ประวัติศาสตร์ผู้คนบนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

Page 1


แผนที่แสดงตำ�แหน่งช่องเขาและหมู่บ้านสำ�คัญในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (จากหนังสือภูมิศาสตร์อีสาน พ.ศ. ๒๕๑๖)


ประวัติศาสตร์ผู้คน บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

ราคา ๒๖๐ บาท


สารบัญ

ประวัติศาสตร์ผู้คน บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

คำ�นำ� ทบทวนแนวคิดว่าด้วยพรมแดน - ความนำ�

(๗) ๒

- นิยามศัพท์ - พรมแดนจากรัฐโบราณสู่เขตแดนของรัฐชาติสมัยใหม่ - พื้นที่ และการนิยามอัตลักษณ์ของผู้คน - ผู้คนในมิติของการเดินทางข้ามพรมแดนรัฐชาติ

๔ ๖ ๘ ๑๔ ๒๓

ชีวประวัติหมู่บ้านบริเวณเส้นพรมแดน ปราสาทพระวิหาร

๓๒

- ประวัติศาสตร์ชุมชนและผู้คน บนเส้นทางจากตัวเมืองกันทรลักษ์ถึงปราสาทพระวิหาร - ประวัติศาสตร์หมู่บ้านในพื้นที่ชายแดน บริเวณปราสาทพระวิหาร - หมู่บ้านพรมแดนไทย-กัมพูชาอายุ ๑๐๐ กว่าปี

๓๕ ๔๕ ๙๗

เส้นทางและการค้าข้ามพรมแดนจากเมืองกันทรลักษ์ สู่เมืองจอมกระสานต์

๑๐๖

๑๐๘ ๑๑๙

- เส้นทางการค้าขายแลกเปลี่ยนข้ามพรมแดน - สินค้าและการค้าข้ามพรมแดนในอดีต


- การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างหมู่บ้านและท้องถิ่น - ชาวเขมรพ่อค้าข้ามพรมแดน

๑๓๐ ๑๔๕

ชาวไทยอีสานกับการเปลี่ยนแปลงวิถีการเกษตรของชาวเขมร ๑๕๒

- วิถีการล่าสัตว์หาของป่า - จากเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมสู่การเกษตรเชิงพาณิชย์

การรับรู้และการเปลี่ยนความหมายของพรมแดน และประวัติศาสตร์ว่าด้วยชีวิต - พรมแดนธรรมชาติและพรมแดนแบบจารีต :

๑๕๕ ๑๕๗

๑๗๔

การแบ่งเขตพื้นที่เขมรสูงกับเขมรตํ่า - เหตุการณ์ ในพื้นที่ชายแดนและปราสาทพระวิหาร กับการก่อรูปของพรมแดนรัฐชาติสมัยใหม่ - เส้นพรมแดนไทย-กัมพูชากับบริบทที่เปลี่ยนไป - รัฐชาติ ชาติพันธุ์ มรดกโลก - ปราสาทพระวิหารในมุมมองคนท้องถิ่น

๑๗๗

สรุป - ประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านในพื้นที่พรมแดนบริเวณ

๒๗๖

๒๗๘ ๒๘๐

ปราสาทพระวิหาร - การค้าข้ามพรมแดนกับการเกษตรกรรม - รูปแบบและความหมายของพรมแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร

รายการอ้างอิง

๑๙๓ ๒๔๖ ๒๕๐ ๒๕๙

๒๘๒

๒๘๗


ทบทวนแนวคิด ว่าด้วย พรมแดน



4 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

ความนำ� เท่าที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับพรมแดนไทย-กัมพูชาส่วนใหญ่ มักมีลักษณะการพรรณนาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพรมแดนเป็นหลัก และมองพรมแดนในมิติรัฐศาสตร์เท่านั้น ส่งผลให้การมองพรมแดน ขาดความยืดหยุ่น ด้วยเหตุนี้จึงขอทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับพรมแดน ในมิติต่างๆ หากมองความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งชุ ม ชนและพรมแดนในพื้ น ที่ ดังกล่าวผ่านมุมมองเชิงทฤษฎีที่อาจเรียกว่าเป็นการอธิบายอย่างง่าย ที่สุดและ/หรือจะเรียกว่าเหมารวมอย่างที่สุดแล้วคงมองว่าเขตแดน ของรัฐชาติสมัยใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ นั้นได้ แบ่งแยกผู้คนและตัดแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน คือ “เขมร” (ขแมร์ / Khmer) ซึง่ นิยามจากลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมและภาษาเป็นหลักนัน้ ให้กลายเป็นกลุ่มคนที่สังกัดต่อรัฐชาติไทย หรือรัฐชาติกัมพูชา ถึงความเป็นจริงจะเป็นเช่นนั้น แต่ค�ำถามที่เกิดขึ้นตามมา คือว่าเราจะอธิบายเรือ่ งของพรมแดนทีว่ า่ ได้งา่ ยๆ อย่างนีไ้ ด้หรือ ไม่ เพราะจะสัมพันธ์กบั กรณีขอ้ พิพาทชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ว่าใครควรมีสิทธิชอบธรรมเหนือปราสาทพระวิหาร ซึ่งก่อให้เกิดข้อ ครหาที่ตามมาอยู่หลายระลอกต่อชุมชนชายแดนบริเวณดังกล่าวว่า เป็นกลุ่มที่มีจิตใจโอนเอียงไปเข้าข้างกับกัมพูชาด้วยเห็นว่าเป็นกลุ่ม


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

5

ชาติพันธุ์เดียวกัน๑ ปรากฏการณ์ดังกล่าวยิ่งเป็นการสร้างข้อกังขาให้กับผู้เขียนถึง ประเด็นที่เขตแดนในรัฐชาติสมัยใหม่เข้ามามีผลต่อการนิยามของความ เป็นชาติพันธุ์ งานเขียนชิ้นนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาการรับรู้อดีตและการนิยาม ตนเองของกลุ่มคนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะชุมชนชาว เขมรที่อยู่ใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหารผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์ บอกเล่า และประวัติศาสตร์ของชุมชน ซึ่งในการลงพื้นที่พบว่าการจะ อธิบายปรากฏการณ์และการรับรู้ของชุมชนให้สามารถมีมุมมองรอบ ด้านและลึกซึ้งได้นั้นจ�ำเป็นต้องอาศัยวิธีวิทยาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องพรมแดนและชาติพันธุ์อยู่พอสมควร อันเป็นที่มาของการทบทวน แนวคิดในบทแรกนี้ ผู ้ เ ขี ย นมุ ่ ง หวั ง ว่ า แนวคิ ด ที่ น� ำ มาทบทวนนี้ จ ะช่ ว ยให้ ก ารมอง พรมแดนพ้ น ไปจากเพี ย งพื้ น ที่ ที่ อ ยู ่ บ ริ เ วณรอยต่ อ ของรั ฐ ชาติ ซึ่ ง เห็นเพียงมิติทางด้านภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการปกครองเพียงมิติ เดียวเท่านั้น ท�ำให้เนื้อหาในการทบทวนแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนแรก นิยามค�ำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพรมแดน เพื่อให้เข้าใจตรง กันระหว่างผู้อ่านและผู้เขียน ส่วนที่สอง การทบทวนแนวคิดพรมแดนที่เปลี่ยนความหมาย จากพรมแดนแบบรัฐโบราณ/รัฐจารีตมาสู่พรมแดนในแบบรัฐชาติสมัย ใหม่ ส่วนที่สาม เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับการนิยามอัตลักษณ์ ในหัวข้อนีเ้ ป็นการส�ำรวจถึงพืน้ ทีใ่ นเชิงภูมศิ าสตร์และรัฐศาสตร์ ว่าสัมพันธ์อย่างไรกับผู้คนหรือวัฒนธรรม งานที่น�ำมาทบทวนส่วนใหญ่ เป็นแง่มุมในเชิงวิชาการหรือการส�ำรวจที่มาจากมุมมองภายนอกของ วัฒนธรรม ส่วนที่สี่ เป็นการส�ำรวจการนิยามอัตลักษณ์ของผู้คนที่เดินทาง ข้ามพรมแดน ซึ่งงานที่นำ� มาทบทวนเป็นการพยายามเข้าใจจากมุมมอง ของคนในวัฒนธรรมเองที่มองออกมา


6 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

นิยามศัพท์

ค� ำ หลายค�ำ ที่มัก พบในงานศึก ษาเกี่ย วกับ พรมแดนนั้น มีนัย ที่ หยิบยืมมาจากภาษาอังกฤษ แล้วมาแปลให้เข้ากับค�ำในภาษาไทยที่มี อยู่แล้ว แต่ละค�ำล้วนแล้วแต่มีนัยและที่มาที่ไปซึ่งจ�ำเป็นต้องท�ำความ เข้าใจก่อนน�ำมาใช้ ผูว้ จิ ยั ตระหนักดีวา่ บางค�ำก็ถกู น�ำมาใช้ในหลายความ หมาย หลายวัตถุประสงค์ ดังนั้น ในเบื้องต้นจึงเห็นว่ามีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องชี้แจงจุด มุ่งหมายในการใช้ค�ำของงานเขียนนี้เพื่อให้เข้าใจตรงกันตั้งแต่เริ่มแรก ค�ำกว้างๆ ๒ ค�ำ ทีอ่ าจท�ำให้เกิดความสับสนอยูบ่ า้ งคือค�ำว่า frontier (ฟรอนเทียร์) และ boundary (บาวดารี) แม้เมื่อแปลเป็นไทยแล้ว จะให้ความหมายว่าเป็นพรมแดนคล้ายกัน แต่ก็มีนัยการใช้แตกต่าง กัน กล่าวคือ ค�ำว่า frontier นั้นมีนัยถึงพื้นที่ (zone) ที่ครอบคลุมทั้ง สองฝั่งของชายแดนของอ�ำนาจ ในมุมมองของรัฐโบราณ frontier คือ พื้นที่ที่คลุมเครือไม่มีอ�ำนาจใดที่ชัดเจน อาจเรียกได้ว่าเป็นชายแดนที่ มีเส้นแบ่งแบบพร่ามัว๒ ในงานของธงชัย วินจิ จะกูล ยังชีใ้ ห้เห็นอีกด้วยว่า frontier นัน้ มี นัยเช่นเดียวกับ border (บอร์เดอร์) ทีม่ คี วามเป็นมิตร และประนีประนอม ต่อการใช้ทรัพยากร (ทรัพย์สินสาธารณะ) ของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ ดังกล่าว๓และค�ำว่า frontier ยังคงถูกใช้ในการนิยามถึงพรมแดน ของรั ฐ ชาติ ส มั ย ใหม่ เพี ย งแต่ ค วามหมายถู ก เปลี่ ย นให้ ก ลายเป็ น เส้นเขตแดนที่ถูกลากขึ้นโดยอ�ำนาจทางการเมือง เส้นเขตแดนในโลก ยุคใหม่นี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากเหตุผลทางด้านการเมือง การทหาร มีเพียงส่วนน้อยที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ หรือลักษณะทางภูมิศาสตร์ และ มีบางครั้งที่เกิดขึ้นด้วยเหตุบังเอิญหรือเข้าใจผิดก็มี๔ ในขณะที่ค�ำว่า boundary จะมีนัยถึงเส้นที่แสดงถึงการแบ่ง ธงชัยชี้ให้เห็นว่าในการนิยามของค�ำศัพท์ในภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับ พรมแดนในช่วงรัฐสมัยโบราณ อาทิ ขอบเขต เขต และเขตขัณฑสีมา


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

7

(แปลได้ว่า วงจ�ำกัด หรือ อาณาเขตของอาณาจักร) ไม่มีค�ำใดเลยที่มี ความหมายถึง “เส้นแบ่ง” อาณาเขต/อาณาจักร แต่ก็อาจจะอนุโลมให้ เป็นเส้นหนาๆ (thick line) ที่ครอบคลุมถึงช่องว่างระหว่างอาณาจักร หรื อ ชุ ม ชนที่ อ าจจะเป็ น ป่ า ทึ บ หรื อ ภู เ ขา เมื่ อ มองในมุ ม ของรั ฐ ชาติ สมัยใหม่หรืออังกฤษในยุคคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ (เมื่อเรียกร้องให้มีการ แบ่งดินแดนพม่ากับสยาม) แสดงอย่างชัดเจนว่า boundary นั้นหมาย ถึงเส้นแบ่งที่ชัดเจน ไม่มีความคลุมเครือระหว่างอ�ำนาจของอาณาจักร หรือรัฐ เราจึงมักเห็นค�ำว่า boundary line (บาวดารี ไลน์) ร่วมกับ การนิยามถึงเส้นเขตแดน อันมีนัยถึงความ “ไม่เป็นมิตร” การไร้ความ สัมพันธ์ หรือจะกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น คือ boundary ที่ถูกนิยามจาก รัฐชาติสมัยใหม่มีพื้นฐานมาจากการมองเรื่องสิทธิเชิงเดี่ยว/กรรมสิทธิ์ ส่วนบุคคล (private property) อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่การนิยามภายใต้ความเข้าใจของรัฐชาติ สมัยใหม่ค�ำศัพท์เหล่านี้ถูกน�ำมาใช้ร่วมกัน หรือในบางครั้งก็พบว่าใช้ แทนกันไป ด้วยเหตุทวี่ า่ ความหมายดัง้ เดิมถูกแทนทีด่ ว้ ยการนิยามใหม่ ไปแล้ว หรือในงานบางชิ้นอาจไม่ได้สนใจว่าทั้งสองค�ำมีความแตกต่าง กันตรงที่อ้างอิงถึง “พื้นที่” (zone) หรือ “เส้นแบ่งเขต” (line) ผู้เขียน จึงใคร่ขอชี้แจงไว้ในที่นี้ว่าค�ำที่จะใช้ในหนังสือเล่มนี้ต่อไปคือ ค�ำว่า “พรมแดน” หรือ “ชายแดน” (frontier หรือ border) นั้นโดยทั่ว ไปผู ้เ ขีย นต้ องการสื่อ ถึง พื้น ที่ (zone) ระหว่ างประเทศ หรืออาณาจักร ถึงแม้ว่าภายใต้รัฐชาติสมัยใหม่พื้นที่ดังกล่าวจะถูกแบ่ง ด้วยเส้นเขตแดนแล้วก็ตาม แต่ในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้ใช้วิธีการมอง แบบที่ตัดแบ่งพื้นที่ของชุมชนหรือหมู่บ้านตามเส้นแบ่งประเทศนั้น ตามไปด้วย ในขณะที่เมื่อต้องการอ้างอิงถึงเส้นแบ่งเขตตามความหมายของ รัฐชาติสมัยใหม่จะเลือกใช้ค�ำว่า “เส้นพรมแดน” หรือ “เส้นเขตแดน” หรือ “เขตแดน” (boundary line หรือ border line) ที่ให้นัยถึงเส้น หรือแนวที่ชัดเจนกว่า


8 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

พรมแดนจากรัฐโบราณ สู่เขตแดนของรัฐชาติสมัยใหม่ ตามธรรมดาแล้ ว หากเอ่ ย อ้ า งหรื อ นิ ย ามถึ ง พรมแดนของรั ฐ หรืออาณาจักรใดก็ตามแต่ มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่มักจะต้องเข้าใจ ครอบคลุมไปถึงการนิยามถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับรัฐหรืออาณาจักร นั้ น ๆ ไปด้ ว ย กรณี ข องเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ มี ค วามแตกต่ า ง อย่างมากระหว่างรัฐชาติสมัยโบราณในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔) กับรัฐชาติสมัยใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อกว่าศตวรรษ ที่แล้ว ในรัฐชาติแบบแรกไม่ได้มองว่าเขตแดนของรัฐเป็นปัจจัยส�ำคัญ ต่อการปกครอง ผู้ปกครองส่วนกลางสนใจเพียงผลผลิตที่เมืองใน อาณัติ (เมืองบริวาร) ส่งให้เพียงอย่างเดียวว่าครบตามจ�ำนวนที่ก�ำหนด ไปหรือไม่๕ ในรูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวมีตัวอย่างให้เห็นได้ชัด ในกรณีของจักรวรรดิจีนกับรัฐต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อยุธยา ซึ่งด้านหนึ่งดูเหมือนเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างกัน แต่ในอีกด้านก็เป็นการแสดงถึงอ�ำนาจของราชส�ำนักจีน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรัฐโบราณในเชิงของระบอบการ ปกครองที่นักวิชาการมักจะอ้างถึงและมีความสอดคล้องกับรูปแบบ ของรัฐบรรณาการ (Tributary state) คือ แนวคิดการปกครอง ระบอบแบบมณฑล (Mandala) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเสนอขึ้นโดยนัก ประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ โอลิเวอร์ วิลเลียม วอลเตอร์ส (Oliver William Wolters) ครัง้ แรกในปี ค.ศ. ๑๙๘๒ ในหนังสือเรือ่ ง History, Culture, and Region in Southeast Asian Perspectives เขาได้ให้ ความเห็นว่า “...แผนที่ ใ นยุ ค ต้ น ของเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ซึ่ ง ประกอบ ขึ้ น จากเครื อ ข่ า ยที่ พั ฒ นาขึ้ น นั บ ตั้ ง แต่ ยุ ค ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ที่ เ ป็ น ชุมชนขนาดเล็ก และเผยให้เห็นถึงเครือข่ายดังกล่าวในบันทึกสมัย ประวัติศาสตร์ในรูปแบบที่เป็นการปะติดปะต่อขึ้นและบ่อยครั้งที่มัก


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

9

จะซ้อนทับอยู่กับระบอบของมณฑล (Mandala) ต่างๆ...” (Wolters ๑๙๙๙ : ๒๗) แม้ว่าในงานชิ้นดังกล่าว วอลเตอร์สจะกล่าวว่ามีข้อบกพร่อง อยู่บ้างตรงที่การตีความของเขาเกี่ยวกับชุมชนที่ตัดขาดออกจากการ ติ ด ต่ อ กั บ ชุ ม ชนอื่ น ๆ ในหมู ่ เ กาะของแปซิ ฟ ิ ก แต่ จ ากข้ อ มู ล ทาง ด้านโบราณคดีและข้อเสนอจากนักโบราณคดีคือ ชาร์ลส์ ไฮแอม (Charles Higham) ท�ำให้เห็นถึงเครือข่ายการค้าระหว่างหมู่เกาะ น้อยใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบอบที่ซับซ้อนขึ้นในรัฐโบราณของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น ในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ วอลเตอร์สเห็นพ้องกับไฮแอม ที่นิยาม ว่า ระบอบของมณฑล นัน้ สามารถนิยามได้วา่ เป็นปริมณฑลแห่งราชา (Circle of Kings) หมายถึงการปกครองที่มีราชาเป็นศูนย์กลางและ แผ่อำ� นาจออกไปในลักษณะทีเ่ ป็นเหมือนวงรอบและอ�ำนาจดังกล่าวก็จะ แผ่วหรือลดน้อยลงตามระยะทางที่ห่างออกไปจากศูนย์กลาง๖ ในรูปแบบของระบอบนี้ไม่มีขอบเขต (ในที่นี้คือเขตแดน) ของ รัฐหรืออาณาจักรที่ชัดเจนตายตัว การควบคุมของศูนย์กลางจึงเป็น การสร้างเครือข่ายของอ�ำนาจเพื่อควบคุมผลผลิต (หรือบรรณาการ) ที่ควรได้จากดินแดนหรือหัวเมืองที่อยู่ในอาณัติเพียงเท่านั้น ท�ำให้บาง ครั้งดินแดนหนึ่งที่อยู่ปลายสุดของอ�ำนาจรัฐ/อาณาจักรสามารถที่จะ ส่งบรรณาการให้กับ ๒ รัฐได้ในเวลาเดียวกัน และตราบใดที่ดินแดน ดังกล่าวยังคงส่งบรรณาการได้อย่างครบถ้วนและตรงเวลา ก็จะไม่มี ศูนย์กลางใดมาตรวจสอบว่าอาณาเขตของตนนั้นยังคงเดิมอยู่หรือไม่ ด้วยความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวนี้เองท�ำให้บางครั้งเกิดการซ้อน ทับของอาณาเขตระหว่างรัฐ/อาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งพร้อมๆ กัน ซึ่งรัฐแบบนั้นมักเรียกว่า รัฐสองฝ่ายฟ้า รัฐสามฝ่ายฟ้า บ้าง ขณะทีร่ ฐั ชาติสมัยใหม่ทเี่ ป็นแนวคิดเกิดใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๙ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔) และมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะ การท�ำแผนที่ และระบบคิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล/ทรัพย์สิน


10 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

ส่วนบุคคล ซึ่งหมายถึงการอ้างสิทธิเหนือดินแดนนั้นยินยอมให้มีเพียง เจ้าของหนึ่งเดียวเพียงเท่านั้น รูปแบบความสัมพันธ์แบบเดิมที่เป็น การส่งบรรณาการให้กับศูนย์กลางอ�ำนาจหลายแห่งในเวลาเดียวกัน กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อีกต่อไป เพราะรัฐชาติสมัยใหม่มองว่า ดินแดน ทรัพยากร และผู้คนที่ถูกนิยามว่าอยู่ในเขตของรัฐใดแล้วนั้น ก็ควรเป็นสิทธิขาดและเอื้อประโยชน์ต่อรัฐนั้นแต่เพียงผู้เดียว ด้วยแนวคิดใหม่นี้เองได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวต่อความ คิ ด เรื่ อ งอาณาเขตของรั ฐ ในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ซึ่ ง ก็ คื อ “เขตแดน” เมือ่ ต้องเผชิญหน้ากับเจ้าอาณานิคม ด้วยการท�ำแผนที่ และยกกองทัพเข้าครอบครองดินแดนที่มีความก�ำกวมไม่ชัดเจน และเกิดแนวคิดในการครอบครองเชิงเดี่ยวขึ้นต่อพื้นที่ต่างๆ ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อคนที่อยู่ในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่ นี้ อ าจสรุ ป การนิ ย ามพรมแดนของรั ฐ ชาติ ส มั ย ใหม่ ต ามที่ โธมัส วิลสัน และ ฮัสติง ดอนแนน (Thomas Wilson and Hasting Donnan) กล่าวไว้ว่ามีองค์ประกอบส�ำคัญอยู่ ๓ ประการ คือ ๑. แสดงเส้ น แบ่ ง ของรัฐ อัน บ่ ง ถึง อ�ำ นาจอธิป ไตยของรัฐ นั้น (Legal borderline) ๒. เส้นอันแสดงถึงกายภาพของรัฐ (Physical structure) ๓. พรมแดน อันแสดงถึงขอบเขตของพื้นที่ (Frontier)๗ ในองค์ประกอบสุดท้ายนี้หมายถึงพื้นที่ที่ขยายขอบเขตออกไป เกินกว่าสิ่งที่เรียกว่าเขตแดน (border line) แต่ก็ยังมีความหมายที่ต่าง ไปจากพรมแดนในรัฐสมัยโบราณ ในความหมายใหม่นไี้ ด้นยิ ามถึงพืน้ ที่ พรมแดนที่มีปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มคน ศาสนา และวัฒนธรรมเข้าไปด้วย ซึง่ อาจมองเห็นได้ในหลายมิติ อาทิ พรมแดนทางการค้า พรมแดนทาง ศาสนาและพรมแดนของปฏิสมั พันธ์ทางวัฒนธรรม๘แต่พรมแดน แบบนี้ก็ไม่อยู่ในจุดที่พรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่สามารถยอมรับ ได้โดยง่าย แม้ ว ่ า หลายครั้ ง ที่ เ ขตแดนของรั ฐ สมั ย ใหม่ ใ ช้ ก ารอ้ า งอิ ง ตาม ภูมิประเทศ เช่น เส้นทางน�้ำ หรือสันเขา ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

11

และเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่ก็บ่อยครั้งอีกเช่นกันที่มีการอ้างเส้น แบ่งทางภูมิศาสตร์ที่ถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับเทคโนโลยีการท�ำแผนที่ ดังตัวอย่างจากอินโดนีเซียเมื่อดัตช์เข้าไปตั้งอาณานิคมบนเกาะนิวกินี เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๒๘ ถึงต้องละทิ้งดินแดนนี้ไปในภายหลัง แต่ดัตช์เอง ก็ยังคงอ้างสิทธิเหนือดินแดนส่วนหนึ่งของเกาะที่อยู่ทางตะวันตกของ เส้นแวงที่ ๑๔๑ องศา๙ ทว่าในอีกหลายครั้งเช่นกันที่เขตแดนของรัฐชาติสมัยใหม่เกิด ขึ้นด้วยเหตุบังเอิญที่เกิดจากความเข้าใจในคนละมุมระหว่างเจ้าอาณานิคมทางตะวันตกและรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มี ดังที่ธงชัย วินิจจะกูล๑๐กล่าวถึงกรณีที่อังกฤษเรียกร้องให้มีการชี้เขตแดนระหว่าง สยามและพม่าตั้งแต่เชียงใหม่ไปจนถึงคอคอดกระ จุดสังเกตที่มีการ อ้างอิงเขตแดนของสยามถึงไม่เพียงแต่เป็นแม่น�้ำ ล�ำธาร ภูเขา แต่ยัง รวมไปถึงป่าไม้สัก ต้นมะปราง เจดีย์ ฯลฯ ในจดหมายดังกล่าวของ อังกฤษยังมีการอ้างถึงกรณีที่ผู้คนจากทั้ง ๒ ฝั่งของอาณาเขตเข้ามา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในมุมมองของอังกฤษ ทรัพยากรดังกล่าวควรมีการแบ่งแยกที่ชัดเจน แต่ในมุมของสยามนั้น เขตแดนไม่ควรเป็นการกีดกันผู้คนออกจากขนบหรือจารีต (วิถีชีวิต) ดั้งเดิมออกไป ท�ำให้ชนชั้นน�ำสยามยากที่จะก�ำหนดขอบเขตของรัฐ ตนเองได้โดยง่าย ดังนั้น ในที่นี้จึงอาจกล่าวได้ว่าเขตแดนในมุมมองของอังกฤษนั้น เป็นเขตแดนของความไม่เป็นมิตร (การกีดกัน) แฝงอยู่ คือเป็นเขตแดน ที่ต้องการตัดขาดทุกสิ่งทุกอย่างออกจากกันอย่างสิ้นเชิง แต่ในมุมของ รัฐชาติโบราณ (สยาม) เขตแดนดังกล่าวยังมีนัยของความเป็นมิตรและ การยินยอมให้ผู้คนสามารถข้ามไป-มาได้อยู่ เพราะตั้งอยู่บนฐานคิด และเทคโนโลยีที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม งานของธงชัยอีกเช่นกันที่ชี้ให้เห็นว่ารัฐโบราณ (กรณีของสยาม) มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนอยู่เหมือนกัน จาก การนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขอบเขต เขตแดน อาณาเขต ขอบ ขัณฑสีมา เป็นต้น เพียงแต่ความหมายของค�ำดังกล่าวนั้นไม่ได้ซ้อน


12 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

ทับสนิททีเดียวกับสิ่งที่อังกฤษเข้าใจเกี่ยวกับเขตแดนที่ต้องมีเส้นแบ่ง อย่างชัดเจน๑๑ ในระดับของชุมชนที่อยู่บริเวณเขตแดนของอาณาจักรก็มีเส้น แบ่งเขตแดนที่ค่อนข้างหนาอันเนื่องมาจากพื้นที่นั้นมักจะเป็นป่าไม้ หรือภูเขา และยังมีเขตแดนอีกประเภทที่รู้จักกันดีจากพื้นที่ชายแดน ระหว่างสยามและพม่าคือ “ด่าน” (ด่านที่นักประวัติศาสตร์คุ้นเคยกัน ดีคือ ด่านเจดีย์สามองค์ และด่านสิงขร) การเอ่ยถึงด่านในฐานะเขตแดนได้เผยให้เห็นถึงมิติของเขตแดน ที่ไม่ใช่แค่เส้นแบ่งชายแดนในเชิงของพื้นที่ แต่เป็นมิติของ “เส้นทาง หรือช่องทาง” ติดต่อระหว่างคนจาก ๒ อาณาจักรได้เช่นกัน กล่าวคือ หากเขตแดนแบบอังกฤษเป็นการลากเส้นกั้นเป็นทางยาวตั้งแต่เมือง เชียงใหม่จรดคอคอดกระ เส้นแบ่งแดนตามที่สยามนิยามมาแต่อดีต ในกรณีของด่านก็อาจเป็นเพียงเส้นกั้นสั้นๆ ที่ขีดไว้เฉพาะจุดที่เป็น เส้นทางติดต่อระหว่างอาณาจักร (ส่วนใหญ่ก็คือเส้นทางการค้าที่ใช้ กันมายาวนาน หรือเป็นช่องเขาตามธรรมชาติ) ยิ่งไปกว่านั้นเส้นแบ่ง สั้นๆ บนด่านเหล่านี้จะอยู่ในความสนใจของศูนย์กลางหรือไม่ก็ข้ึนอยู่ กับความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น หาก สยามและพม่าอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นมิตร เส้นเขตแดนในพื้นที่ ของด่านย่อมถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดและไม่อนุญาตให้มีการผ่าน แดนอย่างเสรี แต่ถ้าหากมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรแล้วด่านก็เป็น ช่องทางท�ำมาหากินที่ผู้คนสามารถผ่านไปมาได้ การทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับพรมแดนข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับชาติ และมุมมองของรัฐชาติต่อพรมแดน ตลอดทั้งบทบาทของความเป็น ชาติผ่านพื้นที่พรมแดน งานชิ้นต่อมาของ ปีเตอร์ ซาห์ลินส์ (Peter Sahlins) เป็นการโต้แย้งต่อความคิดที่เชื่อว่ารัฐก�ำหนดพรมแดนขึ้น ดังจะเห็นจากงานเรื่องชุมชนจินตกรรม (Imagined Communies) ของ เบน แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) ที่ว่าพรมแดนชาติ เป็นผลผลิตมาจากแนวคิดของรัฐชาติสมัยใหม่คอื เน้นรัฐทีเ่ ป็นผู้กระท�ำ แต่ซาห์ลินส์ได้ชี้ให้เห็นในมุมที่แตกต่างว่าคนและชุมชนเองสามารถ


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

13

มีส่วนร่วมในการก�ำหนดพรมแดนและนิยามตัวเองได้ด้วยเช่นกัน ในงานของเขาได้ ศึ ก ษากรณี ก ระบวนการสร้ า งชาติ แ ละอั ต ลักษณ์ชาติของชุมชนในหุบเขาเซอร์ดานยา (Cerdanya) ในเขตเทือก เขาพิ เ รนี ส (Pyrenees) ซึ่ ง เป็ น เขตแดนระหว่ า งประเทศฝรั่ ง เศส และสเปน เหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. ๑๖๕๙-๑๖๖๐ เมื่อกลุ่ม คนที่อาศัยอยู่หุบเขาดังกล่าวคือ กลุ่มชาติพันธุ์คาตาลัน (Catalan)๑๒ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างไปจากทั้งฝรั่งเศส และสเปน เผชิญกับสถานการณ์ที่ราชส�ำนักฝรั่งเศสและสเปนตกลง ที่จะแบ่งดินแดนกันที่หุบเขาดังกล่าว ความน่าสนใจที่ซาห์ลินส์เสนอ คือกระบวนการแบ่งนั้นไม่ได้ใช้วิธีการเดียวกับรัฐชาติสมัยใหม่ที่ตัดสิน จากศูนย์กลาง หากแต่ยึดตามวิธีการแบ่งของหมู่บ้านที่เลือกว่าจะอยู่ กับฝรั่งเศสหรือสเปน ซึ่งในท้ายที่สุดจะเห็นได้ว่าทั้งฝรั่งเศสและสเปน เองไม่ได้เป็นผู้ก�ำหนดเส้นแบ่งเขตแดนหรือสร้างความเป็นชาติให้กับ ชุมชนบริเวณชายแดนแต่เพียงฝ่ายเดียว ในทางกลับกันชุมชนต่างหาก ที่สร้างขอบเขตความเป็นชาติขึ้น โดยที่ความเป็นชาติดังกล่าวก็ไม่ได้ กระทบเขตแดนตามจารีตเดิมของท้องถิ่นเลย๑๓ ก่อนที่จะจบเนื้อหาในส่วนของแนวคิดเกี่ยวกับพรมแดน ผู้เขียน จะทิ้งท้ายด้วยประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างพรมแดนและชุมชนที่อยู่ ในบริเวณดังกล่าว ในงานของวิลสัน และดอนแนน เสนอว่าพลังอ�ำนาจ ของพรมแดนในรัฐชาติสมัยใหม่ได้แสดงออกผ่านความเปลี่ยนแปลง ทั้งในพื้นที่ทางนามธรรมและในทางกายภาพ หากพิจารณาเฉพาะกลุ่ม คนที่อยู่บริเวณพรมแดนที่ถูกแบ่งแยกจะเห็นว่า รัฐชาติได้สร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้กับชุมชนที่อยู่บนเส้นของพรมแดน/เขตแดนด้วย ซึ่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ รูปแบบ๑๔ คือ ๑. พรมแดนที่แบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ออกจากกันท�ำให้ความเป็น ชาติพันธุ์ได้มีการนิยามความหมายที่เพิ่มขึ้นภายใต้กรอบของรัฐ และ หลุดพ้นไปจากความหมายดั้งเดิม (เช่น การมีอัตลักษณ์ความเป็น เขมรและไทยรวมอยู่ด้วยกันในกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเขตไทย) ๒. ความเป็นชาติพันธุ์และความเป็นรัฐชาติถูกผนึกกันได้อย่าง


14 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

แนบสนิท กลายเป็นค�ำนิยามในความหมายที่หลอมรวมเอาความเป็น ชาติพันธุ์ไว้ภายในรัฐชาติ (เช่น ความรู้สึกถึงความเป็นไทยของกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย) ๓. แต่ในทางตรงกันข้าม จิตส�ำนึกทางชาติพันธุ์ที่มีความเป็น กลุ่มก้อนเป็นอันหนึ่งอันเดียว ท�ำให้การแบ่งพรมแดนไม่มีอิทธิพลต่อ ความแปลกแยกเลย (เช่น ชาวเขมรในไทยกับกัมพูชาที่รู้สึกถึงความ เป็นชาติพันธุ์เดียวกันแต่ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นคนชาติเดียวกัน) ด้วยแนวคิดของวิลสัน และดอนแนนข้างต้นนี้เอง ท�ำให้เห็น ว่าการกล่าวหาชาวบ้านในเขตชายแดนไทย-กัมพูชาว่าเอาใจออกห่าง ด้วยเห็นแก่ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกันนั้นคือ การที่ผู้กล่าวหาเชื่อว่า จิตส�ำนึกทางชาติพันธุ์นั้นมีความรุนแรงและมั่นคงเกินกว่าเขตแดน ของรัฐชาติจะตัดแบ่งได้ แต่ด้วยงานเดียวกันนี้เองที่แสดงให้เห็นว่าใน บางครั้งพรมแดนก็ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกขึ้นภายในกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การทบทวนแนวคิดในหัวข้อต่อไปจึงขยับมาสู่การมอง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐชาติและการนิยามตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์/ กลุ่มคนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับความหมายของรัฐชาตินั้นว่ามีการปรับ เปลี่ยนและเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง

พื้นที่ และการนิยามอัตลักษณ์ของผู้คน ในหั ว ข้ อ ที่ ผ ่ า นมาเป็ น เพี ย งงานส่ ว นแรกที่ ท บทวนให้ เ ห็ น พรมแดนในมิ ติ ท างรั ฐ ศาสตร์ แ ละการปกครองซึ่ ง พอจะท�ำ ให้ เ ห็ น การเปลี่ ย นแปลงทางความคิ ด เกี่ ย วกั บ พรมแดนในช่ ว งเวลา ประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อการแบ่งดินแดนระหว่างไทย-กัมพูชา แต่ในมิติของชุมชนและชาติพันธุ์ที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวนั้น ยังไม่ได้กล่าวถึง ความส� ำ คัญ ที่ต ้ อ งน� ำ มาทบทวนในที่นี้คือ ก่ อ นหน้ า การแบ่ ง


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

15

ดินแดนตามแนวทางของรัฐชาติสมัยใหม่พื้นที่ดังกล่าวเปิดกว้างต่อ การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างชุมชนและผู้คน แม้จะมีเส้นพรมแดน หนาๆ อย่างที่ธงชัยว่าปรากฏอยู่นั้น แต่เส้นดังกล่าวก็มิได้ปิดกั้นการ เดินทางของผู้คนตลอดไปจนถึงสร้างการนิยามตนเองให้กับผู้คนอย่าง ที่พรมแดนสมัยใหม่กระท�ำ ในหัวข้อนี้จึงให้ความสนใจไปที่มิติของพรมแดนที่ปรากฏอยู่ใน การนิยามของกลุ่มคนและชาติพันธุ์ ซึ่งผู้เขียนไม่ได้จ�ำกัดการนิยาม ไว้ที่การสังกัดในเชิงรัฐศาสตร์ (การเป็นส่วนหนึ่งของรัฐใดรัฐหนึ่ง) แต่ ครอบคลุมไปถึงการเป็นสมาชิกของชาติพันธุ์ การเกิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่แสดงให้เห็นการก่อร่างสัณฐาน ของชาติได้อย่างชัดเจนผ่านกระบวนการสร้าง “ราก” หรืออาจจะเห็น ได้จากงานของ ลิซ่า มัลก์กิ (Lisa Malkki) ที่กล่าวถึงการอุปมาของ ต้นไม้ว่าเปรียบได้กับความเป็นชาติ คนในชาติจึงมีที่ทางของตนเอง ไม่ว่าจะบนกิ่งก้าน ล�ำต้น ซึ่งในท้ายที่สุดทุกคนต่างก็หยั่งรากยึดโยง ตนเองไว้กับต้นไม้ต้นเดียวกัน มัลก์กิย้อนกลับไปท�ำความเข้าใจต่อ กระบวนการสร้างส�ำนึกลงบนแผนที่ ซึ่งเริ่มด้วยการพิจารณาแผนที่ ชาติพันธุ์วรรณนา (ethnographic map) ๒ ฉบับ ฉบับแรกถูกวาด ขึ้นก่อนแนวคิดชาตินิยม และฉบับที่สองวาดขึ้นหลังจากนั้น แผนที่ ฉบับแรกนั้นจะมองเห็นถึงความละลานตาของสีสันที่กระจัดกระจาย และไม่มีรูปแบบหรือรายละเอียดที่แน่ชัดของชาติพันธุ์ในโลก แต่ใน ฉบับที่สองซึ่งแนบไว้ด้วยแนวคิดทางการเมืองและชาตินิยมกลับเห็น ได้ชัดเจนถึงขอบเขตที่แยกออกจากพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งอาจมีจุดเหลื่อม ซ้อนกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และในแผนที่สุดท้ายนี้เองที่ชาติถูกระบุ ลงในแผนที่ที่มีขอบเขตอย่างชัดเจน ในกระบวนการดังกล่าวได้ก่อเกิดเป็นค�ำพื้นๆ ที่เกี่ยวข้องและเรา อาจจะลืมนึกถึงความหมายโดยนัยของค�ำเหล่านี้ไป อาทิ ค�ำว่า “ชาติ” (nation) ที่มักจะถูกอุปมาให้กลายเป็นค�ำเหมือนหรือมีความหมาย เช่นเดียวกับค�ำว่า “ประเทศ” (country) “แผ่นดิน” (land) และ “ดิน” (soil)๑๕ เมื่อชาติได้สร้างให้เกิดความจงรักภักดีต่อแผ่นดินเกิด จึงได้


16 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

เริ่มเห็นการอุปมาถึงการ “หยั่งรากและล�ำต้น” ลงแผ่นดินของต้นไม้ ที่ถูกอุปมาเป็นดั่งกิ่งก้านของตระกูล บรรพบุรุษ เชื้อชาติ และเลือด ดังนั้น จึงได้เริ่มมองเห็นถึงการอุปมาถึงความเป็นเครือญาติที่เกิดขึ้น ตามมา (แผ่นดินแม่ แผ่นดินพ่อ) หรือการอุปมาถึง “บ้าน” (แผ่นดิน เกิด) งานของมัลก์กิได้ต้ังค�ำถามต่อไปถึงการที่รัฐได้ท�ำให้เกิดรากที่ ผู้คนใช้ยึดโยงตัวเอง (รวมไปถึงอัตลักษณ์ของตนเอง) เข้ากับพื้นที่และ ความเป็นชาติอย่างแนบแน่น โดยได้ยกกรณีของกลุ่มผู้ลี้ภัย (refugee) ที่เปรียบได้กับคนที่ถูกถอนออกจากรากที่พวกเขาเคยยึดตนเองไว้ ในด้านหนึ่งแม้เขาจะชี้ว่าความเป็นชาติและรากเหล่านั้นอาจเป็นสิ่ง สร้าง (ตามที่มักจะถูกอ้างกันอยู่เสมอ) แต่เมื่อผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไร้ซึ่งชาติ หรือรากที่ตนจะอ้างถึงตนเองได้นั้นก็ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ที่แตกต่างกันออกไป จากกรณีศึกษาในกลุ่มชาวฮูตู (Hutu) เป็น ๒ แบบ ในแบบแรกคือ กลุ่มที่อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยพยายามรื้อฟื้น/สร้าง วัฒนธรรมดั้งเดิมเพื่อไม่ให้ลืมบ้านเกิด และแบบที่สองคือ กลุ่มที่เข้าไป ท�ำงานรับจ้างในเมืองหลายคนพยายามทิ้งรากเก่าของตน (ปฏิเสธ) และ แสวงหาวิถีชีวิตในแบบของคนเมือง ในตอนท้าย มัลก์กิเสนอว่า อัตลักษณ์ของคนเป็นสิ่งที่ลื่นไหล และเป็นกระบวนการ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างขึ้นด้วยตนเอง (selfconstruction) เป็นส่วนหนึ่งของการถูกจ�ำแนกจากคนอื่น เป็นส่วน หนึ่งของเงื่อนไข สถานะ การตีตรา เป็นอาวุธ เป็นโล่ป้องกัน เป็น รากฐานของความทรงจ�ำ และอื่นๆ อีกมากมาย และในประเด็นของ “ราก” นั้นลิซ่า มัลก์กิ ก็เห็นว่าในท้ายที่สุดรากไม่ได้หยั่งลึกอยู่เพียง ในสถานที่เดียว หากแต่สามารถเติบโตได้ในดินแดนอื่นซึ่งอาจก่อให้ เกิดรากที่แตกต่างไปจากเดิม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะตัดขาดออก จากรากเดิม ดังเช่นที่ผู้อพยพ คนพลัดถิ่นที่ยังคงทิ้งร่องรอยของความ ทรงจ�ำร่วมที่มีต่อพื้นที่และช่วงเวลาในจินตนาการถึงแผ่นดินเกิด/แผ่น ดินของบรรพบุรุษ๑๖ ปัญหาของภาพแทนความจริงเกี่ยวกับพื้นที่ (representation


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

17

of space) ในโลกยุคใหม่ที่สมควรน�ำมากล่าวถึงในที่นี้ซึ่งคล้ายคลึง กั บ งานของมั ล ก์ กิ ที่ ไ ด้ ก ล่ า วไปแล้ ว คื อ การทึ ก ทั ก เอาว่ า พื้ น ที่ ใ น ทางภูมิศาสตร์หนึ่งซึ่งในที่นี้คือขอบเขตของประเทศใดประเทศหนึ่ง ในโลกนี้มีการแยกออกอย่างชัดเจนจากพื้นที่ของประเทศใกล้เคียง และพื้นที่ดังกล่าวนี้เองก็ซ้อนทับอย่างสนิทแนบแน่นกับวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึง่ อาทิ วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมกัมพูชา และวัฒนธรรม ลาว โดยเชื่อว่าแต่ละประเทศนั้นต่างก็มีรากเหง้าของตนเองที่แตกต่าง ไปจากพื้นที่ข้างเคียงอื่น ในประเด็นนี้ อะคิล คุปตา (Akhil Gupta) ไม่ได้สนใจเพียงรากตามที่มัลก์กิให้ความสนใจ งานของเขาได้ขยายมา สู่เรื่องของการนิยามเรื่องของวัฒนธรรม ซึ่งเขาเห็นว่าความคิดดังกล่าว ท�ำให้เห็นปัญหาต่อการนิยามในเชิงสังคมศาสตร์อยู่ ๔ ประการ คือ ๑. การนิ ย ามถึ ง “วั ฒ นธรรม” ส� ำ หรั บ คนที่ อ าศั ย อยู ่ ต รง พรมแดน หรือคนที่เดินทางข้ามพรมแดนอยู่ตลอดเวลา อาทิ กลุ่ม แรงงานข้ามชาติ พ่อค้า ชนเร่ร่อน หรือกระทั่งนักธุรกิจ ซึ่งกรณีนี้ คุปตาได้ยกตัวอย่างถึงกลุ่มแรงงานของฟาร์มที่ใช้ชีวิตครึ่งปีในเม็กซิโก และอีกครึ่งปีในสหรัฐอเมริกา และในกลุ่มของผู้อพยพ ผู้ถูกเนรเทศ คนพลัดถิ่น ที่ไปสร้างสิ่งที่เรียกว่าเป็น “วัฒนธรรม” ของตนในประเทศ ใหม่ที่ตนอพยพไป อาทิ วัฒนธรรมอินเดียในอังกฤษ หรือวัฒนธรรม เขมรในอเมริกา ๒. ปัญหาของการระบุพื้นที่ทางวัฒนธรรมลงในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพียงหนึ่งเดียว ทั้งที่ในความเป็นจริงพื้นที่ภูมิศาสตร์ดังกล่าว ยังประกอบด้วยวัฒนธรรมอื่นอีกหลายวัฒนธรรม หรือกล่าวอีกทาง หนึ่งคือพื้นที่ดังกล่าวมีความเป็นพหุวัฒนธรรม ปัญหาที่จะตามมา คือเกิดการนิยามถึงวัฒนธรรมย่อยในพื้นที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง ๓. ในภาวะหลังอาณานิคม เกิดค�ำถามต่อค�ำว่าวัฒนธรรมว่า ประเทศที่เคยถูกปกครองโดยเจ้าอาณานิคมนั้นผ่านการปะทะประสาน ระหว่างเจ้าอาณานิคมและประเทศอาณานิคมซึ่งอาจท�ำให้เกิดภาวะ ของวัฒนธรรมลูกผสม (hybrid culture) หรือวัฒนธรรมใหม่ (new culture) ดังนัน้ จึงเกิดเป็นค�ำถามขึน้ ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างพืน้ ที่


18 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

และวัฒนธรรม และการเข้ามาแทนที่ของวัฒนธรรมใหม่ที่เข้าแทนที่ วัฒนธรรมในอาณานิคม ๔. ประเด็นเกี่ยวกับพื้นที่และวัฒนธรรมที่เชื่อว่าสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะข้อสมมติฐานที่ว่าพื้นที่เป็นตัวผลิตวัฒนธรรมนั้น อาจต้อง ถูกน�ำมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพราะตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นแล้ว ว่าพื้นที่อาจไม่สามารถยึดตัวคนไว้ได้ ดังนั้น การมองพื้นที่ในแบบเดิม (ซึ่งก็คือตามแนวคิดของรัฐสมัยใหม่) ที่ตัดแบ่งพื้นที่ต่างๆ ออกจาก กันนั้น ควรเปลี่ยนไปสู่การมองมิติที่เหลื่อมซ้อนกันของวัฒนธรรมที่ หลากหลายในพื้นที่เดียวกัน๑๗ หากย้อนไปดูงานศึกษาก่อนงานของคุปตา และมัลก์กิ มีความ พยายามที่จะก้าวข้ามเส้นทางภูมิศาสตร์และรัฐศาสตร์มาสู่การมอง พรมแดนทางวัฒนธรรม ซึง่ ความจริงแล้วจุดเริม่ ต้นส�ำคัญอาจจะเริม่ ขึน้ จากงานของนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษชื่อ เอ็ดมันด์ ลีช (Edmund Leach) เรื่อง The Frontiers of “Burma” (พรมแดนของประเทศ พม่า) เป็นการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาที่พยายามหาเกณฑ์การแบ่งกลุ่ม ชาติพันธุ์ในพม่า ในตอนต้นเขาชี้ให้เห็นว่าจากชื่อของงาน พม่าคือ พื้นที่ตรงกลางที่รับอิทธิพลระหว่างอารยธรรมที่ส�ำคัญต่อเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ๒ อารยธรรมคืออินเดียและจีน ดังนั้น จึงอาจจะมองได้ ว่าพื้นที่ของพม่าคือ “พรมแดน” (frontier) แบบหนึ่ง แต่หากคิดบน พื้นฐานของรัฐชาติสมัยใหม่เราจะไม่สามารถมองเห็น “เส้น” ที่จะแบ่ง ระหว่างอิทธิพลของอารยธรรมทั้งสองได้เลย เพราะฉะนั้นค�ำถามหลักในงานชิ้นนี้ของเขาจึงให้ความส�ำคัญกับ เกณฑ์การแบ่งพรมแดนทางวัฒนธรรม ลีชใช้เกณฑ์ในการแบ่งหลาย ประเภท เช่น ระบบนิเวศ (กลุ่มคนที่อยู่อาศัยในหุบเขาและบนภูเขา) ระบบการปกครอง (กษัตริย์และขุนนาง) และเกณฑ์ทางประวัติศาสตร์ ในเบื้องต้นลีชเห็นว่าพรมแดนทางภาษามักจะสอดคล้องหรือล้อไปกับ พรมแดนทางวัฒนธรรมและอ�ำนาจทางการเมืองอยู่เสมอ แต่เขาเห็นว่า แม้คนทีพ่ ดู ภาษาแม่ภาษาเดียวกันจ�ำเป็นต้องมีแรงยึดเหนีย่ วทางสังคม บางอย่างร่วมกัน แต่กไ็ ม่จำ� เป็นทีจ่ ะต้องมีบรรพบุรษุ หรือประวัตศิ าสตร์


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

19

ร่วมกันเสมอไป ลีชตั้งค�ำถามกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ภาษาเป็นตัวแบ่งว่า ไม่ควรเป็นเกณฑ์ที่น�ำมาใช้ได้ กรณีศึกษาในพม่าที่มองความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่น (อาศัยบนภูเขาและใช้ระบบขุนนางในการ ปกครอง) และไทยใหญ่ (อาศัยในหุบเขาและใช้ระบบกษัตริย์) ที่อยู่ อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงกันเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคนมีการหยิบยืม วัฒนธรรมของอีกกลุ่มมาใช้ อาทิ ธรรมเนียมปฏิบัติ การแต่งกาย และ ภาษา รวมถึงบางครั้งก็เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นคนอีกกลุ่มได้ เช่นกัน ในงานของลีชแสดงให้เห็นว่ามีการเปลีย่ นแปลงไปสูอ่ กี กลุม่ หนึง่ ทั้งในคะฉิ่นและไทยใหญ่๑๘ งานที่เห็นต่างจากของลีช โดยยังให้ความส�ำคัญกับความสัมพันธ์ ระหว่างชาติพันธุ์กับพรมแดนคือเรื่อง Ethnic Groups and Boundaries: The Social Organization of Culture Difference (กลุ่ม ชาติพันธุ์และพรมแดน : การจัดองค์กรทางสังคมของวัฒนธรรมที่ แตกต่าง) เขียนโดย เฟเดอริก บาร์ธ (Federik Barth) ทีเ่ ริม่ ตัง้ ค�ำถาม กับการค้นหาแก่นแกนหรือลักษณะร่วมทางวัฒนธรรม (cultural trait) ที่กลุ่มคนในวัฒนธรรมต่างๆ มีอยู่ร่วมกัน บาร์ธเสนอให้พลิกมุมในการศึกษาจากเดิมที่พยายามหาเกณฑ์ ในการจั ด แบ่ ง ด้ ว ยการมองลั ก ษณะร่ ว มทางวั ฒ นธรรมอย่ า งเป็ น วัตถุวิสัย (objective) หรือก็คือเชื่อว่าสามารถมองเห็นหรือจับต้อง ได้จากการสังเกต ข้อเสนอของเขากลับพลิกไปตั้งค�ำถามกับการนิยาม ถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และกลไกที่คนในสังคม/วัฒนธรรมเลือก ใช้เพื่อรักษาขอบเขต (boundary) ของกลุ่มตน หรือมีเงื่อนไขใดที่ ยินยอมให้คนกลุ่มอื่นสามารถข้ามเข้ามาได้ ด้วยเหตุนี้งานของเขาจึง สนใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ขึ้นระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตก ต่างทางวัฒนธรรม ในความเห็นของบาร์ธ กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) เป็นสิ่งสร้างทางสังคม และถูกสร้างขึ้นจากปัจเจกซึ่งเลือก นิยามและจัดการอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองตามแต่บริบทและ สถานการณ์ที่ตนเองก�ำลังเผชิญอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้ในคนคนหนึ่ง อาจมีการนิยามอัตลักษณ์ของตนได้มากกว่าอัตลักษณ์เดียว๑๙


20 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

ในแนวทางเดียวกันนี้เอง แอนโธนี โคเฮน (Anthony Cohen) สนใจว่าขอบเขตของชุมชน (community’s boundary) จะมีความ หมายต่อผู้คน (หรือผู้คนให้ความหมายต่อค�ำนี้) อย่างไร งานศึกษา ของเขาพบว่าขอบเขตของชุมชนจะถูกสร้างขึ้นโดยผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ กั บ คนอื่ น และเป็ น ผู ้ ที่ พ วกเขาต้ อ งการจะแยกคนเหล่ า นั้ น ให้ ต ่ า ง ไปจากตนด้วย งานศึกษาส่วนหนึ่งของโคเฮนศึกษากลุ่มคนในเมือง ที่รวมตัวกันเพื่อการค้า และชี้ว่าการรวมตัวกันของคนไม่จ�ำเป็นต้อง เป็นคนที่มาจากเชื้อสายเดียวกัน หรือชาติพันธุ์เดียวกัน แต่อาจเป็น เรื่องของการเอื้อต่อผลประโยชน์ร่วมกัน ส่งผลท�ำให้เกิดพรมแดนของ ชุมชนชาติพันธุ์ขึ้น๒๐ ความสัมพันธ์ระหว่างค�ำว่าความเป็นชาติพันธุ์ ชาตินิยม และ รัฐชาติ ถูกน�ำมาอธิบายได้อย่างน่าสนใจในงานของ อนันดา ราชา (Ananda Rajah) เขาได้หยิบยกกรณีของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงใน ประเทศพม่าและประเทศไทยขึ้นมาวิเคราะห์ โดยเฉพาะเหตุการณ์ ความรุนแรงและการสู้รบเพื่อแยกตนเองของชาวกะเหรี่ยงออกเป็นรัฐ อิสระจากการปกครองของพม่า ซึ่งน�ำมาสู่ค�ำถามที่ว่า การเคลื่อนไหว ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพม่าที่เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ จนมี การจัดตั้งเป็นกลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union- KNU) และมีกองก�ำลังในการสู้รบต่อต้านรัฐบาลพม่า (Karen National Liberation Army- KNLA) เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ในกระบวนการดั ง กล่ า วนั้ น ได้ แ สดงให้ เ ห็ น การก่ อ รู ป ของรั ฐ ชาติกะเหรี่ยง และความคิดชาตินิยมกะเหรี่ยง ขึ้นอย่างน่าสนใจ การ ท�ำความเข้าใจกระบวนการดังกล่าว ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ (Charles F. Keyes) แนะน�ำให้ย้อนกลับไปดูการเคลื่อนไหวของมิชชันนารี (คริสเตียน) ที่ท�ำงานอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งน่าจะเป็นปัจจัย ส�ำคัญของการสร้างจิตส�ำนึกความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง คายส์ย้อน ไปศึ ก ษาการท� ำ งานของอาณานิ ค มอั ง กฤษในพม่ า ที่ มี ก ารแบ่ ง กลุ ่ ม ชาติ พั น ธุ ์ ต ่ า งๆ และจงใจให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก ของความแตกต่ า งทาง ชาติพันธุ์/ชนชาติระหว่างชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เพื่อให้ง่าย


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

21

ต่อการปกครอง ในกรณีของกะเหรี่ยงเองมีการสร้างจิตส�ำนึกที่ส�ำคัญคือ การ สร้างภาษาเขียน (แต่เดิมชาวกะเหรี่ยงไม่มีภาษาเขียน) ให้เผยแพร่ เป็นวงกว้างซึ่งสามารถตีความได้ว่าภาษาเขียนดังกล่าวเป็นเครื่องมือ หนึ่งของการสร้างประวัติศาสตร์ร่วมของชาวกะเหรี่ยง โดยเฉพาะการ สวมทั บ เรื่ อ งเล่ า ของก�ำ เนิ ด และต�ำ นานของชนชาติ ก ะเหรี่ ย งเข้ า กั บ ต�ำนานทางศาสนาคริสต์ที่ได้แสดงถึงเรื่องราวการอพยพของชนชาติ กะเหรี่ยงข้ามทะเลทรายโกบีมาสู่ดินแดนพม่าในปัจจุบัน จนกระทั่ง ในภายหลังถูกรุกรานจากชนชาติพม่ากระทั่งต้องถอยร่นลงมาเรื่อยๆ เรื่องราวดังกล่าวยิ่งเป็นการสร้างจิตส� ำนึกร่วมของการถูกกดขี่และ บังคับ รวมไปถึงส�ำนึกทางชาติพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันเพื่อต่อต้าน การรุกรานนั้น เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคหลังอาณานิคมอุดมการณ์ทางชาติพันธุ์ ดังกล่าวเริ่มพัฒนาไปสู่ส�ำนึกของความเป็นชาติที่มีองค์ประกอบตั้งแต่ ๑. ภาษาในการสื่ อ สาร ได้ พั ฒ นาภาษาเขี ย นมาจากภาษา กะเหรี่ยงสะกอร์ (Sgaw) จนกลายมาเป็นภาษาแห่งชาติ แม้จะมีภาษา อื่นร่วมด้วยคือภาษาอังกฤษ หรือพม่าเมื่อต้องสื่อสารกับกะเหรี่ยงจาก พื้นที่อื่น ๒. จิตส�ำนึกร่วมทางชาติพันธุ์ คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นก�ำเนิด และการอพยพของชนชาติกะเหรี่ยง ๓. องค์กรทางการเมืองและกองทัพ ทั้งนี้ โครงสร้างขององค์กรเผยแผ่ทางศาสนาคริสต์ได้กลายมา เป็นพื้นฐานส�ำคัญในเครื่องมือเผยแผ่อุดมการณ์ โดยการใช้อักษร และสิ่งพิมพ์ (ส�ำนักพิมพ์) เป็นเครื่องมือของการขยายและผลิตซ�้ำ อุดมการณ์ ในขณะเดียวกันโรงเรียนและเครือข่ายต่างๆ ก็กลายเป็น พื้นฐานของการติดต่อเชื่อมโยงชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ต่างๆ จนท�ำให้ ดูเหมือนว่าความเป็นชาติกะเหรี่ยงเติบโตขึ้นจากประวัติศาสตร์ และ ระบบมิชชันนารีที่อุปถัมภ์อยู่ในพม่า๒๑ ในตอนต้น คายส์ได้ชี้ให้เห็นถึงการก่อรูปของการสร้างส�ำนึก ชาตินิยมกะเหรี่ยงในพม่ามาแล้ว งานของอนันดา ราชา ได้ตั้งค�ำถาม


22 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

ต่อไปว่าแล้วเหตุใดอุดมการณ์ชาตินิยมกะเหรี่ยงเหล่านั้นจึงไม่สามารถ ดึงดูดกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทยซึ่งก็มีอยู่จ�ำนวนไม่น้อย ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า เข้าร่วมกับขบวนการแบ่งแยก ตนเองดังกล่าว การตั้งค�ำถามของราชานี้วางอยู่บนข้อถกเถียงอยู่ ๒ ประการ ประการแรก แนวทางที่เชื่อว่ามีขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ชาติพันธุ์ข้ามชาติ (pan ethnic movement) หรือก็คือเชื่อว่าจิตส�ำนึก ทางชาติพันธุ์นั้นมีความรุนแรงจนถึงขั้นดึงดูดให้เกิดความรู้สึกร่วม และเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่กันคนละประเทศได้ ประการที่สอง เชื่อว่าพรมแดนของรัฐชาติสามารถที่จะปิดกั้น ความรู้สึกร่วมในความเป็นชาติพันธุ์ได้ ในค�ำถามนี้แน่นอนว่ามีข้อโต้แย้งอยู่บ้างว่าปัญหาของจิตส�ำนึก ชาตินิยมกะเหรี่ยงในพม่าคือสามารถดึงดูดได้แต่ชาวกะเหรี่ยงที่นับถือ ศาสนาคริสต์ร่วมกันเท่านัน้ เพราะสามารถเชือ่ มโยงและสือ่ สารได้ดกี ว่า ศาสนาอื่น และเมื่อส�ำรวจดูกลุ่มชาวกะเหรี่ยงในไทยก็พบว่ามีจ�ำนวน ไม่น้อยทีเดียวที่นับถือศาสนาคริสต์เช่นเดียวกันและก็ปรากฏว่ามีกลุ่ม เล็กๆ เช่นกันที่ให้การสนับสนุนอย่างลับๆ ต่อกลุ่ม KNU ในพม่า แต่ หากมองในภาพรวมแล้วจะเห็นว่าแม้ว่าจะมีชาติพันธุ์เดียวกัน (ในที่นี้ คือเชื้อชาติ-race) แต่ชาวกะเหรี่ยงในไทยก็ไม่ได้คาดหวังต่ออนาคต ว่าจะต้องมี “รัฐกะเหรี่ยง” ดังเช่นที่เกิดขึ้นในพม่า ดังนั้น อนันดา ราชา จึงได้ย้อนมาท�ำความเข้าใจกับบริบทของ ชาวกะเหรี่ยงทั้ง ๒ กลุ่ม โดยมองในประเด็นของรัฐที่เข้มแข็ง (Strong state) และรัฐที่อ่อนแอ (Weak state) เขาเปรียบรัฐไทยไว้ว่าเป็น รัฐที่เข้มแข็ง ในความหมายที่เห็นว่ารัฐเหล่านี้สามารถสร้างอุดมการณ์ ของความเป็นรัฐได้อย่างเบ็ดเสร็จและครอบง�ำผู้คนภายในชาติให้เชื่อ ในการเป็นส่วนหนึง่ ของรัฐอย่างไม่ตงั้ ข้อสงสัย สอดคล้องกับทีค่ ายส์๒๒ กล่าวถึงรัฐไทยไว้ว่าใส่อุดมการณ์ความเป็นชาติไทยลงไปในระบบการ ศึกษาจนท�ำให้อุดมการณ์ดังกล่าวฝังแน่นในส�ำนึก และรัฐไทยยัง ยินยอมให้มีการนิยามตนเองต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในลักษณะที่เป็นทวิ


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

23

ลักษณ์ อาทิ ไทย-จีน, ไทย-เขมร และ ไทย-กะเหรี่ยง เป็นต้น ในที่นี้ ชาวกะเหรี่ยงในไทยจึงรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ในขณะ เดียวกัน อนันดา ราชา มองพม่าว่าเป็นรัฐที่อ่อนแอ ในความหมายที่มี ความต้องการครอบง�ำทางอุดมการณ์ของรัฐน้อยจึงจ�ำเป็นต้องใช้กอง ก�ำลังทหารในการควบคุมให้ประชาชนยืนยัน/ยอมรับในความเป็นชาติ ของตน และนี่จึงเป็นสาเหตุให้อุดมการณ์ชาตินิยมกะเหรี่ยงสามารถ เติบโตขึ้นได้ในพม่า๒๓ จากงานทบทวนข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าการนิยามตนเองของผู้คน ต่อความเป็นชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และการเป็นสมาชิกของกลุ่มหรือ ชุมชนนั้น สามารถมองข้ามผ่านการยึดติดกับพื้นที่ (place) ได้ กล่าว คือ ในมิตินี้อัตลักษณ์ของผู้คนไม่จ�ำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับพื้นที่ใน ทางภูมิศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่ง และการนิยามตนเองของคนคนหนึ่ง ก็ไม่จ�ำเป็นต้องมีเพียงอัตลักษณ์เดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับบริบทในขณะที่ ผู้คนก�ำลังเผชิญอยู่ (อาจเป็นได้ทั้งในขณะที่พูด หรือในช่วงชีวิต) ซึ่ง มีปัจจัยที่หลากหลาย อาทิ การเอื้อประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในหัวข้อต่อไปจึงมุ่งไปที่การทบทวนในประเด็นอันเกิดจากภาวะ เมื่อผู้คนเดินทางข้ามพรมแดน หรือก็คือการเดินทางออกจากพื้นที่ ของรัฐชาติหรือดินแดนที่เชื่อว่ามีรากก�ำเนิดของคนเหล่านั้นอยู่ว่าได้ ส่งผลต่อการนิยามตนเองและอัตลักษณ์ของผู้คนเหล่านั้นอย่างไรบ้าง

ผู้คนในมิติของการเดินทาง ข้ามพรมแดนรัฐชาติ เนื้อหาในหัวข้อนี้เป็นการส�ำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคนกับ พรมแดนของรัฐชาติ ซึง่ งานทีน่ ำ� มาทบทวนนีป้ ระกอบด้วยประสบการณ์ และมิติที่หลากหลายของผู้คนที่เดินทางข้ามพรมแดน อาทิ ในฐานะ ของคนที่อาศัยอยู่ตามชายแดน แรงงานอพยพ และนักวิชาการผู้ได้รับ


24 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

ประสบการณ์ตรงจากการก้าวข้ามพรมแดน ขอเริ่มด้วยงานของ เจเนต คาร์ตเซน (Janet Cartsen) เป็น การศึ ก ษากรณี ห มู ่ บ ้ า นแห่ ง หนึ่ ง บนเกาะลั ง กาวี ประเทศมาเลเซี ย สถานการณ์ในระหว่างการเก็บข้อมูลภาคสนามที่คาร์ตเซนเผชิญคือ ชาวบ้านชักชวนให้ผู้เขียนเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อไปเยี่ยมเพื่อนฝูง และญาติพี่น้องที่ภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้เรือหาปลาแบบพื้น บ้าน คาร์ตเซนเกิดความรู้สึกไม่สบายใจกับการเดินทางโดยไม่ได้ผ่าน “ด่านตรวจคนเข้าเมือง” ซึง่ ในความรูส้ กึ ของผูเ้ ขียนแล้วคือการเดินทางที่ ไม่ปกติและผิดกฎหมาย ด้วยความคิดเช่นนั้นเองจึงเกิดความสนใจ ศึกษาและท�ำความเข้าใจเรื่องของการเดินทางข้ามพรมแดนระหว่าง ชาวบ้านและตัวผู้เขียนเอง คาร์ตเซนพบว่าชาวบ้านมีการเดินทางเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ทั้งในช่วงเวลาสั้นๆ และระยะยาว ระหว่างแผ่นดินใหญ่และเกาะ ลังกาวี ด้วยเหตุผลเพื่อการท่องเที่ยว การเยี่ยมญาติเป็นระยะเวลานาน ในบางครั้งก็กลายเป็นผู้อพยพในช่วงสั้นๆ บางครั้งก็ลงหลักปักฐาน ในบริเวณที่ห่างไกลจากบ้านเกิดของตน การอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวคาร์ตเซนได้เชื่อมโยงเข้ากับ เงือ่ นไขทางประวัตศิ าสตร์และลักษณะทางภูมศิ าสตร์ทอี่ ยูบ่ ริเวณตะเข็บ ชายแดนไทย-มาเลเซีย ในเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์สังคมโบราณ ในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ มี ลั ก ษณะอย่ า งที่ เชลลี่ เออร์ ริ ง ตั น (Shelly Errington) เรียกว่า สังคมที่ดึงดูดอ�ำนาจเข้าหาศูนย์กลาง (Absorptive center) สังคมลักษณะเช่นนี้จะมีอ�ำนาจที่เข้มข้นตรง บริเวณศูนย์กลางอ�ำนาจแล้วจึงค่อยแผ่วลงเรื่อยๆ (ลักษณะเดียวกับ การอธิบายถึงรัฐแบบปริมณฑลของวอลเตอร์สที่ได้ทบทวนไว้แล้วใน ตอนต้น) อาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างลักษณะดังกล่าวเปรียบได้กับแนวคิด ในระบบเครือญาติ (Kinship) ในสังคมของชาวลังกาวีและภาคใต้ของ ไทย ในสายตาของชาวบ้านในลังกาวีหมู่บ้าน/หรือหย่อมบ้านเปรียบได้ เสมือนศูนย์กลางที่รวมเอาเครือญาติอยู่อย่างเข้มข้น แต่เมื่อใดก็ตาม


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

25

ที่มีการแต่งงานออกไปแล้ว คนผู้นั้นก็จะกลายไปสู่ชายขอบโดยทันที (ในมุมกลับกันก็คือการย้ายไปสู่ศูนย์กลางอื่น) ดังนั้น การเดินทางข้าม จากลังกาวีไปสู่ประเทศไทยในสายตาชาวบ้านที่กล่าวว่าเป็นการเยี่ยม ญาตินั้นจึงไม่ได้อยู่ภายใต้ภาวะของการข้ามพรมแดนรัฐชาติ แต่ยังคง เป็นการเดินทางภายใต้ปริมณฑลของศูนย์กลาง (คือระบบเครือญาติ) เดียวกันนั่นเอง๒๔ ย้อนกลับมาที่ตัวมุมมองระหว่างชาวบ้านและคาร์ตเซน เรายัง จะเห็นมุมมองเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายภายใต้โลกทัศน์ที่แตกต่างออก ไป กล่าวคือ ส�ำหรับชาวบ้านการเดินทางข้ามเขตแดนรัฐชาติไม่ได้เป็น ปัญหาเพราะพวกเขาเดินทางภายใต้มโนทัศน์ทางวัฒนธรรม (ระบบ เครือญาติ) แต่ส�ำหรับผู้เขียนซึ่งเป็นนักวิชาการและอยู่ภายใต้มโนทัศน์ ของรัฐชาติแล้วมีเพียงปัญหาที่ว่าเป็นการเดินทางที่ถูกต้องหรือไม่ถูก ต้องตามกฎหมายเท่านั้น ด้วยความคิดเช่นนี้เองท�ำให้เห็นว่าชีวิตใน โลกสมัยใหม่มองการเดินทางที่เคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นปัญหา เพราะชีวิตของสังคมในโลกสมัยใหม่จ�ำแนกการเดินทางอยู่เพียงไม่ กี่ประเภท อาทิ เพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเวลาว่างจากการท�ำงาน การ เดินทางเพราะวิกฤต (ย้ายงาน ย้ายบ้าน) และมีสิ่งเร้าให้เดินทาง แต่ ในมโนทัศน์ทางวัฒนธรรมของสังคมอีกหลายกลุ่มในโลกการเดินทาง เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หรืออาจเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านของชีวิต ที่อาจเกี่ยวข้องกับเพศสภาวะ (ความเป็นชาย-หญิง) หรือการเปลี่ยน จากเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ ในมโนทัศน์แบบนี้จึงมองว่าเดินทางที่ย้ายไป-มา จึงไม่ใช่ปัญหาในชีวิต๒๕ งานชิ้ น ต่ อ มาเป็ น การศึ ก ษาแรงงานอพยพชาวเม็ ก ซิ กั น ที่ เ ข้ า มาท�ำงานในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางบริบทของ โลกที่ผู้เขียนคือ โรเจอร์ เราซ์ (Roger Rouse) นิยามว่าเป็นโลกที่ สับสนวุ่นวาย เป็นโลกของการตัดผ่านของเศรษฐกิจ ระบบของความ หมาย และชิ้นส่วนของอัตลักษณ์ที่กระจัดกระจาย เราซ์สนใจประเด็น แรงงานในยุคทุนนิยมตอนปลาย (Late capitalism) เปรียบเทียบกับ การวิเคราะห์พื้นที่ กล่าวคือหากมองในแง่ของพื้นที่ทางรัฐศาสตร์รัฐ


26 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

แคลิฟอร์เนียมีชายแดนที่ติดต่อกับประเทศเม็กซิโก และมีแรงงานที่ อพยพเข้ามาท�ำงานในแคลิฟอร์เนียเป็นจ�ำนวนมาก ความน่าสนใจของงานคือ เราซ์นำ� มโนทัศน์ที่มองความสัมพันธ์ ระหว่างศูนย์กลาง-ชายขอบ (center-periphery) มาใช้ศึกษาการนิยาม อัตลักษณ์ชาวเม็กซิกันเหล่านั้น และพบความสัมพันธ์ของพื้นที่ระหว่าง พื้นที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นสถานที่ท�ำงาน (เปรียบได้กับพื้นที่เมือง) และ เมืองแอกกิวลิลา (Aguililla) ประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ ตรงพรมแดนระหว่างอเมริกาและเม็กซิโก โดยเป็นเมืองที่ครอบครัว ของแรงงานอพยพเหล่านั้นอาศัยอยู่ (เปรียบได้กับพื้นที่ชนบท) ทั้งนี้ หากดูในมิติความเชื่อมโยงของความเป็นครอบครัวของแรงงานอพยพ เหล่านั้นจะท�ำให้เรามองไม่เห็นเส้นของพรมแดนรัฐชาติที่ชัดเจน ใน ทางกลับกันการมองแบบเป็นวงจร (circuit) ของความเป็นเมืองและ ชนบทที่เราซ์เปรียบเทียบไว้นั้น ท�ำให้ดูเหมือนว่าเมืองแอกกิวลิลากลาย เป็นส่วนหนึ่ง (คือภาคชนบท) ของแคลิฟอร์เนีย (ภาคอุตสาหกรรม) ไม่เพียงแต่มิติในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง เราซ์ยังชี้ให้เห็น ถึงมิติในทางวัฒนธรรม ในการที่แรงงานมีการติดต่อสื่อสารและข้าม ไป-มา ระหว่างวัฒนธรรมอเมริกันที่พวกเขาท�ำงานอยู่กับวัฒนธรรม เม็กซิกนั ในพืน้ ทีข่ องครอบครัว ท�ำให้เห็นว่าทัง้ คนงานเหล่านัน้ และผูค้ น ในเมืองแอกกิวลิลาได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่ถูกส่งผ่าน เข้ามา อันท�ำให้เกิดการมองวัฒนธรรมด้วยแว่น ๒ ชนิด (bifocality) เราซ์อธิบายว่าคือการที่คนเหล่านั้นมีการเปรียบเทียบวัฒนธรรมทั้งสอง อยู่ตลอดเวลา ท�ำให้ผู้คนมีการนิยามอัตลักษณ์ของตนในหลากหลาย รูปแบบ และท�ำให้ผู้คนมีวิธีการมองพื้นที่ในมุมมองใหม่ๆ รวมไปถึง มองว่าการเดินทางไม่ใช่อุปสรรคหรือเป็นปัญหาดังเช่นในอดีต๒๖ งานชิ้ น ต่ อ มาเป็ น การขยั บ ไปมองคนที่ เ ดิ น ทางข้ า มพรมแดน ที่ไม่ได้มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ประชิดติดกับถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ที่เดิน ทาง ความน่าสนใจของงานอยู่ที่ “เรื่องเล่า” ของผู้ที่เดินทางข้าม แดนยามที่เดินทางกลับมาสู่บ้านเดิมของตน เจน มาร์โกลด์ (Jane Margold) ศึกษากลุ่มแรงงานชายชาวฟิลิปปินส์ที่เดินทางไปท�ำงาน


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

27

ในตะวันออกกลาง สาเหตุท่ีน�ำงานชิ้นนี้มาทบทวนก็เพื่อเปิดให้เห็นว่า ในการศึกษาเรื่องการข้ามพรมแดนนั้นมีหลายมิติในการมอง เช่น มิติ เรื่องเพศสภาวะ (gender) ค�ำถามหลักของงานชิ้นนี้คือ “ความเป็น ชาย” (masculinity) ของแรงงานชายชาวฟิลิปปินส์ที่ถูกบ่มเพาะขึ้น ภายใต้สังคมแบบชายเป็นใหญ่ มีการปรับตัวอย่างไรเมื่อต้องปะทะ กับความเป็นชายในสังคมมุสลิม แม้ว่าจะเป็นสังคมแบบชายเป็นใหญ่ เช่นเดียวกัน แต่อยู่ภายใต้โลกทัศน์ และสถานภาพทางสังคมที่แตก ต่าง ผลที่เกิดขึ้นคือแรงงานชายชาวฟิลิปปินส์ถูกปฏิบัติอย่างเหยียด หยามและดูถูกเหมือนไม่ใช่มนุษย์ หรือเป็นทาส ซึ่งเป็นกระบวนการ สร้างระเบียบและการสถาปนาความเป็นชายของชายชาวตะวันออกกลาง ที่เหนือกว่าชายชาวฟิลิปปินส์ วิธีการศึกษาของมาร์โกลด์คือลงไปดูที่เรื่องเล่า (narrative) ของ แรงงานชายชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งพบว่าในเรื่องเล่าเหล่านั้นมักจะปกปิด ความเป็นชาย (ไม่พบเรื่องเล่าที่แสดงถึงความเก่งกล้าสามารถ หรือ ประเด็นที่จะเชิดชูในความเป็นชาย) ส่วนใหญ่มักจะเป็นการเล่าถึง ความโหดร้ายในสังคมของชาวอาหรับ ทั้งสภาพแวดล้อม ผู้คน บท ลงโทษที่ รุ น แรงส� ำ หรั บ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด และในบางเรื่ อ งเล่ า ก็ แ สดงให้ เห็นว่าผู้เล่ามองร่างกายของชนชาติอื่นในลักษณะที่เป็นเพียงวัตถุเช่น เดียวกับที่พวกเขาถูกมอง ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เล่าคนหนึ่งกล่าวถึง เหตุการณ์การลงโทษหัวขโมย และเกิดข่าวลือว่าขโมยดังกล่าวคือชาว ฟิลิปปินส์ พวกเขา (แรงงานชาวฟิลิปปินส์) ต่างภาวนาให้ไม่ใช่ และ เมื่อพวกเขาไปถึงสถานที่ลงโทษก็พบว่าเป็นชาวปากีสถาน ในเรื่อง เล่านี้ผู้เล่ากล่าวถึงอารมณ์ดีใจและการหัวเราะของชาวฟิลิปปินส์ใน เหตุการณ์ (และหัวเราะกระทั่งขณะเล่า) มาร์โกลด์ชี้ให้เห็นว่าในมุมมอง และอารมณ์ขนั ดังกล่าวของผู้เล่า อาจเป็นเพียงความพยายามหลบเลีย่ ง ที่จะรวมตัวเองเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ถูกกระท�ำอย่างโหดร้ายของ สังคมอาหรับ (ในมุมมองของผู้เล่า) ก็เป็นได้ ในมุมมองของผู้ฟังความ เป็ น ชายของผู ้ เ ล่ า (แรงงานชาวฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ) นั้ น ถู ก แสดงออกผ่ า น เรื่องเล่าของการผจญภัย และการต่อสู้เพื่ออนาคตของครอบครัวของ


28 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

พวกเขา๒๗ ปัญหาของงานศึกษาประเภทนี้คือจะเห็นเพียงทัศนคติของผู้เล่า เพียงด้านเดียว ในขณะที่ภาพของสังคมอาหรับที่พวกเขาปะทะด้วย นั้นมีลักษณะแบนราบ โหดร้าย เป็นบริบทที่แข็งกระด้าง และไม่เห็น ที่มาที่ไปของทัศนคติต่างๆ ที่ชัดเจนมากนัก แต่ก็ท�ำให้เห็นแง่มุมของ การข้ามพรมแดนของคนกลุ่มหนึ่งไปยังพื้นที่ของคนอีกกลุ่มหนึ่งนั้น มีเรื่องปริมณฑลของอ�ำนาจและการกดทับอัตลักษณ์ไปพร้อมกัน การทบทวนงานในหัวข้อสุดท้ายทั้ง ๓ งานนี้จึงต้องการแสดง ให้เห็นถึงการนิยามอัตลักษณ์ และการเดินทางที่มองจากผู้คนเป็น หลัก เราได้เห็นทั้งความพยายามลอดผ่านพรมแดนรัฐชาติ ด้วยการ นิยามผ่านพรมแดนทางวัฒนธรรมของชาวบ้านในเกาะลังกาวี หรือ การพยายามสลายพรมแดนรัฐชาติ ผ่านมิติเชิงเศรษฐกิจของแรงงาน ผู้อพยพชาวเม็กซิกันในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งมีมิติของการต่อรองและ ปรับตัวทางวัฒนธรรมแฝงอยู่ และในงานชิ้นสุดท้ายคือการนิยาม อั ต ลั ก ษณ์ ท างเพศของแรงงานชายชาวฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ที่ ต ้ อ งปะทะกั บ มโนทัศน์ชายเป็นใหญ่ในสังคมอาหรับ ซึ่งเป็นที่ที่ความเป็นชายของ ชาวฟิลิปปินส์ถูกกดทับและไม่สามารถแสดงออกได้ งานชิ้นนี้แสดง ให้เห็นถึงการดิ้นรนและปรับตัวผ่านเรื่องเล่าที่พวกเขาเล่าเมื่อกลับมา ยังบ้านเกิดแล้ว


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

29

เชิงอรรถ ๑ สัมภาษณ์

นายบุญเกิด แตะต้อง, ๒๕๕๔; และสามารถหาอ่านได้ใน หนังสือพิมพ์ในเวลานั้นหลายฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ. ๒ Leach ๑๙๖๐: ๕๐; Winichakul ๑๙๙๕: ๗๔. ๓ Winichakul ๑๙๙๙: ๗๔-๘๐. ๔ Leach ๑๙๖๐: ๔๙-๕๐. ๕ ในที่นี้ผู้วิจัยขอแยกให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนว่ารัฐโบราณนั้นให้ ความสนใจกับ “อาณาเขต” แต่อาณาเขตทีว่ า่ นัน้ ไม่ได้มกี ารนิยามถึง “เขตแดน” ของรัฐทีช่ ดั เจน ด้วยเหตุทวี่ า่ เส้นแบ่งเขตแดนนัน้ มาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งในการท�ำแผนที่ แบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นจริง และกลไกอ�ำนาจใน การควบคุมที่ท�ำได้ทั่วถึงเกือบทุกตารางนิ้ว ดังนั้นการก�ำหนดอาณาเขตของรัฐ โบราณจึงมักอ้างอิงถึงสถานที่ทางธรรมชาติหรือภูมิประเทศ อาทิ แม่นำ �้ เทือก เขา หรือภูเขา เป็นต้น ที่มีลักษณะโดดเด่น หรืออาคาร/สิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้าง ขึ้นเพื่อให้ผู้เดินทางสังเกตเห็นเป็นสัญลักษณ์ อาทิ เจดีย์ หรือศาล เป็นต้น ในประเด็นนี้มีตัวอย่างให้เห็นได้อยู่จากกรณีของชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีแนว เขาพนมดงรัก และปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป ๖ Wolters, ๑๙๙๙: ๑๐๗-๑๐๘. ๗ Wilson and Donnan, ๑๙๙๘: ๙. ๘ ในกรณีของพื้นที่พรมแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เราจะ เห็นความสัมพันธ์ทเี่ ป็นรูปธรรมคือพระธาตุคบู่ า้ นคูเ่ มืองทีอ่ ยูต่ ามริมล�ำน�ำ้ โขง ซึง่ ชาวลาวมักจะข้ามมาสักการะ หรือในกรณีของชาวเขมรจะเห็นได้จากพิธีกรรม ทางศาสนาและความเชื่อเรื่องผี อาทิ การเล่นมด ที่ชาวบ้านจากทั้ง ๒ ฝั่งของ เขตแดนคือไทย-กัมพูชาจะเดินทางข้ามไป-มาเพื่อร่วมพิธีกรรม ๙ เบน แอนเดอร์สน ั , ๒๕๕๒: ๓๒๐. ๑๐ Winichakul, ๑๙๙๕: ๗๐-๗๑. ๑๑ Winichakul, ๑๙๙๕: ๗๔-๘๐. ๑๒ ภาษาของกลุม่ ชาติพนั ธุค์ าตาลัน (Catalan) จัดอยูใ่ นกลุม่ ภาษาตระกูล โรมานซ์ (Romance) ชนกลุม่ นีก้ ระจายตัวอยูใ่ นเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ สเปนและบางส่วนของฝรัง่ เศส รัฐบาลสเปนยอมให้มเี ขตปกครองของตนเองขึน้ ด้วย และปัจจุบันเป็นภาษาทางการของประเทศอันดอร์รา (Andorra) ซึ่งเป็น ประเทศเล็กๆ บนเขตภูเขาทีต่ งั้ อยูร่ ะหว่างพรมแดนของประเทศสเปนและฝรัง่ เศส


30 ประวัติศาสตร์ผู้คน

บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร

พอดี และยังมีเมืองหลวงทีต่ งั้ อยูส่ งู ทีส่ ดุ ของทวีปยุโรปอีกด้วย ประชากรในเมือง นี้พูดได้ท้งั ภาษาคาตาลัน สเปน ฝรั่งเศส และโปรตุเกส ๑๓ Sahlins, ๑๙๙๘: ๓๑-๖๐. อนึ่ง กรณีนี้จะเห็นทั้งความเหมือนและ ความต่างกับพื้นที่วิจัย กล่าวคือ จากประวัติศาสตร์บอกเล่าของชุมชนเขตแดน ระหว่างชุมชนแต่เดิมซึ่งเป็นที่รับรู้ระหว่างกันนั้นคือเทือกเขาพนมดงรักที่แบ่ง ให้เป็นเขตเขมรสูงและเขมรต�่ำนั้น แต่เมื่อเกิดรัฐชาติสมัยใหม่ เขตแดนกลับถูก แทนทีด่ ้วยเส้นแบ่งตามแผนทีซ่ งึ่ ถูกสมมุตขิ นึ้ และไม่ปรากฏหมุดหมายใดๆ เลย บนสถานทีจ่ ริง วิธกี ารดังกล่าวสะท้อนถึงการแบ่งทีม่ าจากศูนย์กลางโดยไม่สนใจ จารีตแบบเดิมของท้องถิน่ ซึง่ ต่างไปจากกรณีของหุบเขาเซอร์ดานยา แต่ในขณะ เดียวกันการแบ่งเขตดังกล่าวก็ยงั คงอิงอยูบ่ า้ งกับการรับรูข้ องชุมชนในท้องถิน่ เอง ว่าเขตพื้นที่ภูเขา/ที่สูงเป็นเขตของกลุ่ม “ขแมร์ลือ” ส่วนเขตพื้นที่ลุ่ม/ต�่ำเป็นเขต ของ “ขแมร์กรอม” เพียงแต่สำ� นึกดังกล่าวไม่ได้ถูกน�ำมาใช้สำ� หรับการแบ่งดิน แดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ๑๔ Wilson and Donnan, ๑๙๙๘: ๑-๒๙. ๑๕ ในประเด็นของดินนี้เราอาจนึกภาพไม่ออกว่าจะแสดงออกถึงชาติได้ อย่างไร แต่ขอให้ลองนึกถึงผู้คนที่ใช้ดินเพื่อจินตนาการถึงแผ่นดินเกิด และมัก จะพบเรือ่ งราวทีค่ ล้ายคลึงกันอยูเ่ สมอถึงการน�ำดินของแผ่นดินเกิดติดตัวไปด้วย เมื่อต้องย้ายไปในถิ่นอื่น ๑๖ Malkki, ๑๙๙๗: ๕๒-๗๔. ๑๗ Gupta, ๑๙๙๗: ๓๔-๓๕. ๑๘ Leach, ๑๙๖๐. ๑๙ Barth, ๑๙๖๙ อ้างใน Donnan and Wilson, ๑๙๙๙: ๒๑-๒๒. ๒๐ Cohen, ๑๙๘๒ อ้างใน Donnan and Wilson, ๑๙๙๙: ๒๓-๒๕. ๒๑ Keyes, ๑๙๗๗ อ้างใน Rajah, ๑๙๙๐: ๑๑๐-๑๑๖; Keyes, ๑๙๙๔. ๒๒ Keyes, ๑๙๗๙. ๒๓ Rajah, ๑๙๙๐: ๑๐๒-๑๓๓. ๒๔ Cartsen, ๑๙๙๘: ๒๑๕-๒๓๕. ๒๕ ในประเด็นเทียบเคียงกันนั้น มุมมองต่อการเดินทางข้ามพรมแดนของ คนในพื้นที่ศูนย์กลางหรือที่ผ่านระบบการศึกษาของรัฐโดยที่ชีวิตไม่ได้อาศัยอยู่ ในพื้นที่ชายแดนอย่างจริงจังย่อมที่จะมีทัศนะในการข้ามพรมแดนไม่ต่างจาก เจเนต คาร์ตเซน คือมองว่าเป็นเรื่องถูกกับเรื่องผิดกฎหมาย แต่น่าตั้งค�ำถาม เช่นกันว่าชาวบ้านจะไม่รสู้ กึ เชียวหรือว่าก�ำลังท�ำผิดกฎหมายอยู่ เพราะครัง้ หนึง่


พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

31

ผู้เขียนเคยแอบเดินทางข้ามพรมแดนจากไทยไปดอยไตแลง ประเทศพม่า คน ขับรถซึ่งเป็นชาวไทยใหญ่ตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจึงห้ามไม่ให้ถ่ายรูป และปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แต่ที่คนขับไม่ค่อยกลัวมาก เพราะส่วนหนึ่ง ผู้เขียนคุ้นเคยกับวัฒนธรรมไทยใหญ่ และคนขับรถก็รู้จักทหารไทยใหญ่หลาย คน ดังนั้น การเดินทางข้ามพรมแดนแบบที่ ‘ไม่ถูกต้อง’ ตามกฎหมายหรือด้วย ความคิดทางวัฒนธรรมก็ดีจึงอยู่ภายใต้เงื่อนไขหลายๆ อย่างเช่น พัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อการสร้างเส้นพรมแดน การผ่อนปรนของทางการทั้ง สองฝ่ายที่รับรู้กันอยู่ในพื้นที่ชายแดน (พื้นที่พิเศษ) ความเข้มงวดของการตรวจ ตราพรมแดน รูปแบบของภูมศิ าสตร์ทสี่ มั พันธ์กบั รูปแบบของพรมแดน ลักษณะ ของอัตลักษณ์ทมี่ คี วามเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันทีช่ ว่ ยท�ำให้เกิดความกลมกลืนได้ ง่าย ฯ ในกรณีของชาวเขมรในไทยนั้นตระหนักรู้ดีถึงภาวะผิดกฎหมายไม่มาก ก็น้อยต่อการข้ามพรมแดน แต่ที่ไม่กลัวเพราะความสัมพันธ์ทางเครือญาติและ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เอื้อต่อการเดินทางข้ามพรมแดน ประเด็นนี้จะแสดง ให้เห็นในบทต่อๆ ไป ๒๖ Rouse, ๒๐๐๒: ๑๕๗-๑๗๑. ๒๗ Margold, ๒๐๐๒: ๒๗๔-๒๙๘.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.