วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์

Page 1


วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์



วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย

ราคา ๒๖๕ บาท


วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์ • ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย  พิมพ์ครั้งแรก : พฤษภาคม ๒๕๕๘ ราคา ๒๖๕ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๓๘๔ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์. I. ชื่อเรื่อง. 959.3 ISBN 978 - 974 - 02 - 1404 - 5

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน | พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม, ออกแบบปก : สิริพงษ์ กิจวัตร • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ

วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์

ค�ำน�ำ

(๙)

“--- นานไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบครอง ขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข---”

“---เสนาบดีทุกวันนี้เหมือนควายที่หีบอ้อย---”

๑๐

“---วังหน้าทุกวันนี้สิ้นความคิด เหมือนผ่าอกมาให้เขาดูหมดแล้ว---”

๑๖

“---อย่าถือว่าเกิดมามีบุญ ต้องถือว่าตัวเกิดมามีกรรม---”

๒๔

“---เป็นเรื่องยากที่จะเอาใจเธอให้เธอมีความสุข---”

๓๒

“---ความไม่เข้าใจและความไม่เอาใจใส่ของราษฎร เราเห็นได้ถนัดเมื่อวันประกาศ---”

๔๐

“---ห้ามเจ้านายมิให้เสด็จไปเมืองสุพรรณบุรี---”

๔๘

“---ชอบพัดลมไฟฟ้าหรือเปล่า---”

๕๔

“---หม่อมฉันเพียงกราบทูลขอให้ฝ่าบาทรักและซื่อสัตย์ จริงใจต่อหม่อมฉัน---”

๖๒

“---ประเพณีหลายเมียซึ่งเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจมาก---”

๗๐

“---เจ้าพึงรู้เถิดว่าพ่อเชื่อในความฉลาดของเจ้ามาก---”

๗๘

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (5)


“---แต่ขอพระราชทานเลิกคิดขบถเสียที เพราะได้รับหน้าที่นี้มา ๑๕ ปีแล้ว เบื่อเต็มที---”

๘๖

“---คนนี้ต้องไป หมดกันที---”

๙๔

“---ฉันตายแล้ว ฉันจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวงท่าน ได้อย่างไร---”

๑๐๒

“---เหลือที่จะพรรณนาถึงความทุกข์ อันต้องเป็นก�ำพร้าในอายุเพียง---”

๑๑๐

“---อย่าได้ฝันเห็นเลยว่าใครจะเปนธุระ---”

๑๑๘

“---ถ้าหากว่าพระราชินีตายแล้ว ก็ขอให้บอกให้รู้สักค�ำหนึ่งเถิด---”

๑๒๖

“---ฉันถูกตาหมอกวดขันมาก ห้ามไม่ให้คิดไม่ให้พูดด้วยรั้วงานราชการอันใดเลย---” ๑๓๔ “---สนุกอย่างล�ำบากผาดโผน ไม่ใช่สนุกอย่างส�ำรวย---”

๑๔๒

“---ใครมาก็มีแต่จะรุมดูไม่ปราณีปราไสย---”

๑๕๐

“---รู้ว่าเปนโรคลึกนั้นในสามปีมานี้---”

๑๕๘

“---ด้วยลูกอันเป็นที่รัก ซึ่งจะได้อยู่ใน ความปกครองของเจ้า---”

๑๖๖

“---คนสนใจท่านแต่ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์---”

๑๗๔

“---ถ้าเห็นว่าฉันยังมิได้ท�ำอะไรพอส�ำหรับบ้านเมือง ก็เอาบ้านฉันไปซิ---”

๑๘๒

(6) วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


“---เรื่องเข้าเขตรแดนประเทศใด รู้สึกเปลี่ยนแปลงนี้ประหลาดมาก---”

๑๙๒

“---วิธีด�ำเนินการในธานีเล็กๆ ของเราเป็นเช่นไร ก็ตั้งใจไว้ว่าจะให้ประเทศสยามได้ท�ำเช่นเดียวกัน---” ๒๐๐ “---ฉันคิดว่าถึงเวลาเสียทีที่ฉันควรต้องเลิกติดต่อกับเธอ ในเมื่อเรื่องนี้รู้ไปถึงกรุงเทพฯ แล้ว---”

๒๐๘

“---ไม่มีข้าหลวงต�ำหนักใดจะสวยเก๋ทันสมัย เท่าข้าหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์---”

๒๑๖

“---ข่าวลือว่าฉันมีเงินมากมาย เกินความจริงไปตั้งหลายร้อยเท่า---”

๒๒๔

“---ฉันมีมากก็ใช้มาก มีน้อยก็ใช้น้อย อายุถึงปูนนี้แล้ว---” ๒๓๒ “---ข้าพเจ้าก็ได้เลือกคู่เองเหมือนกัน แต่ไม่มีลูก---”

๒๔๐

“---ท�ำอะไรกับมหาดเล็กเป็นกลิ้งครกขึ้นภูเขา ขี้เกียจเหลือประมาณ---”

๒๔๘

“---เรื่องสนุกของชาววังนั้นคือ ก�ำลังคลั่งท�ำนา---”

๒๕๖

“---ไม่ได้ใช้ฬ่อใจราษฎรแต่ด้วยถ้อยค�ำเท่านั้น ยังมีฬ่อใจโดยทางอื่นๆ อีก---”

๒๖๔

“---การมีคอนสติติวชั่นนั้นไม่ใช่ของง่าย---”

๒๗๒

“---อย่าได้ถือพวกถือเหล่า เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน พูดกันเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว---”

๒๘๐

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (7)


“---เพราะถึงอย่างไรนี่ก็เป็นสายเลือดเชื้อไขของฉันเอง---” ๒๘๘ “---เธอซีดไปทั้งร่างเหมือนกับคนที่ตายไปแล้ว แล้วก็ไม่ยอมเสวยอะไร---”

๒๙๘

“---ถ้าบ้านแตกเมืองเสีย จะได้พาเอาไปด้วย---”

๓๐๖

“---ไม่ต้องกลัว ถึงคราวตายก็ต้องตาย---”

๓๑๖

“---เกือบจะรับประกันได้ว่าลูกเราคนนี้ ไม่เสียคนเลยเปนอันขาด---”

๓๒๔

“---ธรรมเนียมที่หมอบคลานนั้น ให้เปลี่ยนอิริยาบถเป็นยืนเป็นเดิน---”

๓๓๐

“---การพูดคุยดูจะเป็นกิจกรรมหลัก ในสมเด็จพระพันปีหลวง---”

๓๓๘

“---เพราะพระองค์ท่านเป็นผู้รอบรู้กิจการช่างทุกประเภท---” ๓๔๖ “---คนดูช่างมากมายไม่หยุดหย่อน ที่น่าโฮเตลเบียดรวนกันไปมาจนถึงต่อยกันขึ้น---”

๓๕๔

“---ที่ไม่หลับนั้นเพราะนวดไม่ถูก---”

๓๖๔

(8) วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


คำ�นำ�

วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์

การน�ำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีวิธีการมากมาย  หลากหลาย คุณสุจติ ต์ วงษ์เทศ ได้กรุณาให้แนวคิดในการน�ำเสนอ  ด้วยวิธีการน�ำข้อความหรือค�ำพูดที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ มา  เป็นหลักในการเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อความหรือค�ำพูดนั้นๆ  และเมื่อน�ำแนวคิดนี้มาปฏิบัติ ด้วยการคัดสรรข้อความหรือค�ำพูด  ที่น่าสนใจในด้านต่างๆ ของบุคคลในประวัติศาสตร์ พร้อมกับค้น  คว้าเพิ่มเติม เพื่อจะได้เล่าเรื่องราวที่มาของค�ำพูดหรือข้อความนั้น  สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับคือ ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ง่ายๆ และสั้นๆ ในเวลาสัน้ ๆ นัน้ นอกจากจะได้ความรูค้ วามเข้าใจในเรือ่ งราว  ทางประวัติศาสตร์ตอนที่ต้องการจะน�ำเสนอแล้ว ผู้อ่านยังจะได้รับ  รสชาติของอารมณ์และความรูส้ กึ ทีป่ รากฏอยูใ่ นค�ำพูดหรือข้อความ  นั้นๆ อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ในค�ำพูดของบุคคลในประวัติ  ศาสตร์สามารถที่จะสะท้อนถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ สะท้อน  ถึงนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดของผู้พูด อันจะน�ำไปสู่เหตุผลหรือ  ต้นสายปลายเหตุของการกระท�ำหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น โดย  เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความคิดและความรู้สึกของบุคคล  ที่สามารถสร้างหรือเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ อันได้แก่ผู้มีสิทธิ์  และมีส่วนในการบริหารประเทศ คือ พระมหากษัตริย์และพระบรม  วงศานุวงศ์บางพระองค์


อารมณ์ดังกล่าวมีอารมณ์ โกรธ เกลียด รักชอบ หงุดหงิด  และเบือ่ หน่ายท้อถอย ซึง่ ล้วนเป็นอารมณ์ของปุถชุ นคนสามัญทัว่ ไป  ดั ง ปรากฏในบางวาทะบางโอกาส แต่ ว าทะในอารมณ์ ดั ง กล่ า ว  ส่วนใหญ่มิได้เกิดขึ้น เหตุผลส�ำคัญมาจากคุณสมบัติพิเศษของพระ  มหากษัตริย์ที่ทรงได้รับการอบรมปลูกฝังมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  จนซึมซาบอยู่ในสายพระโลหิต แตกต่างจากสามัญชนคนทั่วไป  ท�ำให้ทุกวาทะที่เกิดจากอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้นถูกสกัดกั้น  และเปลีย่ นแปลงโดยมีเหตุผลของหน้าทีค่ วามรับผิดชอบในการทีจ่ ะ  ท�ำให้บ้านเมืองมั่นคง เจริญรุ่งเรือง เป็นตัวก�ำหนด ดังนั้น นอกจากวาทะเล่าประวัติศาสตร์จะก่อให้เกิดความ  เข้าใจเรื่องราวในประวัติศาสตร์ชัดเจนขึ้น พร้อมกันกับการเพิ่ม  อรรถรส ชีวติ ชีวา และความน่าสนใจในการศึกษาประวัตศิ าสตร์แล้ว  ยังท�ำให้ผู้อ่านได้รู้ซึ้งถึงน�้ำพระราชหฤทัยและพระราชภาระของ  พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งมีความอยู่รอดของบ้านเมือง และความ  สุขสงบของราษฎรเป็นจุดหมายปลายทาง โดยการใช้พระคุณสมบัต ิ พิเศษคือ มีทงั้ พระปรีชาสามารถ ความรอบคอบ ความฉลาดเฉลียว  และความกล้าหาญในการตัดสินพระทัย ตลอดจนพระวิรยิ ะอุตสาหะ  ความอดทนอดกลั้นต่อเหตุการณ์ที่ท�ำให้เกิดพระอารมณ์ต่างๆ  และสิ่งส�ำคัญที่สุด คือ การที่ทรงยอมสละความสุขส่วนพระองค์  เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ท�ำให้พระราชภาระที่ยากยิ่งและ  หนักหน่วงทั้งปวงส�ำเร็จลงได้จนสามารถที่จะรักษาบ้านเมืองให้  คงอยู่ยั่งยืนตราบเท่าทุกวันนี้ การเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีนี้จึงน่าจะเป็น  ประโยชน์อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ส�ำหรับผู้ที่ต้องการจะรู้เหตุการณ์  ทีเ่ กิดขึน้ ในอดีตอย่างง่ายๆ สัน้ ๆ และเข้าใจอย่างลึกซึง้ ถึงเหตุการณ์  นั้นๆ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ๑ เมษายน ๒๕๕๘

(10) วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์




วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


---นานไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของ ครอบครอง


ขอผีสางเทวดา จงบันดาล อย่าให้มีความสุข---


พระบวรราชานุสาวรียก์ รมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ประดิษฐาน ณ วัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร

4 วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ภาพถ่ายทางเครื่องบินเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“---ของใหญ่ของโตของกูดีๆ ของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วย เข้าทุนอุดหนุน กูสร้างขึน ้ ด้วยก�ำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง นาน ไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบครองขอผีสางเทวดา จงบันดาลอย่าให้มีความสุข---” เป็นพระด�ำรัสของ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ขณะประชวรเสด็จประทับบนเสลี่ยงบรรทมพิงพระเขนย ให้มหาดเล็ก  เชิญเสด็จทอดพระเนตรรอบๆ พระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งพระองค์  ทรงสร้างขึ้นด้วยความคิดและเรี่ยวแรงของพระองค์เอง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช  ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงร่วมกับ  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราชของชาติจากพม่า และร่วมกับ  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงรัตน  โกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ขณะนั้นบ้านเมืองก�ำลังตกอยู่ในภาวะยุ่งยาก  ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 5


และอันตราย เพราะทั้งต้องสร้างเมืองใหม่และท�ำสงครามกับพม่าซึ่ง  พยายามที่จะกลับมามีอ�ำนาจเหนือไทยอีก  ท่ามกลางความยากล�ำบาก  นั้น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในต�ำแหน่งพระมหาอุปราช  ได้โปรดสถาปนา “พระบวรราชวัง” ขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นพระ  นิเวศเดิมแต่ครั้งยังเสด็จด�ำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ทรงสร้าง  พระบวรราชวังนี้อย่างยิ่งใหญ่และประณีตบรรจง ด้วยหวังจะได้ทรง  อยู่อย่างเป็นสุขในบั้นปลายพระชนมชีพ  แต่การณ์ก็มิได้เป็นอย่างที่  ทรงหวัง เพราะหลังจากด�ำรงพระยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ได้ ๒๑ ปี พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ก็ประชวรพระโรคนิ่ว  เล่ากัน  ว่าทรงทั้งห่วงและหวงแหนพระบวรราชวังที่โปรดให้สร้าง เมื่อเวลา  ประชวรหนักอยู่นั้นได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานต่อสมเด็จพระ  เชษฐา ให้พระโอรสธิดาของพระองค์ได้ประทับอยู่ในวังหน้าต่อไป แต่ก็มีเรื่องเล่าลือให้ถึงพระเนตรพระกรรณว่า กรมพระราชวัง  บวรฯ ได้ออกพระโอษฐ์ตรัสสาปแช่งขณะประชวร และเสด็จทอดพระ  เนตรรอบๆ วังว่า “---ของเหล่ า นี้  กู อุ ต สาห์ ท� ำ ด้ ว ยความคิ ด และเรี่ ย วแรงเป็ น หนักหนา หวังจะอยู่ชมนานๆ ก็ไม่ได้ชม  ของใหญ่ของโตของกูดีๆ ของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุน กูสร้างขึ้นด้วยก�ำลังข้าเจ้าบ่าว นายของกูเอง นานไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบครอง ขอ ผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข---” เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระ  พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ตัง้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นกรม  พระราชวังบวรฯ  ครั้งนั้นคุณเสือพระสนมเอกได้กราบทูลขอให้เชิญ  เสด็จกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ใหม่ไปประทับ ณ พระบวรราชวัง  แทน แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ไม่ทรง  เห็นด้วยเพราะทรงร�ำลึกถึงค�ำตรัสสาปแช่ง จึงมีพระราชด�ำรัสว่า “--ไปอยู่บ้านช่องของเขาท�ำไม เขารักแต่ลูกเต้าของเขาๆ แช่งเขาชักไว้ เป็นหนักเป็นหนา---”  โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ใหม่  6 วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ด�ำรงต�ำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ

ประทับอยู่ที่ พ ระราชวั ง เดิ ม จนเสด็ จ เถลิ ง ถวั ล ยราชสมบั ติ ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรด  เกล้าฯ ตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์  เป็นกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระด�ำรัสสาปแช่งยังเป็น  ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 7


สิง่ ทีท่ กุ คนเกรงกลัว พยายามหาทางเลีย่ งพระด�ำรัสสาปโดยทรงอภิเษก  สมรสกับพระธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เพื่อจะให้ได้  ชื่อว่าเป็นลูกเขย เป็นการผ่อนปรนเลี่ยงพระด�ำรัสสาปอย่างแยบยล  ครั้งแรกทรงตั้งพระทัยจะอภิเษกกับเจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง พระธิดา  ซึง่ ประสูตแิ ต่เจ้าศิรริ ดจา พระขนิษฐาของพระเจ้ากาวิละเมืองเชียงใหม่  แต่เจ้าฟ้าหญิงพระองค์นี้สิ้นพระชนม์เสียก่อน จึงทรงอภิเษกกับพระ  ธิดาพระองค์อื่นขององค์เจ้าของวังแทน  กรมพระราชวังบวรมหาเสนา  นุ รั ก ษ์ ด� ำ รงพระยศเป็ น กรมพระราชวั ง บวรฯ ได้ เ พี ย ง ๘ ปี  เสด็ จ  สวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง ๔๔ พรรษา และในรัชสมัยนี้ก็มิได้ทรง  แต่งตั้งท่านผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรฯ แทนจนสิ้นรัชกาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห ่ วั  โปรดเกล้าฯ  ตั้งกรมหมื่นศักดิพลเสพ (พระองค์เจ้าอรุโณทัย พระราชโอรสใน  รัชกาลที ่ ๑) ซึง่ เป็นพระปิตลุ ารุ่นเล็ก มีพระชันษาใกล้เคียงกับพระองค์  ให้ เ ป็ น กรมพระราชวั ง บวรมหาศั ก ดิ พ ลเสพ กรมพระราชวั ง บวรฯ  พระองค์นกี้ ท็ รงใช้วธิ ผี อ่ นปรนเลีย่ งพระด�ำรัสสาปด้วยการอภิเษกสมรส  กับพระองค์เจ้าดาราวดี พระธิดากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ทรงอยู่ในต�ำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ  ได้ ๘ ปีก็เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุเพียง ๔๗ พรรษา และมิได้  ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์พระองค์ใดเป็นกรมพระราชวังบวรฯ จนสิ้น  รัชกาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด  เกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ด�ำรงต�ำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ แต่โปรดให้เพิ่ม  พระเกียรติยศเทียบเท่าพระมหากษัตริยอ์ กี พระองค์หนึง่  เป็นพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงมีวิธีผ่อนปรนเลี่ยงพระด�ำรัส  สาปด้วยการโปรดให้พราหมณ์ท�ำพิธีฝังอาถรรพ์ใหม่ทุกป้อมทุกประตู  รวม ๘๐ หลัก ก่อนที่จะโปรดให้สร้างพระราชมณเฑียรพระที่นั่งและ  พระต�ำหนักต่างๆ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับ ณ  พระบวรราชวัง ๑๘ ปี จึงเสด็จสวรรคต 8 วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตติ งั้ แต่พระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ในฐานะผูส้ ำ� เร็จราชการแผ่นดิน  รวบรัดแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร วิชัยชาญ  มีเรื่องเชื่อกันว่าเป็นอาถรรพ์ของวังหน้าอีกครั้ง เมื่อเกิด  ความขัดแย้งกันระหว่างวังหลวงกับวังหน้า ซึ่งหากเหตุการณ์ยืดเยื้อ  ต่อไปอาจร้ายแรงถึงเสียเอกราชให้แก่จักรวรรดินิยมตะวันตก  กรม  พระราชวั ง บวรวิ ชั ย ชาญอยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง  ๑๕ ปี จึ ง ทิ ว งคต ท� ำ ให้ ยิ่ ง  ตอกย�้ำความเชื่อว่า ต�ำแหน่งวังหน้านี้มีอาถรรพ์อันเกิดจากพระด�ำรัส  สาปแช่งของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักพระทัย  ถึงปัญหายุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงโปรดให้เลิกต�ำแหน่งนี้ และ  โปรดสถาปนาต�ำแหน่ งรัชทายาทใหม่คือ สมเด็จพระบรมโอรสา ธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นแทน เรื่ อ งราวของความเชื่ อ เกี่ ย วกั บ พระด� ำ รั ส ที่ ว ่ า  “---ของใหญ่ ของโตของกูดีๆ ของกูสร้าง---ใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบ ครอง ขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข---” ก็เสื่อมคลายสูญสิ้นไปตั้งแต่ครั้งนั้น [จาก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๓ (มกราคม ๒๕๕๔)]

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 9


---เสนาบดีทุกวันนี้


เหมือนควาย ที่หีบอ้อย---


สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

“---เสนาบดีทุกวันนี้เหมือนควายที่หีบอ้อย ถ้าหยุดเตือน แซ่เตือนกรตัก ก็หยุดบดเอื้องกันเสียหมด จะผลัดเปลี่ยนก็ไม่ มีคน พ่อเห็นเมืองไทยจะล้มเสียเพราะเรื่องนี้เป็นแน่แล้ว---” เป็นข้อความตอนหนึ่งในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ขณะทรง  ศึกษาอยู่ในทวีปยุโรป ข้อความในพระราชหัตถเลขาบ่งบอกถึงความหนักระคนท้อ พระทัยเกี่ยวกับเรื่อง “คน” ที่จะรู้เรื่องและสามารถปฏิบัติงาน 12 วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


ตามพระบรมราโชบายอันเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศชาติ ในขณะนั้น เพราะเป็นเวลาที่ประเทศไทยตกอยู่ในภยันตรายด้าน  เอกราช สาเหตุจากการคุกคามของพวกจักรวรรดินิยมตะวันตก ท�ำให้  ประเทศเพื่อนบ้านรอบตัว ต้องสูญเสียเอกราชตกเป็นอาณานิคมของ  ชาติทางตะวันตก เช่น พม่าและมลายูบางส่วนตกเป็นอาณานิคมของ  อังกฤษ ญวน เขมร และลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ประเทศ  มหาอ�ำนาจทั้งสองก�ำลังพยายามจะขยายอิทธิพลเข้าครอบคลุมไทย ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้าอยู่หัวและพระ  บรมวงศานุวงศ์ใกล้ชิดต่างก็ทรงตระหนักถึงภัยอันตรายใหญ่หลวง  ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ และทรงพยายามอย่างยิ่งในอันที่จะหา  หนทางให้รอดพ้นจากภัยคุกคามนั้นเต็มสติก�ำลัง ดังจะเห็นได้จาก  พระราชด�ำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่มีพระราชทาน  พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ราชทูตพิเศษที่โปรดให้เดินทางไปฝรั่งเศส  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ความตอนหนึ่งว่า “---ในเมื่อสยามถูกรังควานโดยฝรั่งเศสด้านหนึ่ง โดยอาณา นิคมอังกฤษอีกด้านหนึ่ง---เราต้องตัดสินใจว่าเราจะท�ำอย่างไร จะว่าย ทวนน�้ำขึ้นไปเพื่อท�ำตัวเป็นมิตรกับจรเข้ หรือว่ายออกทะเลไปเกาะ ปลาวาฬไว้---” วิธีหนึ่งที่ทรงเร่งด�ำเนินการแก้ไขวิกฤติการณ์นี้คือ การพัฒนา  ประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศในทุกๆ ด้าน เพื่อ  จะได้ไม่มีข้ออ้างในการที่จะเข้ายึดครองประเทศ และจะได้มีการเจรจา  ต่อรองกันอย่างประเทศทีม่ คี วามเสมอภาคกัน ทรงเริม่ ด้วยการปรับปรุง  เปลี่ยนแปลงหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาบ้านเมือง  ตามพระบรมราโชบาย ท�ำให้เกิดงานที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าเดิม ก่อให้  เกิดความไม่พอใจกับเสนาบดีโดยเฉพาะเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเคยชิน  กับการท�ำงานแบบเดิมครั้งบ้านเมืองสงบสุข คือไม่รีบเร่งเรื่อยเฉื่อย  สบายๆ ไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ ชัดเจน เมื่อจะต้องเปลี่ยนแปลงจึงเป็น  เรื่องยากล�ำบากที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้ท�ำความเข้าใจตลอดจนต้อง  ท�ำงานหนักขึ้น ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 13


นอกจากความไม่เข้าใจและไม่พอใจแล้ว บางคนยังเกิดความ  เข้าใจผิดเมื่อมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากพระบรมราโชบาย เช่น  เมื่อครั้งตั้งโรงเรียนให้การศึกษาแก่เด็กชายชาวบ้าน เพื่อจะได้มีความรู้  ความเข้าใจและความสามารถในการพัฒนาประเทศ คนส่วนใหญ่ยัง  เข้าใจว่ารัฐบาลจะเกณฑ์เด็กไปเป็นทหาร เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวท�ำให้พระบรมราโชบายในการพัฒนาประเทศ  ด้านต่างๆ ทีท่ รงก�ำหนดเพือ่ ต่อสูก้ บั มหาอ�ำนาจตะวันตกต้องหยุดชะงัก  หรือด�ำเนินไปอย่างเชื่องช้า ซึ่งเป็นที่น่าหวั่นเกรงว่าจะไม่ทันกับภัย  อันตรายทีก่ ำ� ลังคืบคลานเข้ามาไม่หยุดยัง้  ท�ำให้ทรงกังวลพระทัย  และ  ยิ่งกังวลพระทัยเพิ่มขึ้นเมื่อทรงประจักษ์ว่า คนเข้าใจพระบรมราโชบาย  คนรู้ถึงภัยของชาวตะวันตก และคนมีความรู้ในงานที่ต้องท�ำนั้นมีน้อย  มาก และยิ่งกังวลพระทัยขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อทรงพบว่าประเทศชาติ  ในขณะนั้นไม่มีทั้งก�ำลังเงิน ก�ำลังอาวุธ และแม้แต่ก�ำลังคน ดังที่ทรง  กล่าวไว้ในพระราชหัตถเลขาฉบับเดียวกันนี้ว่า “---ถ้าหากว่าเราพบบ่อทองในประเทศเรา---พอที่จะใช้ซื้อเรือรบ จ�ำนวนร้อยๆ ล�ำก็ตาม เราก็คงไม่สามารถจะสู้กับพวกนี้ได้ เพราะเรา จะต้องซื้อเรือรบและอาวุธจากประเทศเหล่านี้ พวกนี้จะหยุดขายให้เรา เมื่อไรก็ได้---อาวุธชนิดเดียวซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเรา ในอนาคตก็คือวาจาและหัวใจของเราอันกอร์ปด้วยสติและปัญญา---” อาวุธในพระราชด�ำริที่ว่า “หัวใจ” นั้นน่าจะทรงหมายถึงคน ทัง้ ประเทศทีต่ อ้ งร่วมมือร่วมใจเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวทุม่ เทแรงกาย แรงใจฟันฝ่าอุปสรรคให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้ แต่หลายครั้ง  ก็ทรงท้อพระทัยอันเนื่องมาแต่คนรุ่นเก่า ซึ่งก็คือเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่  ที่ไม่มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ ไม่ยอมรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ในขณะนั้น ไม่ใส่ใจถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังไม่ใส่ใจ  ที่จะหาความรู้เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเอง ดังที่ทรงกล่าวเปรียบ  เทียบสถานการณ์ของบ้านเมืองกับการปฏิบัติงานของเสนาบดีเหล่านี ้ ไว้ว่า 14 วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์


“---ถ้าจะเปรียบด้วยเรือก็เหมือนกับเมื่อก่อนเอาขึ้นทิ้งไว้ในอู่ คงอยู่แต่รูปเรือ ท้องนั้นผุรั่วจวนจะลอยน�้ำไม่ได้ เมื่อจ�ำเป็นต้องเข็น ลงน�้ำก็เอาโคลนปะแทนชัน คนพายก็ไม่เป็น คนหนึ่งยกคนหนึ่งจ้วง ตุ๋มๆ ติ๋มๆ น�้ำก็เชี่ยวลมก็จัด เวลาว่างๆ ค่อยปะยาเปลี่ยนไม้ไปทีละ แผ่น ๒ แผ่น ตอกหมันยาชันพอเป็นรูป แต่คนที่จะพายล้วนแต่เป็น โรคไภยต่างๆ ตาบอดบ้าง หูหนวกบ้าง การที่จะหาฝีพายให้เต็มล�ำ เป็นการยากยิ่ง---” ด้วยเหตุดังกล่าว จึงต้องทรงว่าจ้างชาวต่างประเทศที่มีความรู้  ในวิทยาการสมัยใหม่ในแต่ละแขนงมาเป็นผู้วางพื้นฐานในหน่วยงาน  ต่างๆ ความหวังเพียงประการเดียวของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า  เจ้าอยู่หัวในเวลานั้นคือการรอคอยคนรุ่นใหม่ที่ทรงส่งเสริมให้ได้รับ  การศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ น�ำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามา  พร้อมกับความรู้เท่าทันเหตุการณ์บ้านเมืองในเวลานัน้  เข้าใจในพระราช  วิ เ ทโศบาย และสามารถที่ จ ะปฏิ บั ติ ง านให้ เ ป็ น ไปตามแนวพระราช  วิเทโศบายที่ทรงวางไว้ได้อย่างคล่องแคล่วถูกต้อง ระหว่างการรอคอย  จ�ำเป็นที่จะต้องใช้คนรุ่นเก่า ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติราชการตามที่เคย  เป็นมาแต่โบราณ ซึ่งมีลักษณะดังที่ทรงกล่าวไว้ว่า “---คิดหาความชอบด้วยปาก พอได้เงินได้ทองในปรจุบัน แล หมายจะเป็นสมเด็จเจ้าพระยาในภายน่า---” ด้วยเหตุที่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าว ท�ำให้การปฏิบัติราชการของ  เสนาบดีผู้ใหญ่ในสมัยนั้นเป็นไปตามที่ทรงเปรียบเปรยไว้ว่า “---เหมือนควายที่หีบอ้อย ถ้าหยุดเตือนแซ่เตือนกรตัก ก็หยุดบดเอื้องกันเสียหมด---” [จาก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๔ (กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)]

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 15


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.