ก้าวข้าม
ด้วย ธารธรรม
ก้าวข้าม
ด้วย ธารธรรม
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557
ก้าวข้ามด้วยธารธรรม • เหยี่ยวถลาลม พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, ตุลาคม 2557 ราคา 125 บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม เหยี่ยวถลาลม. ก้าวข้ามด้วยธารธรรม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 144 หน้า. 1. พุทธศาสนา--คำ�สั่งสอน. I. ชื่อเรื่อง 294.3122 ISBN 978 - 974 - 02 - 1345 - 1
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว,สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : สอง แสงรัสมี • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ กราฟิกเลย์เอาต์ : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : jessymorebeauty ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองการเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ 7 ค�ำน�ำผู้เขียน 9 ค�ำเสนอแนะ 11 ธรรมะกับการเมือง 14 ก้าวข้ามได้ด้วยธรรม 20 พลิกมุมมอง 24 เห็นอะไรในพุทธศาสนา (1) 30 เห็นอะไรในพุทธศาสนา (2) 36 ดวงตาไม่เห็นธรรม 44 มหาโจร 5 ประเภท 50 พุทธมามกะ 56
ค�ำพูดกับความคิด 62 นายโทนี่ แบลร์ 66 มายาแห่งการชี้น�ำ 70 ความเสื่อมทรามที่จับต้องได้ 76 คนดีที่ไทยต้องการ 82 วิถีพุทธหยุดความรุนแรง 88 มีอะไรอยู่ในความมืด 94 นรกอยู่ที่นี่ 102 เหรียญสองด้าน 108 เรียก “ปัญญา” มาประจ�ำการ 114 โอกาสและการมองเห็นโอกาส 120 ธรรมะในพระบรมราโชวาท (1) 126 ธรรมะในพระบรมราโชวาท (2) 130 ประโยชน์ส่วนรวม 136
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบ “คน” เหมือนดอกบัวทั้งสี่เหล่า หนึ่ง บัวก้นบึง คือ บัวที่ยังอยู่ในโคลนตม เปรียบได้ดั่งคนที่มีทิฏฐิ ยากแก่การกลับตัวเป็นคนดี ยากแก่การสั่งสอนหรือพัฒนาจิตใจ สอง คือ บัวใต้น�้ำ บุคคลที่ยังสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้ ถ้าได้ กัลยาณมิตรที่ดี สาม บัวปริ่มน�้ำ คือ คนที่มีศีลธรรมประจ�ำใจอยู่ แล้ว สามารถพัฒนาเป็นคนที่ดีได้อีกมาก และสุดท้าย บัวพ้นน�้ำ คือบุคคลที่มีศีลประจ�ำใจอย่างสมบูรณ์พร้อมแล้ว สอดคล้องกับ หลักธรรมทางพุทธศาสนาที่มุ่งสั่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ซึ่งการที่ จะเป็น “บัวพ้นน�้ำ” ได้นั้น เราต้องอาศัยการเรียนรู้วิถีธรรม การฝึก จิตใจ และ “การปฏิบัติจริง” นั่นเอง ทว่าท่ามกลางสังคมแห่งความขัดแย้ง หลายครั้งเราหลงลืม “ธรรมะ” และความรัก ความเมตตาที่ควรมีต่อกันไป ก้าวข้ามด้วยธารธรรม 7
การเปรียบเทียบมนุษย์กับ “ดอกบัว” เป็นการเปรียบที่ลึกซึ้ง กล่าวว่า แม้ดอกบัวที่อยู่ในโคลมตมก็ยังมี “โอกาส” ที่จะโผล่พ้น น�้ำมาด้วย “การปฏิบัติธรรม” เช่นเดียวกันกับหนังสือ “ก้าวข้าม ด้วยธารธรรม” ที่มุ่งน�ำเสนอ “หลักคิด” หรือ “แก่น” ทางศาสนาไว้ อย่างคมคายและลึกซึ้ง ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า เราทั้งหลายสามารถ “ก้าวข้าม” อุปสรรคนานัปการได้ด้วย “ธรรม” ส�ำนักพิมพ์มติชน
8 เหยี่ยวถลาลม
ค�ำน�ำผู้เขียน ใครชักชวนไปพูด ผมมักปฏิเสธ เพราะไม่ถนัดพูด ในความ รูส้ กึ ผม นักพูดท่านมีคณุ ลักษณะพิเศษ ทีส่ ามารถส�ำรวมสมาธิ มีสติ และใช้ปัญญาได้อย่างต่อเนื่องแหลมคม ผมไม่สามารถ ผมถนัดที่จะเขียน แม้จะอยู่ในสถานการณ์วุ่นวาย มีเสียงดัง รบกวนจากสิ่งรอบข้างเพียงใดผมก็เขียนหนังสือได้สารพัดเรื่อง แต่คราวนี้ ส�ำนักพิมพ์ ให้เขียน “ค�ำน�ำ” ให้กับเรื่องที่ตัวเอง เขียน นับว่าประสบกับความยากล�ำบากเข้าแล้ว ทุกสิ่งที่คิด ได้เขียนเอาไว้ในเนื้อความที่รวมเล่มสิ้นแล้ว บรรณาธิการเก่งมากที่อุตส่าห์ไปค้นไปคัดสรรรวบรวมเฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับ “ธรรม” มารวมเล่ม กล่าวได้ว่า “ธรรม” ไม่ใช่เรื่องที่จูงใจนัก จะให้ชักชวนด้วยค�ำน�ำว่าอย่างไร ก้าวข้ามด้วยธารธรรม 9
เป็นที่รู้กันว่า ความคิดความเชื่อของคนเราเกี่ยวกับการเมือง และศาสนานั้นเปราะบางที่สุด ถึงจะเป็นผัวเมียพ่อแม่พี่น้องกันก็ ต้องระวังต่อมอัตตาถูกกระตุ้นจนหยุดไม่อยู่ กู่ไม่กลับ การปรุงแต่งของคนเราน่ากลัวนัก สมองรับรู้แล้วชอบสร้าง ภาพมายาจากสิ่งเร้า “ศาสนา” มีหลายเหลีย่ มหลายมุมทีต่ า่ งคนสามารถเลือกมอง เลือกเชื่อ เลือกปฏิบัติ แต่รวมความแล้ว หัวใจของทุกศาสนา มุ่ง ให้คนเป็นคนดี สังคมสันติสุข และโลกมีสันติภาพ แต่ทงั้ ทีเ่ ราทุกคนล้วนถูกประทับตราว่ามี “ศาสนา” ตัง้ แต่เกิด ท�ำไม คนยังเบียดเบียน ฉ้อฉล ช่วงชิง ท�ำร้ายกัน สังคมไม่มี สันติสุข และโลกก็ยังมีสงคราม ในทางพุทธศาสนาอธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล สอน ได้ พัฒนาได้ ความรู้ทั้งหลายเรียนกันได้ แต่ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ ความรู้ท่วมหัวก็หามีประโยชน์ไม่ได้ ผลสุดท้ายก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาจากการที่นับถือ ศรัทธา และ กระท�ำพิธีกรรมทางศาสนา ในมุมของผม ส�ำหรับสังคมไทย ปัญหาน่าจะอยูท่ กี่ ระบวนการ ซึ่งพุทธธรรมเรียกว่า “ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ” เมื่อใดที่เลิกดีแต่พูด เลิกดีแต่สอน เลิกดีแต่เทศน์ ทุกอย่างก็ จะเปลี่ยนไป เหยี่ยวถลาลม 10 เหยี่ยวถลาลม
ค�ำเสนอแนะ
“เหยี่ยวถลาลม” เจ้าของนามปากกาผู้เขียนหนังสือ “ก้าว ข้ามด้วยธารธรรม” เล่มนี้ เป็นนักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ในเครือมติชนตั้งแต่นมแตกพาน จนพานใหญ่กว่านมในขณะนี้ แต่ งานในหน้าที่ยังคงเส้นคงวา สม�่ำเสมอ กล่าวคือ คิดด้วยความ รอบคอบชอบธรรม เขียนในสิ่งที่ตัวเองรู้ และเป็นนักหนังสือพิมพ์ ด้วยการด�ำรงความเป็นพหูสูต คือนักฟังผู้ยิ่งใหญ่ ว่าไปแล้ว ใครก็ตามที่เกิดมามีอาการครบ 32 ประการ ไม่ พิกลพิการทางร่างกายและจิตใจ เล่าเรียนเขียนอ่านมาตามครรลอง ประการส�ำคัญอยู่ในกรอบของพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติบูชา มีหน้าที่ปฏิบัติด้วยความสุจริต รู้กาละเทศะ รู้อะไรควรไม่ควร อัน เป็นความปกติของคนปกติ ความผิดปกติจะมาจากไหน “เหยี่ยวถลาลม” เป็นคนปกติ ก้าวข้ามด้วยธารธรรม 11
แต่ไม่ได้ท้าถามใครว่าเป็นคน เป็นพระ เป็นแพะที่ผิดปกติ หรือเปล่า? ประพฤติปฏิบัติสุจริตเป็นหน้าที่ ก็ไม่เคยยกย่องใครว่าท� ำ ทุกอย่างหมด ยกเว้นงานในหน้าที่ เหมือนก�ำลังช่วยหรี่ไฟให้โลก ทีละดวงนั่นปะไร ศาสนาพุทธมีข้อก�ำกับกว้างๆ ให้คนถือคือศีลธรรม ศีลเป็นข้อห้ามมิให้ล่วงล�้ำก�้ำเกินสิ่งผิดปกติ ธรรมเป็นความปกติให้เป็นคนปกติ ส่ ว น นามะรู ป ั ง อนิ จ จั ง , นามะรู ป ั ง ทุ ก ขั ง , นามะรู ป ั ง อนัตตา เป็นรายละเอียดให้พิจารณาให้ถ่องแท้ ให้ยอมรับความ จริง ว่าทุกรูปทุกนามเป็นของไม่เที่ยง, ทุกนามทุกรูปล้วนมีแต่ทุกข์, ทุกรูปทุกนามไม่มีตัวตน นึกจะมาก็มา นึกจะไปก็ไป จับต้นชน ปลายไม่ได้ เผลอเฮือกเดียวก็ไม่ได้จับ คุณแห่งพระพุทธศาสนาจริงๆ ให้อยู่กับตัวเองเพียงเท่านี้ และให้อยู่กับสิ่งอื่นๆ ในโลกอย่างรู้เท่ารู้ทัน ขอบคุณ “เหยี่ยวถลาลม” ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ออกมาอย่าง ทันการ ขอบคุณท่านผู้อ่านทั้งปวงที่จะเรียกร้องความปกติคืนมาสู่ ตัวเอง ขรรค์ชัย บุนปาน 12 เหยี่ยวถลาลม
ก้าวข้าม
ด้วย ธารธรรม
ก้าวข้ามด้วยธารธรรม 13
ธรรมะ กับ การเมือง
ความจริงแล้วพุทธศาสนาเข้ามาในบ้านเราตั้งแต่ก่อนสมัย สุโขทัย ถึงแม้จะได้เปลือกได้กระพี้ได้แก่นบ้างก็ต้องถือว่าศาสนา พุทธหยั่งรากลึกยาวนานในภูมิภาคนี้ เรามี “พระพุทธรูป” ยึดเหนี่ยวระลึกถึงองค์พระศาสดา มี “พระธรรม” ค�ำสอนเป็นแนวทางการคิดและด�ำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่บน ความไม่ประมาท ทั้งยังมี “พระสงฆ์” ท�ำหน้าที่สืบทอดและเผยแผ่ พระธรรมค�ำสอน พุทธศาสนาน่าจะราวลมหายใจของคนไทยโดยส่วนใหญ่! แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ พุทธศาสนากลายเป็นแค่สิ่งก่อสร้างอลังการ เป็นแค่เครื่อง รางของขลัง เป็นแค่วัดที่มากไปด้วยกิจกรรมหารายได้ และเป็นแค่ ฆราวาสที่นุ่งเหลืองห่มเหลืองไม่เคร่งครัดในศีลธรรม ก้าวข้ามด้วยธารธรรม 15
จึงมักมีปรากฏพระร้อยล้านพันล้าน ถึงแม้จะมี “พระสงฆ์แท้” ผู้คนก็ไม่ใคร่จะเข้าหา หรือถือ เป็นแบบอย่าง ต่อเมื่อละสังขารจึงจะกรูกันไปยึดกระดูก อัฐบริขาร มาครอบครอง หาได้มองเห็น “ธรรม” กล่าวอย่างรวบรัด แท้จริงคนไทยห่างไกลจากพุทธธรรม! ดูได้จาก วิธีคิด วิธีปฏิบัติ บุคลิกภาพ นิสัย การประพฤติ ตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการการเมืองที่จบไม่ลง ปลงไม่ได้ ก็ด้วยวิธีคิดและพฤติกรรมแบบไทยๆ อิจฉาริษยา อาฆาตแค้น ขี้โม้ขี้โอ่ อวดร�่ำอวดรวย เป็นนัก ฉกฉวยโอกาส ขาดอิทธิบาท 4 ไม่นิยมยินดีในความส�ำเร็จของใคร ฝักใฝ่แต่ลาภฉ้อฉล ไม่อดทน ไม่มุ่งชนะอุปสรรคด้วยความเพียร ถนัดในทางเบียดเบียน ให้ร้าย ท�ำลายฝั่งตรงข้าม ประเทศบอบช�้ำสาหัสมาเกือบ 10 ปี ผู้น�ำทางการเมือง นัก การเมือง พรรคการเมือง ตลอดจนชนชั้นสูงในสังคมไทยก็ยังไม่ เลิกทะเลาะกัน ต่างก็พร้อมที่จะจุดไฟปลุกม็อบฝ่ายตัวเอง ไม่เปิดใจ ตั้งแง่ ก่อก�ำแพง ไม่ยื่นมือออกไปแสวงหาจุดร่วมที่จะเกิดประโยชน์กับ ประเทศชาติและประชาชน ราวกับแต่ละคนจะมีชีวิตกันไปชั่วฟ้าดินสลาย อนิจจัง วัฏสังขารา!?!! 16 เหยี่ยวถลาลม