มัสยิดในกรุงเทพฯ

Page 1


มัสยิดในกรุงเทพฯ


2 มัสยิดในกรุงเทพฯ

บทนำ� : มัสยิดกับอัตลักษณ์ ของชุมชนมุสลิม


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 3

สังคมกรุงเทพฯ ในอดีตเป็นสังคมพหุวฒ ั นธรรมที่มีพื้นฐานทาง ด้านสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตและความเชื่อที่หลากหลายจากกลุ่ม ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ อาทิ จีน ลาว มอญ และแขก เมื่อกลุ่มชนดังกล่าวเข้า มาตัง้ ถิน่ ฐานในกรุงเทพฯ จึงพัฒนารูปแบบในการปรับตัวให้สอดคล้อง กับบริบทโดยที่ยังคงอัตลักษณ์ของตนไว้ ก่อให้เกิดแนวคิดและวัฒน ธรรมใหม่ที่มีผลต่อการสร้างงานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ส�ำคัญขึ้น ในกรุงเทพฯ นอกเหนื อ ไปจากรู ป แบบไทยประเพณี ซึ่ ง มี ที่ ม าจาก วั ฒ นธรรมกระแสหลั ก  โดยเฉพาะการสร้ า งมั ส ยิ ด ของมุ ส ลิ ม ซึ่ ง มี มโนทัศน์ที่แตกต่างจากชาวกรุงเทพฯ โดยทั่วไป ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ บางกอกเปลี่ยนจากเมืองหน้าด่าน ของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยามาเป็ น นครหลวง มุ ส ลิ ม หลายเชื้ อ ชาติ เ ดิ น ทาง เข้ามาในแต่ละช่วงเวลาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน และทางราชการ ก็เปิดโอกาสให้มุสลิมกลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนในการพัฒนาประเทศ โดยก�ำหนดต�ำแหน่งของการตั้งถิ่นฐานที่สะท้อนหน้าที่ของแต่ละชุมชน ให้สมั พันธ์กบั อ�ำนาจปกครอง เช่น ชุมชนนักรบทีม่ สั ยิดบ้านครัว ชุมชน ช่างฝีมือที่มัสยิดจักรพงษ์ ชุมชนช่างทองที่มัสยิดตึกดิน และชุมชน เกษตรกรรมที่มัสยิดทรายกองดิน เป็นต้น แม้จะมีแนวคิดทางด้าน สถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันตามความเชื่อทางศาสนา แต่ทางราชการ ก็ได้ให้สิทธิในการปฏิบัติศาสนกิจของชุมชนและอ�ำนาจการดูแลชุมชน ที่เชื่อมโยงกับอ�ำนาจของทางราชการ ชุมชนเองก็ได้ใช้กิจกรรมทาง ศาสนานั้นแสดงอัตลักษณ์ให้สังคมรับรู้ เช่น การจัดขบวนแห่ในพิธี มะหะหร�่ำของแขกเจ้าเซ็นไปตามเส้นทางส�ำคัญ โดยมีอิหม่ามบาราห์ หรือมัสยิดเป็นฉากหลังในช่วงส�ำคัญของพิธ ี หรือการละหมาดในชุมชน โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง มัสยิดจึงเป็นพื้นที่ที่แสดงอัตลักษณ์ ของมุสลิม และสะท้อนถึงความสัมพันธ์กับสังคมชาวสยาม ผ่านทางรูปแบบทางสถาปัตยกรรมทีถ่ กู เลือกใช้ในการสือ่ ความ หมายเชิงสัญลักษณ์ได้อย่างชัดเจน ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มุสลิมในสยามหรือที่ชาวไทยเรียกว่า “แขก” ๑ อยู่ภายใต้ก ารก� ำ กั บ ดู แ ลของพระยาจุ ฬ าราชมนตรี  โดย


4 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ผ่านทางอิหม่ามหรือผู้น�ำของแต่ละชุมชนซึ่งมีมัสยิดเป็นศาสนสถานที่ ส�ำคัญ มุสลิมในกรุงเทพฯ อยู่ในสังคมโดยยังคงอัตลักษณ์ของชุมชน ไว้ได้โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง มัสยิดจึงมีความส�ำคัญส�ำหรับการตั้ง ถิ่นฐานของชุมชนมุสลิม มีการสร้างมัสยิดในชุมชนมุสลิมบริเวณฝั่ง ธนบุรีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขยายให้มีขนาด ใหญ่ขึ้นในสมัยธนบุรี  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมือ่ ย้ายเมืองหลวง มายังฝั่งพระนคร ก็มีชุมชนมุสลิมกลุ่มต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานร่วมกับ ชาวสยามและชาวต่างชาติหลายกลุม่  ชุมชนมุสลิมได้ขยายตัว และเพิม่ จ�ำนวนขึ้นควบคู่ไปกับการเติบโตของกรุงเทพฯ มีการสร้างมัสยิดขึ้น ในชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่หลายแห่ง โดยเรียกต่างๆ กันไปว่า กุฎี๒ บ้าง สุเหร่า๓ บ้าง อิหม่ามบาราห์๔ บ้าง และบาแล๕ บ้าง  มัสยิดเหล่านี้ในระยะแรกมีทั้งที่ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมต่าง ชาติ ได้แก่ มัสยิดกุฎีหลวง (หลังเดิม) ของมุสลิมชีอะฮ์เชื้อสายเปอร์ เซียซึ่งสร้างขึ้นตามแบบเปอร์เซีย และมีทั้งที่ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรม ไทยประเพณี ได้แก่ มัสยิดต้นสน (หลังเดิม) ซึ่งสร้างขึ้นตามรูปแบบ ของวัดและวัง ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองและโครงสร้างสังคม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มุสลิมเชื้อสายอินเดีย มลายู และชวา มีบทบาท ส�ำคัญทางด้านเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ พ่อค้ามุสลิมเชื้อสายอินเดีย ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษในฐานะที่เป็นคนในบังคับอังกฤษก็ได้น�ำรูปแบบ สถาปัตยกรรมยุโรปและสถาปัตยกรรมอินเดียมาใช้ ประกอบกับการ เปิดรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศมหาอ�ำนาจ อันได้แก่ประเทศ ในทวีปยุโรปและประเทศที่นับถือศาสนาอิ ส ลาม มุสลิมจากชวาและ มลายูจงึ สร้างมัสยิดตามรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิน่ ของตนบ้าง รวม ถึงรู ป แบบอื่ น ๆ อี ก เป็ น จ� ำ นวนมากที่ พั ฒ นาขึ้ น โดยได้ รั บ อิ ท ธิ พ ล จากประเทศอิสลามหลังสมัยรัชกาลที ่ ๖ ตัวอย่างเช่น การใช้รูปทรง ของสถาปั ต ยกรรมยุ โ รปในมัส ยิด บางอ้ อ และมัส ยิด เซฟี  (ตึก ขาว) การน� ำ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมจากมัสยิดอัลฮะรอม๖ หลัง เดิ ม ในนครมั ก กะฮ์ ม าใช้ กั บ หออะซาน ๗ ของมั ส ยิ ด ดารุ ้ ล อาบิ ดี น (ตรอกจันทน์) การใช้ ต ราอาณาจัก รอิส ลามบนผนัง มัส ยิด บางอุ ทิศ


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 5

และมัสยิดต้นสน การเลือกใช้รปู แบบจากประเทศต้นก�ำเนิดของแต่ละ ชุมชน เช่ น  มั ส ยิ ด กมาลุ ล อิ ส ลาม (ทรายกองดิ น ) ใช้ รู ป แบบของ มลายู มัสยิดยะวาใช้รูปแบบของชวา และมัสยิดกูวติลอิสลาม (ตึก แดง) ใช้รูปแบบของอินเดีย การน�ำรูปแบบของอาคารราชการมาใช้ใน การสร้างมัสยิดมหานาค มัสยิดจักรพงษ์ และมัสยิดยามีอลุ ค็อยรียะห์ (บ้านครัว) การใช้รปู แบบสถาปัตยกรรมนวยุคหรือสมัยใหม่ของมัสยิด ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทยและมัสยิดดารุลอิห์ซาน และการใช้ รูปทรงคลาสสิกใหม่กบั มัสยิดฮีด่ าย่าตุล้ อิสลาม (สามอิน) และมัสยิดใน ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น เหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นแนวคิดในการสร้างมัสยิดทีเ่ ปลีย่ นไปตามสภาพสังคม มุสลิมในกรุงเทพฯ ในการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมมัสยิดใน กรุงเทพฯ ผูเ้ ขียนได้วเิ คราะห์พฒ ั นาการทางกายภาพของสถาปัตยกรรม ๘ มัสยิด   ผ่านกระบวนการปรับตัวทางสังคมของมุสลิมในกรุงเทพฯ โดยมีสิ่งส�ำคัญที่เชื่อมโยงทั้ง ๒ ประเด็นเข้าด้วยกัน ได้แก่ แนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมมัสยิดในกรุงเทพฯ และการประยุกต์ใช้ แนวคิดกับสถาปัตยกรรมมัสยิดในแต่ละรูปแบบผ่านกระบวนการทาง สังคมของมุสลิมในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ได้พิจารณาขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การสร้าง การใช้งาน และการแสดงออก ผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์ ทางสังคมของมุสลิมในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนการสร้างกรุง รัตนโกสินทร์ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อมูลในการศึกษาได้จากกลุม่ คนทีม่ ี อิทธิพลต่อการสร้างมัสยิด เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง โบราณวัตถุ และจากงานสถาปัตยกรรมมัสยิด โดยศึกษาประวัติศาสตร์จากการ บอกเล่า (oral history) ร่วมกับข้อมูลประเภทเอกสารที่เกี่ยวข้องและ ข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการส�ำรวจ แล้วน�ำมาวิเคราะห์ตามประเด็น ที่แตกต่างกันไป หากพิจารณาว่า “สถาปัตยกรรมอิสลามคือสถาปัตยกรรมที่ เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของศาสนาอิสลาม” แล้ว จะพบว่า ปรัชญาค�ำ สอนของศาสนาอิ ส ลาม ๙ อิ ท ธิ พ ลจากต่ า งประเทศ ๑๐ และปั จ จั ย


6 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ท้องถิ่น๑๑ ที่แตกต่างกันเป็นอิทธิพลส�ำคัญที่ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรม ที่มีเอกลักษณ์ในที่ต่างๆ ภายใต้อิทธิพลของศาสนาอิสลาม ส�ำหรับมุสลิมในกรุงเทพฯ วัฒนธรรมอิสลามได้ผ่านกระบวน การปรับตัวเพือ่ ให้อยูร่ ว่ มกับสังคมโดยทีย่ งั คงอัตลักษณ์ไว้ได้อันเนื่อง มาจากการที่วัฒนธรรมอิสลามเป็นวัฒนธรรมย่อยวัฒนธรรมหนึ่ง ภายใต้ วั ฒ นธรรมกระแสหลั ก ของพุ ท ธและพราหมณ์  และการที่ ชาวมุ ส ลิ ม เป็ น ประชากรส่วนน้อยหลายกลุ่มจากหลายเชื้อชาติที่มี พื้นฐานทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชุมชนมุสลิมในกรุงเทพฯ จึงมี วิถีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะ การศึกษาพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับชุมชน มุสลิม จึงเชื่อมโยงสู่แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับมัสยิดได้ในฐานะที่มัสยิด เป็ น ศู น ย์ ก ลางของชุ ม ชนมุ ส ลิ ม ในกรุ ง เทพฯ และแนวคิ ด ที่ มี ต ่ อ สถาปัตยกรรมมัสยิดในกรุงเทพฯ ก็ย่อมสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน ได้ด้วย


เชิงอรรถ

๑ คำ�ว่า “แขก” ในสังคมไทยหมายถึงชนต่างชาติซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ทาง

ดินแดนฟากตะวันตกของไทยซึ่งไม่ใช่ประเทศในทวีปยุโรป ภายหลังก็รวมเอา บรรดามุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในกลุ่มสมาชิกของ “แขก” ด้วยเหตุนี้ “แขก” จึงเป็นกลุ่มประชาชาติใหญ่โตซึ่งประกอบไปด้วย แขกที่ไม่ได้นับถืออิสลามอย่าง แขกพราหมณ์ แขกอาร์เมเนีย และแขกซิกข์ กับแขกที่นับถืออิสลามหรือมุสลิม เช่น แขกจาม แขกชวา แขกมลายู และ แขกเจ้าเซ็น เป็นต้น (จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์, ๒๕๕๐ : I) ๒ กุ ฎี   กะฎี   หรื อ กะดี   เป็ นคำ � ที่ ใ ช้ เรี ย กมั ส ยิ ด ของมุ ส ลิ ม บางกลุ่ ม ใน สยาม มาจากคำ�ว่ากุฏใิ นภาษาไทย ดูรายละเอียดใน กุสมุ า รักษมณี, ๑๐๐ ปี ราชการุญ. กรุงเทพฯ : สมาคมราชการุญ, ๒๕๕๐ (๑๘-๒๒) ๓ ชาวมลายูเรียกมัสยิดขนาดเล็กที่สร้างตามลักษณะพื้นถิ่นว่า สุเหร่า บางแห่งใช้เรียกมัสยิดที่ใช้ละหมาดประจำ�วันโดยไม่มีละหมาดญุมอะฮ์ในวัน ศุกร์วา่ สุเหร่าเช่นกัน สำ�หรับในกรุงเทพฯ นัน้ มีทงั้ ทีเ่ รียกสุเหร่าตามภาษามลายู และเรียกมัสยิดตามภาษาอาหรับโดยไม่ได้แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ๔ ศาสนสถานของมุสลิมชีอะฮ์ ซึ่งอาจรวมมัสยิดเข้าไว้ด้วย ๕ มัสยิดขนาดเล็กทีส ่ ร้างขึน้ ในลักษณะทีไ่ ม่ถาวรนัก ภาษามลายูปตั ตานี เรียกว่า บาแล ในขณะที่ภาษามลายูกลาง เรียกว่า บาลา ซึ่งน่ามาจากคำ� ภาษาอาหรับว่า บะลาซะฮ์ ๖ มัสยิดอัลฮะรอม นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นศูนย์กลาง ในการปฏิบตั ศิ าสนกิจของมุสลิมทัว่ โลก ๗ หออะซานเป็นสถานที่สำ�หรับให้ผู้ประกาศเวลาละหมาด (มุอัซซิน) ขึ้นไปประกาศ (อะซาน) เพื่อเรียกให้ผู้คนมาทำ�ละหมาดร่วมกันที่มัสยิดเมื่อ ถึงเวลาละหมาดวันละ ๕ ครั้งทุกวัน  ๘ การวางผัง การสร้างรูปทรงและที่ว่าง การจัดองค์ประกอบทางสถา ปัตยกรรม การใช้ตราสัญลักษณ์ การใช้วสั ดุและสี จนถึงการใช้ลวดลายประดับ อาคาร ๙ ปรัชญาคำ�สอนของศาสนาอิสลามมีองค์ประกอบทีส ่ �ำ คัญ เช่น คัมภีร์ อัลกุรอาน (คัมภีร์ที่รวบรวมวจนะของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)) และบันทึกอัลฮะดีษ (บันทึกคำ�พูด การประพฤติ ปฏิบัติ จริยวัตร ตลอดจนวิถีการดำ�เนินชีวิตของ


8 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ศาสดามุ ฮั ม มั ด  (ซ.ล.) และสาวกของท่ า น) กฎหมายอิ ส ลาม แนวคิ ด ทาง เทววิทยา แนวคิดเกีย่ วกับอำ�นาจเหนือธรรมชาติ การแสดงออกทางด้านศิลปะ แนวคิดทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ซึง่ แนวคิดทัง้ หมด นั้นมีที่มาจากการยอมรับอำ�นาจสูงสุดของพระเจ้าและเชื่อมโยงเข้ากับบริบท ในลักษณะต่างๆ  ๑๐ ได้แก่ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในด้านต่างๆ และการรับอิทธิพล จากดินแดนดังกล่าว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับนานาชาติ ๑๑ ได้แก่ ความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การ เมือง การปกครอง ปัจจัยทางกายภาพ รวมถึงนโยบายการปกครอง


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 9

ความเป็นมาของ ชุมชนมุสลิมในกรุงเทพฯ


10 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ความเป็นมามุสลิมสู่สยาม มุสลิม หมายถึงผูท้ นี่ บั ถือศาสนาอิสลาม ค�ำว่า “อิสลาม” เป็น ภาษาอาหรับ แปลว่า การยอมจ�ำนน การปฏิบตั ติ าม และการนอบน้อม ศาสนาอิสลามสอนให้นับถือพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)๑ เป็นพระเจ้า องค์เดียวและมีศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.)๒ เป็นศาสดาท่านสุดท้าย โดย มีศนู ย์กลางของการเผยแผ่ศาสนาอยู่ทนี่ ครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์๓ หลักการของศาสนาสอนให้คนท�ำความดีบนพื้นฐานของการศรัทธา และเชือ่ ฟังพระเจ้าซึง่ เป็นผูท้ รงสร้างและดูแลสรรพสิง่ ในจักรวาล มุสลิม ท�ำความดีเพื่อหวังความโปรดปรานจากพระเจ้าโดยยึดถือหลักการ จากคัมภีร์ “อัลกุรอาน”๔ และบันทึก “อัลฮะดีษ”๕ เป็นแนวทางใน การด�ำรงชีวิต และถือว่าการปฏิบัติภารกิจทางโลกมีความส�ำคัญควบคู่ ไปกับภารกิจทางด้านศาสนา รูปแบบการด�ำเนินชีวิตที่มีรากฐานมาจาก หลักการดังกล่าวได้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมและปัจจัยพืน้ ถิน่  ท�ำให้ สังคมมุสลิมในแต่ละท้องถิน่ ทัว่ โลกมีลักษณะเฉพาะที่ยังคงสื่อถึงหลัก การและวิถีชีวิตของอิสลาม วัฒนธรรมท้องถิน่ ทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัว ในการด�ำรงชีวิตเช่นในกรุงเทพฯ ได้ส่งผลให้วิถีชีวิตของมุสลิมเป็นไป ในลักษณะของการผสมผสานกันอย่างกลมกลืนกับวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่าง จนเกิดเป็นสิง่ ใหม่ทสี่ ะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมในงานศิลปะและ สถาปัตยกรรมของแต่ละชุมชน  ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้เริ่มเผยแผ่ศาสนาโดยมีนคร มักกะฮ์เป็นศูนย์กลาง ต่อมาท่านและผู้ศรัทธาได้อพยพไปยังนคร มะดีนะฮ์ใน พ.ศ. ๑๑๖๕ (ค.ศ. ๖๒๒) และได้สร้างชุมชนมุส ลิมที่ ปฏิบัติตามหลักค�ำสอนศาสนาอิสลามในชีวิตประจ�ำวันอย่างเข้มแข็ง และสร้างมัสยิดอัลนะบะวีย์ขึ้นเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติศาสนกิจ และกิจกรรมของชุมชน  หลังจากสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) และคอลีฟะฮ์ (ผู้ น�ำต่อจากท่านศาสดา) ทั้ง ๔ ท่าน ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายสู่แหล่ง อารยธรรมต่างๆ ได้แก่ โรมัน กรีก อียิปต์ ซีเรีย บาบิโลเนีย อัสซีเรีย


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 11

รวมทั้งเปอร์เซียและไบแซนไทน์ ที่นับถือศาสนาที่หลากหลาย ได้แก่ คริสต์ ยิว โซโรแอสเตอร์ และลัทธิบชู าสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิต์ ามธรรมชาติ เมือ่ ชาวพืน้ เมืองเปลีย่ นมารับนับถือศาสนาอิสลามก็ได้น�ำแนวทางทีค่ ้นุ เคย ไปสร้างสรรค์งานศิลปะและสถาปัตยกรรม และได้กลายเป็นรากฐาน ในการพัฒนาศิลปะและสถาปัตยกรรมอิสลามในที่ต่างๆ ทั่วโลก ศาสนาอิ ส ลามได้ เ ข้ า มาสู ่ ค าบสมุ ท รมลายู ใ นดิ น แดนเอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางเส้นทางการเดินเรือ (ภาพที่ ๑) สู่บริเวณ ที่เป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไนปัจจุบัน ขึ้นมาจนถึงบริเวณที่ เป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบนั  คาบสมุทรมลายูเป็นศูนย์กลาง

ภาพที่ ๑ เรือของชาวอาหรับในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ที่มา : Arab Seafaring in the Indian Ocean อ้างถึงใน ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช, ๒๕๔๙ : ๑๓


12 มัสยิดในกรุงเทพฯ

อารยธรรมอิสลามที่ส�ำคัญและเป็นศูนย์กลางการค้าที่ส�ำคัญในระดับ ภูมิภาค  ในสมัยสุโขทัย ราชอาณาจักรได้แผ่อาณาเขตไปจนถึงมลายู ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และสุโขทัยยังได้ติดต่อ กับประเทศมุสลิมหลายประเทศ ดังหลักฐานที่ส�ำคัญคือการค้นพบ ถ้วยชามสังคโลกของสุโขทัยในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น อินโดนีเซีย อิหร่าน และประเทศในทวีปแอฟริกา และการใช้ค�ำว่า “ปสาน” ซึ่งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากค�ำในภาษาเปอร์เซียว่า “บซาร” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ ์ ปราโมช, ๒๕๐๓ : ๑๐๐-๑๐๑)  อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏงานศิลปะหรือสถาปัตยกรรมในประเทศสยามทีไ่ ด้รบั อิทธิพล จากวัฒนธรรมอิสลามจนกระทั่งในสมัยอยุธยาซึ่งมีการติดต่อค้าขาย กับเปอร์เซียอย่างต่อเนื่อง กรุงศรีอยุธยาได้เจริญสัมพันธไมตรีกับ เปอร์เซียในสมัยราชวงศ์ “ซอฟาวียะฮ์” (พ.ศ. ๒๐๔๔-๒๒๗๙) อันทรง อิทธิพลและเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าในระดับนานาชาติ มีชาว เปอร์เซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อท�ำการค้าและรับราชการ โดยเฉพาะใน สมั ย ของสมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราชที่ ท รงให้ ก ารสนั บ สนุ น ชาว เปอร์เซียในการปฏิบัติราชการอย่างต่อเนื่อง ประเทศเพื่อนบ้านที่มี ประชากรมุสลิมจ�ำนวนมาก เช่น อินเดีย ก็เริ่มมีบทบาทในการติดต่อ กับสยามมากขึ้น เริ่มปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องราวของมุสลิมใน ลักษณะต่างๆ มากขึ้น เช่น บันทึกของชาวต่างชาติ งานหัตถกรรม และงานจิตรกรรม (ภาพที่ ๒-๓) มุสลิมหลายคนที่เดินทางมาจาก ประเทศต่างๆ ได้เป็นขุนนางผู้มีบทบาทส�ำคัญในการบริหารประเทศ ในเวลาต่อมา เช่น เจ้าพระยารัตนราชเศรษฐี (เฉกอะหมัด) ในสมัย พระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา และเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (หมุด) ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุร ี ในสมัยรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางที่ดึงดูดมุสลิม จากหลายเชื้อชาติให้เดินทางเข้ามามีส่วนในการพัฒนาประเทศใน ลักษณะต่างๆ เช่น ชุมชนนักรบเชื้อสายจามที่มัสยิดบ้านครัว ชุมชน ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซียที่มัสยิดกุฎีหลวง ชุมชนนักวิชาการและนัก


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 13

ภาพที ่ ๒ ภาพของ “แขก” ทีป่ รากฏในจิตรกรรมฝาผนัง วัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี ที่มา : น. ณ ปากน�้ำ, ๒๕๒๙ : ๓๗


14 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๓ ภาพกษัตริย์ฝรั่งเศสและเปอร์เซียในภาพลายรดน�้ำบนฝาตู้พระไตร ปิฎกสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มา : น. ณ ปากน�้ำ, ๒๕๔๓ : ๖๘


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 15

ธุรกิจเชื้อสายอาหรับที่มัสยิดบางกอกน้อย ชุมชนช่างฝีมือเชื้อสาย มลายูที่มัสยิดจักรพงษ์และมัสยิดตึกดิน ชุมชนนักธุรกิจชาวอินเดีย ที่มัสยิดตึกแดงและมัสยิดตึกขาว และชุมชนเกษตรกรเชื้อสายมลายู ที่มัสยิดทรายกองดิน เป็นต้น  มุสลิมกลุม่ ต่างๆ ได้ปรับวิถชี วี ติ ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ทาง ด้านสังคมและวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ โดยยังคงคุณลักษณะส�ำคัญ ตามหลักค�ำสอนศาสนาไว้ได้อย่างลงตัว ชุมชนมุสลิมต่างๆ ในกรุงเทพฯ เติบโตเป็นสังคมที่มีความมั่นคงและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ มาโดยตลอด

มุสลิมในกรุงเทพฯ

ในสมัยอยุธยา สังคมกรุงเทพฯ หรือบางกอกมีความหลาก หลายทางวัฒนธรรมจากกลุ่มคนหลากเชื้อชาติต่างศาสนาที่อยู่ร่วมกัน ตามที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่า “แขกขอมลาวพม่าเมงมอญมสุม แสงจีนจามชวา...” ต่อมาในสมัยธนบุรี ชาวอยุธยาได้อพยพมาจาก ที่ ต ่ า งๆ ทยอยเข้ า มาตั้ ง หลั ก แหล่ ง ในกรุ ง เทพฯ ซึ่ ง รวมถึ ง มุ ส ลิ ม ชีอะฮ์เชื้อสายเปอร์เซียที่อพยพมาจากพระนครศรีอยุธยา ในสมัยรัตน โกสินทร์ได้มชี าวต่างชาติเข้ามาเพิม่ เติม ซึ่งรวมถึงมุสลิมเชื้อชาติต่างๆ เช่น ยิบเซ็ดอ่าน สะระกาฉวน อาหรับ หรุม่ โต้ระกี ่ แขกปะถ่าน แขกจุเหลี่ย มลายู  จาม หุ ้ ย หุ ย  ตามหลั ก ฐานที่ ป รากฏในจารึ ก และจิ ต ร กรรมฝาผนังที่ส�ำคัญ เช่น โคลงภาพคนต่างภาษา ที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้แต่งขึ้นและวาดภาพประกอบไว้ในศาลา รายรอบก�ำแพงวัดพระเชตุพนฯ นอกจากนี้ยังมีหนังสือต�ำรับท้าวศรี จุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ (วรรณคดีในรัชกาลที่ ๓) ที่กล่าวถึง ชาติภาษาต่างๆ ในกรุงเทพฯ โดยถือเอาภาษาพูดเป็นเกณฑ์   สภาพสังคมดังกล่าวสะท้อนถึงลักษณะของสังคมพหุวฒ ั นธรรม ของกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาแรกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เมือ่ วัฒนธรรม กระแสหลักของสยามเข้มแข็งขึน้  กลุม่ วัฒนธรรมย่อยบางกลุม่ ได้ถกู กลืน


16 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ไปกับวัฒนธรรมกระแสหลัก ในขณะทีห่ ลายกลุม่ ได้ปรับตัวให้สอดคล้อง กับเงื่อนไขต่างๆ โดยยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้ ซึ่งรวมถึงชาว มุสลิมกลุ่มต่างๆ ดังที่กล่าวมาด้วย มุสลิมในกรุงเทพฯ เป็นมุสลิมเชื้อชาติต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย อาหรับ อินเดีย จาม มลายู และชวา เนือ่ งจากหลักการของศาสนาได้ครอบคลุมถึงการด�ำเนิน ชีวิตประจ�ำวันด้วย มุสลิมทุกคนจึงต้องมีความรู้ทางด้านศาสนาควบคู่ ไปกับความรู้ทางด้านวิชาชีพ ศาสนาอิสลามไม่มีนักบวช แต่มีอิหม่าม เป็นหัวหน้าหรือผู้น�ำที่คอยดูแลและให้ค�ำปรึกษาแก่ชาวบ้านในชีวิต ประจ�ำวัน ตลอดจนเป็นผู้น�ำในการปฏิบัติศาสนกิจในรูปแบบต่างๆ เมื่อใช้ชีวิตร่วมกับชาวกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลานานและมุสลิมทุก อาชีพก็มีความสามารถในการเผยแผ่ศาสนา ท�ำให้การเผยแผ่ศาสนา สู่ชาวพื้นเมืองเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีผู้สนใจเข้ารับนับถือศาสนา อิสลามมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อจ�ำกัดประการหนึ่งคือการที่ความรู้ของผู้เผย แผ่มีหลายระดับท�ำให้เกิดข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย ทั้งยัง มีการผสมผสานความเชื่อท้องถิ่นเข้ากับหลักการของศาสนาอิสลาม และอาจมีความคลาดเคลื่อนในกระบวนการถ่ายทอด ส่วนหนึ่งน่าจะ เกิดจากการทีใ่ นขณะนัน้ มีผทู้ เี่ ข้าใจภาษาอาหรับซึง่ เป็นภาษาทีใ่ ช้ในคัมภีร์ อัลกุรอานอยูไ่ ม่มากนักในสยาม จึงไม่มบี ทบัญญัตทิ างศาสนาที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรที่อ้างอิงได้มากนัก ประกอบกับการถ่ายทอดความรู้ใน ระดับชาวบ้านนั้นเกิดจากการสอนในลักษณะปากต่อปากซึ่งมีโอกาส คลาดเคลือ่ นได้  แต่อย่างไรก็ตามการเผยแผ่ในลักษณะนัน้ ได้คงเนือ้ หา ในส่วนที่เป็นหลักค�ำสอนไว้เพราะ “มุสลิมไม่ว่าจะมีทัศนคติอย่างไร ก็ยอมรับว่าอัลลอฮ์เป็นพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวเหมือนกัน หมด ยอมรับคัมภีรอ์ ลั กุรอานฉบับเดียวกัน ยอมรับศาสดามุฮมั มัด และ ศาสดาองค์อนื่ ๆ ทีอ่ ลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงแต่งตัง้ มาก่อนศาสดามุฮมั มัดทุก ท่านเหมือนกันหมด ยอมรับนครมักกะฮ์เป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกัน” (ประยูรศักดิ ์ ชลายนเดชะ, ๒๕๓๙ : ๒๓๗) ส่วนทัศนคติอนื่ ๆ ย่อมมีการ


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 17

พัฒนาไปตามข้อปลีกย่อยทีส่ อดคล้องกับปัจจัยพืน้ ถิน่ และยุคสมัยตราบ เท่าทีไ่ ม่ขดั กับหลักของศาสนา ในระยะเริม่ แรกมักจะได้รบั อิทธิพลจาก วัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมและปัจจัยพื้นถิ่นอย่างมาก  แต่เมื่อมีการศึกษา ศาสนาอย่างถ่องแท้มากขึ้น การปฏิ บั ติ ต นก็ จ ะอยู ่ ใ นแนวทางของ อิสลาม  สิ่งใดที่มีมาแต่เดิมแต่ขัดต่อหลักการอิสลามก็จะค่อยๆ ถูก เปลี่ยนแปลงไป คนกรุงเทพฯ มักเรียกมุสลิมรวมกันว่า “แขก” ทัง้ ทีใ่ นความเป็น จริงนั้น “แขก” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายอันหมายถึง ชนต่างชาติซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ทางดินแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย แขกจึ ง หมายรวมไปถึ ง กลุ ่ ม คนที่ นั บ ถื อ ศาสนาต่ า งๆ คื อ  แขก พราหมณ์  แขกซิกข์ และแขกที่นับถือศาสนาอิสลามหรือมุสลิม เช่น แขกอาหรับ แขกเปอร์เซีย แขกจาม แขกชวา และแขกมลายู เป็นต้น บางที่ก็เรียกเจาะจงถึงมุสลิมตามนิกาย เช่น แขกเจ้าเซ็น๖ แขกซุนนี๗ สังคมกรุงเทพฯ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวต่างชาติกลุ่มต่างๆ โดย เฉพาะการรับเอาภูมปิ ญ ั ญาจากแขกมุสลิมในด้านต่างๆ มาโดยตลอดทัง้ ทางด้านภาษา ศาสนา ความเชื่อ ศิลปกรรม รวมถึงความรู้ที่เกี่ยวกับ การด�ำรงชีวติ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในสมัยทีอ่ าณาจักรอิสลาม เจริญรุง่ เรือง ได้มกี ารติดต่อค้าขายกับประเทศมุสลิมต่างๆ อาทิ อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ อย่างกว้างขวาง  มุสลิมกลุม่ ทีม่ บี ทบาทเด่นชัดในระยะแรกได้แก่ ขุนนางมุสลิมเชือ้ สายเปอร์เซียในราชส�ำนักสยาม ซึ่งในขณะนั้นผู้ด�ำรงต�ำแหน่งพระยา จุฬาราชมนตรีเป็นมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซียในสังกัดกรมท่าขวาผู้ดูแล การค้าของราชส�ำนักกับประเทศทางฝั่งตะวันตกของสยาม และดูแล ชาวต่างชาติจากประเทศดังกล่าวที่อาศัยอยู่ในสยามซึ่งรวมถึงมุสลิม ด้วย กลุม่ ขุนนางเชือ้ สายเปอร์เซียจึงมีโอกาสและบทบาทส�ำคัญในสังคม มากกว่ามุสลิมเชื้อชาติอื่นๆ ในสยาม บทบาทของมุสลิมกลุ่มนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา อันเนื่อง มาจากการน�ำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาพัฒนาประเทศ ประกอบกับ การใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะการมีส่วน


18 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ร่วมช่วยเหลือราชการในเหตุการณ์บ้านเมืองส�ำคัญต่างๆ นอกจากนั้น มุสลิมกลุ่มนีย้ งั เป็นผู้สานสัมพันธ์กบั ประเทศเพือ่ นบ้านทีน่ บั ถือศาสนา อิสลามรวมถึงอาณาจักรอิสลามทีส่ �ำคัญในอดีต อันได้แก่ ซอฟาวียะฮ์๘ และโมกุล๙ แม้กระทั่งต่อมาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์มุสลิม กลุ่มนี้ก็ยังคงมีบทบาทที่ส�ำคัญในราชส�ำนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ยาวนาน จนกระทั่งลดบทบาทลงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การค้าและการปกครองในสมัยรัชกาลที ่ ๕ การปรับ โครงสร้ า งทางด้ า นการบริห ารและด้ า นสัง คมท� ำ ให้ ชุ ม ชนต่ า งๆ มี อิ ส ระในการร่ ว มกิ จ กรรมทางสั ง คมมากขึ้ น  มุ ส ลิ ม แต่ละชุมชนเริม่ เรียนรูภ้ าษากลางซึง่ เอือ้ ต่อการมีปฏิสมั พันธ์กนั ระหว่าง ชุมชนมากขึน้  มีการรวมตัวกันในลักษณะของเครือข่ายโดยมีกลุม่ พ่อค้า ที่เดินทางติดต่อค้าขายเป็นตัวเชื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอินเดียซึ่ง เข้ามาในฐานะของคนในบังคับของประเทศอังกฤษซึ่งได้รับสิทธิพิเศษ ในการประกอบธุรกิจต่างๆ พ่อค้ามุสลิมเชื้อสายต่างๆ ก็เริ่มมีบทบาท ทางสังคมมากขึ้น และชุมชนมุสลิมเชื้อชาติต่างๆ เริ่มมีความมั่นคง และอยู่ร่วมกับสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายได้เป็นอย่างดี (อินทิรา ซาฮีร,์  ๒๕๔๖)  ในระยะแรก มุสลิมชนชาติต่างๆ แยกกันตั้งถิ่นฐานอยู่ตาม ท�ำเลต่างๆ ที่เอื้อต่ออาชีพของตน ซึ่งส่วนใหญ่ถูกก�ำหนดที่ตั้งโดย ฝ่ายปกครองด้วยเหตุผลทางด้านการบริหารและการจัดการ ประกอบ กับภาษาที่แตกต่างกันเป็นอุปสรรคส�ำคัญในการติดต่อสื่อสาร จึง ท�ำให้บทบาทของมุสลิมในระยะแรกมีลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เช่น นักรบชาวจาม ขุนนางเปอร์เซีย และเกษตรกรชาวมลายู เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป มุสลิมแต่ละกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ผ่านทางบทบาทที่ส�ำคัญในด้านต่างๆ อันได้แก่ การบริหารประเทศ การป้องกันประเทศ การทูต เศรษฐกิจและการต่างประเทศ รวมถึง ด้านสังคมและวัฒนธรรม จากการปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามหลัก ค�ำสอนของศาสนา และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชนชาติอื่นใน สังคมโดยเฉพาะบุคคลส�ำคัญและฝ่ายปกครอง ตลอดจนการติดต่อ


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 19

กับประเทศทีน่ บั ถือศาสนาอิสลามอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้มสุ ลิมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีบทบาทในสังคมและมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ที่ส�ำคัญ ทัง้ ทางด้านการเมือง การปกครอง การทหาร และการพาณิชย์ โดยทีย่ งั คงอัตลักษณ์ของตนไว้ได้ การปรับตัวของมุสลิมในกรุงเทพฯ เป็นไป ในลักษณะของการผสมผสานวัฒนธรรมภายในขอบเขตของศาสนามา สู่สังคมมุสลิมที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้แนวคิด อิควาฮ์  (Iqwah) ซึ่ ง หมายถึ ง การเป็ น พี่ น ้ อ งกั น หรื อ ภราดรภาพของมุ ส ลิ ม (ภาพที ่ ๔-๕)

ภาพที่ ๔ ภาพขุนนางแขกในจิตรกรรมฝาผนัง วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ เอื้อเฟื้อภาพโดย : วรุณ เรืองสินธุ์


20 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๕ ภาพแขกแพอยู่ร่วมกับชาวบ้านเชื้อชาติต่างๆ ในจิตรกรรมฝาผนัง วิหารน้อย วัดกัลยาณมิตรฯ ธนบุรี กรุงเทพฯ เอื้อเฟื้อภาพโดย : ชนกชนม์ เหมสันต์

ชุมชนมุสลิมในกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อมัสยิดซึง่ เป็น ศาสนสถานส�ำคัญของชุมชนมุสลิม ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมที่มีผลต่อ ลักษณะทางกายภาพของชุมชน และท�ำเลที่ตั้ง ได้แก่ เชื้อชาติ ภาษา และความเชื่อในศาสนาอิสลาม ท�ำให้ชุมชนมุสลิมสามารถรักษาอัต ลักษณ์ท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่าง โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของ ชุมชนภายใต้การดูแลของอิหม่าม


เชิงอรรถ

๑ อักษรย่อสำ�หรับคำ�สดุดีที่ใช้กล่าวหรือเขียนหลังการกล่าวพระนาม

ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) มีความหมายว่า “มหาบริสุทธิ์และความสูงส่งยิ่งแด่พระ องค์” ย่อมาจาก “ซุบฮานะฮูวะตะอาลา” ๒ อักษรย่อสำ�หรับคำ�สดุดีที่ใช้กล่าวหรือเขียนหลังการกล่าวนามของ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) มีความหมายว่า “ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮ์ และความสันติจงมีแด่ท่าน” ย่อมาจาก “ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” ๓ ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ๔ คัมภีรท ์ รี่ วบรวมวจนะของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทีป่ ระทานแก่มนุษยชาติ โดย ผ่านทางศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ๕ บันทึกคำ�พูด การประพฤติ ปฏิบัติ จริยวัตร ตลอดจนวิถีการดำ�เนิน ชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) และสาวกของท่าน ๖ มุสลิมชีอะฮ์ในสยาม ๗ มุสลิมซุนนีในสยาม ๘ ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน  ๙ ในประเทศอินเดียปัจจุบัน


22 มัสยิดในกรุงเทพฯ

มัสยิด : มุมมอง  ด้านสถาปัตยกรรมอิสลาม


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 23

ศิลปะและสถาปัตยกรรมอิสลามในมุมมองของอิสลาม ในมโนทัศน์ของมุสลิม พื้นฐานทางความคิดในเรื่องต่างๆ นั้น มี ที่ ม าจากหลั ก ค� ำ สอนในคั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อาน ๑ และบั น ทึ ก อั ล ฮะดี ษ ๒ แม้ในคัมภีร์อัลกุรอานและบันทึกอัลฮะดีษไม่มีการกล่าวถึงงานศิลปะ และสถาปั ต ยกรรมโดยตรง  แต่ จ ะกล่ า วถึ ง ความสวยงามโดยจะ ยกย่องความงามสูงสุดว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของพระเจ้า คัม ภีร ์ อัล กุ ร อานกล่ า วถึง แนวคิด ทางด้ า นความงามที่ เ ชื่ อ มโยงกั บ อ�ำนาจของพระเจ้าและการใช้แนวคิดดังกล่าวส่งเสริมให้ท�ำความดี ส่ ว นในบันทึกอัลฮะดีษนั้นกล่าวถึงแนวทางการใช้ศิลปะให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตตามแบบของศาสนาอิสลาม โดยเชื่อมโยงความงามเข้ากับ คุณค่า คุณประโยชน์ ระเบียบแบบแผน และเหตุผลของการสร้าง เพื่อให้มนุษย์ใช้สติปัญญาพิจารณาและเกิดความศรัทธาพร้อมทั้ง ส�ำนึกในความเมตตาอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ๓ เช่น การอ้างอิงถึง หลั ก ฐานต่ า งๆ แห่ ง อานุ ภ าพและเอกภาพของอั ล ลอฮ์ ผ ่ า นทาง สรรพสิ่งในจักรวาลอันงดงามเพื่อเตือนให้ตระหนักว่าจักรวาลนี้มิได้ ถูกสร้างมาโดยไร้ประโยชน์ ศิลปะยังใช้เป็นสือ่ ในการสร้างภาพลักษณ์ ประกอบการอธิ บ ายสิ่ ง ที่ เ ป็ น นามธรรมในคั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อาน เช่ น “อัลลอฮ์ทรงเป็นดวงประทีปแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน อุปมา  ดวงประทีปของพระองค์เสมือนดังช่องตามผนังที่มีตะเกียง ตะเกียง  นั้ น อยู ่ ใ นโคมแก้ ว  โคมแก้ ว เป็ น เสมื อ นดวงดาวที่ ป ระกายแสง…  อัลลอฮ์ทรงน�ำทางด้วยดวงประทีปของพระองค์แก่ผู้ที่พระองค์ทรง  ประสงค์ และอัลลอฮ์ทรงยกอุทาหรณ์ทั้งหลายนี้เพื่อมนุษยชาติและ  อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง” (อัลกุรอาน, ๒๔ : ๓๕) ด้วยแนวคิดที่ว่าสิ่งที่สวยงามที่สุดคือสิ่งที่พระเจ้าสร้าง ท�ำ ให้ ศิ ล ปิ น มุ ส ลิ ม บางกลุ ่ ม หาแรงบั น ดาลใจจากธรรมชาติ แ ละเชื่ อ ม โยงงานของตนเข้ากับธรรมชาติ๔ ทั้งที่ปรากฏในโลก (ดุนยา) นี้และ ในโลกหน้า (อาคิเราะห์) ที่สวยงามกว่าและเป็นนิรันดร์ ค�ำสอนใน คัมภีร์อัลกุรอานและบันทึกอัลฮะดีษจึงมีความหมายในการย�้ำเตือน


24 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ว่าสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในโลกนี้มีระยะเวลาจ� ำกัด การเปรียบเทียบนี้ มีนัยเป็นการเตือนว่าไม่ควรหลงใหลในสิ่งสวยงามในโลกนี้จนละเลย การท�ำความดี และให้ระวังอันตรายจากสิ่งล่อใจที่ดูสวยงามแต่จะ เป็นอุปสรรคต่อการท�ำความดี  การกล่าวถึงภาพลักษณ์ที่น่าตื่นตา ตื่นใจและความนิรันดร์ของสวรรค์นั้นก็เพื่อชักจูงให้คนท� ำความดี และหวั ง ผลบุ ญ ตอบแทนในสวรรค์ ม ากกว่ า หลงใหลในภาพฝั น ที่ งดงามเพียงอย่างเดียว  แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ความงามมี พื้นฐานอยู่บนวัตถุประสงค์ที่ดีและมี ป ระโยชน์ แ ละอยู ่ บ นพื้ น ฐาน ของสิ่ ง ที่ ศ าสนาอนุ มั ติ (ฮาลาล) ดั ง นั้ น  เรื่ อ งต่ า งๆ ที่ ศ าสนาห้ า ม (หะรอม) จึงเป็นเรื่องต้องห้ามในงานศิลปะด้วย  เมื่อโยงความงาม เข้ า กั บ เรื่ อ งของความดี แ ล้ ว  ศิ ล ปิ น มุ ส ลิ ม จึ ง ท� ำ งานศิ ล ปะโดยให้ ความส�ำคัญกับวัตถุประสงค์และคุณค่าของงานมากกว่าตัวศิลปวัตถุ เอง  แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความงามจึงมีความยืดหยุ่นตามสภาพ เงื่อนไขของบริบทต่างๆ โดยมีขอบเขตที่เปิดกว้างตราบเท่าที่อยู่บน พื้นฐานของความศรัทธาและไม่ขัดต่อหลักการของศาสนา มีการน�ำคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความงามจากการตีความ ในคัมภีร์มาใช้อ้างอิงและขยายขอบเขตในงานศิลปะและสถาปัตย กรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การจินตนาการภาพของสวนสวรรค์จาก ค�ำบรรยายในคัมภีร์อัลกุรอาน และถ่ายทอดออกมาในงานสถาปัตย กรรมโดยก� ำ หนดให้ มี ส ระน�้ ำ พุ ที่ ส ดชื่ น และพื ช พรรณเขี ย วขจี ไ ว้ ใจกลางมัสยิด หรือการน�ำแนวคิดที่ว่าซุ้มมิห์รอบ ๕ เปรียบเสมือน สัญลักษณ์ของประตูสวรรค์มาเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์ งานศิลปะที่งดงาม นอกจากนี้ สถาปนิกและศิลปินหลายคนได้น� ำ แนวคิดในเรื่องของความงามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานมาพัฒนา ควบคู ่ ไ ปกั บ ประโยชน์ ใ ช้ ส อย เช่ น  การตกแต่ ง มั ส ยิ ด ด้ ว ยอั ก ษร ประดิษฐ์ช่วยให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานได้อ่านข้อความจากคัมภีร์ที่เลือกมา ใช้ประดับ หรือการน�ำลวดลายเรขาคณิตที่สื่อถึงระบบและกฎเกณฑ์ ของธรรมชาติมาใช้ประดับอาคาร และเป็นตัวก� ำหนดสัดส่วนของ งานสถาปัตยกรรม (ภาพที่ ๖)


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 25

ภาพที่ ๖ การน�ำสัดส่วนเรขาคณิตมาใช้ประกอบการวางผังอาคารมัสยิดอิบนุ ตูลูน กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ที่มา : Moustafa, 2008 : 78

ด้วยแนวคิดในเชิง “อภิปรัชญา” ที่เชื่อมโยงสู่อ�ำนาจในการ สร้างของพระเจ้าที่ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ท�ำให้ศิลปินมุสลิมไม่ สร้ า งภาพของคนและสั ต ว์ ขึ้ น ในมั ส ยิ ด   เนื่ อ งจากเป็ น เสมื อ นการ สร้ า งสิ่ง มีชีวิต ขึ้น เทีย บเคีย งอ� ำ นาจของพระองค์   และเพื่อ เป็ น การ หลีกเลี่ยงการท�ำรูปเคารพที่มาจากสิ่งมีชีวิตอีกด้วย  ขอบเขตและ ข้อจ�ำกัดต่างๆ เหล่านี้รวมถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างงานศิลปะส่งผล ให้ แ นวทางในการพั ฒ นาลวดลายบนศิ ล ปะอิ ส ลามมี ค วามชั ด เจน (ภาพที่ ๗-๘) โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้ - ลายพรรณพฤกษา (arabesque) - ลายอักษรประดิษฐ์ (calligraphy) - ลายเรขาคณิต (geometric form) - ลายเรขศิลป์ (graphic form) ที่มาของแนวคิดในการสร้างงานศิลปะอิสลามมีพื้นฐานมาจาก มโนทัศน์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยง เข้ากับความศรัทธาในพระเจ้า  โดยน�ำไปพัฒนาควบคู่กับวิทยาการ สาขาต่ า งๆ เห็ น ได้ จ ากการสร้ า งมั ส ยิ ด กลางในชุ ม ชนเมื อ งอย่ า ง วิ จิ ต รบรรจงให้ เ ป็ น ศูนย์กลางเมืองเพื่อสื่อถึงความเป็นศูนย์กลาง ศาสนาและอ� ำ นาจปกครอง อยู ่ ร ่ ว มกั บ องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ  เช่ น วัง ตลาด และมีมัสยิดประจ�ำชุมชนที่สร้างอย่างเรียบง่าย เป็นศูนย์ กลางของชุมชนกระจายอยู่รอบนอกตามหลั ก ค� ำ สอนของศาสนา


26 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๗ การน�ำลายพรรณพฤกษาและเรขาคณิตมาใช้ในการประดับตกแต่ง  หน้าต่างอาคาร ที่มา : Avennes, 1989 : 25

ภาพที่ ๘ การน�ำอักษรประดิษฐ์และลายเรขศิลป์มาใช้ตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้  ที่มา : Avennes, 1989 : 201


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 27

สถาปัตยกรรมอิสลาม สถาปั ต ยกรรมอิ ส ลาม หมายถึ ง สถาปั ต ยกรรมที่ ส ร้ า งขึ้ น ส�ำหรับมุสลิมภายใต้อิทธิพลของศาสนาอิสลาม ซึ่งมีต้นแบบมาจาก แนวคิดในการสร้างมัสยิดในนครมะดีนะฮ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) และพัฒนารูปแบบไปเป็นสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ อัน ได้แก่ วัง สถานศึกษา ที่พักกองคาราวาน ป้อม ตลาด ที่สร้างขึ้น ในช่วงเวลาตั้งแต่สมัยของท่านศาสดาในคริสต์ศตวรรษที่ ๗ จนถึง ปัจจุบัน  โดยครอบคลุมพื้นที่ที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามในประเทศ ต่างๆ ทั่วโลก  แม้จะมีแนวคิดหลั ก ในการสร้ า งมั ส ยิ ด ที่ ม าจากพื้ น ฐานความเชื่ อ ทางศาสนาเดี ย วกั น   แต่ ก ารเปิ ด รั บ และแลกเปลีย่ น ศิ ล ปวิ ท ยาการกั บ ท้ อ งถิ่ น ท�ำ ให้ ส ถาปั ต ยกรรมในดิ น แดนต่ า งๆ มี ลักษณะเฉพาะและเป็นที่น่าสนใจศึกษาทั้งในระดับปัจเจกและระดับ กว้างที่ส่งผลต่อการเกิดทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม ขอบเขตของประวั ติ ศ าสตร์ ส ถาปั ต ยกรรมอิ ส ลามครอบ คลุมช่วงเวลาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่  ๗ จนถึงปัจจุบัน มีการศึกษา และตีความในแง่มุมที่หลากหลาย  โดยเฉพาะในช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเป็นเวลาที่อาณาจักร อิ ส ลามตกเป็ น อาณานิ ค มของประเทศมหาอ� ำ นาจจากทวี ป ยุ โ รป ๖ นั ก วิ ช าการชาวยุ โ รปได้ เ ริ่ ม ศึ ก ษาและอธิ บ ายศิ ล ปะและสถาปั ต ย กรรมอิ ส ลามโดยเน้ น ลั ก ษณะทางด้ า นกายภาพที่ เ กิ ด จากความ แตกต่างพื้นฐานทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม๗  ต�ำราดังกล่าวมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การท�ำความเข้าใจสถาปัตยกรรมอิสลามในยุคแรกเป็น อย่างมาก  แต่ยังไม่สามารถครอบคลุมประเด็นที่เป็นนามธรรม เช่น ปัจจัยทางด้านความเชื่อ สังคม และวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อแนว คิดและลักษณะทางสถาปัตยกรรมมัสยิดได้อย่างครบถ้วน (Rasdi, 1999 : 1-6)  การศึ ก ษาสถาปั ต ยกรรมอิ ส ลามในลั ก ษณะของ ภาพรวมเริ่ ม ขึ้ น ในช่ ว งปลายศตวรรษที่   ๒๐ มุ ม มองของคนส่ ว น ใหญ่ ที่ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมอิสลามมักได้รับอิทธิพลจากงานวิชา


28 มัสยิดในกรุงเทพฯ

การในสมัยแรกที่ให้ความส�ำคัญกั บ ลั ก ษณะทางกายภาพที่ เ ด่ น ชั ด ของสถาปัตยกรรมจากอาณาจักรส�ำคัญในอดีตเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ อาณาจั ก รออตโตมั น  ซอฟาวี ย ะฮ์   และโมกุ ล  เป็ น ต้ น พื้นฐานทางความคิดของมุสลิมทั่วโลกมีที่มาจากหลักค�ำสอน ที่ ป รากฏในคั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อานและบั น ทึ ก อั ล ฮะดี ษ  ซึ่ ง มี เ นื้ อ หาที่ ครอบคลุ ม พฤติ ก รรมของมุ ส ลิ ม ในประเด็ น ต่ า งๆ ที่ ส� ำ คั ญ ในชี วิ ต ประจ�ำวัน  ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม ประเด็น ต่ า งๆ เกี่ย วกับ มุ ส ลิ ม น� ำ ค� ำ สอนดั ง กล่ า วไปตี ค วามและปรั บ ใช้ ใ น บริ บ ทต่ า งๆ ภายใต้ อิทธิพลจากปัจจัยแวดล้อมที่ต่างกัน เกิดศิลป วัฒนธรรมอิสลามรวมถึงสถาปัตยกรรมอิสลามที่มีลักษณะเฉพาะ ในแต่ละท้องที่ และพัฒนาไปตามบริบทและเงื่อนไขของแต่ละท้องที่ และยุคสมัย เป็ น สถาปั ต ยกรรมที่ มี ป ระโยชน์ ใ ช้ ส อยต่ า งๆ ที่ ส อด คล้ อ งกับ วิถีชีวิต ของมุ ส ลิม  ได้ แ ก่  บ้ า น วัง  โรงเรีย น ป้ อ ม ที่พัก กองคาราวาน ตลาด สุ ส าน และมั ส ยิ ด  โดยมี อิ ท ธิ พ ลส� ำ คั ญ ที่ มี ต่ อ สถาปั ต ยกรรมอิ ส ลามดั ง นี้ - หลักความเชื่อและหลักค�ำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน - แนวคิดและแนวทางการปฏิบัติของท่านศาสดาที่ปรากฏใน บันทึกอัลฮะดีษ - ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของดินแดนต่างๆ ที่ศาสนาอิสลาม แผ่ไปถึง - นโยบายและแนวทางการบริหารของฝ่ายปกครองของแต่ละ ท้องถิ่น - แนวคิดและแนวปฏิบัติของแต่ละส�ำนักคิด - แนวคิดและรูปแบบที่เด่นชัดของศิลปะและสถาปัตยกรรม อิสลามจากอาณาจักรต่างๆ ในอดีต เมื่อศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายสู่ดินแดนต่างๆ ที่มีวัฒนธรรม ดั้งเดิมที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะเมื่อศูนย์กลางของอาณาจักรอิสลามได้ ย้ายจากนครมะดีนะฮ์ สู่นครดามัสกัส๘ ในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (พ.ศ. ๑๒๐๔-๑๒๙๓) ผู ้ ป กครองอาณาจั ก รได้ แ สดงอ� ำ นาจและ


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 29

อิ ท ธิ พ ลทางการปกครองผ่ า นทางสถาปั ต ยกรรมในเชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ด้วยการโยงมัสยิดและวังเข้าด้วยกัน  โดยใช้รูปทรงที่สง่างามของ หลังคาโดมเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงอ�ำนาจของผู้น�ำทาง “ศาสนจักร” และ “อาณาจั ก ร” ลั ก ษณะรู ป ทรงเช่ น นี้ ไ ด้ พั ฒ นาซั บ ซ้ อ นขึ้ น ตามล� ำ ดั บ โดยเฉพาะในสมัยของ ๓ อาณาจักรใหญ่ ได้แก่ ซอฟาวียะฮ์ โมกุล และออตโตมัน ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรอิสลามมีความเข้มแข็งที่สุด ก่อนที่อาณาจักรต่างๆ จะสิ้นสุดลง๙ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ ดินแดนที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศในทวีปยุโรปเกือบทั้งสิ้น จนกระทัง่ ทยอยได้ รับ เอกราช ภายหลัง สงครามโลกครั้ง ที่ ๒ พร้ อ มกับ เกิด การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อาทิ การเกิดประเทศใหม่ การค้นพบ แหล่งน�้ำมัน การปฏิรูปการปกครอง การปฏิรูปการศึกษา การฟื้นฟู ศาสนา การสร้างแนวคิดใหม่ และการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการสร้างสถาปัตยกรรม อิสลามในที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยไม่ ไ ด้ เ กิด ขึ้น ภายใต้ อ� ำ นาจของอาณา จักรอีกต่อไป แต่เกิดจากการติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่าง ประเทศโดยยั ง คงรั ก ษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นไว้ด้วย ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ บรรดาประเทศมุสลิมได้ปรับ กระบวนทัศน์และสร้างแนวคิดใหม่ในการเชื่อมโยงความรู้ส่วนต่างๆ เข้ า ด้ ว ยกั น ในลั ก ษณะของภาพรวมเพื่ อ เป็ น พื้ น ฐานในการพั ฒ นา ประเทศในยุคใหม่ ประกอบกับการที่มุมมองต่อประวัติศาสตร์สากล ได้เปลี่ยนไปเป็นประวัติศาสตร์ของสังคม๑๐ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด ของศาสนาอิสลามในหลายประเด็น การพัฒนาทางด้านประวัติศาสตร์ อิสลามโดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอิสลามจึงเริ่ม ก่อตัวขึ้นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสถาปัตยกรรมอิสลามร่วมสมัย ๑๑ มี ทั้ ง งานที่ เ น้ น ไปที่ ลั ก ษณะทางกายภาพทางสถาปั ต ยกรรม และ งานที่ศึกษาสถาปัตยกรรมอิสลามในมุมมองที่เชื่อมโยงกับสังคม ความเปลี่ยนแปลงในล�ำดับต่อมาคือ การให้ความส�ำคัญกับ การสืบทอดแนวคิดท้องถิ่นที่มีหลักค� ำสอนของศาสนาเป็นศูนย์กลาง


30 มัสยิดในกรุงเทพฯ

และพั ฒ นาตามล� ำ ดั บ ขั้ น มาโดยตลอดจนถึ ง ปั จ จุ บั น  มี ก ารให้ ความส� ำ คั ญ กั บ ประเด็ น ต่ า งๆ ในการศึ ก ษาสถาปัตยกรรมอิสลาม เพิ่มขึ้น เช่น ค�ำสอนทางด้านศาสนา โลกทัศน์ คติความเชื่อ และค่า นิยมของมุสลิมที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรม การสร้างสถาปัตยกรรม อิสลามในระดับท้องถิ่น ประเภทและขนาดของสถาปั ต ยกรรมที่ มี ความหลากหลาย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและชุมชน การเชื่อมโยงแนวคิดทางด้านสถาปัตยกรรมเข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เ กี่ย วข้ อ ง การเชื่อ มโยงทางด้านลักษณะทางสถาปัตยกรรมอิสลาม ที่มีต่อกันในแต่ละท้องถิ่น และการเกิดสถาปัตยกรรมอิสลามขึ้น ใน พื้นที่นอกดินแดนอาหรับ เป็นต้น เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ แต่ ล ะเล่ ม จะพบว่ า  สถาปั ต ยกรรมอิส ลามได้ ร องรับ ความคิด และ กิจกรรมทางศาสนาในชีวิตประจ�ำวัน โดยโยงศาสตร์ด้านต่างๆ เข้า ด้วยกันตามหลักการของศาสนา ดังนั้นแนวคิดเดิมที่กล่าวว่า “สถา ปัตยกรรมอิสลามเกิดจากการหยิบยืมวัฒนธรรมดั้งเดิมในอดีตของ แต่ละท้องที่มาใช้” จึงไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับสถาปัตยกรรม อิสลามทั่วโลกได้อีกต่อไป ความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับวิทยาการสาขาต่างๆ ได้ พั ฒ นาควบคู ่ กั น ไปในทิศทางเดียวกันโดยแนวคิดหลักส่วนหนึ่ง มาจาก “ความเชื่อตามหลักค�ำสอนศาสนาอิสลาม” และ “วัฒนธรรม อิสลาม” ที่ผสมผสานกับปัจจัยท้องถิ่น เมื่อศาสนาอิสลามแพร่สู่ส่วน ต่างๆ ของโลก มุสลิมได้เชื่อมโยงแนวคิดในค�ำสอนของศาสนาเข้ากับ ศิลปวิทยาการสาขาต่างๆ เกิดการพัฒนาแนวคิดและรูปแบบ รวมถึง การประยุกต์แนวคิดต่างๆ มาใช้ในงานสถาปัตยกรรม และได้ ป รั บ เปลี่ ย นแนวคิ ด ในการสร้ า งสถาปัตยกรรมอิสลามให้สอดคล้องกับ โลกทัศน์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 31

ความส�ำคัญของมัสยิด สถาปั ต ยกรรมอิ ส ลามที่ มี ค วามส�ำ คั ญ ต่ อ สั ง คมมุ ส ลิ ม มาก ที่ สุ ด ประเภทหนึ่ ง นั้ น ได้ แ ก่   มั ส ยิ ด  ซึ่ ง มี บ ทบาทเป็ น ศู น ย์ ก ลาง กิจ กรรมของชุ ม ชนและเมือ งควบคู ่ ไ ปกับ การเป็ น สถานที่ป ระกอบ ศาสนกิจของมุสลิมในฐานะที่เป็นบ้านของพระเจ้า มัสยิด เป็นค�ำภาษาอาหรับ หมายถึง สถานที่ส�ำหรับแสดง ความภักดีต่อพระเจ้า และด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับศาสนา และการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ตามแนวทางของศาสนาอิ ส ลาม มั ก สร้างให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเกิดสมาธิในการแสดงความภักดีต่อ พระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านสื่อหรือตัวแทน จึงไม่ปรากฏการใช้สื่อหรือ สัญลักษณ์ในมัสยิด โดยเฉพาะการใช้รูปสิ่งมีชีวิต โดยทัว่ ไป มุสลิม สามารถละหมาด ณ สถานทีใ่ ดก็ได้ทมี่ คี วามสะอาดเรียบร้อย แต่ในทาง ปฏิบัติ ก็มักจะมารวมกันละหมาดที่มัสยิดเนื่องจากมุ่งหวังผลบุญที่จะ ได้รบั ซึง่ มีมากกว่าการแยกกระท�ำตามล�ำพัง ในระหว่างการเผยแผ่ศาสนาของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ท่านได้อพยพไปยังนครมะดีนะฮ์ใน พ.ศ. ๑๑๖๕ (ค.ศ. ๖๒๒) ซึ่งถือ เป็นการเริม่ ต้นฮิจญ์เราะฮ์ศกั ราช (ฮ.ศ.) ของศาสนาอิสลาม การเผยแผ่ ศาสนาของท่านศาสดาได้เปลีย่ นแปลงสภาพสังคมของชาวอาหรับทีเ่ คย มีข้อขัดแย้งไปเป็นสังคมที่สงบสุข เกิดเป็นชุมชนมุสลิมที่ปฏิบัติตาม หลัก ค�ำ สอนศาสนาอิส ลามในชีวิต ประจ�ำ วัน อย่ า งเข้ ม แข็ง  มีค วาม ต้ อ งการสถานที่ ป ฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ และด� ำ เนิ น กิ จ กรรมทางศาสนาได้ อย่างปลอดภัย ท่านได้สร้างมัสยิดอัลนะบะวีย์๑๒ ขึ้นเป็นศูนย์กลาง ของการปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมของชุมชนมุสลิมในนครมะดีนะฮ์ ดินแดนอาหรับในยุคของท่านศาสดานัน้ ยังไม่มอี าคารถาวรอืน่ ใด นอกเหนือไปจากการตัง้ ถิน่ ฐานของชาวทะเลทรายที่สร้างบ้านดินและ เต็ น ท์ ที่ ท� ำ จากผ้ า ขนอู ฐ ของชาวเบดู อิ น  จากบั น ทึ ก ของนั ก ประวั ติ ศาสตร์ มี ค วามเห็ น ตรงกั น ว่ า มัสยิดท่านศาสดามีลักษณะเหมือน อาคารทั่วไปในดินแดนอาหรับที่สร้างจากวัสดุท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญา


32 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๙ ภาพจ�ำลองมัสยิดที่ท่านศาสดาสร้างในนครมะดีนะฮ์ ที่มา : Bianca, 2000 : 59

ชาวบ้าน (ภาพที ่ ๙) มีโครงสร้างทีเ่ รียบง่าย เสาอาคารท�ำจากต้นอินทผลัม รับหลังคาทีท่ ำ� จากกิง่ อินทผลัม ใบอินทผลัม และโคลน ก�ำแพงท�ำจาก อิฐดิบและโคลน มีการวางผังให้พื้นที่ใช้สอยส่วนต่างๆ ล้อมรอบลาน กลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่รองรับกิจกรรมหลากหลายทั้งทางด้าน ศาสนาและชีวิตประจ�ำวันได้โดยไม่รบกวนกัน ลานกลางนี้ยังใช้เป็น ที่ ล ะหมาดในเทศกาลส� ำ คั ญ ที่ มี ค นมาใช้ ม ากเป็ น พิ เ ศษ ผนังด้าน กิบละฮ์เป็นพื้นที่ที่มีหลังคาคลุมได้ต่อเติมในภายหลังเพื่อปกป้องผู้ ละหมาดให้ พ ้ น จากแสงแดดและอากาศที่ ร ้ อ นแรงในทะเลทราย (Hillenbrand, 1994 : 39-40)  ในส่วนของบ้านท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) นั้นได้สร้างอย่างเรียบง่ายเช่นเดียวกับมัสยิด แต่เป็นสัดส่วน มิดชิดกว่า ท่านได้มอบหมายให้บิลาลเป็นมุอัซซิน๑๓ ท�ำหน้าที่อะซาน เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนมาละหมาดร่วมกัน บิลาลได้ขึ้นไปอะซานบน หลั ง คาบ้ า นที่ สู ง สุ ด ในละแวกนั้ น  เสี ย งอะซานที่ แ ผ่ ไ ปทั่ ว ดิ น แดน มะดีนะฮ์เป็นการปลุกขวัญและสร้างก�ำลังใจส�ำหรับมุสลิมทั้งในการ ประกอบศาสนกิ จ และการด� ำ เนิ น ชี วิ ต  เนื่ อ งจากหลั ก ค� ำ สอนของ ศาสนาอิสลามครอบคลุมเนื้อหาทางโลกและทางศาสนาในลักษณะ ของภาพรวม มัสยิดที่ท่านศาสดาสร้างในมะดีนะฮ์เป็นทั้งสถานที่ ปฏิบัติศาสนกิจและที่จั ด กิ จ กรรมต่ า งๆ ของชุ ม ชน และเป็ น อาคาร สาธารณะขนาดใหญ่ ที่ มี บ ทบาททางสั ง คมและทางศาสนาอย่ า ง


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 33

กว้างขวาง การสร้างมัสยิดนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของสถาปัตยกรรม อิสลามและเป็นต้นแบบของการสร้างมัสยิดในช่วงเวลาต่อมาที่สร้าง ขึ้นเพื่อรองรับผู้ศรัทธาที่เพิ่มจ�ำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว (Cruickshank, 1996 : 561-573) ต่อมาท่านศาสดาได้รบั โองการจากพระเจ้าให้น� ำมุสลิมผินหน้า ไปสูท่ ศิ ทีเ่ ป็นทีต่ งั้ ของวิหารกะอ์บะฮ์๑๔ ในการละหมาด ทิศทางดังกล่าว มีชื่อเรียกในภาษาอาหรับว่า ทิศกิบละฮ์ หรือทิศกิบลัต ซึ่งเป็นสิ่ง ก�ำหนดทิศทางในการปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม นับเป็นการเปลี่ยน แปลงครั้งส�ำคัญที่ท�ำให้มุสลิมทั่วโลกมีศูนย์กลางร่วมกันเพียงหนึ่ง เดีย ว การก�ำ หนดทิศทางนี้มีบทบาทส�ำคัญในการวางผังมัสยิด บ้าน สุสาน ตลอดจนผังของชุมชนและเมืองของแต่ละเมือง และมีผลต่อการ ด�ำเนินชีวิตตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการ ค�ำนวณระยะทางและทิศทาง เช่น วิชาภูมิศาสตร์ และวิชาเรขาคณิต เป็นต้น (ภาพที ่ ๑๐) ในยุคแรกของการสร้างมัสยิด ผู้ที่เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม เป็นจ�ำนวนมากได้เปลี่ยนศาสนสถานดั้งเดิมของตนมาเป็นมัสยิด รูป แบบทางสถาปัตยกรรมจากที่ต่างๆ จึงถ่ายทอดสู่มัสยิด ส่วนมัสยิด ที่สร้างขึ้นใหม่ได้สร้างขึ้นโดยมีมัสยิดของท่านศาสดาเป็นต้นแบบ เมื่อ เวลาผ่ า นไป กิ จ กรรมต่ า งๆ มี รู ป แบบที่ ซั บ ซ้ อ นขึ้ น  การออกแบบ มัสยิดในช่วงต่อมาได้พัฒนาโดยมีรากฐานมาจากการวางผังของท่าน ศาสดา ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ ทีม่ อี ยูเ่ ดิม และพืน้ ทีว่ า่ งของ มัสยิดก็รองรับการใช้งานของชุมชนเป็นอย่างดี โดยสามารถปรับให้ สอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้ ในการสร้างมัสยิด แม้จะไม่มีกฎเกณฑ์ต ายตั ว เกี่ ย วกั บ การ ออกแบบมัสยิดโดยตรง แต่ได้ให้ความส�ำคัญกับการออกแบบตาม หลักศาสนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน โดยอิงต้นแบบที่ส�ำคัญ ได้แก่ มัสยิดที่ท่านศาสดาสร้างขึ้นในนครมะดีนะฮ์ซึ่งน�ำแนวคิดและ เงื่อนไขทางด้านศาสนามาใช้ ผ่านทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่เรียบ ง่ายและตอบสนองกิจกรรมรูปแบบใหม่โดยเชื่อมโยงเข้ากับเงื่อนไข


34 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๑๐ ภาพมุอัซซินขึ้นไปอะซานบนหลังคาวิหารกะอ์บะฮ์ นครมักกะฮ์  ในสมัยของท่านศาสดา ซึ่งเป็นภาพประกอบหนังสือเกี่ยวกับชีวประวัติของ  ท่านศาสดา ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ปันจุบันเก็บรักษาในห้องสมุดทอปกาปิ  กรุงอิสตันบูล ตุรกี ที่มา : Stierlin, 2002 : 6


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 35

ภาพที่ ๑๑ พัฒนาการของการวางผังมัสยิด นับตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา  (ด้านบนของภาพ) มาสู่การสร้างมัสยิดในตุรกี (ด้านล่างซ้าย) และอิหร่าน  (ด้านล่างขวา) ที่มา : Prochazka, 1986 : 37

พื้นถิ่นในเชิงสถาปัตยกรรมได้อย่างลงตัว (ภาพที่ ๑๑) คุณลักษณะ เด่นของมัสยิดที่ท่านศาสดาสร้าง ได้แก่ (Bloom, 1997 : 23) - มีพื้นที่ที่สะอาด สงบ และเป็นสัดส่วนที่ใช้ละหมาดร่วมกันได้ - มีการวางอาคารทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับแกนทีม่ งุ่ สูท่ ศิ ทางกิบละฮ์๑๕ - ตัวอาคารมีลักษณะที่สามารถป้องกันผู้ละหมาดจากภูมิอากาศ และสิ่งรบกวน โดยแท้จริงแล้ว มุสลิมสามารถละหมาด ณ สถานที่ใดก็ได้ที่มี ความสะอาดเรียบร้อย ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า “พื้นดินทั้งหมดนั้น เป็นที่สุยูด๑๖” และ “ณ ที่ใดเมื่อถึงเวลาละหมาด ท่านก็จงละหมาด เถิด เพราะนั่นเป็นที่สุยูด” (อัลฮะดีษ อ้างถึงใน สมาคมนักเรียนเก่า


36 มัสยิดในกรุงเทพฯ

อาหรับ, ๒๕๔๐, เล่ม ๑ : ๔๒๒)  ด้วยเหตุนี้   จึงมีอาคารหลาย ประเภทและพื้นที่โล่งหลายลักษณะที่ใช้ละหมาดได้ แต่ในทางปฏิบัติ มุสลิมมักจะมารวมกันละหมาดที่มัสยิดเนื่องจากมุ่งหวังผลบุญที่จะ ได้รับซึ่งมีมากกว่าการแยกกระท�ำตามล�ำพังทั่วไป ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ มีความว่า “ผู้ใดไปมัสยิดและกลับ อัลลอฮ์ได้จัด เตรียมสวรรค์ไว้ให้เขาเป็นที่พำ� นักทุกครั้งที่เขาไปและกลับ” (อัลฮะดีษ อ้างถึงใน สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, ๒๕๔๐, เล่ม ๑ : ๔๒๕) และ “การละหมาดของชายคนหนึ่ ง โดยรวมกั น นั้ น จะได้ ผ ลบุ ญ เพิ่ ม พู น มากกว่าการละหมาดของเขาคนเดียว ในบ้านและในตลาดถึง ๒๕ เท่า กล่าวคือ เมื่อเขาอาบน�้ำละหมาด เขาก็ท�ำอย่างดี แล้วก็ออกไปมัสยิด ซึ่งไม่ได้ออกไปเพื่ออื่นใดนอกจากไปละหมาดนั้น ก้าวหนึ่งที่เขาก้าว ออกไป เขาจะได้รับผลตอบแทน ๑ ขั้น และความผิดก็จะถูกยกออก ไปจากเขา ๑ ความผิ ด ...” (อั ล ฮะดี ษ  อ้ า งถึ ง ใน ฟิ ก ฮุ ซ ซุ น นะฮ์ , ๒๕๔๐, เล่ม ๑ : ๓๘๗) มัสยิดจึงเป็นสถานที่พิเศษที่ใช้ประกอบ พิธีละหมาดและท�ำกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับศาสนาและการด�ำเนิน ชีวิตประจ�ำวัน ศาสนาอิสลามแพร่ขยายสู่แหล่งอารยธรรมต่างๆ ได้แก่ โรมัน กรีก อียิปต์ ซีเรีย บาบิโลเนีย อัสซีเรีย รวมทั้งเปอร์เซียและไบแซน ไทน์ที่นับถือศาสนาที่หลากหลาย ได้แก่ คริสต์ ยิว โซโรอัสเตอร์ และ ลัท ธิบูช าสิ่ง ศัก ดิ์สิท ธิ์ต ามธรรมชาติ เมื่อ ชาวพื้นเมือ งเปลี่ย นมารับ นับถือศาสนาอิสลามก็ได้น�ำแนวทางที่คุ้นเคยไปพัฒนาสร้างสรรค์งาน ศิลปะและได้กลายเป็นรากฐานในการพัฒนาศิลปะอิสลาม หลังจากยุคสมัยของท่านศาสดาและคอลีฟะฮ์ (ผู้น�ำต่อจาก ท่านศาสดา) ทั้ง ๔ ท่าน ศูนย์กลางของอาณาจักรอิสลามได้ย้ายจาก นครมะดีนะฮ์สู่นครดามัสกัสในสมัยราชวงศ์อมุ ยั ยะฮ์ (ค.ศ. ๖๖๑-๗๕๐) ในช่วงเวลานี้ สามารถแบ่งมัสยิดได้ ๒ ลักษณะหลัก ได้แก่ มัสยิด ท้ อ งถิ่ น  และมั ส ยิ ด กลาง มั ส ยิ ด ท้ อ งถิ่ น อาจเกิ ด จากการปรั บ ปรุ ง ศาสนสถานเดิมหรือสร้างขึ้นใหม่ตามลักษณะสถาปัตยกรรมท้องถิ่น เพื่อรองรับการใช้งานในชุมชน จึงสร้างอย่างเรียบง่ายตามลักษณะ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ส่วนมัสยิดกลางสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรม


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 37

ในระดับเมืองรวมถึงการใช้ในเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นมุสลิม ควบคู่ไปกับอ�ำนาจปกครอง จึงมีขนาดใหญ่และสร้างอย่างงดงาม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการสร้างหลังคาโดมที่ได้รับอิทธิพลจาก สถาปั ต ยกรรมโรมั น ในต�ำ แหน่ ง ที่อิห ม่ า มหรือ ผู ้ น�ำ ยืน น�ำ ละหมาด ในมั ส ยิ ด เพื่ อ แสดงถึ ง อ�ำ นาจปกครองควบคู ่ ไ ปกั บ อ�ำ นาจของผู ้ น�ำ ศาสนา และสื่อให้สังคมได้รับรู้ผ่านทางลั ก ษณะและองค์ ป ระกอบ ทางสถาปัตยกรรมที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ (ภาพที่ ๑๒) นอกเหนือจากการใช้หลังคาโดมในต�ำแหน่งของอิหม่ามแล้ว มี ก ารยกหลั ง คาสู ง เพื่ อ เป็ น การเน้ น พื้ น ที่ บ ริ เ วณแถวละหมาด ๒ แถวแรก ซึ่งเป็นต�ำแหน่งของการละหมาดที่ดีตามค�ำสอนของท่าน ศาสดา ซึ่งเป็นการให้ความส�ำคัญกับแถวละหมาดที่หันสู่ทิศกิบละฮ์ มากกว่าแกนของสถาปัตยกรรมที่มุ่งสู่ทิศกิบละฮ์เอง มัสยิดกลาง ในคอยรอวาน ประเทศตูนิเซีย ได้ใช้หลังคาโดมในต�ำแหน่งโถงทาง เข้าและต�ำแหน่งที่ยืนของอิหม่ามเพือ่ เน้นการเข้าสู่พื้นที่มัสยิด๑๗ จาก บริเวณโถงทางเข้าสูบ่ ริเวณทีย่ นื ของอิหม่าม ซึง่ ตรงกับแกนของสถาปัตย กรรมทีม่ งุ่ สูท่ ศิ กิบละฮ์ (Al Bayati, 1988 : 143) (ภาพที่ ๑๓) ศาสนาอิสลามแผ่ขยายสูด่ นิ แดนทีม่ อี ารยธรรมเดิมเข้มแข็ง เช่น คอนสแตนติโนเปิล (อาณาจักรออตโตมันในช่วง ค.ศ. ๑๒๘๐-๑๙๒๒) และเปอร์เซีย (อาณาจักรซอฟาวียะฮ์ในช่วง ค.ศ. ๑๕๐๑-๑๗๓๖) จึงได้ น�ำเทคโนโลยีการสร้างสถาปัตยกรรมจากทีต่ า่ งๆ เหล่านัน้ มาพัฒนาใช้ใน การสร้างมัสยิด ตลอดจนรับเอาแนวคิดและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม มาปรับใช้กบั อาคารทีม่ กี ารใช้งานรูปแบบใหม่  การสร้างมัสยิดในเปอร์เซียมีรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เนื่องจาก เป็นดินแดนที่มีภาษาและวัฒนธรรมต่างจากดินแดนอาหรับ ตลอดจน มีเทคโนโลยีในการก่อสร้างที่ใช้อิฐในการสร้างหลังคาโดมและหลังคา โค้งซึง่ เป็นวิธกี ารทีใ่ ช้สร้างวิหารบูชาไฟของศาสนาโซโรอัสเตอร์ในอาณา จักรซัซซาเนียน รูปแบบดังกล่าวมีลกั ษณะเด่นชัดขึน้ เมือ่ ศูนย์กลางการ ปกครองย้ายมาที่ดินแดนเปอร์เซียในสมัยราชวงศ์ซอฟาวียะฮ์  (ค.ศ. ๑๕๐๑-๑๗๓๖) ถึงแม้จะหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมมาพัฒนา ต่อ๑๘ แต่หลักการโดยทั่วไปนั้นแตกต่างกัน เดิมวิหารของโซโรอัส


38 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๑ ๒ มั ส ยิ ด กลางใน  ดามัสกัส ซีเรีย ที่มา : Al Bayati 1988 : 136

ภาพที่ ๑๓ มัสยิดกลางในคอยรอวาน ตูนิเซีย ที่มา : Al Bayati 1988 : 137


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 39

เตอร์ในเปอร์เซียนั้นให้ความส�ำคัญกับพื้นที่ในการประกอบพิธีของ นักบวช ส่วนมัสยิดให้ความส�ำคัญกับพื้นที่ในการละหมาดร่วมกัน ของประชาชนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน จึงเกิดการผสมผสานโดย การรับรูปแบบมาจากมัสยิดของอาหรับมาใช้ร่วมกับองค์ประกอบของ ศาสนสถานดั้งเดิม ผังของมัสยิดมีลานกลางและมีซุ้มประตูที่หันเข้าสู่ ลานกลางทั้ง ๔ ด้าน เช่น มัสยิดกลางในอิสฟาฮานที่มีลักษณะทาง สถาปัตยกรรมทีห่ รูหราอลังการและแสดงอ�ำนาจของผูป้ กครอง โดยเน้น แกนทีม่ งุ่ สูท่ ศิ กิบละฮ์อย่างชัดเจนเนือ่ งจากได้รบั อิทธิพลจากรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมของวิหารบูชาไฟของศาสนาโซโรอัสเตอร์๑๙ (ภาพที ่ ๑๔) ส่ ว นมั ส ยิ ด ที่ ส ร้ า งในตุ ร กี ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากสถาปั ต ยกรรม คริสเตียนทีพ่ ฒ ั นาถึงจุดสูงสุดในอาณาจักรไบแซนไทน์ ก่อนทีป่ ระชาชน จะเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามและเปลี่ยนเป็นอาณาจักรซัลยูค (ค.ศ. ๑๐๗๗-๑๓๐๘) และอาณาจักรออตโตมัน (ค.ศ. ๑๒๘๐-๑๙๒๒) จึง ได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมมาใช้ในการสร้างมัสยิด การสร้าง หลังคาโดมคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของโถงละหมาดที่เหมาะกับเงื่อนไขทาง ด้ า นภู มิอ ากาศที่ห นาวเย็น นั้น ส่ ง ผลให้ เ กิด ความเป็ น หนึ่ง เดีย วกัน ภายใต้พื้นที่ที่ใช้ประกอบพิธี ลักษณะดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจาก การเน้นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในโบสถ์ของชาวคริสเตียน (Al Bayati, 1988 : 137-140) (ภาพที ่ ๑๕) รู ป แบบทางสถาปั ต ยกรรมของมั ส ยิ ด ได้ รั บ การพั ฒ นาให้ สอดคล้องกับบริบทเงื่อนไขของแต่ละท้องที่ในแต่ละยุคสมัย  โดย เฉพาะในสมัยอาณาจักรออตโตมัน ซอฟาวียะฮ์ และโมกุล ที่มีการ พัฒนาสถาปัตยกรรมมัสยิดอย่างชัดเจน ก่อนที่อาณาจักรอิสลามจะ สิ้นสุดลงในสมัยสงครามโลกครั้งที ่ ๑ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีประเทศมุสลิมเกิดขึ้นใหม่หลาย ประเทศ แต่ละประเทศได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สอดคล้อง กั บ แนวทางการพั ฒ นาของโลกบนพื้ น ฐานหลั ก ค� ำ สอนของศาสนา อิสลาม มีการสร้างมัสยิดรูปแบบใหม่ที่สื่อถึงวัฒนธรรมอิสลามใน สภาพสังคมปัจจุบันเป็นจ�ำนวนมาก


40 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๑๔ มัสยิดชาห์ในอิสฟาฮาน อิหร่าน ที่มา : Al Bayati 1988 : 139

ภาพที่ ๑๕ มัสยิดสุลต่านสุไลมาน ตุรกี ที่มา : Al Bayati 1988 : 141


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 41

ประเภทของมัสยิด หลั ก ค� ำ สอนของศาสนาอิ ส ลามไม่ ไ ด้ ร ะบุ ก ฎเกณฑ์ ต ายตั ว ส�ำหรับรูปแบบของมัสยิดไว้ แต่การยึดถือแนวทางค�ำสอนและแบบ อย่างในการสร้างมัสยิดของท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ.ล.) ในนครมะดีนะฮ์ และการน�ำค�ำสอนที่เกี่ยวข้องไปตีความนัน้ เป็นแนวคิดหลักในการสร้าง และใช้งานมัสยิด เมื่อศาสนาอิสลามแผ่ขยายสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รูป แบบของมัสยิดได้พัฒนาขึ้นเกิดเป็นมัสยิดรูปแบบต่างๆ  โดยสามารถ จ�ำแนกได้ดังนี้

๑. มัสยิดส�ำคัญที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน และบันทึกอัลฮะดีษ ในบันทึกอัลฮะดีษมีการกล่าวถึงความส�ำคัญของการละหมาด ในมัสยิดทั้ง ๓ คือ มัสยิดอัลฮะรอม มัสยิดอัลนะบะวีย์  และมัสยิด อัลอักซอ ท่านศาสดากล่าวว่า “การละหมาดหนึ่งในมัสยิดอัลฮะรอม นั้นมีผลถึงหนึ่งแสนละหมาด และการละหมาดหนึ่งในมัสยิดของฉัน (มัส ยิด อัล นะบะวีย ์ )  มีผ ลถึง หนึ่ง พัน ละหมาด และที่บัย ตุ ล มัก ดิส (มั ส ยิ ด อั ล อั ก ซอ) มี ผ ลถึ ง ห้ า ร้ อ ยละหมาด (อั ล ฮะดี ษ  อ้ า งถึ ง ใน สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ, ๒๕๔๐, เล่ม ๑ : ๔๒๗) มุสลิมจึงให้ความส�ำคัญกับมัสยิดทั้ง ๓ แห่งมากกว่ามัสยิด โดยทั่วไป และมีผลเชิงจิตวิทยาในเรื่องของมาตรฐานความงามทาง สถาปัตยกรรม และการใช้งานของมัสยิดหลังอื่นทั่วโลก (ภาพที ่ ๑๖)

๑.๑ มัสยิดอัลฮะรอม นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย

มั ส ยิ ด อั ล ฮะรอมเป็ น ศู น ย์ ก ลางในการปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ ของ มุสลิมทั่วโลก เป็นสถานที่ตั้งของวิหารกะอ์บะฮ์ บ่อน�้ำซัมซัม๒๐ มะ กอมอิบรอฮีม๒๑ รวมทั้งเส้นทางสะแอ๒๒ ระหว่างภูเขาศ่อฟากับมัรวะ ลักษณะทางกายภาพของมัสยิดเป็นอาคารล้อมรอบวิหารกะอ์บะฮ์


42 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๑๖ มัสยิดที่ส�ำคัญของโลกที่ปรากฏในบันทึกอัลฮะดีษ  ๑. มัสยิดอัลฮะรอม นครมักกะฮ์ ๒. มัสยิดอัลนะบะวีย์ นครมะดีนะฮ์ ๓. มัสยิดอัลอักซอ กรุงเยรูซาเล็ม

ภาพที่ ๑๗ เยาวชนมุสลิมขอดุอาอ์ในมัสยิดอัลฮะรอม


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 43

โดยเว้นพื้นที่โล่งตรงกลางเป็นลาน (ภาพที่  ๑๗) ซึ่งแต่เดิมมีเพียง การปฏิบัติศาสนกิจรอบวิหารกะอ์บะฮ์เท่านั้น ต่อมามีการสร้างอาคาร ส�ำหรับปฏิบัติศาสนกิจล้อมรอบวิหารและขยายต่อเติมหลายครั้งตาม ความต้องการที่เพิ่มขึ้น  จึงปรากฏร่องรอยของสถาปัตยกรรมจาก หลายยุคสมัย ในมโนทัศน์ของมุสลิม มัสยิดอัลฮะรอมคือบ้านของ พระเจ้า เป็นศูนย์กลางกิจกรรมของมุสลิมทั่วโลก และเป็นต้นแบบ ในการสร้างมัสยิดทั่วโลก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามัสยิดแห่งนี้เป็นเสมือน ศูนย์กลางของความเป็นเอกภาพของมุสลิม มัสยิดทุกแห่งที่สร้างขึ้น หันไปยังทิศกิบละฮ์ทั้งสิ้น

๑.๒ มัสยิดอัลนะบะวีย ์ นครมะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดอี าระเบีย

๑.๓ มัสยิดอัลอักซอ กรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล

มั ส ยิ ด อั ล นะบะวี ย ์ เ ป็ น มั ส ยิ ด ที่ ท ่ า นศาสดามุ ฮั ม มั ด  (ซ.ล.) สร้างขึ้นที่นครมะดีนะฮ์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนา และเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมชุมชน มัสยิด มีรูปแบบที่เรียบง่ายติดกับบ้านของท่านศาสดา สร้างด้วยวัสดุที่หา ได้ง่ายในท้องถิ่นเช่นกิ่งอินทผลัม ใบอินทผลัม และโคลน ผังอาคาร เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ล้อมรอบลานกลาง อาคารหันไป ยังทิศกิบละฮ์ ลักษณะต่างๆ ดังกล่าวได้กลายเป็นต้นแบบของมัสยิด ในเวลาต่อมา ต่อมามัสยิดแห่งนี้มีการขยายต่อเติมอีกหลายครั้งตาม ความต้ อ งการที่ เ พิ่ ม ขึ้ น  ภายในมัสยิดมีสุสานของท่ า นศาสดาและ คอลีฟะฮ์ทั้งสองท่านแรก ได้แก่ ท่านอบูบักรและท่านอุมัร ในมโนทัศน์ ของมุสลิม มัสยิดอัลนะบะวีย์เป็นมัสยิดของท่านศาสดาที่สร้างใน ดินแดนที่ถือว่าเป็นชุมชนมุสลิมแห่งแรก จึงเป็นต้นแบบในการสร้าง มัสยิดทั่วโลกในแง่ของการใช้งานและความเป็นศูนย์กลางชุมชน (ภาพ ที ่ ๑๘-๑๙)

มัสยิดแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม ก่ อ นที่ จ ะเปลี่ ย นไปเป็ น มั ส ยิ ด อั ล ฮะรอม ถื อ ว่ า เป็ น สถานที่ ที่ ท ่ า น


44 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๑๘ มัสยิดอัลนะบะวีย์ ที่มา : มนัส โยธาสมุทร

ภาพที่ ๑๙ ภาพมัสยิดอัลฮะรอมและมัสยิดอัลนะบะวีย์ ในหนังสือโบราณที่ เขียนด้วยมือจากประเทศตุรกี คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ หน้าขวาเป็นมัสยิด  อัลฮะรอม ส่วนหน้าซ้ายเป็นมัสยิดอัลนะบะวีย ์ ปัจจุบนั หนังสือเล่มนีเ้ ก็บรักษา  และแสดงใน Islamic Art Museum, Malaysia


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 45

ศาสดาเดินทางอิสรออ์ (การเดินทางจากมัสยิดอัลฮะรอมไปยังมัสยิด อัลอักซอ) และเดินทางมิอร์ อจ (เดินทางจากมัสยิดอัลอักซอขึน้ สูช่ นั้ ฟ้า เบือ้ งบนเพือ่ เข้าเฝ้าพระเจ้าเพื่อรับโองการในเรื่องของการละหมาด) มัสยิดอัลอักซอจึงเป็นมัสยิดทีม่ คี วามส�ำคัญทางประวัตศิ าสตร์เป็นอย่าง มาก (ภาพที ่ ๒๐-๒๓)

๒. มัสยิดทั่วไป

๒.๑ มัสยิดที่ใช้ในเทศกาลส�ำคัญ  (Holiday Mosque, Musalla)

๒.๒ มัสยิดกลาง (Congregational Mosque, Jami)

เป็นพื้นที่ที่ใช้ละหมาดในโอกาสส�ำคัญที่มีสัปปุรุษมาละหมาด ร่วมกันเป็นจ�ำนวนมาก เช่น ในวันอีดิ้ลฟิฏริ และอีดิ้ลอัฎฮา ซึ่งเป็น โอกาสพิเศษที่สัปปุรุษที่แยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานในต่างถิ่นจะมาท�ำ พิธีร่วมกัน ชุมชนนั้นจึงต้องการพื้นที่ใช้งานมากกว่าเวลาปกติ โดย ทั่วไปมักเป็นลานโล่ง มีแท่นหรือซุ้มอยู่ทางด้านกิบละฮ์เพื่อแสดง ทิ ศ ทางในการละหมาด เมื่ อ ไม่ มี ก ารละหมาดก็ จ ะแปรสภาพเป็ น พื้นที่โล่งส�ำหรับรองรับกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนได้ (Prochazka, 1986 : 74-77) ในประเทศที่ มี ป ระชากรมุ ส ลิ ม เป็ น จ� ำ นวนมาก เช่ น  ซาอุ ดี อาระเบีย อียิปต์ มักมีมัสยิดกลางส�ำหรับละหมาดร่วมกันโดยเฉพาะ ในวัน ศุ ก ร์  มัส ยิด กลางมัก จะอยู ่ ใ นท�ำ เลที่เ ป็ น ต�ำ แหน่ ง ส�ำ คัญ ของ เมือง โดยมีส่วนประกอบส� ำคัญอื่นๆ อยู่รายรอบ เช่น ศาลากลาง จังหวัด อาคารรัฐสภา มหาวิทยาลัย อาคารร้านค้า โดยมีชุมชนอยู่ รอบนอก สัปปุรุษจากแต่ละชุมชนจะมาละหมาดรวมกันและมาฟัง คุตบะฮ์ (แสดงธรรม) ทีม่ สั ยิดกลางในวันศุกร์และในโอกาสส�ำคัญต่างๆ เป็นโอกาสทีม่ สุ ลิมจะได้พบปะสังสรรค์และขัดเกลาจิตใจร่วมกันสัปดาห์ ละครั้งนอกเหนือไปจากการละหมาดประจ�ำวันในมัสยิดชุมชน มัสยิด


46 มัสยิดในกรุงเทพฯ

ภาพที่ ๒๐ มัสยิดอัลอักซอ ที่มา : นิลุบล ใจอ่อนน้อม

ภาพที่ ๒๑ วิหารอัซซ็อคเราะฮ์ (Dome of the Rock) ในบริเวณมัสยิด  อัลอักซอ ที่มา : นิลุบล ใจอ่อนน้อม


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 47

ภาพที่ ๒๒ พรมปูละหมาดตามบ้านเรือนและในมัสยิดในกรุงเทพฯ โดยทั่วไป  มักมีภาพมัสยิดส�ำคัญ ซึ่งเป็นภาพที่คุ้นตาและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง  มั ส ยิ ด ในกรุ ง เทพฯ ภาพที่ ป รากฏบนพรมผื น นี้ คื อ มั ส ยิ ด อั ล ฮะรอม, วิ ห าร  อัซซ็อคเราะฮ์ (Dome of the Rock) ในบริเวณมัสยิดอัลอักซอ และมัสยิด  อัลนะบะวีย์

ภาพที่ ๒๓ ภาพมัสยิดอัลนะบะวีย์ บนพรมปูละหมาด


48 มัสยิดในกรุงเทพฯ

กลางจึงมีแท่นมิมบัรส�ำหรับให้อหิ ม่ามหรือคอเต็บ (ผูแ้ สดงธรรม) ขึน้ ไป กล่าวคุตบะฮ์ มัสยิดกลางเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจและเป็น ศูนย์กลางกิจกรรมทางสังคมในระดับเมือง (Prochazka, 1986 : 1617)

๒.๓ มัสยิดชุมชน (Community Mosque, Masjid)

๒.๔. มัสยิดส่วนตัว (Family Mosque, Balasah)

ในชุมชนมุสลิมแต่ละแห่งมักมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติ ศาสนกิจและเป็นศูนย์กลางกิจกรรมในระดับชุมชน ซึง่ โดยปกติจะมีการ ละหมาดวันละ ๕ เวลาเป็นประจ�ำทุกวัน แต่ในวันศุกร์มกั จะไปละหมาด รวมกันที่มัสยิดกลาง มัสยิดชุมชนหลายแห่งที่ไม่มีการละหมาดรวม ในวันศุกร์จึงไม่จ�ำเป็นต้องมีแท่นมิมบัรส�ำหรับการกล่าวคุตบะฮ์เช่นใน มัสยิดกลาง (ภาพที ่ ๒๔) ในชุมชนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกลมัสยิด มักจะมีการสร้างอาคาร เล็กขึ้นส�ำหรับละหมาดร่วมกันในหมู่เครือญาติที่มีเพียงไม่กี่หลังคา เรือน เป็นอาคารที่สร้างในลักษณะชั่วคราว อาจมี ก ารขยายต่ อ เติ ม และสร้างเป็นอาคารมัสยิดถาวรเมื่อชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้น

๓. มัสยิดอื่นๆ  ได้แก่ มัสยิดที่อยู่ร่วมกับอาคารอื่นๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น มัสยิดที่มีสุสานของบุคคลส�ำคัญ มัสยิดในห้างสรรพสินค้า มัสยิด ในสนามบิน มัสยิดในวัง และมัสยิดในมหาวิทยาลัย เป็นต้น มั ส ยิ ด ทุ ก แห่ ง ในโลกมี ฐ านะหรื อ ศั ก ดิ์ ที่ เ ท่ า เที ย มกั น  นอก จากมัสยิด ๓ แห่งที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานและบันทึกอัลฮะดีษ แล้ว ลักษณะและขนาดของการใช้งานที่แตกต่างกันท�ำให้เกิดมัสยิด ประเภทต่างๆ และเมื่อได้รับอิทธิพลจากเงื่อนไขต่างๆ เช่น ส�ำนัก


อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี 49

ภาพที่ ๒๔ มัสยิดกลางและมัสยิดชุมชนในกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย  ที่มา : Talib, 1984 : 13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.