เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง "ประวัติต้นรัชกาลที่ 6"

Page 1


เบื้องลึก เบื้องหลัง

ในพระราชบันทึกเรื่อง

“ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


ภาพจากปก

พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วาดโดย สุลักษณ์ บุนปาน


เบื้องลึก เบื้องหลัง

ในพระราชบันทึกเรื่อง

“ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” วรชาติ มีชูบท

ราคา ๒๓๐ บาท


เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง  “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” • วรชาติ มีชูบท  พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม ๒๕๕๙ ราคา ๒๓๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม วรชาติ มีชูบท. เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง  “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙. ๓๒๘ หน้า.  -  -  (ประวัติศาสตร์). ภาพประกอบ. ๑. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั , พระบาทสมเด็จพระ, ๒๔๒๓-๒๔๖๘. I. ชื่อเรื่อง. 923.1593 ISBN 978 - 974 - 02 - 1471 - 7

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน | พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : สุชาดา ฝ่ายสิงห์

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง  “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”

ค�ำน�ำ (๗) ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ มีทั้งหมด ๖ เล่ม

เจ้าพระยารามราฆพ ๗ ศุภมิตร ๓๖ ปัญหาเรื่องจะส่งผู้แทนพระองค์ ไปช่วยงานราชาภิเษกของพระเจ้ายอร์ชที่ ๕

๔๘

ฉันถูกเกณฑ์ ให้เลือกคู่ ๖๐ ขมิ้นกับปูน ๙๘ ความร�ำคาญต่างๆ ในวันแรก

๑๑๓

ตั้งชื่อกรมทหารมหาดเล็กเพิ่มเติม ๑๒๒ เรื่องตั้งรัฐมนตรีสภา ๑๓๗ วรชาติ มีชูบท

(5)


ถวายอดิเรกในรัชกาลที่ ๖

๑๖๐

เปิดสะพานเฉลิมเดช ๕๗

๑๗๔

เรื่องตั้งรัชทายาท ๑๘๓ เปลี่ยนระเบียบราชการกระทรวงทหาร ๒๐๐ อุบายการคลัง ๒๐๘ ฉันต้องเข้าเนื้อ ๒๑๙ ความไม่เรียบร้อยในกระทรวงยุติธรรม ๒๔๒ กิจการแห่งแบงก์สยามกัมมาจล ๒๖๑ เริ่มตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ๒๗๖ บัตรสนเท่ห์พิกล ๒๙๔

บรรณานุกรม ๓๑๐

(6)

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


คำ�นำ�

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง  “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาอักขร  สมัยจนทรงอ่านออกเขียนได้แล้ว สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จ  พระบรมราชชนนีก็โปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจดบันทึกรายวันส่วนพระองค์  ด้วยลายพระราชหัตถ์ลงในสมุดบันทึกรายวัน (ไดอารี่) มาตั้งแต่ทรง  พระชนมายุ ๘ พรรษา และทรงจดต่อเนื่องมาทุกๆ วันตราบจนทรง  พระประชวรเสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ พระราชบันทึกรายวันนั้นนอกจากจะเป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ที่ทรงปฏิบัติทรงพบเห็นรวมทั้งพระราชวิจารณ์ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยว  เนื่องในแต่ละวันแล้ว ในตอนปลายรัชกาลยังได้ทรงหยิบยกเรื่องราว  ต่างๆ ที่ทรงพระราชบันทึกไว้ในตอนต้นรัชกาลและก่อนหน้า มาทรง  เรียบเรียงเป็น “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” พระราชทานแก่เจ้าพระยา  รามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ) มหาดเล็กผู้ที่ได้ถวายงานรับใช้ใกล้ชิด  เบื้องพระยุคลบาทมาแต่เยาว์วัย ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ นี้ กล่าวกันว่ามีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ๖ เล่ม  แต่เฉพาะเล่มที่ ๑ นั้นมีการส�ำเนาและคัดลอกแจกจ่ายกันอ่านในหมู ่ ข้าราชบริพารในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อขุน  ต�ำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) มหาดเล็กผู้เคย  ถวายงานรับใช้ประจ�ำห้องทรงพระอักษรถึงแก่กรรมลง ทายาทได้  ค้นพบส�ำเนาประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ เล่ม ๑ และได้มอบให้ส�ำนักพิมพ์  มติชนจัดพิมพ์เผยแพร่ เป็นที่นิยมชมชอบของผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราว  วรชาติ มีชูบท

(7)


ในประวัติศาสตร์กันมาก แต่เนื่องจากเรื่องราวต่างๆ ที่ทรงพระราชบันทึกไว้ในประวัติต้น  รัชกาลที่ ๖ นั้น เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงแรกเสด็จเสวยราชสมบัต ิ ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ และก่อนหน้านั้น บางเรื่องเป็นเรื่องที่เจ้าพระยา  รามราฆพซึ่งเป็นบุคคลร่วมสมัยและได้รับรู้รับทราบเรื่องราวบางเรื่อง  ที่ทรงพระราชบันทึกไว้เป็นอย่างดีแล้ว จึงทรงละไว้มิได้ทรงกล่าวถึงใน  รายละเอียด แค่เมื่อกาลเวลาล่วงมากว่า ๑๐๐ ปี ผู้ที่ได้อ่านประวัต ิ ต้นรัชกาลที ่ ๖ โดยไม่มพี นื้ ความรูใ้ นเรือ่ งขนบประเพณีในพระราชส�ำนัก  รวมทั้งไม่มีพื้นความรู้ในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงต้นรัชสมัย ก็เป็น  ธรรมดาที่จะไม่เข้าใจและตีความพระราชบันทึกนั้นไปตามความเข้าใจ  ของตน ซึ่งเป็นการผิดไปจากพระราชประสงค์ที่ทรงพระราชบันทึกไว้  ดังปรากฏผลการตีความแบบผิดๆ ให้เห็นอยู่เสมอๆ ในฐานะที่เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระ  ราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมานานนับสิบ  ปี ทั้งโดยหน้าที่การงานที่มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั  ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมทัง้ ในฐานะนักเรียน  เก่าวชิราวุธวิทยาลัยที่ได้รับความเมตตาจากนักเรียนเก่าอาวุโสที่เคย  รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ที่ต่างก็เมตตาเล่าเรื่องราวต่างๆ  ในรัชสมัยให้ได้ทราบ จึงท�ำให้เกิดความเข้าใจในพระราชบันทึกประวัต ิ ต้นรัชกาลที่ ๖ นั้นต่างไปจากที่มีการตีความกัน  ฉะนั้นเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลเบื้องลึกของ  พระราชกรณียกิจและแนวพระราชด�ำริที่ทรงพระราชบันทึกไว้ในประวัติ  ต้นรัชกาลที่ ๖ นั้น จึงได้คิดรวบรวมและเรียบเรียง เบื้องลึก เบื้องหลัง  ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” นี้ขึ้น ด้วยหวังเป็น  อย่างยิ่งว่า ข้อไขนี้จะช่วยขยายความในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ นั้นให้  สมบูรณ์และชัดเจนเป็นประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์ในรัชสมัย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกทางหนึ่งต่อไป วรชาติ มีชูบท

(8)

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


เบื้องลึก เบื้องหลัง

ในพระราชบันทึกเรื่อง

“ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ มีทั้งหมด ๖ เล่ม


“ประวั ติ ต ้ น รั ช กาลที่  ๖” เป็ น ชื่ อ ของพระราชบั น ทึ ก ส่ ว น พระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเรียบ เรียงขึ้นใหม่จากสมุดรายวันส่วนพระองค์ที่ทรงพระราชบันทึกไว้ตลอด ทุกวันตั้งแต่พระชนมายุ ๘ พรรษา โดยทรง “เลือกฟั้นเอาข้อความ ที่น่ารู้มาจากสมุดรายวันปีนั้นๆ มาเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อให้อ่านเป็น เรื่องราวติดต่อกัน” ๑ โดยทรงใช้เวลาราว ๑ ชั่วโมงในพระวิสูตรก่อน ทรงพระบรรทมในเวลากลางคืน จดพระราชบันทึกนี้ด้วยลายพระราช หัตถ์ลงใน “สมุดปกแข็งเดินทอง มีที่ใส่กุญแจท�ำด้วยทองค�ำ ห้าง สมิทแอนด์ซันช่างทองหลวงเป็นผู้ท� ำกุญแจและแผ่นทองที่เปนแม่ กุญแจ...เมื่อทรงเขียนจบเล่มหนึ่งแล้วก็ทรงใส่กุญแจและเก็บรักษาไว้ มิดชิดไม่ให้ใครอ่าน” ๒ ก่อนจะเสด็จสวรรคตไม่นานได้ “พระราชทานกุญแจตู้ที่เก็บ พระสมุดเหล่านี้ไปให้เจ้าพระยารามราฆพรักษาไว้ และมีพระราชด�ำรัส ว่า สมุดเหล่านี้ข้าให้เจ้า เมื่อข้าตายไปแล้วต่อไปภายหน้า จงพิมพ์สมุด เหล่านี้ออกขายเถิดจะได้เงินมาก” ๓  เนื่องจากพระราชบันทึก “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” นี้ มีเนื้อความ หลายตอนที่พาดพิงถึง “ผู้ที่มีผู้เคารพนับถือมากมายก็มีบางเวลาที่ ได้ถูกอคติเข้าครอบง�ำ, ท�ำให้พะวงคิดถึงประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า ประโยชน์ของผู้อื่น. ...มักจะประพฤติอย่างที่เรียกว่า ‘ชักใบให้เรือเสีย’ อยู่เนืองๆ” ๔  อันเป็นเหตุให้ไม่อาจจะทรง “หันหน้าไปพึ่งใครหรือไว้วางใจ ผู้ใดได้” ทั้งยังเป็นเหตุให้ทรง “กระท�ำการพลั้งพลาดขาดเกินไปแล้ว หลายครั้ง” ๕ อันเนื่องมาแต่ “ไม่ได้รับความสนับสนุนจากผู้ที่มีอ�ำนาจ และมีอาวุโสในเวลาที่ควรได้รับบ้างบางคราว” ๖ จึงทรงพระราชบันทึก เรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นไว้ใน “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” ทรงมุ่งหวังให้ เจ้าพระยารามราฆพผู้รับพระราชทานพระราชบันทึกนี้ได้อ่าน “ข้อความ ในประวัตินี้ให้ตลอดด้วยความตั้งใจเห็นใจของผู้เขียนบ้าง. และต่อไป, ถ้าแม้ฉันได้มีลูก ก็ขอให้เธอช่วยสั่งสอนให้ลูกของฉันได้รู้เรื่องบ้าง เผื่อจะเปนประโยชน์ต่อไปในเมื่อน่า.” ๗ แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระ วรชาติ มีชูบท

3


พระบรมฉายาลักษณ์ “ทรงฉายรูปครั้งที่ ๑ ตั้งแต่เสวยราชย์ เมื่อวันที่ ๗  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้วไม่ช้านาน “รัชกาลที่ ๗ ก็รับสั่ง เรียกสมุดเหล่านี้ไปทอดพระเนตร เมื่อเจ้าคุณรามฯ ขอพระราชทานคืน ได้ทรงตอบมาว่า สมุดบันทึกส่วนพระองค์ในรัชกาลที่ ๖ นี้เป็นหนังสือ ราชการลับ, หาสมควรที่จะพระราชทานแก่ผู้หนึ่งผู้ใดไม่” ๘ แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้ว เจ้าพระยารามราฆพได้พระราชบันทึกประวัติต้น 4

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


พระวิสูตรภายในห้องพระบรรทม ณ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระราชวัง  พญาไท

รัชกาลที่ ๖ กลับคืนไป “และได้เอาไปให้รัฐบาลใหม่เมื่อเปลี่ยนแปลง การปกครองแล้ว และต่อมาก็ยังอยู่กับรัฐบาล” ๙  ภายหลังเจ้าพระยารามราฆพได้รับกลับคืนไปอีกครั้ง และได้ ครอบครองตลอดมาจนถึงอสัญกรรม และทายาทได้เชิญพระราชบันทึก ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ทั้ง ๖ เล่มนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในวันที่เสด็จพระราชด�ำเนินไปในการพระราชทานเพลิง ศพเจ้าพระยารามราฆพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัด เทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐  พระราชบันทึกนี้จึงกลับคืนเป็นของส่วนพระองค์มาจนถึง  ปัจจุบัน

วรชาติ มีชูบท

5


เชิงอรรถ

๑ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖.

(กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕), น. ๕. ๒ พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. พระราชวงศ์จักรี ตอน พระบาทสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖. (ส�ำเนาเอกสารฉบับพิมพ์ดีด), น. ๓๐๘. ๓ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน. ๔ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖, น. ๕. ๕ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน. ๖ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน. ๗ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน. ๘ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน. ๙ พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. พระราชวงศ์จักรี ตอน พระบาทสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖, น. ๓๐๘.

6

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


เจ้าพระยารามราฆพ


เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ) เกิดเมื่อวันแรม ๗ ค�่ำ เดือน ๑๐ ปีขาล รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นบุตรของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ร.ว. ละม้าย พึ่งบุญ) และพระนมทัด พึ่งบุญ เป็นมารดา เพื่อเป็นการสืบทอดอายุของเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง กับประวัติของเจ้าพระยารามราฆพ ผู้เขียนขอคัดข้อความบางตอนจาก เอกสารฉบับพิมพ์ดีดเรื่อง “พระราชวงศ์จักรี ตอน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖” พระนิพนธ์ในหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล  ดังข้อความว่า “ต้นตระกูลของเจ้าพระยารามฯ คือ (the very) กรมหลวง รักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ และเป็นผู้ที่คิดยึดราชสมบัติจากสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ไว้ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ...เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ได้เสด็จ ขึ้นเสวยราชย์แล้วก็โปรดให้พระเจ้าอาว์ผู้ร่วมคิด ๒ พระองค์ เลื่อน พระยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์หนึ่ง คือกรมหลวงศักดิ พลเสพ. ส่วนพระองค์เจ้าไกรสร ทรงเป็นกรมหลวงรักษ์รณเรศว่าการ กระทรวงวังและกรมพระต�ำรวจหลวง ซึ่งในเวลานั้นมีอ�ำนาจช�ำระคดี และตัดสินความผู้ถวายฎีกาได้ด้วย, นับว่าเป็นผู้มีอ�ำนาจไม่ใช่น้อยใน เวลานั้น.  เจ้านายทรงเล่าต่อๆ กันมาว่า กรมหลวงรักษ์ฯ ทรงสามารถ ปราดเปรื่องมีอ�ำนาจมากในรัชกาลที่ ๓. มีคนกลัวและเกลียดมากใน สมัยของท่าน.  ได้ทรงว่าการหลายแผนกซึ่งรวมขึ้นอยู่ในกระทรวงวัง. และเป็นผู้รู้พระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ เป็น ยอดเยี่ยม เช่นครั้งเมื่อกรมหมื่นอับสรสุดาเทพ พระราชธิดาซึ่งทรง พระเสน่หาเป็นพิเศษสิ้นพระชนม์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ ๓ เสด็จลงพระราชทานสรงน�้ำพระศพตามประเพณี ทรงเศร้าโศก สลดเป็นอย่างยิ่ง ครั้นถึงเวลาเบิกกระบวนแห่ให้เดินเข้าไปเชิญพระศพ ออกมาไว้ข้างหน้า พอประตูวังเปิดเดินกระบวนเข้ามา ก็เป็นกระบวน ส�ำหรับพระเกียรติยศเจ้าฟ้าทุกประการ. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 8

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.  เฟื้อ พึ่งบุญ)

วรชาติ มีชูบท

9


ทรงนิ่งตะลึงหายทรงพระก�ำสรดไปทันที ทั้งนี้เพราะกรมหลวงรักษ์ฯ  ทรงจัดตามที่กะว่าจะเป็นที่พอพระราชหฤทัยหายเศร้าโศก. แต่รู้ดีว่า  พระเจ้าอยู่หัวทรงถ่อมพระยศจะไม่ทรงสั่งเองเป็นอันขาด. น่าเสียใจที่ว่า  ต่อมาต้องทรงแตกกันด้วยมีเรื่องให้ขุ่นเคืองกันหลายครั้งหลายหน  จนในที่สุดถึงมีคดีว่ากรมหลวงรักษ์ทรงซ่องสุมผู้คนและเครื่องสาตรา  วุธไว้ที่วัง, และมีพระยามอญคนหนึ่งถวายฎีกาว่าลูกชายของตนถูก  กรมหลวงรักษ์ ทรงตัดสินให้ฆ่าด้วยเบิกพยานเท็จ. โปรดให้ช�ำระไต่สวน  ได้ความว่าจริง. กรมหลวงรักษ์จึงถูกถอดพระยศลงมาเป็นหม่อมไกรสร  (คือพ้นต�ำแหน่งเกีย่ วข้องกับเจ้า) แล้วถูกตัดสินให้สำ� เร็จโทษตามความ  ผิดนั้น.  เล่ากันว่าหม่อมไกรสรว่าสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ว่า ‘ตึกส�ำเร็จ  แล้วก็รื้อนั่งร้านเป็นธรรมดา’ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔  โปรดให้เอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา (forgive and forget) ว่าสิ่งไร  ที่ได้ท�ำร้ายต่อพระองค์ท่านมา ท่านทรงยกโทษให้, ขออย่าให้เป็นเวร  เป็นกรรมกันต่อไปอีกเลย. แต่หม่อมไกรสรก�ำทรายตอบว่า จะขอผูก  เวรไปทุกชาติ์เท่าเม็ดกรวดเม็ดทราย! พวกเจ้าๆ ชั้นข้าพเจ้า๑ ได้เคย  ฟังผู้ใหญ่เล่าเรื่องนี้มาแต่เล็กๆ และเคยร้องไห้สงสารปู่ของตัวเองมา  เสมอ, จึงจ�ำได้ดี. หม่อมไกรสรมีลูกหลายคนๆ หนึ่งคือหม่อมเจ้ากัมพล มีลูก  เป็ น หม่ อ มราชวงศ์ ล ะม้ า ย ได้ เ ป็ น ที่พ ระยาประสิท ธิ์ศุ ภ การในกรม  มหาดเล็กหลวง. เสด็จพ่อ ๒ ทรงรู้จักและตรัสว่าเป็นคนเรียบร้อย,  ไม่รุ่งโรจน์อย่างไร. พระยาประสิทธิ์ศุภการมีลูกหลายคนๆ หนึ่งคือ  เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ) นีเ้ ป็นผู้มบี ญ ุ มีอำ� นาจในรัชกาล  ๓  นี้   อย่างไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน. ทางฝ่ า ยมารดา พระนมทัด มีลู ก สาว ๒ คนกับ สามีเ ดิม  คน  แรกชื่อเชื้อ เกิดปีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง  ได้เข้าไปถวายนมอยู่พักหนึ่ง. เชื้อนี้เป็นพนักงานพระภูษา ได้เป็นท้าว  อินทสุริยาเมื่อตอนหลัง. อีกคนหนึ่งชื่อชื้น ตายเสียก่อนมีบุญช้านาน.  พระนมทัดมาได้กับพระยาประสิทธิ์ศุภการจึงเกิดบุตร์ชายชื่อเฟื้อนี้ และ  มีน้องชายอ่อนกว่า ๓ ปีเศษอีกคนหนึ่งชื่อฟื้น คือพระยาอนิรุทธเทวา.  10

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


“บุตรธิดา พระนมทัด” ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า

อยู่หัว (จากซ้าย) เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ) ท้าวอินทรสุริยา (เชื้อ พึ่งบุญ) พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล. ฟื้น พึ่งบุญ)

วรชาติ มีชูบท

11


เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ) กับพระนมทัด พระนมทัดเป็นคนดีเรียบร้อย. เป็นคนมีสาสนา, ไม่หลงไหลในบุญ  บาระมีจนเกินควร. และเป็นคนตรงนิ่งๆ ไม่พลิกแพลงยุ่งยิ่งกับใคร.  เมื่อได้พระราชทานที่บ้านให้อยู่ใหม่ทางริมวังบางขุนพรหม ๔, พระนม  ทัดได้ชวนให้ข้าพเจ้าไปดูบ้านและบอกว่า ‘ท่านหญิงช่วยรับสั่งให้พระยา  ประสิทธิ์ (ม.ล. เฟื้อ ลูกชาย) เขาให้เงินหม่อมฉันใช้มากกว่าเดี๋ยวนี ้ หน่อยเพคะ.’ ข้าพเจ้าถามว่า ‘ไม่พอหรือคะ’ พระนมตอบว่า ‘ใช้เองน่ะ  พอเพคะ, แต่ไม่พอจะท�ำบุญ!’ ก่อนจะตายก็นั่งเหลาไม้กลัดจะท�ำบุญ  อายุ ๖๐ อยู่, พระยาอนิรุทธฯ มีนิสัยเหมือนมารดามากกว่าทุกคน. เมื่อเล็กๆ เจ้าพระยารามฯ เคยเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราช  วังในส�ำนักสมเด็จพระพันปีหลวงกับพี่สาวครั้งหนึ่ง แล้วออกไปเรียน  หนังสือที่วัดบพิตร์ภิมุข (วัดเชิงเลน) ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้านเดิม. จนอายุ  เข้า ๑๔ ปี จึงได้ไปถวายตัวอยู่กับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในฐาน  เป็นลูกพระนมพร้อมกับพระยาอนิรุทธน้องชาย โปรดให้เข้าเรียนใน  โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ๕ ได้พักหนึ่ง และเป็นผู้รับใช้อยู่ในห้องพระ  บรรธมตลอดมา. ในตอนรุ่นหนุ่มได้เป็นตัวผู้หญิงในละครพูดของทวี  ปัญญาสโมสร, เพราะหน้าตาดีและเหมาะกับอายุ. จึงได้เป็นนางเอก  12

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


เสมอและเป็นผู้ตามเสด็จไปในที่ต่างๆ เสมอด้วย. ถึงเวลาเสด็จขึ้น  เสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าพระยารามได้เป็นนายขันหุ้มแพร  กรมมหาดเล็กหลวงเป็นคั่นแรก แล้วเลื่อนขึ้นเป็นนายจ่ายง พระนาย  สรรเพ็ชร์  ๖ แล้วเป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ, ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้เป็น  เจ้าพระยารามราฆพ อันเป็นชื่อผู้นั่งกลางช้างชน ๗ ของสมเด็จพระ  นเรศวรมหาราชของเรา, และเป็นผู้ส่งสาตราอาวุธถวายตามพระราช  ประสงค์, จนทรงชนช้างชนะในยุทธหัตถีเมื่อ ๓๐๐ ปีเศษมาแล้ว,...” ๘ อนึ่ ง  ก.ศ.ร. กุ ห ลาบ หรื อ นายกุ ห ลาบ ตฤษณานนท์  ก็ ไ ด้ กล่าวถึงเรื่องของหม่อมไกรสรไว้ใน “บิดาตอบบุตร” ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ ใน “สยามประเภท เล่ม ๔” ว่า “นายกุหลาบบิดาตอบบุตร์ว่า ‘ข้าจะเล่าเรื่องเก่าแก่แต่ก่อนให้เจ้า  ฟัง ดั่งที่เจ้าถามข้ามานี้คือ เมื่อมีโจทย์ถวายฎีกากล่าวโทษ กรมหลวง  รักษ์รณเรศร์ (หม่อมไกรสร) นั้น เปนข้อหาความอาชญามหอุกฤษฐ์  โทษ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึ่งทรงพระกรุณาโปรฎ  เกล้าฯ ให้เสนาบดีเปนแม่กองช�ำระ ได้มีตระลาการศาลรับสั่ง แต่ล้วน  เจ้ากรมปลัดกรมพระต�ำรวจทั้ง ๘ กอง ๙ กองช�ำระจับพวกละครและ  นายข�ำปลัดกรม กับนายเฉยจางวาง และขุนวุธทธามาตย์ตระลาการ  แลผู้อื่นที่เปนบ่าวหม่อมไกรสร มาพิจารณาเปนสัตย์สมโจทย์หาทุกข้อ  แล้ว อยู่มาวันหนึ่งจะเปนวันใดขึ้นแรมกี่คำ�่ ข้าจ�ำไม่ได้ จ�ำได้แต่ว่าเวลา  ค�่ำ ๑ ทุ่ม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าจ้าวอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่ง  อมรินทรวินิจฉัย (ท้องพระโรง) จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรฎเกล้าฯ  ด�ำหรัศสั่งพระยาราชสุภาวดี (โต) (คือภายหลังเปนเจ้าพระยานิกร  บดินทร์  ๑๐) ให้เปนผู้ถือรับสั่งไปพร้อมกันกับเจ้ากรมปลัดกรมพระ  ต�ำหรวจและเจ้ากรมสนมพลเรือน ๒ นาย และจมื่นจงขวาจมื่นจงซ้าย  ในกรมวัง ก�ำกับกันไปที่วังกรมหลวงรักรณเรศร์ ถึงเวลา ๒ ทุ่มเศษ  ราวนั้น พระยาราชสุภาวดีเข้าไปเฝ้ากรมหลวงรักษ์ประทับอยู่ที่เก๋งจีน  ข้างท้องพระโรง พระยาราชสุภาวดีกราบทูลว่า ‘พระราชโองการรับสั่ง  ให้หา ให้เชิญเสด็จเข้าไปเฝ้าในพระราชวังหลวง’ วรชาติ มีชูบท

13


ภาพนาย ก.ศ.ร. กุหลาบ และบุตรชาย

14

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


ฝ่ายกรมหลวงรักษ์ตรัสว่า ‘ไปซิเจ้าคุณศาสดี มีบุญก็มีกรรม  ตามธรรมดาโลกย์’ เหตุที่กรมหลวงรักษ์ตรัศดั่งนี้ ดูท่วงทีเหมือนจะรู ้ พระองค์ก่อนบ้างแล้ว ตรัศแล้วก็เสด็จลุกขึ้น จะเสด็จเข้าไปลาเจ้าจอม  มารดาของพระองค์ที่อยู่ในห้องหลังท้องพระโรง ฝ่ายพระยาราชสุภาวดีทูลทัดทานห้ามไว้ ไม่ให้เสด็จเข้าไปข้างใน  แล้วทูลว่าดั่งนี้ ‘อย่าเสด็จเข้าไปข้างในเลยจะช้าเสียเวลา จะไม่ทันพระ  โองการรับสั่งให้หา เชิญเสด็จเข้าไปเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทโดยเร็วเถิด’ ฝ่ายกรมหลวงรักษ์ก็มิได้เสด็จเข้าไปข้างใน เปนแต่ผินพระภักตร์  เข้าไป ตรงเรือนเจ้าจอมมารดาของท่าน แล้วยกพระหัดถ์ขึ้นกราบถวาย  บังคมลาเจ้าจอมมารดาของท่าน แล้วก็เสด็จทรงพระราชด�ำเนิรมา ถึง  ชานชลาน่าท้องพระโรง ขณะนั้นพระยาราชสุภาวดีจึ่งทูลเชิญเสด็จ ให้  เสด็จขึ้นทรงพระวอที่กรมสนมพลเรือนจัดมารับเสด็จ ก็หามพระวอ  ออกมาจากวังในค�่ำวันนั้น ฝ่ายพระยาราชสุภาวดีเดินเคียงพระวอมา ข้าราชการที่ไปด้วย  นั้นหลายกรม ก็เดินคุมเชิงตามพระวอมาภายหลังมากด้วยกัน ครั้น  พระวอเลี้ยวมุมป้อมเผด็จดัษกร น่าโรงสักข้างศาลจ้าวหลักเมืองนั้น  พระยาราชสุภาวดีมือยึดที่พนักวอ มือไปถูกพระเพลากรมหลวงรักษ์ๆ  รับสั่งว่าดั่งนี้ ฉันไม่หนีดอก เจ้าคุณศาสดีไม่ต้องคล�ำคุมตัวฉัน ครั้นหามพระวอกรมหลวงรักษ์เข้าไปทางประตูวิเศษไชยศรี  เข้าไปในพระบรมมหาราชวังแล้ว พระยาราชสุภาวดีมีบัญชาสั่งให้อยุด  พระวอลงที่น่าศาลาเล็กๆ ใต้ต้นโศรก ริมประตูวิเศษไชยศรีข้างใน  ที่เรียกกันว่าจวนกลางกรมล้อมพระราชวัง เชิญเสด็จกรมหลวงรักษ์  ให้ อ ยุ ด พัก ที่ใ นศาลาจวนต้ น โศรกนั้น แล้ ว  มีเ จ้ า กรมปลัด กรมพระ  ต�ำหรวจควบคุมอยู่ด้วย จึ่งพระยาราชสุภาวดีเข้าไปเฝ้าทูลลอองธุล ี พระบาทในท้องพระโรง สักครู่หนึ่งจึ่งออกมามีบัญชาสั่งให้เจ้ากรม  สนมพลเรือนลงพระราชอาญาจ�ำครบ (คือจ�ำตรวนสามชั้น จ�ำกุญแจ  โซ่คอด้วย (เรียกว่าลงพระราชอาญา ‘สังขลิกพันธนาการ’ ค�ำสามัญ  ร้องเรียกว่า ‘ลงเหล็กจ�ำห้าประการ’ โซร่ตรวนนั้นพันผ้าขาวตามอย่าง  ยศจ้าวโบราณ วรชาติ มีชูบท

15


ครั้นเวลาดึกสองยามเศษ เจ้าคุณศาสดีออกมาจากที่เฝ้ามาแวะ  ที่ศาลาเล็กจวนต้นโศรกอีก มีบัญชาสั่งให้กรมสนมพลเรือนจ�ำโซ่คอ  กรมหลวงรักษ์ด้วย โซ่คอนั้นพันผ้าขาวตลอดสาย กุญแจนั้นก็พันผ้า  ขาวด้วย เว้นไว้แต่ช่องลูกกุญแจเท่านั้น ในค�่ำวันนั้นพระยาราชสุภาวดีมีบัญชาสั่งให้กรมสนมพลเรือน  ไปเชิญเสด็จสมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์ ๑๑ มาจ�ำตรวน  พันผ้าขาวไว้ในทิมแถวข้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกันกับ  หม่อมจ้าวบุตรชายกรมหลวงรักษ์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่จ้าวฟ้าอาภรณ์  จ�ำตรวนสองชั้นพันผ้าขาวด้วย หม่อมจ้าวบุตรหม่อมไกรสรจ�ำตรวน  ชั้นเดียว ไม่ได้พันผ้าขาวทุกคน ฝ่ายพระยาราชสุภาวดี (โต) ออกจากพระบรมมหาราชวัง ไป  นอนค้างรักษาวังกรมหลวงรักษ์ (วังอยู่ที่ตรงสวนสราญรมย์เดี๋ยวนี้)  พระยาราชสุภาวดีเปนผู้ท�ำบาญชีสรรพวัดถุสิ่งของ ของกรมหลวงรักษ์  ริบราชบาทว์ เปนของแผ่นดินทั้งสิ้นเหตุนี้จึ่งทราบว่ากรมหลวงรักษ์  รู้พระองค์ก่อนแล้ว จึ่งทิ้งสรรพต�ำราต่างๆ หลายพันอย่าง ลงในบ่อสระ  ในวังของท่าน ก่อนการที่จะถูกรับทุกข์โทษแผ่นดิน  รุง่ ขึน้ จึง่ โปรฎเกล้าฯ ให้พระจ้าวน้องยาเธอกรมขุนพิพธิ ภูเบนทร์ ๑๒ เปนผู้รับพระบรมราชโองการ ให้พระสุริยภักดี ๑๓ (นุช) บุตรเจ้าพระยา  อภัยภูธร ๑๔ (น้อย) เปนเสมียรของกรมขุนพิพิธไปถามกรมหลวงรักษ์  เปนพระบรมราชกระทู้ ซักถามความสามข้อ กรมหลวงรักษ์ตอบพระ  บรมราชกระทู้ทั้งสามข้อ พระสุริยภักดี (นุช) เปนผู้จดหมายถ้อยค� ำ  ตอบ พระบรมราชกระทู้ (พระสุริยภักดีนั้นคือท่านเจ้าพระยาภูธราภัย  บุตรท่านเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย)) ครั้นช�ำระเสร็จสิ้นส�ำนวนแล้ว จึ่งโปรฎเกล้าฯ ให้ส� ำเร็จโทษ  กรมหลวงรักษ์ ๑ กับประหารชีวิตรบ่าวข้าคนใช้ ๓ คน แต่หม่อมจ้าว  ชายบุตรกรมหลวงรักษ์น้ัน โปรฎให้ลดยศลงจากหม่อมจ้าว ให้คงเปน  หม่อมทั้งสิ้น หาได้เปนโทษด้วยบิดาไม่ โปรฎให้ยกโทษพระราชทาน  ทั้งสิ้นในส่วนบุตรนั้น กรมหลวงรักษ์ก็ลดยศลง เปนหม่อมไกรสรตาม  นามเดิม 16

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


ส่วนพระจ้าน้องยาเธอจ้าวฟ้าอาภรณ์นนั้  ไม่ได้ลดพระราชอิศริย  ยศลงเลย คงเปนสมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าตามเดิมเปนแต่รับ  ละหุโทษจนสิ้นพระชนม์” นายชายบุตรถามว่า ‘สมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์  นั้นได้รับละหุโทษด้วยเหตุอันใด?’ นายกุหลาบบิดาตอบว่า ‘สมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์  ได้รับทุกข์โทษนั้น เพราะอาจาริย์เซ่งเปนโหรค�ำนวณพระลักษณพระ  ชะตาราษี หม่อมไกรสรกับจ้าวฟ้าอาภรณ์ แล้วทายดวงชะตาราศีหม่อม  ไกรสรว่า ‘จะได้เปนจ้าวแผ่นดิน’ แล้วทักทายจ้าวฟ้าอาภรณ์ว่า ‘จะได้  เปนวังน่า’ ครั้นไต่สวนสอบถามสมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์ๆ  ให้การว่า ‘ไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้นัดหมาย เชื่อใจด้วยหม่อมไกรสรๆ กะ  หมายจะให้เปนวังน่าเองหารู้ตัวไม่’ เรื่องนี้ไม่ทรงสืบพยานต่อไปด้วยเกรงว่าจะลุกลามมากมาย จึ่ง  ได้ทรงดุษณีภาพไว้ ไม่ทรงช�ำระไต่สวนจ้าวฟ้าอาภรณ์ๆ ก็เลยเสด็จอยู ่ ในระหว่างกองละหุโทษช้านาน จนทรงลืมเลยๆ ไป หลายเดือนเกือบ  ปีเศษ อาจาริย์เซ่งโหรหรือหมอดูวิเศษ ต้องรับพระราชอาชญาจ�ำคุก  ด้วยจนตาย ครั้นเมื่อปีระกาบังเกิดไข้อหิวาตะกะโรค สมเด็จพระจ้าวน้องยา  เธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์ประชวร พระโรคอะหิวาตะกะโรค สิ้นพระชนม์ใน  ระหว่างโทษ ในเวลาโน้นนั้นไม่มีใครอาจสามารถจะกราบบังคมทูลพระ  กรุณาได้ ด้วยเกรงพระราชอาชญา เปนล้นเกล้าล้นกระหม่อม ฝ่ายพระ  จ้าวน้องยาเธอ กรมหมื่นวงศาสนิท ๑๕ (คือกรมหลวงวงศาธิราชสนิท)  กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ‘สมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์  ทรงพระประชวร เปนไข้อะหิวาตะกะโรค สิ้นพระชนม์ในระหว่างโทศ  แล้ว’ จึ่งมีพระบรมราชโองการด�ำหรัศว่าดังนี้ ‘จ้าวฟ้าอาภรณ์เปนพี่น้อง  ของพ่อนวมๆ ก็จัดแจงการศพไปเถิด’ ฝ่ายกรมหมื่นวงศาสนิท แลจ้าว  วรชาติ มีชูบท

17


นายหลายพระองค์ พากันเกรงกลัวพระราชอาชญาแผ่นดิน ไม่อาจจะ  จัดการศพสมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์ได้ จึ่งจ้าวนายหลาย  พระองค์พากันไปกราบทูล ทูลกระหม่อมพระวัดบวรนิเวศ (คือพระบาท  สมเด็จพระจอมเกล้าจ้าวอยู่หัว แต่ยังทรงพระผนวชอยู่นั้น) ท่านก็ทรง  รับเปนพระธุระทั้งสิ้นในการพระศพนั้น ท่านรับสั่งให้ข้าในกรมจัดการ  ศพ รับพระศพสมเด็จพระจ้าวน้องยาเธอ จ้าวฟ้าอาภรณ์ลงหีบ แล้วน�ำไป  ฝังไว้ที่หลังโรงโขนวัดสระเกษ ภายหลังก็ทรงจัดการพระศพ ประทาน  เพลิงที่วัดสระเกษเวลากลางคืน ตัวของเราสยามประเภท ก็ได้รู้เห็นด้วยจักษุตนเองบ้าง ได้ทัน  เห็นถวายพระเพลิงด้วย เดี๋ยวนี้ยังมีผู้รู้เห็นเปนพยานด้วยกันมากมาย  หลายคนคือ ท่านที่เปนข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ ๔ ที่ได้ตามเสด็จไปใน  วันประทานเพลิงนั้น ยังมีตัวอยู่หลายท่าน จนทุกวันนี้ยังมีตัวอยู่มาก  ที่ได้เปนพระยาพานทองก็มีหลายพระยา ล้วนแต่มีอายุศม์ไม่ตำ�่ กว่า  ๖๘ ปีหรือ ๗๐ ปีด้วยกัน และมีอายุแก่กว่าเรา ก็มีหลายท่านด้วยกัน  ยังจ�ำความได้มีตัวอยู่มากด้วยกัน แต่ไม่ควรระบุชื่อไม่มีประโยชน์  อันใด เว้นไว้แต่จะมีผู้มีอ�ำนาจอันชอบธรรม มาไล่เลียงสอบถามเรา  ใครเปนผู้รู้เห็นเปนพยานด้วยเช่นนี้ เรา (สยามประเภท) จึ่งจะชี้ตัว  พยานให้ได้เมื่อภายหลัง ล้วนแต่จ้าวนาย เจ้าพระยาและพระยาพาน  ทองหลายท่าน ที่รู้เห็นด้วยกัน ครั้นอยู่มาถึงในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระ  จอมเกล้าจ้าวอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนิรไปทรงทอดพระเนตรช่างท�ำ  พระเบญจาทองค�ำ ส�ำหรับตั้งพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า  เจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราช พระเบญจาทองค�ำท�ำอยู่ที่น่าโรงช้าง  เผือก (คือน่าพระที่นั่งจักรกรีเดี๋ยวนี้) ขณะนั้นหม่อมอ�ำพนและหม่อม  กรุง ทั้งสองคนพี่น้องซึ่งเปนบุตรหม่อมไกรสร ไปนั่งดูเขาท�ำพระเบญจา  อยู่ที่น่าโรงช้างเผือก ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ  พระราชด�ำเนิรมาถึงน่าโรงพระเบญจา ทรงทอดพระเนตรเห็น หม่อม  อ� ำ พน หม่ อ มกรุ ง  จึ่ ง ทรงพระราชทานพระราชปฏิ สั ณ ฐานปราไสย  ทักทายถามว่าดั่งนี้ ‘พี่น้องของเจ้ายังมีอยู่กี่คนด้วยกัน ให้พากันเข้ามา  18

เบื้องลึก เบื้องหลัง ในพระราชบันทึกเรื่อง “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖”


หาข้าๆ จะชุบเลี้ยงตามที่เปนราชตระกูล แต่ข้าไม่มีความพยาบาทพ่อ  เจ้า พ่อเจ้ากับข้าเกลียดชังกัน เหมือนขมิ้นกับปูน แต่ข้าไม่ถือโทษ จะ  เลี้ยงพวกเจ้า’ ภายหลัง หม่อมอ�ำพน หม่อมกรุง หม่อมเผือก หม่อมสุวรรณ  หม่อมนก ล้วนเปนบุตรชายของหม่อมไกรสรทั้งสิ้น พากันจัดดอกไม้  ธูปเทียน เข้าไปหาเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี ๑๖ (เพง) (คือเจ้าพระยา  มหินทรศักดิ์ธ�ำรง) ให้พาเข้าเฝ้าถวายตัวท� ำราชการ ฉลองพระเดช  พระคุณต่อไป เจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี (เพง) สั่งให้หลวงศักดิ์นายเวร  มหาดเล็ก น�ำพาเข้าเฝ้าถวายตัว ที่ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย (ท้อง  พระโรง) จึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรฎเกล้ า ฯ ให้ มี ชื่ อ ในท้ า ยสมุ ด บาญชี  เบี้ยหวัดเจ้านายฝ่ายราชตระกูล พระราชทานเงินเบี้ยหวัดคนละชั่ง  ภายหลังทรงพระกรุณาโปรฎเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานพระคลังในค้นดู  บาญชี แลตัวพรรณผ้านุ่งห่มของหม่อมไกรสร ที่ริบราชบาทว์มาเก็บไว้  ในพระคลังในนั้น พระราชทานให้แก่หม่อมบุตรชายหลายคนของหม่อม  ไกรสร ครั้งนั้นมีพระบรมราชโองการด�ำหรัศว่าดั่งนี้ ‘ถ้าหม่อมไกรสร  ไปบังเกิดเปนเทวะดาอารักษ์หรืออะสุระกายประการใด ก็จะมีความรัก  ใคร่หายเกลียดตัวข้า ที่ข้าชุบเลี้ยงลูกเต้าเขา ตัวข้าไม่มีความอาฆาฏ  พยายาทลูกเต้าเขาเลย ข้าคิดว่า หม่อมไกรสรจะเกลียดชังพระนั่งเกล้า  ยิ่งมากกว่าชังข้าเสียอีก’” ๑๗ ด้วยเหตุที่หม่อมไกรสรเป็นผู้ที่ต้องรับพระราชอาญา ฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสกุลแก่ ทายาทหม่อมไกรสรใน พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงทรงเลือกที่จะพระราชทาน นามสกุล “พึ่งบุญ ณ กรุงเทพ” แก่ผู้สืบสายโลหิตตรงลงมาจาก หม่อมไกรสร แทนการใช้พระนามของผู้เป็นต้นราชสกุลเป็นนามสกุล เช่นราชสกุลอื่นๆ ในเรื่องนี้ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงนิพนธ์ ไว้ใน “พระราชวงศ์จักรี ตอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ ๖” ว่า  “เจ้าพระยารามฯ ได้พระราชทานนามสกุลว่า พึ่งบุญ เพราะมี  วรชาติ มีชูบท

19


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.