กระดูกทองคำ

Page 1


กระดูกทองค�ำ


Thai language translation rights belong to Matichon Publishing House Arrange with Harper, an imprint of HarperCollins Publishers 10 East 53rd Street, New York, NY. 10022, USA through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.


กระดูกทองค�ำ ศรีจันทร์ ศิวะ  เขียน เสาวณีย์ นิวาศะบุตร  แปล

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557


กระดูกทองคำ� • เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล

จากเรื่อง Golden Bones: An Extraordinary Journey from Hell in Cambodia to a New Life in America ของ Sichan Siv  Copyright © 2008 by Sichan Siv. All rights reserved. Thai Language Copyright © 2014 by Matichon Publishing House. All rights reserved. พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม 2557 ราคา  240  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ศิวะ, ศรีจันทร์. กระดูกทองคำ�. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 376 หน้า. 1. ศรีจันทร์ ศิวะ  2. ทูต-ชีวประวัติ I. เสาวณีย์ นิวาศะบุตร, ผู้แปล  II. ชื่อเรื่อง 923.2 ISBN 978 - 974 - 02 - 1261 - 4 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์  วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : เฉลิมพล แพทยกุล • พิสูจน์อักษร : ทรงชัย บุญส่งรุ่งเรือง กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์  • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล ค�ำน�ำส�ำหรับกระดูกทองค�ำ ฉบับภาษาไทย ค�ำน�ำ ค.ศ. 2006

7 9 12 14 25

ภาคแรก กัมพูชา ตอนที่หนึ่ง ความใฝ่ฝันและความหวัง บทที่ 1 โปเจินตง บทที่ 2 สวรรค์หาย บทที่ 3 พระนคร บทที่ 4 ของดีสี่อย่าง บทที่ 5 ยุคซิกซ์ต ี้ บทที่ 6 ดวงจันทร์

31 32 40 46 54 63 89

ตอนที่สอง สงครามและสันติภาพ บทที่ 7 ชีวิตใต้คมดาบ บทที่ 8 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บทที่ 9 ปีแห่งสันติภาพโชกเลือด

101 102 114 126


บทที่ 10 วันศุกร์ที่ 13 ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์

170

ภาค 2 อเมริกา ตอนที่สาม อิสรภาพและการเอาตัวรอด บทที่ 11 นิวอิงแลนด์ บทที่ 12 นิวยอร์ก บทที่ 13 เท็กซัส

197 198 219 255

ตอนที่สี่ ในนามของประธานาธิบดี บทที่ 14 41 และ 41 บทที่ 15 ท�ำเนียบขาว บทที่ 16 อเมริกัน บทที่ 17 กลับสู่กัมพูชา

269 270 280 288 305

ตอนที่ห้า ในนามของสหรัฐอเมริกา บทที่ 18 หลักการ บทที่ 19 คนดี คนเลว คนร้าย บทที่ 20 เอกอัครราชทูต บทที่ 21 การเดินทาง บทที่ 22 ปีสองพันหก

319 320 330 336 341 347

362 365 366

ค�ำขอบคุณ ประวัติผู้ประพันธ์ เชิงอรรถ


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

น้อยครั้งที่เราจะได้รับรู้เรื่องราวของกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติเขมรแดง ซึ่งนับว่าเป็นประวัติศาสตร์อันโหดร้ายและขมุกขมัวมากที่สุดหน้าหนึ่งของ โลก และโดยมาก เรามักจะได้เห็นภาพของเหตุการณ์ในแต่ละช่วงแค่เพียง สรุปในบทเรียนเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน มากกว่าจะเป็นภาพประวัติ ศาสตร์ผ่านคนตัวเล็กๆ ที่ผจญเหตุการณ์จริงในสมัยเขมรแดงแล้วมีชีวิต รอดมาเล่าต่อให้เราได้รู้  กระดูกทองค�ำเป็นส�ำนวนเขมรแปลว่า “ผูม้ บี ญ ุ วาสนา” ศรีจนั ทร์ ศิวะ ในวัยเด็กเคยได้รบั ค�ำท�ำนายจากหมอดูวา่  เขาจะได้เดินทางไกล จะประสบ ความส�ำเร็จ แต่ต้องผ่านความยากล�ำบากเหลือคนานับเสียก่อน สีจันใน ตอนนั้ น คงไม่ มี ท างจิ น ตนาการออกว่ า ชะตากรรมของเขาจะพลิ ก ผลั น ขนาดไหน  เรื่องราวชีวิตของสีจัน ศีว์ จะช่วยเปิดมุมมองหายากให้เราได้เห็น เรื่องราวชีวิตของชายคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์โดยตรง ตั้งแต่ วัยเด็กของเขาในกัมพูชาก่อนการปฏิวัติเขมรแดง การหนีเอาชีวิตรอดจาก 7

กระดูกทองค�ำ


กระทะทองแดงของระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ลี้ภัยไปเริ่มชีวิตใหม่ จากศูนย์ในสหรัฐอเมริกาดินแดนแห่งเสรีภาพ กระทั่งประสบความส�ำเร็จ จนเป็นชาวเขมรคนแรกทีไ่ ด้ด�ำรงต�ำแหน่งทูตสหรัฐฯ ประจ�ำสหประชาชาติ  นอกจากกระดูกทองค�ำเผยให้เห็นชีวิตของคนในกัมพูชาในช่วงการ ปฏิวัติเขมรแดงที่หาทางรับรู้ได้ยาก เรายังจะได้เห็นชีวิตของมนุษย์ธรรม ดาๆ คนที่เคยมีครอบครัว มีความสุข มีชีวิตเปี่ยมความหวังสุขใส แต่ แล้วต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เดิมพันด้วยชีวิต ความทุกข์ยากและความ เข้าใจกันในห้วงเวลาแห่งความรุนแรงและยากล�ำบาก ตลอดเวลานั้น เขา ยึดมั่นในค�ำสอนของแม่เป็นสรณะคือ อย่าสิ้นหวังในชีวิตแม้จะล�ำบาก เพียงใดก็ตาม นี่คือชีวิตของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ที่ประวัติศาสตร์ทั่วไปไม่อาจ ฉายแสงให้เห็นแง่มุมเช่นนี้ได้ ด้วยความผูกพันลึกซึ้งกับประเทศไทย ในฉบับแปลเล่มนี้ ผู้เขียน ถึงกับเขียนค�ำน�ำให้เป็นกรณีพิเศษ และขอให้ใช้ชื่อของตนเป็นภาษาไทย ว่า “ศรีจันทร์ ศิวะ” บนปกและในส่วนค�ำน�ำ ตามที่สื่อและนิตยสารไทย หลายฉบับเคยสัมภาษณ์เขาขณะมาเยือนไทย  อย่างไรก็ดี ส่วนเนื้อหาของฉบับแปลตลอดเล่มจะคงการถอดชื่อ แบบภาษาเขมรว่า “สีจัน ศิว์” ไว้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องทั้งหมด รวมถึงรักษาบรรยากาศของวัฒนธรรมเขมรไว้เพื่ออรรถรสในการอ่าน ส�ำนักพิมพ์ขอขอบคุณ ผศ.ดร.ศานติ ภักดีค�ำ แห่งคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ช่วยกลั่นกรองและให้ค�ำแนะน�ำ การตรวจทานชื่อและค�ำในภาษาเขมรต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อให้หนังสือ มีความสมบูรณ์ถูกต้องมากที่สุด หนังสือเล่มนี้อาจช่วยให้เราได้เห็นชีวิตของมนุษย์คนอื่นๆ ท่าม กลางความสับสนวุ่นวายได้ชัดเจนขึ้น ส�ำนักพิมพ์มติชน 8

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


ค�ำน�ำผู้แปล

กระดูกทองค�ำเป็นอัตชีวประวัตขิ องศรีจนั ทร์ ศิวะ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐ อเมริกาประจ�ำสหประชาชาติ ผู้หนีนรกเขมรแดงในกัมพูชาไปสร้างตนจน ประสบความส�ำเร็จอย่างภาคภูมิในสหรัฐอเมริกา ศรีจันทร์ ศิวะเล่าเรื่องชีวิตด้วยส�ำนวนเรียบง่ายชวนติดตาม ผู้อ่าน จะรู้สึกเสมือนได้ร่วมเดินทางชีวิตไปกับผู้เขียน  จากเด็กชายแสนซนสู่เด็ก หนุ่มนักฝันใฝ่รู้ แล้วย้อนเวลาไปในประวัติศาสตร์อันยาวนานและอารย ธรรมอันรุ่งเรืองของเขมรโบราณ  มาจนถึงยุคเขมรแดงอันหฤโหด การ หลบหนีจากค่ายนรกในกัมพูชามาสู่ค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย การสูญเสีย บุคคลผู้เป็นที่รัก ตลอดจนความมุ่งมั่นสร้างชีวิตใหม่อย่างเสรีชน   ตลอดเส้นทางชีวิตอันเหลือเชื่อนี้ นอกจากจะได้รับรู้ถึงความทุกข์ ยากแสนสาหัสและการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดแล้ว ผู้อ่านจะซาบซึ้งไปกับ ความรักในครอบครัว ความใฝ่ฝันของเด็กหนุ่ม และความหวังของชายผู้ สูญสิ้นทุกอย่าง เหลือเพียงค�ำสอนของมารดาเป็นดวงประทีปน�ำชีวิต ความยากในการแปลกระดูกทองค�ำอยูท่ กี่ ารถอดเสียงค�ำภาษาเขมร 9

กระดูกทองค�ำ


จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งผู้แปลคงจะท�ำไม่ส�ำเร็จหากไม่ ได้รับความกรุณาจาก ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา แห่งภาควิชาภาษาตะวัน ออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ผศ.ดร.ศานติ ภักดีค�ำ แห่งคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้สละเวลาให้ค�ำ แนะน�ำและตรวจสอบการเขียนค�ำเขมรเป็นค�ำไทยอย่างถูกต้อง  นอกจาก นี้ผู้แปลยังได้อาศัยเกร็ดความรู้ต่างๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ แปลกระดูกทองค�ำ จากหนังสือเรื่องเที่ยวปราสาทหิน ยลถิ่นกัมพูชา โดย ศาสตราพิชาน ล้อม เพ็งแก้ว และอาจารย์ นิพัทธ์พรเพ็งแก้ว ที่ท่านทั้ง สองกรุณามอบให้  ผู้แปลจึงขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงมา ณ ที่ นี้ด้วย หวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน และแรงบันดาลใจจากวิถี ชีวติ ของบุรษุ ผู้มี “กระดูกทองค�ำ” และขอให้ทกุ ท่านจงมีชวี ติ ทีเ่ พียบพร้อม ด้วยความรัก ความฝัน ความหวัง และ... “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จงอย่าสิ้นหวัง” (แม่)                                                                                      เสาวนีย์ นิวาศะบุตร

10

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล



ค�ำน�ำ ส�ำหรับ

กระดูกทองค�ำ ฉบับภาษาไทย

ผมขอขอบคุ ณ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นที่ จั ด พิ ม พ์ อ นุ ทิ น ชี วิ ต ของผม เรื่ อ ง “กระดูกทองค�ำ” เป็นภาษาไทย ความผูกพันต่อประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อผมไปเที่ยวประเทศไทย ครั้งแรกในปี 1959  พี่สาวคนโตพาผมข้ามชายแดนกัมพูชาไปเที่ยวอรัญ ประเทศเมื่อผมอายุ 11 ปี และก็หลงเสน่ห์เมืองไทยทันที ไม่ว่าจะทั้ง อาหารไทย ภาษาไทย และดนตรีไทย ฤดูใบไม้ผลิปี 1976 หลังจากหนีตายจากทุ่งสังหารในกัมพูชาชนิด แทบเอาชีวิตไม่รอด  ผมอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่อรัญประเทศ สอนภาษา อังกฤษให้เพื่อนผู้ลี้ภัย และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่นั่นด้วย  ในฤดู ร้อนปีเดียวกันนั้นเอง ผมเดินทางออกจากประเทศไทยไปเริ่มชีวิตใหม่ใน สหรัฐฯ แต่ก็ไม่ได้ขาดการติดต่อกับประเทศไทยเสียทีเดียว  ครอบครัว ที่รับดูแลผมในรัฐคอนเน็คติคัตก็เคยอยู่เมืองไทยในช่วงทศวรรษ 1960 และท�ำอาหารไทยเก่งมาก ในทศวรรษ 1980 ผมเดินทางกลับมาไทยหลายครัง้  เพือ่ เยีย่ มเยียน 12

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


เพื่อนฝูงและเยือนค่ายผู้ลี้ภัย  เป็นเวลาหลายปีที่ผมเข้าใกล้บ้านเกิดได้ มากสุดแค่ประเทศไทยเท่านั้น ประเทศไทยจะตราตรึงในส่วนลึกสุดของดวงใจผมตลอดไป  ผม พบอิ ส รภาพที่ นี่  อุ ป สมบทเป็ น พระที่ นี่   และที่ ป ระเทศไทยนี่ เ องที่ ผ ม ขอมาร์ธา ภรรยาผมแต่งงานเมื่อวันที ่ 24 มิถุนายน 1983 ไม่ว่าผู้อ่านจะมีเชื้อชาติ วัฒนธรรม หรือนับถือศาสนาใด ผมเชื่อ ว่าท่านคงรู้สึกคุ้นเคยกับเหตุการณ์บางช่วงบางตอนในกระดูกทองค�ำบ้าง เพราะกระดูกทองค�ำเป็นเรื่องของมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ถูกจ� ำกัดโดยเชื้อ ชาติ ศาสนา หรือยุคสมัย  มันเป็นเรื่องของศรัทธา ความรักต่อครอบครัว มิตรภาพ และเสรีภาพ ผมขออุทศิ กระดูกทองค�ำฉบับภาษาไทยนีแ้ ด่ชาวไทยทุกคน ตลอด จนผู้ที่รักประเทศไทยทั้งหลาย   ขอขอบคุณส�ำหรับความทรงจ�ำล�้ำค่าดุจทองค�ำ ศรีจันทร์ ศิวะ

13

กระดูกทองค�ำ


ค�ำน�ำ

ผมต้องใช้เวลาถึงสามสิบปีกว่าจะตกลงใจเขียนเรื่องกระดูกทองค�ำ  หลังจากผมมาถึงอเมริกาเมือ่ วันที่ 4 มิถนุ ายน 1976  ทุกครัง้ ทีผ่ ม แนะน�ำตนเอง มักจะมีคนถามว่าผมจะเขียนหนังสือหรือไม่  ต่อมาค�ำถาม ก็กลายเป็นเมื่อไรผมจึงจะเขียนหนังสือเสียที  บางคนถึงกับถามว่าจะหา ซื้อหนังสือผมได้ที่ไหนบ้าง  บางคราวผมก็จะตอบไปข�ำๆ ว่า ยังเหลืออีก สองสามบท แรกๆ ผมยังลังเล เพราะไม่อยากนึกย้อนกลับไปยังอดีตที่แสน เจ็บปวด ตอนนั้นผมก�ำลังมุ่งหน้าจะสร้างชีวิตใหม่  ถึงกระนั้น ระหว่าง ที่ผมเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกก็ยังมีคนถามค�ำถามนั้นอยู่ เรื่อยๆ  เวลาผ่านไป ผมก็เริ่มเข้าใจว่า ประโยชน์จากการบอกเล่าเรื่องราว ชีวิตของผมนั้นมีค่าเหนือความโศกเศร้าอันไม่จีรังทั้งปวง  ดังนั้น ในวันที่ 1 มีนาคม 2006 ผมจึงเริ่มลงมือเขียน ผมเริ่มเขียนกระดูกทองค�ำในปี 2006 และจบในปีเดียวกัน  แม้ หนังสือจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์กว่าสองพันปีที่ผ่านมา แต่เหตุการณ์ 14

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


ส�ำคัญของเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบ ถึงในสิบปีแรก ของศตวรรษที่ ยี่ สิ บ เอ็ ด   หนั ง สื อ เล่ ม นี้ แ บ่ ง เป็ น สองภาค ได้ แ ก่  ภาค กัมพูชาและภาคอเมริกา  ภาคแรก “กัมพูชา” แบ่งเป็นตอนตามช่วงเวลา ซึ่งจะสะท้อนความทรงจ�ำของผม  ส่วนภาคสอง “อเมริกา” นั้นไม่ได้แบ่ง ตามช่วงเวลา เพื่อด�ำเนินเรื่องโดยไม่มีกรอบเวลาก�ำกับ  ไม่ว่าคุณท�ำอะไรหรืออยู่ที่ไหนขณะพลิกอ่านกระดูกทองค�ำ ผม เชื่อว่าคุณจะรู้สึกคุ้นกับเหตุการณ์บางตอนได้บ้าง  เพราะถึงอย่างไร นี่ เป็นเรื่องของมนุษย์คนหนึ่งเหมือนๆ กัน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้พบกันอีกในไม่ช้า  จนกว่าจะถึง วันนั้น ผมขอให้คุณมีจิตใจที่เปี่ยมความฝัน ดวงใจเปี่ยมความหวัง พร้อม ด้วยสติปัญญาที่จะสานฝันและความหวังทั้งปวงของคุณให้เป็นจริง   ศรีจันทร์ ศิวะ ซานอันโตนิโอ   วันที่ 4 มิถุนายน 2008

15

กระดูกทองค�ำ


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงฉายภาพร่วมกับเอกอัครราชทูตศรีจันทร์ ศิวะและภรรยา


พี่ซีชุน ขณะเป็น ร้อยต�ำรวจโท, 1963

งานแต่งงานของ พี่ซีชุนกับพี่ปึว, 1965

พี่ซีชุนหลังกลับจาก รัฐแอละบามา, 1973

พี่ซัน ชวน,  กิชอร์ มาห์บุบานี,  ผม, ซ็อมณางและเจ้าบ่าว, พี่ซารินและพี่ซีชุน, 1973 ทุกคนถูกฆ่าตายหมด  เหลือเพียงกิชอร์  ซ็อมณาง  และผม


รองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน และภรรยา พร้อมด้วยพระธิดาของสมเด็จพระสีหนุ ขณะเยือนนครวัด เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม, 1953 (ห้องสมุดประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน)

ขณะสอนภาษาอังกฤษที่ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่ง ฤดูใบไม้ผลิ 1976


ยังคงเสียขวัญหลังจากต้องตกอยู่ใน ขณะเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นรกของกัมพูชาหนึ่งปี  ฤดูใบไม้ผลิ 1976 - ประเทศไทย ฤดูใบไม้ผลิ 1976

คริสต์มาสปี 1976 ถ่ายกับแนนซี่,  บ๊อบ, จูเลีย และปีเตอร์ ชาร์ลส์ - เมืองวอลลิ่งฟอร์ด, รัฐคอนเน็คติคัต

จูน แม็กนัลดี, มาร์นี ดอว์สัน, ผม, แนนซี่ ชาร์ลส์, และมาร์ธา - เมืองวอลลิ่งฟอร์ด, 1988


ใบอนุญาตขับรถแท็กซี่ส�ำหรับคนขับมือใหม่ที่สุดในนครนิวยอร์ก, 1977

ถ่ายพร้อมเพื่อนร่วมชั้นในมหาวิทยาลัย โคลัมเบีย ขณะไปเยือน กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.,  1981

โคบาลฝึกหัดในเขตเท็กซัส แพนแฮนเดิล, 1982


ประธานาธิบดีเรแกน และรองประธานาธิบดีบุช ในพิธีสัปดาห์แห่ง ชาติที่ถูกยึดครองครั้งที่สามสิบ ที่โรส การ์เด้น, ท�ำเนียบขาว วันที่ 13 กรกฎาคม 1988, (ห้องสมุด ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน)

เพื่อนร่วมงาน OPL – Office of Public Liaison ฝ่ายประสาน งานด้านมวลชนสัมพันธ์ – ถ่ายในห้องท�ำงานของผม, 1989 (เคน เรแกน)

แลรี่ อีเกิลเบอร์เกอร์ กับผม ในการประชุมสหประชาชาติ, นครเจนีวา, 1989


ผู้น�ำชาวอเมริกันเชื้อสายโปลิชเข้าพบประธานาธิบดีบุช ณ ห้องรูปไข่ (Oval Office) ท�ำเนียบขาว, วันที่ 14 มีนาคม 1990. จากซ้ายมือของท่านประธานาธิบดี: โรเบิร์ต แบล็ค เวลล์, ผม, มาร์ลิน ฟิทซ์วอเตอร์ (ห้องสมุดประธานาธิบดีจอร์จ บุช)

ขณะปราศรัยในฐานะตัวแทนของ สหรัฐอเมริกา, 1001-2006 (สหประชาชาติ)

ประธานาธิบดีบุชก�ำลังดูรูปช้างบนผ้าซับใน เสื้อนอกของผม  (ท�ำเนียบขาว)


แสนจะระทึกใจ ขณะที่เครื่องบินเข้าน่านฟ้าของกัมพูชา ในการเดินทางกลับบ้านเกิดเป็นครั้งแรก

ผมห่มผ้าคลุมไหล่ (ผ้าขาวม้า) ของแม่ ขณะถวายผ้าไตร แด่พระสงฆ์ ที่วัดโตนเลบาตี ที่ผมเกือบตายที่นั่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 1975  พระกันตสีโล จากรัฐอินเดียน่า มองอยู่

มาร์ธาและข้าราชการกัมพูชา ที่สนามบินโปเจินตง บ้านเกิด ของผมอยู่ห่างจากที่นี่ไม่ถึงหนึ่งไมล์


มาร์ธาชอบรับประทานแตงโม นั่นท�ำให้เราได้ค้นพบข้อมูลส�ำคัญ

ญาติพี่น้องของคนขับรถบรรทุกนั่งบน ขั้นบันไดของเรือนทรงเขมร

ขบวนแห่งานฉลองวันชาติ ปี 2006 ที่เมือง แคนาเดียน, รัฐเท็กซัส : ประเทศนี้ช่าง สวยงามจริงๆ


ค.ศ. 2006

เดือนที่หนึ่ง วันที่สิบเจ็ด วั น ที่  17 มกราคม 2006 มี เ หตุ ก ารณ์ ส� ำ คั ญ อย่ า งหนึ่ ง เกิ ด ขึ้ น พร้อมกันในบอสตัน ฟิลาเดลเฟีย ลอนดอน ปารีส และพนมเปญ  นั่น คืองานฉลองครบรอบ 300 ปีชาตกาลของเบ็นจามิน แฟรงกลิน เบ็นจามิน แฟรงกลินเกิดในบอสตัน แต่สร้างตนจนประสบความ ส�ำเร็จมีชอื่ เสียงโด่งดังในฟิลาเดลเฟีย ทัง้ เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ นายไปรษณีย์ นักวิทยาศาสตร์ และรัฐบุรุษ  เบ็นจามิน แฟรงกลินเป็นชาวอเมริกันเพียง คนเดียวที่มีบทบาทในเอกสารส�ำคัญทั้งหมดในช่วงก่อตั้งประเทศของ อเมริกา  เขาได้ออกเดินทางไปกรุงลอนดอนในฐานะตัวแทนชาวอาณา นิคมอังกฤษ และไปกรุงปารีสในฐานะเอกอัครราชทูตคนแรกของสหรัฐฯ มีการเฉลิมฉลองวาระแห่งประวัติศาสตร์นี้พร้อมกันทุกแห่ง  ในเมือง ฟิลาเดลเฟีย ศูนย์รัฐธรรมนูญแห่งชาติที่ตั้งอยู่ถัดจากหออิสรภาพเปิด นิทรรศการ “เบ็นจามิน แฟรงกลิน:เพื่อแสวงหาโลกที่ดีกว่า”  จากนั้น 25

กระดูกทองค�ำ


นิทรรศการนี้ถูกจัดแสดงต่อในเมืองเซนต์หลุยส์ ฮิวสตัน เด็นเวอร์ และ แอตแลนต้า ก่อนจะปิดงานในปารีส แล้วพนมเปญเล่า? ตอนเบ็นจามิน แฟรงกลินเกิดในปี 1760 นั้นยังไม่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นมหาอ�ำนาจเพียงสองประเทศในโลก  กัมพูชาที่ ครั้งหนึ่งเคยเป็นราชอาณาจักรทรงอ�ำนาจก็ก�ำลังเสื่อมอ�ำนาจอย่างต่อ เนื่องมาสองสามร้อยปีแล้ว ในงานฉลองวันครบรอบ 300 ปีชาตกาลของเบ็นจามิน แฟรงกลิน ผมและมาร์ ธา ภรรยาของผมได้ รั บ เชิ ญ เป็ น แขกผู ้ มี เ กี ย รติ ใ นพิ ธีเ ปิ ด สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำกรุงพนมเปญ สถานทูตแห่ง แรกที่สร้างหลังเหตุการณ์ 9/111 โดยใช้ “มาตรฐานการออกแบบสถานทูต ใหม่” ซึ่งถือเป็นต้นแบบส�ำหรับการก่อสร้างสถานทูตอื่นๆ ของสหรัฐฯ ใน อนาคต  สถานทูตแห่งนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดพนม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง หนึ่งของเมืองหลวงกัมพูชา  วัดนี้สร้างในปี 1432 ก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกาถึงหกสิบปี ระหว่างพิธีการเปิดสถานทูต ใจผมก็ลอยกลับไปสู่อดีต-เริ่มจาก การกลับมาเยือนกัมพูชาครั้งที่แล้ว ในเดือนตุลาคม 2004 หนึ่งสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งชิงต�ำแหน่ง ประธานาธิบดีระหว่างจอร์จ ดับเบิลยู. บุช กับจอห์น เคอร์รี่  ตอนนั้น มาร์ธากับผมพักอยู่ในโรงแรมในเมืองเล็กซิงตัน รัฐเคนตั๊คกี้  จู่ๆ เสียง กริ่ ง โทรศั พ ท์ ก็ ดั ง ขึ้ น  เจ้ า หน้ า ที่ ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก ารแห่ ง กระทรวงการต่ า ง ประเทศสหรัฐฯ โอนสายจากกรุงวอชิงตันมาให้ผมรับสองสาย  เจ้าหน้าที่ อาวุโสผู้ร่วมงานของผมเสนอแนะให้ผมเดินทางไปกัมพูชา เพื่อร่วมพิธี บรมราชาภิเษกกษัตริย์องค์ใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้านโรดม สีหนุแห่งกัมพูชาเสด็จขึ้นครอง ราชย์ในปี 1941 ตรงกับช่วงทีป่ ระธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ บริหาร ประเทศในท�ำเนียบขาว  พระเจ้านโรดม สีหนุทรงสละราชสมบัติเนื่องจาก 26

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


พระพลานามัยไม่สมบูรณ์  คณะองคมนตรีได้เชิญพระราชโอรสองค์เล็ก เจ้าสีหมุนี ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป   ขณะที่ผมก�ำลังชมพิธีการต่างๆ อันเป็นราชประเพณีเก่าแก่ที่ย้อน หลังไปได้ไกลถึงศตวรรษที่สิบอยู่ในท้องพระโรงนั้น  ผมรู้สึกเป็นเกียรติ อย่างยิ่งที่ได้เป็นตัวแทนจากต่างประเทศเพียงคนเดียวที่มาไกลจากต่าง แดน  ตัวแทนจากประเทศอืน่ ๆ ล้วนเป็นเอกอัครราชทูตประจ�ำกรุงกัมพูชา ทั้งนั้น  เสียงรัวกระหึ่มของกลองใบมหึมาเร้าใจผมให้หวนคิดย้อนวันเวลา อันยาวนานกลับไปสู่… ...วัยเยาว์ของผม

27

กระดูกทองค�ำ


ภาคแรก

กัมพูชา


กาลครั้ ง หนึ่ ง นานมาแล้ ว  ณ มุ ม หนึ่ ง อั น ไกลโพ้ น ของโลก มี ดิ น แดน  โบราณแห่งหนึ่งที่ได้รับพรจากพระเจ้าให้มีแผ่นดินอันอุดมและผืนน�้ำ  อันสมบูรณ์  พลเมืองล้วนเป็นช่างฝีมือ ผู้สรรค์สร้างมหานครอันยิ่งใหญ่  ที่สุดในโลกในยุคก่อนอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นสหัสวรรษแรก  ตลอดหนึ่ง  พันปีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่หกถึงสิบหก ผู้คนเหล่านี้สร้างศิลปวัตถุ  มากกว่าอารยธรรมอื่นใดทั้งสิ้น  ต่อมาดินแดนแห่งนี้กลายเป็นอาณาจักร  ทรงอ�ำนาจ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ตลอดจนการเมืองแห่ง  ภูมิภาค  แต่ในศตวรรษที่สิบห้า อาณาจักรแห่งนี้เริ่มเสื่อมอ�ำนาจลง  ใน  ระยะห้าร้อยปีต่อมา จึงต้องดิ้นรนเอาตัวรอดจากเพื่อนบ้านสองประเทศ  ที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ การตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอ�ำนาจยุโรปช่วงศตวรรษที่สิบเก้า ช่วย  ป้องกันอาณาจักรแห่งนีม้ ใิ ห้ถกู กลืนหายไปโดยสิน้ เชิง ต้องใช้เวลาถึงเก้าสิบ  ปี อาณาจักรโบราณแห่งนี้จึงได้เกิดใหม่เป็นประเทศเอกราชอีกครั้ง มีค�ำท�ำนายไว้ว่า ประเทศเกิดใหม่นี้จะต้องประสบความเดือดร้อน  วุ่นวายติดต่อกันหลายครั้ง กว่าจะได้กลับสู่เส้นทางแห่งความรุ่งเรืองดัง  ในอดีต จะมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงดุเดือดถึงขั้นเลือดท่วมท้องช้าง หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงราวสามปี เด็กชายคนหนึ่งถือ  ก� ำ เนิ ด ในครอบครั ว ของลู ก สาวผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด  และสามี ข องนาง  สารวัตรต�ำรวจประจ�ำหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึง่ ในดินแดนโบราณแห่งนี ้  เด็ก  คนนั้ น เป็ น บุ ต รคนสุ ด ท้ อ ง เขาเกิ ด ปี กุ น  พุ ท ธศั ก ราช 2490 ในคื น  พระจันทร์เต็มดวง หมอดูท�ำนายให้พ่อแม่ผู้มีความสุขของเด็กน้อยฟังว่า ชะตาของ  เด็กคนนี้เปรียบดั่งหมูคาบแก้ว  ตามต�ำนานแล้วดวงแก้วจะท�ำให้หมูตัว  นั้นได้ข้ามน�้ำ ข้ามทะเล ข้ามขุนเขาล�ำเนาไพร จนได้ไปถึงดินแดนอันไกล  โพ้นและสูงลิบ ตราบเท่าที่หมูยังคาบแก้วอยู่ในปาก มิฉะนั้นก็จะประสบ  กับความทุกข์ยากแสนสาหัส  แต่เนือ่ งจากน�ำ้ นมของมารดาเด็กน้อยนัน้ มีคา่   เขาจะเติบโตขึ้นเป็นผู้มีบุญวาสนา หรือที่เรียกว่าบุรุษผู้มีกระดูกทองค�ำ!  เด็กชายน้อยคนนั้นก็คือผมเอง

30

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


ตอนที่หนึ่ง

ความใฝ่ฝันและความหวัง 1948-1970

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จงอย่าสิ้นหวัง แม่ (1913-1975)


บทที่ 1

โปเจินตง

ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโปเจินตง ประเทศกัมพูชา เป็นเพียง หมู่บ้านเล็กๆ เงียบสงบ มีประชากรประมาณหนึ่งร้อยคน  โลกที่เขียว  ชอุ ่ ม ร่ ม รื่ น แสนสงบสุ ข แห่ ง วั ย เยาว์ ข องผมนี้  เป็ น ทั้ ง ศู น ย์ ร าชการของ  กรุงพนมเปญ และเป็นที่ตั้งของสนามบินส�ำคัญของราชอาณาจักรด้วย  การปกครองของกั ม พู ช าแบ่ ง ออกเป็ น จั ง หวั ด  (เขต-Khet) อ� ำ เภอ  (ซรก-srok) ต�ำบล (คุม-khum) และหมู่บ้าน (ภูมิ-phum)  ข้าราชการ  พลเรือนระดับนายอ�ำเภอที่สังกัดในจังหวัดกนดาล จังหวัดที่เราอาศัย  อยู่ มักจะได้เลื่อนต�ำแหน่งขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และต่อไปอาจได้  เป็นรัฐมนตรี บางคนก็ได้ก้าวไปถึงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี  การได้ด�ำรง  ต�ำแหน่งส�ำคัญในกรุงพนมเปญและในจังหวัดกนดาล ถือได้ว่าเป็นเส้น  ทางสู่อ�ำนาจสูงสุดของเขมรในช่วงทศวรรษ 1940-1950 ในยุคนั้น โปเจินตงยังไม่มีไฟฟ้าหรือน�้ำประปา เราต้องขนน�้ำมา  จากสระใกล้ๆ บ้าน บางครั้งก็มีรถบรรทุกน�้ำมาแจก และยามค�่ำคืนเรา  ต้องใช้เทียนกับตะเกียงน�้ำมันก๊าด 32

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


พ่อผม ศิว์ ช�ำ (ชาวเขมรจะเขียนนามสกุลก่อนชื่อตัว) เกิดในปี  ค.ศ. 1909 ที่ เ มื อ งโตนเลบาตี   ซึ่ ง เป็ น ซรกหรื อ อ� ำ เภอหนึ่ ง ในจั ง หวั ด  ตาแก้ว  พ่อผมเป็นสารวัตรต�ำรวจ ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่าเจ้าหน้าที่รักษา  ความปลอดภัยระดับซรกพนมเปญ  แม่ผมชื่อเจีย อูน เกิดในวันที่ 13  เมษายน 1913 หรือวัน ปีใ หม่ เขมร  บิดาของแม่ห รือตาของผมชื่อซก  เจี ย  เป็ น ผู ้ ว ่ า ราชการก�ำ ปงโสม  แม่ จ� ำ ได้ ว ่ า เวลาตาถู ก ย้ า ยไปประจ�ำ  เมืองอื่น ทั้งครอบครัวต้องขี่ช้างเดินทางกันเป็นวันๆ  แม่มีรูปร่างสันทัด  ตัดผมสั้น ใบหน้างามสงบเสงี่ยมเปี่ยมด้วยรักและเมตตาเสมอ  ผมไม่  ทราบว่าเพราะเหตุใดพ่อแม่จึงตั้งชื่อลูกทุกคนขึ้นต้นด้วยอักษรสอ ใน  ภาษาเขมร หรือตัวเอส ในภาษาอังกฤษ  เด็กรุ่นลูกรุ่นหลานก็ได้แต่ท�ำ  ตามกันมา ถ้านับตามมาตรฐานชาวเขมรแล้ว ครอบครัวเรานับว่าเป็นครอบครัว  ขนาดเล็ก  ผมเป็นลูกคนสุดท้องในจ�ำนวนพีน่ ้องสีค่ น  ผมมีพสี่ าวสองคน  คนโตชื่อซาริน เกิดวันที่ 21 มีนาคม 1933  พี่สาวคนรองชื่อซารุน ผมจ�ำ  วันเกิดของพี่ซารุนไม่ได้ รู้แต่ว่าเธอเกิดปี 1935  พี่ชายผมชื่อซีชุน เกิด  วันที่ 31 ตุลาคม 1941 ปีที่เจ้าชายสีหนุเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์  กัมพูชาในวัย 18 พรรษา  ต่อมาภายหลังเจ้าชายพระองค์นี้จะเป็นชาว  กัมพูชาที่โด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ  พี่ซีชุนของผมยังบังเอิญเกิดวัน  เดียวกับวันคล้ายวันประสูติของพระเจ้าสีหนุอีกด้วย  ส่วนผมเกิดปีกุน  พ.ศ. 2490 ตามปฏิทินเขมร ตามธรรมเนียมเขมร วันที่ 12 เมษายนเป็น  วันสิ้นปี และปีใหม่จะเริ่มต้นในวันที่ 13  ดังนั้น ถ้านับตามปฏิทินของชาว  ตะวันตก ผมก็เกิดในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1948  ในปี   1953 ผมเข้ า เรี ย นในโรงเรี ย นประถมโปเจิ น ตง  ปี นั้ น พี ่ ซารุน พี่สาวคนรองของผมมีอายุสิบแปดปี และแต่งงานกับข้าราชการ  กระทรวงการคลัง  สองปีต่อมา พี่ซาริน พี่สาวคนโตมีอายุยี่สิบสองปี ก็  แต่งงานกับนายทหารบก  การแต่งงานของพี่สาวทั้งสองเป็นการแต่งงาน  ที่ผู้ใหญ่จัดหาคู่ให้ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ยังยึดถือกันในกัมพูชามา  จนทุกวันนี้ แม้จะน้อยลงกว่าเดิมแล้วก็ตาม  33

กระดูกทองค�ำ


ชีวิตในโปเจินตงเหมือนอยู่ในแดนสวรรค์  ผมมีพ่อแม่และครอบครัว  ระดับชนชั้นกลางสูงที่คอยรักและห่วงใย  ผมจึงสุขสบาย ไม่มีเรื่องต้อง  กังวลแต่อย่างใด ทั้งการเรียนและการเล่นไปด้วยกันได้ดีทั้งคู่  ผมเติบโต  ขึ้นมากับเพื่อนๆ จากครอบครัวและฐานะต่างกัน  พ่อแม่ของเด็กบางคน  เป็นชาวบ้านธรรมดา บ้างก็เป็นพ่อค้า นายทหาร นายต�ำรวจ และข้าราชการ  พวกเราเด็กประถมมักพากันไปว่ายน�้ำไล่จับเป็ดในบึงใกล้สถานีรถไฟ หรือ  ไม่ก็ใกล้ๆ รันเวย์สนามบิน  ใครจับเป็ดได้จะเป็นผู้ชนะจนกว่าเป็ดจะ  หลุดมือ  ผมยังจ�ำได้ว่า วันหนึ่งผมและเพื่อนพากันไปเล่นน�ำ้ ไล่จับเป็ดในบึง  ผมจับเป็ดได้แล้ววิ่งเท้าเปล่าเนื้อตัวล่อนจ้อนไปตามถนนฝุ่นฟุ้ง มีเด็กๆ  อีกกลุ่มวิ่งไล่ตามเสียงโหวกเหวก  ผมวิ่งผ่านพี่ชายที่ก�ำลังเล่นฟุตบอล  กับเพื่อนๆ ในสนามใกล้ๆ  เขาร้องตะโกนว่า “เฮ้ คะนี! จะวิ่งไปไหนน่ะ  มีตัวอะไรห้อยต่องแต่งตรงหว่างขาแน่ะ”  ผมหยุดวิ่งทันทีแล้วก้มดูว่ามี  อะไรห้อยที่หว่างขา เจ้าเป็ดตัวนั้นก็เลยหลุดมือไป นอกจากพี่ชายผมแล้ว ก็มีอีกไม่กี่คนที่เรียกชื่อเล่นผมแบบนี้  มัน  ไม่มีความหมายอะไรหรอก แค่ฟังน่าเอ็นดูในภาษาเขมร  ถ้าคนอื่นเรียก  ผมจะไม่ขานตอบ นอกจากพ่อ แม่ พี่สาว พี่เขย และลุงป้าของผมเท่านั้น  ผมและเพื่อนๆ รู้จักท�ำของเล่นกันเอง เอาดินเหนียวมาปั้นเป็น  สัตว์ (เช่น ช้าง ม้า) เป็นผลไม้ (เช่น กล้วย ส้ม มะม่วง และฟักทอง)  เรา  ปั้นรถเมล์ รถบรรทุก และลูกกระสุนส�ำหรับหนังสติ๊ก  เราท�ำหนังสติ๊กเอง  จากกิ่งต้นฝรั่งที่เป็นง่าม แล้วก็ฝึกยิงต้นไม้หรือสัตว์ต่างๆ ที่เพ่นพ่านอยู่  แถวนั้นจนเก่ง ก่อนจะเล่นสวมบทพระเอกกับผู้ร้ายสู้กันจริงๆ ในเกม  โจร-กิน (jor-kin) ซึ่งก็คือโปลิศจับขโมย หรือคาวบอยกับอินเดียนแดง  ในแบบเด็กเขมร  ในเมื่อผมเป็นลูกต�ำรวจ ก็เป็นธรรมดาที่ผมอยากจะ  เล่นเป็นต�ำรวจผู้ผดุงความยุติธรรม  แต่พวกเพื่อนๆ ไม่ยอม และมัก  จะให้ผมเล่นเป็นผู้ร้าย เป็นคนป่าเถื่อนอัปลักษณ์ เป็นฝ่ายอธรรมที่ต้อง  วิ่งหนี หาที่แอบตามต้นไม้หรือพุ่มไม้ใหญ่ๆ  เมื่อผู้ร้ายถูกพบ ก็จะต้อง  ต่ อ สู ้ ป ้ อ งกั น ตั ว ด้ ว ยหนั ง สติ๊ ก จนกว่ า กระสุ น จะหมดและยอมมอบตั ว  34

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


โดยดี  แต่ผมมักจะเอาตัวรอดได้ จนพวกที่ตามจับต้องยอมแพ้เสมอ เรายังแข่งขันท�ำว่าวกันด้วย  ยิง่ โตขึน้  ว่าวของเราก็ยงิ่ มีลวดลายซับ  ซ้อนขึ้น ที่ไม่เคยได้ลองท�ำก็มีแต่ว่าวแคลงแอก2 (kalaeng aek)  มันเป็น  ว่าวตัวมหึมาที่ส่งเสียงไพเราะราวเสียงดนตรี เวลาส่งว่าวขึ้นฟ้าต้องใช้  ผู้ใหญ่วิ่งถึงสองสามคน  เมื่อว่าวติดลม มันจะลอยขึ้นสูงลิบนานเป็น  ชั่วโมงๆ บางทีก็ติดลมตลอดคืน  เสียงหวีดหวิวไพเราะนุ่มนวลของมัน  เกิดจากการต้านลมของลิน้ ไม้ไผ่ทเี่ หลาจนบางแล้วเสียบตรงหัวว่าว  เสียงนี ้ สามารถลอยตามลมจากหมู่บ้านหนึ่งไปจนถึงอีกหมู่บ้านหนึ่งได้แล้วแต่  ทิศทางลม ในยามค�่ำ เราฟังข่าวและดนตรีจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง  ชาติที่ออกอากาศวันละสองสามชั่วโมง ในทศวรรษ 1950 กัมพูชาได้ต้อนรับผู้น�ำประเทศต่างๆ ทั่วโลก  ที่มาเยือนราชอาณาจักรที่เพิ่งได้เอกราชหมาดๆ แห่งนี้  โดยเฉพาะอย่าง  ยิ่งมาเพื่อชมสถาปัตยกรรมเก่าแก่แสนมหัศจรรย์ของพระนคร เช่น ดั๊ก  ฮัมมาโชลด์3, เยาวหราล เนห์รู, ซูการ์โน, โจว เอินไหล และคนอื่นๆ อีก  มาก  ทุ ก ครั้ ง ที่ แ ขกบ้ า นแขกเมื อ งมาเยื อ น พวกเราเด็ ก นั ก เรี ย นจาก  โรงเรียนประถมโปเจินตง จะถูกเกณฑ์ไปให้การต้อนรับที่สนามบิน  เรา  จึงมักเป็นพวกแรกๆ ที่ได้ต้อนรับบุคคลส�ำคัญต่างชาติเหล่านั้น  เราแต่ง  เครื่องแบบนักเรียนตามปกติ เด็กผู้ชายสวมกางเกงสีกากี เสื้อเชิ้ตสีขาว  เด็กผู้หญิงนุ่งกระโปรงสีกรมท่าและเสื้อสีขาว  ทางโรงเรียนพาเราไปตั้ง  แถวที่ส นามบิน  และยืน เรีย งรายกัน ตามถนนจากท่ า อากาศยานจนถึง  หมู่บ้าน คอยโบกธง ตบมือ ร้องตะโกน และชูแผ่นผ้าผืนยาวเขียนค�ำ  ต้อนรับ  พวกเราสนุกสนานกันทุกครั้งที่ได้ออกนอกห้องเรียน หลังแขกบ้านแขกเมืองออกจากสนามบินหมดแล้ว ผมและพรรค  พวกก็หันมาเล่นตะครุบนก กีฬาสุดโปรดของเรา  เราจะถอดเครื่องแบบ  นักเรียนออกหมด แล้วกระโจนตัวล่อนจ้อนลงในน�้ำโคลน ไล่ตะครุบนก  อะไรก็ได้ที่เจอ  บ้านผมอยู่ห่างจากสนามบินไม่ถึงไมล์ ผมจึงคุ้นเคยกับ  35

กระดูกทองค�ำ


เครือ่ งบินมาแต่เด็ก  เสียงเครือ่ งบินก�ำลังร่อนเข้าสู่สนามบิน เป็นสัญญาณ  ให้ผมและพรรคพวกวิ่งเข้าสนามไปไล่กวดเครื่องบินเมื่อล้อแตะพื้น  จะ  ว่าไปแล้ว พวกเรานี่แหละคือคณะต้อนรับผู้โดยสารชุดแรกอย่างไม่เป็น  ทางการ ช่วงหกปีที่เรียนชั้นประถม ผมสนใจเรียนประวัติศาสตร์กัมพูชา  มากกว่าวิชาอื่น  ในวันที่ 30 ตุลาคม 1953 ขณะที่ผมเรียนอยู่ชั้นประถม  หนึ่ง รองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน และภรรยามาเยือนเมืองพระนคร  นั่นเป็นการมาเยือนครั้งประวัติศาสตร์ ที่ท่านรองประธานาธิบดีต้องร�ำลึก  ถึงในอีกสี่สิบปีต่อมา  ประเทศกัมพูชาโดยการน�ำของพระเจ้าสีหนุ ได้รับ  เอกราชจากฝรั่งเศสด้วยเวลาเพียงสิบวันหลังการเยือนของรองประธานา  ธิบดีนิกสัน  ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับฝรั่งเศสนั้น ด�ำเนินมา  อย่างยาวนานนับย้อนหลังไปได้ถึงหนึ่งศตวรรษ เมื่อนักองค์ด้วง4 เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาใน  ปี 1841 นั้น พระองค์ทรงมีพระชนมายุสี่สิบกว่าพรรษา  ในรัชสมัยของ  พระองค์ กัมพูชาค่อนข้างสงบเรียบร้อย หลังผ่านเหตุการณ์วุ่นวายครั้ง  สยามและญวนต่อสู้แย่งชิงกันครอบครองกัมพูชา  เนื่องจากทรงเกรงว่า  กัมพูชาจะถูกกลืนโดยประเทศเพื่อนบ้านที่เข้มแข็งกว่า นักองค์ด้วงจึง  ทรงเริ่มติดต่อพระเจ้านโปเลียนที่สาม ในเดือนพฤศจิกายน 1853 เพื่อ  ขอความคุ้มครองจากฝรั่งเศส  นักองค์ด้วงสวรรคตก่อนจะได้รับค�ำตอบ  จากฝรั่งเศส  พระองค์นโรดม ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อ  จากพระราชบิดาในปี 1859  ฝรั่งเศสใช้เวลาถึงสิบปีกว่าจะตอบค�ำขอของ  นักองค์ด้วง  ท้ายทีส่ ดุ ในเดือนสิงหาคม 1863 กัมพูชาก็กลายเป็นประเทศ  ในอารักขาของฝรั่งเศส อันที่จริงแล้วฝรั่งเศสมิใช่ชาวยุโรปชาติแรกที่มาเยือนกัมพูชา  ใน  ปี 1555 นักบวชนิกายโดมินิกันจากโปรตุเกสชื่อกาสปาร์ ดา ครูซ ได้  เดินทางมายังกรุงละแวก เมืองหลวงของกัมพูชาในตอนปลายรัชกาลของ  นักองค์จันที่หนึ่ง5  กาสปาร์ ดา ครูซอยู่ในกัมพูชาเพียงหนึ่งปีก็กลับไป  ในช่วงยี่สิบห้าปีหลังของศตวรรษที่สิบหก มีชาวยุโรปมาเยือนกัมพูชามาก  36

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


ขึ้น แต่มีเพียงสองคนเท่านั้นที่อยู่นานพอที่จะได้รับราชการถวายนักพระ  สัตถา6  คนแรกคือชาวโปรตุเกสชื่อดิเอโก เวโลโซ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น  เจ้าเมืองบริบูรณ์  อีกคนเป็นชาวสเปนชื่อบลาซ รุยซ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น   เจ้าเมืองเตรียง เพื่อเป็นการตอบแทนที่ทั้งสองรับใช้พระเจ้าแผ่นดินด้วย  ความจงรักภักดี ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบเจ็ด มิชชันนารีชาวสเปน กาเบรียล กีโรกา  เด ซาน อันโตนิโอ เกิดชอบใจก�ำปง หรือเมืองท่าริมแม่น�้ำของกัมพูชา จึง  กราบบังคมทูลพระเจ้าฟิลิปที่สองแห่งสเปน ให้เข้ายึดครองราชอาณาจักร  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนั้นเป็นเมืองขึ้น  เมื่ออ่านประวัติศาสตร์  ถึง ตอนนี้ทีไ ร ก็อ ดพิศ วงไม่ ไ ด้ ทุ ก ทีว ่ า  ผมเกือ บจะได้ เ ติบ โตขึ้น มากับ  ภาษาสเปนแทนภาษาฝรั่งเศสเสียแล้ว ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาที่สอง (ครองราชย์ ค.ศ. 1618-1628)  ทรงสร้างพระราชวังหลวงขึ้นที่เมืองอุดงค์7 ซึ่งต่อมาได้เป็นเมืองหลวง  ของกัมพูชานานสองร้อยปีถึง ค.ศ. 1817 พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ  เจ้าหญิงญวน  และในปี 1623 พระองค์มีพระราชานุญาตให้ราชส� ำนัก  แห่งกรุงเว้ ย้ายมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ของกัมพูชาโกรม  (Kampuchea Krom) หรือกัมพูชาตอนล่างในดินแดนสามเหลี่ยมลุ่ม  แม่น�้ำโขง  เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาสวรรคต ดินแดนของกัมพูชาตั้งแต่เมือง  ไพรนคร8 จนถึงชายแดนเก่าติดอาณาจักรจามปาก็ถูกชาวญวนครอบครอง  จนหมดสิ้น ปี 1636 คณะทูตจากฮอลแลนด์ได้เปิดสถานทูตขึ้นที่กรุงอุดงค์  มีนายเฮนดริก ฮาเก็นฮารร์ เป็นเอกอัครราชทูต  ฮอลแลนด์จึงเป็นชาติ  แรกในยุโรปที่เริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ตลอดศตวรรษที่สิบแปด กัมพูชาต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของ  ประเทศ  กษัตริย์กัมพูชาหลายพระองค์ต้องคอยส่งเครื่องบรรณาการ  ให้กับสยามหรือไม่ก็ญวน  ดังนั้น ราชส�ำนักกัมพูชาจึงมีความขัดแย้งและ  การล้างแค้นกันอย่างไม่จบสิ้น  จนกระทั่งราวกลางศตวรรษที่สิบเก้า เพื่อ  เป็นการรักษาหน้าแก่ทุกฝ่าย นักองค์ด้วงถูกขอร้องให้ส่งบรรณาการแก่ทั้ง  37

กระดูกทองค�ำ


ทางกรุงรัตนโกสินทร์และกรุงเว้  ฝ่ายญวนได้ถวายคืนเครือ่ งราชกกุธภัณฑ์  ทั้งหมด รวมทั้งพระแสงดาบศักดิ์สิทธิ์ พร้อมปล่อยตัวพระบรมวงศา  นุวงศ์อีกหลายพระองค์ที่ถูกคุมขังในกรุงเว้และไซ่ง่อน มีการลงนามใน  สนธิสัญญาสงบศึกเมื่อปี 1846  และปีต่อมานักองค์ด้วงก็เสด็จขึ้นครอง  ราชย์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน  สยามและพระจักรพรรดิญวนร่วมเป็นสักขีพยานด้วย  ต่อมาฝรั่งเศส  ก็เข้ามาช่วยกัมพูชาให้รอดพ้นจากการยึดครองโดยเพื่อนบ้านที่ก�ำลังขยาย  อิทธิพลทั้งสองประเทศ สมเด็จพระสีสวัสดิ์ พระอนุชาของสมเด็จพระนโรดม เสด็จขึ้น  ครองราชย์ในปี 1904-1927  ผู้สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระสีสวัสดิ์  คือเจ้ามณีวงศ์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ ที่เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 1927  ในรัชสมัยสมเด็จพระมณีวงศ์มีเหตุการณ์ส�ำคัญเกิดขึ้นคือ กัมพูชาเข้า  ร่วมในข้อขัดแย้งระดับโลกเป็นครั้งที่สอง9 โดยเลือกอยู่ฝ่ายฝรั่งเศส  เมื่อ  ฝรั่งเศสยอมจ�ำนนต่อเยอรมนีในปี 1940 ญี่ปุ่นก็เข้ายึดครองกัมพูชา แต่  ยังคงให้รัฐบาลวีชีของฝรั่งเศสบริหารประเทศต่อ  เมื่อสมเด็จพระมณีวงศ์  สิ้นพระชนม์ในปี 1941 ณ บ้านพักตากอากาศบนภูเขาพนมโบโก  พระ  ศพของพระองค์ถูกอัญเชิญกลับกรุงพนมเปญอย่างลับๆ ก่อนจะประกาศ  การสิ้นพระชนม์อย่างเป็นทางการ  พระราชธิดาองค์ใหญ่ของสมเด็จพระ  มณีวงศ์คือพระองค์กุสุมา ได้อภิเษกกับพระองค์สุรามฤต พระราชนัดดา  ของสมเด็จพระนโรดมในปี 1920 และมีพระโอรสด้วยกันคือ พระองค์  สีหนุ ซึ่งมีพระชนมายุสิบแปดพรรษาในขณะนั้น  ส่วนพระโอรสอีกสอง  พระองค์ของสมเด็จพระมณีวงศ์คือ พระองค์มณีเรศและพระองค์มณี  พงศ์  ตามหลักแล้วราชบัลลังก์ควรจะตกแก่พระองค์มณีเรศ  แต่ฝรั่งเศส  ต้องการพระเจ้าแผ่นดินที่ชักจูงง่าย จึงเลือกพระองค์สีหนุแทน  ในสายตา  ฝรั่งเศส พระองค์สีหนุทรงเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะทรงสืบสาย  พระโลหิตจากราชสกุลส�ำคัญถึงสองสาย คือทรงเป็นพระราชปนัดดาของ  พระองค์พระนโรดมทางพระราชบิดา และเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จ  พระสีสวัสดิ์ทางพระราชมารดา  38

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


ปี 1953 หนึง่ ร้อยปีหลังจากนักองค์ดว้ ง หรือสมเด็จเทียดของสมเด็จ  พระสีหนุทรงขอการอารักขาจากฝรั่งเศส เพื่อให้เขมรรอดพ้นจากการ  รุกรานของไทยและญวน  สมเด็จพระสีหนุก็ทรงน�ำกัมพูชาให้หลุดพ้น  จากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ส�ำเร็จ  รัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส  ขณะนั้นก�ำลังหาทางถอนตัวออกจากอินโดจีนทั้งหมด  ในปีต่อมา เพียง  ไม่กี่เดือนหลังการรบนองเลือดในสมรภูมิเดียนเบียนฟูที่กินระยะเวลาห้า  สิบห้าวัน สหประชาชาติก็รับรองความเป็นกลางของประเทศกัมพูชา ใน  การประชุมใหญ่ที่กรุงเจนีวา และแบ่งเขตตังเกี๋ย ญวน และอินโดจีนที ่ เส้นขนานที่สิบเจ็ด ให้เป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้    ในปี  1955 สมเด็ จ พระสี ห นุ ท รงสละราชสมบั ติ คื น สมเด็ จ พระ  สุรามฤต พระราชบิดา เพื่อที่จะทรงงานทางการเมืองอย่างเต็มที่  การ  สืบสันตติวงศ์ของเขมรยุคใหม่ต่างกับราชวงศ์ในประเทศอื่นๆ คือไม่ใช่  การสืบทอดผ่านราชสกุล แต่สบื ทอดโดยการเลือกตัง้   รัฐธรรมนูญกัมพูชา  ฉบับปี 1947 ที่ยึดสาธารณรัฐที่สี่แห่งฝรั่งเศสเป็นแม่แบบ ระบุว่าผู้สืบ  ราชสกุลจากนักองค์ด้วงที่เป็นชายทุกองค์ย่อมมีสิทธิขึ้นครองราชย์ ด้วยฐานะอดีตกษัตริย์และบิดาแห่งเอกราชของกัมพูชา สมเด็จ  พระสีหนุทรงตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยม (Sangkum Reastr Niyum)  หรือเอสอาร์เอ็น (SRN) โดยรวบรวมพรรคการเมืองหลายพรรคเข้าด้วย  กั น  จนพรรคเอสอาร์ เ อ็ น ของสมเด็ จ พระสี ห นุ ส ามารถเอาชนะพรรค  ประชาธิปไตยและพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ มา  และ  ในปี 1955 ประเทศกัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ พร้อม  ประเทศแอลเบเนีย ออสเตรีย บัลแกเรีย ศรีลังกา ฟินแลนด์ ฮังการี  ไอร์แลนด์ อิตาลี จอร์แดน ลาว ลิเบีย โปรตุเกส โรมาเนีย และสเปน

39

กระดูกทองค�ำ


บทที่ 2

สวรรค์หาย

ต้นปี 1957 พี่ซารุนเสียชีวิตโดยไม่คาดฝัน ทิ้งลูกสาวทั้งสามคนไว้เบื้อง หลัง แม่รีบรับหลานๆ มาเลี้ยงดูทันที  ส่วนพ่อก�ำลังป่วยอยู่ จึงต้องนอน  สั่งการเรื่องงานศพ  พ่อถึงกับพูดไม่ออกเมื่อเห็นร่างของลูกสาวถูกหามไป  ยังเมรุ อาการของพ่อทรุดลงเรื่อยๆ  ขณะนั้นผมยังเด็กเกินไป จึงไม่รู ้ ว่าทั้งพี่ซารุนและพ่อเป็นโรคอะไร เรานิมนต์พระมาสวดอภิธรรมที่บ้านทุกคืน ซื้อหนังสือพุทธศาสนา  จ�ำนวนมากมาถวายพระสงฆ์และแจกญาติมติ รเพือ่ เป็นกุศล เนือ่ งในโอกาส  ฉลองครบรอบวันประสูติของพระพุทธเจ้าครั้งที่ 2500 มีการเฉลิมฉลอง  ทั่วราชอาณาจักร  ในวันที่ 4 พฤษภาคม เจ้าสีหนุได้ทรงอัญเชิญพระบรม  สารีรกิ ธาตุจากศรีลงั กา มาประดิษฐาน ณ เจดียพ์ ระศากยมุน ี ปูชนียสถาน  ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ  เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟพนมเปญ และ  ยังคงอยู่ที่เดิมจนทุกวันนี้ หลังจากป่วยอยูเ่ ป็นเวลานาน พ่อก็เสียชีวติ ลงในวันที ่ 24 มิถนุ ายน  น�้ำตาของแม่ยังไม่ทันแห้งจากการสูญเสียพี่ซารุน ก็ต้องประสบความเศร้า  40

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


โศกซ�้ำ  แค่ต้องเสียลูกสาวไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อนก็นับว่าแย่มากแล้ว แม่  ยังต้องมาตกพุ่มหม้ายตั้งแต่อายุเพียงสี่สิบสี่ปีอีก  ส่วนพี่ซารินเพิ่งตั้งท้อง  ลูกคนแรก เธอมีรูปร่างสูงโปร่ง ใบหน้างดงาม ไว้ผมยาวประบ่าเหมือน  กับพี่ซารุน ผมออกจะสับสนกับเรือ่ งต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ รอบๆ ตัวช่วงนัน้   ในฐานะ  ลูกชายคนเล็ก ผมต้องรับหน้าทีเ่ ป็นผูไ้ ว้ทกุ ข์อย่างเป็นทางการของครอบครัว  ผมไม่ทราบว่าธรรมเนียมนีม้ ที มี่ าอย่างไร แต่เดาว่าคงเป็นเพราะพวกผูใ้ หญ่  ไม่อยากโกนศีรษะ ผมต้องโกนหัว โกนคิ้ว และนุ่งขาวห่มขาว ซึ่งเป็นสีส� ำหรับการ  ไว้ทกุ ข์  ร่างของพ่อได้รบั การอาบน�้ำช�ำระล้างจนสะอาด แต่งตัวด้วยเสือ้ ผ้า  ชุดใหม่ มือทั้งสองถูกจับขึ้นมาพนมเหนืออก ในมือมีธูปสามดอกและ  เทียนที่ยังไม่ได้จุด มีเหรียญเงินใส่ไว้ในปาก ก่อนห่อร่างด้วยผ้าขาว  จาก  นั้นร่างของพ่อก็ถูกบรรจุลงหีบศพที่ต่อขึ้นมาเป็นพิเศษ เนื่องจากท่าน  สูงถึงหกฟุตสามนิ้ว  นับว่าพ่อเป็นชายที่สูงมากทีเดียว ไม่แน่ท่านอาจจะ  เป็นชายสูงที่สุดคนหนึ่งของกัมพูชาในยุคนั้นก็ได้  ผมจ�ำได้ว่าเคยเห็นรูป  หมู่ของพ่อสองสามรูป เพื่อนร่วมงานชาวฝรั่งเศสของพ่อสูงเสมออกท่าน  เท่านั้น  ความที่พ่อเป็นบุคคลที่มีหน้ามีตาในโปเจินตง งานศพพ่อจึงต้อง  จัดกันอย่างใหญ่โต เมื่อปี 1950 พ่อแม่ผมสร้างบ้านทรงเขมร เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง  หลังคามุงกระเบื้อง  บ้านเราพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือมีถังน�ำ้ คอนกรีต รางน�ำ้   ที่ติดรอบชายคาบ้านจะรองรับน�้ำฝนให้ไหลลงในถัง  ตลอดฤดูฝนตั้งแต่  เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เราเก็บน�้ำได้มากพอแบ่งให้เพื่อนบ้าน  บ้าน  ของเราตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูหน้าของวัดโพธิสัตตาราม วัดส�ำคัญของ  โปเจินตง เราจึงจัดพิธีฌาปนกิจที่นี่  แต่ขบวนแห่ศพต้องแห่เข้าไปยัง  ตลาดในเมือง แล้วเวียนรอบสี่แยกใหญ่กลางเมืองก่อนถึงจะเข้าสู่บริเวณ  วัด  ที่ต้องเดินขบวนแห่อ้อมเช่นนั้น ก็เพื่อให้ผู้คนได้มีโอกาสล�ำ่ ลาพ่อเป็น  ครั้งสุดท้าย ผมถูกจัดให้นั่งพนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนอยู่หน้าหีบศพ บนรถ  41

กระดูกทองค�ำ


บรรทุกศพที่ตกแต่งอย่างงดงาม  ระหว่างตัวผมกับหีบศพมีเครื่องแบบ  ข้าราชการของพ่อ ซึง่ ประดับยศและเหรียญตราเต็มที ่  พีซ่ ชี นุ กับบรรดาลูก  พี่ลูกน้องผู้ชายแต่งชุดขาวยืนอยู่รอบๆ พร้อมจะท� ำหน้าที่ผู้เชิญหีบศพ  มีวงดนตรีบรรเลงเพลงแห่ศพสองวงเดินน�ำหน้ารถกระบะ โดยมีพระสงฆ์  หลายรูปนั่งสวดมนต์มาตลอดทาง  นายต�ำรวจในเครื่องแบบเต็มยศหลาย  คนถือปืนยาวชี้ปากกระบอกปืนลงดินเดินแถวเคียงคู่ไปกับรถศพเพื่อ  แสดงการอารักขา คนในครอบครั ว ของเราแต่ ง ชุ ด ขาวเดิ น ตามหลั ง รถศพมาติ ด ๆ  ตามด้วยบรรดาเพื่อนๆ และผู้ร่วมงานของพ่อ เพื่อนของคนในครอบครัว  รวมทั้งคนในหมู่บ้านอีกเป็นร้อย ทุกคนถือดอกไม้ช่อเล็กๆ และธูปเทียน  เมื่อขบวนแห่ผ่านหน้าศาลากลาง ยามในเครื่องแบบเต็มยศส� ำหรับงาน  พิธีก็ยืนตรงและท�ำวันทยหัตถ์  คนอื่นๆ ก็ยกมือไหว้เคารพศพตามธรรม  เนียมการท�ำความเคารพของกัมพูชา คือยกสองมือขึ้นพนมกันสูงเสมออก  หรือจรดริมฝีปาก หรือจะจรดหน้าผากก็ได้  ระดับของมือที่ยกขึ้นแสดง  ถึงระดับความเคารพ ยิ่งยกมือขึ้นสูงเท่าไหร่ ก็แสดงว่าเคารพมากเท่านั้น เมื่อมาถึงวัด หีบศพถูกแบกเวียนซ้ายรอบเมรุสามรอบก่อนยกขึ้น  ตั้งบนเชิงตะกอน  พระสงฆ์หลายรูปสวดมนต์ต่ออีกหลายจบ จากนั้น  เจ้าอาวาสก็จุดไฟที่เชิงตะกอนเพื่อเผาร่างของพ่อที่อยู่ในหีบ  วงปี่พาทย์  ที่มีทั้งระนาด ฆ้อง และกลองอีกสองใบบรรเลงเพลงลาเป็นครั้งสุดท้าย  ท�ำนองแสนเศร้าแทบขาดใจ  แม่ พี่ซาริน และญาติผู้หญิงอีกหลายคนพา  กันร�่ำไห้สะอึกสะอื้น  เสียงร้องไห้และน�้ำตาของพวกผู้หญิงบีบคั้นหัวใจ  ผมแทบทนไม่ไหว  แต่ผมไม่ร้องไห้ เพราะนั่นคือความอ่อนแอ ลูกผู้ชาย  ไม่ควรมีอารมณ์อ่อนไหวเช่นนั้น แต่ในใจนั้นผมโศกเศร้าสุดจะกลั้น  พระ  สงฆ์สวดมนต์ต่ออีกหลายจบ พิธีฌาปนกิจศพก็สิ้นสุดลง  หลังจากนั้น  เราก็เก็บเถ้าถ่าน น�ำเศษกระดูกของพ่อมาล้างน�้ำมะพร้าวให้สะอาด เสร็จ  แล้วจึงเก็บเศษกระดูกไว้ในโกศเงิน10   พิธเี ผาศพเขมรได้รบั อิทธิพลจากศาสนาฮินดูและธรรมเนียมฝรัง่ เศส  โดยชาวกัมพูชาน�ำมาปรับให้เข้ากับพิธีกรรมในศาสนาพุทธของตน  ตาม  42

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


ปกติครอบครัวผู้ตายจะออกค่าใช้จ่ายในงานศพทั้งหมด ร่วมกับเงินที่  ญาติมิตรและเพื่อนบ้านน�ำมาช่วยสมทบท�ำบุญ ผมกลายเป็นเด็กก�ำพร้าพ่อเมื่ออายุเพียงเก้าขวบ แต่ชาวเขมรมัก  พูดกันว่า “เสียพ่อดีกว่าเสียแม่ เรือแตกดีกว่าไฟไหม้”  ทางราชการถาม  แม่ว่า ต้องการให้รัฐจ่ายบ� ำนาญของพ่อเป็นรายเดือน หรือต้องการรับ  บ�ำเหน็จเป็นเงินก้อน แม่เลือกอย่างหลัง  จากนั้นมาแม่ก็เริ่มท�ำงานหา  เลี้ย งลู ก ชายสองคน และหลานสาวสามคนที่แ ม่ รับ อุ ป การะ แถมยัง มี  หลานอีกสองสามคน ความเป็นอยู่ของเราจึงเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง  จาก  ครอบครัวมีอันจะกิน กลับกลายเป็นครอบครัวที่ต้องอยู่อย่างปากกัด  ตีนถีบ ในกัมพูชา การอุปการะเลี้ยงดูเด็กถือเป็นพันธะทางสังคม มาก  กว่าจะเป็นเรือ่ งทางกฎหมาย  ใครจะอุปการะใครก็ได้แทบจะทุกคน เป็นต้น  ว่าลูกหลานของเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องก็ย่อมได้  หลานสาวก�ำพร้าแม่  ทัง้ สามของผมจึงมาเป็นคนในครอบครัวเรา  ต่อมาแม่กร็ บั ซ็อมณาง ลูกสาว  ของพี่ซารินมาอยู่ด้วยตั้งแต่เธอเริ่มหัดเดินเตาะแตะ แล้วแม่ของผมหรือ  ยายของหลานๆ ก็กลายเป็นแม่ของพวกแกไปด้วย  และหลานๆ ก็เรียก  แม่ผมว่า “แม่” ตามพวกผมเช่นกัน นอกจากนี้ แม่ยังอุปการะน้าซาออน น้องชายของแม่อีกคนหนึ่ง  ด้วย  ผมมาทราบภายหลังว่า คุณตาของผม ซก เจีย เป็นผู้ว่าราชการ  จังหวัด หรือเจาวายแคต (chauvay khet) ท่านรับราชการในรัชสมัย  พระเจ้าสีสวัสดิ์  คุณตาซก เจียและคุณยายชวย ลัช เสียชีวิตตั้งแต่น้า  ซาออนยังแบเบาะ น้าซาออนแก่กว่าพี่ซารินแค่ไม่กี่ปี  พ่อแม่ของผมจึง  รับน้ามาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและให้ใช้นามสกุล “ศิว์” ด้วย  พ่อแม่  เลี้ยงดูน้าซาออนจนเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจัดการหาเมียให้เสร็จสรรพ  หลัง พ่ อ ตาย ทั้ง ผมและพี่ซีชุ น ที่แ ก่ ก ว่ า ผมถึง เจ็ด ปี  ทั้ง สู ง ใหญ่  และแข็งแรงกว่าผมมากต้องท� ำงานหนักขึ้นเพื่อผ่อนแรงแม่  ระหว่าง  เดือนตุลาคมถึงพฤษภาคมที่มีฝนตกน้อย เราสองคนต้องไปตักน�้ำจาก  บึงใหญ่ใกล้วัดและตัดไม้แห้งมาผ่าท� ำฟืน ต้องรดน�้ำสวนดอกไม้แปลง  43

กระดูกทองค�ำ


ใหญ่ของเรา แล้วเก็บดอกไม้ไปขายผู้ที่มาสักการะพระพุทธรูปและพระ  สงฆ์ที่วัด ผมมักจะอยู่ใกล้ๆ แม่เสมอ คอยช่วยท�ำงานเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่าง  รวมทั้งช่วยสนเข็มเย็บผ้าและนวดแม่ด้วย  พี่ซีชุนก�ำลังเรียนในโรงเรียน  มัธยมสีสวัสดิ์ ซึ่งโด่งดังราวกับเป็นโรงเรียนฟิลลิปแอนโดเวอร์อะคาเดมี  แห่งกัมพูชา11  โรงเรียนสีสวัสดิ์เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของประเทศ  สร้างขึ้นในเขตพระราชวังเก่าของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน ที่พระราช  ทานพระนามให้เป็นชื่อโรงเรียนในปี 1936  โรงเรียนสีสวัสดิ์ผลิตบุคลากร  ชั้นยอดของกัมพูชามาหลายคนทั้งก่อนและหลังได้รับเอกราช ในปี 1958 ผมอายุสิบขวบและก�ำลังเรียนชั้นประถมหก ชั้นสูงสุด  ของโรงเรียนประถมโปเจินตง  เนื้อหาวิชาเริ่มยากขึ้นทุกที ทุกโรงเรียนใน  ประเทศต่างแข่งขันกันเป็นที่หนึ่งด้านจ�ำนวนประกาศนียบัตรประถมศึกษา  ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่าส�ำเร็จการศึกษาระดับประถมบริบูรณ์  โรงเรียน  ใดมีนักเรียนได้รับประกาศนียบัตรนี้มากที่สุด ก็จะเป็นเกียรติอย่างสูงทั้ง  แก่ตัวโรงเรียนและแก่ชุมชนนั้นๆ  ครูเจ้าระเบียบของเรามีไม้เรียวเส้นโต  หลายอันไว้ฟาดก้นนักเรียนที่ไม่รู้ค�ำตอบ  เด็กๆ มักกลัวกันลนลานจน  ตั้งหน้าตั้งตาดูหนังสือกันเต็มที่จะได้ไม่โดนตี  ครูคนนี้ยังลงทุนสอนพิเศษ  ชัน้ เรียนของเราในตอนค�ำ่   โรงเรียนผมอยูใ่ กล้ปา่ ช้าจีน ผมมีอายุนอ้ ยทีส่ ดุ   ในชั้น ตัวก็เล็กกว่าเพื่อน แถมกลัวผีอีกต่างหาก แต่ความมุ่งมั่นในการ  สอบอยู่เหนือความกลัว  ผมจึงอาศัยสวดมนต์สักจบสองจบ แล้ววิ่งหลับ  ตาตื๋อไปตามถนนมืดๆ เป็นประจ�ำ ผมเรียนจบชั้นประถมในปลายปีการศึกษา 1959  แม่ให้รางวัลผม  ด้วยการพาไปเทีย่ วเมืองเสียมราฐ ทีอ่ ยูท่ างตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา  เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงโบราณหรือเมืองพระนคร (Angkor)  ส�ำหรับชาว  กัมพูชาแล้ว การไปเยือนพระนครเปรียบได้กับการไปแสวงบุญ  คนส่วน  มากนิ ย มไปที่ นั่ น ช่ ว งเทศกาลปี ใ หม่ เ ขมรในเดื อ นเมษายน ด้ ว ยคติ ว ่ า  “หากได้ไปเยือนพระนครสักครั้ง ตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์” เราออกเดินทางไปกับลุงเจีย ทุย พี่ชายของแม่  ลุงมีลูกสาวแสน  44

เสาวณีย์ นิวาศะบุตร แปล


สวยคนหนึ่งชื่อโสภณ พวกผู้ใหญ่ “จอง” เธอไว้ให้ผม  กัมพูชาก็เหมือน  ประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่ชอบคลุมถุงชนลูกๆ โดยเฉพาะในหมู่ญาติมิตร  และเพื่อนร่วมงาน  หนุ่มสาวบางคนถูกจับคู่ให้ตั้งแต่ยังเป็นทารก  เจ้า  บ่าวเจ้าสาวบางคู่อาจไม่เคยพบหน้ากันเลยจนกระทั่งวันแต่งงาน แต่ก็ม ี หน้าที่ต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ผู้ให้ก�ำเนิด  น่าประหลาดใจที่ส่วนใหญ่หลัง  จากแต่งงานกันแล้ว คู่บ่าวสาวเหล่านี้ก็รักใคร่อยู่กินกันอย่างผาสุกตลอด  มา  สถิติการหย่าร้างต�่ำมาก เพราะการหย่าร้างนั้นแม้จะมีกฎหมายรองรับ  แต่มักถูกมองว่าเป็นการน�ำความอัปยศมาสู่ครอบครัว พี่ๆ ของผมทุกคนแต่งงานกับคู่ที่พ่อแม่จัดให้ แต่ผมต่างกับพี่ๆ  ตรงที่ธรรมเนียมนี้ใช้ไม่ได้  เพราะหลังลุงเสียชีวิตในปี 1963 ป้าสะใภ้ก ็ จัดการให้ลูกสาวได้ออกเรือนโดยเร็ว  ขณะนั้นผมยังเป็นเด็กวัยรุ่น ก�ำลัง  ตั้งอกตั้งใจเรียนหนังสืออยู่ การจับคู่จึงไม่มีทีท่าจะสัมฤทธิผล เลยต้อง  เป็นอันล้มเลิกไป

45

กระดูกทองค�ำ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.