ทัณฑะกาล

Page 1


“ทัณฑะกาล”

ของจิตร ภูมิศักดิ์  และผู้ต้องขังการเมือง


จิตร ภูมิศักดิ์ สมัยเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จากหนังสือ จุฬาบัณฑิต ปี พ.ศ. ๒๔๙๙)


สารบั ญ “ทัณฑะกาล”

ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

คำ�นำ�

๑ เข้าเรื่อง ๒ เมื่อจะศึกษาคุก ๓ เมื่อจะศึกษาชีวิตจิตรในคุก ๔ เมื่อ “ปฏิวัติ” ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑  ๕ เมื่อถูกจับ  ๖ เมื่อแรกถูกคุมขัง  ๗ เมื่ออยู่ลาดยาว  ๘ เมื่อ “คอมมิวนิสต์” อยู่ลาดยาว ๙ เมื่อไปศาล   ๑๐ เมื่อถูกปล่อยตัว  ๑๑ ออกจากเรื่อง

(๖) ๒  ๑๒ ๒๒ ๓๔ ๔๔ ๖๐ ๗๖ ๑๐๔ ๑๒๐ ๑๔๐ ๑๖๔

บรรณานุกรม ๑๗๑ ภาพ “ชาวจีนในหมู่มารผจญ” ที่พระอุโบสถวัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี


คำ�นำ�

“ทัณฑะกาล”

ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

ดิ ฉั น ชอบประวั ติ ศ าสตร์ วั ฒ นธรรมและไม่ เ ชี่ ย วชาญประวั ติ ศาสตร์การเมือง หนังสือเล่มนี้ถือเป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ชิ้น แรกของดิฉันที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ด้วยความ พยายามอย่างยิ่งที่จะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เจ้าหน้าที่ของ รัฐ และประชาชนผ่าน “ทัณฑะกาล” หรือช่วงเวลาที่จิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมืองสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๖ ถูกลงโทษอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ อันเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตั้งแต่ถูกจับกุมตามประกาศคณะปฏิวัติ และได้รับการปล่อยตัว จิตร ภูมศิ กั ดิ์ เป็นหนึง่ ในปัญญาชนคนส�ำคัญของประวัตศิ าสตร์ ไทยสมัยใหม่ เรื่องราวและผลงานของเขาเริ่มเป็นที่รับรู้และได้รับ การยอมรับจากประชาชนในวงกว้างขึ้น เนื่องมาจากกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ และนักหนังสือพิมพ์ให้ความสนใจใน “จิตรศึกษา” ตั้งแต่ ทศวรรษ ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ได้สร้างและขยายองค์ความรู้เรื่องจิตร หลากหลายรูปแบบ มีทั้งการจัดพิมพ์ประวัติและผลงานของจิตร ผล งานของนักวิชาการ จัดการเสวนา การอภิปราย นิทรรศการ งานวัน ร�ำลึก คอนเสิร์ต ตามรอยการเดินทาง จนถึงการสร้างอนุสาวรีย์ ฯลฯ ย้ อ นกลั บ ไประหว่ า งวั น ที่ ๒๙ และ ๓๐ ตุ ล าคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิโครงการต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิจิตร


วิลลา วิลัยทอง (7)

ภูมศิ กั ดิ์ จัดการสัมมนาวิชาการเรือ่ ง “๘๐ ปี จิตร ภูมศิ กั ดิ์ (๒๔๗๓๒๕๕๓)” งานเขียนชิ้นนี้ถือก�ำเนิดจากการสัมมนาในครั้งนั้น ดิฉัน ตัง้ ใจว่าจะศึกษาจิตรในทางวัฒนธรรมจากมุมมองทีย่ งั ไม่มใี ครได้ศกึ ษา จึงเริ่มต้นด้วยการเสนอบทความเรื่อง “ดาวยังพราย ศรัทธาเย้ยฟ้าดิน : การใช้ชวี ติ ประจ�ำวันของจิตร ภูมศิ กั ดิ์ และนักโทษการเมืองในคุกช่วง ทศวรรษ ๒๕๐๐” เพราะคิดว่าเป็นช่วงเวลาทีจ่ ติ รผลิตผลงานออกมา จ�ำนวนมากภายใต้โลกแห่งการคุมขัง ชีวิตไม่น่าจะหยุดนิ่ง หมดอาลัย และอับเฉาไปตามประกาศิตการลงทัณฑ์ของรัฐบาล พวกเขาน่าจะ สร้างสังคมและวัฒนธรรมของผู้ต้องขังร่วมกัน ประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ประเด็นนักโทษการเมืองตกเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ สม�่ำเสมออันเป็นผลมาจากการชุมนุมทางการเมืองในปีเดียวกัน ดิฉัน หวังว่างานชิ้นนี้อาจเป็นตัวอย่างช่วยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของรัฐในการ จัดการกับผูท้ รี่ ฐั เห็นว่าอยูฝ่ า่ ยตรงข้าม เป็นอันตรายต่อความมัน่ คงของ ประเทศ ตลอดจนความพยายามต่อสู้ เรียกร้องความเป็นธรรม และการ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการถูก “ลงโทษ” ของผูถ้ กู กล่าวหาและถูกจับกุม อย่างไรก็ตาม การเดินทางค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อ ปรับปรุงบทความให้สมบูรณ์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ต้องตอบค�ำถาม ตลอดเวลาว่าจะเขียนงานอย่างไรให้นา่ สนใจและแตกต่างจากงานทีเ่ คย ศึกษากันมาแล้ว ท�ำอย่างไรที่จะอ่านหลักฐานชุดเก่าเพื่อเปิดประเด็น ใหม่ได้ เช่น ประกาศคณะปฏิวัติ บันทึกความจ�ำ ข่าวหนังสือพิมพ์ สารคดี และบทสัมภาษณ์ เป็นต้น การพบหลักฐานกลุ่มใหม่ๆ ไม่ว่า จะเป็นวารสารราชทัณฑ์หรือค�ำพิพากษาศาลฎีกา จึงน�ำความตื่นเต้น ความกระชุ่มกระชวย และความสนุกมาให้ จากบทความยาวประมาณ ๓๐ หน้า จึงเพิ่มจ�ำนวนหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหลักหนึ่งร้อย และยังได้ รับการสนับสนุนจากโครงการมหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ รหัสโครงการ HS 1025A อีกด้วย ถึงจุดนี้ ดิฉันไม่แปลกใจเลยว่าท�ำไมอาจารย์เครก เรย์โนลด์ส์ (Professor Craig Reynolds) อาจารย์ทปี่ รึกษาวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก ทีด่ ฉิ นั เคารพ จึงสนใจค้นคว้าเรือ่ งจิตร ภูมศิ กั ดิ์ อย่างจริงจัง และเขียน


(8) “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

เรือ่ ง “Jit Poumisak in Thai History” ไว้เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อาจารย์ เครกคงผ่านเส้นทางความยากล�ำบากในการรูจ้ กั และเข้าถึงจิตรเหมือน กัน ดิฉนั อดภูมใิ จไม่ได้ทไี่ ด้เดินตามทางของอาจารย์ อีกทัง้ ยังร่วมใช้บท สัมภาษณ์เพื่อนของจิตรที่อาจารย์ได้สัมภาษณ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ศิษย์ขอถือโอกาสเขียนงานชิ้นนี้เพื่อบูชาครู นอกจากอาจารย์เครกแล้ว การสนับสนุน ความช่วยเหลือ ค�ำแนะน�ำ ตลอดจนก�ำลังใจอันมีค่าจาก รองศาสตราจารย์ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวิมล รุ่งเจริญ กระตุ้นให้ ดิฉนั กล้าคิด กล้าแสดงออกในวิถที างวิชาการประวัตศิ าสตร์อย่างมุง่ มัน่ ไม่เฉพาะเรื่องจิตรเท่านั้น เรื่องอื่นๆ ก็เช่นกัน นอกจากนี้ ดิฉันใคร่ ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ พี่สุพจน์ แจ้งเร็ว อาจารย์จีรพล เกตุจุมพล อาจารย์ธีระพล อันมัย อาจารย์ อนุสรณ์ ติปยานนท์ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำและความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนางาน ขอบคุณมิตรภาพจาก ดร. ธนาพล ลิ่มอภิชาต และ ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ทอแสง เชาวชุติ ขอบคุณอนรรฆ พิทกั ษ์ธานิน และวริศรา ตั้งค้าวานิช ผู้ช่วยวิจัยและมหาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ ผู้มากความสามารถ ซึ่งมีส่วนส�ำคัญท�ำให้งานวิจัยส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอบคุณอพิสทิ ธิ์ ธีระจารุวรรณ ส�ำหรับทุกขัน้ ตอนของการจัดท�ำหนังสือ ท้ า ยสุ ด ด้ ว ยความรั ก ขอมอบหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ใ ห้ แ ก่ จอยซ์ เบเกอร์ (Joyce Baker) ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ดร. ถิรพัฒน์ วิลยั ทอง ศจี วิลัยทอง ดร. รัมมิยา วิลัยทอง สุปรีดิ์ สมุทระประภูต ครอบครัว สมุทระประภูต รวมทัง้ จิตร ภูมศิ กั ดิ์ และผูต้ อ้ งขังการเมืองสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทุกท่าน วิลลา วิลัยทอง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เน


เข้าเรื่อง


4 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

จิตร ภูมิศักดิ์ นั่งทำ�งานในคุกลาดยาว

ภาพด้านบนนี้เป็นมุมหนึ่งของจิตรและเพื่อนภายในห้องคุมขัง เรือนจ�ำชั่วคราวลาดยาว จิตร ภูมิศักดิ์ นั่งอยู่ที่โต๊ะหนังสือที่เขาท�ำ ขึ้ น เพื่ อ นคนหนึ่ ง ก� ำ ลั ง ท� ำ ความสะอาดกรอบมุ ้ ง ลวด ส่ ว นสอง พ่อลูกด้านหลังภาพนั่งอยู่ตรงโต๊ะที่เต็มไปด้วยเครื่องครัว เช่น หม้อ และกาต้มน�้ำ ขณะที่มือของทั้งสองจับอุปกรณ์การเขียน เราไม่รู้ว่า ใครเป็นผู้ถ่าย๑ ทั้งหมดถูกจัดองค์ประกอบเพื่อถ่ายภาพหรือไม่ เป็น ความสมั ค รใจและจงใจของทั้ ง ผู ้ ถ ่ า ยและผู ้ ถู ก ถ่ า ยให้ ภ าพออกมา เช่นนี้หรือไม่  แต่อย่างน้อยจากภาพนี้ เรารู้ว่าภายในพื้นที่จ�ำกัด ถูก ตัดขาดจากโลกภายนอกแห่งนี้ พวกเขามีวิถีชีวิตอย่างไร พวกเขา ไม่ถูกใส่เครื่องพันธนาการ ไม่ได้สวมชุดนักโทษ เขาใช้ห้องร่วมกัน อาจท�ำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การกินอาหาร หรือต่างฝ่ายต่างมีกจิ กรรม ของตนเอง เช่น การอ่านและเขียนหนังสือ อยู่กับเพื่อนและครอบ ครัว ภาพนี้ได้ถูกเผยแพร่ผ่านการพิมพ์งานเกี่ยวกับจิตร ภูมิศักดิ์ หลายชิน้ ในระยะ ๑๐ ปีทผี่ า่ นมา อาทิ หลายชีวติ จิตร ภูมศิ กั ดิ ์ (๒๕๔๖)


วิลลา วิลัยทอง 5

จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย จากมหาวิทยาลัยลาดยาว ถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๙ (๒๕๕๒) และ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนอกคอก บันทึกค�ำอภิปราย “สัมมนา ๗๒ ปี จิตร ภูมิศักดิ์” วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕ (๒๕๕๓)๒ ค�ำอธิบาย ประกอบภาพในหนังสือ เช่น “จิตร ภูมิศักดิ์ ขณะถูกจองจ�ำในคุก หรือเรียกติดปากว่า ‘มหาวิทยาลัยลาดยาว’ ซึง่ เขาได้ผลิตงานชิน้ ส�ำคัญ ออกมาเป็นจ�ำนวนมาก”๓  ช่ ว งชี วิ ต ของจิ ต รใน “ลาดยาว” กลายเป็ น ช่ ว งชี วิ ต ที่  ส�ำคัญช่วงหนึ่งในการเข้าใจจิตร ผลงานของเขา และกระทั่ง  เรื่องราวรายล้อมรอบตัวเขาภายใต้บริบททางการเมือง สังคม  และวัฒนธรรมต้นทศวรรษ ๒๕๐๐  งานเขียนชิ้นนี้ต้องการศึกษา “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมืองโดยเฉพาะกลุ่มปัญญาชน ที่สัมพันธ์กับเวลา และสถานที่ ตั้งแต่พวกเขาถูกจับกุมจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว หรือระหว่างช่วงเวลานับจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ท�ำการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๕๐๑ จนถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. ๒๕๐๖   “ทัณฑะกาล” ควรสะกดว่า “ทัณฑกาล” ตามหลักไวยากรณ์ ภาษาไทยที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ผู้เขียนเลือกใช้ “ทัณฑะกาล” ซึ่งเป็นค�ำที่ ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ นักโทษการเมือง คดีกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามการนับของ ร.ต. เหรียญและ ร.ต. เนตร) ใช้อธิบายระยะเวลาที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจ�ำมหันตโทษ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๖๗ หลังจากที่ศาลทหารพิพากษาตัดสิน จ�ำคุกผูต้ อ้ งหา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั มีพระบรม ราชวินิจฉัยเด็ดขาด   ร.ต. เหรียญและ ร.ต. เนตรไม่ได้เขียนอธิบายความหมายโดย ตรง แต่ได้ใช้ค�ำนี้เมื่อย้อนเขียนถึงสิ่งที่พวกเขาได้กระท�ำกันในเรือนจ�ำ ค�ำนี้กระตุ้นให้เราเห็นว่าวัฒนธรรมของผู้ต้องขังทางการเมืองเป็นสิ่ง ประดิษฐ์สร้างทางประวัติศาสตร์และสังคม ส่งผ่านหรือสืบทอดกันได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นกบฏหรือศัตรูกลุ่มเล็กๆ ของพระมหากษัตริย์และ


6 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ (ซ้าย) และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ (ขวา) นักโทษการเมืองคดี กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ เป็นผู้ที่ ใช้คำ�ว่า “ทัณฑะกาล” ในงานเขียนเรื่อง “หมอเหล็งรำ�ลึก ภาคปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ. ๑๓๐”

แผ่นดินก่อนสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕๔ หรือเป็น นักโทษการเมืองและผูต้ อ้ งขังกลุม่ ใหญ่แห่งรัฐประชาธิปไตย ร.ต. เหรียญ และ ร.ต. เนตรเขียนไว้ว่า อาชีพทางประพันธกรรมของพวกเราที่ในเรือนจ� ำ นับว่าเป็น ล�่ำเป็นสันแน่นอนอยู่จนตลอด ทัณฑะกาล [เน้นโดยผู้เขียน] จึง เห็ น ได้ ว ่ า วิ ท ยาลั ย ใช่ แ ต่ จ ะมี ไ ด้ เ ฉพาะในหมู ่ อิ ส ระเท่ า นั้ น ก็ ห าไม้ [เขียนตามต้นฉบับ] แม้ในเรือนจ�ำก็มีวิทยาลัยได้เช่นกัน และทั้งนี้ มิใช่แต่วิทยาลัยทางหนังสือพิมพ์ ทางประพันธกรรม หรือกวีกรรม เท่านั้น วิทยาลัยทางการช่าง การแพทย์และการปกครอง ก็อ�ำนวย ประโยชน์ให้มิใช่น้อยแก่ผู้ที่ใฝ่ใจและหวังดี๕ “ทัณฑะกาล” ในงานชิ้นนี้หมายถึงเวลาแห่งโทษทัณฑ์ รวม  ถึงระยะเวลาต้องโทษทีร่ ฐั เป็นผูก้ ำ� หนด และระยะเวลาต้องโทษ  ก�ำหนดโดยความคิดของตัวผูต้ อ้ งขังเอง  แม้วา่ ผูต้ อ้ งขังจะได้รบ ั


วิลลา วิลัยทอง 7

การปล่อยตัวแล้ว ทัณฑะกาลอาจจะคงไม่ไปจากพวกเขา ไม่ได้  สิ้นสุดตามแนวทางกฎหมาย   งานชิ้นนี้จึงต้องการเสนอว่าการจับกุมและคุมขังผู้ต้องหาคอม มิวนิสต์ของรัฐบาลอย่างไม่มีก�ำหนดหรือ “ขังลืม” (preventive  detention) ภายใต้อ�ำนาจของประกาศคณะปฏิวัติเป็นปัจจัยส�ำคัญ ที่ก�ำ หนด “ทัณ ฑะกาล” ของพวกเขา แม้ จ ะยัง ไม่ ไ ด้ รับ การตัด สิน พิจารณาคดีจากศาลทหาร แต่การถูกขังระหว่างรอเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด�ำเนินการสอบสวน ส่งส�ำนวนฟ้อง และพิจารณาคดี อาจจะถือว่า เป็นการตัดสินลงโทษเชิงการฟื้นฟู (rehabilitation) จากรัฐได้ พวก เขามีอิสระในการจัดสรร ใช้สถานที่ และด�ำเนินกิจกรรมในแต่ละวัน ตามภูมิหลังด้านอาชีพ ความรู้ ความช�ำนาญ และครอบครัว สะท้อน ให้เห็นถึงขบวนการเจรจาต่อรองและประนีประนอมระหว่างรัฐ เจ้าหน้าที่ รัฐ และผู้ต้องขังด้วยกันเอง ท�ำให้การใช้ชีวิตของพวกเขาในที่คุมขัง แต่ละที่กลายเป็นพื้นที่ของการเคลื่อนไหว ซึ่งมีส่วนในการสร้างตัวตน และชุมชนของความเป็น “ผู้ต้องขังคอมมิวนิสต์” และการต่ อ สู ้ โ ดย เฉพาะทางศาลพลเรือนเพื่ออิสรภาพร่วมกัน ภายในพื้นที่จ�ำกัดและถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เวลาของ พวกเขาแบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ คือ  หนึง่  เวลาทางการ (offificial time) ทีก่ ำ� หนดโดยทางการ เช่น เวลาขังไม่มีก�ำหนดจนกระทั่งศาลทหารสั่งปล่อยตัว เวลาเปิดและปิด ตึกคุมขัง เวลาเยี่ยม  สอง เวลาส่วนรวม (collective time) เวลาที่ท�ำกิจกรรมร่วม กัน ก�ำหนดเองโดยกลุ่มผู้ถูกคุมขัง อาทิ เวลาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รั บ ประทานอาหาร เล่ น ดนตรี  เล่ น กี ฬ า เรี ย นหนั ง สื อ  และท� ำ คดี เป็นต้น  สาม เวลาส่วนตัว (individual time) เป็นเวลาที่ผู้ถูกคุมขัง แต่ละคนก�ำหนดการใช้เวลาของตนเองแล้วแต่ภูมิหลัง ได้แก่ เวลา อ่านและเขียนหนังสือ เวลาพบญาติ เวลาไปพบหมอ   การแบ่งเวลาเช่นนี้เพื่อแสดงว่าการใช้เวลาร่วมกันทั้งที่ก�ำหนด


8 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

โดยทางการและก�ำหนดกันเอง มีส่วนสร้างสังคมในที่คุมขังและตัว ตนของผู ้ ถู ก คุ ม ขัง  ซึ่ง สัม พัน ธ์ กับ สถานที่คุ ม ขัง เช่ น กัน  ถ้าพวกเขา ถูกขังเดี่ยวตลอดเวลาและมีการควบคุมอย่างเข้มงวด การใช้เวลาและ กิจกรรมของพวกเขาคงจะเปลี่ยนไป ความหมายของทัณฑะกาลก็จะ เปลี่ยนไปเช่นกัน แต่ด้วยช่วงเวลาที่พวกเขาถูกคุมขังที่ลาดยาวเป็น เวลาหลายปีนั้น พวกเขาถูกขังรวมตามขนาดของพื้นที่คุมขังที่แตกต่าง กันไป  มีโอกาสเลือกห้องคุมขังเอง ใช้พื้นที่บริเวณรอบห้องขังอย่าง ค่อนข้างอิสระ กลับกลายเป็นผู้ที่ให้ความหมายของพื้นที่ของรัฐ ซึ่ง เหมือนว่าเป็นพื้นที่ปิด พื้นที่ภายในถูกตัดขาดจากภายนอก กระนั้น พวกเขาไม่ได้ถูกปิดจากโลกภายนอกเสียทีเดียว โลกภายนอกถูกน�ำสู่ ภายในผ่านตัวกลาง เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สมาชิกภายในครอบครัว และ การออกไปท�ำกิจกรรมข้างนอกที่คุมขังของตัวผู้ถูกคุมขังเอง  แม้นกั ประวัตศิ าสตร์บางคนจะมองว่าช่วง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะแยกออกจากช่วง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๐๐๖ และถือเป็นอีกช่วงหนึ่งของ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่โดยใช้การเมืองและผู้นำ� เป็นปัจจัยในการ แบ่งประวัตศิ าสตร์ แต่ประวัตศิ าสตร์การถูกคุมขังของจิตรและผูต้ อ้ งขัง การเมืองในช่วง จอมพล สฤษดิ์ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและ ความต่อเนื่องของวัฒนธรรมบางประการของผู้ถูกคุมขังทางการเมือง มาตั้งแต่สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้บริบทของสงครามเย็น และกระทั่ ง สามารถย้ อ นไปได้ ไ กลถึ ง ช่ ว งก่ อ นเปลี่ ย นแปลงการ ปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕๗  ผู ้ ถู ก คุ ม ขั ง บางคนต้ อ งข้ อ หากบฏการเมื อ ง เช่ น  กรณี ก บฏ สันติภาพ พ.ศ. ๒๔๙๕ ถูกโยงกับเรื่อง “คอมมิวนิสต์” ฉะนั้น เราจะ เห็ น แนวประพฤติ ป ฏิ บั ติ   (practice) หรื อ การใช้ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น (everyday life) ของผู้ต้องขังบางประการที่ยังสืบทอดต่อกันมา ไม่ ว่าจะเป็น วัฒนธรรมการอ่านและเขียนหนังสือ การสอนและเรียน หนั ง สื อ  วั ฒ นธรรมการเยี่ ย มผู ้ ต ้ อ งขั ง ที่ ผู ้ ห ญิ ง  (แม่  ภรรยา และ ลูกสาว) มักจะเป็นตัวกลางติดต่อระหว่างโลกภายนอกและภายใน


วิลลา วิลัยทอง 9

เรือนจ�ำให้แก่ผู้ต้องขัง หรือถ้าย้อนกลับไปถึงกรณีกบฏการเมืองก่อน เปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น ร.ศ. ๑๓๐ วัฒนธรรมนี้ก็ปรากฏอยู่ เช่นกัน๘  ค�ำที่ใช้เรียกผู้ถูกจับคุมขังในงานเขียนชิ้นนี้มีอยู่ ๓ ค�ำ และ เป็นค�ำที่ต้องการเน้น คือ หนึ่ง ค�ำว่า “แดง” ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้น หมายถึงผู้ต้องหาที่มีการกระท�ำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ผู้ฝักใฝ่ในลัทธิ คอมมิวนิสต์ และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  สอง ค�ำว่า  “ผู้ต้องหา” ปรากฏในข่าวเกี่ยวกับการจับกุม บุคคลที่ “มีการกระท�ำอันเป็นคอมมิวนิสต์” โดยเฉพาะในหนังสือ พิมพ์อยู่ฝ่ายรัฐบาล เช่น สารเสรี ค�ำนี้เป็นค�ำที่ทางรัฐและตัวแทนของ รัฐ เช่น สันติบาลใช้  นอกจากนัน้  พระราชบัญญัตกิ ารควบคุมผูต้ อ้ งหา ว่ากระท�ำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระท�ำอันเป็น คอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ยังใช้คำ� ว่า “ผูต้ อ้ งหา” การเรียกเช่นนีส้ ามารถ อธิ บ ายถึ ง สถานะของผู ้ ที่ ถู ก คุ ม ขั ง หลายคนที่ ยั ง อยู ่ ใ นขั้ น ตอนการ สอบสวน ยั ง ไม่ ถู ก อั ย การศาลทหารฟ้ อ ง และยั ง ไม่ ถู ก ศาลทหาร พิพากษา  สาม ค�ำว่า “ผู้ต้องขัง” เป็นค�ำที่ฝ่ายถูกจับกุมใช้ โดยเฉพาะ เมื่อเขียนบันทึกย้อนความทรงจ�ำครั้งเมื่อถูกคุมขัง เช่น เรื่อง คอม มิวนิสต์ลาดยาว : บันทึกเรื่องราวการต่อสู้ของผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์ ในคุกลาดยาว ของทองใบ ทองเปาด์ ใต้ดาวแดง-คนสองคุก ของ สุวัฒน์ วรดิลก และจดหมายจากลาดยาว ของศิวะ รณชิต๙ อย่างไร ก็ตาม ต้องพึงระวังว่าบันทึกทั้ง ๒ เล่มนี้เป็นการเขียนย้อนหลังถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนอาจต้องการเน้นถึงสถานะของตนเองที่ ควรจะเป็น และไม่ยอมรับในสถานะที่รัฐมอบให้ เพราะฉะนั้น ขอให้ สังเกตว่างานเขียนเรื่องนี้จะใช้สรรพนามการเรียกผู้ที่ถูกรัฐบาลจับกุม ในข้อหามีการกระท�ำอันเป็นคอมมิวนิสต์และถูกคุมขังตามกลุ่มผู้เรียก อย่างน้อยเพื่อชี้ให้เห็นถึงจุดยืนของแต่ละฝ่าย๑๐


เชิงอรรถ

ภาพถ่ายของจิตรและผูต้ อ้ งขังในลาดยาวชุดหนึง่ เคยถูกเก็บไว้ทบี่ า้ น ของแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มารดาของจิตร ถนนงามวงศ์วาน  ๒ วิชัย นภารัศมี. หลายชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์. (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน,  ๒๕๔๖); วิ ชั ย  นภารั ศ มี   (บรรณาธิ ก าร). จิ ต ร ภู มิ ศั ก ดิ์   คนยั ง คงยื น เด่ น  โดยท้าทาย จากมหาวิทยาลัยลาดยาวถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พ.ศ. ๒๕๐๐-  ๒๕๐๙. (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, ๒๕๕๒); สุวิมล รุ่งเจริญ (บรรณาธิการ).  จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนอกคอก บันทึกคำ�อภิปราย “สัมมนา ๗๒ ปี จิตร   ภูมิศักดิ์” วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕. (กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองทุนจิตร ภูมศิ กั ดิ ์ และสถาบัน วิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๓). ๓ วิชัย นภารัศมี (บรรณาธิการ). จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดย  ท้าทาย จากมหาวิทยาลัยลาดยาวถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พ.ศ. ๒๕๐๐๒๕๐๙. น. ๒. ๔ ผู้ เขี ย นได้ ป ระเด็ น  “ศั ต รู ข องพระมหากษั ต ริ ย์ ”  (enemies of the  King) จากการอ่านบทความที่ซีรีล อาร์วานไนทิส (Cyril Arvanitis) เขียน วิจารณ์หนังสือของโพลีเมอริส โวจลิส (Polymeris Voglis) เรื่อง Becoming  a Subject: Political Prisoners during the Greek Civil War (2002) โปรดดู  Cyril Arvanitis. “Becoming a Subject: Political Prisoners during   the Greek Civil War (review),” Journal of Modern Greek Studies. 21, 1   (May 2003), p. 148.  ๕ “หมอเหล็ ง รำ � ลึ ก  ภาคปฏิ วั ติ ค รั้ ง แรกของไทย ร.ศ. ๑๓๐,” ใน  อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ คุณแม่ระเบียบ ศรีจนั ทร์ ณ เมรุวดั มกุฏกษัตริยาราม  วันพุธที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. “หมอเหล็งรำ�ลึก ภาค ปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ. ๑๓๐” เขียนโดย ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อเป็น อนุ ส รณ์ ง านศพ ร.อ. ขุ นทวยหาญพิ ทั ก ษ์  (นายแพทย์ เหล็ ง  ศรี จั นทร์ )  สด กูรมะโรหิต เป็น “ผู้ตรวจแก้และเขียนคำ�นำ�” ผู้เขียนพบว่าการตีพิมพ์งานชิ้นนี้ ในครั้งที่ ๕ โดยสำ�นักพิมพ์คัมภีร์ ได้เปลี่ยนชื่อหนังสือ ตัดเนื้อหา เปลี่ยนการ ใช้คำ� เช่น ใช้คำ�ว่า “ทัณฑ์กาล” แทน “ทัณฑะกาล” โปรดดู ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์. กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ (การปฏิวัติครั้งแรกของ  ไทย). (กรุงเทพฯ : คัมภีร์, ๒๕๑๙), น. ๑๙๓.


วิลลา วิลัยทอง 11

ปิยนาถ บุนนาค แยกช่วงบทบาทของฝ่ายทหารคณะรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ ออกจาก “สมัยแห่งการพัฒนาและ ‘เหตุการณ์ ๑๔ ตุลา’ พ.ศ. ๒๕๑๖” โปรดดู ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำ�สนธิสัญญาบาวริง  ถึ ง  เหตุ ก ารณ์  ๑๔ ตุ ล าคม พ.ศ. ๒๕๑๖). (กรุ ง เทพฯ : ภาควิ ช าประวั ติ ศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐), บทที่ ๙ และ  ๑๐. ส่วนสุธาชัย ยิม้ ประเสริฐ มองจากเรือ่ งประชาธิปไตย เรียกทศวรรษ ๒๔๙๐  ว่าเป็ นช่วงของ “คณะรัฐประหารและพั ฒนาการขบวนการมวลชน” แยก ออกจากช่วง “การเมืองไทยยุคเผด็จการ” ทศวรรษ ๒๕๐๐ และ ๒๕๑๐ ที่มี จอมพล สฤษดิ ์ ธนะรัชต์ และ จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี โปรด ดู สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย. (กรุงเทพฯ : พี.เพรส, ๒๕๕๑), บทที่ ๕, ๖. ๗ Chris Baker and Pasuk Phongpaichit รวมทั้ง ๒ ช่วงเวลาไว้ด้วย กันโดยใช้บทบาทของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยใน การมอง เรียกช่วงทศวรรษนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือทศวรรษ  ๑๙๔๐ จนถึ ง ทศวรรษ ๑๙๖๐ ว่ า เป็ น ยุ ค อเมริ ก าและการพั ฒ นา (The   American era and development, 1940s to 1960s) และยังใช้ปัจจัยด้าน อุดมการณ์ (ideologies) เน้นเรื่องความมั่นคงของรัฐภายใต้บริบทของสงคราม เย็น แบ่งช่วงด้วยเช่นกัน อธิบายรวมตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๔๐ จนถึงทศวรรษ ๑๙๗๐ โปรดดู Chris Baker and Pasuk Phongpaichit. A History of Thailand.  (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), chapters 6, 7. ๘ กุหลาบ สายประดิษฐ์. ทินกรณ์ของผู้ต้องขังโดยข้อหาว่าเป็นกบฏ.  พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป, ๒๕๔๗). และ ชุลี สารนุสิต. แดนหก. (พระนคร : โรงพิมพ์สมรรถภาพ, ๒๔๘๘). ๙ ทองใบ ทองเปาด์. คอมมิวนิสต์ลาดยาว : บันทึกเรื่องราวการต่อสู้  ของผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์ในคุกลาดยาว. (กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง, ๒๕๓๔), น. ๑๕๓; สุ วั ฒ น์  วรดิ ล ก. ใต้ ด าวแดง-คนสองคุ ก . (พระนคร : ลายสื อ ไทย,  ๒๕๒๑), น. ๒๔๑; ศิวะ รณชิต. จดหมายจากลาดยาว. (กรุงเทพฯ : ประกาย,  ๒๕๒๑), น. ๒. ๑๐ ข้อสังเกตจากกรณีกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ กล่าวคือ ใน “หมอเหล็งรำ�ลึก  ภาคปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ. ๑๓๐” (๒๕๐๓) นั้น ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ เรียกตัวเองว่า “นักโทษปฏิวัติ”, ดู อนุสรณ์งาน  ฌาปนกิจศพ คุณแม่ระเบียบ ศรีจันทร์, น. ๑๐๕. แต่ไม่ปรากฏย่อหน้าที่มี คำ�นี้ในหนังสือ ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์. กบฏ ร.ศ.   ๑๓๐ (การปฏิวัติครั้งแรกของไทย). ตีพิมพ์ปี ๒๕๑๙.


เน


เมื่อจะศึกษาคุก


14 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

ยังไม่มงี านวิชาการทางประวัตศิ าสตร์ชนิ้ ใดทีเ่ ขียนประวัตศิ าสตร์ เรื่องคุกลาดยาว จิตรและผู้ต้องขังทางการเมืองสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อย่างเป็นทางการ นอกจากงานเรียบเรียงเรื่อง “คุกลาดยาว” ขนาดความยาวไม่กหี่ น้าของศรัญญู [ไม่ปรากฏนามสกุล] และนครินทร์ เมฆไตรรั ต น์   ซึ่ ง ผลิ ต ให้ เ ป็ น ฐานข้ อ มู ล ทางการเมื อ งของเว็ บ ไซต์ สถาบันพระปกเกล้าฯ เนื้อหาเสนอว่าคุกลาดยาวเป็นพื้นที่แสดงออก ทางปัญญาของผู้ต้องขังลาดยาว มีความสัมพันธ์กับการเมืองในสมัย นัน้  ผูต้ อ้ งขังเรียกร้องความเป็นธรรมและท้าทายอ�ำนาจเผด็จการทหาร งานชิ้นดังกล่าวไม่ได้เป็นงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้ใช้  วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง ไม่ได้ศึกษาเรื่องผู้ต้องขัง  มีการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ้าง เช่น ประกาศคณะปฏิวัติ สมัย จอมพล สฤษดิ์ และใช้หนังสือคอมมิวนิสต์ลาดยาว : บันทึก เรื่องราวการต่อสู้ของผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์ในคุกลาดยาว ของทองใบ ทองเปาด์ เป็นหลัก จึงเป็นงานที่เหมาะส�ำหรับให้ข้อมูลขั้นต้นแก่ผู้อ่าน ทั่วไป๑ ประวัติศาสตร์นิพนธ์เรื่องคุกในประเทศไทยไม่ได้รับความ สนใจจากวงการวิชาการประวัติศาสตร์ไทยเท่าที่ควร๒ ถึงแม้ว่าการ สร้างคุกแบบใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครอง กลายเป็น สถาบันทางการเมืองและสังคม เป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญของรัฐสมัยใหม่ ในการควบคุม ลงทัณฑ์ และสร้างระเบียบวินัยให้แก่ราษฎรนับตั้งแต่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ๓  กระนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าบทความเรื่อง “เปลี่ยน ‘ป่าดิบ’ ให้เป็น ‘บ้าน’ : ชุมชนในฝัน ณ ทัณฑนิคมธารโต, พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๐๐” ของภมรี  สุรเกียรติ ถือเป็นงานชิ้นบุกเบิกเรื่องประวัติศาสตร์นิพนธ์คุก  และการขยายองค์ความรู้เรื่องบทบาทของรัฐบาลคณะราษฎร  หลั ง การเปลี่ ย นแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เพื่ อ แก้ ไ ข ปัญหาทางเศรษฐกิจตามหลักหกประการ  ภมรี เ สนอว่ า ทั ณ ฑนิ ค มธารโต บ้ า นไอเยอกะตง อ� ำ เภอ บันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นทั้งส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบงาน


วิลลา วิลัยทอง 15

หนั ง สื อ เรื่ อ งคอมมิ ว นิ ส ต์ ล าดยาว ของทองใบ ทองเปาด์ เป็นงานที่ให้ข้อมูลขั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องคุก ลาดยาว

ราชทัณฑ์ และเป็นส่วนของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือ “ดินแดน มลายูปาตานี” ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ รัฐบาลคณะราษฎรตั้งใจ ใช้แรงงาน “ทัณฑกร” เปลี่ยนภูมิทัศน์จากป่าให้เป็นบ้านทัณฑกร ส่วนหนึ่งคือนักโทษการเมืองคดีกบฏบวรเดช๔  ขณะที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์คุกในประเทศไทยยังอยู่ในภาวะ ตั้งไข่  ประวัติศาสตร์คุกในโลกตะวันตกนั้นเติบโตและผลิดอกออก ผลอย่างมากมาย สาเหตุหนึ่งอาจมาจากงานชิ้นที่มีชื่อเสียงระดับนานา ชาติ ข องมิ เ ชล ฟู โ กต์   (Michel Foucault) เรื่ อ ง Discipline and Punish: The Birth of the Prison (1977) ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น งานต้นแบบการศึกษาเรื่องคุกและบทบาทของรัฐสมัยใหม่ มีอิทธิพล


16 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

แผนผังเรือนจ�ำกลางภาคธารโต หรือทัณฑนิคมธารโต ทีภ่ มรี สุรเกียรติ ได้ศกึ ษาถึงเรือน จ�ำแห่งนี้ ถือว่าเป็นงานบุกเบิกด้านประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์คกุ เรือ่ งแรกๆ (ภาพจาก ประหยัด โลหะรัตน์. “เรือนจ�ำกลางภาคธารโต,” ใน ๘๐ ปี กรมราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๘.)

ต่อนักวิชาการสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ทั่วโลก ไม่จ�ำกัด อยู่เพียงเฉพาะสาขาวิชาประวัติศาสตร์เท่านั้น จนกระทั่งเกิดสิ่งที่ เรียกว่ากระบวนทัศน์แบบฟูโกต์ (Foucauldian paradigm) ในงาน ชิ้นดังกล่าว นอกเหนือจากที่ฟูโกต์พยายามอธิบายถึงการเกิดและการ ท�ำงานของคุกฝรั่งเศสในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แล้ว ฟูโกต์ต้องการ จะอธิ บ ายปฏิ บั ติ ก ารของอ�ำ นาจ (power) และความจริ ง  (truth) ในสังคมสมัยใหม่ที่ก� ำหนดจากส่วนจองจ� ำของสถาบัน (carceral


วิลลา วิลัยทอง 17

continuum of institutions) เช่น การใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ควบคุมบุคคลและท�ำให้บุคคลเป็นปกติ การลงโทษในฝรั่งเศสช่วง ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๙ เน้น ความเป็นอิสรเสรีและจิตวิญญาณของอาชญากรมากกว่าการทารุณ ร่างกาย คุกสามารถท�ำให้ร่างกายเชื่อง (docile) ได้ โดยการควบคุม คุกรูปแบบ “พานอปติคอน” (panopticon) ผู้คุมประจ�ำอยู่บนหอคอย สามารถเห็นนักโทษได้ทุกคนและนักโทษไม่เห็นพวกเขา ฟูโกต์เห็นว่า ระเบียบวินัยคุกสมัยใหม่ที่เน้นร่างกายในการเป็นเครื่องมือควบคุม จิ ต วิ ญ ญาณและสร้ า งจิ ต ใจใหม่ นั้ น  ร้ า ยกาจกว่ า ระบอบเก่ า  (old  regime)๕ บทความเรื่อง “Global Perspectives on the Birth of the  Prison” ของมารี กิ๊บสัน (Mary Gibson) ตีพิมพ์ใน The American Historical Review ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. ๒๐๑๑ ได้เสนอ ประเด็นทีน่ า่ สนใจในการศึกษาเรือ่ งคุกโดยการส�ำรวจงานเขียนหลายชิน้ ทบทวนการเกิดของคุกในเวียดนาม แอฟริกา จีน ญี่ปุ่น และเปรู แตกต่างจากแนวทางที่ฟูโกต์ได้น�ำเสนอ นั่นคือการให้ความสนใจ  เรื่องลักษณะของวัฒนธรรมย่อย (subculture) ของนักโทษและ  ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและการลงโทษ๖  งานเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าระหว่างระยะเวลาการเคลื่อนไหวต่อต้าน อาณานิคมและคอมมิวนิสต์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ ๑๙๒๐ และ ๑๙๓๐ จ�ำนวนของนักโทษการเมืองเพิ่มขึ้นทั่วเอเชีย แอฟริกา และละติน อเมริกา พวกเขาส่วนใหญ่เป็นนักโทษหัวรุนแรง (radical) ชนชัน้ กลาง ที่อ่านออกเขียนได้ จึงใช้จดหมายและค�ำร้องเพื่อเขียนระบายความ คับข้องใจออกไปยังนอกก�ำแพงคุก  หนังสือพิมพ์ของฝ่ายตรงข้ามกับของอาณานิคมตีพิมพ์สภาพ กดดันและไม่เป็นมนุษย์ของนักโทษพื้นเมือง บางครั้งให้ภาพนักโทษ การเมืองว่าเป็น “วีรบุรุษผู้เสียสละ” (martyred hero)๗ กรณีคุก ในกรุงลิมา ประเทศเปรู ระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๕๐-๑๙๓๕ คุกไม่ได้ถูก จัดระเบียบด้วยวินัย  (discipline) เท่านั้น แต่ยังด้วยสิ่งที่เรียกว่า


18 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

จารีตประเพณี (customary order) ที่เป็นการเจรจาต่อรองระหว่าง นักโทษและผู้คุม ต่างฝ่ายต่างฝ่าฝืนกฎเพื่อเจตจ�ำนงของตนเอง นัก โทษติดสินบนส�ำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริการทางเพศ และ กระทั่ง การได้ รับ การปล่ อ ยตัว  เจ้ า หน้ า ที่เ รือ นจ� ำ สมรู ้ ร ่ ว มคิด ด้ ว ย เพราะต้องการเอาใจนักโทษ ป้องกันความโกลาหลจากการหลบหนี หรือก่อกบฏของนักโทษ การแบ่งระดับชั้นมีอยู่ในสังคมผู้โดนกักขัง หรือเรียกอีกอย่างว่าโลกของผู้ชายอย่างสุดโต่ง (ultramasculine  world) บ่งบอกได้จากแนวประพฤติปฏิบตั ิ เช่น การสัก การใช้คำ� ศัพท์ เฉพาะทางอาชญากรรม พฤติกรรมรักร่วมเพศและการฝักใฝ่ความ รุนแรง๘  งานของปีเตอร์ ซิโนแมน (Peter Zinoman) เรื่อง The Colonial Bastille: A History of Imprisonment in Vietnam, 1862-1940 (2001) ยัง เสนอชีวิต ความเป็ น อยู ่ ข องนัก โทษในคุ ก สมัยอาณานิคม นักโทษในอินโดจีนมีระดับชั้นทางสังคมอยู่ ๒ ระดับ คือ  ระดับแรก ขึ้นอยู่กับสถาบันคุมขังหรือคุก ค�ำพิพากษาของศาล มีผลต่อการจัดล�ำดับความส�ำคัญและแนวปฏิบัติของนักโทษ รวมถึง ความสามารถในการท�ำงานและพฤติกรรมในสถาบันคุมขัง เพื่อตอบ สนองต่อระบบการบริการของสถาบัน  ระดับที่ ๒ ถูกก�ำหนดจากตัวนักโทษเอง แบ่งตามล�ำดับความ อาวุโส ชนชั้นทางสังคม และเครือข่ายแบบกลุ่ม สิ่งนี้แสดงให้เห็น ถึ ง พื้ น ที่ ท างสั ง คมที่ เ ป็ น อิ ส ระภายในคุ ก ที่ ร ะบบการบริ ห ารของรั ฐ ไม่สามารถจะสังเกตการณ์และควบคุมได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน นักโทษสร้างความรู้สึกร่วมกันโดยการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตความเป็น อยู่ในคุกและเผชิญกับสภาพทางอารมณ์คล้ายกัน๙ ซิโนแมนเน้นให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเรียกคุกอาณานิคม ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ ๑๙๓๐ ว่าเป็นโรงเรียนปฏิวัติ นักโทษที่ คุกกลางไซ่ง่อน (Saigon Central Prison) ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับ คอมมิวนิสต์ และคุกส่วนภูมิภาคญาจาง (Nha Trang Provincial


วิลลา วิลัยทอง 19

Prison) เปรียบได้กับโรงเรียนถาวรของลัทธิคอมมิวนิสต์ คุกเหล่านี้ เป็นแหล่งเผยแพร่ลัทธิมาร์กซ์และเลนินในฐานะเป็นพื้นที่ที่รวมกัน ของความรู้ส�ำหรับสหายที่ไม่เคยเข้าโรงเรียนหรือไม่มีโอกาสได้คุ้นเคย วรรณกรรมแบบมาร์กซ์และเลนินก่อนพวกเขาติดคุก ๑๐ พวกเขาได้ เรียนทฤษฎีการเมือง ร่วมอภิปรายแบบถาม-ตอบจากนักโทษที่ได้ รับการฝึกมาจากประเทศจีนและสหภาพโซเวียต บางคนศึกษากับ โฮจิมินห์ที่กวางตุ้งและสยาม๑๑ นอกจากนี้ ยังมีวิชาอื่นๆ ที่สอนอีก เช่น วรรณกรรมขัน้ พืน้ ฐาน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ ภูมิศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ได้รับ ความนิยม๑๒ นักโทษคอมมิวนิสต์ในคุกเวียดนามช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๓๐ ยั ง ศึ ก ษาเรื่ อ งการเมื อ งผ่ า นบทเพลงและการแสดงละคร นั ก โทษแสดงละครในคุ ก ได้ แ ต่ ต ้ อ งอยู ่ ใ นความควบคุ ม ดู แ ลจาก เจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด ถือว่าเป็นการแก้ความเบื่อหน่าย กดดันจาก ความต้องการทางเพศ และกระชับความสัมพันธ์กับผู้คุม๑๓ ตัวอย่างการศึกษาประวัติศาสตร์คุกในภูมิภาคต่างๆ ที่ชี้ให้ เห็นถึงความส�ำคัญกับวัฒนธรรมย่อย (subculture) ชีวิตประจ�ำวัน และสังคมของนักโทษในคุก เป็นแนวทางที่งานเขียนชิ้นนี้ใช้ศึกษา “ทัณฑะกาล” ของจิตรและผู้ต้องขังการเมือง


เชิงอรรถ

ดู “คุกลาดยาว,” จาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php?title=  %E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0% B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7&  oldid=6574 (เข้าถึง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕) หัวข้อเรื่องประกอบด้วย ประวัติ เรือนจำ� เรือนจำ�ลาดยาวกับการเมืองไทยในทศวรรษ ๒๕๐๐ ผู้ที่ถูกควบคุม ตัวในเรือนจำ�ลาดยาว ผูต้ อ้ งขังลาดยาวกับการเรียกร้องความเป็นธรรม กับการ ท้าทายอำ�นาจเผด็จการ และพื้นที่แสดงออกทางปัญญาในยุคเผด็จการทหาร ๒ งานเรื่องคุกนอกสายประวัติศาสตร์ ได้แก่ อรสม สุทธิสาคร. คุก :  ชีวิตในพันธนาการ. (กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๔๐); สายพิณ ศุพุทธมงคล.  คุก กับ คน : อำ�นาจและการต่อต้านขัดขืน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพฯ : มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕). ๓ สามารถอ่านประวัติการราชทัณฑ์ไทย ฉบับของทางราชการได้จาก ผลงานของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย เช่น กรมราชทัณฑ์ กระทรวง มหาดไทย. ความก้าวหน้าของการราชทัณฑ์แห่งสยามในระบอบประชาธิปไตย.  (พระนคร : โรงพิมพ์ลหุโทษ, ๒๔๗๙); กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย. การราชทัณฑ์แห่งประเทศไทย. (พระนคร : กรมราชทัณฑ์, ๒๕๑๑); กรม ราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย. ประวัติการราชทัณฑ์แห่งประเทศไทยและการ ปรับปรุงกิจการราชทัณฑ์ในปัจจุบัน. (กรุงเทพฯ : กรมราชทัณฑ์, ๒๕๑๙). ๔ ภมรี สุรเกียรติ. “เปลี่ยน ‘ป่าดิบ’ ให้เป็น ‘บ้าน’ : ชุมชนในฝัน ณ  ทัณฑนิคมธารโต, พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๐๐,” รุไบยาต. ๒, ๓ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔), น. ๓๓๓-๓๘๕. ๕ Michel Foucault; Alan Sheridan (translator). Discipline and  Punish: The Birth of the Prison. (New York: Vintage Books, 1977). และดู การอธิบายหนังสือเล่มนี้ในภาษาไทยจาก “ฟูโกต์ สถาบันอำ�นาจเบ็ดเสร็จเด็ด ขาด,” ใน สายพิณ ศุพุทธมงคล. คุก กับ คน : อำ�นาจและการต่อต้านขัดขืน.  น. ๑-๒๕.  ๖ Mary Gibson. “Global Perspectives on the Birth of the Prison,”  The American Historical Review. 116, 4 (October 2011), pp. 1040-1063.  งานที่กิ๊บสันทบทวนได้แก่ Peter Zinoman. The Colonial Bastille: A History  of Imprisonment in Vietnam, 1862-1940. (Berkeley and Los Angeles:   University of California Press, 2001); Florence Bernault (editor).


วิลลา วิลัยทอง 21

A History of Prison and Confinement in Africa. (Portsmouth, N.H.:   Heinemann, 2003); Frank Diköötter, Crime, Punishment and the Prison  in Modern China. (New York: Columbia University Press, 2002); Daniel   V. Botsman. Punishment and Power in the Making of Modern Japan.   (Princeton, N.J.: Princeton University Press, 2005). และ Carlos Aguirre.  The Criminals of Lima and Their Worlds: The Prison Experience,  1850-1935. (Durham and London: Duke University Press, 2005). ๗ Ibid., p. 1059. ๘ Ibid., p. 1057. ๙ Peter Zinoman. The Colonial Bastille: A History of Imprisonment in Vietnam, 1862-1940. pp. 98-99. ๑๐ Ibid., p. 218.  ๑๑ Ibid., pp. 221-222.  ๑๒ Ibid., p. 223. วรรณกรรมคอมมิ ว นิ ส ต์   เช่ น  The Communist Manifesto, Capital, What Is to Be Done?, Basic Problems of Marxism, Historical Materialism: A System of Sociology, Political Economy, Principles of Leninism และ The ABC of Communism ส่วนงานเขียนภาษา ฝรั่งเศส นักโทษได้เรียนจากพระคัมภีร์ (bible) พจนานุกรม เศษกระดาษ หนังสือพิมพ์ที่ใช้ห่อของ และวรรณกรรมที่เขียนโดย Victor Hugo, Alphonse Daudet, Guy de Maupassant, Alfred de Vigny, Alfred de Musset, Émile  Zola ๑๓ Peter Zinoman. The Colonial Bastille: A History of Imprisonment in Vietnam, 1862-1940. pp. 224-225.


เน


เมื่อจะศึกษา ชีวิตจิตรในคุก


24 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

“จิตรศึกษา” (Jit Studies) หรือการศึกษาประวัติและผล งานของจิตร ภูมิศักดิ์ เริ่มขึ้นอย่างจริงจังตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๑๐ โดย เฉพาะก่อนและหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖  ปัจจัยหลักที่ท�ำให้เกิดการศึกษาเรื่องจิตร คือบริบททางการ  เมือง เศรษฐกิจ และสังคมในช่วงการปกครองของรัฐบาลเผด็จ  การทหารของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ส่งผลให้เกิดการเคลือ่ น  ไหวทางการเมืองและภูมิปัญญาของปัญญาชน ที่หันกลับไป  ศึ ก ษางานจากนั ก คิ ด และนั ก เขี ย นหั ว ก้ า วหน้ า จากทศวรรษ  ๒๔๙๐ เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ เสนีย์ เสาวพงศ์ อัศนี พลจันทร เปลื้อ ง วรรณศรี และจิต ร ภู มิศัก ดิ์ เพื่อ ค้ น หาแนวทางการเข้ า ใจ และการต่อสู้ทางการเมืองและสังคม จึงเกิดการตีพิมพ์ผลงานของ พวกเขาขึ้นใหม่ หรือที่ประจักษ์ ก้องกีรติ ใช้ค�ำว่า “รื้อฟื้น”๑ งาน ประเภทบทกวี บทความวิเคราะห์สังคมไทย วิจารณ์ศิลปะ ตีพิมพ์ ทั้งเป็นหนังสือและลงในวารสาร๒  วงการวิชาการเริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องของจิตรเมื่อ ครั้งสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยจัดสัมมนาเรื่อง “แนวความ คิดของจิตร ภูมิศักดิ์” เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ณ มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาจากการอภิปรายตีพิมพ์ รวมเล่มพร้อมกับงานเขียนเกี่ยวกับจิตรและงานวิจารณ์หนังสือของ จิตรอีกหลายชิ้น  รวมทั้งบทความเรื่อง “ความทรงจ�ำในคุกถึงจิตร ภูมิศักดิ์” ของทองใบ ทองเปาด์๓ ในวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๗ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังจัดงานเรื่อง “วันวีรชน ปฏิวัติ” เพื่อ “รื้อฟื้น” หรือกระทั่ง “สรรเสริญ” จิตร๔  ในส่วนของประวัติชีวิตของจิตรนั้น ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร อั ก ษรศาสตรพิ จ ารณ์ ของคณะอั ก ษรศาสตร์   จุ ฬ าลงกรณ์ ม หา วิทยาลัย ฉบับเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ และเดือน เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ๕ ฉบั บ ปี  พ.ศ. ๒๕๑๘ ตี พิ ม พ์ “บทละครเรื่ อ ง ‘จิ ต ร ภู มิ ศั ก ดิ์ ’ ” ซึ่ ง แสดงครั้ ง แรกที่ ห อประชุ ม จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ในงานมหกรรมประชาชนปลายเดื อ น


วิลลา วิลัยทอง 25

การศึกษาประวัติและผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ ก่อนและหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖


26 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ บทละครชิ้นนี้เขียนขึ้นโดยผู้ที่รู้จักจิตรตอน มีชีวิตอยู่ เนื้อหาประกอบด้วยฉากหอประชุมจุฬาฯ (โยนบก) ลาดยาว ห้องวารสารของห้องสมุดแห่งหนึง่ หลังออกจากคุก และในป่า บทละคร เน้ น ว่ า จิ ต รเป็ น ก�ำ ลั ง ส�ำ คั ญ ของ “คอมมู น ” ในลาดยาว ทั้ ง ลงแรง และแบ่งเงินที่ได้จากแม่ไปสมทบกองทุนคอมมูน  จิตรยังแต่งเพลง และเขียนกลอนส่งหนังสือพิมพ์ภายนอกอีกด้วย๖  ส่วนฉบับปี พ.ศ. ๒๕๑๙ บทความเรื่อง “ชีวประวัติบางตอน ของจิตร ภูมิศักดิ์” เขียนโดยมิตร ร่วมรบ (ประวุฒิ ศรีมันตะ) และ “อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์กับชาวศิลปากร” โดยสิริอุษา พลจันต์ (ชลธิรา สัตยาวัฒนา) ให้รายละเอียดชีวิตของจิตรในมหาวิทยาลัย ในลาดยาว และช่วงก่อนจิตรเข้าป่ามากยิ่งขึ้น มิตร ร่วมรบ สรุปว่า ตลอดระยะ เวลา ๖ ปีที่ถูกคุมขัง จิตรแสดงให้เห็นว่า “เป็นนักสู้ที่หัวเห็ดที่สุด คนหนึ่งในคุก” ยืนหยัดอยู่บนอุดมการณ์ มีความอดทน พึ่งตนเอง ขณะเดี ย วกั น ก็ ศึ ก ษาลั ท ธิ ม าร์ ก ซ์ - เลนิ น และความคิ ด เหมาเจ๋ อ ตุ ง รวมทั้งร่วมมือและประสานกับผู้อื่นในการใช้ชีวิตและแก้ปัญหาใน คุก๗ ภาพ “นักสู้” ของจิตรในคุกได้ถูกสร้างโดยผู้ที่อยู่ร่วมคุกกับจิตร เช่น ประวุฒิ มาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ แล้ว  ชีวิตที่ถูกคุมขังของจิตรกลายเป็นช่วงชีวิตที่ส�ำคัญของชีวิต เขาและเป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ ผู้ต้องหาการเมืองรายอืน่ ๆ เราไม่สามารถ ศึกษาเฉพาะเรือ่ งราวของจิตรเพือ่ เข้าใจจิตรเท่านัน้   แต่ควรศึกษาชีวติ   รายล้อมจิตรด้วยเพื่อเข้าใจเขา และในทางกลับกันศึกษาจิตรเพื่อ เข้าใจชีวิตผู้ต้องขังรายอื่นด้วยเช่นกัน  วัฒน์ วรรลยางกูร เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในนิตยสารสารคดี ว่า “การสืบค้นผลงานของเขา [จิตร] ออกมาเผยแพร่ วงกรรมาชนแกะ โน้ตเพลงหลายเพลงจากหนังสือคอมมิวนิสต์ลาดยาว ของทองใบ ทองเปาด์  ออกมาขับ ร้ อ งเมื่อ เดือ นตุ ล าคม ปี  ๒๕๑๗” ท�ำ ให้ จิต ร กลายเป็น “วีรบุรุษหลังจากเสียชีวิตไปแล้วเป็นสิบปี” ๘   ทั้งนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า คอมมิวนิสต์ลาดยาว๙ กลายเป็นงาน บันทึกความทรงจ�ำของผู้ต้องขังที่ส�ำคัญเล่มหนึ่งที่ถูกอ้างอิงบ่อยครั้ง


วิลลา วิลัยทอง 27

และต่อเนื่องนับตั้งแต่การตีพิมพ์ครั้งแรกปี  พ.ศ. ๒๕๑๗ จากผู้ที่ ศึ ก ษาเรื่ อ งจิ ต รโดยตรงหรื อ เรื่ อ งปั ญ ญาชนหั ว ก้ า วหน้ า ๑๐ เนื้ อ หา เกี่ยวกับจิตรจากในหนังสือเล่มนี้ช่วยสร้างภาพให้จิตรเป็นปรปักษ์ กับ รั ฐ บาล แต่ อ ยู ่ เ คีย งข้ า งประชาชน เครก เรย์ โ นลด์ ส ์  (Craig  Reynolds) เคยกล่าวไว้ในการบรรยายเรื่อง “จิตร ภูมิศักดิ์ ตัวแทน ปั ญ ญาชนรุ ่ น ใหม่ ”  เมื่ อ วั น ที่  ๒๒ ตุ ล าคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ณ จุ ฬ า ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า “ถ้าเราจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยหลังจาก วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เราศึกษาจิตร ได้---คนบางคนยกย่องจิตรเป็นวีรบุรุษ  นักรบของประชาชน เป็นผู้ ต่อสู้กับรัฐบาล การที่จิตรถูกยกย่องเป็นวีรบุรุษ เป็นปรากฏการณ์ที่ น่าสนใจ”๑๑ สิ่งที่เรย์โนลด์ส์กล่าวไว้คือสิ่งที่ทองใบ ทองเปาด์ ให้ ภาพหรือสร้างจิตรไว้ในคอมมิวนิสต์ลาดยาว  ทองใบ ทองเปาด์ เป็นหนึ่งในผู้ถูกคุมขังและคุ้นเคยกับจิตร เป็นอย่างดีตั้งแต่ก่อน จอมพล สฤษดิ์ท�ำรัฐประหาร ในบทความ “ความทรงจ�ำในคุกถึงจิตร ภูมิศักดิ์” และบทที่ชื่อ “ทีปกร” ใน คอม มิวนิสต์ลาดยาว ทองใบเล่าถึงว่าเขารู้จักจิตรตั้งแต่สมัยเป็นนักข่าว ขณะที่ จิ ต รเป็ น นิ สิ ต จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย  ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เป็ น สาราณียกรหนังสือของมหาวิทยาลัย ทั้งสองพบกันอีกครั้งเมื่อจิตร ถู ก พั ก การเรี ย นและไปท� ำ งานที่ ห นั ง สื อ พิ ม พ์ ไ ทยใหม่   ทองใบฝึ ก เป็นบรรณาธิการฝ่ายพิสูจน์อักษรอยู่ที่นั่น๑๒ เขาจัดจิตรไว้ในกลุ่ม นั ก ศึ ก ษาและพวกรุ ่ น เยาว์ ใ นลาดยาว เน้ น บทบาทของจิ ต รในวิ ถี คอมมูน ความสัมพันธ์ระหว่างจิตร แม่และพี่สาว ชีวิตประจ�ำวัน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษา สอนหนังสือ ผลิตงานประพันธ์หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นบทกวี  บทเพลง งานแปล เล่นกีฬา เล่นดนตรี และต่อสู้คดีทางศาล ซึ่งไม่แตกต่าง นักกับชีวิตผู้ต้องขังอีกหลายคน ทองใบเน้นว่าชีวิตในลาดยาวเป็น ชีวิตที่ต้องต่อสู้ สู้กับกฎระเบียบของคุก อ�ำนาจเผด็จการ เพื่อสิทธิ และเสรีภาพ และเพื่อประชาธิปไตยและสันติสุข๑๓ นักวิชาการ เช่น เครก เรย์โนลด์ส์ ได้อ้างถึงประเด็นเหล่านี้


28 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

จิตร ภูมิศักดิ์ (คนที่ ๓ จากซ้าย) ส่วนคนที่อุ้มเด็ก คืออิศรา อมันตกุล ขณะถูกคุมขังที่คุกลาดยาว

เช่นกัน มีความเห็นคล้ายกับผู้สนใจจิตรศึกษาคนอื่นว่า ช่วงเวลา ๖ ปีในลาดยาวเป็นช่วงเวลาที่จิตรผลิตงานเป็นจ�ำนวนมาก๑๔  ส่วนเกษียร เตชะพีระ ชี้ให้เห็นถึงพลวัตทางการเมืองของ นักโทษ แรงจูงใจของผู้จับกุม และความคลุมเครืออย่างต่อเนื่องต่อ ค�ำว่า “ลัทธิคอมมิวนิสต์” “ไม่ใช่ลัทธิคอมมิวนิสต์” และ “ต่อต้านลัทธิ คอมมิวนิสต์” ในวาทกรรมการเมืองไทย เกษียรวิเคราะห์ว่าภายใน ลาดยาวนั้นมีนักโทษการเมือง (political prisoner เป็นค�ำที่เกษียร ใช้) ผู้ที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์ เช่น สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ผู้ที่เป็น คอมมิวนิสต์ คือจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ คือสังข์  พัธโนทัย๑๕ ลาดยาวกลายเป็น “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สาธารณะ” (public sanctuary) ที่ปัญญาชนหัวรุนแรงไทยสามารถอ่านหนังสือ


วิลลา วิลัยทอง 29

ร่างจดหมายลายมือจิตร ภูมิศักดิ์ ถึง พลเอก ประภาส จารุเสถียร เกี่ยวกับคดีของเขา


30 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผู้ต้องขังการเมือง

คอมมิวนิสต์ทไี่ ม่ใช่ภาษาไทยและต้องห้ามได้ แม้วา่ จะมีพระราชบัญญัติ ป้องกันการกระท�ำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๕ และค�ำสัง่ ควบคุม สิ่งพิมพ์ประเภทนี้๑๖  ประจักษ์ ก้องกีรติ ตั้งข้อสังเกตไม่ต่างจากเกษียรมากนัก เสนอว่ า ปั ญ ญาชนในคุ ก ลาดยาวสามารถแสดงความคิ ด เห็ น อย่ า ง อิสรเสรีมากกว่าโลกภายนอก ลาดยาวเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพมากกว่า ปราศจากตลาดทุนนิยมมาก�ำกับ รัฐไม่ได้ควบคุมและตรวจตราอย่าง เข้มงวดเพราะชีวิตของนักโทษการเมืองอยู่ในเงื้อมมือของรัฐอยู่แล้ว๑๗ ในเมื่ อ ดู เ หมื อ นว่ า  คอมมิ ว นิ ส ต์ ล าดยาวจะเป็ น งานที่ แ ทบ จะเล่ารายละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์ในลาด ยาวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้ต้องหา ความเป็นมา ชีวิตประจ�ำวัน ผลงาน การต่อสู้ แล้วงานเขียนชิ้นนี้แตกต่างจากงานของทองใบ ทองเปาด์ อย่างไร สิ่งที่แตกต่างกันอย่างแน่นอนคือ  ประการแรก งานหนึ่งเป็นบันทึกความทรงจ�ำ งานอีกชิ้นหนึ่ง เป็นงานวิชาการทางประวัติศาสตร์  ประการที่ ๒ งานชิ้นนี้ต้องการย่อยข้อมูลที่คอมมิวนิสต์ ลาดยาวได้ให้ไว้ แล้วเรียงล�ำดับเหตุการณ์ตามช่วงเวลานับตั้งแต่ ก่อนการจับกุม จนถึงการปล่อยตัว เน้นความส�ำคัญของเนือ้ หา และ  เสริมด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในแนวทางที่แตกต่างจาก คอมมิวนิสต์ลาดยาว  ทัณฑะกาลของจิตรและผูต้ อ้ งขังการเมือง สมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการทันทีหลังจาก จอมพล สฤษดิ์ทำ� การ ปฏิวัติวันที ่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑๑๘


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.