหล่านีส้ ว่ นหนึง่ เป็นเพราะลักษณะของระบบอุปถัมภ์แต่เริม่ แรกเมือ่ มีการจัดตัง้ โรงเรียน ทั้งนี้เพราะการก่อสร้างอาคารเรียนจ�ำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์จ�ำนวนมาก ยุวดี ศิริ 9


ครูและนักเรียนโรงเรียนราชวิทยาลัย ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นโดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็น โรงเรียนท�ำนองปับลิคสกูลของอังกฤษ (ภาพจาก ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ลักษณะของการอุปถัมภ์จึงส่งผลต่อการอนุรักษ์อาคารเรียนเหล่านี้ใน เวลาต่อมา ซึ่งหากจะจัดแบ่งโรงเรียนตามลักษณะของผู้อุปถัมภ์ใน ระยะเริ่มต้นแล้ว ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้ ๑. โรงเรียนที่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรง อุปถัมภ์ อาทิเช่น โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (พ.ศ. ๒๔๑๓) โรงเรี ย นสวนกุ ห ลาบวิ ท ยาลั ย (พ.ศ. ๒๔๒๔) โรงเรี ย นมั ธ ยมวั ด เบญจมบพิตร (พ.ศ. ๒๔๔๓) โรงเรียนเทพศิรินทร์ (พ.ศ. ๒๔๔๔) โรงเรียนราชินี (พ.ศ. ๒๔๔๙) โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๕๓) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงเรียนข้าราชการพลเรือน) (พ.ศ. ๒๔๕๙) ๒. โรงเรียนที่คณะสงฆ์และมิชชันนารีให้การอุปถัมภ์ อาทิเช่น โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๓๙๔) โรงเรียนวัฒนา วิทยาลัย (พ.ศ ๒๔๑๗) โรงเรียนอัสสัมชัญ (พ.ศ. ๒๔๒๐) โรงเรียน เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ (พ.ศ. ๒๔๔๙) โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (พ.ศ. ๒๔๖๓) ๓. โรงเรียนที่ขุนนางข้าราชบริพารให้การอุปถัมภ์ อาทิเช่น 10

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


โรงเรียนจีนฮัวเอียะ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในตรอกกัปตันบุช ถนนเจริญกรุง โดย กลุม่ สมาคมตัง้ เม่งหวย เพือ่ สอนเด็กนักเรียนชาวจีนทีอ่ ยูใ่ นพระนคร (ภาพจาก ส�ำนัก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

โรงเรียนวัดบวรนิเวศ (พ.ศ. ๒๔๕๖) ๔. โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยสามัญชน ซึ่งภายหลังอยู่ในความ อุปถัมภ์ของกระทรวงธรรมการ๔ อาทิเช่น โรงเรียนสตรีวิทยา (พ.ศ. ๒๔๔๓) โรงเรียนศึกษานารี (พ.ศ. ๒๔๕๓) โรงเรียนเผยอิง (พ.ศ. ๒๔๕๙) โรงเรียนจ�ำนวนทั้งสิ้น ๑๖ โรงเรียนที่จะกล่าวต่อจากนี้ไป นอก จากจะมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ส�ำคัญตั้งแต่ในยุคเริ่มต้นของ ระบบการศึกษาสมัยใหม่แล้ว บริบทส�ำคัญที่ได้ถูกค้นคว้าและรวบรวม ขึ้นเฉพาะในครั้งนี้ก็คือที่มาของการก่อสร้างอาคารเรียน หรือ “ตึกเก่า” อันทรงคุณค่าที่ยังคงอยู่จนถึงในปัจจุบัน การล�ำดับบทความที่ผู้เขียนจะน�ำเสนอต่อไปนั้น ก็จะล�ำดับตาม ปีแห่งการสถาปนาสถานศึกษานั้นๆ มิได้เป็นการล�ำดับจากคุณค่าใน ประเด็นอื่นใดทั้งสิ้น เพราะคุณค่าที่ “โรงเรียนเดิม” เหล่านี้ก่อประโยชน์ ให้แก่ประเทศในการผลิตทรัพยากรบุคคลที่ส�ำคัญตั้งแต่ในอดีตจนถึง ปัจจุบันย่อมเป็นคุณค่าที่ต่างก็มีในข้อส�ำคัญที่แตกต่างกันไปซึ่งมิอาจ น�ำมาเทียบเคียงกันได้อย่างแน่นอน ยุวดี ศิริ 11


เชิงอรรถ ๑ ๗๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รำ�ลึกอดีต. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐, น. ๒-๕. ๒ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพา กรวงศมหาโกษาธิบดี ๓ “ประกาศตั้งโรงเรียน” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑. จ.ศ. ๑๒๔๖, น. ๑๖๕. ๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกโรงเรียนลักษณะนี้ว่า “โรงเรียนเชลยศักดิ์” หรือ “โรงเรียนมูลศึกษา” โดยโรงเรียนมูลศึกษานั้น มีด้วยกัน ๒ ประเภท คือ ประเภททีส่ อนหลักสูตรธรรมดา และประเภททีม่ กี ารสอนวิชาพิเศษเช่นภาษาจีน หรือภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ได้มีการจัดระบบการศึกษา เสียใหม่ มีการออกพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อวาง ระเบียบการปกครองโรงเรียนเชลยศักดิ์ให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน จึงเปลี่ยน มาใช้คำ�ว่า “โรงเรียนราษฎร์” แทนการเรียกแบบเดิมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

12

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


โรงเรียนมิชชันนารี ชาย-หญิงแห่งแรกในสยาม

กรุงเทพคริสเตียนวัฒนาวิทยาลัย


ศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามาเผยแผ่ในประเทศสยามนานแล้วตั้งแต่ ยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โปรตุเกสเป็นชนชาติแรกที่เริ่มเข้ามา เจริญสัมพันธไมตรีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๔ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๒๒๘ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งคณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสเข้ามา กรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นเริ่มมีโบสถ์คริสต์ศาสนา บ้านพักของชาว ต่างประเทศ ก่อสร้างขึ้นในย่านเดียวกันจนเกิดเป็นชุมชนของชาว ตะวันตกกระจายอยูใ่ นหลายแห่ง คนไทยเรียกชาวคริสต์หรือบาทหลวง ชาติตะวันตกที่มาเผยแผ่ศาสนาเหล่านี้ว่า “คริสตัง” หรือผู้นับถือ คริสต์ศาสนาในนิกายโรมันคาทอลิก การเผยแผ่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงคาทอลิกยังมีเรื่อยมา จนถึงในช่วงต้นรัชกาลที่ ๓ คณะมิชชันนารีจากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มเดินทางเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในประเทศสยามด้วยเช่นกัน แต่เป็นคริสต์ศาสนาในนิกายโปรเตสแตนต์ หรือที่คนไทยเรียกว่า “คริสเตียน” การเดินทางเข้ามาของคณะมิชชันนารีอเมริกันในยุคแรก นี้ส่วนใหญ่มักมีผู้ส�ำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์รวมอยู่ด้วย มิชชันนารี กลุ่มนี้จึงใช้วิชาการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามารักษาผู้เจ็บป่วยพร้อมทั้ง แจกยาและพระคัมภีรไ์ ปในคราวเดียวกัน ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้ชาวบ้านซึง่ ส่วนใหญ่ เป็นชาวจีนโพ้นทะเลได้หันมานับถือคริสต์ศาสนาตามอย่างตน แต่ด้วย ความที่มิชชันนารีส่วนหนึ่งเป็นหมอและใช้วิธีการแจกยาในการชักจูง ให้เกิดความสนใจต่อคริสต์ศาสนา คนไทยจึงนิยมเรียกมิชชันนารีกลุ่ม นี้ว่า “หมอสอนศาสนา” ดังนั้นที่เป็นหมอจริงๆ ก็มี เช่น หมอ บรัดเลย์ หมอเฮ้าส์ หรือที่ไม่ได้เป็นหมอ แต่คนไทยก็เรียกว่าหมอ เช่น หมอสมิธ หมอมะตูน เป็นต้น การเดินทางเข้ามาของมิชชันนารีคณะอเมริกนั เมือ่ เริม่ แรกได้พกั อาศัยอยูใ่ นถิน่ คนจีนย่านวัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์) จนกระทัง่ ในปี พ.ศ. ๒๓๗๘ เป็นปีที่หมอบรัดเลย์ได้เดินทางเข้ามา พร้อมกับน�ำเครื่องพิมพ์ เข้ามาใช้ อันเป็นการเริม่ ต้นด้านกิจการการพิมพ์ขนึ้ ในประเทศไทย โดย วัตถุประสงค์เพือ่ จะพิมพ์ใบปลิวและเอกสารต่างๆ ในการเผยแผ่ศาสนา และในช่วงเดียวกันหมอบรัดเลย์ก็ได้เปิดโอสถศาลาขึ้นเพื่อรับรักษา 14

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


อาคารก่ออิฐสูง ๓ ชั้น ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนวังหลัง นับเป็น อาคารที่ทันสมัยที่สุดใน พ.ศ. ๒๔๑๗

ผู ้ เ จ็บ ป่ ว ยแทนการตระเวนรัก ษาไปยัง ที่ต ่ า งๆ ในปี เ ดีย วกัน หลัง จากนั้นไม่นานเกิดข่าวลือว่ามิชชันนารีได้พูดจายุยงชาวจีนให้กระด้าง กระเดื่องต่อแผ่นดิน รวมไปถึงเหตุการณ์ที่มีฝรั่งซึ่งเป็นกัปตันนายเรือ สินค้ามาเยี่ยมบ้านมิชชันนารีและเมาสุราเข้าไปยิงนกพิราบในวัดเกาะ ท�ำให้เกิดปัญหากับพวกพระและเณร พระยาโชฎึก (ทองจีน) ผู้ดูแล ชาวจีนเกรงจะเกิดปัญหากับตน จึงมีค�ำสั่งให้คณะมิชชันนารีย้ายออก จากย่านวัดเกาะ ในที่สุดคณะมิชชันนารีจ�ำนวนหนึ่งที่มีหมอบรัดเลย์รวมอยู่ด้วย ก็ได้ยา้ ยไปอยูบ่ ริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาสอันเป็นทีด่ นิ ของเจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) โดยเจ้าพระยาพระคลังได้ปลูกเรือนให้เช่าเป็น เรือนไม้ขนาดใหญ่ ๒ หลัง๑ คิดค่าเช่าเดือนละ ๖๕ บาท๒ เมื่อคณะมิชชันนารีมีบ้านพักอาศัยที่เป็นหลักแหล่งและมีพื้นที่ ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ก็เริ่มมีแนวความคิดที่จะเผยแผ่ศาสนาควบคู่ไปกับ การให้การศึกษา โดยใช้ชนั้ ล่างของบ้านพักเป็นทีส่ อนหนังสือ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๐ แหม่มบรัดเลย์จงึ ได้เริม่ ต้นสอนหนังสือเด็กหญิงในละแวกทีพ่ กั ยุวดี ศิริ 15


บ้านพักมิชชันนารีในยุคแรกๆ โดยชัน้ บนจะใช้เป็นทีพ่ กั อาศัย ส่วนชัน้ ล่างและบริเวณ บ้านจะใช้เป็นที่สอนหนังสือ

อาศัย แต่ก็ยังไม่ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจัง ในระหว่ า งนั้ น มี ก ารเดิ น ทางเข้ า ออกประเทศสยามของคณะ มิชชันนารีอเมริกันอย่างต่อเนื่อง จวบจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ มี คณะมิชชันนารีที่ประกอบด้วย นายสตีเฟน แมททูน (Stephen Mattoon) (คนไทยเรียกว่า “หมอมะตูน”) และภรรยา (แหม่มมะตูน) และนายแพทย์ ซามูเอล เรย์โนลด์ส เฮ้าส์ (Samuel Reynolds House) (คนไทยเรียกว่า “หมอเหา”) และคณะอีกจ�ำนวนหนึง่ ได้เดินทาง เข้ามา หมอสอนศาสนากลุ่มนี้นี่เอง ที่ภายหลังเป็นผู้มีส่วนส�ำคัญต่อ การก่อตัง้ โรงเรียนมิชชันนารีเอกชนชายและหญิงแห่งแรกขึน้ ในประเทศ สยาม อันได้แก่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ และโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๑๗

16

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


การก่อตั้งโรงเรียนมิชชันนารีชาย จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนมิชชันนารีนั้น เริ่มขึ้นเมื่อภาย หลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระองค์มีพระบรมราชานุญาตให้คณะมิชชันนารี อเมริกนั ซือ้ ทีด่ นิ ได้ ๒ แปลง๓ โดยแปลงหนึง่ คือทีด่ นิ ด้านหลังวัดอรุณฯ ซึ่งคณะมิชชันนารีได้สร้างเป็นที่ท�ำการและบ้านพัก ในขณะเดียวกันก็ โปรดเกล้าฯ ให้แหม่มมิชชันนารี ๓ คน หนึง่ ในจ�ำนวนนัน้ คือแหม่มมะตูน เข้าไปสอนหญิงในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเริ่มสอนมีนักเรียน ๙ คน และเพิ่มขึ้นจนถึง ๓๐ คน แต่นอกจากที่สอนหนังสือในพระบรมมหา ราชวังแล้ว แหม่มมะตูนได้เริ่มต้นรวบรวมเด็กชายและหญิงที่อยู่รอบๆ บ้านมาสอนหนังสือ ให้ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับการด�ำเนินชีวิต จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ แหม่มมะตูนจึงเปิดโรงเรียนขึ้น อย่างเป็นทางการในหมู่บ้านมอญ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๕ ซึ่งเมื่อตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนก็จ�ำเป็นต้องมีระบบตามแบบตะวันตก คือ มีหลักสูตรและตารางสอนตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมต่อการ พัฒนาในด้านร่างกายและสติปัญญา ซึ่งข้อนี้เองที่ไม่เป็นที่คุ้นชินของ ชาวบ้านทั่วไป เด็กๆ พากันบ่นว่าเรียนยากไม่รู้จะเรียนไปท�ำไม ดังนั้น แหม่มมะตูนจึงจ่ายเงินให้เด็กทีม่ าเรียนเป็นค่าจ้างคนละ ๑ เฟือ้ ง๔ ต่อวัน ณ ขณะนั้นมีเด็กเรียนเมื่อเริ่มแรก ๘ คน แต่อกี เพียง ๑๗ วัน ถัดจากวันทีแ่ หม่มมะตูนเปิดโรงเรียนส�ำหรับ เด็กชาวมอญขึ้น ในวันที่ ๓๐ กันยายน นายแพทย์เฮ้าส์ หรือหมอเหา ก็เปิดโรงเรียนขึ้นอีกแห่งหนึ่งบริเวณข้างวัดอรุณฯ ส�ำหรับเด็กชาวจีน มีผู้มาเรียนเมื่อเริ่มแรกถึง ๒๗ คน แต่ถัดจากนั้นเพียง ๔ เดือน แหม่ม มะตูนก็ย้ายโรงเรียนที่หมู่บ้านมอญมารวมกับโรงเรียนของหมอเฮ้าส์ ที่ข้างวัดอรุณฯ อาคารเรียนในยุคเริ่มต้นของโรงเรียนมิชชันนารี ก็คือบ้านพักของมิชชันนารีนั่นเอง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๐๐ คณะมิชชันนารีได้เริ่มต้นที่จะก่อสร้าง วิหารเพือ่ ใช้เป็นทีป่ ระกอบศาสนกิจอย่างถาวร ในทีด่ นิ ทีพ่ ระบาทสมเด็จ ยุวดี ศิริ 17


อาคารเรียนของ “ส�ำเหร่บอยส์คริสเตียนไฮสกูล”

อาคารเรียนชุดแรกจ�ำนวน ๓ หลังของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ที่ถนนประมวญ โดยชั้นล่างจะใช้เป็นห้องเรียนและส�ำนักงาน ส่วนชั้นบนจะเป็นที่พักครูใหญ่ ครูต่าง ประเทศ และครูชาวไทย

18

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หมอมะตูน ซื้อไว้ได้ก่อนหน้านั้นที่ต�ำบลส�ำเหร่ ประกอบกับจ�ำนวนนักเรียนของ โรงเรียนมิชชันนารีที่ข้างวัดอรุณฯ มีจ�ำนวนมากขึ้น หมอเฮ้าส์จึงได้ ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ต�ำบลส�ำเหร่ และที่แห่งใหม่นี้เองที่โรงเรียนมีชื่อ ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ส�ำเหร่บอยส์คริสเตียนไฮสกูล” ในขณะทีก่ จิ การของส�ำเหร่บอยส์คริสเตียนไฮสกูลด�ำเนินไปด้วย ความมัน่ คง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงเปิดโรงเรียน แบบตะวันตกทีพ่ ระราชวังนันทอุทยาน ส�ำหรับพระเจ้าลูกยาเธอและบุตร ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ในราชส�ำนักเท่านั้น โดยมีนายแพทย์ ยอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์ (George B. McFarland) หรือภายหลังได้รับ การแต่งตั้งให้เป็น “พระอาจวิทยาคม” เป็นผู้อ�ำนวยการ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้สร้างโรงเรียนแบบ Public School เพื่อมุ่งให้นักเรียนที่จบจากโรงเรียนนี้ไปศึกษาต่อยัง ต่างประเทศ๕ ท่านผูอ้ ำ� นวยการเห็นว่าภารกิจทีไ่ ด้รบั มอบหมายนัน้ ล�ำพัง ท่านเพียงผู้เดียวที่จะจัดการโรงเรียนแผนใหม่ขึ้นในยุคนั้นคงเป็นเรื่อง ยากที่จะด�ำเนินการให้สู่จุดมุ่งหมายได้ ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางกลับ ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและเสาะหาผู้มาร่วมงาน และได้พบกับนาย จอห์น. เอ. เอกิน ้ (John. A. Eakin) จึงได้พากลับมาสอน ณ พระราช วังนันทอุทยาน หรือเรียกว่า “โรงเรียนที่สวนอนันต์” แต่ภายหลังเมื่อสอนไประยะหนึ่งมีเหตุให้โรงเรียนที่สวนอนันต์ จ�ำเป็นต้องย้ายไปตั้งยังโรงเรียนสุนันทาลัย๖ ที่ตั้งขึ้นใหม่บริเวณ ปากคลองตลาด นายจอห์น. เอ. เอกิ้น เห็นว่าการสอนหนังสือแต่เพียง ลูกท่านหลานเธอเท่านั้น ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแผ่ศาสนา จึงขอลาออกและมาตัง้ โรงเรียนชายขึน้ ทีต่ ำ� บลกุฎจี นี โดยได้เช่าโกดังเก็บ สินค้าซึ่งเคยเป็นของนายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter)๗ พ่อค้า ชาวอังกฤษ ซ่อมแซมเป็นโรงเรียนและที่พักโดยใช้ชื่อว่า “บางกอก คริสเตียนไฮสกูล” เมื่อเริ่มเปิดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ปรากฏว่ามีนักเรียนเพียง ๔ คน แต่จนถึงเดือนธันวาคมปีเดียวกัน โรงเรียนแห่งนี้ก็มีนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง ๕๐ คน ด้วยความสามารถของ ยุวดี ศิริ 19


นายจอห์น. เอ. เอกิน้ ผูก้ อ่ ตัง้ โรงเรี ย นบางกอกคริ ส เตี ย น ไฮสกูล ที่ต�ำบลกุฎีจีน และ เป็นผู้อ�ำนวยการคนแรกของ โรงเรี ย นกรุ ง เทพคริ ส เตี ย น เมือ่ ย้ายไปอยู่ ณ ถนนประมวญ

นายจอห์น. เอ. เอกิ้น ดังกล่าวคณะมิชชันนารีจึงรับโรงเรียนแห่งนี้มา อยู่ในอุปถัมภ์๘ ในขณะทีโ่ รงเรียนของคณะมิชชันนารีทตี่ �ำบลกุฎจี นี เจริญรุดหน้า แต่โรงเรียนมิชชันนารีที่ต�ำบลส�ำเหร่เริ่มประสบปัญหาขาดครูผู้สอน เพราะครอบครัวมิชชันนารีทสี่ อนหนังสืออยูเ่ ริม่ เดินทางกลับไปยังสหรัฐ อเมริกาเพราะปัญหาเรือ่ งสุขภาพ นายจอห์น. เอ. เอกิน้ จึงได้รบั มอบหมาย ให้เข้าไปจัดการ ท�ำให้เขาต้องบริหารโรงเรียนทัง้ ๒ แห่งในคราวเดียวกัน แต่เพราะโรงเรียนมิชชันนารีที่สำ� เหร่มีโรงสีซึ่งอยู่ติดกันก่อความร�ำคาญ ทัง้ จากเสียงและเขม่าควันด�ำ นายจอห์น. เอ. เอกิน้ จึงเห็นว่าสิง่ แวดล้อม เช่นนีไ้ ม่เป็นผลดีต่อการตัง้ โรงเรียนอยู่ทนี่ อี่ กี ต่อไป จึงเสนอให้โรงเรียน ที่ส�ำเหร่กลับมารวมกับโรงเรียนที่กุฎีจีน แต่คณะมิชชันนารีเห็นว่าด้วย ความเจริญของสยาม ณ ขณะนั้นอยู่ที่ฝั่งพระนคร จึงมีความคิดต้อง กันว่าการมองหาทีด่ นิ แปลงใหม่เพือ่ ขยายโรงเรียนออกไปยังฝัง่ พระนคร น่าจะมีความเหมาะสมกว่า ในที่สุดก็ได้มีความเห็นพ้องกันว่า ถนนประมวญเป็นที่ใหม่ ที่เหมาะสม เพราะไม่ไกลจากความเจริญและยังมีที่ดินอยู่รอบด้าน 20

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนในยุคแรก ที่ถนนประมวญ

ทีอ่ าจจะซือ้ เพิม่ เติมได้อกี ในภายหลัง๙ เจ้าของทีด่ นิ คือเจ้าพระยาสุรศักดิ์ มนตรี เป็นเพื่อนสนิทที่คุ้นเคยกันมานานของนายจอห์น. เอ. เอกิ้น ได้ เสนอขายให้ในราคา ๑๗,๕๐๐ บาท โดยท่านเองลดให้เพื่อเป็นการ บริจาคร่วมสร้างโรงเรียน ๒,๕๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินส่วนพระองค์ให้ ๒๐ ชั่ง (๑,๖๐๐ บาท) และ ได้รับจากพระบรมวงศานุวงศ์ขุนนางชั้นผู้ใหญ่อีกหลายท่านสมทบทุน ในการซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว จึงท�ำให้คณะมิชชันนารีสามารถรวบรวม เงินได้ในเวลาไม่นานนัก อาคารหลังแรกๆ ของโรงเรียนที่ถนนประมวญนั้น ได้สร้างเป็น อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้จ�ำนวน ๓ หลัง โดยให้ตึกหน้าเป็นส�ำนักงานของ โรงเรียน และให้ชั้นบนเป็นที่พักของครูใหญ่หรือผู้อ�ำนวยการ ส่วนตึก อีกสองหลังซึ่งมีการต่อปีกด้านข้างออกไปเป็นตัวยู (U) ด้านขวาจะเป็น ห้องเรียน หอสวดมนต์ และให้ครูไทยพักอยู่ชั้นบน ส่วนตึกทางปีก ด้านซ้ายด้านหลังเป็นห้องเรียน และชั้นบนเป็นหอพักส�ำหรับครูชาว ยุวดี ศิริ 21


ต่างประเทศ๑๐ ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ การก่อสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จ คณะมิชชัน นารีจึงให้ย้ายโรงเรียนที่ต�ำบลส�ำเหร่และโรงเรียนที่ต�ำบลกุฎีจีนเข้ามา รวมไว้เป็นแห่งเดียวกัน ณ ถนนประมวญ และเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า “กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล” และเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพคริสเตียน วิทยาลัย” ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ และใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน

การก่อตั้งโรงเรียนมิชชันนารีหญิง ภายหลังปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ที่โรงเรียนมิชชันนารีชายแห่งแรกถูก ก่อตัง้ ขึน้ ทีบ่ ริเวณย่านวัดอรุณฯ หมอเฮ้าส์กไ็ ด้เดินทางกลับไปยังประเทศ สหรัฐ อเมริก าและได้ พ บรัก และแต่ ง งานกับ นางสาวแฮเรี ย ต เอ็ ม . เพททิต (Harriet M. Pettit) ซึ่งคนทั้งสองได้เดินทางกลับเข้ามายัง ประเทศสยามด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๓๙๙ โดยถัดจากนั้นอีก ๑ ปี โรงเรียนส�ำหรับนักเรียนชายทีต่ งั้ ขึน้ ทีย่ า่ นวัดอรุณฯ ก็ยา้ ยไปอยูย่ งั ต�ำบล ส�ำเหร่ ภรรยาของหมอเฮ้าส์หรือแหม่มเฮ้าส์ก็ได้ช่วยสอน ณ โรงเรียน แห่งนี้ด้วย แต่เด็กทุกคนที่อยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ล้วนเป็นเด็กผู้ชาย แต่ แหม่มเฮ้าส์เองอยากเปิดโอกาสให้เด็กผูห้ ญิงในประเทศสยามได้มโี อกาส ได้รับการศึกษาบ้าง แหม่มเฮ้าส์ได้เริ่มต้นชักน�ำเด็กหญิงให้ได้รับการศึกษาที่บ้านพัก ของเธอ โดยนอกจากจะสอนให้อ่านออกเขียนได้แล้ว แหม่มเฮ้าส์ยังได้ สอนให้เย็บปักถักร้อย เย็บเสือ้ ผ้าได้โดยจักรทีเ่ ธอน�ำมาด้วยจากอเมริกา เธอได้สอนให้เด็กๆ ตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อเอาไปให้แก่เด็กนักเรียนชายที่ ส�ำเหร่ ขณะเดียวกันนัน้ แหม่มเฮ้าส์กพ็ ยายามสร้างรายได้ให้กบั เด็กหญิง ดังกล่าวด้วยการขายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น แต่กระนั้นการมาเรียนเป็น ประจ�ำและใช้ระยะเวลานานก็กลายเป็นปัญหาเพราะเด็กหญิงเหล่านี้ ต้องทิ้งบ้านเรือนและขาดรายได้จากการช่วยท�ำสวน เด็กหญิงที่มาเรียน จึงร่อยหรอลงไปทุกที แหม่มเฮ้าส์จึงใช้วิธีการเดียวกันกับที่มิชชันนารีคนอื่นๆ ใช้ได้ 22

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


แหม่มเฮ้าส์ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวังหลัง และแม่ต่วน (ครู) ที่ได้รับความไว้วางใจให้ ดูแลกิจการโรงเรียนในเวลาถัดมา ในรูปนี้ถ่ายพร้อมด้วยนักเรียนรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๑๘

ผลมาก่อนหน้านี้คือ การจ่ายค่าจ้างให้กับเด็กหญิงที่เข้ามาเรียนหนังสือ กับเธอเท่ากับรายได้ที่เด็กเหล่านี้จะได้รับจากการท�ำสวน จนมีเด็กหญิง กลับมาเรียนจ�ำนวนเพิม่ มากขึน้ จนกระทัง่ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ แหม่มเฮ้าส์ เริม่ มีปญ ั หาเรือ่ งสุขภาพจึงเดินทางไปพักผ่อนและกลับอเมริกาเพือ่ เยีย่ ม มารดา แต่การเดินทางไปในครั้งนั้น ท�ำให้แหม่มเฮ้าส์ได้ไปรายงาน ถึงการเริ่มต้นการสอนเด็กหญิงที่เธอกระท�ำอย่างต่อเนื่องมาถึง ๑๐ กว่าปี จนเธอได้รับการสนับสนุนจากคริสตจักรและได้รับการบริจาค เงินทุนเพื่อน�ำมาสนับสนุนงานของเธอส�ำหรับการจัดตั้งโรงเรียนส�ำหรับ เด็กหญิงในประเทศสยาม๑๑ เมือ่ แหม่มเฮ้าส์เดินทางกลับมาสยามพร้อมกับเงินเริม่ ต้นจ�ำนวน ๓,๐๐๐ ดอลลาร์ เงินจ�ำนวนนีถ้ กู น�ำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียนหลัง แรกของโรงเรียนมิชชันนารีส�ำหรับนักเรียนหญิงแห่งแรกขึ้นในที่ดินที่ นายเอส.ซี. ยอร์จ (S.C. George) คณะมิชชันนารีอเมริกันที่ได้เริ่ม ซื้อไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ โดยเป็นอาคารก่ออิฐสูง ๓ ชั้น ซึ่งถือว่า ยุวดี ศิริ 23


อาคารเรียนที่โรงเรียนวังหลัง ซึ่งขยายขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น ก่อนจะย้ายมาที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน

เป็นอาคารที่ทันสมัยมากในขณะนั้น มีชั้นล่างเป็นโรงเรียน ชั้นสองเป็น ที่อยู่ของครอบครัวเฮ้าส์ และชั้นสามเป็นที่พักครู๑๒ เมื่ออาคารก่อสร้าง แล้วเสร็จโรงเรียนก็ได้เริ่มเปิดท�ำการสอนในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ โดยคนทั่วไปเรียกโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนวังหลัง”๑๓ เพียงปีแรกเท่านั้น โรงเรียนวังหลังก็มีนักเรียนถึง ๑๕ คน โดย นอกจากเด็กหญิงชาวบ้านแล้ว แหม่มเฮ้าส์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ เจ้านายและข้าราชบริพารได้รบั ความไว้วางใจจนข้าราชบริพารหลายท่าน ส่งธิดามาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ อาทิเช่น พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ผู้เป็นต้นตระกูลแสง-ชูโต) ซึ่งได้ส่งธิดามาเรียนถึง ๔ คน๑๔ กิจการของโรงเรียนวังหลังเจริญรุง่ เรืองขึน้ เป็นล�ำดับ โดยเฉพาะ ในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พระองค์ทา่ นเสด็จประพาสยุโรปครัง้ แรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระองค์ทรง แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นผู้ส�ำเร็จราชการ ท�ำให้ ผูห้ ญิงตืน่ ตัวขึน้ อย่างมาก มีการเปิดโรงเรียนส�ำหรับผูห้ ญิงทัว่ กรุงเทพฯ โดยเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนวังหลัง กระทรวงธรรมการจะ 24

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


พระอาจวิทยาคม หรือ นายแพทย์ ยอร์ช บี. แมค ฟาร์แลนด์ ผู้มีส่วนอย่างมาก ในการจัดหาที่ดินผืนใหม่และ อุปถัมภ์โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

ถือว่าเรียนจบหลักสูตรความเป็นครู ด้วยเหตุนี้ถ้าใครจบจากโรงเรียน วังหลังก็จะถูกตัง้ ให้เป็นครูใหญ่ในโรงเรียนสตรีเหล่านีท้ นั ที อาทิ ครูทมิ กาญจนโอวาท๑๕ เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เมื่อแหม่มโคล (ครูใหญ่ในขณะนั้น) เห็นว่า ไม่สามารถซื้อที่ดินเพิ่มเติมในบริเวณวังหลังเพื่อขยายโรงเรียนต่อไปได้ แหม่มโคลจึงเริ่มมองหาที่ดินผืนใหม่ จนในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ แหม่มโคล ได้ตกลงซื้อที่ดินบริเวณทุ่งบางกะปิ๑๖ ติดกับคลองแสนแสบ จ�ำนวน ๒๕ ไร่ ซึง่ เป็นทีด่ นิ ของพระอาจวิทยาคม หรือนายแพทย์ยอร์ช บี. แมค ฟาร์แลนด์ ที่ขายให้ในราคาต้นทุน แต่ในขณะที่โรงเรียนวังหลังยังไม่ได้ ย้ายไปยังสถานที่แห่งใหม่ แหม่มโคลก็หาทางซื้อที่ดินเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย มา ในขณะเดียวกันก็หาทางเพิ่มรายได้ให้กับทางโรงเรียนโดยการน�ำ ที่ดินบางส่วนให้เช่าท�ำสวน จนกระทั่งการก่อสร้างอาคารเรียนเริ่มเป็น ยุวดี ศิริ 25


รูปเป็นร่าง การย้ายโรงเรียนจึงได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ โรงเรียน วังหลังหรือโรงเรียนกุลสตรีวังหลังเมื่อมาอยู่ที่แห่งใหม่จึงได้เปลี่ยนชื่อ เป็น “โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นอกจากแหม่มโคลแล้ว ครูใหญ่คนต่อมาคือแหม่มเบล๊านท์ ก็ได้ซอื้ ทีด่ นิ เพิม่ เติมจากเดิมขึน้ อีก จนในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พบว่า โรงเรียน วัฒนาวิทยาลัย มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๙๐ ไร่ ๒ งาน ๙๗ ตารางวา และในที่ดิน ผืนนี้ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินที่พระอาจวิทยาคมมอบให้เป็นอนุสรณ์ในนาม ภรรยาของท่านถึง ๑๗ ไร่ ๒ งาน โดยพระอาจวิทยาคมนับได้ว่าเป็น ผู้มีส่วนอย่างมากในการอุปถัมภ์โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยให้เติบโตมา เช่นทุกวันนี้ ส่วนที่ดินเดิมที่บริเวณวังหลังนั้นทางโรงเรียนได้ขายให้ สมเด็จพระบรมราชชนกฯ เพือ่ ก่อสร้างเป็นหอพักพยาบาลของโรงพยาบาล ศิริราชในเวลาต่อมา (ลงครั้งแรกในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔)

26

ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.