COOL
JAZZ แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 3)
COOL
JAZZ สิเหร่
แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 3)
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557
แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 3) : COOL JAZZ • สิเหร่ พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์มติชน, มิถุนายน 2557 ราคา 270 บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม สิเหร่. แจ๊ซวิถี ขบวนการ 3 Cool Jazz. --กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 336 หน้า. --(สารคดี) 781.65 ISBN 978 - 974 - 02 - 1291 - 1 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : สุพรรณี สงวนพงษ์ • นักศึกษาฝึกงาน : กรวรรณ จีนนะบุตร พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ • กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ ออกแบบปก : สิริพงษ์ กิจวัตร • ศิลปกรรม : ศศิณัฏฐ์ กิจศุภไพศาล ประชาสัมพันธ์ : กานต์สินี พิพิธพัทธอาภา
หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11110 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ บทสนทนา (อีกสักครั้ง)
1 BIRTH OF THE COOL บทก�ำเนิดแนวทางคูลแจ๊ซของไมล์ส เดวิส 2 COHN’S TONES ยินน�้ำเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนต�่ำลึกของอัล คอห์น 3 คูลคือจิตวิญญาณ ผ่านน�้ำเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนอันงดงามของสแตน เก็ตซ์ บทที่ 1 AT STORYVILLE ปฐมบทในวิถีคูลแจ๊ซ บทที่ 2 GETZ MEETS MULLIGAN IN HI-FI เมื่อสองจิตวิญญาณคูลเอ่ยเอื้อนความนัยต่อกัน 4 MOONLIGHT IN VERMONT ครวญเสียงกีตาร์คูลแสนละไมจากจอห์นนี สมิธ 5 TONY SCOTT QUARTET ยินเสียงคลาริเน็ตลุ่มลึกของโทนี สก๊อตต์ 6 เจอร์รี มัลลิแกนกับเสียงบาริโทน แซ็กโซโฟน แสนอบอุ่นจนสงบลึก บทที่ 1 PARIS CONCERT การประกาศแนวทางคูลในยุโรปปี 1954
8 10 15 27 37 37 46 57 65 73 73
บทที่ 2 AT STORYVILLE 81 บันทึกการแสดงสดในบอสตัน ค�ำยืนยันอีกครั้งต่อวิถีคูลแจ๊ซ บทที่ 3 GERRY MULLIGAN MEETS BEN WEBSTER 90 นี่คือผลงานในระดับต�ำนานแจ๊ซ 7 JIMMY RANEY VISITS PARIS 101 สัมผัสกีตาร์คูลจากปลายนิ้วของจิมมี เรนีย์ 8 DJANGO 109 ผลงานระดับต�ำนานในกระแสคูลแจ๊ซ ของเดอะ โมเดิร์น แจ๊ซ ควอร์เต็ต 9 THE SWINGING MR.ROGERS 123 เสนาะเสียงทรัมเป็ตในกระแสคูลของชอร์ตี โรเจอร์ส 10 JACK MONTROSE WITH BOB GORDON 133 การปะทะกันระหว่างเทเนอร์กับบาริโทน แซ็กโซโฟน ในกระแสคูลแจ๊ซอันงดงามของแจ๊ก มอนท์โรส–บ็อบ กอร์ดอน 11 เลนนี ทริสตาโน มือเปียโนต้นแบบ 143 กับผลงานควอร์เต็ตในวิถีคูล 12 CHICO HAMILTON QUINTET 155 เสนาะเสียงคูลในลีลาแชมเบอร์ของชิโก แฮมิลตัน 13 RED MITCHELL 169 ผลงานชุดแรกในวิถีคูลของเรด มิตเชลล์ 14 ซูต ซิมส์ ผู้เปล่งหลั่งตัวตนแท้จริงกับเสียงเทเนอร์ 179 แซ็กโซโฟน ในผลงานชุด THE MODERN ART OF JAZZ 15 บัด แชงก์ อัลโต แซ็กโซโฟนละเมียดใจในผลงานชุด 191 BUD SHANK QUARTET 16 LENNIE NIEHAUS: THE SEXTET 201 ผลงานเรียบง่ายแต่ล�้ำลึกของเลนนี นีฮูส 17 GRAND ENCOUNTER: 211
2 DEGREES EAST – 3 DEGREES WEST ผลงานอันแปลกต่าง แต่กลับงดงามยิ่งของจอห์น ลูว์อิส 18 ON STAGE ความละมุนจากวงแปดชิ้นในเสียงคูลของบิลล์ เพอร์กินส์ 19 THE SWINGING GUITAR รวดเร็วแต่สง่างาม ล�้ำลึกและกินใจ จากเสียงกีตาร์ของทัล ฟาร์โลว์ 20 เช็ต เบเกอร์ ทรัมเป็ตเหงาเศร้า แต่ลุ่มลึกกับผลงานชุด QUARTET: RUSS FREEMAN AND CHET BAKER 21 JAZZ QUITAR ความงามในพลังสร้างสรรค์ของจิม ฮอลล์ 22 VERY COOL ยินเสียงอัลโต แซ็กโซโฟนแสนละไมของลี โคนิตซ์ 23 WARNE MARSH สดับเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนแสนละเมียดของวอร์น มาร์ช 24 THE STREET SWINGERS แผ่วเสียงสวิงในกระแสคูลอันละเมียดของบ๊อบ บรูคไมเยอร์ 25 WESTERN SUITE เสียงอันเรียบลึก แต่ล�้ำยุคสมัยของจิมมี กิฟฟี 26 เสนาะเสียงกลองอันละเมียดของเชลลี แมนน์ ในผลงานชุด AT THE BLACK HAWK VOL.1 27 พอล เดสมอนด์ แด่คูลทั้งจิตวิญญาณ SIGNIFICANT COOL PLAYERS รู้จักผู้เขียน
221 233
243 255 269 281 289 307 319 327 334 336
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
คงไม่ผิดนักหากจะเปรียบดนตรีแจ๊ซเป็นเสมือนชายหนุ่มผู้รักอิสระ “บีบ็อพ” หนึ่งในสายธารแห่งแจ๊ซจึงเป็นดั่งชายผู้เกรี้ยวกราดห้าว หาญ ขณะที่ “คูลแจ๊ซ” เหมือนชายหนุ่มผู้รักธรรมชาติ แสดงความรู้สึก อย่างละเมียดละไม และเต็มไปด้วยความนุ่มนวล คูลแจ๊ซ (COOL JAZZ) เป็นแจ๊ซแนวทางใหม่ ที่ต่อยอดมาจาก บีบ็อพ (Bebop) อันเกิดจากการปฏิวัติทางดนตรีอย่างมากต่อวิถีแจ๊ซ บีบ็อพเข้ามาเปิดศักราชใหม่ของแจ๊ซวิถีที่เคยอยู่ในกรอบแบบเดิมๆ อัน คุ้นชินซึ่งคือสวิงและบิ๊กแบนด์ ไปสู่การบรรเลงท่วงท�ำนองแบบสุดโต่ง ของนักดนตรี คูลแจ๊ซได้ต่อยอดความเคลื่อนไหวทางดนตรีเหล่านั้นเพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการอันแปลกต่างของคนแจ๊ซนั่นเอง วิถคี ลู เกิดขึน้ ในช่วงทศวรรษที ่ 1950 ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของวิวฒ ั นาการ แห่งแจ๊ซวิถี เพื่อแยกย่อยสาขาให้เกิดความหลากหลาย เพิ่มมิติความ สร้างสรรค์ขึ้นโดยน�ำแนวประสานของดนตรีคลาสสิกเข้ามาผสมผสาน กับบ็อพ สร้างจังหวะที่คลี่คลายอย่างเนิบช้า ครอบคลุมบรรยากาศให้ หม่นมัวและเศร้าซึม บีบกดอารมณ์ความรู้สึกภายในออกมาด้วยสุ้มเสียง 8
สิเหร่
อันอ่อนโยน สิ เ หร่ นามปากกาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะนักวิจารณ์ระดับ ปรมาจารย์ด้านดนตรีแจ๊ซ สิเหร่เคยฝากผลงานเล่มแรกในชื่อ แจ๊ซวิถี : POST-BEBOP ที่เปิดบทสนทนาถึงอัลบั้มวิถีแจ๊ซอันยิ่งใหญ่ ไม่เพียงเท่า นั้นสิเหร่ยังฝากผลงานในชุดถัดมาในชื่อ แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 2) : JAZZROCK FUSION ทีก่ ล่าวถึงปฐมบททางดนตรีแจ๊ซทีแ่ สดงให้เห็นอิสระทาง ความคิด ในครั้งนี้ สิเหร่หวนกลับมาสนทนาถึงวิถีแจ๊ซอีกครั้งในผลงาน แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 3) : COOL JAZZ ที่แสดงปฐมบทแห่งคูลแจ๊ซ พูด คุยความรู้สึกและแสดงความคิดต่ออัลบั้มในวิถีคูลแจ๊ซให้ชาวแจ๊ซได้ สดับทั้งรส กลิ่น และเสียง แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 3) : COOL JAZZ ไม่เพียงแต่น�ำเสนอเรื่อง ราวของ “คูลแจ๊ซ” ผ่านสนทนาทางดนตรีเพียงเท่านั้น หากแต่ท่วงท�ำนอง ของดนตรีที่สิเหร่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรช่างงดงาม เปี่ยมด้วย ลีลาการเขียนที่พลิ้วไหว เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ทั้งรื่นรมย์และเหงา เศร้าของคูลแจ๊ซได้อย่างลึกซึ้ง เมื่อดนตรีแจ๊ซคือรูปลักษณ์ทางดนตรีที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่นิยม และ โด่งดังไปทั่วโลก คูลแจ๊ซก็คือตัวแทนหนึ่งของแจ๊ซที่สงบงาม กล่อมทุก สิ่งรายรอบให้เหงาเงียบแต่อิ่มเอม ซ่อนบางสิ่งที่ยากจะคาดเดาไว้ และสิเหร่ก็คือผู้รักการเล่าทุกน�้ำเสียงในดนตรีแจ๊ซอย่างมี อิสระต่อทั้งผู้อ่านและตัวผู้เขียนเอง ส�ำนักพิมพ์มติชน
แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
9
บทสนทนา (อีกสักครั้ง)
ค�ำว่า “คูล” ตามภาษาของดนตรีแจ๊ซ ย่อมหมายถึงการถูกจ�ำกัด หรือ การผ่อนคลาย รวมไปถึงการแสดงออกมาอย่างไม่ค่อยเต็มที่นัก ถือเป็น ค�ำหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในช่วงทศวรรษที่ 1950 ไม่ใช่ แค่ค�ำพูดในสายดนตรีเท่ านั้น แต่ยังเป็นค�ำที่ใช้กับการด�ำเนินชีวิตใน สังคมอเมริกัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ส�ำหรับ “คูล” ในน�้ำเสียงแห่งแจ๊ซ แม้จะยึดหลักบางด้านจาก บีบ็อพเป็นศูนย์กลาง แต่กลับสร้างเสียงอันเป็นบุคลิกแตกต่างออกไปจาก เดิมพอสมควร ในขณะที่บีบ็อพเคลื่อนไหวไปบนจังหวะเร่าร้อน รูปแบบ ของคูลกลับตรงข้าม น่าจะอยู่ตรงการเคลื่อนไหวของจังหวะอันคลี่คลาย อย่างค่อนข้างเนิบช้า ไปพร้อมกับแนวประสานที่คล้ายคลึงกัน เพียงเพื่อ จะครอบคลุมบรรยากาศให้หม่นมัวและเศร้าซึม จนบีบกดอารมณ์ความ รู้สึกโหยหา ให้กลายเป็นหัวใจหลักของแนวทางไปโดยปริยาย อิทธิพลอีก ส่วน มาจากการเลือกใช้แนวประสานเสียงของดนตรีคลาสสิกตะวันตก... “คูล” มีท่วงลีลาของการเคลื่อนไหวไปกับจังหวะที่คลี่คลายอย่าง ค่อนข้างเนิบช้า ไปพร้อมกับแนวประสานเสียงอันคล้ายคลึงกัน เพียงเพื่อ 10
สิเหร่
จะครอบคลุมบรรยากาศให้หม่นมัวและเศร้าซึม จนสามารถบีบกดอารมณ์ ความรู้สึกโหยหา ให้กลายเป็นหัวใจหลักของแนวทาง... นั่นคือนัยของคูลแจ๊ซ (COOL JAZZ) อันเป็นดนตรีแจ๊ซอีกสาย หนึ่ง ที่รุ่งโรจน์อยู่ในช่วงทศวรรษที่ 1950 เป็นแจ๊ซที่เปรียบเสมือนเสียง ของคนผิวขาวโดยตรง เพราะนักดนตรีส่วนใหญ่ในสายคูล ต่างก็เป็นคน ผิวขาวแทบทั้งสิ้น ผ่านการเล่นแจ๊ซทั้งยุคสวิงและบีบ็อพมาอย่างโชกโชน อาจเป็นเสมือนเสียงแห่งจิตวิญญาณของคนขาว เพื่อตอบสนองต่อคน ขาวด้วยกันเอง นักดนตรีแจ๊ซสายคูลที่ถือว่าเป็นต�ำนานมีมากมายอย่าง เช่น สแตน เก็ตซ์ นักเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟน จอห์นนี สมิธ มือกีตาร์ ต้นแบบคนหนึ่งในวิถีแจ๊ซ เจอร์รี มัลลิแกน นักเป่าบาริโทน แซ็กโซโฟน เลนนี ทริสตาโน มือเปียโน เรด มิตเชลล์ มือเบส ซูต ซิมส์ นักเป่า เทเนอร์ แซ็กโซโฟอีกคน บัด แชงก์ นักเป่าอัลโต แซ็กโซโฟน บิลล์ เพอร์กินส์ นักเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟน ทัล ฟาร์โลว์ มือกีตาร์อกี คน เช็ตเบเกอร์ นักร้องและเป่าทรัมเป็ต ผู้เหงาเศร้าแต่ลมุ่ ลึกไปกับลีลาคูลแจ๊ซ ลี โคนิตซ์ นักเป่าอัลโต แซ็กโซโฟน บ๊อบ บรูคไมเยอร์ นักเป่าทรอมโบน จิมมี กิฟฟี นักเป่าคราริเน็ต รวมไปถึงมือกีตาร์ผู้กลายเป็นต�ำนานของแจ๊ซวิถ ี อย่างจิม ฮอลล์ และพอล เดสมอนด์ นักเป่าอัลโตแซ็กโซโฟนทีม่ นี ำ�้ เสียง อ่อนหวานและโหยหา แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 3) : COOL JAZZ เป็นบทความทางดนตรี แจ๊ซที่ผมรวบรวมมาจากการตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสาร WHAT HI-FI? ตั้งแต่ฉบับที่ 286 ปีที่ 24 ประจ�ำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 จนกระทั่ง ถึงฉบับที่ 314 ปีที่ 27 ประจ�ำเดือนธันวาคม พ.ศ.2554 ซึ่งยังคงรูปแบบ ในการเขียนและวิธีคิดไม่ต่างไปจาก แจ๊ซวิถี : POST BEBOP และ แจ๊ซวิถ ี (ขบวนการ 2) : JAZZ – ROCK FUSION ยังคงเป็นการแนะน�ำ อัลบัม้ ผลงานทีถ่ กู จัดให้อยูใ่ นระดับคลาสสิกของคูลแจ๊ซทัง้ สิน้ ผลงานส่วน ใหญ่อยู่ในช่วงทศวรรษที่ 1950 อันเป็นช่วงที่กระแสธารสายคูลแจ๊ซก�ำลัง กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางของคนแจ๊ซ โดยเฉพาะคนแจ๊ซผิวขาว แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
11
ในช่วงนั้น ผมยังคงยืนยันว่า แนวคิดที่ผมกล่าวถึงในอัลบั้มทั้งหมดในผลงาน ชิ้นนี้ ถือเป็นการพูดคุยจากความรู้สึกและความคิดส่วนตัวต่อการรับฟัง อัลบั้มผลงานเหล่านั้น เป็นการเปิดประเด็นเพื่อจะเข้าร่วมสู่วงสนทนา ส�ำหรับคนแจ๊ซด้วยกัน และแน่นอนว่า ประเด็นการตีความอัลบั้มผลงาน ในแต่ละชุดที่กล่าวถึงไม่ใช่บทสรุปชี้ขาด เป็นเพียงข้อคิดเห็นหนึ่งของ คนแจ๊ซเท่านั้นเอง (และเพื่อท�ำความเข้าใจต่อท่านผู้อ่าน ตัวเลขภายใน วงเล็บหลังชื่ออัลบั้มแต่ละชุดที่ผมอ้างถึง ก็คือตัวเลขรหัสประจ�ำอัลบั้ม ผลงานชิ้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลขรหัสในรูปแบบแผ่นเสียง แต่หาก มีตัวเลขหลายหลัก จะเป็นตัวเลขรหัสในรูปแบบซีดี) ครับ...ผมยังคงยืนยันกับตัวเองและกับท่านผู้อ่านว่า ดนตรีแจ๊ซ ไม่ว่าจะเป็นสายธารใด ในความหมายที่แท้จริงของผม ยังคงเป็นอิสรภาพ เหมือนเดิม จริงๆ แล้วดนตรีแจ๊ซไม่ใช่เสียงที่ลอยล่องมาจากนามธรรม ทุกเสียงซึ่งเปล่งหลั่งออกมาจากตัวศิลปินแจ๊ซ ไม่ว่าจะเป็นคนด�ำหรือคน ขาว ต่างสืบเนื่องมาจากเรื่องราวทางสังคม ศาสนา และรวมถึงการเมือง ทั้งสิ้น เพียงแต่คูลแจ๊ซยังมีเสียงของอารมณ์ ความเหงาเศร้า ความรัก กับอิทธิพลของธรรมชาติ เข้ามาครอบง�ำอยู่ในกระแสธารนั้นด้วย ถ้าไม่เชื่อ...คุณลองสดับเสียงจากคูลแจ๊ซดูสักครั้ง แล้วคุณจะได้ รับรส กลิ่น และเสียงแห่งความโหยหา เสียงของความเศร้าซึม เสียงของ ความรักทีง่ ดงาม และเสียงจากธรรมชาติทกี่ กู่ อ้ งอยูใ่ นบทเพลง บนกระแส ธารสายคูลอย่างแน่นอน...
12
สิเหร่ บ้านบางพลัด ธนบุรี
สิเหร่
COOL
JAZZ แจ๊ซวิถี (ขบวนการ 3)
Miles Davis
ที่มาภาพ http://en.wikipedia.org/wiki/File:Miles_Davis_by_Palumbo.jpg
1
BIRTH OF THE COOL
บทก�ำเนิดแนวทางคูลแจ๊ซของไมล์ส เดวิส
หลังสิน ้ สุดช่วงเวลาแห่งความ รุ่งโรจน์ของยุคสวิงในช่วงต้นทศวรรษที่ 1940 วงบิ๊ ก แบนด์ ที่ เ คย สร้างสีสันให้กับแจ๊ซวิถีในช่วงนั้น เริ่มกลายเป็นเพียงต�ำนานบทหนึ่ง ที่ก�ำลังถูกลืม แรงกระแทกส�ำคัญ อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต่าง เกิดจากสภาพแวดล้อมทางศาสนา สังคม การเมือง และรวมไปถึงผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท�ำให้ สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งหมดเหล่านั้น เหมือนตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนรสนิยมอันเคยชิน สู่สิ่งที่แปลกต่าง ออกไปในแบบท้าทาย เสียงของบ็อพ (Bop) หรือบีบ็อพ (Bebop) ซึ่งเกิดจากแนวคิด ของศิลปินแจ๊ซรุ่นใหม่ที่เกิดและเติบโตกับสภาพแวดล้อมแปลกต่างออก ไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ได้ปลุกกระแสส�ำนึกทางจิตวิญญาณ ซึ่งฝังลึกอยู่ แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
15
ในตัวของตัวเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อประสานร่วมไปกับค่านิยมจากสื่อ มวลชนและนักวิจารณ์ดนตรีที่มีใจให้กับแจ๊ซ ทั้งหมดเหล่านั้นคือแรง สนับสนุนต่อนักดนตรีแจ๊ซรุ่นใหม่ ให้เกิดส�ำนึกแห่งความภาคภูมิใจทั้งใน สถานภาพคนด�ำ รวมถึงดนตรีแจ๊ซที่เขายึดมั่นได้ถูกยกย่องและยอมรับ ให้กลายสภาพเป็นงานศิลปะ ไม่ต่างไปจากดนตรีในแนวทางอื่นที่เกิด จากคนขาว ภาพรวมของบิ๊กแบนด์หรือแนวทางสวิงที่ซับซ้อนในส�ำนึกของนัก ดนตรีแจ๊ซรุ่นใหม่นี้ แท้จริงแล้วก็คือภาพลักษณ์แห่งการจ�ำยอมของคน ด� ำ ต่ อ สภาพการกดขี่ ทั้ ง ทางสั ง คม ศาสนา รวมไปถึ ง การเมื อ งนั่ น เอง และด้วยแนวคิดแปลกต่างออกไป เมื่อรวมไปกับความเบื่อหน่ายต่อการ เล่นดนตรีในแนวทางบิ๊กแบนด์แบบเดิมๆ ซึ่งมักถูกยึดติดอยู่กับแนวทาง เรียบเรียงเสียงประสานที่ตายตัว ท�ำให้นักดนตรีอย่างชาร์ลี พาร์คเกอร์ นักเป่าอัลโต แซ็กโซโฟน กับดิซซี กิลเลสปี นักเป่าทรัมเป็ต และเพือ่ นพ้อง ที่มีแนวคิดเดียวกัน ต่างใช้เวลาหลังเลิกเล่นดนตรีแลกเปลี่ยนแนวคิด และร่วมซ้อมเพื่อค้นหาแนวใหม่ให้กับแจ๊ซวิถีอย่างจริงจัง และนั่นก็ท�ำ ให้ก่อเกิดแนวทางบีบ็อพขึ้นในราวปี ค.ศ.1944 พวกเขาใช้ถนนสายที่ 52 ในนครนิวยอร์ก เป็นศูนย์กลางประกาศแนวทางแจ๊ซใหม่อย่างท้าทาย และจริงจัง กระทั่งปี ค.ศ.1945 ชาร์ลี พาร์คเกอร์กับดิซซี กิลเลสปี ได้ ร่วมกันตั้งวงดนตรี 5 ชิ้นขึ้นมา เพื่อยืนยันแนวคิดตัวเอง ผ่านบทเพลง มากมายที่บันทึกเสียงให้กับค่ายกิลด์ เร็คคอร์ดส์ ด้วยโครงสร้างของบีบ็อพที่แปลกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงจากดนตรี แจ๊ซยุคแรกและยุคสวิง ทั้งในส่วนของแนวเสียงประสานและจังหวะ ซึ่ง ถือเป็นการปฏิวัติอย่างรุนแรงและส�ำคัญต่อประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ซ แล้ว ยังเป็นการเปิดศักราชใหม่ให้เกิดแนวทางการบรรเลงของนักดนตรี แจ๊ซในแบบสุดโต่ง หลังจากที่พวกเขาถูกปิดกั้นไว้ด้วยกรอบเก่าๆ ตาม รูปแบบเดิมๆ มาค่อนข้างยาวนาน ผลของการปฏิรูปอย่างเด็ดขาดของ บีบ็อพ ท�ำให้เกิดการต่อต้านจากนักดนตรีแจ๊ซในแนวอนุรักษ์อย่างรุนแรง 16
สิเหร่
แต่กลับได้รับความชื่นชมและยอมรับอย่างดีเยี่ยมในฐานะที่เป็นแนวทาง ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดการต่อยอดออกไปอย่างไร้ขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นคูล แจ๊ซ (Cool Jazz) ฮาร์ดบ็อพ (Hard Bop) โมดัลแจ๊ซ (Modal Jazz) และฟรีแจ๊ซ (Free Jazz) ในเวลาต่อมา ด้วยอิทธิพลของบีบ็อพที่เกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1940 ช่วย ให้เกิดการคลี่คลายรูปแบบสู่เสียงที่แปลกต่างออกไปสองสายในช่วงระยะ เวลาใกล้เคียงกันมาก ซึ่งอยู่ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 สายแรกคือ คูลแจ๊ซ เกิดจากการน�ำแนวประสานของดนตรีคลาสสิกเข้ามาผสมผสาน กับบ็อพ ส่วนอีกสายอย่างฮาร์ดบ็อพ เกิดจากการผนวกเอาเสียงของ ริธึ่มแอนด์บลูส์และกอสเพล ให้สอดกลืนเข้าไปรับใช้บ็อพ ค�ำว่า “คูล” ตามภาษาของดนตรีแจ๊ซ ย่อมหมายถึงการถูกจ�ำกัด หรือการผ่อนคลาย ไปจนกระทั่งถึงการแสดงออกมาอย่างไม่ค่อยเต็มที่ นัก เป็นค�ำหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษที่ 1950 ไม่ใช่แค่เป็นค�ำพูดในสายดนตรีเท่านั้น แต่ยังใช้กับการด�ำเนินชีวิตใน สังคมอเมริกันช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ส�ำหรับคูลแจ๊ซโดยน�้ำเสียงของมันเอง แม้จะยึดเอาหลักบางด้าน ของบีบ็อพเป็นศูนย์กลาง แต่กลับสร้างเสียงที่เป็นบุคลิกแตกต่างออกไป จากเดิมพอสมควร ในขณะที่บ็อพเคลื่อนไหวไปบนจังหวะเร่าร้อน รูป แบบของคูลแจ๊ซกลับตรงข้าม น่าจะอยู่ตรงการเคลื่อนไหวของจังหวะ ที่คลี่คลายอย่างค่อนข้างเนิบช้าไปพร้อมกับแนวประสานที่คล้ายคลึง กั น เพื่ อ ครอบคลุ ม บรรยากาศให้ ห ม่ น มั ว และเศร้ า ซึ ม บี บ กดอารมณ์ ความรู้สึกโหยหาให้กลายเป็นหัวใจหลักของแนวทาง นอกเหนือจากเสียงของบ็อพที่เป็นตัวก่อก�ำเนิดในคูลแจ๊ซแล้ว อิทธิพลอีกส่วนหนึ่งของคูลมาจากการเลือกใช้แนวประสานของดนตรี คลาสสิกตะวันตก โดยเฉพาะผลงานของนักประพันธ์ดนตรีอย่างสตราวินสกีและเดอบูซ์ซี ซึ่งนักดนตรีแจ๊ซผิวขาวบางคนได้เลือกน�ำมาใช้กับ วิถีคูลของตัวเอง แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
17
ภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันอย่างโดดเด่นระหว่างคูลแจ๊ซกับฮาร์ด บ็อพ น่าจะอยู่ที่ตัวนักดนตรีเอง ส่วนใหญ่กลุ่มนักดนตรีสายคูลจะเป็น คนผิวขาว มาจากชนชั้นกลางที่มีแนวคิดค่อนข้างเสรีนิยม มีระดับการ ศึกษาที่ดี รักดนตรีแจ๊ซ ผ่านการเล่นดนตรีทั้งยุคสวิงและบีบ็อพมาอย่าง โชกโชน แต่ขณะเดียวกันก็พยายามสร้างแนวทางแจ๊ซตามรสนิยมของ ตัวเองออกมา ส่วนนักดนตรีในสายฮาร์ดบ็อพเกือบทั้งหมดจะเป็นคน ผิวด�ำรุน่ ใหม่ ผูม้ แี นวคิดทีต่ อ้ งการเปลีย่ นแปลงสภาพสังคมเก่า สอดคล้อง กับขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและต่อต้านการเหยียดผิว ภาพที่ติดตัวเด่นชัดในคูลแจ๊ซอีกอย่างก็คือ มีลักษณะอนุรักษ นิยมในตัวเองค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่า ไมล์ส เดวิส (Miles Davis) จะเป็นเสมือนผู้ก่อก�ำเนิด แนวทางคูลแจ๊ซ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เสียงในลักษณะเดียวกับคูล แจ๊ซ ได้เกิดขึ้นมาก่อนร่วมสิบปี จากแนวคิดของโคลด ธอร์นฮิลล์ (นัก เปียโน นักเรียบเรียงดนตรี เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1909 เสียชีวิต เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1965) ซึ่งคนแจ๊ซสามารถศึกษาผลงานของ เขาได้จากชุด BEST OF THE BIG BANDS กับอัลบั้มชุด REAL BIRTH OF THE COOL ทั้งสองชุดถูกบันทึกเสียงเมื่อช่วงปี ค.ศ.1941-1947 ใน สังกัดโคลัมเบีย เร็คคอร์ดส์ ด้วยแนวคิดที่ค่อนข้างล�้ำหน้าของธอร์นฮิลล์ จนกลายเป็นต้นแบบให้กับกิล อีแวนส์ (เปียโน) ลี โคนิตซ์ (อัลโต แซ็กโซโฟน) รวมไปถึงเจอร์รี มัลลิแกน (บาริโทน แซ็กโซโฟน) นักดนตรีทั้ง สามต่างเคยร่วมเล่นอยู่ในวงของธอร์นฮิลล์มาก่อน และที่ส�ำคัญ ทั้งสาม เปรียบเสมือนตัวหลักส�ำคัญของแนวทางคูลแจ๊ซในเวลาต่อมา ในขณะที่กระแสบีบ็อพก�ำลังถึงจุดสุดยอด ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1949-1950 นักเป่าทรัมเป็ตหนุม่ ไมล์ส เดวิส อดีตสมาชิกวงชาร์ล ี พาร์คเกอร์ ได้ทดลองท�ำวงดนตรี 9 ชิ้นขึ้นมา เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ก่อให้ เกิดแนวทางคูลแจ๊ซอย่างแท้จริงในชุด BIRTH OF THE COOL (ECJ50050) สั ง กั ด แคปิ ต อล เร็ ค คอร์ ด ส์ โดยร่ ว มกั บ นั ก เรี ย บเรี ย งดนตรี 18
สิเหร่
อย่างกิล อีแวนส์, เจอร์รี มัลลิแกน, จอห์น ลูว์อิส และจอห์น คาริสิ ถึง แม้ผลงานชุดนี้จะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากคนแจ๊ซทั่วๆ ไปใน ช่วงนั้น แต่ส�ำหรับแวดวงนักดนตรีแจ๊ซด้วยกันเอง และอาจรวมไปถึง คนแจ๊ซระดับเซียน กลับให้ความสนใจกับเสียงแปลกต่างออกไปจาก เดิมๆ ที่ผลงานชุดนี้น�ำเสนอ เสียงซึ่งต่อมาถูกเรียกขานกันในหมู่คนแจ๊ซ ว่าคูลนั้น ได้เปลี่ยนสถานภาพของนักเป่าทรัมเป็ตธรรมดาๆ อย่างไมล์ส เดวิส ให้กลายเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีแสงกะพริบเจิดจ้าในตัวเองต่อ แจ๊ซวิถีไปอีกยาวนาน บทเพลงทั้ง 12 บทในผลงานชุดนี้ ต่างยึดติดบนโครงสร้างของ เครื่องดนตรี 9 ชิ้นอย่างเคร่งครัด เพียงแต่เปลี่ยนตัวนักดนตรีบ้าง อาจ เพื่อความเหมาะสม หรือขึ้นกับช่วงเวลาที่ท� ำการบันทึกเสียงเพลงนั้นๆ อย่างบทเพลง Move, Jeru กับ Godchild ถูกบันทึกเสียงเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ.1949 ในนครนิวยอร์ก มีไมล์สเป็นผู้น�ำวงและเป่าทรัมเป็ต ร่วมกับคาย วินดิง (ทรอมโบน) จูเนียร์ คอลลินส์ (เฟร็นช์ฮอร์น) จอห์น บาร์เบอร์ (ทูบา) ลี โคนิตซ์ (อัลโต แซ็กโซโฟน) เจอรร์ ี มัลลิแกน (บาริโทน แซ็กโซโฟน) อัล เฮก (เปียโน) โจ ชูแมน (เบส) และแม็กซ์ โรช (กลอง) ส่วนบทเพลง Venus De Milo, Boplicity, Israel กับ Rouge บันทึกเสียงเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1949 ในนครนิวยอร์กเหมือนกัน นอกจากไมล์สแล้ว ยังประกอบด้วย เจ.เจ. จอห์นสัน (ทรอมโบน) แซนดี ซีเกลสไตน์ (เฟร็นช์ฮอร์น) จอห์น บาร์เบอร์ (ทูบา) ลี โคนิตซ์ (อัลโต แซ็กโซโฟน) เจอร์รี มัลลิแกน (บาริโทน แซ็กโซโฟน) จอห์น ลูว์อิส (เปียโน) นีลสัน บอยด์ (เบส) และเคนนี คลาร์ก (กลอง) ส�ำหรับบทเพลงทีเ่ หลือประกอบด้วย Moon Dreams, Deception, Rocker และ Darn That Dream บันทึกเสียงเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1950 ในนครนิวยอร์กเช่นกัน ไมล์สเป่าทรัมเป็ตและเป็นผู้น�ำวง เจ.เจ. จอห์นสัน (ทรอมโบน) กุนเธอร์ ชุลเลอร์ (เฟร็นช์ฮอร์น) จอห์น บาร์เบอร์ (ทูบา) ลี โคนิตซ์ (อัลโต แซ็กโซโฟน) เจอร์รี มัลลิแกน (บาริโทน แซ็กแ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
19
โซโฟน) อัล แม็คคิปบอน (เบส) และแม็กซ์ โรช (กลอง) ส่วนเพลง Darn That Dream มีเสียงร้องของเคนนีย์ ฮากู๊ดร่วมอยู่ด้วย ส�ำหรับคนแจ๊ซร่วมสมัย ผลงานชุด BIRTH OF THE COOL อาจ ไม่ใช่งานที่คุ้นหูนัก ระยะเวลาที่ผ่านเลยมาถึง 60 ปีของผลงานชุดนี้ สร้างช่องว่างให้กับคนแจ๊ซมากพอสมควร ทั้งระบบการบันทึกเสียงใน แบบโมโน โครงสร้างดนตรีที่ให้ความรู้สึกโบราณ เหมือนพาตัวเองย้อน กลับไปสู่อดีตซึ่งยากต่อการท�ำความเข้าใจ แต่หากคนแจ๊ซให้เวลาพินิจ พิเคราะห์กับผลงานชุดนี้อย่างจริงจัง เชื่อว่าความสุนทรีย์ที่ค่อนข้างซับ ซ้อน เต็มไปด้วยนัยอันละเมียด พร้อมอารมณ์ลุ่มลึกที่กลั่นออกมาจาก จิตใจผ่านบทเพลงแต่ละบท คือความจริงใจซึ่งสามารถสะท้อนยุคสมัย แห่งช่วงเวลานั้นได้อย่างเข้มข้นและมากด้วยพลังอย่างยิ่ง บางทีการพาตัวเองย้อนกลับเข้าไปสู่ราก ก็คือค�ำตอบที่จะน�ำ ไปสู่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อแจ๊ซวิถีนั่นเอง ลองสดั บ บทเพลงจากผลงานชุ ด นี้ จ ากเพลงแรก Move งาน ประพันธ์ของเดนซิล เบสต์ มีท่วงท�ำนองสวิงที่เริงร่า ไมล์สเดี่ยวทรัมเป็ต ได้เข้มข้นในบรรยากาศสนุกสนาน ไม่ต่างไปจากบทเพลงที่สอง Jaru งานประพันธ์และเรียบเรียงดนตรีของมัลลิแกน เต็มไปด้วยสีสัน เสียง บาริโทน แซ็กโซโฟนจากมัลลิแกน ให้ความลุ่มลึก บีบกดความรู้สึกได้ อย่างมีพลัง ต่างไปจากเสียงทรัมเป็ตของไมล์ส ซึ่งเต็มไปด้วยน�้ำเสียง เจิดจ้าและทิ่มแทงเข้าไปในจิตใจได้ดียิ่ง ในขณะเดียวกัน มัลลิแกนคอย สอดแทรกเสียงบาริโทน แซ็กโซโฟนด้วยอารมณ์ที่เบียดแทรกเพื่อเติม ความหมายให้ต้องขบคิด Moon Dream งานเขียนร่วมของชัมมี แม็คเกรเกอร์ กับจอห์นนี เมอร์เซอร์ ถือเป็นบทเพลงไพเราะ เรียบเรียงดนตรีโดยกิล อีแวนส์ เป็น เพลงช้าๆ ที่คลุมบรรยากาศเหงาเศร้า ลี โคนิตซ์เดี่ยวอัลโต แซ็กโซโฟน สอดประสานไปกับเสียงบาริโทน แซ็กโซโฟนของมัลลิแกนได้วังเวง เป็น บทเพลงที่แฝงความหมายสอดลึกอยู่กับความรู้สึกเศร้าซึมและถวิลหา 20
สิเหร่
ส่วนเพลงที่ตามมา Venus De Milo งานประพันธ์ของมัลลิแกน เสียงเบส จากปลายนิ้วของนีลสัน บอยด์ ควบคุมโครงสร้างเพลงเอาไว้ เช่นเดียว กั บ เสี ย งกลองจากเคนนี ย ์ คลาร์ ก เพื่ อ ปล่ อ ยให้ ไ มล์ ส เดี่ ย วทรั ม เป็ ต ประชันกับเสียงบาริโทน แซ็กโซโฟนของมัลลิแกน ซึ่งเต็มไปด้วยทักษะ ที่สอดกลืนให้แก่กันได้ลุ่มลึกทีเดียว Budo งานเขียนร่วมของบัด พาวล์ กับไมล์ส เป็นเพลงสนุกสนาน คึกคักด้วยท่วงท�ำนองกระชับและหนักหน่วง ไมล์สเดี่ยวทรัมเป็ตด้วยน�้ำ เสียงจัดจ้าน รวดเร็ว และชวนท้าทาย ไม่ต่างไปจากมัลลิแกน เสียงบาริโทน แซ็กโซโฟนยังคงย�้ำความรู้สึกลุ่มลึก ยิ่งเมื่อโคนิตซ์เสียดเสียงอัลโต แซ็กโซโฟนแทรกเข้ามา เหมือนจะย�้ำความรู้สึกให้ผู้ฟังต้องขบคิด ก่อน จะปล่อยให้คาย วินดิง แผดเสียงทรอมโบนเบียดกดเข้ามาในช่วงสั้นๆ ซึ่งนั่นก็ท�ำให้สมดุลทางอารมณ์กับเนื้อหา สอดรับกันได้อย่างลงตัวจน น่าพิศวง เพลงสุดท้าย หน้าแรกของแผ่นเสียง Deception งานเขียนและ เรียบเรียงดนตรีของไมล์ส เป็นเพลงไพเราะ ให้ความรู้สึกสดใสและงดงาม โดยเฉพาะช่วงที่ เจ.เจ. จอห์นสันเดี่ยวทรอมโบน ต้องถือว่าเป็นช่วงเด็ด ขาดมาก ส�ำหรับเพลงแรก หน้าสองของแผ่นเสียง Darn That Dream งาน ประพันธ์ของเดอแลนก์ กับแวน ฮูเซน เรียบเรียงดนตรีโดยมัลลิแกน เสียง ทรัมเป็ตของไมล์สยังคงเต็มไปด้วยอารมณ์ถวิลหา และสอดประสานกับ เสียงร้องจากเคนนีย์ ฮากู๊ดได้ไพเราะ ชวนให้ย้อนสัมผัสไปสู่สังคมยุค ปลายทศวรรษที่ 1940 ได้หมดจด ส่วนเพลง Godchild งานเขียนของ จอร์ จ วอลลิ ง ตั น เป็ น อี ก เพลงที่ มั ล ลิ แ กนเรี ย บเรี ย งดนตรี เสี ย งทู บ า จากการเป่าของจอห์น บาร์เบอร์เต็มไปด้วยความรู้สึกลุ่มลึก โดยมีเสียง ทรัมเป็ตจากไมล์ส ขับเคลื่อนท่วงท�ำนองสดใส มากด้วยพลังที่สามารถ ตรึงความรู้สึกเอาไว้ ไม่ต่างไปจากเสียงบาริโทน แซ็กโซโฟนจากมัลลิแกน ซึ่งนอกจากอบอุ่นไปด้วยมวลเสียงที่ทิ่มแทงเข้าไปในจิตใจแล้ว ยังซ่อนนัย แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
21
แห่งความหมายให้ติดตาม เช่นเดียวกับเสียงทรอมโบนของคาย วินดิง Boplicity งานเขี ย นของคลี โ อ เฮนรี เรี ย บเรี ย งดนตรี โ ดยกิ ล อีแวนส์ เป็นบทเพลงที่มีบรรยากาศละเมียด ท่วงท�ำนองไพเราะ มัลลิแกน เดี่ยวบาริโทน แซ็กโซโฟนได้แสนไพเราะและเสียดลึกเข้าไปในจิตใจได้ ดีมาก จอห์น ลูว์อิสเดี่ยวเปียโนในช่วงสั้นๆ แต่กลับเพิ่มความสง่างาม ให้กับบทเพลง ส่วนเพลง Rocker งานเขียนและเรียบเรียงดนตรีอีกชิ้น ของมัลลิแกน ให้ความรู้สึกสบายๆ ไมล์สยังคงเป่าทรัมเป็ตด้วยน�้ำเสียง ดุดัน เด็ดขาด ช่วงโดดเด่นน่าจะอยู่ตรงเสียงอัลโต แซ็กโซโฟนจากการ เป่าของโคนิตซ์ สอดประสานไปกับเสียงบาริโทน แซ็กโซโฟนของมัลลิแกน ในช่วงท้ายเพลง Israel งานประพันธ์ของจอห์นนี คาริสิ เสียงอัลโต แซ็กโซโฟนจาก การเป่าของโคนิตซ์ คือหัวใจของเพลงบทนี้ ส�ำหรับเพลงสุดท้าย Rouge งานเขียนของจอห์น ลูว์อิส เป็นเพลงสดใส ให้ความรู้สึกอบอุ่น เสียง เปียโนจากปลายนิ้วลูว์อิส ยังคงสง่างาม เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกที่สอด แทรกเอาไว้ โคนิตซ์เดี่ยวอัลโต แซ็กโซโฟนด้วยน�้ำเสียงบีบกดเข้าไปใน ความรู้สึกได้ดี ในขณะที่เสียงทรัมเป็ตของไมล์สกลับเฉียบคม ทิ่มแทง อารมณ์เข้าไปผสานรวมอยู่กับท่วงท�ำนองอันงดงามและชวนผ่อนคลาย ถึงแม้ภาพรวมของผลงานชุดนี้จะให้ความรู้สึกโบราณส�ำหรับคน แจ๊ซร่วมสมัย แต่ด้วยน�้ำเสียงซึ่งกลั่นกรองออกมาจากจิตวิญญาณ เต็ม อิ่มไปด้วยอารมณ์ถวิลหา ล่องไปในลีลาแสนไพเราะและงดงามอย่างล้น เหลือ ผสานรวมไปกับการก่อเกิดกระแสเสียงใหม่ที่แปลกต่างออกไปจาก เดิมของแจ๊ซ ส่งผลให้ BIRTH OF THE COOL กลายเป็นผลงานใน ระดับต�ำนานที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ซอย่างมาก ผลกระทบมากมายโดยเฉพาะในแง่ลบหลังจาก BIRTH OF THE COOL ออกสู ่ แ จ๊ ซ วิ ถี ใ นช่ ว งต้ น ทศวรรษที่ 1950 อาจไม่ แ รงเท่ า การ ประกาศวิถีบีบ็อพในช่วงกลางทศวรรษที่ 1940 ของชาร์ลี พาร์คเกอร์ กับ 22
สิเหร่
ดิซซีย์ กิลเลสปี แต่ค�ำกล่าวดูหมิ่นในเชิงหยามเหยียดจากนักวิจารณ์ ดนตรีอเมริกันร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงอย่างมาร์ติน วิลเลียมส์ ซึ่งแสดงความ เห็นกับกระแสคูลแจ๊ซในท�ำนองว่า...ถ้ารูปแบบของชาร์ลี พาร์คเกอร์ (ตามแนวทางบีบ็อพ) คือหลักเกณฑ์อันแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ทางดนตรีแจ๊ซแล้ว แนวทางดนตรีในแบบคูลแจ๊ซ น่าจะเป็นการถอย หลังลงคลองเสียมากกว่า... อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นกับวงการศิลปะทุกสาขา เมื่อเกิด แนวทางที่แปลกต่างออกไปจากขนบเดิมอันคุ้นชิน ผลกระทบทั้งบวกและ ลบย่อมจะรุนแรงในระดับใกล้เคียงกัน หากแนวทางใหม่ซึ่งถูกน�ำเสนอ คือของจริงที่ก้าวล่วงสู่การท้าทาย การยอมรับโดยผู้เสพอาจขึ้นกับช่วง เวลาที่จะตามมา คูลแจ๊ซก็ไม่ต่างไปจากแนวทางอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับดนตรี แจ๊ซ ถึงแม้จะถูกปฏิเสธจากนักดนตรีผิวด�ำ และรวมไปถึงคนแจ๊ซผิวด�ำ ส่วนใหญ่ก็ตาม ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เสียง ของคูลกลับกลายเป็นที่ชื่นชอบส�ำหรับคนแจ๊ซผิวขาวในระดับที่ค่อนข้าง กว้างขวาง อิทธิพลของคูลได้ก่อให้เกิดกลุ่มนักดนตรีผิวขาวที่เล่นดนตรี แจ๊ซในลีลาใกล้เคียงกับคูล แต่ลดเส้นเสียงที่ก้าวร้าวลง โดยสอดแทรก ลีลาจากเพลงเต้นร�ำกับจังหวะแปลกๆ เข้ามารับใช้แทน จนถูกเรียกขาน ตามท้องถิ่นที่ให้ก�ำเนิดว่า เวสต์โคสต์ซาวนด์ (West Coast Sound) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระแสคูลแจ๊ซเหมือนกัน หลังจากที่สร้างสรรค์ผลงานในระดับประวัติศาสตร์แจ๊ซชุด BIRTH OF THE COOL ไมล์สก็เก็บตัวหายไปจากแจ๊ซวิถีอย่างมีเจตนา เขามี งานบันทึกเสียงน้อยมาก อาจเพราะปล่อยจิตใจและร่างกายตัวเอง ให้ ลอยหายไปกับอ�ำนาจเฮโรอีน ที่เขาใช้มันมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1949 และ ต้องใช้เวลาอีกกว่า 4 ปี จึงสามารถเลิกจากอ�ำนาจของมันได้ แต่ถึง อย่างไรในปี ค.ศ.1951 เขาก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานชุด DIG แล้ว แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
23
ตามด้วยชุด MILES DAVIS ออกตามมาในปี ค.ศ.1952 ทั้งสองชุดสังกัด เพรสทิจ กับอีก 2 ชุดคือ MILES DAVIS VOL.1 กับ VOL.2 ในสังกัด บลูโน้ต เร็คคอร์ดส์ ระหว่างปี ค.ศ.1952-1953 ประเด็ น ส� ำ คั ญ ก็ คื อ ผลงานทั้ ง หมดหลั ง ชุ ด BIRTH OF THE COOL ต่างก้าวล่วงเข้าสู่กระแสฮาร์ดบ็อพทั้งสิ้น เหมือนไมล์สเจตนา ทอดทิ้งกระแสคูลแจ๊ซที่ตัวเองสร้างสรรค์ออกมา เพื่อจะกลับเข้าสู่วิถีคน ด�ำอย่างแท้จริง เสียงของฮาร์ดบ็อพซึ่งผสมผสานรวมกันระหว่างบีบ็อพ กับลีลาดนตรีริธึ่มแอนด์บลูส์ เกาะเกี่ยวจิตวิญญาณทางศาสนาจากกอสเพล อาจเปรียบเสมือนฎีกาสุดท้ายอันทรงพลัง เพื่อประกาศแนวความ คิด ความเชื่อ ทั้งทางสังคม ศาสนา และการเมือง ให้สอดคล้องไปกับ ขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิมนุษยชนของคนด�ำ เพื่อยืนหยัดขึ้น ต่อต้านการเหยียดผิวในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ด้วยจุดมุ่งหมายอันเด่นชัด หลังหลุดพ้นจากอ�ำนาจเฮโรอีน ไมล์ส สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่องบนแนวทางฮาร์ดบ็อพ ก่อนจะผลักดัน ตัวเองเพือ่ สร้างแนวทางใหม่ให้กบั แจ๊ซด้วยเสียงทีล่ มุ่ ลึก ปล่อยให้นกั ดนตรี มีการโซโลตามบันไดเสียงที่มีคุณลักษณะและบุคลิกภาพแตกต่างไปตาม ที่มาของบันไดเสียงนั้นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวนักดนตรีเอง ซึ่งด้วยวิธีการนี้ท�ำให้นักดนตรีมีอิสระจากทางเดินคอร์ด โดยเน้นให้สนใจ ในการใช้แนวประสานจากสเกลมากกว่าการใช้คอร์ด แล้วลดโครงสร้าง เดิมของเพลงให้หลวมลงกว่าเดิม ด้วยแนวคิดอันชาญฉลาดและชวน ท้าทายนี้เอง ก่อให้เกิดบรรทัดฐานในกระแสแจ๊ซใหม่ที่มีอิทธิพลสูงกว่า โมดัลแจ๊ซ (Modal Jazz) กับผลงานในระดับคลาสสิกแจ๊ซชุด KIND OF BLUE ในสังกัดโคลัมเบีย เร็คคอร์ดส์ เมื่อปี ค.ศ.1959 ถึงแม้ไมล์สจะเป็นผู้สร้างแนวทางใหม่ให้กับแจ๊ซอย่างต่อ เนื่องจากคูลแจ๊ซ สู่โมดัลแจ๊ซ แล้วตามด้วยแจ๊ซ-ร็อก ฟิวชั่นใน ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 โดยแทบจะไม่เหลียวแลกระแสคูลแจ๊ซ ที่ตัวเองสรรค์สร้างออกมา แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานระดับต�ำนาน 24
สิเหร่
อย่าง BIRTH OF THE COOL ก็คือตัวแทนของเสียงแสนไพเราะ ซึ่ง เป็นจุดก่อก�ำเนิดให้กับกระแสคูลแจ๊ซอันงดงาม เต็มไปด้วยอารมณ์ ถวิลหา เพื่อบอกกล่าวจิตวิญญาณที่เป็นปัจเจกในฐานะมนุษย์ได้ อย่างมีพลัง และไร้ซึ่งขอบเขตแห่งกาลเวลา...
แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
25
Al Cohn
ที่มาภาพ http://jazzfirstbooks.com/catalog/product_info.php?cPath=22&products_ id=801
2
COHN’S TONES
ยินน�้ำเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนต�่ำลึกของอัล คอห์น
นั ก ดนตรี แ จ๊ ซ ในกระแสคู ล ส่ ว นใหญ่ จ ะหมุ น เวี ย นเล่ น ให้ แ ก่ กั น และกั น อยู ่ ต ลอด อาจถื อ เป็ น เรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งคง เป็นเพราะความใกล้ชิดในรสนิยม เดียวกันเป็นประเด็นหลัก แต่ส่วน ที่ส�ำคัญกว่านั้น น่าจะเป็นเพราะ การเล่ น ที่ เ ท่ า ทั น และรู ้ ใ จกั น เป็ น อย่างดีภายในวง คือหัวใจที่พวกเขาปรารถนา คูลในกระแสส�ำนึกส�ำหรับแจ๊ซวิถี แท้จริงแล้วก็คือการผ่อนคลาย เปล่งหลั่งเอาความรู้สึกทางอารมณ์ลุ่มลึกจากภายในตัวตน ผ่านเครื่อง ดนตรีที่ตัวเองเล่น เพื่อจะบอกกล่าวด้วยท่วงท�ำนองอันเป็นเรื่องราวแห่ง ปัจเจก ไหลลื่นไปกับอารมณ์อันอ่อนหวาน บางครั้งก็เหงาเศร้า บางครั้ง กลับเริงร่า และบางครั้งก็โอดครวญ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเหมือน จะหมกมุ่นอยู่กับอารมณ์ล้วนๆ การใช้นักดนตรีที่เคยร่วมเล่นกันมาก่อน แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
27
แล้วมีอารมณ์ในระนาบเดียวกันอยู่พอสมควร จึงเป็นเรื่องแรกที่จะต้อง ถูกพิจารณาเสมอ เมื่อถึงเวลาของการสร้างผลงานออกมา อัล คอห์น (Al Cohn) นักเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟน คนเขียนเพลง และเรียบเรียงดนตรีในระดับเยี่ยมคนหนึ่งในวิถีแจ๊ซ ก็ไม่ต่างไปจากนัก ดนตรีแจ๊ซสายคูลคนอื่นๆ ซึ่งต่างก็ใช้นักดนตรีที่เคยเล่นกันมาก่อน ให้ มาร่วมงานในผลงานของตัวเองเช่นกัน COHN’S TONES (SOPU-16 SY) ในสั ง กั ด ซี บี เ อส/โซนี เร็คคอร์ดส์ เป็นอัลบั้มเดียวกับชุด THE PROGRESSIVE AL COHN ที่ สังกัดซาวอย เร็คคอร์ดส์ เป็นผลงานยุคแรกๆ ของอัล คอห์น ที่ยังมีกลิ่น อายบีบ็อพอยู่ในน�้ำเสียงคูลให้สัมผัสอยู่มากพอสมควร ผลงานชุดนี้มีการ บันทึกเสียงในนครนิวยอร์กสองช่วง ห่างกันร่วมสามปี ช่วงแรกบันทึก เสียงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.1950 บนโครงสร้างควอร์เต็ต ประกอบ ด้วย คอห์น (เทเนอร์ แซ็กโซโฟน) จอร์จ วอลลิงตัน (เปียโน) ทอมมี พอตเตอร์ (เบส) และทินิ คาห์น (กลอง) กับเพลง Infinity, How Long Has This Been Going On และ Groovin’ with Gus ส่วนช่วงที่สอง บันทึกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.1953 บนโครงสร้างควินเต็ต นอกจาก คอห์นเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟนแล้ว ยังประกอบด้วยนิก ทราวิส (ทรัมเป็ต) ฮอเรซ ซิลเวอร์ (เปียโน) คูร์เลย์ รัสเซลล์ (เบส) และแม็ก โรช (กลอง) กับเพลง I’m Tellin’ Ya, June Street, That’s What You Think และ Ah-Moore คงเป็นเพราะช่วงเวลาการบันทึกเสียงที่ห่างกันพอสมควร ท�ำให้ มวลเสียงที่ออกมามีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน แต่หากทิ้งจุดด้อย ตรงนี้ไป แล้วมองไปยังจังหวะก้าวเดินของนักดนตรีคนหนึ่ง จะสัมผัสได้ ถึงพัฒนาการที่ก้าวล่วงสู่ความลุ่มลึกทางอารมณ์ ซึ่งมาพร้อมกับทักษะ อันยอดเยี่ยมของคอห์นได้ชัดเจนทีเดียว แล้วเสน่ห์อีกอย่างในผลงานชุด นี้ น่าจะอยู่ตรงบทเพลงทั้ง 4 บทบนโครงสร้างควอร์เต็ต ให้บรรยากาศ แห่งยุคสมัยได้อย่างมีมนต์ขลังทีเดียว 28
สิเหร่
I’m Tellin’Ya (5.57 นาที) งานเขียนของคอห์น เปิดเพลงด้วยน�้ำ เสียงที่สนุกสนาน เริงร่าไปกับท่วงท�ำนองสวิง จากนั้นคอห์นรับช่วงเดี่ยว เทเนอร์ แซ็กโซโฟนด้วยมวลเสียงสงบลึก ไหลลืน่ ไปกับท่วงท�ำนอง ไพเราะ และสดใส ให้เสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนค่อนข้างต�่ำแต่ลึก ต่างไปจากเสียง ทรัมเป็ตจากการเป่าของนิก ทราวิส ซึ่งรับช่วงเดี่ยวด้วยน�้ำเสียงจัดจ้าน ฉีกความรู้สึกออกมาด้วยท�ำนองที่ชวนท้าทายแต่เริงร่า จากนั้นฮอเรซ ซิลเวอร์ก็พลิ้วปลายนิ้วรวดเร็ว เริงไปกับคีย์เปียโน เดี่ยวเอาความรู้สึก ออกมาได้งดงาม มากด้วยสีสัน โดยมีภาคริธึ่มจากเบสและกลอง ควบคุม ลีลาสวิงให้ต้องขยับร่างไปพร้อมกับท�ำนองเพลง แม็ก โรชเดี่ยวกลอง ท้าทายกับกลุ่มเครื่องเป่า ด้วยเชิงชั้นที่กร้าวและดุดัน เป็นเพลงเปิดที่สนุก สนานอย่างแท้จริง Jane Street (4.30 นาที) ยังเป็นผลงานประพันธ์ของคอห์นบน โครงสร้างควินเต็ต เล่นท่วงท�ำนองเรียบง่าย ปล่อยให้เบสกับกลองยึดย�้ำ โครงสร้างเอาไว้ เพื่อเปิดให้คอห์นเดี่ยวเทเนอร์ แซ็กโซโฟนด้วยมวลเสียง ต�่ำห้าว กดลึกเข้าไปในความรู้สึกได้เข้มข้น เริงไปกับท�ำนองแสนไพเราะ จนสัมผัสได้ถึงความสงบ ซึ่งปกคลุมอยู่ในบรรยากาศได้อย่างมีมนต์ เช่น เดียวกับเสียงทรัมเป็ตของทราวิส แม้จะยังคงจัดจ้าน แต่กดทับเข้าไปใน อารมณ์ได้อย่างมีพลัง เมื่อไหลลื่นไปกับท�ำนองไพเราะ จากนั้นคอห์น เบียดเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนเข้ามาอีกครั้ง เหมือนเจตนาเปลี่ยนอารมณ์ เพลงให้ล่วงเข้าสู่ความสงบลึกยิ่งขึ้น ก่อนทั้งคู่จะสอดประสานกันด้วย ท่วงท�ำนองเดียวกันไปจนกระทั่งจบเพลง Infinity (2.54 นาที) เป็นงานเขียนของคอห์นอีกเช่นกัน แต่คราวนี้ อยู่บนโครงสร้างควอร์เต็ตที่ให้ความรู้สึกย้อนยุค กลับไปสู่บรรยากาศภาย ในบาร์ย่านฮาเล็มริมทางถนนสายที่ 52 ในนครนิวยอร์ก ท่วงท�ำนองสวิง ที่ชวนให้ต้องขยับเท้าตลอดเวลา มาพร้อมกับจิตใจซึ่งสอดคล้องเข้ากับ เสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนได้สนุกสนาน ไม่ต่างไปจากเสียงพลิ้วของเปียโน จากปลายนิ้วจอร์จ วอลลิงตัน สอดแทรกเข้ามาในช่วงสั้นๆ แต่ช่วยให้ แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
29
เพลงบทนี้เกิดมิติและเต็มไปด้วยความท้าทายได้อย่างเหลือเชื่อ How Long Has This Been Going On (3.10 นาที) งานใน ระดับคลาสสิกแจ๊ซของจอร์จ กับไอรีน เกิร์ชวิน อันแสนไพเราะ เปิดเพลง ด้วยเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนที่เต็มไปด้วยมวลเสียงอันหนาหนักแล้วต�่ำ ห้าว เล่นท�ำนองงดงามแต่เศร้าซึมซึง่ คนแจ๊ซคุน้ เคย โดยมีเสียงเปียโนจาก วอลลินตัน ยึดย�้ำคอร์ดในน�้ำเสียงบลูส์ได้อย่างปวดร้าว มีเสียงกลองกับ เบสตอกย�้ำไลน์บลูส์เศร้าๆ ไปตลอดทั้งเพลง คอห์นเดี่ยวเทเนอร์ แซ็กโซโฟนได้อย่างมีพลัง กดทับอารมณ์คนฟังให้หดหู่ และมากด้วยความถวิล หา เป็นบทเพลงลุ่มลึก แสนไพเราะในบรรยากาศเก่าๆ ที่มีมนต์เสน่ห์ ให้สัมผัสตลอดทั้งเพลง อีกทั้งยังแสดงตัวตนของคอห์นในฐานะนักเป่า เทเนอร์ แซ็กโซโฟนในน�้ำเสียงคูลได้อย่างดีเยี่ยม That’s What You Think (4.46 นาที) เป็นงานเขียนของคอห์นอีก เพลง ยังคงยึดลีลาสวิงอันเริงร่าด้วยเสียงเครื่องเป่าสอดประสานแต่ชวน ท้าทายกันในช่วงเริ่มต้นชนิดที่ไม่มีการเกรงใจกันเลย จากนั้นคอห์นรับ ช่วงเดี่ยวเทเนอร์ แซ็กโซโฟนไปกับท�ำนองอันรวดเร็ว ไหลเอาความรู้สึก ของตัวเอง ผ่านทักษะเฉียบคม แล้วยังชวนท้าทาย ไม่ต่างไปจากเสียง ทรัมเป็ตจากทราวิส ให้น�้ำเสียงจัดจ้านอิงความแข็งกร้าว เต็มไปด้วย ความกราดเกรี้ยว แผดก้องไปกับการใส่อารมณ์ ผ่านท�ำนองที่เขาตีความ ออกมา ยิ่งเมื่อซิลเวอร์พลิ้วเสียงเปียโนเข้ามา ยิ่งเหมือนยึดย�้ำให้อารมณ์ เพลงดุดัน อิงความท้าทายไปกับทักษะอันรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ แล้ว อารมณ์เพลงยิ่งถูกตอกย�้ำหนักยิ่งขึ้น เมื่อโรชกระหน�่ำกลองหนักหน่วง เดี่ยวเอาอารมณ์ส่วนตัวออกมาอย่างห้าวเหี้ยมในช่วงปลายเพลง ก่อน ทั้งหมดจะสอดประสาน เล่นท่วงท�ำนองเดียวกันไปจนกระทั่งจบเพลง เป็นเพลงที่สัมผัสได้ถึงทักษะของนักดนตรีแต่ละคน ซึ่งต่างแสดงตัวตน ออกมาได้ชัดเจนในสัดส่วนที่พอเหมาะ Ah-Moore (4.52 นาที) งานของคอห์นอีกเช่นกัน เป็นอีกเพลงที่ ไพเราะ จนเกาะกินใจได้ลุ่มลึก ทั้งคอห์นกับทราวิส ประสานสอดเครื่อง 30
สิเหร่
เป่า เล่นท�ำนองที่งดงามออกมาพร้อมๆ กัน ก่อนจะปล่อยให้คอห์นรับ ช่วงเดี่ยวเทเนอร์ แซ็กโซโฟนเปล่งมวลเสียงต�่ำแต่หนักแน่น ไหลไปกับ ท�ำนองไพเราะ แอบอิงความปวดร้าว ปลายเสียงค่อนข้างโอดครวญให้ สัมผัส จากนั้นซิลเวอร์พลิ้วปลายนิ้วเดี่ยวเปียโนเข้ามาสอด สะกดให้ผู้ฟัง ถึงกับเงียบงัน หลงเข้าไปในท่วงท�ำนองที่เกาะยึดจิตใจ ยิ่งเมื่อทราวิสกับ คอห์นต่างสอดประสานเครื่องเป่าไปพร้อมๆ กันในช่วงปลายเพลง ยิ่งท�ำ ให้ความรู้สึกนั้นล่วงลึกเข้าสู่จุดสุดยอดได้อย่างไม่ยากเย็นเลย Groovin’ with Gus (2.32 นาที) อีกเพลงที่ประพันธ์โดยคอห์น เพลงบทนีก้ ลับไปสูโ่ ครงสร้างควอร์เต็ตอีกครัง้ น�ำ้ เสียงโดยรวมยังคงสัมผัส ได้ถึงบรรยากาศเก่าๆ อันมีมนต์ขลังแอบเร้นอยู่ ทั้งหมดท�ำหน้าที่ของ ตัวเองได้อย่างพอเหมาะ สอดกลืนไปกับท�ำนองแสนสวยงาม ที่สามารถ สร้างความประทับใจได้อย่างสมบูรณ์แบบ Let’s Get Away From It All (3.08 นาที) บทประพันธ์ของเอ็ม เดนนิส เปิดเพลงด้วยเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนค่อนข้างดุดัน แต่กลืนไป กับท�ำนองเรียบๆ โดยมีภาคริธึ่มยึดย�้ำโครงสร้างสวิงอันเข้มข้นไปตลอด ทั้งเพลง คอห์นแสดงทักษะให้สัมผัสได้ถึงความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วย พลังแอบแฝง เสียงเปียโนจากวอลลิงตัน ยังคงเข้มข้นและกระแทกความ รู้สึกได้ดี แม้จะท�ำหน้าที่เดี่ยวแค่ช่วงสั้นๆ แต่กลับเพิ่มมิติแห่งความงาม ให้กับบทเพลงได้ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มนัยยะทางอารมณ์ให้กับเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนของคอห์น ที่เปล่งหลั่งออกมาอย่างค่อนข้างมีอิสระตลอดทั้ง เพลง เป็นเพลงปิดท้ายที่ส่งให้ผลงานชุดนี้สมบูรณ์แบบ ทั้งเนื้อหาที่แอบ อิงร่วมอยู่ในอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างสมดุล COHN’S TONES เป็นเสมือนก้าวย่างส�ำคัญของอัล คอห์น ทั้งใน ฐานะนักเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟนคนเขียนเพลง รวมไปถึงสถานภาพของ นักเรียบเรียงดนตรี ช่วยส่งผลให้เขามีที่ยืนอย่างชัดเจนในวิถีแจ๊ซ แม้จะ ไม่ใช่ผลงานในกระแสคูลเต็มร้อย มีน�้ำเสียงของบีบ็อพผสานร่วมอยู่ใน อัตราส่วนที่สูง แต่คนแจ๊ซสามารถสัมผัสได้ถึงความงดงามในอารมณ์ แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
31
ลุ่มลึก ซึ่งแอบอิงเกี่ยวร้อยอยู่ในแต่ละบทเพลงของผลงานชุดนี้ได้เป็น อย่างดี อัล คอห์นเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ.1925 ในบรูคลิน นครนิวยอร์ก เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่เขาศึกษาคือ คลาริเน็ตกับเปียโน ช่วง ปี ค.ศ.1943 คอห์นศึกษาทางด้านดนตรีอย่างจริงจังกับนักดนตรีอาชีพ อย่างโจ มาร์ซาลา จนกระทั่งปี ค.ศ.1947 วูดดี เฮอร์แมน นักเป่าคลาริเน็ ต หั ว หน้ า วงผู ้ เ ป็ น ต� ำ นานคนหนึ่ ง ในนามกลุ ่ ม “ฟอร์ บราเธอร์ ส ” ดึงคอห์นเข้ามาแทนที่เฮอร์บี สจ๊วร์ต นักเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟนซึ่งในวง ฟอร์ บราเธอร์สยังประกอบด้วย สแตน เก็ตซ์และซูต ซิมส์ ทัง้ คูเ่ ป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟนกับเสิรจ์ ชาลอฟฟ์ เป่าบาริโทน แซ็กโซโฟน โดยพืน้ ฐานส�ำหรับ วงบิ๊กแบนด์แล้ว กลุ่มเครื่องเป่าจะประกอบด้วยอัลโต แซ็กโซโฟน 2 ตัว เทเนอร์ แซ็กโซโฟน 2 ตัว แล้วมีบาริโทน แซ็กโซโฟนอีกหนึ่งตัว แต่ ส�ำหรับวงฟอร์ บราเธอร์สกลับมีแค่แซ็กโซโฟน 4 ตัวเท่านัน้ ตัดอัลโต แซ็กโซโฟนออกไป แล้วเพิ่มเทเนอร์ แซ็กโซโฟนเข้ามาเป็นสามตัว เสียงแซ็ก โซโฟนที่มีเอกลักษณ์ของฟอร์ บราเธอร์สจึงสร้างแนวเสียงอันแปลกต่าง ออกไปจากบรรดาวงบิ๊กแบนด์ทั้งหลายในช่วงนั้นได้อย่างโดดเด่นทีเดียว ช่วงต้นทศวรรษที ่ 1950 คอห์นร่วมเล่นกับเพือ่ นนักดนตรีในกระแส คูลอย่างเจอร์รี มัลลิแกน (บาริโทน แซ็กโซโฟน) ลี โคนิตซ์ (อัลโต แซ็กโซโฟน) ซูต ซิมส์ (เทเนอร์ แซ็กโซโฟน) รวมไปถึงบ๊อบ บรูคไมเยอร์ (วาล์ว ทรอมโบน) พวกเขาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในกระแสคูลออกมาค่อนข้าง สม�่ำเสมอ เริ่มจากเดือนมกราคม ค.ศ.1956 อัล คอห์น เป่าเทเนอร์ แซ็ก โซโฟนให้ กั บ วง 6 ชิ้ น ของซู ต ซิ ม ส์ ใ นผลงานชุ ด FROM A TO Z (RGP-1166) ในสังกัดอาร์ซีเอ เร็คคอร์ดส์ นอกจากทั้งสองเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟนแล้ว ยังประกอบด้วยมือเปียโนสองคนคือ แฮงค์ โจนส์ กับ เดฟ แม็คเคนนา ส่วนโอซี จอห์นสัน เล่นกลอง มิลต์ ฮินตัน เล่นเบส และดิก เชอร์แมนเป่าทรัมเป็ต มีบทเพลงจากการประพันธ์ของคอห์นสอง เพลงคือ My Blues กับ From A To Z มีเพลงของซูต ซิมส์เพียงเพลง เดี ย วคื อ Tenor For Two Please, Jack และมี เ พลงที่ ไ พเราะอย่ า ง 32
สิเหร่
Somebody Love Me รวมไปถึงเพลง East Of The Sun (And West Of The Moon) บทเพลงบัลลาดที่ลุ่มลึกจากงานเขียนของบรูคส์ โบว์แมน จากนั้นเดือนธันวาคมปีเดียวกัน บ๊อบ บรูคไมเยอร์เข้ามาเป่าวาล์ว ทรอมโบนให้ กั บ ผลงานของคอห์ น ชุ ด THE AL COHN QUINTET (CRL-57118) ในสังกัดคอรัล เร็คคอร์ดส์ นอกจากบรูคไมเยอร์แล้ว ภาย ในวงยังประกอบด้วย คอห์นเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟน มอส อัลลิสันเล่น เปียโน เท็ดดี โคติกเล่นเบส และนิก สตาบูลาสเล่นกลอง นับเป็นทีมเวิร์ก ของนักดนตรีหนุ่ม ผู้มากไปด้วยทักษะกับจิตวิญญาณอันเร่าร้อน เพียง เพือ่ จะสร้างสรรค์ผลงานในจินตนาการของตัวเองออกมาให้เยีย่ มทีส่ ดุ เท่าที่ ตัวเองต้องการ บทเพลงในผลงานชุดนี้เป็นงานเขียนของคอห์น 3 เพลง คือ Back To Back, So Far So Good และ Winter บทเพลงในลีลาเนิบ ช้าแสนไพเราะ สัมผัสได้ถึงความโหยหา ผ่านเสียงประสานระหว่างวาล์ว ทรอมโบนจากบรูคไมเยอร์ กับเสียงเทเนอร์ แซ็กโซโฟนของคอห์น ต่าง อัดแน่นด้วยมวลเสียงอันเศร้าหมอง ยิ่งช่วงเดี่ยวเทเนอร์ แซ็กโซโฟนไหล ไปกับท�ำนองทีส่ มั ผัสได้ถงึ ความหนาวเหน็บ เช่นเดียวกับเสียงวาล์ว ทรอมโบน ช่วยกดทับให้เศร้าซึมหนักยิ่งขึ้น เสียงเดี่ยวเปียโนจากปลายนิ้ว อัลลิสัน ถือเป็นช่วงเด็ดขาด จนเมื่อเสียงวาล์ว ทรอมโบนตอบโต้กับเสียง เทเนอร์ แซ็กโซโฟนไหลไปกับทักษะเรียบง่าย แต่ให้พลังในการทิ่มแทง อารมณ์ได้เกินคาด แม้จะเป็นเพลงอันเหน็บหนาวเข้าไปในหัวใจ แต่ก็มี ประกายแสงแห่งความสดใสให้ความอบอุ่นแทรกซึมเข้ามาตรงช่วงปลาย เพลงได้อย่างดีเยี่ยม ยั ง มี เ พลงจากการเขี ย นของบรู ค ไมเยอร์ อี ก 3 เพลงคื อ Good Spirits, Lazy Man Stomp และ Bunny Hunch แล้วมีเพลงไพเราะจาก งานเขียนของริชาร์ด โรเจอร์ ในเพลง The Lady Is A Tramp กับเพลง บัลลาดอย่าง Ill Wind (You’re Blowin’ Me No Good), Chlo-E (Song Of The Swamp), S-H-I-N-E และ I Should Care ส่วนเพลง A Blues Serenade สอดเสียงประสานระหว่างมวลเสียงวาล์ว ทรอมโบนกับเทเนอร์ แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
33
แซ็กโซโฟน ต่างอัดแน่นไปด้วยความงาม ซึ่งแนบชิดความปวดร้าวได้ลุ่ม ลึก ช่วงบรูคไมเยอร์เดีย่ ววาล์ว ทรอมโบนไปกับมวลเสียงแหบโหย เหมือน จะบีบกดเข้าไปในอารมณ์ขมขื่น ไม่ต่างไปจากช่วงคอห์นเดี่ยวเทเนอร์ แซ็กโซโฟนด้วยมวลเสียงต�่ำลึก ให้สัมผัสได้ถึงความร้าวราน จนยะเยือก เข้าไปในจิตใจได้อย่างมีมนต์ขลัง ต้องถือเป็นอีกเพลงในผลงานชุดนี้ ที่ งดงามไปกับลีลาบลูส์ในน�้ำเสียงคูลได้กลมกล่อมเพลงหนึ่ง ส่วนผลงานในนามตัวเองช่วงปี ค.ศ.1956 ซึ่งบันทึกเสียงเมื่อวันที่ 29 กันยายน บนโครงสร้างควินเต็ต นอกจากคอห์นเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟน แล้ว ยังร่วมกับแฮงค์ โจนส์ (เปียโน) โอซี จอห์นสัน (กลอง) มิลต์ ฮินตัน (เบส) และแฟรงค์ รีเฮก (ทรอมโบน) กับผลงานในชื่อชุด COHN ON THE SAXOPHONE (YW-7603-CH) ในสังกัดดอว์น เร็คคอร์ดส์ นับเป็น ผลงานที่ควรค่าต่อการสะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนแจ๊ซผู้หลงเข้าไปใน น�้ำเสียงลุ่มลึกของกระแสคูล มีบทเพลงจากการเขียนของคอห์น 3 เพลง คือ Be Loose, Good Old Blues กับ Abstract Of You นอกนั้นอีก 7 เพลงเป็นงานของคนอื่น ที่คอห์นน�ำมาเรียบเรียงใหม่อย่างเช่นเพลง We Three, Idaho, The Things I Love, Singing The Blues, When Day Is Done, Softly As In A Morning Sunrise และ Blue Lou อาจเพราะความส�ำเร็จของวงฟอร์ บราเธอร์สในช่วงเวลาอันผ่าน เลย วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1957 อัล คอห์นจับมือกับซูต ซิมส์ รวม ถึงเฮอร์บี สจ๊วร์ต ทั้งสามเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟนและเสิร์จ ซาลอฟฟ์ เป่า บาริโทน แซ็กโซโฟนแล้วดึงภาคริธึ่มประกอบด้วย อิลเลียต ลอว์เรนซ์ (เปียโน) เบิร์กเออร์ โจนส์ (เบส) และ ดอน ลามอนด์ (กลอง) ทั้งหมด กลับเข้าสู่ห้องอัดเสียงในนครนิวยอร์ก เพื่อบันทึกผลงานชุด TOGETHER AGAIN! THE FOUR BROTHERS (LX-1096) ในสังกัดวิก เร็คคอร์ดส์ มีบทเพลงในกระแสคูลแสนไพเราะอย่างเช่น Four And One Moore เป็นงานเขียนของเจอร์รี มัลลิแกน ตามด้วยบทเพลงจากการเขียนของ คอห์น So Blue, Ten Years Later, A Quick One กับ Aged In Wood 34
สิเหร่
ส่วนงานเขียนของซิมส์มีเพียงเพลงเดียวคือ The Swinging Door และมี งานเขียนของลอว์เรนซ์อยู่หนึ่งเพลงคือ The Pretty One ส่วนเพลง Four In Hand กับ Here We Go Again เป็นงานเขียนของแมนนี อัลบาม ส�ำหรับบทเพลงที่เป็นชื่ออัลบั้ม Four Brothers เป็นงานคลาสสิกแจ๊ซ เพลงหนึ่งของจิมมี กิฟฟีอีกเช่นเคย ผลงานชุดนี้ถือเป็นผลงานดีเยี่ยมใน กระแสคูลชุดหนึ่ง อัดแน่นไปกับความสมดุลระหว่างทักษะกับอารมณ์ ลุ่มลึก ซึ่งควรค่าต่อการสะสมอย่างยิ่ง เพียงแต่เป็นแผ่นเสียงอีกชุดหนึ่งที่ ค่อนข้างหายาก ส�ำหรับคนแจ๊ซผู้หลงใหลไปกับเสียงของเทอร์เทเบิล อัล คอห์นสร้างสรรค์ผลงานให้กับแจ๊ซวิถีอีกจ�ำนวนมาก จน กระทัง่ วันที ่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1988 ด้วยวัย 63 ปี แจ๊ซวิถกี ส็ ญ ู เสีย นักเป่าเทเนอร์ แซ็กโซโฟนที่ให้มวลเสียงต�่ำลึกไปตลอดกาล ส่วน ผลงานที่กล่าวถึงทั้งหมด ถือเป็นผลงานในช่วงแรกของเขา สามารถ สัมผัสได้ถงึ หัวใจอันทุม่ เท เพียงเพือ่ จะถ่ายทอดชีวติ และจิตวิญญาณ ของตัวเองให้กับงานที่ตัวเองรัก ทั้งในฐานะนักเป่าเทเนอร์ แซ็กโซ- โฟน คนเขียนเพลง และคนเรียบเรียงดนตรีได้อย่างดีเยี่ยม...
แ จ๊ ซ วิ ถี ( ข บ ว น ก า ร 3 )
35