ศิลปะเขมร

Page 1


ศิลปะเขมร


๑ ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม


กัมพูชาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประเทศกัมพูชาปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีมนุษย์อาศัย อยู่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  จากการขุดค้นทาง โบราณคดีของนักวิชาการชาวฝรั่งเศส พบว่าหลักฐานโบราณคดีสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศกัมพูชาเป็นหลักฐานทางโบราณคดีสมัย หินเก่าเป็นต้นมา  ยุคหินเก่า แหล่งโบราณคดีสมัยหินเก่าในประเทศกัมพูชาเท่า ที่พบในปัจจุบันมีจำ� นวนไม่กี่แหล่ง  ดังพบได้จากแหล่งโบราณคดีทาง ทิศตะวันออกของประเทศกัมพูชา บริเวณริมแม่น�้ำโขง  ปรากฏว่ามี กลุ่มคนที่ผลิตเครื่องมือหินกะเทาะอาศัยอยู่ อายุประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ปี๑  เครื่องมือหินที่พบเป็นเครื่องมือหินประเภทหินกรวดแม่นำ�้ กะเทาะ หน้าเดียวในชั้นดินระดับล่างสุด  ในดินชั้นบนพบเครื่องมือหินกะเทาะ และเครื่องมือสะเก็ดหินที่มีร่องรอยการกะเทาะมากขึ้น แต่พบเครื่อง มือหินกะเทาะสองหน้าน้อยมาก ส่วนพื้นที่อื่นๆ ไม่ปรากฏหลักฐาน ที่ชัดเจน  นอกจากนี้ยังพบที่ลอางเสปียน มีอายุราว ๘,๕๐๐-๘,๙๐๐ ปีมาแล้ว อาจอยู่ในช่วงหินเก่าตอนปลาย  ส่วนทางใต้ของประเทศ กัมพูชาพบที่พนมหลวง จังหวัดก�ำปอด  แต่นักวิชาการบางท่านไม่ ยอมรับแนวคิดนี้๒ วัฒนธรรมฮัวบินเนียน ในประเทศกัมพูชาได้มีการค้นพบ ร่องรอยวัฒนธรรมฮัวบินเนียน ที่ถ�้ำลอางเสปียน  ได้พบเครื่องมือหิน ประเภทเครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว และเครื่องมือประเภทสะเก็ด หินซึ่งยังไม่รู้จักวิธีขัดมัน รวมทั้งพบเครื่องปั้นดินเผา อายุประมาณ ๓,๐๐๐-๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว๓ ยุคหินใหม่และยุคส�ำริด ในประเทศกัมพูชามีแหล่งโบราณ คดียุคหินใหม่หลายแห่ง มีวัฒนธรรมกองขยะเปลือกหอย (kitchen  midden) ซึ่งรู้จักกันดีในเขตทะเลสาบ (โตนเลสาบ) และแหล่งโบราณ คดีที่ส�ำโรงแสน แหล่งอันโลงเผดา เป็นต้น๔ ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และ ผศ. ดร. ศานติ ภักดีค�ำ 3


แหล่งโบราณคดีส� ำโรงแสน ตั้งอยู่ในจังหวัดก� ำพงฉนัง  ทาง เหนือของทะเลสาบ เป็นเนินดินสูง ๕ เมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ตารางเมตร  ในแหล่งโบราณคดีที่ส�ำโรงแสน ซากขยะเปลือกหอย ที่ย่อยสลายเป็นปูนขาวช่วยรักษาเครื่องมือหินไว้ เช่น ขวาน ขวานผึ่ง ขวานหินมีบ่า สิ่ว และเครื่องประดับร่างกาย รวมทั้งก�ำไล และเครื่องมือ ที่ท�ำด้วยกระดูก  นอกจากนี้ยังพบเครื่องใช้ส�ำริดอีกด้วย  น่าเสียดาย ที่แหล่งโบราณคดีนี้ถูกน�้ำท่วมทุกปีจึงได้รับความเสียหาย  หลักฐาน ที่พบ เช่น โครงกระดูก อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ แหล่งโบราณคดีอันโลงเผดา หรือลงพราว อยู่ห่างจากแหล่ง โบราณคดีส�ำโรงแสนประมาณ ๓๐ กิโลเมตร  พบหลักฐานทางโบราณ คดีคล้ายกับที่ส�ำโรงแสนที่มลูไพร ทางตอนเหนือของจังหวัดก�ำพงธม ได้พบเครื่องมือหิน Phtanite หินเขี้ยวหนุมาน และหินทรายที่ขัดมัน ประกอบด้วย ขวานหินมีบ่า ขวานผึ่ง และสิ่วมีเดือยส�ำหรับใส่ด้าม ยังพบเคียวที่ท�ำจากหินชีสต์ กระดูก และส�ำริด  นอกจากนี้ยังมีเครื่อง ปั้นดินเผาประเภทต่างๆ มีการประดับลวดลายด้วยการกดประทับหรือ ขูดขีด เป็นต้น๕  ที่แหล่งโบราณคดีส�ำโรงแสน และมลูไพร ซึ่งเป็น แหล่งผลิตเครื่องมือหินก็พบว่ามีการอยู่อาศัยในยุคส�ำริดด้วย โดย ไม่ปรากฏหลักฐานความต่อเนื่องของพัฒนาการ ปัจจุบันยังไม่สามารถ ทราบได้ว่าอะไรเป็นมูลเหตุที่ท�ำให้เกิดการผลิตโลหะขึ้น๖ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ท�ำให้สันนิษฐานได้ว่าหมู่บ้าน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศกัมพูชาไม่น่าจะมีความแตกต่างจาก หมู่บ้านสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรปและ เอเชีย ซึ่งสร้างบ้านด้วยไม้ และใช้ขวานหินขนาดใหญ่ตัดไม้จากป่า ร่องรอยกองเศษอาหารที่พบส่วนใหญ่เป็นซากหอย กระดูกสัตว์ หม้อ แตก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่ใช้แล้วถูกทิ้งลงใต้ถุน  เครื่องใช้ที่พบ เป็นเครื่องมือง่ายๆ เช่น ภาชนะมีทั้งหม้อและไห ขวานหิน กรรไกร และพบซากเตาหุงต้มอาหารจ�ำนวนมาก  กิจกรรมของชุมชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์น่าจะมีการเพาะปลูก ล่าสัตว์ และหาปลา มีการท�ำเครื่อง ปั้นดินเผาและทอผ้า 4 ศิลปะเขมร


ปั จ จุ บั น เรายั ง ไม่ ท ราบเรื่ อ งราวสมั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ใ น ประเทศกัมพูชามากนัก แต่ได้มีความพยายามในการศึกษาทั้งในกลุ่ม นักวิชาการชาวกัมพูชา และนักวิชาการต่างประเทศที่เข้าไปศึกษา ซึ่ง คงได้พบหลักฐานอื่นๆ เพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานที่พบ แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ในกัมพูชามีความสืบเนื่องมา จนถึงพุทธศตวรรษที ่ ๖ ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปมาก เมื่อได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย

ประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยก่อนเมืองพระนคร

ประวั ติ ศ าสตร์ กั ม พู ช าสมั ย ก่ อ นเมื อ งพระนคร เป็ น ประวั ติ ศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชาที่มีหลักฐานบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร พบได้จากศิลาจารึกและเอกสารจีน ด้วยเหตุที่หลักฐานซึ่งสามารถ น�ำมาใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์กัมพูชายุคนี้มีจ�ำนวนน้อย จึงไม่ สามารถวิเคราะห์ถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ได้มากนัก และ จ�ำเป็นต้องอาศัยหลักฐานจากบันทึกของจีนเป็นหลัก  หลักฐานใน เอกสารจีน ได้ ก ล่ า วถึง รัฐ ยุ ค แรกที่เ กิด ขึ้น ในดิน แดนที่เ ป็ น ประเทศ กั ม พู ช าในปั จ จุ บั น ไว้  ๒ รั ฐ  คื อ  รั ฐ ฝู ห นาน (ฟู นั น ) และรั ฐ เจิ น ล่ า (เจนละ)

อาณาจักรฝูหนาน หรือ ฟูนัน

ประวัติศาสตร์กัมพูชาเริ่มต้นด้วยเรื่องราวของอาณาจักรฝูหนาน หรื อ ฟู นั น  เมื่ อ ราวพุ ท ธศตวรรษที่  ๖-๗  เรื่ อ งราวของอาณาจั ก รนี้ จดบัน ทึก ไว้ ใ นจดหมายจีน   โดยค�ำ ว่ า  “ฝู ห นาน” ที่จีน เรีย กขานนี้ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าน่าจะตรงกับค�ำว่า “บนัม” หรือ “พนม” ในภาษาเขมรที่แปลว่า “ภูเขา”๗  อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐาน นี้ยังไม่ใช่ข้อยุติแต่ประการใด สันนิษฐานว่าอาณาจักรโบราณแห่งนี้มีที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น�้ำ โขงตอนใต้ หรือที่ราบปากแม่น�้ำโขง๘  แม้โดยทั่วไปจะถือกันว่าฝูหนาน ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และ ผศ. ดร. ศานติ ภักดีค�ำ 5


เป็นบรรพบุรุษของประเทศกัมพูชา แต่ดินแดนของรัฐฝูหนานก็ไม่ได้ ตรงกับประเทศกัมพูชาในปัจจุบันเสียทีเดียว  ในสมัยที่อาณาจักรฝูหนานมีความเจริญรุ่งเรืองสามารถปกครอง ไปได้ถึงอ่าวไทยรวมทั้งดินแดนแม่น�้ำโขงตอนล่าง เช่น โบราณสถาน ในเมืองออกแก้ว ในประเทศเวียดนาม เป็นต้น  แต่ไม่รวมดินแดน บริเวณทะเลสาบเขมร  ดังนั้นฝูหนานจึงเป็นรัฐชายทะเลและการค้า รวมทั้งมีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและรัฐมหาอ�ำนาจที่ตั้งอยู่ห่าง ออกไปบางรัฐ โดยเฉพาะอินเดียและจีน ในเวลาที่เกิดรัฐฝูหนานขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๖ นั้น ดินแดน ภาคตะวันตกและภาคกลางของที่ราบลุ่มแม่น�้ำคงคาอยู่ภายใต้การ ปกครองของราชวงศ์กุษาณะ  แต่หลังการล่มสลายของราชวงศ์กุษาณะ อินเดียภาคเหนือทั้งหมดได้ตกอยู่ในการปกครองของราชวงศ์คุปตะ ซึ่งถือเป็นยุคที่อารยธรรมอินเดียเจริญถึงขีดสุด๙ การเปลี่ยนราชวงศ์ดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ชาว อินเดียอพยพเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งในระยะแรกเป็น พวกพ่อค้า  ต่อมาจึงมีขุนนางและพราหมณ์เข้ามามีอ�ำนาจเหนือชนพื้น เมือง รวมทั้งน�ำวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออก เฉียงใต้มากขึ้นในเวลานั้นด้วย อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน ในอาณาจักรฝูหนานคือ การได้รับศาสนาส�ำคัญ ๒ ศาสนา คือ ศาสนา พราหมณ์ และศาสนาพุทธ เข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมของชาว พื้นเมืองเดิม รวมทั้งการรับวัฒนธรรมอื่นๆ ของอินเดีย เช่น วรรณคดี ศิลปกรรม  การรับวัฒนธรรมอินเดียเริ่มต้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ เป็นการยอมรับแบบค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่อง  จนถึงราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๑ ดู เ หมือ นว่ า อาณาจัก รฝู ห นานจะดู ด ซึม วัฒ นธรรมอิน เดีย ไว้ อย่างเต็มที่แล้ว  หลังจากนั้นชาวกัมพูชาก็ได้พัฒนาวัฒนธรรมอินเดีย ให้กลายเป็นของตนเอง โดยยังคงอาศัยพื้นฐานจากวัฒนธรรมอินเดีย ทั้งในด้านระบบการปกครอง ศาสนา วรรณคดี และศิลปกรรม  6 ศิลปะเขมร


อาณาจักรเจินล่า และความล่มสลายของอาณาจักรฝูหนาน

ในช่วงปลายของอาณาจักรฝูหนานได้มีอาณาจักรหนึ่งถือก�ำเนิด ขึ้นในบริเวณปากแม่น�้ำมูล-ลุ่มแม่น�้ำโขง คือ อาณาจักรเจินล่า หรือ เจนละ โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณวัดภูในจ�ำปาศักดิ์  อาณาจักรเจินล่า ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น โดยมี ผู ้ น�ำ ที่ ส� ำ คั ญ  ได้ แ ก่  พระเจ้ า ภววรมั น ที่ ๑ ทรง อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของอาณาจักรฝูหนาน๑๐  ดังนั้นพระองค์ จึงผนวกดินแดนของฝูหนานเข้ามาทีละน้อย โดยค่อยๆ ขยายตัวลงมา ตามแม่น�้ำโขง๑๑ และย้ายศูนย์กลางของอาณาจักรลงมาด้วย  กษัตริย์ส�ำคัญอีกพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าจิตรเสน หรือ พระนามเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วคือ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ ๑ ผู้เป็น แม่ทัพส�ำคัญซึ่งได้ขยายอาณาเขตของเจินล่าให้กว้างขวางขึ้น  ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบศิลาจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันในดินแดนไทย จ�ำนวนมาก ดังเช่น จารึกช่องสระแจง (จังหวัดสระแก้ว)๑๒ จารึกผนัง ถ�้ำเป็ดทองด้านนอก และจารึกผนังถ�้ำเป็ดทอง (จังหวัดบุรีรัมย์)๑๓ จารึ ก วั ด ศรี เ มื อ งแอม (จั ง หวั ด ขอนแก่ น ) ๑๔ จารึ ก ปากน�้ ำ มู ล  ๑-๒ (จังหวัดอุบลราชธานี) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (จังหวัดอุบลราชธานี)๑๕ เป็ น ต้ น   จารึก เหล่ า นี้พ บตั้ง แต่ บ ริเ วณปากแม่ น�้ำ มู ล ในเขตจัง หวัด อุบลราชธานี จนถึงเขตจังหวัดสระแก้ว  แสดงให้เห็นว่าดินแดนบริเวณ นี้อาจจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละของพระเจ้ามเหนทร วรมัน  นอกจากนี้ตามหลักฐานศิลาจารึกอ�ำนาจของพระเจ้ามเหนทร วรมันทางด้านทิศใต้สามารถขยายดินแดนไปจนถึงจังหวัดกระแจะ ประเทศกัมพูชา   จนถึงสมัยของพระเจ้าอีศานวรมัน พระราชโอรสของพระเจ้า มเหนทรวรมัน ได้ผนวกดินแดนฝูหนานเข้ามารวมกับเจินล่าได้ส�ำเร็จ๑๖ เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรเจินล่าสมัยพระเจ้าอีศานวรมัน ปรากฏ หลักฐานใน “สุยซู” หรือ พงศาวดารสมัยราชวงศ์สุย ซึ่งบันทึกไว้ว่า “...ประเทศเจินล่าอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหลินอี้ (คือ ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และ ผศ. ดร. ศานติ ภักดีค�ำ 7


จามปา เมืองโบราณในเอกสารจีน ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนามผู้แปล)  เดิมเป็นเมืองในอาณัฐของอาณาจักรฟูนัน  หากเดินทางด้วย เรือต้องใช้เวลาหกสิบวัน โดยทางทิศใต้อยู่ติดกับเมืองเชอฉวีกวั๋ว ทิศ ตะวันตกมีเมืองจูเจียงกวั๋ว มีกษัตริย์ตระกูลซาลี่ชื่อ จื้อตัวซือน่า (จิตร เสน) โดยปฐมกษัตริย์ได้สถาปนาอาณาจักรขึ้นจนเข้มแข็งมาจนถึง สมัยจื้อตัวลี่น่าถึงได้กลืนอาณาจักรฟูนัน  เมื่อสิ้นลงบุตรที่ชื่ออีเส่อน่า (อีส านวรมัน ) ได้ สืบ ต�ำ แหน่ ง ต่ อ มา ได้ ตั้ง เมือ งชื่อ ว่ า เมือ งอีเ ส่ อ น่ า (อีสานปุระ) ภายในก�ำแพงเมืองมีสองหมื่นกว่าครัวเรือน (หมายถึง ทั้งอาณาจักร-ผู้แปล)  ในเมืองมีพระราชวังใหญ่และเป็นที่ว่าราชการ ของกษัตริย์ และมีเมืองทั้งสิ้นสามสิบเมือง ในเมืองมีนับพันครัวเรือน ในแต่ ล ะเมื อ งมี เ จ้ า เมื อ ง ขุ น นางดู แ ลเหมื อ นเมื อ งหลิ น อี้  (จามปา) กษัตริย์ออกว่าราชการสามวันครั้ง โดยประทับนั่งอยู่บนตั่งไม้หอม ประดับอัญมณี ข้างบนมีฉัตรกาง ฉัตรนั้นมีไม้กฤษณาเป็นก้าน มีงา ช้างและแผ่นทองกั้น สันฐานคล้ายห้องขนาดย่อม แสงทองอร่ามตา เบื้องหน้ามีกระถางก�ำยานท�ำด้วยทองค�ำ มีมหาดเล็กสองคนคอยเฝ้า แหน...ทุกเดือนห้าถึงเดือนหกของแต่ละปีจะมีมลพิษ  ดังนั้นจึงใช้ หมูขาว วัวขาว แพะขาวไปเซ่นสรวงที่ศาลนอกก� ำแพงเมืองทางทิศ ตะวั น ตก มิ ฉ ะนั้ น จะถื อ ว่ า พื ช พั น ธุ ์ ธัญ ญาหารไม่ ส มบู ร ณ์  ปศุ สั ต ว์ ทั้งหลายอาจล้มตายเสียหาย ผูค้ นอาจเกิดโรคระบาด ที่ใกล้ๆ กับเมือง นั้นมีภูเขาหลิงกาโปวโผว (ลิงคบรรพต) บนเขามีศาลเจ้า โดยมีทหาร เฝ้ารักษาห้าพันนาย ทางทิศตะวันออกมีเทพชื่อโผวตัวลี่ (ภัทเรศวร) ที่ต้องใช้เนื้อคนเซ่นสรวง โดยกษัตริย์จะฆ่าคนเพื่อใช้ในการเซ่นสรวง ทุกปี และท�ำพิธีเซ่นในคืนนั้น โดยมีทหารเฝ้าที่ศาลนี้พันนาย  ซึ่งการ เซ่นนี้เหมือนกับการเซ่นผีโดยมากแล้วจะมีพิธีพุทธประกอบ โดยมี นักพรตประกอบพิธี พระและนักพรตจะยืนประจ�ำในหอแห่งนั้น ต้าเย่ปีที่สองได้ส่งทูตเข้ามาถวายเครื่องราชบรรณาการ ทาง พระจักรพรรดิทรงรับและตอบแทนเครื่องราชบรรณาการนั้นอย่างถึง ขนาด แต่หลังจากนี้ก็ขาดส่งไป” 8 ศิลปะเขมร


หลัง จากพระเจ้ า อีส านวรมัน สวรรคต พระเจ้ า ภววรมัน ที่ ๒ ได้ขึ้นครองราชย์  เมื่อพระเจ้าภววรมันที่ ๒ สวรรคตแล้ว พระเจ้า ชัยวรมันที่ ๑ ซึ่งเป็นพระราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์โดยสร้างราชธานี อยู่ที่อังกอร์โบเร็ย๑๗  หลังจากนั้นใน พ.ศ. ๑๒๒๔ พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๑ สวรรคต โดยไม่มีรัชทายาท มเหสีของพระองค์นามว่าชัยเทวี ครองราชย์ต่อมา  แต่หลังจากนั้นได้มีการแย่งชิงราชสมบัติในระหว่าง พ.ศ. ๑๒๕๓-๑๒๕๘ ท�ำให้อาณาจักรเจินล่าแตกแยกเป็นเจินล่าบก มี ศูนย์กลางอยู่ที่เศรษฐปุระ ในแขวงจ�ำปาศักดิ์ ประเทศลาว และเจินล่า น�้ ำ มี ศู น ย์ ก ลางอยู ่ ใ นดิ น แดนฝู ห นานเดิ ม  คื อ  ปากแม่ น�้ ำ โขงและ ดินแดนที่ติดทะเล๑๘ ดังปรากฏหลักฐานใน พงศาวดารราชวงศ์ถัง ว่า “อาณาจักรเจินล่า ปีเจินกวานที่สอง ได้ส่งทูตมาถวายบรรณา การพร้อมกับเมืองหลินอี้ (จามปา)  พระเจ้าไท้จงทรงปิติแลทรงเห็น ว่าเดินทางมาไกลอาจเหน็ดเหนื่อยและไม่สบายจากการเดินทาง จึงพระ ราชทานของตอบแทนอย่างถึงขนาด คนทางใต้เรียกอาณาจักรเจินล่า ว่า เมืองจี๋เมี้ยกวั๋ว (เขมร)  นับแต่ปีเสินหลงเป็นต้นมา เจินล่าได้แบ่ง ออกเป็นสอง ครึ่งหนึ่งทางใต้ใกล้ทะเล  ตัวผัวเจ้อเรียกว่า เจินล่าน�้ำ อีกครึ่งหนึ่งอยู่ทางเหนือเต็มไปด้วยเขาเรียกว่า เจินล่าบก  เจินล่าบก เรียกอีกชื่อว่า เหวินตาน  ในสมัยพระจักรพรรดิถังเกาจง พระนาง จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน พระจักรพรรดิถังเสวียนจงล้วนส่งทูตมาถวาย บรรณาการทั้งสิ้น อาณาเขตของเจินล่าน�้ำจากเหนือใต้ออกตกรวม แปดร้อยลี้ ตะวันออกติดเปินถัว เหลียงโจว ตะวันตกติดประเทศ ตัวหลัวโปวตี่กวั๋ว (ทวารวดี) ทางใต้ติดทะเลน้อย ทิศเหนือติดเจินล่าบก กษัตริย์ประทับอยู่ที่โผวหลัวซื่อป๋า ทางด้ า นตะวั น ตกมี เ มื อ งเล็ ก ๆ เมื อ งหนึ่ ง มี ช ้ า งมาก รั ช สมั ย หยวนเหอ ปีที่แปด ทูตชื่อหลี่หมอน่าเป็นต้นได้มาถวายเครื่องราช บรรณาการ...” เมื่อประเทศเจินล่าได้แตกแยกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย ประจวบกับ การรุกรานของชวา ท�ำให้อาณาจักรเจินล่าน�้ำต้องตกเป็นเมืองขึ้นของ ชวาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๔๑๙ และจนเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และ ผศ. ดร. ศานติ ภักดีค�ำ 9


ประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยเมืองพระนคร หลังจากเจินล่าน�้ำถูกยึดครองโดยชวา ปรากฏหลักฐานในศิลา จารึ ก ปราสาทสด็ ก ก็ อ กธมว่ า เจ้ า ชายชั ย วรมั น  (ต่ อ มาคื อ พระเจ้ า ชั ย วรมั น ที่   ๒) เสด็ จ กลั บ คื น มาจากประเทศชวา ๒๐   ในระยะแรก พระเจ้าชัยวรมันที่  ๒ ประทับอยู่ ณ เมืองอินทรปุระ แล้วจึงเสด็จ ไปประทั บ  ณ เมื อ งหริ ห ราลั ย  (โรลวส) และเมื อ งอมเรนทรปุ ร ะ (สันนิษฐานว่าตั้งอยู่บริเวณที่ปัจจุบันเป็นบารายตะวันตก)  จากนั้น พระองค์ได้เสริมสร้างพระราชอ�ำนาจของพระองค์ในประเทศและปราบ ปรามอาณาจักรจามปาซึ่งรุกรานกัมพูชา๒๑ ใน พ.ศ. ๑๓๔๕ พระเจ้ า ชั ย วรมั น ที่   ๒ ได้ ร าชาภิ เ ษกและ ประกาศเอกราชไม่ตกอยู่ใต้อ�ำนาจประเทศชวา บนยอดเขามเหนทร บรรพต (พนมกุ เ ลน) ๒๒  ในที่ สุ ด พระองค์ ไ ด้ เ สด็ จ กลั บ มาประทั บ ที่เมืองหริหราลัย๒๓ เมืองหริหราลัยจึงได้เป็นราชธานีของกัมพูชาโบราณสืบต่อมา อีกหลายรัชกาล  กษัตริย์กัมพูชาโบราณที่ปกครองเมืองหริหราลัย ได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๓ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ และพระเจ้า ยโศวรมันที่ ๑  หลังจากนั้นพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ จึงทรงย้ายราชธานี ไปที่แห่งใหม่คือ “พระนครศรียโศธรปุระ” หรือ “เมืองพระนคร” การสร้างเมืองยโศธรปุระของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ เป็นผลงาน ที่ส�ำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่น ราชธานีใหม่นี้มีศูนย์กลางอยู่ที่พนมกันตาล หรือ “วนํกนฺตาล”๒๔ หรือ “ยโศธรคีรี” ภายหลังเรียกกันว่า “พนมบาแค็ง” เป็นภูเขาตามธรรมชาติที่มีความสูงประมาณ ๖๐ เมตร ซึ่งได้มีการ ดัดแปลงและก่อสร้างปราสาทพนมบาแค็งไว้บนยอดเขาแห่งนี ้ เพื่อเป็น ศูนย์กลางจักรวาลของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ นอกจากนี้ พระองค์ได้สร้างปราสาทโลเลยเพื่ออุทิศถวายแด่ วิญญาณอดีตมหากษัตริย์ บริเวณกลางอินทรตฏากะ แล้วยังสร้าง ปราสาทที่พนมโกรมและพนมโบก (พนมบก) เพื่ออุทิศถวายเทพเจ้า 10 ศิลปะเขมร


ในศาสนาพราหมณ์  พระองค์โปรดให้ขุด “ยโศธรตฏากะ” หรือเป็น ที่ รู ้ จั ก กั น ทั่ ว ไปในนามบารายตะวั น ออก มี ค วามยาว ๗ กิ โ ลเมตร กว้าง ๑,๘๐๐ เมตร และโปรดให้ท�ำถนนจากเมืองยโศธรปุระไปถึง บารายด้านเมืองหริหราลัย (อินทรตฏากะ)๒๕ เมื่อพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ สวรรคต พระราชโอรสของพระองค์ คือพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ ขึ้นครองราชย์ถึง พ.ศ. ๑๔๖๔ พระปิตุลา ของพระองค์ได้ทรงประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์  ทรงพระ นามพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเกาะแกร์๒๖ ใน พ.ศ. ๑๔๖๕ เมื่อพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ สวรรคต พระอนุชาของพระองค์ พระนามพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๒ ทรงขึ้นครองราชย์ที่เมืองพระนคร  เวลานั้นกัมพูชาแตกเป็น ๒ ส่วน กระทั่งพระเจ้าอีศานวรมัน ที่   ๒ สวรรคต กั ม พู ช าจึ ง ได้ ร วมเข้ า เป็ น หนึ่ ง  มี พ ระเจ้ า แผ่ น ดิ น พระองค์เดียวคือ พระเจ้าชัยวรมันที่  ๔  ซึ่งครองราชย์ที่เกาะแกร์ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ ได้ทรงสร้างปราสาทธมที่เกาะแกร์  เมื่อพระองค์ สวรรคต พระราชโอรสของพระองค์คือพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๒ เสวย ราชย์สืบต่อมาอีก ๓ ปี เมื่อพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๒ สวรรคต พระเจ้าราเชนทรวรมัน ซึ่งเป็นพระภาคิไนย (หลาน) ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ โดยได้รับพระราชมรดกคือเมืองภวะปุระ (อาณาจักรเจินล่าบก)  ดังนั้น พระองค์จึงสามารถสร้างเอกภาพให้แก่พระราชอาณาจักรได้ส�ำเร็จ เต็มที่ แล้วได้เสด็จกลับมาประทับที่เมืองพระนครศรียโศธรปุระ  ใน พ.ศ. ๑๔๘๘ พระองค์ท�ำสงครามกับจาม พระองค์สร้างปราสาทแม่บุญ ตะวันออก ปราสาทแปรรูป ปราสาทพิมานอากาศ ปราสาทบาทชุม ในรัชกาลพระองค์นี้ พราหมณ์ยัชญวราหะได้สร้างปราสาทบันทายศรี ใน พ.ศ. ๑๕๑๐๒๗ หลังจากพระเจ้าราเชนทรวรมันสวรรคต พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ พระราชโอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อมา เมื่อพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๕ สวรรคต ใน พ.ศ. ๑๕๔๔ พระภาคิไนยพระองค์หนึ่งขึ้นครอง ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และ ผศ. ดร. ศานติ ภักดีค�ำ 11


ราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าอุทัยทิตยวรมัน  พ.ศ. ๑๕๔๕ พระเจ้า ชัยวีรวรมันทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่เมือง ยโศธรปุระ  ในเวลาเดียวกันนั้น คือ พ.ศ. ๑๕๔๕ มีกษัตริย์อีกพระองค์ หนึ่งคือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงอ้างว่าพระมารดาของพระองค์ สืบพระญาติวงศ์จากพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ ได้ประกาศพระองค์เป็น พระราชาของกัมพูชาที่พิมาย พระราชประวั ติ ข องพระเจ้ า สุ ริ ย วรมั น ที่  ๑ ตามที่ ป รากฏใน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กัมพูชาไม่ชัดเจนนัก  แม้ว่าในจารึกปราสาท เขาพระวิหาร ๑ (K. 380) ของพระองค์จะอ้างว่าทรงสืบเชื้อสายมาทาง พระมารดาของพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ และทรงเกี่ยวดองทางพระ มเหสีของพระองค์คือ พระนางวีรวรมันกับพระราชโอรสของพระเจ้า ยโศวรมันที่ ๑ ก็ตาม๒๘  เอกสารบางแห่งว่าพระองค์เป็นเจ้าชายทาง ภาคเหนือพระองค์หนึ่ง แต่ไมเคิล วิคเคอรี เสนอว่า พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๑ เป็นสมาชิกในครอบครัวชนชั้นน� ำกัมพูชา ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา๒๙ พระเจ้าสุริยวรมันที ่ ๑ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๔๕-๑๕๙๓ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของรัชกาลพระองค์ต้องทรงท�ำสงครามแย่ง ชิงราชสมบัติกับพระเจ้าชัยวีรวรมัน โดยทรงใช้เวลากว่า ๑๐ ปี จึง สามารถเสด็จเข้ามาประทับในเมืองพระนครได้  ดังนั้นในช่วง ๑๐ ปี แรกของรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ น่าจะประทับอยู่นอกราชธานี เมืองพระนคร๓๐ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงยกทัพมารบกับพระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ยึดครองเมืองยโศธรปุระได้ใน พ.ศ. ๑๕๔๙ เมื่ อ ได้ รั บ ชั ย ชนะแล้ ว พระองค์ ท รงพยายามปราบปรามกษั ต ริ ย ์ ซึ่ ง ไม่ยอมอยู่ใต้อ�ำนาจ  จนถึง พ.ศ. ๑๕๕๓ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ จึง ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด  เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ที่เมืองพระ นครศรียโศธรปุระแล้ว ได้ทรงขยายพระราชอ�ำนาจมายังดินแดนทาง ตอนเหนือของเทือกเขาพนมดงรักไปจนถึงเมืองลพบุรี (ลวปุระ) ซึ่งใน เวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐทวารวดี  12 ศิลปะเขมร


พระเจ้ า อุ ทั ย ทิ ต ยวรมั น ที่  ๒ เป็ น พระราชโอรสของพระเจ้ า สุ ริ ย วรมั น ที่  ๑ ขึ้ น ครองราชย์ ใ นขณะยั ง ทรงพระเยาว์   ในรั ช กาล พระองค์ มี ก ารสร้ า งปราสาทบาปวน ปราสาทแม่ บุ ญ กลาง  บาราย ตะวันตก พร้อมทั้งขุดบารายด้านตะวันตกซึ่งมีความยาว ๘ กิโลเมตร และกว้าง ๒.๒ กิโลเมตร๓๑ เมื่อพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒ สวรรคต พระองค์ไม่มีพระ ราชโอรส พระราชบัลลังก์จึงเป็นของพระอนุชาของพระองค์คือ พระเจ้า หรรษวรมันที่ ๓ พระองค์โปรดให้ซ่อมแซมปราสาททั้งหลายซึ่งเสียหาย เพราะสงครามในรัชกาลก่อน  ใน พ.ศ. ๑๖๑๗ จามรุกรานพรมแดน เข้ามาถึงศัมภะปุระ ได้ท�ำลายศาสนสถานในที่นั้นและจับประชาชน ไปเป็นเชลย   พ.ศ. ๑๖๒๓ มีเจ้านายพระองค์หนึ่งประกาศตนเป็นพระเจ้า แผ่นดินตัง้ พระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖๓๒  พระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ ทรงหายไปภายหลังจากนั้น พระราชบัลลังก์แห่งเมืองพระนครจึงตก มาถึงพระเจ้านฤปตินทราทิตยวรมัน ซึ่งเสวยราชย์ที่เมืองพระนคร พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ทรงยกทัพมารบกับพระเจ้านฤปตินทราทิตยวรมัน จนพระองค์สวรรคตใน พ.ศ. ๑๖๕๐  เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ สวรรคตลง พระเชษฐาของพระองค์ ทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาทรงพระนามว่า พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ พระองค์ แ ย่ ง ชิ ง ราชสมบั ติ กั บ พระเจ้ า นฤปติ น ทราทิ ต ยวรมั น และ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒๓๓ การสงครามระหว่างพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ กับพระเจ้าธรณินทร วรมันที่ ๑ รุนแรงมาก  ในที่สุดคือ พ.ศ. ๑๖๕๖ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ปลงพระชนม์พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๑ ได้ แล้วทรงขึ้นครองราชย์ สืบต่อมา  หลังจากนั้นพระองค์ได้มีชัยเหนือพระเจ้านฤปตินทราทิตย วรมัน  พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงนับถือไวษณพนิกาย พระองค์จึง ทรงสร้างนครวัด ส�ำหรับเป็นที่บูชาพระวิษณุและส�ำหรับบรรจุพระอัฐิ ของพระองค์ด้วย นอกจากนี้พระองค์ได้สร้างปราสาทที่พนมชีสูร พนม ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และ ผศ. ดร. ศานติ ภักดีค�ำ 13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.