เมนูสบายใจต้านภัยเบาหวาน

Page 1


เมนูสบายใจ

ต้านภัยเบาหวาน ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ : เรื่อง ผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์ทางเลือกเกี่ยวกับโรคมะเร็งและเบาหวาน

อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์ : สูตรอาหาร นักก�ำหนดอาหารวิชาชีพ

ทัทยา อนุสสร : ลงมือปรุงและถ่ายภาพ

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2556


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ คุยกับผู้เขียน

9 11

ตอนที่ 1 : “เบาหวาน” เรื่องเบาๆ หวานๆ แต่ร้ายแรง

15

1. รู้ทันโรคเบาหวาน - หน้าที่ของตับอ่อน - การแปรผลตรวจ - อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน

17 18 19 21

2. การตรวจวิเคราะห์ด้วยตัวเอง - ขั้นตอนการตรวจด้วยตัวเอง - ข้อพึงระวัง

22 23 23

3. โรคแทรกซ้อน

24

4. วิธีรับมือกับโรคเบาหวาน  - วิธีจัดการเบาหวานโดยไม่ใช้ยา  - การปรับพฤติกรรม

24 24 25


- ควบคุมอาหาร - โภชนบ�ำบัด - การออกก�ำลังแบบแอโรบิก - การดูแลรักษาเท้า

25 26 27 28

5. ภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยเบาหวาน - ภาวะคีโตซิส - ภาวะโคม่าจากน�้ำตาลในเลือดสูง - ภาวะน�้ำตาลในเลือดต�่ำ

29 30 31 31

6. กลุ่มอาการเมตาบอลิก - เบาหวาน - อ้วน - ไขมันในเลือดสูง - ความดันโลหิตสูง

31 32 32 33 34

ตอนที่ 2 : โภชนบ�ำบัด เมนูอร่อยส�ำหรับคนเป็นเบาหวาน

39

1. เมนูส�ำหรับคนเป็นเบาหวานอย่างเดียว - ราดหน้าปลาเต้าซี่พริกหวาน - บร็อกโคลี่ผัดเห็ดหอม กระเทียมโทน - โจ๊กไก่ - ข้าวต้มหมู - หมูอบไข่ดาว - น�้ำพริกมะขามสด - สลัดสวนผัก - สลัดทูน่า - น�้ำสลัดใส - น�้ำแอปเปิลสด

43 45 49 51 53 55 57 59 63 65 67


2. เมนูส�ำหรับโรคเบาหวาน + ความดันโลหิตสูง - เห็ดเข็มทองผัดฉ่า - เต้าหู้ทรงเครื่อง - ซุปหน่อไม้ฝรั่ง - แซนด์วิชเพื่อสุขภาพ - น�้ำสลัดเพื่อสุขภาพ - ผัดฮกเกี้ยนทะเล - ผัดไทกุ้งสับ - เยลลี่ผลไม้ - เผือกน�้ำกะทิ - น�้ำฝรั่งสด

69 71 73 77 79 81 85 89 91 93 95

3. เมนูส�ำหรับโรคไขมันในเลือดสูง + หัวใจขาดเลือดร่วมด้วย 97 - เนื้อปลากะพงผัดพริกไทยด�ำ 99 - เปาะเปี๊ยะทูน่า 101 - ปลากรายสวรรค์ 105 - ปลาทูทรงเครื่อง 109 - สลัดผักกาดแก้ว 113 - น�้ำพริกกุ้งสด 115 - เบอร์เกอร์ปลาเพื่อสุขภาพ 117 - ไก่ตุ๋นฟักเห็ดหอม 119 - น�้ำเก๊กฮวย 121 - น�้ำสตรอว์เบอร์รี่สด 123 4. เมนูส�ำหรับโรคเบาหวาน + ภาวะอ้วนร่วมด้วย - ย�ำพริกสามสี - แกงเขียวหวานน�้ำเต้าหู้ - ปลาช่อนนึ่งผักต้ม น�้ำจิ้มแจ่ว

125 127 129 131


- เมี่ยงมะม่วง - ซุปฟักทอง - ปลาอินทรีย่างซอสเทริยากิ - โจ๊กปลาทู - น�้ำมะตูม - บะหมี่เป็ดตุ๋นยาจีน - น�้ำมะเขือเทศสด

135 139 141 143 145 147 149

ตอนที่ 3 : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จ�ำเป็นหรือไม่ส�ำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน? - โครเมียม (Chromium) - ใยอาหาร (Dietary fiber) - แมกนีเซียม (Magnesium) - ไลโพอิคแอซิด (Lipoic acid) - แอนติออกซิแดนต์  (Antioxidant)

150 154 156 158 159 160

เกี่ยวกับผู้เขียน เกี่ยวกับผู้ก�ำหนดสูตรอาหาร เกี่ยวกับผู้ปรุงอาหารและถ่ายภาพ

162 163 164


ตอนที่ 1

เบาหวาน

เรื่องเบาๆ หวานๆ แต่ร้ายแรง



“โรคเบาหวาน” เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน  เบา หวานนั้นเป็นปัญหาที่ส�ำคัญทางสาธารณสุข เป็นโรคที่เรียกได้ว่า พบได้ชุกชุมมาก พบโดยทั่วไป  ลองมองรอบๆ ตัวของผู้อ่านดูสิ ครับ คงจะพบว่าต้องมีญาติ  พี่  น้อง เพื่อนฝูง ที่ป่วยเป็นโรคนี้แน่ๆ (ความชุกพบได้เกือบร้อยละ 5 ทีเดียวส�ำหรับคนเมือง)

1. รู้ทันโรคเบาหวาน “โรคเบาหวาน” เป็นโรคในระบบต่อมไร้ท่อ และจัดได้ว่าเป็นต่อม ไร้ท่อที่พบได้บ่อยที่สุด (โรคอื่นๆ ในกลุ่มโรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์) โรคเบาหวานนี้เป็น “โรคของตับอ่อน” คือเป็นความผิดปกติของอวัยวะนี้ นั่นเอง  ทุกท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับชื่ออวัยวะนี้มาแล้ว และเป็นที่รู้จัก กันดีคู่กับ “ตับ(แก่)”  เป็นหนึ่งอวัยวะส�ำคัญที่อยู่ในช่องท้องทางด้านซ้าย บน อยู่ลึกลงไปจนถึงกระดูกสันหลัง มีรูปร่างคล้ายตับ แต่มีความอ่อนนุ่ม มาก เลยถูกเรียกว่า “ตับอ่อน” เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 17


“ตับอ่อน” ที่ทุกคนต้องมี  โดยในแต่ละคนจะมี  1 ตับอ่อน อยู่ค่อน ไปทางด้านหลังของช่องท้อง  ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่ส�ำคัญของร่างกาย มองดูรูปร่างภายนอกจะมีลักษณะคล้ายหัวปลาดุก  ตับอ่อนมีโครงสร้าง เป็นต่อมขนาดใหญ่  ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับล�ำไส้ เล็กส่วนต้น  ตับอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 6 นิ้ว แบ่งออกได้เป็น ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนหาง

หน้าที่ของตับอ่อน

1. สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน�้ำตาลในเลือด  ที่ส�ำคัญและรู้จัก กันดีคือ “อินซูลิน (Insulin)” และ “กลูคากอน (Glucagon)” 2. สร้างน�้ำย่อย ช่วยย่อยอาหารประเภทแป้งและไขมัน “เบาหวาน” เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะนี้นี่เอง และเป็นความผิดปกติของส่วนจ�ำเพาะที่สร้างฮอร์โมนที่มีชื่อเรียกยากๆ ในภาษาอังกฤษว่า “ไอส์เลตส์  ออฟ ลังเกอร์ฮานส์  (Islets of Langer-  hans)”  ความบกพร่องนี้เองจะท�ำให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินมีความผิด ปกติไปจากเดิม ในผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถตรวจพบระดับน�้ำตาลในเลือดที่สูง จนควบคุมไม่ได้  และถ้าเป็นมากๆ จะพบน�้ำตาลในปัสสาวะมาก  การ วินิจฉัยโรคเบาหวานในปัจจุบันท�ำได้โดยการตรวจเลือดดูระดับน�้ำตาล ในเลือดหลังจากที่งดอาหารมา 1 คืน (8 ชั่วโมง)  ค่าที่จัดว่าเป็นเบา หวานคือ ตั้งแต่ 126 mg/dl ขึ้นไป   (อันที่จริงการตรวจน�้ำตาลในปัสสาวะไม่ไวพอ และมักจะตรวจ พบเมื่อมีอาการมาก คือต้องมีน�้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 mg/dl จึง ไม่นิยมใช้กันแล้ว)   ในปัจจุบันแพทย์แนะน�ำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปี  ควรจะเจาะ เลือดตรวจเบาหวานเป็นประจ�ำปี   และถ้าหากปกติก็สามารถเว้นช่วง คือ เจาะเลือดตรวจทุกๆ 3 ปี 18 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


อัลฟ่าเซลล์

เบต้าเซลล์

แสดงถึงภาวะไอส์เลตส์  ออฟ ลังเกอร์ฮานส์ในตับอ่อน

การแปรผลตรวจ

เราสามารถแปลผลการตรวจเบาหวานด้วยตัวเองได้ดังนี้ • น�้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 mg/dl (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ถือว่า “เป็น” โรคเบาหวาน  • ส�ำหรับผู้ที่มีระดับน�้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 mg/dl เราเรียก Impaired fasing glucose (IFG) ซึ่งถือว่ามี  “ความเสี่ยงสูง” ในการเป็นโรคเบาหวาน ต้องได้รับการคุมอาการ รักษาน�้ำหนักไม่ให้อ้วน และออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอ • นอกจากนั้นแล้วยังมีเบาหวานชนิดพิเศษที่พบจ�ำเพาะในผู้หญิง ตั้งครรภ์ด้วย

เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 19


ลองมาแปรผลระดับตัวเลขที่คุณวัดได้ ผลการตรวจ

ค่าตัวเลข คุณไม่เป็น คุณมีความผิด คุณเป็น ของคุณ เบาหวาน ปกติในการ เบาหวาน ควบคุมน�้ำตาล

การตรวจระดับ น�้ำตาลในเลือด หรือพลาสม่า [FPG (mg/dl)]

น้อยกว่า 100

100-125

มากกว่า 126

การตรวจระดับ น�้ำปัสสาวะ  [OGTT 2-hr (mg/dl)]

น้อยกว่า 140

140-199 มากกว่า 200

ตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี  [HbA1C (%)]

น้อยกว่า 5.7

5.7-6.4

มากกว่า 6.5

(ขอบคุณข้อมูลจาก American Diabetes Association (ADA 2009), http://www.silom-  medical.co.th/th/index.php?page=knowledge&content=sugar)

ถ้าน�้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 mg/dl หรือมี น�้ำตาลในปัสสาวะ  แพทย์จะวินิจฉัยว่า คุณเป็นเบาหวาน

20 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะมีอาการที่พบได้บ่อย 3 อย่าง คือ • ปัสสาวะบ่อยและมาก  • รับประทานอาหารมาก  • หิวและกระหายบ่อย  อาการเหล่านี้มักจะมาร่วมกันเรียกว่า “มายกแก๊ง”  เรียกว่าใคร ที่มีครบ 3 อาการนี้แทบจะวินิจฉัยได้โดยทันทีว่า “เป็น” โรคเบาหวาน แน่ๆ  ด้วยอาการทั้ง 3 นี้เองจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ของร่าง กายตามมาได้ดังนี้ 1. ปัสสาวะบ่อยและมาก โดยสาเหตุเกิดจากมีน�้ำตาลในปัสสาวะมาก ท�ำให้เกิดการดูดน�้ำผ่านออกมาทางปัสสาวะ ท�ำให้ผู้ป่วยหิว น�้ำบ่อย ต้องดื่มน�้ำมาก อ่อนเพลียมาก  และถ้าเป็นมากๆ ก็จะผอมลง (คือเสียน�้ำไปมาก) 2. เป็นเบาหวานจะกินจุ  เพราะร่างกายอ่อนเพลียเนื่องจากการ น�ำน�้ำตาลไปใช้งานได้ไม่ดี   การกินมากๆ ก็จะส่งผลท�ำให้  “อ้วน” และมี โรคอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะ “โรคไขมันในเลือดสูง” 3. เบาหวานเรื้อรัง เมื่อเป็นนานๆ เข้าร่างกายปรับตัวไม่ได้  เกิด การเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และน�ำไปสู่ความตายได้ใน ที่สุด (“โรคไตวาย” ที่คนเป็นกันมากมาย สาเหตุเกือบทั้งหมดคือ “โรค เบาหวานเรื้อรัง”) ทั้งนี้  การตรวจรักษาผู้ป่วยเบาหวานนั้นจ�ำเป็นต้องใช้การตรวจ ทางห้องปฏิบัติการอย่างมาก ซึ่งในอดีตการตรวจเลือดด้วยวิธีมาตรฐาน ที่จ�ำเป็นต้องใช้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์นั้นเกิดปัญหาที่ส�ำคัญของ ระบบดังกล่าวคือการรอคอยผลซึ่งต้องใช้เวลานาน และมักท�ำให้เกิดการ คับคั่งของผู้ป่วยที่รอผลการตรวจเพื่อใช้ส�ำหรับการตรวจรักษาของแพทย์ แต่ในปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้พัฒนาเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่ เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 21


สามารถ “ใช้การตรวจที่ผู้ป่วยท�ำได้เอง” ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการตรวจ วัดระดับน�้ำตาลจากเส้นเลือดฝอยโดยการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว การตรวจด้วยวิธีดังกล่าวอาจมีประโยชน์จริงในการวัดระดับน�้ำตาล แต่ไม่ อาจบ่งบอกถึงการควบคุมระดับน�้ำตาลในระยะยาว  หากจะใช้วิธีนี้เป็น ประจ�ำ แนะน�ำให้ใช้ควบคู่กับ “การบันทึกผลการควบคุมอาหารของ ผู้ป่วย” ส�ำหรับที่จะใช้ร่วมกับการตรวจด้วยวิธีเจาะเลือดจากปลายนิ้ว   “มายกแก๊ง”

1. ปัสสาวะบ่อย 2. รับประทาน และมาก   อาหารมาก

3. หิวและ กระหายบ่อย

2. การตรวจวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ขอแนะน�ำวิธีการตรวจวิเคราะห์เอาไว้คร่าวๆ เพื่อที่จะเป็นประ โยชน์ต่อผู้อ่านที่เป็นเบาหวานซึ่งอาจจะต้องตรวจเลือดด้วยตนเอง  การ ตรวจนี้จะต้องใช้  “สิ่งที่ส่งตรวจ”  ตัวอย่างเช่น เลือดจากเส้นเลือดฝอย โดยเจาะที่ ป ลายนิ้ ว  ซึ่งควรเลือกเจาะจากปลายนิ้วกลางหรือนิ้วนาง เพราะใช้งานน้อยกว่านิ้วอื่นๆ  นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังมีเครื่องช่วย เจาะเลือดจากปลายนิ้วอีกด้วย ซึ่งสามารถปรับระดับได้มากตามความ หนา-บางของผิวหนังแต่ละคน เพื่อให้ปลายเข็มผ่านผิวหนังได้สะดวก โดยปลายเข็มเคลือบซิลิโคน ท�ำให้เจาะได้เบา เจ็บน้อย   วิธีนี้สะดวก รวดเร็ว เพราะการตรวจใช้เลือดปริมาณน้อยมาก และใช้เวลาทดสอบประมาณ 1 นาที  ก็จะสามารถทราบระดับน�้ำตาลใน เลือดขณะนั้นได้ทันที  22 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


อุปกรณ์ตรวจเลือดด้วยการเจาะปลายนิ้ว

การตรวจด้วยตัวเองมีขั้นตอนดังนี้

1. กดปุ่มเปิด-ปิดการท�ำงานของเครื่อง  เครื่องจะแสดงรหัสของ แถบตรวจให้ทราบ จากนั้นจึงน�ำแถบตรวจใส่เข้าที่ช่องวัดผล 2. น�ำแถบตรวจออกจากที่ใส่พร้อมปิดฝาหลอดให้สนิทตามเดิม (ความชื้นในบรรยากาศจะท�ำให้ชุดทดสอบเสื่อมและเสียได้  จึงต้องปิดฝา ให้สนิททุกครั้ง) สอดเข้าในช่องวัดผล 3. ใช้ชุดช่วยเจาะเลือดปลายนิ้ว เจาะบริเวณส่วนกลางของปลาย นิ้ว บีบให้เลือดออกมาประมาณเท่าหัวไม้ขีดไฟ แตะลงบนจุดกึ่งกลาง ของแถบตรวจ  ระวังอย่าให้หยดเลือดใหญ่เกินไปจนล้นบริเวณวงกลม ตรงกลาง เพราะจะท�ำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้  หน้าจอจะนับเวลา ถอยหลัง

ข้อพึงระวัง

1. ไม่ดึงแถบตรวจออกมาแตะกับหยดเลือดเพื่อท�ำการตรวจ 2. ไม่หยดเลือดเพิ่มเมื่อเครื่องท�ำการวัดอยู่  จะท�ำให้ค่าที่ได้คลาด เคลื่อน 3. ถ้ามีการขยับของแถบตรวจออกในระหว่างนับถอยหลัง ให้ดัน เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 23


แถบตรวจกลับเข้าไปจนสุดตามเดิม 4. เมื่อนับถอยหลังจนครบแล้ว เครื่องจะส่งเสียงบอกพร้อมกับ แสดงค่าน�้ำตาลในเลือดที่วัดได้  ย�้ำว่าควรรอจนมีเสียงเตือนก่อนจึงท�ำ การจดบันทึกค่าที่ได้  5. การท�ำความสะอาดเครื่อง โดยปกติแล้วไม่ต้องมีการดูแลเป็น กรณีพิเศษ  แต่หากมีการเปื้อนตัวอย่างเลือดควรรีบท�ำความสะอาดโดย ทันที  ไม่ควรปล่อยทิ้งให้เลือดแห้งติด เพราะจะท�ำความสะอาดได้ยาก

3. โรคแทรกซ้อน ทั้งนี้  ปัญหาที่ส�ำคัญจากการมีระดับน�้ำตาลในเลือดสูงจนควบคุม ไม่ได้  ท�ำให้พบอาการของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้หลายอย่างดังต่อไปนี้ • เชื้อราในช่องคลอด ขาหนีบ และเล็บ • ไตเสีย ไข่ขาวรั่วที่ไต ไตวาย • โรคหลอดเลือดหัวใจ • โรคหลอดเลือดสมอง • ปลายประสาทชา, มือ-เท้าชา • แผลเรื้อรังที่เท้าหายยาก  และถ้าเป็นมากๆ ต้องตัดขาในที่สุด • น�้ำตาลขึ้นตา จนเกิดการท�ำลายจอประสาทตา และตาบอดได้ ในที่สุด

4. วิธีรับมือกับโรคเบาหวาน วิธีจัดการเบาหวานโดยไม่ใช้ยา

ส�ำหรับการจัดการกับโรคเบาหวานที่ได้ผลนั้นต้องเริ่มดังนี้ 1. การปรับพฤติกรรม 2. ใช้โภชนบ�ำบัดและควบคุมอาหาร เพือ่ ลดระดับน�้ำตาลในเลือด  3. ไม่สูบบุหรี่  ไม่ดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิด

24 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


4. ออกก�ำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม�่ำเสมอ 5. ท�ำจิตใจให้สบาย อย่าเครียด ยิ้มวันละนิดจิตแจ่มใส 6. อยู่ในที่ที่มีอากาศดี  บริสุทธิ์  หรือหาโอกาสไปสูดโอโซนแถบ ชายทะเลบ้าง

การปรับพฤติกรรม

ก่อนที่จะรู้ว่าจะปรับพฤติกรรมอย่างไร คงต้องทราบก่อนว่า “พฤติ กรรม” หรือไลฟ์สไตล์แบบไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานบ้าง ดัง ต่อไปนี้ • กินจุ  กินมาก ท�ำให้อ้วน • ไม่ออกก�ำลังกาย • มีความเครียด • ใช้ชีวิตแบบคนเมือง หรือตามอย่างฝรั่ง พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ท�ำให้เพิ่มความเสี่ยง เพิ่มโอกาสที่จะเป็น โรคเบาหวาน  การปรับพฤติกรรมเพื่อการรักษาโรคเบาหวานก็คือการ ปรับพฤติกรรมเหล่านี้ละครับ

ควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหารนั้นมีรายงานว่า ได้ผลดีมากในเรื่องการควบคุม  น�้ำหนักตัว  เทคนิคในการลดน�้ำหนักสามารถท�ำได้โดย • กินจ�ำนวนมื้อตามปกติแต่รับประทานอาหารให้น้อยลงประมาณ ครึ่งหนึ่ง  • รับประทานแป้งและไขมันน้อยลง  • งดผลไม้  น�้ำหวาน น�้ำอัดลม ขนมทุกชนิด • งดกินอาหารจากร้านฟาสต์ฟู้ด เบเกอรี่และกาแฟที่ใส่ครีมเทียม • รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและผักให้มากขึ้น   • อย่าตามใจปาก อย่ากินนอกมื้ออาหาร เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 25


• กินอย่าให้รู้สึกอิ่ม แค่รู้สึกไม่หิวก็พอ • ห้ามกินแล้วนอนทันที  ควรท�ำกิจกรรมอื่นๆ อีกสักอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง (ดังนั้น ไม่ควรกินอาหารมื้อเย็นมากเกินไป) • ออกก�ำลังกายแบบแอโรบิก เช่น วิ่งเหยาะๆ ทุกวัน วันละ 30 นาที ส� ำ หรั บ อาหารที่ ค วรหลี ก เลี่ ย งเพราะมี น�้ ำ ตาลสู ง และเป็ น ปัญหา ได้แก่ • น�้ำตาล • ขนม • ลูกอม ลูกกวาด • น�้ำหวาน น�้ำอัดลม น�้ำผลไม้ • นม • น�้ำผึ้ง • ผลไม้ที่มีรสหวานและเส้นใยอาหารต�่ำ เช่น ล�ำไย สับปะรด เป็นต้น

โภชนบ�ำบัด

คือการปรับลักษณะการกินอาหาร หรือชนิดของอาหาร ตลอดจน ปริมาณของอาหารให้เหมาะสมกับโรคและความเจ็บป่วย  ส�ำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวานมีข้อแนะน�ำเบื้องต้นดังต่อไปนี้  • กินอาหารได้ตามปกติ  แต่ต้องระวังเรื่องปริมาณอาหาร และ ปริมาณน�้ำตาลในอาหาร • กินเพื่อลดความอ้วน • งดอาหารพวกแป้ง น�้ำตาล เผือก-มัน ขนมปัง ขนมหวาน นม ผลไม้  น�้ำอัดลม น�้ำหวาน และน�้ำผลไม้    • ส�ำหรับผลไม้ที่มีปัญหามากๆ และควรงดโดยเด็ดขาด ได้แก่ 26 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


ทุเรียน เงาะ ล�ำไย • งดข้าวเหนียวกะทิที่เป็นขนมหวาน  ข้าวเหนียวที่เป็นอาหารที่ กินกับกับข้าวแบบอาหารคาวกินได้  แต่ให้กินน้อยลงกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง • งดเครื่องในสัตว์  ไขมันสัตว์  ครีม กะทิ  มะพร้าว ของทอด น�้ำมัน อาหารทอด อาหารผัด • ห้ามเติมน�้ำตาลลงในเครื่องดื่มเกิน 1 ช้อนชา • กินผักให้มากขึ้น   • กินข้าวน้อยลงครึ่งหนึ่ง  ถ้าไม่อิ่ม ให้กินพวกเนื้อสัตว์และผัก ทดแทน • กินเต้าหู้และถั่วให้มากขึ้น • ใช้น�้ำมันถั่วเหลือง น�้ำมันร�ำข้าว น�้ำมันมะกอก น�้ำมันทานตะวัน น�้ำมันดอกค�ำฝอย ในการท�ำอาหาร • หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารรับประทาน ถ้าสามารถท� ำได้ควรท�ำ อาหารกินเอง จะได้ควบคุมปริมาณอาหารและเครื่องปรุงได้ • ถ้าอยากจะกินผลไม้จริงๆ ให้กินได้เฉพาะฝรั่ง แอปเปิล ชมพู่ • กินอาหารให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อรักษาสมดุลของระดับน�้ำตาล ในเลือดที่ผันแปรตามระดับฮอร์โมนในแต่ละช่วงเวลาของวัน • อาหารหลายๆ อย่างมักถูกเข้าใจผิดและละเลย คิดว่าไม่เป็น ปัญหา โดยเฉพาะพวกที่เป็นผลไม้และนม ครับ หลายๆ คนกลัวอ้วน กลัวเบาหวาน ไม่ยอมกินข้าว กินแต่ผลไม้  หรือนมโยเกิร์ต จนท�ำให้ น�้ำตาลในเลือดสูงมากจนแย่ก็เยอะครับ • กินแล้วอย่านอนทันที  หากิจกรรมท�ำก่อนครับ

การออกก�ำลังแบบแอโรบิก

ช่วยลดน�้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี   ค�ำจ�ำกัดความง่ายๆ ของ การออกก�ำลังแบบแอโรบิก คือการออกก�ำลังที่ท�ำให้ได้เหงื่อ เช่น 1. บริหารปอดและหัวใจ เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 27


2. ท�ำในเวลาต่อเนื่องกันพอประมาณ (อย่างต�่ำครึ่งชั่วโมง) 3. ต้องได้เหงื่อ 4. ตัวอย่างเช่น วิ่งเหยาะๆ เต้นแอโรบิก เดินเร็วๆ

การออกก�ำลังกายแบบแอโรบิกส�ำหรับในผู้ป่วยโรคเบาหวาน นั้นมีประโยชน์มาก  1. ท�ำให้ระดับน�้ำตาลในเลือดลดลง 2. กล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกายน�ำน�้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น 3. ช่วยลดน�้ำหนัก 4. ท�ำให้ระดับไขมันที่ดีในเลือด (คอเลสเตอรอลชนิดเอชดีแอล) สูงขึ้น 5. ท�ำให้จิตใจแจ่มใส

ข้อแนะน�ำในการออกก�ำลังกาย 1. ท�ำทุกวัน วันละ 30 นาที  ถึง 1 ชั่วโมง 2. ออกก�ำลังแบบแอโรบิกที่ดีที่สุดคือ วิ่งเหยาะๆ หรือเดินเร็วๆ  3. ต้องได้เหงื่อ ไม่ได้เหงื่อไม่ได้ผล 4. ระวังเท้าขณะออกก�ำลัง ระวังอย่าให้เกิดแผลหรือการบาดเจ็บ

การดูแลรักษาเท้า

• ส�ำรวจดูเท้าทุกวันว่ามีแผลหรือไม่ • ล้างเท้าทุกวัน ฟอกสบู่  ล้างน�้ำให้สะอาด เช็ดให้แห้งด้วยผ้าขน หนูแห้งๆ  • ห้ามขัดเท้าด้วยแปรง แต่ใช้นิ้วค่อยๆ ถู • ระวังอย่าให้เท้าเปียกชื้น • ทาน�้ำมันมะกอกที่เท้า • ตัดเล็บเท้าให้ตัดแนวตรง ห้ามเซาะเข้าด้านจมูกเล็บ • ไม่เดินเท้าเปล่า ต้องสวมรองเท้า (กันพยาธิได้ด้วย) 28 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


• ใส่ถุงเท้าสั้น ถุงเท้าต้องสะอาด พอดี  ไม่หลวมไม่คับ • ตรวจดูรองเท้าว่าสมบูรณ์ดี  ไม่ผิดปกติก่อนสวม • ใส่รองเท้าที่พอดี  ไม่คับไม่หลวม • ถ้าลุยน�้ำคร�ำมา ต้องรีบล้างเท้าท�ำความสะอาดทันที • ก่อนนอนทุกวันต้องล้างท�ำความสะอาดเท้าเสมอ • ห้ามไปลงบ่อท�ำสปาปลาเป็นอันขาด เพราะอาจจะท�ำให้ปลา ตอดจนเกิดแผลติดเชื้อที่เท้าได้ • ถ้ามีแผลที่เท้าเกิดขึ้นจนได้  ให้ดูแลความสะอาด ล้างแผลให้ดี แล้วไปพบแพทย์  ห้ามปล่อยทิ้งไว้ และเมื่อถึงความเจ็บป่วยเรื่องเบาหวานแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะ ต้องพูดถึงก็คือ ภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทั้งสิ้น ในทางการแพทย์นั้นภาวะฉุกเฉินในโรคเบาหวานเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย และ ที่ส�ำคัญท�ำให้เสียชีวิตได้

5. ภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะฉุกเฉินในโรคเบาหวานนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับระดับน�้ำ ตาลในเลือด โดยอาจจะเป็น • ภาวะน�้ำตาลในเลือดต�่ำ • ภาวะน�้ำตาลในเลือดสูง ส่วนอาการที่ผู้ป่วยมักจะถูกน�ำมาพบแพทย์ได้แก่ • หมดสติ • ไม่รู้สึกตัว • สับสน • หอบ ดังนั้น ผู้เขียนจะกล่าวถึงภาวะฉุกเฉินต่างๆ พอให้ได้รับทราบไว้ ส�ำหรับคนไข้หรือญาติจะได้ตระหนักถึง  และหากสงสัยว่ามีอาการเข้า ข่ายภาวะฉุกเฉินดังต่อไปนี้  ต้องรีบน�ำผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลทันที เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 29


1. ภาวะคีโตซิส

ภาวะคีโตซิสในโรคเบาหวานนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินที่มีค�ำเรียกจ�ำ เพาะว่า Diabetic Ketoacidosis หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ดีเคเอ (DKA)” เป็น ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่มีความรุนแรงจากระดับน�้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายมีการขาดอินซูลินอย่างรุนแรง ร่วมกับ การมีฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับอินซูลิน ได้แก่  กลูคากอน แคทีคอลเอมีน คอร์ติซอล และโกรทฮอร์โมนมากเกินไป  ความผิดปกติที่เกิดขึ้น จะท�ำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญคือ ภาวะน�้ำตาลในเลือดสูง และ ภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่ง (อาจจะฟังงงๆ ก็เหมือนกับการ หมักน�้ำตาลผลไม้จนเกิดไวน์ขึ้นในร่างกายนั่นละครับ) ซึ่งเป็นผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีรวิทยาและลักษณะทางคลินิกต่างๆ ตามมา ได้แก่ • ซึม • หอบเหนื่อย • หมดสติ • ลมหายใจมีกลิ่นหอมแบบผิดปกติ ไปนี้

ส�ำหรับการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ จะใช้การตรวจดังต่อ

ส�ำหรับการรักษาผู้ป่วย DKA ที่ส�ำคัญๆ ได้แก่ • การให้สารน�้ำ • การให้โซเดียมทดแทน  • การให้อินซูลิน  • การให้โซเดียมไบคาร์บอเนต

• ระดับน�้ำตาลในเลือดสูงกว่า 300-350 mg/dl  • มีภาวะกรดเมตาบอลิกคั่ง • ตรวจพบคีโตนในเลือดหรือในปัสสาวะ

30 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


2. ภาวะโคม่าจากน�้ำตาลในเลือดสูง

ภาวะโคม่าจากน�้ำตาลในเลือดสูง (Hyperosmolar Hyperglycemic Syndrome, HHS or Non-ketotic Hyperglycemia) ในโรค เบาหวานนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินที่มีลักษณะคล้ายกับภาวะ “คีโตซิส”  แต่ ที่ส�ำคัญคือไม่พบ “คีโตน”   • ผูป้ ว่ ยมักมีอาการเกิดขึน้ ช้ากว่า DKA และอาการไม่คอ่ ยชัดเจน     • ระยะเวลาอาจเป็นวัน หรืออาทิตย์  • อาจมีประวัติว่ามีไข้  หรือเจ็บป่วย     • ติดเชื้อ หรือมีภาวะเครียดอื่นๆ น�ำมาก่อน  • อาจมีอาการปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะออกน้อย

3. ภาวะน�้ำตาลในเลือดต�่ำ

ภาวะน�้ำตาลในเลือดต�่ำ (Hypoglycemia) พบได้บ่อย มักเกิด จากปัญหาการได้รับยาเบาหวานเกินขนาดหรือไม่เหมาะสม  ตามนิยาม หมายถึง ระดับน�้ำตาลในเลือดต�่ำกว่าปกติ  (ระดับน�้ำตาลในเลือดต�่ำ กว่า 70 mg/dl)  เป็นภาวะที่  “ร้ายแรง” หากรักษาไม่ทันอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากสงสัยว่ามีภาวะดังกล่าว การวินิจฉัยที่ดีที่สุดและเร็วที่สุดคือ ต้องท�ำการเจาะเลือดตรวจดูด้วยเครื่องตรวจวัดระดับน�้ำตาลจากปลายนิ้ว หากพบภาวะดังกล่าว ให้รีบหาน�้ำตาลป้อนผู้ป่วย และรีบน�ำส่งแพทย์ ทันที

6. กลุ่มอาการเมตาบอลิก

ปัจจุบันทางการแพทย์ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่าง “โรคเบา หวาน” กับโรคต่างๆ อีกหลายโรค และมีการจัดกลุ่มโรคขึ้นมาใหม่ชนิด หนึ่ง เรียกว่า “กลุ่มอาการเมตาบอลิก (Metabolic)” ซึ่งได้แก่กลุ่มโรค ดังต่อไปนี้ เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 31


1. เบาหวาน

โดยปกติโรคเบาหวานแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ  • เบาหวานชนิดที่  1 เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกท�ำลาย ท�ำให้มีการ หลั่งอินซูลินน้อยลง • เบาหวานชนิดที่  2 คือการที่ร่างกายมีการเสื่อมสภาพ ท�ำให้ ตอบสนองต่ออินซูลินลดลง  เมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน มักมีโรคแทรก ซ้อนร้อยละ 50 • เบาหวานชนิดที่  3 เป็นเบาหวานที่พบร่วมกับการเสื่อมของสมอง • เบาหวานชนิดที่  4 มีระดับอินซูลินในเลือดไม่สม�่ำเสมอ ท�ำให้มี น�้ำตาลสูงและต�่ำไม่สม�่ำเสมอ

2. อ้วน

เป็นรูปธรรมนามธรรมชนิดหนึ่ง แต่ก็ก่อปัญหาได้เหมือนกัน  ค�ำ ถามก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มอ้วนแล้ว  ตามปกติเราจะวัดค่าทั้ง น�้ำหนักและส่วนสูงควบคู่กัน  ทั้งนี้  ค่าทั้งสองเป็นการตรวจวัดในกลุ่ม Anthropometry (ความจริงแล้วก็คือการวัดสัดส่วนนั่นแหละครับ)  เมื่อ เราได้ค่าทั้งสองมาแล้ว ก็ให้น�ำมาค�ำนวณหาค่าดัชนีจ�ำเพาะทางโภชนา การที่เรียกว่า “ดัชนีมวลกาย (BMI)” ตามสูตร

BMI  เท่ากับ   น�้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย

ความสูง2 (เมตร) 32 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


ส�ำหรับการแปรผลค่าดัชนีมวลกายให้แปรดังนี้ครับ

น้อยกว่า 15             ผอม ระหว่าง 15-25 ปกติ ระหว่าง 25-30 น�้ำหนักเกิน     มากกว่า 30          อ้วน

โรคอ้วนเป็นปัญหาที่ส�ำคัญและน�ำมาซึ่งโรคต่างๆ มากมาย

ได้แก่

• โรคไขมันในเลือดสูง • โรคเบาหวาน • ผิวหนังแตกลาย • ข้อเข่าเสื่อม • นอนกรน • หายใจล�ำบาก • โรคมะเร็งหลายๆ ชนิด เช่น มะเร็งรังไข่  มะเร็งเต้านม

3. ไขมันในเลือดสูง

โรคไขมั น ในเลื อ ดสู ง เป็ น โรคที่ พ บบ่ อ ยมากๆ  ในปั จ จุ บั น   และ หลายๆ คนรู้สึกกังวลกลัวโรคดังกล่าวเป็นอย่างมาก  การจะทราบได้ว่า ไขมันในเลือดสูงหรือไม่สูง มองหน้ามองตากันบอกไม่ได้แน่ๆ ครับ ต้อง ไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลถึงจะรู้ได้  โดยการตรวจจะตรวจได้  4 ตัวหลัก คือ • คอเลสเตอรอล • ไตรกลีเซอไรด์ เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 33


• เอชดีแอล หรือไขมันดี • แอลดีแอล หรือไขมันร้าย

ส�ำหรับประชาชนทั่วไป มีข้อแนะน�ำให้ตรวจเลือดดูระดับ ไขมันทุกปี  เราสามารถแปลผลการตรวจเหล่านี้ง่ายๆ ได้เองดังนี้ • คอเลสเตอรอล ไม่ควรเกิน 200 mg/dl • ไตรกลีเซอไรด์  ไม่ควรเกิน 150 mg/dl • เอชดีแอล ควรมีค่ามากกว่า 40 mg/dl • การแปลผลแอลดีแอล ควรน้อยกว่า 160 mg/dl โรคไขมั น ในเลื อ ดสู ง เป็ น ปั ญ หาที่ ส� ำ คั ญ และน� ำ มาซึ่ ง โรค ต่างๆ มากมาย ได้แก่ • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน • โรคหลอดเลือดสมองตีบ

4. ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน  ก่อน จะรู้จักโรคนี้  จ�ำเป็นต้องรู้จักเรื่องความดันโลหิตเสียก่อน  ในทางการ แพทย์  “ค่าความดันโลหิต” จัดเป็นค่าที่มีการตรวจวัดเป็นมาตรฐานทาง การแพทย์  สามารถวัดค่าความดันโลหิตได้ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต และจะท�ำให้ได้ผลออกมา 2 ค่าคือ - ค่าความดันโลหิตตัวบน หรือ Systolic หมายถึงความดันโลหิต ที่วัดได้เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว  ส�ำหรับคนปกติ  ค่านี้มีค่าเท่ากับ 120 มิลลิเมตรปรอท - ค่าความดันโลหิตตัวล่าง หรือ Diastolic หมายถึงความดันโลหิต ที่วัดได้เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว  ส�ำหรับคนปกติ  ค่านี้มีค่าเท่ากับ 80 มิลลิเมตรปรอท 34 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


ในทางการแพทย์นั้น หากค่าใดค่าหนึ่งใน 2 ค่ามีค่าสูงกว่าปกติ ก็จะถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ปกติจะต้องวัดตอนพักให้หายเหนื่อย อย่างน้อย 15 นาที  และต้องวัดยืนยันซ�้ำใน 2 สัปดาห์)  ทั้งนี้  มีข้อแนะ น�ำว่า ถ้าอายุเกิน 35 ปี  ควรมีการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง

อาการที่พบได้ของโรคความดันโลหิตสูงมีดังต่อไปนี้ครับ • มึนงง  • ตาพร่ามัว  • ปวดศีรษะตรงท้ายทอย มักจะปวดหนึบๆ ตอนเย็นๆ  • เหนื่อยง่าย  • แน่นหน้าอก  • นอนไม่หลับ  • อ่อนเพลีย  • เลือดก�ำเดาออกบ่อย • ชัก

ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาที่ส�ำคัญและน�ำมาซึ่งโรคต่างๆ มากมาย ได้แก่ • โรคหัวใจ • โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะหลอดเลือดสมองแตก • โรคจอประสาทตา • โรคไต • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองและแตก ในปัจจุบันสาเหตุที่แน่ชัดของโรคความดันโลหิตสูงยังไม่เป็นที่ ทราบกันดี   แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือด และมี ปัจจัยเสี่ยงหลายๆ อย่าง เช่น สูบบุหรี่  เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 35


ถ้าใครเป็นครบทั้ง 4 โรค และจัดอยู่ในกลุ่มอาการเมตาบอลิก ซึ่งถือว่าเป็นภาวะส�ำคัญที่ต้องรักษา  โดยเกณฑ์การวินิจฉัยมีดังนี้ • เส้นรอบเอวตั้งแต่  90 เซนติเมตรในชาย หรือ 80 เซนติเมตรใน เพศหญิง ร่วมกับภาวะอื่นๆ อีก 2 ข้อ ดังนี้  • ความดันโลหิต Systolic มากกว่าหรือเท่ากับ 130 หรือ Diastolic มากกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท   • ระดับน�้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dl  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 150 mg/dl  • ระดับเอชดีแอลในเลือดต�่ำกว่า 40 mg/dl ในผู้ชาย หรือ 50 mg/dl ในผู้หญิง กลุ่มอาการนี้ก่อปัญหาทางสุขภาพดังนี้ • อาจท�ำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดโรคหัวใจได้ • ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงท�ำให้เกิดความดันโลหิตสูง  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือด ตีบตัน • เลือดจะแข็งตัวได้ง่าย ท�ำให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือ หัวใจ  • เสี่ยงต่อโรคเบาหวานขั้นรุนแรง ผู้ที่มีกลุ่มอาการดังกล่าวนี้จ�ำเป็นต้อง • งดอาหารหวาน เค็ม ไขมัน และรสจัด • ไม่ดื่มสุรา • ไม่สูบบุหรี่ • พักผ่อนมากๆ  • ลดน�้ำหนัก • ออกก�ำลังกาย 36 ศ.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจ, อาจารย์กมล ไชยสิทธิ์


ดังนั้น เมื่อพูดถึงโรคเบาหวานแล้วก็ควรพูดถึงโรคที่มักมาด้วย เสมอ  และในการดูแลผู้ป่วยนั้น หากมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย ต้องมีการปรับ การดูแลเพิ่มขึ้นให้เหมาะสม ปั จ จุ บั น โรคเบาหวานเป็ น โรคที่ มี ค วามส� ำ คั ญ มากและพบ เห็นกันได้บ่อยๆ  จ�ำเป็นต้องใส่ใจและรีบรักษาแต่เนิ่นๆ นะครับ (ถ้าผู้อ่านสนใจรายละเอียดการรักษา สามารถสอบถามได้โดยตรง จากผู้เขียน)

เมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน 37


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.