สู่สังคมไทยเสมอหน้า
ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ
สนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557
สู่สังคมไทยเสมอหน้า • ผาสุก พงษ์ไพจิตร-บรรณาธิการ พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, ตุลาคม 2557 ราคา 250 บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม ผาสุก พงษ์ไพจิตร, บรรณาธิการ. สู่สังคมไทยเสมอหน้า. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 304 หน้า, - - (วิชาการ) 1. สังคมไทย I. ชื่อเรื่อง 303.4 ISBN 978 - 974 - 02 - 1331 - 4
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : เตือนใจ นิลรัตน์ • นักศึกษาฝึกงานกองบรรณาธิการ : เกศวลี ครุฑนาค พิสูจน์อักษร : สุเทพ ชาญกิจ • กราฟิกเลย์เอาต์ : อรอนงค์ อินทรอุดม ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา • ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม นักศึกษาฝึกงานแผนกประชาสัมพันธ์ : ฐิมาภรณ์ โพธิ์ขวัญ
หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9013 www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองการเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
ส า ร บั ญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำ สกว. ถ้อยแถลง บทที่ 1 ความมั่งคั่ง อ�ำนาจ ความไม่เท่าเทียม ผาสุก พงษ์ไพจิตร บทที่ 2 การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย ดวงมณี เลาวกุล บทที่ 3 ความเหลื่อมล�้ำกับตลาดทุนและกรณีหุ้นการเมือง สฤณี อาชวานันทกุล, ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์, วนิชา ดิเรกอุดมศักดิ์ บทที่ 4 ความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษาและโครงสร้างค่าจ้าง ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ บทที่ 5 เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงผ่านเครือข่ายทางการศึกษาพิเศษ นวลน้อย ตรีรัตน์, ภาคภูมิ วาณิชกะ บทที่ 6 บริษัทกึ่งรัฐกึ่งเอกชน : ธุรกิจกับเครือข่ายข้าราชการ นพนันท์ วรรณเทพสกุล บทที่ 7 เครือข่ายอ�ำนาจทักษิณ : โครงสร้าง บทบาท และพลวัต อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ บทที่ 8 โครงสร้างอ�ำนาจและการสะสมทุนในจังหวัดแห่งหนึ่ง ผศ.ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, ชัยณรงค์ เครือนวน บทที่ 9 การปฏิรูประบบภาษีเพื่อสังคมไทยเสมอหน้า ปัณณ์ อนันอภิบุตร เกี่ยวกับผู้เขียน (นักวิจัย)
4 6 8 13 37 61 91 109 149 193 233 265 304
คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์
ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้บรรณาธิการงานเขียนเล่มนี้ ได้เคยกล่าวให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทย ในชั่วอายุคนที่ผ่านมานั้นได้สร้าง ‘วัฒนธรรมความเสมอหน้า’ ขึ้นมาด้วย “หมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ยอมรับการเมืองแบบเก่า ซึ่งคนชั้นกลางมีการศึกษาสูงเป็นผู้ก�ำหนดหรือพยายามก�ำกับอีกต่อไป” หากจะดูกันว่าสังคมไทยมีพัฒนาการอย่างไร มีมิติที่ซับซ้อนเพียงไหน จ�ำเป็นที่จะต้องดูกันให้ลึกถึงแก่นและต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะประเด็น เรื่องความเหลื่อมล�้ำ ความไม่เท่าเทียม และการปฏิรูปประเทศ นับเป็นวาทะ ที่อยู่ในความสนใจของสังคมไทยในทศวรรษนี้ เพราะ “...ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และการกระจุกตัวด้าน ความมั่งคั่งและอ�ำนาจ นับเป็นปัจจัยด้านโครงสร้างที่อยู่เบื้องหลังความคับข้อง ใจ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมจนเพิ่มจ�ำนวนผู้ที่รู้สึกเหมือน กันทับทวีขึ้น ก็จะจุดชนวนน�ำไปสู่ความขัดแย้งที่ลุ่มลึกได้ในที่สุด” เดิมทีข้อมูลในหนังสือนี้มีที่มาจากผลงานวิจัยของนักวิชาการคุณภาพ 13 ท่าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงต้นตอของปัญหาด้านต่างๆ อาทิ การกระจุกตัวของ ความมั่งคั่งในสังคมไทย ความเหลื่อมล�้ำกับตลาดทุนและกรณีหุ้นการเมือง ความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษาและโครงสร้างค่าจ้าง ฯลฯ 4
ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ
ไม่ใช่เรื่องยากที่ผู้อ่านทั่วไปจะท�ำความเข้าใจกับข้อมูลอันเป็นฐานคิด ในการพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล�้ำ สร้างความเท่าเทียมในสังคม รวมทั้ง แนวทางในการปฏิรูปประเทศ เพราะผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยตัดทอน เนื้อความให้กระชับเข้าใจง่าย แต่ยังมีข้อมูลอ้างอิงไว้ท้ายบทความส�ำหรับ ผู้สนใจสืบค้นต่อ กล่าวได้ว่าผลงานชุดนี้เป็นการเปิดมุมมองและวิพากษ์ “การพัฒนา สังคมไทย” ได้อย่างลึกซึ้ง โดยมีเนื้อหาที่จะช่วยเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ ผูท้ สี่ นใจด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ และการเมือง ให้รอบด้าน ยิ่งกว่าเดิม แม้สังคมไทยจะยังมีโจทย์ให้แก้หลายประการ แต่ทมี ผู้เขียนก็ได้แสดง ความคิดเห็นไว้ด้วยว่า “ประเทศไทยยังคงมีอะไรให้ท�ำอีกมาก” หมายถึงว่า ปัญหาต่างๆ ใช่ว่าจะไม่มีทางออก เพียงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันจาก หลายฝ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำในสังคม พัฒนาศักยภาพของพลเมือง และ น�ำพาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและก้าวหน้าได้ในที่สุด ส�ำนักพิมพ์มติชน 5
สู่ สั ง ค ม ไ ท ย เ ส ม อ ห น้ า
คํ า นํ า ส ก ว.
หนังสือ สู่สังคมไทยเสมอหน้า บรรณาธิการโดย ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ผลงานวิจัย เรื่อง “สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้าง อ�ำนาจเพื่อการปฏิรูป” ซึ่งเป็นงานวิจัยในโครงการทุนศาสตราจารย์วิจัย ดีเด่น สนับสนุนโดยส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สกว.ได้อนุญาตให้ส�ำนักพิมพ์มติชนตีพิมพ์ครั้งแรกนี้ เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ สู่สังคมอย่างกว้างขวาง ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเป็นองค์กรที่ให้ทุนสนับสนุนการ วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้สร้างผลงานเอกสารต�ำรา ในวงวิชาการสู่สาธารณะเป็นจ�ำนวนมาก และภารกิจอีกด้านหนึ่งคือ การ สนับสนุนทุนต่อยอดงานวิจัยให้กับศาสตราจารย์ที่มีผลงานดีเด่น และการ พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะเป็นก�ำลังในการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต และผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ กล่าวได้ ว่าเป็นการเปิดมุมมองและวิพากษ์ “การพัฒนาสังคมไทย” ได้อย่างลึกซึ้งและ เป็นฐานคิดในการพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล�้ำ สร้างความเท่าเทียมในสังคม รวมทั้งการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ส�ำคัญในปัจจุบัน 6
ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ
สกว.หวังว่าหนังสือที่มีคุณภาพเล่มนี้จะช่วยเสริมงานในวงวิชาการ ด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการเมืองไทย ได้เป็นอย่างดี และหวังว่า จะได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางต่อไป
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
7
สู่ สั ง ค ม ไ ท ย เ ส ม อ ห น้ า
ถ้ อ ย แ ถ ล ง
ขอขอบคุณนักวิจัยทุกท่านที่ท�ำให้หนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่โครงการวิจัยนี้คงเป็นไปไม่ได้ หากไม่ได้การสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่ได้ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำอย่างดี เยี่ยมในขณะที่จัดเตรียมข้อเสนอโครงการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ.ดร. อัมมาร สยามวาลา ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ ศ.ดร. เบ็น แอนเดอร์สัน ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อีกหลายท่านได้กรุณาวิจารณ์และให้ค�ำแนะน�ำในการปรับปรุงผลงาน ได้แก่ อ.ดร.ปรีชา เปีย่ มพงศ์สานต์ ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ ์ รศ.แล ดิลก- วิทยรัตน์ อ.ดร.เดชรัต สุขก�ำเนิด ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คุณบรรยง พงษ์พานิช รศ.ดร.สุมาลี ปิติยานนท์ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์ รศ.สมพร อิศวิลานนท์ รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล ศ.ดร.เควิน ฮิววิสัน ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์ รศ.ดร.อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี อ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ อ.ดร.สันต์ สัมปัตตะวนิช อ.ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม ดร.วีรยุทธ กาญจนชูฉัตร คุณชัยรัตน์ แสงอรุณ ดร.ธานี ชัย- 8
ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ
วัฒน์ และ ดร.วีรยุทธ กาญจนชูฉัตร ได้ช่วยบรรณาธิการบางบท ขอขอบคุณ ทุกท่านอย่างยิ่ง ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ศาสตราจารย์นาย แพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ คุณชลนภา ชื่นชมรัตน์ เจ้าหน้าที่ของ สกว. ที่ ได้ให้การสนับสนุนอย่างดียิ่ง ขอขอบคุ ณ ศ.นพ.ภิ ร มย์ กมลรั ต นกุ ล ศ.ดร.เกื้ อ วงศ์ บุ ญ สิ น ศ.ดร.ตี ร ณ พงศ์ ม ฆพั ฒ น์ และ รศ.ดร.ชโยดม สรรพศรี ที่ได้ให้ความอนุ- เคราะห์และช่วยเหลืออย่างดีเยี่ยม ขอขอบคุณ คุณปานบัว บุนปาน แห่งส�ำนักพิมพ์มติชน ที่สนับสนุน การพิมพ์หนังสือเล่มนี้อย่างดียิ่ง ขอขอบคุณ คุณไพรินทร์ พลายแก้ว คุณนัชญากรณ์ กิจตระกูล คุณ เพ็ญศิน ี รักเชือ้ คุณอรวรรณ ทองยา คุณเพ็ญศรี ใจบาน และคุณสุภาภรณ์ ตรงกิจวิโรจน์ ที่ได้ช่วยเรื่องธุรการ การพิมพ์ และการเงินอย่างดีที่สุด ขอขอบคุณ คุณคริส เบเคอร์ ผู้ให้ก�ำลังใจอย่างสม�่ำเสมอ ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร 9
สู่ สั ง ค ม ไ ท ย เ ส ม อ ห น้ า
สู่สังคมไทยเสมอหน้า
...ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และการกระจุกตัวด้าน ความมั่งคั่งและอ�ำนาจ นับเป็นปัจจัยด้านโครงสร้างที่อยู่เบื้อง หลังความคับข้องใจ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม จนเพิ่มจ�ำนวนผู้ที่รู้สึกเหมือนกันทับทวีขึ้น ก็จะจุดชนวนน�ำไปสู่ ความขัดแย้งที่ลุ่มลึกได้ในที่สุด
1 ความมั่งคั่ง อ�ำนาจ ความไม่เท่าเทียม ผาสุก พงษ์ไพจิตร
หนังสือเล่มนี้แสดงข้อมูลให้ผู้อ่านทั่วไปได้เห็นว่า สังคมไทย ร่วมสมัยมีความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ ความมั่งคั่ง และอ�ำนาจสูงมาก ความไม่เท่าเทียมเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ “ตอกลิ่มความขัดแย้งในสังคม... บั่นทอนความไว้วางใจซึ่งกันและกันของสมาชิกต่างฐานะ” (สฤณี, บทที่ 3 ในเล่มนี้) และท�ำให้ “ผู้คนไม่อาจรู้สึกเป็นชุมชนเดียวกันได้อย่างสมัครใจ เนื่องจากเห็นความแตกต่างที่เหลือหลาย” (Stiglitz, 2011) การแก้ไขความไม่เท่าเทียมในเมืองไทยที่มีสูงในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ที่จะท�ำ มาตรการที่ส�ำคัญคือการจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะที่ทั่วถึง โดยเฉพาะสินค้าและบริการสาธารณะที่เพิ่มความสามารถและโอกาสท�ำงาน ให้กับประชาชนระดับล่าง ประสบการณ์ของหลายประเทศแสดงให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตย การกระจายอ�ำนาจ การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่าง เต็มที่ เป็นพลังที่จะท�ำให้เกิดมาตรการที่กล่าวมา และส่งผลให้ลดความไม่เท่า เทียมลงได้
ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ ความมัง่ คั่ง และอ�ำนาจ ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ ด้านความมั่งคั่ง และด้านอ�ำนาจ เกี่ยว โยงกันอย่างแนบแน่น ในเมืองไทยความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ค่อนข้างสูง ดูได้จากการ เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าเรามีดัชนีแสดงความไม่เท่าเทียมที่ 14
ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ
เรียกว่า ค่าจีนี1 ที่จะเทียบกันได้ ค่าจีนีที่สูง แสดงความไม่เท่าเทียมสูง และในทางกลับกัน รูปที่ 1 แสดงค่าจีนีของรายได้ของครัวเรือนไทยและประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ใน อาเซียน2 ดัชนีจีนีของไทยก่อนปี พ.ศ.2523 เท่ากับ 0.4 กว่าๆ และต�่ำกว่าที ่ มาเลเซียหรือที่ฟิลิปปินส์ แต่หลังปี 2523 ความไม่เท่าเทียมพุ่งเร็ว จนถึงจุด สูงสุดเมื่อปี 2535 ที่ 0.536 และลดลงมาอยู่ที่ 0.484 ในปี 2554 ซึ่งสูงกว่า ใครหมดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน รูปที่ 1 ค่าจีนีด้านรายได้ในอาเซียน
ในเมืองไทยความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้น เพราะว่ามีทั้งคนรวยที่รวยมาก และคนจนจ�ำนวนไม่น้อย ปี พ.ศ.2554 ยังมีคนจน 3 ถึงประมาณ 8.8 ล้านคน ในจ�ำนวนนี้ ประมาณ 3.4 ล้านคนอยู่ในภาคอีสาน และหากนับรวมกลุ่มคนใกล้จนก็จะ มากกว่านี้ นอกจากนั้นยังมีความต่างระหว่างภาคต่างๆ ระหว่างเมืองกับ ชนบท ระหว่างเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพฯ กับที่อื่น และภายในแต่ละเมืองแต่ละ ถิ่นก็มีความแตกต่างกันสูง4 15
สู่ สั ง ค ม ไ ท ย เ ส ม อ ห น้ า
ความต่างด้านรายได้ ส่งผลให้มีความแตกต่างด้านความมั่งคั่ง (บทที่ 2) ด้านการศึกษา (บทที่ 4) และการเข้าถึงอ�ำนาจ ความไม่เท่าเทียมนัน้ มักจะขึงตัว น�ำไปสูก่ ารก่อตัวของทัศนคติทตี่ อ่ ต้าน การเปลี่ยนแปลง และยิ่งเวลาผ่านไปก็จะส่งผลต่อเนื่องให้ความต่างถ่างออก ไปเรือ่ ยๆ ผูม้ รี ายได้มากก็มชี อ่ งทางสะสมได้มากกว่าคนกลุม่ อืน่ น�ำไปสูค่ วาม ไม่เท่าเทียมในด้านความมั่งคั่งอันได้แก่การมีทรัพย์สินต่างๆ ขณะนี้เรามีข้อมูลการเป็นเจ้าของทรัพย์สินดีกว่าอดีต บทที่ 2 ของ หนังสือเล่มนี้เสนอข้อมูลการถือครองที่ดินเป็นครั้งแรกของเมืองไทย สัดส่วน การถือครองที่ดินโฉนดของทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในกลุ่มผู้ถือครอง ที่ดินร้อยละ 20 ที่มีที่ดินมากที่สุด ต่อกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 20 ที่มีการถือ ครองที่ดินน้อยที่สุด คิดเป็นประมาณ 325 เท่า นับว่าเป็นการกระจุกตัวที่สูงยิง่ ส�ำหรับเงินฝากในธนาคารนั้น ประมาณกึ่งหนึ่ง (49%) ของเงินฝาก ทั่วประเทศ มาจากประมาณ 106,000 บัญชีที่มีเงินฝากมากกว่า 10 ล้านบาท ต่อบัญชี คิดเป็น 0.12% ของบัญชีทั้งหมดในประเทศ (ธนาคารแห่งประเทศ ไทย, 2556) ในกรณีของหุ้น ผู้มีหุ้นมากที่สุด 10 ราย มีมูลค่าหุ้นรวมกันมากกว่า 1 แสนล้านบาท การกระจุกตัวของสินทรัพย์เหล่านี้น�ำมาซึ่งความต่างของรายได้ต่อไป คนมั่งมีมีรายได้ในรูปของค่าเช่า ดอกเบี้ย และเงินปันผล เพิ่มเติมขึ้นมามาก กว่าคนอื่นๆ ท�ำให้คนหยิบมือหนึ่งนั้นมีรายได้สูงกว่าคนกลุ่มอื่นอย่างชัดเจน ความไม่เท่าเทียมในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์เหล่านี้ เป็นมูลเหตุของ ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ ด้านสังคม และด้านอ�ำนาจที่แท้จริง
ความมั่งคั่งและอ�ำนาจแยกออกจากกันไม่ได้ ถ้าจะท�ำ ความเข้าใจกันจริงๆ จะต้องวิเคราะห์ลงลึกไปถึงสาเหตุความ เป็นมาในประวัติศาสตร์ แต่จะเป็นเรื่องใหญ่และยาว ในที่ นี้ จ ะขอสรุ ป เพี ย งย่ อ ๆ ว่ า โดยรากฐานแล้ ว เป็ น เพราะการเมืองไทยพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากสมัยศักดินา สู่ 16
ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ
ระบบทหารเป็นใหญ่ สู่ธนกิจการเมือง และสู่ระบอบคณาธิปไตย ที่มีพลวัต มีความยืดหยุ่นในการดูดดึงส่วนหัวของกลุ่มอ�ำนาจ ใหม่ๆ เข้าเป็นพวกอยู่เสมอ ด้วยกลไกใหม่ๆ และผ่านเครือข่าย ต่างๆ (ดูตัวอย่างในบทที่ 5 เล่มนี้)
ณ ระดับชาติ ผู้ที่คุมนโยบายอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับสูง นักการ เมืองใหญ่ นักลงทุนกับผู้บริหารบริษัทและธนาคารใหญ่ (บทที่ 3, 5, 6, 7) ณ ระดับท้องถิ่น อ�ำนาจการเมืองกระจุกตัวอยู่กับครอบครัวนักธุรกิจท้องถิ่นที ่ ร�ำ่ รวยจ�ำนวนหยิบมือ โดยมีขา้ ราชการและนักการเมืองเป็นผูห้ นุนช่วย (บทที ่ 8)
ความไม่เท่าเทียมในมิตสิ ากล ทศวรรษ 2550 ความไม่เท่าเทียม เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ ทั่วโลก มีงานศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือหลายเล่ม ทั้งรายงานจาก ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และงานศึกษาของนักวิชาการที่มี ชื่อเสียง เช่น Wilkinson และ Pickett (2009), Galbraith (2012), Stiglitz (2012), Winters (2011), Piketty (2014) - - หนังสือของ Piketty นักเศรษฐ ศาสตร์ชาวฝรัง่ เศส ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษเมือ่ ต้นปี 2557 ขายได้ 80,000 เล่มภายในเวลา 2 เดือน ที่คนสนใจกันมากก็เพราะได้สังเกตเห็นความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้นจริง เห็นถึงความขัดแย้งและการประท้วงบนท้องถนน
ในการวิเคราะห์ถึงความไม่เท่าเทียม มี 3 แนวคิดที่น่า สนใจ ดังนี้ Galbraith และ Stiglitz เสนอว่า ที่สหรัฐอเมริกา นั้น ความไม่เท่าเทียมพุ่งสูงในระยะเร็วๆ นี้ เพราะรัฐบาลด�ำเนิน นโยบายตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ ทางออกจึงเน้นไปที่การปรับ นโยบายเหล่านั้นเสีย 17
สู่ สั ง ค ม ไ ท ย เ ส ม อ ห น้ า
Piketty ศึ ก ษาหลายประเทศ รวมทั้ ง สหรั ฐ อั ง กฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เขาได้ข้อสรุปว่า ความไม่เท่าเทียมด้าน รายได้เพิ่มเร็วในระบบทุนนิยม โดยที่ผลตอบแทนของการลงทุน เพิ่มในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเพิ่มของเศรษฐกิจรวมหรือจีดีพี ความไม่เท่าเทียมเป็นปัญหาที่เกิดจากกลไกและกฎเกณฑ์ของ ระบบทุนนิยมที่ไร้การควบคุมโดยแท้ จึงคาดได้ว่าความไม่เท่า เทียมจะเพิ่มขึ้นต่อไป ไม่มีทางที่จะลดลง5 นอกเสียจากว่าจะมี การตกลงกันในระดับโลกในอันที่จะจัดระบบควบคุมทุนนิยม ร่วมกัน Winters ศึกษาสหรัฐอเมริกา สังคมโบราณในอดีต และ ประเทศเอเชียบางแห่ง เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เขา เน้นให้ความส�ำคัญกับโครงสร้างทางการเมืองที่คนมั่งมีซึ่งเป็น ส่วนยอดของสังคมสร้างสถาบันที่เอื้อกับการเพิ่มความมั่งคั่งและ อ�ำนาจการเมืองของพวกเขาโดยไม่ใส่ใจปัญหาของกลุ่มสังคม อื่นใด6
ในเมืองไทยและประเทศก�ำลังพัฒนาอื่นๆ มูลเหตุของความไม่เท่า เทียมอาจต่างจากประเทศพัฒนาแล้วในบางมิติ แทบทุกประเทศเกื้อกูลนัก ลงทุน ควบคุมแรงงาน ไม่ปกป้องสิ่งแวดล้อม และไม่ได้สร้างระบบยุติธรรม ที่เที่ยงตรงเต็มที่ จึงเปิดช่องให้นักลงทุนสะสมความมั่งคั่งได้เร็วภายในชั่วอายุ คนเดียว ดังเห็นได้จากการพุ่งขึ้นเป็นอภิมหาเศรษฐีของนักลงทุนที่อินเดีย จีน และรัสเซีย และคนที่เคยขายหอยทอดข้างถนนที่เมืองไทย รัฐบาลของประเทศก�ำลังพัฒนามักจะสนับสนุนนโยบาย “เสรีนยิ มใหม่” ตามแนวทางของสหรัฐอเมริกามากน้อยต่างกันไป คนมั่งมีและมีอิทธิพลส่วน ยอดล้วนสนับสนุนให้มีระบบการเมืองที่เอื้อกับการสะสมทุนเป็นหลัก พร้อมทั้ง ส่งเสริมสถาบันทีต่ อกย�ำ้ สร้างความมัง่ มีและความต่าง บางประเทศไม่สนับสนุน ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยตามแนวทางของสากลโลก บางประเทศสนับสนุน ระบบการเมืองพรรคเดียว 18
ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ
ความไม่เท่าเทียม เสถียรภาพ เศรษฐกิจ ความขัดแย้งและความยุ่งยากทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่กลาง ทศวรรษ 2540 สืบเนื่องมาถึงทศวรรษ 2550 มีประเด็นเรื่องความไม่เท่าเทียม เป็นพื้นฐานอยู่เบื้องหลัง แน่นอนว่า ความขัดแย้งทางการเมืองมีหลายสาเหตุ รวมทั้งประเด็น ส่วนบุคคลด้วย และความไม่เท่าเทียมด้านเศรษฐกิจอาจจะไม่ใช่ต้นเหตุของ ความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง แต่ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจส่งผล ต่อเนื่องไปถึงความไม่เท่าเทียมในมิติอื่นๆ เช่น การเข้าถึงสินค้าและบริการ สาธารณะอย่างการศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพ ความยุตธิ รรม การมีส่วนร่วมในทางการ เมือง การได้รับการปฏิบัติที่เสมอหน้า การได้รับความยอมรับนับถือ ฯลฯ ซึง่ ความไม่เท่าเทียมในมิตอิ นื่ ๆ นีผ้ ปู้ ระสบรูส้ กึ เป็นความอัดอั้นตันใจและประท้วง งานศึกษาของอภิชาติ สถิตนิรามัย, ยุกติ มุกดาวิจิตร และนิติ ภวัคร- พันธุ์ ได้ให้ข้อมูลว่า คนอีสานที่สัมภาษณ์มี “ความน้อยเนื้อต�่ำใจ...โดยเฉพาะ ถูกดูแคลน...แสดงความน้อยเนื้อต�่ำใจด้วยการอ้างว่ามีนักจัดรายการโทรทัศน์ กล่าวไว้ว่า ‘คนอีสานเป็นได้แค่คนรับใช้กับเด็กปั๊ม’ เขาระบายความอัดอั้น ตันใจว่า ‘รู้สึกถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม เพราะ (คนเหล่านี้เห็นว่า) ตนมีฐานะ ยากจน ความรู้น้อย รู้สึกว่าสังคมมีชนชั้น สังคมมีปัญหาความไม่เท่าเทียม มีเรื่องเงินใต้โต๊ะ เรื่องเส้นสาย’” (อภิชาติและคณะ ปี 2556 : หน้า 59-60.) การแสดงความน้อยเนือ้ ต�ำ่ ใจในท�ำนองนี ้ ปฏิเสธได้ยาก ว่าไม่มีความต่างด้านความมั่งคั่งหรือด้านรายได้อยู่เบื้องหลัง ดังนัน้ ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และการกระจุกตัวด้านความ มั่งคั่งและอ�ำนาจ นับเป็นปัจจัยด้านโครงสร้างที่อยู่เบื้องหลังความคับข้องใจ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่เพิ่มจ�ำนวนผู้ที่รู้สึกเหมือนกัน จนทับทวีขึ้น ก็จะจุดชนวนน�ำไปสู่ความขัดแย้งที่ลุ่มลึกได้ในที่สุด7 นอกจากนั้น ความไม่เท่าเทียมยังท�ำให้สังคมขาดความสามัคคี ดังจะ 19
สู่ สั ง ค ม ไ ท ย เ ส ม อ ห น้ า