ทวารวดีในอีสาน

Page 1


ทวารวดีในอีสาน


ภาพจากปกหน้า

ใบเสมาสลั ก ภาพพุ ท ธประวั ติ เ ต็ ม แผ่ น  จากเมื อ ง ฟ้าแดดสงยาง อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดแสดง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น

ลายเส้ น ใบเสมาสลั ก ภาพหม้ อ ต่ อ ด้ ว ยกรวย โดยมีการประดับตกแต่งกรวยด้วยลวดลาย

ภาพจากปกหลัง

(ซ้าย) ใบเสมาสลักภาพพระอินทร์และชายา จากเมืองฟ้าแดดสงยาง อ�ำเภอ กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น   (กลาง) พระพุทธรูปหินทรายจากเมืองศรีมโหสถ อ�ำเภอศรีมโหสถ จังหวัด ปราจีนบุรี จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี (ขวา) หอนางอุสา ภูพระบาท อ�ำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


ทวารวดีในอีสาน ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง

ราคา ๒๑๐ บาท


ทวารวดีในอีสาน • ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง  พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม ๒๕๕๘ ราคา ๒๑๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ทวารวดี ในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๒๘๐ หน้า.- -(ประวัตศิ าสตร์ศิลปะ). ๑. ศิลปกรรม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). I. ชื่อเรื่อง. 709.593 ISBN 978 - 974 - 02 - 1411 - 3

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • บรรณาธิการเล่ม : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม-ออกแบบปก : นุสรา สมบูรณ์รตั น์ • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที ่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ

ทวารวดีในอีสาน

ค�ำน�ำ บทน�ำ ค�ำจ�ำกัดความและข้อสับสนของค�ำว่า “ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ข้อสับสนว่าอาณาจักรทวารวดีจากภาคกลาง

มีอำ� นาจทางการเมืองการปกครองเหนือภาคอีสาน ข้อสับสนว่าทวารวดีในภาคกลางกับภาคอีสาน มีแบบแผนเดียวกันทั้งหมด ข้อสับสนว่าศิลปะทวารวดีที่ภาคอีสานอยู่แยกออกไป ต่างหากจากศิลปะเขมรที่ภาคอีสาน ข้อสับสนว่าศิลปะทวารวดีภาคอีสาน มีแบบแผนเดียวกันทั้งหมด

๑ เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองส�ำคัญในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสาน

(๘) ๒ ๗ ๘ ๑๐ ๑๑

๑๕ ๑๗

เมืองโบราณในลุ่มน�้ำมูลตอนต้น

๑๘ ๒๔ ๒๗ ๓๔

ระบบเมืองและชนชั้นปกครอง : ข้อสังเกตจากจารึก

๓๗

๓๘ ๓๙

เมืองโบราณในลุ่มน�้ำมูลตอนปลายคาบเกี่ยวกับลุ่มน�้ำชีตอนปลาย เมืองโบราณในลุ่มน�้ำชี เมืองโบราณในลุ่มน�้ำโขง

ปัญหาเรื่องชื่อดั้งเดิมของเมือง

ชนชั้นปกครองและผู้น�ำทางปัญญา


๒ พุทธศาสนาแบบทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดพื้นเมืองที่มีมาก่อนรับพุทธศาสนาของชาวทวารวดีอีสาน

๕๐ ๕๓

ประเพณีการท�ำหินตั้งหรือใบเสมา

๕๔ ๕๖ ๕๗

การวินิจฉัยลัทธิศาสนาของพระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีอีสาน

๖๓

เนื่องในคติเถรวาทและมหายาน พุทธศิลป์จากการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายต่างๆ และการผสมผสานกับความเชื่ออื่นในภาคอีสาน การเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปและพระพิมพ์กับปัญหาในการ แปลความลัทธินิกาย : ข้อพึงสังเกต

๖๗ ๗๙

ความเชื่อและความปรารถนาของการสร้างสมบุญกุศลในพุทธศาสนา

๘๔

๘๕ ๘๗

ประเพณีการปลงศพ เครื่องบวงสรวงบูชา

พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคอีสาน

ผู้สร้างปูชนียวัตถุและปูชนียสถาน

ความปรารถนาของการสร้างสมบุญกุศล

๓ เอกลักษณ์และความสัมพันธ์กับทวารวดีภาคกลางและเขมร : มุมมองผ่านพุทธศิลป์ ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะทวารวดีภาคอีสาน กับศิลปะทวารวดีภาคกลาง

พระพุทธรูปทวารวดีอีสานภายใต้แรงบันดาลใจ

๘๑

๙๖ ๙๗

จากทวารวดีภาคกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างพระพิมพ์ทวารวดีภาคกลาง กับทวารวดีภาคอีสาน ธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดีภาคกลางกับภาคอีสาน : จุดร่วมและจุดต่าง

๑๓๑

ศิลปะเขมรที่ผสมผสานในศิลปะทวารวดีอีสาน

๑๓๙

ลุ่มน�ำ้ มูลตอนต้น

๑๔๐ ๑๔๗ ๑๕๑

ลุ่มน�ำ้ โขง

๑๕๙

ลุ่มน�้ำมูลตอนปลายต่อเนื่องกับลุ่มน�ำ้ ชีตอนปลาย ลุ่มน�้ำชี

๑๐๕ ๑๑๖


ลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปในแต่ละลุ่มน�้ำ

๑๖๒

๑๖๒ ๑๖๘ ๑๗๓ ๑๗๙

ลุ่มน�้ำมูลตอนต้น

ลุ่มน�้ำมูลตอนปลายต่อเนื่องกับลุ่มน�ำ้ ชีตอนปลาย ลุ่มน�้ำชี ลุ่มน�้ำโขง

๔ ความหมายและความเชื่อของใบเสมาทวารวดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัตถุประสงค์ของการสร้างใบเสมาทวารวดีภาคอีสาน

๑๙๐ ๑๙๓

ใบเสมากับการแสดงเขตศักดิ์สิทธิ ์

๑๙๓ ๒๐๕ ๒๑๐

รูปแบบของใบเสมาทวารวดีภาคอีสาน

๒๑๑

ใบเสมากับประเพณีการสร้างหรืออุทิศบุญกุศล ใบเสมาในฐานะสิ่งสักการบูชา

การประดับตกแต่งที่พบได้ทั่วไป

การประดับตกแต่งแบบพิเศษของแต่ละพื้นที ่

บทสรุป บรรณานุกรม

๒๑๗ ๒๒๖

๒๕๗ ๒๖๑


คำ�นำ�

ทวารวดีในอีสาน

ศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมทวารวดี ใ นภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ มี ความน่าสนใจหลายประการ ในมิติหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ กับทวารวดีภาคกลางโดยมีพุทธศาสนาเป็นสื่อกลาง ในมิติหนึ่งก็มี ความสัมพันธ์กับศิลปะและวัฒนธรรมเขมรที่แผ่เข้ามายังภาคอีสาน และที่ส�ำคัญคือ ลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนศิลปะและวัฒนธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีการสร้างใบเสมาหรือหินตั้ง  แต่ เ ป็ น ที่ น ่ า เสี ย ดายที่ เ รื่ อ งราวของทวารวดี ใ นอี ส านมิ ใ คร่ มี ผู้ใดศึกษามากนักเมื่อเทียบกับศิลปะและวัฒนธรรมอื่นๆ เพราะเมื่อ กล่าวถึงทวารวดีก็มักจะนึกถึงโบราณสถานวัตถุและชุมชนโบราณ ในพื้นที่ภาคกลางเป็นหลัก และเมื่อกล่าวถึงภาคอีสานโดยทั่วไปก็มัก นึกถึงปราสาทหินและชุมชนโบราณตามวัฒนธรรมเขมร ท�ำให้ศิลปะ และวัฒนธรรมทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการกล่าวถึง ไม่มากนัก เชื่อมั่นว่าความรู้ความเข้าใจต่อศิลปะและวัฒนธรรมทวารวดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะช่วยเติมเต็มให้เห็นภาพความเป็นไปของ ดินแดนแห่งนี้ได้ จึงได้ค้นคว้าเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้นโดยปรับปรุง มาจากเอกสารค�ำสอน เรื่อง “ศิลปะและวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ” ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ๓๑๗ ๕๑๑ ศิลปะในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ระดับบัณฑิต

(8) ทวารวดีในอีสาน


ศึ ก ษา สาขาประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะ บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย  มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร และรายวิชา ๓๑๐ ๓๓๑ ศิลปะทวารวดีและศิลปะศรีวิชัย ระดับปริญญาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหา วิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการผลิตต�ำราและ เอกสารค�ำสอนของภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๕ หนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จลงได้ด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงาน และบุคคลต่างๆ อาทิ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งสนับสนุนงบประมาณในการค้นคว้าเรียบ เรียง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสังกัดกรมศิลปากร ซึ่งเอื้อเฟื้อข้อมูล และอนุญาตถ่ายภาพโบราณวัตถุ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ รองศาสตราจารย์ ดร. ศานติ ภักดีค�ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ซึ่งให้ค�ำปรึกษาทางด้านต่างๆ คุณภาวิดา จินประพัฒน์ ซึ่งช่วยจัดท�ำภาพลายเส้น คุณปิยนันท์ ชอบศิลป์ประกอบ ซึ่งช่วย ตรวจสอบค�ำสะกด ตลอดจนส�ำนักพิมพ์มติชนที่เปิดโอกาสให้หนังสือ เล่มนี้ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนในวงกว้าง ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง

ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง (9)


ใบเสมาสลักภาพพระอินทร์และชายา จากเมืองฟ้าแดดสงยาง อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัด กาฬสินธุ ์ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น

(10) ทวารวดีในอีสาน


โบราณสถานหมายเลข ๔ เมืองเสมา อ�ำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง (11)



ทวารวดีในอีสาน


บทน�ำ

ค�ำจ�ำกัดความ และข้อสับสนของค�ำว่า “ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”


เมื่ อ กล่ า วถึ ง  “ทวารวดี ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ” หรื อ “ทวารวดีภาคอีสาน” โดยทั่วไปก�ำลังหมายถึงศิลปะและวัฒนธรรม กลุ่มหนึ่งที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีอายุระหว่างราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย มีรูปแบบและคติความ เชื่อละม้ายคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทวารวดีภาคกลาง และมีความ แตกต่า งไปจากวัฒ นธรรมเขมรที่แ ผ่ ขยายอ�ำ นาจทางการเมือ งและ ทางวัฒนธรรมอยู่ในภาคอีสานสมัยนั้น แม้วา่ นักวิชาการคนส�ำคัญๆ ในระยะแรกเริม่ ศึกษาประวัตศิ าสตร์ ศิ ล ปะและโบราณคดี   เช่ น  สมเด็ จ ฯ กรมพระยาด� ำ รงราชานุ ภ าพ ศาสตราจารย์ ย อร์ ช เซเดส์  จะกล่ า วถึง ศิล ปะทวารวดีท่ีพ บในภาค อีสานโดยเฉพาะที่พบจากจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ ว่าแสดง ให้เห็นถึงขอบเขตทางการปกครองของอาณาจักรทวารวดีที่ภาคกลาง ว่ามีเหนือดินแดนแถบนี้ ดังความว่า “...เขตต์แดนของอาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีแจ้ง  อยูใ่ นจดหมายเหตุจนี ดังนี ้ ตรงกับเขตต์แดนทีผ่ เู้ ทีย่ วหา  ของโบราณเคยค้นพบรูปซึ่งมีลักษณะของรูปครั้งสมัย  คุปตะ (คือตั้งแต่มณฑลนครราชสีมาข้างตะวันออกถึง  เมืองไชยาข้างตะวันตกเฉียงใต้)...” ๑ แต่ต่อมาเมื่อนักวิชาการเอ่ยถึงทวารวดีภาคอีสานมักไม่มีนัยที่ เกี่ยวข้องกับอ�ำนาจทางการเมืองการปกครองของทวารวดีภาคกลาง ภาคอีสานก็มีเมืองใหญ่อันเป็นศูนย์กลางของตนเช่นกัน เพียงแต่ว่า มีรูปแบบและคติที่คล้ายกับภาคกลางเท่านั้น ดังตัวอย่างความว่า “...ทางทิศตะวันออกศิลปะทวารวดีก็ได้แผ่ขยาย  ไปไกลจนถึงดินแดนแถบจังหวัดเพชบูร (เมือศรีเทพ)  จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ ์   (เมื อ งฟ้ า แดดสู ง ยาง) และจั ง หวั ด  ปราจีนบุรี (ดงศรีมหาโพธิ) ตลอดจนกระทั่งลงไปทาง  ทิศใต้ (ที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัด  ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง 3


นครศรีธรรมราช ฯลฯ) การที่ศิลปะทวารวดีได้แผ่ขยาย  ออกไปไกลเช่นนี้ ก็มิได้หมายความว่า ดินแดนอันกว้าง  ขวางเหล่านั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร  เพี ย งอาณาจั ก รเดี ย ว จากเหตุ ก ารณ์ ท างด้ า นประวั ติ  ศาสตร์ ซึ่ ง เราอาจทราบได้ จ ากดิ น แดนต่ า งๆ เหล่ า นี ้ โดยเฉพาะจากเมืองล�ำพูนและแหลมมลายู ท�ำให้เรา  ไม่อาจคิดได้ว่า ‘ศิลปทวารวดี’ เป็นศิลปะของอาณาจักร  ใดอาณาจักรหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการแสดงถึง  วัฒนธรรมแบบหนึ่งที่แพร่หลายด้วยการเผยแพร่ของ  พระภิกษุสงฆ์ไปตามทางคมนาคมของชาวบ้านซึ่งมีมา  ก่อนแล้ว...”  ๒ โดยทั่วไปนักวิชาการมักกล่าวถึงศิลปะและวัฒนธรรมทวารวดี ภาคอีสานไว้เป็นส่วนเดียวกันหรือต่อเนื่องกันกับทวารวดีภาคกลาง มูลเหตุหลักเป็นเพราะมีรูปแบบและคติที่เทียบเคียงกันได้ ทั้งนี้มิได้ หมายความว่านักวิชาการท่านนั้นมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง ทวารวดีภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะบ่อยครั้งก็ได้ กล่าวถึงความเป็นท้องถิ่นของทวารวดีอีสานควบคู่ไปด้วย เช่น “...ศู น ย์ ก ลางของอารยธรรมทวารวดี ที่ ส� ำ คั ญ  ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเขตอีสานเหนือ คือ เมืองฟ้าแดด  สงยาง... ลักษณะโดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่ามีความใกล้  เคียงกับทวารวดีในภาคกลาง เช่น รูปแบบของพระพักตร์  ที่เป็นพื้นเมือง พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตร  ค่อนข้างโต ขมวดพระเกศาใหญ่ แต่มลี กั ษณะทีแ่ ตกต่าง  จากทวารวดีในภาคกลางอย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุด และ  น่าจะถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสกุลช่างเมืองฟ้า  แดดสงยาง คือ พระโอษฐ์ที่แสดงอาการยิ้มและปลาย  พระโอษฐ์ทั้งสองข้างตวัดขึ้นอย่างมาก รวมทั้งหางพระ  เนตรที่ชี้ขึ้นเล็กน้อย” ๓ 4 ทวารวดีในอีสาน


หรือ “...การที่เราพบศิลปะทวารวดีแผ่ไพศาลไปทั่ว  ดินแดนสยามประเทศย่อมเป็นองค์พยานว่าในสมัยเมื่อ  พันสี่ร้อยกว่าปีมานี้มีบ้านเมืองอันได้รับความเจริญทั้ง  ศิลปะ วัฒนธรรม และศาสนาจากอินเดีย เจริญรุ่งโรจน์  อยู่ทั่วไปในดินแดนแหลมทอง นครน้อยใหญ่ไม่ต�่ำกว่า  สิบนครเหล่านี้คงครองความส�ำคัญทัดเทียมกัน ต่างก็  อยู่คนละถิ่น ย่อมแตกต่างทั้งเชื้อชาติและพื้นฐานทาง  วัฒนธรรม ดังเช่นนครทางภาคอีสาน นิยมสร้างใบเสมา  ขนาดใหญ่สงู ท่วมหัวท�ำด้วยศิลาทัง้ แท่ง จ�ำหลักเรือ่ งราว  จากชาดกในพระพุทธศาสนา ขณะเดียวกันเราไม่พบใน  กลุ่มนครทางภาคกลางเลย...” ๔

หรือ “...ศิลปะ ณ เมืองฟ้าแดดสูงยางนี้ เป็นศิลปะ  แบบทวารวดี แต่มิใช่หมายความว่า ที่น่ีคือส่วนหนึ่ง  ของอาณาจักรทวารวดีอันปรากฏในบันทึกของพระถัง  ซ�ำจั๋งนั้น อาณาจักรทวารวดีที่กล่าวถึงในบันทึกควรจะ  อยู่ลุ่มแม่นำ�้ เจ้าพระยาโดยตรง ส่วนเมืองฟ้าแดดสูงยาง  เป็นอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ร่วมสมัยกันและต้อง  เป็นอาณาจักรเก่าแก่ซึ่งได้รับคติความเชื่อบางอย่างตก  ทอดมาจากบรรพบุรุษในดินแดนแถบลุ่มแม่นำ�้ ชีนี้...” ๕

นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ในบางกรณีโบราณสถาน วั ต ถุ ข องภาคอี ส านได้ รั บ การจั ด ให้ เ ป็ น ทวารวดี ห รื อ ทวารวดี อี ส าน มิได้เกิดขึ้นจากความคล้ายคลึงกันกับภาคกลาง หากแต่ต้องการสื่อให้ เห็นว่าไม่ใช่ศิลปะและวัฒนธรรมเขมรที่แผ่มายังภาคอีสานในสมัยนั้น แม้ว่าลักษณะดังกล่าวจะมีความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมทวารวดี ภาคกลางอย่างชัดเจนก็ตาม ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้คือ การ ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง 5


เรียกประเพณีหินตั้งหรือใบเสมาในภาคอีสานว่าทวารวดี ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ แบบแผนของทวารวดีภาคกลางแต่อย่างใด ประเพณีหินตั้งหรือใบเสมามีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน อย่างยิง่  ซึง่ ต่างออกไปทัง้ จากทวารวดีภาคกลางและเขมรเป็นอย่างมาก ท�ำให้บางครัง้ นักวิชาการเรียกประเพณีนดี้ ว้ ยค�ำว่า “วัฒนธรรมพืน้ เมือง” หรือชื่ออื่นที่ให้ความหมายเดียวกันนี้แทน เช่น “...เสมาหิน ซึ่งเป็นของมีมาในสมัยก่อนลพบุรี...  ถ้าพูดถึงความแพร่หลายระหว่างเสมาหินกับปราสาทขอม  ในดินแดนภาคอิสานแล้ว เสมาหินมีพบทั่วไปจนอาจจะ  กล่าวได้ว่า เป็นลักษณะแบบอย่างวัฒนธรรมของอิสาน  โบราณ...”๖

หรือ “...วัฒนธรรมทีแ่ พร่หลายจากภาคกลางนัน้  เรียก  ในที่นี้ว่าเป็นวัฒนธรรมทวารวดีที่เห็นชัดได้แก่ลักษณะ  ศิลปกรรมซึ่งเป็นของเนื่องในพุทธศาสนา ได้เข้ามาผสม  กับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมของอีสาน ท�ำให้เกิดคติการ  สร้างเสมาหินปักตามเนินดินขึ้น...” ๗

การเรียกศิลปะและวัฒนธรรมทีพ่ บในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่คล้ายคลึงกับทวารวดีภาคกลางและแตกต่างไปจากเขมรด้วยค�ำว่า ทวารวดี หรือทวารวดีภาคอีสานนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีประการ ส� ำ คั ญ คื อ  ท� ำ ให้ เ ห็ น ภาพขึ้ น มาในทั น ที ว ่ า ก� ำ ลั ง กล่ า วถึ ง วั ฒ นธรรม พุทธศาสนาที่มีรูปแบบและคติคล้ายคลึงกับทวารวดีภาคกลาง ทว่า ข้อเสียก็มีหลายประการ หากไม่เข้าใจถ่องแท้ก็อาจท�ำให้เกิดความ สับสนขึ้นมาได้ เช่น ประการแรกท�ำให้สับสนไปว่าอาณาจักรทวารวดี จากภาคกลางมีอำ� นาจทางการเมืองการปกครองเหนือภาคอีสาน ประการ ที่ ๒ ท�ำให้สับสนไปว่าทวารวดีในภาคกลางกับภาคอีสานมีแบบแผน เดี ย วกั น ทั้ ง หมด ทั้ ง ที่ ใ นความเป็ น จริ ง มี ค วามแตกต่ า งกั น หลายๆ 6 ทวารวดีในอีสาน


ประการ ประการที่ ๓ อาจท�ำให้สับสนว่าศิลปะทวารวดีที่ภาคอีสาน อยู่แยกออกไปต่างหากจากศิลปะเขมรที่ภาคอีสาน แต่ในความเป็นจริง พบว่าศิลปะทั้งสองมีการแลกเปลี่ยนผสมผสานกันเสมอ ประการที่ ๔ ท� ำ ให้ สั บ สนไปว่ า ทวารวดี ใ นภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ มี แ บบแผน เดียวกันหมดทั้งภาค ทั้งที่ตามความจริงในแต่ละลุ่มน�้ำมีลักษณะของ ศิลปกรรมที่แตกต่างกันในรายละเอียด รายละเอียดของข้อที่อาจท�ำให้ สับสนทั้ง ๔ ประการข้างต้นมีหลักฐานโต้แย้งได้หลายกรณี ในส่วนนี้ จะยกตัวอย่างพอสังเขปเท่านั้น ดังนี้

ข้อสับสนว่าอาณาจักรทวารวดีจากภาคกลาง มีอ�ำนาจทางการเมืองการปกครองเหนือภาคอีสาน ข้อเข้าใจผิดประการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการเห็นว่าขอบเขต ทางวัฒนธรรมกับขอบเขตทางการเมืองการปกครองเป็นขอบเขตเดียว กัน หรือวัฒนธรรมแบบใดจะแผ่ขยายไปยังพื้นที่ใดๆ ย่อมเกี่ยวข้อง กับการเมืองการปกครอง ทัง้ ทีค่ วามเป็นจริงแล้วขอบเขตทางวัฒนธรรม กับขอบเขตทางการเมืองการปกครองนัน้ อาจไม่ใช่เรือ่ งเดียวกัน เป็นต้น ว่า ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็รับเอาวัฒนธรรมแขนงต่างๆ จากอิ น เดี ย มาใช้  ทว่ า ดิ น แดนแถบนี้ ก็ มิ ไ ด้ อ ยู ่ ภ ายใต้ ก ารเมื อ งการ ปกครองของกษัตริย์อินเดีย ในท�ำนองเดียวกันดินแดนประเทศไทย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เป็นต้นมา ยอมรับนับถือพุทธศาสนา จากศรีลังกา ซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่า พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ก็ ไม่ได้หมายความว่าบ้านเมืองในดินแดนไทยอยู่ภายใต้การเมืองการ ปกครองของกษัตริย์ศรีลังกา ด้วยเหตุนี้ศิลปะทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีรูปแบบ และคติเช่นภาคกลาง ก็มิอาจเป็นหลักฐานชี้ชัดถึงอ�ำนาจทางการเมือง การปกครองของทวารวดีภาคกลางเหนือดินแดนอีสานทั้งหมดได้ หาก แต่เป็นหลักฐานอย่างสังเขปที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม พุทธศาสนาระหว่างกลุ่มคนในภาคอีสานกับภาคกลางสมัยนั้น ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง 7


การระบุว่าในอดีตกาลดินแดนนั้นๆ อยู่ภายใต้การเมืองการ ปกครองของกษัตริย์พระองค์ใดต้องอาศัยข้อมูลจากจารึกเป็นส�ำคัญ อาทิ หากดินแดนไทยปรากฏพระนามกษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่ ณ ศูนย์ กลางในประเทศกัมพูชา ก็ควรหมายความว่าดินแดนไทยส่วนนัน้ ๆ อยู่ ภายใต้พระราชอาณาเขตของพระองค์ดว้ ย เห็นชัดเจนในรัชกาลพระเจ้า ชัยวรมันที ่ ๗ ทีพ่ บจารึกของพระองค์จำ� นวนมากตามอโรคยศาลาต่างๆ ในไทยย่อมชี้ชัดว่าพระราชอ�ำนาจของพระองค์มีเหนือดินแดนนั้นๆ ตราบจนถึงปัจจุบันมีจารึกที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ทวารวดีภาค กลางที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ ๑ หลัก ได้แก่ จารึกบน ฐานพระพุทธรูปจากวัดจันทึก อ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เขียนด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ กล่าวถึงพระเทวีของเจ้าแห่งทวารวดีโปรดให้พระธิดาสร้างพระพุทธรูป ขึ้น๘ พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นโดยใช้หินทรายอันเป็นวัตถุดิบที่หาได้ ง่ายในแถบจังหวัดนครราชสีมา และมีรูปแบบบางประการที่สัมพันธ์กับ ประติมากรรมในภาคอีสาน (รายละเอียดจะกล่าวถึงอีกครั้งในบทที ่ ๓) จึงมีความเป็นไปได้ที่พระพุทธรูปองค์นี้จะสร้างขึ้นในละแวกนี้ มิใช่ การเคลื่อนย้ายมาจากภาคกลาง ๙ พระธิดาองค์นี้อาจมีเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งที่ท�ำให้ต้องมาประทับอยู่ในพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด นครราชสีมาในปัจจุบัน หากข้อสังเกตนี้เป็นจริง จารึกหลักนี้จึงเป็น เพียงตัวอย่างเดียวที่แสดงถึงบทบาทของพระวงศ์แห่งทวารวดีในภาค กลางเหนือดินแดนภาคอีสาน ทว่าควรเป็นส่วนหนึ่งของภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น มิใช่พื้นที่ อีสานทั้งหมดแต่อย่างใด

ข้อสับสนว่าทวารวดีในภาคกลางกับภาคอีสาน มีแบบแผนเดียวกันทั้งหมด การเรี ย กศิ ล ปวั ฒ นธรรมกลุ ่ ม ที่ ไ ม่ ใ ช่ เ ขมรในภาคอี ส านว่ า ทวารวดี หรือทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ย่อมท�ำให้บางท่าน 8 ทวารวดีในอีสาน


เกิ ด ความเข้ า ใจผิ ด ว่ า ศิ ล ปวั ฒ นธรรมนี้ มี แ บบแผนเช่ น เดี ย วกั น กั บ ทวารวดีภาคกลางทั้งหมด ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วหาได้เป็นเช่นนั้น แม้ ว ่ า รู ป แบบของศิ ล ปวั ต ถุ ใ นภาคอี ส าน อาทิ  พระพุ ท ธรู ป พระพิ ม พ์   จะเป็ น หลั ก ฐานที่ ไ ม่ อ าจปฏิ เ สธถึ ง แรงบั น ดาลใจของ ศิลปวัฒนธรรมทวารวดีภาคกลางได้ ทว่าในขณะเดียวกันความแตกต่าง ระหว่างทวารวดีในภาคอีสานกับทวารวดีในภาคกลางก็มีมากมายหลาย กรณี จนไม่อาจกล่าวได้ว่าทั้งสองอยู่ภายใต้เครือข่ายศิลปวัฒนธรรม เดียวกันอย่างแนบแน่นใกล้ชิดตลอดเวลา ดังตัวอย่างสังเขปที่จะกล่าว ต่อไป ดังนี้ ประการแรก ศิลปวัตถุบางประเภทนิยมเพียงแค่ภาคใดภาค หนึ่งเท่านั้น เช่น ความนิยมท�ำหินตั้งหรือใบเสมากล่าวได้ว่าเป็นแบบ แผนโดดเด่นของอีสานก็พบได้น้อยมากในภาคกลาง ส่วนธรรมจักร หิน ลอยตัวและพระพุ ทธรูป ประทับ เหนือพนัสบดีซึ่งพบมากมายใน ภาคกลางกลับพบได้น้อยมากในภาคอีสาน สะท้อนถึงความนิยมชม ชอบหรือการสักการบูชาปูชนียวัตถุในพุทธศาสนาที่แตกต่างกันอย่าง ชัดเจน ประการที่ ๒ แม้ ศิล ปวัต ถุ บ างประเภทที่พ บทั้ง ในภาคกลาง และภาคอีสานมีรูปแบบที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทว่าขณะเดียวกัน ก็พบความแตกต่างด้วย อาทิ พระพิมพ์ที่พบทั้งในภาคกลางและภาค อี ส าน โดยในภาคอี ส านพบมากในลุ ่ ม แม่ น�้ ำ ชี  บางพิ ม พ์ มี ลั ก ษณะ เช่นเดียวกันกับที่พบในภาคกลางจนกล่าวได้ว่าเป็นพิมพ์เดียวกัน บาง พิ ม พ์ มี ค วามแตกต่ า งแต่ ยั ง พอเห็ น ถึ ง แรงบั น ดาลใจจากภาคกลาง ทว่าหลายพิมพ์ค้นพบเฉพาะบริเวณลุ่มแม่นำ�้ ชีเท่านั้น สะท้อนถึงความ แตกต่างในการสร้างพระพิมพ์ระหว่างภูมิภาคทั้งสองได้ (รายละเอียด จะกล่าวถึงในบทที่ ๓) ประการที่ ๓ การผสมผสานกั บ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมจากกั ม พู ช า อย่างใกล้ชิดของทวารวดีอีสาน ท�ำให้พุทธศิลป์ที่พบมีความแตกต่าง ทางด้านรูปแบบจากภาคกลางหลายประการ ซึ่งประเด็นนี้จะกล่าวใน หัวข้อถัดไป ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง 9


ข้อสับสนว่าศิลปะทวารวดีที่ภาคอีสาน อยู่แยกออกไปต่างหากจากศิลปะเขมรที่ภาคอีสาน การใช้ค�ำว่าทวารวดีหรือทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ ศิลปวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กัมพูชา มักท�ำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด ว่าศิลปวัฒนธรรมกลุ่มนี้กับศิลปวัฒนธรรมที่มาจากประเทศกัมพูชา อยู่กันคนละพื้นที่และไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งที่ในความเป็นจริง พบว่าศิลปวัฒนธรรมทั้งสองปรากฏร่วมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มากกว่า นั้นศิลปวัตถุบางชิ้นยังแสดงถึงการผสมผสานกันด้วย (รายละเอียด จะกล่าวถึงในบทที่ ๔) หลักฐานการอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมทั้งสองมีเป็นต้นว่า พระ พุทธรูปและพระโพธิสัตว์ส�ำริดจากบ้านฝ้าย อ�ำเภอหนองหงส์ จังหวัด บุรีรัมย์ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ส�ำริดจากปราสาทเขาปลายบัต อ�ำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยพระพุทธรูปมีแบบอย่างทั่วไป ตามแบบศิลปะทวารวดี ในขณะที่พระโพธิสัตว์มีแบบอย่างตามศิลปะ เขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร๑๐ อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงการอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมทั้งสอง ได้แก่ เมืองโบราณดงเมืองเตย อ�ำเภอค�ำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่ง พบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ข้อความหนึ่งเอ่ยถึงบุคคลหนึ่ง ที่ได้รับขนานนามว่า ศรีธรรมเสนะ การลงท้ายชื่อว่า “เสนะ” ท�ำให้นึก ถึงชื่อจิตรเสน ซึ่งเป็นพระนามเดิมของพระเจ้ามเหนทรวรมัน กษัตริย์ เขมรในยุคก่อนเมืองพระนคร เมืองโบราณแห่งนี้อาจมีความสัมพันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งกับอาณาจักรกัมพูชาสมัยโบราณก็ได้๑๑ นอกจากนี้ ภายในเมืองยังมีปราสาทอิฐแบบเขมรก่อนเมืองพระนครด้วย ทว่า ขณะเดียวกันก็พบหินตั้งหรือใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งจ�ำนวนหนึ่งปักอยู่บริเวณปราสาท เขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ตัวอย่างสุดท้ายที่จะยกมากล่าวในที่นี้คือ อิทธิพลการแต่งกาย แบบเขมรสมัยเมืองพระนครทีป่ รากฏในภาพบุคคลจากใบเสมากลุ่มวัด 10 ทวารวดีในอีสาน


พระพุทธบาทบัวบาน และวัดโนนศิลาอาสน์ อ�ำเภอบ้านผือ จังหวัด อุดรธานี๑๒ จากที่ ย กมาข้ า งต้ น นี้ จึ ง เป็ น หลั ก ฐานที่ แ น่ ชั ด ว่ า  ศิ ล ปะและ วัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับศิลปะและวัฒนธรรม เขมรได้อยู่ร่วมกัน ตลอดจนผสมผสานกันจนบางครั้งแยกออกจากกัน ไม่ได้

ข้อสับสนว่าศิลปะทวารวดีภาคอีสาน มีแบบแผนเดียวกันทั้งหมด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ครอบคลุม พื้นที่หลายจังหวัด  พบชุมชนโบราณที่ก�ำหนดว่าเป็นทวารวดีอีสาน กระจายตัวไปทัว่ ทัง้ ภาค แต่ปัญหาส�ำคัญคือเมืองใดควรเป็นศูนย์กลาง การเมืองการปกครองและศูนย์กลางทางวัฒนธรรม แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตามลุม่ น�ำ้ ต่างๆ ได้พบเมืองขนาดใหญ่ซงึ่ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ หนาแน่น อาทิ เมืองฟ้าแดดสงยาง อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองนครจ�ำปาศรี อ�ำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองเสมา อ�ำเภอ สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา  ทว่าก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าเมืองเหล่านั้นเป็น ศูนย์กลางที่แท้จริงหรือไม่ และขอบเขตอ�ำนาจของผู้ปกครองจะแผ่ ขยายออกไปไกลเพียงใด ครอบคลุมภาคอีสานทั้งหมด หรือเพี ย ง ส่วนใดส่วนหนึ่งของอีสานเท่านั้น เมื่อตรวจสอบกับหลักฐานงานศิลปกรรมยิ่งพบข้อสังเกตที่น่า สนใจ คือ ศิลปะทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมิได้มีแบบแผน เดียวกัน แต่ละพื้นที่ แต่ละลุ่มน�้ำ มีลักษณะเฉพาะบางประการของตน เป็นต้นว่า พระพิมพ์ดินเผาจะพบได้หนาแน่นในบริเวณลุ่มน�้ำชีตอน กลางแถบจังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด  รูปแบบของพระ พุทธรูปในแต่ละลุ่มน�้ำมีลักษณะบางประการที่แตกต่างกัน หรือแม้ กระทั่งหินตั้งหรือใบเสมาในแต่ละพื้นที่ก็มีลวดลายประดับที่ไม่เหมือน กัน (อ่านรายละเอียดในบทที่ ๓ และบทที่ ๔) สะท้อนให้เห็นว่าศิลปะ ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง 11


ทวารวดีในภาคอีสานไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันทั่วทั้งภาค หากแต่มี กลุ่มหรือสกุลช่างแยกย่อยไปอีก ข้อมูลดังกล่าวนีอ้ าจน�ำมาตัง้ ข้อสมมติฐานว่า ศูนย์กลางการเมือง การปกครองและศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของชุมชนที่ถูกนิยามว่าเป็น ทวารวดีอีสานอาจมีหลายแห่ง แต่ละแห่งอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกันใน ทางการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากแต่เกี่ยวข้องกันในทาง วัฒนธรรมมากกว่า จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเห็นได้ว่า “ทวารวดี” หรือ “ทวารวดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ซึ่งน�ำมาใช้เรียกศิลปะและวัฒนธรรมภาค ตะวันออกเฉียงเหนือในกลุ่มที่ไม่ใช่ศิลปะและวัฒนธรรมจากประเทศ กัมพูชา มีข้อพึงระวังที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้  อย่างไร ก็ตาม ชื่อเรียกนี้ยังคงเหมาะสมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะไม่สามารถ หาชื่ออื่นมาแทนได้อย่างเหมาะสม เพียงแต่ว่าการเรียกชื่อดั ง กล่ า ว คงต้องใช้อย่างระมัดระวังและเข้าใจถึงเงื่อนไขต่างๆ ด้วย

12 ทวารวดีในอีสาน


เชิงอรรถ ๑ ยอช เซเดส์, โบราณวัตถุในพิพธ ิ ภัณฑสถานส�ำหรับพระนคร (ม.ป.ท. : โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๑), น. ๓๐. ๒ จอง บัวเซอลีเย่, “ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑,” ทรงแปลโดย หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ศิลปากร ๑๑, ๕ (มกราคม ๒๕๑๑) : ๓๖-๓๗. ๓ ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่ม  ในดินแดนไทย (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๗), น. ๑๔๗. ๔ ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน�้ำ), “ศิลปะที่สืบต่อจากทวารวดี” ใน ศิลปะโบราณในสยาม (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๓๗), น. ๑๐๙. ๕ ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน�้ำ), “ศิลปะที่เมืองฟ้าแดดสูงยาง” ใน ศิลปะโบราณในสยาม (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๓๗), น. ๑๓๒-๑๓๓. ๖ ศรีศก ั ร วัลลิโภดม, “เสมาอิสาน,” เมืองโบราณ ๑, ๒ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๑๘) : ๙๐. ๗ ศรีศักร วัลลิโภดม, “อิสานระหว่างพุทธศตวรรษที่  ๑๒-๑๖,” เมือง  โบราณ ๓, ๑ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๑๙) : ๔๗. ๘ กรรณิ ก าร์   วิ ม ลเกษม และจิ ร พั ฒ น์   ประพั น ธ์ วิ ท ยา, “ชื่ อ ทวารวตี ในจารึกวัดจันทึก” ใน สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๒), น. ๓๙๐-๓๙๒. ๙ รุ ่ ง โรจน์  ธรรมรุ ่ ง เรื อ ง, “พระพุ ท ธรู ป ที่ มี จ ารึ ก  ‘ทวารวดี ’  จากนคร ราชสีมา : การกลมกลืนกับวัฒนธรรมเขมรและสกุลช่างพืน้ เมือง,” เมืองโบราณ ๓๖, ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๓) : ๙๔-๙๖. ๑๐ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล, “ประติมากรรมสัมฤทธิจ์ ากอ�ำเภอประโคน ชัย จังหวัดบุรีรัมย์” ใน ท่องอารยธรรม การค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณคดีใน  ประเทศไทย (กรุ ง เทพฯ : ธุ ร กิ จ ก้ า วหน้ า , ๒๕๔๐), น. ๑๙๖-๑๙๘.; และ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล, “ประติมากรรม ๔ รูป ทีค่ ้นพบใหม่ภายในประเทศ ไทย” ใน ท่องอารยธรรม การค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณคดีในประเทศไทย (กรุง เทพฯ : ธุรกิจก้าวหน้า, ๒๕๔๐), น. ๑๙๙-๒๐๒. ๑๑ สมเดช ลีลามโนธรรม, “การศึกษาการพัฒนาการของชุมชนเมือง โบราณดงเมืองเตย บ้านสงเปือย ต�ำบลสงเปือย อ�ำเภอค�ำเขื่อนแก้ว จังหวัด ยโสธร” (สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๘), น. ๓๗-๓๘.

ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง 13


๑๒ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับใบเสมากลุ่มนี้ได้ใน สุวิทย์ ชัยมงคล, อรุณ ศักดิ ์ กิง่ มณี และกัลญาณี กิจโชติประเสริฐ, ใบเสมากลุม่ พระพุทธบาทบัวบาน  อ�ำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๑)

14 ทวารวดีในอีสาน


๑ เมืองโบราณ ในวัฒนธรรมทวารวดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


หากพิจารณาว่าใบเสมาและศิลปวัฒนธรรมในพุทธศาสนาที่มี ความคล้ายคลึงกับทวารวดีภาคกลางและต่างไปจากศิลปวัฒนธรรม เขมร ซึ่ ง ก� ำ หนดอายุ ไ ด้ ร ะหว่ า งพุ ท ธศตวรรษที่  ๑๒-๑๖ หรื อ หลั ง จากนั้นเล็กน้อย ว่าเป็นทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว จะเห็น ได้ว่าวัฒนธรรมนี้กระจายไปทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสาน ทว่าความหนา แน่นแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ตามภู มิ ศ าสตร์ แ บ่ ง พื้ น ที่ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ออกเป็ น ลุ่มน�้ำใหญ่ๆ ได้ ๓ ลุ่มน�้ำ ได้แก่ ลุ่มน�้ำมูล ลุ่มน�้ำชี และลุ่มน�้ำโขง (ภาพลายเส้นที่ ๑) แต่ละลุ่มน�้ำมีเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน กระจายตัว อยู ่ ห นาแน่ น แตกต่ า งกัน ไป กล่ า วคือ  ลุ ่ ม น�้ ำ ชีห รือ ตอน กลางของภาคและส่วนคาบเกี่ยวระหว่างลุ่มน�ำ้ ชีตอนปลายกับลุ่มน�้ำมูล ตอนปลายในบริ เ วณจั ง หวั ด ยโสธร อ� ำ นาจเจริ ญ  และตอนบนของ จังหวัดอุบลราชธานี จะพบหลักฐานหนาแน่น ขณะที่ลุ่มน�้ำโขงและ ลุ่มน�้ำมูลตอนล่างในพื้นที่ใกล้กับประเทศกัมพูชา คือ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และตอนล่างของอุบลราชธานีมีความหนาแน่นรอง ลงไป ลักษณะของเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียง เหนือคล้ายคลึงกันกับเมืองในวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร กล่าวคือ ตั้งชุมชนบนโคกที่น�้ำท่วมไม่ถึง หลายเมืองจะท�ำก�ำแพงเมือง เป็นคูน�้ำและคันดินล้อมรอบ รูปทรงของก�ำแพงเมืองไม่สม�่ำเสมอหรือ ไม่ได้อยู่ในทรงเรขาคณิต ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยว่าเมืองนั้นๆ อยู่ใน ข่ายของวัฒนธรรมทวารวดีจากผังเมืองเพียงอย่างเดียวจึงท� ำไม่ได้ จ�ำเป็นต้องพิจารณาจากหลักฐานที่พบด้วย หากพบใบเสมาหรือวัตถุ ตามแบบทวารวดีก็จัดให้เป็นเมืองทวารวดีได้  อย่างไรก็ตาม จ�ำเป็น ต้องระลึกถึงเช่นกันว่าบางเมืองอาจพบได้ทั้งศิลปวัฒนธรรมทวารวดี และศิลปวัฒนธรรมเขมร แม้ว่าจะพบเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีจ�ำนวนมาก แต่เป็นที่ น่าเสียดายว่าเรื่องราวหลายประการไม่อาจทราบได้อย่างชัดเจน เช่น เมืองที่เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครอง นามเดิมของเมือง นาม 16 ทวารวดีในอีสาน


ภาพลายเส้นที่ ๑ พื้นที่ลุ่มน�้ำต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับปรุงจาก กร วรกวิน, แผนทีค่ วามรูท้ อ้ งถิน่ ไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ :  บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จ�ำกัด, ๒๕๔๗), น.​ ๒๗.

ของกษัตริย์หรือผู้ปกครอง เป็นต้น สถานภาพของเมืองและผู้ปกครอง ทราบได้จากจารึกที่พบในจ�ำนวนไม่มาก แต่ก็นับได้ว่ามีประโยชน์ใน การวิเคราะห์วินิจฉัยในหลายๆ ประการ

เมืองส�ำคัญในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสาน ลุม่ น�ำ้ ต่างๆ ปรากฏการกระจายตัวของเมืองโบราณในวัฒนธรรม ทวารวดีในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป เมืองหลักที่มีขนาดใหญ่และ พบโบราณสถานวัตถุหนาแน่นพบได้ในทุกลุ่มน�้ำ ทั้งนี้แต่ละลุ่มน�้ำมี รูปแบบศิลปกรรมที่แตกต่างกันไป มากกว่านั้นดูเหมือนว่าจารึกที่พบ ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง 17


จะแสดงให้เห็นถึงชื่อหรือต�ำแหน่งของผู้น�ำที่แตกต่างกันออกไปด้วย ท�ำให้คิดได้ว่ามีกลุ่มเมืองที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมทวารวดีอีสานหลาย กลุ ่ ม เมื อ ง หาใช่ มี ศู น ย์ ก ลางเพี ย งแห่ ง เดี ย วแล้ ว ขยายอ� ำ นาจทาง การเมืองและวัฒนธรรมไปทั่วทั้งภาค ตัวอย่างเมืองส�ำคัญที่อาจเป็น ศูนย์กลางในแต่ละลุ่มน�้ำมีดังต่อไปนี้

เมืองโบราณในลุ่มน�ำ้ มูลตอนต้น

เมื อ งโบราณในพื้ น ที่ ต อนต้ น ของแม่ น�้ำ มู ล มั ก พบวั ฒ นธรรม ทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรอยู่ร่วมกัน กระจายตัวอยู่ในเขตจังหวัด นครราชสีมาและบุรีรัมย์ เมืองเสมา อ�ำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (ภาพลายเส้น ที่ ๒ และภาพที ่ ๑) เป็นตัวอย่างเมืองส�ำคัญในพื้นที่นี้ คูน�้ำและคันดิน แบ่งพืน้ ทีเ่ มืองออกเป็น ๒ ส่วน พืน้ ทีท่ างเหนือเรียกว่าเมืองนอก พืน้ ที่ ทางใต้เรียกว่าเมืองใน รูปร่างของคูน�้ำและคันดินไม่สม�่ำเสมอ มีเส้น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางตามแนวเหนื อ -ใต้ ป ระมาณ ๑,๗๕๕ เมตร ตามแนว ตะวันออก-ตะวันตกประมาณ ๑,๘๔๕ เมตร เป็นที่น่าสังเกตว่ามีคูน�้ำ และคันดินรูปสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลางเมืองนอกด้วย ด้วยขนาดเมืองที่มีความใหญ่โตประกอบกับการค้นพบโบราณ สถานและโบราณวัตถุหนาแน่น จึงท�ำให้เชื่อได้ว่าเมืองเสมาเป็นเมือง ส�ำคัญในบริเวณต้นลุ่มน�้ำมูล จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าเมืองนี้มีการตั้งถิ่นฐานมา แล้วตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ อันตรงกับสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ประวัติศาสตร์ จากนั้นเมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์จึงปรากฏหลักฐาน วัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร๑ ทั้งนี้วัฒนธรรมเขมรที่เข้ามา ไม่ได้ท�ำให้วัฒนธรรมทวารวดีหายไป แต่ปรากฏควบคู่หรือผสมผสาน กันไป จึงพบได้ว่ากลางเมืองในมีศาสนสถานที่สร้างขึ้นตามวัฒนธรรม เขมรตามอย่างปราสาทต่างๆ ในกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กันกับอาคารและสถูปตามอย่างวัฒนธรรมทวารวดีภาค อีสาน  18 ทวารวดีในอีสาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.