โรเบิร์ต เพนน์ เขียน
ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล ราชินีตัวน้อย
6 8 13
1. ใจเพชร 2. หย่อนแฮนด์แทนระเบิด 3. ฟันเฟืองเรื่องโซ่ๆ 4. ต่อล้อต่อเฉียง 5. หลังอาน 6. เก้าอี้ตัวหนึ่ง
35 71 113 139 189 213
224 227 230
หนังสืออ่านเพิ่มเติม ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ กิตติกรรมประกาศ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ไม่ว่าจะเป็นใครในวงการไหนต่างก็มีความฝันจะจับจองอุปกรณ์ชิ้นสุด ยอดประจ�ำวงการกันทุกคน โรเบิรต์ เพนน์ หรือ “ร็อบ” ชายหนุม่ ผูค้ ลัง่ ไคล้จักรยานชนิดฮาร์ดคอร์ ตัดสินใจท�ำฝันของเหล่าคนรักจักรยานให้ เป็นจริง ออกเดินทางสร้างพาหนะสองล้อส�ำหรับตัวเองเพียงคันเดียว ในโลก แบบที่ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นต้องสนองสไตล์การขี่ของเขาแค่คนเดียว โดยเฉพาะ ร็อบตามหาชิ้นส่วนระดับต�ำนานทุกชิ้นอย่างกระตือรือร้นชนิด แทบอดใจไม่อยู่ ลงทุนบินรอบโลกเวียนพบปะผู้คนเบื้องหลังวงการ จักรยาน ไม่ว่าจะช่างชั้นเทพเดินดิน อดีตนักแข่งวัยเก๋า หรือนักธุรกิจ หนุ่มไฟแรง ร็อบรวบรวมมุมมองของเหล่าเซเลบ แซมด้วยประวัติศาสตร์ จักรยานที่ไม่ธรรมดาในส�ำเนียงยียวนแบบวัยรุ่น ไล่ตั้งแต่ต้นก�ำเนิด ที่ ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจให้เป็นพาหนะส�ำหรับถีบ ไปจนถึงเกมช่วงชิงประวัต ิ ศาสตร์ว่าใครกันแน่ที่คิดค้นจักรยานเป็นชาติแรก เรื่องราวน่าติดตาม เหล่านี้ชี้ว่าจักรยานไม่ใช่แค่พาหนะเรียบๆ ง่ายๆ ธรรมดาๆ ทว่าครั้ง 6 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
หนึ่งเคยเป็นพาหนะที่ตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์มากที่สุด ผู้ กรุ ย ทางสู ่ ม อเตอร์ ไ ซค์ รถยนต์ กระทั่ ง เครื่ อ งบิ น การเดินทางคว้าฝันของเขาก็ไม่ใช่แค่เรื่องของคนมีเงิน หรือหวัง แค่สนองตัณหานักสะสม มันเป็นการพิสูจน์ตนเองในฐานะนักปั่นน่อง เหล็กผู้เคยทัวร์รอบโลกมาแล้ว (แม้จะเป็นเพียงมือสมัครเล่นก็เถอะ) และพิสูจน์ต�ำนานเครื่องจักรสองล้อที่เขาหลงใหล ทุกชิ้นส่วนเทียบได้ กับศิลปกรรมชั้นยอดแห่งวงการ ของที่เรามองว่าดาษดื่นแสนธรรมดา อย่างโซ่ กระทั่งอานนั่งต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนต้องเลือกเฟ้นด้วย ความพิถีพิถันถึงจะเหมาะกับผู้ขี่ ถ้าไม่รักจริง ต่อให้มีเงินก็ทุ่มสุดตัว ไม่ได้ เรื่องราวของร็อบจะช่วยยืนยันว่าจักรยานเป็นมากกว่าของเล่น อันที่จริงเป็นมากกว่าพาหนะเสียด้วยซ�้ำ เพราะผู้ขับขี่กับจักรยานต้อง เป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั น ทั้ ง กายและใจ รับประกันว่าอ่านแล้วจะอดใจห้ามปั่นไม่ไหว ส�ำนักพิมพ์มติชน
อะไรๆ ก็จักรยาน 7
ค�ำน�ำผู้แปล
อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วอยากปั่นจักรยาน ขึ้นต้นค�ำน�ำหนังสือเกี่ยวกับจักรยานแบบนี้อาจจะดูเกร่อไปนิด แต่ผแู้ ปลก็อดไม่ได้จริงๆ เพราะส่วนหนึง่ ของหนังสือคือประสบการณ์การ เดินทางรอบโลกบนหลังอานของโรเบิร์ต ถ้าว่ากันตามประสาชาวสองล้อ โรเบิร์ตน่าจะเป็นหนึ่งในสุดยอดนักปั่นน่องเหล็กอีกคน เส้นทางทรหด ทั้ ง หลาย เขาเคยฟั น ฝ่ า มาหมดแล้ ว ไม่ ว ่ า จะเป็ น เส้ น ทางคุ น จี รั บ ใน ปากีสถาน เส้นทางดิ่งลงเขารีแพ็คในแคลิฟอร์เนีย หรือถนนตัดเทือก เขาฮินดูกูชในอินเดีย ส�ำหรับนักปั่นทั้งหลาย บันทึกของโรเบิร์ตจะชวน ให้คุณพาสองล้อคู่ใจไปตะลุยหนทางที่ทั้งยาวและยากล�ำบาก ส�ำหรับ คนที่แก้มก้นห่างหายจากอานมานาน คุณจะอยากกลับไปหยิบจักรยาน มาปัดฝุ่นและควบออกสู่โลกกว้างอีกครั้ง (ถึงจะปั่นไปซื้อผัดซีอิ๊วหน้า ปากซอยก็นับ) อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วอยากจอดจักรยาน จอดเพื่อลงมาเพ่งมองส่วนประกอบต่างๆ ในระยะประชิด ไล่ 8 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
ตั้งแต่แฮนด์ เฟรม เกียร์ หรืออาน ไปจนถึงชิ้นส่วนที่เราอาจมองข้าม ไป อย่างโซ่ ยางใน ถ้วยคอ ซี่ล้อ หรือจุกยางลม โรเบิร์ตบอกเราว่าราย ละเอียดยิบย่อยทั้งหลายล้วนส�ำคัญต่อตัวรถ ฉะนั้น เมื่อถึงคราวสร้าง จักรยานในฝันของเขาทั้งที ชิ้นส่วนทุกชิ้นจึงต้องอยู่ในระดับเทพ แม้จะ ต้องบินข้ามทวีปเพื่อตามหาพวกมัน เขาก็ยอม โรเบิร์ตคลั่งไคล้ราย ละเอียดระดับเข้าสายเลือด การเดินทางของเขาจึงไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย เพือ่ ไปช้อปปิง้ อย่างเดียว เขายังเจาะลึกกระบวนการผลิตของอุปกรณ์แต่ ละชิ้น เข้าพูดคุยเรื่องแนวคิดเบื้องหลังนวัตกรรมต่างๆ กับบรรดาผู้ผลิต ทั้งหลาย โรเบิร์ตจะพาเราไปหาค�ำตอบว่าอะไรคือความยอดเยี่ยมที่อยู่ เบื้ อ งหลั ง แบรนด์ ดั ง เหล่ า นั้ น อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วอยากล้างจักรยาน ล้าง ขัด อัดจาระบี และคอยประคบประหงมอย่างหวงแหน เพราะ กว่าจะเป็นพาหนะทีเ่ ราขีก่ นั อย่างสบายใจทุกวันนี ้ จักรยานฟันฝ่าอุปสรรค มานับไม่ถ้วน เรื่องราวความเป็นมาของมันเต็มไปด้วยบาดแผลและ การล้มลุกคลุกคลานของนักประดิษฐ์นับร้อยนับพัน โรเบิร์ตบอกเล่า ประวัตศิ าสตร์พวกนีค้ วบคูแ่ ง่มมุ ต่างๆ ทัง้ ด้านสังคม จิตวิทยา วิศวกรรม การตลาด วัฒนธรรม หรือเศรษฐกิจมหภาค น�้ำเสียงเป็นกันเองของ เขาท�ำให้ค�ำว่าประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยสีสันและมีอารมณ์ร่วม หลายๆ จังหวะขณะแปลหนังสือเล่มนี้ ผู้แปลรู้สึกเหมือนก�ำลังดูรายการแฟน พันธุ์แท้ผสมทีวีแชมเปี้ยน ความรักของโรเบิร์ตนั้นช่างเข้มข้นจนเรารู้สึก ได้ผ่านตัวอักษร ยิ่งอ่านก็ยิ่งคล้อยตามไปกับพี่แก เพราะฉะนั้น อย่า แปลกใจไปถ้า... อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วอยากกอดจักรยาน ธนชาติ ศิริภัทราชัย
อะไรๆ ก็จักรยาน 9
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ราชินีตัวน้อย >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> “เจ้าจงปีนป่ายอย่างแข็งขัน เพราะความฝันติดปีกนั้นรออยู่” จากบทกวีส�ำหรับเด็ก โกอิ้งดาวน์ฮิลออนอะไบซีเคิล (Going Down Hill on a Bicycle: A Boy’s Song) โดยเฮนรี่ ชาร์ล บีชชิง “ขอเชิญพบกับอนาคต” บุช แคสซิดี พูดพลางผายมือเชิญให้เอ็ตต้า นั่งบนแฮนด์จักรยานของเขา เสียงร้องเพลง ‘เรนดอรปส์คีปฟอลลิน ออนมายเฮด’ ของ บี.เจ. โทมัสดังคลอขึน้ ควบคูไ่ ปกับท�ำนองดนตรีแสน หดหู่ของเบิร์ต บาคารัค บรรเลงขับส่งบุชและเอ็ตต้า หนุ่มสาวสองคน บนหลังสองล้อออกปั่นจากโรงนาสู่ถนนคลุ้งฝุ่นภายนอก ฉากนี้ เ ป็ น หนึ่ ง ในฉากคั่ น เรื่ อ งประกอบดนตรี ที่ โ ด่ ง ดั ง ที่ สุ ด ใน วงการภาพยนตร์ เพลงดังกล่าวยังได้รางวัลออสการ์ประจ�ำปี 1969 ที่ ภาพยนตร์ เ รื่ อ งสิ บ สองชาติ ไ อ้ เ สื อ (Butch Cassidy and the Sundance Kid) เปิดตัวอีกด้วย บางส่วนของโปสเตอร์ภาพยนตร์ เป็ น ภาพทั้ ง สองนั่ ง เคี ย งข้ า งบนจั ก รยาน มี บั น ทึ ก ว่ า นั ก แสดง พอล นิวแมน โชว์ลีลาบนจักรยานด้วยตัวเอง ฉากคั่นเรื่องถือเป็นจุดพลิก ผันของเนื้อเรื่องนี้ มันไม่ใช่แค่การไล่ล่าระหว่างมือกฎหมายกับนักดวล ปืนวัยเก๋า แต่เป็นการไขว่คว้าอนาคต ที่ขณะเดียวกันก็วิ่งไล่หลังพวก เขาอยู่เช่นกัน และจักรยานก็เป็นสัญลักษณ์ของอนาคตนั้นๆ ในตอน อะไรๆ ก็จักรยาน 13
จบของฉากแหล่งกบดานที่โรงนา บุชปล่อยเจ้าสองล้อล�้ำยุคคันนั้นไหล ลงคูนำ�้ พร้อมตะโกนส่งท้าย “อนาคตอยูใ่ นมือเจ้าแล้ว เจ้าสองล้อซอมซ่อ” จักรยานบุโรทั่งนอนแอ้งแม้งอยู่กลางสายน�้ำ วงล้อไร้ก�ำลังค่อยๆ หยุด หมุน มันส่งเสียง “ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก” จนสงบนิ่ง ช่วงเวลาของบุชกับซันแดน ในแดนตะวันตกสิ้นสุดลงแล้ว พวกเขาเตรียมเดินทางสู่โบลิเวียไปก่อ วีรกรรมครั้งใหม่กันอีกรอบ วิ ล เลี่ ย ม โกลแมน อ้ า งอิ ง บทภาพยนตร์ ร างวั ล ออสการ์ นี้ จ าก ชีวิตจริงของโรเบิร์ต รีรอย ปาร์กเกอร์ และแฮร์รี่ ลอนกาบาฟ คู่หูโจร ปล้นรถไฟนามกระฉ่อนสังกัดแก๊งไวด์บรอน ทั้งสองทิ้งไวโอมิงและ ออกเดินทางสู่อาร์เจนตินาในปี 1901 ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ครั้งยิ่งใหญ่สิ้นสุดลงแล้ว ไม่ใช่แค่ที่แดนคาวบอยในอเมริกา แต่มันปิด ฉากลงทั่วทั้งโลกตะวันตก อนาคตอาจมาถึงเร็วเกินไปส�ำหรับผู้คนยุค 1890 ทศวรรษแห่ง นวัตกรรมต่างๆ เครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ชาวยุโรปเริ่มบุกล่าอาณานิคมในแอฟริกา พรรคแรงงานของอังกฤษ ถูกก่อตั้งขึ้น กีฬาสากลทั่วโลกเริ่มมีการแบ่งหมวดหมู่และก�ำหนดกฎ กติกา โอลิมปิกยุคใหม่เปิดฉากขึ้น เฮโรอีน ธาตุเรเดียมและกัมมันต- ภาพรังสีในแร่ยูเรเนียมล้วนถูกค้นพบในยุคนี้ โรงแรมวัลดอร์ฟ-แอส ตอเรียในนิวยอร์กและโรงแรมริตซ์ในปารีสเปิดด�ำเนินการ เดอร์ไคม์ ก่อตั้งแขนงวิชาสังคมวิทยา แนวคิดทางสังคมแบบใหม่อย่างสิทธิแรงงาน และเงินบ�ำนาญถูกบัญญัตขึ้น ตระกูลร็อกกี้เฟลเลอร์และแวนเดอร์บิล สามารถสะสมทรัพย์สินในระดับที่ไม่เคยมีใครเอื้อมถึงมาก่อน การ เอ็กซเรย์และการถ่ายท�ำภาพยนตร์ถือก�ำเนิด เหล่าศิลปิน นักคิด และ นักประพันธ์ ทั้งแวร์ดี, ปุชชีนี่, ไซคอฟสกี้, มาห์เลอร์, เซซานน์, โกแกง, โมเนต์, วิลเลี่ยม มอริส, มุงค์, โรแดง, เชคอฟ, อิบเซ็น, เฮนรี่ เจมส์, วิ ล เลี่ ย ม บั ต เลอร์ เยตส์ , รั ด ยาร์ ด คิ ป ลิ้ ง , ออสการ์ ไวล์ ด , โจเซฟ คอนราร์ด และโทมัส ฮาร์ด ี้ ล้วนอยูใ่ นช่วงความคิดสร้างสรรค์พลุง่ พล่าน 14 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ท�ำให้มันเป็นทศวรรษแสนวิเศษ ทศวรรษแห่งความ รุ่งโรจน์ของยุควิกตอเรีย หนึ่งในสิ่งส�ำคัญที่สุดแห่งยุคคือจักรยานนี่เอง ปี 1890 ทั่วทั้ง อเมริกามีผู้ขับขี่จักรยานอยู่เพียงหนึ่งแสนห้าหมื่นคน ซึ่งอาจเป็นเพราะ ราคาอันสูงลิบของมัน ที่ส�ำหรับผู้ใช้แรงงานทั่วไปแล้วต้องแลกมาด้วย รายได้กว่าครึ่งปี แต่เมื่อเข้าสู่ปี 1895 ราคาก็ลดลงมาอยู่ในระดับที่เงิน เก็บสองสามสัปดาห์ก็เอื้อมถึง นั่นช่วยเพิ่มจ�ำนวนนักปั่นหน้าใหม่กว่า หนึ่งล้านคนทุกๆ ปีนับจากนั้น จักรยานแบบที่บุชกับเอ็ตต้าปั่นนั้นเรียกว่า ‘ทรงเซฟตี้’ จักรยาน สมัยใหม่คันแรกเริ่ม มันเปรียบได้กับจุดสิ้นสุดของการเดินทางตาม หายานพาหนะก�ำลังมนุษย์อันยาวนาน จักรยานถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษในปี 1885 แต่ยุคทองของมันจริงๆ เริ่มต้นในอีกสาม ปีให้หลังเมื่อล้อยางอัดลมถูกเพิ่มเข้าไป ท�ำให้การขับขี่สะดวกสบายยิ่ง ขึ้น วิคตอร์ อูโก นักประพันธ์เลื่องชื่อเขียนไว้ว่า “เราอาจหยุดการโรม รันของกองทัพนับแสนได้ แต่หากความคิดใดปะทุขึ้นมาในช่วงเวลา อันเหมาะสม เราจะไม่อาจต้านทานมันได้เลย” เรื่องราวความวิเศษของ ยางลมแพร่กระจายไปทั่ว ผู้คนทุกสารทิศได้แต่ฉงนว่าเหตุใดของง่ายๆ แต่ทรงพลังชิ้นนี้ถึงไม่เคยมีใครคิดประดิษฐ์ขึ้นมา อุตสาหกรรมจักรยานนั้นเติบโตจากอุตสาหกรรมครัวเรือนมา เป็นภาคธุรกิจใหญ่ยักษ์ ในยุคนี้ จักรยานถูกผลิตด้วยระบบสายพาน เป็นครั้งแรก ส่วนประกอบแต่ละชิ้นถูกส่งมาจากโรงงานต้นทาง ส่วน ขั้นตอนการออกแบบถูกแยกออกจากกระบวนการผลิตหลัก ในปี 1890 หนึ่งในสามของการจดสิทธิบัตรในส�ำนักงานสิทธิบัตรอเมริกันล้วนแต่ เกี่ยวข้องกับจักรยานทั้งสิ้น อันที่จริงมีการตั้งอาคารรับดูแลสิทธิบัตร ด้านจักรยานในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยเฉพาะเสียด้วยซ�้ำ กรุ ง ลอนดอน ในปี 1895 มีผู้ผลิตกว่าสองร้อยรายร่วมแสดงจักรยานกว่าสามพันรุ่น ในมหกรรมจักรยานสแตนลีย์ งานใหญ่ประจ�ำปีของวงการ นิตยสาร อะไรๆ ก็จักรยาน 15
เดอะไซเคิลรายงานว่าปีนั้นอุตสาหกรรมสองล้อของอังกฤษผลิตจักร- ยานสู่ตลาดกว่าแปดแสนคัน ช่างกุญแจ ช่างท�ำปืน หรือใครก็ตามที่พอ มีฝีมือด้านงานโลหะ ต่างพากันทิ้งงานเก่าแล้วดาหน้าสู่โรงงานจักรยาน ช่วงรุ่งโรจน์ของการผลิต อย่างปี 1896 บริษัทจักรยานสหรัฐสามร้อย แห่งป้อนจักรยานเข้าตลาดมากกว่าหนึ่งล้านสองแสนคัน ส่งธุรกิจจักร- ยานขึ้นแท่นหนึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ หัวแถว ในวงการอย่างบริษัทโคลัมเบียเคยป่าวประกาศว่า ด้วยก�ำลังผลิตกว่า สองพันคนในโรงงานที่ฮาร์ตฟอร์ด รัฐคอนเนคติคัต พวกเขาผลิตจักร- ยานได้ในอัตราหนึ่งคันต่อหนึ่งนาทีเลยทีเดียว พอถึงสิ้นทศวรรษ จักรยานกลายเป็นพาหนะส่วนตัวของผู้คน หลายล้านคน มันเปรียบได้กับม้าแห่งปวงประชาอย่างแท้จริง นับเป็น ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชนชั้นแรงงานสามารถเดินทางไปไหนมาไหน ได้ด้วยตนเอง และเมื่อผู้คนเดินทางสะดวก ห้องแถวแออัดในเมืองก็ เริ่มว่างเปล่า ชานเมืองเริ่มขยายตัว และผังเมืองก็เปลี่ยนไป นอกจากนี ้ จักรยานยังช่วยกระจายความหลากหลายทางสายเลือดในชนบท จาก สถิติของอังกฤษในช่วงปี 1980 หลายนามสกุลเริ่มปรากฏให้เห็นไกล ออกมาจากพื้นที่ตั้งรกรากของต้นตระกูล จักรยานกลายเป็นตัวเร่งให้ เกิดโครงการพัฒนาถนนในหลายๆ แห่ง ซึ่งถือเป็นการปูทางให้แก่รถ ยนต์โดยปริยาย ข้ อ ดี ด ้ า นสุ ข ภาพของจั ก รยาน ตอบสนองกั บ ยุ ค สมั ย แห่ ง การ พัฒนาศักยภาพตัวเอง คนงานที่ปั่นจักรยานไปท�ำงานในโรงงานและ เหมือง เป็นคนคนเดียวกับที่ช่วยกันก่อตั้งชมรมออกก�ำลังกาย คณะ ร้องประสานเสียง เครือข่ายคนรักวรรณกรรม และห้องสมุดอีกหลาย แห่ง เมื่อถึงสุดสัปดาห์ พวกเขาจะมารวมตัวปั่นจักรยานด้วยกันใน สโมสร การแข่งขันจักรยานทั้งระดับมือสมัครเล่นและมืออาชีพถือว่า แพร่หลายไปทั่ว งานแข่งจักรยานในลู่กลางแจ้งและในสนามเวโลโดรม กลายเป็นกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของชาวอเมริกัน นักปั่นนามอาร์เธอร์ 16 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
เอ.ซิมเมอร์แมน ขึ้นแท่นดาวดังระดับนานาชาติคนแรกๆ ของวงการกีฬา เขาคว้าชัยกว่าหนึ่งพันสนามจากสามทวีปทั่วโลกทั้งระดับมือสมัครเล่น และระดับมืออาชีพ หนึ่งในนั้นคือเหรียญทองการแข่งขันจักรยานชิง แชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองชิคาโกเมื่อปี 1893 ขณะที่ทางฝั่งยุโรป การ แข่ ง จั ก รยานบนท้ อ งถนนเป็ น ที่ นิ ย มอย่ า งล้ น หลาม งานแข่ ง ระดั บ คลาสสิ ก เส้ น ทางลี แ อช-บาสตอญ-ลี แ อช และปารี ส -รู เ บซ์ จั ด ขึ้ น ครั้ ง แรกในปี 1892 และ 1896 ตามล�ำดับ ส่วนตูร์เดอฟรองซ์เปิดฉากครั้ง แรกในปี 1903 ชาวอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1890 เริ่มหลงใหลเสน่ห์ของความ เร็ว พวกเขายกความเร็วเป็นตัวแทนของความเจริญก้าวหน้าและความ ศิวไิ ลซ์ อเมริกนั ชนต้องการความเร็วในการสือ่ สารและคมนาคมเพือ่ สร้าง เอกภาพในประเทศอันกว้างใหญ่ไพศาลของพวกเขา และจักรยานท�ำให้ ภารกิจนั้นลุล่วงได้ ช่วงสิ้นปี 1893 นักปั่นในสนามหลายคนสามารถ ท�ำความเร็วได้มากกว่า 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จักรยานแซงม้าขึ้นมา ครองความเร็วอันดับหนึ่งบนท้องถนน ยิ่งเวลาผ่านไป เทคโนโลยีก็ยิ่ง พั ฒ นาให้ จั ก รยานเบาและเร็ ว ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ปี 1891 มอนที ฮอลไบน์ สร้างสถิติปั่นจักรยานยี่สิบสี่ชั่วโมงไว้ที่ระยะทางรวม 577 กิโลเมตร ณ สนามเฮิร์นฮิลล์เวโลโดรมในกรุงลอนดอน หกปีให้หลัง นักปั่นชาว ดัตช์สิงห์คาบซิการ์นามมาธิว กอร์แดง ท�ำลายสถิติเดิมของฮอลไบน์ไป อีก 400 กิโลเมตร รถจั ก รยานทั่ ว ไปในยุ ค นั้ น เป็ น ชนิ ด ล้ อ ฟิ ก ซ์ (ไม่ มี เ กี ย ร์ แ ละ ปล่อยล้อฟรีไม่ได้) เฟรมของมันท�ำขึ้นจากเหล็กกล้า แฮนด์ดร็อปเล็ก น้อย อานเป็นเบาะหนัง และโดยทัว่ ไปจะไม่มเี บรกมือ หากต้องการหยุด รถต้องใช้เท้าปั่นกลับหลัง จักรยานปกติจะหนักราว 15 กิโลกรัม ถ้า เป็นจักรยานแข่งน�้ำหนักจะต�่ำกว่า 10 กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปัจจุบัน พอสมควร ในวันที่ 30 มิถุนายน ปี 1899 ชาร์ลส์ เมอร์ฟี่ กลายเป็น นักปั่นที่โด่งดังที่สุดในอเมริกา หลังท�ำสถิติปั่นระยะทางหนึ่งไมล์ด้วย อะไรๆ ก็จักรยาน 17
เวลาเพียง 57.45 วินาที เมอร์ฟส่ี ร้างสถิตนิ ดี้ ว้ ยการปัน่ ไปบนไม้กระดาน ที่วางทาบเหนือรางรถไฟเกาะลองไอแลนด์ในนิวยอร์ก และใช้หัวรถจักร วิ่งน�ำหน้าเป็นตัวจับความเร็ว1 อิสระและความคล่องแคล่วของจักรยานตอบโจทย์ของสังคมสมัย นั้นได้เป็นอย่างดี จักรยานทรงเซฟตี้เข้าถึงผู้คนทุกกลุ่มทั้งชายหญิง คนตัวเตี้ย คนไม่แข็งแรง ผู้สูงอายุ หรือเด็กวัยรุ่น (จักรยานส�ำหรับกลุ่ม ดังกล่าวออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ช่วงต้นยุค 1890) นับเป็นครั้งแรกที่ใครๆ ก็ปั่นจักรยานได้ การผลิตระบบสายพานอุตสาหกรรมเมื่อผนวกกับ ตลาดรถมื อ สองที่ ผุ ด ขึ้ น เต็ ม ไปหมด เอื้ อ ให้ ผู ้ ค นทุ ก แห่ ง หนสามารถ เป็นเจ้าของจักรยานได้โดยง่าย สตีเฟ่น เครน นักเขียนร่วมสมัยชาว อเมริกันเคยเขียนว่า “จักรยานคือทุกสิ่งทุกอย่าง” ผลกระทบทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรยานน่าจะเป็นการ ท�ำลายก�ำแพงชนชั้นและก�ำแพงทางเพศ ประชาธิปไตยบนสองล้อนั้น ทรงพลังเกินผู้ใดจะต้านทาน เอช.จี. เวลส์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ชื่ อ ก้ อ งโลกใช้ จั ก รยานในนิ ย ายหลายๆ เรื่ อ งของเขา เพื่ อ สื่ อ ถึ ง การ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคมอังกฤษ ในนวนิยายเลื่องชื่อปี 1896 เดอะวีลส์ออฟแชนซ์ (The Wheels of Chance) ตัวเอกคือหนุ่มชน ชั้ น กลางล่ า งนามฮู ป ไดรเวอร์ ประกอบอาชี พ เป็ น ผู ้ ช ่ ว ยร้ า นขายผ้ า เรื่องมีอยู่ว่าครั้งหนึ่งในวันหยุดสุดสัปดาห์ ฮูปไดรเวอร์ออกปั่นจักรยาน เล่นแล้วได้พบกับหญิงสาวชนชั้นกลางสูง เธอออกจากบ้านมาตามหา อิสรภาพนอกเมืองบนอานจักรยาน เวลส์เสียดสีระบบชนชั้นของอังกฤษ และพรรณนาให้เห็นว่าจักรยานค่อยๆ กัดกร่อนมันอย่างไร ฮูปไดร- เวอร์และสุภาพสตรีผู้นั้นต่างเท่าเทียมกันบนท้องถนน เสื้อผ้าหน้าผม เมอร์ฟี่ชี้แจงว่า เขาอาศัยแรงดูดของอากาศหลังหัวรถจักรเป็นตัวช่วย เพื่อพิสูจน์ ให้เพื่อนๆ ที่ท้าพนันเห็นว่าเขาสามารถถีบจักรยานตามหัวรถจักรได้ทุกคัน ไม่ว่า จะเร็วแค่ไหนก็ตาม-บรรณาธิการ 1
18 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
กฎเกณฑ์ประเพณี กิริยาท่าทาง หรือมายาคติใดๆ ที่สังคมตั้งขึ้นเป็น ปราการระบบชนชั้น ล้วนหมดซึ่งความหมายลงเมื่อทั้งคู่แล่นจักรยานไป ตามถนนชนบทในซัสเซ็กซ์ นักประพันธ์ จอห์น กัลสเวิร์ทธี เขียนไว้ว่า “จักรยานผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจารีตและ ธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมมากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งปวง นับตั้งแต่ สมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่สอง อิทธิพลของมันทั้งทางตรงและทางอ้อม ท�ำให้ผู้คนแข็งแรงขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และกล้าพูดกล้าคิด วันหยุดสุดสัปดาห์เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ผู้คนมีท้องไส้ดี อีกทั้ง ยังมีสว่ นช่วยเรือ่ งอาชีพการงาน จักรยานท�ำให้เกิดความเท่าเทียม กันระหว่างชายหญิง ทั้งหมดทั้งมวลนี้เรียกได้ว่าจักรยานเป็น ดั่ง ‘การปลดแอกแห่งสตรีเพศ’”
ปรากฏการณ์จักรยานเกิดขึ้นประจวบเหมาะกับการเคลื่อนไหว ของลัทธิเฟมินิสม์ในสมัยนั้น จักรยานเป็นจุดเปลี่ยนหนึ่งในการต่อสู้ เรียกร้องสิทธิการเลือกตั้งของเพศหญิงอันยาวนาน ส�ำหรับผู้ผลิตแล้ว พวกเขาย่อมอยากให้ผู้หญิงปั่นจักรยาน พวกเขาออกแบบรูปทรงส�ำหรับ สุภาพสตรีมาตั้งแต่จักรยานยุคบุกเบิกในปี 1819 และเมื่อจักรยานทรง เซฟตี้เกิดขึ้น ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป การปั่นจักรยานกลายเป็นกีฬาอันดับ หนึ่ ง ของผู ้ ห ญิ ง พอถึ ง ปี 1893 ผู ้ ผ ลิ ต เกื อ บทุ ก รายต่ า งเร่ ง ผลิ ต รุ ่ น ส�ำหรับสุภาพสตรีออกสู่ตลาด ในเดือนกันยายน ปี 1893 เทสซี่ เรย์โนลด์สสร้างปรากฏการณ์ ระดับประเทศ เมื่อเธอออกปั่นจากเมืองไบรตันสู่กรุงลอนดอน แล้วปั่น กลับมาด้วยจักรยานทรงผู้ชายในชุดแบบบุรุษ เธอสวมเสื้อนอกตัวยาว คลุมกางเกงขายาวตัวโคร่ง การแต่งกายเช่นนั้นถือเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญ ที่ท�ำให้สังคมเริ่มยอมรับเสื้อผ้าที่เน้นประโยชน์ใช้สอยของผู้หญิง จากที่ โดยทัว่ ไปจะอยูใ่ นชุดกระโปรงบานใหญ่ทบั กระโปรงชัน้ ใน คาดล�ำตัวด้วย อะไรๆ ก็จักรยาน 19
คอร์เซ็ท สวมเสื้อแขนยาว ทับด้วยเสื้อคลุมแสนรุ่มร่ามด้านนอกอีกที ต่อมาเมื่อขบวนการอารยะขัดขืนเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งสตรีทวีความ เข้มข้นถึงจุดสูงสุดในปี 1912 ผู้คนมองย้อนกลับไปที่เหตุการณ์ของ เทสซี่ เรย์โนลด์ส และยกให้เป็นหลักไมล์ครั้งส�ำคัญของการเคลื่อนไหว
แอนนี่ ลอนดอนเบอร์รี่
เดือนมิถุนายน ปี 1894 แอนนี่ ลอนดอนเดอร์รี่ คว้าเสื้อผ้าและ ปืนลูกโม่ด้ามไข่มุกใส่กระเป๋า ออกเดินทางจากบอสตัน เป้าหมายของ เธอคือปั่นจักรยานรอบโลก ด้วยไหวพริบปฏิภาณและความหลักแหลม ผนวกกับเสน่ห์เฉพาะตัว แอนนี่โอบกอดการเรียกร้องความเสมอภาค ทางเพศอย่างชาญฉลาด เธอเป็นต้นแบบของ ‘สตรีสมัยใหม่’ ค�ำจ�ำกัด ความที่ สั งคมอเมริ กั น ใช้ เ รี ย กผู ้ ห ญิ ง ที่ มี บ ทบาทเที ย บเท่ า ผู ้ ช าย และ จักรยานนี่เองที่มอบพลังให้กับ ‘สตรีสมัยใหม่’ ดังที่นักประวัติศาสตร์ โรเบิร์ต เอ. สมิธ ขนานนามมันว่า ‘จักรกลแห่งอิสรภาพ’ ซูซาน แอนโธนีย์ แกนน�ำขบวนการสิทธิเลือกตั้งผู้หญิง กล่าว 20 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
ปลุกระดมไว้ว่า “การแต่งกายของแอนนี่คือการประกาศจุดยืนครั้งยิ่ง ใหญ่ เธอตระหนักว่าสตรีเท่าเทียมกับบุรุษเพศทั้งในเรื่องเสื้อผ้าและ เจตจ� ำ นงในการใช้ ชี วิ ต ” ซู ซ านเป็ น แกนน� ำ ผู ้ ห ญิ ง ในการปลุ ก ระดม และโด่งดังขึ้นมาเพราะถูกจับกุมหลังออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ในปี 1872 เธอให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กซันเดย์เวิลด์ ใน ปี 1896 ไว้ว่า “ฉันจะบอกอะไรเกี่ยวกับการปั่นจักรยานให้ฟัง ฉันคิด ว่ามันเป็นการปลดเปลื้องและให้อิสระแก่เพศหญิงมากกว่าสิ่ง อื่นใดในโลก...จักรยานท�ำให้หญิงสาวได้สัมผัสกับอิสรภาพและ ช่วยสอนเรื่องการพึ่งตนเอง...ในจังหวะที่ก้าวขึ้นนั่งบนจักรยาน เธอจะรู้ตัวทันทีว่าไม่มีสิ่งใดท�ำอันตรายเธอได้ตราบที่ยังนั่งอยู ่ บนนี้ และเมื่อปั่นออกไป อิสรภาพแห่งสตรีเพศก็ปรากฏเบื้อง หน้าเธอ”
สมัยที่บุชกับซันแดนซ์พากันมุ่งหน้าลงอเมริกาใต้ จักรยานเป็น ที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสังคม ในชั่ว เวลาหนึ่งทศวรรษ จักรยานก้าวข้ามจากการเป็นเพียงกิจกรรมยามว่าง ฉาบฉวยที่จ�ำกัดอยู่แค่ในกลุ่มชายหนุ่มผู้มั่งคั่ง ไปสู่การคมนาคมรูป แบบหนึ่ ง ที่ แ พร่ ห ลายที่ สุ ด บนโลกจวบจนทุ ก วั น นี้ จั ก รยานขึ้ น แท่ น หนึ่ ง ในสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ชั้ น ยอดของมวลมนุ ษ ย์ เคี ย งข้ า งนวั ต กรรมการพิ ม พ์ มอเตอร์ ป ั ่ น ไฟ ยาเพนนิ ซิ ล ลิ น และ อินเตอร์เน็ต คนรุ่นก่อนยกให้จักรยานเป็นความส�ำเร็จครั้งใหญ่แห่งยุค สมัย แนวคิดนั้นเริ่มกลับมาอีกครั้งเมื่อฐานะทางสังคมของจักรยานหวน คืนสู่กระแสหลัก จักรยานนับวันจะยิ่งหลอมรวมกับสังคมตะวันตกแน่น ขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากการออกแบบผังเมือง นโยบายขนส่ง นโยบาย สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงข้อมูลสถิติด้านการกีฬาและกิจกรรมนันทนาการ จนเริ่มมีวี่แววว่าขณะนี้เราอาจก�ำลังก้าวเข้ายุคทองของจักรยานอีกครั้ง อะไรๆ ก็จักรยาน 21
จักรยานอาจอธิบายได้ด้วยค�ำจ�ำกัดความสั้นๆ ว่า “พาหนะที่ประกอบ ด้ ว ยสองล้ อ กั บ ยางอั ด ลมติ ด เข้ า กั บ ตั ว โครงเป็ น เส้ น ตรง มี ต ะเกี ย บ หน้าเป็นแกนท�ำให้ล้อหมุนได้ ขับเคลื่อนด้วยแรงของผู้ขี่ ผ่านการถีบ บันไดที่ติดกับจานโซ่ซึ่งส่งก� ำลังไปยังฟันเฟืองล้อหลัง ” หลักการช่าง ของมันเรียบง่าย การปั่นจักรยานจะเร็วกว่าการเดินเท้าบนพื้นผิวทั่วไปถึงห้าเท่า ตัวทั้งที่ใช้แรงเท่าๆ กัน นี่ท�ำให้จักรยานเป็นยานพาหนะแรงมนุษย์ที่มี ประสิทธิผลที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา โชคดีอีกอย่างของเราคือจักรยานหัด ขี่ได้ไม่ยาก (ง่ายเสียจนญาติห่างๆ ของเราอย่างพวกลิงก็ยังปั่นได้) เมื่อ รู ้ วิ ธี ป ั ่ น จั ก รยานแล้ ว เราก็ จ ะไม่ ลื ม อี ก เลย ผมขี่จักรยานแทบทุกวันในชีวิตวัยผู้ใหญ่ แต่น่าแปลกที่ผมจ�ำ ไม่ได้ว่าสมัยเด็กนั้นปั่นจักรยานครั้งแรกเมื่อใด ผมไม่น่าจะลืมช่วง เวลาแห่งความสุขที่เราต่างเคยประสบกันนั้นได้เลย ช่วงเวลาในสวน เล็กๆ ที่ล้อช่วยพยุงถูกถอดออก ช่วงเวลาที่พ่อละมือจากการประคอง ปล่อยให้ผมเอนซ้ายเอนขวาค่อยๆ ปรับท่าทางจนอยู่ในจุดดุลยภาพ จุดที่ผมไม่มีทางปล่อยมือจากมันเป็นอันขาด น่าเสียดายที่ผมจ�ำช่วง เวลาเหล่านั้นไม่ได้ เอาเข้าจริงๆ กระทั่งจักรยานคันแรกผมยังจ�ำไม่ค่อย ได้เสียด้วยซ�้ำ จักรยานเก่าสุดที่พอจะนึกออกคือคันสีม่วง รูปร่างคล้ายมอเตอร์ ไซค์ช็อปเปอร์ย่อส่วน ยี่ห้อราเลห์รุ่นโทมาฮอว์ก จากนั้นผมก็เปลี่ยน ไปใช้ราเลห์รุ่นฮัสต์เลอร์ โครงยังเป็นสีม่วงเหมือนเดิม แต่แซมด้วยเทป สีขาวที่ด้ามจับ อาน กระบอกน�้ำ สายเคเบิล และยาง ทั้งคันขาวซะสม กับยุคเซเว่นตี้เลยทีเดียว พอผมโตเกินจะขี่มัน คุณยายก็เดินเอาอีกคัน มาให้ คันนี้เป็นยี่ห้อดอวส์รุ่นสามเกียร์ทรงโรดสเตอร์ส�ำหรับเด็ก สภาพ หง่อมคล้ายผ่านเจ้าของมาแล้วห้าคน ถ้าเทียบกับเจ้าฮัสต์เลอร์คันเก่า เรื่องความเท่ทันสมัย คันนี้แพ้ขาดลอย แต่เรื่องความเร็วนั้นระดับติดปีก ช่วงฤดูร้อนปี 1978 ผมปั่นวนเวียนอยู่แถวบ้านเช้าจรดเย็น พ่อแม่ 22 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
มองว่าผมกลายเป็นพวกคลั่งจักรยานไปแล้ว ต่อมาในฤดูใบไม้ผลิ ผม ได้คันใหม่เป็นเสือหมอบยี่ห้อไวกิ้งแบบสิบเกียร์สีด�ำขลับ คันนี้ถือเป็น สองล้อชั้นยอด จ�ำได้ว่าตอนพ่อพาไปซื้อ มันตั้งอยู่ในตู้โชว์หน้าร้านจักร- ยานแถวบ้าน แจ๊ก ลอนดอน นักวรรณกรรมชื่อดังชาวอเมริกันเคย เขียนไว้ “คุณเคยปั่นจักรยานไหม? มันเป็นสิ่งที่ท�ำให้ชีวิตเกิดมาคุ้มค่า! ลองได้จับแฮนด์ ขึ้นอาน แล้วปั่นออกไปล้มลุกคลุกคลานบนพื้นถนน ปั่นข้ามทางรถไฟ ข้ามสะพาน ลัดเลาะผ่านผู้คน พลางคิดในใจไปตลอด ทางว่าจะชนโครมเข้ากับอะไรหรือเปล่า นี่แหละ! ที่สุดของชีวิต!” ใช่ เลย ผมรู้สึกแบบนั้นเมื่อได้ปั่นเจ้าไวกิ้ง ส�ำหรับเด็กอายุ 12 ที่อยู่ไม่ เป็นสุขอย่างผม บางจังหวะผมรู้สึกราวกับก�ำลังโผบิน กว่าเท้าจะแตะพื้นและได้สติ ชีวิตผมก็ย่างเข้าสู่วัยรุ่นเสียแล้ว ไอ้ความรู้สึกคลั่งไคล้อยากลุกออกไปปั่นให้สุดเหวี่ยงบัดนี้มลายหายไป หมด ชีวิตผมผละจากจังหวะสองล้อและหันเหสู่จังหวะดนตรีทูโทน2 ดนตรีแขนงหนึ่งที่ได้รับความนิยมในอังกฤษยุค 1980-1990 ซึ่งน�ำเอาลูกเล่นทั้ง สกา พังก์ร็อก เร็กเก้ ยันนิวเวฟมาผสมผสานกันใหม่-บรรณาธิการ 2
อะไรๆ ก็จักรยาน 23
ในยุคนั้นแทน แน่นอน ผมยังคงปั่นจักรยานไปไหนต่อไหนอยู่บ้าง หลังจากตอนนั้นก็มีจักรยานผ่านเข้ามาในชีวิตอีกสองสามคัน แต่ผมก็ ไม่ได้ใส่ใจพวกมันมากนัก จนมาถึงช่วงเปิดเทอมปีสุดท้ายของชีวิตรั้ว มหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมห้องของผมมาพร้อมกับจักรยานสองตอนสีแดง เราพามันไปปัน่ รอบๆ จัตรุ สั จอร์เจียนอยูห่ ลายคืน จักรยานคันนัน้ เรียบๆ และสีแดงแปร๊ด เราจึงตั้งชื่อมันว่า ‘โอติส’
ปี 1990 ผมซื้อจักรยานเสือภูเขาคันแรกยี่ห้อซาราเซนซาฮารา มันผลิตในอังกฤษ เป็นจักรยานที่ไม่มีอะไรฉูดฉาดและแข็งแรงคันหนึ่ง ผมขี่มันจากเมืองคัชกาในมณฑลซินเจียงประเทศจีน ปั่นผ่านเทือกเขา การาโกรัมและฮินดูกูชสู่เมืองเปชาวาร์ในปากีสถาน ครั้นผมกลับมา ท�ำงานเป็นทนายที่กรุงลอนดอน ซาราเซนคันนี้ยังเป็นมากกว่าแค่ยาน พาหนะ มันเป็นตัวแทนของชีวิตผมในแง่มุมอื่นนอกเหนือไปจากชีวิต ทนายความในชุดสูทลายทางยาว แต่แล้วมันก็ถูกขโมย คันถัดๆ มา หลังจากนั้นล้วนเป็นเสือภูเขาแบบปรับแต่งส�ำหรับการขี่บนท้องถนน ผม มีทั้งยี่ห้อโคน่ารุ่นลาวาโดม สเปเชียลไลซ์รุ่นสตัมจัมเปอร์สองคัน และ 24 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
โคน่ารุ่นเอ็กซ์โปรซีฟ แต่ก็มิวายถูกขโมยเกลี้ยง มีครั้งหนึ่งที่ผมโดน สอยไปสองคันรวดในวันหยุดสุดสัปดาห์เดียว มีบางเวลาที่ผมหาโอกาส ปั่นเจ้าพวกนี้ออกไปย่านริดจ์เวย์ ไปดาร์ตมัวร์ และอุทยานเลกดิ ส ตริ ก บ้าง แต่ส่วนใหญ่ผมจะขี่ในเมืองมากกว่า บ่ายวันเสาร์ในฤดูหนาวปี 1995 ผมเดินเข้าร้านโรเบิร์ตส์ไซเคิลส์ ร้าน ผลิตเฟรมจักรยานแถบลอนดอนใต้ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือด้านการสร้างเฟรม จักรยานตามใบสั่งลูกค้า ผมสั่งเฟรมแบบทัวริ่งอันหนึ่ง และตั้งชื่อมันว่า ‘แมนนานาน’ ตามชื่อเทพบุตรหนุ่มในปกรณัมชาวเซลติก แมนนานาน แมค เลอ (Mannanan mac Lir) ผู้ปกปักรักษาเกาะแมน บ้านเกิด ของผม ผมปั่นแมนนานานไปทั่วทั้งอเมริกา ออสเตรเลีย เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ อินเดีย เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และยุโรป เรียกได้ว่า ไปกันมาแล้วรอบโลก เลนนาร์ด ซินน์ ช่างจักรยานชาวอเมริกนั เคยเขียน ไว้ว่า “จงเป็นหนึ่งกับจักรวาลของคุณ ถ้าท�ำไม่ได้ เป็นหนึ่งเดียวกับ จั ก รยานของคุ ณ ก็ ยั ง ดี ” หลั ง ปั ่ น ไปทั้ ง สิ้ น สี่ ห มื่ น กิ โ ลเมตรในสามปี ผมถึ ง พู ด ได้ เ ต็ ม ปากว่ า ผมเป็ น เช่ น นั้ น ทุกวันนี้แมนนานานแขวนอยู่บนก�ำแพงโรงเก็บจักรยานของผม ผมยังมีจกั รยานอีกห้าคัน คันแรกคือยีห่ อ้ สเปเชียลไลซ์รนุ่ ร็อกฮอปเปอร์ ที่อายุกว่าสิบปี ผมต้องคอยหมั่นซ่อมแซมตลอดเพื่อคงสภาพให้พอใช้ งานได้ คันต่อมาเป็นจักรยานทั่วไปส�ำหรับขี่ในฤดูหนาว คันนี้เกิดจาก การรวมเอาส่วนประกอบหลายๆ ชิ้นมาต่อเข้ากับเฟรมอะลูมิเนียมของ เนอร์เว็กซ์ พ่วงด้วยตะเกียบหน้าเนื้อคาร์บอนยี่ห้อแอมโบรซิโอ ส่วน จักรยานส�ำหรับขี่ทั่วไปคันใหม่คือยี่ห้อวีเลียร์ ตัวเฟรมเป็นคาร์บอนมัน เงา ออกแบบในอิตาลีและผลิตในไต้หวัน ถัดมาเป็นจักรยานเสือภูเขา คันเก่าที่ยี่ห้อชวินน์ ส่วนคันสุดท้ายเป็นเสือภูเขายี่ห้อเฟลต์คันใหม่ เอี่ยมที่พึ่งถอยมา ตัวเฟรมเป็นอะลูมิเนียมน�้ำหนักเบาพิเศษ ส่วนท้าย อะไรๆ ก็จักรยาน 25
เป็นแบบครอสคันทรีฮาร์ดเทล3 ซึ่งยอดเยี่ยมมากส�ำหรับการใช้งานใน อุทยานเบรคอนบีคอนส์ พื้นที่ที่ผมอาศัยอยู่ตอนนี้ ชั้นใต้ดินบ้านผมเต็มไปด้วยกองทัพจักรยาน ทุกคันล้วนผ่าน ถนนมาแล้วอย่างสมบุกสมบัน อย่างไรก็ตาม ผมยังรู้สึกว่ามีบางอย่างที่ ส�ำคัญมากๆ ขาดหายไป เหล่านักปั่นอีกนับแสนชีวิตก็คงไม่ต่างจากผม ผมรู้สึกว่าในโรงเก็บจักรยานของผมยังมีที่ว่างพอส�ำหรับอะไรบางอย่าง ...บางอย่างที่พิเศษสุดๆ...ตลอดชีวิตนักปั่นของผม ไม่มีจักรยานคันไหน ที่เติมเต็มช่องว่างตรงนี้ได้เลย ผมปั่นจักรยานมาตลอดสามสิบหกปี ทั้งปั่นไปท�ำงาน ออกก�ำลัง กาย ไปช้อปปิ้ง ไปสูดอากาศรับแสงแดดข้างนอก ปั่นหนีไปจากโลกแสน บัดซบตรงหน้า ออกไปปั่นกับแก๊งเพื่อนที่ผูกพันกันทั้งกายและใจ หรือ จะปั่นเพื่อออกเดินทาง ออกไปให้ตัวเองได้สติ ทั้งปั่นหนีจากภารกิจ อาบน�้ำให้ลูก กระทั่งปั่นหาความสนุก ออกไปหาความหวาดเสียวให้ลูกๆ ได้หัวเราะเยาะ ออกไปหาช่วงเวลาดีๆ หรือบางทีก็ปั่นเพียงเพราะอยาก ปั่นเฉยๆ ส�ำหรับผม จักรยานคือศาสนาที่ยึดโยงร่างกาย จิตใจ และ อารมณ์ให้เป็นหนึ่งเดียว ตอนนี้ผมต้องการจักรยานคันใหม่ อันที่จริงผมแค่เข้าอินเตอร์ เน็ต ป้อนรหัสบัตรเครดิต และเสียเงินสามพันปอนด์แลกจักรยานแข่ง โครงไทเทเนียมหรือคาร์บอนจากโรงงานก็ได้ เพียงเท่านี้ วันรุ่งขึ้นผม ก็ปั่นเจ้าสองล้อคันใหม่เอี่ยมขึ้นเนินเขาไปชมพระอาทิตย์ตกได้แล้ว ข้อ เสนอช่างยั่วยวนใจเสียจริง แต่แบบนี้ไม่ถูกต้องนัก ผมเป็นอีกคนหนึ่ง ที่มักหัวเสียเวลาซื้อข้าวของอะไรใหม่ โดยเฉพาะพวกของใช้อายุการใช้ งานสั้นที่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ผมไม่อยากอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้นแล้ว ผม ‘ครอสคันทรี’ (Cross Country) คือจักรยานวิบากแบบลุยพื้นที่ออฟโรดทั่วไป ส่วน ‘ฮาร์ดเทล’ (hard tail) หมายถึงส่วนท้ายจักรยานแบบไม่มรี ะบบกันกระแทก ใดๆ-บรรณาธิการ 3
26 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
จะหยุดมันด้วยจักรยานคันใหม่คันนี้ ผมอยากจะปั่นมันไปสักสามสิบสี่ สิบปี อยากจะค่อยๆ ใช้เวลาเลือกเฟ้นอย่างพิถีพิถัน อยากทุ่มเงินเท่าที่ มีเพื่อจักรยานที่ดีที่สุดเท่าที่จะมีปัญญาได้ในชีวิต ผมต้องการแก่ตัว ลงไปพร้อมๆ กับมัน ดังนั้น ผมย่อมต้องการมากกว่าแค่จักรยานดีๆ ทั่ ว ๆ ไป พู ด ตามตรงก็ คื อ ผมอยากได้ จั ก รยานที่ ห าไม่ ไ ด้ ทั่ ว ไปจาก อินเตอร์เน็ตหรือที่ใดก็ตามแต่ ใครที่รักการปั่นจักรยานและมีจักรยาน คู่ใจน่าจะเข้าใจความรู้สึกแบบนี้ดี ผมอยากได้จักรยานที่เกิดมาเพื่อผม
ผมต้องการจักรยานที่สะท้อนเรื่องราวชีวิตการปั่นของผม จักร- ยานที่ขับดันความมุ่งมาดปรารถนาแก่ผมทุกครั้งที่ขึ้นขี่ ผมต้องการงาน ฝีมืออันประณีต ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ผมต้องการจักรยานที่สร้าง จากหยาดเหงื่อและเรี่ยวแรงของมนุษย์ จักรยานที่มีบุคลิกเฉพาะตัว จักรยานที่จะไม่กลายเป็นของตกรุ่น จักรยานที่แสดงรสนิยมส่วนตัว ของผม อีกทั้งยังบูชาความขลัง สืบสานต�ำนาน และความงดงามของ จั ก รยาน ดั ง ชื่ อ เล่ น ของจั ก รยานในภาษาฝรั่ ง เศส ‘ลา เปอติ ต เรน’ (La Petite Reine) หรือ ‘ราชินีตัวน้อย’ ผมอยากจะมีเธอคนนั้นบ้าง อะไรๆ ก็จักรยาน 27
ผมมีแผนในใจแล้วว่าจะเริ่มจากไหนดี ตัวเฟรมจักรยานจะสร้างตาม สั่งโดยช่างผู้ช�ำนาญการ น้อยคนจะรู้ว่าเราสามารสั่งท�ำเฟรมจักรยาน ให้เข้ากับสรีระและลักษณะการปั่นของตัวเองได้ หน�ำซ�้ำเฟรมพวกนี้ ยังมีราคาถูกกว่าเฟรมแปลกๆ ใหม่ๆ จากโรงงานอีกด้วย เมื่อหกสิบปี ก่อน ตามหัวเมืองใหญ่ในอิตาลี เบลเยียม หรือฮอลแลนด์ต่างมีร้านรับ ท�ำเฟรมจักรยานอย่างน้อยหนึ่งร้าน บนเกาะอังกฤษ เมืองใหญ่ๆ อัน เนืองแน่นไปด้วยผู้คนมีร้านเช่นนี้อยู่กว่าสิบร้าน ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ อย่ า งรั ด จ์ - วิ ธ เวิ ร ์ ธ (Rudge-Whitworth), ราเลห์ (Raleigh) และ บีเอสเอ (BSA) ของอังกฤษ หรือบริษัทเบียงคี (Bianchi) ในอิตาลี หรือเปอโยต์ (Peugeot) ในฝรั่งเศส มักเน้นผลิตจักรยานป้อนตลาด กลุ่มคนขับขี่ทั่วไป ร้านท�ำเฟรมเล็กๆ จะท�ำจักรยานให้พวกนักแข่ง สโมสรจักรยาน นักปั่นทางไกล ไปจนถึงเหล่านักเลงจักรยาน ช่างฝีมือ เหล่านี้ค่อยๆ สร้างเฟรมขึ้นอย่างพิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด นั่นคือ เหตุผลที่ท�ำให้ผลิตเฟรมจักรยานออกมาได้เพียงไม่กี่สิบคันต่อปี ทิม ฮิลตัน นักปั่นและนักเขียนเจ้าของผลงานวันมอร์กิโลเมเตอร์แอนด์ว ี อาร์อินเดอะชาวเวอร์ส (One More Kilometre and We’re in the Showers) เรี ย กเฟรมจั ก รยานท� ำ มื อ ในสมั ย หลั ง สงครามโลกพวกนี้ ว่า ‘งานศิลปะพื้นบ้านยุคอุตสาหกรรม’ เครื่องมือพื้นๆ ทั่วไปๆ อย่าง เลื่อย ตะไบเหล็ก เครื่องพ่นไฟ และตัวยึดท่อขณะหลอม ช่วยปลูกฝัง ให้ช่างเฟรมจักรยานเติบโตมาด้วยวิถีแห่งศิลปิน อันเป็นจุดเริ่มต้นของ โรงงานอุตสาหกรรมจักรยานในเวลาต่อมา บริษัทใหญ่อย่างราเลห์ก็ ตั้งตัวมาจากโรงงานขนาดเล็กๆ ในปี 1888 ที่สร้างจักรยานได้เพียง สามคันต่อสัปดาห์เท่านั้น เมือ่ เข้าสูป่ ี 1951 ราเลห์ผลิตจักรยานได้ถงึ 20,000 คันต่อสัปดาห์ ช่วงต้นของยุค 1950 คือช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรมจักรยานในยุโรป ล�ำ พังเฉพาะในอังกฤษแห่งเดียวมีจ�ำนวนนักปั่นพุ่งขึ้นถึงสิบสองล้านคน ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมรายใหญ่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ร้านท�ำเฟรมจักร- 28 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
ยานเล็กๆ ก็เติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กัน ทว่านักสะสมรุ่นหลังในปัจจุบัน ท�ำได้แต่เพียงจดจ�ำชื่อของพวกเขาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเมเจอร์ นิโคลส์ และรอน คูเปอร์แห่งเกาะอังกฤษ อเล็กส์ แซงเฌร์ และเรเน่ เออร์สใน ฝรั่ ง เศส หรื อ ฟาเลี ย โร่ มาซี และฟรานเชสโก แกลมอซซี จ ากอิ ต าลี เหล่านี้เป็นเพียงจ�ำนวนหนึ่งจากทั้งหมดกว่าหลายร้อยรายที่เหลือแต่ เพียงความทรงจ�ำ จักรยานยังคงเป็นยานพาหนะคู่ใจของคนท�ำงานทั่วยุโรปจวบจน ปลายยุค 1950 และยังเป็นกิจกรรมยามว่างยอดนิยมในอังกฤษอีกด้วย สุดสัปดาห์มาถึงเมื่อใด ท้องถนนในเมืองใหญ่จะร้างผู้คนเสมอ ขณะที ่ นอกเมืองคับคั่งไปด้วยนักปั่นผู้ออกมาชื่นชมความสงบสุขของชีวิตชนบท และแล้วรถยนต์ก็แล่นเข้ามา จ�ำนวนการซื้อขายจักรยานที่เคยสูง ถึงสามล้านห้าแสนคันในปี 1955 ร่วงลงมาอยู่ที่สองล้านคันในปี 1958 พอรถมินิคูเปอร์ออกสู่ตลาดในปี 1959 ร้านท�ำเฟรมจักรยานเล็กๆ ก็ เริ่มหายหน้าไป ช่วงเวลาของจักรยานกลับมาอีกครั้งในยุค 70 หลัง วิกฤตการณ์น�้ำมันในสหรัฐกระตุ้นให้เกิดความต้องการจักรยานอย่าง ล้นหลาม ไม่กี่ปีถัดมา ชาวอเมริกันรู้สึกไม่ทันใจที่เฟรมน�้ำหนักเบาจาก อิตาลีและอังกฤษเดินทางข้ามน�้ำข้ามทะเลมาไม่ถึงสักที ชายหนุ่มผู้หลง ใหลจักรยานหลายรายถึงกับลงทุนข้ามมหาสมุทธแอตแลนติก มาเรียน การท�ำเฟรมน�้ำหนักเบาโดยเฉพาะที่ลอนดอนและมิลาน ช่วงปี 1970 ริ ช าร์ ด แซ็ ค ส์ เบน แซร์ ร็ อ ตต้ า และปี เ ตอร์ วี เ กิ ล เข้ า ฝึ ก ที่ โ รงงาน วิชคอมไซเคิลอันโด่งดังในเมืองเดปต์ฟอร์ด ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ กรุงลอนดอน ทุกวันนี้ทั้งสามเป็นเสมือนสามผู้วิเศษแห่งวงการเฟรม จักรยานอเมริกัน กลางยุค 70 สถานะของจักรยานในสังคมอังกฤษตกต�่ำลง จาก ที่เคยเป็นพาหนะของประชาชน ตอนนี้กลับเป็นเพียงของเล่น ของน่า ร�ำคาญ มุมมองเช่นนีเ้ พิง่ เปลีย่ นไปเมือ่ ไม่นานมานี ้ สมัยทีผ่ มเป็นทนาย อยู่ในลอนดอนในช่วงต้นยุค 90 ผมขี่จักรยานไปท�ำงานทุกวัน ผู้คนที่ อะไรๆ ก็จักรยาน 29
พบเห็นต่างมองว่า ไอ้นี่แปลก ผมปั่นผ่านไฮด์ปาร์กทุกวัน มีผู้ขับขี่จักร- ยานแบบผมอยู่น้อยมาก ผมจึงรู้จักพวกเขาทุกคนเป็นอย่างดี ดีระดับ ที่จ�ำชื่อตัวของทุกคนได้ครบ ช่วงนั้นจักรยานมักขับเคี่ยวกับรถยนต์ บนท้องถนนในเมืองอย่างเปิดเผย งานชุมนุมนักปั่นประจ�ำเดือนอย่าง คริติคัลแมส เป็นเสมือนมหกรรมใหญ่ของเหล่านักอนาธิปัตย์ โดยมาก จะวุ่นวายจนต้องมีเจ้าหน้าที่ต�ำรวจเข้ามาผสมโรงอยู่เสมอ พวกนักปั่น เมสเซนเจอร์4 รูปร่างผอมซีดจะถือเป็นตัวแสบ ชอบปาดซ้ายขวาอยู่บน ท้องถนน ลอดช่องระหว่างรถยนต์ และขี่ฉวัดเฉวียนไปตามการจราจร ที่แน่นิ่งคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นเครื่องยนต์และควันท่อไอเสีย ร้านจักรยานที่ผมเคยเป็นลูกค้าตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเขตโฮลเบิร์น ร้านนี้เป็นร้านโปรดของบรรดาเมสเซนเจอร์ขาโหด วันศุกร์คืนหนึ่ง ผมแวะเข้าไปรับจักรยานหลังเลิกงาน ที่ส่งซ่อมเพราะก้านจานหลุดข้าง หนึ่ง ช่างเข็นจักรยานออกมาจากอู่ ผ่านคนส่งของสามคนที่ก�ำลังดวด เบียร์กระป๋องยี่ห้อเทนเนนต์สเอ็กซ์ตร้า ช่างเอาเทปพันก้านจานอันเก่า ที่หักติดกลับให้มาด้วย “อันนี้เอาไว้ท�ำอะไรเหรอครับ?” ผมถามช่าง พลางชี้นิ้วไปที่ก้าน จานอันเก่าในเทปกาวข้างรถ ผมมองไปทีช่ า่ ง ช่างหันไปมองพวกเมสเซน เจอร์ พวกเขามองกลับมาที่ช่าง และช่างก็หันกลับมามองหน้าผมนิ่งๆ เป็นอันชัดเจนว่าผมต้องรู้สินะว่ามันเอาไว้ท�ำอะไร หลังจากช่วงเวลา อึกอักผ่านไปสักพัก เมสเซนเจอร์คนหนึง่ หันมามองผมด้วยสายตาอ�ำมหิต และพูดขึ้นว่า “มึงก็เอาไปปากระจกหน้ารถสักคันสิวะ!” การย้ายเข้ามาอยู่ที่เบรคอนบีคอนส์ในแคว้นเวลส์เมื่อเจ็ดปีก่อน ถือเป็นการเปิดหูเปิดตาเรื่องวัฒนธรรมจักรยานอีกครั้งของผม อย่าง น้อยในเมืองใหญ่ทั่วไป ผู้คนก็ยังพอเข้าใจประโยชน์ของมันในแง่สุขภาพ นักปั่นรับจ้างส่งของและส่งเอกสารด้วยจักรยานในอังกฤษ (Courier) ส่วนใหญ่ มักมีทัศนคติต่อต้านผู้ใช้รถยนต์-บรรณาธิการ 4
30 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
และการเดินทางอยู่บ้าง แต่ในชนบท คุณจะขี่จักรยานก็ต่อเมื่อถูกยึด ใบขับขี่เท่านั้น เท่านั้นเลยจริงๆ เพราะในสายตาชาวไร่ชาวนา แทบจะ หาเหตุผลอื่นปั่นจักรยานไม่ได้เลย พวกเขาเฝ้าดูผมปั่นเข้าปั่นออกเมือง อะเบอร์กาเวนนีทุกวัน แล้วก็ได้แต่เกาหัว ห้ า เดื อ นหลั ง จากย้ า ยเข้ า มา ค�่ ำ คื น วั น ศุ ก ร์ ห นึ่ ง ผมอยู ่ ใ นร้ า น เหล้าท้องถิ่นข้างๆ เนินเขา ชายคนหนึ่งแตะศอกของผมและเชิญไปที่ หัวมุมในบาร์อย่างสุภาพ จากนั้นเขาจ้องเขม็งมาที่ผมอย่างน่าฉงน “ผม เห็นคุณปั่นจักรยานไปๆ มาๆ อยู่นั่นแหละ ใบขับขี่โดนยึดไปนานเท่าไร แล้วล่ะ หนุ่มน้อย?” เขาถาม ผมอธิบายให้เขาฟังว่าผมไม่ได้โดนยึดใบ ขับขี่ ผมแค่ชอบปั่นจักรยานเท่านั้นเอง ชายคนนั้นขยิบตาพลางเอานิ้ว แตะจมูกของเขาเป็นการส่งสัญญาณว่า “ฉันรู้หรอกนะว่าแกไปท�ำอะไร มา” หนึ่งปีให้หลัง ชายชาวไร่คนเดิมเข้ามาคุยกับผมอีกครั้งในคืนวัน ศุกร์ที่ร้านเดิม “ฉันยางเหนนายปั่นจักรยานอยู่นะ อ้ายหนู” เขาพูดขึ้น ด้วยน�้ำเสียงเมาแอ๋ “เขาม่ายยึดใบขับขี่กันนานขนาดนี้หรอก นายบอก ฉันมาเหอะน่า...นายปายท�ำอารายผิดมาเหรอ? ขับรถชนเด็กตายมาช่าย มั้ย?” ช่างท�ำเฟรมจักรยานฝีมือดีๆ นั้นเทียบชั้นได้กับยอดช่างฝีมือที่สร้าง นาฬิกาปาเต๊ะฟิลิป กีตาร์มอนเทโอนี และเสื้อบอเรลลี พวกเขาเป็น คนละชั้นกับผู้ผลิตเฟรมจักรยานรายใหญ่ ที่ท�ำแค่ปั๊มโครงคาร์บอน และอะลูมิเนียมออกมาจากโรงงานในเอเชีย สมัยก่อนข้าวของทั้งหลาย ที่ เ ราใช้ ส อยล้ ว นแลกมาได้ ด ้ ว ยทั ก ษะ ฝี มื อ และอุ ด มการณ์ ข อง ช่างผู้ช�ำนาญการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นช่างตีเหล็ก ช่างทองแดง ช่างไม้ ช่างท�ำล้อรถ หรือช่างตัดเสื้อที่บรรจงตัดเย็บชุดให้เราสวมใส่ เรามีข้าว ของที่ท�ำขึ้นอย่างพิถีพิถัน ยิ่งนานวันก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าในตัวเอง และยก ระดับจิตใจเราทุกครั้งเมื่อหยิบใช้ ตัวเฟรมนั้นเปรียบได้กับวิญญาณ อะไรๆ ก็จักรยาน 31
ของจักรยาน เฟรมของผมจะต้องมีแค่คันเดียวในโลก และต้องสร้าง จากเหล็ ก กล้ า ชั้ น ยอดเท่ า นั้ น จักรยานคันนี้จะดูเหมือนจักรยานแข่งที่ปรับแต่งให้เข้ากับพฤติ กรรมการปั่นของผม ผมไม่ได้จะเอาไปแข่งกับใครที่ไหน แค่ขี่ไปมาใน ชีวิตประจ�ำวันนี่แหละ เพียงแต่ผมเป็นคนปั่นเร็วเท่านั้น ผมจะปั่นมัน รอบๆ เบรคอนบีคอนส์ก่อน จากนั้นจะปั่นให้ทั่วเกาะอังกฤษเลย ผม จะขี่จักรยานคันนี้ไปอีกนานแสนนาน ขี่มันไปแจมกับกลุ่มเพื่อนและ บรรดานักปั่นน่องเหล็กทั้งหลาย ผมจะปั่นมันไปถึงเทือกเขาพิเรนีส ปั่น บนเส้นทางตัดภูเขาโกล์ดูเกลิบิเยร์ ปั่นขึ้นเขามงต์วองตูซ์ แล้วปั่นลงไป ตามทางหลวงแปซิฟิกโคสต์ ถ้ารู้สึกหม่นหมองเมื่อไร ผมจะปั่นมันไป ท�ำงาน และแน่นอนว่าพออายุย่างเข้าหลักเจ็ดสิบ ผมก็จะยังปั่นมันไป ร้านเหล้า ส่ ว นประกอบทั้ ง หมดบนจั ก รยานคั น นี้ ไ ล่ เ รี ย งจากแฮนด์ คอ ตะเกียบหน้า ถ้วยคอ ดุมล้อ วงล้อ วงล้อฟรี ซี่ลวด กะโหลก จานโซ่ สับจาน คันถีบ และอานนั่ง จะถูกเลือกให้เข้ากับเฟรมอย่างเหมาะเจาะ ผมจะไม่เลือกแบบที่เบาที่สุดหรือหวือหวาที่สุดในท้องตลาด แต่ต้อง เป็นแบบที่มีคุณภาพดีที่สุดเท่านั้น ล้อจะถูกสร้างขึ้นด้วยมือ ผมจะไป เยี่ยมชมโรงงานทั้งที่อิตาลี อเมริกา เยอรมัน และอังกฤษ เพื่อไปดูชิ้น ส่วนเหล่านั้นกับตาตัวเอง ส่วนประกอบทุกชิ้นของจักรยานคันนี้จะต้อง พิเศษสุด เมื่อน�ำทุกชิ้นมารวมเข้าด้วยกันแล้ว มันจะกลายเป็นจักรยาน ในฝันของผม ทุ ก วั น นี้ จั ก รยานคื อ ชี วิ ต ของผม หากคุ ณ เคยสั ม ผั ส ถึ ง ความ อัศจรรย์หรือเคยได้ลิ้มรสอิสรภาพบนหลังอาน หากคุณเคยรู้สึกเศร้า และพาตัวเองขึ้นจักรยานเพื่อปล่อยอารมณ์ล่องไปตามท่วงท�ำนองของ วงล้อ หากคุณเคยมีหยาดเหงื่อแห่งความหวังผุดขึ้นบนหน้าผากยาม คุณปั่นพิชิตยอดเนินสูง หากคุณเคยลองพุ่งทะยานสองล้อลงมาตาม ทางลาดชันดั่งเหยี่ยวถลาลม หากคุณเคยรู้สึกว่าโลกทั้งใบหยุดนิ่งลง 32 ธนชาติ ศิริภัทราชัย แปล
ตรงหน้า หากคุณเคยนั่งอยู่บนจักรยานด้วยหัวใจเบิกบานราวมนุษย์ เดินดินได้ไปเยือนสรวงสวรรค์ หากคุณเคยมีความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ ผมว่าเราคงมีอะไรบางอย่างคล้ายกัน เราต่างรู้ว่ามันล้วนเกิดขึ้นบนหลัง อานจักรยานเท่านั้น
อะไรๆ ก็จักรยาน 33