ไกรฤกษ์ นานา เป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำ�เนิด เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ นิวาสสถานเดิมอยู่ที่บ้านเชิงสะพานช้าง โรงสี ถนนบำ�รุงเมือง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของคุณปู่ สืบสายโลหิตมาจากคหบดีชาวเมืองสุรัต ประเทศ อินเดีย ต้นตระกูลคือ ฮัจยี อาลี อะหะหมัด นานา ผูเ้ ป็นทวด เดินทางเข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภาร ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที ่ ๔ ครัน้ พ.ศ. ๒๔๐๐ คุณทวดรับราชการในกรม พระคลังสินค้า สังกัดกรมท่าขวา ได้รบั พระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิเ์ ป็น พระพิเชตสรรพานิช ไกรฤกษ์ เป็นทายาทรุน่ ที ่ ๔ ในตระกูลนานา ในสายสกุล ท่านโสภนโกสล นานา (ยูซุฟ อาลีบาย นานา) การศึกษาประถมต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลายทีโ่ รงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก (AC 2516 รุน่ ลาน กรวด) ตามแบบอย่างบุตรหลานคหบดีในอดีต จบแล้วจึงไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ และสำ�เร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขา Travel & Tourism Management (เกียรตินิยม) ณ ประเทศ อังกฤษ และเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง (เกียรตินยิ มอันดับสอง) เริม่ งานครัง้ แรก กับบริษัท เอ็ม. ดี. ทัวร์ พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นผู้บุกเบิกแผนกทัวร์ยุโรปคนแรกของบริษัท สนใจประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยังเด็ก สมัยอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้แรงบันดาลใจจากบทเรียน ในหนังสือดรุณศึกษาของเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เมื่อเติบใหญ่และได้ท่องเที่ยว จึงมีโอกาสค้นคว้า ความรู้ในต่างประเทศกว้างขวางขึ้น เริ่มสะสมเอกสารโบราณเกี่ยวกับประเทศสยามตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ ส่วนหนึง่ ด้วยความมีใจรักและภาคภูมใิ จในแผ่นดินเกิด อีกส่วนหนึง่ จากการแสวงหาความรู้ เพิ่มเติมเพื่อนำ�มาใช้ในวิชาชีพ นอกจากอาชีพที่ถนัดแล้วยังเป็นนักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญ พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ประวัติผู้นำ�โลก และนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ เขียนบทความลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีผลงานอย่างต่อเนื่อง ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมและศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ หนังสือทีร่ วบรวมเป็นเล่ม ดังนี้ • พระพุทธเจ้า หลวงในโลกตะวันตก • KING MONGKUT หยุดยุโรปยึดสยาม • พระจอมเกล้าฯ รูเ้ ท่าทันตะวันตก • แหม่มแอนนา สายลับวังหลวง • พระมหากษัตริยโ์ ลกไม่ลมื เล่ม ๑ และ เล่ม ๒ • สยามทีไ่ ม่ทนั ได้เห็น • เบือ้ งหลังเสด็จประพาสยุโรปในรัชกาลที่ ๕ • สมุดภาพรัชกาลที่ ๔ : วิกฤติและโอกาสของรัตนโกสินทร์ ในรอบ ๑๕๐ ปี • สยามกูอ้ สิ รภาพตนเอง ทางออกและวิธแี ก้ปญ ั หาชาติบา้ นเมือง เกิดจากพระราช กุศโลบายของพระเจ้าแผ่นดิน • ปิยมหาราชานุสรณ์ • ประมวลภาพไปรษณียบัตร รัชกาลที่ ๕ • ค้นหารัตนโกสินทร์ สิ่งที่เรารู้ อาจไม่ใช่ทั้งหมด • เบื้องหลังการเยือนกรุงสยามของมกุฎราชกุมาร รัสเซีย • ค้นหารัตนโกสินทร์ ๒ เทิดพระเกียรติ ๑๐๐ ปี วันสวรรคตรัชกาลที่ ๕ • ความสัมพันธ์ ไทย-ตุรกี และไทย-กรีซ ครบ ๕๐ ปี (กระทรวงการต่างประเทศ) • สมุดภาพเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ • ๕๐๐ ปี สายสัมพันธ์สองแผ่นดินไทย-โปรตุเกส และเบื้องหลังสัญญาเบาริ่งและประวัติศาสตร์ ภาคพิสดารของ Sir John Bowring • หน้าหนึ่งในสยาม
ภาพจากปกหน้า
พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ และผู้นำ� โลกที่สยามเคยปะทะสังสรรค์ ด้วยในยุคจักรวรรดินิยม (ภาพจากบัตรที่ระลึกแถมในกล่องช็อกโกแลต ของฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๗)
ภาพจากปกหลัง
พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๖ และพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จ พระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕ (ภาพจากบัตรที่ระลึก แถมในกล่องช็อกโกแลตของฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๑)
ไขปริศนาประเด็นอำ�พราง ในประวัติศาสตร์ไทย ไกรฤกษ์ นานา
ราคา ๒๙๐ บาท
ไขปริศนาประเด็นอ�ำพรางในประวัติศาสตร์ไทย • ไกรฤกษ์ นานา พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม ๒๕๕๘ ราคา ๒๙๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ไกรฤกษ์ นานา. ไขปริศนาประเด็นอ�ำพรางในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๓๔๔ หน้า.- -(ประวัติศาสตร์). ๑. ไทย- -ประวัตศิ าสตร์- -กรุงรัตนโกสินทร์- -รัชกาลที ่ ๔, ๒๓๙๔- ๒๔๑๑. ๒. ไทย--ประวัติศาสตร์- -กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาล ที่ ๕, ๒๔๑๑-๒๔๕๓. I. ชื่อเรื่อง. 959.3056 ISBN 978 - 974 - 02 - 1426 - 7
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน, พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนีพ้ มิ พ์ดว้ ยหมึกทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
ไขปริศนาประเด็นอ�ำพราง ในประวัติศาสตร์ไทย
คำ�อุทิศ คำ�นำ� ภาคที ่ ๑ ๓ เมกะโปรเจ็กต์ สมัยรัชกาลที่ ๕ ตะลึง! Blueprint ยุครัชกาลที ่ ๕ โครงการช้างทางรถไฟสยามสู่จีน
ตอนที่ ๑ : มีจริงหรือ? ใครอยู่เบื้องหลัง?
(๗) (๑๐) ๓
๔
ตะลึง! Blueprint ยุครัชกาลที่ ๕ โครงการช้างทางรถไฟสยามสู่จีน ตอนจบ : “เหตุที่โครงการถูกยุบ”
๓๕
ตีแผ่เบื้องหน้า เบื้องหลัง ทำ�ไมรัชกาลที่ ๕ ทรงคิดทำ�แผนที่เมืองไทย “ฉบับแรก”? ตอนที่ ๑ : โยนหินถามทาง
๗๓
ตีแผ่เบื้องหน้า เบื้องหลัง ทำ�ไมรัชกาลที่ ๕ ทรงคิดทำ�แผนที่เมืองไทย “ฉบับแรก”? ตอนจบ : ตัดไม้ข่มนาม
๙๙
นอำ�พราง (6) ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
สยามบนแผนที่โลก การตีความใหม่จากข้อมูลอำ�พราง ตอนที่ ๑ : หนีเสือปะจระเข้
๑๓๔
สยามบนแผนที่โลก การตีความใหม่จากข้อมูลอำ�พราง ตอนจบ : ทุ่มหมดหน้าตัก
๑๖๔
ภาคที ่ ๒ การเมืองเบื้องหลังสงคราม และสันติภาพสมัยรัตนโกสินทร์ ๒๐๑ ศึกเชียงตุงในรัชกาลที่ ๔ การตีความใหม่ชี้ “กันท่า” มากกว่า “ยึดครอง”
๒๐๒
หลักฐานใหม่ ผู้สำ�เร็จราชการ “คนที่ ๒” สมัยรัชกาลที่ ๕ มีจริง
๒๓๔
ทฤษฎีใหม่เสียดินแดนครั้งแรก ในรัชกาลที่ ๕ เพราะไทยถูกละเมิด “สัญญาเมืองแถง”
๒๖๔
ตีความใหม่จากข้อมูลดิบ “ชนวนอำ�พราง” เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒
ศึกชิงพื้นที่ทับซ้อน “สิบสองปันนา”
๒๙๙
ค�ำอุทิศ คุณความดีของหนังสือเล่มนี้ ขออุทิศให้
พระพิเชตสรรพานิช (อาลี อาหมัด นานา)
คุณทวดของผู้เขียน ขุนนางกรมพระคลังสินค้าในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ เป็นเจ้าพนักงานจัดสั่งซื้อสิ่งของต่างประเทศ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ถือศักดินา ๘๐๐ เป็นผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี อย่างยิ่งยวด ไกรฤกษ์ นานา
นอำ�พราง (8) ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
บัตรที่ระลึกการรวมสหภาพอินโดจีนของฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ ๕ รวม ๔ ชาติหลักที่ฝรั่งเศสได้ไป ได้แก่ ตังเกี๋ย (Tonkin), ญวน (Annam), เขมร (Cambodge) และล้านช้าง (Laos)
ไกรฤกษ์ นานา (9)
(บน) รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ไปเปิดเส้นทางรถไฟสายเพชรบุรี โดยมีชาวยุโรปเป็นผู้อำ� นวยการ (ล่าง) รูปหัวรถจักรไอน�้ำของรถไฟสมัยรัชกาลที่ ๕ จะปรากฏตัวอักษรว่า R.S.R.S. ย่อมาจาก Royal State Railways of Siam หรือกรมรถไฟหลวงสมัยนั้น
ค�ำน�ำ
ไขปริศนาประเด็นอ�ำพราง ในประวัติศาสตร์ไทย
ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทยในยุ ค ที่ มี ช าวต่ า งประเทศและรั ฐ บาลต่ า งชาติ เ ข้ า มา เกี่ยวข้องมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ก็คือในสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ที่ ๕ หรือ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๕๓ ในระยะนั้ น ได้ มี ก ารท� ำ สนธิ สั ญ ญาการค้ า และไมตรี หรื อ แม้ แ ต่ สั ญ ญา สงบศึกอย่างกว้างขวางกับชาติตะวันตกที่เคยมีบทบาทขยายอ�ำนาจเข้ามาใน ซีกโลกตะวันออก บางครั้งก็ตกลงรอมชอมกันได้ บางครั้งก็ขัดแย้งอย่างรุนแรง จนเกิดปะทะสู้รบกันเหนือเขตแดนที่บางแห่งก็เป็นเอกเทศ แต่บางแห่งก็ยังเป็น พื้นที่ทับซ้อนที่หาข้อยุติไม่ได้ ทว่าข้อมูลส่วนใหญ่ในหนังสือประวัติศาสตร์ของชาวเอเชียก็มักจะอธิบาย การเข้ามาของชาติตะวันตกอย่างก�ำกวมหรือไม่ก็ปิดบังไว้เพื่อกลบเกลื่อนความ ผิ ด พลาดของบรรพบุ รุ ษ และเพื่ อ รั ก ษาหน้ า ตนเอง เป็ น เหตุ ใ ห้ ข ้ อ มู ล เบื้ อ งต้ น ขาดหายไปจากค�ำบอกเล่าของบรรพบุรุษอย่างน่าเสียดาย ประวัติศาสตร์แห่งชาติ จึงมีความซับซ้อน มองได้หลายมิติและเป็นเหรียญสองด้านให้ต้องพิจารณาอย่าง มีสติเสมอ ผู้เขียนได้พยายามค้นคว้าหาค�ำตอบของประเด็นอ�ำพรางมากมายที่มักจะ เป็นข้อถกเถียงของนักประวัติศาสตร์ไทย บางเรื่องก็เคยถูกมองว่าไม่ควรเปิดเผย จากหลักฐานใหม่ที่ค้นพบในต่างประเทศ ท�ำให้ตระหนักว่าพระมหากษัตริย์ไทย ในอดีตได้ทรงด�ำเนินกุศโลบายอันแยบยลเพื่อความอยู่รอดของชาติบ้านเมือง แม้นว่าจะต้องเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา เรื่องเด่นในเล่มนี้คือการที่รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ชาวอังกฤษส�ำรวจท�ำแผนที่เมืองไทยฉบับแรกและให้วางโครงการสร้างทาง รถไฟจากไทยไปเมืองจีนครั้งแรก
ไกรฤกษ์ นานา (11)
เรื่องลักษณะนี้ไม่เคยถูกเปิดเผยให้คนไทยรับรู้โดยหน่วยงานทางราชการ โดยมองว่าเป็นเรื่องภายในจึงเป็นข้อมูลอ�ำพรางที่ปิดบังซ่อนเร้นเรื่อยมา ในเชิง ลึกแล้วอาจถูกมองว่าเป็นข้อมูลทางราชการที่คนภายนอกไม่จ�ำเป็นต้องรู้ในสมัย หนึ่ง แต่เป็นอีกสมัยหนึ่งกลับเป็นเรื่องควรชี้แจง เพราะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยรวม ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มติชนที่เห็นความส�ำคัญของมุมมองอีกด้านหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ไทย และเป็นก�ำลังใจให้ผู้เขียนได้นำ� เสนออย่างต่อเนื่องตลอดมา ไกรฤกษ์ นานา
นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘
นอำ�พราง (12) ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
วารสารฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ ๕ รายงานการสร้างทางรถไฟในสยามที่คืบหน้าไปมากจากความ ช่วยเหลือของอังกฤษ และเยอรมนี
ไกรฤกษ์ นานา (13)
หนังสือพิมพ์อังกฤษตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒
นอำ�พราง (14) ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
วารสารฝรั่งเศสขึ้นปกภาพล้อการเมืองดินแดนที่ฝรั่งเศสหวงแหนมากได้แก่ ตังเกี๋ย (Tonkin) และ โมร็อกโก (Morocco)
ไกรฤกษ์ นานา (15)
หนังสือพิมพ์องั กฤษตีแผ่ภาพทหารชาวเชียงตุงทีใ่ ช้ยทุ ธวิธรี บแบบกองโจร และได้เปรียบทางชัยภูม ิ ซึ่งเป็นที่สูงในการรบแถบเชียงตุง แต่ก็ถูกอังกฤษจับกุมได้ในที่สุด
ไขปริศนาประเด็นอำ�พราง ในประวัติศาสตร์ไทย
นอำ�พราง 2 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ภาคที่ ๑
ไกรฤกษ์ นานา 3
๓ เมกะโปรเจ็กต์ สมัยรัชกาลที่ ๕
ตะลึง! Blueprint ยุครัชกาลที่ ๕ โครงการช้างทางรถไฟสยามสู่จีน ตอนที่ ๑ : มีจริงหรือ? ใครอยู่เบื้องหลัง?
ค.ศ. ๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๔๒๙) ในยุคทีส่ ยามยังไม่มรี ถไฟ เป็นของตนเอง แต่รัฐบาลกลับสนใจที่จะส�ำรวจเส้นทาง รถไฟนานาชาติสายหนึ่ง อีก ๑๒๘ ปีต่อมา บริษัทประมูล ยักษ์ใหญ่ของอังกฤษได้นำ� ผลส�ำรวจโครงการนีอ้ อกประมูล ขายในราคาแพงลิบลิ่ว โดยโฆษณาว่าเป็นข้อมูลลับของ ทางการไทยที่ไม่เ คยเปิดเผยสู่ประชาชน แต่ผู้รับเหมา อังกฤษก็ได้รบั พระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที ่ ๕ ให้สำ� รวจ และตีราคาในทางลับ หลังค้นพบเส้นทางใหม่จากสยามไป จีน ทว่า โครงการนี้กลับสาบสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย และไม่มีใครพูดถึงอีกเลยจนตลอดรัชกาล ท่ามกลางการ หลีกเลีย่ งทีจ่ ะกล่าวถึงโดยนักประวัตศิ าสตร์สมัยหลัง และ เป็นข้อมูลทีถ่ กู ถอดออกไปจากประวัตกิ ารรถไฟไทยของทาง ราชการอย่างมีปริศนา
ไกรฤกษ์ นานา 5
ภายหลังอังกฤษพิชิตพม่าตอนกลางส�ำเร็จในสงครามครั้งที่ ๒ กับ พม่า (ค.ศ. ๑๘๕๒-๑๘๕๓) ก็สามารถยึดพม่าได้เกือบทัง้ ประเทศ เหลือไว้ เพียงอาณาบริเวณตอนบนที่เป็นเทือกเขาสูงเกาะติดกันหนาแน่น และเป็น พื้นที่ทับซ้อนประกอบด้วยรัฐอิสระหลายแห่งครอบคลุมดินแดนสิบสอง ปันนาทัง้ ฝัง่ ขวาและฝัง่ ซ้ายของแม่นำ�้ โขง ซึง่ คัน ่ กลางอยูร่ ะหว่างพม่า สยาม (๖) และจีน รัฐอิสระเหล่านี้ประกอบด้วยเมืองประเทศราชที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า สยาม และจีนในเวลาเดียวกัน มีอาทิ เมืองเชียงรุ้ง เชียงตุง และเชียงแขง แต่ พม่า สยาม และจีน ก็มิได้เข้มงวดกับรัฐอิสระมากนัก โดยปล่อยให้เจ้าเมือง ถวายบรรณาการและสวามิภักดิ์อยู่กับใครก็ได้ตามแต่ดุลพินิจของเจ้าเมืองท้องถิ่น เนื่องจากรัฐอิสระไม่มีผลประโยชน์อะไร และตั้งอยู่ในที่ทุรกันดารห่างไกลจาก ศูนย์กลางการปกครองของพม่า สยาม และจีน จึงมีลักษณะเป็นเพียงรัฐบริวาร ประดับบารมีของประเทศใหญ่ที่แวดล้อมอยู่เท่านั้น(๖) แต่อังกฤษก็มีเดิมพันสูงเกี่ยวกับสิบสองปันนามากกว่าพม่า สยาม และจีน ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ ๑. อังกฤษต้องการให้พื้นที่สิบสองปันนา หรือที่อังกฤษเรียกว่า Independent Shan States มีขอบเขตชัดเจน และมีเส้นเขตแดนที่แน่นอนตายตัว โดยขึ้นอยู่กับเจ้าอธิปัตย์เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคือพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ๒. ใช้สิบสองปันนาเป็นเส้นทางการค้า และผูกขาดโดยอังกฤษแต่ ชาติเดียวกับทางเมืองจีน ๓. อังกฤษต้องการเคลียร์พื้นที่โดยครอบครองฝั่งขวาของแม่น�้ำโขง เป็นกรรมสิทธิ์ของอังกฤษโดยชอบธรรม จากการปลุกเร้าของรัฐบาลฝรั่งเศสที่ต้องการใช้แม่น�้ำโขงเป็นเส้นเขตแดน ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ดังนั้น สิบสองปันนาซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งขวาจึงไม่อาจถูก ปล่อยไว้โดยไม่มีชาติใดอ้างกรรมสิทธิ์ได้(๑๕) อั ง กฤษจึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ ง “ยกระดั บ ” ความกดดั น ในการถื อ ครอง กรรมสิทธิ์เหนือสิบสองปันนา หรือรัฐฉานของพม่าซึ่งตนมีภาษีดีกว่าชาติ มหาอ�ำนาจอื่นใดอย่างรวดเร็วที่สุด จึงได้รวบรัดที่จะแลกเปลี่ยนหัวเมือง เงีย้ วทัง้ ห้าและกะเหรีย่ งยางแดงของไทยโดยแลกกับรัฐเชียงแขง นอกจากนี้ อังกฤษยังมีนโยบายวางทางรถไฟจากพม่าเข้าสูจ่ น ี และต้องตัดหน้าท�ำก่อน (๖) ที่ทางฝรั่งเศสจะคิดท�ำขึ้นเช่นกัน
นอำ�พราง 6 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ไกรฤกษ์ นานา 7
รัชกาลที ่ ๕ พร้อมด้วยพระบรมวงศา นุ ว งศ์ ป ระทั บ อยู ่ บ นซาลู น หลวงใน วันเปิดเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ- โคราช สร้างขึ้นโดยความช่วยเหลือ ของวิศวกรชาวอังกฤษ อังกฤษเป็น พี่เลี้ยงในการวางเส้นทางรถไฟครั้ง แรกในสยาม และเป็นผูเ้ สนอให้สยาม ตัดทางรถไฟนานาชาติสายแรกของ เอเชีย เริ่มจากกรุงเทพฯ ไปเมืองจีน ก่อนสยามจะมีรถไฟเป็นของตนเอง เพราะอะไร? อ่านเรื่องโดยพิสดาร ในบทความนี้ (ภาพจาก BLACK AND WHITE, 2 May 1896)
นอำ�พราง 8 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ในระยะทีอ่ งั กฤษขะมักเขม้นอยูก่ บั การจัดระเบียบรัฐอิสระแถบสิบสองปันนา ในช่วงทศวรรษ ๑๘๘๐ นัน้ สยามยังไม่มคี วามกระตือรือร้นเกีย่ วกับรัฐบริวารปลาย พระราชอาณาเขตเลย อาจกล่าวได้วา่ อังกฤษเป็นตัวกระตุน ้ ให้สยามหันมาศึกษาภูมป ิ ระเทศ บริเวณนั้นมากยิ่งขึ้น หลังจากที่สยามหมดความสนใจสิบสองปันนาไป ตั้งแต่ถอนทัพจากศึกเมืองเชียงตุงในรัชกาลที่ ๔ แล้ว(๘) มาตรการหนึ่งที่สยามตั้งรับความเคลื่อนไหวของอังกฤษ คือ การแสดง ความกระวีกระวาดที่จะศึกษาภูมิประเทศในเขตรัฐบริวารอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก โดยว่าจ้างนักส�ำรวจชาวอังกฤษชื่อนายแม็คคาร์ธี (James Fitzroy McCarthy) ให้เข้ามาเดินหน้าส�ำรวจ “รัฐบริวารชายขอบ” ของสยามทางภาคเหนือ นับเป็นการ ท� ำ แผนที่ แ บบตะวั น ตกฉบั บ แรกของไทยเพื่ อ ยื น ยั น อ� ำ นาจของตนในฐานะ รัฐสมัยใหม่ที่มีพรมแดนชัดเจนใน ค.ศ. ๑๘๘๘ แผนที่ฉบับนี้มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Map of the Kingdom of Siam and Its Dependencies แต่แผนที่ทางการฉบับนี้ก็ยังบรรจุข้อมูลที่คลุมเครือและยังไม่สามารถบ่งชี้ พรมแดนในสิบสองปันนาและสิบสองจุไทให้ชดั เจนลงไปได้ โดยนายแมคคาร์ธี ระบุอย่างไม่เต็มปากเต็มค�ำบนแผนที่บริเวณภาคเหนือของสยามว่า Boundary Not Def ined หรือ “เขตแดนยังไม่กำ� หนด” (๖) ดังนั้น การที่รัฐบาลอังกฤษซึ่งมีท่าทีเอาจริงเอาจังมากกว่าไทยและ ต้องการใช้อ�ำนาจโดยชอบธรรมเหนือพม่าซึ่งอังกฤษยึดครองอยู่โดยท�ำ ทางรถไฟเหนือดินแดนในกรรมสิทธิ์ของตนเข้าไปสู่เมืองจีน และสยาม ซึ่งยังไม่มีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนในดินแดนรัฐอิสระทาง ภาคเหนือจึงตกอยู่ในฐานะที่เป็นรอง และไม่มีปากเสียงโต้แย้งแต่อย่างใด
ความคิดที่จะมีรถไฟของคนไทย
“รถไฟ” เป็นระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ซึ่งคนอังกฤษเป็นผู้ประดิษฐ์
ภาพประกอบข่าว การส�ำรวจพื้นที่บริเวณรัฐอิสระในสิบสองปันนาของพม่า เพื่อก�ำหนดพรมแดน ที่ชัดเจนใน ค.ศ. ๑๘๙๐ ท�ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนดินแดนกับสยาม เพราะอังกฤษมีแผนจะวาง เส้นทางรถไฟไปจีน ผ่านสิบสองปันนา (ภาพจาก THE ILLUSTRATED LONDON NEWS, 12 April 1890)
ไกรฤกษ์ นานา 9
นอำ�พราง 10 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ไกรฤกษ์ นานา 11
๑ ๒
กฤษ
อัง
๓
ฝร
ั่งเศ
ส
(ภาพขยาย) ข้อพิพาทในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนของรัฐฉานและแคว้นสิบสองปันนาล้อมรอบอยู่ด้วย พม่า สยาม และจีน เป็นพรมแดนร่วมที่ประกอบด้วยรัฐบริวารใหญ่ๆ คือ (๑) เชียงรุ้ง (๒) เชียง ตุง และ (๓) หลวงพระบาง และเป็นช่องทางการค้าที่อังกฤษกับฝรั่งเศสต้องการใช้เป็นเส้นทาง เข้าสู่จีนตอนใต้ (ดังลูกศรชี้)
แผนที่โดยนักส�ำรวจอังกฤษอธิบายปัญหาของคาบสมุทรอินโดจีน (The Problems of Indo-China) ปมของปัญหาเกิดจากการคุกคามของชาติตะวันตกผสมโรงกับปัญหาชายแดนที่ไม่สามารถก�ำหนด ขอบเขตและกรรมสิทธิ์บริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางภาคเหนือของพม่าและสยามได้ (ภาพจาก THE PEOPLES AND POLITICS OF THE FAR EAST)
นอำ�พราง 12 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
คิดค้นขึน้ และมีใช้ในอังกฤษก่อนทีใ่ ดๆ ในโลก การทีอ่ งั กฤษจะน�ำระบบคมนาคม แบบใหม่เข้ามาใช้ในเมืองขึน้ ของตนจึงไม่ใช่เรือ่ งแปลก แต่กลับเป็นความน่าตืน่ เต้น ส�ำหรับคนไทยซึ่งไม่เคยมีรถไฟและไม่เคยเห็นรถไฟมาก่อน แค่จะได้นั่งรถไฟก็ยัง ต้องดิ้นรนเดินทางไปขึ้นถึงในอังกฤษ คนไทยเห็นรถไฟจากอังกฤษครั้งแรก ใน ค.ศ. ๑๘๕๕ (พ.ศ. ๒๓๙๘) ตรง กับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แต่เป็นเพียง รถไฟ “ของเล่น” เท่านั้น ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระราชินีอังกฤษได้ ทรงจัดส่งรถไฟจ�ำลองเข้ามาถวาย โดยให้ราชทูตชื่อ นายแฮร์รี่ ปาร์คส์ (Harry Parkes) เข้ามาแลกเปลี่ยนสนธิสัญญากับฝ่ายไทย ในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๕๕ ดังข้อความตามหลักฐานของทางการไทยตอนหนึ่งว่า “ในปีเถาะ เดือน ๔ นัน้ มิสเตอร์ฮารีปกั ซึง่ เป็นทูตเข้ามาท�ำสัญญาด้วย เซอร์ ยอน เบาริง แต่กอ่ นนัน้ น�ำหนังสือออกไปประทับตราแผ่นดินอังกฤษแล้ว กลับเข้า มาเปลี่ยนหนังสือสัญญาซึ่งประทับตรากรุงเทพพระมหานคร มีพระราชสาส์นและ เครื่องราชบรรณาการเข้ามาเป็นอันมาก มิสเตอร์ฮารีปักเข้ามาด้วยเรือกลไกชื่อ ออกแกลน ถึงกรุงเทพพระนครทอดอยู่ที่หน้าป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจนึก ณ วันอังคาร เดือน ๔ แรม ๓ ค�่ำ ได้ยิงปืนสลุตธงแผ่นดิน ๒๑ นัด ทั้ง ๒ ฝ่าย ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค�่ำ มิสเตอร์ฮารีปักกับขุนนางอังกฤษ ๑๗ นาย เข้าเฝ้าออกใหญ่ถวายพระราชสาส์น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ถวาย เครื่องราชบรรณาการอย่างรถไฟ ๑ อย่าง ก�ำปั่นไฟ ๑ กระจกฉากรูปควีน เป็นกษัตริย์ฉาก ๑ กระจกฉากรูปควีนวิคตอเรียเมื่อมีบุตร ๘ คน กับเครื่องเขียน หนังสือส�ำรับ ๑ และของต่างๆ เป็นอันมาก เจ้าพนักงานในต�ำแหน่งทั้งปวงมารับ ไปต่อมือฮารีปักเองเนืองๆ เจ้าพนักงานกรมท่า จึงได้บัญชีไว้บ้าง ของถวายใน พระบวรราชวังก็มีเป็นอันมาก ท่านก็ให้เจ้าพนักงานมารับไปเหมือนกัน” (๑๒) อังกฤษนั้นภาคภูมิใจกับการค้นพบเครื่องจักรไอน�้ำของตนมาก โดยเครื่อง จักรชนิดนี้ถูกน�ำไปใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนรถไฟและเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ หรือ ที่เรียกเรือก�ำปั่นไฟในยุคนั้น อนึ่ง คนอังกฤษเริ่มใช้รถไฟเป็นครั้งแรกในประเทศ อังกฤษ โดยเปิดทางรถไฟสายแรก (ของโลก) เมือ่ วันที ่ ๒๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๒๕ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๒ ของไทย(๑๓) คนไทยคนแรก (และคณะแรก) ที่ได้นั่งรถไฟในรัชกาลที่ ๔ คือหม่อม ราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นล่ามในคณะราชทูตไทยไป อังกฤษ ใน ค.ศ. ๑๘๕๗ ท่านได้เขียนถึงยานพาหนะชนิดหนึง่ ซึง่ เป็นของประหลาด
ไกรฤกษ์ นานา 13
“รถไฟเล็ก” เครือ่ งราชบรรณาการทีค่ วีนวิกตอเรียพระราชทานเข้ามาให้รชั กาลที ่ ๔ ท�ำให้ชาวสยาม เห็นรูปร่างหน้าตาของรถไฟเป็นครั้งแรก
ส�ำหรับคนไทยที่ไปเห็นมา ถึงขนาดที่ยกย่องให้เป็น “รถวิเศษ” ส�ำหรับคนไทย และต้องสาธยายจนยืดยาวเพราะกลัวคนทางบ้านจะนึกภาพไม่ออก “ยังมีรถวิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือรถไฟส�ำหรับใช้ทางไกล ไปได้ตลอดทุก หัวเมืองที่อยู่ในเกาะเครดบริดเตน ทางรถไฟนั้นท�ำด้วยเหล็กเป็นทางตรง ถ้าถึง ภูเขาก็เจาะเป็นอุโมงค์ตลอดไปจนข้างโน้น ที่เป็นเนินต�ำ่ ๆ ก็ตัดเนินลงเป็นทางราบ เสมอดิน ถ้าถึงแม่นำ�้ ฤๅคลองก็กอ่ ตะพานศิลาข้าม ถ้าเป็นทีล่ มุ่ ก็ถมขึน้ ให้ดอนเสมอ แล้วท�ำเป็นสองทางบ้าง สี่ทางบ้างเคียงกัน ทางรถไปทางหนึ่ง ทางรถมาทางหนึ่ง ไม่ให้ร่วมทางด้วยกลัวจะโดนกัน ที่เรียกว่ารถนั้นใช่จะเป็นรถไฟทุกรถหามิได้เป็น รถไฟอยู่รถเดียวแต่รถหน้า แล้วลากรถอื่นไปได้ถึงยี่สิบรถเศษ บางทีถ้าจะไปเร็ว ก็ลากแต่น้อยเพียงเจ็ดรถแปดรถ รถที่เดินเร็วเดินได้โมงละหกสิบไมล์ คือสองพัน เจ็ดร้อยเส้นเป็นก�ำหนด รถเหล่านั้นมีขอเหล็กเกี่ยวต่อๆ กันไป แต่จัดเป็นสี่ชนิด ชนิดที่หนึ่งนั้น รถอันหนึ่งกั้นเป็นสามห้องๆ หนึ่งนั่งได้สี่คน รวมสามห้องสิบสอง คน พร้อมด้วยฟูกเบาะหมอน ท�ำด้วยแพรบ้าง บางทีท�ำด้วยสักหลาดแลหนังฟอก อย่างดี ตามฝาใส่กระจกมิดชิดไม่ให้ลมเข้าได้ ข้างในมีมุลี่แพรส�ำหรับบังแดด รถ ทีส่ องก็ทำ� เป็นสามห้องเหมือนกัน แต่หอ้ งหนึง่ นัง่ ได้หกคน ทีท่ างไม่สงู้ ามเหมือนรถ ที่หนึ่ง ยังรถที่สามเป็นรถเลวไม่ได้กั้นห้อง รถอันหนึ่งมีอยู่แต่ห้องเดียว คนนั่งได้ กว่ายี่สิบคน ปนปะคละกันไป เก้าอี้ข้างในก็ไม่มีเบาะหมอน และไม่สู้สะอาดงดงาม อีกรถที่ ๔ นั้น ส�ำหรับบรรทุกของแลสัตว์มีม้าแลวัวเป็นต้น ในขณะรถไฟเดิน
นอำ�พราง 14 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ไกรฤกษ์ นานา 15
อยู่นั้นจะมีคนมายืนอยู่ฤๅต้นไม้อันใดที่อยู่ริมทางก็ดี คนที่อยู่บนรถจะดุว่าคนผู้ใด ต้นอะไรก็ดีไม่ทันรู้จกั ชัด ด้วยรถไปเร็วนัก” (๑) รถไฟยังเป็นแค่ความฝันของคนไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ ทั้งยังไม่ปรากฏว่า หม่อมราโชทัยถ่ายรูปรถไฟกลับมาให้คนทีก่ รุงเทพฯ ดู และเป็นทีเ่ ชือ่ ว่าท่านหม่อม ก็ถ่ายรูปไม่เป็นและยังไม่มีแม้แต่กล้องถ่ายรูปเป็นของตนเอง คนไทยจึงต้องรอกัน ต่อไปจนกว่าจะได้เห็นรถไฟจริงๆ ในรัชกาลถัดมา ล่วงมาจนถึงรัชกาลที ่ ๕ ใน พ.ศ. ๒๔๒๙ หรืออีก ๓๑ ปี หลังจากท่านหม่อม ได้เห็นรถไฟแล้ว สยามประเทศจึงค่อยเริ่มคิดที่จะมีรถไฟขึ้นใช้ในสยาม ซึ่งก็คือ ทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปสมุทรปราการ (เรียกในสมัยนั้นว่า ทางรถไฟสาย ปากน�้ำ) อันนับได้ว่าเป็นทางรถไฟสายแรกในสยาม แต่กว่าจะสร้างเสร็จและ เปิดใช้ได้จริงๆ ก็เลยมาจนถึงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒ หรือ ค.ศ. ๑๘๙๓) และก็มีระยะทางเพียง ๒๑ กิโลเมตรเท่านั้น(๑๒) ทว่า ความคิดนีก้ ม็ ใิ ช่ความคิดริเริม่ ของรัชกาลที ่ ๕ ด้วยซ�้ำ แต่เป็นความคิด ของชาวเดนมาร์กชื่อกัปตันริชลิว (André du Plessis de Richlieu) ได้รวมทุน กับเพื่อนร่วมชาติซึ่งมีถิ่นที่พักอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งเป็นบริษัท แล้วท�ำหนังสือขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอพระบรมราชานุญาตท�ำกิจการเดินรถไฟ ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ก็ได้พระราชทานสัมปทานให้มีก�ำหนด ๕๐ ปี เมื่อครบก�ำหนดแล้วทางบริษัท ก็จะต้องโอนกิจการให้กับรัฐบาลสยาม อนึ่ง รถไฟสายแรกนี้ยังเป็นของเอกชน และมิได้เป็นรถไฟหลวงสายแรก (อันได้แก่สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา พ.ศ. ๒๔๔๓/ค.ศ. ๑๙๐๐-ผู้เขียน) อนึ่ง ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะโครงการรถไฟครั้งแรกสุดในสยาม เท่านั้น และจะไม่เน้นที่เส้นทางสายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังสายกรุงเทพฯ-ปากน�ำ้ พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓) ซึ่งถือเป็นเส้นทางสายแรกที่มีใช้ในประเทศนี(๑๓) ้ เอกสารของทางการพบในประเทศไทยอีกฉบับหนึ่งซึ่งเชื่อถือได้ก็ยังยืนยัน ว่าทางรถไฟสายแรกที่เปิดใช้ในสยาม คือ สายกรุงเทพฯ-ปากน�ำ้ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ (บน) ขบวนเสด็จของควีนวิกตอเรียบนรถไฟในอังกฤษ เมื่อเสด็จไปทรงทดลองนั่งบนเส้นทางรถไฟ สายแรกของโลกใน ค.ศ. ๑๘๔๔ (ล่าง) ควีนวิกตอเรียเสด็จไปเปิดสะพานรถไฟอัลเบิร์ต (Albert Viaduct) ท่ามกลางความตื่นเต้น ของประชาชนที่จะได้เดินทางติดต่อกันโดยสะดวกและรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน (ภาพ จาก HISTORY AS HOT NEWS)
นอำ�พราง 16 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ไกรฤกษ์ นานา 17
ภาพเก่าหาดูยาก : รัชกาลที ่ ๕ (ทรง ยื น บนหมอนรางรถไฟทรงผ้ า พั น พระศอ) ก่ อ นทรงทดลองนั่ ง รถไฟ ที่ชาวอังกฤษเป็นแม่งานสร้างสาย กรุงเทพฯ-โคราช ทรงเชื่อว่าอังกฤษ เป็นแม่แบบของการรถไฟโลกจึงได้ พระราชทานสัมปทานให้คนอังกฤษ ส�ำรวจเมืองไทยก่อนชาติอื่นๆ (ภาพ จาก BLACK AND WHITE, 2 May 1896)
นอำ�พราง 18 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ภาพไปรษณียบัตรเก่าหาชมยาก : รูปขบวนรถไฟสายแรกในสยามวิง่ ผ่านป่าเขาอันรกชัฏเต็มไปด้วย สิงสาราสัตว์ดุร้าย (คุณไกรฤกษ์ นานา ค้นพบที่อังกฤษ)
จึงขออนุมานในเบื้องต้นว่าประวัติการรถไฟสยามเห็นพ้องตรงกันว่า โครงการ ทางรถไฟสายแรกในประเทศนี้เริ่มต้นใน พ.ศ. ๒๔๓๖ แน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง(๑๔) ทว่า ในความเป็นจริงโครงการรถไฟในประเทศสยามได้เกิดความคิด ริเริม่ มาตัง้ แต่กอ่ น พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓) นานถึง ๗ ปี เป็นโครงการ ขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงระดับชาติ (National) แต่เป็นระดับนานาชาติ (International) พาดผ่านข้ามไป ๓ ประเทศ คือ พม่า สยาม และจีน และเป็น โครงการที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๕ โดยตรง ส�ำรวจ เสร็จเรียบร้อยเป็นแผนงานประจ�ำ พ.ศ. ๒๔๒๙ (ค.ศ. ๑๘๘๖) แต่กลับ ไม่มีการเปิดเผยหรือรับรู้ในประเทศสยาม ด้วยเหตุผลบางอย่างที่ไม่อาจ อธิบายได้ เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่โครงการเมกะโปรเจ็กต์ขนาดนี้จะถูกปิดบังซ่อนเร้นไว้ ได้อย่างมิดชิดและไม่ได้ถูกเปิดเผยให้คนภายในประเทศได้ทราบเลยจนตลอด รัชกาลที่ ๕ แต่กลับเป็นแผนงานมาตรฐานตะวันตกที่สมบูรณ์แบบในรูปแบบพิมพ์
ไกรฤกษ์ นานา 19
เขียว (Blueprint) พร้อมรายละเอียดเชิงลึก ผลส�ำเร็จและเบื้องหลังโครงการโดย มีหลักฐานจากคณะนักส�ำรวจอังกฤษพิมพ์รายงานเผยแพร่ไว้ที่ประเทศอังกฤษ(๑๖)
มหาอ�ำนาจแข่งกันสร้างทางรถไฟไปจีน ชาติมหาอ�ำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศผู้ให้ก�ำเนิดกิจการ เดินรถไฟและพัฒนาระบบเดินรถไฟชาติแรกๆ ของโลก บังเอิญเป็นนักล่าเมืองขึ้น ชั้นแนวหน้าที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันนัก จึงได้น�ำระบบรถไฟเข้ามาใช้ในเมืองขึ้นใหม่ ของตนในตะวันออกไกลเพื่อแสดงศักยภาพของพวกตน การรถไฟเป็นเครื่องมือ ของจักรวรรดินิยมในการขับเคลื่อนกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ได้รวดเร็วที่สุด ทั้งยังเป็นข้ออ้างส�ำหรับการขนถ่ายสินค้าและเคลื่อนย้ายผู้คนได้คราวละมากๆ สร้างความเลื่อมใสศรัทธาต่อผู้น�ำท้องถิ่นทั่วไป แต่เส้นทางรถไฟภายในอาณานิคมของทั้ง ๒ ชาตินี้ จ�ำเป็นต้อง สร้างขึ้นพาดผ่านพื้นที่ทับซ้อนหลายแห่งซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดว่าเป็นของใคร ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสจึงเพียรพยายามที่จะใช้ผู้แทนของตนเกลี้ยกล่อมให้ ผูน ้ ำ� ท้องถิน ่ เชือ่ ถือและยินยอมให้สมั ปทานแก่ชาติมหาอ�ำนาจด�ำเนินกิจการ แต่บ่อยครั้งก็ท�ำให้เกิดการเผชิญหน้ากันบนเวทีการเมือง ท�ำให้ต่างฝ่าย ต่างกีดกันพวกเดียวกันเอง ปล่อยให้ผลประโยชน์ท้องถิ่นขาดการสานต่อ และขาดความทุ่มเทดังที่ควรจะเป็น(๖) ในช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ จีนเป็นศูนย์กลางของความมั่งคั่งทาง ทรัพยากรของทวีปเอเชีย อังกฤษและฝรั่งเศสใช้มาตรการต่างๆ แข่งกันที่จะใช้ อิทธิพลภายในอาณานิคมทีพ่ วกตนมีอำ� นาจอยูป่ ทู างเข้าไปสูจ่ ดุ ศูนย์กลางของแหล่ง ทรัพยากรดังกล่าว ดังนั้น ในเมื่ออังกฤษได้ครอบครองพม่าอย่างเด็ดขาดแล้ว ก็ได้วางแผน ที่จะรุกคืบขึ้นไปยังจีนผ่านรัฐอิสระทางภาคเหนือของพม่าและสยาม ในเวลาเดียว กันนั้นฝรั่งเศสซึ่งพม่าและสยามต้องการจะดึงเข้ามาถ่วงดุลอ� ำนาจอังกฤษเห็น ช่องทางที่จะแทรกแซงกิจการภายในของพม่าและสยามเพื่อกันท่าอังกฤษ ท�ำให้ เกิดการเขม่นกันและท�ำธุรกิจตัดหน้ากันตลอดเวลา แต่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็พยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันทาง การทหาร ซึง่ ไม่คมุ้ ทุน การต่อสูแ้ บบใหม่เกิดเป็นการชิงไหวชิงพริบและเกมการเมือง ที่ยืดเยื้อ โดยมีผู้นำ� ท้องถิ่นเป็นตัวประกัน(๓)
นอำ�พราง 20 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ไกรฤกษ์ นานา 21
การเดินทางเข้าสู่จีนตอนใต้โดยใช้เส้นทางบกเป็นอุปสงค์และอุปทานใหม่ ส�ำหรับชาติมหาอ�ำนาจจักรวรรดินิยม ภายหลังการค้นพบว่าการเดินเรือทางน�้ำ ผ่านทางแม่นำ�้ สาละวินของพม่าโดยอังกฤษ และทางแม่นำ�้ โขงของสยามโดยฝรัง่ เศส นัน้ ไม่สะดวกและไม่มปี ระสิทธิภาพดังทีค่ าดการณ์ไว้ เพราะแม่นำ�้ ทัง้ ๒ สายมักจะ ตื้นเขินในฤดูแล้ง มีไข้ป่าชุกชุม และพื้นที่ป่าเขาตามชายฝั่งก็เป็นที่ซ่องสุมของโจร ผู้ร้ายที่คอยดักปล้นสะดมเรือโดยสารและเรือสินค้า จึงไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะ ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมหลักได้(๒) การที่ อั ง กฤษคิ ด จะสร้ า งทางรถไฟจากพม่ า เข้ า จี น และฝรั่ ง เศส ต้องการจะสร้างเส้นทางรถไฟจากอินโดจีนสูย่ น ู นานนัน ้ เป็นทางเลือกใหม่ ที่น่าสนใจและสมเหตุสมผลกว่าการเดินเรือทวนน�้ำขึ้นไป รถไฟจึงเป็น ยานพาหนะทางเลือกที่สะดวกรวดเร็วกว่า ซึ่งได้รับความนิยมจากนายทุน ที่พร้อมจะให้การสนับสนุนโครงการนี้ให้สัมฤทธิผลจงได้(๑๖)
“การเรียกแขก” ชักน�ำชาติมหาอ�ำนาจให้เห็นลู่ทาง การเรียกแขกของผู้น�ำพม่าและสยามตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีในครั้งรัชสมัย พระเจ้ามินดงทรงส่งกินหวุ่นหมิ่นจีเป็นราชทูตไปฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๘๕๔ และ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งพระยามนตรีสุริยวงศ์ไป อังกฤษใน ค.ศ. ๑๘๕๕ เป็นการเรียกแขกแบบสงวนท่าทีและสงบเสงี่ยมเจียมตัว หมายถึงไม่ผลีผลามและไม่รวบรัดบุ่มบ่าม คณะราชทูตแต่งกายงดงามตามโบราณราชประเพณี เมือ่ เข้าเฝ้าประมุขยุโรป ก็หมอบคลานเข้าไปเฝ้าอย่างนอบน้อมพินอบพิเทา ก้มศีรษะแสดงความคารวะ อย่างสูงที่สุดด้วยความจงรักภักดีเสมือนอยู่ต่อหน้ากษัตริย์ของตนเอง เพราะ ต้องการแสดงให้เห็นเกียรติยศ ความภูมิฐานและฐานะอันมั่งคั่ง สมศักดิ์ศรีของ กษัตริย์ผู้สูงส่งจากเอเชีย เป็นที่กล่าวขวัญถึงบนหน้าหนังสือพิมพ์อังกฤษและ ฝรั่งเศสอย่างเอิกเกริก(๑๐) (บน) รถไฟอังกฤษถูกน�ำไปใช้ในอาณานิคมของอังกฤษ ในภาพเป็นสถานีรถไฟบนฝั่งเกาลูน (ฮ่องกง) ซึ่งอังกฤษได้ครอบครองตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ (ล่าง) เรือสินค้าอังกฤษสามารถขนถ่ายสินค้าจากเรือพาณิชย์ขึ้นรถไฟบนฝั่งเกาลูนส่งไปขาย ยังเมืองต่างๆ บนแผ่นดินใหญ่ของจีนอย่างสะดวกรวดเร็ว
นอำ�พราง 22 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ไกรฤกษ์ นานา 23
แต่เมื่อภารกิจเรียกแขกเสร็จสิ้นลง และหลังจากที่ทางราชส�ำนักยุโรปล่วงรู้ จุดประสงค์ในการเชื้อเชิญชาติตะวันตกของผู้นำ� เอเชียแล้ว ผู้แทนจากฝรั่งเศสและ อังกฤษก็เริ่มแผลงฤทธิ์ เพราะถือตัวว่าเป็น “มือบน” ที่เหนือชั้นกว่า ต่างพากัน แสดงอ�ำนาจบาตรใหญ่ เพราะความได้เปรียบของตนเหนือพม่าและสยามที่ด้อย กว่าพวกตน โดยเปิดเผยธาตุแท้แบบได้ทีขี่แพะไล่ด้วยการพูดเกลี้ยกล่อมผู้น� ำ เอเชียให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของชาติตะวันตกที่ตนเชื้อเชิญเข้ามา(๒) ในพม่า : ช่วงรัชสมัยพระเจ้าธีบอ (บางทีเรียกพระเจ้าสีป่อ) ผู้แทนรัฐบาล ฝรั่งเศสที่กรุงมัณฑะเลย์ก็เริ่มจะกราบทูลแนะน�ำพระเจ้าธีบอให้ทรงผูกมิตรกับ ฝรั่งเศส โดยชักเหตุผลว่าญวนและเขมรได้ท�ำสัญญากับฝรั่งเศส มาบัดนี้ก็มีพรม แดนใกล้ชิดเหมือนเป็นเพื่อนบ้านกันแล้ว ฝรั่งเศสก็จะปกป้องคุ้มครองทั้ง ๒ ประเทศนั้นให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ไม่มีใครมากระท�ำย�่ำยีหรือดูถูกดูหมิ่นได้ พระเจ้าธีบอทรงได้ฟังก็เลื่อมใส ประกอบกับที่ทรงแค้นเคืองอังกฤษอยู่แล้วจึงทรง เห็นคล้อยตามค�ำแนะน�ำของผู้แทนการค้าจากฝรั่งเศสทุกอย่าง ต่อมาผูแ้ ทนรัฐบาลฝรัง่ เศสก็แนะน�ำให้พม่าส่งคณะทูตไปกรุงปารีสอีก ดังนัน้ ใน ค.ศ. ๑๘๘๓ พระเจ้าธีบอก็ทรงท�ำตามค�ำแนะน�ำนั้นอย่างว่านอนสอนง่าย ทาง พม่าอ้างว่าราชทูตคณะใหม่ไปฝรั่งเศสเพื่อศึกษาหาความรู้ในทางวิทยาศาสตร์และ อุตสาหกรรม แต่ก็ดูเหมือนจะรู้กันทั่วไปว่าพระเจ้าธีบอมีพระราชประสงค์ที่จะ ผูกมิตรกับฝรัง่ เศสเอาไว้ขอู่ งั กฤษ เอกอัครราชทูตนัน้ เป็นขุนนางต�ำแหน่งอัตวินหวุน่ เทียบชัน้ พระยาในเมืองไทย ตัวท่านเอกอัครราชทูตนัน้ พูดภาษาอะไรไม่เป็นนอกจาก ภาษาพม่า แต่ก็มีขุนนางพม่าซึ่งเคยไปเรียนนอกในรัชกาลพระเจ้ามินดงพูดฝรั่งได้ เป็นอุปทูตตรีร่วมไปด้วย และมีฝรั่งเศสอีกคนหนึ่งติดตามไปในคณะทูตเพื่อคอย เป็นล่ามและช่วยเหลือต่างๆ เที่ยวนี้อยู่เสียนานเพื่อให้ดูแนบเนียนว่าไปดูงานจริงๆ แต่พอคณะทูตอยู่ปารีสนานเข้า ลอร์ดไลออนส์ (Lord Lions) เอกอัคร ราชทูตอังกฤษที่ปารีสก็ชักจะเดือดร้อน เอกอัครราชทูตอังกฤษได้ไปหารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศบ่อยๆ เพื่อถามว่าพม่าจะท�ำสัญญาทางไมตรีกับ ฝรั่งเศสจริงหรือไม่ เพราะอังกฤษได้ครอบครองพม่าบางส่วนแล้ว ก็จ�ำต้องสนใจ (บน) คณะราชทูตจากสยามเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินนี าถวิกตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ (ค.ศ. ๑๘๕๗) เป็นการเรียกแขกทางอ้อมให้อังกฤษสนใจที่จะเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในสยาม (ล่าง) คณะราชทูตจากสยามเข้าเฝ้าพระเจ้านโปเลียนที ่ ๓ ณ ประเทศฝรัง่ เศส (ค.ศ. ๑๘๖๑) เป็น การเรียกแขกทางอ้อมให้ฝรัง่ เศสสนใจทีจ่ ะเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในสยามเพือ่ แข่งขันกับอังกฤษ
นอำ�พราง 24 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
ในเรือ่ งเช่นนี ้ แต่รฐั มนตรีตา่ งประเทศฝรัง่ เศสก็ตอบบ่ายเบีย่ งไปว่าพม่ามาขอตกลง ทางการค้าเพียงบางเรื่องเท่านั้น แต่เมื่อทูตพม่าไม่มีอ�ำนาจเต็มที่จะตกลงอะไรได้ ฝรั่งเศสก็ไม่มีทางที่จะท�ำความตกลงอย่างไร เมื่อฝรั่งเศสตอบมาอย่างนี้ อังกฤษ ก็ได้แต่นิ่งอยู่ แต่พอขึ้นปีใหม่ (ค.ศ. ๑๘๘๔) อังกฤษก็ขอให้ฝรั่งเศสตกลงว่าจะ ไม่ส่งอาวุธให้แก่พม่าจากตังเกี๋ย และต่อมาก็บอกกับฝรั่งเศสว่าอังกฤษหวังว่า ประเทศต่างๆ ที่เป็นมิตรกับอังกฤษจะไม่ท�ำสัญญาทางไมตรีเข้าเป็นพันธมิตร ข้ามหัวอังกฤษ(๑๑) ในปีถัดมา คือ ค.ศ. ๑๘๘๕ ก็มีข่าวเล็ดลอดออกไปว่าฝรั่งเศสได้ลงนาม ในสนธิสัญญาทางการค้ากับพม่าแล้ว แต่ก็เป็นเพื่อการค้าพาณิชย์จริงๆ ไม่มี อย่างอื่นเคลือบแฝง ต่อมาราชทูตพม่าก็แจ้งเอกอัครราชทูตอังกฤษว่าเปลี่ยนใจ ไม่ไปอังกฤษตามแผนเดิมแล้ว แต่จะผ่านเลยไปอิตาลีแทน การแก้ตัวเช่นนี้ก็ เท่ากับบอกให้อังกฤษรับรู้ทางอ้อมว่าพม่าก�ำลังแสวงหาพันธมิตรไว้สู้กับอังกฤษ การท�ำข้อตกลงฉบับใหม่ใน ค.ศ. ๑๘๘๔ เป็นเหตุผลให้กรุงปารีสจัดตั้ง สถานกงสุลฝรั่งเศสขึ้นที่กรุงมัณฑะเลย์ พม่าก็เลยได้ใจใหญ่ แล้วเหมาเอาว่าบัดนี้ ตนมีฝรั่งเศสหนุนหลังอยู่ ไม่ต้องเกรงกลัวอังกฤษอีกต่อไป พระเจ้าธีบอก็ยิ่งทรง ชะล่าพระราชหฤทัยขึ้นไปอีก แล้วหันมาเอาใจฝรั่งเศสอย่างออกนอกหน้า ความ เคลื่อนไหวของรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นการสร้างเงื่อนไขการเผชิญหน้าอย่างแท้จริง(๖) ถ้าหากว่าราชส�ำนักพม่ามิได้แสดงออกจนเกินเหตุว่าก�ำลังใกล้ชดิ กับฝรัง่ เศส บางทีเหตุร้าวฉานที่เกิดขึ้นระหว่างพม่ากับอังกฤษในเวลาต่อมาอาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ เพราะกรุงรัตนปุระอังวะที่ไม่มีประเทศมหาอ�ำนาจเป็นมิตรนั้น อังกฤษถือว่าไม่เป็น ภัยต่ออังกฤษ แต่กรุงอังวะทีม่ ฝี รัง่ เศสอันเป็นคูแ่ ข่งกับอังกฤษเป็นมิตรนัน้ อังกฤษ เห็นว่าเป็นภัยอันตรายต่อระบบการปกครองเมืองขึ้นของอังกฤษทีเดียว แต่เหตุที่ พระเจ้าธีบอทรงกระตือรือร้นที่จะคบกับฝรั่งเศส ก็เพราะทรงทราบว่าฝรั่งเศสเป็น คู่แข่งกับอังกฤษนัน้ เอง อาจทรงคิดไปว่ากรุงอังวะทีม่ ฝี รัง่ เศสหนุนหลังอยู่นนั้ คงจะ เป็นทีเ่ กรงขามแก่องั กฤษต่อไป สิง่ ทีไ่ ม่ทรงทราบก็คอื ในขณะนัน้ รัฐบาลอังกฤษกับ ฝรั่งเศสผูกพันเป็นพันธมิตรกันอยู่ด้วยสนธิสัญญากรุงปารีส (Treaty of Paris) สนธิสัญญาฉบับนี้ค�้ำคอมิให้รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นปฏิปักษ์ลับหลังอังกฤษ ฝรั่งเศส จึงมิได้เอาใจพม่าอย่างจริงจัง นอกจากหาเศษหาเลยด้านขอสัมปทานการค้าและ คมนาคมแบบฉาบฉวยเท่านั้น(๙) การเดินหน้าของฝรั่งเศสเข้มข้นขึ้นเมื่อทางปารีสจัดส่งคนของตนเข้ามายัง กรุงมัณฑะเลย์ ในเดือนมิถนุ ายน ค.ศ. ๑๘๘๕ กงสุลคนนีม้ ชี อื่ ว่า เมอร์สเิ ออร์ฮาส
ไกรฤกษ์ นานา 25
(M. Hass) บุคคลผู้นี้ออกจะเป็นคนเจ้ากี้เจ้าการอยู่มาก ซึ่งก็ดูจะเหมาะสมกับ หน้าที่ของเขา พอมาถึงพม่าก็ต้อนรับเป็นการใหญ่ โดยเข้าใจว่าจะมาเป็นพวก กับพม่าต่อต้านอังกฤษ แต่นายฮาสซึ่งมีพฤติกรรมอ�ำพรางกลับมีภารกิจหลักที่จะ แสวงหาผลประโยชน์สัมปทานขนาดใหญ่ โดยใช้ความศรัทธาของพระเจ้าธีบอเป็น เครื่องมือหาเงินไปช�ำระหนี้ค่าปฏิกรรมสงครามที่ฝรั่งเศสติดหนี้มหาศาลกับทาง เยอรมนีภายหลังสงครามฟรังโก-ปรัสเซีย สงครามฟรัง โก-ปรัส เซีย (ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๘๗๑) ท�ำ ให้ ฝ รั่ง เศสพ่ า ยแพ้ เยอรมนีอย่างยับเยิน ต้องสูญเสียแคว้นอัลซาซ-ลอร์เรน และเงินค่าปฏิกรรม สงครามจ�ำนวนหลายสิบล้านฟรังก์ นายจูลส์ แฟร์รี่ (M. Jules Ferry) นายก รัฐมนตรีฝรั่งเศส (ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๘๐-๑๘๘๕) ได้ตั้งเป็นนโยบายให้ฝรั่งเศส ขวนขวายหาอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชียโดยเร่งด่วน เพื่อหาเงินมาใช้หนี้ค่า ปฏิกรรมสงครามและฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมทุกวิถีทาง(๔) เพราะฉะนั้น ภารกิจของนายฮาสก็ยังดูคลุมเครือและไม่ขาวสะอาดนัก ในสายตาคนอังกฤษ ทว่า ฉากหน้าของเขาต้องท�ำให้พม่าเห็นว่าอังกฤษเป็นศัตรู ร่วมกันของฝรั่งเศสและพม่า และแม้นว่านายฮาสจะไม่ถูกสั่งจากทางปารีสให้ท� ำ อะไรบุ่มบ่ามก็ตาม แต่ภารกิจซ่อนเร้นของเขาก็มีแนวโน้มกระทบกระเทือนความ เชื่อมั่นของอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้(๑๑) ไม่นานเกินรอข่าวลือเรื่องการสนับสนุนทางการเมืองของฝรั่งเศสต่อพม่า ก็ดูจะมีความจริงขึ้นเรื่อยๆ ความเคลื่อนไหวครั้งใหม่ของพวกฝรั่งเศสซึ่งแทงใจด�ำฝ่ ายอังกฤษอย่าง ใหญ่หลวงก็คอื การทีฝ่ รัง่ เศสได้รบั สัมปทานให้สร้างทางรถไฟตัง้ แต่กรุงมัณฑะเลย์ ไปถึงเมืองตองอู ซึ่งตั้งอยู่บนชายแดนระหว่างพม่าเหนือและพม่าใต้ที่อังกฤษ ครอบครองอยู่ ทางรถไฟและการรถไฟนี้รัฐบาลฝรั่งเศสจะลงทุนร่วมกับบริษัท ที่จะได้ตั้งขึ้นเป็นเงินถึง ๒ ล้าน ๕ แสนปอนด์สเตอร์ลิง แต่รัฐบาลพม่าจะต้อง เสียดอกเบีย้ ให้แก่ฝรัง่ เศส ส�ำหรับเงินจ�ำนวนนีใ้ นอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี หลังจาก ได้เดินรถไฟไปแล้วเป็นเวลา ๗๐ ปี บริษัทรถไฟฝรั่งเศสก็จะยกการรถไฟทั้งหมด ให้แก่พม่า ดูเพียงแค่นี้ก็จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสได้เปรียบทุกประตู แต่พม่าก็ยอม ตกลงตามเงื่อนไขนี้ เพราะนายฮาสแนะให้ว่าเงินที่พม่าจะเอามาเสียดอกเบี้ยให้แก่ ฝรั่งเศสนั้น พม่าไม่ต้องไปหาทุนให้เสียเวลา เพียงแต่ขึ้นอัตราค่าภาษีการเดินเรือ ในแม่น�้ำอิรวดีกับอังกฤษและขึ้นค่าภาคหลวงน�้ำมันดิน ซึ่งอังกฤษเข้ามาท�ำอยู่ก็ได้ เงินเหลือพอ แต่ที่พม่าคิดไม่ถึงหรือคิดถึงแล้วก็คงยอมตาม ก็คือต่อไปอังกฤษ
นอำ�พราง 26 ไขปริศนาประเด็ ในประวัติศาสตร์ไทย
จะหมดทางติดต่อกับพม่า เพราะภาษีการเดินเรือที่เพิ่มขึ้นนั้น จะท� ำให้อังกฤษ เดินเรือตามล�ำแม่น�้ำได้ยาก แต่ฝรั่งเศสจะติดต่อค้าขายกับพม่าได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะฝรั่งเศสจะมีทางรถไฟและสินค้าของฝรั่งเศส ซึ่งขนเข้าพม่าด้วยทางรถไฟนั้น จะต้องไม่เสียภาษีอะไรทัง้ สิน้ ทางรถไฟนีจ้ ะท�ำให้ฝรัง่ เศสผูกขาดเส้นทางการค้ากับ เมืองจีนผ่านพม่าแต่เพียงผู้เดียว และเพื่อเป็นการตอบแทน พม่ามีข้อแลกเปลี่ยนให้ฝรั่งเศสได้รับสัมปทาน จัดตั้งธนาคารขึ้นในพม่าตอนเหนือ ธนาคารฝรั่งเศสจะกลายเป็นแหล่งเงินกู้ชั้นดี ให้พม่าน�ำไปสร้างระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย มีอาทิ รถไฟ รถราง และเรือ ตามล�ำแม่น�้ำ โดยเสียดอกเบี้ยต�่ำกว่าธนาคารของอังกฤษที่สิงคโปร์ สัมปทาน ส�ำคัญอืน่ ๆ ทีพ่ อ่ ค้าฝรัง่ เศสพึงได้รบั มีสทิ ธิท์ ำ� บ่อทับทิมทีเ่ มืองโหม่กกและสัมปทาน ป่าไม้ทางภาคเหนือทั้งหมด ซึ่งจะท�ำให้อิทธิพลของอังกฤษลดน้อยถอยลงจนสูญ สลายไปในที่สุด(๑๑) ข้อแลกเปลี่ยนดังกล่าวก็จะประสานผลประโยชน์ร่วมกันของทั้ง ๒ ฝ่ าย ตามค�ำพังเพยว่า “อัฐยายซื้อขนมยาย” ส�ำหรับฝรั่งเศส และ “เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน” ส�ำหรับพม่า ข่าวลือเรื่องฝรั่งเศสจะเป็นโต้โผท�ำทางรถไฟและตั้งธนาคารในพม่า เป็นเรือ่ งทีท ่ ำ� ให้องั กฤษอึดอัดมาก เรือ่ งแบบนีเ้ ป็นเรือ่ งทุบหม้อข้าวกัน แต่ ที่ก�ำลังเป็นข่าวลือโหมสะพัดมากขึ้นไปอีกคือข่าวที่ว่าฝรั่งเศสก�ำลังหาทาง แย่งชิงรัฐอิสระในสิบสองปันนาซึ่งเป็นพื้นที่ล่อแหลม ย่อมกระทบความ มั่นคงของอาณานิคมพม่าของอังกฤษ(๖) ลอร์ดซอลส์เบอรี (Lord Salisbury) นายกรัฐมนตรีองั กฤษถึงกับนัง่ ไม่ตดิ จึงได้เรียกตัวนายแวดดิงตัน (Mr. Waddington) ทูตฝรัง่ เศสประจ�ำกรุงลอนดอน ไปพบเพื่อต่อว่าต่อขานในการกระท�ำต่างๆ ของฝรั่งเศสในพม่าและตอกกลับว่า อังกฤษจะไม่ยอมให้ชาติใดๆ เข้าไปแสวงหาสัมปทานด�ำเนินกิจการใดๆ ทีเ่ ป็นปัจจัย พืน้ ฐานและยุทธศาสตร์ความมัน่ คงของพม่า เช่น การท�ำรถไฟ การตัง้ ธนาคาร และ การท�ำป่าไม้ และอังกฤษก็พร้อมที่จะใช้มาตรการรุนแรงตอบโต้การกระท�ำเช่นนั้น อย่างไม่เกรงใจกันอีกต่อไป กล่าวฝ่ายพระเจ้าธีบอเมื่อทรงเห็นว่าฝรั่งเศสมาขอท�ำสัญญาสร้างทางรถไฟ และตั้งธนาคารก็ให้ดีพระทัยนัก เฝ้าแต่ทรงใฝ่ฝันว่าจะได้รับทรัพย์สินเงินทองจาก ฝรั่งเศสมากมายก่ายกอง เพราะพระเจ้าธีบอนั้นทรงเห็นว่าพระราชอาณาเขตและ อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงเป็นแต่เพียงบ่อเกิดแห่งพระราชทรัพย์ที่จะทรงน�ำเอามา
ไกรฤกษ์ นานา 27
จับจ่ายใช้สอยตามพระราชหฤทัยเท่านั้น หาได้ทรงเห็นว่าเป็นสิ่งซึ่งพระองค์มีความ รับผิดชอบที่จะท�ำนุบ�ำรุงให้มีอิสรภาพและยั่งยืนตลอดไป แต่ในขณะนั้นพระราช ทรัพย์ที่ทรงหวังว่าจะได้จากฝรั่งเศสก็ยังคงเป็นวิมานในอากาศ เพราะฝรั่งเศส ยังมิได้เข้ามาส�ำรวจทางรถไฟ หรือก่อตั้งธนาคารดังที่สัญญาไว้ เหมือนกับมีบางสิ่ง บางอย่างขัดขวางอยู่ ซึ่งท�ำให้พระองค์ทรงร้อนพระทัยมาก ทรงเกรงว่านโยบายกับ ฝรั่งเศสจะเป็นหมัน(๑๑) แต่แล้วก็มกี ระแสข่าวใหม่ๆ แพร่ออกมาว่า รัฐบาลกรุงปารีสกลับล�ำเปลีย่ นใจ เพือ่ มิให้ปญ ั หาเกีย่ วกับพม่าลุกลามต่อไปท�ำให้องั กฤษกับฝรัง่ เศสต้องผิดใจกันโดย ไม่จ�ำเป็น และอาจบานปลายไปเป็นสงครามระหว่างประเทศมหาอ�ำนาจเพื่อรักษา ผลประโยชน์ของตนในพม่า อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์หลัก ปัจจัยด้านการเมืองถึงจะด�ำเนินอยู่ต่อไปแต่ก็ลดอุณหภูมิลงมาก หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษประท้วงฝรั่งเศสอย่างรุนแรง ต่อมาก็เกิดกระแส ใหม่ของกงสุลฝรั่งเศสอีกคนที่ชื่อ ม. ปาวี (Auguste Pavie) ประจ�ำอยู่ ณ เมืองหลวงพระบาง รายงานว่าการสร้างทางรถไฟผ่านรัฐอิสระในสิบสอง ปันนาหรือสิบสองจุไททางภาคเหนือของสยาม (แทนพม่า) จะท�ำให้ข้อ พิพาทกับอังกฤษสิ้นสุดลง(๒) ในสยาม : ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ การเมืองระหว่างประเทศมีความเข้มข้นมากกว่าในสมัยรัชกาลที ่ ๔ หลายเท่านัก “การเรียกแขก” ในรัชกาลนี้เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสสามารถ “ขโมยซีน” ภาพพจน์ของอังกฤษไปได้หน้าตาเฉย และถึงแม้จะเปลี่ยนเวทีจากพม่ามาสยาม ประเทศ แต่ก็ยังตามกระแสที่อังกฤษคาดหวังอะไรบางอย่างมากกว่าการได้ครอบ ครองพม่าเท่านั้น โดยในสงครามครั้งที่ ๒ นั้นแคว้นๆ หนึ่งซึ่งพม่าเสียให้อังกฤษ มีแคว้นตะนาวศรี (Tanasserim) รวมอยู่ด้วย แคว้นตะนาวศรีนี้บังเอิญเป็นพื้นที่ที่มีพรมแดนประชิดติดกับเขตแดน ของสยามด้านตะวันตกใกล้เมืองระนองของไทยโดยมีแม่นำ�้ ปากจั่นขวางอยู่เท่านั้น อังกฤษจึงมีความคิดที่จะทาบทามรัฐบาลไทยให้ร่วมมือกับอังกฤษส�ำรวจแล้วขุด ช่วงที่แคบที่สุดของแผ่นดินไทยในพื้นที่แถบนี้ที่แม่นำ�้ ปากจั่นไหลไปถึงเป็นคลอง สั้นๆ ทะลุแผ่นดินไปออกทะเล (อ่าวไทย) ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง และถ้าส�ำเร็จคลองนี้ ก็จะเชือ่ มต่ออ่าวเบงกอล (มหาสมุทรอินเดีย) และอ่าวไทย (ทะเลจีนใต้) เข้าด้วยกัน ช่วยย่นย่อระยะเวลาเดินทางของพ่อค้าอังกฤษไปค้าขายกับตะวันออกไกลได้หลาย วัน แต่ที่เป็นเหตุผลซ่อนเร้น ก็คืออังกฤษจะเป็นเจ้าของและผูกขาดการเก็บผล