วังสวนดุสิต

Page 1


วั งสวนดุ สิ ต


ภาพจากปก

พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต (ภาพจาก สำ�นักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กรมศิลปากร)


วั งสวนดุ สิ ต

บัณฑิต จุลาสัย, พีรศรี โพวาทอง และรัชดา โชติพานิช

ราคา ๒๔๐ บาท


วังสวนดุสิต • บัณฑิต จุลาสัย, พีรศรี โพวาทอง และรัชดา โชติพานิช พิมพครั้งแรก : กรกฎาคม ๒๕๕๗ ราคา ๒๔๐ บาท ขอมูลทางบรรณานุกรม บัณฑิต จุลาสัย, พีรศรี โพวาทอง และรัชดา โชติพานิช. วังสวนดุสิต. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๓๖๐ หนา : ภาพประกอบ. ๑. วัง I. ชื่อเรื่อง 728.82 ISBN 978 - 974 - 02 - 1305 - 5

• ที่ปรึกษาสำนักพิมพ : อารักษ คคะนาท, สุพจน แจงเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผูจัดการสำนักพิมพ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผูจัดการสำนักพิมพ : รุจิรัตน ทิมวัฒน • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ บุนปาน • บรรณาธิการสำนักพิมพ : พัลลภ สามสี • หัวหนากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจนอักษร : โชติชวง ระวิน I พัทนนลิน อินทรหอม • รูปเลม : อรอนงค อินทรอุดม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณรัตน • ออกแบบปก : ศศิณัฏฐ กิจศุภไพศาล • ประชาสัมพันธ : กานตสินี พิพิธพัทธอาภา

หากสถาบันการศึกษา หน�วยงานตางๆ และบุคคล ตองการสั่งซื้อจำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดตอโดยตรงที่ บริษัทงานดี จำกัด โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเลมนี้พิมพดวยหมึกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพื่อปกปองธรรมชาติ และสุขภาพของผูอาน

บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แมพิมพสี-ขาวดำ : กองพิมพสี บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพที่ : โรงพิมพมติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู ๕ ถนนสุขาประชาสรรค ๒ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำหนายโดย : บริษัทงานดี จำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


• (บน) ด้านหน้าของพระที่นั่งอัมพรสถาน (ล่าง) สะพานเชื่อมพระที่นั่งอัมพร  สถานและพระที่นั่งอุดรภาค (ภาพจาก มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. ส�ำนักราชเลขาธิการ  พิมพ์เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕)


สารบัญ

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ค� ำ น� ำ น� ำ เรื่ อ ง ๑. มู ล เหตุใ นการสร้างพระราชวังดุสิ ต

(๑๐) ๓ ๙

ก่อนจะเป็นสวนดุสิต

๑๐ ๑๕ ๑๕ ๑๗ ๑๙ ๒๒ ๒๒

๒. การจั ด ซื้อที่ดินสวนดุสิต

๒๙

๓. งานเถลิงพลับ พลาและงานปีสวนดุ สิ ต

๔๕

เริ่มจากสวนดุสิต  จาก สวนดุสิต เป็น วังสวนดุสิต  พัฒนาการของวังสวนดุสิต จาก วังสวนดุสิต เป็น พระราชวังสวนดุสิต  จาก พระราชวังสวนดุสิต เป็น พระราชวังดุสิต พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน

การจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างสวนดุสิต วิธีการสอบวัดที่ดินด้วยระบบการท�ำแผนที่สมัยใหม่ รายงานการจัดซื้อที่ดินต�ำบลสวนดุสิต โฉนดที่ดินฉบับแรก  อาณาบริเวณ

๓๐ ๓๔ ๓๘ ๓๙ ๔๑


๔. ถนนในพระราชวังดุสิต

๕๕

๕. การก่อสร้างถนน

๖๙

การตัดถนน ป้ายชือ่ ถนน

แนวพระราชด�ำริ

ถนนในสวนดุสิต ขนาดและความกว้าง ความยาวของถนน วิธีการท�ำถนน ค่าใช้จ่าย ทางเดินเท้า การบ�ำรุงดูแลรักษาถนน

๕๖ ๕๙

๗๐ ๗๑ ๗๒ ๗๒ ๗๓ ๗๔ ๘๐ ๘๐

๖. คลองในสวนดุสิต

๘๕

๗. สะพาน

๙๗

ความส�ำคัญของคลอง คลองในสวนดุสิต วิธีการขุดคลอง งบประมาณเขื่อนริมคลอง

ชื่อสะพาน รูปแบบและประเภทของสะพาน ถวายเงินสร้างสะพาน ราคาสะพาน

๘๖ ๘๗ ๙๑ ๙๒

๙๙ ๑๐๒ ๑๐๔ ๑๐๖


๘. ประตู และรั้ว

รูปแบบของรั้วและประตู

๑๑๑

นามประตู ผู้ออกแบบและรับผิดชอบ งบประมาณการท�ำรั้วและประตู

๑๑๒ ๑๑๖ ๑๑๙ ๑๒๐

๙. สวนป่ าดุสิต

๑๒๕

พันธุ์ไม้ตามพระราชประสงค์

การน�ำต้นไม้มาปลูกที่สวนดุสิต การน�ำพันธุ์ไม้มาจากที่อื่นเพื่อทดลองปลูก  วิธีการขนย้ายต้นไม้ วิธีการปลูกต้นไม้ หญ้าและการดูแลรักษา การบ�ำรุงรักษาต้นไม้ พืชพันธุ์ไม้ในสวนดุสิต ต้นไม้ริมถนน

๑๒๘ ๑๓๐ ๑๓๖ ๑๓๙ ๑๔๐ ๑๔๑ ๑๔๔ ๑๔๗ ๑๕๒

๑๐. การออกแบบและการก่อสร้าง

๑๖๗

การก่อสร้าง การก่อสร้างพระที่นั่งอัมพรสถาน

๑๖๘ ๑๗๕ ๑๗๖

๑๑. การตกแต่งภายในพระที่นั่งอัม พรสถาน

๑๘๗

แบบก่อสร้างที่น�ำไปเขียนต่างประเทศ

เครื่องเรือน สิ่งของตกแต่ง เรื่องนึกในเวลานอน การเขียนลายตกแต่ง

๑๘๘ ๑๙๙ ๒๐๒ ๒๑๐


การเขียนภาพตกแต่ง ความล่าช้าของงานเขียนภาพและตกแต่ง ปัญหาการซือ้ ของตกแต่งพระที่นั่ง

๒๑๘ ๒๒๗ ๒๓๒

๑๒. พระราชพิธีเฉลิม พระราชมณเฑี ย ร พระที่นั่งอัม พรสถาน

๒๕๓

พระบรมวงศานุวงศ์ ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

๑๓. การต่อเติม และปรับปรุง พระที่นั่งอัม พรสถาน ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕)

ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓)

๒๖๐

๒๗๓ ๒๗๕ ๒๗๖ ๒๘๓ ๒๘๖ ๒๘๘

๑๔. พระที่นั่งอุดรภาค ที่ ป ระทับรับ รองพระราชอาคัน ตุ ก ะ

๒๙๓

๑๕. สวนสุนันทา

๓๐๗

๑๖. พระบรมรูปทรงม้า

๓๒๑

การหล่อพระบรมรูปทรงม้า งานถวายพระบรมรูปทรงม้า

งานสมโภชพระบรมรูปทรงม้า ประเพณีการถวายบังคม

๓๒๕ ๓๒๗ ๓๓๐ ๓๓๒

บรรณานุ ก รม

๓๓๗


ค�ำน�ำ

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ในยุ ค สมั ย ที่ เ ทคโนโลยี ค อมพิ ว เตอร์ ก ้ า วไกล การค้ น คว้ า หาข้ อ มู ล เพื่ อ ใช้ ใ นการวิ จั ย หรื อ เป็ น วั ต ถุ ดิ บ ในการเขี ย นหนั ง สื อ กลายเป็ น เรื่ อ งง่ า ย รวดเร็ ว  และสะดวกสบาย เพี ยงแต่ ต ้ อ งระวั ง ความถูกต้องและที่มาของข้อมูล ส� ำ หรั บ  วั ง สวนดุ สิ ต  ที่ ป รากฏให้ เ ห็ น เป็ น รู ป เล่ ม เป็ น ครั้ ง แรกนี้   หาได้ เ ป็ น ไปตามกระแสดั ง กล่ า ว หากย้ อ นหลั ง กลั บ ไปสู ่ วิ ธี ก ารค้ น คว้ า แบบเก่ า  ที่ ใ ช้ เ วลานานและต้ อ งด� ำ เนิ น การหลาย ขั้ น ตอน  แม้ ก ระนั้ น ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ก็ ยั ง ไม่ ค รบถ้ ว นสมบู ร ณ์   และยั ง แตกต่างไปจากสิ่งที่รับรู้มาก่อน หรือในเอกสารหนังสือเล่มอื่น เมื่อครั้งที่ผู้เขียนได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระบรม โอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ให้ เ ข้ า ไปถวายงานซ่ อ มแซม ปรับปรุงหมู่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น ด้วยความใหญ่โตของพระราชฐาน ด้วยความงดงามของมรดก สถาปัตยกรรมของชาติ และด้วยสภาพอาคารที่เป็นอยู่จึงรู้ว่าต้อง ด�ำเนินงานด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้งานส�ำคัญส�ำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยดี  นอกจากคณะท� ำ งานจะได้ รั บ พระราชทานพระวิ นิ จ ฉั ย และ พระด� ำ ริ   ตลอดระยะเวลาการท� ำ งานแล้ ว   เพื่ อ ความถู ก ต้ อ งและ ชั ด เจนในการออกแบบก่ อ สร้ า ง ผู ้ เ ขี ย นจึ ง ได้ รั บ พระราชานุ ญ าต ให้เข้าไปสืบค้นข้อมูลในห้องสมุดเฉพาะส� ำนักราชเลขาธิการ รวม ทั้ ง หอจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ   และแหล่ ง ข้ อ มู ล อื่ น  เพื่ อ เสริ ม สร้ า ง ความรู ้ ค วามเข้ า ใจประวั ติ ศ าสตร์ ก ารออกแบบและก่ อ สร้ า งพระ


(11)

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ราชวังดุสิต  ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น นั้ น  พี ร ศรี   โพวาทอง ขณะที่ ยั ง เป็ น นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาเอก มหาวิ ท ยาลั ย มิ ชิ แ กน ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ก็ ก� ำ ลั ง ค้ น คว้ า ข้ อ มู ล ส� ำ หรั บ งานวิ ท ยานิ พ นธ์ เ กี่ ย วกั บ สถาปั ต ยกรรมในสมั ย รั ช กาลที่   ๕ จึ ง ใช้ เ วลาส่ ว นใหญ่ ค ้ น คว้ า ใน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก็ได้เอกสารเกี่ยวข้องกับพระราชวังดุสิต มากมาย  ด้ ว ยจุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย เห็ น ความส� ำ คั ญ ของข้ อ มู ล ดั ง กล่ า ว จึ ง ให้ ก ารสนั บ สนุ น ในการด� ำ เนิ น งานตามหลั ก วิ ช าการ โดยมี   รั ช ดา โชติ พ านิ ช  และนิ สิ ต สถาปั ต ยกรรมศาสตร์   ช่ ว ย คั ด ลอกและเรี ย บเรี ย ง  เจ้ า หน้ า ที่ ห อจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ   ช่ ว ย ตรวจสอบความถู ก ต้ อ งของข้ อ มู ล   โดยเฉพาะเอกสารที่ ข าดหาย หรือไม่ครบถ้วน  จึงเป็นที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชวัง ดุ สิ ต ทั้ ง หมด ๘๙ รายการ รวมจ� ำ นวน ๑,๐๔๑ หน้ า  แสดง ให้ เ ห็ น ถึ ง พั ฒ นาการของสถาปั ต ยกรรมและบ้ า นเมื อ งไทยในช่ ว ง ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู ้ เ ขี ย นและคณะยั ง ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก ทุ น วิ จั ย เฉลิ ม ฉลองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกครั้ง เพื่ อ เรี ย บเรี ย งข้ อ มู ล เอกสารชั้ น ต้ น  และร้ อ ยเรี ย งเรื่ อ งราวเฉพาะ หั ว ข้ อ  ได้ แ ก่   ความเป็ น มา ที่ ดิ น  ถนน เครื่ อ งเรื อ น ฯลฯ เพื่ อ ให้ ง่ายต่อการค้นคว้าและความรู้ความเข้าใจของนิสิต อันเป็นที่มาของ หนังสือเล่มนี้    เนื่ อ งจาก วั ง สวนดุ สิ ต   เรี ย บเรี ย งมาจากเอกสารชั้ น ต้ น เท่าที่รวบรวมมาได้เท่านั้น จึงท�ำให้ความบางตอนต่างไปจากงาน วิจัยหรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวกับพระราชวังดุสิต ที่ผู้วิจัยหรือผู้เขียน เสริมเพิ่มข้อมูลจากการบอกเล่าหรือเอกสารชั้นรองอื่น  ทั้ ง นี้   ผลงานบางเรื่ อ งได้ รั บ การตี พิ ม พ์ เ ผยแพร่ ใ นนิ ต ยสาร ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ได้ แ ก่   นามพระราชวั ง ดุ สิ ต และการเปลี่ ย นแปลง และ ๑๐๐ ปี   พระบรมรู ป ทรงม้ า  ส่ ว นเรื่ อ ง คลองในสวนดุ สิ ต


(12)

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

การก่ อ สร้ า งถนน และ ถนนในพระราชวั ง ดุ สิ ต  นั้ น   ปริ ญ ญ์ เจี ย รมณี โ ชติ ชั ย  อาจารย์ ป ระจ� ำ ภาควิ ช าการวางแผนภาคและ เมือง ให้ความอนุเคราะห์เรียบเรียงขึ้น จึงใคร่ขอขอบคุณคณะกรรมการทุนวิจัยเฉลิมฉลองสมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี   จุ ฬ าลงกรณ์ ม หา วิ ท ยาลั ย   เจ้ า หน้ า ที่ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย   ห้ อ งสมุ ด เฉพาะ ส� ำ นั ก ราชเลขาธิ ก าร ส� ำ นั ก พระราชวั ง   และส� ำ นั ก หอจดหมาย เหตุ แ ห่ ง ชาติ   รวมทั้ ง บุ ค คลอื่ น อี ก มากมายที่ ช ่ ว ยสนั บ สนุ น งบ ประมาณ  แรงงาน และแรงใจในการด�ำเนินงานที่ยุ่งยากและยาว นาน ท� ำ ให้ ห นั ง สื อ เล่ ม นี้ ส� ำ เร็ จ ได้   รวมทั้ ง ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นที่ ช ่ ว ย จัดพิมพ์ อันจะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและเกิดประโยชน์อื่นต่อไป หากมี ข ้ อ บกพร่ อ งผิ ด พลาดประการใด โปรดชี้ แ นะเพื่ อ จั ก ได้ แ ก้ ไ ข ให้เป็นเอกสารอ้างอิงที่ถูกต้องต่อไป บัณฑิต  จุลาสัย


• ขณะก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต


(14)

วั ง ส ว น ดุ สิ ต


(15)

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

แผนผังพระราชวังดุสิต  ๑. พระที่นั่งวิมานเมฆ ๒. พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ๓. พระที่นั่งอัมพรสถาน ๔. พระที่นั่งอุดรภาค ๕. พระตำ�หนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ ๖. พระที่นั่งอนันตสมาคม ๗. พระบรมรูปทรงม้า ๘. พระลานพระราชวังดุสิต ๙. ถนนดวงตวัน (ถนนศรีอยุธยา) ๑๐. คลองเม่งเส็ง ๑๑. อ่างหยก ๑๒. ถนนซางฮี้ ๑๓. เขาดินวนา ๑๔. คลองเปรมประชากร ๑๕. ถนนลก (ถนนพระรามที่ ๕)



วั งสวนดุ สิ ต



น�ำเรื่อง


4

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

วังสวนดุสิต เป็นพระราชฐานที่ประทับ ที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในช่ ว งปลายรั ช สมั ย  เพื่ อ เป็ น ที่ เ สด็ จ ฯ แปรพระราชฐาน พั ก ผ่ อ น พระราชอิริยาบถและพระพลานามัย โดยมีแรงบันดาลพระราชหฤทัย จากพระราชวังและวังในทวีปยุโรป ที่ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรด้วย พระองค์ เ อง ในคราวเสด็ จ ประพาสครั้ ง แรก เมื่ อ ปี  พ.ศ. ๒๔๔๐ ดั ง ปรากฏหลั ก ฐานว่ า มี พ ระราชกระแสในชั้ น แรก ว่ า จะทรงสร้ า ง สวนดุ สิ ต  เป็ น  บ้ า นเปนที่ ไ ปเที่ ย วเล่ น  ที่ ทุ ่ ง ส้ ม ป่อ ย นอกคลอง ผดุงกรุงเกษม ทางทิศเหนือของพระนคร อย่างไรก็ตาม เมื่อการก่อสร้าง สวนดุสิต เริ่มขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าโครงการดังกล่าวมิใช่ บ้าน ธรรมดาๆ ด้ ว ยพระราชวิ สั ย ทั ศ น์ แ ละพระวิ ริ ย ะในพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธ เจ้าหลวง ท�ำให้การก่อสร้างในครั้งนั้นพัฒนาเป็นโครงการออกแบบ

• ภาพถ่ายทางอากาศ พระราชวังดุสิต จะเห็นพระที่นั่งอนันตสมาคมอยู่กลาง ภาพ และพระที่ นั่ ง อั ม พรสถานอยู ่ ด ้ า นซ้ า ยของภาพ (ภาพจาก ส� ำ นั ก หอ จดหมายเหตุแห่งชาติ)


5

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• ห้องที่ประทับภายในพระที่นั่งอัมพรสถาน รัชสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

วางผัง และก่อสร้าง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วงปลายรัชกาล เป็นการ สร้ า ง เมื อ ง ใหม่  ที่ ผ สมผสานศาสตร์ ใ นการออกแบบหลายสาขา ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านการวางผังบริเวณ การออกแบบสถาปัตยกรรม ภู มิ ส ถาปั ต ยกรรม และการตกแต่ ง ภายใน การบริ ห ารจั ด การงาน ก่อสร้าง การลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ นับตั้งแต่การจัดซื้อที่ดิน การวางผังบริเวณ การก่อสร้างถนน คลอง สะพาน สวน ประตูและ รั้ว การออกแบบ ก่อสร้าง และตกแต่งพระที่นั่ง พระต�ำหนัก และ อาคารต่างๆ ช่ ว งเวลากว่ า สิ บ ปี   ตั้ ง แต่   พ.ศ. ๒๔๔๑ จวบจนการเสด็ จ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๕๓ จึงเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธ เจ้าหลวงทรงทุ่มเทให้แก่การสร้าง บ้าน แห่งนี้ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ โดยมีเจ้านาย เสนาบดี ตลอดจนนายช่างสถาปนิก ทั้งชาวไทยและ ชาวตะวันตก ร่วมแรงร่วมใจกันท�ำงานสนองพระราชประสงค์


6

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• พระราชวังดุสิต เมื่อครั้งจัดงานรัชมังคลาภิเษก สมัยรัชกาลที่ ๕

• เจ้าพระยายมราชและนายช่างฝรั่งผู้มีบทบาทในการสร้างพระที่นั่งอนันต สมาคม พระราชวังดุสิต


7

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• ลายปูนปั้นที่พระที่นั่งอุดรภาค (ภาพจาก มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตน โกสินทร์ เล่ม ๒. ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. ส�ำนักราช เลขาธิการ พิมพ์เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕)

และเนื่องเพราะพระราชวิสัยทัศน์อันกว้างไกล วังสวนดุสิต จึงมิได้เป็นเพียง บ้าน แต่ได้กลายเป็นโครงการสร้าง เมือง ที่เป็น ปฐมบทของการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ สมัยใหม่ เป็นรากฐานของ ความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางทั้งสยามประเทศ ที่ส่งผลสืบเนื่อง ต่อมาอีกกว่าร้อยปี  สาระส�ำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับ วังสวนดุสิต จึง เป็นพื้นฐานส�ำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง ไทยและอีกหลายเรื่อง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต



มูลเหตุในการสร้าง พระราชวังดุสิต


10

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

...ฉันคิดจะท�ำบ้านเปนที่ไปเที่ยวเล่น ได้กะตกลงใจว่าจะ ซื้อที่ตั้งแต่บ้านประวิตร ๑ ไปจนถึงคลองสามเสน ตั้งแต่ถนนสามเสน ยื น ขึ้ น ไปจนถึ ง ทางรถไฟ ได้ ม อบให้ ก รมหมื่ น มหิ ศ รแลกรมหมื่ น สรรพสาตรเปนผู้จัดซื้อแลวางแปลน มีความประสงค์อยากจะใคร่ ให้ได้เร็วๆ ด้วยไม่มีที่เดินเหินเที่ยวเล่น  สังเกตได้ว่าเมื่ออยู่บาง ปอินสบาย เพราะได้เดินทุกวัน ครั้นกลับลงมานี่ก็ไม่ใคร่สบาย ขึ้นทุกวัน  ขอให้เธอสั่งพระยาราชรองเมืองแลอ�ำเภอสามเสนแล บางขุ น พรหม ให้ ช ่ ว ยกรมหมื่ น มหิ ศ รแลกรมหมื่ น สรรพสาตร ใน การที่จะจัดซื้อที่เหล่านั้นให้ได้โดยเร็ว อย่าให้เปนที่ขัดข้องจะมีความ ขอบใจเปนอันมาก...๒ ข้ อ ความข้ า งต้ น เป็ น พระราชหั ต ถเลขาพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดี กระทรวงนครบาล ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) เกี่ยวกับพระราชประสงค์ในการจัดซื้อที่ดินบริเวณต�ำบลสามเสน

ก่อนจะเป็นสวนดุสิต เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว  เสด็ จ พระ ราชด�ำเนินกลับจากทวีปยุโรป ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ มีพระราช ประสงค์ที่จะสร้างที่ประทับใหม่ เพื่อส�ำราญพระราชอิริยาบถ  เนื่อง จากสภาพพระบรมมหาราชวังที่มีอายุกว่าร้อยปีเริ่มคับแคบ ผู้คน ข้าราชส�ำนักและข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน พ�ำนักอาศัยร่วมกัน อย่างแออัด  มีการปลูกสร้างพระต� ำหนัก เรือน และอาคารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย  สิ่งก่อสร้างที่อยู่รายรอบพระที่นั่งที่ประทับ จึงบังทิศทางลม และท�ำให้อากาศร้อนจัดโดยเฉพาะในฤดูร้อน จนมีผลต่อพระพลานามัย ในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และพระบรมวงศานุ ว งศ์   อี ก ทั้ ง


11

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๙ (หรือรู้จักกันในชื่อ แผนที่นายวอนนายสอน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ปรับปรุง ข้อมูลแผนที่ที่เคยจัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ให้ทันสมัย โดยช่างเขียนแผนที่ ๒ ท่าน คือ นายวอนและนายสอน คัดลอกเส้นแผนที่ขึ้นใหม่ และพิมพ์เผยแพร่ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ทั้งนี้ มีข้อสังเกตคือ แผนที่ชุด นี้เว้นว่างบริเวณวังสวนดุสิตเอาไว้ (ภาพจาก ห้องปฏิบัติการแผนที่และเอกสาร ประวัติศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)


12

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

มีพระราชอัธยาศัยโปรดด�ำเนินด้วยพระบาทในระยะทางพอสมควร แก่พระก�ำลัง การประทับบนพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง จึงไม่ สามารถเสด็จได้ เป็นเหตุให้ทรงไม่สบายพระอิริยาบถ จนต้องเสด็จ ประพาสหัวเมืองอยู่เนืองๆ  ประกอบกับในคราวเสด็จประพาสต่าง ประเทศ ได้ทอดพระเนตรพระราชวังและพระราชอุทยานของกษัตริย์ ของประเทศต่างๆ ล้วนมีพื้นที่กว้างใหญ่ ปลูกพืชพันธุ์นานาชนิด ให้ ความร่มเย็นสดชื่น และเป็นที่สงบ ท�ำให้มีพระราชประสงค์ที่จะมี พระราชนิเวศน์ที่ประทับนอกเมือง ส�ำหรับประทับพักผ่อนพระราช อิริยาบถเป็นการส่วนพระองค์ การสร้าง สวนดุสิต นั้น ยังมีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนา การทางกายภาพของเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเจริญเติบโตขึ้นโดยล�ำดับมา ตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ด้วย พระราชวิสัยทัศน์ทรงเล็งเห็นความจ�ำเป็นในการขยายขนาดพระนคร ในอนาคต  ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุด คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองคูเมืองชั้นนอก ขยายพื้นที่พระนคร

• พระราชวังบางปะอิน ที่พระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ไปประทับ


13

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ออกไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ เป็นพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ถึงเท่าตัวของพระนครที่มีอยู่เดิม  นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างพระราช อุทยาน (พระราชวังปทุมวัน) ขึ้นที่นอกพระนครทางทิศตะวันออก เพื่อเป็นที่เสด็จประพาส ดุจเดียวกับการสร้างสวนดุสิต ในรัชกาล ถัดมา ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ เมืองกรุงเทพฯ เริ่มขยายตัวลงไปทาง ด้านใต้ ต่อเนื่องจากบริเวณส�ำเพ็ง ตลาดน้อยลงไปถึงบางรัก ที่เป็น ย่านการค้าและอุตสาหกรรม ถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ  ส่วน บริเวณด้านตะวันออก โปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่ดิน ขุดคูคลองท�ำเป็น สวนหลวงเพื่ อ พั ฒ นาที่ ดิ น   ทั้ ง ยั ง โปรดให้ ส ร้ า ง วั ง ใหม่  หรื อ วั ง วินด์เซอร์ เพื่อพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหา วชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร๓ ส�ำหรับพื้นที่ตอนเหนือของพระนคร นอกแนวคลองผดุงกรุง เกษมขึ้นไปนั้น คงเป็นพื้นที่สวนต่อกับทุ่งนาคือ ทุ่งส้มป่อย มีแนว คลองโบราณ เช่น คลองส้มป่อย คลองสามเสน ตลอดจนร่องสวน ตามลักษณะพื้นที่เดิม  การเปลี่ยนแปลงที่สำ� คัญมีเพียงการขุดคลอง สวัสดิเปรมประชากร ที่แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๑๖  ฉะนั้น เมื่อพระองค์มีพระราชด�ำริที่จะสร้างพระราชนิเวศน์ ที่ประทับใหม่ เพื่อผ่อนคลายพระราชอิริยาบถในพระราชอุทยาน ตาม อย่างพระราชฐานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในทวีปยุโรป จึงทรง เลือกพื้นที่ทางตอนเหนือของพระนคร นอกแนวคลองผดุงกรุงเกษม นี้เอง เพราะเป็นที่โปร่งสบาย ยังไม่มีบ้านเรือนราษฎรอยู่มากมายนัก สะดวกแก่ ก ารจั ด ซื้ อ ที่ ดิ น  ทั้ ง ยั ง เป็ น การส่ ง เสริ ม การขยายตั ว ของ พระนครออกมาทางทิศนี้  เพราะการสร้างพระราชฐานที่ประทับนั้น ย่อมมีความส�ำคัญเทียบเท่ากับการสร้างเมืองใหม่  ด้วยพระบรม วงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ก็ย่อมเจริญรอยตามพระราชนิยมใน การขยับขยาย ย้ายที่อยู่อาศัยจากภายในพระนครที่คับแคบ ออกมา นอกเมืองเช่นกัน๔


14

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ เมืองกรุงเทพฯ เริ่มขยายตัวลงไปทางด้านใต้ ส่วนด้าน ตะวันออก โปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่ดิน ท�ำเป็นสวนหลวงเพื่อพัฒนาที่ดิน ทั้งยัง โปรดให้สร้าง วังใหม่ หรือวังวินด์เซอร์ เพื่อพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร (ภาพจาก อภินันท์ โปษยานนท์. จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส�ำนัก เล่ม ๑. ส�ำนักพระราชวัง จัดพิมพ์สนองพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕)


15

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

เริ่มจากสวนดุสิต  ในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ระหว่างการเสด็จพระราชด�ำเนินทอด พระเนตรพื้นที่สวนและทุ่งนาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระ บรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอ พระราชหฤทัยพื้นที่ตั้งแต่คลองผดุงกรุงเกษมไปทางทิศเหนือจนถึง คลองสามเสน และจากถนนสามเสนไปทางทิศตะวันออกจนถึงทาง รถไฟ ว่าเป็นที่เหมาะสมแก่การสร้างอุทยานสถาน เนื่องจากท�ำเลดี และอยู่ไม่ห่างจากพระบรมมหาราชวังมากนัก จึงโปรดให้เจ้าพนักงาน ค่อยๆ รวบรวมจัดซื้อที่ดิน เพื่อสร้างเป็นที่สำ� หรับเสด็จประพาส

จาก สวนดุสิต  เป็น วังสวนดุสิต  ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัด ไม้บนที่ดินผืนนี้เป็นปฐมฤกษ์  ทรงพระราชทานชื่อต�ำบลบริเวณแห่ง นี้ว่า สวนดุสิต  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาล เป็นผู้รับผิดชอบในการเจรจากับเจ้าของที่ดินรายต่างๆ ร่วมกับกรม พระคลังข้างที่ เป็นผู้แทนพระองค์ในการจัดซื้อที่ดินดังกล่าว โดยให้ ราคาเป็นไปตามอัตราที่ฝ่ายเจ้าของที่เห็นว่าสมควร และยอมตกลง ขายที่ โดยให้มีการท�ำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินอย่างชัดเจน  เมื่อทรงใช้จ่ายจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ มิใช่เงินแผ่นดิน จึงมิได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้เรียกที่ประทับแห่งใหม่ว่าพระราชวัง หากให้เรียกเพียง วังสวนดุสิต เท่านั้น ดังในราชกิจจานุเษกษา เล่ม ๑๕ ร.ศ. ๑๑๗ หน้า ๕๔๓ ความว่า๕  แจ้งความเรื่องสวนดุสิต ด้วยทรงพระราชด�ำริว่า ในฤดูร้อนในพระบรมมหาราชวังร้อน


16

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

จัด เพราะมีตึกบังอยู่โดยรอบ ไม่เปนที่ลมเดินสะดวก  อนึ่งพระราช อัธยาไศรย โปรดทรงพระราชด�ำเนินด้วยพระบาทในระยะทางอันหนึ่ง พอสมควรแก่พระก�ำลังก็เปนที่ทรงสบาย ถ้าประทับอยู่บนพระที่นั่ง ไม่ได้เสด็จพระราชด�ำเนินแห่งใดหลายเดือน ก็ไม่ใคร่ทรงสบาย จึง ต้องเสด็จพระราชด�ำเนินประพาศหัวเมือง เพื่อได้ทรงส�ำราญพระราช อิริยาบถเนืองๆ  ทรงมีพระราชด�ำริจะให้มีที่ประทับร้อน และมีที่ทรง พระราชด�ำเนินด้วยพระบาทในกรุงเทพฯ ให้เป็นการสะดวกดีได้ตาม พระราชประสงค์ทุกเมื่อ  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่สวน แลนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนด้านตะวันออก จดทางรถไฟด้วยเงินพระคลังข้างที่ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจะได้ท�ำเป็นที่ประทับแลถนนหนทางที่ประพาสต่อไป ด้วยเงิน พระคลังข้างที่ทั้งสิ้น พระราชทานชื่อที่ต�ำบลนี้ว่า สวนดุสิต ผู้ใดจะเรียกชื่อที่นี่ ให้เรียกตามชื่อที่พระราชทานไว้ ฤๅถ้าจะ ออกชื่อที่ประทับก็ห้าม อย่าให้เรียกว่า พระราชวัง เพราะเหตุ ที่มิได้สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส�ำหรับใช้จ่ายการแผ่นดิน ซึง่ จะเป็นพระราชวังส�ำหรับสืบไป  ทีว่ งั นีบ ้ างทีจะพระราชทาน เป็นวังพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดต่อไป  เพราะฉะนั้น จึงไม่ควร เรียกว่า พระราชวัง ให้เรียกว่า วังสวนดุสิต เท่านั้นก็เป็นการ สมควรแล้ว  แจ้งความมา ณ วันที่ ๗ มีนาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๑๗   กรมหมื่นสมมติอมรพันธุ์  เจ้ากรมพระคลังข้างที่ พระองค์ทรงก�ำหนดพระบรมราโชบายในการพัฒนาพื้นที่ เริ่ม ตั้งแต่การตัดถนน ขุดคลอง ท�ำสะพาน จัดสวนไม้ดอกและสวนผลไม้ รวมทั้งมีการปลูกพลับพลาชั่วคราวเป็นเรือนไม้สักใหญ่ชั้นเดียว เพื่อ เป็นที่ประทับแรม  เมื่อสิ่งก่อสร้างบางส่วนแล้วเสร็จ พอที่จะเสด็จพระราชด�ำเนิน


17

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ไปประทับแรมได้ จึงโปรดให้มีหมายก�ำหนดการเถลิงพลับพลาและ งานปีสวนดุสิต ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ไปจนถึงวันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ประกอบด้วยงานพระราชทานเลี้ยงน�้ำชา แก่ พ ระบรมวงศานุ ว งศ์ แ ละข้ า ราชการ พระราชพิธีเ จริญ พระพุ ท ธ มนต์ และถวายภัตตาหารเพล พระราชทานสิ่งของแก่ราษฎรที่มารอ เฝ้า พระราชทานข้าวกระทงกับผ้าอาบน�ำ้ ให้กับคนท�ำงานในสวนดุสิต งานประกวดเครื่องชิ้นโต๊ะที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการน� ำมา จัดตกแต่งพลับพลา ตลอดจนมีการละเล่นรื่นเริง เช่น การแสดงลิเก โดยโปรดให้ราษฎรมาตั้งร้านขายเครื่องบริโภคต่างๆ ในที่ใกล้โรงลิเก๖ การก่อสร้างที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งในระยะนี้คือ การสร้าง ถนนราชด�ำเนิน เพื่อเป็นเส้นทางเสด็จพระราชด�ำเนินจากพระบรม มหาราชวังมายังสวนดุสิต ซึ่งแต่เดิมนั้นใช้เรือพระที่นั่งเสด็จพระราช ด�ำเนินทางชลมารคมาตามล�ำแม่น�้ำเจ้าพระยา หรือใช้รถยนต์ รถม้า พระที่นั่ง มาตามถนนสามเสน ซึ่งเป็นถนนเก่าคดเคี้ยว ไม่เป็นการ สะดวก  ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ รัช กาลที่ ๕ จึง โปรดให้ ก รมศุ ข าภิบ าล ตัดถนนราชด�ำเนินขึ้น จากสวนดุสิตตรงมาถึงประตูพฤฒิบาศที่คลอง รอบกรุง เป็นถนนราชด�ำเนินนอก แล้วจึงโปรดให้ตัดถนนราชด�ำเนิน กลางและถนนราชด�ำเนินใน ใน พ.ศ. ๒๔๔๓ และ พ.ศ. ๒๔๔๔ ตาม ล�ำดับ เป็นถนนหลวง (avenue) ที่งดงามตามมาตรฐานตะวันตก ประกอบด้วยสะพาน น�้ำพุ วงเวียน และต้นไม้ต่างๆ ตามถนนอย่าง เต็มที๗่

พัฒนาการของวังสวนดุสิต

ตั้งแต่การเถลิงพลับพลาที่สวนดุสิต ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นต้น มา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด� ำเนิน แปรพระราชฐานมาประทับ ณ สวนดุสิตบ่อยครั้งขึ้นโดยล�ำดับ  ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๔๓ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานสร้างพระที่นั่ง ที่ ประทับเป็นอาคารอย่างถาวรขึ้นองค์แรก ณ สวนดุสิต โดยโปรดให้


18

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นที่ประทับที่เป็นอาคารอย่างถาวรเป็นองค์แรก ณ สวนดุสิต

• พระที่นั่งอภิเศกดุสิต รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นท้อง พระโรง ณ สวนดุสิต


19

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

พระราชโยธาเทพ (กร หงสกุล) เป็นนายงาน รื้อพระที่นั่งมันธาตุ รัตนโรจน์ เกาะสีชัง๘ มาประกอบขึ้นใหม่ที่สวนดุสิต ขยายขนาด ให้เหมาะแก่พระราชประสงค์ ใช้เป็นทั้งที่ประทับของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระมเหสี พระสนมเอก และพระราชธิดา แล้วเสร็จ และมี ก ารพระราชพิ ธีเ ฉลิ ม พระที่ นั่ ง เมื่ อ วั น ที่   ๒๗ มี น าคม พ.ศ. ๒๔๔๔ พระราชทานนามพระที่นั่งว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ นอกจากนี้ รัชกาลที่ ๕ ยังโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานสร้าง พระที่นั่ง พระต�ำหนัก และอาคารอื่นๆ เพื่อประกอบให้สวนดุสิตเป็น พระราชนิเวศน์ที่ประทับอย่างสมบูรณ์  มีพระที่นั่งอภิเศกดุสิต ใช้ เป็นท้องพระโรงในการพระราชพิธีต่างๆ และการประชุมเสนาบดีสภา เรือนต้น เป็นหมู่เรือนไทยที่เป็นที่ประทับทรงส�ำราญพระราชอิริยาบถ แบบคหบดีไทย ตลอดจนพระต�ำหนักของพระมเหสีเทวี เช่น พระ ต�ำหนักสวนหงส์ พระต�ำหนักสวนสี่ฤดู พระต�ำหนักสวนนกไม้ เป็นต้น

จาก วังสวนดุสิต  เป็น พระราชวังสวนดุสิต  เมื่อการก่อสร้างพระที่นั่งและพระต�ำหนักหมู่แรกได้ลุล่วงไป แล้ว ทรงพอพระราชหฤทัยในพระราชนิเวศน์ใหม่แห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงมีพระราชด�ำริที่จะสร้างพระที่นั่งที่ประทับ เป็นอาคารเครื่องก่ออย่าง ทันสมัย มีรูปแบบศิลปกรรมอย่างตะวันตกตามพระราชนิยม ให้เป็น ที่ทรงพระส�ำราญยิ่งไปกว่าพระที่นั่งวิมานเมฆ อันเป็นอาคารเครื่องไม้ ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงมีพระบรมราชโองการให้นายคาร์ล ซันเดรสกี นายช่างเอกประจ�ำกรมโยธาธิการ ด�ำเนินการออกแบบพระที่นั่งองค์ ใหม่ เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยมี พระสถิตย์นิมานการ (ม.ร.ว. ชิต อิศรศักดิ์) และพระยาสุขุมนัย วินิต (ปั้น สุขุม) ควบคุมการก่อสร้าง พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา) ดูแลการตกแต่งภายใน  โดยพระบาทสมเด็จพระ


20

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน ขึ้นทางทิศ ตะวันออกของพระราชวังสวนดุสิต

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก�ำกับดูแลการออกแบบ ก่อสร้างทุกขั้น ตอนด้วยพระองค์เอง  มีการพระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่งในวันที่ ๑๙ กุ ม ภาพั น ธ์  พ.ศ. ๒๔๔๙ พระราชทานนามพระที่ นั่ง ว่ า  พระที่ นั่ ง อัมพรสถาน ขณะที่ ก ารก่ อ สร้ า งพระที่ นั่ ง อั ม พรสถานก�ำ ลั ง ด� ำ เนิ น ไปนั้ น โปรดให้เจ้าพนักงานกะการสร้างพระที่นั่งขึ้นอีกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็น ท้องพระโรงที่เสด็จออกมหาสมาคม คู่กันกับพระที่นั่งอัมพรสถาน เหมือนพระที่นั่งอภิเศกดุสิต คู่กับพระที่นั่งวิมานเมฆ โดยระดมช่าง ฝรั่งชาวอิตาเลียนประจ�ำกรมโยธาธิการมาร่วมกันออกแบบ จนมีพระ ราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ได้ ในวันที ่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑๙ นอกจากพระที่นั่งอัมพรสถานและพระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว ยังโปรดให้สร้างอาคารสถานที่ต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นโดยล�ำดับ  ที่ส�ำคัญ ได้แก่ พระต�ำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ ที่ประทับของพระเจ้าลูกยา เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระราชโอรสรุ่นเล็ก ที่โปรด ปรานอย่างยิ่ง  ตลอดจนการสร้างพระที่นั่งอุดรภาค เป็นส่วนขยาย


21

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ของพระที่นั่งอัมพรสถานออกมาทางทิศเหนือ  นอกจากนี้ยังมีแผน การปรับปรุงพื้นที่บริเวณพระราชฐานฝ่ายหน้าคือ สวนอัมพร สวน กวาง พระลานพระราชวั ง ดุ สิ ต  ตลอดจนสวนมิ ส กวั น  มี ก ารสร้ า ง พระบรมรูปทรงม้าขึ้นที่พระลานใน พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นต้น ในส่วนของพระราชฐานฝ่ายในนั้น พระองค์มีพระราชด� ำริให้ ขยายเขตวังทางทิศตะวันตกออกไปจนจดถนนสามเสน แบ่งเขตเป็น พระราชอุทยาน เรียกว่า สวนสุนันทา เพื่อเตรียมไว้เป็นที่ประทับ ของพระมเหสีเทวี พระสนมเอก พระราชธิดา และที่อยู่ของเจ้าจอม มารดา ในกรณีที่พระองค์เสด็จล่วงสวรรคาลัยไปแล้ว ในช่วงปลายรัชกาล วังสวนดุสิตจึงเป็นพระราชฐานที่ประทับ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยสมบูรณ์ มีการก่อ สร้างอาคารสถานที่ต่างๆ มากมายในเขตพระราชฐาน  ส่วนบริเวณ โดยรอบนั้น ก็โปรดให้สร้างวังพระราชทานพระราชโอรสชั้นสมเด็จ เจ้าฟ้า เช่น วังจันทรเกษม ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยาม มกุฎราชกุมาร  วังปารุสกวัน ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ วังลดาวัลย์ ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร  และวังบางขุนพรหม ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ เป็นต้น  ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จึงมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนฐานะ วัง สวนดุสิต เป็น พระราชวังสวนดุสิต ตามความในประกาศพระ บรมราชโองการ ความว่า๑๐ ประกาศเรียกวังสวนดุสิต เป็นพระราชวัง ด้วยวังสวนดุสิตแต่ก่อนที่ทรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับชั่วคราว ด้วยเงินพระคลังข้างที่  แต่บัดนี้เป็นที่ทรงพระส�ำราญ เสด็จประทับ อยู่เป็นนิจสืบมาช้านานแล้ว ทั้งได้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็น ท้องพระโรงขึ้นด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียก พระราชวัง ตั้งแต่รัตนโกสินทร ศก ๑๒๘ นี้ไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๘ เป็น วันที่ ๑๔๗๕๘ ในรัชกาลปัตยุบันนี้


22

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

จาก พระราชวังสวนดุสิต  เป็น พระราชวังดุสิต ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครอง ราชย์ต่อจากพระบรมชนกนาถใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้การก่อสร้างหมู่พระที่นั่งด�ำเนินต่อไปให้แล้วเสร็จ  อีกทั้ง โปรดเกล้าฯ ให้ขยายบริเวณพระราชวังสวนดุสิตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณสวนสุนันทา  แต่การก่อสร้างมิได้แล้วเสร็จ ด้วยเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับเป็นพระราชธุระให้มีการด�ำเนินการต่อ โดยมีเจ้าพระยา ยมราชเป็นผู้อ�ำนวยการก่อสร้างพระต�ำหนักและเรือนต่างๆ  โดยใน พ.ศ. ๒๔๕๙ มีพระบรมราชโองการให้เรียก พระราชวังสวนดุสิต ว่า พระราชวังดุสิต๑๑  ประกาศขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต มีพระบรมราชโองการด�ำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศว่า พระ ราชวังสวนดุสติ  ซึง่ แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราชได้โปรด เกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อเปนสวนที่ประพาส จึงให้เรียกว่า วังสวนดุสิต ครั้นต่อมาทรงพระราชด�ำริห์ว่า การที่ได้ทรงสร้างวังสวนดุสิตขึ้น ก็ เท่ากับขยายเขตร์พระนครให้แผ่ไพศาลออกไป เมื่อเปนผลถึงพระ มหานครด้วยเช่นนี้ เปนอันสมควรให้เปนพระราชวังส�ำคัญ...ที่เรียก ว่า พระราชวังสวนดุสิต มาแล้วนั้น แต่นี้ต่อไปให้เรียกแต่ว่า พระราชวังดุสิต ยกค�ำว่า สวนออกเสีย... ประกาศมา ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๙ เปนวันที่ ๒๐๘๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน ด้ ว ยสถาปั ต ยกรรมพระที่ นั่ ง ที่ ง ดงาม ประกอบกั บ เขตพระ


23

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ราชฐานที่กว้างขวาง กอปรด้วยภูมิสถาปัตยกรรม อุทยานสถานที่ ร่มรื่น พระราชวังดุสิตจึงเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สืบมาอีก ๒ รัชกาล ทั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น โปรด เกล้าฯ ให้จัดพระที่นั่งอัมพรสถานเป็นที่ประทับของเจ้านายต่างประเทศ ที่เสด็จมาร่วมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ จาก นั้นก็ทรงใช้พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประทับบ้างเป็นครั้งคราว  ส�ำหรับ บริเวณอื่นๆ ในพระราชวังสวนดุสิตนั้นก็โปรดให้มีการก่อสร้างสืบ ต่อมา ตามพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยการ ก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๕๙ และมีการ สร้างพระต�ำหนักที่ประทับ พระที่นั่งนงคราญสโมสร ตลอดจนหมู่ เรือนต่างๆ ในสวนสุนันทาอีกด้วย  ในส่วนพระองค์นั้น รัชกาลที่ ๖ โปรดให้เจ้าพนักงานสร้างพระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานขึ้น ทางทิศ ตะวันออกของพระราชวังสวนดุสิต เพื่อเป็นที่เสด็จประทับแรมและ ทรงพระอักษร ในรัช กาลพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หัว  ยัง เสด็จ ฯ ไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานอยู่ต่อมา โดยโปรดให้มีการสร้าง สนามเทนนิสขึ้น เป็นส่วนหนึ่งขององค์พระที่นั่ง  นอกจากนี้ยังเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานบ้างเป็นครั้งคราว โปรดให้ สร้างสนามกอล์ฟหลวงสวนจิตรลดาขึ้น เพื่อเป็นที่ทรงกอล์ฟ๑๒ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เกิดความ เปลี่ยนแปลงอย่างมากกับพื้นที่พระราชวังดุสิต ตลอดจนอาคารสถานที่ ต่ า งๆ ในบริ เ วณนี้  พระที่ นั่ ง อนั น ตสมาคมใช้ เ ป็ น ที่ ป ระชุ ม รั ฐ สภา ขณะที่สวนสุนันทากลายเป็นพื้นที่ของหน่วยงานราชการและสถาบัน การศึกษา มีเฉพาะหมู่พระที่นั่งองค์ส�ำคัญๆ เช่น พระที่นั่งวิมานเมฆ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต พระที่นั่งอัมพรสถาน และพระที่นั่งอุดรภาค เท่ า นั้ น ที่ ยั ง คงได้ รั บ การดู แ ลรั ก ษาไว้ เ ป็ น เขตพระราชฐาน  จนถึ ง รัชกาลปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ


24

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• พระต�ำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ ที่ประทับในพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า อุรุพงษ์รัชสมโภช


25

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

นิวัติพระนครจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับ ณ ประเทศไทย อย่ า งถาวรใน พ.ศ. ๒๔๙๓ นั้น  รัฐ บาลในขณะนั้น ได้ จัด พระที่นั่ง อั ม พรสถาน พระราชวั ง ดุ สิ ต  เป็ น ที่ ป ระทั บ ชั่ ว คราว  จากนั้ น จึ ง มี พระบรมราชโองการให้ปรับปรุงพระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ ประทับสืบมาจนทุกวันนี้ ส� ำ หรั บ อาคารสถานที่ ส ่ ว นอื่ น ๆ ในพระราชวั ง ดุ สิ ต นั้ น  ก็ มี ความเปลี่ยนแปลงโดยล�ำดับมา เช่น พื้นที่สวนสุนันทา กลายเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย  พื้นที่สวน กวาง กลายเป็ น สวนสั ต ว์ ดุ สิ ต  เขาดิ น วนา ฯลฯ  นอกจากนี้ ยั ง มี ประชาชนพ�ำนักอาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างหนาแน่นเช่นกัน  อย่างไรก็ดี นับแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา สมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงริเริ่มการอนุรักษ์อาคารสถานที่ที่สำ� คัญ ในเขตพระราชฐาน โดยปรับเปลี่ยนการใช้สอยให้เหมาะสม เช่น การ จัดพระที่นั่งวิมานเมฆเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ตลอดจน สิ่ ง สะสมต่ า งๆ  การจั ด พระที่ นั่ ง อภิ เ ศกดุ สิ ต เป็ น ที่ จั ด แสดงศิ ล ป หัตถกรรมและสิ่งของจากมูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  การจัดหมู่พระต� ำหนักของพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายในเป็นอาคารที่จัดแสดงศิลปวัตถุต่างๆ  ตลอดจนการใช้พระ ที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่แสดงนิทรรศการศิลป์แผ่นดิน แสดงผลงาน ชั้นเยี่ยมของมูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นต้น  สวนดุสิต แห่งอดีต ได้เปลี่ยนแปลงเป็นล�ำดับตามกาลเวลา พร้อมกับพัฒนาการของบ้านเมืองจวบจนถึงปัจจุบัน  ทุกวันนี้ อาณา บริเวณพื้นทีพ ่ ระราชวังดุสิต อันประกอบด้วยพระที่นั่งอนันตสมาคมฯ และหมู่พระที่นั่งอัมพรสถานฯ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ยังคงธ�ำรงอยู่อย่างสง่างาม


เชิงอรรถ

๑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณ

กิติบดี พระราชโอรสลำ�ดับที่ ๑๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาแช่ม บุตรีพระยามหาอำ�มาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ทรงเป็น พระราชโอรสกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ รับ ราชการในสำ�นักราชเลขาธิการ ในตำ�แหน่งราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จ พระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เมื่อสำ�เร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่าง การเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ และทรงได้รับการ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ้น พระชนม์เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ พระชนมายุได้ ๔๕ ชันษา  ๒ หจช. เอกสารกระทรวงนครบาล ร.๕ น.๑๘.๑ข/๒๘ เรื่ อ งซื้ อ ที่ ดิ น ตำ�บลสามเสน สร้างวังสวนดุสิต และบัญชีรายชื่อผู้ขายกับจำ�นวนเงิน (๒๙ พฤษภาคม ๒๔๔๓-๑๐ มิถุนายน ๒๔๔๔) พระราชหัตถเลขาของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดี กระทรวงนครบาล เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑).  ๓ บั ณ ฑิ ต  จุ ล าสั ย . “วั ง ลู ก หลวงนอกปราการกำ � แพงวั ง ,” ศิ ล ป วัฒนธรรม. ๗ (พฤษภาคม ๒๕๔๘) : ๑๔๐-๑๔๕.  ๔ แน่ ง น้ อ ย ศั ก ดิ์ ศ รี ,  ศ. ม.ร.ว. พระราชวั ง และวั ง ในกรุ ง เทพฯ พ.ศ.  ๒๓๒๕-๒๕๒๕. (กรุ ง เทพมหานคร : โรงพิ ม พ์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย , ๒๕๒๕), น. ๓๖๘.  ๕ “แจ้งความเรื่องสวนดุสิต,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๕ ตอน ๕๐ (๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๒), น. ๕๔๓. ๖ “กำ � หนดการงานเถลิ ง พลั บ พลาและงานปี ส วนดุ สิ ต ,” ราชกิ จ จานุ   เบกษา. (๒๘ กุมภาพันธ์-๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๘). ๗ พี ร ศรี   โพวาทอง. “ถนนราชดำ � เนิ น  ประวั ติ ก ารก่ อ สร้ า ง,” เมื อ ง  โบราณ. ๓๓ ฉ. ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๐) : ๓๒-๕๔. ๘ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ เป็นพระที่นั่งไม้สักทององค์ใหญ่ ที่โปรด ให้สร้างขึ้นไว้ ณ พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕  แต่เมื่อเกิด วิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ขึ้นในปีถัดมา จึงมิได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปอีก ๙ หจช. เอกสารกรมราชเลขานุการ รล ร.๕ ก.๑๒ กล่องที่ ๑ แฟ้มที่ ๔


27

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

“ประกาศพระบรมราชโองการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมสวนดุสิต” ๑๐ “ประกาศเรียกวังสวนดุสิตเป็นพระราชวัง,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม  ๒๖ (๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒), น. ๔๕.  ๑๑ “ประกาศขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต,” ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม ๓๓ (๓๐ กรกฎาคม ๒๔๕๙), น. ๑๑๓-๑๑๖. ๑๒ แน่ ง น้ อ ย ศั ก ดิ์ ศ รี ,  ศ. ม.ร.ว. พระราชวั ง และวั ง ในกรุ ง เทพฯ พ.ศ.  ๒๓๒๕-๒๕๒๕, น. ๓๗๓-๓๗๕.



การจัดซื้อที่ดินสวนดุสิต


30

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

...ตามที่ว่านี้ดูก็จะเต็มราคา ควรจะสืบสวนให้รู้เค้าเงื่อน กรม หมื่นมหิศรรับว่าจะสืบดูได้ ให้เอาแผนที่แลหนังสือนี้ไปให้ดูด้วย แต่ การที่ซื้อไม่ได้ว่าราคากันดังนี้ อยู่ข้างจะเป็นความล�ำบากแก่เรา ถ้าจะ เอาไว้จะต้องว่าให้มีหลักฐาน อย่าให้เห็นเป็นกดขี.่ ..๑ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว พระราชทานเจ้าหมื่นเสมอใจราช เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) เกี่ยวกับเรื่องการจัดซื้อที่ดินจากราษฎร เพื่อ สร้างสวนดุสิต โดยทรงก�ำชับว่าควรให้ราคาที่พอใจทั้ง ๒ ฝ่าย อย่า กดราคาเกินไปจนเห็นเป็นการกดขี่ได้

การจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างสวนดุสิต การจัดซื้อที่ดินบริเวณสวนดุสิตนั้น เป็นไปตามพระราชประ สงค์ให้ด�ำเนินการจัดซื้อที่ดินจากราษฎร โดยใช้เงินพระคลังข้างที่ อันเป็นเงินส่วนพระองค์เอง เพื่อสร้างสถานที่ส� ำหรับเสด็จประพาส น่าจะเป็นเรื่องใหม่และครึกโครมในสังคมไทยสมัยนั้น  ส่วนหนึ่งได้ สร้างความหวาดวิตกแก่ราษฎร ด้วยเกรงจะถูกกดราคาจากฝ่ายรัฐ เจ้าของที่ดินบางรายจึงอ้างตนเป็นคนในบังคับต่างชาติ เพื่อไม่สามารถ บังคับให้ขายที่ดินได้ หากราคายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ไปจนถึงการขอให้ ชาวต่างชาติช่วยเจรจา และน่าจะเป็นที่มา เมื่อหนังสือพิมพ์บางกอก ไทมส์ตีพิมพ์บทความหลายชิ้นเกี่ยวกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้น  หาบาตรไหญ่จะมาขู่ ในเวลานี้เราทราบข่าวเปนการลับๆ ว่าราษฎรบรรดาที่อยู่ใน บริเวณสวนดุสิตนั้น ที่ยังไม่ได้ตกลงกันกับราคาที่เจ้าพนักงานตีให้ ซึ่งเปนการเกี่ยงแย่งกันอยู่ก็หลายราย  แต่เขาทราบว่าอ�ำนาจในส่วน ตัวเขานั้นไม่เพียงพอจะโต้เถียงขัดขืนต่ออ� ำนาจเจ้าพนักงานได้เปน แน่  บางที่จะต้องยิงยอมเสียกลางทาง ประดุจหนึ่งว่าเรือล่มกลาง


31

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

มหาสมุทเช่นนั้น  เพราะฉะนั้นบางพวกก็เที่ยววิ่งหาอ�ำนาจต่างประเทศ โดยอุบายต่างๆ ที่จะขอให้ป้องกันต่อสู้กับอ� ำนาจเจ้าพนักงานฝ่าย สยามก็มีเนืองๆ หลายรายแล้ว แต่เปนการลับๆ หามีผู้ใดทราบทั่ว กันไม่  ถ้าการเปนไปตามความปราถนาของผู้ที่หาชาวต่างประเทศ เข้ามาต่อสู้อ�ำนาจของเจ้าพนักงานแล้วก็จะเปนการฝืดเคืองต่อเจ้า พนักงานได้ส่วนหนึ่งถนัดเปนแน่ เพราะฉะนั้นเราได้สันนิถานใคร่ครวนดูในข้อความนี้ก็เหนว่า ผู้ที่กระท�ำการประพฤติ์ตนเช่นนั้น ก็เปนการปราศจากเสียซึ่งความ กตัญญูต่อเจ้าแผ่นดินไปได้สถานหนึ่ง  แต่ถ้าจะใคร่ครวญดูไปอิก ก็คงจะเกิดปัญหาได้ว่า ถ้าพอดีๆ แล้วคนเหล่านั้นก็คงจะไม่แสวงหา อ�ำนาจต่างประเทศมาขู่เจ้าพนักงานเลย  ถึงกะไรก็ดีเราเข้าใจว่าเจ้า พนักงานคงจะจัดการให้เรียบร้อยมิให้ราษฎรได้รับความดิ้นรนกระวน กระวายเปนแน่ กับอิกประการหนึ่งให้รีบเร่งป้องกันน�้ำใจราษฎรอย่า ให้มีชาวต่างประเทศเข้ามากีดขวางในที่ตามสถานเหล่านั้นเลย ๒ น�้ำตาเจียนตกอกเจียนแตก ในเวลานี้ เราได้รับค� ำร้องทุกข์มหาชนชายหญิงซึ่งมีที่อยู่ใน บริเวณสวนดุสิตนั้นเปนหลายฉบับ ล้วนแต่ขอร้องให้เราน�ำลงข่าวใน หนังสือพิมพ์ เพื่อจะได้โฆษณาการความทุกร้อนในอกให้ทรงทราบถึง พระบาทสมเด็จพระจ้าวอยู่หัว  ด้วยความนั้นก็มีล้วนแต่กล่าวพรรณา ไปว่าจะขายที่ให้ได้ราคาแพงๆ เจ้าพนักงานตีให้ถูกๆ เปนการไม่เพียง พอต่อความประสงค์  แลกล่าวว่าบางรายบางแห่งเขาก็ขายได้ราคา เกินกว่าเนื้อที่เปนหลายส่วน ไม่ทราบว่าถูกเหมาะอย่างไร  แต่บาง จ�ำพวกก็ได้ราคาแต่เล็กน้อยหาพอกับความประสงค์แลเนื้อที่ของตนไม่ เปนการเช่นนี้ก็เหลือที่เจ้าพนักงานจะจัดให้ราษฎรมีความศุขทั่วกันได้ จ�ำเปนจะต้องท�ำไปตามอัตรา  แต่ราษฎรนั้นก็พากันร้องเสมอว่าราคา ยังต�่ำนัก เจ้าพนักงานก็ร้องว่าราคาสูงแล้วๆ กลับต่อให้ลดลงอิกเปน การเช่นนี้ ราษฎรจึ่งมีความดิ้นรนไปผู้เดียว  แต่ถึงอย่างไรเราเข้าใจ ได้แน่ว่าพระบาทสมเด็จพระจ้าวอยู่หัว ผู้ตั้งอยู่ในพระมหากรุณาธิคุณ


32

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

ต่อราษฎรเปนยอดยิ่ง ก็คงจะทรงพระเมตตามิให้ทวยราษฎรได้รับ ความเดือดร้อน  แต่เจ้าพนักงานผู้จัดซื้อนั้นท่านก็อยากจะให้ราคา ต�่ำด้อยจะได้ไม่เปลืองพระราชทรัพย์  ถ้าการเหล่านี้ไม่จัดให้ราษฎร มีความศุขใจทั่วกันแล้วโดยถานเมตตาเพื่อนมนุษย์ซึ่งอยู่ในชาติไทย แลในความปกครองไทยแล้ว ราษฎรจ� ำพวกนั้นก็จะมีความดิ้นรน เจียนอกจะท�ำลาย แต่ถึงอย่างไรก็ดีก็คงร้อนๆ ไปแต่ผู้เดียวเท่านั้น ๓ หากศึกษาในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้แล้ว จะพบว่าในความเป็นจริง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณกอปรกับสายพระเนตรที่ยาวไกลและทันสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงใช้พระราช อ�ำนาจของพระองค์ในการเวนคืนพื้นที่หรือแลกเปลี่ยนที่ดินให้ราษฎร ผู้ครอบครองพื้นที่ท�ำกินบริเวณดังกล่าวย้ายไปยังพื้นที่อื่นๆ ตามแต่ พระราชประสงค์ ดังที่เคยมีการด�ำเนินการมา  การที่พระมหากษัตริย์ให้ดำ� เนินการซื้อที่ดินจากราษฎรผู้ครอบ ครองพื้นที่ โดยให้ราคาอย่างเป็นธรรมและท�ำหลักฐานการซื้อขายให้ ชัดเจนนั้น นับว่าเป็นมิติใหม่ของการปกครองในแบบสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ เนื่องจากโดยนัยของความเป็น พระเจ้าแผ่นดิน นั้น ทรงมีอ�ำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ตามที่บัญญัติไว้ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา อันเป็นสิทธิ์ในที่ดินที่ได้ประกาศใช้บังคับโดยชัดแจ้ง อยู่ในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ ๓๕, ๔๒ และ ๔๓ ซึ่งใช้บังคับ ตั้งแต่สมัยแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง สรุปได้ว่า ที่ดินทั้งหลายเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระราชทานให้ราษฎรอยู่ อาศัยท�ำมาหากินโดยพระมหากรุณาธิคุณ  ส่วนกฎหมายที่ดินของ ไทยแต่เดิมนั้น ถือว่าที่ดินเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ราษฎรเป็นผู้ยึด ครองในฐานะผู้อาศัยหรือโดยเสียภาษีอากร เป็นเสมือนหนึ่งค่าเช่า๔  หากย้อนกลับไปในอดีต การถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของคนไทย เป็นเรื่องง่ายไม่ซับซ้อน บุคคลหนึ่งบุคคลใดสามารถเป็นเจ้าของที่ดิน ได้ เมื่อตนเริ่มเข้ามาหักร้างถางพงเพาะปลูก ท�ำให้เกิดประโยชน์บน พื้นที่นั้น  ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชว่า...


33

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

หมากป่าพลูทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลาย หมากม่วงก็หลาย ใน เมืองนี้ใครสร้างได้ไว้แก่มัน...๕ เป็นการให้ประชาชนเข้าถือครอง หรือใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเสรี  ด้วยเหตุที่ในเวลานั้นจ�ำนวนผู้คน ไม่มาก แต่พื้นที่รกร้างว่างเปล่ามีมาก  นอกจากนี้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่ละผืนยังตกทอดต่อไปถึงลูกหลานได้ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอน ต้น ประชาชนยังคงเข้าถือครองที่ดินและใช้ประโยชน์ที่ดินได้ เช่น เดียวกันกับสมัยกรุงสุโขทัย แต่ก็ให้พระราชอ�ำนาจแก่พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้จะให้ราษฎรเข้าท�ำกินบนที่ดิน แต่สามารถ เรี ย กคื น ได้ ทุ ก เมื่ อ  ตามกฎหมายพระอั ย การเบ็ ด เสร็ จ  บทที่  ๔๒ บัญญัติว่า  ...ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ เป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว หากให้ราษฎร ทั้งหลาย ผู้เป็นข้าแผ่นดินอยู่ จะได้เป็นที่ราษฎรหามิได้  เมื่อที่ดินทั่วทั้งราชอาณาจักรเป็นของพระมหากษัตริย์ จึงห้าม ไม่มีการซื้อขายกัน  ผู้ใดทิ้งที่ดินแล้วปล่อยให้ผู้อื่นเข้ามาท�ำกินแทน ก็จะขาดสิทธิ์ทันที  ต่อมาจึงมีการออกหนังสือส�ำคัญ ใบเหยียบย�่ำ หรือใบจองให้แก่ผู้ครอบครองที่ดิน เพื่อการจัดเก็บภาษีอากรเป็น รายได้เข้ารัฐ ครั้นเมื่อกิจการทางการค้าต่างประเทศขยายตัว  โดยเฉพาะ หลังสนธิสัญญาเบาริ่ง มีการส่งเสริมให้ราษฎรเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ มากขึ้น ที่ดินจึงทวีความส�ำคัญ ด้วยเป็นแหล่งรายได้ของราษฎร และ แหล่งภาษีของรัฐ จึงเริ่มมีการออกหนังสือส�ำคัญในการจับจองที่ดิน ขึ้น โดยเรียกขานกันว่า ตราแดง เนื่องจากมีการประทับตราสีแดง ชาดในเอกสารดังกล่าว  มีการระบุต�ำบลที่ตั้ง ชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบ ครอง จ�ำนวนเนื้อที่ ขนาดพื้นที่ ความกว้างยาว และอาณาเขตติดต่อ ที่ดินข้างเคียง เป็นลายลักษณ์อักษร  อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีผู้คน


34

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• โฉนดตราแดง สมัยรัชกาลที่ ๔ หนังสือส�ำคัญส�ำหรับเจ้าของนาเพื่อประโยชน์ ในการเก็บเงินค่านามากกว่าที่จะให้เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ (ภาพจาก ที่ระลึกพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔)

ตั้งถิ่นฐานหนาแน่น มักจะเกิดปัญหาพิพาท เมื่อมีผู้ถือครองที่ดิน ซ้อนทับกัน ด้วยขาดรายละเอียดแสดงรูปร่างที่ดิน จึงมีการเขียน แผนผังประกอบเพิ่มเข้าไปภายหลัง เรียกขานกันว่า โฉนดตราแดง

วิธีการสอบวัดที่ดิน ด้วยระบบการท�ำแผนที่สมัยใหม่ การด�ำเนินงานจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างสวนดุสิต นอกจากจะยึด ตามโฉนดตราแดงแล้ว ยังมีการน�ำระบบแผนที่แบบสมัยใหม่เข้ามา ใช้ในการตรวจสอบวัดพื้นที่จริงประกอบเข้าไปด้วย  ดังในหนังสือ พระยาอิ น ทราธิ บ ดี สี ห ราชรองเมื อ ง อธิ บ ดี ก ระทรวงนครบาล กราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดี กระทรวงนครบาล ถึ ง วิ ธีแ บ่ ง การตรวจสอบรั ง วั ด พื้ น ที่ เ ป็ น ส่ ว นๆ


35

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

เนื่องจากพื้นที่สวนดุสิตนี้มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ ดังนี้ ...ส่วนท้องที่หมื่นสรรชนาอ�ำเภอต�ำบลคลองส้มป่อย มีอาณา เขตรแต่คลองเปรมประชากรฝั่งตวันออกคลองสามเสนฝั่งใต้ตลอด ไปจนถึงต�ำบลมักสันแลต�ำบลประทุมวรรณ มีอาณาเขตรที่มาก  ข้า พระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าหมื่นสรรชนาอ�ำเภอท้องที่ผู้เดียวจะ รังวัดตรวจเนื้อที่ทุกโสตทุกรายให้ทันเวลาท� ำหนังสือซื้อขายนั้นจะ ไม่ทัน จึ่งได้สั่งให้ขุนจ่าภักดีสารวัดใหญ่กรมกองตระเวร ไปช่วยหมื่น สรรชนาอ�ำเภอรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ด้วยอีกนายหนึ่ง เพราะเหตุว่า การท�ำหนังสือสัญญาซื้อฃายครั้งนี้ คงฟังเอาตามที่อ�ำเภอรังวัด ตรวจสอบเนื้อที่ได้มากน้อยเท่าใด มิได้ฟังเอาตามโฉนดตรา จองเดิม ด้วยเห็นว่าโฉนดตราจองเดิมเปนการเคลื่อนคลาด เพราะ เปนการนานหลายปีมาแล้ว...๖ การด�ำเนินงาน เริ่มจัดซื้อในเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) เป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลในการประสานงานติดต่อ กับเจ้าของที่ดิน ร่วมกับเจ้าหน้าที่อำ� เภอเป็นผู้รังวัดสอบพื้นที่ โดยใช้ วิธีเรียกราษฎรเจ้าของที่ดินมารวมกัน แล้วสอบถามราคาที่เจ้าของ ที่ดินยินยอมขาย หากเป็นราคาที่เหมาะสมก็จะท�ำสัญญาซื้อขายต่อไป ดังหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง อธิบดีกระทรวงนครบาล ตอนหนึ่งความว่า วันที่ ๓๐ มินาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๗  ข้าพระพุทธเจ้า พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ขอพระ ราชทานกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอเสนาบดีกระทรวงนครบาลทรง ทราบฝ่าพระบาท ด้วยโปรดเกล้าฯ สั่งให้ข้าพระพุทธเจ้าจัดอ� ำเภอไปท�ำหนังสือ สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งจะทรงสร้างวังสวนดุสิต พร้อมด้วยพระเจ้า


36

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

น้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย แลให้คอยฟังรับสั่งกรมหมื่น มหิศรราชหฤทัยในการที่จะท�ำหนังสือสัญญาแลจัดซื้อที่ ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ไ ปเฝ้ า กรมหมื่ น มหิ ศ รราชหฤทั ย  ได้ ท รง หาฤๅในการที่จะจัดซื้อที่ในเปนการสมควรแก่ราคา จึ่งได้ตรวจราคา ที่ราคาซื้อฃายกันในบริเวรนั้นท�ำเปน อัตรามีราคาสูงต�่ำแจ้งในอัตรา นั้นแล้ว จึ่งมีรับสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้าหาตัวบรรดาเจ้าของที่มาพร้อม กัน ณ ที่วัง ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้อ� ำเภอท้องที่ตามตัวเจ้าของที่มา พร้อมกัน จึ่งได้ชี้แจงถึงราคาตามอัตรา ฝ่ายเจ้าของที่ซึ่งเห็นว่าเปน ราคาอันสมควรได้ยอมตกลงขายที่ให้ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยได้ แต่งให้จมื่นราชพันทารักษเปนผู้แทนพระองท่าน เมื่อเจ้าของที่รายใด ก็ตกลงยอมขายที่ให้ตามอัตราแล้ว ก็ให้จัดการซื้อแลท�ำหนังสือไป...๗ แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของโฉนดตราจอง ท�ำให้เกิดกรณีพิพาท บ่อยครั้งในการแสดงการถือครองสิทธิ์ที่ดินที่ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็น ที่ดินของตน จึงทรงต้องเน้นย�้ำให้เจรจาการซื้อขายอย่างชัดเจน และ รังวัดใหม่ พร้อมเขียนแผนที่แสดงอาณาเขต รายชื่อเจ้าของ ราคา และถวายรายงานการจัดซื้อให้ทรงทราบ ดังความในพระราชหัตถเลขา ตอนหนึ่งว่า ...ให้ท�ำแผนที่ๆ ดินระหว่างถนนคอเสื้อจนถึงตกคลองผดุง ก�ำหนดกว้าง ๕ เส้นมาให้ดู เปนที่มีเจ้าของเท่าใดราย เจ้าของได้ ว่าราคาตกลงแล้วเท่าใด ยังเท่าใด แลราคาซื้อที่สวนดุสิต ตอนริม คลองริมถนนแลฃ้างในเปนราคาอย่างไร ให้ท�ำรายงานแจ้งมาให้ทราบ ตลอด...๘ พระยาอิ น ทราธิ บ ดี สี ห ราชรองเมื อ งจึ ง มี ห นั ง สื อ กราบทู ล เสนาบดีกระทรวงนครบาล ในเรื่องที่ได้ด�ำเนินการตามพระบรมราช ประสงค์ดังนี้


37

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

วันที่ ๔ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ ฃ้าพระพุทธเจ้า พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ขอประทาน กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ, เสนาบดีกระทรวงนครบาลทรงทราบฝ่า พระบาท ด้วยโปรดเกล้าฯ สั่งให้ข้าพระพุทธเจ้าตรวจสอบท�ำแผนที่ๆ ดิน ระหว่างถนนฅอเสื้อจนตกถนนคลองผดุงกรุงเกษมก�ำหนดกว้าง ๕ เส้นมีเจ้าของกี่ราย เจ้าของได้ว่าราคาตกลงแล้วเท่าใดยังเท่าใด ราคา ซื้อที่สวนดุสิทธิ์ตอนริมคลองริมถนนแลที่ข้างในราคาอย่างไร กับให้ วัดสอบที่พระยาราชวรานุกูล, ทูลเกล้าฯ ถวาย คิดเทียบราคาซื้อขาย จะตกลงเปนเท่าใดนั้นได้ทราบเกล้าฯ ตลอดแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหม่อมอนุยันต์ศิริวงษพนักงาน ได้ ตรวจสอบรังวัดเนื้อที่ทำ� แผนที่ต�ำบลนี้ตลอดแจ้งในแผนที่ แต่ที่ตำ� บล นี้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้รับหนังสือรับสั่งนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่นมหิศรราชหฤทัยได้จัดซื้อแล้วบ้างยังค้างอยู่บ้าง จึงได้น�ำความ กราบทูล, ได้ทรงเร่งจัดซื้อจนตลอดแล้วจึงคิดแบ่งเนื้อที่ด้านตวันตก ของถนนเบญมาต เปนเงินในส่วนวังสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราช, คงเปนเงินในส่วนที่แบแรกแต่ฃอบถนนเบญมาตด้านตวันตก แลขอบ ถนนฅอเสื้อด้านเหนือตกถนนริมคลองผดุง ข้าพระพุทธเจ้าได้คัดบาญชีย์จ�ำนวนราคาที่ซึ่งจัดซื้อแล้วมีราย ชื่อเจ้าของที่ราคาที่จัดซื้อท�ำบาญชีย์รายเลอียดแจ้งในบาญชีย์ ส่วนที่พระยาราชวรานุกูลนั้นยังไม่ได้ซื้อจะโปรดเกล้าฯ พระ ราชทานราคาเท่าใดแล้วแต่จะทรงพระวินิจฉัย ที่พระยาราชวรานุกูลคิด เปนวาจัตุรัสได้เนื้อที่รวม ๔๖๖๖ วา ๑ ศอก ในจ�ำนวนเนื้อที่ ๔๖๖๖ วา ๑ ศอกนั้นเปนที่หลวงซึ่งได้แลกกับที่บางกอกน้อย ๑๔๑๘ วาศอก คงเปนอันจะต้องจัดซื้อ ๓๒๔๘ วา ๑ ศอก ฃ้าพระพุทธเจ้าได้น�ำแผนที่ ๑ บาญชีย์รายเลอียด ๑ ทูลเกล้าฯ ถวายมาพร้อมด้วยรายงานนี้แล้ว...


38

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

รายงานการจัดซื้อที่ดิน ต�ำบลสวนดุสิต

ต่ อ มาทุ ก ๆ เดื อ น พระยาอิ น ทราธิ บ ดี สี ห ราชรองเมื อ งจึ ง มี หนังสือกราบบังคมทูลถวายรายงานเรื่องการจัดซื้อที่ว่าในแต่ละเดือน นั้น ด�ำเนินการไปแล้วกี่ราย พร้อมแนบรายละเอียดการจัดซื้อ ราคา และแผนที่  แต่ทว่าข้อมูลที่ค้นพบจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติไม่พบ เอกสารที่แนบรายละเอียดและแผนที่  ทราบแต่เพียงหนังสือน�ำส่งที่ รายงานว่าได้จัดซื้อที่ตามพระบรมราชประสงค์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ จนถึงเมษายน ร.ศ. ๑๑๙ รวม ๙ ฉบับด้วยกัน ดังตัว อย่างต่อไปนี้  ...ด้วยแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๑๑๗ ถึงวันที่ ๑ เมษายน ๑๑๘ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยได้ทรงจัดซื้อที่ ในบริเวรสวนดุสิตได้รวม ๘๙ ราย...๙  ...ด้วยแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๑๑๘ ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๑๑๘ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยได้ทรงจัดซื้อที่ ในบริเวรวังสวนดุสิตได้รวม ๓๑ ราย...๑๐  รวมระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ (หรือ พ.ศ. ๒๔๔๑) จนถึงเดือนเมษายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) รวมจ�ำนวน ที่ดินที่จัดซื้อจากราษฎร จ�ำนวน ๓๐๑ ราย ใช้เวลาจัดซื้อกว่า ๒ ปี และด้วยตัวอย่างของความยุ่งยากในการจัดซื้อที่ดิน กรณีพิพาทแย่ง สิทธิ์การครอบครองที่ดิน ความไม่ชัดเจนของโฉนดตราจอง ที่จัดท�ำ มาเป็นเวลานาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระ ราชด�ำริตอนหนึ่งว่า


39

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

...ที่ดินมีราคามากขึ้น เป็นเหตุให้ราษฎรมีคดีพิพาทด้วยเรื่อง ที่ดินสูงขึ้น สมควรจัดระเบียบส� ำคัญอันเป็นหลักฐานส� ำหรับที่ดิน จัดให้มีสิ่งหมายเขตส�ำหรับที่ดินให้มั่นคงขึ้น...๑๑  เพื่อสนองพระบรมราโชบายเนื่องในการดังกล่าว ที่ทรงทดลอง ในการด�ำเนินงานจัดซื้อที่ดินสวนดุสิต พระยาประชาชีพบริบาล (ผึ่ง ชูโต) ข้าหลวงเกษตร พร้อมด้วยเจ้าพนักงานแผนที่ จึงด� ำเนิน การส�ำรวจรังวัดปักเขตที่ดินอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการด้านแผนที่ จั ด ท� ำ โฉนดที่ ดิ น ที่ ป ระกอบด้ ว ยผั ง บริ เ วณอย่ า งถู ก ต้ อ งและมี ร าย ละเอียดที่ชัดเจนอันเป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงการถือครอง

โฉนดที่ดินฉบับแรก  จนกระทั่งในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ระหว่างที่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับ ณ พระราชวัง บางปะอิน  กระทรวงเกษตราธิก ารจึง ได้ น�ำ โฉนดที่ ดิ น อย่างใหม่ ของที่นาหลวง ต�ำบลบ้านแป้ง ทูลเกล้าฯ ถวายเป็น ปฐมฤกษ์  พร้ อ มกั บ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานพระ ราชานุญาตให้ราษฎรเจ้าของที่ดิน จ�ำนวน ๓ ราย เข้ารับพระราชทาน โฉนดที่ดินที่จัดท�ำขึ้นใหม่ด้วย๑๒  จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง บ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ ด้วยทรงกระท�ำเป็นแบบอย่างให้ผู้ที่ รับผิดชอบได้รับทราบ เข้าใจในวิธีการ และด�ำเนินการให้ส�ำเร็จตาม พระบรมราชประสงค์ อันเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาบ้านเมืองไทย ให้เข้าสู่ระบบสมัยใหม่ที่เป็นสากล  ดังตัวอย่างการซื้อที่ดินเพื่อสร้าง สวนดุสิตที่น�ำไปสู่การพัฒนาระบบการออกโฉนดที่ดินรูปแบบใหม่ที่ ยังใช้กันอยู่จนปัจจุบัน


40

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

• โฉนดที่ดิน ที่เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (ภาพจาก ที่ระลึกพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔)


41

วั ง ส ว น ดุ สิ ต

อาณาบริเวณ พื้นที่สวนดุสิตนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัส ขอบเขตที่ดิน มีแนวถนนชัดเจนทั้ง ๔ ด้าน ดังนี้  ทิศเหนือ  จรดถนนราชวัตร หรือถนนราชวัตรในและถนน ราชวัตรนอกในสมัยนั้น แนวถนนห่างจากคลองสามเสน ประมาณ ๑๐๐-๑๕๐ เมตร เพื่อเว้นระยะให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ริมคลองมาแต่เดิม ยังอยู่อาศัยได้ต่อไป  ทิศใต้ จรดถนนพิษณุโลก หรือถนนคอเสื้อในสมัยนั้น แนว ถนนห่างจากแนวคลองผดุงกรุงเกษมประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ เมตร เพื่อเว้นระยะห่างจากวังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ที่ได้ สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรในแถบนั้น ทิ ศ ตะวั น ตก จรดถนนสามเสน ที่ เ ลี ย บมาตามแนวแม่ น�้ำ เจ้าพระยาซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมโยงพื้นที่ในและนอกก� ำแพงทางตอน เหนือของพระนคร  ทิศตะวันออก จรดถนนสวรรคโลก หรือถนนซิ่วในสมัยนั้น และคลองขื่ อ น่ า ที่ ข นานไปกั บ แนวทางรถไฟสายแรกของประเทศ ระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.