ผูกพันธนาการ
ผูกพันธนาการ จารี จันทราภา
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗
ผูกพันธนาการ • จารี จันทราภา
พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ราคา ๑๕๕ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม จารี จันทราภา. ผูกพันธนาการ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๑๙๒ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. เรื่องสั้นไทย. I. ชื่อเรื่อง. ๘๙๕.๙๑๓๐๑ ISBN 978 - 974 - 02 - 1360 - 4 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : โมน สวัสดิ์ศรี • พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม กราฟิกเลย์เอาต์ : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม-ออกแบบปก : อุชุกร ลิ้มพานิชชนก ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน ค�ำอุทิศ เป็นพลเมืองไทย ประมาณเวลา ๒๓.๐๐ น. ความเชื่อ ยิง ความจริงชุดหนึ่ง ที่อยู่ของปลา หน้าองค์พระ เพ้ง
๗ ๑๐ ๑๕ ๑๙ ๓๓ ๔๓ ๖๗ ๗๗ ๙๕ ๑๑๕ ๑๒๕
เพื่อนเก่าแก่ คนที่ไม่ใช่พวกเรา ทิ้ง สามสิบนาที
๑๔๕ ๑๕๕ ๑๖๕ ๑๗๓
เกี่ยวกับผู้เขียน
๑๘๖
ค�ำน�ำ ส�ำนักพิมพ์
เพราะสั ม พั น ธภาพของคนทุ ก ผู ้ มิ ไ ด้ ด� ำ รงอยู ่ เ พื่ อ ความ จ�ำเป็นเท่านั้น ทว่ายังมีอีกมากมายตามแต่เหตุปัจจัย ตรงข้าม กับวิถีแห่งสังคมที่ความเป็นปักเจกเป็นใหญ่บีบคั้นให้ความเชื่อม โยงของผู้คนด�ำเนินไปในมิติอันแตกต่าง ทั้งที่แก่นสารของสัมพันธภาพตามความหมายเชิงปรัชญา นั่นคือความผูกพันที่มนุษย์ควรมีต่อกัน กระนั้นชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันเป็นเรื่องน่าเศร้ายิ่งนัก แม้ การเดินทางจะสะดวกสบาย การติดต่อสื่อสารจะรวดเร็วทันใจ หากแต่ความผูกพันของผู้คนกลับเต็มไปด้วยความไม่มั่นคงราว กับมีเยื่อบางๆ กั้นขวาง ยิ่งเฉพาะกับคนในครอบครัวด้วยแล้ว ทั้งที่รู้เห็น เติบโต ราวกับเดินทางอยู่บนเส้นทางเดียวกัน แต่ สุดท้ายกลับต้องหมางเมินเหินห่าง อีกทั้งบุคคลรายล้อมก็มิได้ ผูกพันธนาการ 7
เสริมส่งชีวิตให้ไปได้ถึงจุดหมาย ทั้งที่หวังว่าจะอาศัยพึ่งพา ซึ่งกันแท้ๆ แต่สิ่งที่ได้รับตอบแทนกลับเป็นความผูกพันเทียม และมิตรภาพฉาบฉวย ด้วยเหตุผลว่าทุกคนต่างต้องเอาตัวรอด สัมพันธภาพระหว่างกันจึงเป็นเพียงกลไกหนึ่งในการเข้าถึง เป้าหมายของแต่ละคน จากเหตุและผลในสิ่งเดียวกัน รวมเรื่องสั้น “ผูกพันธนา การ” จากฝีมือการเขียนของนักเขียนหนุ่ม “จารี จันทราภา” จึงเกิดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ “ความผูกพัน” ใน หลากหลายรูปแบบ นับแต่ความลวงที่ถูกผันแปรให้ผู้คนเชื่อถือว่าเป็นความ จริงโดยปราศจากการตั้งค�ำถาม ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับ ลูกชายที่ต่างก็หมางเมินซึ่งกัน แต่เมื่อฝ่ายหนึ่งจากโลกนี้ไป กลับถวิลคิดได้ถึงความรู้สึกดีๆ ที่เคยมีต่อกัน ขณะในอีกมิติก็ ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับความรู้สึกของพ่อแม่ที่ต้องน�ำลูกชายไป รักษาอาการป่วยไข้ในโรงพยาบาล สัมผัสความเท่าเทียมของ คนไทยที่ขาดไร้การเอาใจใส่มาเป็นเวลานาน ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีเรื่องสั้นที่ว่าด้วยความรักซึ่งจบท้ายด้วยการจากลา ทอด ทิ้งเหตุผลและเรื่องราวของตนลงในความทรงจ�ำส่วนลึก ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องสั้นแนวสมจริงที่เสียดเย้ยสังคม บาง เรื่องเชื่อมร้อยกันด้วยความเชื่อ ความจริง โดยใช้ลูกเล่นแนว ปะติด บางเรื่องฝากสัญลักษณ์ไว้ให้เราขบคิดและตั้งค�ำถาม ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งประเด็นร่วมสมัยโดยเฉพาะเรื่องการเมือง รวมถึงเรื่องในท�ำนองดราม่า เสียดเย้ย วิพากษ์วิจารณ์ความ 8 จารี จันทราภา
เป็นจริงของสังคม ทัง้ นี ้ นอกจากสะท้อนเบือ้ งลึกของจิตใจคนทีฉ่ าบทาด้วย เปลือกนอกแล้ว ยังชี้แนะให้เราได้ตระหนักถึงการด�ำรงอยู่ของ คนในสังคมเดียวกัน นับแต่คนในครอบครัวอันเป็นจุดเริ่มต้น เล็กๆ จนถึงสังคมมหภาคอย่างไม่อาจปฏิเสธได้อีกด้วย ส�ำนักพิมพ์มติชน
ผูกพันธนาการ 9
ค�ำน�ำ ผู้เขียน
ตอนนั้ น เราอยู ่ ก รุ ง เทพฯ เป็ น ช่ ว งปิ ด เทอมขึ้ น ชั้ น ป.๕ แม่บอกภายหลังว่าพ่อเป็นคนให้แม่มาปลุก ก็ยังเช้าอยู่หรอก ส�ำหรับช่วงเวลาปิดเทอมอันแสนสบาย ผมยังไม่อยากลุกจาก ที่นอน “เร็วๆ พ่อคอยอยู่นะ” แม่ก�ำชับ จึงต้องลุกจากที่นอน ไปอาบน�้ำอย่างสะลึมสะลือ เสร็จแล้วใส่เสื้อผ้าที่แม่เตรียมไว้ แล้วรีบลงมาชั้นล่าง พ่อนั่งสูบบุหรี่รออยู่ เมือ่ เห็นผม พ่อก็บบี้ หุ รีใ่ นที่เขีย่ แล้ว เดินน�ำออกจากบ้าน แม่หันมากระซิบว่า “อย่าดื้อนะ” ค�ำว่า อย่าดื้อนะของแม่แปลความได้ไม่ยากส�ำหรับผม รีบเดินตามพ่อจนทัน เป็นกึ่งเดินกึ่งวิ่งเสียมากกว่า พ่อ หยุดรอเป็นระยะ โดยหันมามองแต่ไม่พูดอะไร พ่อไม่เคยเดิน จูงมือหรือเดินเคียงไปด้วยกัน 10 จารี จันทราภา
ถึงถนนใหญ่ รถเมล์สาย ๗๕ เทียบป้ายพอดี ผมเดิน ตามพ่อขึ้นรถ สภาพรถเมล์วันนั้นเป็นอย่างไรจ�ำไม่ได้ ที่จ�ำได้ ก็คือรถปรับอากาศคันเป้าหมายที่เราจะขึ้นคันต่อไปต่างหาก ผมจ�ำได้แม่นย�ำถึงทุกวันนี้ เป็นรถปรับอากาศสาย ปอ.๑ ท่า เตี ย น-ถนนตก รถปรั บ อากาศสายแรกของกรุ ง เทพฯ รถสี น�้ำเงินที่กระเป๋าแต่งตัวดี ใส่สูท สวมหมวก และพูดจาไพเราะ ลงจากรถสาย ๗๕ แถวท่าเตียน เดินไปอีกราวร้อยเมตร ก็ถึงท่ารถ ขึ้นไปนั่งสักพักรถก็ออก รถย้อนกลับทางเก่าเพราะ เป้าหมายของเราคือก่อนถึงถนนตก ผมมาทราบเมื่อลงจากรถ อันที่จริงหากพ่อต้องการไปทางถนนตกจากถนนใหญ่หน้าบ้าน เราไปไม่ไกลนักก็จะถึง แต่นี่พ่อนั่งรถย้อนก็เพื่อจะได้นั่งรถ ปรับอากาศเที่ยว ‘เที่ยว’ ของพ่อนะครับ ส�ำหรับผมไม่ใช่เลย ถึงหน้าปากทางเข้าวัดราชสิงขร พ่อลุกขึ้น ผมลุกตาม ลงจากรถพ่อก็เดินน�ำเข้าวัดจนสุดทาง ผมเห็นเรือมากมาย เข้าใจต่อมาว่าคือท่าเรือด่วนเจ้าพระยาที่ต้นทางหรืออู่เรืออยู ่ ที่นี่ พ่อตีตั๋วสองใบ ผมไม่กล้าถามพ่อว่าไปไหน แล้วเราก็นั่ง กันไปเรื่อยๆ เสียงเครื่องเรือดังมาก ลมและฝอยน�้ำปะทะหน้าเป็น ระยะ ผมตื่นเต้นไม่น้อย นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้นั่งเรือด่วน เรือ แล่นเร็วมาก สองข้างทางเปลี่ยนไปตลอด เรือจอดหลายท่าจน ถึงท่าหนึ่งคนทยอยขึ้นจนหมด ผมเห็นป้ายเขียนว่าท่าน�้ำนนท์ พ่อเดิน เดิน และเดิน ผมตาม ตาม และตามจนถึงร้าน ขายก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่ง พ่อหยุดมองแล้วพ่อก็หันมาทางผม ผูกพันธนาการ 11
ผมนิ่งเหมือนทุกครั้งที่นิ่ง เข้าใจดีว่าต้องกินอาหารที่ร้านนี้แหละ พ่อตรงไปนั่งที่โต๊ะตัวหนึ่งแล้วสั่งอาหารของตัวเองและของผม ผมต้องค่อยๆ กิน ห้ามมูมมาม ห้ามเคี้ยวอาหารเสียงดัง เมื่อกินเสร็จพ่อเดินน�ำออกจากร้าน ไปหยุดหน้าแผง ขายเสื้อแล้วพ่อก็ซื้อของตนเอง แผงข้างๆ มีเสื้อผ้าเด็ก พ่อ เลือกมาทาบตัวผมก่อนจะจ่ายเงินแล้วส่งให้ผมถือถุงเสื้อของ ตนเอง ผมจ�ำไม่ได้ว่าวันนั้นพ่อหยุดไปกี่แผงกี่ร้าน แต่จ�ำได้ว่า ตัวเองนั้นง่วงมาก ผมเดินตามพ่ออย่างซึมเซา มองเด็กคนอื่น ที่มากับพ่อมากับแม่ มองเด็กที่ช่วยพ่อแม่ตนเองขายของ ผม อิจฉาพวกเขาเหลือเกิน จนกระทั่งเห็นพ่อสาวเท้าอยู่ข้างหน้า จึงเข้าใจว่าพ่อ ก�ำลังรีบไปยังท่าเรือด่วน ผมงีบหลับบนเรือและบนรถปรับอากาศจนถึงบ้าน แม่ถามว่าดื้อมั้ย ผมตอบว่าเปล่า แม่ไม่เคยถามว่าสนุก ไหมทุกครั้งที่พ่อพาออกนอกบ้าน ผมจ�ำเสื้อผ้าตัวที่พ่อซื้อให้ วันนั้นไม่ได้ จ�ำไม่ได้ว่ากินก๋วยเตี๋ยวอะไร ลืมแล้วว่าพ่อใส่เสื้อ ผ้าสไตล์ไหน แต่ผมไม่เคยลืมเรื่องราววันนั้น วันนี้แม่ถามว่า จะไปหาพ่อวันนี้ไหม “แกบอกเองไม่ใช่ หรือ พ่อคงไม่พ้นคืนนี้” แม่พูดย�้ำ ผมไม่ได้พบพ่อเกินยี่สิบปีแล้ว เป็นเวลายี่สิบปีที่จะว่า นานก็นาน สั้นก็ใช่ กับความรู้สึกไม่มีพ่อ ไม่เห็นพ่อ 12 จารี จันทราภา
ญาติพี่น้องเสิร์ชหาที่อยู่ผมจนพบในอินเตอร์เน็ตแล้ว โทร.ติดต่อมา ผมเล่าให้แม่ฟัง แม่ ไ ม่ ไ ด้ พู ด ว่ า อย่ า ดื้ อ นะ ตอนผมก้ า วออกจากบ้ า น เพราะพ่อในวันนี้ท�ำเอาผมแทบจ�ำไม่ได้ ชายชราผมสีดอกเลา ร่างกายซูบผอมตรงหน้า ไม่เหลือเค้าความหล่อเหลา ร่างกาย อันสมส่วนและบุคลิกน่าเกรงขาม ครั้งสุดท้ายที่ผมพบพ่อก็วัน ที่พ่อไล่พวกเราออกจากบ้าน ถึงวันนี้มีเรื่องราวมากมายผ่าน เข้ามาในชีวิต ผมมีครอบครัว มีลูก มีหลายอย่างที่เคยไม่มี และไม่มีหลายอย่างที่เคยมี ทั้งเครื่องช่วยหายใจ ทั้งสายระโยงระยางเต็มตัวพ่อไป หมด พี่น้องคนละแม่สบตาผม เราไม่ได้พูดจากัน ทว่าพ่อกลับ จ้องตาผม ผมมองตาพ่อ เรามองผ่านอะไรบางอย่างที่เคลือบ แคลงบังตาเรา ผมรู้สึกว่าขอบตาตัวเองมีน�้ำเอ่อล้นตอนก�ำมือ พ่อและบีบเบาๆ ทุกคนในห้องเงียบ ตอนเดินออกจากห้อง เด็กๆ หลายคนในห้องนั้นซึ่งคงเป็นลูกของพี่น้องต่างแม่มอง หน้าผมเชิงตั้งค�ำถาม ผมไม่รู้จักเด็กกลุ่มนั้น ผมก็คงไม่รู้จักพวกเขาอีกต่อไป เหมือนที่เคยคิดว่าไม่ รู้จักพ่อของตัวเองเลย หากไม่ย้อนคิดถึงวันที่พ่อพาขึ้นรถปรับ อากาศ พานั่งเรือด่วน ลุงพูดกับผมว่า “พ่อรักแกมาก ตามหาแกไม่พบ เค้าก็ ยังให้คนตามหาแก ตามหาแม่แกนะ” ผมไม่รู้ว่าคนเรามีกี่วิธีในการแสดงความรัก ผมไม่อยาก จ�ำอะไรเกี่ยวกับพ่อ นอกจากวันพานั่งรถนั่งเรือวันนั้น ผูกพันธนาการ 13
ผมเชื่อมโยงคนและชีวิตเข้าด้วยกัน ด้วยความรู้สึกนาม ธรรมอันเรียกว่า “ความผูกพัน” นี่แหละ ผมมักมีความสุขทุกครั้งที่ระลึกถึง แม้เรื่องราวเหล่านั้น ในอดีตจะทุกข์ก็ตาม คนอย่างผมด�ำเนินชีวิตได้ก็เพราะน�ำตัวไปผูกพันกับอดีต นี่แหละ อดีตที่ว่ารวมถึงสถานที่ด้วย ยามเดินทางไปที่ใดซ�้ำสอง เพียงแค่ถนนที่เคยผ่าน ผม อดไม่ได้ที่จะต้องมีอดีต มีภาพจ�ำเก่าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ข้อความบางค�ำ ถ้อยประโยคบางกรณีในเรื่องสั้นก็ดึงชุด ความจ�ำบางอย่างหลุดเข้ามา รวมเรื่องสั้นเล่มนี้เขียนด้วยความผูกพัน น�้ำตา ความ ทรงจ�ำ และความสุขของผม ในชีวิตปัจจุบัน คงไม่มีแล้ว อนาคตยังเดินทางมาไม่ถึง แต่ชุดอดีตท�ำให้ผมมีปัจจุบันขณะอย่างเป็นสุข ผมเรียกทั้งหมดนี้ว่า ผูกพันธนาการ... จารี จันทราภา
14 จารี จันทราภา
แด่ พี่เวียง-วชิระ บัวสนธ์ ร่มไม้ใหญ่แห่งชีวิต
ผูกพันธนาการ
เป็นพลเมืองไทย
ผมมองนาฬิกาแขวนผนังของโรงพยาบาลอย่างไม่รู้จะท�ำ อะไร ตีหนึ่งสิบห้านาทีแล้ว จะว่าไปใช่จะไม่มีอะไรท�ำแต่เป็น ภาวะ ‘จิตตก’ เสียมากกว่า ภาพเบื้องหน้าผมเป็นภาพของ บรรดาหมอหลายคนกับพยาบาลอีกหลายคนก�ำลังวิ่งวุ่นและ กุลีกุจอวุ่นวายบนร่างของเด็กน้อยวัยขวบเศษ เด็กน้อยเพศ ชายที่อายุเท่ากับลูกชายผมพอดี เกิดเดือนเดียวกัน รูปร่าง ใกล้เคียงกัน สีผิวเหมือนๆ กัน แม้แต่เส้นผมบนศีรษะก็มีน้อย เหมือนกัน ผมอดเวทนาสงสารหนูน้อยอย่างจับใจไม่ได้ ศัพท์ทางการแพทย์หลายประโยคหลุดจากปากของหมอ และพยาบาล ผมไม่เข้าใจความหมาย แต่เข้าใจในอากัปกิริยา และท่าทีของหมอที่พยายามต่อสู้ยื้อยุดชีวิตเด็กน้อยเป็นอย่าง ดี เพราะก่อนหน้านี้ห้าวันลูกชายผมก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ เป็นพลเมืองไทย 19
ลูกชายผมมีไข้สูงเช่นเดียวกับเด็กน้อยตรงหน้าคนนี้ เช็ด ตัวเท่าไหร่ไข้ก็ไม่ยอมลด ลดได้นิดเดียวเดี๋ยวก็ขึ้นสูงอีก ลูกมี ท่าทีเพลียไข้แต่พยายามยิ้มและเล่นกับแม่กับพ่อตามอุปนิสัย ของแก จนกระทั่งลูกเกิดชักผมก็ยังไม่อยากเชื่อ...วันนั้นวันพุธ ก่อนหน้านั้นวันเสาร์ลูกชายผมเป็นหวัด ภรรยาสังเกต เห็นว่าลูกมีเสมหะสีเขียวปนออกมากับน�้ำมูกเล็กน้อย เธอบอก ผม ผมตัดสินใจในฐานะหัวหน้าครอบครัวว่าพาไปหาหมอดีกว่า ภรรยาทราบมาว่าเสมหะที่สีเขียวตั้งแต่อาการหวัดเริ่มต้นแสดง ว่าร่างกายติดเชื้อแล้ว เธอเกรงว่าโรคภัยจะลามปาม เพราะลูก เคยเป็นไข้เพราะปอดบวมแล้วก็ชักมาแล้ว เราจึงกังวลว่าจะ เกิดขึ้นอีก รีบพาลูกไปหาหมอแต่เช้า ที่โรงพยาบาลแม้จะเป็นวันหยุดแต่คนป่วยรอหมอรักษา แน่นหน้าห้อง ตอนซักประวัติผู้ป่วยมีการวัดไข้ลูกผมก็ยังไม่ม ี ไข้ หลังหมอตรวจก็ได้ยามา หมอบอกว่าเป็นหวัดธรรมดา เราก็สบายใจ กลับถึงบ้านยังสนุกสนานกันทั้งพ่อแม่ลูก เย้า แหย่กันตามประสา วันจันทร์ถัดมาลูกเริ่มมีไข้ เรากังวลกันรีบเช็ดตัวลูก ไข้ ลดได้พักใหญ่ก็ไต่ระดับจนสูงขนาด ๓๘.๕ เซลเซียส คนเป็น แม่ไม่สบายใจ ผมจึงตกลงใจพาลูกไปโรงพยาบาลอีกครั้ง แต่ หนนี้ไม่ใช่โรงพยาบาลเดิม ที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ หมอหญิงรูปร่างใหญ่คนหนึ่งก็ ตรวจแล้วบอกว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา เรากังวลเรื่องไข้สูงที่เช็ด ตัวเท่าไหร่ก็ลดได้เพียงช่วงสั้นๆ แล้วก็จะขึ้นสูงอีก เรายังยืน 20 จารี จันทราภา