สงครามน้ำ

Page 1


สงครามน้ำ� Diane Raines Ward เขียน ปัญญา ชีวิน แปล

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2556


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล บทน�ำ

7 9 13

บทที่ 1 สกัดกั้นทะเลไว้ บทที่ 2 บาปของขนาด บทที่ 3 ลุ่มน�้ำนับพัน บทที่ 4 แห้ง แห้งกว่า แห้งที่สุด บทที่ 5 กลืนไม่เข้าคายไม่ออก บทที่ 6 แม่น�้ำเดือดดาล บทที่ 7 สงคราม บทที่ 8 ภาวนาขอฝน บทส่งท้าย  พื้นที่ชุ่มน�้ำเอเวอร์เกลดส์

31 70 104 134 170 207 234 261 290

310 313

กิตติกรรมประกาศ บรรณานุกรมแบ่งตามหัวเรื่อง


คํานําสํานักพิมพ์

กล่ า วได้ ว ่ า ภาวะที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ โลกในปั จ จุ บั น นี้ เ ป็ น ภาวะสุ ด ขั้ ว 2 ลักษณะ คือ แล้งน�้ำขาดน�้ำอย่างถึงขีดสุด กับน�้ำมากเกินไปจนเอ่อท่วม สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล  ดังนั้น การบริหาร จัดการน�้ำเพื่อให้มีน�้ำใช้เพียงพอ กับป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยจึงเป็นสิ่ง ท้าทายของรัฐบาลประเทศต่างๆ อย่างมาก ประเมินว่าในปัจจุบันประชากร 1,400 ล้านคนทั่วโลกหรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งโลก ไม่มีน�้ำใช้อย่างเพียงพอ  แต่สาเหตุ ไม่ใช่เพราะโลกใบนี้ไม่มีปริมาณน�้ำจืดให้ใช้อย่างเพียงพอ แต่เป็นเพราะ เราไม่ค่อยพบน�้ำในที่ที่เราต้องการให้มี  เนื่องจากน�้ำจืดส่วนใหญ่อยู่ใน ธารน�้ ำ แข็ ง หรื อ ชั้ น หิ น อุ ้ ม น�้ ำ ที่ อ ยู ่ ลึ ก ลงไปใต้ ดิ น   หรื อ ไม่ มั น ก็ ไ หลลงสู ่ มหาสมุทรที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ด้วยเหตุน ี้ แต่ไหนแต่ไรมาหลายประเทศ หลายทวีป จึงท�ำสงคราม แย่งชิงน�้ำกันมาโดยตลอด การแย่งชิงน�้ำยังเกิดกับชุมชนในแต่ละประเทศ เองด้วย ซึ่งรุนแรงถึงขนาดฆ่ากันตายมาแล้วหลายศพ จนท�ำให้นานา ชาติต้องหาทางออกว่าต้องท�ำอย่างไรจึงจะสามารถแบ่งปันน�้ำอย่างเป็น 6 ปัญญา ชีวิน แปล


ธรรม  หากเกิดกรณีพิพาทเรื่องการจัดสรรน�้ำจากแม่น�้ำที่ไหลผ่านหลาย ประเทศ   การที่จ�ำนวนประชากรในโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการสูบน�้ำจากชั้น หินอุ้มน�้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากขึ้น ท�ำให้พื้นที่ชุมน�้ำในโลกสูญหายไปครึ่ง หนึ่งในศตวรรษที่  20  ระบบน�้ำจืดทั่วโลกก�ำลังหมดแรงที่จะรองรับชีวิต มนุษย์  สัตว์  และพืช การดิน้ รนหาน�ำ้ ให้เพียงพอท�ำให้มนุษย์คดิ หาวิธกี ารต่างๆ ทีพ่ สิ ดาร มากขึน้ เรือ่ ยๆ เช่น นักวิจยั ชิลปี ระดิษฐ์กำ� แพงตาข่ายท�ำจากโพลีโพรไพลีน เพื่อดักจับหมอกชายฝั่ง ซึ่งจะท�ำให้ได้น�้ำสะอาดเพียงพอที่จะป้อนน�้ำให้ กับหมู่บ้านบนภูเขา หรือบริษัทในนอร์เวย์ผลิตถุงขนาดใหญ่เคลือบผิว พลาสติกเพื่อบรรจุน�้ำจากฟยอร์ดส่งไปขายยังประเทศใดก็ตามที่ต้องการ ทั้งการแสวงหาน�้ำให้เพียงพอและป้องกันน�้ำท่วม  ท�ำให้มนุษย์ เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติด้วยการใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมที่คิดว่าจะ ควบคุมและก�ำราบธรรมชาติได้  ทั้งการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่-เล็ก หรือ พนังกั้นน�้ำ  แต่เมื่อเวลาผ่านไป การแทรกแซงธรรมชาติด้วยวิธีเช่นนี้ส่วน ใหญ่พิสูจน์แล้วว่าสร้างหายนะแก่มนุษย์และส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หนักหนาขึ้นเรื่อยๆ หนังสือ สงครามน�้ำ จะบอกเล่าข้อเท็จจริงและเรื่องราวที่กล่าว มาข้างต้นอย่างละเอียดจนเห็นภาพ ซึ่งจะกระตุ้นให้เราทบทวนแนวทาง บริหารจัดการน�้ำเสียใหม่ ส�ำนักพิมพ์มติชน

สงครามน�้ำ

7


คํานําผู้แปล

ถ้าเปิดก๊อกออกมาแล้วน�ำ้ ไม่ไหล หรือวันดีคน ื ดี น�ำ้ ท่วมบ้าน จนต้องอพยพหนีน�้ำ  แล้วเราจะโทษใคร  หนังสือเล่มนี้มีค�ำตอบ ทั้งยังช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนของความ สัมพันธ์ที่เชื่อมโยงถึงกันจากฟ้าสู่ดิน จากขุนเขาสู่ที่ราบ จากป่าสู่เมือง จากมหาสมุทรสู่แม่น�้ำล�ำคลอง น�้ำท่วม น�้ำหลาก น�้ำแล้ง แย่งน�้ำ  ผันน�้ำ  กักน�้ำ  หนีน�้ำ  และอีก หลายประเด็นที่เป็นปัญหาอันมีต้นเหตุจาก “น�้ำ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีก ต่อไป สังเกตได้จากพาดหัวข่าวที่เห็นเป็นประจ�ำในทุกภูมิภาคทั่วโลก แต่น่าประหลาดใจที่คนส่วนใหญ่ยังท�ำตัวเป็น “น�้ำนิ่ง”  ด้วยอาจ เพราะคิดว่าปัญหาทั้งหลายซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจ  หรือไม่ใช่หน้าที่ ตัวเองที่จะต้องไปบริหารจัดการน�้ำในระดับที่พ้นจากขอบรั้วก�ำแพงบ้าน ของตน ปัญหาระดับชาติ  เช่นเรื่องเขื่อน ควรสร้างหรือไม่สร้าง ก็ถกกันมา ตลอดและคงจะเถียงกันไปอีกนาน ถ้าเหลียวกลับไปดูประวัติศาสตร์สักนิด และน้อมรับบทเรียนจาก 8 ปัญญา ชีวิน แปล


อดีต  โดยเฉพาะในประเด็นสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกที่สามารถหยิบยก ขึ้นมาศึกษาได้ไม่ยาก  ดังที่ในหนังสือเล่มนี้ชี้ว่า ในโลกใบเดียวกันนี้  สิ่ง ที่เป็นจริงในภูมิภาคหนึ่ง ย่อมเป็นจริงเหมือนกันในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย แม้บทเรียนในอดีตจะมีมากมาย แต่หลายๆ ประเทศก็ยังย�่ำอยู่ กับความผิดพลาดเดิมๆ และสร้างความเสียหายซ�้ำซาก...เพราะอะไร หนังสือเล่มนี้มีค�ำตอบต่อสารพัดค�ำถามในการต่อสู้กับน�้ำอย่าง ไม่ลดละ เช่น “อยู่กับน�้ำ  แทนที่จะสู้กับน�้ำ” เป็นหนึ่งในค�ำตอบที่มีตัวอย่างจริง เป็นประจักษ์พยาน  ไม่ใช่แค่ค�ำขวัญสวยหรู เรื่องโครงการชลประทาน : ต้องมีผู้น�ำท้องถิ่นที่เข้มแข็งและการ มีส่วนร่วมของเกษตรกรจึงจะประสบความส�ำเร็จ เรื่องการสร้างเขื่อน : ท�ำไมเราจึงปล่อยให้นักการเมืองเป็นผู้สร้าง เขือ่ น...  3 ค�ำถามทีต่ อ้ งตอบ ได้แก่  ท�ำไมต้องสร้างตรงนี.้ .. ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจะแก้ไขกลับคืนได้ไหม... และประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุน ที่ต้องเสียไหม...  ทางออกในเชิงโครงสร้างอาจไม่ใช่ยามหัศจรรย์แก้ ปัญหาสารพัดได้อย่างที่เราเคยคาดหวัง ส่วนเทคโนโลยีทางวิศวกรรมก็ อาจเป็นเครื่องมือที่มีผลกระทบรุนแรง หากพิจารณาถึงมิติเชิงสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ด้วย ค�ำตอบของผู้เขียน จะถูกหรือผิด เป็นสิทธิของผู้อ่านจะตัดสิน แต่ ที่ส�ำคัญยิ่งกว่าค�ำตอบส�ำเร็จรูป คือข้อมูลความรู้ที่จะได้จากหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะน�ำไปสู่กระบวนการคิดกลั่นกรองและตัดสินใจของผู้อ่านต่อปัญหา ที่ส�ำคัญยิ่งส�ำหรับชีวิตในปัจจุบันและอนาคต   และทั้งนี้ก็สมดังความตั้งใจของผู้แปลที่ปรารถนาจะเห็นทางออก ในความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้โดยการ “เรียนรู้อดีต เพื่อรับใช้ปัจจุบัน และสร้างสรรค์อนาคต” ปัญญา ชีวิน สงครามน�้ำ

9


แด่เจฟฟรีย์ วอร์ด, แกร์เรตต์ วอร์ด และเคนเนธ เรนส์ สามี ลูกชาย และคุณพ่อ


บทนำ�

น้ำ�หวานชื่นใจ

คุณไม่มีวันคิดถึงน�้ำ ตราบใดที่บ่อยังไม่เหือดแห้ง เพลงบลูส์ดั้งเดิม

สมัยที่ฉันยังเด็ก ครอบครัวของเราเคยสูบน�้ำดื่มขึ้นมาจาก  บ่อด้วยปั๊มคันโยกท�ำด้วยเหล็กหล่อซึ่งตั้งอยู่ที่ลานหน้าบ้าน  คันโยกนั้น  อยู่สูงเกินกว่าที่ฉันจะโยกไหว  แต่จ�ำได้ว่า  ทุกครั้งที่ดื่มน�้ำนั้น ช่างเย็น  ชื่นใจดีจริงๆ เพราะบ้านเรามีเครื่องสูบน�้ำ  ฉันจึงสรุปเอาเองง่ายๆ ว่า  ผู้คนทุกหนแห่งมีบ่อน�้ำในบ้านและมีน�้ำให้ดื่มกินได้ตามที่ต้องการ เวลาผ่านไปหลายปีจนน่าขายหน้ากว่าฉันจะเริ่มคิดอย่างจริงจัง  ว่าผู้คนได้น�้ำมาจากไหน  วันที่อากาศร้อนอบอ้าววันหนึ่งในตอนเหนือ  ของเยเมนขณะเดินทางลงจากเมืองคอคาบานซึ่งตั้งอยู่ที่ราบเบื้องล่างตรง  ทางลาดลงจากยอดเขาที่ เ ป็ น หิ น ขรุ ข ระหลายกิ โ ลเมตร  ฉั น ผ่ า นหญิ ง  ชาวบ้าน 10 กว่าคนที่เดินคอตั้ง เทินถังน�้ำขนาดใหญ่และหนักไว้บน  ศีรษะ เพื่อนร่วมทางชาวเยเมนบอกว่า  พวกผู้หญิงต้องแบกน�้ำขึ้น-ลงเขา  แบบนี้ทุกวันตลอดทั้งปี “ขอให้พระอัลเลาะห์คุ้มครอง” หญิงชาวบ้าน  สงครามน�้ำ

13


ทักทายให้พรอย่างมีน�้ำใจ ฉันรู้สึกตกใจในความล�ำบากของชาวบ้านเพื่อ  ให้ได้ในสิ่งที่ส�ำหรับฉัน แค่บิดก๊อก น�้ำก็ไหลออกมาแล้ว นับแต่นั้นมาฉันจึงเรียนรู้ว่าสิ่งที่สรุปเอาเองเกี่ยวกับผู้คนและน�้ำ  ห่างไกลความจริงมาก ประชากรทั่วโลก 40% ต้องขนน�้ำจากบ่อ แม่น�้ำ  สระ หรือแอ่งที่อยู่นอกบ้าน  ที่ส�ำคัญยิ่งกว่านั้นคือ หลายคนมีน�้ำไม่พอใช้  ประชากร 1,400 ล้านคน หรือเกือบ 20% บนโลก ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน�ำ้   สะอาดในปริ ม าณที่ เ พี ย งพอ  ไม่ ใ ช่ เ พราะไม่ มี น�้ ำ เพี ย งพอสนองความ  ต้องการของทุกคน เพราะมนุษย์ใช้น�้ำเพียง 1 ใน 4 ของปริมาณน�้ำจืด  โลก  เพียงแต่มักไม่ค่อยพบน�้ำในพื้นที่ที่เราต้องการให้มีหรือในปริมาณ  ที่ต้องการ  น�้ำจืดส่วนใหญ่อยู่ในธารน�้ำแข็งหรือชั้นหินอุ้มน�้ำที่อยู่ลึกลง  ไปใต้ดิน หรือน�้ำท่าที่ไหลบ่าลงสู่มหาสมุทร ซึ่งอยู่ห่างไกลจากความ  ต้องการของประชาชนที่อยู่กระจัดกระจายออกไป “ถ้าไม่มีน�้ำมัน เครื่องยนต์ก็หยุดท�ำงาน” คัมราน อินาน รัฐมนตรี  กระทรวงการต่างประเทศตุรกี  บอกกับฉันที่กรุงอังการาเมื่อปี  1989  “แต่  ถ้าไม่มีน�้ำ ชีวิตก็จบ” ประเด็นที่ว่าเราใช้น�้ำที่สามารถเข้าถึงได้อย่างมี  ประสิ ท ธิ ภ าพแค่ ไ หน เริ่ ม ส� ำ คั ญ มากขึ้ น เรื่ อ ยๆ กั บ การใช้ ชี วิ ต บนโลก  ใบนี้  การบริหารจัดการน�้ำคือหัวใจส�ำคัญยิ่งต่อชีวิตในพื้นที่แห้งแล้ง  ตั้งแต่ลอสแอนเจลิสไปจนถึงลากอส จากดามัสกัสไปจนถึงลุ่มน�้ำเมอร์เรย์  ดาร์ลิ่งในออสเตรเลีย ที่ซึ่งช่องว่างระหว่างความอยู่รอดกับหายนะแคบ  มาก และความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยมีผลกระทบรุนแรงหลายเท่า  เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่เปียกชื้นกว่า  ปลอดภัยกว่า  ฉันเห็นค�ำว่า  ขอน�้ำให้  เรา เขียนด้วยสีแดงสดบนก�ำแพงหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ไคเบอร์  พาส ซึ่งเป็น  เส้นทางผ่านภูเขาเชื่อมระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถาน บ้านหลาย  หลังทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเขียนหวัดๆ บนผนังบ้านว่า  พระเจ้า  โปรดประทานน�้ำแก่เรา และรถบรรทุกคันหนึ่งในเท็กซัสเขียนบนตัวถัง  รถว่า  ภาวนาให้ฝนตก  เนื่องจากภัยแล้งตลอด 4 ปีท�ำให้ผืนดินแห้ง  ผาก ประกายไฟจากท่อไอเสียท�ำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ และรถบรรทุกน�้ำ  14 ปัญญา ชีวิน แปล


กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ�ำวัน  ทุกปีทั่วโลกมีพื้นที่  23,000 ตาราง  ไมล์  หรือขนาดประมาณรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย กลายเป็นทะเลทราย ในเวลาเดียวกัน น�ำ้ ปริมาณมหาศาลสร้างหายนะแก่ผคู้ นและพืน้ ที ่ หลายแห่ง เวนิสก�ำลังจมลงขณะที่น�้ำทะเลสูงขึ้น ที่ราบลุ่มของฮอลแลนด์  ตกอยู่ในภาวะอันตรายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ประชากรกว่า  10,000  คนเสียชีวิตจากอุทกภัยในรัฐโอริสสาของอินเดียเมื่อปลายปี  1999  ใน  โมซัมบิก หลังฝนตกหนักในฤดูใบไม้ผลิของปี  2000  มหาอุทกภัยท�ำให้  มีผู้เสียชีวิตนับพันและไร้ที่อยู่ราวครึ่งล้าน  ประชากรส่วนใหญ่ในโลก  อาศัยอยู่ตามชายฝั่งหรือที่ราบน�้ำท่วมถึง และนับวันก็ยิ่งเสี่ยงต่ออุทกภัย  ซึ่งเป็ น ภั ย ธรรมชาติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น บ่ อ ยครั้ ง และมี ผ ลท� ำ ลายล้ า งรุ น แรงที่ สุ ด  ขณะที่มนุษยชาติกระหายน�้ำมากยิ่งขึ้นในดินแดนแห้งแล้งที่สุด  ของโลก หรือถูกคุกคามจากแม่น�้ำที่เอ่อท่วมและทะเลที่ถูกรุกล�้ำในพื้นที่  ชื้นแฉะ จ�ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นยิ่งท�ำให้ผืนดินและน�้ำตกอยู่ในภาวะ  กดดันมากขึ้น  โลกเราใช้เวลาตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ  เรื่อยมา  จนถึงปี  1830 ในการผลิตประชากร 1,000 ล้านคน  แต่อีกเพียง 100 ปี  ต่อจากนั้น ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ล้าน และ 1,000 ล้านที่สาม  เพิ่มขึ้นในเวลาเพียง 44 ปีหลังจากนั้น ในขณะที่ 1,000 ล้านล่าสุดเพิ่ม  ขึ้นภายในเวลาไม่ถึง 12 ปี  ในพื้นที่หลายแห่งสตรีมีบุตรน้อยลง และมี  ความหวังว่าจ�ำนวนประชากรจะหยุดนิง่ ในศตวรรษนี ้ แต่ตอนนีม้ ปี ระชากร  6,000 ล้านคนและแต่ละเดือนเรายังเพิ่มประชากรจ�ำนวนเท่ากับในนคร  นิวยอร์กบนโลกใบนี้  นั่นคือ 90 ล้านคนต่อปี  ลองนึกถึงภาพผู้คนเสีย  ชีวิตจากความอดอยากและสงคราม 1 ล้านคน แต่จ�ำนวนเหล่านี้มีคน  เกิดใหม่ทดแทนได้ภายใน 4 วัน เมื่อจ�ำนวนคนเพิ่มขึ้น เราต้องใช้น�้ำมากขึ้นๆ โดยสูบขึ้นมาจาก  แม่น�้ำและชั้นหินอุ้มน�้ำใต้ดินมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่แล้ว  ขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้นเท่าตัว การใช้น�้ำเพิ่มขึ้น 3 เท่าในเวลาเดียวกัน  เราท�ำให้น�้ำปนเปื้อนของเสียจากมนุษย์  อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม  สงครามน�้ำ

15


ตอนนี้ เ ราต้ อ งเผชิ ญ กั บ ความจ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งปลู ก พื ช อาหารเพื่ อ ป้ อ น  คนบนโลกที่มีจ�ำนวนมากอย่างที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน และในเวลาเดียวกัน  ก็ยังต้องรับผลพวงที่ตามมาจากการปลูกพืชอาหารมากมายขนาดนั้น  ทั้งปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่ต้องใช้เพิ่มขึ้น ดินที่เค็มขึ้น การตัดไม้ท�ำลาย  ป่ามากขึ้น  การพังทลายของหน้าดินและการปล่อยให้สัตว์แทะเล็มหน้า  ดินมากเกินไป  แม่น�้ำสายหลักทั่วโลกกว่าครึ่งปนเปื้อนหรือแห้งเหือด  พื้นที่ชุ่มน�้ำครึ่งหนึ่งในโลกสูญหายไปในช่วงศตวรรษที่  20 และระบบน�้ำ  จืดทั่วโลกก�ำลังสูญสิ้นก�ำลังที่จะรองรับชีวิตมนุษย์  สัตว์  และพืช ทุกปี ฉันและสามีจะไปเยี่ยมโครงการอนุรักษ์เสือรันธัมบอร์  ใน  รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย  เส้นแบ่งระหว่างพื้นที่รัฐและเอกชนดูน่าทึ่ง  ภูมิทัศน์เปลี่ยนเป็นสีเขียวทันทีหลังเส้นแบ่งเขตพื้นที่ป่าไม้  ขณะที่พื้นที่  นอกอุทยานถูกถางจนเกลี้ยง ต้นไม้ถูกตัดโค่น ไม่ใช่จากฝีมือของคนโลภ  ร้ายกาจ แต่จากหญิงชาวบ้านที่ออกหาไม้เพื่อน�ำมาเป็นฟืนหุงหาอาหาร  ให้ครอบครัว  ในชนบทอินเดีย ไม้ยังเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กันทั่วไปในครัว  เรือน พืน้ ทีป่ า่ กว่า  2 ล้านไร่จงึ ถูกบุกรุกกลืนหายไปในแต่ละปี  ภาพภูมทิ ศั น์  โล่งเตียนไร้ต้นไม้นั้นคอยตามหลอนฉัน มันคือตัวแทนของผู้คนที่ไร้ทาง  เลือก  คนกว่าพันล้านอาศัยอยู่ในอินเดีย และนับวันพวกเขาก็ยิ่งล�ำบาก  มากขึน้ ในการทีจ่ ะมีชวี ติ รอดได้โดยไม่ทำ� ลายผืนดินและน�ำ้  เมือ่ คนอินเดีย  นับร้อยๆ ล้านขยับขึ้นไปเป็นชนชั้นกลาง  ซึ่งไม่ต่างจากชนชั้นกลางใน  โลกที่พัฒนาแล้ว  พวกเขาจะบริโภคอาหารมากขึ้น ใช้ความร้อนพลังงาน  และน�้ำมากขึ้น ตราบใดที่ยังหามาได้ บนถนนที่ มี ต ้ น ไม้ เ รี ย งรายในกรุ ง นิ ว เดลี   ฉั น ไปที่ ศู น ย์ วิ จั ย ด้ า น  นโยบายเพื่อคุยกับชายคนหนึ่งที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับน�้ำไว้มากมาย เขาคือ  บี. จี. เวอร์กีส  ผู้คนในอินเดียนับล้านๆ ที่ขาดแคลนน�้ำท�ำให้เขาหนักใจ  เขาระบายให้ฉันฟังว่า  “ทุกวันนี้  ประชากรเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าของตอนที ่ ได้รับเอกราช เราใช้เวลา 3,000 ปีกว่าจะมีประชากร 1,000 ล้าน  แต่อีก  ไม่นานมันจะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 ล้าน สิ่งที่ตามมากับการเติบโตเริ่มส่งผล  16 ปัญญา ชีวิน แปล


กระทบถึงเราแล้ว “เวลาที่จ�ำนวนประชากรยังไม่มาก ความต้องการมีอยู่จ�ำกัด เรา  ยังรับมือไหว โดยบริหารจัดการหรืออพยพย้ายไป แต่ทางเลือกเหล่านั้น  ใช้ไม่ได้แล้ว การเติบโตล้นหลามของเมืองท�ำให้เราต้องจัดสรรน�้ำเพื่อ  ชีวิตและเพื่อคุณภาพของชีวิต” สามีของฉันเคยอยู่นิวเดลีหลังจากอินเดียได้รับเอกราชเมื่อปี  1947  ได้ไม่นาน เขาเล่าว่า  ชุมชนที่น่าอยู่ซึ่งเป็นที่ตั้งส�ำนักงานของเวอร์กีสใน  ปัจจุบัน เมื่อก่อนเคยเป็นป่าไม้พุ่มเตี้ยรายรอบ หมาในส่งเสียงร้องใน  ยามค�่ำคืน มีนกกระทาสีเทาอยู่ในพุ่มไม้  และบางครั้งก็มีหมูป่าเดินเพ่น  พ่านผ่านสนามหน้าบ้าน แต่ตอนนี้ต้องขับรถไกลออกไปเป็นชั่วโมงๆ  จึงจะพบอะไรที่มีสภาพเป็นป่าแบบนั้น การเติบโตของเมืองอย่างที่เป็น  อยู่ของอินเดีย ขยายตัวรวดเร็วจนเกินความควบคุม  นิวเดลีที่ครั้งหนึ่ง  เคยผ่อนคลายและสง่างาม แม้ปัจจุบันจะยังน่าอภิรมย์ในหลายด้าน แต่  ก็ได้กลายเป็นเมืองหลวงที่จุแน่นจนปริในทุกมุม เพื่อนๆ ที่อยู่ในนิวเดลี  พูดถึงมลภาวะรถติดและโรคภัยไข้เจ็บตลอดเวลา กรุงเดลีมีสองแห่งคือ  เดลีเก่าและเดลีใหม่  กรุงเก่าเลวร้ายกว่าหนักหนา ด้วยผู้คนและยวดยาน  ที่ล้นทะลัก โรคร้ายที่แพร่ระบาดไม่ขาดสาย ทั้งไข้รากสาดน้อย ไข้เลือด  ออก และมาลาเรีย ชาดีราม ชาร์มา เพื่อนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในกรุงเก่าเดลี  เล่าว่า  เมืองนี้เคยเป็นสวรรค์  แต่ตอนนี้กลายเป็นนรกชัดๆ แต่ละวัน ของเสีย  สดๆ ที่ยังไม่ได้บ�ำบัด 200 ล้านลิตรถูกทิ้งลงแม่น�้ำยมนาช่วงที่ไหลผ่าน  ตัวเมือง สถานการณ์แบบเดียวกันนี้เกิดซ�้ำขึ้นทั่วประเทศ เวอร์กีสบอกฉัน  ว่า  “50 เปอร์เซ็นต์ของโรคภัยไข้เจ็บในอินเดียมาจากน�้ำ  ถ้าเราไม่มีน�้ำ  ปริมาณมากกว่านี้  อหิวาตกโรค โรคระบบทางเดินอาหาร ท้องร่วง โรคบิด  มาลาเรีย โรคผิวหนัง โรคตา และโรคระบาดต่างๆ ที่เรามีอยู่แล้ว จะยิ่ง  สาหัสกว่าเดิมและส่งผลกระทบทางสังคมและการเมือง” ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดียยุคใหม่คือความต้องการใช้ไฟฟ้า  สงครามน�้ำ

17


ที่เพิ่มขึ้น อนุทวีปอินเดียที่ก�ำลังดิ้นรนกับการเติบโตและการพัฒนา เป็น  ผู้ใช้พลังงานรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ไฟดับ ไฟตก และแรงดันไฟฟ้า  กระตุกเกิดขึ้นประจ�ำวัน  ในบางส่วนของเดลี  ทั้งเมืองเก่าและเมืองใหม่  อากาศปกคลุมไปด้วยควันและเสียงจากเครื่องปั่นไฟที่ใช้เพื่อให้แสงสว่าง  ในบ้านเวลาที่ไฟฟ้าดับ  แต่เวอร์กีสเชื่อว่า  ไม่ว่าวิกฤตพลังงานของอินเดีย  จะรุนแรงขนาดไหน ปัญหาน่ากลัวที่สุดที่ประเทศเผชิญอยู่ขณะนี้คือการ  ขาดแคลนน�้ำ  เขาบอกว่า  “พลังงานยังมีทางเลือกอื่น แต่ส�ำหรับน�้ำ ไม่ม ี ทางเลือกอื่นนอกจากน�ำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่และแยกเกลือออกจาก  น�ำ้ ทะเล  แต่การท�ำน�ำ้ จืดจากน�ำ้ ทะเลไม่ใช่ทางเลือกทีง่ า่ ยส�ำหรับประเทศ  ระดับอนุทวีป เอาละ ฉันได้น�้ำแล้ว  ดังนั้น แหล่งน�้ำของฉันคงไม่เป็นไร  แล้ว แต่คนอื่นที่ไม่มีน�้ำล่ะ เขาจะเป็นอย่างไร ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ  เขาจะพูดว่า  ‘ไม่เป็นไร เพื่อนรักของฉัน เวอร์กีสมีน�้ำ ฉันยอมเสียสละให้  เขางั้นหรือ’ ผมไม่คิดว่าเขาจะพูดอย่างนั้นหรอก ท�ำไมเขาถึงจะพูดอย่าง นั้นล่ะ” เวอร์กีสเห็นกับดักหายนะร้ายแรงยิ่งกว่านั้นรออยู่  ซุกอยู่ภายใต้  ศรัทธาของเพื่อนร่วมชาติชาวอินเดียที่มีต่อน�้ำซึ่งช่วยให้พวกเขาด�ำรงชีวิต  มาช้านาน “ชื่อแม่น�้ำคงคาท�ำให้นึกถึงอารยธรรมที่ยั่งยืน” เขาเตือนว่า  “และถ้าผู้อยู่บนสรวงสวรรค์สามารถด�ำรงชีวิตจากสายน�้ำคงคาได้  ท�ำไม  มนุษย์เราจึงจะท�ำไม่ได้ล่ะ”  เวอร์กีสส�ำทับว่าศรัทธาดังกล่าวไม่ได้ค�ำนึง  ถึงเงือ่ นไขทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับความอยูร่ อด  ยิง่ ไปกว่านัน้  ยังไม่ได้คดิ ว่าการมี  คุณภาพชีวิตที่ดีจ�ำเป็นต้องมีอะไรบ้าง หรือต้องท�ำอย่างไรเพื่อรักษาระบบ  ธรรมชาติ ข องโลก “เวลาคนเรายากจนข้ น แค้ น  สิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น เรื่ อ ง  ส� ำ คั ญ อั น ดั บ ท้ า ยๆ”  เขาบอกว่ า  “อั น ดั บ แรกคื อ ความอยู ่ ร อด”  ในปี  1985 หมู่บ้านในอินเดีย 750 แห่งปราศจากแหล่งน�้ำโดยสิ้นเชิง  อีก 11  ปีต่อมา หมู่บ้าน 65,000 แห่งตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ท่ามกลาง  ประชากร 11 ล้านคน  บี. จี. เวอร์กีสตระหนักดีว่า  เมื่อปราศจากการ  เก็บกัก ปราศจากการควบคุม จะมีประชากรตกอยู่ในภาวะวิกฤตมาก  18 ปัญญา ชีวิน แปล


ยิ่งขึ้น “ผมไม่คิดว่าเราสามารถมองข้ามเรื่องเหล่านี้ไปได้ง่ายๆ” เขาถอน  ใจและกล่าวว่า  “ฝนตกเป็นฤดูกาล และก็ไม่ได้กระจายทั่วถึงตลอดปีหรือ  ทุกพื้ น ที่   เราต้ อ งวางแผนจั ด การ  จะปล่ อ ยให้ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งนั้ น ต่ อ ไป  ไม่ได้” คงไม่มีใครคัดค้านความห่วงใยของเวอร์กีสต่อคนจนที่น่าเวทนา  ที่ใช้ชีวิตอยู่ตามล�ำน�้ำยมนา เวอร์กีสอาศัยอยู่ในย่านที่น่าอยู่ของเมืองซึ่ง  เผชิญกับภาวะตึงเครียดเรื่องน�้ำแล้วเช่นกัน ส่วนฉันพ�ำนักในย่านที่น่าอยู่  ของเมื อ งซึ่ ง ยั งห่ า งไกลจากภาวะตึ ง เครี ย ดเหล่ า นั้ น   แต่ ฉั น รู ้ ว ่ า บี .  จี .  เวอร์กีสพูดแทนพวกเราทุกคน “แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นของประชากรนี่แหละ  คือหัวใจของปัญหา  ถ้าใครไม่เห็นปัญหาตรงนี้ก็เท่ากับสายตาสั้นมากๆ  ศตวรรษต่อไปเราจะเห็นวิกฤตน�้ำเกิดขึ้น วิกฤตนี้จะรับมือได้ยากยิ่งขึ้ น  และซั บ ซ้ อ นยิ่ ง กว่ า วิ ก ฤตพลั ง งานที่ เ คยเผชิ ญ หลายเท่ า ” โจ พอดเจอร์  นักสิ่งแวดล้อมชาวอเมริกัน เห็นด้วย “มีหลักนิเวศ  วิทยาพื้นฐานหรือกฎธรรมชาติที่เรียกว่า  ‘ขีดความสามารถในการรองรับ’”  เขาอธิบายว่า  “ระบบชีววิทยาสามารถผลิตอาหารได้มากพอในระดับหนึ่ง  ให้แก่สิ่งมีชีวิตที่กินโปรตีน มีชีวมวลมากพอระดับหนึ่งในรูปของพืชเพื่อ  ให้ สั ต ว์ ที่ แ ทะเล็ ม หญ้ า เป็ น อาหาร และมี น�้ ำ มากพอระดั บ หนึ่ ง เพื่ อ ใช้  ดื่มกิน  ภายใต้กฎการลดน้อยถอยลงของผลตอบแทน คุณไม่อาจเชิญ  แขกแบบไม่จ�ำกัดจ�ำนวนมาร่วมโต๊ะอาหารซึ่งจัดไว้  12 ที่และซุปหม้อ  เดียวการเติบโตมีขีดจ�ำกัด และนั่นคือขีดความสามารถในการรองรับ”  เราอาศัยอยู่ภายใต้ระบบทรัพยากรที่มีจ�ำนวนจ�ำกัด เราท�ำอะไร  ไม่ได้มากนักในการเปลี่ยนปริมาณน�้ำจริงๆ ที่มีอยู่ในโลก ในวัฏจักรของ  เหลวแบบจ�ำกัด พลังงานแสงอาทิตย์ดูดน�้ำขึ้นมาจากโลกและส่งกลับ  ลงไปเป็นฝน ลูกเห็บหรือหิมะ ถึงแม้โดยมากแหล่งน�้ำส่วนนี้จะมีจ�ำนวน  จ�ำกัด  แต่เราสามารถท�ำอะไรได้หลายอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานที ่ และปริมาณของแหล่งน�้ำดังกล่าว การเข้าถึงแหล่งน�้ำจืดที่สะอาดของเรา  เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงจากผลของการแทรกแซงธรรมชาติโดยการ  สงครามน�้ำ

19


สร้างพนัง ที่เก็บกัก การผันน�้ำ การใช้เกินขนาดและมลภาวะ  ผลกระทบ  ของการใช้น�้ำและใช้อย่างผิดๆ ที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ สะเทือนไปไกลจากจุด  ก�ำเนิด ใครที่คิดว่าปัญหาน�้ำในพื้นที่อื่นจะไม่กระทบถึงตนเองควรต้อง  พิจารณาด้วยว่า  ดินแดนแล้งน�้ำอย่างแคลิฟอร์เนียผลิตผักและผลไม้  ราวครึ่งหนึ่งของสหรัฐ รวมถึงผลิตภัณฑ์นมเนยส่วนใหญ่ของประเทศ  เราควรต้องเข้าใจด้วยว่า  การสูบน�้ำจากอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์  จนแห้งเหือดส่งผลให้ฝนในไมอามีตกลดลง และของเสียจากอุตสาหกรรม  ที่ปล่อยลงสู่แม่น�้ำไรน์ในเยอรมนีจะต้องไปบ�ำบัดในเนเธอร์แลนด์ ช่วงเริ่มต้นศตวรรษใหม่นี้  หนึ่งในสามของประเทศทั่วโลกเผชิญ  ความตึงเครียดเรื่องน�้ำ การสูบน�้ำจากชั้นหินอุ้มน�้ำขึ้นมาใช้มากเกินไป  ท�ำให้นำ�้ ลดลงจนถึงจุดวิกฤตตัง้ แต่เอเธนส์ถงึ โอซากา  ในกรุงเทพ จาการ์ตา  มะนิลา และเม็กซิโกซิตี้  ปริมาณน�้ำใต้ดินลดลงมากจนดินที่อยู่ข้างใต้ ทรุดตัว  ในแถบตะวันตกของอเมริกา เมืองต่างๆ พากันซื้อที่ดินเพียงเพื่อ  จะได้รบั สิทธิในน�ำ้ ใต้ดนิ  และลอสแอนเจลิสถึงกับต้องจ้าง “นักก�ำจัดความ  แห้งแล้ง” เป็นครั้งคราว เพื่อจับกุม “คนก่ออาชญากรรม” ด้วยการล้าง  ถนนหรือรดน�้ำสนามหญ้า  ที่ตาอิซ เมืองน่ารักที่อยู่ลึกท่ามกลางขุนเขา  ในประเทศเยเมน  ประชาชนจะได้รับบริการน�้ำประปาทุก 3 สัปดาห์ต่อ  ครัง้  แต่เมือ่ ไม่นานมานี ้ มีผเู้ สียชีวติ  8 คนจากการทะเลาะวิวาทเรือ่ งบ่อน�ำ้ เมื่อขาดแคลนน�้ำ ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น ที่เมืองโอนิทชา ประเทศ  ไนจีเรีย ครัวเรือนที่ยากจนจ่ายค่าน�้ำเป็นเงินเกือบ 20% ของรายได้  ที่  ซิดนีย์ประเทศออสเตรเลีย มีสายด่วนแจ้งต�ำรวจจับโจรปล้นน�้ำได้ตลอด  24 ชั่วโมง โดยมีโทษเป็นค่าปรับ 20,000 เหรียญ  ที่บอมเบย์  มาเฟีย  ท้องถิ่นล่ามโซ่ก๊อกน�้ำ และเก็บค่าน�้ำจากชาวบ้านตามจ�ำนวนถัง ค�ำท�ำนายของ บี. จี. เวอร์กีส ที่ว่าความตึงเครียดเรื่องน�้ำจะน�ำไป  สู่การปะทุขึ้นของความรุนแรง เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในอนุทวีปของเขาเอง  เมื่อปี  1991 ที่เมืองคาร์นาทากา มีผู้เสียชีวิต 18 คนและไร้ที่อยู่อาศัย  อี ก  30,000 คนจากการจลาจลประท้ ว งรั ฐ บาลที่ ป ล่ อ ยน�้ ำ จากแม่ น�้ ำ  20 ปัญญา ชีวิน แปล


โคธาวารี  ในปีเดียวกัน ชาวบังกลาเทศ 5,000 คนก่อจลาจลในกรุงธากา  ทุบท�ำลายรถยนต์และใช้หินขว้างปาใส่ต�ำรวจเพื่อประท้วงการขาดแคลน  น�้ำซึ่งพวกเขาโทษว่าอินเดียปล้นน�้ำไปจากแม่น�้ำคงคา  เมื่อเร็วๆ นี้ที่เมือง  ทมิฬนาฑู  โจรติดอาวุธยึดขบวนรถไฟ แต่กันตัวผู้โดยสารและเจ้าหน้าที ่ รักษาความปลอดภัยออกไป พวกเขาปล้นน�้ำจากถังเก็บในห้องส้วม โดย  ถ่ายใส่ถังน�้ำและกระป๋องไป ความไม่สงบไม่ได้จ�ำกัดวงอยู่แค่ในอนุทวีปอินเดีย ส�ำหรับบาง  พื้นที่ที่มีปัญหา วิธีหรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมน�้ำมักตกเป็นเป้าของผู้ก่อการ  จลาจลและกองก�ำลังที่เป็นปฏิปักษ์กัน  ในเดือนสิงหาคม 1998 ที่คองโก  ทหารก่อกบฏยึดเขื่อนอินกา ตัดไฟฟ้าและน�้ำที่ส่งไปยังเมืองคินชาซา  ต่อมาในปีเดียวกัน กลุ่มกบฏในเมืองเลโซโทยึดโครงการเขื่อนแคทซี  ซึ่ง  สร้างขึ้นเพื่อส่งน�้ำไปแอฟริกาใต้  ทหารแอฟริกาใต้ตอบโต้โดยบุกเมือง  เลโซโทและยึดเขื่อนคืน โดยสังหารคนไป 17 คน ในปี  1998 และอีกครั้ง  ในปี  2000 ชนเผ่าเจ้าของที่ดินในฟิจิใช้หอก ขวาน และกระบองต่อสู้กับ  ทหารติดอาวุธในพื้นที่ลึกเข้าไปในใจกลางเกาะวิติเลวู  เพื่อเข้าไปควบคุม  โมนาซาวู  เขื่อนไฟฟ้าพลังน�้ำขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวของประเทศ ไม่ได้มีแต่เพียงประเทศก�ำลังพัฒนาที่อยู่ห่างไกลเท่านั้นที่การขาดแคลน  น�ำ้ จุดชนวนความเดือดร้อน  ในช่วงภัยแล้งยาวนานของสเปนเมือ่ ทศวรรษ  1990 เมืองเดเนียที่แห้งแล้งเริ่มวางแผนวางท่อสูบน�้ำจากแม่น�้ำที่อยู่  ใกล้ๆ แต่หมู่บ้านข้างเคียงไม่ยอมให้เมืองเดเนียผ่านเขตแดนของตน และ  ท่อส่งน�้ำของโรงบ�ำบัดน�้ำถูกผู้ก่อวินาศกรรมท�ำลายทันที  เมื่อหลายปี  ก่อนที่แคว้นเวลส์ ชาวบ้านวางระเบิดท�ำลายเขื่อนชลประทานสองแห่ง  เพื่อประท้วงการผันน�้ำไปยังเมืองลิเวอร์พูลของอังกฤษ  ฉันตกใจมากที่  ได้ยินว่า  ใกล้บ้านเกิดของตนเองทางตะวันตกของรัฐนิวยอร์ก ซึ่งฉันคิด  ว่ามีน�้ำชุ่มฉ�่ำ ชาวไร่สิ้นหวังกับบ่อน�้ำที่แห้งผากจึงบุกเข้าไปยึดท่อส่งน�้ำ  สาธารณะเพื่อน�ำน�้ำมาใช้รดพืชผลของพวกเขา สงครามน�้ำ

21


เมื่อ 2-3 ปีก่อนที่เมืองคอลลิคูนในรัฐนิวยอร์ก ชาวบ้านจัดชุมนุม  ทางการเมือง โจมตีเพื่อนบ้านรายหนึ่งที่ต้องการจะขายน�้ำที่ผุดขึ้นจาก  ชั้นหินอุ้มน�้ำส่วนรวมซึ่งอยู่ใต้ดินในที่ดินของเขา ให้แก่บริษัทเกรทแบร์  บอทเทิลวอเตอร์  ชาวบ้านกล่าวหาเจ้าของที่ดินรายนั้นว่าท�ำให้พื้นที่ชุ่ม  น�้ำเหือดแห้ง ท�ำให้หมีด�ำและตัวแรคคูนอพยพออกจากพื้นที่  และฝูงปลา  เทราต์สูญพันธุ์ไปจากล�ำน�้ำ  พอล เลวี  เจ้าของที่ดินรายหนึ่งในละแวก  นั้น ตั้งค�ำถามน่าคิดว่า “ใครๆ ก็มีสิทธิอย่างแท้จริงที่จะขายน�้ำบนดิน  หรือใต้ดินเพียงเพราะมันไหลผ่านที่ดินของเขาอย่างนั้นหรือ” ถ้อยค�ำง่ายๆ  ดังกล่าวโดยเจ้าของที่ดินเล็กๆ คนหนึ่ง มีนัยยะเชื่อมโยงกับทั้งประเทศ  เท่าๆ กับต่อเพื่อนบ้านของเขาที่ว่า  ใครเป็นเจ้าของน�้ำ ทุ ก วั น นี้   ยั ง ไม่ มี ท างออกที่ น านาชาติ ย อมรั บ ร่ ว มกั น ในการแก้  ปัญหาการแบ่งปันน�้ำ  ดังนั้น ปัญหาที่ยังต้องแก้ไขได้แก่  ท�ำอย่างไรจึง  จะแบ่งปันน�้ำกันได้อย่างเป็นธรรมทั่วทั้งลุ่มน�้ำ หรือตัดสินว่าน�้ำเป็นสินค้า  โภคภัณฑ์หรือเป็นเส้นเลือดของชีวิต หรือยอมรับว่าสงครามแย่งชิงน�้ำ  เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ขณะที่ผู้คนและประเทศต่างๆ พยายามสางปม  ความขัดแย้งแย่งชิงกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจร้ายแรงถึงชีวิต เพื่อนคน  หนึ่งให้ฉันดูภาพถ่ายเมื่อปี  1903  ศพของแดเนียล, อัลฟุส และเบิร์ช  เบอร์รี  นอนตายหน้าโรงนาในไร่ที่แห้งผากแห่งหนึ่งในรัฐแคนซัส ชาวไร่  ทั้ ง สามถู ก ยิ ง เสี ย ชี วิ ต เพราะทะเลาะกั บ ครอบครั ว ดิ ว อี เ รื่ อ งน�้ ำ   เพื่ อ น  บ้านที่เลี้ยงปศุสัตว์  ระหว่างเขียนหนังสือเล่มนี้  บ่อยครั้งที่ฉันอดคิดถึง  ครอบครัวเบอร์รที เี่ สียชีวติ ไม่ได้  การยิงกันเหมือนเมือ่  100 ปีทแี่ ล้ว  ส�ำหรับ  ฉัน มันเป็นสัญลักษณ์ของการท�ำสงครามแย่งชิงน�้ำในทุกระดับ ตั้งแต่  ชาวนาที่ต่อสู้แย่งบ่อน�้ำกัน ไปจนถึงระดับประเทศที่แย่งชิงการใช้แม่น�้ำ  ในทั่วทุกทวีป ปัญหาความเป็นเจ้าของและกรรมสิทธิ์ก่อให้เกิดความขัดแย้งนับ  ไม่ถ้วน ตั้งแต่สโลวาเกียและฮังการีที่ต่อสู้กันเรื่องแม่น�้ำดานูบ ไปจนถึง  นามิเบียและบอตสวานาที่ต่ า งอ้ างสิทธิเหนือแม่น�้ำโอกาวันโก ในหมู่  22 ปัญญา ชีวิน แปล


เกาะมาเจลลันของแคนาดา สองชุมชนแย่งชิงแหล่งน�้ำจืดที่เป็นชั้นหิน  อุ้มน�้ำกันอย่างรุนแรง  ในอเมริกา รัฐจอร์เจียขู่ว่าจะเรียกกองก�ำลังทหาร  ออกมาตอนที่มีเรื่องทะเลาะกับรัฐฟลอริดาและแอละแบมาเรื่องแม่น�้ำ  แชตทาฮูชี  ส่วนรัฐแคนซัสก็รู้สึกฮึกเหิมจากชัยชนะเหนือรัฐโคโลราโดใน  คดีฟ้องร้องเรื่องแม่น�้ำอาร์คันซอ จนได้เงิน 12 ล้านดอลลาร์  ต่อมาจึง  ฟ้องรัฐเนแบรสกาเพื่อขอน�้ำคืน 10,000 ล้านแกลลอนต่อปีจากแม่น�้ำ  รีพับลิกัน มีแหล่งน�้ำเพียงไม่กี่แห่งที่ส�ำคัญน้อยเสียจนไม่อาจกลายเป็นต้น  ตอแห่งความขัดแย้ง เมื่อเร็วๆ นี้  รัฐบาลกลางสหรัฐต้องเข้าไปไกล่เกลี่ย  ความขัดแย้งระหว่างอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน กับเจ้าของที่ดินซึ่งน�ำ  น�้ำร้อนใต้ดินจากพื้นที่ใกล้เคียงขึ้นมาใช้  ฝ่ายอุทยานบอกว่า  การดึงน�้ำ  ใต้ดินนี้ขึ้นมามีผลกระทบต่อน�้ำพุร้อนโอลด์เฟธฟุล ไกเซอร์  แม้กระทั่ง  ก้อนเมฆก็ยังแย่งกันคว้า  การท�ำฝนในพื้นที่หนึ่งอาจปล้นชิงฝนของชาวนา  ที่อยู่ใต้ลม และเป็นชนวนให้เกิดคดีฟ้องร้องกันใหญ่โต  เมื่อชาวนารัฐ  มอนแทนาตะวั น ออกร้ อ งเรี ย นว่ า  รั ฐ นอร์ ท ดาโคตาแย่ ง ฝนของตนไป  คณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติของรัฐมอนแทนาจึงไม่ยอมออกใบ  อนุญาตแก่รัฐนอร์ทดาโคตาในการปล่อยสารเคมีเข้าไปในเมฆเพื่อท�ำ  ฝนเทียม  ต่อมาการตัดสินใจนั้นถูกยกเลิก แต่ข้อตกลงเจรจายอมความ  กันระบุว่า รัฐนอร์ทดาโคตาจะต้องจ่ายค่าวิจัยศึกษาเพื่อพิสูจน์ว่าตนไม่ได้  รุกล�้ำเมฆของรัฐมอนแทนา  อีกคดีหนึ่ง รัฐไอดาโฮท้าทายเจ้าหน้าที่รัฐ  ไวโอมิง โดยตัดสินใจปล่อยสารเคมีเข้าไปในเมฆเหนือเทือกเขาแกรนด์  เทตันส์เพื่อปรับสภาพทุ่งหิมะที่ละลายช้าทางตะวันตกของเทือกเขา รัฐ  ไวโอมิงไม่ยอมอนุมัติโดยให้เหตุผลว่า  การกระท�ำดังกล่าวจะท�ำให้เกิด  ปริมาณหิมะที่ละลายบนไหล่เขาด้านตะวันออกของเทือกเขามากเกินไป  ส่งผลให้เกิดปริมาณน�้ำล้นเขื่อนในท้องที่ เมื่อเผชิญกับความจริงที่น่าตกใจว่ากายภาพของแหล่งน�้ำมีขีด  จ�ำกัด เราขุดบ่อลึกกว่าเดิม แยกเกลือจากน�้ำทะเลในราคาแพง และน�ำ  สงครามน�้ำ

23


น�้ำมาหมุนเวียนใช้แล้วใช้อีก เราแข่งกันควบคุมแม่น�้ำที่หดหาย และขน  ย้ายน�้ำจ�ำนวนมหาศาลเป็นระยะทางไกลรอบโลกด้วยเครื่องมือขนส่งที ่ แปลกขึ้นเรื่อยๆ  สถานการณ์ที่อาจดูน่าขันอย่างประหลาดเพียง 2-3 ปี  ก่อน เช่น ลากภูเขาน�้ำแข็งจากขั้วโลกเหนือลงมาทางใต้  เพื่อป้อนเมือง  ที่ ข าดแคลนน�้ ำ   ตอนนี้ ก ลั บ ดู เ ป็ น เรื่ อ งสมเหตุ ส มผล  ปั จ จุ บั น เมื อ ง  ลาสเวกัสหาซื้อน�้ำข้ามเทือกเขาร็อกกีในรัฐไวโอมิง และตัวแทนของชีคใน  อาบูดาบีเสนอจะสร้างเขื่อนที่อยู่ไกลหลายกิโลเมตรและห่างไปหลาย  ประเทศในแถบเทื อ กเขาของปากี ส ถานเพื่ อ เคลื่ อ นน�้ ำ จากภู เ ขาลงใต้  ในชิลมี กี ารเก็บเกีย่ วเมฆ ทีเ่ อลโตโฟ นักวิจยั จากมหาวิทยาลัยชิลใี ช้กำ� แพง  ตาข่ายพลาสติกชนิดโพลีโพรไพลีนดักจับหมอกชายฝั่ง ซึ่งสามารถดัก  ความชื้นและกักเก็บเป็นน�้ำสะอาดได้มากเพียงพอที่จะป้อนหมู่บ้านบน  ภูเขาได้ทั้งหมด  น�้ำหนึ่งหยดต้องใช้ละอองน�้ำในหมอก 10 ล้านหยด  แต่กับดักหมอกขนาด 12x4 เมตร ผลิตน�้ำได้  45 แกลลอน (170 ลิตร)  ต่อวัน  ถ้าใช้กับดักแบบนั้น 50 ตัว จะผลิตน�้ำแจกจ่ายให้ชาวเมือง 400  คนได้คนละ 6 แกลลอน (23 ลิตร) ต่อวัน  โครงการจัดการน�้ำที่แสน  ทะเยอทะยานทั้งหลายดูเหมือนท�ำให้เส้นแบ่งระหว่างความจริงกับนิยาย  วิทยาศาสตร์พร่ามัว  บริษัทนอร์เวย์แห่งหนึ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นถุงผ้า  ขนาดใหญ่พับเก็บได้เคลือบผิวพลาสติกเรียกว่า  “ถุงเมดูซา” สามารถ  บรรทุกน�้ำจืด 30-80 ล้านลิตร จากฟยอร์ดไปยังสถานที่ที่ต้องการ เช่น  ยิบรอลตาหรืออิสราเอล  บริษทั โกลบอลวอเตอร์คอร์เปอเรชัน่ ของแคนาดา  ลงนามในข้อตกลงส่งน�้ำ ราว 18,900 ล้านลิตรจากทะเลสาบบลูในซิทกา  ไปไกลถึงจีนโดยใช้ถุงเมดูซา จนกระทั่งรัฐบาลแคนาดาเองสั่งห้ามส่งออก  น�้ำในปริมาณมหาศาล ความงมงายของเราถูกขยายออกไปด้วยสารพัดโครงการที่พิสดาร  มากขึ้นเรื่อยๆ  ในแอฟริกากลาง วิศวกรเสนอสร้างทะเลสาบขนาดใหญ่  เพื่อท�ำให้ฝนตกในบริเวณทะเลทรายซาเฮล  นักวิจัยคนหนึ่งของสถาบัน  เทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์  (MIT) ต้องการเก็บหิมะและน�้ำในฤดูหนาว  24 ปัญญา ชีวิน แปล


เป็นภูเขาน�้ำแข็งก้อนยักษ์โดยพ่นน�้ำผ่านเครื่องท�ำหิมะ จากนั้นห่อหุ้ม  ธารน�้ำแข็งเทียมนั้นด้วยแผ่นไมลาร์ขนาดใหญ่จนกว่าจะต้องการใช้น�้ำ  แต่แม้กระทั่งโครงการในชีวิตจริง เช่น โครงการคลอง 3 สายของจีน เพื่อ  สูบน�้ำจากแม่น�้ำแยงซีที่อยู่ไกลออกไปทางเหนือกว่า  1,000 กิโลเมตร ไป  ยังเมืองเซี่ยงไฮ้  เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากจริงๆ แต่ละความคิดสุดทะเยอ  ทะยานที่ฟังแล้วน่าใจหาย มีตามกันออกมาติดๆ  เรามั ก คิ ด การใหญ่ เ สมอเกี่ ย วกั บ น�้ ำ  อย่ า งเช่ น เขื่ อ นยั ก ษ์   คลองยั ก ษ์  มนุ ษ ย์ เ ปลี่ ย นเส้ น ทางแม่ น�้ ำ   กั้ น มหาสมุ ท ร  ขุ ด ทะเลสาบใหญ่ ม หึ ม า  เนรมิตทะเลทรายให้เขียว และเปลี่ยนโฉมทั้งภูมิภาคใหม่  ผลงานทาง  วิศวกรรมด้านน�้ำบางโครงการเป็นความส�ำเร็จที่ยิ่งใหญ่  เช่น พื้นที่ระบาย  น�้ำและคันกั้นน�้ำของเนเธอร์แลนด์  หรือการชลประทานตามล�ำน�้ำไนล์ที่มี  มานับพันๆ ปี  โครงการเหล่านี้ช่วยชีวิตมนุษย์  ฟื้นฟูแผ่นดิน และท�ำให้  ประชากรโดยรวมมีความเป็นอยู่ดีขึ้น  แต่บางโครงการเป็นหายนะ มัน  ท�ำให้น�้ำที่เคยใส ขุ่นคลั่กเป็นโคลน ซึ่งนับว่าประโยชน์ที่ได้ไม่มีวันคุ้มกับ  ต้ น ทุ น ความเสี ย หาย น้อยสิ่งนักที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกน่าเกรงขามได้มากเท่ากับ  ภาพผืนน�้ำมหาศาลของแม่น�้ำ ทะเลสาบ มหาสมุทร และทะเล  จินตนา-  การของเราตะลึงพรึงเพริดไปกับโครงการวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่ดูท้าทาย  ธรรมชาติในตัวมันเอง  ผลงานจัดการน�้ำขนาดมหึมา ความยิ่งใหญ่ที่จับ  ตาจับใจเหล่านี้  ท�ำให้เราดูเหมือนตนเองยิ่งใหญ่กว่าที่เป็นจริง ทรงพลัง  เหนือความสามารถเชิงปัจเจกเล็กๆ ของตัวเอง ด�ำรงอยู่บนโลกได้อย่าง  มัน่ คงถาวรขึน้ กว่าเดิม ทัง้ ยังท�ำให้เราหลงเชือ่ ว่าเราควบคุมพลังธรรมชาติได้ อย่ า งไรก็ ดี   ประวั ติ ศ าสตร์ เ ต็ ม ไปด้ ว ยเรื่ อ งราวความผิ ด พลาด  ที่กลายเป็นหายนะ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการวางความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมไว้กับ  ค�ำตอบทางวิศวกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องผิด โครงการที่ไร้ประโยชน์เพื่อ  ตอบสนองทางการเมือง เขื่อนแตกและความผิดพลาดในการออกแบบ  สงครามน�้ำ

25


การก่อสร้างและต�ำแหน่งที่ตั้ง คร่าชีวิตคนนับพันและท�ำให้วิศวกรถึงกับ  ฆ่าตัวตายมาแล้ว เขื่อนไวยอนต์ในเทือกเขาแอลป์อิตาลี  เป็นหนึ่งในเขื่อน  สูงติดอันดับโลก และเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งบาง  เมื่อเกิดดินถล่มรุนแรง  ในปี  1963 แม้โครงสร้างเขื่อนจะรับไหว แต่น�้ำเป็นล้านๆ ตันท่วมทะลัก  ออกมาคร่าชีวิตคนไป 3,000 คนในเวลา 6 นาที  วิศวกร 8 คนที่ออกแบบ  เขื่อนนี้ถูกไต่สวนข้อหาฆ่าคนโดยไม่เจตนา หายนะจากผลงานการจัดการ  กับน�้ำที่น่ากลัวที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้เกิดขึ้นในปี  1975  มีผู้เสียชีวิต 230,000 คน จากเขื่อนป่านเฉียวและสือม่านทันในจีนแตก  เนื่องจากฝนตกหนักจนทานไม่ไหว ไม่มีประเทศไหนในโลกที่ประสบหายนะในการเผชิญหน้ากับน�้ำ  มากเท่ากับอดีตสหภาพโซเวียต เนื่องจากแหล่งน�้ำส่วนใหญ่อยู่ในไซบีเรีย  ที่ห่างไกล รัสเซียจึงด�ำเนินโครงการจัดการน�้ำอย่างอาจหาญติดตรึงความ  ทรงจ�ำต่อเนื่องมานาน 40 ปี  โดยสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดและคลองที่ยาว  ที่สุดในโลก แต่บ่อยครั้งก็ใช้งานไม่ได้อย่างที่ตั้งใจ  ในปี  1980 วิศวกร  รัสเซียสร้างคลองยาวราว 550 เมตรเพื่อจ�ำกัดการไหลของน�้ำจากทะเล  แคสเปียนไปยังทะเลคารา-โบกาซ-โกล ซึ่งอยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดิน ปรากฏ  ว่ า ได้ ผ ลดี เ กิ น ไป  ในเวลาเพี ย ง  3  ปี   พื้ น ที่   18,000  ตารางกิ โ ลเมตร  ของทะเลคารา-โบกาซ-โกล แห้งเหือดจนวิศวกรต้องเริ่มฟื้นฟูรางส่งน�้ำ  ขึ้นใหม่ในเวลาต่อมา ความสูญเสียที่น่าตกใจที่สุดยิ่งกว่าที่ไหนในโลก คือภาวะใกล้  สาบสูญของทะเลอารัลภายในเวลา 3 ทศวรรษ  จากที่เคยเป็นทะเลปิด  ขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลก มันกลับเหือดแห้ง พื้นที่หายไปถึง 2 ใน  3 หรือ 38,850 ตารางกิโลเมตร  ส่วนใหญ่เกิดจากการดึงน�้ำจากแม่น�้ำ  อามู  ดาร์ยา และไซร์  ดาร์ยาไปใช้เพื่อการชลประทานปลูกฝ้ายในเอเชีย  กลาง ถ้ากระบวนการนี้ยังด�ำเนินต่อไปโดยไม่ตรวจสอบ ในไม่ช้าทะเล  อารัลจะเหลือแค่ความทรงจ�ำผุกร่อน  แม้ทุกวันนี้  เรือมักเกยตื้นพื้นทราย  และอดีตเมืองท่าบางแห่งอยู่ไกลจากชายฝั่งที่หดหายลึกเข้าไปถึง 145  26 ปัญญา ชีวิน แปล


กิโลเมตร  การประมงที่เคยรุ่งเรืองหมดสิ้นไม่เหลือ ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นคือ  ฝันร้ายของสารพิษที่ท�ำร้ายชีวิตคน 1.5 ล้าน คนที่อาศัยอยู่รายรอบ สิ่งที่  ตกค้างอยู่ในแม่น�้ำที่ไหลลงสู่ทะเลเต็มไปด้วยยาฆ่าแมลง ปุ๋ย และเกลือ  ซึ่งปนเปื้อนในน�้ำเกือบทั้งหมดที่อยู่ทั้งใต้ดินและบนดิน ลมกระโชกรุนแรง  พั ด ผ่ า นพื้ น ใต้ ท ะเลที่ แ ห้ ง เหื อ ด หอบเกลื อ และสารเคมี ก ระจายไปทั่ ว  แผ่นดิน เป็นพิษต่อทั้งผืนดินและผู้คน แทบไม่มีอะไรเติบโตได้ในภูมิภาค  นี้  และผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่างๆ เช่น โรคไตและต่อมไทรอยด์  มะเร็ง  ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค และอาจมีอัตราโลหิตจางสูงสุดในโลก อายุขัย  ของคนที่นี่สั้นกว่าในส่วนอื่นของอดีตสหภาพโซเวียตราว 20 ปี เรื่องราวโครงการที่ดีและเลวร้ายที่สุดมักเป็นอนุสาวรีย์แห่งความ  เขลาของมนุษย์  แต่ก็เป็นประจักษ์พยานในความฉลาดและอดทนด้วย  เช่นกัน  ไม่ว่าจะก่อเกิดประโยชน์หรือความเสียหาย การเก็บและขนส่งน�้ำ  หรือรดต้นไม้  ก็ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมชาติส�ำหรับมนุษย์เช่นเดียวกับการ  ปักหลักตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดที่หนึ่ง  เราท�ำเช่นนี้มากว่า  7,000 ปีแล้ว  หลุม  พรางของโครงการขับเคลื่อนน�้ำและแผนพัฒนาทั้งหลายมีมากมาย แต่  เราก็ยังเดินหน้าสร้างเขื่อน อ่างเก็บน�้ำ อุโมงค์  และคลองชลประทาน  มานานพอจนเข้ า ใจดี ถึ ง การท� ำ งานของระบบต่ า งๆ  เหล่ า นี้   มาจนถึ ง  ศตวรรษที่ 20 เริ่มปรากฏชัดแล้วว่า  ทางออกในเชิงโครงสร้างอาจไม่ใช่  ยามหัศจรรย์แก้ปัญหาสารพัดได้อย่างที่เราเคยคาดหวัง  ส่วนเทคโนโลยี  ทางวิศวกรรมก็อาจเป็นเครื่องมือที่มีผลกระทบรุนแรงหากพิจารณามิติเชิง  สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ด้วย  ดังนั้น เพื่อหาสมดุลระหว่างความต้องการ  ของอารยธรรมที่ แ ผ่ ก ระจายไปทุ ก ทิ ศ ทาง  กั บ ปริ ม าณน�้ ำ ที่ มี อ ยู ่ อ ย่ า ง  เปราะบาง เราจ�ำเป็นต้องวิเคราะห์ทุกๆ ทางออกที่เป็นไปได้อย่างระมัด  ระวัง เราจ�ำเป็นต้องท�ำทุกหนทางเพื่อให้แน่ใจว่าน�้ำที่มีอยู่จะเหลือพอ  ส�ำหรับลูกหลานของเราและลูกหลานของลูกหลานรุ่นต่อไป ซึ่งไม่ว่าอัตรา  การเกิดจะลดลงขนาดไหน พวกเขาก็คงอยู่ในโลกที่แออัดกว่าเดิมมาก  สงครามน�้ำ

27


อันดับแรก เราต้องเข้าใจถึงความส�ำคัญพืน้ ฐานของน�ำ้ ก่อน “วิทยาศาสตร์  อาจกระทบต่อวิธีที่เราใช้แก้ปัญหา” จอยซ์  สตาร์  ที่ปรึกษาด้านน�้ำใน  เชิงการเมืองกล่าวกับฉันเมื่อไม่นานมานี้ที่วอชิงตัน “แต่ฉันคิดว่าวิทยา  ศาสตร์มาทีหลัง...หลังจากที่ผู้คนเข้าใจว่าน�้ำมีความหมายอย่างไรต่อ  พวกเขา...ว่าน�้ำเป็นสิ่งมีค่าแค่ไหนและเป็นทรัพยากรที่ก�ำลังหมดไป  จริง  อยู่น�้ำมีปริมาณเพียงพอ แต่องค์กรที่พยายามช่วยล้วนแบกภาระไว้หนัก  เกินไป  ในฐานะที่อยู่ในชุมชนโลก เราก�ำลังนิ่งดูดาย ปล่อยให้เด็กนับพัน  เสียชีวิตทุกวันเพราะขาดน�้ำหรือติดโรคที่มากับน�้ำ” สตาร์พูดถูก ทุกวันมีเด็ก 6,000 คนเสียชีวิตจากโรคภัยที่สัมพันธ์  กับน�้ำ “ลองนึกดูว่า  ขณะที่เราคุยกันอยู่นี้มีความตายเกิดขึ้น เพราะเรา  ไม่สามารถเจือจานให้ผู้คนบนโลกนี้ได้อย่างเพียงพอ”  สตาร์กล่าวต่อ  “โศกนาฏกรรมนี้เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาคนเป็นพ่อและแม่  และในครอบครัว  ที่แตกสลายเพราะความตาย ความโกรธ และความสะเทือนใจ แต่ความ  เจ็บปวดนี้ไปไม่ถึงคนที่มีอ�ำนาจ” “ช่องว่างระหว่างความเข้าใจและการกระท�ำห่างไกลกันมาก” สตาร์  กล่าว “ไม่ใช่แค่บุรุษหรือสตรีที่เป็นผู้น�ำประเทศ  แต่ยังมีผลประโยชน์  ที่อยู่เบื้องหลัง  แม้เจ้าหน้าที่จะเข้าใจดีว่าประชาชนในประเทศก�ำลังจะ  ตาย แต่พวกเขาอาจไม่มีอ�ำนาจที่จะเปลี่ยนความเป็นจริงของพลังที่ทรง  อ�ำนาจในประเทศของตน เพราะต้องอาศัยพลังงานมหาศาลและเป็นเรื่อง  โหดร้าย  ฉันคิดว่าเราต้องยอมวิ่งชนกับระบบ เราต้องเป็นดอน กิโฆเต้  มันจ�ำเป็นจริงๆ เพราะถ้าไม่เช่นนั้น...” เธอยักไหล่  ถ้าไม่เช่นนั้น...สิ่งที่  อาจเกิดขึ้นย่อมมิอาจจินตนาการได้ ตอนที่ฉันและสามีไปอินเดียเมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1980 ฉันไปดูการท�ำงาน  ของฟาเตห์  ซิงห์  ราธอร์  เพื่อนของเรา ซึ่งตอนนั้นเป็นผู้อ�ำนวยการภาค  สนามของโครงการอนุรกั ษ์เสือสาริสกา สัง่ การคนงานอย่างมัน่ ใจให้เปลีย่ น  เส้นทางน�้ำไหล  ภายใต้ค�ำสั่งของเขา ทีมงานรับภารกิจสุดโหดในการ  28 ปัญญา ชีวิน แปล


บังคับให้แม่น�้ำไหลไปตามเส้นทางใหม่ใต้เทือกเขาอราวาลี  ตอนแรก  ฉั น งุ น งงกั บ ความพยายามของเขา  ฟาเตห์   ซิ ง ห์ ม าจากตระกู ล นั ก รบ  หมู่บ้านของเขาไม่มีแม่น�้ำที่ไหลตลอดปี เรียกได้ว่าเขาเป็นคนจากทะเล  ทราย คนที่เดินทางบนหลังอูฐผ่านเนินทรายเพื่อไปเข้าพิธีแต่งงานของ  ตน  แต่เขาก�ำลังจะเปลี่ยนเส้นทางของสายน�้ำ ครั้งแรกที่ดูการท�ำงานของฟาเตห์  ซิงห์  ฉันเริ่มตระหนักว่าคนที่  อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ที่ ข าดแคลนน�้ ำ มั ก ท� ำ อะไรด้ ว ยความระมั ด ระวั ง   พวกเขา  จ�ำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น  เรามีโอกาสกลับไปเยือนราชสถานบ่อยครั้งหลัง  จากนั้นอีกหลายปีและสังเกตผลกระทบของงานที่เขาท�ำไว้  แม่น�้ำที่ถูก  เปลี่ยนเส้นทางและแอ่งน�้ำที่ขุดใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งน�้ำผ่านท่อใต้ดิน  ป้อนให้แอ่งน�้ำอื่นๆ ท�ำให้มีน�้ำทั่วถึงกว่าเดิมทั่วทั้งเขตอนุรักษ์  ต้นไม้  และพืชพันธุ์เติบโตบนผืนดินที่ครั้งหนึ่งเป็นป่าละเมาะที่แห้งผาก  รูปแบบ  การผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าเปลี่ยนไป  กวางดาว กวางป่า  นิลกาย (วัวสี  น�้ำเงิน) และเสือดาวที่หากินในพื้นที่นี้มีประชากรเพิ่มขึ้น  การเปลี่ยน  เส้นทางของน�้ำอย่างชาญฉลาดช่วยเปลี่ยนชีวิตในเขตอนุรักษ์สาริสกา  ระหว่างเยือนอนาโตเลียซีกตะวันออกเฉียงใต้เมื่อทศวรรษที่แล้ว  ฉันเห็นการพลิกแผ่นดินเพื่อด�ำเนินโครงการใหญ่ยักษ์ที่มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า  แก๊ป (GAP) ซึ่งประกอบด้วยเขื่อน 22 แห่งตามล�ำน�้ำไทกริส-ยูเฟรติส  ฉันเห็นแล้วก็อดทึ่งและวิตกกับผลกระทบมหาศาลจากการควบคุมน�้ำ  ไม่ได้  เห็นได้ชัดว่าเขื่อนเหล่านี้จะช่วยให้ผืนดินแห้งแล้งของตุรกีฟื้น  คืนชีพ  แต่ที่แน่ๆ มันจะท�ำให้แหล่งน�้ำที่จ�ำเป็นส�ำหรับซีเรียและอิรัก  เหือดหายไปด้วยตั้งแต่เห็นการขุดลอกผืนดินทั่วบริเวณเทือกเขาแถบ  อนาโตเลีย ฉันมีโอกาสพูดคุยกับหลายคน ทั้งวิศวกร นักการเมือง ชาวนา  ช่างก่อสร้าง นักอุทกวิทยา และนักอนุรักษ์ เพื่อหาค�ำตอบว่าพวกเขาคิด  เห็นอย่างไรกับการบริหารจัดการน�ำ้   ฉันพบว่าค�ำถามและค�ำตอบเกีย่ วกับ  ปัญหาเรื่องน�้ำมีอยู่ทั่วโลก และบางครั้งก็มาจากที่ที่ไม่คาดคิดด้วยซ�้ำ “ความท้าทายอยู่ที่การน�ำน�้ำไปยังจุดที่ต้องการ  และเลิกผลาญ  สงครามน�้ำ

29


น�้ำ”  จอยซ์  สตาร์กล่าวเสียงเบาว่า  “ระหว่างที่เราคุยกันอยู่นี้  ทะเลสาบ  อี ก แห่ ง ก็ ก� ำ ลั ง สาบสู ญ   จนกว่ า เราจะมี จุ ด ยื น ที่ ชั ด เจนในเชิ ง ปรั ช ญา  ปัญญา และการปฏิบัติบนหลักเศรษฐศาสตร์ของความอยู่รอด  เราท�ำ  ได้แค่ปิดแผลชั่วคราว แต่ยังไม่ได้แก้ปัญหา” เมื่อชุมชนขาดน�้ำ เขื่อนและคลองแห่งใหม่จะถูกสร้างขึ้น  เมื่อ  ประชาชนออกมาก่อจลาจลบนท้องถนนเพราะปัญหาเรื่องน�้ำ จะไม่มีค�ำ  ว่าราคาที่สูงเกินอีกต่อไป และความวิตกถึงผลกระทบใดๆ ก็จะไม่ถูก  ละเลย “เวลาได้ยินหลายๆ คนพูดว่าจะต้องท�ำอะไรสักอย่าง ก็ต้องรีบ  ท�ำทันที” เซอร์วิลเลี่ยม วิลล์ค็อกส์  นักสร้างเขื่อนตัวฉกาจกล่าวไว้เมื่อ  ช่วงเปลี่ยนสู่ศตวรรษที่  20 “แน่ใจได้เลยว่าจะมีการท�ำอะไรบางอย่าง  ที่โง่เขลา” เราไม่อาจท�ำเรื่องโง่เขลาได้อีกต่อไป  เราใช้ทรัพยากรน�้ำจืดที่ม ี อยู่ในอัตราที่ล�้ำหน้ากว่าการเติบโตของประชากร  เรื่องการบริหารจัดการ  น�้ำได้ดีแค่ไหนกลายเป็นปัญหาความเป็นความตายเร่งด่วนยิ่งกว่าที่เรา  เตรียมตัวไว้  แรงกดดันยิ่งมาก เราก็ยิ่งต้องตัดสินใจให้ดี  เพราะมัน  ส�ำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจว่าอะไรได้ผล หรือไม่ได้ผล และท�ำไมจึง  เป็นเช่นนั้น

30 ปัญญา ชีวิน แปล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.