จักรวาลระหว่างบรรทัด

Page 1


สนับสนุนโดย



จักรวาล

ระหว่างบรรทัด ” ลมติชน” รวมผลงานนักเขียน รางวั ประจ�ำปี​  ๒๕๕๗

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒     ๕     ๕     ๘


จักรวาลระหว่างบรรทัด • รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน” ประจ�ำปี ๒๕๕๗ พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๘ ราคา  ๒๔๐  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ผู้ชนะรางวัลมติชน. จักรวาลระหว่างบรรทัด. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๑๘๐ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. เรื่องสั้น  I. ชื่อเรื่อง ๘๙๕.๙๑๓๐๑ ISBN 978 - 974 - 02 - 1394 - 9 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : โมน สวัสดิ์ศรี  • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ กราฟิกเลย์เอาต์  : กรวลัย เจนกิจณรงค์  • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : สิริพงษ์  กิจวัตร ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ www.matichonbook.com บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕  โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พมิ พ์ส-ี ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่  ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์  ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี  ๑๑๑๒๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖  โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี  จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำ

เรื่องสั้นทั่วไป

๗ ๑๐

๑๗

มายาคติ- ธารา ศรีอนุรักษ์ ถนนโค้งและลื่น-ปรเมศวร์ กาแก้ว ชายผู้ตามหาหนังสือ-ชนินทร อุลิศ เด็กน้อยใต้ระบบอาหารหลุม-สุธิตินันท์ ศรีราษฎร์ ตัวฉันเอง-สิงห์ ลักพลวงศ์ รถไฟเชื่องช้าสู่อรุณรุ่ง-วิกรานต์ ปอแก้ว

๑๙ ๓๓ ๔๕ ๖๑ ๗๓ ๘๗


เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์

๑๐๕

กวีนิพนธ์

๑๕๓

เดี่ยว-Zoitee ๑๐๗ จักรวาลแห่งความเหงา-พัชรพล ประดับสุข ๑๒๕ Genlife Shop-รมณ กมลนาวิน ๑๓๙

ความฝันของเด็กชายฮาซัน-สันติพล ยวงใย ที่สุดมนุษย์ คือ-ถนอม ไชยวงษ์แก้ว ในความมืดด�ำ-ผการัมย์ งามธันวา สิ่งตกค้าง-อนันต์ เกษตรสินสมบัติ

๑๕๕ ๑๖๑ ๑๖๗ ๑๗๕


คํานําสํานักพิมพ์

นับเป็นอีกก้าวแห่งความส�ำเร็จของงานวรรณกรรมที่เรียง แถวเข้ามาประชันฝีมือกันอย่างสุดความสามารถ ตั้งแต่บริษัท  มติ ช น จ� ำ กั ด  (มหาชน) ขออาสาเป็ น หั ว ขบวนในการผลั ก ดั น  ให้เวทีการประกวด “รางวัลมติชน” ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ จน  ถึงบัดนี้ การประกวดรางวัลวรรณกรรม “รางวัลมติชน” ประจ� ำ  ปี ๒๕๕๗ ก็ได้ฤกษ์จัดประกวดขึ้นอีกครั้งอย่างสม�่ำเสมอและ  มั่นคงเช่นเดิม  โดยการประกวดรางวั ล มติ ช นในครั้ ง นี้  ยั ง คงมอบหลั ก  การและกติกาที่เข้มข้นไม่ต่างจากการประกวดเมื่อ ๒ ครั้งที่ผ่าน  มา เนื่องจากเข้าใจนิยามของการประกวดรางวัลวรรณกรรมว่า  ถึงแม้การสร้างสรรค์งานศิลปะทุกชนิดจะก่อร่างขึ้นได้ในหลาก  จักรวาลระหว่างบรรทัด  7


หลายทิ ศ ทาง หากแต่ คุ ณ ค่ า ของงานเขี ย นนั้ น มี ค วามลึ ก ซึ้ ง ที ่ แตกต่างกัน โดยยังคงแบ่งเป็นการประกวดเรื่องสั้นทั่วไป เรื่อง  สั้นวิทยาศาสตร์ และกวีนิพนธ์ ชัดเจนและตรงประเด็นก็คือ เรื่องสั้นทั่วไปแสดงถึงความ  หลากหลายของแนวคิดทุกแนว ทุกอารมณ์ แม้แต่สนามเรื่องสั้น  เกือบทั้งหมดของสื่อสิ่งพิมพ์ทุกวันนี้ก็ยังอยู่ในประเภทเรื่องสั้น  ทั่วไป ที่บรรจุทั้งความรัก อารมณ์เชิงปัจเจก และการประพันธ์ท ี่ แฝงด้วยความคิด ปิดท้ายด้วยการทิ้งรูปรอยแห่งความประทับใจ  ให้ต้องหวนกลับมาอ่านใหม่ งานเขียนเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน แม้อาจเป็นแนว  เรื่องที่ดูแคบกว่าเรื่องสั้นทั่วไป แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ก็ล้วนสร้าง  ความสนใจไม่น้อย  โดยเฉพาะการคาดเดาภาพร่างในอนาคตว่า  จะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างไร เหตุใดจิตใจของผู้คนจึงไม่อาจ  พัฒนาเทียบเคียงอุปกรณ์เหล่านั้น วิทยาศาสตร์และอนาคตจะ  เป็นสวรรค์ในจินตนาการของมนุษย์ หรือเป็นเพียงชะตากรรมอัน  เลวร้ายที่ไม่อาจหลีกพ้น ขณะที่ส่วนของกวีนิพนธ์นั้น ความงดงามทางภาษาก็ล้วน  ดึงดูดความรู้สึกได้ไม่แพ้กัน เนื่องจากความมหัศจรรย์ของบทกวี  คือตัวอักษรไม่กี่ตัว ถ้อยค�ำไม่กี่ค�ำ แต่กลับแสดงความหมายได้  หลายล้านถ้อยค�ำไม่ต่างจากภาพจิตรกรรมอันโดดเด่น ทุกถ้อยค�ำ ทุกความหมายของการประกวดรางวัล จึงได้  บรรจุลงในหนังสือรวมเรื่องสั้นที่จัดท�ำขึ้นเป็นพิเศษในชื่อ “จักร วาลระหว่างบรรทัด” ที่บรรจุนักเขียน “รางวัลมติชน” ประจ�ำปี  8  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน” ประจ�ำปี ๒๕๕๗


๒๕๕๗ ไว้ทั้งหมด ได้แก่ ธารา ศรีอนุรักษ์, ปรเมศวร์ กาแก้ว, ชนินทร อุลิศ, สุธิตินันท์ ศรีราษฎร์, สิงห์ ลักพลวงศ์, วิกรานต์ ปอแก้ว, Zoitee, พัชรพล ประดับสุข, รมณ กมลนาวิน, สันติพล ยวงใย, ถนอม ไชยวงษ์ แ ก้ ว , ผการั ม ย์   งามธั น วา, อนั น ต์ เกษตรสินสมบัติ รวมเรื่องสั้นมือรางวัลเล่มนี้ จึงเป็นดุจการเกิดก่อความ  ภาคภู มิ ใ จแก่ บ รรณพิ ภ พ ราวกั บ การถื อ ก� ำ เนิ ด ของดวงดาว  สว่างใหญ่ในห้วงจักรวาลที่ส่องแสงเรืองรองไปในอวกาศ ขณะ  ที่ดวงดาวอีกหลายล้านดวงก็ยังขับแสงเปล่งประกาย เทียบเท่า  ความหมายหลายหลากที่แฝงอยู่ในระหว่างบรรทัดของงานวรรณ  กรรมนั่นเอง ส�ำนักพิมพ์มติชน

จักรวาลระหว่างบรรทัด  9


ค�ำน�ำ

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยมายาวนานกว่าทศวรรษ และยังไม่มีทีท่าจะจบลงในเร็ววันนั้น ได้ส่งผลสะเทือนไปแทบ  ทุก “หย่อมหญ้า” ไม่มีใครรอดพ้นจากผลกระทบของความ “ขัดแย้ง” นี้ หากสังเกตผลงาน “ชนะเลิศ” จากการประกวด “รางวัล  มติ ช น” ประเภทเรื่ อ งสั้ น ทั่ ว ไป เรื่ อ งสั้ น วิ ท ยาศาสตร์  และกวี  นิพนธ์ ที่บริษัท มติชน (จ�ำกัด) มหาชน จัดขึ้นเป็นปีที่ ๓ แล้ว ประกอบด้วย ๑) “มายาคติ” ของ ธารา ศรีอนุรักษ์ ในประเภทเรื่องสั้น  ทั่วไป ๒) “ความฝัน ของเด็ก ชายฮาซัน ” ของ สันติพล ยวงใย  ในประเภทกวีนิพนธ์ 10  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน” ประจ�ำปี ๒๕๕๗


๓) “เดี่ยว” ของ Zoitee ในประเภทเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์  ล้วนได้รับผลสะเทือน และมุ่งสะท้อนความขัดแย้งที่ลง  รากฝังลึกในสังคมไทยออกมาให้เราได้สัมผัสอย่างไม่นัดหมาย และมากด้วยแง่มุมอันน่าสนใจ “มายาคติ” ของ ธารา ศรีอนุรักษ์ น�ำเอาความรู้สึกของคน ภาคใต้ ที่นิย มพรรคการเมือ งหนึ่ง  มาเป็ น คู ่ ขัด แย้ ง กับ คนภาค  อีสานที่นิยมอีกพรรคการเมืองหนึ่ง ความขัดแย้งนี้มิได้จำ� กัดวงอยู่ที่การต่อสู้ทางการเมือง หรือ  ในชนชั้นระดับน�ำ หากแต่ทะลุทะลวงเข้าไปถึง “ในครัว” ของชาวบ้านธรรมดาๆ  ทีแ่ ทบจะไม่ได้มสี ว่ นได้เสียใดๆ กับความขัดแย้ง อันมีความหมาย  ถึงความขัดแย้งที่มุ่งช่วงชิง “อ�ำนาจ” แต่อย่างใดเลย แต่ “คนธรรมดา” ถูกลากดึงเข้าไปเป็นคู่ขัดแย้งอย่างไม่  ปรานีปราศรัย “มึงเสียทีที่เป็นลูกกู เย็ดแม่ม หาเมียทั้งที หาไอ้ที่ดีๆ ไม่ ได้แล้วเหอ ไปเอามันท�ำเมล่อไหร พวกลาว พวกนี้กินเพ เขียด อึ่งอ่าง ลูกคลัก ฮายยย สกปรก...” ค�ำพูดที่หลุดจากปากตัวละครส�ำคัญใน “มายาคติ” สะท้อน  ทัศนคติอันเกลียดชังออกมาอย่างไม่ปิดบังนั้น เป็นความเศร้าอย่างไม่ต้องสงสัย  ความเศร้าทีเ่ ป็นผลของความ “ขัดแย้ง” ทีก่ อ่ เกิด “มายาคติ”  ให้คนธรรมดาเกลียดชังกันและกัน เพียงเพราะอยู่คนละภาค รัก  คนละพรรคเท่านั้น จักรวาลระหว่างบรรทัด  11


ส่วน “ความฝันของเด็กชายฮาซัน” สันติพล ยวงใย หยิบ เอาความขัดแย้งในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มาน�ำเสนอ ผ่าน เด็กชายฮาซัน นักเรียนชั้น ม.๒/๔ ผ่าน ครูประจ�ำชั้น  ผ่าน “ความฝัน”--ความฝันที่เราคุ้นเคยนั้นมักจะต้องเป็น  เรื่องดี เป็นอุดมคติ เป็นเป้าหมายที่จะก้าวเดินไป  แต่ไฉน “สันติพล ยวงใย” กลับบอกในกวีนิพนธ์ของเขาว่า “ครูประจ�ำชั้นกังวลใจ ไหวสะท้าน ตรวจการบ้านฮาซัน อย่างหวั่นกลัว !” ฝันของเด็กชายฮาซัน เป็นฝันแบบไหนกันหนอ นี่ย่อมเป็นผลจากความขัดแย้งอัน “เย็นยะเยือก” อย่างไม่  ต้องสงสัย ด้าน Zoitee แม้จะน�ำพาเราไปสู่ “สังคมแห่งอนาคต” ใน เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ “เดี่ยว” “เดี่ยว” ที่แนะน�ำตัวให้เรารู้จักว่า “สวัสดีครับ ผมชื่อเดี่ยว เป็นหุ่น(ยนต์)นักแสดงตลก” ฟังเพียงผิวเผินแค่นี้ ไม่เห็นจะเป็นความขัดแย้งที่ตรงไหน แต่เมื่อเราค่อยๆ ก้าวไปสู่โลกในอนาคต อนาคตทีก่ า้ วหน้าถึงขนาด “หุน่ ยนต์” ถูกพัฒนาให้มลี กั ษณะ คล้ายมนุษย์เข้าไปทุกทีๆ แต่ ก็ เ ป็ น  “ทุ ก ที ”  ที่ น� ำ ไปสู ่ ค วามขั ด แย้ ง มากยิ่ ง ขึ้ น ทุ ก ที  เช่นกัน 12  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน” ประจ�ำปี ๒๕๕๗


เป็นความขัดแย้งของการแย่งชิงอ�ำนาจและผลประโยชน์  ระหว่าง “มนุษย์” กับ “หุ่นยนต์” ความขัดแย้งไม่ว่าจะเกิดขึ้นระหว่างคนกับคน สัตว์ต่อสัตว์  หรือมนุษย์กับหุ่นยนต์  “โศกนาฏกรรม” ก็มักจะเป็นผลที่ติดตามมาเสมอ ไม่ว่าในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ก็ตาม กล่าวถึงที่สุดแล้ว “มายาคติ” ของ ธารา ศรีอนุรักษ์, “ความ ฝันของเด็กชายฮาซัน” ของ สันติพล ยวงใย, “เดีย่ ว” ของ Zoitee  ในประเภทเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ ก็คือ “บันทึก” ร่วมสมัยอันเจ็บปวดรวดร้าว ที่ร่วมจดจาร “ความเป็นไปของบ้านเมือง” ซึ่งจมอยู่ในปรัก  อยู่ในความขัดแย้งอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ผ่ า นกระบวนการสร้ า งสรรค์ ใ นรู ป แบบเรื่ อ งสั้ น และกวี  นิพนธ์นั่นเอง สุวพงศ์  จั่นฝังเพ็ชร บรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์

จักรวาลระหว่างบรรทัด  13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.