เพลงของโลกและของเรา
เพลงของโลกและของเรา
ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗
เพลงของโลกและของเรา • ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, ธันวาคม ๒๕๕๗ ราคา ๑๙๐ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช. เพลงของโลกและของเรา. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๕๖ หน้า. ๑. เพลง. I. ชื่อเรื่อง. 782 ISBN 978 - 974 - 02 - 1366 - 6
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : สุพรรณี สงวนพงษ์ • นักศึกษาฝึกงาน : ภูริภัทร หงษ์สกุล, เกศวลี ครุฑนาค พิสูจน์อักษร : ปารดา นุ่มน้อย • กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ ออกแบบปก-ศิลปกรรม : สิริพงษ์ กิจวัตร • ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม
หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน
๘ ๑๐
๑ JINGLE BELLS ๑๕ ๒ WHITE CHRISTMAS ๒๑ ๓ SILENT NIGHT ๒๗ ๔ THE LITTLE DRUMMER BOY ๓๓ ๕ WE WISH YOU A MERRY CHRISTMAS ๓๙ ๖ RUDOLF, THE RED-NOSED REINDEER ๔๓ ๗ FELIZ NAVIDAD ๔๙ ๘ FROSTY THE SNOWMAN ๕๕ ๙ SANTA CLAUS IS COMING TO TOWN ๖๐ ๑๐ WHAT CHILD IS THIS? ๖๕ (GREENSLEEVES)
๑๑ THE FIRST NOEL ๗๑ ๑๒ JOY TO THE WORLD ๗๖ ๑๓ DECK THE HALLS ๘๐ ๑๔ O CHRISTMAS TREE (OH TANNENBAUM) ๘๕ ๑๕ SILVER BELLS ๙๐ ๑๖ THE CHRISTMAS SONG ๙๕ ๑๗ O COME ALL YE FAITHFUL ๑๐๐ ๑๘ I’LL BE HOME FOR CHRISTMAS ๑๐๖ ๑๙ AULD LANG SYNE ๑๑๑ ๒๐ สามัคคีชุมนุม ๑๑๗ ๒๑ AMAZING GRACE เพลงเพื่อจิตวิญญาณและการเลิกทาส ๑๒๕ ๒๒ เพลงชาติไทย (เกิดในรถราง) ๑๓๒ ๒๓ เพลงชาติไทย (ผลงานของเยอรมัน-มอญ) ๑๓๘ ๒๔ จะร้องเพลงชาติไทย ให้ใครฟัง ๑๔๖ ๒๕ ค่าน�้ำนม ๑๕๒ ๒๖ OH MY PAPA ๑๕๖ ๒๗ ใครหนอ ๑๖๒ ๒๘ TO SIR WITH LOVE แด่คุณครูด้วยความรัก ๑๖๗ ๒๙ HAPPY BIRTHDAY TO YOU ๑๗๓ ๓๐ หน้าที่ของเด็ก (เด็กเอ๋ย...เด็กดี) ๑๗๗ ๓๑ HAWAIIAN WEDDING SONG ๑๘๒ ๓๒ MY FUNNY VALENTINE ๑๘๗ ๓๓ ร�ำวงลอยกระทง ๑๙๕ ๓๔ พญาโศก (หรือไม่เมื่อ) ธรณีกรรแสง ๒๐๑ WHEN THE SAINTS GO MARCHING IN ๓๕ TAPS แตรนอน ๒๐๗
๓๖ BATTLE HYMN OF THE REPUBLIC และเพลงเดินจุฬาฯ ๒๑๓ ๓๗ LA MARSEILLAISE และมาร์ช ม.ธ.ก. ๒๑๘ ๓๘ FANFARE แตรฟันฟาร์ ๒๒๔ ๓๙ THE EXODUS ผู้อพยพ ๒๒๘ ๔๐ WATERLOO ผู้แพ้ ๒๓๔ ๔๑ ALOHA ‘OE เพลงลา ๒๓๙ ๔๒ LA CUCARACHA เพลงเสียดสีทางการเมือง ๒๔๔ ๔๓ CHERRY PINK AND APPLE BLOSSOM WHITE ระบ�ำโป๊ ๒๔๙ ประวัติผู้เขียน ๒๕๖
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
เพลงทีค่ นุ้ หู ฟังจนเคยชิน หรือเพลงทีบ่ างคนอาจยังไม่เคยได้ยนิ (แต่ ทั่วโลกรับรู้) เพลงของโลกและของเรา ท�ำให้รู้จักและเข้าถึงความเป็น มาของเพลง... Jingle Bells, Santa Claus is Coming to Town, Joy to the World, สามัคคีชุมนุม, เพลงชาติไทย, ค่าน�้ำนม, Happy Birthday to You และอีกมากมายกว่า ๔๐ เพลง เพลงที่เราฟังอยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตั้งแต่เรียนอนุบาล จนมหาวิทยาลัย หลายเพลงฟังแค่เนื้อร้องและท่วงท�ำนองเพลงก็ให้ความ หมายในระดับหนึ่ง แต่ยิ่งรู้ประวัติของผู้แต่ง รู้ความเป็นมาของเพลง เรื่อง ราวของความครื้นเครงสนุกสนาน ทั้งความลึกซึ้ง ก็ยิ่งซึมลึก เหมือนได้รู้ ได้เห็นว่าโลกใบนี้กว้างใหญ่เกินคาด เรียกว่าเป็นการเปิดมุมมองให้คนฟังและคนอ่านได้ใช้ความคิด ของตัวเองเรียนรู้เพลง เรียนรู้โลก เรียนรู้สังคมที่เราอาศัย ศุ ภ าศิ ริ สุ พ รรณเภสั ช เคยฝากผลงานไว้ ใ นนิ ต ยสารมติ ช นสุ ด สัปดาห์มาแล้ว กระทั่งมีหนังสือ “วันเยาว์ของคนใหญ่” เล่ม ๑ และ ๒ 8 ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช
รวมประวัติบุคคลระดับประเทศและสากล คนผู้ยิ่งใหญ่ที่ใครๆ ต้องศึกษา ชีวิตและการท�ำงาน เป็นแรงบันดาลใจส�ำหรับทุกคน ทุกระดับฐานะและ การศึกษา การกลับมาอีกครั้งส�ำหรับหนังสือ “เพลงของโลกและของเรา” จึง ไม่มีอะไรจะพิเศษไปกว่าการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ในอีกด้าน ให้หลาย คนระลึกรูแ้ ละจดจ�ำ น�ำอดีตมาท�ำความเข้าใจสถานการณ์ปจั จุบนั ทีเ่ ป็นอยู่ บ้านเมืองและสังคมทุกวันนี้ต้องการอะไรอื่นอีกเล่า นอกจากความ เท่าเทียม การไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย และการเปิดทัศนะเพื่อท�ำความเข้าใจ ความคิด “เพลงของโลกและของเรา” สนทนาและบอกเราในประเด็นเหล่านี้ สังคมที่ไม่ได้มีแค่เธอกับฉัน แต่มี “โลก” และมี “เรา” ที่ต้อง เรียนรู้กันไม่จบสิ้น ส�ำนักพิมพ์มติชน
เพลงของโลกและของเรา 9
ค�ำน�ำผู้เขียน
ผู้เขียนใช้เพลงในการสอนภาษาอังกฤษและประวัติศาสตร์ เป็นทาง ลัดง่ายๆ ที่ครูคนไหนก็อาจท�ำได้หากสนใจที่จะค้นคว้า โดยเฉพาะในยุค ที่กูเกิลอยู่แค่ปลายนิ้ว เป็นทางลัดง่ายๆ ให้ลูกศิษย์จดจ�ำถ้อยค�ำ ส�ำนวน และการออก เสียงภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องเสียเหงื่อ และเป็นทางลัดง่ายๆ ที่จะรู้สึกชอบประวัติศาสตร์ (ปวศ.) วิชาที ่ แสนน่าเบื่อ เพราะแทนทีจ่ ะมาในมาดหง�ำเหงือกเคร่งเครียด คุณ ปวศ. กลับยิม้ ร่าและแดนซ์กระจายเข้ามาพร้อมเสียงเพลง และเพราะเสียงเพลงไม่มีพรมแดน มันจึงเป็นทางลัดที่จะท�ำให้เรา ทุกคนนึกได้ว่า โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน-ของเธอ แต่เป็นโลกของเรา ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช
10 ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช
เพลงของโลกและของเรา
JINGLE BELLS
เวลาผ่านไปกว่าร้อยปี แต่ Jingle Bells ยังติดอันดับเพลงที่คนรู้จัก มากที่สุดในโลกเสมอ เมื่อถึงเทศกาลคริสต์มาสทีไรเสียงกรุ๋งกริ๋งของจิงเกิลแบลส์ ก็มัก จะมาก่อนเพลงอื่นทุกทีไป จะเรียกว่าเป็น ‘เพลงคริสต์มาส’ ที่คนนิยม มากที่สุดในโลกก็คงไม่ผิด ท่วงท�ำนองเพลงจ�ำง่าย เพราะสนุก คึกคัก น่ารัก แค่ได้ยินก็ชวน ยิ้มแล้ว เนื้อเพลงก็ไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่จะหัดร้องและจ�ำ โดยเฉพาะท่อน แยกที่ว่า “Jingle bells, jingle bells, jingle all the way…” นั้น ต่อให้ เด็กตัวนิดๆ ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน มักจะร้องตามได้เสมอ ครูที่สอนเพลงนี้ มักจะสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ ด้วยว่า ค�ำว่า bells นั้ น แปลว่ า ระฆั ง หรื อ กระดิ่ ง หรื อ กระพรวน ก็ ไ ด้ ส่ ว น jingle แปลว่า เสียงกรุ๋งกริ๋ง คล้ายๆ กับค�ำว่า jangle แต่ค�ำหลังเป็นเสียงโลหะ กระทบกันอย่างไม่ค่อยน่าฟัง ในสมัยต่อมา ค�ำว่า jingle มีความหมายถึง เพลงโฆษณาสั้นๆ อีกด้วย คนช่างเก็บสถิติเขาก็บอกว่า Jingle Bells เป็นเพลงที่มีผู้น�ำไปใส่ เพลงของโลกและของเรา 15
เนื้อร้องเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุดในโลกเพลงหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วน�ำไปใส่ เนือ้ ร้องตามใจชอบ ไม่เกีย่ วกับฤดูหนาวหรือเทศกาลคริสต์มาสเลยก็บอ่ ยไป ของไทยเรายังมี ครูนคร มงคลายน ซึ่งเป็นนักแปลงเพลงชื่อดังใน ยุค 50s ใส่เนื้อร้องไทยให้เป็นเพลงชื่อ ‘โจงกระเบน’ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สมัยโน้นร้องกันได้คล่องปาก “โจงกระเบน โจงกระเบน เป็นของเก่านานเน กาลมานานกาเล โจงกระเบนทุกคน… โจงกระเบน โจงกระเบน มองแล้วเด่นงามล้น กาลนานมา ประชาชน ทุกคนโจงกระเบน” ฟังแล้วนึกถึงภาพคนไทยสมัยคุณทวดคุณเทียดตามไปด้วย แต่เมือ่ ถึงท่อนแยกครูนครก็บอกให้รู้ว่า “...แต่บัดนี้มาแปลงใหม่ ดูไปพิลึกพิเรนทร์ หนุ่มๆ ชอบทรงจิ้งเหลน ฉันเห็นแล้วไม่อยากมอง ฝ่ายแบบหญิงก็ใช่เล่น หนุ่มๆ เห็นแล้วตาพอง แก่ๆ ก็ยังอยากมอง ขนลุกขนพองกันเทียว...” 16 ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช
ครูนครช่างอุตส่าห์หาค�ำไทยมาคล้องจองกับ Jingle Bells แถม เนื้อเพลงยังแสดงถึงความนิยมของสมัยนั้น ที่หนุ่มๆ ใส่ ‘ทรงจิ้งเหลน’ เพราะเอาแบบหนุ่มร็อกแอนด์โรลล์ของอเมริกา
ป้ายประกาศเกียรติคุณบนถนนเมดฟอร์ด รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ สถานที่ที่คุณเจมส์แต่งเพลง Jingle Bells ภาพโดย Deirde (CC BY-SA 3.0) ที่มาภาพ: http://en.wikipedia.org/wiki/File:Pierpont_Jingle_Bells_Savannah.jpg
แม้เราจะได้ยิน Jingle Bells ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส แต่จริงๆ แล้ว Jingle Bells ไม่ใช่เพลงคริสต์มาส เนือ้ ร้องก็ไม่ได้พดู ถึงอะไรเกีย่ วกับ คริสต์มาสสักนิดเดียว พูดถึงแต่ความสนุกสนานที่ได้รับจากการนั่งเลื่อน เทียมม้าคู่กับสาว แล่นฉิวไปบนหิมะ มีเสียงระฆังที่ผูกไว้บนหางม้าส่ง เสียงกรุ๋งกริ๋งไปตลอดทาง ม้าที่ลากเลื่อนมักถูกตัดหางให้สั้นเป็นแบบ ‘bob-tailed’ เพื่อไม่ ให้หางปลิวมาเข้าหน้าคนที่นั่งบนเลื่อน ตัดแล้วเจ้าของก็มักจะหาอะไร ไปประดับบนหางสั้นๆ นั้นเพื่อความสวยงาม อาจเป็นริบบิ้น ลูกปัด หรือ กระดิ่งให้ดังกรุ๋งกริ๋งอย่างที่พูดถึงในเพลงนี้ เพลงของโลกและของเรา 17
คุณ James Pierpont แต่ง Jingle Bells ไว้ตั้งร้อยกว่าปีแล้ว (ค.ศ.๑๘๕๗) ตามประวัติไม่ปรากฏว่าเคยเรียนดนตรีที่ไหนเป็นเรื่องเป็น ราว เพราะชีวิตโลดโผน หนีจากบ้านไปท่องทะเลกับเรือสินค้าตั้งแต่อายุ แค่ ๑๔ ปี สงสัยจะเก่งเอง เพราะเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็สามารถพอที่จะอ�ำนวยการ ดนตรีประจ�ำโบสถ์ และเป็นอาจารย์สอนดนตรีในวิทยาลัยได้ มีบางแห่งที่บันทึกไว้ว่า คุณเจมส์แต่งเพลงชื่อ ‘The One Horse Open Sleigh’ ขึ้นมาแล้วไม่ได้เห็นดิบดีนัก เลยเก็บใส่ลิ้นชักไว้หลายปี ต่อมาพี่ชายซึ่งเป็นนักบวชวานให้แต่งเพลงไปให้เด็กๆ ที่โรงเรียนสอน ศาสนาวันอาทิตย์ใช้ร้องเล่นในงานฤดูหนาว คุณเจมส์ก�ำลังยุ่งๆ อยู่ แก เลยไปควักเพลงที่ว่านี้ให้ไปใช้ ปรากฏว่าเด็กๆ ชอบกันมาก ไม่นานก็มคี นมาขอเพลงนีไ้ ปใช้ในงานแข่งเลือ่ นฤดูหนาว ทีม่ ขี นึ้ ใน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา อันเป็นบ้านเกิดของคุณเจมส์ คนที่ได้ยิน ก็ชอบใจ น�ำไปร้องต่อๆ กัน จนคุณเจมส์ตัดสินใจน�ำไปจดลิขสิทธิ์ โดย เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงตามที่คนชอบเรียกว่า ‘Jingle Bells’ แต่มนี กั ประวัตศิ าสตร์ดนตรีบางคน เชือ่ ว่าคุณเจมส์แต่งเพลงนีเ้ มือ่ สมัยไปอยู่กับภรรยาคนที่ ๒ ในทางใต้ของสหรัฐ เรื่องไหนจริงก็ไม่ทราบ ถือว่าเป็นธุระของฝรั่งที่จะตกลงกันเอง ถ้า จะให้เดา ก็จะบอกว่าเรื่องแรกน่าเชื่อมากกว่า เพราะแถบนิวอิงแลนด์ อากาศหนาวเย็น หิมะมาก น่าแข่งเลื่อนมากกว่าทางใต้เป็นไหนๆ สังเกตให้ดี จะเห็นว่าหนุ่มนักซิ่งรุ่นคุณทวดคุณเทียดนั้นไม่แพ้ นักซิ่งสมัยนี้ เพียงแต่เครื่องมือที่ใช้ในการซิ่งต่างกันเท่านั้น ที่พูดอย่างนี้เพราะเนื้อท่อนที่ ๓ ของ Jingle Bells บอกไว้ด้วย ว่าซิ่งม้าแล่นฉิวไป ค�ำว่า ‘nag’ ที่เห็นในท่อนที่ ๓ ของเพลงไม่ได้แปลว่าจู้จี้ ขี้บ่น แต่ หมายถึงม้าแก่หรือม้าโซๆ คนรุน่ คุณเจมส์ใช้เป็นศัพท์สแลงแปลว่า ‘ม้าแข่ง’ แต่เอาจริงเข้า คนนิยมร้องกันเฉพาะท่อนที่ ๑ และตรง ‘คอรัส’ 18 ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช
เท่านั้น แค่นี้ก็ให้ความรู้สึกหนาวๆ เย็นๆ และสนุกสนานมากแล้ว และเพราะเป็นเพลงดังที่แสนสนุกและเป็นขวัญใจของเด็กๆ นี่เอง Jingle Bells จึงเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกน�ำไปใส่เนื้อตลกๆ มากมาย มีทั้งที ่ ตลกแบบเด็กๆ และตลกร้าย-ไม่สะอาดชนิดที่ฟังแล้วต้องล้างหู ที่ตลกน่ารักและได้ยินเด็กฝรั่งร้องเสมอคือ Jingle Bells, Batman Smells ไม่รู้ว่าจิงเกิลแบลส์ไปเกี่ยวกับแบตแมนได้อย่างไร แต่เป็นเพลงที ่ เจ้าโจ๊กเกอร์ผู้ร้ายในเรื่องแบตแมน (ภาคการ์ตูน) ร้องล้อแบตแมนว่าตัว เหม็น ส่วนโรบินก็ท�ำอะไรไม่เข้าท่า รถแบตโมบิลก็ล้อหลุด ตัวโจ๊กเกอร์ จึงหนีไปได้ (ในคืนคริสต์มาส) “Jingle bells, Batman smells Robin laid an egg The Batmobile lost a wheel And the Joker got away” คุณเจมส์ เพียร์พองต์อาจจะประพันธ์เพลงไว้ไม่น้อย แต่มีเพียง Jingle Bells ซึ่งเป็นเพลงที่เขาไม่ได้สนใจเลยตั้งแต่แรก ที่กลายเป็นเพลง ยอดนิยมและสร้างชื่อเสียงให้แก่เขามากมาย วงดนตรีและศิลปินดังๆ ในศตวรรษที่ ๒๐ น�ำ Jingle Bells มา ร้องหรือบรรเลง ท�ำให้ Jingle Bells ขึ้นสู่อันดับ ๑ ในชาร์ตได้หลายต่อ หลายครั้ง แต่เมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ Jingle Bells ไม่ได้ท�ำเงินเป็นชิ้นเป็น อันแก่คุณเจมส์สักเท่าไรเลย แต่ก็เป็นเพราะ Jingle Bells เพลงดังเพลงเดียวของเขานี่แหละ ที่ท�ำให้คุณเจมส์ได้มีชื่อขึ้น Songwriters Hall of Fame หรือหอเกียรติ ยศของนักแต่งเพลงในสหรัฐ ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันของนักแต่งเพลงรุ่นหลังๆ คุณเจมส์ไม่มีทางรู้ได้ เพราะเขาสิ้นชีวิตไปแสนนานก่อนที่จะมีการ ตั้ง Songwriters Hall of Fame เพลงของโลกและของเรา 19
จะว่าไป...Jingle Bells ต่างหากที่เป็น Bells of Fame ของคุณ เจมส์มากว่าร้อยปี และจะเป็นต่อไปอีกนานเท่านานตราบเท่าที่ คริสต์มาสยังมีกระดิ่งใบนี้จิงเกิลอยู่ทุกมุมโลก ฟัง Jingle Bells ส�ำหรับเด็กๆ ที่ http://www.youtube.com/watch?v=3PgNPc-iFW8 จากเสียงประสานของ Mormon Tabernacle Choir ที่ http://www.youtube.com/watch?v=eZrjtdRkwDA ฟัง Jingle Bells จากการบรรเลงที่ http://www.youtube.com/watch?v=6XF3BpxufBY ฟัง Vive le vent - Jingle Bells ภาษาฝรั่งเศสได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=4dX0nIE6JL8 ฟัง Jingle Bells, Batman Smells ที่ http://www.youtube.com/watch?v=PPxU04_--14 ฟัง Jingle Bells Rock ที่ http://www.youtube.com/watch?v=XpxNNalLTB4
20 ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช