‘หนุ่มเมืองจันท์’
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๖
ส า ร บั ญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน
“เรือใบ” ชีวิต ความภูมิใจ เที่ยวคนเดียว โลกแห่งความจริง “ชอบ” กับ “เก่ง” เดินหา “ความแตกต่าง” เขาชื่อ “เอ” ABC คิดแบบ “บุญคลี”
๗ ๙ ๑๗ ๒๔ ๓๓ ๓๘ ๔๕ ๕๑ ๕๙ ๖๗ ๗๔
ดีเกินไป แรงบันดาลใจ ๓ สมอง และ ๓ คน นอกต�ำรา วัย “ว้าวุ่น” คนบ้า “สี” น�้ำใจ ปล่อยนก ปล่อย “ปู” เที่ยวกับ “ค�ำถาม” จีน แขก ไทย “ซูกัส” แห่งชีวิต ล้อ “ชีวิต” หมากตาสุดท้าย บังเอิญ “ใส่ใจ” วันนี้คือวันสุดท้าย จุดเปลี่ยน “ลูกชิ้น” ความสุข
๘๓ ๙๐ ๙๗ ๑๐๒ ๑๐๘ ๑๑๕ ๑๒๒ ๑๒๙ ๑๓๗ ๑๔๘ ๑๕๘ ๑๖๗ ๑๗๕ ๑๘๑ ๑๘๘ ๑๙๗ ๒๐๕
“เรือใบ” ชีวิต
เพิง่ รูว้ า่ “อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์” มีอะไรบางอย่างคล้ายกับผม สุดยอดอัจฉริยะของโลกคนนี้ ...ขับรถไม่เป็นครับ “ท่านศาสตราจารย์ขับรถไม่เป็น เพราะมันยุ่งยากเกินไป ส�ำหรับเขา” “เอลซ่า” ภรรยาของเขาเป็นคนบอกเอง คิดเหมือนกันเลยครับ “ไอน์สไตน์” คงประเมินแล้วว่า “ความคิด” ที่ใช้ในการคิด ว่าจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา จะเหยียบคันเร่งหรือเบรกดี สู้เอาเวลาของ “รอยหยัก” นั้นไปใช้แก้สมการเปลี่ยนโลก ดีกว่า ชี วิ ต ไ ม่ ใ ช้ ไ ม่ ใ ช่ ชี วิ ต
17
ผมเชื่อว่านี่เป็นวิธีคิดของ “อัจฉริยะ” โดยทั่วไป...แฮ่ม “ไอน์สไตน์” จะเดินจากบ้านไปที่ท�ำงานทุกวัน คนส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับภาพของเขา ที่เดินครุ่นคิดไป ตามถนน บางทีเดินถึงบ้านแล้วก็ยังยืนคิดอยู่หน้าบ้าน แล้วเดินกลับไปที่ท�ำงาน คนในบ้านต้องคอยดู บางทีต้องดึงอัจฉริยะคนนี้เข้าไป ในบ้านเพื่อกินอาหารกลางวัน วันหนึ่ง มีผู้ชายคนหนึ่งโทรศัพท์ไปยังสถาบันที่ “ไอน์สไตน์” ท�ำงาน ขอพูดสายกับคณบดี เลขานุการแจ้งว่าคณบดีไม่ว่าง เขาก็เอ่ยปากขอที่อยู่ของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” เลขาฯ ตอบว่าให้ไม่ได้ ปลายสายเงี ย บไปนิ ด หนึ่ ง ก่ อ นบอกด้ ว ยเสี ย งเกื อ บ กระซิบ “อย่าบอกใครนะ ผมนี่แหละ ดร.ไอน์สไตน์ ผมก�ำลังจะ กลับบ้าน แต่ลืมไปว่าบ้านตัวเองอยู่ที่ไหน” ครับ สูตรฟิสิกส์ยากๆ จ�ำได้หมด แต่ “ไอน์สไตน์” จ�ำบ้านของตัวเองไม่ได้ “อัจฉริยะ” มักเป็นเช่นนี้เอง ดังนัน้ ถ้าสามีของใครไม่กลับบ้านหรือกลับบ้านดึก ผูห้ ญิง ต้องรู้จักมองโลกในแง่ดี บางทีเขาอาจเป็น “อัจฉริยะ” เหมือน “ไอน์สไตน์” แค่จ�ำที่อยู่ไม่ได้เท่านั้นเอง 18
‘หนุ่มเมืองจันท์’
นี่คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ “ไอน์สไตน์” ในหนังสือ “ไอน์สไตน์” ชีวประวัติและจักรวาล (ฉบับสมบูรณ์) เพิ่งอ่านจบครับ หนาตั้ง ๗๐๐ กว่าหน้า ต้องใช้การอ่านแบบ “เจน ญาณทิพย์” ...สแกนกรรม อ่าน “ปาด” อย่างเร็วๆ ตอนไหนที่สนใจค่อย “จิก” คนเขียนเรื่อง “ไอน์สไตน์” คือ “วอลเตอร์ ไอแซคสัน” คนเดียวกับที่เขียนประวัติ “สตีฟ จ็อบส์” แต่เล่ม “สตีฟ จ็อบส์” สนุกกว่าเยอะ แต่ “อัจฉริยะ” ก็คือ “อัจฉริยะ” ยังไงก็น่าสนใจ “ไอน์สไตน์” เป็นคนฉลาดที่มีอารมณ์ขันมาก มีบุคลิกที่น่าจดจ�ำ ทั้งทรงผม หนวด ใส่เสื้อผ้าตัวใหญ่ๆ เดินลากเท้า ไม่ชอบหวีผม ไม่ใส่ถุงเท้า ฯลฯ “ไอน์สไตน์” เล่นไวโอลินเก่งมาก เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจศาสตร์ของศิลปะ ประโยคยอดฮิตที่ว่า “จินตนาการส�ำคัญกว่าความรู้” ไม่ใช่แค่ค�ำเท่ๆ แต่เป็นการน�ำมุมของ “ศิลปะ” มาใช้กับ “วิทยาศาสตร์” “ผมเป็นศิลปินมากพอที่จะใช้จินตนาการวาดภาพต่างๆ อย่างอิสระ จินตนาการส�ำคัญกว่าความรู้ ความรู้มีจ�ำกัด แต่ จินตนาการครอบคลุมทั่วพิภพ” ชี วิ ต ไ ม่ ใ ช้ ไ ม่ ใ ช่ ชี วิ ต
19
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์คนอื่นคิดเป็นขั้นตอน “ไอน์สไตน์” ใช้ยานแห่งจินตนาการข้ามขั้นตอนปกติไป เหมือนนักประวัติศาสตร์ที่ใช้ “จินตนาการ” ผสานกับ “ความรู้” หรือ “หลักฐานทางประวัติศาสตร์” เพียงแต่นักประวัติศาสตร์ใช้ “จินตนาการ” มองย้อน กลับไปในอดีต แต่ “ไอน์สไตน์” ใช้ “จินตนาการ” มองไกลไปในอนาคต “ไอน์สไตน์” เป็นคนรักเด็ก เชื่อไหมครับ เด็กๆ แถวบ้านชอบมาหาเขาที่บ้าน เคาะประตูขอให้นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลผู้นี้ช่วย สอนการบ้าน “ไอน์สไตน์” ก็ใจดีสอนให้ วันหนึ่งมีเด็กหญิงบ่นว่าวิชาคณิตศาสตร์ยาก “ไอน์สไตน์” จึงปลอบเธอด้วยประโยคอมตะ “อย่ากลุ้มกับปัญหาเรื่องเลขเลย เชื่อเถอะว่าปัญหาเรื่อง เลขของลุงยากสาหัสกว่าของหนูเยอะ” ครับ เป็นเรื่องจริง แต่ไม่รู้ว่าเด็กจะเข้าใจไหม อีกเรื่องหนึ่งที่ผมชอบ เป็นเรื่องวิธีการเล่นเรือใบของ “ไอน์สไตน์” เขาเป็นคนที่คลั่งไคล้การเล่นเรือใบมาก ทั้งที่ว่ายน�้ำไม่ เป็น 20
‘หนุ่มเมืองจันท์’
วิธีการแล่นเรือของเขาแตกต่างจากคนอื่น เขาจะปล่อยเรือลอยไปเรื่อยๆ ตามแรงลม ไร้จุดหมายและไม่ค่อยระมัดระวัง ไม่แปลก ที่หลายครั้งคนต้องออกเรือตามหา “ไอน์สไตน์” ครั้งหนึ่ง เขาออกเรือไปตั้งแต่ตอนบ่าย จน ๕ ทุ่มก็ ยังไม่กลับ เพื่อนต้องตามยามฝั่งให้ออกไปค้นหา เจอ “ไอน์สไตน์” ลอยเรืออยู่ในอ่าว ไม่ทุกข์ร้อนอะไรเลย นักเล่นเรือใบโดยทั่วไปจะสนุกกับการเล่นกับลม กางใบทะยานเรือออกไป แต่ทกุ คนจะเบือ่ มากเมือ่ ลมสงบ เพราะเรือจะแล่นเอือ่ ยๆ หรือหยุดนิ่ง แต่ “ไอน์สไตน์” ไม่ใช่ ยามมี “ลม” เขาก็เล่นกับ “ลม” อย่างสนุก แต่เมื่อลมสงบ “ไอน์สไตน์” ก็จะนั่งขีดเขียนสมการใน สมุด และจมดิ่งกับสมการนั้น ไม่ทุกข์ร้อนกับสิ่งรอบข้าง ในมุมหนึ่ง เป็นลีลา “อัจฉริยะเหม่อลอย” แบบไม่เหมือน ใครของ “ไอน์สไตน์” แต่อีกมุมหนึ่ง เหมือนกับ “ไอน์สไตน์” ก�ำลังสอนวิธีการ ใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ใช้ชีวิตให้เหมือนการเล่นเรือใบ เมื่อ “มี” ลม ก็ให้สนุกกับ “ลม” แต่ถ้า “ไม่มี” ลม ก็จงอย่าไปคิดถึง “ลม” ชี วิ ต ไ ม่ ใ ช้ ไ ม่ ใ ช่ ชี วิ ต
21
22
จงหาความสนุกกับสิ่งอื่นที่ไม่ต้องอาศัย “ลม” หา “ความสุข” จาก “ปัจจุบัน” ให้ได้ แค่นี้เอง...
‘หนุ่มเมืองจันท์’
เมื่อ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ไปท�ำงานที่สหรัฐอเมริกา คนที่พาชมห้องท�ำงานถามว่าต้องการอุปกรณ์อะไรบ้าง “ไอน์สไตน์” ขอโต๊ะท�ำงานหรือโต๊ะตัวใหญ่ๆ เก้าอี้ กระดาษกับดินสอ และสิ่งสุดท้ายที่ส�ำคัญที่สุด “ผมขอถังขยะใบโตๆ ด้วย ผมจะเอาไว้ทิ้งความผิดพลาดทั้งหมด” ในชีวิตนักวิทยาศาสตร์ของ “ไอน์สไตน์” เขาผิดพลาดมากกว่าส�ำเร็จ แต่สิ่งที่ท�ำให้ “ไอน์สไตน์” ประสบความส�ำเร็จคือ... เขาไม่เคยท�ำให้ “ความผิดพลาด” นั้นสูญเปล่า
ความภูมิใจ
ครั้งหนึ่ง มีเด็กผู้ชาย ๓ คน “คาร์ล”, “เบน” และ “มาร์ก ลูอิส” เล่นเกมอาชีพด้วยกัน เกมนี้คล้าย “เกมเศรษฐี” ทอยลูกเต๋า แล้วเดินไปรอบกระดาน “เกมเศรษฐี” ให้สะสมเงินและที่ดิน แต่ “เกมอาชีพ” ให้เก็บดาว หัวใจ และเครื่องหมายดอล ลาร์ สัญลักษณ์ทั้งสามแทนความหมายของ “ชื่อเสียง-ความ สุข-เงิน” “มาร์ก” ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเท็ก ซัส เล่าว่า มีเพื่อนคนหนึ่งชนะเกมนี้ แล้วเริ่มคุยโม้โอ้อวดแบบ ข�ำ-ข�ำ 24
‘หนุ่มเมืองจันท์’
ในที่สุดก็มีการท้าทายกันว่าใครจะประสบความส�ำเร็จใน ชีวิตจริงมากกว่ากัน ทั้งชื่อเสียง ความสุข และความมั่งคั่งของชีวิต ตอนนั้นทั้ง ๓ คน อายุแค่ ๑๔ ปี เจ้าเด็กน้อยเดิมพันกันว่า อีก ๓๘ ปี ทุกคนจะมาเจอ กันอีกครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เกิดขึ้น ๒๙ กุมภาพันธ์ ปี ๒๐๐๐ ทั้งหมดจะมาเจอกัน เพื่อสรุปว่าใครชนะในเกมนี้ “ผู้ชนะ” จะได้รับเกียรติให้เป็น “เจ้ามือ” เลี้ยงเพื่อนอีก ๒ คนที่ร้านอาหารดังร้านหนึ่ง “คาร์ล” เป็นตัวเก็งที่จะชนะในเกมนี้ เพราะเขารูปหล่อ และเท่ หลังเรียนจบ “คาร์ล” น�ำหน้าอย่างรวดเร็ว เขาไปท�ำงานกับเจ้าพ่อคนหนึ่งในนิวยอร์ก ร�่ำรวยเงินทอง มีเรือยอชต์ คฤหาสน์ และแวดล้อมด้วย สาวงาม แต่วนั หนึง่ เรือบรรทุกสินค้าหนีภาษีของ “คาร์ล” เกยตืน้ ต�ำรวจชายฝั่งยึดเรือของเขา “คาร์ล” หนีไปได้ แต่หมดสิ้นเงินทองทั้งหมดภายในวัน เดียว เขาสูญเสียความเชื่อมั่นเป็นครั้งแรกของชีวิต กลับมาบ้าน ท�ำงานเป็นช่างซ่อมทีวี หมดอาลัยตายอยาก ดื่มเหล้าทุกวัน ชี วิ ต ไ ม่ ใ ช้ ไ ม่ ใ ช่ ชี วิ ต
25
แล้ววันหนึ่ง เขาถูกรถชนตายขณะเมาเหล้าขับรถ “คาร์ล” เสียชีวิตตอนอายุ ๓๔ ปี “มาร์ก ลูอิส” หยิบยกเรื่องการเดิมพันครั้งนี้มาเล่า ในการกล่าวปัจฉิมนิเทศที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส และเป็นหนึ่งในเรื่องที่ผมชอบที่สุดในหนังสือ “วิชาสุด ท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน” ของส�ำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส์ ส่วนเพื่อนคนที่สอง “เบน” เป็นคนที่มีความสามารถใน การขาย เขามีบริษัทเอเยนซี่โฆษณาของตัวเอง ปีที่ “คาร์ล” เสียชีวิต บริษัทของ “เบน” มีพนักงาน ๓๐ คน มียอดขาย ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ วันหนึ่ง “เบน” รู้สึกเบื่อ เขาอยากมีชีวิตนอกที่ท�ำงาน เขาตัดสินใจขายบริษัทเอเยนซี่ให้กับคนอื่น เอาเงินที่ตั้งใจให้ลูก ฝากทรัสต์ไว้ แล้วเริ่มต้น “ใช้ชีวิต” อย่างที่เขาอยากจะท�ำ “เบน” ออกเดินทางไปอินเดีย กลับมาสหรัฐอเมริกาอีกครัง้ “เบน” ไปเป็นครูสอนหนังสือ ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในสลัม เพียงแค่ปีเดียว “เบน” ถูกไล่ออก นี่คือ “ความล้มเหลว” ครั้งแรกของเขา แต่ “เบน” ไม่ท้อถอย เขาเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ๕-๖ งาน ประสบความส�ำเร็จทุกงาน และในที่สุดเขาก็ค้นพบงานที่เหมาะสมกับความสามารถ 26
‘หนุ่มเมืองจันท์’
และความรู้สึกของเขา เป็ น งานที่ ผ สานระหว่ า งความเก่ ง เรื่ อ งการขาย และ ความรู้สึกอยากช่วยเหลือผู้อื่น นั่นคือการเป็นที่ปรึกษาด้านการท�ำงานเป็นทีม บริษัทใหญ่จะเรียกตัวเมื่อประสบปัญหาด้านการสื่อสาร ภายใน “เบน” จะเข้าไปให้ค�ำปรึกษาแก้ปัญหาให้ เขาได้เงินหลายพันเหรียญต่อวัน และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ส�ำหรับ “มาร์ก” เมื่อเรียนจบเขาได้เป็นอาจารย์ ...จนถึงวันนี้ “มาร์ก” บอกว่า ไม่มีวันไหนเลยในรอบ ๓๘ ปีที่เขาคิด ว่าจะเสียเดิมพัน ไม่ใช่เพราะประสบความส�ำเร็จทาง “รายได้” มากกว่า เพื่อนทั้ง ๒ คน แต่เพราะเขาเชื่อว่าไม่มีใครรู้สึกอิ่มใจมากเท่ากับตัวเขา “มาร์ก” รู้สึกดีทุกครั้งที่ยืนต่อหน้านักเรียน เขารู้ว่าสิ่งที่เขาพูดไปนั้นจะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิธี มองโลกของเด็กนักเรียนไปตลอดกาล และแล้ว วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ปี ๒๐๐๐ ก็มาถึง แม้ “เดิมพัน” จะเหมือนเดิม แต่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม ชี วิ ต ไ ม่ ใ ช้ ไ ม่ ใ ช่ ชี วิ ต
27
นอกจากวันนี้ไม่มี “คาร์ล” แล้ว ความหมายของชื่อเสียง ความสุข และความร�่ำรวย ใน ความรู้สึกของแต่ละคนก็เปลี่ยนไป ค�ำว่า “ความส�ำเร็จ” ในเกมอาชีพบนกระดานที่เล่นกัน เมื่อตอนเป็นเด็ก กับ “ความส�ำเร็จ” ในโลกแห่งความเป็นจริงแตกต่างกัน “มาร์ก” บอกว่า ตอนที่เดินทางไปสู่ความส�ำเร็จในวัน ก่อน ปัญหาเดียวของพวกเขาก็คือ จะเดินไปถึงเป้าหมายนั้น ได้อย่างไร ๓๘ ปีผ่านไป ทั้งคู่ระลึกได้ว่า “เป้าหมาย” ของเขาได้ เปลี่ยนไปแล้ว ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม เขาเรียนรู้ว่าชีวิตของคนเรานั้นจะมีเวลาที่คุณ “ท�ำได้” หรือ “ชนะ” และมีเวลาที่คุณ “ล้มเหลว” หรือ “พ่ายแพ้” “ชนะ” หรือ “แพ้” ไม่ใช่ตัววัด “ความส�ำเร็จ” ตัววัดความส�ำเร็จที่แท้จริง อยู่ที่ “สิ่งที่คุณคิด” เกี่ยวกับ “สิ่งที่คุณท�ำ” “คิด” อย่างไร กับสิ่งที่ “ท�ำ” ในวันนี้ “เบน” ในวันที่ล้มเหลว เขาเดิมพันทุกสิ่งเพื่อเริ่มต้นใหม่ ไม่ได้ประสบความส�ำเร็จทันที มีทั้งล้มเหลวและส�ำเร็จ แต่เขาไม่ลดละความพยายาม 28
‘หนุ่มเมืองจันท์’
ยิ่งพยายาม เขายิ่งภูมิใจในตัวเอง ในขณะที่ “คาร์ล” เมื่อล้มเหลวในฐานะ “อาชญากร” เขาไม่มีอะไรให้ภูมิใจเลย และไม่กล้าหาญที่จะเริ่มต้นใหม่ เขาอาศัยความเห็นของโลกนี้มาตัดสินตัวเขา เมื่อโลกบอกว่าเขาล้มเหลว เขาก็เชื่อว่าเขาล้มเหลว “ลู อิ ส ” สรุ ป ว่ า วิ ธี ที่ เ ราจะมี ค วามสุ ข ได้ เราต้ อ งรู ้ จั ก “ชอบตัวเอง” และวิธีที่จะชอบตัวเองคือ ท�ำในสิ่งที่จะท�ำให้คุณภูมิใจ “มีมุขตลกเก่าเรื่องหนึ่งที่บอกว่า ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน คุณก็จะอยู่ที่นั่น นั่นคือความจริง คนที่อยู่กับคุณไปตลอดชีวิตคือตัวคุณเอง ดังนั้น ถ้าคุณไม่ชอบตัวเอง ก็แปลว่าคุณจะอยู่กับคนที่ คุณไม่ชอบตลอดเวลา” ๒๙ กุมภาพันธ์ ปี ๒๐๐๐ ทั้งคู่นั่งกินอาหารที่ร้าน อาหารชื่อดังตามที่เคยสัญญาไว้ตั้งแต่เด็ก ค่าอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด ๖๐๐ เหรียญ “เบน” กับ “มาร์ก” ควักเงินคนละ ๓๐๐ เหรียญ จ่ายกันคนละครึ่ง ไม่ใช่เพราะ “เสมอ” กัน แต่เพราะเมื่อนิยามค�ำว่า “ความส�ำเร็จ” ใหม่ ชี วิ ต ไ ม่ ใ ช้ ไ ม่ ใ ช่ ชี วิ ต
29
30
“เบน” และ “มาร์ก” รู้สึกเหมือนกันว่า “เขาคือผู้ชนะ” ไม่มีใครรู้สึกว่าตนเอง “พ่ายแพ้” เมื่อกติกาบอกว่า “คนชนะ” จ่าย “มาร์ก” จึงเลี้ยง “เบน” และ “เบน” ก็เลี้ยง “มาร์ก”
‘หนุ่มเมืองจันท์’
“ความส�ำเร็จ” เป็น “กรอบ” รูปแบบหนึ่ง ท�ำให้เราไม่กล้าท�ำสิ่งที่แตกต่าง “ความล้มเหลว” ก็เป็น “กรอบ” เช่นกัน เพราะท�ำให้เราไม่กล้าเริ่มต้นใหม่