ปากกาเงิน ณรงค์ จันทร์เรือง
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๖
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ จากใจผู้เขียน
๗ ๙
๑. ไปศิริราช ๒. หมัดดินระเบิด ๓. บ่อนแตก ๔. บ้านนักเขียน ๕. ละครนักเขียน ๖. ดาราจ�ำเป็น ๗. เมานม ๘. คืนเฉียดคุก ๙. สิทธิ์-หน้าขาว
๑๓ ๒๒ ๓๑ ๓๙ ๔๗ ๕๕ ๖๓ ๗๑ ๗๙
๑๐. ปากกาชนปืน ๑๑. วรรณอ�ำ ๑๒. อ�ำโหด ๑๓. อ�ำขาด ๑๔. อ�ำกระจาย ๑๕. อ�ำได้อ�ำเอา ๑๖. หักเขี้ยวมังกร ๑๗. อุบัติโหด ๑๘. ฝืดไปหมด ๑๙. ไฟไหม้ฟ้า ๒๐. อยากอ�ำจริงๆ
๘๘ ๙๗ ๑๐๗ ๑๑๖ ๑๒๕ ๑๓๔ ๑๔๓ ๑๕๑ ๑๖๐ ๑๖๘ ๑๗๗
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ปากกาเงิน
หากจะเอ่ยอ้างว่าบทประพันธ์ทั้งหลายล้วนเกิดจากจินตนาการของ 7 นักเขียน ค�ำตอบจากถ้อยสงสัยนั้นอาจถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เนื่องจาก นักเขียนส่วนใหญ่ผ่านการประพันธ์งานจากประสบการณ์ชีวิตมาก่อน ทั้งสิ้น ด้วยช่วงชีวิตของคนคนหนึ่งล้วนพบเห็นเรื่องจริงที่เข้ามามากมาย ยิ่งหลายคนจากหลายเส้นทางก็ยิ่งหลากหลายมุมมอง แม้จะอยู่ในฐานะ ใกล้เคียงกัน เป็นนักหนังสือพิมพ์หรือท�ำงานในโรงพิมพ์เหมือนกัน แต่ เมื่อสัมผัสความรู้สึกที่แตกต่าง ย่อมมีวิธีมองโลกที่แตกต่างกัน นักเขียนอาวุโสนาม “ณรงค์ จันทร์เรือง” ผู้ผ่านสนามสิ่งพิมพ์มา แล้วนับไม่ถ้วน จึงหยิบยกประสบการณ์ชีวิตของนักเขียนอาวุโสทั้งรุ่นพี่- รุ่นน้อง-รุ่นเดียวกัน น�ำมาเรียบเรียงลงในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ก่อน จะรวมพิมพ์อยู่ในหนังสือ “ปากกาเงิน” โดยเนื้อความที่ท่านผู้อ่านก�ำลังถืออยู่ในมือเล่มนี้ ล้วนเป็นแง่คิด ในการมองโลกของนักเขียนวัยหนุ่ม วัยท�ำงาน รวมถึงใครอีกหลายคนที่ แม้จะยึดอาชีพอื่นแต่ก็ไม่ทอดทิ้งงานประพันธ์ ซึ่งผู้คนเหล่านั้นล้วน
ณรงค์ จันทร์เรือง
8
กร้านประสบการณ์ในการมองโลก แม้บางฉากชีวิตอาจถูกคั่นกลางด้วย โทสะ แต่อย่างน้อยก็เป็นประสบการณ์ชีวิตที่น�ำมาปรับใช้ในการเขียน เนื่องจากนักเขียนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนเรื่องบู๊หรือโรแมนติก ย่อมเก็บเกี่ยวสิ่งที่พบเห็นเพื่อให้ภาพชีวิตของตัวละครแจ่มชัดขึ้น แม้ ตัวตนของพวกเขาจะมิใช่นักบู๊เหมือนตัวละครที่สร้างขึ้นก็ตาม กระทั่งการร่วมวงสนทนาผ่านรสสุราเมรัย ถึงจะถูกคนทั่วไปพินิจ มองในด้านลบ แต่สิ่งเหล่านั้นก็มิใช่ข้อห้ามของปุถุชน ซ�้ำอาจน�ำเรื่องราว ในวงสนทนามาเรียงร้อยเป็นนวนิยายชั้นเลิศ กระทั่งผู้อ่านติดอกติดใจ ในรสชาติตัวอักษร ประเด็นเล็กน้อยที่ได้เอ่ยเป็นตัวอย่างล้วนชี้ให้เห็นว่านักเขียนก็ เป็นคนธรรมดา มิใช่เทวดาที่บงการชีวิตใคร พวกเขาบงการได้อย่างเดียว ก็คือตัวละครที่สรรค์สร้าง ซึ่งการก่อร่างตัวละครเหล่านั้นก็มิได้นั่งเทียน เขียนอยู่ที่โต๊ะเพียงอย่างเดียว หากแต่ได้น�ำรายละเอียดมาจากการเข้า สังคม เพราะการเรียนรู้ผู้คนในทุกรูปแบบย่อมน�ำไปสู่การขีดเขียนอย่าง วิจิตรบรรจง ซ�้ำบางชิ้นงานก็ได้กลายเป็นชีวประวัติหรือบทบันทึกอันทรง คุณค่า เพื่อให้ลูกหลานเรียนรู้และตระหนักถึงมานักต่อนักแล้ว ส�ำนักพิมพ์มติชน
จากใจผู้เขียน
ปากกาเงิน
อาชีพคนเขียนหนังสือย่อมผูกพันกับ “น�้ำหมึก” และ “ปากกา” มาแต่ 9 ไหนแต่ไร ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงจากปากกาไปสู่คอมพิวเตอร์ตามยุคสมัย แต่ก็ยังนิยมเรียกขานกันว่า คนเขียนหนังสือ หรือ “คนถือปากกา” อยู่ดี ผมยึดอาชีพนี้เลี้ยงครอบครัวมานานกว่ากึ่งศตวรรษ ย่อมจะมี โอกาสได้พบปะผู้มีอาชีพเดียวกันมากมาย ตั้งแต่รุ่นครูบาอาจารย์ รุ่นพ่อ รุน่ ลุง รุน่ พี ่ ลงมาถึงรุน่ ราวคราวเดียวกัน จนกระทัง่ รุน่ น้องและรุน่ ลูกหลาน รวมแล้วก็ต้องสรุปว่านับไม่ไหว คุณเสถียร จันทิมาธร เพื่อนผู้เสมือนญาติ ได้ชักชวนให้เขียนถึง ประสบการณ์ของผมกับนักเขียนอาวุโสที่สนิทสนม หรือรู้จักมักคุ้นกันใน มติชนสุดสัปดาห์เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว ในชื่อชุด “นักเขียนในอดีต” ใน ฐานะผู้เชื่อมต่อระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ในขณะนั้น มีจุดหมายเพื่อบันทึกถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงวรรณกรรมไทย ทั้ง ชีวิตและผลงานอันน่าเล่าสู่กันฟัง เพื่อมิให้เลือนรางจางหายไปกับกาล เวลา รวมทั้งยึดโยงคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ให้ผูกพันกันเท่าที่จะท�ำได้ อย่างน้อยก็ให้ความรู้ที่แผกต่างและกว้างขวางขึ้นตามสมควร
จาก “นักเขียนในอดีต” มาถึง “หมึกสีทอง” อันว่าด้วยประสบ การณ์ตรงของผม ตั้งแต่แรกริเป็นนักเขียนจนถึงปัจจุบันและชื่อคอลัมน์ ต่างๆ จนกระทั่งมาลงเอยที่ “มิตรน�้ำหมึก” ซึ่งส�ำนักพิมพ์มติชนได้รวบ รวมน�ำพิมพ์ในชุด “น�้ำหมึก” ๔ เล่ม กับ “หนุ่มเหน้าสาวสวย” ๑ เล่ม “ปากกาแก้ว” เล่มล่าสุดเป็นชุด “ปากกา” ตามด้วย “ปากกาเงิน” และจะต่อด้วย “ปากกาทอง” ซึ่งเป็นเล่มสุดท้ายในชุดนี้ ประสบการณ์ยาวนานที่ว่าก็คงจะรวบรวมได้เพียงเท่านี้เอง ขอขอบคุ ณ คุ ณ ขรรค์ ชั ย บุ น ปาน ผู ้ ส นั บ สนุ น ให้ มี ก ารรวบรวม ผลงานจากชุด “มิตรน�้ำหมึก” ออกมาในชื่อต่างๆ ถึง ๘ เล่มด้วยกัน สุ ด ท้ า ย ขอขอบคุ ณ ท่ า นผู ้ อ ่ า นซึ่ ง เมตตาให้ ข ้ า วให้ น�้ ำ คนเขี ย น หนังสือเล็กๆ อย่างผมมายาวนานกว่าห้าสิบปี หวังว่า “ปากกาเงิน” เล่ม นีค้ งจะให้ความเพลิดเพลินและความรูเ้ ล็กๆ น้อยๆ จากแวดวงวรรณกรรม ในอดีตจนถึงปัจจุบันได้ตามสมควร ขอขอบพระคุณครับ ณรงค์ จันทร์เรือง
10
ณรงค์ จันทร์เรือง กันยายน ๒๕๕๖
๑ ไปศิริราช
ปากกาเงิน
ว่ากันว่า นักเขียนนักหนังสือพิมพ์กับพวกสุรายาเมาน่ะเป็นของคู่กัน มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แถมแพร่หลายไปทั้งโลกอีกต่างหาก ไม่ใช่ว่าจะมึน 13 เมาเอิ๊กอ๊าก หรือหัวราน�้ำกันแต่ในเมืองไทยที่เดียวซะที่ไหน ไม่ว่ายุคก่อนหรือยุคหลัง การดื่มดวดย่อมมีทั้งเหล้าพื้นๆ ไปถึง เหล้านอกหรือเหล้าไทยสนนราคาย่อมเยา ที่ระบุบอกออกมาเลยว่า เหล้า ขาว, เชี่ยงชุน ไปยันยาดอง มนัส จรรยงค์ “เทพบุตรแห่งสวนอักษร” เคยบ่งบอกเป็นอมตะ วาจาไว้ว่า “กินเหล้าดีมันก็เมาดี น้องเอ๋ย” ส่วนมากอยากกินเหล้าดีๆ ทั้งนั้นแหละครับ แต่ว่ากระเป๋าเงินมัน ไม่ค่อยเอื้ออ�ำนวยนี่ซี ปัญหาใหญ่ยังไม่ถึงกับติดหนึบเป็นตังเมก็แล้วไป ไม่มีอะไรเดือดร้อน แต่ถ้ามีอาการจวนเจียนจะแอลกอฮอลิสซึ่ม ใครไม่ เคยเจอกับตัวเองก็นึกไม่ออกหรอกน่าว่ามันทนทุกข์แค่ไหน? ทีนี้จะเป็นเหล้าโรงหรือเชี่ยงชุนก็ไม่เป็นไร ขนาดยาดองของไม่เคย ชอบยามกระเป๋าหนักอึ้งน่ะ เดี๋ยวก็วูบหาย…วูบหาย ชนิด “แก้วขาว” จนแทบดูไม่ทันแน่ะ ขอบอก
ณรงค์ จันทร์เรือง
แต่ผู้อาวุโสบางท่านโก้หรูออกจากบ้าน ดวดดื่มวิสกี้โซดา หรือไม่ ก็สั่งเหล้าผสมที่เรียกว่าค็อกเทลคล่องปาก ไม่ใช่ว่ารู้จักแต่สิงคโปร์สลิง กับไหมไทยเท่านั้น แต่รอบรู้ขนาดเขียนคู่มือบาร์เทนเดอร์ได้ก็แล้วกัน ท่านที่ว่าน่ะ อยู่บ้านชอบนุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว ซดเหล้าโรงแกล้ม มะข้ามป้อมจิ้มเกลือ บางวันนึกขลังก็หิ้วขวดสุราเข้าครัว ทอดปลาอินทรี ผัดผักบุ้งแกล้มเหล้า ประเภทผัดไปชิมไป กับข้าวเสร็จเหล้าหมดขวด ทั้งเมาทั้งอิ่ม หลับสบายอย่าบอกใครเชียว เลียว ศรีเสวก เจ้าของนาม “อรวรรณ” “สุกัญญา” “กุลปราณี” นั่นปะไร! ไหนๆ ก็เล่าเรื่องนักเขียนกับยาดอง-ยองดามาแล้ว อย่ากระนั้น เลย ตอนนี้มาว่ากันเรื่องยาดองให้หมดสิ้นเลยดีกว่า ที่เคยรู้เคยเห็น เคย ประสบพบผ่านมาน่ะ ต่อไปจะได้เมาดี เอ๊ย! เล่าเรื่องญาติมิตรในแวดวง น�้ำหมึกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับยองดา-ยาดองแล้วละน่า 14 ไม่เหล้านอกเบียร์นอก ก็เปิดไวน์(นอก)ซดกันชุ่มฉ�่ำส�ำราญใจแล้ว นี่นา ยาดองนีค่ งจะมีมาหลายร้อยปีแล้วนะครับ พวกยาสมุนไพรทัง้ ต�ำรับ จีนต�ำรับไทยน่ะ เพราะสุราจะเป็นตัวเร่งให้สรรพคุณยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น มีทั้งชนิดดองในโหลออกสีแดงๆ กับยาผงหรือ “กษัยผง” ใส่สุราสีออก เหลืองๆ เหมือนยาหอม จะใช้เหล้าดับกลิ่นยา หรือใช้ยาดับกลิ่นเหล้าก็ยังไม่แน่นัก คนไม่ เคยเจอพอได้กลิ่นก็เบือนหนี แต่คนคุ้นเคยจนรักใคร่น่ะ ได้กลิ่นแล้วหอม หวานซ่านใจจนต้องกระดกแก้วรวดเดียวหาย…ส่งเสียงฮ่า…ออกมาอย่าง ผาสุก ยาดองจะมาจากไหนเมื่อไหร่ก็ช่างเถอะน่า เราไม่ได้ว่ากันถึงเรื่อง ประวัติยาดองนี่นา แต่เป็นประวัติของยาดองกับคนเขียนหนังสือต่างหาก เล่า เผลอๆ ก็มีคนชอบสุราไม่ค่อยเลือกชนิดอย่างผมกับลุงแจ๋ว (สง่า
ปากกาเงิน
อารัมภีร) มั่ง กับอาจวง (พรานบูรพ์) มั่ง เข้ามาคั่นจังหวะเล็กน้อย แต่ก็ ต้องไปลงเอยที่ยาดอง-ยองดาจนได้ละน่า! ร้านยาดองในกรุงเทพฯ ที่มีนักเขียนนักหนังสือพิมพ์ตั้งแต่รุ่นปู่มา ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานค่อนข้างจะมีมากมายหลายแห่งเอาการ ส่วนใหญ่จะ อยู่แถวบน ตั้งแต่ย่านโรงหนังศาลาเฉลิมกรุงไปถึงบ้านหม้อ ยันท่าเตียน ท่าช้างวังหลวงโน่นแน่ะ ขึ้นชื่อว่าเหล้ายาซะอย่าง เรื่องกับแกล้มเป็นของขาดไม่ได้อยู่แล้ว ถึงได้พูดกันติดปากว่า “เหล้ายาปลาปิ้ง” นั่นไงครับ ร้านยาดองบ้าน หม้อถึงจะไม่มีกับแกล้มขาย แต่อยากกินอะไรก็สั่งจากร้านข้าวต้มติดๆ กันได้สบายมาก จุดแรกๆ ก็ต้องยาดองร้านนายจั๊ว ตลาดบ�ำเพ็ญบุญ! ร้านนีล้ วกหอยแครงเด็ดขาดนัก เหมือนเอาใส่นำ�้ ร้อนปุบ๊ ก็ยกขึน้ ปับ๊ หอยตัวโตๆ เลือดแดงสดอาบจาน น�้ำจิ้มแบบหวานก็ใส่แบะแซกับถั่ว 15 ลิสงต�ำ แต่แบบเปรี้ยวรสแซบนี่เองที่ซาบซ่า ถูกคอสุราเหลือหลาย ถัดไปก็ร้านฮวดหลีที่สี่กั๊กพระยาศรี ตอนแรกขายทั้งเครื่องกระป๋อง กับเหล้านอก มีห้องเล็กๆ ส�ำหรับต้อนรับคอสุราโดยเฉพาะ ร้านนี้มีทั้งยาดองแบบใส่โหล ฝาจุกหุ้มแพรแดง ตวงขายเป็นก๊งๆ กับเหล้า “ขาว-เขียว” ที่เอาเหล้าโรง ๒๘ ดีกรี ผสมกับเหล้าเป๊ปเปอร์มินต์ สะระแหน่ส่งกลิ่นหอมฉุยยั่วน�้ำลายอย่าได้เอ็ดอึงไปทีเดียว “อรวรรณ” บอกว่า ถ้าจะกินเหล้ายาดองให้ถูกใจก็ต้องมาร้านนี้ เพราะมีมะขามป้อมของโปรดกับลูกสมอจิ้มเกลือช่วยให้ชุ่มคอดีนัก ผมเคยไปร้านยาดองที่สี่กั๊กพระยาศรีหลายครั้ง ส่วนมากจะยึด เอาเป็นสถานีสุดท้ายเพราะเปิดขายข้าวต้มกุ๊ยด้วย ยาดองก็ใส่ขวดป้อมๆ ขาย แถมตั้งโต๊ะเรียงรายบนบาทวิถีแถวสี่แยก บรรยากาศคึกคักเกือบ พอๆ กับตลาดโต้รุ่งแถวประตูน�้ำ หรือหน้าตลาดนานาบางล�ำพู พูดถึงบางล�ำพูก็เลยนึกถึงร้านยาดองนายท้ง หน้าตลาดทุเรียน ขึ้นมาพอดี! ร้านนี้ขายตั้งแต่เหล้าฝรั่ง เหล้าจีน ลงมาถึงยาดอง พวกมะขาม
ณรงค์ จันทร์เรือง
มะยม หรื อ มะม่ ว งดิ บ จิ้ ม เกลื อ แก้ ขื่ น คอที่ แ ถมฟรี น ่ ะ ถื อ ว่ า เป็ น เรื่ อ ง ธรรมดานะครับ ไม่ว่าร้านไหนๆ ก็มี แต่ร้านนายท้งเขามีกับแกล้มหลาย อย่าง ที่ขึ้นชื่อลือชานักหนาคือไข่เยี่ยวม้ากับขิงดอง ว่ากันว่านายท้งแกปรุงอาหารจานเด็ดนี่โอชะกว่าทุกแห่ง ใครได้ ชิมก็บอกกล่าวกันไปปากต่อปาก กลายเป็นกับแกล้มที่ร้านสุราอาหาร ทั่วไปจะมีติดเมนูไว้เป็นประจ�ำ เมื่อราว ๓๐ ปีก่อน ร้านเซเว่นโภชนาที่สี่แยกราชวัตรโด่งดังนัก หนา เมนูเด็ดก็คือไข่เยี่ยวม้ากับขิงดองนี่แหละครับ ตั้งชื่อให้ชวนพิศวง งงงวยส�ำหรับลูกค้าหน้าใหม่ แต่ขาประจ�ำจะรู้จักมักคุ้นดีในชื่อ “ไข่ด�ำ ขิงแดง” ร้านยาดองที่กลายเป็นต�ำนานตั้งแต่รุ่นนั้นคือร้านนายชิต แม้นศรี ร้านยาดองเย็นพานิช หน้าศาลเจ้าพ่อเสือ กับร้านยาดองปูส่ าครทีท่ า่ เตียน ขึ้นชื่อลือชาเรื่องห่อหมกหัวปลาช่อน ไม่ว่าจะแกล้มยาดองหรือแกล้ม 16 เหล้าก็เข้ากันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ยทั้งนั้นเลย พูดถึงเรื่องนี้ทีไรเป็นเปรี้ยวปากเปรี้ยวคอทุกที นักเขียนรุ่นพี่รุ่นน้า ๒-๓ คนก็ชวนเข้าไปแวะร้านยาดองหมอโชติที่แพร่งภูธรเข้าทันใด สง่า อารัมภีร, รวี พรเลิศ, ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ ผมรู้จักร้านนี้ ก็เพราะพี่เสิดเป็นคนชวนไปเปลี่ยนบรรยากาศ หลังจากดักดานอยู่แต่ ตลาดโต้รุ่งประตูน�้ำมาหลายเดือน ตั้งแต่ยังท�ำ “ขวัญจิต” รายสัปดาห์ อยู่ที่โรงพิมพ์เอเชีย ซอยติดกับโรงหนังพาราเมาท์เมื่อปี ๒๕๐๘-๒๕๐๙ โน่นแน่ะ รู้จักร้านนายจั๊วกับร้านนายเง่า ปากซอยพญาไม้ ล้วนแต่บารมีพี่ เสิดทั้งนั้น ไม่ตอ้ งบอกก็ได้นะครับว่ารุน่ พีร่ นุ่ น้อง ลงมาถึงรุน่ หลานอย่างผมน่ะ ไม่ค่อยเกี่ยงเรื่องเหล้ายาปลาปิ้งเท่าไหร่ ยกเว้นแต่ ๒๘ ดีกรีเพียวๆ ไม่มี กษัยผงดับกลิ่นนี่ขอยอม(แพ้)จริงๆ เอ้า!
เคยเห็นประเสริฐ จันด�ำ กับ สุรชัย จันทิมาธร ซดกันหน้าตาเฉย ผมลองเข้าไปอึกสองอึก ขนาดว่ากลั้นใจแล้วเชียวนา ยังได้กลิ่นดุเดือด สาหัสสากรรจ์…ติดจมูกมาถึงทุกวันนี้ ต้องขอเปลี่ยนเป็นเชี่ยงชุนค่อยลื่น คอขึ้นหน่อย ร้านหมอโชติวนั นัน้ พีเ่ สิดสัง่ ยาดองเบอร์ ๖ หรือ “ยาก�ำลัง” สรรพ- คุณแก้อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไม่มีก�ำลัง ก่อนที่เบอร์ ๑๑ จะมาแรงแซงทาง โค้ง เพราะเชื่อว่ากระดิ่งทองดองเหล้านี่มีสรรพคุณแก้ปัญหา “โรคเพศ เสื่อม” ชะงัดนักหนา ไม่งั้นจอมพลผ้าขาวม้าแดงจะเป็นสุลต่านในวิมานสี ชมพูอยู่ได้ยังไงตั้งหลายปี
สง่า อารัมภีร (คนซ้าย)
ลุงแจ๋วอาวุโสที่สุดในกลุ่ม ถือว่าเป็นรุ่นบุกเบิกรองจากรุ่นเหม เวชกร, “อรวรรณ”, มนั ส จรรยงค์ เ ล่ า ว่ า สมั ย ก่ อ นเคยมาซดยาดอง บ่อยๆ กับ ลมูล อติพยัคฆ์ พูดคุยกันถูกคอเข้า “ลุงโชติ” ก็ท�ำต้มย�ำปลา กรอบรสเด็ ด ให้ ซ ดกั น ตอนจบ หู ต าสว่ า งไสว แทบจะหายมึ น เมาเป็ น ปลิดทิ้ง “ลุงแจ๋วเรียกลุงโชติหรือครับ?” ผมสงสัย ขุนพลเพลงที่ตอนนั้นยัง ตัดผมทรงมหาดไทยก็ยิ้มมุมปาก “อาจวงแก่กว่าผม ๒๐ ปีพอดี ลุงโชติแก่กว่าอาจวง ๑๗ ปี จะไม่ ให้ผมเรียกลุงโชติได้ไงล่ะ หนู? แกขายยาดองอยู่ที่ถนนตะนาวมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๕ แน่ะ จนตึกแถวในแพร่งภูธรสร้างเสร็จถึงได้ย้ายมาอยู ่
ปากกาเงิน
17
ณรงค์ จันทร์เรือง
ที่นี่ ตอนหลังๆ มีต้มป่าปลาไหล ปลาหมอ ต่อให้หนาวแค่ไหนซดเข้าไป เป็นเหงื่อแตกพลั่กทันที” แล้วลุงแจ๋วก็เปรียบเทียบกับโง่วเกพ้วยแช่น�้ำร้อน ที่ร้านข้าวต้ม ราชวัตร ว่ามีสรรพคุณแก้หนาวพอฟัดพอเหวี่ยงกัน คนชอบกินเหล้าเมายา(ดอง)นี่มักจะไม่ค่อยแข็งแรงนัก ส่วนมาก เจ็บไข้ได้ปว่ ยง่ายเพราะหักโหมเกินไป หรือไม่กเ็ ป็นหวัดคัดจมูกเป็นประจ�ำ อย่างน้อยก็อีบัดอีโรยแทบจะลุกจากที่นอนไม่ไหว ใครชอบ “ถอน” ซะหน่อยตอนเช้าๆ มักจะติดนิสยั กลายเป็น “ปลูก” โดยไม่ตั้งใจ ซดเหล้าหน้าตาเฉยได้ตลอดวัน…หนักเข้าก็กลายเป็น “พ่อ หอมหึ่ง” ลมหายใจคล้ายกลิ่นละมุดสุกตลอดเวลา แถมยังแทบทุกวันอีก ต่างหาก เขาว่าเรียนผูกก็ต้องเรียนแก้! ตอนนี้ลองฟัง “สูตรลุงแจ๋ว” เพื่อ ถนอมสุขภาพคอสุรากันซะหน่อยเป็นไร! 18 ถึงจะไม่ได้พบกันในโรงพิมพ์หรือร้านเหล้ายา แต่ผมก็ได้พบลุงแจ๋ว เป็นประจ�ำราว ๓๐-๔๐ ปีมาแล้ว…ในงานศพไงครับ ผมไม่ค่อยชอบไปงานวันเกิดวันเงย งานแต่งงาน หรือแม้แต่งาน บวช โดยไม่ต้องยกเหตุผลมาอ้างให้เสียเวลา แต่ชอบไปงานศพญาติมิตร ทุกงานที่พอจะไปได้ ไม่เกี่ยวกับว่าญาติมิตร(ที่ยังอยู่น่ะซี)เขาจะเชิญ หรือไม่เชิญหรอกน่า แต่นึกอยู่ว่านี่เป็นครั้งสุดท้ายแล้วนะที่เราจะได้พบ กัน ขออโหสิต่อกัน…บอกกล่าวให้ไปดีมีสุขในโลกหน้าเถิด! นะๆ ถ้าเป็นงานศพของนักเขียน รับรองว่าได้เจอะเจอลุงแจ๋วแน่นอน! คืนสวดศพก็มักจะนั่งติดๆ กันโดยบังเอิญมั่ง ผมลุกไปหามั่ง ถ้า เป็นวันเผาก็มักยืนเข้าคิวไปวางดอกไม้จันทน์ใกล้ๆ กัน บางงานผมไปถึง ก็เห็นลุงแจ๋วเข้าแถว เอ๊ย! เข้าคิวอยู่แล้ว ปราดเข้าไปแซงคิวยืนข้างหน้า ลุงแจ๋วนัน่ แหละ ไม่มปี ญ ั หาอะไรหรอกครับเพราะรูจ้ กั เกือบทัง้ แถวอยูแ่ ล้ว ส่วนมากสะกิดกันดูแล้วอมยิ้ม คงจะเคยเห็นเราท�ำอะไรแบบนี้ บ่อยๆ ละมั้ง
ปากกาเงิน
“ไอ้โอ่งกับไอ้อ่างเป็นไงมั่งล่ะ?” ลุงแจ๋วถามถึงลูกชายผมตามเคย ก่อนจะควักขวดแบนๆ ออกมารินใส่ฝาจุกส่งให้ ผมรับมากระดกวาบ ร้อน วูบชนิดลงไปถึงไหนรู้หมดเพราะตอนเย็นๆ ก�ำลังท้องว่างพอดี “เมื่อคืนหนักหรือเปล่า หนู?” “หนักครับลุง กว่าจะโงหัวได้ก็เกือบเที่ยงแน่ะ” คืนฝาขวดให้เดี๋ยวเดียวลุงแจ๋วก็สะกิดไหล่ หันไปเจอกุ้งแห้งตัว โตๆ ที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นกับแกล้มวิเศษสุดยามนั้นน่ะ…อาการใจหวิวๆ ค่อยทุเลาลงทันใด จนนึกว่าน่าจะซื้อขวดใส่เหล้าแบบนี้มั่ง “ผมจะบอกสูตรลับให้นะ” ขุนพลเพลงหน้าเปื้อนยิ้ม “รับรองว่า หนักหรือดึกแค่ไหนก็ไม่เป็นไร ไม่มีปวดหัวหรือเมาค้าง รับประกันได้เลย” แถวขยับไปได้หน่อย ลุงแจ๋วก็ส่งบรั่นดีฝาที่สอง คราวนี้กับแกล้ม ยักกะสายเป็นถั่วลิสงคั่ว กว่าจะเก็บเสบียงกรังก็ปาเข้าไป ๓-๔ ฝา…ถึง บันไดขึ้นเมรุพอดี! สูตรลับสุดขีดของสง่า อารัมภีรที่ว่าคือ ก่อนนอนให้ดื่มน�้ำผึ้งแท้ 19 หนึ่งช้อนโต๊ะ เวลานอนต้องใช้ผ้าห่มคลุมเท้าทั้งสองข้างให้อบอุ่นไว้ หน้า หนาวก็ห่มทั้งตัว หน้าร้อนให้ “ห่มเท้า” ไว้ละกัน ส่วนหลับแล้วจะนอนดิ้น หรือ “นอนร้าย” จนผ้าห่มหลุดก็แล้วไป ไม่ต้องเคร่งครัดนักก็ได้ (ว่ะ) อุตส่าห์จดจ�ำสูตรเด็ดของลุงแจ๋วไปใช้ ได้ผลจริงๆ แฮะ อย่าท�ำ ล้อเล่นไป..แต่ไม่ช้าไม่นานก็ละเลยลืมเลือนไปจนได้ ผ่านไปเกือบ ๔๐ ปี แล้ว ตั้งใจว่าจะเริ่มต้นใหม่พรุ่งนี้แน่นอนครับ ลุงแจ๋วครับ! พ.ศ. ๒๕๑๒ คราวนี้ย้อนเวลาหาอดีตไป ๔๒ ปีเบาะๆ ละกัน เปิดฉากในร้านมิ่งหลี ชุมทางอาร์ตีสต์ละแวกหน้าพระลาน โต๊ะ ใหญ่ออกันอยูใ่ กล้ๆ ประตูดา้ นขวามือ สุวรรณี สุคนธา เป็นอนงค์นางหนึง่ เดียวในโต๊ะ มี ช่วง มูลพินิจ, พิจารณ์ ตังคไพศาล, อดุลพันธุ์ อิศราง- กูล ณ อยุธยา ฯลฯ และ “พีม่ า้ ” นิพทั ธ เทวัต จบสถาปัตย์ แต่ได้ดอ๊ กเตอร์ทางอารมณ์ ขันล้นเหลือเฟือฟาย เคยผลัดกันเล่าเดอร์ตี้โจ๊กคนละเรื่อง แต่ถ้ามีพี่ม้า
ณรงค์ จันทร์เรือง
ร่วมวงเมื่อไหร่ คนอื่นๆ ไม่ต้องเสียเวลาเล่าตลกฝืดซ�้ำๆ ซากๆ ให้เพื่อน ฝูง(อุตส่าห์)หัวเราะงอกลิ้งงอหายก็ได้ พี่ม้าไม่ต้องเล่าเรื่องเดอร์ตี้โจ๊กอะไรหรอกครับ แค่มองหน้าพี่ม้า เฉยๆ คนเส้นตื้นก็ปล่อยกี๊กแล้วละน่า ผิวขาว หน้ากลมผสมเหลี่ยม ผมน้อย ตาโต จุดที่โดดเด่นของพี่ม้า คือฟันบนซี่โตๆ แผ่กว้าง ห่างกันทุกๆ ซี่ก็ว่าได้ เพื่อนฝูงไม่ต้องเสียเวลา ไปอ�ำไปแซวปมด้อยของพีม่ า้ ให้เสียเวลา เพราะพีม่ า้ จัดการให้เรียบร้อย… ทั้งอ�ำทั้งแซวตัวเอง เพราะถือว่าเป็นปมเด่นที่คนอื่นไม่มีน่ะซี! สุวรรณี สุคนธา หรือ “พี่แต๋ว” ของคนทั้งโต๊ะ ก�ำลังเล่าเรื่องโดน ผีหลอกที่ถนนสุโขทัยตอนดึก คืนนั้นพี่แต๋วกับผมไปดูหนังด๊อกเตอร์ชิวาโก ด้วยกันที่สยามสแควร์ ขับรถกลับมาไกลแล้วเพิ่งนึกได้ว่าท�ำกระดุมทอง ของแม่ในห่อผ้าเช็ดหน้าหาย ย้อนกลับไปดูที่ห้องท�ำงานก็ไม่เจอ ตอนแรกว่าจะตัดใจกลับบ้าน 20 แวะส่งผมที่บางโพ แล้วเลยไปในซอยใกล้ๆ วัดสร้อยทอง แต่พอมาถึง สามเสนผมดันยุให้ลองกลับไปหาที่โรงหนังอีกที หางตั๋วก็ยังอยู่ เผลอๆ ก็อาจจะตกหล่นอยู่แถวนั้นแหละน่า อย่าล้อเล่นไป
สุวรรณี สุคนธา
เป็นอันว่าเลี้ยวออกถนนสุโขทัย ข้ามคลองเปรมฯ ก่อนจะเลี้ยว ขวาเข้าถนนสวรรคโลกก็โดนผีหลอกจังเบอร์ เป็นนายสิบทหารมายืนหัว ห้อยอยู่ข้างบังโกลนด้านขวา เล่นเอาร้องด่ากันระงม…พอออกรถได้ก็ไม่ เห็นมีใครสักคนเดียว ทั้งสองฟากถนนน่ะ
ปากกาเงิน
ไหนจะโดนผีหลอก ไหนจะของรักหาย ไปหาที่โรงหนังก็ไม่เจอ… เรื่องนี้เราผลัดกันฉายบ่อยหนในวงเหล้า ทั้งตื่นเต้น หวาดเสียว ปนเศร้า แถมขนหัวลุกอีกต่างหาก พี่แต๋วขอให้ผมไปเป็นเพื่อนจนถึงบ้านราวสองยาม แถมบอกว่า กลัวผีเพราะเพิ่งแทงกันตายในร้านเหล้าหน้าบ้านคืนก่อนนี้เอง…ผมต้อง เดินกลับในซอยที่เปลี่ยวจนผีแทบไม่กล้ามาเดินก็แล้วกัน กว่าจะถึงถนน ใหญ่แทบหัวใจวายไปเลย…แค้นพี่แต๋วซะไม่มี “ใบหนาด” ไม่เขียน “สุวรรณีเจอผี” ก็ใจเย็นเกินไปแล้ว งานนี้น่ะ! คืนนั้น ช่วง มูลพินิจ สะกิดผมออกจากมิ่งหลีราวสองทุ่มเศษ เรื่อง เงินทองไม่ต้องห่วง เพราะพี่แต๋วเป็นเจ้าภาพจงเจริญอยู่แล้ว…เลี้ยวขวา ไปทางท่าช้าง บอกว่า…เราไปศิริราชกันดีกว่า เปลี่ยนบรรยากาศซะมั่ง ไม่ต้องเอะอะโวยวายว่าเพื่อนฝูงเป็นอะไรไป? หรือโรงพยาบาลน่ะ มีอะไรน่าอภิรมย์ชมชื่นถึงกับจะไปเปลี่ยนบรรยากาศที่นั่น…เพราะพ้น ก�ำแพงสูงๆ มาได้ก็ข้ามถนนไปที่หลังศาลารอรถเมล์ที่ท่าช้างวังหลวงเข้า 21 ทันใด ตึกเก่าแก่สมัยพระเจ้าเหา ด้านหน้ามีเสาต้นใหญ่ๆ ผมเคย เข้าไป ๒-๓ ครัง้ แล้ว เพิง่ สังเกตป้ายหน้าประตูรา้ นว่า “ศิรริ าชโภชนา” แต่ขายยาดองน่ะซีครับ พับผ่า!