สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ภาพจากปกหน้า
(ซ้าย) ส่วนหน้าบันและปีกนก พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร (ขวา) ภาพลายเส้นปีกนก
ภาพจากปกหลัง
(ซ้าย) บันไดนาค วิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ขวา) ภาพลายเส้นส่วนเศียรนาค
(ซ้าย) สิงห์หย่ง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร (ขวา) ภาพลายเส้นสิงห์หย่ง
สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก
ราคา ๑๖๕ บาท
สรรพสัตวในงานสถาปตยกรรมไทย • รองศาสตราจารยสมใจ นิม่ เล็ก พิมพครั้งแรก : มิถุนายน ๒๕๕๗ ราคา ๑๖๕ บาท ขอมูลทางบรรณานุกรม สมใจ นิ่มเล็ก. สรรพสัตวในงานสถาปตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๑๗๒ หนา : ภาพประกอบ. ๑. สารานุกรม- -สัตว. I. ชื่อเรื่อง 030 ISBN 978 - 974 - 02 - 1293 - 5
• ที่ปรึกษาสำนักพิมพ : อารักษ คคะนาท, สุพจน แจงเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผูจัดการสำนักพิมพ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผูจัดการสำนักพิมพ : รุจิรัตน ทิมวัฒน • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ บุนปาน • บรรณาธิการสำนักพิมพ : พัลลภ สามสี • หัวหนากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • ผูชวยบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจนอักษร : โชติชวง ระวิน I พัทนนลิน อินทรหอม • รูปเลม : กรวลัย เจนกิจณรงค • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณรัตน • ออกแบบปก : ศศิณัฏฐ กิจศุภไพศาล • ประชาสัมพันธ : ตรีธนา นอยสี หากสถาบันการศึกษา หน�วยงานตางๆ และบุคคล ตองการสั่งซื้อจำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดตอโดยตรงที่ บริษัทงานดี จำกัด โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเลมนี้พิมพดวยหมึกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพื่อปกปองธรรมชาติ และสุขภาพของผูอาน
บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แมพิมพสี-ขาวดำ : กองพิมพสี บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพที่ : โรงพิมพมติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู ๕ ถนนสุขาประชาสรรค ๒ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำหนายโดย : บริษัทงานดี จำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
คำ�นำ� กบ กบทู
กลอนกบ ข้างกบ ช่องกบ บานกบ ปากกบ ผนังกบ
กระบือ
ลิ้นกระบือ
กริว
ปากกริว
กวัก
ก้นกวัก
(๑๒)
๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๑๐
๑๑ ๑๒
๑๓ ๑๔
๑๕ ๑๖
(6) สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
กา
กาเกาะ กาทับไหล่ ช่องตีนกา ปีกกา
ไก่
ไก่ตอด ครอบหัวอกไก่ ซุ้มรังไก่ ลูกแก้วอกไก่ อกไก่ เอี้ยวคอไก่
ครุฑ
ครุฑแบก ครุฑยุดนาค ชั้นครุฑ นารายณ์ทรงครุฑ ปากครุฑ
ควาย
ข้างควาย
ค้างคาว
ค้างคาว ลายค้างคาว
งัว (วัว)
กระเบื้องหน้าวัว งัว (วัว)
๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒
๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๘ ๓๐ ๓๒
๓๔ ๓๕ ๓๗ ๓๘ ๔๐ ๔๓
๔๔ ๔๕
๔๖ ๔๗ ๔๘
๕๐ ๕๑ ๕๒
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก (7)
จระเข้
จระเข้ขบฟัน
ช้าง
งวง งาเนียม ช้างรอบ ช้างล้อม ตกท้องช้าง ประตูหูช้าง ร่องตีนช้าง
ตะขาบ
เขี้ยวตะขาบ
ตะเข้
ตะเข้ราง ตะเข้สัน สันตะเข้
ตั๊กแตน
ทวยหน้าตั๊กแตน
เต่า
กระเบื้องเกล็ดเต่า
ทราย (เนื้อทราย)
ขาทราย
๕๓ ๕๔
๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๙ ๖๑ ๖๒ ๖๔ ๖๖
๖๗ ๖๘
๖๙ ๗๐ ๗๑ ๗๒
๗๔ ๗๕
๗๖ ๗๗
๗๘ ๗๙
(8) สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
นก
ขื่อปีกนก ไขราปีกนก นกเจ่า บังนก ปากนก ปีกนก พุงนกกระจาบ อุดปีกนก
๘๑ ๘๒ ๘๔ ๘๕ ๘๖ ๘๗ ๘๘ ๙๑ ๙๒
นาค
๙๓
๙๔ ๙๕ ๙๖ ๙๙ ๑๐๐ ๑๐๑
นาคตัน นาคเบือน นาคปัก นาคมุม นาคสะดุ้ง บันไดนาค
ปลา
ปากปลา หางปลา
ปลิง
บัวปากปลิง ปลิง
เป็ด
เป็ดไซ้
๑๐๕ ๑๐๖ ๑๐๗
๑๐๘ ๑๐๙ ๑๑๐
๑๑๒ ๑๑๓
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก (9)
ผีเสื้อ
เดือยผีเสื้อ ผีเสื้อ
ผึ้ง
ลายรวงผึ้ง
แมว
ช่องแมวลอด
สิงห์
กาบพรหมสิงห์ แข้งสิงห์ จมูกสิงห์ ปากสิงห์ ลายหน้าสิงห์ ท้องสิงห์ นมสิงห์ ฐานสิงห์ ฐานสิงห์กาบบัว ฐานสิงห์ลูกแก้ว ท้องสิงห์ นมสิงห์ น่องสิงห์ บัวหลังสิงห์ พลสิงห์ สิงห์ค่อม สิงหบัญชร สิงห์หย่ง สิงหาสน์
หงส์
ปากหงส์ เสาหงส์ หางหงส์
๑๑๔ ๑๑๕ ๑๑๖
๑๑๘ ๑๑๙
๑๒๐ ๑๒๑
๑๒๒ ๑๒๓ ๑๒๔ ๑๒๕ ๑๒๖ ๑๒๗ ๑๒๘ ๑๒๙ ๑๓๐ ๑๓๑ ๑๓๒ ๑๓๔ ๑๓๕ ๑๓๖ ๑๓๗
๑๓๘ ๑๓๙ ๑๔๐ ๑๔๒
(10) สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
หนู
ไม้เสียบหนู สะพานหนู
หมา
เขี้ยวหมา
หมู
เขี้ยวหมู หมูสี
เหยี่ยว
เดือยหางเหยี่ยว
เหรา
เหรา
บรรณานุกรม
๑๔๓ ๑๔๔ ๑๔๕
๑๔๗ ๑๔๘
๑๔๙ ๑๕๐ ๑๕๑
๑๕๒ ๑๕๓
๑๕๔ ๑๕๕
๑๕๖
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก (11)
คำ�นำ�
สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี ทั้งอาคารทาง พุทธศาสนา อาคารที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และที่อยู่อาศัย ของประชาชน ของบรรดาช่างไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ชื่อตัวอาคาร โครงสร้าง องค์ประกอบ ช่างมักตั้งชื่ออิงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวสิงสาราสัตว์ บางครั้งหา สิ่งอิงเพื่อตั้งชื่อไม่ได้ ช่างก็มักจะโยนให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตและวิญญาณ เช่น ภูตผีไปเลย ช่างจะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้สัมผัส คลุกคลีมาตลอดชีวิต และ ยังได้สัมผัสในภาวะปัจจุบัน เมื่อพิจารณาเห็นว่าสิ่งต่างๆ คล้ายเหมือนหรือ ใกล้เคียงระหว่างสัตว์กับลักษณะของอาคาร โครงสร้าง และองค์ประกอบ ก็ มักจะตั้งชื่อเลียนแบบ เลียนอากัปกิริยาของสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น นับว่าเป็น ความชาญฉลาด มีภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ มิใช่นักวิชาการในปัจจุบัน ที่เขียนบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย เมื่อไม่รู้จักชื่ออาคารหรือองค์ ประกอบบางอย่างก็ไม่พยายามค้นหาหรือสอบถามผู้รู้ ก็จะตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ ตามความเข้ า ใจของตนเอง นั บ ว่ า เป็ น อั น ตรายอั น ใหญ่ ห ลวงต่ อ วงการ สถาปัตยกรรมไทย อันเป็นวัฒนธรรมประเพณีของไทย ช่างไทยจะตัง้ ชือ่ ในงานสถาปัตยกรรมไทยอย่างตรงไปตรงมา ไม่เสแสร้ง ด้วยความซื่อเข้าใจความเป็นไประหว่างสถาปัตยกรรมกับสัตว์ ชื่อต่างๆ ที่ ช่างไทยตั้งขึ้น จึงเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ช่างและสถาปนิกสืบทอดกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน และเชื่อว่าคงเป็นที่ยอมรับและสืบทอด ต่อไปในอนาคต
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก (13)
ในการเขียนบทความเรื่องสรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทยนี้ คงเข้า ท�ำนองและใกล้เคียงกับวิธีการท�ำศัพท์ในพจนานุกรมเท่าที่จะท�ำได้ ชื่อสัตว์ ต่างๆ ในการขึน้ ต้นแต่ละชนิดจะน�ำมาจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่ออธิบายถึงลักษณะของสัตว์ที่จะมีใช้ในงานสถาปัตยกรรม ไทย ส่วนค�ำอธิบายแต่ละค�ำจะพยายามให้มีความละเอียดเพื่อความเข้าใจ ให้มากที่สุด พร้อมภาพประกอบค�ำนั้นๆ ด้วยวิธีวาดเส้น ซึ่งวิธีวาดเส้นจะ เป็นการอธิบายได้ละเอียดและชัดเจนกว่าภาพถ่าย ถ้าใช้ภาพถ่ายก็จะต้อง มีการชี้บอกรายละเอียด และเป็นวิธีที่ยุ่งยากกว่าการใช้ภาพลายเส้น การ เขียนคงจะเรียงตัวอักษรไม่ถูกต้องตามหลักการท�ำพจนานุกรมนัก ผู้เขียน ต้องขออภัยล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก ราชบัณฑิต
สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
กบ
ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน�้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มี หาง ตี น แบนมี ห นั ง ติ ด เป็ น พื ด กระโดดได้ ไ กล ว่ า ยน�้ ำ ด� ำ น�้ ำ ได้เร็ว มักวางไข่ในน�้ำ เมื่อเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน�้ำเรียก ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไปแล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่ากบจ�ำศีล กบเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับคนมาก เนื้อกบเป็นอาหารยอด นิ ย มของคนไทย สมั ย ก่ อ นกบจะมี อ ยู ่ โ ดยทั่ ว ไป โดยเฉพาะ ตามทุ ่ ง นาเมื่ อ เลยฤดู ก ารท� ำ นา ฝนตกน�้ ำ จะขั ง เจิ่ ง ท่ ว มพื้ น นา ตกเวลากลางคื น ทุ ่ ง นาจะเต็ ม ไปด้ ว ยแสงไฟ นั่ น คื อ การหากบ ตี ก บของชาวนา แม้ แ ต่ ต ามสวนเมื่ อ ฝนตกหนั ก ๆ จะได้ ยิ น เสี ย งกบร้ อ งระงมไปหมด ปั จ จุ บั น ทั้ ง ทุ ่ ง นา ตามสวนหากบ ยากเย็น ตามตลาดจะเต็มไปด้วยกบเลี้ยง เนื้อไม่อร่อย เหม็น คาว ด้ ว ยความใกล้ ชิ ด คุ ้ น เคยท� ำ ให้ ช ่ า งเกิ ด จิ น ตนาการจาก รูปร่าง ปากของกบน�ำมาตั้งชื่อในงานสถาปัตยกรรมไทยอย่าง มากมาย แต่บางชื่อใช้ค�ำว่ากบ แต่ ค วามหมายเป็ น อย่ า งอื่ น ที่ไม่เกี่ยวกับตัวกบเลยก็มี
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 3
กบทู โครงสร้างของหลังคาเรือนเครื่องผูกบางท้องถิ่นโดยเฉพาะเรือนข้าว เรือนของนักเรียนปอเนาะ กระต๊อบในสวนผลไม้ สวนยางของท้องถิ่นภาคใต้ กบทูเป็นไม้ไผ่ล�ำใหญ่วางทับประกบหรือกบอยู่บนโคนจันทันที่ประสานกัน อยู่เหนืออกไก่ วางอยู่แนวเดียวกับแป ท�ำหน้าที่รับกลอนผูก และเครื่องมุง ความหมายของค�ำว่ากบทูก็คือไม้ไผ่ล�ำที่ ๒ ที่วางกบหรือประกบอยู่เหนือไม้ ไผ่อีกล�ำหนึ่งก็คืออกไก่ ซึ่งทูก็หมายถึงสอง โครงสร้างเครื่องผูกโดยทั่วไปจะ ไม่มีกบทู จันทันจะห้อยอยู่ใต้อกไก่ อกไก่จะอยู่แนวเดียวกับแปอกไก่จะรอง รับกลอนผูก เครื่องมุงและหลบหลังคา โครงหลังคาเครื่องผูกดังกล่าวจะไม่มี กบทู ตัดโครงสร้างไปได้ตัวหนึ่ง ลดแรงงานและเวลาในการปลูกสร้างด้วย
4 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
กลอนกบ เครื่องกั้นบานประตูบานหน้าต่างไม่ให้เปิดออก ใช้กับอาคารสถาปัตย กรรมไทย ทั้งอาคารที่พักอาศัยแบบเรือนไทยภาคกลาง เรือนชาวสวน เรือน คหบดี กุ ฏิ ส งฆ์ อุ โ บสถ วิ ห าร การเปรี ย ญในศาสนาพุ ท ธ พระต� ำ หนั ก เรือนต้นของอาคารที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ กลอนกบนี้จะท�ำด้วย ไม้ ตกแต่งส่วนบนให้มีปลายแหลม และมีความหนากว่าส่วนล่างที่ส�ำหรับ ใส่ลงไปในรูกลอนที่อยู่กึ่งกลางของธรณีล่างของประตูหน้าต่าง ส่วนที่มีปลาย แหลม รู ป ร่ า งจะป้ อ มๆ คล้ า ยตั ว กบ ช่ า งจึ ง เรี ย กเครื่ อ งกั้ น นี้ ว ่ า กลอนกบ กลอนกบนี้จะนิยมใช้กั้นบานหน้าต่างเป็นส่วนมาก ส่วนที่ใช้กั้นบานประตู จะมีน้อย เนื่องจากเลิกใช้เพราะเมื่อเปิดประตูแล้ว เอากลอนกบนี้ใส่ไว้ใน รูกลอน กลอนกบจะเกะกะ เท้าจะสะดุดเวลาเข้าออก ถ้าถอดวางไว้ข้างนอก ก็มักจะสูญหาย ประตูจึงต้องใช้กลอนดาลเป็นเครื่องกั้นแทน
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 5
ข้างกบ แผ่นไม้กระดาน แผ่นหินอ่อน หรือแผ่นหินชนวนที่ประกับด้านข้าง ของเสาระเบียง เสาพระระเบียง เสาศาลาราย ซึ่งเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส เสา สี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาของสถาปัตยกรรมไทยต่างๆ ดังกล่าวนี้จะเป็นเสาลอย เสาลอยนี้เมื่อก่ออิฐได้ความสูงดังต้องการแล้ว จะวางแผ่นไม้กระดานหนา ไม่ต�่ำกว่า ๒ นิ้ว กว้างเท่ากับความหนาด้านข้างของเสา แผ่นไม้นี้จะวางพาด จากเสาหนึ่งไปยังอีกเสาหนึ่ง โดยปลายแผ่นไม้จะยื่นล�้ำเข้าไปในเสาพอสมควร แล้วจึงก่ออิฐบนเสาและบนแผ่นไม้ขึ้นไปรับโครงหลังคา แผ่นไม้นี้จะเรียก ไม้ทับหลัง แผ่นไม้ แผ่นหินอ่อน แผ่นหินชนวนที่ประกับเสาจะประกับตั้งแต่ พื้นขึ้นไปยันท้องของไม้ทับหลังนี้จะเรียกว่าข้างกบ ไม้ทับหลังมักทาสีแดง น�้ำหมาก ถ้าข้างกบเป็นไม้ก็จะทาสีแดงน�้ำหมากด้วย ข้างกบนี้นอกจากจะ เป็นการตกแต่งเสาให้เรียบร้อยและสวยงามแล้ว ยังเป็นโครงสร้างรองรับไม้ ทับหลังอีกด้วย
6 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ช่องกบ ช่องว่างของก�ำแพงอาคาร หรือสองข้างของประตูทางเข้าออกส�ำหรับ เดินผ่านเข้าออก มีกรอบเช็ดหน้าโดยรอบ และมีข้างกบประกับ ช่องกบนี้ จ ะ ไม่มีบานหรือใบบานเปิดปิดเหมือนประตูโดยทั่วไป
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 7
บานกบ ช่ อ งประตู ห รือ ช่ อ งหน้ า ต่ า งของอาคารเครื่อ งก่ อ สถาปั ต ยกรรมไทย เช่น อุโบสถ วิหาร การเปรียญ ที่มีผนังก่ออิฐหนา กึ่งกลางความหนาของ ผนั ง จะติ ด ตั้ ง กรอบเช็ ด หน้ า โดยรอบของช่ อ ง มี บ านประตู บานหน้ า ต่ า ง ส�ำหรับเปิดและปิด ความหนาของผนังด้านนอกถึงริมกรอบเช็ดหนาอาจมี การประกับด้วยแผ่นไม้หรือแผ่นหินอ่อน
8 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ปากกบ ชื่ อ วิ ธีก ารที่ น� ำ ไม้ ๒ ชิ้ น มาต่ อ หรื อ ยึ ด ให้ ติ ด กั น ซึ่ ง เรี ย กวิ ธีนี้ ว ่ า เข้ า ปากไม้ ปากกบนี้ เ ป็ น วิ ธีก ารเข้ า ปากไม้ แ บบหนึ่ ง เป็ น วิ ธีที่ ใ ช้ ม ากในงาน สถาปัตยกรรมไทยหลายประเภท เช่น เรือนไทยภาคกลาง กุฏิสงฆ์ อุโบสถ วิหาร การเปรียญ เรือนต้น และพระต�ำหนักของสถาบันพระมหากษัตริย ์ เนือ่ ง จากรูปทรงของอาคารชนิดต่างๆ ดังกล่าวมีฝาหรือผนังที่ล้มเข้าทุกด้านของ อาคารที่มีผังพื้นสี่เหลี่ยม ทั้งที่เป็นอาคารเครื่องไม้และอาคารเครื่องก่อ ส�ำหรับอาคารเครื่องไม้ ฝาที่ท�ำเป็นแผง โดยน�ำไม้ชิ้นเล็กบ้างใหญ่บ้าง มาประกอบกัน มุมของแผงฝาจะไม่อยู่ในลักษณะมุมฉาก มีมุมต่างๆ ตาม การล้มเข้าของตัวอาคาร กรอบเช็ดหน้าของประตูหน้าต่างตรงมุมจะไม่เป็น มุมฉากเสมอไป ฉะนั้นการเข้าปากไม้จะไม่เป็นการเข้ามุมฉากแบบการเข้า ปากไม้โดยทั่วไป การเข้าปากไม้แบบปากกบจะเข้าไม้โดยแบ่งครึ่งมุมของ ฝาหรือของกรอบเช็ดหน้า ตรงมุมจะเป็นการประกบของไม้ ๒ ชิ้นและท�ำ ให้ไม้เกิดเป็นมุมแหลม ช่างจะมองดูว่าคล้ายปากของกบ ช่างโบราณจึงเรียก การเข้าปากไม้แบบนี้ว่าการเข้าไม้แบบ “ปากกบ”
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 9
10 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ผนังกบ ส่วนที่เป็นความหนาของผนังที่เจาะช่องเป็นประตูหน้าต่างทั้งด้านนอก และด้ า นในของกรอบเช็ด หน้ า อาจมีแ ผ่ น ไม้ ห รือ แผ่ น หิน อ่ อ นประกับ ซึ่ง เรียกว่า บานกบ ถ้าเป็นแผ่นไม้จะมีการตกแต่งด้วยลวดลายจิตรกรรม เช่น ลายรดน�้ำ ลายก�ำมะลอ ความหนาของผนังด้านในกรอบเช็ดหน้า ถ้าปาด ผนังให้ผายออก เพื่อให้บานประตูบานหน้าต่างแนบไม่ยื่นเลยผนังไปเกะกะ เวลาเปิด ผนังที่ผายจะไม่เรียกผนังกบ เปลี่ยนไปเรียกว่า บานแผละ
กระบือ
ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโค กระบือ
12 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ลิ้นกระบือ เรือนไทยภาคกลางรวมทั้งเรือนชาวสวนจะปูพื้นเรือนตามยาวของตัว เรือนบนรอดโดยไม่มีตะปูยึด ด้วยระยะห่างของรอด พื้นเรือนจะเยิ่นหรือ ยวบ เมื่อรับน�้ำหนักซึ่งเป็นอันตรายเวลานั่งหรือนอน เพื่อแก้ปัญหานี้จะใช้ ไม้แผ่นบางๆ ยาวประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร หนาไม่เกิน ๑.๕ เซนติเมตร ใส่ไว้ในรูที่เจาะไว้ทางด้านความหนาของพื้นที่ ประชิดกัน เพื่อยึดพื้นให้ติดกัน ๑ หรือ ๒ ต�ำแหน่งของระยะห่างของรอด การยึดพื้นเรือนด้วยวิธีนี้จะป้องกันพื้นเยิ่นหรือยวบยาบได้เป็นอย่างดี ด้วย ขนาดและรูปร่างคล้ายและใกล้เคียงกับลิ้นของควายหรือกระบือ จึงได้ชื่อว่า ลิ้นกระบือ
กริว กริว หมายถึง เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ (ขุนช้าง ขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า
14 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ปากกริว ปากกริวเป็นชื่อวิธีการเข้าปากไม้แบบหนึ่ง เป็นวิธีที่ช่างใช้มากในการ เข้ า ไม้ ว งกรอบของบานประตู ห น้ า ต่ า งทั้ ง ที่ บ านเป็ น แผ่ น เรี ย บหรื อ บานที่ มี การบรรจุลูกฟัก การเข้าปากไม้แบบปากกริวนี้จะน� ำมาไว้วงกรอบทางนอน ทั้งบนและล่างตัดมุม ๔๕ องศาทางผิวด้านในเพียงความลึกของรางที่จะใส่ ลูกฟัก ความลึกของรางวงกรอบทางนอนก็จะประกบพอดีกับความลึกของราง วงกรอบทางตั้ง ส่วนวงกรอบตรงส่วนกลางของบานก็จะตัดมุม ๔๕ องศา ทั้งด้านบนและด้านล่างของไม้วงกรอบ รางของวงกรอบชิ้นกลางก็จะประกบ กับรางของวงกรอบทางตั้งพอดีเหมือนกับวงกรอบทางนอน การเข้าไม้แบบนี้ ช่างจะเห็นรอยเข้ามุมมีลักษณะขบกันคล้ายเวลาหุบปากของเต่า ช่างโบราณ จึงเรียกการเข้าไม้แบบนี้ว่าเข้าแบบ “ปากกริว” ค�ำว่า กริว ก็คือเต่านั่นเอง
สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
กบ
ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน�้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มี หาง ตี น แบนมี ห นั ง ติ ด เป็ น พื ด กระโดดได้ ไ กล ว่ า ยน�้ ำ ด� ำ น�้ ำ ได้เร็ว มักวางไข่ในน�้ำ เมื่อเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน�้ำเรียก ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไปแล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่ากบจ�ำศีล กบเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับคนมาก เนื้อกบเป็นอาหารยอด นิ ย มของคนไทย สมั ย ก่ อ นกบจะมี อ ยู ่ โ ดยทั่ ว ไป โดยเฉพาะ ตามทุ ่ ง นาเมื่ อ เลยฤดู ก ารท� ำ นา ฝนตกน�้ ำ จะขั ง เจิ่ ง ท่ ว มพื้ น นา ตกเวลากลางคื น ทุ ่ ง นาจะเต็ ม ไปด้ ว ยแสงไฟ นั่ น คื อ การหากบ ตี ก บของชาวนา แม้ แ ต่ ต ามสวนเมื่ อ ฝนตกหนั ก ๆ จะได้ ยิ น เสี ย งกบร้ อ งระงมไปหมด ปั จ จุ บั น ทั้ ง ทุ ่ ง นา ตามสวนหากบ ยากเย็น ตามตลาดจะเต็มไปด้วยกบเลี้ยง เนื้อไม่อร่อย เหม็น คาว ด้ ว ยความใกล้ ชิ ด คุ ้ น เคยท� ำ ให้ ช ่ า งเกิ ด จิ น ตนาการจาก รูปร่าง ปากของกบน�ำมาตั้งชื่อในงานสถาปัตยกรรมไทยอย่าง มากมาย แต่บางชื่อใช้ค�ำว่ากบ แต่ ค วามหมายเป็ น อย่ า งอื่ น ที่ไม่เกี่ยวกับตัวกบเลยก็มี
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 3
กบทู โครงสร้างของหลังคาเรือนเครื่องผูกบางท้องถิ่นโดยเฉพาะเรือนข้าว เรือนของนักเรียนปอเนาะ กระต๊อบในสวนผลไม้ สวนยางของท้องถิ่นภาคใต้ กบทูเป็นไม้ไผ่ล�ำใหญ่วางทับประกบหรือกบอยู่บนโคนจันทันที่ประสานกัน อยู่เหนืออกไก่ วางอยู่แนวเดียวกับแป ท�ำหน้าที่รับกลอนผูก และเครื่องมุง ความหมายของค�ำว่ากบทูก็คือไม้ไผ่ล�ำที่ ๒ ที่วางกบหรือประกบอยู่เหนือไม้ ไผ่อีกล�ำหนึ่งก็คืออกไก่ ซึ่งทูก็หมายถึงสอง โครงสร้างเครื่องผูกโดยทั่วไปจะ ไม่มีกบทู จันทันจะห้อยอยู่ใต้อกไก่ อกไก่จะอยู่แนวเดียวกับแปอกไก่จะรอง รับกลอนผูก เครื่องมุงและหลบหลังคา โครงหลังคาเครื่องผูกดังกล่าวจะไม่มี กบทู ตัดโครงสร้างไปได้ตัวหนึ่ง ลดแรงงานและเวลาในการปลูกสร้างด้วย
4 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
กลอนกบ เครื่องกั้นบานประตูบานหน้าต่างไม่ให้เปิดออก ใช้กับอาคารสถาปัตย กรรมไทย ทั้งอาคารที่พักอาศัยแบบเรือนไทยภาคกลาง เรือนชาวสวน เรือน คหบดี กุ ฏิ ส งฆ์ อุ โ บสถ วิ ห าร การเปรี ย ญในศาสนาพุ ท ธ พระต� ำ หนั ก เรือนต้นของอาคารที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ กลอนกบนี้จะท�ำด้วย ไม้ ตกแต่งส่วนบนให้มีปลายแหลม และมีความหนากว่าส่วนล่างที่ส�ำหรับ ใส่ลงไปในรูกลอนที่อยู่กึ่งกลางของธรณีล่างของประตูหน้าต่าง ส่วนที่มีปลาย แหลม รู ป ร่ า งจะป้ อ มๆ คล้ า ยตั ว กบ ช่ า งจึ ง เรี ย กเครื่ อ งกั้ น นี้ ว ่ า กลอนกบ กลอนกบนี้จะนิยมใช้กั้นบานหน้าต่างเป็นส่วนมาก ส่วนที่ใช้กั้นบานประตู จะมีน้อย เนื่องจากเลิกใช้เพราะเมื่อเปิดประตูแล้ว เอากลอนกบนี้ใส่ไว้ใน รูกลอน กลอนกบจะเกะกะ เท้าจะสะดุดเวลาเข้าออก ถ้าถอดวางไว้ข้างนอก ก็มักจะสูญหาย ประตูจึงต้องใช้กลอนดาลเป็นเครื่องกั้นแทน
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 5
ข้างกบ แผ่นไม้กระดาน แผ่นหินอ่อน หรือแผ่นหินชนวนที่ประกับด้านข้าง ของเสาระเบียง เสาพระระเบียง เสาศาลาราย ซึ่งเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส เสา สี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาของสถาปัตยกรรมไทยต่างๆ ดังกล่าวนี้จะเป็นเสาลอย เสาลอยนี้เมื่อก่ออิฐได้ความสูงดังต้องการแล้ว จะวางแผ่นไม้กระดานหนา ไม่ต�่ำกว่า ๒ นิ้ว กว้างเท่ากับความหนาด้านข้างของเสา แผ่นไม้นี้จะวางพาด จากเสาหนึ่งไปยังอีกเสาหนึ่ง โดยปลายแผ่นไม้จะยื่นล�้ำเข้าไปในเสาพอสมควร แล้วจึงก่ออิฐบนเสาและบนแผ่นไม้ขึ้นไปรับโครงหลังคา แผ่นไม้นี้จะเรียก ไม้ทับหลัง แผ่นไม้ แผ่นหินอ่อน แผ่นหินชนวนที่ประกับเสาจะประกับตั้งแต่ พื้นขึ้นไปยันท้องของไม้ทับหลังนี้จะเรียกว่าข้างกบ ไม้ทับหลังมักทาสีแดง น�้ำหมาก ถ้าข้างกบเป็นไม้ก็จะทาสีแดงน�้ำหมากด้วย ข้างกบนี้นอกจากจะ เป็นการตกแต่งเสาให้เรียบร้อยและสวยงามแล้ว ยังเป็นโครงสร้างรองรับไม้ ทับหลังอีกด้วย
6 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ช่องกบ ช่องว่างของก�ำแพงอาคาร หรือสองข้างของประตูทางเข้าออกส�ำหรับ เดินผ่านเข้าออก มีกรอบเช็ดหน้าโดยรอบ และมีข้างกบประกับ ช่องกบนี้ จ ะ ไม่มีบานหรือใบบานเปิดปิดเหมือนประตูโดยทั่วไป
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 7
บานกบ ช่ อ งประตู ห รือ ช่ อ งหน้ า ต่ า งของอาคารเครื่อ งก่ อ สถาปั ต ยกรรมไทย เช่น อุโบสถ วิหาร การเปรียญ ที่มีผนังก่ออิฐหนา กึ่งกลางความหนาของ ผนั ง จะติ ด ตั้ ง กรอบเช็ ด หน้ า โดยรอบของช่ อ ง มี บ านประตู บานหน้ า ต่ า ง ส�ำหรับเปิดและปิด ความหนาของผนังด้านนอกถึงริมกรอบเช็ดหนาอาจมี การประกับด้วยแผ่นไม้หรือแผ่นหินอ่อน
8 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ปากกบ ชื่ อ วิ ธีก ารที่ น� ำ ไม้ ๒ ชิ้ น มาต่ อ หรื อ ยึ ด ให้ ติ ด กั น ซึ่ ง เรี ย กวิ ธีนี้ ว ่ า เข้ า ปากไม้ ปากกบนี้ เ ป็ น วิ ธีก ารเข้ า ปากไม้ แ บบหนึ่ ง เป็ น วิ ธีที่ ใ ช้ ม ากในงาน สถาปัตยกรรมไทยหลายประเภท เช่น เรือนไทยภาคกลาง กุฏิสงฆ์ อุโบสถ วิหาร การเปรียญ เรือนต้น และพระต�ำหนักของสถาบันพระมหากษัตริย ์ เนือ่ ง จากรูปทรงของอาคารชนิดต่างๆ ดังกล่าวมีฝาหรือผนังที่ล้มเข้าทุกด้านของ อาคารที่มีผังพื้นสี่เหลี่ยม ทั้งที่เป็นอาคารเครื่องไม้และอาคารเครื่องก่อ ส�ำหรับอาคารเครื่องไม้ ฝาที่ท�ำเป็นแผง โดยน�ำไม้ชิ้นเล็กบ้างใหญ่บ้าง มาประกอบกัน มุมของแผงฝาจะไม่อยู่ในลักษณะมุมฉาก มีมุมต่างๆ ตาม การล้มเข้าของตัวอาคาร กรอบเช็ดหน้าของประตูหน้าต่างตรงมุมจะไม่เป็น มุมฉากเสมอไป ฉะนั้นการเข้าปากไม้จะไม่เป็นการเข้ามุมฉากแบบการเข้า ปากไม้โดยทั่วไป การเข้าปากไม้แบบปากกบจะเข้าไม้โดยแบ่งครึ่งมุมของ ฝาหรือของกรอบเช็ดหน้า ตรงมุมจะเป็นการประกบของไม้ ๒ ชิ้นและท�ำ ให้ไม้เกิดเป็นมุมแหลม ช่างจะมองดูว่าคล้ายปากของกบ ช่างโบราณจึงเรียก การเข้าปากไม้แบบนี้ว่าการเข้าไม้แบบ “ปากกบ”
รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก 9
10 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ผนังกบ ส่วนที่เป็นความหนาของผนังที่เจาะช่องเป็นประตูหน้าต่างทั้งด้านนอก และด้ า นในของกรอบเช็ด หน้ า อาจมีแ ผ่ น ไม้ ห รือ แผ่ น หิน อ่ อ นประกับ ซึ่ง เรียกว่า บานกบ ถ้าเป็นแผ่นไม้จะมีการตกแต่งด้วยลวดลายจิตรกรรม เช่น ลายรดน�้ำ ลายก�ำมะลอ ความหนาของผนังด้านในกรอบเช็ดหน้า ถ้าปาด ผนังให้ผายออก เพื่อให้บานประตูบานหน้าต่างแนบไม่ยื่นเลยผนังไปเกะกะ เวลาเปิด ผนังที่ผายจะไม่เรียกผนังกบ เปลี่ยนไปเรียกว่า บานแผละ
กระบือ
ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโค กระบือ
12 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ลิ้นกระบือ เรือนไทยภาคกลางรวมทั้งเรือนชาวสวนจะปูพื้นเรือนตามยาวของตัว เรือนบนรอดโดยไม่มีตะปูยึด ด้วยระยะห่างของรอด พื้นเรือนจะเยิ่นหรือ ยวบ เมื่อรับน�้ำหนักซึ่งเป็นอันตรายเวลานั่งหรือนอน เพื่อแก้ปัญหานี้จะใช้ ไม้แผ่นบางๆ ยาวประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร หนาไม่เกิน ๑.๕ เซนติเมตร ใส่ไว้ในรูที่เจาะไว้ทางด้านความหนาของพื้นที่ ประชิดกัน เพื่อยึดพื้นให้ติดกัน ๑ หรือ ๒ ต�ำแหน่งของระยะห่างของรอด การยึดพื้นเรือนด้วยวิธีนี้จะป้องกันพื้นเยิ่นหรือยวบยาบได้เป็นอย่างดี ด้วย ขนาดและรูปร่างคล้ายและใกล้เคียงกับลิ้นของควายหรือกระบือ จึงได้ชื่อว่า ลิ้นกระบือ
กริว กริว หมายถึง เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ (ขุนช้าง ขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า
14 สรรพสัตว์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ปากกริว ปากกริวเป็นชื่อวิธีการเข้าปากไม้แบบหนึ่ง เป็นวิธีที่ช่างใช้มากในการ เข้ า ไม้ ว งกรอบของบานประตู ห น้ า ต่ า งทั้ ง ที่ บ านเป็ น แผ่ น เรี ย บหรื อ บานที่ มี การบรรจุลูกฟัก การเข้าปากไม้แบบปากกริวนี้จะน� ำมาไว้วงกรอบทางนอน ทั้งบนและล่างตัดมุม ๔๕ องศาทางผิวด้านในเพียงความลึกของรางที่จะใส่ ลูกฟัก ความลึกของรางวงกรอบทางนอนก็จะประกบพอดีกับความลึกของราง วงกรอบทางตั้ง ส่วนวงกรอบตรงส่วนกลางของบานก็จะตัดมุม ๔๕ องศา ทั้งด้านบนและด้านล่างของไม้วงกรอบ รางของวงกรอบชิ้นกลางก็จะประกบ กับรางของวงกรอบทางตั้งพอดีเหมือนกับวงกรอบทางนอน การเข้าไม้แบบนี้ ช่างจะเห็นรอยเข้ามุมมีลักษณะขบกันคล้ายเวลาหุบปากของเต่า ช่างโบราณ จึงเรียกการเข้าไม้แบบนี้ว่าเข้าแบบ “ปากกริว” ค�ำว่า กริว ก็คือเต่านั่นเอง
กวัก
ชื่อนกชนิด Amaurornis phoenicurus ในวงศ์ Rallidae ล�ำตัวสั้นขาและนิ้วยาว หน้าผากและล�ำตัวด้านล่างสีขาว อาศัย อยู ่ ต ามหนองน�้ ำ เดิ น หากิ น บนใบพื ช น�้ ำ เช่ น บั ว จอก แหน ในตอนเช้าหรือพลบค�่ำ ร้องเสียงดัง “กวักๆ”