สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

Page 1


สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น


สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น


ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗


คำ�นำ� พิมพ์ครั้งที่ ๑

สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

บันทึกเรือ่ ง สิง่ ทีข่ า้ พเจ้าพบเห็น นี ้ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล  ได้ทรงนิพนธ์ไว้จบสมบูรณ์ตงั้ แต่ป ี ๒๔๘๖.  ต้นฉบับพิมพ์ดดี ทีท่ รง เตรียมไว้นั้น เป็นกระดาษพิมพ์ยาว และเย็บแบ่งเป็นเล่มไว้หลายเล่ม, พร้อมที่จะน�ำไปเรียงพิมพ์เป็นเล่มหนังสือต่อไป. ด้วยเหตุผลอย่างใด  อย่างหนึ่งซึ่งไม่เป็นที่ปรากฏ, หลังจากที่ทรงตระเตรียมไว้เช่นนั้นแล้ว บันทึกเรื่องนี้กลับมิได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในช่วง  เวลานั้น หรือแม้ในระยะหลังต่อมาในช่วงชีวิตของท่านผู้ทรงนิพนธ์,  หากยังคงอยูใ่ นสภาพของต้นฉบับมาจนกระทัง่ ปี ๒๕๔๒ ซึง่ นับเป็น  เวลากว่ า ครึ่ ง ศตวรรษ หลังจากปีที่การบันทึกนั้นได้ถูกกระท�ำไว้ เรียบร้อยแล้ว. ข้อสันนิษฐานในเรื่องที่ทรงเก็บไว้เฉยๆ เช่นนั้นตลอดมาบางที จะเป็นได้หลายทาง, เช่นว่าทรงเปลี่ยนพระทัย, หรือทรงเห็นว่า ยังมี ภาระธุระอย่างอื่นที่สำ� คัญกว่าและเร่งด่วนกว่า, หรือว่ามีข้อขัดข้องอื่น ใดที่ท�ำให้ไม่ทรงกระตือรือร้นที่จะจัดพิมพ์ออกมา. ข้อหนึ่งที่เราต้อง ไม่ลืมก็คือในช่วงปีแรกๆ นั้นการจัดพิมพ์คงท�ำได้ไม่สะดวกนัก เพราะ นอกจากสภาพสังคมและการเมืองที่ท่านผู้ทรงนิพนธ์อาจจะเห็นว่าไม่ เอื้อแล้ว ปัญหาจากสงครามก็คงเป็นอุปสรรคอยู่ไม่น้อย, ดังตัวอย่าง งานวรรณคดีการเมืองเรื่อง สามกรุง ของ น.ม.ส. ซึ่งพระนิพนธ์ขึ้น ในระยะเวลาไล่ๆ กัน ก็ยงั ต้องคอยมาอีกหลายปีกว่าทีจ่ ะได้มกี ารพิมพ์ ออกมา.


อย่างไรก็ตาม, หลังจากผ่านช่วงสงครามไปแล้ว โอกาสในการ จั ด พิ ม พ์ ก็ ดู จ ะมี อ ยู ่ ม าก ดั ง จะเห็ น ว่ า มี ง านบั น ทึ ก ท� ำ นองนี้ ป รากฏ ออกมาไม่น้อย, โดยเฉพาะภายหลังการรัฐประหาร ๒๔๙๐. นับแต่ ปี ๒๔๙๒ มา งานจ�ำพวก เมื่อข้าพเจ้าก่อการกบฏ ของ หลวงโหม รอนราญ, งานอย่าง ยุคทมิฬ ของ พายัพ โรจนวิภาต (ขุนโรจนวิชยั ), ความฝันของนักอุดมคติ (หรือต่อมาจะรู้จักกัน ในชื่อ เมืองนิมิตร) ของ ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน, ตลอดไปจนถึงงานเขียนอย่างของ “แมลงหวี่’, “ไทยน้อย” และอื่นๆ ต่างทยอยกันออกมา. แต่แม้ใน เวลาที่ประวัติก�ำลังถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างเอาการเอางานและอย่างต่อ เนื่องเช่นนี้ งานของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งจะว่าไปแล้วก็มี เนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งราวในช่วงก่อนการเปลีย่ นแปลงการปกครอง อยู่ไม่น้อยไปกว่าบันทึกของท่านอื่นๆ ก็ยังคงมิได้ปรากฏออกมาสู่ สาธารณชน. แต่ไม่ว่าเหตุผลที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร, ข้อหนึ่งที่เห็นได้จาก  ต้นฉบับก็คือ หลังจากที่ได้ทรงตระเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ก็มิได้  ทรงหวนมาแตะต้องแก้ไขอีกเลย. ภาระในการจัดตรวจทานต้นฉบับ  อีกครั้งเพื่อการจัดพิมพ์ในปี ๒๕๔๒ จึงเป็นของท่านผู้ที่มีส่วน  ส�ำคัญยิ่งในการท�ำให้บันทึกส�ำคัญเรื่องนี้ได้เผยแพร่ออกมาสู่ผู้อ่าน,  นั่ น ก็ คื อ ศาสตราจารย์  หม่ อ มเจ้ า สุ ภั ท รดิ ศ  ดิ ศ กุ ล . การที่ เ รี ย ก ว่าตรวจทานนั้นก็คือ ทรงละพระนามหรือนามของบุคคลที่มีบทบาท อยู่ในบันทึกนี้ออกบ้างในบางแห่งที่ทรงเห็นว่าควรจะละ ดังท่านผู้อ่าน จะเห็นได้โดยง่ายจากจุดไข่ปลาที่มีคั่นอยู่เป็นตอนๆ นั้นเอง. ข้อที่ควรจะได้กล่าวไว้ในที่นี้ด้วยก็คือลักษณะของต้นฉบับ. ต้นฉบับทีท่ า่ นศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศทรงตรวจและประทาน มาให้ ศิลปวัฒนธรรม นัน้  มีจำ� นวน ๓ เล่ม; ๒ ใน ๓ เล่มนัน้  มีเลข หน้าเรียงกันตัง้ แต่หน้า ๒๖๗ ไปจนถึงหน้า ๓๔๙ ในเล่มหนึง่  และ ตั้งแต่หน้า ๓๕๐ ไปจนจบเรื่องบริบูรณ์ในหน้า ๔๒๖. ส่วนอีกเล่ม หนึ่งนับเลขหน้าแปลกไป, คือเริ่มที่หน้า ๓๕๐ เป็นเรื่องวันสวรรคต


รัชกาลที ่ ๖ และขึน้ ตอนใหม่วา่  “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาล ที่ ๗” จากนั้นก็ทรงแบ่งเป็นบทต่างๆ ไปจนจบเรื่องและจบเล่มที่หน้า ๔๕๘. ต้นฉบับเล่มหลังนี้เข้าใจว่าจะทรงนิพนธ์เป็นส่วนต่างหาก, ดัง จะเห็นได้จากในตอนหนึ่งที่ทรงกล่าวว่า “เป็นอันจบเรื่องของพระเจ้า แผ่นดิน ๗ พระองค์ในพระราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือจะเรียกว่า-ปิตุรัฐ ก็ตาม.” ความตั้งแต่หน้า ๑ มาจนถึงหน้า ๓๔๙ ของต้นฉบับส่วนนี้ ซึ่งขาดไป ก็น่าที่จะเป็นเรื่องราวตั้งแต่ครั้ง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เรือ่ ยมาจนสิน้ รัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. หากจะสันนิษฐานก็คงเป็น ว่า ทรงนิพนธ์เรื่องทั้งหมดไว้เป็น ๒ ภาค, กล่าวคือเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง กับสถาบันพระมหากษัตริย์และเมืองไทยภาคหนึ่ง, และเรื่องในส่วน ของท่านผู้ทรงนิพนธ์เอง (อันรวมทั้งเรื่องของพระบิดาและเจ้าพี่เจ้า น้อง) อีกภาคหนึ่ง, ซึ่งทั้ง ๒ ภาคนี้ต่างก็มีส่วนที่ยังหาไม่พบ. แต่ถึงแม้ต้นฉบับทั้งหมดจะไม่บริบูรณ์ก็จริง หากการที่ท่าน ผู้ทรงนิพนธ์ทรงแบ่งเรื่องไว้เป็นหมวดหมู่ และแต่ละหมวดแต่ละตอน นั้นก็มีความสมบูรณ์ในตัวเองนั้นเอง, ไม่ว่าผู้อ่านจะจับอ่านตอนใด จึงคงตามเรื่องนั้นๆ ไปได้โดยตลอดแต่ต้นจนจบ โดยไม่ต้องพะวัก พะวนกับส่วนอื่นๆ. ส่ ว นที่   ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ได้ น� ำ บางตอนมาตี พิ ม พ์ ก ่ อ นนี้   คื อ เรื่องราวจากในเล่มที่เป็นต่างหากนั้นเอง, โดยคัดมาจากบทที่เกี่ยว เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเหตุการณ์ทาง การเมืองในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง. ความ ตอนนี้ได้เคยทยอยลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม มาก่อน, ตั้ ง แต่ ฉ บั บ ประจ� ำ เดื อ นมี น าคม ๒๕๔๒ จนถึ ง ฉบั บ ประจ� ำ เดื อ น สิงหาคม ๒๕๔๒ (ขณะเดียวกันนัน้ เอง บางส่วนของบันทึกนีก้ ไ็ ด้ถกู คัดไปลงนิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ ด้วยในชื่อเรื่องเดียวกัน คือ “สิ่ง ที่ข้าพเจ้าพบเห็น”)


ผูท้ ไี่ ด้อา่ นบันทึก สิง่ ทีข่ า้ พเจ้าพบเห็น ทุกท่าน ไม่วา่ จะมีทศั นะ  อย่างไร ก็คงเห็นตรงกันอย่างหนึ่งว่า บันทึกเรื่องนี้น่าอ่านอย่างยิ่ง.  ที่ว่าน่าอ่านนั้น ไม่ใช่แต่เพียงส�ำนวนโวหาร หรือความตรงไปตรงมา  ของผูท้ รงนิพนธ์, หากยังอยูท่ เี่ รือ่ งทีท่ รงน�ำมาเล่าด้วย. เรามีหนังสือ หรือบันทึกทีเ่ กีย่ วกับความเป็นไปทางการเมืองในเวลานัน้ อยูห่ ลายเล่ม แต่จะหาเล่มใดให้ภาพในมุมเดียวกันกับทีเ่ ล่มนีใ้ ห้เห็นจะไม่ม.ี  หม่อมเจ้า พูนพิศมัย ดิศกุล ผู้ทรงนิพนธ์เป็นบุคคลที่อยู่ในสถานะที่จะบันทึก เรื่องราวเหล่านี้ได้ดีกว่าผู้อื่นที่อาจจะเพียงได้ยินได้ฟัง, เพราะทรงอยู่ ในเหตุการณ์หลายตอน, ทั้งนี้ยังไม่นับว่าทรงเป็นพระธิดาที่อยู่ใกล้ชิด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพตลอดเวลา ซึง่ ท�ำให้ได้สดับตรับฟังและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆ ไม่น้อย. อย่างไรก็ตาม, เราจะต้องตระหนักไว้ข้อหนึ่งด้วยว่า, บันทึก เรื่องนี้ก็เป็นดั่งบันทึกอื่นๆ, กล่าวคือ, เป็นบันทึกความทรงจ�ำที่มีต่อ เหตุการณ์ที่ล่วงไปแล้ว มิใช่งานที่เรียบเรียงขึ้นอย่างการค้นคว้า; ข้อมูลในบางแห่งอาจมีคลาดเคลื่อนไปบ้าง ทั้งโดยการที่ลืมอันเป็น ธรรมดาวิสัยหรือโดยที่ได้ฟังมาจากค�ำบอกเล่าที่คลาดเคลื่อนของ ผู้อื่นในกรณีที่ผู้บันทึกนั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยตัวเอง. ยิ่งในกรณีอย่างเหตุการณ์ ๒๔๗๕ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ข่าว ที่ ป รากฏออกมาก็ ย ่ อ มจะสั บ สนและผั น แปรไปได้ ม าก. ผู ้ ที่ ไ ด้ อ ่ า น หนังสือ “ท่านหญิงแก้ว” บางทีจะจ�ำได้ว่า หลังจากที่สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงถูกจับเป็นในเช้าวันที่ ๒๔ มิถนุ ายน ๒๔๗๕ นัน้ ก็ทรงมีลายพระหัตถ์ถงึ  “ท่านหญิงแก้ว” (หม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา เทวกุล-พระธิดา) ว่า “...ในเวลาที่เขาเอา  ไปคุมไว้นั้น เขาก็ไม่ได้ลบหลู่ดูหมิ่นพ่อแต่อย่างใด นอกจากบังคับ  ให้อยู่ในที่มีจ�ำกัดตลอดเวลา ๔ วัน...” หลังจากนั้น สมเด็จพระพัน วัสสาก็ทรงมีลายพระหัตถ์ถึง “ท่านหญิงแก้ว” เช่นกัน, ว่า “...สงสาร  เสด็จพ่อของเธอ ว่าแก่แล้วตัง้  ๗๐ ปี ขังอยูไ่ ด้ราว ๗-๘ วัน พระเจ้า  อยู่หัวขอให้ออก จึงออกมาได้ เขาจับทารุณกรรม เที่ยวเอาปืนจ่อไป


ทุกแห่ง...”. ความที่ต่างไปนี้ เข้าใจได้ว่าจะทรงไปตามที่มีผู้กราบทูล ประกอบกับที่ทรงเป็นห่วงสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงฯ เป็นอย่างยิ่ง. ในเวลาเช่นนั้นไม่มีผู้ใดจะสามารถตรวจสอบได้ว่าอะไรเป็นอะไร นอก จากจะอยู่ในเหตุการณ์นั้นเสียเอง. ตัวอย่างจาก สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ที่พอจะยกมาให้เห็นในที่นี้ ก็คอื ทีท่ รงกล่าวถึง “นายร้อยตรีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์คนหนึง่ , ชื่อพุฒ” นั้น ความจริงคือ นายพันตรี หลวงราญรณกาจ (พุฒ วินิจ ฉัยกุล) ซึ่งหลายปีต่อมาถูกต�ำรวจยิงจนเสียชีวิตที่บ้าน, หรืออย่าง นามและนามสกุลของพระราชญาติรักษานั้นก็น่าจะคลาดเคลื่อนอยู่, ดังนี้ เป็นต้น. แต่ขอ้ คลาดเคลือ่ นเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี ้ ซึง่ ย่อมมีอยูเ่ ป็นธรรมดา ไม่ได้ท�ำให้ข้อใหญ่ใจความของบันทึกทั้งเล่มสูญเสียไปแต่ประการใด. เมื่อท่านศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ประทานต้นฉบับ นี้ให้กับศิลปวัฒนธรรม ก็ทรงหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ประวัติศาสตร์ต่อไป. ผู้ที่ได้อ่านจะพบว่า ข้อที่ทรงหวังนั้น มิได้เป็น ความหวังเปล่าเลย. ส�ำนักศิลปวัฒนธรรม


หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล


พระนิพนธ์เรือ่ ง สิง่ ทีข่ า้ พเจ้าพบเห็น ของ ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล นี้ ทรงนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นต้นฉบับพิมพ์ดีด ต่อมา ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงตรวจแก้เล็กน้อย แล้ว ประทานให้ “ศิลปวัฒนธรรม” พิมพ์เผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อการ ศึกษาประวัติศาสตร์ต่อไป กองบรรณาธิการ “ศิลปวัฒนธรรม” ขอกราบแทบฝ่าพระบาท มาด้วยส�ำนึกในพระเดชพระคุณอย่างสูงยิ่ง


หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล (ซ้าย-ผู้เขียน)  และหม่อมเจ้าพิลัยเลขา ดิศกุล  ทรงฉายกับเสด็จพ่อ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ  ในคราวเสด็จเยือนอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓


(จากซ้าย) สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย หม่อมเจ้าพิลัยเลขา  และหม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล  ถ่ายที่เมืองบันดุง เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ ที ่ ๙ ของสมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั รัชกาลที ่ ๕ และสมเด็จ พระบรมราชินีนาถเสาวภาผ่องศรี.      เสด็จพระราชสมภพเมื่อปีมะเส็ง วันพุธ เดือน ๑๑ แรม ๑๔ ค�่ำ ทางจันทรกาล ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ที่ พ ระที่ นั่ ง สุ ท ธาศรี อ ภิ ร มย์  ส่ ว นหนึ่ ง ของ พระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ซึง่ เรียกกัน เป็นค�ำสามัญว่า-ที่บน, เป็นที่ประทับของพระราชมารดา. พระองค์เจ้าหญิงมนัศสวาสดิ์ พระธิดากรมหลวงอดิศร อุดมเดชเป็นพระพี่เลี้ยง. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เป็นผู้ที่ควรเรียก ได้ว่า- “กษัตริย์ผู้มีกรรม” เพราะเริ่มแต่เสด็จมาสู่พระ ครรภ์ พ ระมารดาได้ ร าวเดื อ นหนึ่ ง ก็ ถึ ง เวลาที่ M. Pavi พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงฉายขณะศึกษาอยู่ที่โรงเรียนอีตัน  ประเทศอังกฤษ



16 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ราชทูตฝรั่งเศสยื่นค�ำขาดแก่-เมืองไทยในเดือนเมษายน ร.ศ. ๑๑๒ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ประสูติในเดือนพฤศจิกายนปีนั้นเอง! จะเป็นด้วยเหตุที่เสด็จมาสู่โลกนี้ในเวลาที่พระชนกชนนีทรงมี ทุกข์หนัก, หรือจะเป็นด้วยต้องทรงพระเจริญขึ้นในระหว่างบ้านเมือง อยู่ในความยุ่งยากต่างๆ ต่อมาอีกนานก็ตาม, สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ ทรงแข็งแรงมาแต่ทรงพระเยาว์จนตลอดพระชนม์ชีพ. ทั้งทรงเป็น พระราชโอรสพระองค์สุดท้องของสมเด็จพระชนกชนนีด้วย, จึงไม่ ค่อยมีใครเอาใจใส่มากหรือกวดขันในเรื่องทรงเล่าเรียน, เพราะโดย มากมักเห็นว่าทรงเป็นเด็กอยู่เสมอ. ได้ตั้งต้นทรงพระอักษรภาษาไทยกับพระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนู อิศรางกูร) เมื่อพระชันษา ๗ ปี แล้วต่อมาเสด็จเข้าโรงเรียนนาย ร้อยทหารบกในกรุงเทพฯ พร้อมด้วยทูลกระหม่อมมหิดลอดุลยเดช และทูลกระหม่อมจุฑาธุชพระเชษฐา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘, และทรงตั้ง ต้นเรียนภาษาอังกฤษกับข้าราชการในกรมราชเลขาธิการของสมเด็จ พระราชบิดาในตอนเช้าทุกวัน. ตอนบ่ายหมดเวลาทรงเรียนแล้ว, ก็ เสด็จขึ้นเฝ้ารับใช้สมเด็จพระชนก, และตามเสด็จประพาสในที่ต่างๆ. ข้าพเจ้ายังจ� ำได้ดีถึงเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จ ประทั บ อยู ่ ที่ พ ระที่ นั่ ง วิ ม านเมฆและก่ อ นขึ้ น พระที่ นั่ ง อั ม พรสถาน, เพราะในเวลาที่ขึ้นเฝ้าหรือเสด็จประพาสนั้น, เราต้องพบเล่นหัวกัน อยู่เสมอ. ข้าพเจ้าและหญิงเหลือเป็นเด็กกว่าท่าน, ฉะนั้นเวลาที่โปรด ให้เด็กๆ วิ่งเล่นกันในสวนหน้าพระที่นั่งอัมพรฯ แล้ว, เราสองคนมัก จะถูกในหลวงพระองค์นกี้ บั หม่อมเจ้าผูช้ ายเด็กๆ-แกล้ง, รังแก, ล้อเล่น ต่างๆ จนเราเกลียดเด็กผู้ชาย. ถึ ง ปี  พ.ศ. ๒๔๔๘ เดื อ นมกราคม สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มี พระชนม์ครบเวลาโสกันต์. สมเด็จพระราชบิดาโปรดฯ ให้จัดงานพระ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงฉายกับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง


17


18 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ราชพิธีนั้นรวมกับการตั้งพระสุพรรณบัตรเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา, ตามราชประเพณี, ทีพ่ ระทีน่ งั่ ดุสิตมหาปราสาท. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโสกันต์แล้ว เสด็จไปทรงศึกษาวิชายัง ยุโรปเมื่อพระชันษาได้ ๑๓ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม, เวลาเช้าทรงท�ำพิธีรับศีลเป็นพุทธมามกะที่ในพระอุโบสถวัดพระแก้ว แล้ว สมเด็จพระชนกชนนีก็เสด็จไปส่งยังเมืองสมุทรปราการ. โปรด ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ สมุหราชองครักษ์ไปส่งเสด็จกับเรือ พระที่นั่งจักรีที่เมืองสิงคโปร์ แล้วเสด็จเปลี่ยนไปลงเรือเมล์ญี่ปุ่นกับ พระยาศรีธรรมสาสน์ (ทองดี) ผู้เป็นราชทูตไทยอยู่เมืองเซนต์ปีเตอร์ สเบิก, รัสเซีย, ไปส่งเสด็จยังยุโรป, เสด็จขึ้นบกที่เมืองเยนัวแล้วผ่าน ฝรั่งเศสไปยังเมืองอังกฤษ. ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับครูพิเศษแล้ว จึงเสด็จเข้าเรียนในโรงเรียน Eton. เมื่อเสวยราชย์แล้วได้พระราชทาน Italian Garden ไว้เป็นที่ระลึกแก่โรงเรียน Eton นี้. ยังมีรูปครุฑอยู่ ที่ในสวนเป็นส�ำคัญ. ถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๓ สมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต, เป็น เหตุให้เจ้านายพระเจ้าลูกเธอต้องเสด็จกลับมาถวายพระเพลิง พระบรมศพกันทุกพระองค์. สมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั ก็เสด็จกลับมา กับพระเชษฐาด้วย. ในเวลานั้นทรงมีพระชันษาได้ ๑๗ ปี, แต่ก็ย่อมทรงเป็นเด็ก ส�ำหรับพระชนนีอยู่เสมอเป็นธรรมดา. ฉะนั้นพอเสด็จกลับมาก็เสด็จ ไปประทับอยู่ที่พระต�ำหนักพญาไทกับสมเด็จพระราชมารดาและทูล กระหม่อมจุฑาธุชด้วย. ตอนนี้ข้าพเจ้ามีโอกาสที่ได้รู้เรื่องจริง, เพราะ หญิงพิลัยเองไปเกิดมีนิยายสวาทขึ้นอย่างไม่น่าแปลกใจอย่างไรเลยด้วยสมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระกรุณาเลี้ยงเธอมาอย่างติดพระองค์ แต่ ๔ ขวบดังเล่ามาแล้วในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้เรียนวิชาในโรงเรียน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์  ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา  ใน พ.ศ. ๒๔๔๘


19


20 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น


21

ราชินีจนได้เป็นครูสอนนักเรียนอยู่ ๑ ปี แล้วก็ออกมาอยู่รับใช้ติด พระองค์ด้วยเป็นผู้อ่านหนังสือถวายและตามเสด็จไปในที่ต่างๆ. ในเวลาที่ทูลกระหม่อม ๒ พระองค์เสด็จกลับมาประทับอยู่กับ สมเด็จพระชนนีนี้, หญิงพิลัยก�ำลังเป็น Freshy อายุ ๑๔ ปี. เมื่อมี ทูลกระหม่อมจุฑาธุช พระชันษาได้ ๑๘ ปี และทูลกระหม่อมประชา ธิปกฯ พระชันษาได้ ๑๗ ปี มาอยู่ร่วมหลังคาด้วยกันทุกๆ วัน, การ คุ้นเคยนั้นก็เลยเป็นนิยายสวาทไปตามธรรมชาติของอายุ และชาย หนุ่มอายุ ๑๘ กับ ๑๗ ปี ก็สนุกในการแย่งชิงกันเป็นธรรมดา, แต่ ทูลกระหม่อมจุฑาธุชทรงอ่อนแอทั้งพระรูปและพระอนามัยจึงเป็นผู้ แพ้แก่พระอนุชา, ทัง้ เป็นเหตุให้ฝา่ ยชนะต้องรีบรัดจัดการให้เรียบร้อย. ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ (ในหลวง) จึงกราบทูลขอหญิงพิลัยต่อ พระชนนี, ซึ่งก็ต้องทรงยินดีเห็นชอบด้วยอย่างแน่นอน. สมเด็จพระพันปีทูลให้เด็จพ่อทรงทราบแล้ว ก็ตรัสกับตัวหญิง พิลัยว่า- “ที่จริงการแต่งงานนั้นน่ะ, ไม่ได้ดีจริงๆ อย่างเราคิดกัน. แต่ เรื่องนี้ผู้หลักผู้ใหญ่ก็เห็นดีกันอยู่แล้วจึงควรจะตกลงใจได้.” ต่อจากนั้นไป, ก็ทรงอนุญาตให้แลกของและติดต่อกันได้ทาง จดหมาย, แม้ในเวลาที่ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ เสด็จกลับไปเล่า เรียนต่อในยุโรปประเทศแล้ว. สมเด็จพระชนนีได้เสด็จไปส่งทูลกระ หม่อมทั้งสองพระองค์นี้ที่เมืองฮ่องกงใน พ.ศ. ๒๔๕๔ แล้วจึงเสด็จ โดยเรือเมล์ญี่ปุ่นไปยังเมืองวลาดิวอซตอกค์เพื่อจับรถไฟสายไซบีเรีย ไปยุ โ รปพร้ อ มด้ ว ยนั ก เรี ย นอื่ น , ซึ่ ง มี ห ม่ อ มเจ้ า บวรเดช กฤดากร ราชทูตไทยประจ�ำกรุงปารีสเป็นผู้ควบคุมไป. ถึงเมืองอังกฤษแล้วก็ ทรงเข้าเรียนต่อใน Eton จบแล้วเสด็จมาเข้าโรงเรียนทหารปืนใหญ่ที่ Woolwich จนจบแล้วก็เข้าประจ�ำกองพันทหารปืนใหญ่ม้า. ในเวลา มหาสงคราม A.D. 1914 หนังสือพิมพ์ Daily Sketch (April 25th 1934) ลงไว้ว่า ดังนี้ :สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา  ทรงเครื่องแบบนักเรียนนายร้อยเมืองวูลิช ประเทศอังกฤษ


22 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

“After leaving Woolwich he was attached to ‘L’ Battery of the Royal Horse Artillery then stationed at Aldershot and took his share of duty with the other subalterns.  When the war broke out in 1914 he tried his utmost to go into active service and was bitterly disppointed to find that the authorities opposed the idea. ‘L’ Battery was nearly wiped out a few months later at Nary.” สมเด็จพระเจ้ายอร์ชที ่ ๕ ก็ได้ตรัสเล่าพระราชทานเราเมือ่  ค.ศ. ๑๙๓๐ ว่า- “ในหลวงของท่านอยากจะไปรบให้ได้. ฉันต้องบอกว่าจะ เอาลูกเขาไปตายไม่ได้จริงๆ.” เสด็จกลับจากยุโรปเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ มี พระชนมายุได้ ๒๒ ปีเศษ, ทรงแข็งแรงและมีความมุ่งหมายในการ ภายหน้าของพระองค์อย่างที่ผู้ได้เล่าเรียนจบแล้วกลับมาจะท�ำงาน. สมเด็จพระเชษฐาธิราชโปรดพระราชทานยศให้ทรงเป็นนาย ร้อยโทและไปทรงท�ำงานอยู่ในกรมเสนาธิการทหารบกในปีนั้น แล้ว ย้ายมาทรงเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ ร.อ. แล้วย้ายมาประจ�ำกองบัญชาการกองทัพน้อยที่ ๑ ต่อมาได้ทรงเป็น ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นปถม มียศเป็นนายพันโท. ในเรื่ อ งส่ ว นพระองค์ ,  สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า กรมหลวงพิ ษ ณุ โ ลกฯ พระเชษฐา ทรงเกรงว่าสมเด็จพระชนนีจะทรง Spoil พระอนุชาพระ องค์นี้, จึงกราบทูลขอว่า-อย่าเพ่อให้ทรงท�ำการสมรสจนกว่าจะท�ำงาน ได้เป็นล�ำ่ สัน, และก็ไม่ได้มใี ครโต้แย้งกันสักคนในข้อนี.้  ทูลกระหม่อม ประชาธิปกฯ ก็คงเสด็จอยู่กับพระราชมารดาที่วังพญาไทจนได้พระ ราชทานที่วังสุโขทัยและปลูกต�ำหนักไม้เล็กๆ ขึ้นเสร็จแล้ว, จึงเสด็จ ไปประทับอยู่ที่วังของพระองค์ท่าน. แต่ในระหว่างที่ประทับอยู่กับ สมเด็จพระพันปีนี้ พวกที่เรียกว่าเป็นสาวแล้ว ก็ต้องระวังตัวให้ถูก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์


23


24 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

แบบแผน, กล่าวคือจะคลุกคลีเล่นหัวอย่างเด็กๆ ไม่ได้. ผู้ที่จะเป็น เพื่อนเล่นกับทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ได้ก็มีแต่พวกเด็กๆ ที่สมเด็จ พระพันปีทรงเลี้ยงไว้, มีคือ : ๑. พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ พระราชนัดดา หลานย่า ๒. หม่อมเจ้าหญิงร�ำไพพรรณี พระราชนัดดา หลานป้า, ลูกสมเด็จกรมพระสวัสดิวัตนวิสิษฐ์ และเด็กอื่นๆ อีก ๒-๓ คน, ซึ่งมีอายุราว ๙-๑๐ ปีทั้งนั้น. การที่เล่นกันทุกวันทุกเวลานั้น...แม้ใครจะเห็นแปลกตาก็พูด ไม่ออก. ...ต่อมา...ซึ่งอยู่ที่โรงนาในพญาไทนั้นเองก็ชวนทูลกระหม่อม ประชาธิปกฯ ให้ไปประทับอยู่ด้วยเป็นครั้งคราว. ในไม่ช้าต่อมา, ทูล กระหม่อมพระองค์นี้ก็ค่อยๆ ไม่รู้จักกับหญิงพิลัยขึ้นทุกที จนลงท้าย ไม่พูดด้วยทั้งหลบหลีกหนีไปโดยที่ไม่มีเรื่องอะไรจะโกรธเคืองกันเลย. สมเด็จพระพันปีไม่ทรงทราบอะไรทั้งหมด จนถึงวันที่ทูลกระ หม่อมประชาธิปกฯ ทรงกราบทูลจะขอแต่งงานกับหญิงร� ำไพพรรณี จึงได้ทรงทราบว่าเรือ่ งมันเลยมาเสียแล้ว. เราเข้าใจกันว่าคงทรงร�ำคาญ พระหฤทัยอยู่เหมือนกัน, เพราะเมื่อหญิงพิลัยไม่สบายขึ้นมาก็เลย พระราชทานอนุญาตว่าจะออกไปรักษาตัวอยู่ที่บ้านก็ได้, และหญิง พิลัยก็เลยกราบทูลลามาอยู่บ้านเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ เรื่องก็ลงเอยกัน อย่างไม่มีเรื่องอะไร. พระเจ้าอยู่หัวทรงท�ำงานอยู่ในกระทรวงกลาโหม, สังกัดกรม ทหารปืนใหญ่เรื่อยๆ มาอย่างนายทหารหนุ่มผู้หนึ่ง, ไม่มีเหตุการณ์ อันใดที่ควรเรียกว่าพิเศษ. ทางฝ่ายพระราชวงศ์ก็คงทรงเป็น Baby of the family อยู่เสมอ, ไม่มีผู้ใดคิดคาดว่าจะได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินเลย. แม้ผู้ที่ชอบเล่นกับบุญวาสนาก็ไม่มีใครเข้า ประจบสอพลอ, จึงทรงคลุกคลีอยู่แต่กับคณะสมเด็จกรมพระสวัสดิฯ และข้าในกรมพระองค์ ๔-๕ คนเท่านั้น. มีพวกที่ทรงคุ้นเคยมาแต่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อทรงผนวช พ.ศ. ๒๔๖๐


25


26 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

เมืองนอก คือพวกกฤดากรเป็นพิเศษ, เพราะพระองค์บวรเดช (กฤดา กร) ได้เป็นราชทูตไทยอยู่ในปารีสเวลาที่ทรงเล่าเรียนอยู่นั้น. เข้าใจกันว่าเหตุที่จะทรงผนวชนี้, เป็นด้วยอยากจะให้สมเด็จ พระราชชนนีพอพระราชหฤทัย, แล้วจะได้ทรงขอท� ำการสมรสต่อไป ได้สะดวก. ฉะนั้นถึง พ.ศ. ๒๔๖๐ ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ก็ทรง กราบบั ง คมทู ล ขอพระราชานุ ญ าตอุ ป สมบทเป็ น พระภิ ก ษุ ต ามราช ประเพณี. โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพิธียังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ศกนั้น. ทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับยังวัด บวรนิ เ วศวิ ห าร เสด็ จ อยู ่ กั บ สมเด็ จ กรมพระยาวชิ ร ญาณวโรรส พระอุปัชฌาย์, จนครบ ๑ พรรษา (๓ เดือน) แล้วก็ทรงลาพระผนวช, กลับมาทรงรับราชการทหารต่อไปดังเดิม. อย่างไรก็ตาม, สมเด็จพระพันปีหลวงทรงมีพระราชโอรส ซึ่งเสด็จอยู่มาจนมีพระชนม์ครบอุปสมบทได้ถึง ๕ พระองค์, แต่ได้ทรงสมัครพระทัยเสด็จออกบรรพชาแต่ ๒ พระองค์ คือ พระองค์ใหญ่และสุดท้อง, และทั้ง ๒ พระองค์ก็ได้ทรงเป็น พุทธศาสนูปถัมภก ด้วยได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่น ดินไทยแต่ ๒ พระองค์นี้. ดูราวกับเทพยดาเจ้าได้ถวายโอกาส ให้ได้ทรงท�ำหน้าที่โดยครบถ้วนบริบูรณ์. รุ่งขึ้นปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หม่อมเจ้าหญิงร�ำไพพรรณีมีชนมายุเข้า ๑๔ ปี, ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ จึงกราบทูลขอสมเด็จพระชนนี และสมเด็จพระเชษฐาธิราช, ให้ทรงท�ำการอภิเษกสมรสพระราชทาน. โปรดเกล้าฯ ให้มีงานพิธีนั้นที่พระที่นั่งวโรภาศพิมานในพระราชวังบาง ปะอิน เมือ่ วันที ่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๖๑ แล้วเสด็จไปประทับยังวังสุโขทัย และท�ำพระต�ำหนักใหม่เสร็จแล้วก็มีการขึ้นวัง. ต่ อ มาอีก  ๒ ปี ,  ทู ล กระหม่ อ มประชาธิป กฯ ก็ป ระชวรเป็ น สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา  ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำ�ไพพรรณี สวัสดิวัตน์  เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑


27


28 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น


29

พระโรคล�ำไส้, เสวยอะไรไม่ได้จนทรงซูบผอมผิดปรกติ. เสด็จไปตาก อากาศที่หัวหินกับสมเด็จกรมพระสวัสดิวัตนวิสิษฐ์และพระองค์หญิง อาภาพรรณีผเู้ ป็นพระชนกชนนีของพระชายา. เผอิญในปีนนั้ หญิงเหลือ ก็เกิดเจ็บเป็นโรคพลูลาซี่ พอค่อยยังชั่วแล้วหมอก็ให้ไปตากอากาศ ชายทะเล. เรายังไม่มีบ้านที่หัวหินเวลานั้น เสด็จพ่อจึงทรงฝากหญิงเหลือ ให้ไปอยู่กับเสด็จลุงกรมพระนเรศฯ ซึ่งท่านทรงมีพระธิดาอยู่สององค์ เป็นเพื่อนเรียนหนังสือมากับเรา. ครั้นถึงวันงานครบแต่งงานได้ ๕ ปี ของทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ และหญิงร� ำไพ, พวกเสด็จลุงกรม พระนเรศฯ ก็ไปช่วยงานทั้งหมด หญิงเหลือจะไม่ไปก็ดูไม่ดี จึงติด ไปด้วย, เลยได้ไปเห็นไปฟังกลับมาอย่างสนุก. เธอเล่าว่า-หญิงนานั้นก�ำลังสวยสดเหมือนดอกไม้บาน, แต่ทูล กระหม่อมฟ้าน้อย (เราเรียกว่าหญิงนาและทูลกระหม่อมฟ้าน้อยกัน แทบทุกคนในพระราชวงศ์) นั้นก�ำลังหมดสตีม, บรรทมแผ่อยู่บน เก้าอี้ยาวทอดพระเนตรการกินเลี้ยงของพวกแขกอยู่, เพราะเสวยด้วย ไม่ได้. ท่านตรัสถามอาการเจ็บของหญิงเหลือแล้วตรัสบอกว่า- “ตัวฉัน เองรู้สึกเหมือนเรือที่ไม่มีสตีม!” ส่วนสมเด็จกรมพระสวัสดิฯ นั้นเป็น ผู้จัดการงานและเป็นคน make speech...’ คนฟังแลดูตาซึ่งกันและ กัน มีพระองค์หญิงอาภาฯ คนเดียวที่หัวเราะลั่นและเบิกบานดี, ถึง เวลา speech จบแล้วท่านก็ยกถ้วยเหล้าใบใหญ่ส่งให้แขกทีละคนว่าLoving Cup แต่ไม่ส่งให้หญิงเหลือคนเดียว! เมื่ อ กลั บ มาจากหั ว หิ น กั น แล้ ว ได้ สั ก หน่ อ ยก็ เ กิ ด มี เ รื่ อ งพระ วรกัญญาปทาน, ประจวบกับหมอก�ำลังแนะน�ำให้ทูลกระหม่อมประชา ธิปกฯ เสด็จไปรักษาพระองค์ยังยุโรปประเทศ. ฉะนั้นพอมีการสมโภช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จไปรักษาพระองค์ ณ ทวีปยุโรป  โปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ตรวจพระอาการที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี  และที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔


30 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

คู่หมั้นของสมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว, ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ก็ น�ำเครื่องมรกตซึ่งสมเด็จพระชนกทรงซื้อของ Empress Eugenie ประเทศฝรั่งเศสมาพระราชทานแก่สมเด็จพระชนนีและสมเด็จพระ พันปีได้พระราชทานแก่ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ อีกต่อหนึ่งขึ้นทูล เกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ และขอพระราชทานเงิน ส่วนพระองค์เพื่อไปรักษาพระองค์ตามค�ำแนะน�ำของหมอ. จึงตกลง เสด็จไปยุโรปพร้อมกับพระชายาในปี พ.ศ. ๒๔๖๓. สมเด็จกรมพระ สวัสดิฯ และพระองค์อาภาฯ เสด็จไปส่งและอยู่ด้วยราว ๑ ปีก็เสด็จ กลับก่อน. ทู ล กระหม่ อ มประชาธิ ป กฯ และพระชายาเสด็ จ อยู ่ ใ นเมื อ ง ฝรั่งเศสแล้วทรงเข้าโรงเรียนเสนาธิการ Ecole de Guerre ของฝรั่ง เศสจนจบ. เสด็จอยู่ในประเทศยุโรปถึง ๔ ปีเศษ. หม่อมเจ้าหญิง ร�ำไพพรรณีได้ทรงเล่าเรียนภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษได้เป็น อย่างดี, เพราะพระสามีทรงจ้างครูมาสอนเป็นพิเศษทั้ง ๒ ภาษา. เสด็จกลับมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ สมเด็จเจ้าฟ้ากรม หลวงพิษณุโลก (ทูลกระหม่อมจักรพงศ์) และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุน เพชร์บูรณ์ฯ (ทูลกระหม่อมจุฑาธุช) พระเชษฐาเสด็จสิ้นพระชนม์ไป แล้วทั้ง ๒ พระองค์. ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ เสด็จกลับมาเป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ มีพระยศเป็นนายพันเอกจนเสด็จ ขึ้นเสวยราชย์, แต่ถูกอากาศร้อนในกรุงเทพฯ ได้สักหน่อยก็กลับไม่ ทรงสบายอีก. พระฉวีสีสันเหลืองเป็นสีขี้ผึ้งขึ้นทุกที จึงเป็นเรื่องรู้กัน ดีว่าไม่ทรงแข็งแรง. ต่อมาอีกไม่กี่เดือน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา (ทูล กระหม่ อ มอั ษ ฎางค์ )  ก็ ป ระชวรเป็ น โรคไตสิ้ น พระชนม์ .  ต� ำ แหน่ ง รัชทายาทก็เริ่มตกมาเป็นของทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ทรงสายสืบ สันตติวงศ์ และทุกคนรวมทั้งทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ เองก็เริ่ม เห็นว่าพระองค์จะต้องทรงเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ต่อไป. ในไม่ช้าก็ได้เสด็จ เข้าไปประทับในที่ประชุมเสนาบดีสภาในต�ำแหน่งยุพราชดังเล่ามาแล้ว และได้ทรงเป็นผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ในเวลาสมเด็จพระเจ้า


31

อยู่หัวไม่เสด็จอยู่, และโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จพ่อทรงเป็นที่ปรึกษา อย่างเดียวกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา. ในตอนต้นทูลกระหม่อมฟ้าน้อยตรัสถามทูลกระหม่อมบริพตั รฯ ว่า- “จ�ำเป็นหรือที่จะต้องมีที่ปรึกษาด้วย?” แต่ครั้นต่อมาก็เป็นที่พอ พระทัย, ถึงเสด็จมาเฝ้าเสด็จพ่อที่วังวรดิศเองก็หลายครั้ง. ยิ่งทอด พระเนตรเห็นงานก็ยิ่งเห็นความล�ำบากยิ่งขึ้น, จนครั้งหนึ่งตรัสกับเด็จ พ่อเองว่า- “คนใหม่ๆ ไม่ค่อยจะได้รู้เรื่องเก่าๆ ที่เขาท�ำกันมาอย่างไร, ถ้าเรามี genro อย่างญี่ปุ่นบ้างจะดีกระมัง?” เสด็จพ่อทูลตอบว่า- “ถ้า ท�ำได้ก็ดี.” นี่เป็นต้นเหตุที่ได้มีความคิดเรื่องอภิรัฐมนตรีขึ้น. ส่วนความสัมพันธ์ทางส่วนพระองค์-ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ กับเสด็จพ่อก็กลมเกลียวกันดี, แม้เด็จพ่อทูลแนะน�ำว่าเล่น golf ดี, ก็ทรงเล่นจบเลยติด, ข้าพเจ้ายังอดนึกขันถึงโชคชะตาที่ชอบท�ำให้เรา ยุ่งไม่ได้-ด้วยวันหนึ่งเราไปเล่น golf ที่ Sports Club พอข้าพเจ้า โผล่เข้าประตูไปพวกเพื่อนๆ ก็ร้องบอกว่า-“Princess, caddie ของ ท่านไม่ยอมไปกับ Heir Presumptive!” ข้าพเจ้าตกใจถามว่า-ท�ำไม กัน? เขาก็เล่าให้ฟังว่า-Prince Sukhothai มาเมื่อสักครู่นี้ เขาก็เรียก พวก caddies มาเข้าแถวให้ทรงเลือกเผอิญ. ท่านชี้เลือกเอา-เจ้าเชื้อเข้า, แต่มันกลับตอบว่า- “ผมไปไม่ได้, เพราะนายผมจะมา!” ทูลกระ หม่อมตรัสถามว่า- “ใครเป็นนายเอง” เจ้าเชื้อตอบว่า- “ท่านหญิงพูน!” ข้าพเจ้าลืมตาถามเขาว่า-“แล้วอย่างไรเล่า” เขาหัวเราะตอบว่า-ท่านร้อง “อ้อ” แล้วก็เลยเลือกเด็กอื่นออกไปเล่น. ข้าพเจ้าหยิบเงิน ๑ บาท ออกให้เจ้าเชื้อเป็นรางวัลในทันที, ต่อมาเลยรู้กันดีว่า-เจ้าเชื้อของท่าน หญิงพูน! ส่ ว นหญิ ง ร� ำ ไพพรรณี ก็ ดี กั บ เราทั้ ง  ๓ คน. โดยเฉพาะกั บ ข้าพเจ้าหญิงร�ำไพฯ ชอบมานั่งคุยเล่นด้วยในเวลาการงานที่ไปพบกัน ในตอนนี้เสมอ. แม้มีผู้แสดงอาการว่าไม่ชอบ, เธอก็ไม่เดือดร้อน อย่างไร, จนใครๆ ก็เห็นว่าประหลาด. แม้ในวันทีส่ มเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต. เรานั่งกันอยู่บนชานพักด้วยกัน, พอไม่ มีใครแล้วหญิงร�ำไพฯก็เข้ามาพูดกับข้าพเจ้าว่า-โธ่, นี่ใครๆ คงเห็น


32 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ดีนะพีพ่ นู , อ้ายการมีบญ ุ น่ะไม่สนุกเลย : ข้าพเจ้าก็ตอบว่า- “ดีแล้วละ, เขาเบื่อกราบไหว้ของเทียมกันมาแล้ว, จะได้กราบของแท้เสียสักที. ส่วนตัวฉันน่ะไม่รังเกียจเลย, สิ่งไรที่แล้วก็แล้วไป. ต่อไปนี้จะให้ช่วย ท�ำอะไรก็ยินดีจะท�ำให้ไม่ต้องเกรงใจดอก.” เห็นเธอมองดูอย่างเข้าใจ, ข้าพเจ้าก็พูดต่อไปว่า- “จริงๆ นะ, ใครๆ เขาก็คงพอใจทั้งนั้นแหละ, ถ้าจะมีอะไรอยู่บ้างก็เพียงแต่เขากลัว...เท่านั้นเอง.” หญิงร�ำไพฯ ตอบ ว่า- “ดูเถอะ, น่าร�ำคาญ!” แล้วก็ก้มหน้านิ่งพูดกันเรื่องอื่นต่อไป. ในเวลาเดียวกันนั้นข้าพเจ้าไม่ได้นึกไปถึงเหตุการณ์ทางฝ่าย หน้าเลย. จนเสด็จขึ้นเสวยราชย์เรียบร้อยแล้วจึงได้ฟังจากเสด็จพ่อ ว่า-พอรู้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ประชวรมากแน่แล้ว, ทาง ราชการก็เชิญเสด็จทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ยุพราช เข้าไปประทับ ในพระฉากในพระที่นั่งอมรินทร์ฯ ตามราชประเพณี, ทรงบรรทมค้าง อยู่ในนั้นพระองค์เดียวกับมหาดเล็กรับใช้, และเสด็จเข้าไปเฝ้าเยี่ยม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระที่ และเสด็จออกมาประทับเป็นประธาน ในที่ประชุมเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในตอนที่จัดไว้เป็นห้องรับ แขกในพระที่นั่งอมรินทร์ฯ นั้นตลอดเวลา. ทุกครั้งที่เสด็จกลับออก มาจากเฝ้าเยี่ยมสมเด็จพระเชษฐา ทรงบ่นว่าการถวายพยาบาลไม่ดี เพียงพอ, ซ�้ำพวกมหาดเล็กบางคนก็ยังมีใจนั่งเล่นไพ่กันอยู่ได้เป็นวง. จะชี้แจงแนะน�ำอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์เพราะเขาตอบกันว่า-ในหลวง ที่ประชวรท่านโปรดให้เล่นให้ท�ำเช่นนั้น. เมื่อหมอแสดงว่าพระอาการ ไม่มีหวังจะหายได้แล้ว, ...ก็ออกไปประทับเป็นใหญ่สั่งการงานอยู่ทาง หน้ากระทรวงวัง. ใครผ่านไปก็ต้องแลเห็น, ทั้งมีบางคนที่แอบไปได้ ยินค�ำสัง่ ว่า-ให้ขดั ตรวนไว้ใส่... ค�ำสัง่ นีท้ ำ� ให้ทกุ คนขนหัวลุกด้วยความ หวาดหวั่น, ต่างคนต่างปรับทุกข์กันว่านี่จะท�ำอย่างไรดี, และซุบซิบ กันขึ้นทุกที...! บางคนก็คิดเตรียมจะหลบหลีกหนีไม่เข้าใกล้, แต่บาง คนก็คอยดูว่าในหลวงพระองค์ใหม่จะทรงท�ำอย่างไร... มี... ผู้เฒ่าแต่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์


33


34 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสถาปนาหม่อมเจ้ารำ�ไพพรรณี  ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี


35


36 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ผู้เดียวที่เข้าไปเฝ้าเยี่ยมแล้วเลยเข้านั่งอยู่กับ... เพราะท่านตรัสว่าจะให้ เป็นสมเด็จเจ้าพระยา. คนโดยมากหาว่า...หลง, แต่บางคนก็ว่าเพราะ ท่านผู้หญิงสาวของท่านอยากได้ตราเป็นท่านผู้หญิง. อย่างไรก็ตาม, ลงท้ายก็เกิดแตกกัน และเมื่อเมียได้เป็นท่านผู้หญิงแล้วก็ไม่ได้อะไร และมีอะไรเหลือ. มีผู้ทูลเสด็จพ่อในเวลาเสด็จเข้าไปฟังพระอาการอยู่นั้นว่า-ใน หลวงทรงท�ำพระราชพินยั กรรมไว้วา่  ถ้าเจ้าฟ้าของพระองค์ทา่ น เป็นพระองค์หญิง, ก็ให้ราชสมบัตติ กไปตามสายสืบสันตติวงศ์. แต่ถ้าเป็นพระองค์ชายก็ให้ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ เป็นผู้ ส� ำ เร็ จ ราชการไปจนจะมี พ ระชั น ษาครบครองราชสมบั ติ ไ ด้ และมีแถมท้ายว่าถ้าทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ไม่มีพระชนม์ (เพราะไม่แข็งแรงอยู่แล้ว) ก็ให้เลือกผู้ส�ำเร็จราชการกันตามที่ ควร ขอแต่อย่าให้เลือกเอาเสด็จพ่อขึ้นเป็นผู้ส�ำเร็จก็แล้วกันเพราะเป็นผู้ที่ขายเมืองมาแล้ว. เรื่องนี้จะเป็นความจริงที่ทรงเขียนในเวลาที่กริ้วหรือไม่ก็ตาม, เสด็จพ่อได้ทูลทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ไว้ว่า-ถ้าเป็นเรื่องจริงและอ่าน ในที่ประชุมแล้ว, เสด็จพ่อจ�ำเป็นที่จะต้องลาออกทันที จึงทูลไว้ให้ ทรงทราบเสียก่อน. ถึงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน เจ้าฟ้าหญิงก็ประสูติ เสด็จพ่อทรงเล่าว่า-วันนั้นก�ำลังนั่งกันอยู่ที่โต๊ะใหญ่, เห็นพระองค์ หญิงอาภาฯ เดินยิ้มออกไปแล้วร้องบอกไปว่า- “ประสูติแล้ว-เป็นองค์ หญิง!” ทุกคนที่นั่งอยู่นั้นก็รู้สึกโล่ง. สมเด็จพระราชปิตุลาฯ ถึงทรง หันมายิ้มกับเสด็จพ่อ. ต่อนั้นมาก็เป็นอันแน่ว่า-ราชสมบัติตกถึงทูล กระหม่อมประชาธิปกฯ ตามทางการ. ฉะนั้น ในเวลาที่ก�ำลังใจคนยุ่งอยู่นี้, ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ผู้ ซึ่งมีคนนับถือมากอยู่ในเวลานั้น (เพราะก�ำลังเกลียดในหลวง ร. ๖) ทั้งทรงเป็นพี่ผู้ใหญ่ที่ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ทรงนับถือเองด้วย, ก็เชิญเสด็จทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ไปที่มุมพระที่นั่งอมรินทร์ฯ ทางหนึ่ง แล้วตรัสถามตรงๆ ว่า- “จะให้...มีอ�ำนาจเพียงไร?” ทูลกระ หม่อมประชาธิปกฯ ตอบว่า- “ไม่ได้คิดว่าจะให้อ�ำนาจ, หรือให้เกี่ยว


37

ข้องกับการเมืองอย่างไรเลย!” ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ตรัสย�้ำว่า- “แน่ หรือ?” ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ตรัสรับว่า- “แน่!” ทูลกระหม่อม บริพัตรฯ ก็ทูลว่า- “ถ้าเช่นนั้นก็ยอมเป็นข้า!” แล้วก็ทรุดพระองค์ลง หมอบกราบ. เป็นอันว่าทั้งสองพระองค์พี่น้อง ซึ่งแก่กว่ากันถึง ๑๒ ปี ได้เป็นที่ปรองดองกันแล้ว. ส่วนเสด็จพ่อนั้นยังไม่ทันทรงทราบเรื่อง ตอนนี้เพราะไม่อยู่ในเวลานั้น, แต่มีความหนักพระทัยเท่ากันกับทูล กระหม่อมบริพัตรฯ ถึงเวลาทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ เสด็จเข้าไป พักในพระฉาก, เสด็จพ่อก็ตามเข้าไปเฝ้า, กราบทูลเรื่องราวที่ใจคน ก�ำลังระส�่ำระสายอยู่ให้ทรงทราบ. ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ บรรทม เศร้าอยู่ในพระที่, ตรัสตอบว่า- “หม่อมฉันทราบและเข้าใจแล้ว, ตั้งใจ ว่าจะไม่ให้มีเรื่องอะไรขึ้นได้!” เมื่อเป็นที่เข้าพระทัยกันดีแล้ว, เสด็จ พ่อก็เสด็จกลับออกมา. ตกดึกคืนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ก็เสด็จสวรรคต. ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเรื่องนี้เองเป็นเหตุให้... ผู้ที่ถูกออกนามนั้น เกลียดทูลกระหม่อมบริพัตรฯ กับเสด็จพ่อยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็น อันมาก. พอเสด็จสวรรคตแล้ว, งานแรกที่ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ต้องทรงท�ำก็คือ ประชุมเปิดอ่านพระราชพินัยกรรมในคืนนั้น. เจ้า พระยาธรรมาฯ เป็นผู้น�ำขึ้นถวายในที่ประชุม, มีเรื่องพระบรมศพ, เรื่องพระราชทานบ�ำนาญแก่ข้าราชบริพาร และเรื่องสืบราชสมบัติ, ซึ่ง หมดปัญหาไปเพราะเจ้าฟ้าเป็นพระองค์หญิง. ฉะนั้น, การอ่านในที่ ประชุมก็ไม่มีเหตุจ�ำเป็นไปในตัว, ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯ ก็ทรง ฉีกซองนั้นเสียให้เป็นอันหมดเรื่อง. รุ่งขึ้นในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัย ธรรมราชาก็เสด็จขึน ้ เสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนาม ย่อว่า-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพระชันษาได้ ๓๒ ปี. นับเวลาที่ได้ทรงเป็นยุพราชมาเพียง ๘ เดือนเศษ. ถ้าจะเรียก


38 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ว่า unprepared king ก็จะไม่สู้ผิดไกลนัก. พวกฝรั่งบางคนบอกว่า“The new King is just stepping out from Cadet School!” และมีผู้ตอบว่า- “ก็ยังดีกว่า uneducated one เสียอีก!” อย่างไรก็ดี, น่าเสียดายที่ทั้งสองคนไม่ได้มีโอกาสประกวดฝีมือร่วมสมัยเดียวกัน, เพราะเป็นสิ่งที่ดูว่าใครจะได้รางวัลที่ ๑ แน่! เสร็จการสรงน�้ำและเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานในพระ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ก็เสด็จ ไปประทับที่พระที่นั่งบรมพิมานในสวนศิวาลัยพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในของพระองค์. เสวยราชย์ได้ ๒ วันก็ตรัสเรียกเสด็จ พ่ อ เข้ า ไปเฝ้ า ที่ พ ระที่ นั่ ง บรมพิ ม าน, ทรงขอให้ ร ่ า งประกาศตั้ ง อภิ รั ฐ มนตรี ส ภาในวั น ประชุ ม องคมนตรี  เมื่ อ วั น ที่  ๒๘ พฤศจิ ก ายน ที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ดังมีประกาศอยู่ต่อไปนี้ :พระราชด�ำรัส ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลายผู้เป็นองคมนตรีที่ได้ กระท�ำสัตย์สัญญารับจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรงจงรักภักดีต่อ ตัวเรา ตั้งแต่เราได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์แห่งสมเด็จพระบุรพ มหาราชเจ้า ซึ่งได้ทรงปกครองป้องกันและท� ำนุบ�ำรุงสยามประเทศ อันเป็นที่รักของเราทั้งหลาย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาช้านาน. เรา รู้สึกความรับผิดชอบในส่วนเรา ซึ่งจะต้องพยายามปกครองสยาม ประเทศกับทั้งประชาชนทั้งหลายให้ร่มเย็นเป็นสันติสุข และให้บ้าน เมืองมีความเจริญรุ่งเรืองโดยเต็มความสามารถของเราที่จะพึงกระท� ำ ได้ทุกอย่างทุกประการต่อไปจนสุดก�ำลัง. อาศัยความปรารภดังกล่าว มา เราคิดเห็นว่าตามราชประเพณีซึ่งมีอยู่ในบัดนี้ พระเจ้าแผ่นดินมี มนตรีส�ำหรับเป็นที่ทรงปรึกษาหารือสองคณะด้วยกัน คือองคมนตรี ซึ่งทรงตั้งไว้เป็นจ�ำนวนมาก ส�ำหรับทรงปรึกษากิจการพิเศษ อันเกิด ขึ้น เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่ า งคณะหนึ่ง  กับ เสนาบดีส ภาผู ้ บัง คับ บัญ ชา ราชการกระทรวงต่างๆ มีจ�ำนวนหย่อนยี่สิบ ส�ำหรับทรงปรึกษาหารือ ราชการอันก�ำหนดไว้เป็นหน้าที่ในกระทรวงนั้นๆ คณะหนึ่ง, แต่ยัง


39

มีราชการอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการส�ำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือที่จะคิด ให้กิจการตลอดรัฏฐาภิปาลโนบายของรัฐบาลเป็นอุปการอันหนึ่งอัน เดียวกันทุกกระทรวงทบวงการ, แต่ก่อนมาตกอยู่แต่ตามพระบรมราช วินิจฉัย แม้มีพระราชประสงค์จะทรงปรึกษาหารือผู้อื่นก็ได้อาศัยแต่ เสนาบดีสภา. เราเห็นว่ายังไม่เหมาะ เพราะเหตุที่เสนาบดีสภาชิกตั้ง ตามต�ำแหน่งกระทรวงมีจำ� นวนมากนัน้ อย่าง ๑ และด้วยเป็นเจ้าหน้าที่ เฉพาะกิจการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งนั้นอีกอย่าง ๑ เราจึงคิดจะ ตั้งมนตรีขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่งเรียกว่า “อภิรัฐมนตรีสภา” ให้มีจำ� นวน สมาชิกแต่น้อย ส�ำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชกิจทั้งปวงเป็น นิจ เพื่อจะได้เป็นก�ำลังแก่การที่ทรงพระราชวินิจฉัยทั้งปวง. ในการตั้ง อภิรัฐมนตรีนี้ ผู้ซึ่งสมควรจะเป็นสมาชิก จ�ำต้องเป็นผู้ซึ่งมีความคุ้น เคยและช�ำนิช�ำนาญราชการมากมาแต่ก่อน และประกอบด้วยเกียรติ คุณทั้งความปรีชาสามารถ สมควรเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยของ พระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนมหาชนทั้งหลาย เราจึงได้เลือกสรร : สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพน ั ธุวงศ์วรเดช พระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต พระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ พระองค์ ๑ กรมพระด�ำรงราชานุภาพ พระองค์ ๑ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระองค์ ๑ ด้วยทั้ง ๕ พระองค์นี้ได้ทรงรับราชการในต�ำแหน่งส�ำคัญมา แต่ในรัชกาลที่ ๕ เคยเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ทั้งได้คุ้นเคย ทราบกระแสพระราชด�ำริ และพระบรมราโชบายของสมเด็จพระพุทธ เจ้าหลวงมาแต่ก่อน ล้วนทรงพระปรีชาสามารถและมีเกียรติคุณจะ หาผู้อื่นเสมอเหมือนได้โดยยาก. เราตั้งใจให้เจ้านายผู้ใหญ่ทั้ง ๕ พระ องค์เป็นอภิรัฐมนตรีแต่นี้ไป ด้วยไว้วางใจในความซื่อตรงจงรักภักดี ซึ่งทรงมีต่อบ้านเมืองและตัวเราด้วยกันทุกพระองค์ การที่เราคิดจัด ดังกล่าวมานี้หวังว่าจะเป็นคุณประโยชน์สืบต่อไป. ในที่สุดเราขออ�ำนวยพรแก่บรรดาองคมนตรี ขอให้คุณพระศรี รัตนตรัยบันดาลให้ท่านทั้งหลายเจริญสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลชนมสุข


40 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

สถาพรทุกประการ เทอญ. วันนั้น ข้าพเจ้านั่งอยู่ที่เฉลียงหลังต�ำหนักใหญ่, ราวเที่ยงวัน ได้ยินเสียงคนพึมพ�ำๆ อยู่ที่โต๊ะเซ็นชื่อ, โผล่ออกไปดูเห็นแต่งเครื่อง แบบอย่างไปในงานหลวงกันทั้งนั้น, แล้วก็ไหลมาเทมาเป็นหมู่ๆ ทั้ง หนุ่มทัง้ แก่ไม่หยุดหย่อน. ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่าเขาพากันมาเซ็นชือ่ ท�ำไม? วันนั้นก็เป็นแต่วันประชุมสภาองคมนตรีตามพิธีขึ้นรัชกาลใหม่, ไม่เห็นว่ามีอะไรแปลก. เดินผ่านไปดูทางนั้น, ก็เห็นผู้คนที่เข้ามาหน้า ตาเบิกบานพูดจาหัวเราะต่อกระซิกกันแล้วก็รีบกลับออกไป. ข้าพเจ้า พบพระยาคนหนึง่ ทีค่ นุ้ เคยกันก็ไม่กล้าถามเพราะคนมาก. เจ้าคุณผูน้ นั้ แวะเข้ามายกมือไหว้กระซิบบอกว่า- “ดีใจจริงๆ! รู้สึกโล่งอก!” แล้วก็ พู ด ดั ง ๆ ว่ า - “กระหม่ อ มทู ล ลาที ,  จะรี บ ไปที่ อื่ น ต่ อ ไปอี ก ” แล้ ว ก็ ผลุนผลันรีบกลับไป. เราทุกคนต่างงงว่าอะไรกันยังไม่เข้าใจ, จนเสด็จ พ่อเสด็จกลับมาจึงตรัสบอกว่า- “ทรงตั้งอภิรัฐฯ ๕ คน พ่อได้เป็น คนหนึ่ ง  สั ง เกตดู ค นพอใจกั น มาก เห็ น จะเป็ น เพราะไม่ มี ชื่ อ ...อยู ่ ในนั้นละกระมัง!” เราจึงร้อง-อ้อ-ว่าเข้าใจแล้วกันทุกคน. อนิจจา, คนทั้งหลาย, ต่อมาไม่ช้านานเท่าใดสภาอภิรัฐมนตรี ก็กลายเป็นที่เก็บกุมฝอย, ใครไม่พอใจอะไรก็ซัดกันกลุ้มว่า-อภิรัฐฯ ท่านไม่เห็นด้วย, ลงท้ายถึงเกลียดอย่างจะเอาชีวิต. ข้าพเจ้าเคยคุยกับ พระยาเพชรอินทราและเคยถามว่า- “ท�ำไมคนจึงเกลียดอภิรัฐฯ ตรง ข้ามกับเมื่อแรกตั้ง” เจ้าคุณตอบว่า- “แรกคนพอใจว่าไม่มี... และทุก พระองค์ ก็ เ ป็ น ผู ้ ที่ มี ค นนั บ ถื อ มาก พอถึ ง สมเด็ จ ชาย (Prince of Lopburi) เป็นเข้า, คนก็เลยท้อ, เห็นไปว่าเพราะเป็นเจ้าเท่านั้นเอง.” ที่จริง, เรื่องสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใคร รู้เรื่องจริง. สมเด็จชายทรงเป็นนักเรียนอังกฤษมาจาก Harrow และ Cambridge ทรงฉลาดเฉลียวละเอียดรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง เผอิญ มีสิ่งเสียอยู่สิ่งเดียว คือทรงดื่มในเวลาที่รู้สึก sensitive ไปต่างๆ จน ลงท้ า ยพระก� ำ ลั ง ไม่ มี สู ้ ก็ เ ลยเลอะเทอะไปบางเวลา. ผู ้ ที่ ท� ำ งานใน กระทรวงมหาดไทยเมือ่ สมัยทรงเป็นเสนาบดีอยู,่  ยังรักใคร่และเสียดาย เป็นอันมาก. ถึงเวลาที่ราชการจะต้องปลดพระองค์ออกจากต�ำแหน่ง


41

ด้วยให้ท�ำต่อไปอีกเกรงงานจะเสีย, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เห็นว่าถ้าเอาออกโดยให้มีต�ำหนิ, สมเด็จชายคงเสียพระสติจนถึงมี อันตรายแก่พระชนม์ได้, เพราะทรงหมดพระก�ำลังอยู่แล้ว, จึงปรึกษา กันในอภิรัฐฯ ว่าเชิญเสด็จให้เข้ามานั่งอยู่กับอภิรัฐฯ เสียก็แล้วกัน, เพราะงานของอภิรัฐฯ เป็นแค่ที่ปรึกษา และออกความเห็นไม่ต้องรับ ผิดชอบในทางสั่งงาน routine work เหมือนทางมหาดไทย ถ้าไม่มี ใครฟังเสียแล้ว, ก็เท่ากับนั่งอยู่เฉยๆ. จึงตกลงให้เสด็จเข้ามาเป็นอภิ รัฐฯ เพื่อให้พ้นภัยอันจะเกิดขึ้นได้แก่ชีวิตเท่านั้น. แต่คนโดยมากหา เข้าใจไม่, จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ผู้เกลียดเจ้ายกขึ้นครหานินทา. ต่อจากตั้งอภิรัฐฯ มาได้สักหน่อย, สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัส บอกกับเจ้านายว่า- “หม่อมฉันให้เด็จน้า (สมเด็จกรมพระสวัสดิฯ) ไป ดูเรื่องเงินส่วนตัว จะได้เพลินไปเสียทางหนึ่ง.” แต่-ความเพลินของ เด็จน้านี้ ท�ำเอาพวกเจ้าต้อง...ไปเป็นจ�ำนวนไม่ใช่น้อยๆ. แต่เราเคย กับความอดทนก็ไม่มีเรื่อง. สมเด็จกรมพระสวัสดิฯ ก็เล่นได้สนุกโดย ที่ในหลวงไม่ต้องทรงทราบเลย, เพราะท่านยกเอาเหตุตัดเงินทางราช ส�ำนักขึ้นเป็นหลัก. คนท�ำงานในพระคลังข้างที่เล่าว่า-วันแรกท่านไป ดูงานก็ตรัสถามว่า- “กรมด�ำรงมีหนี้ค้างอยู่ไหม?” เผอิญเรามีคนมา เตือนให้รีบจัดการใช้เสียทัน ท่านจึงได้ค�ำตอบไปแต่ว่า-ไม่มี. แม้เช่น นั้นก็ดี, เสด็จพ่อและพวกเราทุกคนถูกตัดเงินปีลงกว่าครึ่ง, ข้าพเจ้า ได้อยู่ ๒๖๐ บาท เป็น ๘๐ บาทต่อมา. ตามปกติในหลวงมักจะพระราชทานเพิ่มเงินเจ้าในเวลาที่ทรง เห็นว่าได้ท�ำประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นพวกท�ำราชการ ถ้าผู้ใด ท�ำงานได้เป็นเรื่องราวแล้ว นอกจากจะได้ยศตามทางการแล้ว, ยังได้ พระราชทานเงินปีเพิ่มขึ้นเป็นรางวัลส่วนพระองค์, ฉะนั้นพวกที่ได้ เป็นกรม, เป็นพระองค์เจ้า, เช่นกรมเทววงศ์ฯ หรือพระองค์ธานีฯ ถูก ตัดกันป่นปี้ด้วยกันทั้งนั้น. พวกที่ได้ขึ้นมีแต่เจ้านาย ๒-๓ องค์ที่ชอบ กับ...และพวกลูกของท่านขึน้ เป็นปีละ ๘๐ บาทเป็นชัน้ พิเศษมิได้เว้นตัว แต่พวกที่ถูกตัดก็หัวร่อกันคิกคัก ด้วยรู้อยู่แล้วว่าจะต้องเป็น เช่นนั้น.


เศรษฐกิจตกต�่ำ และเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เหตุ ก ารณ์ ใ นตอนแรกเสวยราชย์ ก็ คื อ เรื่ อ ง เศรษฐกิจตกต�่ำและการตัดทอนรายจ่ายของประเทศ. มีพิเศษในเรื่องจะตัดทางราชส�ำนัก, ซึ่งค้างมาแต่ใน รัชกาลที่ ๖ ในตอนก่อนเสด็จสวรรคต. ฉะนัน้  ข้อแรกก็ตอ้ งสางบัญชีในราชส�ำนัก, ได้ความ ว่ า รายจ่ า ยท่ ว มรายรั บ จนมี ห นี้ อ ยู ่ ร าว ๔-๕ ล้ า นบาท. บัญชีรายจ่ายมีหลักฐานอยู่ว่าเพียงค่าไฟฟ้าส่วนพระองค์ ก็เดือนหนึ่งถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท และยังมีบ้านข้าราชการ บางบ้านที่ใช้เปล่า โดยไม่ต้องเสียทั้งค่าติดและแรงไฟ. เจ้านายบางพระองค์ที่ทรงขุ่นเคืองว่าในหลวงทรง ถูกปอกลอกจนมีหนี้สินอยู่แล้ว, ก็ทรงแนะน�ำว่าให้ช�ำระ โดยเปิดเผยให้เห็นผิดและชอบ, แต่เด็จพ่อกราบทูลว่าหนังสือพิมพ์ไทย  ฉบับวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔  ตีพิมพ์พระราชด�ำรัสเกี่ยวกับการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำ  ที่พระราชทานแก่นายทหาร



44 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

พวกเหล่านีก้ เ็ ป็นข้าราชการผูใ้ หญ่ๆอย่างไรก็เคยได้ทำ� ความดีความชอบ มาแล้วบ้างไม่มากก็น้อย ฉะนั้นควรได้รับความกรุณาให้ได้โอกาส ที่จะได้แก้ตัว, เห็นว่าก่อนที่จะให้คนอื่นเข้าไปสะสางบัญชีหรือท�ำแทน ควรเรียกตัวมาอธิบายว่าบ้านเมืองต้องการตัดทอนรายจ่าย และขอ ให้เขาไปคิดจัดการตัดรายจ่ายมาให้ได้ตามที่ควร. สมเด็จพระราชปิตุลาฯ ทรงฉุนเด็จพ่อถึงตรัสว่า- “กรมด�ำรง เห็นแก่หน้าบุคคล”. เด็จพ่อทูลตอบว่า- “ไม่ได้คิดเช่นนั้น, แต่เห็นว่าการเอา คนออก ๑-๒ คนนั้นไม่เป็นการยาก, แต่ควรให้โอกาสแก่ตัว เขาก่อน.” ตกลงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับเด็จพ่อ, ด้วยเหตุ นี้-เจ้าพระยายมราช, พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภและเจ้าพระยา ธรรมาฯ จึงได้รับพระราชทานค�ำชี้แจงและทรงมอบอ�ำนาจให้ไปคิด ตัดทอน. เผอิญท่านทั้งสามที่กล่าวนามมาแล้วนี้กลับเข้าไปกราบทูล ว่า-ตัดไม่ได้, เพราะไม่มีทางจะตัด. จึงโปรดให้เรียกคนอีกชุดหนึ่ง ที่รับว่าตัดได้ มี กรมพระก�ำแพงเพชรฯ และเจ้าพระยาวรพงศ์ พิพัฒน์, เข้ามาจัดการ. คนหลังนี้จึงได้เป็นเสนาบดีกระทรวงวังต่อมา. ที่ท�ำได้ส�ำเร็จก็เพราะเจ้าพระยาวรพงศ์ฯ เป็นคนโผงเผงไม่ ค่อยเกรงใจใคร, น่าประหลาดแต่วา่ ทวดผูห้ ญิงของเจ้าพระยาวรพงศ์ฯ เป็นลูกของพระเจ้ากรุงธนบุรี. เจ้าพระยาวรพงศ์ฯ เป็นชั่วที่ ๔ โดย ตรงจากพระเจ้ากรุงธนฯ, กิริยาท่าทางห้าวหาญเอะอะเป็นนักเลง, แต่ เป็นคนซื่อตรง. คนที่เรียบร้อยก็ไม่ค่อยชอบเป็นธรรมดา. ต่อมาก็ถึงรายจ่ายอีกอย่างหนึ่ง คือบ�ำนาญข้าราชบริพารใน รัชกาลที่ ๖ ที่พระราชทานไว้ในพระราชพินัยกรรม. สมเด็จกรมพระสวัสดิฯ ตรัสว่า-ไม่ต้องให้, เพราะตามกฎ หมายผู้ตายมีแต่หนี้. เมื่อใครจะเอาให้ได้ก็ให้ไปฟ้องศาลเถิด. แต่ในหลวงตรัสว่า-พระองค์ท่านและพระราชินีก็ไม่มีลูก, ขอ แต่มีพอใช้ไปชั่วชีวิตก็พอแล้ว. ฉะนั้นรัฐบาลจะขอตัดจาก ๑๑ ล้าน


45

เป็ น  ๖ ล้ า นท่ า นก็จ ะทรงยอม. ส่ ว นพระราชพินัย กรรมก็อ ยากจะ รักษาค�ำของพระเชษฐาธิราชไว้, จะปล่อยให้ไปถึงโรงศาลให้เป็นการ ประจานนั้นไม่ ไ ด้.  ทรงขอให้เ อาเงิน ส่ ว นรายได้ข องทูล กระหม่ อ ม ประชาธิปกฯ แจกไปตามค�ำสั่งก็แล้วกัน. ขอแต่เพียงว่าจะให้ได้ตาม พระราชพินัยกรรมนั้นไม่มีเพียงพอ, ให้จ่ายไปเพียงเท่าที่เขาจะยัง ชีวิตอยู่ได้ เช่นคนที่ได้เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ก็จะพระราชทานได้ เพียง ๑,๒๐๐ แทน. ทุกพระองค์เห็นชอบตามพระราชกระแส. เขาเล่ากันว่าสมเด็จกรมพระสวัสดิฯ ฉุนจนตรัสว่า-“มันจะ ช่วยใช้หนี้กันไหมเล่า?” เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รู้กันเพียงผู้ที่เกี่ยวข้อง, ฉะนั้นไม่ช้าก็ได้ยิน ว่าพวกที่ถูกลดถูกถอนโกรธเคืองว่าทรงลบล้างพระราชพินัยกรรมกัน มากมาย, และพอถึงเวลาเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย แล้ว พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) ผู้เป็นพระญาติทางพระชนนี เองเป็นผู้น�ำฟ้องยังศาลหลวงก่อนคน แล้วเจ้าพระยารามฯ ก็ฟ้องต่อ. ทุกคนคอยฟังว่าความจะชนะหรือแพ้, ถ้าชนะก็จะเรียกร้องให้ได้เต็ม ที่กันทุกคน. มีพระยาอนิรุทธเทวาคนเดียวที่พูดว่า-ถึงจนๆ ท้องแห้ง ก็ไม่ฟ้อง!  เผอิญศาลตัดสินว่าในเวลาที่ทรงชี้ขาดนั้นเป็นเวลาสมบูรณาญา สิทธิราชย์อยู่, เรื่องจึงสงบกันไป. ในเรื่องนี้ตรงกับสุภาษิตที่ว่า-ท�ำคุณบูชาโทษ-โดยแท้ที เดียว. ในเรือ่ งราชส�ำนักนัน้  ควรกล่าวได้ว่าได้มกี ารเปลีย่ นแปลงอย่าง ตรงข้ามหรือที่ฝรั่งเรียกว่า re-action ของรัชกาลก่อนนั่นเอง. เหตุ ด้วยคนโดยมากเห็นอย่างเดียวกันว่าในหลวงพระองค์ก่อนทรงถูก ล้อมรอบไปด้วยขุนนางที่รู้จักแต่ความรักตัว, ไม่เหมือนสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงคลุกคลีอยู่กับเจ้านายพี่น้อง ซึ่งอย่างไร ก็จะต้องมีส่วนได้เสียในค�ำว่า-จักรี-ผูกพันอยู่ด้วย. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงหันไปทางเจ้าและกดข้าราชการ


46 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

โดยเฉพาะในราชส�ำนัก เพื่อให้เห็นว่าจะเป็นอย่างไรในรัชกาลก่อน อีกไม่ได้. แต่-เผอิญเจ้าในรัชกาลที ่ ๗ นี,้  ผิดกันไกลกับเจ้าในรัชกาลที ่ ๕. กล่าวคือ ทั้งยศศักดิ์และการเล่าเรียนรู้เห็น. เพราะเจ้าในรัชกาลที่ ๕ เป็นน้องยาเธอทีไ่ ด้ทรงร่วมทุกข์เห็นสุขมากับสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง, ได้ทรงเล่าเรียนรู้เห็นมาในเมืองไทยนี้เองด้วยกัน, ครั้นถึงเวลาท�ำงาน ก็ตอ้ งรับผิดชอบเต็มสติปญ ั ญาต่างๆ กันตามหน้าที,่  ต้องรูจ้ กั ทัง้ สถาน ที่และน�้ำใจคนมาแต่ทรงพระเยาว์, ก็ย่อมจะต้องเป็นประโยชน์ยิ่งแด่ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอยู่เอง. ส่วนเจ้านายในรัชกาลที่ ๗ นี้เป็นนักเรียนนอกด้วยกันโดย มาก. ที่ไม่ใช่นักเรียนนอก, ก็เป็นพวกที่ไม่มี education เลย. ความ รู้ในเรื่องเมืองไทย จึงไม่มีพอที่จะมีสูงยิ่งกว่าคนสามัญ, ทั้งทางยศ ศักดิ์ก็เป็นเพียง cousins และหลานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ไม่ เคยมีทางที่จะได้ร่วมรู้ร่วมทุกข์หรือสุขกับพระเจ้าแผ่นดินมาเลย. ส่วนเจ้าที่ดีๆ ก็มีแต่จะหมดไปตามอายุ. แม้ที่เหลืออยู่ก็ต้องระวัง รักษาผิว, เพราะ...และ...เป็นยักษ์ยืนรักษาประตูอยู่อย่างวัดอรุณฯ จึงไม่มีใครกล้าเข้าใกล้. ฉะนั้นพวกที่ล้อมรอบในหลวงอยู่เป็นประจ�ำ วันก็คือ :  ๑. สกุลสมเด็จกรมพระสวัสดิฯ ทั้งหมด ๒. สกุลกฤดากร คือท่านอมรทัต สมุหราชองครักษ์ และ ท่านอิทธิเทพสรรค์ อากิเต๊ก ม.ร.ว. สมัครสมาน ราชเลขานุการ ในพระองค์ ๓. พวกกรมหมื่นอนุวัตรฯ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่อยู่ในวัง อย่างพ่อ บ้านทั้งครอบครัว ๔. ม.จ. ถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ แพทย์ประจ�ำพระองค์ ๕. ม.จ. วิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล ราชเลขาธิการ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิสิษฐ์ กับพระธิดา-หม่อมเจ้ารำ�ไพพรรณี


47


48 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

๖. ม.จ. ประสบศรี จิรประวัติ ราชองครักษ์ประจ�ำ ยังมีพวกหลานและเด็กอื่นๆ ที่ในหลวงทรงเลี้ยงไว้ในวังด้วย, จนถึงเวลาไปยุโรปหรือแต่งงานไปก็หลายคน มีอาทิ คือ :  ๑. พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ๒. พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ๓. พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ๔. พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ๕. พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ๖. พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ๗. พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ลูกทูลกระหม่อมจุฑาธุช และ เด็กอื่นๆ อีก ๒-๓ คน. มีแขกประจ�ำคือ พระธิดาทูลกระหม่อมบริ พัตร ๕ พระองค์ และพวกหม่อมเจ้าวังต่างๆ อีก ๒-๓ คนที่ไปมาได้ เสมอ. นางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินี คือ : ๑. คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิด) ๒. คุณหญิงเนื่อง บุรีนวราฐ ๓. หม่อมหลวงคลอง ไชยันต์ ๔. หม่อมพร้อย กฤดากร ณ อยุธยา นางพระก�ำนัล คือ :  ๑. ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ เทวกุล ๒. นางสาวกอบแก้ว วิเศษกุล ๓. นางสาววรันดับ บุนนาค ๔. นางสาวสดับ บุนนาค ๕. นางสาวโพยม ณ นคร นางสนองพระโอษฐ์และนางพระก�ำนัลนี้ มีหน้าที่แค่เข้าไปตาม เสด็จในเวลาการงาน. แต่มีบางคนที่ทรงคุ้นเคยแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าเป็น พิเศษอย่างพวกในราชส�ำนัก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองไม่ทรงแข็งแรงมาแต่ ไรๆ พระราชกิจประจ�ำวัน คือ-


49

บรรทมตื่นเวลาเช้า ๙ น. สรงน�้ำทรงเครื่องเสวยเช้าแล้วเสด็จ เข้าห้องทรงพระอักษรทรงเรื่องที่ค้างอยู่, แล้วราชเลขาธิการเฝ้า ทรง เซ็นและทรงงานแผ่นดิน. มีประชุมอภิรัฐมนตรีอาทิตย์ละ ๒ ครั้งในตอนเช้านี้ จนถึง เวลาเที่ยงวันหรือบางทีก็ถึงบ่าย ๒ โมง จึงเสด็จขึ้นเสวยกลางวัน, เสร็จแล้วทรงพระอักษรเล่มเป็นประจ� ำ. ถ้าเหนื่อยอ่อนก็หยุดตรัส เล่นกับเด็กๆ หรือทรงดนตรีไทย. ทุกวันพฤหัสบดีเสด็จออกให้ข้าราชการและใครๆ เฝ้าได้ที่พระ ที่นั่งอนันตสมาคม และบางวันเสร็จการเฝ้าแล้วเลยประชุมเสนาบดี สภาด้วย. วันใดไม่มปี ระชุมหรือมีการงาน, ก็เสด็จลงทรงกีฬามีเทนนิส หรือสควอชและกอล์ฟ, เสวยน�้ำชาแล้วเสด็จขึ้น, สรงน�้ำ เสวยเย็น เวลา ๘.๓๐ น. เสร็จแล้วทรงดนตรีรวมวงหรือบางทีก็ทอดพระเนตร หนังฉาย ซึ่งมีทั้งหนังใหญ่มาจากโรงภาพยนตร์และหนังกล้องเล็กที่ สมาคมสมัครเล่น (amateur) ซึ่งพระองค์ก็ทรงเล่นอยู่ด้วยแล้ว. ตอนปลายทรงอ่านหนังสือเล่มทางเรือ่ งการปกครองเป็นอันมาก, จนเสด็จพ่อออกพระโอษฐ์วา่ - “ในหลวงท่านอธิบายเรือ่ ง Communism ได้ชัดเจนดีกว่าพ่อ, ทั้งๆ นึกว่าเราก็อ่านอยู่ไม่ใช่น้อยๆ!” เสด็จขึ้น บรรทมราวเที่ยงคืน, ถ้ามีหนังอย่างดึกก็ ๒ น. เสวยเครื่องว่างแล้ว ก็เสด็จขึ้น. ในตอนแรกเสวยราชย์ หม่อมเจ้าอมรทัตกราบทูลแนะน�ำให้ ทรงเชิญข้าราชการเข้ามารับพระราชทานอาหารเย็นร่วมโต๊ะเสวยทุก อาทิตย์ เปลี่ยนผลัดกันไปให้ทั่วถึงทั้งสามีภรรยา, ดังจะเห็นได้ในราช กิจจาฯ ตามข่าวราชส�ำนักแล้ว. ทั้งนี้เพื่อจะให้ได้ทรงคุ้นเคยกับคน ทั่วๆ ไป. แต่เผอิญเป็นเช่นนั้นอยู่ไม่ได้นานนัก, เพราะในราชส�ำนัก ไม่มีใครชอบที่จะต้องรับแขกอยู่เสมอๆ. ท่านอมรทัตคิดต่อไปว่าให้ เสด็จเยี่ยมตามกระทรวงทบวงการบ้างเป็นวันๆ เพื่อให้ข้าราชการผู้ น้อยได้มีใจท�ำงานยิ่งขึ้น, แต่ความคิดขั้น ๒ นี้, ยังไม่ทันได้เห็นผล, เพราะการเลี้ยงพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพิ่งเริ่มต้น, ยังทรงรู้จักไม่ทั่ว ถึงได้. ความคิดนั้นก็ล้มไปด้วยไม่มีผู้อื่นเห็นว่าเป็นการส�ำคัญเพียง


50 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ใด, และลงท้ายพวกกฤดากรกับพวกสวัสดิวัตน์ก็เกิด...กัน ยิ่งขึ้น ทุกที โดยเฉพาะท่านอมรทัตเป็นพิเศษ ดังมีเรื่องขันเรื่องหนึ่งดังนี้ เป็นต้น. เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ได้ราว ๔-๕ เดือน, วันหนึ่ง แถมน้องเขยข้าพเจ้าซึ่งปลูกเรือนอยู่ในที่ของวังวรดิศมาเฝ้าเสด็จพ่อ ทูลว่า-หม่อมคัธรินเขียนจดหมายมาว่าจะเข้ามากรุงเทพฯ สัก ๒-๓ อาทิตย์ แต่อยากจะขอมาอยู่ด้วยที่บ้านแถม. เธอจะไม่รับไว้ก็ ดูเป็นคนอกตัญญู, เพราะเมื่อเธออยู่กับทูลกระหม่อมจักรพงศ์ฯ เคย เรียกหม่อมคัธรินว่า-แม่. แต่ครั้นจะตอบรับไป, ก็เกรงว่าบ้านเธออยู่ ในวังเสด็จพ่อ, จึงต้องมาขอประทานอนุญาตเสียก่อน. เสด็จพ่อก็ทรง ตอบว่า-ไม่ทรงรังเกียจอย่างไรดอก, การที่แถมจะตอบแทนคุณเขา นั้นดีแล้ว, ก็เป็นอันตกลง, ไม่มีใครนึกว่าจะมีเหตุอันใดได้. หม่อม คัธรินก็เข้ามาอยู่และใช้ประตูวังเข้าออกตามปกติ. ใน ๒-๓ วันนั้น, พวกบ่าวๆ เรามารายงานว่าหมู่นี้ผิดปกติ, ทางหลังบ้านไม่เคยมีขโมยก็เดินไม่ได้เพราะมีวิ่งราวอยู่เสมอ, ทั้งมี รถยนต์มาจอดเฝ้าประตูวังอยู่ตลอดๆ วัน, คนในรถนั้นมี ๔-๕ คน และทุกคนเป็นพวกกุ๊ย, ลงไปกินเหล้าและคุยวางโตต่างๆ ว่ามีทั้งปืน และมีด. เราฟังแล้วไม่เชื่อว่าจะเข้าใจผิดไปละมัง. เช้าวันหนึ่ง Miss Ayre ครูวาดเขียนของหญิงพิลัยมารับจะ ไปเขียนที่วัดโพธิ์ด้วยกัน, พอรถออกประตูวัง รถเจ้าพวกกุ๊ยก็ออก ตามไล่ไปจนทันเห็นหน้า. เมื่อไปคอยนานเข้า, และคงไปถามพวกลูก ศิษย์วัดว่าเป็นใครแล้วมันจึงกลับ. เพราะหญิงพิลัยออกจากวัดไม่เห็น รถนั้น มาเห็นจอดคอยอยู่ที่ประตูวังเราเรียบร้อยแล้ว. เมื่อไปเห็นรู้มา ด้วยตัวเองจึงได้เชื่อว่ามีพวกกุ๊ยมาล้อมบ้านเราไว้จริง. ทุกคนกลัวว่า ถ้าพวกนี้มันมีสตีมเหล้าจัดขึ้นจะมาท�ำอะไรบ้างก็ไม่รู้. หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร  สมุหราชองครักษ์ในรัชกาลที่ ๗


51


52 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

เสด็จพ่อทรงทราบ ท่านก็เฉยไม่ว่าอะไร, จนเรากลัวกันหนัก ขึ้น, จึงตรัสสั่งให้โทรศัพท์ไปถึงเจ้าพระยายมราชผู้เป็นกรมพระนคร บาลอยู่ว่าขอความอารักขาส�ำหรับบ้านด้วย, เพราะมีรถกุ๊ยคันหนึ่งมา จอดอยู่เสมอ. เจ้าพระยายมราชให้ต�ำรวจลับเอารถยนต์มาจอดคุมเจ้ารถคัน นั้นห่างๆ อีกต่อหนึ่ง. คราวนี้รถใครเข้าออกจากบ้านเรา ก็มีรถยนต์ไล่ตามกันไป เป็น ๓ รถ เป็นอยู่เช่นนี้ ๔-๕ วัน หม่อมคัธรินก็ร�ำคาญคิดจะไปอยู่ที่อื่น ก็เกรงภัย ก�ำลังปรึกษากันในพวกเพื่อนที่ไปมาเยี่ยมเยียน มีพวกลูก เลี้ยงทูลกระหม่อมจักรพงศ์และเพื่อนเก่าๆ คือพวกกฤดากรเอง เขา ก็ไปตามท่านอมรทัตมาดูเองกับตา แล้วพูดกันว่าเสด็จพ่อจะทรงรู้สึก อย่างไรที่ทำ� เช่นนี้. ท่านอมรทัตเห็นว่าจะนิ่งไว้ไม่ได้ เพราะเจ้าพวกกุ๊ยมีอาวุธ และ บางวันก็หลุดเดินเข้ามาเล่นในบ้านเราเสียด้วย. ท่านอมรทัตก็ไปกราบทูลในหลวง ในหลวงกริ้วเป็นไฟเป็นครั้ง แรก ตรัสสั่งให้ท่านอมรทัตไปช�ำระ...ว่าท�ำไมจึงท�ำอย่างนี้ และถ้า ไม่เรียกกุ๊ยกลับจะสั่งให้ทหารรักษาวังไปล้อม... เอง! ทั้งเรื่อง จะตั้งหนังสือพิมพ์นั้นแปลว่ากระไร? ท่านอมรทัตเล่าว่า-ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยขับรถเร็วเท่าวันนั้น เลย, เพราะพอรับพระราชโองการไปช�ำระ...แล้ว, ท่านย้อนถามว่า“ใครทูลว่าฉันจะตั้งหนังสือพิมพ์?” ท่านอมรทัตตอบว่า-“ทูลกระหม่อมบริพัตร” ...จึงว่า-“ไม่จริง, ฉันจะไปทูลถามทูลกระหม่อมบริพัตร เองเดี๋ยวนี้แหละ” ท่านอมรทัตก็รีบทูลลามาขึ้นรถรีบไปเฝ้าทูลกระหม่อมบริพัตร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์  และหม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา


53


54 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

เพื่อให้รู้พระองค์ก่อน, แล้วจึงรีบกลับเข้าไปทูลรายงานกับพระเจ้าอยู่ หัวว่า-...ให้การว่า-หม่อมคัธรินจะเข้ามาท�ำร้ายพระองค์ท่าน. เพราะ ผูกพยาบาทว่าท่านเป็นหมอความให้ทูลกระหม่อมจักรพงศ์หย่าขาด จากตัว. ก็เป็นการจ�ำเป็นที่ท่านจะต้องรักษาตัว. ได้บอกเจ้าพระยา ยมราชแล้วก็ไม่อารักขาให้, จึงต้องจ้างกุ๊ยเป็นผู้รักษา, เมื่อถูกกริ้วแล้ววันหนึ่งพวกกุ๊ยต่างๆ ก็หายไปจากบ้านเราทั้ง ข้างหน้าข้างหลังบ้าน แล้วจึงได้ร้ภู ายหลังว่า-...ไปทูลถามทูลกระหม่อม บริพัตรว่าใครทูลว่าท่านจะทรงตั้งหนังสือพิมพ์? ทูลกระหม่อมทรง ตอบว่า-รู้จากนายหลุย คีรีวัตเองว่า...ให้เรียกฝรั่งจากสิงคโปร์มาเป็น เจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น, ไม่จริงหรือ?” เมื่อหมดทางแก้, ...ก็ตรัสว่า- “ก็...กรมด�ำรงฯ...จะออกหนังสือ พิมพ์ได้, หม่อมฉันก็ออกได้เหมือนกัน! จะเอาไว้ด่าอภิรัฐ!!” ทูลกระหม่อมตกพระทัยตรัสตอบว่า- “ไม่จริงเลย, กรมพระ ด�ำรงฯ ท่านไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์. เป็นแต่คิดกันว่ารัฐบาลควรมี ทางที่จะชี้แจงให้ราษฎรรู้อะไรๆ บ้าง แล้วเห็นกันว่าน่าจะรับหนังสือ พิมพ์ไทย (ซึ่งดีกว่าทุกฉบับในเวลานั้น) เข้ามาไว้ในทางราชการ, แต่ จะหาใครดูแลยังไม่ได้, หม่อมฉันก็โยนไปว่าให้อยู่ในหอพระสมุดฯ ก็แล้วกัน. กรมพระด�ำรงฯ เสียอีกเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับ, ท่านว่าท่านไม่ เคยเกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์มาแต่ไหนแต่ไรแล้วจึงขอตัวเสียที, แล้ว การก็ยังคงค้างมาจนบัดนี้ เพราะยังหาคนที่เหมาะไม่ได้.” เห็น...นิ่ง, ทูลกระหม่อมก็ทรงถือโอกาสตัดพ้อต่อไปว่า- “ฝ่า พระบาทก็ทรงเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว, การที่เที่ยวเกะกะเช่นนั้น, จะควรเรียกว่ารักพระเจ้าอยู่หัวแหละหรือ?” แล้วก็มีเถียงกัน ๒-๓ ค�ำ, ลงท้าย...ทรงพระกันแสงลั่นแล้วเลยทูลลากลับ จึงหมด เรื่องกันไป. ส่วนหม่อมคัธรินนั้นทูลกระหม่อมมหิดลฯ มาทรงรับไปอยู่ ด้วยกับพระองค์ท่านที่วังสระปทุม ด้วยตรัสว่า-“จะยิงฉันก็ได้, ขอ แต่ให้ทีเดียวตาย. อย่ายิงจมูกหรือตาให้หายไปก็แล้วกัน, เพราะฉัน ยังรักสวย!”


55

ที่จริงเรื่อง...เกลียดเสด็จพ่อนักนี้เป็นเรื่องที่น่าประหลาดอย่าง ยิ่ง เพราะนึกตรวจดูแต่ต้นจนปลายมา, พวกเราไม่เคยท�ำสิ่งไรให้... เดือดร้อนเลยจนสิ่งเดียว, นอกจากรู้ว่าท่านเกะกะแล้ว, เราก็หลบ หลีกไม่เข้าเกี่ยวข้องด้วย, แต่เราก็ทำ� ให้เห็นเสมอว่าเรามีหลักไม่เกรง กลัวของเหลวแหลกต่างๆ โดยเฉพาะเสด็จพ่อแล้ว, ข้าพเจ้าเคยทูล ถามหลายครั้งว่าท�ำไมท่านเกลียดเอาหนักหนา. เสด็จพ่อทรงตอบว่า- “พ่อไม่รู้, แต่ไม่เคยเล่นงานพ่อต่อหน้า เลยสักที.” แม้ ใ นเรื่ อ งราชการ, เสด็ จ พ่ อ ก็ ไ ม่ เ คยมี เ รื่ อ งเกี่ ย วข้ อ งกั น เพราะ...เป็นนักเรียน Oxford พาเอาเชื้อสุรามาด้วย ๙๙% พร้อมทั้ง วิชากฎหมาย. เวลาตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที ่ ๕ ไปยุโรป. ก็ไปเกิดความเรือ่ งเมา. ในเวลาอยู่ในยุโรปเอง, ก็มเี รือ่ งขบขันกันต่างๆ เล่ากันอยู่จนบัดนี้, ถ้าจะจดลงเป็นเล่มก็จะได้เล่มโตไม่ใช่น้อย. แรกกลับมาเมืองไทย-ได้เป็นเสนาบดียุติธรรมพักหนึ่ง, และ ออกจากต�ำแหน่งด้วยไปราชการในประเทศยุโรปในสมัยนั้น. ต่อมา ได้เป็นอธิบดีศาลฎีกา เกิดเฆี่ยนลูกชายอายุ ๗-๘ ขวบขึ้นมาจนสลบ แล้วสลบอีก. ถูกในหลวงรัชกาลที่ ๖ กริ้วถึงเรียกตราคืนทุกดวง. เล่ากันว่าเวลาเสนาบดีกระทรวงวังไปเรียกตราคืน, ...ไม่ยอม ให้มาดวงหนึ่งบอกว่าไม่ให้เพราะในหลวงองค์นี้ไม่ได้เป็นผู้พระราช ทาน. โปรดให้เสนาบดีนั้นกลับไปบอกว่า- ในหลวงทรงเป็นพระ เจ้าแผ่นดิน, และสั่งให้เอาได้ตั้งแต่หัวมาถึงตราทุกดวง! ...จึงนิ่ง เงียบและยอมคืนให้โดยดี. แต่พอหายกริ้วเรื่องเรียบร้อยแล้วก็โปรดให้คืนไปอย่างเก่า. แต่เผอิญในเวลานั้นก�ำลังทางอังกฤษจะยอมให้คนในสับเยคมาขึ้นต่อ ศาลไทย พอทูตอังกฤษรู้เรื่องเฆี่ยนลูกนี้เข้า เขาก็พูดว่า-ถ้าไทยยังมี ผู้พิพากษาดุร้ายเช่นนี้อยู่แล้ว, จะให้เขาปล่อยให้คนของเขามาขึ้นศาล อย่างไรได้. ค�ำปรารภของราชทูตอังกฤษนีเ้ ป็นเหตุให้...ต้องออกจากราชการ.  เรื่องราวของท่านทั้งหมดนี้, ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวกับเสด็จพ่อสัก


56 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

อย่างเดียว. ตรงกันข้ามดังครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ เวลาทรงบ่นกับ เสด็จพ่อว่าไม่มีคนจะใช้ในราชการให้เหมาะแก่ประโยชน์ได้. เสด็จพ่อ กราบทูลว่า-...อยู่เปล่าๆ เอามาให้ทำ� จะดีกระมัง. แต่สมเด็จพระพุทธ เจ้าหลวงตรัสว่า- “เรื่องคนขาดศีลขอเสียที, อย่าเอามาพูดเลย!” ก็ เป็นอันหมดเรื่อง. คนโดยมากเห็นกันว่า-...เกลียดเสด็จพ่อด้วยความอิจฉา อย่างเดียว, ไม่มีเรื่องอันใดอื่น. จะถูกหรือผิดก็เข้าใจไม่ได้จน บัดนี้. ส่วนท่านอมรทัตนั้น, พอมีเรื่องต้องหย่ากับเมียก็คิดหนีไปเป็น ราชทูตอยู่ต่างประเทศ. ทางนี้ก็เหลืออยู่แต่พวกที่ไม่กล้าท� ำอะไรได้. การส�ำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือการเลี้ยงน�้ำใจคนและหาคนดีได้จึง สูญไปไม่มีทางฟื้น. ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงเรื่องราชส�ำนักในตอนต้น, จึงไม่เกิดผลดีแต่ประการใด. สมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั ได้ทรงท�ำพระราชพิธบ ี รมราชาภิเษก เมื่ อ วั น ที่   ๒๕ กุ ม ภาพั น ธ์   พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่ พ ระที่ นั่ ง ไพศาล ทักษิณตามขัตติยราชประเพณี. เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้เห็นพระราชพิธีนี้โดยแจ้งชัด, เพราะ มีต�ำแหน่งเฝ้าตามยศตราและมีอายุพอจะเข้าใจพระราชพิธีได้ถูกต้อง, จึงรู้สึกว่าเป็นบุญนักที่ได้เห็นตั้งแต่สรงมุรธาภิเษกสนาน, ทรงรับพระ มหามงกุฎ, เสด็จประทับบนราชบัลลังก์ตั้งแต่ก่อนเปิดพระวิสูตรทอง ออกให้ข้าราชการฝ่ายหน้าเฝ้าในพระที่นั่งอมรินทร์ฯ แล้วเสด็จขึ้นบน พระที่นั่งไพศาลทักษิณให้ฝ่ายในเฝ้า, แล้วเสด็จพ่อตามเสด็จขึ้นมา เป็นผู้อ่านประกาศตั้งหม่อมเจ้าหญิงร�ำไพพรรณีเป็นพระมเหสี, เพราะทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธรอยู่ในเวลานั้น แล้วพวกฝ่าย รัชกาลที่ ๗ และพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำ�เนินไปโรงช้างต้นที่เชิงดอยสุเทพ เพื่อทอดพระเนตรและทรงป้อนอ้อยแก่พระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกในรัชกาล


57


58 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ในก็ถวายพระพรพร้อมกันทั้งสองพระองค์เป็นเสร็จงาน. ข้าพเจ้าจะ ไม่พรรณนาถึงงาน, เพราะมีทั้งรูปภาพและรายการอยู่ครบถ้วนแล้ว. อย่างไรก็ตาม, พอเสร็จงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วก็ ได้ข่าวเรื่องช้างเผือก. ด้วยบริษัทบอมเบย์เบอม่าส่งโทรเลขมากราบ ทูลว่า-บัดนี้ช้างลากไม้ของบริษัทตกลูกออกมาเป็นสีประหลาด. จึง โปรดเกล้าฯ ให้กรมคชบาลขึ้นไปดูที่เมืองเชียงใหม่ ได้ความว่าเป็น ช้างเผือกตัวผูต้ อ้ งตามลักษณะด้วยประการทัง้ ปวงจึงเป็นเรือ่ งประหลาด ที่น่ารู้อย่างหนึ่ง, ดังจะเล่าต่อไปนี้ : เรื่องช้างเผือกของไทยนี้ ไม่เหมือนกับเรื่องของชาติอื่นเช่น พม่า, ซึ่งเขาถือตามพระพุทธประวัติว่า-พระนางศิริมหามายาพระพุทธ มารดาทรงพระสุบินว่าช้างเผือกลอยเข้ามาในห้องพระบรรทม, เมื่อจะ ตั้งพระครรภ์พระพุทธเจ้า. แต่ไทยเราถือแต่เพียงว่าเป็นคู่พระบารมี ของพระเจ้าแผ่นดิน ดังมีในพระราชพงศาวดารไทยว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ผู้มีอ�ำนาจ มากจนได้รับพระนามว่า-พระเจ้าชนะสิบทิศของประเทศพม่า, แต่ยัง ไม่ทรงมีช้างเผือกเลยสักตัว. เผอิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิของ เมืองไทยในเวลานั้น ทรงได้ช้างเผือกอยู่ถึง ๗ ตัว. พอถึงเวลาพระเจ้าบุเรงนองตีเมืองมอญไว้ได้ในอ�ำนาจแล้ว คิด จะขยายอาณาจักรมาทางเมืองไทย, ก็ยกเอาเรื่องช้างเผือกเป็นเหตุให้ เข้ามาขอว่า-ทรงได้ข่าวเล่าลือไปถึงเมืองพม่าว่าพระมหาจักรพรรดิมี บุญญาธิการมาก เพราะมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีถึง ๗ ช้าง จึงอยาก จะขอประทานไปไว้เป็นศรีพระนครบ้างสัก ๒ เชือก. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ทรงทราบดีว่าเป็นอุบายของพระ เจ้าบุเรงนองที่จะเข้ามาตีเมืองไทย, แม้จะให้ก็คงหาเหตุอื่นมาจนได้, จึงทรงตอบกลับไปแก่ราชทูตว่า- “ช้างเผือกย่อมเกิดส�ำหรับบุญบารมี ของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ. เมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้ทรงบ�ำเพ็ญ ราชธรรมให้ร่งุ เรือง, ก็คงจะได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมีเป็นมัน่ คง, อย่า ได้ทรงพระวิตกเลย.” พระเจ้าบุเรงนองก็ถือเอาเป็นเหตุว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยตัด


59

ทางไมตรีก่อน แล้วยกทัพเข้ามาท�ำสงคราม. ไทยกับพม่าจึงต้องรบ ขับเคี่ยวกันมาเป็นเวลาถึง ๒๐๐ ปีเศษ.  ฉะนั้นช้างเผือกเกิดมีขึ้นในประเทศใดสมัยใด, จึงถือว่าเป็น ศรีของประเทศและประมุขนั้น. ในทางตะวันออกประเทศนี้, พระเจ้า แผ่นดินพระองค์ใดทรงมีช้างเผือกเอกมาก, ก็มักจะถวายพระนาม เรียกกันว่า-พระเจ้าช้างเผือก. ในทีน่ เี้ ราจะพูดกันแต่ถงึ เรือ่ งพระราชวงศ์จกั รี, ฉะนัน้ จะเล่าสัน้ ๆ  ดังต่อไปนี้ คือ :  ๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงได้ช้าง เผือก ๒ เชือก ช้างสีประหลาด ๘ เชือก. ๒. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ทรงได้ช้าง เผือกเอกติดๆ กันถึง ๓ เชือก จึงทรงได้พระนามตามราษฎรเรียกว่าพระเจ้าช้างเผือกและธงเรือรบหลวงจึงเริ่มใช้ตรารูปช้างเผือกขึ้นใน รัชกาลนี้. ทรงได้ช้างสีประหลาดแค่ ๓ เชือก. ๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงมีแต่ ช้างสีประหลาดถึง ๒๐ เชือก การที่เรียกว่าสีประหลาดนั้นคือ ไม่มีสิ่ง ที่ขาวบริสุทธิ์ครบถ้วน ๕ ประการ คือ-ตาขาว, ขนขาว, เล็บขาว, เพศ ขาว, หางขาว. เล่ากันว่าทรงเสียพระราชหฤทัยหลายครั้ง, ตรัสถาม กรมหลวงรักษ์รณเรศ ผู้ทรงบัญชาการกรมคชบาลอยู่ในเวลานั้นว่า“เผือกหรือไม่เผือก?” ทุกครั้งที่ได้ช้างสีประหลาดมา, และกรมหลวง รักษ์ฯ นิ่งเสียบ้าง, ทูลตอบแต่ว่า- “ไม่เผือก” ค�ำเดียวบ้างเสมอ. ๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงได้ช้าง เผือก ๕ เชือกและช้างสีประหลาด ๑๐ เชือก. ๕. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงได้ช้าง เผือก ๑๓ เชือก, มีเชือกหนึ่งได้ที่มณฑลเชียงใหม่, สีชมพูอ่อนทั้งตัว ขนและหางขาวเหมือนวุ้นเส้น. ข้าพเจ้าได้เห็นรูปเขาท�ำขึ้นเข้ากระบวน แห่เมื่อมีงานเปิดพระบรมรูปทรงม้า. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้า อุรุพงศ์ฯ กราบทูลถามสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า- “มีจริงๆ หรือ ช้างอย่างนี้?” พระเจ้าอยู่หัวทรงหันมาตรัสกับเสด็จพ่อว่า- “กรมด�ำรง,


60 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ดูเจ้าชายซีถามได้ว่า-มีจริงๆ หรือ?” ทรงมีช้างสีประหลาด ๖ เชือก. ๖. พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่  ๖ เสด็ จ ขึ้ น เสวยราชย์ในเวลาที่มีรถไฟ, เรือไฟ, รถยนต์ใช้แล้วมากมาย. เครื่อง ยนต์ไปทางไหน, ช้างโขลงซึง่ มีอยูใ่ กล้ๆ ก็เปิดหนีออกไปไกลเข้าทุกทีๆ จนแม้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงพระราชปรารภไว้ในพระราชหัตถ์ ที่ทรงมีถึงเสด็จพ่อว่า-ไม่นึกว่าจะได้ช้างเผือกเลย. แต่พอเสวยราชย์ ได้ไม่ถึงปีก็ได้ช้างเผือก ๑ เชือก ในแขวงมณฑลนครสวรรค์นี้เอง และทรงได้ช้างสีประหลาดอีก ๑ เชือก. ๗. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ พระองค์นี้ ยิ่งแปลกหนักขึ้น นอกจากรถไฟถึงสุดทางทั้งใต้และเหนือแล้ว ก็ยังมี รถยนต์ใช้ตามทางเกวียนเกือบประจ�ำวันอีกด้วย. ดูไม่มีทางที่จะได้ ช้างเผือกง่ายๆ เลย, เพราะคิดกันว่าช้างคงเปิดข้ามแดนไทยไปเสีย โดยมากแล้ว, แต่ช้างเลี้ยงของบริษัทบอมเบย์เบอม่ากลับตกลูกออก มาเป็นเผือกเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ๑ ตัว. ข้าพเจ้ายังได้เห็นของประหลาดบางอย่างคือ เมื่อเสด็จเลียบ (ตรวจการ) มณฑลพายัพในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ นั้น, ช้างเผือกเชือกนี้มี อายุราว ๑ ปี โปรดให้เลี้ยงไว้ที่เมืองเชียงใหม่ก่อน, เพราะจะน�ำมา สมโภชตามประเพณีในพระนครก็เกรงว่าจะชอกช�ำ้ ในการเดินทาง, จึง รอไว้ให้โตพอจะเดินทางได้สะดวก. ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่, วันหนึ่งเสด็จไปทอดพระเนตร ช้างคู่บารมีนั้น, ในหลวงทรงเครื่องยูนิฟอร์มทหารบกเหมือนกันกับ ท่านอมรทัตสมุหราชองครักษ์, และทรงยืนอยู่ด้วยกันที่นอกคอกช้าง อยู่. พอเขาเปิดคอกให้เดินออกมาเฝ้า, ช้างนั้นก็ตรงไปยกงวงขึ้นแตะ หัว, อันเป็นกิริยาไหว้ของช้าง, ที่ตรงในหลวงโดยเฉพาะ. ไม่ใช่ท่าน อมรทัต! ทุกคนที่อยู่ในที่นั้นต้องหัวเราะว่ารู้ได้อย่างไรว่าคนไหน, เพราะ จะสอนให้ช้างดูพระบรมรูปได้นั้นดูออกจะเกินเชื่อได้มากอยู่. ต่อมาอีกปี, ก็โปรดให้น�ำมามีงานสมโภชขึ้นระวางในกรุงเทพฯ ที่พระที่นั่งอภิเษกดุสิตในสวนดุสิต. งานนี้ใหญ่โตเพราะโปรดให้ฟื้นฟู


61

ตามแบบเก่าขึ้น, มีแห่สลากภัตรไปเลี้ยงพระและมีการเล่นเกือบทุก ชนิดในสนาม. พวกฝรั่งสนุกกันมาก, เพราะได้ดูงานอย่างไทยจริงๆ. เมื่อขึ้นระวางเป็นช้างพระที่นั่งพระราชทานนามว่า-พระเศวตคชเดชน์ ดิลก แล้วก็เข้าอยู่ในโรง ซึ่งปลูกคู่กันไว้กับพระเศวตวชิรพาหะของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ในสวนดุสิตนั้น. ถึงคืนวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระเศวตคช เดชน์ดลิ กไม่ยอมนอน ร้องครวญครางอยูต่ ลอดคืน, จนคนเลีย้ ง มาแต่เกิดก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร. พอรุง่ เช้าก็พอดีเอะอะเรือ่ งเปลีย่ นแปลงการปกครองในวันที ่ ๒๔ ในสถานที่ใกล้ๆ โรงช้างนั้นเอง. ต่อมาพระเศวตฯ โตขึ้นมีงาๆ คู่นี้ก็แปลกที่เกิดงอกออกไป ไขว้กัน. วันหนึ่งใกล้ๆ เวลาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตใน เมืองอังกฤษ ทางนี้พระเศวตฯ เกิดยกงวงขึ้นไปติดอยู่บนงาแล้วเอา ลงไม่ได้, เจ็บปวดครวญครางอยู่หลายวัน, ลงท้ายไม่มีทางจะแก้ไข อย่างอื่นได้ นอกจากเลื่อยเอางาออกทั้ง ๒ ข้าง, จึงกลายเป็นช้างที่ ทุพพลภาพและอยู่มาได้อีกปีเศษก็ตาย. จะเรียกว่าเผอิญเป็นก็แปลกอยู่. ในสมัยก่อนๆ ก็เชื่อกันว่าพระเศวตฯ ล้ม (ตาย) เป็นเรื่องไม่ ดีส�ำหรับพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นเจ้าของ, และก็มักจะล้มก่อนหรือ หลังจากการสวรรคตจริงๆ หลายครั้งหลายรัชกาลดังจะเห็นได้ตาม พระราชพงศาวดารอยู่แล้ว, จึงเห็นว่าเป็นของแปลก. ถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จขึ้น ไปเลีย บมณฑลฝ่ า ยเหนือ โปรดเกล้ า ฯ ให้ เ สด็จ พ่ อ ทรงเป็ น  Lord High Programme ตามเคยมาในสองรัชกาลก่อน. เสด็จพ่อจึงเสด็จขึ้นไปปรึกษาโครงการรับเสด็จกับเจ้านายทาง มณฑลพายัพ มีพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ผู้เป็นราชบุตรีของพระ เจ้าเชียงใหม่อินทรวิชยานนท์ และพระบิดาน�ำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ให้เป็นบาทบริจาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เมื่อ


62 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นเสด็จสวรรคตแล้ว, พระราชชายาก็ กราบถวายบังคมลาขึ้นไปอยู่บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน. พวกเรารู้จัก คุ้นเคยกับท่านอย่างดีและเห็นว่าเป็นผู้หญิงที่มีความรู้, ความสามารถ, ฉลาดเฉลียวในพวกชั้นเอกคนหนึ่ง. พระราชชายามีพระธิดาองค์หนึ่งกับสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่สิ้นพระชนม์เสียแต่พระชันษาได้ ๙ ปี. ท่านจึงมีแต่พวกหลานๆ อยู่ด้วย. ผู้ใดอยากรู้เรื่องทางเชียงใหม่, ก็มีพระราชชายาพระองค์ เดียวที่จะตอบได้ถูกต้องถี่ถ้วน, ทั้งในทางพงศาวดารและขนบธรรม เนียม, และในการรับเสด็จครั้งนี้, ที่ส�ำเร็จไปได้อย่างวิเศษดีก็เพราะ ท่านเป็นผู้จัดการ. ข้าพเจ้าจะไม่ลืมถึงงานคราวนี้เลย, เพราะงดงาม จับใจเป็นอย่างยิ่ง. ตามพงศาวดารมีหลักฐานอยูว่ า่ -พวกไทยลงมาจากทางเหนือ, พวกหนึ่งอยู่ในดินแดนล้านนา, ซึ่งชาวละว้าที่เราเรียกลาวเขาอยู่มา ก่อน, พวกเชียงใหม่จึงเป็นพวกไทยเหนือมาอยู่ในเมืองของลาว, ไม่ ใช่เป็นลาวโดยก�ำเนิด, และเหตุด้วยเมืองเชียงใหม่อยู่ใกล้กับประเทศ พม่า, จึงต้องตกไปอยู่ในอ�ำนาจพม่าในเวลามีอ�ำนาจขึ้นหลายครั้ง. จน ถึงเวลาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ของพระราชวงศ์จักรีนี้ทรง ต่อสู้พม่ารวบรวมไทยได้เป็นปึกแผ่นแล้ว, พระเจ้าเชียงใหม่กาวิโลรส กับพี่น้องรวม ๗ คน จึงเข้ามาร่วมมือช่วยต่อสู้พม่าในทางเหนือจน ในการเสด็จพระราชดำ�เนินเยี่ยมนครเชียงใหม่  ในวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ นั้น  เจ้านายพื้นเมือง ข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน พ่อค้า คหบดีเมืองนครเชียงใหม่  ได้ตกแต่งถนนหนทางจากสถานีรถไฟถึงที่ประทับ และจัดกระบวนแห่รับเสด็จเข้าเมือง โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี  ประทับบนช้างพระที่นั่งองค์ละเชือก  ช้างพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  ผูกเครื่องทองของเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่  มีปกกระพองห้อยหูพู่จามรี ห้อยข้างซองหาง ผูกกูบทองโถง


63


64 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

เป็นผลส�ำเร็จ. พวกเชียงใหม่เขาจึงถือว่าเขาเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระ ราชวงศ์จักรีโดยตนเอง, ไม่ใช่เพราะไทยไปตีเขามาได้ในตอนรวมไทย ครั้งนี้. ส่วนประเพณีทางพื้นเมืองก็ยังมีอยู่หลายอย่าง, เช่นเมื่อถึง เวลาครบปีด้วยดอกเอื้องแซะ (กล้วยไม้ป่าชนิดหนึ่งที่บานครั้งหนึ่ง ต่อปี) บาน, พวกชาวละว้าที่เป็นคนพื้นที่เดิม ก็น� ำสิ่งของต่างๆ คือ พืชพรรณธัญญาหารที่ท�ำได้มี-กล้วย, อ้อย, ขิง, ข่า, ขมิ้น, และยาสูบ หั่นกองมากับกล้องเงินที่ท�ำเอง, เข้ามาถวายพระเจ้าเชียงใหม่เป็นส่วย ประจ�ำปี. พระเจ้าเชียงใหม่รับแล้วก็เคี้ยวขมิ้นคายชันลงยังพื้นดิน ออกวาจาว่ า- “ถ้า ตราบใดยัง คงมีพื้น แผ่ น ดิน อยู ่  ก็จ ะรับ ปกครอง พวกละว้านี้มิให้มีภัยอันตราย.” แล้วก็สูบกล้องนั้น. ตามโปรแกรมที่กะรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวมีดังนี้ วัน เสด็จ ถึง เมือ งเชีย งใหม่  ประทับ พัก ที่ส ถานีร ถไฟครู ่ ห นึ่ง แล้วเจ้าเชียงใหม่แก้วนวรัฐผู้เป็นเชษฐาพระราชชายาขึ้นขี่คอช้าง น�ำเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์เข้าเมือง ด้วย กระบวนแห่ช้าง ๘๐ ตัว. ช้างกระบวนแต่งตัวอย่างโบราณ, คลุมหน้า และตัวด้วยผ้าสีแดงติดเงินเป็นแผ่นๆ. มีฆ้องกลองตีอย่างพื้นเมือง มาในกระบวน, และมีคนแต่งตัวอย่างนักรบโบราณถืออาวุธโล่แหลน หลาวดาบมีดมา ๒ ข้างช้าง. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศ จอมพลทหารบก ทรงถือคทายกรับค�ำนับราษฎรของพระองค์มาบน กูบเปิดหลังช้างพระที่นั่ง มีเจ้าไชยฯ แต่งเต็มยศโบราณถือขอช้าง

(บน) พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พร้อมเจ้านายพื้นเมือง ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทำ�พิธีทูลพระขวัญ น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี (ล่าง) เจ้านายพื้นเมืองฟ้อนในการพิธีทูลพระขวัญ รัชกาลที่ ๗ และพระบรมราชินี  หน้าศาลารัฐบาลเมืองเชียงใหม่


65


66 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

พนมมือมาที่หัวและเจ้าประพันธ์ฯ แต่งตัวแบบโบราณนั่งมาเป็นท้าย ช้างพระที่นั่ง. เสียงฆ้องกลองและสีสันของกระบวนแห่และท่าทางของช้าง เดินมาเป็นทิว, เป็นสิ่งที่แลดูแล้วกะพริบตาไม่ได้. ท� ำให้ลืมตัวไปว่า อยู่ในสมัยปัจจุบัน-กลายเป็นเกิดผูกพันเห็นปู่ย่าตายายเขายกทัพ ไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในความเป็นไทย. ราษฎรแน่นไปทั้งสองข้างถนนที่เสด็จออกจากสถานีรถไฟไป ยังที่ประทับศาลากลางราว ๑ ชั่วโมง. ราชทูตต่างๆ ในกรุงเทพฯ พากันขึ้น mail train ตามไปดูแห่ ในวันนั้น. Dr. Asmis ราชทูตเยอรมันทูลเสด็จพ่อว่า- “เกิดมาไม่เคย เห็นอะไรที่จับใจเช่นนี้เลย!” ข้าพเจ้าและหญิงเหลือไปนั่งดูแห่กับพระราชชายาที่พลับพลา สุดทางเสด็จ. พอช้างตัวแรกเดินเข้าประตูซุ้มที่ท�ำขึ้นรับเสด็จจะเข้ามา ผ่านพลับพลา, ลูกเสือที่ตั้งแถวรับเสด็จเกิดเล่นแตรขึ้นสนั่น. ข้าพเจ้า เหลียวไปเห็นพระราชชายายกพระหัตถ์ขึ้นชี้ว่า- “หยุด! ช้างจะตื่น.” เท่านั้นแตรก็หยุดสนิททันที. ช้างพระที่นั่งเทียบเกยเสด็จลง แล้วพระราชชายาก็เข้าไปเฝ้า, มีเจ้าหญิงเล็กๆ แต่งไทยเหนือโปรย ดอกไม้หอมสดใส่ขันทองค�ำ ๒ ข้างทางเสด็จแต่เกยจนถึงพลับพลา. ให้เจ้านาย, ขุนนาง, พ่อค้าทั้งหญิงชายเฝ้าแล้วก็เสด็จขึ้น. รุ่งขึ้นอีกวันมีการสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระ ราชินี. ตามประเพณีทางเหนือนั้น, ถ้าผู้ต่างเมืองเดินทางไปถึง, เจ้า ของเมืองก็ฟ้อนร�ำออกมารับเป็นการแสดงความยินดี, และผู้ไปถึงก็ ฟ้อนตอบรับเช่นเดียวกัน. เหตุคงเกิดจากการเดินทางล�ำบากกันดาร

ก่อนที่รัชกาลที่ ๗ จะเสด็จขึ้นไปเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพเสด็จขึ้นไป ปรึกษาโครงการรับเสด็จกับพระราชชายาดารารัศมี


67


68 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

ในป่าดงและผ่านแก่ง, แม้มีรถไฟแล้วก็ยังถือเป็นธรรมเนียมสืบมาใน การท�ำขวัญ เว้นแต่การฟ้อนร�ำเท่านั้นที่เลิกมาแล้วเสียนาน. ข้าพเจ้า ไปเชียงใหม่ครั้งแรกกับเสด็จพ่อก็ได้รับการท�ำขวัญ มีบายศรีมาตั้ง แล้วมีผู้เฒ่ามากล่าวขวัญให้พร, เป็นท�ำนองเมือง แล้วพระราชชายา, เจ้าหลวงและเจ้าแม่ (ชายาเจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ทรงผูกมือประทาน และประทานของที่ระลึกมีผ้าซิ่นและเครื่องเงินท�ำในเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น, แล้วก็เสร็จพิธี. ในครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนี้, เจ้านายเชียงใหม่ตกลง กันจะฟ้อนรับเสด็จ. เจ้าชั้นเล็กที่เป็นสมัยใหม่แล้วก็หัดซ้อมฟ้อนกัน อยู่หลายวัน. ถึงเวลา ๔ โมงเช้าเสด็จออกประทับคู่กันบนพลับพลา, กระบวนแห่บายศรีเมืองก็เดินกระบวนแต่ประตูซุ้มเข้ามาผ่านหน้า พลับพลาแล้วเลี้ยวเข้าเฝ้า. หน้าขบวนมีฆ้องกลองที่เรียกภาษาเหนือ ว่า-กอก้อง-น�ำมาแล้ว ถึงบายศรีท�ำด้วยใบตองประดับดอกไม้สดอัน ใหญ่ส�ำหรับพระเจ้าอยู่หัว มีคนหามเป็นหมู่ใหญ่เดินมา, หลังบายศรี อันหน้าก็ถึงเจ้านายผู้ชายแต่งนุ่งผ้ายกใส่เสื้อเยียระบับใส่สายสะพาย เต็มที่. คู่หน้า-เจ้าหลวงเชียงใหม่และเจ้าหลวงเมืองน่าน, คู่ที่ ๒ เจ้าหลวงเมืองล�ำพูนและเจ้าราชบุตร แล้วก็ต่อมาตามยศและอายุ เป็นคู่ๆ ราว ๑๖ องค์. หมดกระบวนบายศรีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็ขึ้นต้น ฆ้องกลองน�ำบายศรีเล็กลงมาส�ำหรับสมเด็จพระราชินี หลังบายศรีก็ ถึงเจ้าหญิงแต่งนุ่งซิ่นยกทองแบบเมือง ใส่เสื้อแขนยาวห่มผ้าลูกไม้ ทองเฉียงบ่าชายหลังยาวลงมาถึงน่อง, ใส่ดอกไม้ทองบนมวยเป็น เครื่องแต่งผม, เครื่องเพชรพลอยล้วนทับทิมทางเมืองเชียงใหม่เม็ด งามๆ. มีเจ้าทิพวันชายาท่านบวรเดชกับเจ้าส่วนบุญชายาเจ้าหลวง เมืองล�ำพูนเป็นคูห่ น้า แล้วต่อมาตามยศและอายุอย่างเจ้าผูช้ าย. พอถึง หน้าพลับพลาตรงที่ประทับ ทุกองค์ก็ยกมือร�ำขึ้นถวายบังคมถึงหัว ก่อน แล้วจึงร�ำฟ้อนเข้าจังหวะกอก้อง-เข้าไปเฝ้าในพลับพลา. ทุกคนที่ได้ดูร้องเป็นเสียงเดียวกันว่า-ไม่เคยเห็นอะไร งามอย่างนี้!


69

หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ หมอประจ�ำพระองค์ในหลวงถึง สารภาพว่า-แรกรู้ว่าจะมีฟ้อนก็นึกว่าจะอดหัวเราะไม่ได้, ครั้นดูเข้า จริงแล้ว ตื่นเต้นจนไม่รู้จะพูดว่าอย่างไรและหัวเราะก็ไม่ออก! สังเกต เห็นได้ถนัดว่าเจ้าชั้นเล็กๆ ฟ้อนไม่งามเท่าเจ้าชั้นใหญ่ๆ. โดยเฉพาะ เจ้าหลวงเชียงใหม่และเจ้าหลวงเมืองน่าน, พอยกมือขึ้นถวายบังคม, เราก็ตะลึงเสียแล้ว, เพราะมีทั้ง grace และ smartness อย่างอธิบาย ไม่ถูกได้. ส่วนเจ้าหญิงก็งามอ่อนหวานแช่มช้อยทุกย่างก้าว. เมื่อดูทั้ง หมดแล้วก็เห็นได้ว่าผิดกันไกลกับทางพม่า. ตรงหน้ า พลับ พลามีลู ก กรมพระก�ำ แพงเพชรและลู ก พระยา เพ็ชร์พิไสยฯ เจ้าเมืองยืนฟ้อนรับแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชินีอยู่, จนเจ้านายทางเชียงใหม่เข้าไปเฝ้าแล้วจึงหยุดฟ้อน ด้วยกัน. แล้วก็ตั้งต้นอ่านค�ำถวายพระขวัญและผูกด้วยสายสิญจน์ที่ พระบาท, พระหัตถ์และถวายของที่ระลึก, แล้วเสร็จงานวันนี้. รุ่งขึ้นอีกวัน, เป็นวันชาวเชียงใหม่เฝ้าในพลับพลา, มีหัวหน้า ชนต่างๆ รวมทั้งพวกละว้าด้วย, เขาน�ำเครื่องส่วยมาทูลเกล้า ถวาย ตามธรรมเนียมเดิม. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขอพระองค์ว่า ขออย่า ให้ต้องเคี้ยวขมิ้นเลย, ขอแต่ให้ทรงสูบยากับกล้องเท่านั้นเถิด. เสร็จ การพิธีตามทางราชการแล้ว, ก็เสด็จประพาสไปยังเมืองอื่นๆ ทั่วถึง ชายแดนทางเมื อ งเชี ย งแสน. ข้ า พเจ้ า และหญิ ง เหลื อ ไม่ ไ ด้ เ ข้ า ใน กระบวนเสด็ จ , เป็ น แต่ ถึ ง เวลาพิ เ ศษก็ เ ข้ า ไปร่ ว มงานเป็ น คราวๆ, เพราะเราไปดูแลเรื่องอาหารและยาของเสด็จพ่อ. ฉะนั้นวันกลับเราจึงขึ้นรถเมล์มาก่อนตอนเช้า, ถึงสถานีสะพาน หินในตอนดึก, เราก�ำลังหลับสนิทได้ยนิ เสียงปึงดังโครมใหญ่. ข้าพเจ้า เกือบกระเด็นออกไปนอกเตียงนอนแล้วได้ยินเสียงคนเอะอะ, ก็เปิด ประตูห้องออกไปดู จึงรู้ว่ารถตกราง. ได้ความว่าตอนหัวค�่ำมีผู้ร้ายลอบยิงสถานีเหมือนจะปล้นแล้ว ก็เงียบไป จนรถไฟตกรางแล้วจึงได้รู้ว่ามีคนไปลอบไขกุญแจรางรถ เปลี่ยนทางรถเข้าให้เลยไปลงบึงใหญ่. คนขับหยุดรถทันเมื่อจะถึงบึง สัก ๒-๓ วา, จึงกระเด็นออกไปจากรางด้วยแรงหยุดชะงัก. หน้ารถ


70 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น


71

ลาก locomotive หมอบลงไปอยู่ในดินอ่อนจนต้องเอาไม้ขอนช่วย ค�้ำไว้. เป็นอันว่ารถที่เรามาต้องติดอยู่ที่สถานีนั้นเป็นเวลา ๑๗ ชั่วโมง. เขาสั่งรถ local train จากเมืองพิษณุโลกขึ้นไปรับผู้โดยสารที่จะรีบ มาอีกพวกหนึ่ง, แต่เราเชื่อในความสามารถของหลวงจรูญสนิทวงศ์ ผู้เป็นอินจิเนียของกรมรถไฟที่มาในรถนั้นด้วย, จึงคงอยู่จนยกขึ้นราง ได้เรียบร้อยและเดินทางต่อมา. ข้าพเจ้าได้เห็นวิธีเขาท�ำงานยกรถกันเป็นครั้งแรก, ลงไปเดินดู เห็นว่าคงต้องค้างอยู่ที่นั่นอีกคืนหนึ่ง, แต่หลวงจรูญฯ บอกว่า- “เดี๋ยว ก็ไปได้, ไม่เชื่อก็คอยดู.” แกอธิบายว่า-คนงานของเมืองไทยต้องท�ำ งานด้วยเห็นสนุกและนายต้องลงมือท�ำด้วย ตัวแกเองหน้าตามอมแมม ออกมาจากใต้รถและตะโกนก้องว่า- “เอาเว้ย, ถ้ารถออกได้ในค�่ำวันนี้, ข้ายอมแพ้ให้หมูย่าง ๑ ตัว. แต่ข้าว่าพวกเองไม่ได้กิน!” และรถนั้นก็ ออกได้จริงๆ ในค�่ำวันนั้น. รถไฟที่ข้าพเจ้ามาถึงสถานีกรุงเทพฯ เวลา ๒ น. กลางคืน, พอรถเข้าสถานีไฟมืดมัวไม่เห็นว่ามีใครบ้าง, ได้ยินแต่เสียงถามว่า-อยู่ ไหนๆ? พอข้าพเจ้าสองคนโผล่หน้าต่างรถออกไปก็พบพระยาศรี เสนากับเมีย, หน้าตาตื่นด้วยสะกดความตกใจไว้และอธิบายอย่าง เกือบบ่นกับตัวเองว่า- “พิโธ่, นึกว่าจะต้องเห็นเขาหามลงมาให้ดูเสีย แล้ว!” ข้าพเจ้าถามว่า-ท�ำไมกัน? เจ้าคุณตอบว่า- “กรมสวัสดิฯ ไปเยี่ยมท่านหญิงบรรดาลฯ ซึ่ง ก�ำลังเจ็บมาก, ท่านไปบอกว่ารถไฟตกรางตายกันหมดแล้ว. ทางวัง ก็ก�ำลังจะตาย, ข่าวใหม่นี้ก็ตายแล้ว. เจ้านายที่วังเลยไม่มีใจจะมารับ ทางรถไฟ, กระหม่อมก็เลยรับว่าจะมาเอง. สิ้นเคราะห์ไปที!” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงฉายพระรูปกับข้าราชบริพารที่ตามเสด็จ  ครั้งเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ


72 สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น

เราก็ขนเข้าของกลับมาบ้านในเวลาดึกนั้น. พอถึงเราก็ไปเรือน หญิงบรรดาลฯ ได้ความว่าก�ำลังหมดหวังอยู่ในเตียง. หมออนุญาตให้ เราเข้าไปเยี่ยมได้. เมื่อนั่งอยู่ข้างเตียงสัก ๑๐ นาที, คนเจ็บลืมตาขึ้น มองดู แล้วพยายามเลื่อนมือเข้าไปหากันเหมือนหนึ่งจะไหว้, ข้าพเจ้า พูดไม่ออกเพราะจะร้องไห้, ได้แต่จับมือเธอไว้ และพยายามอมยิ้ม. หญิงเหลือจึงแทรกเข้าไปบอกว่า- “พี่มาแล้ว. สิ้นเคราะห์กันที!” ข้าพเจ้าเลยถือโอกาสถอยออกมานอกห้อง. คนเจ็บพูดกับหญิง เหลืออย่าง-ร่อมแร่มๆ ว่า- “พีห่ ญิงเหลือคะ, ตกใจไหมเมือ่ รูว้ า่ ฉันเจ็บ”   หญิงเหลือตอบว่า- “แรกรู้ก็ตกใจซี, แต่มาเห็นแล้วเช่นนี้ก็หาย ตกใจ! อีก ๒-๓ วันก็หาย.” คนเจ็บพูดด้วยต่อไปว่า- “พี่หญิงเหลือฝันแน่จริงๆ” หมายว่า ลูกที่เกิดใหม่เป็นผู้ชายตามที่หญิงเหลือเคยบอกไว้ว่าฝันเช่นนั้น. หญิงเหลือบอกต่อไปว่า- “เอาซิ่นสีสวยเทียวมาฝาก, และได้ พระแก้วสีเขียวมาให้ด้วยองค์หนึ่งจะได้หายเจ็บเร็วๆ.” หญิงบรรดาลฯ กลับบอกว่า- “เอาไว้ให้เจ้าหนูมันเถิด!” แล้ว ก็ท�ำท่าจะยกมือไหว้. อยู่ต่อไปอีกสักครู่หนึ่ง, แล้วเราก็กลับมานอน. รุ่งขึ้นบ่ายเสด็จพ่อเสด็จกลับมาถึงพร้อมกับกระบวนเสด็จของ ในหลวง, ตรัสว่ารถไฟพระที่นั่งก็เกือบจะลงคลองเพราะสะพานเกิด ทรุดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง. ผู้คุมรถ locomotive คือ Mr. H. Zachariae ชาวเดนมาร์กแลเห็นทันจึงหยุดรถและแก้ทางอยู่ ๒-๓ ชั่วโมง, ท�ำให้ ถึงกรุงเทพฯ ช้าไปกว่าที่ก�ำหนดไว้. พอเสด็จพ่อถึงได้วันหนึ่ง รุ่งขึ้นหญิงบรรดาลฯ ก็ตายด้วยเป็น โรคบิด, ทิง้ ลูกชายอายุ ๑๐ วันไว้ทางหลังนี ้ (เด็กคนนีอ้ ยูไ่ ด้เพียง ๓-๔ ปีก็ตายไปด้วย) และทิ้งลูกผู้หญิงคนใหญ่ ๒ ขวบเศษกับผู้หญิงคน ที่สองอายุ ๑ ขวบเศษไว้อย่างน่าสังเวช. ต่อมาได้สักหน่อยเสด็จพ่อก็ประชวร, หมอปัวร์บอกว่าเป็น เพราะกลั้นพระบังคนเบาเป็นต้นเหตุให้ไตพิการ. ทูลถามเสด็จพ่อก็ ได้ความว่ากลั้นพระบังคนเบาจริงๆ ในเวลาขึ้นรถยนต์ในกระบวน เสด็จจากล�ำปางไปเชียงราย, เพราะจะขอหยุดรถก็เกรงว่ากระบวน


73

จะขาด. อันนีเ้ ป็นเหตุให้โปรดพระราชทานอนุญาตให้พวกเราเข้ากระบวน เสด็จไปดูแลเสด็จพ่อได้คนหนึ่ง ในเวลาเสด็จเลียบพระราชอาณาจักร ทางปักษ์ใต้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ต่อมา เราตกลงกันว่าหญิงเหลือเป็นคนที่ควรไปกว่าทุกคน เพราะเคยคุ้นเคยมาแต่หัวหินครั้งกระนั้น. เป็นอันหญิงเหลือก็ไป, กลับมาเล่าว่า ในหลวงนั้นก�ำลังจะโตขึ้นด้วยได้ทอดพระเนตรเห็นการ งานมากขึ้นเป็นแน่. เธอได้นั่งโต๊ะเสวยอยู่ข้างขวาพระองค์ท่าน เกือบทุกเวลา, ถ้าที่ใดประทับคู่ก็ได้นั่งซ้ายเพราะไม่มีใครสูง กว่าในที่นั้น, จึงได้ฟังและได้คุยด้วยเสมอ. เธอรู้สึกว่าในหลวง ทรงตั้งต้นต้องการเพื่อน companion ขึ้นแล้ว, และถ้าสมเด็จ พระราชินีโตทันเป็นเพื่อนจนช่วยได้จริงๆ ก็จะดีไม่น้อย.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.