ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
ว่าด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแแปลง และเรื่องสรรพสาระ
ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
ว่าด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแแปลง และเรื่องสรรพสาระ
นิธิ เอียวศรีวงศ์
ราคา ๒๑๐ บาท
ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ ว่าด้วยประเพณี, ความเปลีย่ นแปลง และเรือ่ งสรรพสาระ • นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์ครั้งแรก : เมษายน ๒๕๓๘ พิมพ์ครั้งที่ ๒ : พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ราคา ๒๑๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม นิธิ เอียวศรีวงศ์. ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ. - -พิมพ์ครั้งที่ ๒.- -กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๖๐ หน้า.- -(วัฒนธรรม) ๑. เครื่องแต่งกาย I. ชื่อเรื่อง. 391 ISBN 978 - 974 - 02 - 1355 - 0
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน, พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์ การอ่านวัฒนธรรมไทยของนิธิ เอียวศรีวงศ์
(๗) (๙)
๑. ไปเมืองตาก สืบค้นเรื่อง “พระเจ้าตาก” แต่พบ “แม่” พระเจ้าตาก ๒. แห่นางแมวกับ “วิกฤต” ในวัฒนธรรมชาวนา ๓. สงกรานต์ : วิถีชีวิตไทยที่เปลี่ยนแปลง ๔. พิธีกรรมไหว้ครูส�ำหรับมหาวิทยาลัยไทยปัจจุบัน ๕. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับผลกระทบต่อวัฒนธรรม ๖. ประตูท่าแพและดอยสุเทพ ๗. ผ้าขาวม้ากับผ้าซิ่นและกางเกงใน ๘. ที่นี่ห้ามกร่างแบบนิ่มๆ ๙. สาวเครือฟ้า : ฝันที่เป็นจริง
๓ ๑๑ ๓๒ ๔๙ ๕๕ ๗๐ ๗๘ ๙๖ ๑๐๓
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (5)
๑ ๐. พื้นที่ในคติไทย ๑๑. พุทธกับไสย ๑๒. คนไทยมาจากโน่นด้วย และคนไทยอยู่ที่นี่ด้วย ๑๓. ท�ำไมคนไทยถึงกิน “ข้าว”? ๑๔. เรื่องโป๊ๆ เปลือยๆ ๑๕. แล้วเราก็รักกัน...ใน “โฆษณา” ๑๖. คนกรุงเทพฯ พูดเหน่อเจ๊กจริงหรือ? ๑๗. ศาสตราจารย์ของ ก.ม.
๑๑๒ ๑๒๙ ๑๔๙ ๑๖๑ ๑๖๖ ๑๘๓ ๑๙๗ ๒๑๗
งานเขียนของศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดัชนี
๒๒๓ ๒๒๗
(6) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์
นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับแรกออกวางตลาดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ. หลังจากที่นิตยสารนี้ได้ด�ำเนินกิจการมาไม่นานนัก อาจารย์นิธิ เอียว ศรีวงศ์ ก็ได้เริ่มเขียนบทความให้ลงตีพิมพ์. บทความชิ้นแรกนั้นคือ “ความล�้ำลึกของ ‘น�้ำเน่า’ ในหนังไทย” ลงตีพิมพ์ในฉบับประจ�ำเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓. นับแต่นั้น อาจารย์นิธิก็ได้เขียนบทความส่ง มาให้นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยังไม่นับ ส่วนที่อาจารย์เขียนเป็นเล่มต่างหาก และได้มอบหมายให้พิมพ์ในชุด ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษอีกหลายเล่ม. งานเขียนของอาจารย์นิธิที่ทางส�ำนักพิมพ์มติชนน�ำมาจัดพิมพ์ รวมเป็นเล่มนี้ เกือบทั้งหมดเป็นบทความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงสิบสามปี แรกของนิตยสารฉบับนั้น. มีอยู่บางชิ้นได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารอื่นๆ ซึ่งในการน�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ด้วย ก็เป็นความประสงค์ของท่าน ผู้เขียนเอง โดยเหตุผลว่า เพื่อให้เนื้อหาของงานในชุดนั้นๆ สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น. และก็มีอยู่บางชิ้น ที่มิได้น�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ ทั้งด้วยเหตุผล ที่ว่า ผู้เขียนเห็นว่างานชิ้นนั้นๆ มีข้อบกพร่องอยู่, และทั้งด้วยเหตุผล ที่ว่า งานชิ้นนั้นได้เคยตีพิมพ์เป็นเล่มเฉพาะมาแล้ว. อย่างไรก็ตาม ทาง นิธิ เอียวศรีวงศ์ (7)
ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นก็ ไ ด้ จั ด ท� ำ บรรณานุ ก รมบทความของอาจารย์ นิ ธิ ทั้งหมดที่ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ปีที่ ๑ มาถึงปีที่ ๑๓ ไว้ด้วยในตอนท้ายของเล่ม. ส�ำหรับผู้อ่านที่ีปรารถนาจะติดตาม หาอ่านงานที่มิได้น�ำมารวมไว้นี้ ก็จะหาได้โดยง่าย. ในการรวมพิมพ์คราวนี้ ทางส�ำนักพิมพ์มติชนได้จัดแบ่งบทความ ทั้งหมดออกเป็นสี่เล่มตามลักษณะของบทความแต่ละชิ้น, ดังนี้. (๑) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย (๒) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ (๓) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย (๔) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ การจัดแบ่งหมวดหมู่ดังนี้ อันที่จริงก็เป็นการจัดโดยกว้างๆ เท่านั้น. ชื่อรองของหนังสือแต่ละเล่มดูเหมือนจะบอกไว้โดยชัดเจน พอสมควรแล้วว่า แต่ละเล่มนั้นมีบทความในประเภทใด. นอกจากจะได้จัดแบ่งเช่นนี้แล้ว ทางส�ำนักพิมพ์มติชนยังได้ ขอให้นักวิชาการสี่ท่านเขียนค�ำน�ำเสนอ (introduction) ให้กับแต่ละ เล่มด้วย. แน่ละ, ทรรศนะที่ปรากฏในค�ำน�ำเสนอดังกล่าวนั้น ย่อมเป็น ข้อความเห็นส่วนตนของนักวิชาการท่านนั้นๆ เอง. ข้อปรารถนาของ ทางส� ำ นั ก พิ ม พ์ ก็ คื อ ให้ ค� ำ น� ำ เสนอนี้ เ ป็ น ที่ เ ปิ ด ประเด็ น การวิ พ ากษ์ วิจารณ์ต่อไป-ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย. ส�ำนักพิมพ์มติชนหวังว่า งานรวมชุดนี้ของอาจารย์นิธิ เอียวศรี วงศ์ จะได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่วงวิชาการไทยและแก่สาธารณชน ในวงกว้าง, ดังที่บทความแต่ละชิ้นของท่านได้เป็นมาก่อนแล้ว. สุพจน์ แจ้งเร็ว บรรณาธิการฉบับรวมพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๘
(8) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
การอ่านวัฒนธรรมไทยของนิธิ เอียวศรีวงศ์๑ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๘)
เหตุผลที่ไม่นุ่งกางเกงใน เมื่อคุณสุพจน์ แจ้งเร็ว บรรณาธิการหนังสือเล่มของส�ำนักพิมพ์ มติชนมาติดต่อทาบทามผมให้เขียนค�ำน�ำแก่หนังสือรวมข้อเขียนของ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เคยลงพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม นั้น ผมแสดงอาการอ้าขาผวาปีกรีบตอบรับด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นแฟนประจ�ำตามอ่านงานเขียนของอาจารย์นิธิในที่ต่างๆ อยู่แล้ว และใคร่จะได้มีโอกาส “คุยกลับ” กับงานเขียนของอาจารย์ อย่างเป็นกิจจะลักษณะอีกสักครั้ง หลังจากได้ท�ำไปแล้วครั้งหนึ่งใน หน้าหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน เมื่อสองปีก่อน ๑ ค�ำน�ำหนังสือรวมข้อเขียนของศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชุดที่ ๔ ว่า
ด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ ชื่อ ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (9)
แต่พอรับทราบว่าหนังสือรวมข้อเขียนเล่มไหนของอาจารย์นิธ ิ ที่ท่าน บ.ก. มอบหมายให้ผมรับผิดชอบเขียนค�ำน�ำ ผมก็เกิดปัญหา ข้องใจขึ้นมาทันที ผมเข้าใจได้ว่าผมไม่ควรบังอาจเขียนค�ำอะไรไปน�ำเล่มแรก กรุง แตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย เพราะผมไม่ค่อยรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์ และท�ำใจได้ว่าส�ำหรับเล่มสอง ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียน และอนุสาวรีย์ นั้น คู่สนทนากับอาจารย์นิธิที่เหมาะสมที่สุดต้องเป็น อาจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐ อเมริกา แต่คิดยังไงก็คิดไม่ออกว่าท�ำไมผมจึงเหมาะจะเขียนค�ำน�ำแก่ เล่มสี่ที่มีชื่อว่า : ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ ?!? ผ้าขาวม้า ผมไม่ค่อยได้ใช้มานานนับสิบปีตั้งแต่ออกจากป่า ผ้าซิ่น ผมก็ไม่เคยใช้ มีแต่กางเกงในเท่านั้นที่นุ่งเฉพาะเวลาออกนอก บ้าน,๒ ฤๅจะเป็นเพราะอยู่บ้านผมไม่นุ่งกางเกงใน? เมื่อหอบความข้องใจนี้ ไ ปถามคุณสุพจน์ คุณสุพจน์ตอบมา น่าฟังว่า : “เกษียร คุณเขียนน่ะเหมาะแล้ว เพราะเล่มนี้รวมข้อ เขียนของอาจารย์นิธิจับฉ่ายหลายเรื่อง คุณเองก็เป็น นักเขียน ประเภทเขียนได้สารพัดเรื่อง น่าจะเขียนได้” ผมไม่แน่ใจว่านี่เป็นค�ำชมหรือเปล่า แต่ก็พอนับเป็นค�ำอธิบาย เชิงปฏิบัติการได้ ๒ เวลาอยู่บ้านผมจึงรู้สึกท่อนล่างโล่งโจ้งเย็ลลลลลสบาย อากาศถ่ายเทดี
ส�ำหรับเหตุผลทางวัฒนธรรมอันลุ่มลึกกว่านี้ที่ท�ำให้ชายไทยมีแนวโน้มจะไม่ นุ่งกางเกงในออกนอกบ้าน มากกว่าหญิงไทยด้วยนั้น โปรดอ่านบทความของ อาจารย์นิธิในเล่มนี้เรื่อง “พื้นที่ในคติไทย”
(10) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
คู่มืออ่านวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย ผมติดค�ำอธิบายเชิงปฏิบัติการนี้ไปนั่งอ่านงานเขียนทั้ง ๑๗ ชิ้นของ อาจารย์นิธิอย่างตั้งอกตั้งใจอยู่ที่บ้าน อ่านจบแล้วก็ได้ข้อสรุปว่าค�ำ อธิบายข้างต้นพอใช้การได้ งานเขียนทัง้ ๑๗ ชิน้ อาจจะจับฉ่ายหลายเรือ่ ง แต่กม็ แี กนเรือ่ ง หลักที่งานเขียนเหล่านั้นล้อมรอบ มีตรรกะสมเหตุสมผลในตัวรองรับ และความหลากหลายของมันก็สะท้อนความหลากหลายในทางเป็นจริง ของสิ่งที่ข้อเขียนเหล่านั้นพูดถึง คือวัฒนธรรมไทย และ/หรือ ความเป็นไทย จนถึงจุดหนึ่ง ผมอยากพูดว่ารวมข้อเขียนเล่มนี้ของอาจารย์นิธิ มีคุณประโยชน์เหมือนหนึ่งเป็น คู่มืออ่านวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย ผมหมายความว่าอย่างไร? วันทีผ่ มได้ขอ้ สรุปนีค้ อื วันสตรีสากล ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เช้าตรู่วันนั้นผมหยิบหนังสือพิมพ์รายวัน สยามโพสต์ (อันที่จริงจะเป็น ฉบับใดก็ได้) ขึ้นมาพลิกผ่านอ่านหัวข้อข่าว “ฮือไล่ยันตระหวิดจลาจล” (หน้า ๑) ข้อเขียนเรื่อง “พุทธกับไสย” ของอาจารย์นิธิแวบเข้ามาในหัว ก็เพราะมีการแยกพุทธกับไสยออกเป็นสองระบบความเชื่อด้วยอคติ แบบเหตุผลนิยมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ฤๅมิใช่ ทั้งพุทธกับไสยจึงป้อแป้ ไร้พลัง พุทธกลายเป็น “ความสว่างที่คนไม่ค่อยไยดี” ไร้ส่วนรองรับ แก้ปัญหาโลกนี้ในแง่ตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกแก่มนุษย์ ส่วนไสย นิธิ เอียวศรีวงศ์ (11)
ก็กลายเป็น “ความมืดด�ำที่น่ารังเกียจ” เป็นเทคโนโลยีล้วนๆ ที่ขาด ศีลธรรมเชิงพุทธก�ำกับ ตรงช่องว่างระหว่างพุทธกับไสยนี้มิใช่หรือ ที่วิกฤตการณ์ของ สถาบันสงฆ์อย่างกรณีพระยันตระผุดโผล่ขึ้นมา “แพร่หวังโกยเงิน ๑๐๐ ล้าน ในงานไหว้พระธาตุช่อแฮ” (หน้า ๙) ผมนึกถึงข้อเขียนของอาจารย์นิธิเรื่อง “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว กับผลกระทบต่อวัฒนธรรม”, “ประตูท่าแพและดอยสุเทพ” รวมทั้ง “สาวเครือฟ้า : ฝันที่เป็นจริง” ขึ้นมาติดหมัด เพราะเพื่อตอบรับความ ต้องการบริโภควัฒนธรรมแปลกๆ การผจญภัยจอมปลอม เสรีภาพ จอมปลอม และโรแมนติกจอมปลอมของทัวริสต์กระฎุมพีต่างชาติผู้ไม่ ต้องรับผิดชอบต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น, รัฐบาลราชการ และธุรกิจท่อง เที่ยวเอกชนก�ำลังพรากวัฒนธรรมท้องถิ่นออกไปจากวิถีชีวิตที่เป็น จริงของสังคมไทยและคนไทยด้วยกันเอง ปรับแปลงมันเพื่อมุ่งต้อนรับ ตลาดลูกค้าต่างชาติ ท�ำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า เร่ขายสินค้าวัฒนธรรม ตามโรงแรมและงานแห่ราชการ อาศัยลมหายใจที่เป็นดอลลาร์อเมริกัน และเยนญี่ปุ่น โดยขาดจิตใจของตนเองที่จะด�ำรงอยู่อย่างไทย ขาดจาก ชีวิตวิญญาณที่มีพลัง เราจะหลีกเลี่ยงจุดจบแบบสาวเครือฟ้าคือการฆ่าตัวตายทาง วัฒนธรรมไปได้อย่างไร หากเราเริ่มต้นด้วยการอายความเป็นตัวของ เราเอง “โดโด้หวั่น...ภาพนู้ดท�ำลายละคร” (หน้า ๑๐) “สุนิตย์ถูกทาบทามแสดงภาพยนตร์อเมริกา” (หน้า ๑๐) เมื่อคุณยุทธพิชัย ชาญเลขา หรือโดโด้ “ปฏิเสธถ่ายภาพนู้ด เด็ดขาด” และคุณสุนิตย์ นภาศรี ดาราละครทีวี พล-นิกร-กิมหงวน (12) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
ถือหลักเกณฑ์ในการพิจารณารับบทแสดงภาพยนตร์อเมริกันว่า “ต้อง ไม่โป๊จนเกินไป” ผมก็ติดค�ำถามจากข้อเขียน “เรื่องโป๊ๆ เปลือยๆ” ของอาจารย์นิธิขึ้นมาทันควันว่า ที่ว่า “นู้ด” และ “โป๊” นั้นหมายถึง อะไรในวั ฒ นธรรมไทย? หาก “โป๊ ” หมายถึ ง แสดงความรู ้ สึ ก ทาง กามารมณ์ออกมาอย่างเปิดเผยต่อสายตาสาธารณชน คุณโดโด้อาจโป๊ โดยไม่ต้องนู้ดก็ได้ และหาก “นู้ด” หมายถึงแค่โชว์อวัยวะเพศ กระทั่ง การร่วมเพศ คุณสุนิตย์อาจรับเล่นบทนู้ดที่ไม่โป๊เอาเลยก็ได้เหมือนกัน แล้วใครในสังคมไทยเล่าที่ก�ำลังถือสิทธิอ�ำนาจขีดลากเส้นแบ่งระหว่าง โป๊/ไม่โป๊, เปลือย/ไม่เปลือย, ส่วนตัว/ส่วนสาธารณะ? หากเราอ่อนน้อม ยอมรับการใช้อ�ำนาจขีดเส้นแบ่งดังกล่าวโดยดุษณี มันจะส่งผลกระทบ ต่อเนื่องทางการเมืองอย่างไรบ้าง? เป็นต้น “ประเวณี-ประเพณีศิลปะที่ก�ำหนดความเป็นผู้หญิง” (หน้า ๑๒) ฮั่นแน่, แล้วก็เจอ “ผ้าซิ่น” เข้าจนได้ แถมยังมีจีวรพระ ผ้าขาว กระจก ทีวี ฯลฯ ตามมาอีกเป็นพรวน ผมหมายถึงนิทรรศการศิลป์ “ประเวณี - ประเพณี ” ของผู ้ ห ญิ ง ๖ คน ณ ศู น ย์ บ ้ า นตึ ก ขณะนั้ น คุณภาพตะวัน สุวรรณกูฏได้น�ำผ้าซิ่นใช้แล้วหลายผืนมาตากบนราว เหนือหัวแล้วตั้งชื่อสื่อแสดงของเธอว่า “อโคจร” ท�ำให้ผมนึกถึงข้อคิด ของนิธิและอาจารย์อคิน รพีพัฒน์ ใน “ผ้าขาวม้ากับผ้าซิ่นและกางเกง ใน” ว่าเอาเข้าจริง ความคิดความเชื่อแบบเก่าที่มองว่าใต้ราวตาก ผ้าซิ่นเป็นอโคจรสถานส�ำหรับชายชาตรีนั้น โดยตัวมันเองไม่จ�ำต้อง น�ำไปสู่การกดขี่ทางเพศเสมอไป เพราะในสังคมไทยแต่เดิมมีกลไกพยุง สถานภาพและประกันสิทธิผู้หญิงตามประเพณี วัฒนธรรมเก่าคอย ถ่วงต้านอยู่ แต่การเข้าเมืองไปสู่สังคมสมัยใหม่โดยถูกอาญาสิทธิ์ของ ประเพณีเก่าตามไปกดขี่ หรืออยู่ชนบท โดยปนเปื้อนความคิดใหม่กับ เก่าเข้าด้วยกันต่างหาก ที่ยิ่งท�ำให้ผู้หญิงถูกกดขี่ทางเพศหนัก เรื่องราวของ “แก้วกิริยา” ในขุนช้างขุนแผนจึงซับซ้อนเกินกว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ (13)
ที่ชาวเราผู้มองด้วยอคติสมัยใหม่จะแลเห็นและสรุปเหมาเอาง่ายๆ ว่า ชะตากรรมของเธอก็เหมือนกับ “แก้วกลางสลัม”, “แก้วกลางซ่อง” และ “แก้วกลางอ่าง” ในปัจจุบันแค่นั้นเอง โศกนาฏกรรมของผู้หญิงไทยทุกวันนี้ที่แท้จริงไม่ใช่เป็นเรื่อง ของความคิดกดขี่ทางเพศที่ตกทอดมาจากอดีตง่ายๆ แค่นั้น, หากแต่ เป็นเรื่องราวของผู้ที่พลัดพรากจาก-และถึงจุดหนึ่งก็กระทั่งปฏิเสธ รากเหง้าในอดีตของตนแต่ก็ไม่มีลู่ทางแท้จริงที่จะก้าวต่อไปในอนาคต “สวช. ชี้ วั ฒ นธรรมกั บ การพั ฒ นา เศรษฐกิ จ ตั ว ท� ำ ลาย วัฒนธรรม” (หน้า ๑๒) ฟังดูอาจจะคุ้นหูเข้าท่าดี แต่ผมคิดว่าน่ากลัว เพราะถ้าปัญหา มั น เรี ย บง่ า ยอย่ า งที่ หั ว ข้ อ ข่ า วสรุ ป คื อ ต้ อ งเลื อ กเอา “เศรษฐกิ จ ” หรือ “วัฒนธรรม” อันใดอันหนึ่งจริง, นั่นก็หมายความว่าถ้าเราเลือก “เศรษฐกิจ” ก็ต้องปล่อยให้ “วัฒนธรรม” ถูกท�ำลายไป และในทาง กลับกัน ถ้าเราเลือกอนุรักษ์ “วัฒนธรรม” ก็ต้องท�ำลาย “เศรษฐกิจ” กระนั้นหรือ? ตั้งโจทย์แบบนี้ก็แพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้งเพราะมันเป็นทางเลือกเทียม ผู้ที่อ่านผ่านตาข้อเขียนของอาจารย์นิธิเรื่อง “แห่นางแมวกับ ‘วิกฤต’ ในวัฒนธรรมชาวนา”, “สงกรานต์ : วิถีชีวิตไทยที่เปลี่ยน แปลง”, “พิธีกรรมไหว้ครูส�ำหรับมหาวิทยาลัยไทยปัจจุบัน”, “อุตสาห กรรมท่องเที่ยวกับผลกระทบต่อวัฒนธรรม”, “ประตูท่าแพและดอย สุเทพ” ย่อมตระหนักดีว่าปัญหาไม่ใช่การเลือกเอาอันใดอันหนึ่งระหว่าง เศรษฐกิจกับวัฒนธรรม แต่คือ ด้านหนึ่ง, เศรษฐกิจที่ผลิตเพื่อการยังชีพของชาวนา ซึ่งเคย จรรโลงวัฒนธรรมแบบเก่าเอาไว้ได้สลายตัวไปแล้ว อีกด้านหนึ่ง, ชาวนาปัจจุบันต้องก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจที่ผลิตเพื่อ ตลาดทุนนิยม โดยไร้พลังทางวัฒนธรรมที่จะไปรับมือความเปลี่ยน (14) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
แปลงและวิกฤตสังคมเศรษฐกิจในระบบใหม่นั้น ทางออกจึงไม่ใช่เลือกเศรษฐกิจแล้วท�ำลายวัฒนธรรม, หรือ เลือกวัฒนธรรมแล้วท�ำลายเศรษฐกิจ แต่คือการสร้างทางเลือกตัว เลือกอื่นๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเพิ่มทวีกว้างขวางขึ้นแก่ ประชาชนไทย เช่น เปิดโอกาสสร้างเงื่อนไขสนับสนุนเอื้ออ�ำนวยให้ทางเลือก ใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ อาทิ การพยายามสร้างเศรษฐกิจพึ่งตนเองแบบ วนเกษตรของผู้ใหญ่บ้าน วิบูลย์ เข็มเฉลิม ได้เกิดขึ้นมาเป็นฐานรองรับ การฟื้นฟูวัฒนธรรมแบบเก่า เพื่อที่ชาวบ้านจะได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ตลาดแบบใหม่ได้อย่างช้าๆ มั่นคง รอบคอบ มีเกียรติมีศักดิ์ศรี และมี พลังทางวัฒนธรรม หรื อ เอาวิ ถี ชี วิ ตไทยที่ เ ป็ น จริ งในปั จ จุ บั น เป็ น ตั ว ตั้ ง เลิ ก มอง วัฒนธรรมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แช่แข็งตายตัวที่เปลี่ยนไม่ได้ เลิกไม่ได้ตาย ไม่ได้ ตรงกันข้ามควรปล่อยให้วฒ ั นธรรมทีห่ มดหน้าทีท่ างสังคมเปลีย่ น ไปเลิกไปตายไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป อย่าไปแบกนิ่งไว้หรือปลุกผี รื้อฟื้นท�ำเทียมขึ้นมาให้เป็นภาระแก่ผู้ที่ยังอยู ่ แล้วปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเพณีเก่า แสวงหาพลังของวัฒนธรรมประเพณีเก่าที่สนองตอบต่อ และปรับให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยปัจจุบันได้ ในความพยายามทั้ ง สองอย่ า งนี้ ความเชื่ อ ที่ ว ่ า การพั ฒ นา เศรษฐกิจมีแต่เส้นทางสายนี้เส้นทางเดียว ไม่มี ไม่คิดว่าจะมีหรือไม่ ยอมให้มีทางเลือกอื่น, ความเชื่อที่ว่าต้องอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเดิมไว้ แบบไม่ยอมให้เปลี่ยน เป็นตายยังไงก็ต้องไม่เปลี่ยน รังเกียจทุกการ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณี ถือมันเป็นความเสื่อมทรุดเลวทรามลง ลูกเดียว มิไยว่ามันจะหมดหน้าที่ทางสังคมต่อวิถีชีวิตจริงในปัจจุบัน ไปถึงไหนต่อไหนแล้วก็ตาม, ล้วนแล้วแต่จะน�ำไปสู่ทางตีบตัน หยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมาเปิดดูเพียงฉบับเดียวเท่านี้ ก็คงเห็นได้ แล้วว่าคู่มืออ่านวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยของอาจารย์นิธิที่ท่านถืออยู่ใน มือ อ่านคุ้มดีมีประโยชน์เพียงไร นิธิ เอียวศรีวงศ์ (15)
ไวยากรณ์การคิดทางวัฒนธรรม ที่นิธิผลิตสิ่งที่ผมเห็นว่าเป็น “คู่มืออ่านวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย” ออก มาได้ ก็เพราะบทบาทที่เขาบ�ำเรอบริการให้แก่สังคมวัฒนธรรมไทย คือเป็น อาลักษณ์ผู้จดบันทึกวัฒนธรรมไทยในระยะหัวเลี้ยว หัวต่อของการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์ จากเศรษฐกิจเพื่อการยังชีพ มาสู่เศรษฐกิจการตลาด จากสังคมเกษตรกรรม มาสู่สังคมอุตสาหกรรมและสารสนเทศ จากวิ ถี ชี วิ ต ตามประเพณี แ บบเก่ า ซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ยชุ ม ชน ชาวนากับราชส�ำนักของเทวราชา มาสู่วิถีชีวิตสมัยใหม่ซึ่งประกอบไป ด้วยโลก-เมือง-และชนบทซึ่งขึ้นต่อเมือง ที่เชื่อมโยงถึงกันโดยเครือข่าย ตลาดสินค้าและผู้บริโภคทั้งในระดับชาติและข้ามชาติ แน่นอนว่าบันทึกแบบนี้มีผู้จดมาก แต่ความแตกต่างโดดเด่น ของนิธิอยู่ตรง สิ่งที่เขาบันทึก และ วิธีการอ่านหรือสังเกตเฉพาะตัว ของเขา ไม่ว่าจะพูดถึงของเก่าอย่างแห่นางแมว, สงกรานต์ และการ ไหว้ครูหรือของใหม่อย่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, โฆษณาทีวี และ ปฏิทินแม่โขง ไม่ว่าจะพูดถึงของท�ำเทียมเลียนแบบอย่างประตูท่าแพที่สร้าง ใหม่แบบเก่าหรือเก่าแบบใหม่, สาวเครือฟ้าในฝันของคนกรุงเทพฯ, พระเจ้าตากในความจ�ำราชการ และกระบวนการประเมินต�ำแหน่งวิชา การของ ก.ม. หรือของจริงอย่างดอยสุเทพที่แล้งตาย, แม่อุ๊ยแก่ชาว เชียงใหม่ในชีวิตจริง, เสด็จแม่ย่านกเอี้ยงในความจ�ำท้องถิ่น และผล งานเปิดโลกใหม่ทางวิชาการไทยศึกษาของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ไม่ว่าจะพูดถึงของรูปธรรมอย่างข้าว, หาบเร่, ผ้าซิ่น, นมและ รักแร้ผู้หญิง หรือของนามธรรมอย่างความคิดเรื่องเวลา, พื้นที่, พุทธ และไสย ไม่ว่าจะพูดถึงของและคนที่ถูกยกไว้สูงอย่างอนุสาวรีย์วีรบุรุษ, พระศาสนา, เจ้านาย และทัวริสต์ต่างชาติ หรือของและคนที่ถูกเหยียด (16) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
ไว้ต�่ำอย่างขุนเพ็ด, รูปโป๊, โสเภณี, หมอนวด, เจ๊ก, บริกรและคนใช้ ในโรงแรม สิ่งที่นิธิเลือกบันทึกคือ ไวยากรณ์การคิดที่เปลี่ยนไปซึ่งก�ำกับ อยู่เบื้องลึกเบื้องหลังวัฒนธรรมประเพณีที่เปลี่ยนไป ส่วนวิธกี ารสังเกตหรืออ่านของเขานัน้ ประกอบไปด้วย แนวมอง เปรียบเทียบเชิงประวัติศาสตร์, ด้วยสายตา ค�ำถาม และความสนใจ ใส่ใจแบบนักมานุษยวิทยา (anthropologically-informed comparative historical perspective), ซึ่งท�ำให้เขาอ่อนไหวต่อลักษณะสัมพัทธ์ของ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาละ เทศะ ประวัติ ศาสตร์และวัฒนธรรม (historico-cultural relativism) เป็ น วิ ธี ก ารที่ พู ด ง่ า ยกว่ า ท� ำ เพราะในกระบวนการอ่ า นหรื อ สังเกตแบบนั้น ต้องสวมจิตใจลัทธิแก้แหกคอกนอกกรอบที่พร้อมจะ มองทะลุทะลวงข้ามพ้นอคติหรือจริตมากหลาย อีกทั้งพร้อมจะเป็น เสียงข้างน้อยที่เห็นต่างจากทรราชเสียงข้างมาก อาทิ - อคติอันเกิดจากความจ�ำของราชการ (“ไปเมืองตาก สืบค้น เรื่อง ‘พระเจ้าตาก’ แต่พบ ‘แม่’ พระเจ้าตาก”) - จริตทุนนิยม, วิทยาศาสตร์, วิกตอเรียน, พุทธศาสนา, ราช ส�ำนัก, ชนชั้นกลาง (“แห่นางแมวกับ ‘วิกฤต’ ในวัฒนธรรมชาวนา”) - อุดมคติของนักอนุรักษ์เกี่ยวกับประเพณีเก่าอันไม่มีอยู่จริง (“สงกรานต์ : วิถีชีวิตไทยที่เปลี่ยนแปลง”) - การอายความเป็นตัวของเราเอง (“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กับผลกระทบต่อวัฒนธรรม”) - สายตาสมัยใหม่ที่เน้นความเสมอภาคระหว่างเพศและความ เป็นปัจเจกบุคคล (“ผ้าขาวม้ากับผ้าซิ่นและกางเกงใน”) - จินตนาการในฝันของเจ้าอาณานิคมที่ไปครอบง�ำความเป็น จริงของชาวอาณานิคม (“สาวเครือฟ้า : ฝันที่เป็นจริง”) - คติพื้นที่สมัยใหม่แบบวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์วัตถุนิยม (“พื้นที่ ในคติไทย”) - ความขวยอายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยมของฝรั่ง นิธิ เอียวศรีวงศ์ (17)
ท�ำให้ขีดเส้นเหยียดไสย แยกไสย กีดกันไสย ไล่ไสยออกไปนอกพุทธ ศาสนา โยนไสยให้เป็นเรื่องของฮินดู ไม่ยอมรับว่า “ไสย-ศาสน์” เป็น ของไทย (“พุทธกับไสย”) - การยกตนข่ ม ท่ า นทางวั ฒ นธรรม (“ท� ำ ไมคนไทยถึ ง กิ น ‘ข้าว’?”) - การลอกค่านิยมมิติเดียวของวิชาการอเมริกัน (“ศาสตราจารย์ ของ ก.ม.”) - การกดเก็บหรือปฏิเสธความรู้สึกและที่ตั้งทางกามารมณ์ ทั้งที ่ มันเป็นธรรมชาติวิสัยของมนุษย์ (“เรื่องโป๊ๆ เปลือยๆ”) - เกมส่งสารแฝงล่อใจของเผด็จการโฆษณา (“แล้วเราก็รักกัน ...ใน ‘โฆษณา’”) - อคติโทษเจ๊กเป็นผู้ร้ายทางภาษาและวัฒนธรรม (“คนกรุง เทพฯ พูดเหน่อเจ๊กจริงหรือ?”) ฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯ การพยายามข้ามพ้นอคติและจริตส่วนตัวข้างในตัวของเราเอง เหล่านี้มีความจ�ำเป็นต่อการฝึกฝนตัวเองให้เป็นนักอ่านวัฒนธรรมที่ด ี เพราะมันจะช่วยให้เราไม่ยึดติด สามารถที่จะปลีกตัวหลุดพ้นจากจุดยืน ของเราไปได้บ้างไม่มากก็น้อย ช่วยให้เราไม่อ่านและประเมินค่าทุก วัฒนธรรมในโลกอย่างคับแคบผ่านแว่นและคุณค่าที่มีลักษณะเฉพาะ ของสังคมวัฒนธรรมตัวเองเท่านั้น และดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะเข้าถึง และเข้าใจ (โดยไม่จ�ำเป็นจะต้องเห็นด้วย) ซึ่งอัตวิสัยของผู้คน ชุมชน และสังคมต่างวัฒนธรรมซึ่งมีไวยากรณ์การคิดต่างออกไป รู้จักที่จะ ลองหัดมองโลกอ่านโลกด้วยสายตาของผู้อื่นบ้าง ดังที่นิธิกล่าวไว้บาง ตอนว่า : “ถ้าเราจะศึกษามนุษย์อย่างภววิสัย ก็ต้องยอมรับความเป็น อัตวิสัยไว้ด้วย” (“เรื่องโป๊ๆ เปลือยๆ”) “และสิ่งทั้งหลายนั้นมันแปลกอยู่ได้ ก็เพราะเราดูมันจากจุดยืน ของเราเอง” (“อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับผลกระทบต่อวัฒนธรรม”) (18) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ
คู่มืออ่านไวยากรณ์ต่างวัฒนธรรมของอาลักษณ์ผู้นี้จึงท�ำหน้าที ่ เสมือนเป็น ล่ามแปลความหมายให้คนไทยได้สนทนากับคนไทยด้วยกัน ผู้อยู่ต่างถิ่นต่างเวลาต่างวัฒนธรรมจากตัว รวมทั้งสนทนากับตัวเราเองด้วย
วาทกรรมความเป็นไทยสามแบบ ผมหมายความเช่นนั้นจริงๆ ว่านิธิช่วยให้เราได้สนทนากับตัวเองทาง วัฒนธรรม ถกเถียงทะเลาะเบาะแว้งกับตัวเอง วิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง ทางวัฒนธรรม ในยุ ค สมั ย ที่ พ วกเราก� ำ ลั ง ถู ก กระแสความเปลี่ ย นแปลงทาง เศรษฐกิจสังคมกระโชกพัดหลุดจากสายใยพันธะตามประเพณีต่อครอบ ครัว โบสถ์วัดและชุมชนดั้งเดิมของตัวเองมาลอยเท้งเต้งเคว้งคว้าง อยู่กลางเมือง เป็นหน่วยอะตอมปัจเจกบุคคลเล็กๆ ไร้สังกัด ผู้อยาก อยู่อย่างมีความหมาย อยากให้ความหมายและแสวงหาความหมาย ให้แก่ชีวิตของตัวเองผ่านการบริโภคสินค้าสัญลักษณ์ในตลาดชาติและ ตลาดโลก เพราะนั่นดูจะเป็นหนทางเดียวในการเติมชีวิตให้เต็มส�ำหรับ เสรีชนไร้ราก ท่ามกลางแรงกดดันบีบคั้นของพลังรัฐราชการและธุรกิจ เอกชนที่พยายามจับเรายัดใส่ “กล่อง” (“พื้นที่ในคติไทย”) ให้เรียว เหลือมิติเดียว การนั่งลงสงบ อ่านงานของนิธิเงียบๆ ช่วยให้เราได้ยินเสียง ข้างในของเราแผ่วแว่วแล้วค่อยดังสนั่นขึ้นหลากหลายเสียง บ้างก็สอด บรรสานและบ้างก็เสียดทานขัดแย้งกัน ในนั้นมีอยู่สามเสียงที่เรารู้จักจ�ำได้ด้วยความอัศจรรย์ใจ เสียงแรก, เป็นตัวแทน “สิ่งที่เราไม่เคยเป็น” มันคืออุดมคติ ความเป็นไทยในอดีตที่นักอนุรักษ์อ้างว่าเราเคยเป็นมาอย่างนั้นจริงๆ มันถูกเสกสรรปั้นแต่งไว้อย่างน่ารื่นอภิรมย์หรูวิจิตรตระการตา เพื่อ ยั่วยุให้เราอยากเป็นไทยอย่างในอุดมคติ อยากเป็นไทยเหมือนในอดีต นิธิ เอียวศรีวงศ์ (19)