เนิร์ด-ชิ่ง-โฮม เรื่องเล่าไกลบ้านกับชาน-ชรา
บัณฑิต เทียนรัตน์
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2556
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำนิยม ค�ำน�ำผู้เขียน ก่อนเข้าเนิร์สซิ่งโฮม 11. งานในฝัน 12. รอด...ชีวิต 13. ถูกทิ้ง! จริงหรือ... 14. กิน ขี้ ปี้ นอน 15. ในหนึ่งวัน... 16. “ชิฟต์” หาย 17. นินทาคนแก่ 18. ก่อนจะเป็นผี... 19. “ชอยส์” ของคนแก่ 10. จุดเปลี่ยน... 11. สบายกว่ากันเยอะเลย อยู่เฉยๆ ดีกว่าจริงหรือ
7 9 12 19 25 31 39 47 53 63 69 77 85 93 101
12. ตุ๊กตาเก่าๆ กับผีเสื้อที่โบยบิน 13. มนุษย์ร้อยปี 14. เรื่องของการเหยียด 15. มาดูจิตกัน 16. ไม่มี “น�้ำหญ้า” 17. เพื่อนแปลกหน้าที่คุ้นเคย 18. ไปไหมปู่... 19. รักแท้รักที่อะไร? 20. Away from Her...นั่นแหละชีวิต! 21. ปู่ริชาร์ด 22. Dying Young 23. ตัวคนเดียว 24. Return Ticket (ตั๋วไป-กลับ) 25. ความทรงจ�ำติดเบอร์ 26. ศีลธรรมช�ำรุด 27. กลัวแก่ 28. ล็อตโต้คนบาป 29. หัวใจข้ามปี 30. แอมเบียนต์ ม้าสีสวาด ประวัติศาสตร์ และอัลไซเมอร์ 31. เวลาในชีวิต
109 117 125 135 143 151 159 165 173 181 191 203 211 219 229 237 247 257 265 279
ภาคผนวก โอลดี้บูมและแซนด์วิช (Oldy Boom & Sandwich) รู้จักผู้เขียน นักเขียนขอบคุณ ฝากสักนิดก่อนปิดเนิร์สซิ่งโฮม เพลงท้ายเล่ม
287 298 300 305 311
เนิร์ด-ชิ่ง-โฮม เรื่องเล่าไกลบ้านกับชาน-ชรา
18 บัณฑิต เทียนรัตน์
ก่อนเข้าเนิร์สซิ่งโฮม
nursin g home
(ทั้งหมดในเรื่องนี้คือนามสมมุติ หากไปพ้องกับนามจริงของท่านใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย) เนิร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) หมายถึงสถานพยาบาลคนชราเป็นการเฉพาะ (และ/หรือผู้ป่วยที่ ต้องได้รับการช่วยเหลือทางด้านกายภาพ) ในเมืองไทยอาจสับสนกับค�ำว่า “เนิร์สเซอรี่” (Nursery) ซึ่งหมายถึง “สถานเลี้ยงดูเด็กอ่อน” อยู่บ้าง ปัจจุบันมีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกแทนเนิร์สซิ่งโฮมอยู่หลายค�ำ เช่น สถานบริบาลผู้สูงอายุ บ้านพักผู้สูงอายุ สถานพยาบาลคนชรา บ้านพักคน ชรา ศูนย์ดูแลคนสูงอายุ ฯลฯ ซึ่งล้วนมีความหมายเดียวกันคือ การให้การ พยาบาลและดูแล (Nursing Care) เนิร์ส (Registered Nurse) เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกวิชาชีพ “ผู้ช่วยพยาบาล” (Assistant in Nursing) ก่อนเข้าเนิร์สซิ่งโฮม 19
ซิสเตอร์ (Sister) เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกวิชาชีพ “พยาบาล” (Nurse) เรสิเดนต์ (Resident) ในที่นี้หมายถึง “คนชรา” ที่พักอาศัยอยู่ในเนิร์สซิ่งโฮม ดอน (DON) เป็นค�ำย่อจากค�ำว่า Director of Nursing หรือหัวหน้าแผนกพยา- บาล ในที่นี้หมายถึงผู้จัดการของเนิร์สซิ่งโฮมอันเป็นต�ำแหน่งสูงที่สุด ชิฟต์ (Shift) หมายถึง “กะ” เข้างาน กะหนึ่งจะยาวราว 6-8 ชั่วโมง มีทั้งกะเช้า กะบ่าย และกะกลางคืน แฮนด์โอเวอร์ (Handover) คือการประชุมก่อนจะเริ่มงานในแต่ละชิฟต์ โดยซิสเตอร์ในชิฟต์ก่อน หน้าจะรายงานสภาพร่างกายและพฤติกรรมโดยรวมของเรสิเดนต์ทุกคนให้ แก่ซิสเตอร์และเนิร์สทุกคนได้รับทราบร่วมกัน ลิฟเตอร์ (Lifter) ใช้เรียกแทนศัพท์ทางการว่า Patient Lift ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ช่วย เหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถยืนหรือเคลื่อนไหวด้วยตนเองได้ในการเคลื่อนย้าย จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง มีทั้งแบบสลิง (Sling Lift หรือ Hoyer Lift) ซึ่งท�ำ หน้าที่ยกผู้ป่วยลอยขึ้นทั้งตัว และแบบที่ช่วยให้ยืน (Sit-to-stand Lift) ซึ่ง ยกเฉพาะล�ำตัวช่วงบนให้ผู้ป่วยสามารถยืนตัวตรงได้ เตียงอาบน�้ำ (Bath Trolley) เป็นเตียงติดล้อสามารถเคลื่อนที่ได้ ใช้ในการเคลื่อนย้ายเรสิเดนต์ 20 บัณฑิต เทียนรัตน์
จากเตียงไปยังห้องน�้ำ ในที่นี้ถูกใช้ในกรณีเดียวคือ คนชราที่นอนติดเตียง (เคลื่อนที่ไม่ได้) หมู่บ้านส�ำหรับคนหลังเกษียณ หรือรีไทร์เมนต์วิลเลจ (Retire ment Village) เข้าใจว่ายังไม่มีการแปลค�ำนี้อย่างเป็นทางการ ขอเรียกพลางๆ ว่า “ชุมชนหลังเกษียณ” ไปก่อน กล่าวคือ อาจเป็นได้ทั้งหมู่บ้าน ชุมชน หรือ ที่พักที่เป็นอาคาร คอนโดมิเนียม ยูนิตหลายๆ หลัง ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของ ผู้ชราตอนต้นอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ชุมชนหลังเกษียณจะมีการออกแบบและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ ผู้สูงวัย เช่น มีทางลาดส�ำหรับวีลแชร์ มีบาร์ส�ำหรับให้จับในห้องน�้ำ มีพยา- บาลและผู้ช่วยพยาบาลประจ�ำคอยช่วยเหลือตามสมควร มีกิจกรรมสันทนา การช่วยสร้างชีวิตชีวาให้แก่เรสิเดนต์ ชุมชนหลังเกษียณที่ปรากฏในเล่มนี้ จะมีเนิร์สซิ่งโฮมตั้งอยู่ด้านหน้าไว้คอยรองรับคนชราตอนปลายที่เริ่มช่วย เหลือตนเองไม่ได้ แพ็ด (Pad) เป็นค�ำเรียกสั้นๆ ส�ำหรับ “ผ้าอ้อมคนแก่” (Adult diaper หรือ Adult nappy) คล้ายผ้าอ้อมส�ำเร็จรูปของเด็ก แต่จะมีไซซ์ใหญ่กว่า มีหลายแบบ หลายขนาด ทั้งแพ็ดส�ำหรับสวมใส่คล้ายๆ กางเกงชั้นใน แพ็ดอันเล็กที่ คล้ายผ้าอนามัย แพ็ดอันใหญ่ขึ้นมาที่ต้องใช้กางเกงในยืดรัดไว้ และแพ็ด ขนาดใหญ่ที่สุดแบบห่อหุ้ม แพ็ดถือว่าเป็นอุปกรณ์ส�ำคัญของเนิร์ส เพราะ ต้องใช้กับเรสิเดนต์ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่าย (Incontinence) ได้แล้ว แผลกดทับ (Bed Sore) เป็นอาการสามัญของคนที่นอนติดเตียงนานๆ จะเกิดแผลตรงบริเวณ ก่อนเข้าเนิร์สซิ่งโฮม 21
เนื้อที่สัมผัสกับเบาะโดยตรง เหตุมาจากการถูกกดทับจนเลือดไม่ไปหล่อ เลี้ยง หากทิ้งไว้นานวันอาจลุกลามเกิดเป็นแผลลึกซึ่งยากแก่การรักษา ถับแชร์ (Tub Chair) ใช้เรียกเก้าอี้บุนวมที่มีพนักวางแขนและพนักศีรษะสูง ในที่นี้ติดล้อ เคลื่อนที่ได้ และปรับระดับพนักพิงและส่วนพักขาได้ นิยมให้เรสิเดนต์ที่ไม่ สามารถเคลื่อนที่ได้ใช้นั่ง (หรือนอน) เพื่อเข็นไปในที่ต่างๆ ตามอัธยาศัย การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Palliative Care) อาจเรียกได้อีกหลายๆ ชื่อ เช่น การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย การ ดูแลเพื่อบรรเทาอาการ วิถีแห่งการคลายทุกข์ แต่โดยรวมหมายถึง การ ดูแลผู้ป่วย (ในที่นี้คือเรสิเดนต์) ที่แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาไม่หาย และ ก�ำลังจะจากโลกนี้ไป จึงต้องได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะ สุดท้าย หากก็ต้องยอมรับว่าความตายเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของ มนุษย์ (จึงไม่มีการยื้อไว้อย่างไม่จ�ำเป็น) ประกาศนียบัตรทางด้านเอจแคร์ (Aged Care Certification) ประกาศนียบัตรทางด้านเอจแคร์ หรือการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีใบ เซอร์ทิฟิเคต หรือประกาศนียบัตรหลายระดับด้วยกัน แล้วแต่การเรียนการ สอนในแต่ละสถาบัน ในที่นี้มีเนิร์สซิ่งโฮมหลายแห่งที่ต�ำแหน่งเนิร์สหรือ ผู้ช่วยพยาบาลต้องใช้ใบเซอร์ฯ ด้วย แต่บางแห่งก็อาจไม่จ�ำเป็น บัซเซอร์ (Buzzer) เป็นอุปกรณ์ส�ำคัญส�ำหรับเรสิเดนต์ที่ใช้ในการ “เรียก” เนิร์สหรือ ซิสเตอร์ยามเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ นานา มักเป็นวัตถุเบาขนาดเหมาะมือ คล้ายรีโมตห้อยสายติดไว้แถวเตียง เวลากดปุ่มเรียกเสียงจะดังตึ๊งตึ่งไปทั้ง เนิร์สซิ่งโฮม และเบอร์เลขห้องจะไปปรากฏอยู่บนจอเล็กๆ ที่ทุกคนเห็นทั่ว 22 บัณฑิต เทียนรัตน์
กัน เวลาเนิร์สเดินไปตอบรับเรสิเดนต์ที่ห้องก็จะเรียกกันว่าไปแอนเซอร์ (answer) เมื่อไปถึงก็ให้กดปุ่มปิดบนบัซเซอร์ เสียงก็จะดับไป พิวรี (Puree) อาหารปั่นส�ำหรับเรสิเดนต์ที่เริ่มจะเคี้ยวยากขึ้น ประกอบไปด้วยผัก ธัญพืช เนื้อสัตว์ โดยใช้ปั่นแยกแล้วใส่ไว้ด้วยกันในถ้วย บาดแผลบนผิวหนังของเรสิเดนต์ (Skin Tares) คือบาดแผลบนผิวหนังที่บอบบางของเรสิเดนต์ เกิดขึ้นได้จากหลาย สาเหตุ เช่น เสื้อผ้าบาด กระทบกระแทก มักเกิดขึ้นจากการท�ำงานของเนิร์ส ที่ขาดความระมัดระวัง ชาวเวอร์แชร์ (Shower Chair) เป็นเก้าอี้ติดล้อคล้ายวีลแชร์ ต่างกันตรงที่เป็นโลหะล้วนๆ (สามารถ โดนน�้ำได้) และตรงที่นั่งจะเป็นฝารองชักโครก ส�ำหรับเรสิเดนต์ใช้นั่งเพื่อให้ เนิร์สเข็นเข้าไปท�ำธุระในห้องสุขาหรือใช้นั่งเพื่ออาบน�้ำ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ ที่ส�ำคัญมากส�ำหรับเนิร์สซิ่งโฮม ซึ่งบ่อยครั้งมักมีไม่พอ เพราะจ�ำนวนเรสิ- เดนต์ที่เดินอย่างไม่ถนัดมักเพิ่มจ�ำนวนขึ้นเรื่อยๆ ฟีด (Feed) การให้อาหาร หรือเรียกให้เพราะว่า “ป้อนอาหาร”
ก่อนเข้าเนิร์สซิ่งโฮม 23
24 บัณฑิต เทียนรัตน์
1
งานในฝัน
งานในฝันของคุณคืออะไรครับ ระหว่าง...งานที่คุณรักและพลีชีวิตให้ หรืองานที่ได้เงินมากมายล้น เหลือ ถ้าคุณตอบว่าทั้งสองอย่าง ผมก็ขอแสดงความหมั่นไส้ เอ๊ย...อิจฉา ไว้ ณ ที่นี้ ผมเป็ น คนไทยคนหนึ่ ง ที่ เ คยไปใช้ ชี วิ ต ในมหานครซิ ด นี ย ์ ออสเตรเลียมา 4-5 ปี (ปี 2549-2552) โดยที่บัดนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่าไปตาม หาความฝัน หรือไปใช้แรงงานผิดประเทศกันแน่ (หรือจริงๆ ผมควรไปตะวัน ออกกลาง) ผมเคยเป็นคนไทยชนชั้นกลางทั่วไป ได้ท�ำงานที่รักในเมืองไทย (แต่ ไม่ค่อยได้สตางค์) สั่งสมประสบการณ์ในงานมาเกือบ 10 ปี จนพบว่าชีวิต วัยกลางคนเริ่มไม่มั่นคงเสียแล้ว (จะเรียกว่า Mid-life crisis ได้ไหม) เผอิญอายุเกินเวทีเอเอฟไปเยอะอยู่ ก็เลยต้องบินไปตามหาฝันถึง ดินแดนซีกโลกใต้แห่งนั้น แทนที่จะไปให้คนกรี๊ดที่เมืองทองธานี และฝันก็เกือบเป็นจริง ผมได้เรียนในสายภาพยนตร์อย่างที่ใฝ่ฝัน งานในฝัน 25
ในปีแรก ได้พบเพื่อนฝูงที่น่ารักและน่าคบหามากมาย ได้ลองท�ำงานใช้แรง งานเล่นๆ อย่างที่คนไทยที่นี่เขาท�ำกัน ไม่ว่าจะเป็นเชฟ (Chef) คิตเช่น แฮนด์ (Kitchen Hand) งานล้างจานในร้านอาหารไทย หรือแม้แต่ไปขนหิน ขุดดินในไซต์ก่อสร้าง (จนมาถึง “งานนี้” ซึ่งผมจะขอพูดถึงในภายหลัง) ผมพบว่าพวกเราบางคนมาเพื่อตั้งหน้าตั้งตาเรียนเพื่อหอบปริญญา กลับบ้าน บางคนมาเพื่อขุดเงินขุดทอง เรื่องเรียนเป็นเรื่องรองไม่ต้องพูดถึง บางคนมาเพื่อลั้ลลากับชีวิตอิสระ หาเรื่องตื่นเต้นแปลกใหม่ บางคนมาแบบ ไม่มีทางเลือก หรือบางคนก็อาจจะหนีอะไรสักอย่างมา! หลายคนอาจจะอยากกลับบ้าน แต่เงินทองที่หาได้มากกว่าเมืองไทย กลับเป็นบ่วงรัดเราไว้ มันชนะเราแม้แต่ความเหน็ดเหนื่อยที่เราต้องแลก... ในเมื่อการใช้แรงงานที่นี่ไม่ใช่สิ่งที่สังคมหยามหยัน ท้ายที่สุดเราจึง กลายเป็นคนไทยขายแรงงานไปอย่างหน้าชื่น แรงงานที่มีความฝันอยาก เลี้ยงตัวให้ได้ในดินแดนอิสระแห่งนี้ ความฝันจึงถูกสะกดใหม่เป็น “งานในฝัน” นี่คือโลกจริงนี่นะ... โลกแห่งความจริงที่เงินเลี้ยงเราให้ท้องอิ่ม เราอยู่ท่ามกลางความแปรปรวนในโลก วิกฤตซับไพรม์จาก อเมริกาที่ส่งผลมาถึงเงินดอลลาร์ออสซี่จนตกกราวรูด ตามด้วยวิกฤตใน ยุโรปที่ยังไม่รู้จะออกหัวออกก้อย ฤดูกาลวิปริตเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวจาก สภาวะโลกร้อน ตัวเลขของค่า IELTS (ไอเอลส์) ที่สูงขึ้นทุกทีจากการยื่น ขอสมัครเป็นพีอาร์ (Permanent Residence) ของออสเตรเลีย และการ แข่งขันกันอยู่ในทีของธุรกิจอาหารไทยในปัจจุบัน หรือแม้แต่ความผันแปรในใจของเราเองเมื่อสุข-ทุกข์ผลัดเปลี่ยนเข้า มาครอบครอง เมื่อกรองร่อนออกมาหยาบๆ เราอาจเหลือเพียง “การงาน” เท่านั้น ที่เป็นหลักประกันให้แก่ชีวิตในต่างแดน 26 บัณฑิต เทียนรัตน์
การงานเท่านั้นที่เป็นตัวตัดสินว่าเราจะอยู่หรือจะกลับ การงานเท่านั้นที่หล่อเลี้ยงให้เกิดความสุขหรือทุกข์ และการงานเท่านั้นที่เพิ่มตัวเลขเงินในบัญชีของเรา (หลังจากหักกับ สิ่งสารพัดที่ต้องจ่ายออกไปแล้ว!) ครับ...ผมเอง ผู้กล้าดีจะถามหาถึง “งานในฝัน” ซีรีส์ชุด “เนิร์ด-ชิ่ง-โฮม เรื่องเล่าไกลบ้านกับชาน-ชรา” ครั้งนี้ผมมี เรื่องเล่ามากมายที่อาจไม่ใช่ค�ำตอบส�ำหรับใครที่อยากรวย หรืออยากได้งาน แปลกใหม่ที่ไม่จ�ำเจ เพราะมันไม่มีสูตรส�ำเร็จอะไรอยู่แล้วส�ำหรับเราแต่ละ คนที่ล้วนแตกต่างกัน… ผมเพียงแต่คาดหวังว่าประสบการณ์ของผมอาจสร้างความรื่นรมย์ แก่คุณผู้อ่านได้บ้าง เพราะประสบการณ์เหล่านี้มันจุไปด้วยอารมณ์สุขล�้ำ ไปจนถึงเศร้าลึกซึ้ง คละเคล้ากันไปจากประสบการณ์ 3 ปีเต็มในวิชาชีพนี้ ของผม เมื่อย้อนไปครั้งที่ยังเด็กๆ ผมเคยนอนเล่นอยู่ในห้องของปู่ ผู้ซึ่งนอนแบ็บอยู่ด้วยอาการของโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย ปู่ผ่ายผอมไป มาก แต่พี่ป้าน้าอาพ่อแม่ของผมทุกคนก็ดูแลแกอย่างเต็มที่ในวาระสุดท้าย จ�ำได้ว่าผมนอนดูทีวีอยู่ในห้องโปร่งๆ มีพี่พยาบาลคนหนึ่งท�ำอะไรง่วนอยู่ ข้างๆ ปู่ สักประเดี๋ยวผมก็เริ่มได้กลิ่นบางอย่างโชยมา มันเป็นกลิ่นที่ไม่ โสภานัก แล้วผมก็หันไปมอง วินาทีนั้นผมตะลึง ภาพภาพนั้นก็ติดตาผมมา จนบัดนี้ งานเช็ดอึเช็ดฉี่ หรือพูดให้ง่ายปากว่างาน “เช็ดขี้เช็ดเยี่ยว” คงไม่ใช่ งานในฝันของใคร แต่พี่พยาบาลหน้าตาหมดจดคนนั้นท�ำมันอย่างไม่รังเกียจรังงอนสักนิด “เนิร์ด-ชิ่ง-โฮม เรื่องเล่าไกลบ้านกับชาน-ชรา” คงอบอวลไปด้วย บรรยากาศติดกลิ่นเช่นนี้ มันอาจเป็นงานฝันร้ายของใครหลายคน เราคน ไทยที่นี่จึงอาจไม่คุ้นเคยกับงานแบบนี้เท่ากับงานในร้านอาหารไทย หรืองาน งานในฝัน 27
ท�ำความสะอาด (Cleaning) ครับ...แต่นี่คืองานของผม งาน “ผู้ช่วยพยาบาล” (Assistant in Nursing) แม้จะไม่ใช่งานในฝัน แต่ก็เป็นงานที่สร้างหลักประกันให้แก่ชีวิต ของผมมาจนทุกวันนี้ งานนี้ท�ำให้ผมไม่ต้องแชร์ห้องกับใครอีกแล้ว ไม่ต้องประหยัดจน ท้องกิ่ว ไม่ต้องให้ที่บ้านสปอนเซอร์ค่ากินค่าอยู่ ได้ใช้เงินตามใจตัวเองบ้าง และยังพอเหลือเก็บให้มานั่งเสวยบุญจนทุกวันนี้...ทั้งหมดก็เพราะงานนี้ มันท�ำให้ผมนึกถึงพี่พยาบาลคนนั้น งานเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวแบบนี้ในเมือง ไทย (ในตอนนั้น) คงไม่ท�ำให้เธอรวยแน่ๆ นั่นยิ่งท�ำให้ผมนับถือเธอมากขึ้น ไปอีกในแง่ของมนุษยธรรม ผมเป็นผู้ช่วยพยาบาลเหมือนเธอ แต่ผมห่างไกลจากคุณค่าที่เธอมี มากมายนัก ก็เพราะผมท�ำมันเพื่อเงินนี่ครับ! “งานในฝัน” ของผมจึงลดรูปเหลือแค่ความจริงข้อนี้เท่านั้น แต่ไม่ว่างานในฝันของใครจะออกมาในรูปไหน ก็ขอให้ตรึกตรองกัน ดูนะครับ… ผมขออนุญาตเปิดประตูเนิร์สซิ่งโฮมบานนี้ ณ บัดนี้ เสียงเล่าหลังบานประตูที่คุณอาจไม่เคยได้ยิน มันอาจเปี่ยมไปด้วย ความเบิกบานหรือเสียงคร�่ำครวญ อวลไปด้วยรอยยิ้มแจ่มใสและรอยย่น แห่งประสบการณ์ ในโลกของคนที่เรียกกันว่า “คนแก่” น่าสงสารแต่ห้ามสังเวช หรือน่ารักน่าทะนุถนอมเท่าๆ กับน่าหยิก เหมือนเด็กซนๆ ตาม “งานในฝัน” ของผมมาได้เลยครับ!
28 บัณฑิต เทียนรัตน์
“The only way to do great work is to love what you do. If you haven’t found it yet, keep looking. Don’t settle.” - Steve Jobs คุณท�ำ ขาด”
“ทางเดียวที่จะสร้างงานที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้คือ คุณต้องรักในงานที่ ถ้าคุณยังไม่เจองานที่ว่าก็จงหาต่อไป อย่าเพิ่งลงหลักปักฐานเป็นอัน - สตีฟ จ๊อบส์ (ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล)
งานในฝัน 29