ปักกิ่งในความทรงจำ

Page 1


ปักกิ่งในความทรงจ�ำ



ปักกิ่งในความทรงจ�ำ ศรีกานดา ภูมิบริรักษ์

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2557


ปักกิ่งในความทรงจำ� • ศรีกานดา ภูมิบริรักษ์

พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ชวนอ่าน, มีนาคม 2550 พิมพ์ครั้งที่สอง : สำ�นักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2557 ราคา  160  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ศรีกานดา ภูมิบริรักษ์. ปักกิ่งในความทรงจำ�. พิมพ์ครั้งที่  2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 200 หน้า. (สารคดี). 1. ปักกิ่ง--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. 2. ปักกิ่ง--หนังสือนำ�เที่ยว. I. ชื่อเรื่อง. 915.1156 ISBN  978 - 974 - 02 - 1282 - 9

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : สุพรรณี  สงวนพงษ์  • พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม กราฟิกเลย์เอาต์  : อรอนงค์  อินทรอุดม • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ศศิณัฏฐ์  กิจศุภไพศาล ประชาสัมพันธ์  : กานต์สินี  พิพิธพัทธอาภา

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  11120  โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำปรารภ

7 10

ชีวิตฉันเหหักไปปักกิ่ง

15

生活的转折

สมัยที่ต้องใช้คูปองในปักกิ่ง

30

在北京用票证的年代

พบ ‘ศรีบูรพา’ ในปักกิ่ง

46

在北京遇见西武拉帕

ท่ามกลาง ‘การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม’ ของจีน

63

文革时期

เมื่อจีนเริ่มด�ำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ

88

改革开放初期

โรงแรมมิตรภาพปักกิ่ง-บ้านพักอาศัยค่อนชีวิตของเรา 北京友谊宾馆我们半辈子的家

105


ที่อยู่อาศัยในปักกิ่ง

119

北京的住宅

สมัยยึดถือก�ำเนิดของคน

130

讲究出身的年代

การเคลื่อนไหว ‘ลงสู่ชนบทของปัญญาชนหนุ่มสาว’

148

知识青年上山下乡运动

เรื่องของ “แก๊งสี่คน”

167

四人帮的那些事儿

ชะตากรรมของเจียงชิงหลังถูกจับ  被捕后江青的命运

184


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

ปักกิ่งในความทรงจำ�

“ปักกิ่ง” เมืองหลวงของประเทศจีนที่ปัจจุบันยังคงรักษา สภาพบ้านเมืองแต่โบราณและประสานความเป็นสมัยใหม่อย่างลงตัว จนกลายเป็นเมืองส�ำคัญระดับโลก เป็นศูนย์กลางส�ำคัญทางการเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม รวมไปถึงการค้าและการลงทุน ในแต่ละปีมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและท่องเที่ยวเป็น จ�ำนวนมาก สภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของชาวปักกิ่งในยุคนี้ ช่างแตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่  ประเทศที่เพิ่งสถาปนาตนเป็นสาธารณรัฐมาไม่นานต้องเผชิญ กับภัยธรรมชาติครั้งร้ายแรงทั้งภัยแล้งและน�้ำท่วม หน�ำซ�้ำการเมืองที่ เคยมั่นคงก็ถูกสั่นคลอน  เหมาเจ๋อตงถูกลดอ�ำนาจภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพราะการด�ำเนินนโยบาย “ก้าวกระโดดไกล” (Great Leap Forward) ที่ท�ำให้ประเทศต้องเผชิญกับภาวะข้าวยากหมากแพง รัฐ จ�ำกัดการซื้อข้าวของเครื่องใช้เท่าที่จ�ำเป็น ประชาชนต้องใช้คูปองทีแ่ จก จ่ายโดยรัฐซึ่งมีอยู่อย่างจ�ำกัด ณ เวลานั้นเอง เหมาเจ๋อตงพยายาม

7


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

8

ต่อสู้เพื่อฟื้นคืนฐานอ�ำนาจของตนให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้งด้วยนโยบาย “ปฏิวัติทางวัฒนธรรม”  แต่หารู้ไม่ว่า นี่คือการฉุดประเทศเข้าสู่กลียุค ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมจีน เป็นบทเรียน ครั้งส�ำคัญในประวัติศาสตร์ที่โลกไม่อาจลืม  ศูนย์กลางความสูญเสีย ดังกล่าวเกิดขึ้นในเมืองปักกิ่ง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน สถานที่ซึ่งผู้คน ได้รวมตัวก่อการณ์อันยังผลสืบเนื่องมาสู่คนยุคปัจจุบัน นั่นคือการต่อสู้ ระหว่างแนวคิดสังคมนิยมสุดโต่งกับระบบทุนนิยมเสรีที่ก�ำลังเข้ามามี อิทธิพล “ปั ก กิ่ ง ในความทรงจ� ำ ”  เป็ น บั น ทึ ก ประสบการณ์ ชี วิ ต ของ “ศรี ก านดา  ภู มิ บ ริ รั ก ษ์ ”   ที่ พ�ำนั ก อยู ่ ใ นประเทศจี น ตั้ ง แต่ เ รี ย นมหา วิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน รวมแล้วกว่า 50 ปี   เนื้อหาในเล่มฉายให้เห็น สภาพการใช้ชีวิตของชาวจีนและคนต่างชาติในยุค 1960 ผู้เขียนได้ มีการเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนจากฉบับพิมพ์ครั้งแรก เพื่อให้ผู้อ่านได้ เข้าถึงประวัติศาสตร์ความทรงจ�ำสมัยนั้นอย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่ผู้เขียน เป็นหญิงไทยที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปใช้ชีวิตในประเทศจีน ณ ช่วงเวลาที่สภาพบ้านเมืองแห่งนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญ ยุค ของการปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม ที่นอกจากการแย่งชิงอ�ำนาจของ กลุ่มการเมืองในพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะเป็นไปอย่างเข้มข้นแล้ว ผู้คน ในสังคมก็ต่างมีความเชื่อและความคิดทางการเมืองสุดขั้ว  ผู้คนยึดถือ เรื่องชาติก�ำเนิด มีการเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาวที่ต้องไปรับการศึกษา ในชนบท ซึ่งต้องใช้ชีวิตอย่างยากล�ำบาก  เหตุการณ์หลายอย่างท�ำให้ เสียโอกาสในการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมมากมาย สิ่งที่ผู้เขียนได้สัมผัสและเขียนเล่าประสบการณ์อย่างละเอียด เช่นนี้  มีคุณค่าอย่างมากในเชิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์   ผู้อ่านจะได้ ย้อนทวนและตั้งค�ำถามต่อการด�ำเนินชีวิตท่ามกลางความเชื่อทางการ เมืองที่แตกต่างกันของคนในประเทศ ซึ่งหลายสังคมก�ำลังเผชิญอยู่  หากเปรียบ “ปักกิ่งในความทรงจ�ำ” เป็นตัวแทนของอดีตอันเจ็บ ปวด ประสบการณ์เหล่านี้ย่อมเป็น “เครื่องมือ” ต่อการค้นหาทางออก


ของความขัดแย้งหลากรูปแบบ ให้เราได้ใคร่ครวญถึงความสุขสบายทุกวันนี้ที่ย�่ำอยู่บนอดีต ที่เต็มไปด้วยความสูญเสีย... ส�ำนักพิมพ์มติชน

ปักกิ่งในความทรงจำ�

9


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

ค�ำปรารภ

10

ประวัติศาสตร์บอกให้เรารู้ว่า ประเทศจีนนั้นเป็นหลัก ค�้ำแห่งอารยธรรมของโลกหลักหนึ่ง ข้อนี้ใครก็ปฏิเสธไม่ได้   ปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีนได้พัฒนามาเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยพลังทาง เศรษฐกิจและการเมือง อันนี้ผู้คนทั่วโลกก็ค่อยๆ ประจักษ์ชัดแล้ว ประ เทศจีนจึงเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนทั่วไป  จะเห็นได้จากกระแส การศึกษาจีนและเรียนภาษาจีนที่ตีระลอกแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ ภาษาจีนนั้น มีผู้เรียกว่าเป็น ‘ภาษาเศรษฐกิจแห่งศตวรรษที่  21’ ที่ ก�ำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก ไทยเราก็เกาะติด ไปกับกระแสนี้เหมือนกัน  ดังจะเห็นได้จาก บรรดานักข่าว นักเขียน และนักวิชาการจ�ำนวนหนึ่ง ได้ให้ความสนใจ เขียนเรื่องเกี่ยวกับจีนออกสู่บรรณพิภพในแง่มุมต่างๆ อย่างไม่ขาดสาย ท�ำให้ผู้อ่านชาวไทยได้เข้าใจจีนดีขึ้นเป็นล�ำดับ ในเมื่อจีนมีบทบาททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เป็น ที่สนใจของผู้คนอย่างกว้างขวางเช่นนี้   ฉันเองในฐานะที่ได้พ�ำนักอยู่ใน ประเทศจีนมาเกือบครึ่งศตวรรษ และได้รู้เห็นความเปลี่ยนแปลงของจีน


ในระดับหนึ่ง จึงอยากจะท�ำอะไรสักอย่างที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ที่ต้องการจะรู้เรื่องเมืองจีน โดยเฉพาะผู้สนใจจะศึกษาจีน  ฉันจึงได้ รวบรวมและเรียบเรียงตามข้อมูลจากประสบการณ์ที่ตนเองผ่านพบมา ตลอดเวลาอันยาวนานในสาธารณรัฐประชาชนจีน จนส�ำเร็จเป็นต้น ฉบับและให้ชื่อเรื่องว่า ‘ปักกิ่งในความทรงจ�ำ’  จากนั้นฉันก็ได้น�ำต้น ฉบับเรื่องนี้เสนอให้  ‘ส�ำนักพิมพ์ชวนอ่าน’ พิจารณาและจัดพิมพ์ออกสู่ บรรณพิภพ       ครั้นหนังสือเรื่อง ‘ปักกิ่งในความทรงจ�ำ’ แพร่ไปถึงมือผู้อ่าน ก็ ปรากฏว่ามีเสียงสะท้อนในเชิงให้ความสนใจพอสมควร ก็เป็นการให้ ก�ำลังใจฉัน  ต่อมาอีกระยะหนึ่ง ฉันได้ใคร่ครวญว่า เหตุการณ์ที่น่า สนใจและน่าศึกษาในช่วงสมัยจีนใหม่ยังมีอีกมาก ควรจะได้รวบรวม ข้อมูลเฉพาะที่ฉันผ่านพบมา เขียนเพิ่มเติมและแก้ไขส่วนบกพร่องใน เล่มที่ออกไปแล้วให้สมบูรณ์ขึ้น อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้ศึกษา บ้างเหมือนกัน  ดังนั้น หนังสือเรื่อง ‘ปักกิ่งในความทรงจ�ำ’ ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม จึงได้ออกสู่บรรณพิภพโดย ‘ส�ำนักพิมพ์มติชน’ หวังว่าผู้อ่านคงจะให้การต้อนรับตามสมควร หากหนังสือเรื่องนี้ มีอะไรบกพร่องผิดพลาด ก็โปรดกรุณาชี้ให้เห็นด้วย ฉันพร้อมที่จะรับ ฟังและจะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป ปักกิ่งในความทรงจำ�

ศรีกานดา ภูมิบริรักษ์ E-mail: srikanda3@gmail.com

11



ปักกิ่งในความทรงจ�ำ



ชีวิตฉันเหหักไปปักกิ่ง 生活的转折

ปักกิ่งในความทรงจำ�

กลับไปเยี่ยมบ้านที่กรุงเทพฯ ครั้งแรก กร น้องชายฉัน ยื่นหน้าทะเล้นถามฉันเชิงล้อเล่นว่า “นี่  พี่  ผมรู้สึกว่าพี่ไม่ค่อยจะปกติและไม่ธรรมดาเลย  อยู่ดีๆ พี่ ก็เหาะหายตัวไปเรียนหนังสือที่ปักกิ่งคนเดียวไม่ได้ล�่ำไม่ได้ลากัน  ตอน นั้นสมองของพี่เป็นอะไรไปหรือเปล่า?  ไหนทางโรงเรียนบอกว่าจะส่ง ไปเรียนต่อที่อเมริกายังไง” ฉันฟังแล้วก็หวั เราะและตอบน้องชายไปว่า “เออ ตอนนัน้ น�ำ้ ท่วม สมองพี่ละมั้ง  ไหนว่ามาซิ! พี่ไม่ปกติและไม่ธรรมดายังไง?” กรว่า “ตอนนั้นใครก็อยากไปเรียนต่อที่อเมริกากันทั้งนั้น  มีแต่พี่ นี่แหละแปลกกว่าคนอื่น!  อายุยังน้อย ตัวก็เล็ก เผ่นไปอยู่แดนไกลคน เดียว  พี่ไม่อดตายที่นั่นอย่างที่ก๋ง(คุณปู่)ท่านเคยพูดไว้ก็นับว่าบุญโข แล้ว” ที่น้องกรเอ่ยถึงเหตุการณ์ตอนนั้น หมายถึงสมัยปลายทศวรรษ 1950 ฉันก�ำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีสุดท้ายในโรงเรียนคริสเตียนหญิง แห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ  วันหนึ่งครูใหญ่ได้เรียกฉันไปคุยที่ห้องพักครู  ท่าน

15


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

16

บอกฉันว่า “ทางคริสตจักรมีทุนจะให้นักเรียนดีเด่นคนหนึ่งที่ส�ำเร็จชั้น มัธยมฯ ปลายจากโรงเรียนเรา ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่อเมริกา  ทาง โรงเรียนได้พิจารณาเห็นว่าเธอเป็นคนเหมาะสมที่ควรได้รับเลือกไปเรียน ต่อ เพราะการเรียนของเธออยู่ในระดับดี  และก็มีความประพฤติดีมา โดยตลอด สอดคล้องกับเงื่อนไขของฝ่ายคริสตจักรที่ก�ำหนดไว้  ทาง โรงเรียนจึงเสนอเธอไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่อเมริกาในปลายปีนี้...” เมื่อรับทราบเรื่อง ฉันก็รู้สึกตื่นเต้นดีใจมาก คิดว่าตัวเองจะได้ไป เรียนต่อที่อเมริกาอย่างแน่นอน  หลังจากนั้นไม่นาน อาจจะเป็นเพราะ ชะตาชีวิตเล่นตลกผกผันก็ได้  ฉันจึงไม่ได้ไปเรียนต่อที่อเมริกาตามโครง การของโรงเรียน แต่กลับเหหักไปปักกิ่ง  แต่ไหนแต่ไรตัวฉันก็ไม่เคยคิด เคยฝันว่าจะไปปักกิ่ง นครเก่าแก่แห่งนี้! เพื่อนหลายคนคิดว่าฉันเป็นนักเรียนหัวรุนแรงในสมัยนั้น จึง ตัดสินใจไม่ไปเรียนต่อที่อเมริกา กลับเดินทางไปเรียนต่อที่ปักกิ่ง  ซึ่ง การคิดอย่างนั้นผิดถนัด!  เพราะตั้งแต่ฉันเป็นเด็กเริ่มรู้ความ ฉันก็ไป โบสถ์ฝรั่งกับคุณพ่อ พี่สาว และน้องชายเกือบทุกวันอาทิตย์   ในครอบ ครัวของเราก่อนจะรับประทานอาหารหรือก่อนเข้านอน จะต้องอธิษฐาน ขอบคุณพระเจ้าด้วยกันเป็นประจ�ำ   ฉันรู้สึกว่าตนเองชอบชีวิตแบบ ตะวันตก  ที่คุณพ่อตั้งชื่อให้ฉันว่า ‘ลิลลี่’ แสดงให้เห็นแล้วว่าท่านเห่อ ฝรั่งขนาดไหน! ยิ่งกว่านั้น ระหว่างที่ฉันเรียนอยู่ในโรงเรียนมัธยมฯ ฉันได้ไปร่วม เป็นนักร้องประสานเสียงในโบสถ์สามย่านเป็นประจ�ำ  และก็ยังร่วม แสดงละครในโรงเรียนอีกหลายครั้ง  ฉันเคยแสดงเป็นตัวพระแม่มาเรีย และนางปอร์เซียในนิยายคลาสสิกของเชคสเปียร์   ฉันคิดว่าตนเองไม่ใช่ นักเรียนหัวรุนแรงที่เพื่อนหลายคนเข้าใจกัน! ที่น้องกรว่า ฉันไม่ได้ไปอดตาย ‘ที่นั่น’ ก็นับว่าบุญโขแล้ว  แต่ ฉันก็ได้เดินทางไป ‘ที่นั่น’ จริงๆ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อฉันจากกรุงเทพฯ ไปแล้วไม่นาน ก๋งของฉัน (คุณปู่) ท่านได้ไปหาคุณพ่อที่บ้าน แล้วนั่ง ‘เทศนา’  คุณพ่อว่า


ผู้เขียนเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาสาวในกรุงปักกิ่ง


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

18

“เอ็งเลี้ยงลูกยังไง?  มันไปไหน เอ็งเป็นพ่อท�ำไมไม่รู้   เมืองไทย เราในน�้ำมีปลาในนามีข้าว มันไม่อยู่  เลือกไปอยู่ในที่ที่ข้าเคยอดอยาก มาแล้ว  คอยดูเถอะ! เดี๋ยวมันจะอดตายอยู่ที่นั่น” ถิ่นที่คุณปู่บอกว่าฉันจะต้องไปอดตายนั้น ท�ำไมหนอฉันจึงเดิน ทางไปที่นั่น และใช้ชีวิตมาเป็นเวลายาวนานเกือบครึ่งศตวรรษและยัง จะต้องอยู่ต่อไปอีก ที่ชีวิตฉันเหหักไปปักกิ่งนั้น เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งเพื่อน ข้างบ้านคนหนึ่งไปนั่งคุยกับฉัน  เธอบอกฉันว่า “นี่เธอ อีกไม่กี่วันฉันจะไปเยี่ยมญาติที่ฮ่องกง และอาจจะหาทาง ไปเรียนหนังสือต่อที่ปักกิ่งก็ได้”  เธอยังพูดทีเล่นทีจริงกับฉันว่า “เธอ อยากไปกับฉันไหมล่ะ?” ฉันนึกสนุกขึ้นมา เลยบอกเธอว่า “ฉันอยากไปเที่ยวที่นั่นเหมือน กัน” ต่อมาไม่นานฉันก็เดินทางไปหาเพื่อนคนนั้นจริงๆ  แต่ฉันไม่ได้ พบเธอ ไม่ว่าที่ฮ่องกงหรือที่ปักกิ่งในตอนนั้น  10 ปีให้หลังฉันจึงได้ไป พบเธอที่ฮ่องกง เพราะเธอไม่ได้ไปปักกิ่งตามที่เคยบอกฉันไว้   แต่ได้ไป แต่งงานกับหนุ่มฮ่องกง แล้วใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนถึงทุกวันนี้ เพื่อนหลายคนเคยถามฉันว่า ก่อนที่ฉันจะไปปักกิ่งนั้น รู้หรือ เปล่าว่าที่นั่นผู้คนเขามีสภาพชีวิตอย่างไร  ฉันตอบเพื่อนๆ ว่า “ตอน นั้นฉันไม่รู้อะไรมากนัก  รู้แต่ว่าตัวเองตั้งใจจะไปเรียนภาษาจีนที่นั่น สักสองสามปี  แล้วจะกลับบ้าน” ฉันไม่รู้ว่าสมัยนั้นคนที่เดินทางไปปักกิ่งถือว่าผิดกฎหมายบ้าน เมือง คือถือว่าเป็นการกระท�ำอันเป็นคอมมิวนิสต์  กลับเมืองไทยจะต้อง ถูกจับเข้าคุกเข้าตะราง สภาพบ้านเมืองของไทยตอนนั้นไม่เหมือนสมัยนี้  ใครๆ ก็มีเสรี ภาพที่จะมาจีนได้   นักศึกษาไทยที่มาเรียนในปักกิ่งมีจ�ำนวนหลายร้อย คน  พวกเขาจะกลับบ้านเมื่อไรก็ได้  ขอแต่ให้มีตั๋วเครื่องบินและพาสปอร์ตติดตัวเท่านั้นก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้ทันที


ปักกิ่งในความทรงจำ�

นักศึกษาไทยบางคนถามฉันว่า “คุณป้ามาอยู่ปักกิ่งนานหลายปี ไม่คิดถึงบ้านบ้างหรือคะ?”    ฉันบอกพวกเธอว่า “คิดถึงซิคะ คิดถึงมาก  ระยะแรกๆ คิดถึง บ้านเมื่อไรก็แอบร้องไห้เมื่อนั้น  คิดไม่ถึงเลยว่ามาเรียนหนังสือที่ปักกิ่ง แล้วจะกลับบ้านไม่ได้” ในเมื่อกลับไปเยี่ยมบ้านที่กรุงเทพฯ ไม่ได้  พวกเรานักศึกษาที่มา จากไทยหลายคนก็ใช้วธิ เี ดินทางไปฮ่องกง เพือ่ นัดพบกับญาติทนี่ นั่ แทน คุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนฉันหลายคนใช้วิธีนี้พบกับลูกๆ ที่ฮ่องกงเช่นกัน ระยะแรกๆ ที่มาใช้ชีวิตอยู่ในปักกิ่ง ฉันได้เห็นความเป็นอยู่ของ คนที่นี่ค่อนข้างยากล�ำบาก เพราะเพิ่งสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่นาน  พวกเรานักเรียนชาวจีนโพ้นทะเลที่มาจากประเทศต่างๆ ทั่ว โลกนั้น ทางการจีนได้จัดให้ไปอยู่รวมกันที่โรงเรียนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน ย่านชุมชนเมืองปักกิ่ง  โรงเรียนนี้ชื่อว่า ‘เป่ยจิงกุยฮว๋าเฉียวเสวียเซิงปู่ สีเสวียเสี้ยว (北京归国华侨学生补习学校)’ เรียกย่อๆ ว่า ‘ฮว๋าเฉียว ปู่สีเสวียเสี้ยว (华侨补习学校)’ เป็นโรงเรียนกวดวิชาส�ำหรับนักเรียน ชาวจีนโพ้นทะเลนครปักกิ่ง ชีวิตความเป็นอยู่ในโรงเรียนนี้ดีกว่าชาวปักกิ่งทั่วไป เพราะทาง การจีนได้ดูแลเป็นพิเศษ เช่น จัดให้พวกเราได้กินข้าวเจ้าตามความ เคยชินของชาวเอเชียเกือบทุกมื้อ  ส่วนชาวปักกิ่งในเวลานั้นส่วนใหญ่ กินอาหารที่ท�ำจากแป้งข้าวสาลีและข้าวโพด  นอกจากนี้  ทางการจีน รู้ว่านักเรียนชาวจีนโพ้นทะเลไม่เคยชินกับการอาบน�้ำรวมกัน โดยแยก ชาย-หญิงเหมือนชาวปักกิ่ง จึงจัดให้มีห้องอาบน�้ำเดี่ยวขึ้นในโรงเรียน และด้านอื่นๆ ทางการจีนก็จัดให้ตามความเคยชินของนักเรียนชาวจีน โพ้นทะเลเช่นเดียวกัน ในเวลานั้ นนักเรียนชาวจีนโพ้นทะเลในโรงเรียน ‘ฮว๋า เฉียวปู่ สีเสวียเสี้ยว’ แห่งนั้นมีประมาณ 2,000 กว่าคน  นักเรียนทุกคนพักอยู่ ในโรงเรียน ส่วนมากมาจากอินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา ไทย ญี่ปุ่น เป็นต้น  ชีวิตความเป็นอยู่ในโรงเรียนนี้แม้ว่า

19


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

20

จะดีกว่าชาวปักกิ่งทั่วไป แต่ก็ยังคงไม่สะดวกสบายเหมือนตอนที่ฉันอยู่ บ้านที่กรุงเทพฯ ระหว่างที่ฉันเรียนอยู่ในโรงเรียนนี้  ฉันมีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียว กันที่รักใคร่ชอบพอก็มีอยู่หลายคน บางคนมาจากเวียดนามใต้  บาง คนมาจากสิงคโปร์  และบางคนมาจากญี่ปุ่น  เมื่อถึงวันสุดสัปดาห์ พวกเรา 4-5 คนมักจะนัดกันไปเที่ยว ‘ตงอันซื่อฉ่าง (东安市场)’ ย่าน ถนนหวังฝูจิ่ง (王府井) ซึ่งเป็นแหล่งการค้าแห่งเดียวที่เจริญที่สุดใน ปักกิ่งสมัยนั้น  เรามักจะไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ภัตตาคารหูหนาน (湖南 饭馆)  เวลานั้นร้านอาหารทั่วไปในปักกิ่งยังไม่ค่อยมีก๋วยเตี๋ยวขายและ ไปกินอาหารฝรั่งที่ร้าน ‘จวีซื่อหลิน (居士林餐厅)’ เป็นประจ�ำ   ชีวิตที่ แปลกใหม่และสนุกสนานในระยะนั้น จึงท�ำให้ฉันบรรเทาความเหงา หงอยและคิดถึงบ้านได้ไม่น้อย ในระยะเวลาที่เราเรียนอยู่ในโรงเรียน ‘ฮว๋าเฉียวปู่สีเสวียเสี้ยว’ นั้น ภาษาจีนเป็นวิชาหลักที่ต้องเรียน  นักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนนั้น โดยทั่วไปผู้ที่จบมัธยมฯ ต้นมาจะเรียนต่อที่นั่น 3 ปี   ส�ำหรับผู้ที่จบ มัธยมฯ ปลายมาแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะเรียนต่ออีก 1 ปี  หลังจากนั้นแล้วก็ จะสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศจีน  ฉันเรียน ภาษาจีนอยู่ในโรงเรียนนี้ประมาณ 1 ปี  ก็สอบเข้าได้ที่มหาวิทยาลัยครู ปักกิ่ง (北京师范大学) การศึกษาวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ฉันไม่ค่อยรู้สึกยากล�ำบาก อะไรมากนัก  แต่ความไม่เคยชินกับลมฟ้าอากาศนี่สิ  เป็นตัวการสร้าง ความยากล�ำบากให้ฉัน  เพราะปักกิ่งหนึ่งปีมี  4 ฤดูคือ ฤดูใบไม้ผลิ (ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ฤดูร้อน (ระหว่างเดือนมิถุนายนสิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์)  สภาพร่างกายของฉันปรับเข้า กับอากาศของภาคเหนือของจีนไม่ค่อยทัน จึงมักรู้สึกไม่สบายบ่อยๆ ในระยะแรกๆ ที่อยู่ในปักกิ่ง โดยเฉพาะฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดลงกว่า ศูนย์  คือประมาณติดลบ 10 ถึงติดลบ 2 องศาเซลเซียส อากาศหนาว


ปักกิ่งในความทรงจำ�

เหน็บจริงๆ ฉันเกิดและเติบโตในเมืองไทยซึ่งเป็นเขตที่มีอากาศร้อนเกือบ ตลอดปี   ระยะแรกๆ รู้สึกไม่ชินกับอากาศปักกิ่งเป็นอย่างมาก  ระหว่าง 5 ปีแรกฉันจึงป่วยเป็นไข้หวัดเกือบทุกปี   มีอยู่ปีหนึ่ง ฉันป่วยหนักจน ต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อีกเรื่องหนึ่งที่ฉันไม่ค่อยเคยชินก็คือ อาหารที่ท�ำด้วยแป้งสาลี และแป้งข้าวโพดที่คนปักกิ่งเรียกว่า ‘หมานโถว (馒头)’ และ ‘อัวโถว  ( 窝头 )’   คนพื้ น เมื อ งที่ นี่ เ ขากิ น อาหารดั ง กล่ า วเป็ น อาหารประจ� ำ เหมือนคนไทยเรากินข้าว  ถ้าวันไหนโรงอาหารของมหาวิทยาลัยขาย แต่  ‘หมานโถว’ และ ‘อัวโถว’ ฉันก็ต้องจ�ำใจกิน เพราะตอนนั้นปักกิ่ง ยังไม่มีร้านอาหารให้เลือกซื้อได้สะดวกเหมือนอย่างทุกวันนี้   ส่วนวัน ไหนที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัยขายแต่  ‘หมานโถว’ และ ‘อัวโถว’ วันนั้นฉันก็มักจะกินไม่อิ่มด้วย บางคนอาจจะแปลกใจว่า ‘หมานโถว’ และ ‘อัวโถว’ รสชาติ หวานและนิ่มอร่อยน่ากินขนาดนั้น ฉันท�ำไมยังไม่ชอบกิน!  โดยความ เป็ น จริ ง นั้ น   ‘หมานโถว’  และ  ‘อั ว โถว’  ในสมั ย นั้ น มั น ไม่ เ หมื อ นกั บ ทุกวันนี้ ‘หมานโถว’ ในสมัยนั้นไม่ใช่สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนที่มีรสหวาน นิ่มอ่อน และน่ากินอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้   แต่จะเป็นสีเหลืองแก่ปนสี เทา มีรสจืดและแห้งๆ เพราะท�ำด้วยแป้งสาลีชนิดปนเปลือก   ส่วน ‘อัวโถว’ นั้นจะท�ำด้วยแป้งข้าวโพดชนิดเมล็ดแก่   คนที่ไม่เคยกินอาหาร ชนิดนี้มาตั้งแต่เด็ก ถ้ากินเข้าไปจ�ำนวนมากๆ ในครั้งเดียวก็อาจจะเกิด อาการปวดกระเพาะขึ้นมาก็ได้ นอกจากเรื่องอากาศหนาวและอาหารบางอย่างของมหาวิทยาลัย ที่ฉันไม่ค่อยชอบกินแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ด้านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยก็ นับว่าดีพอสมควร การเรียนไม่มีอะไรน่าหนักใจส�ำหรับฉัน  การเรียนโดยทั่วไปจะเข้าเรียนอาทิตย์ละ 5 วันครึ่ง คือวันเสาร์ ช่วงเช้าก็มีชั่วโมงต้องเข้าเรียนด้วย ช่วงบ่ายจะมีการประชุมใหญ่และ

21


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

หมานโถว

22

ฟังค�ำปราศรัยของบุคคลที่มีชื่อเสียงของจีน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ สถานการณ์ต่างประเทศ หรือเหตุการณ์การเมืองภายใน หรือไม่ก็ฟัง ค�ำปราศรัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาทุกคนไม่ว่าเป็นชาวจีนพื้นเมือง ชาวจีนโพ้นทะเล หรือ นักศึกษาต่างประเทศ จะต้องพักอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย ถึงแม้ จะมีบ้านอยู่ปักกิ่งก็ใช้วิธีเช้าไปเย็นกลับไม่ได้  หรือจะไปเช่าบ้านอยู่ นอกมหาวิทยาลัยอย่างที่นิยมปฏิบัติกันในสมัยนี้ก็ไม่ได้  เพราะเวลา นั้นปักกิ่งไม่มีบ้านเอกชนให้เช่า  ถึงมีมหาวิทยาลัยก็ไม่อนุญาตให้นัก ศึกษาไปพักอยู่นอกมหาวิทยาลัยอย่างเด็ดขาด   ชีวิตประจ�ำวันในมหาวิทยาลัยนั้น ทุกคนต้องปฏิบัติตามตาราง เวลาที่มหาวิทยาลัยก�ำหนดไว้คือ ตอนเช้าต้องตื่นนอนระหว่าง 06.0006.30 น. หากตื่นสายกว่า 07.00 น. จะไม่มีน�้ำร้อนให้ใช้  หลังจากนั้น


ปักกิ่งในความทรงจำ�

ต้องไปออกก�ำลังกาย  มหาวิทยาลัยเปิดขายอาหารเช้าระหว่าง 06.3008.30 น. ส่วนอาหารกลางวันเปิดขายเวลา 11.30-13.00 น.  ระหว่าง ต้นเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคมของทุกปี  นักศึกษาต้องนอน กลางวันวันละ 1 ชั่วโมง คือระหว่างเวลา 13.00-14.00 น.  ใครไม่ อยากนอนพักก็ได้  แต่ไม่ให้ท�ำอะไรที่ส่งเสียงรบกวนคนอื่น  ตอนกลาง คืนห้องสมุดและห้องเรียนจะปิดเวลา 22.00 น.  และไฟฟ้าในหอพัก จะปิดหมดพร้อมกันทั่วเขตมหาวิทยาลัยในเวลา 22.30 น.  ประตูใหญ่ ของมหาวิทยาลัยจะปิดเวลา 23.00 น. ผู้ที่กลับหลังจากเวลาที่ก�ำหนด นี้จะถูกยามประตูจดรายชื่อไว้   รายชื่อนี้จะถูกส่งไปให้แผนกดูแลนัก ศึกษา นักศึกษาที่มีประวัติกลับดึกบ่อยครั้งจะไม่ได้รับเลือกเป็นนัก ศึกษา 3 ดี  (三好学生) คือ ความประพฤติดี  การเรียนดี  และสุขภาพดี ในช่ ว งทุ ก ปลายภาคของทุ ก ปี ก ารศึ ก ษาจะมี การคั ด เลื อ กนั ก ศึกษา 3 ดี   มหาวิทยาลัยจะมอบเหรียญ 3 ดีให้เป็นรางวัล  ระหว่าง ปิดเทอมยังพาชมโบราณสถานต่างๆ ในเขตเมืองปักกิ่ง และชมรายการ แสดงฟรี   เมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้ว นักศึกษากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะได้รับ การบรรจุงานที่ดีกว่าคนอื่นด้วย ในสมัยนั้นมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจีนจะเก็บค่าใช้จ่ายทางการ ศึกษาและค่าอื่นๆ คนละไม่กี่สิบหยวนต่อปีเท่านั้น  ทุกคนไม่ต้องเสีย ค่าเล่าเรียน ค่าหอพัก ค่าไฟฟ้า และค่าน�้ำประปา  ในระหว่างที่ศึกษา อยู่นั้น ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยก็ได้รับการรักษาพยาบาลฟรี   นักศึกษาที่มี ฐานะยากจนก็สามารถขอเงินค่าอาหารเป็นรายเดือนได้   เงินประเภทนี้ เรียกว่า ‘เงินจู้เสวียจิน (助学金)’ แปลว่า เงินช่วยเหลือด้านการศึกษา ส�ำหรับนักเรียนยากจน หลังปี  ค.ศ.1980 แล้ว ระเบียบมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการไม่เก็บ ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล ค่าไฟฟ้า และค่าน�้ำประปา  รวมทั้งให้ เงินค่าอาหารช่วยเหลือนักศึกษายากจนนั้นก็ถูกยกเลิกไปจนทุกวันนี้ แต่มีระเบียบใหม่ออกมาแทนคือ ให้นักศึกษาที่ครอบครัวยากจนกู้เงิน

23


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

24

จากธนาคารมาเป็นค่าเล่าเรียนในอัตราดอกเบี้ยต�่ำได้   เมื่อนักศึกษา ผู้นั้นส�ำเร็จการศึกษาแล้วก็ค่อยคืนเงินโดยส่งผ่อนเงินกู้ให้ทางธนาคาร มหาวิทยาลัยยังมีระเบียบที่ไม่เป็นทางการอย่างหนึ่งคือ ห้าม นักศึกษาจีนไปมาหาสู่กับนักศึกษาต่างประเทศหรืออาจารย์ชาวต่าง ประเทศเป็นการส่วนตัว เช่น ห้ามไปเที่ยวด้วยกันสองต่อสอง ห้ามนัก ศึกษาจีนไปนอนค้างในหอพักของนักศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น  ถ้า นักศึกษาจีนคนไหนคบหากับชาวต่างประเทศเป็นการส่วนตัวแล้ว ก็จะ ถูกตักเตือนหรือถูกวิจารณ์   และถ้าเป็นสมาชิกพรรคฯ อาจจะถูกลง โทษทางวินัย  ดังนั้น นักศึกษาหนุ่มสาวจีนที่ไปรักใคร่ชอบพอกับชาว ต่างประเทศก็ต้องแอบไปมาหาสู่กันลับๆ ไม่กล้าให้ทางการรู้   ตาม สภาพดังกล่าว เวลานั้นจึงไม่ค่อยมีคนจีนแต่งงานกับชาวต่างประเทศ มากอย่างทุกวันนี้ นอกจากนี้  ระเบียบที่ไม่เป็นทางการอีกอย่างหนึ่งคือ ห้ามนัก ศึกษาจีนรับฟังวิทยุต่างประเทศ  เช่น ‘วิทยุเสียงอเมริกา (Voice of America หรือ VOA)’ ‘วิทยุบีบีซี  (The British Broadcasting Corporation หรือ BBC)’ และอื่นๆ ที่เป็นวิทยุของฝ่ายตะวันตก (สมัย นั้นจีนยังไม่มีโทรทัศน์) ใครขืนแอบรับฟัง ถ้าถูกจับได้  นอกจากจะถูก วิจารณ์แล้ว ดีไม่ดีอาจจะถูกเล่นงานว่าเป็นสายลับก็ได้ ทุ ก คื น วั น เสาร์   มหาวิ ท ยาลั ย จะจั ด ภาพยนตร์ ม าฉายในห้ อ ง ประชุมใหญ่ให้นักศึกษาชม  นักศึกษาทุกคนเข้าชมได้โดยเสียค่าผ่าน ประตูเพียง 2 เหมาเท่านั้น (10 เหมาเท่ากับ 1 หยวน หรือประมาณ 5 บาทในปัจจุบัน)  นอกจากภาพยนตร์แล้ว ทุกคืนวันเสาร์ยังจัดให้มี งานเต้นร�ำอีกด้วย นักศึกษาและอาจารย์สามารถเข้าร่วมเต้นร�ำได้ฟรี เพียงแสดงบัตรนักศึกษาหรือบัตรอาจารย์เวลาผ่านประตูเท่านั้น  นัก ศึกษาหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็เข้าร่วมได้ถ้ามีคนที่รู้จักพาเข้าไป เวลานั้นตามมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐในปักกิ่งมักจัด งานเต้นร�ำทุกคืนวันเสาร์   นักศึกษามหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานรัฐต่างๆ จึงเต้นร�ำเป็นกันเกือบทุกคน  ฉันชอบดูภาพยนตร์


ปักกิ่งในความทรงจำ�

มากกว่าการเต้นร�ำ  ก็เลยเต้นร�ำกับเขาไม่เป็นจนทุกวันนี้ นอกจากทุกคืนวันเสาร์จะมีงานเต้นร�ำและมีภาพยนตร์ให้ดูแล้ว แต่ละปีจะมีงานฉลองวันชาติจีน  (วันที่  1 ตุลาคม) และวันแรงงาน สากล (วันที่  1 พฤษภาคม) นักศึกษาจ�ำนวนหนึ่งต้องไปร่วมงานเดิน พาเหรดในงานฉลองด้วย  และก่อนจะถึงวันฉลองราวหนึ่งเดือนก็ต้อง ไปร่วมการซ้อม ในวันฉลองนั้น ขบวนพาเหรดจะเริ่มเวลา 10.00 น. จากเขต ตงตัน (东单) ด้านตะวันออกของถนนฉางอันเจีย (长安街) ผ่านจัตุรัส เทียนอันเหมิน (天安门广场) ไปทางตะวันตก  ขบวนพาเหรดจะไป ยุติลงที่เขตซีตัน (西单) ด้านตะวันตกของถนนฉางอันเจีย  ในระหว่างนี้ บรรดาผู้น�ำพรรคฯ และรัฐบาล เช่น เหมาเจ๋อตง (毛泽东)  หลิวเซ่าฉี (刘少奇) โจวเอินไหล (周恩来) และท่านอื่นๆ ยืนตรวจพลอยู่บนหอ ประตูเทียนอันเหมิน ขบวนพาเหรดประกอบด้วยทหาร กรรมกร ชาวนา นักเรียน นัก ศึกษา และเจ้าหน้าที่ของรัฐ  เมื่อขบวนพาเหรดผ่านมาถึงหอประตู เทียนอันเหมิน ผู้คนจะพากันชูช่อดอกไม้ในมือขึ้นพร้อมกับเปล่งเสียง สดุดีพรรคฯ และเหมาเจ๋อตงอย่างกึกก้อง  บรรดาผู้น�ำพรรคและรัฐที่ ยืนอยู่บนหอประตูก็จะโบกมือตอบขบวนพาเหรด  งานฉลองนี้ยุติลง เวลา 12.00 น. การเดินพาเหรดนี้ทางการก�ำหนดให้นักศึกษาหญิงนุ่งกระโปรง และสวมเสื้อลายดอกสีสวยๆ  ส่วนนักศึกษาชายให้สวมเสื้อเชิ้ตแขน ยาวสีขาวและนุ่งกางเกงขายาว  การแต่งกายแบบนี้เพื่อให้มองเห็น เป็นภาพสดสวยงามตา  หากใส่แต่เสื้อผ้าสีน�้ำเงินและสีด�ำก็จะท�ำให้ มองเห็นเป็นภาพด�ำมืดไปหมด  ผู้เข้าร่วมเดินพาเหรดต้องถือช่อดอกไม้ หรือธงชาติทุกคน  เมื่อเดินมาถึงหน้าประตูเทียนอันเหมิน ก็ต้องชูช่อ ดอกไม้และธงชาติขึ้นโบก พร้อมเปล่งค�ำสดุดีพร้อมกันดังที่กล่าวมาแล้ว การร่วมงานเดินพาเหรดนี้  นักศึกษาถือว่าเป็นเรื่องมีเกียรติ   ดัง นั้น เกือบทุกคนจึงพยายามสมัครเข้าร่วม  แต่เนื่องจากทางการก�ำหนด

25


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

26

จ�ำนวนคนเข้าร่วมงาน จึงมีเฉพาะนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกแล้วเท่า นั้นที่จะสามารถเข้าร่วมได้ ฉันเองก็เคยสมัครเข้าร่วมกับเขาเหมือนกัน แต่ไม่ได้รับการคัด เลือก  เพราะช่วงนั้นสุขภาพของฉันไม่ค่อยดี  ดูจากภายนอกคล้ายกับ คนผอมแห้งแรงน้อย เขาเกรงว่าฉันจะไปเป็นลมขณะเดินพาเหรด ตั้ง แต่นั้นฉันก็เลยพลาดโอกาสเข้าร่วมเดินพาเหรดรับการตรวจพลอันมี เกียรติจากผู้น�ำพรรคฯ และบุคคลส�ำคัญ หลังจากการเดินพาเหรดในช่วงเช้าของงานฉลองแล้ว ในช่วง เย็นระหว่างเวลา 19.00-24.00 น. ของวันเดียวกัน ปักกิ่งยังได้มีการ จุดพลุและดอกไม้ไฟที่บริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมินด้วย  นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ในปักกิ่งได้มาจัดงานเต้นร�ำกลางแจ้งแถวถนนฉาง อันเจีย จากเขตตงตันถึงซีตันและบริเวณหน้าจัตุรัสเทียนอันเหมิน  คืน นั้นทางการนครปักกิ่งได้ติดตั้งล�ำโพงเปิดเพลงเต้นร�ำเพื่อผู้คนที่มาร่วม งานได้ร่วมสนุกกัน เพลงที่เปิดให้เต้นร�ำนั้นไม่ใช่เพลงเต้นร�ำสากลธรรมดา แต่เป็น เพลงวอลซ์ที่หนุ่มสาวรัสเซียนิยมกัน  จังหวะเพลงครึกครื้นเร้าใจ นัก ศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยจะตีวงขยายใหญ่ขึ้น โดยกลางวงล้อม ทุกวงจะปักธงที่มีชื่อของมหาวิทยาลัยเอาไว้ วงล้อมแต่ละวงห้ามผู้คนภายนอกเข้าไปร่วม  เมื่อเสียงเพลงดัง ขึ้น นักศึกษาชาย-หญิงจะพากันจับคู่เต้นร�ำอย่างสนุกสนาน เวลา 20.30 น. เริ่มมีการจุดพลุและดอกไม้ไฟที่จัตุรัสเทียนอัน เหมินให้ชมครึ่งชั่วโมง  และในเวลา 21.30 น. จะจุดพลุและดอกไม้ไฟ อีกครึ่งชั่วโมงเป็นครั้งที่สอง หลังจากนั้นนักศึกษาก็จะร้องร�ำท�ำเพลงกันตามใจชอบ  งาน ฉลองรอบกลางคืนสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 24.00 น. บรรดานักศึกษาจึงพา กันนั่งรถของมหาวิทยาลัยกลับหอพัก งานฉลองที่จัตุรัสเทียนอันเหมินรอบกลางคืนได้รับการต้อนรับ จากนักศึกษาอย่างมาก  เพราะอากาศปักกิ่งช่วงต้นเดือนตุลาคมและ


ปักกิ่งในความทรงจำ�

ต้นเดือนพฤษภาคมก�ำลังเย็นสบาย ดอกไม้ไฟก็สวย เพลงก็ไพเราะ ฉันเคยไปร่วมงานเฉลิมฉลองวันชาติช่วงกลางคืนกับเขาครั้งหนึ่ง และ ก็รู้สึกชอบมากเหมือนกัน เมื่อจีนด�ำเนินการ ‘ปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม’ งานฉลองวันชาติ และวันแรงงานสากล ไม่ว่าจะเป็นการเดินพาเหรดตอนกลางวัน หรือ งานจุดพลุและดอกไม้ไฟในตอนกลางคืนก็ได้ถูกยกเลิกไป หลังจากการปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมยุติลงเมื่อปี  ค.ศ.1976 ปักกิ่งเคยจัดงานเดินพาเหรดฉลองวันชาติจีนอีกเพียง 3 ครั้งคือ ปี  ค.ศ. 1984 เป็นการฉลองวันชาติจีนครบรอบ 35 ปี   ค.ศ.1999 ฉลองวันชาติ จีนครบรอบ 50 ปี   และ ค.ศ.2009 ฉลองวันชาติจีนครบรอบ 60 ปี การฉลองวันชาติจีนทั้ง 3 ครั้งนี้  ปักกิ่งก็ได้จัดงานจุดพลุและดอกไม้ไฟ ตอนกลางคืนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินด้วย ระหว่างเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมเป็นฤดูเก็บเกี่ยวของคน ชานเมืองปักกิ่ง  นักศึกษามหาวิทยาลัยในปักกิ่งทุกแห่งต้องผลัดเปลี่ยน กันไปช่วยชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวสาลี  7-14 วันเป็นประจ�ำทุกปี   ฉันก็ เคยไปร่วมงานเก็บเกี่ยวครั้งหนึ่ง  ซึ่งท�ำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากพอดู เพราะตั้งแต่เล็กไม่เคยท�ำงานใช้แรงงานหนักถึงขนาดนั้นมาก่อน สมัยนี้นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ต้องไปช่วยชาวนาเก็บ เกี่ยวเหมือนแต่ก่อน  แต่นักศึกษาที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว ก่อน เข้าเรียนในปีแรก นักศึกษาใหม่ทุกคนจะต้องไปพักในกรมทหารเพื่อรับ การฝึกซ้อมเป็นพลทหาร และกินอยู่อย่างพลทหารเป็นเวลา 1 เดือน แทน  สมัยนั้นเมื่อนักศึกษาส�ำเร็จการศึกษาแล้ว ทางการก็จะบรรจุงาน ให้ทุกคน นักศึกษาไม่ต้องล�ำบากล�ำบนไปหางานท�ำเองเหมือนเดี๋ยวนี้ ทุกคนจะได้งานท�ำตามวิชาที่ตนได้เล่าเรียนมา เช่น นักศึกษาที่จบวิชา การแพทย์ก็จะได้งานท�ำในโรงพยาบาล จบวิชาการต่างประเทศหรือ ภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะได้งานท�ำที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

27


ศรีกานดา  ภูมิบริรักษ์

28

นักศึกษาทุกคนต้องไปท�ำงานตามที่ทางการบรรจุให้  ไม่ว่างาน นั้นจะอยู่ในตัวเมืองหรือชนบท จะอยู่ปักกิ่งหรือต่างมณฑล  ถ้าไม่ไป ท�ำงานตามที่ทางการบรรจุให้  ตลอดชีวิตก็คงจะหางานท�ำไม่ได้  เพราะ สมัยนัน้ ยังไม่มบี ริษทั เอกชนและบริษทั ต่างประเทศให้เลือก จะประกอบ ธุรกิจส่วนตัวก็ยิ่งไม่มีทางท�ำได้ ระเบียบที่ทางการบรรจุงานให้ผู้ส�ำเร็จการศึกษานี้ก็ดีอยู่อย่าง หนึ่งเหมือนกันคือ ผู้ใดเมื่อได้งานท�ำแล้ว  ถ้าเจ้าตัวไม่กระท�ำความ ผิดรุนแรง ผู้นั้นก็จะมีงานท�ำไปจนกว่าจะเกษียณอายุ   และหลังจาก เกษียณอายุแล้ว ยังจะได้รับเงินบ�ำนาญและสวัสดิการทุกอย่างไปโดย ตลอดด้วย คนจีนเรียกผู้ที่ได้งานท�ำและได้รับบ�ำนาญตลอดชีวิตนี้ว่า ‘เถี่ย ฟั่นหวั่น (铁饭碗)’ แปลว่า ‘ชามข้าวเหล็ก’ หมายความว่าจะไม่ว่าง งานตลอดชีวิตนั่นเอง  หลังจากจีนด�ำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประ เทศแล้ว ระเบียบเกี่ยวกับการบรรจุงานให้ผู้ที่ส�ำเร็จการศึกษานี้ได้ถูก ปฏิรูปกลายเป็นลูกจ้างที่จะต้องเซ็นสัญญากับหน่วยงานปีต่อปีบ้าง 2-5 ปีบ้าง แต่ไม่เกินกว่านี้   สภาพสังคมจีนที่ผู้คนได้ชามข้าวเหล็กไป ตลอดชีวิตนั้น ยากที่จะหวนกลับมาได้อีกแล้วในช่วงศตวรรษนี้ ส�ำหรับผู้ที่ส�ำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการบรรจุงานในหน่วยงาน ไหนก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้นั้น  โดยทั่วไปแล้ว ผู้มีความคิดทางการ เมืองดี  การเรียนดี  และมีภูมิหลังครอบครัวดี  (หมายถึงครอบครัวผู้ ปฏิ บั ติ ง านชั้ น สู ง ของพรรคฯ  และรั ฐ   กรรมกร  และชาวนายากจน) สมาชิกพรรคฯ และนักศึกษาที่เป็นชาวจีนโพ้นทะเล ส่วนมากจะได้รับ การบรรจุงานอยู่ในเมืองใหญ่ๆ และหน่วยงานส�ำคัญของพรรคฯ และ รัฐ อย่างเช่น กระทรวง ทบวง และกรมกองต่างๆ ของรัฐ ฉันมาเรียนหนังสือและใช้ชีวิตอยู่ในปักกิ่งในเวลานั้น พูดไปแล้ว รู้สึกทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งแปลกใหม่ส�ำหรับฉัน  สภาพดินฟ้าอากาศ ของปักกิ่งแตกต่างจากเมืองไทยมาก อาหารการกินก็ไม่ค่อยเหมือนที่ เคยกินประจ�ำมาตั้งแต่เด็ก ภาษาที่ใช้ติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนก็ยิ่งผิด


แผกแตกต่างกัน ขนบธรรมเนียมประเพณีและอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ก็ล้วนแตกต่างกันไป ดังนั้น ในระยะแรกๆ ที่ปักกิ่ง ฉันจึงรู้สึกว่าชีวิตของตัวเอง  ได้เหหักเสียแล้ว  แต่มันก็เกิดขึ้นกับฉันแล้วอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ  ที่เวลานั้นอายุฉันยังไม่ครบ 18 ปีด้วยซ�้ำ!

ปักกิ่งในความทรงจำ�

29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.