โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
The One World Schoolhouse Salman Khan
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2558
โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน • อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล จากเรื่อง The One World Schoolhouse: Education Reimagined ของ Salman Khan Copyright © 2015 by Matichon Publishing House. All rights reserved. THE ONE WORLD SCHOOLHOUSE by Salman Khan © 2012 Copyright arranged with: InkWell Management LLC 521 Fifth Ave, 26th Floor, New York, NY. 10175, USA. through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, กุมภาพันธ์ 2558
ราคา 200 บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม คาน, ซาลมาน. โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. 248 หน้า. 1. การศึกษา I. อำ�นวย พลสุขเจริญ, ผู้แปล II. ชื่อเรื่อง 370 ISBN 978 - 974 - 02 - 1375 - 8 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี บรรณาธิการพิเศษ : ดร.สิรพัฒน์ ประโทนเทพ • บรรณาธิการเล่ม : ทิมา เนื่องอุดม พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม • กราฟิกเลย์เอาต์ : อัสรี เสณีวรวงศ์ ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ 5 ค�ำนิยม 8 ค�ำน�ำผู้แปล 13 บทน�ำ 20 ตอนที่ 1 เรียนรู้การสอน สอนนาเดีย 34 วิดีโอที่ไม่เลอะเทอะ 44 เน้นที่เนื้อหา 49 การเรียนการสอนแบบรู้จริง 52 การศึกษาเกิดขึ้นอย่างไร 58 อุดช่องโหว่ 65 ตอนที่ 2 ระบบที่ล้มเหลว ท้าทายขนบ 72 ระบบปรัสเซียน 84 เรียนแบบสวิสชีส 91 ข้อสอบและการทดสอบ 98 ก�ำกับความคิดสร้างสรรค์ 103 การบ้าน 107 การพลิกห้องเรียน 118 เศรษฐศาสตร์ของโรงเรียน 122
ตอนที่ 3 สู่โลกจริง ทฤษฎีปะทะปฏิบัติ 130 ซอฟต์แวร์คานอะคาเดมี่ 135 ก้าวสู่ห้องเรียนจริง 141 สนุกกับเกม 149 ทุ่มสุดตัว 153 ปฏิบัติการลอส อัลตอส 161 การศึกษาส�ำหรับทุกวัย 170 ตอนที่ 4 โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน ยิ้มรับความไม่แน่นอน 178 เมื่อครั้งผมเป็นนักเรียน 181 หัวใจแห่งโรงเรียนห้องเดียว 188 สอนแบบทีมกีฬา 193 ยุ่งเหยิงอย่างมีระเบียบเป็นสิ่งดี 197 นิยามฤดูร้อนเสียใหม่ 200 อนาคตของใบรับรองผลการศึกษา 204 ให้โอกาสผู้ด้อยโอกาส 211 อนาคตของการรับรองวุฒิการศึกษา 218 มหาวิทยาลัยจะเป็นเช่นไร 221 บทสรุป 233 กิตติกรรมประกาศ 242 หมายเหตุ 244 รู้จักผู้เขียน 248
... ก่ อ น เ ข้ า เ รี ย น ...
ซาลมาน คาน หรือซาล เป็นอดีตพนักงานกินเงินเดือนชาว
อเมริกันเชื้อสายอินเดีย-บังกลาเทศธรรมดาๆ แต่ความฝันและความ มุ่งมั่นหนุนให้ไฟในใจของซาลไม่เคยมอดดับไป ทุกวันนี้ซาลคือผู้ก่อตั้ง Khan Academy องค์กรไม่แสวงก�ำไรที่ มุ่งให้การศึกษาฟรีแก่คนทั่วโลก เขาตอบตัวเองได้วา่ ชอบงานสอน (แม้จะไม่ใช่ผยู้ งิ่ ใหญ่ในแวดวง การศึกษาพ่วงด้วยวิทยฐานะน่าเกรงขามเลย) แต่สิ่งที่ซาลพบเห็นรับรู้ มาตลอดชีวิตก็คือปัญหาและช่องโหว่ของระบบการศึกษาที่ยังด�ำเนิน ต่อเนื่องมาจนล้าสมัย ไม่ตอบสนองความเป็นไปของโลกปัจจุบันได้อีก แล้ว ประเด็นที่ซาลให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษจึงไม่ใช่เนื้อหา แต่เป็นวิธี การถ่ายทอดบทเรียน ซึ่งขาดการเชื่อมโยงองค์ความรู้และบรรยากาศที่ สร้างแรงจูงใจให้ผเู้ รียน เด็กๆ เรียนรูแ้ บบ “สวิสชีส” คือ “แข็งนอกพรุน ใน” ไม่มีพื้นฐานที่มั่นคงเต็มเปี่ยม เพราะมัวแต่ก้าวให้ทันตามจังหวะ ของห้องเรียน ทั้งๆ ที่การเข้าใจเร็วก็ไม่ได้การันตีว่าจะเข้าใจถ่องแท้ โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
5
การศึกษาไม่ใช่เรื่องเฉพาะทางของใคร ทว่าเป็นปัจจัยที่คนส่วน ใหญ่มักละเลย จะว่าไปแล้วปัญหาเรื่องการศึกษาไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เคย ปรากฏผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบมาแล้ว อาทิ Dead Poets Society ภาพยนตร์เรื่องดังแห่งปี 1989 ที่น่าจะยังอยู่ในใจของใครหลายคน ซึ่ง น�ำเสนอภาพห้องเรียนส�ำเร็จรูปในโรงเรียนกินนอน(สมมุติ)ระดับเตรียม อุดมศึกษาชั้นเลิศในสหรัฐ และปมปัญหาที่มาจากครูคนใหม่นามว่า John Keating ผู้มาพร้อมวิธีการสอนแหกขนบ ชนิดที่พลิกชั้นเรียน วรรณคดีแบบอนุรักษนิยมให้สะดุ้งตื่นจากการหลับใหลไร้สติ Keating เป็นครูประเภทที่ติดตามถามข่าว พูดคุยแลกเปลี่ยน ความเห็น เน้นให้นักเรียนแต่ละคนได้แสดงความเป็นตัวเอง รวมถึง เป็นแบบอย่างด้านแรงบันดาลใจให้นักเรียน แต่พฤติกรรมของเขาฉีก จากแนวทางและระเบียบปฏิบัติที่ท�ำตามกันมามากเกินไป ประจวบกับ เหตุสลดใจของลูกศิษย์รายหนึ่ง Keating จึงต้องพ่ายแพ้ต่อกระแสต้าน ทานจากระบบดั้งเดิม ทว่าเขาก็ได้จุดประกายสร้างสรรค์ขึ้นในใจของ ลูกศิษย์ เรียกได้วา่ ซาลมาน คาน เป็นภาพสะท้อนบางมุมของครู Keating ในโลกความจริง เขามองว่าระบบการศึกษาควรยืดหยุน่ ได้ วิธกี ารใหม่ๆ ที่ได้ผลและช่วยทุ่นงบประมาณควรได้รับโอกาสน�ำมาใช้ เช่นเทคโนโลยี ที่เอื้อให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความเป็นมนุษย์มากขึ้นจากการปฏิ สัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันและครูผู้สอน ส�ำหรับซาล ผู้เรียนคือ คนส�ำคัญ เมื่อผู้เรียนแต่ละคนมีแนวทางการเรียนของตนที่แตกต่างกัน ไป ผู้สอนหรือผู้มีอ�ำนาจจึงไม่สมควรก�ำหนดทิศทาง หรือกระทั่ง “ยัด เยียด” ชุดข้อมูลทีค่ ดั สรรมาแล้วป้อนให้ ฉะนัน้ จะดีแค่ไหนถ้าโรงเรียน ไม่มีระบบห้องคิง-ห้องบ๊วย แต่นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ใน ระดับเดียวกันได้ตามจังหวะของแต่ละคน อีกทั้งความรู้ในต�ำราก็ควรได้ รับการเติมเต็มจากสถานการณ์จ�ำลองในชีวิตจริง เพราะการพลิกแพลง จากประสบการณ์คือครูที่ดีกว่าทฤษฎีไหนๆ 6
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
และที่มากกว่าแนวคิดทางเลือก สิ่งที่ซาลอยากแบ่งปันให้ผู้ใฝ่ เรียนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับฐานะ ก็คือ “โอกาส” ที่จะเข้าถึง การศึกษา “โอกาส” ที่จะไม่มองตนเองด้อยค่าเพียงเพราะความผิด พลาดเล็กๆ น้อยๆ และสุดท้ายคือ “โอกาส” ที่ย�้ำเตือนว่าไม่มีใครสาย เกินเรียน... ส�ำนักพิมพ์มติชน
โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
7
คำ�นิยม
ผมได้อ่านหนังสือ โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน ที่แปลจากเรื่อง
The One World Schoolhouse ของซาลมาน คาน (Salman Khan) เมื่ออ่านแล้วต้องชื่นชมว่า ซาลมาน คาน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นคน กล้าคิดกล้าตั้งค�ำถาม กล้าคิดแปลกคิดต่างอย่างที่คนส่วนใหญ่อาจไม่ เคยคิดไม่เคยตั้งค�ำถามมาก่อน ที่ส�ำคัญยังกล้าท�ำในสิ่งที่คิดและน�ำเอา ผลที่ได้ท�ำตามความคิดนั้นมาเล่าสู่กันฟังอีกด้วย เราเคยชินกับระบบการศึกษาปัจจุบันที่ก�ำหนดว่าเมื่อเด็กเกิดมา อายุถึงเกณฑ์ จะต้องเข้าโรงเรียน เด็กที่อายุเท่ากันก็ต้องเรียนอยู่ในชั้น เดียวกัน มีการก�ำหนดว่าเด็กต้องเรียนอยู่ ในโรงเรียนกี่ปีจึงจะจบการ ศึกษาในแต่ละระดับ มีหลักสูตรที่ก�ำหนดแน่นอนว่าแต่ละปีต้องไป โรงเรียนกีว่ นั แต่ละวันต้องเรียนกีค่ าบ แต่ละคาบเรียนกีน่ าที แต่ละวิชา ต้องเรียนกี่คาบกี่วัน เด็กทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันหมดราวกับว่า ทุกคนมีรูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้เหมือนกัน มีอัตราการเรียนรู้เท่ากัน ใครเป็นผู้ก�ำหนดไว้เช่นนั้น ท�ำกันมาตั้งแต่สมัยไหน กี่ร้อยปีมาแล้ว และท�ำไมจึงท�ำเช่นนั้น ผลที่ได้เป็นอย่างไร ขณะนี้โลกเปลี่ยนแปลง 8
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
ไปจากเมือ่ 100 ปี 10 ปี 5 ปี หรือแม้แต่ปที แี่ ล้วมากมาย ทว่าเราเคย มีแนวคิดที่จะแหวกม่านประเพณีเหล่านี้กันบ้างหรือไม่ ผู้เขียนหนังสือ เล่มนี้ได้ตั้งค�ำถามและตอบค�ำถามดังกล่าวไว้อย่างแยบยล ทั้งยังเสนอ แนวคิดและน�ำผลที่ได้จากการน�ำแนวคิดของตนเองไปปฏิบัติมาเสนอ ในหนังสือเล่มนี้อีกด้วย ซาลมาน คานได้เสนอแนวคิดจัดการการศึกษาโดยน�ำเทคโนโลยี การเรียนออนไลน์มาผสมผสานใช้งานอย่างชาญฉลาด รวมถึงให้ราย ละเอียดเกีย่ วกับโรงเรียนในฝันตามแนวคิดของเขาไว้อย่างชัดเจน นอก จากนี้เขายังได้วิเคราะห์และให้ข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการศึกษา แบบปรัสเซีย การเรียนแบบสวิสชีส การเรียนการสอนแบบรู้จริง การ ให้การบ้าน ห้องเรียนกลับทาง ข้อสอบและการทดสอบ การให้โอกาส ผูด้ อ้ ยโอกาส การจัดกิจกรรมภาคฤดูรอ้ น การรับรองวุฒกิ ารศึกษา ฯลฯ ซาลมาน คานผันตัวเองจากอาชีพที่มั่นคง รายได้สูง มาตั้งคาน อะคาเดมี ่ (Khan Academy) จากจุดเริม่ ต้นเล็กๆ ทีด่ เู หมือนไม่มอี นาคต ที่ชัดเจน แต่เขาได้ทุ่มเทพลังทั้งกายทั้งใจสร้างมัน จนกลายเป็นผลงาน ที่เป็นที่ยอมรับ เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ปัจจุบันมีผู้เรียนจากทุกภูมิ ภาคของโลกใช้งานบทเรียนออนไลน์ของคานอะคาเดมีแ่ ต่ละเดือนสูงกว่า 6 ล้านคน และที่ส�ำคัญคือทุกคนสามารถเข้าเรียนจากมุมไหนของโลก ก็ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผลงานดังกล่าวท�ำให้ซาลมาน คานได้รับเลือกเป็นนักการศึกษา หนึ่งในร้อยคนที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกในปี 2012 จากนิตยสารไทม์ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเรียนทางด้านการศึกษามาก่อน ผมอยากเห็นทุกๆ คน ตั้งแต่ผู้ก�ำหนดนโยบายทางการศึกษา ผู้ บริหารการศึกษา ครูอาจารย์ ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครอง ได้มีโอกาส อ่านหนังสือเล่มนี้เพื่อศึกษา ถกเถียง โต้แย้ง และร่วมมือผนึกก�ำลัง ช่วยกันปฏิรูปการศึกษาไทยซึ่งมีความจ�ำเป็นเร่งด่วนที่สุด สุดท้ายต้องขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มติชน และโดยเฉพาะอ�ำนวย พลสุขเจริญ (ตี๋) ผู้แปล ที่ท�ำให้คนไทยได้มีโอกาสอ่านหนังสือดีๆ เล่ม โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
9
นี้ อ�ำนวยเป็นคนรุ่นใหม่ ระหว่างยังเป็นนักเรียน นอกจากจะมีผลการ เรียนระดับแนวหน้าแล้ว ยังเป็นนักจัดกิจกรรมตัวยงอีกด้วย ในอดีตเคย เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกนานาชาติ และขณะนี้ ได้รับทุน พสวท. ก�ำลังศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Computational andMathematical Engineering ที่ Stanford University ยิ่งกว่านั้น ขณะนี้อ�ำนวยก�ำลังแปลบทเรียนออนไลน์ของคาน อะคาเดมี่เป็นภาษาไทย และมีแผนจะน�ำมาให้นักเรียนไทยได้ใช้เรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และที่ส�ำคัญ อ�ำนวยได้แสดงเจตนารมณ์เพื่อน�ำ รายได้จากการแปลหนังสือเล่มนี้ไปสบทบทุนคานอะคาเดมี่ภาคภาษา ไทยอีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นผู้มีกุศลจิตอันยิ่งใหญ่ ธงชัย ชิวปรีชา 16 พฤศจิกายน 2557
อดีตผู้อ�ำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และอดีตผู้อ�ำนวยการ สสวท.
10
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
คำ�นิยม
โลกเราก�ำลังเข้าสู่ยุค Knowledge Economy อย่างเต็มตัว และเป็น
ยุคทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงอย่างมหาศาลในอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในประวัตศิ าสตร์มนุษยชาติ มันเป็นยุคที่ไม่วา่ จะอยูม่ มุ ไหนของโลก ขอ แค่คนธรรมดาๆ มีไอเดีย มีสมอง มีสองมือ และสามารถใช้เทคโนโลยี ให้เป็นประโยชน์ ก็สามารถสร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกทั้งโลกได้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในยุค Knowledge Economy ย่อมหนี ไม่พ้นเรื่องของ “การศึกษา” แต่ทว่ากลับเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างมากที่ ระบบการศึกษาของหลายๆ ประเทศ หรือแม้กระทั่งประเทศที่พัฒนา แล้วแถวหน้าของโลกอย่างอเมริกา กลับล้าหลัง ตกยุค และปรับตัวไม่ ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกจนน่าผิดหวัง แต่วันนี้คนธรรมดาๆ คนนึง กลับกล้าที่จะลุกขึ้นมาปฏิวัติระบบ การศึกษาของโลก เพือ่ ให้คนทุกคนไม่วา่ จะอยูม่ มุ ไหนของโลกก็สามารถ เข้าถึงการศึกษาระดับโลกแบบเดียวกับลูกของบิลล์ เกตส์ ด้วย แนวคิด การสร้างเว็บไซต์คานอะคาเดมี่ที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นโรงเรียนส�ำหรับ โลกทั้งใบที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงการศึกษาระดับโลกได้ฟรีๆ และมัน โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
11
ก็เจ๋งมากจนบิลล์ เกตส์ถึงกับชมออกสื่อ รวมทั้งให้เงินทุนสนับสนุน หลังจากที่บิลล์ เกตส์พบว่า แม้แต่ลูกสาวของตัวเองก็เป็นนักเรียนของ เว็บไซต์แห่งนี้ หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นและสุดแสนจะมหัศ จรรย์ของซาล คาน ผูก้ อ่ ตัง้ คานอะคาเดมี ่ ตัง้ แต่จดุ เริม่ ต้น แนวคิด และ วิสัยทัศน์ของเขา รวมทั้งอุปสรรคและความยากล�ำบากในเส้นทางแห่ง การปฏิวัติการศึกษาระดับโลก คุณจะได้รับทั้งความรู้ แนวคิด และแรงบันดาลใจอย่างมหาศาล และผมหวังว่าหลังจากที่คุณอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว บางทีคุณเองก็ อาจจะอยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงโลกในแบบของคุณ และเป็นซาล คานอีกคนก็ได้ เรืองโรจน์ “กระทิง” พูนผล อดีต Global lead Marketing Manager ของ Google Earth, ผู้ก่อตั้ง “Disrupt” และ 500Startups
12
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
คำ�นำ�ผู้แปล
ตั้งแต่เล็กจนโต ผมได้ยินเสียงคร�่ำครวญเกี่ยวกับปัญหาการศึกษา
อยู่เสมอ คนส่วนใหญ่มองปัญหาการศึกษาว่าไม่สามารถแก้ไขได้ ยิ่ง มองว่าคนคนเดียวจะท�ำอะไรได้ ยิ่งไม่เห็นทางออก ผมเองก็เคยคิด แบบคนส่วนใหญ่และเพิกเฉยกับปัญหาดังกล่าว โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน (The One World School- house) เป็นเรื่องราวของคนที่ไม่ยอมเพิกเฉย และกล้าลุกขึ้นมาแก้ ปัญหาการศึกษาแม้จะต้องเริม่ ต้นเพียงตัวคนเดียว คนผูน้ นั้ คือซาลมาน คาน นักการศึกษาผู้ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในร้อยคนที่ทรงอิทธิพล ที่สุดในโลกในปี 2012 โดยนิตยสารไทม์ ในหนังสือเล่มนี้คุณจะได้รู้ว่า ซาลเข้ามาสู่แวดวงการศึกษา และลงมือแก้ปัญหาการศึกษาของเขา ได้อย่างไร ในระหว่างที่สนุกสนานและลุ้นระทึกกับชีวิตราวกับนิยาย ของตัวผู้เขียนเอง คุณจะได้รู้จักปัญหาการศึกษาซึ่งมีมิติและแง่มุมลึก ซึ้ง รวมถึงวิธีการแก้ของซาลที่สร้างสรรค์หรือแม้กระทั่งแหวกแนวแต่ ปฏิบัติได้จริง บทเรียนส�ำคัญอีกอย่างที่คุณจะได้จากหนังสือเล่มนี้ คือ พลังบวกทีจ่ ะพัฒนาตนเอง ยิม้ รับบทเรียนจากความล้มเหลว และซึมซับ โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
13
แรงกายแรงใจจากคนรอบข้าง แม้ผู้คนมากมายมองว่าซาลมาน คาน เป็นผู้ประสบความส�ำเร็จแล้ว แต่ตัวซาลเองยังคงก�ำลังแก้ปัญหาการ ศึกษาระดับโลก ยังเผชิญอุปสรรคและฝ่าฟันเพื่อโลกที่ดีกว่าเช่นกัน หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่เรื่องของภาพวาดที่สวยงามเสร็จสมบูรณ์ แต่เป็น เรือ่ งของต้นไม้ทยี่ งั เติบโตสูแ้ ดดสูฝ้ น และแตกใบอ่อนให้เราได้ชนื่ ชมบ้าง ไม่นานมานี้ ผมได้เห็นคนในสังคมรอบตัวลงมือแก้ปัญหาที่เห็น แม้ความส�ำเร็จจะยังอยู่อีกยาวไกลเช่นเดียวกับที่ซาลมาน คานได้ท�ำ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เริ่มหยิบยกปัญหาการศึกษาไทยมาพิจารณาและ แก้ไขเท่าที่ความรู้ความสามารถของตนจะท�ำได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Teach for Thailand ทีต่ อ้ งการลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางการศึกษา, Asian Leadership Academy ที่ต้องการสร้างความเป็นผู้น�ำและความคิด สร้างสรรค์ ให้นักเรียน และ Junior Educational Translators ที่ต้อง การน�ำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ชั้นน�ำของโลกมาใช้ในประเทศไทย ผม รู้สึกมีก�ำลังใจที่ได้เห็นแปลงต้นกล้าของคนใกล้ตัวเหล่านี้ และจะดีแค่ ไหนถ้าทุกที่เต็มไปด้วยความเขียวชอุ่มจากต้นไม้ที่ทุกคนในสังคมได้ ลงมือปลูกกัน ผมจึงอยากให้หนังสือ โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน เป็นแรงบันดาลใจให้กบั ผูอ้ า่ น ไม่วา่ คุณจะสนใจปัญหาการศึกษาหรือไม่ แต่อย่างน้อยมุมมองการใช้ชีวิตที่แสวงหาการพัฒนา การเรียนรู้ตลอด ชีวิต และมองอุปสรรคเป็นบทเรียน คงเป็นประโยชน์ ในการใช้ชีวิต ประจ�ำวัน ตลอดจนท�ำให้ผู้อ่านลุกขึ้นมาลงมือท�ำสิ่งดีๆ ที่คิดไว้เช่นกัน ผมขอขอบคุณพ่อ แม่ และพี่ฟ้า ที่ท�ำให้ผมเห็นว่าการศึกษามี ค่าแค่ไหน ขอขอบคุณครูบาอาจารย์ทั้งในและนอกห้องเรียนทุกคนที่ มอบบทเรียนส�ำคัญในชีวิตมากมาย ขอขอบคุณอาจารย์สิรพัฒน์ที่ เป็นพี่เลี้ยงช่วยเสนอหนังสือและแปลหนังสือเล่มนี้ออกมาส�ำเร็จ ขอ ขอบคุณกองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์มติชนที่เล็งเห็นคุณค่าของหนังสือ เล่มนี ้ และสนับสนุนคนธรรมดาอย่างผมให้แปลจนลุลว่ ง และขอขอบคุณ กองบรรณาธิการส่วนตัวคือ ชิน ชัชวัสส์ และพี่แอ๋ว นันท์นภัส ที่ช่วย อ่านแก้ก่อนส่งส�ำนักพิมพ์ด้วยครับ 14
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่านทุกคนที่สนใจเรื่องการศึกษา และ อยากท�ำอะไรสักอย่างเพื่อให้โลกของเราดีกว่าที่เป็นอยู่ หากไม่เป็น การรบกวนเกินไป ผมขอเชิญชวนทุกคนอย่าหยุดแค่ความสนใจ ความ อยากรู้อยากลอง มาร่วมลงมือกันท�ำสิ่งดีๆ เพื่อทุกคนกัน ไม่ต้องกังวล ว่าสิ่งที่คุณท�ำจะสูญเปล่าหรือเกิดผลต่อสังคมเพียงเล็กน้อย เพราะนั่น คือวิธพี ฒ ั นาตนเอง และเป็นจุดเริม่ ต้นของการเปลีย่ นแปลงโลกทีส่ ำ� คัญ ทุกครั้งเสมอ และเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ อย่าเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้ ช่วยส่งต่อเมล็ดพันธุ์ทางความคิดเล่มนี้ให้ครูในดวงใจ ลูกศิษย์ของคุณ หรือไม่ก็คนที่คุณอยากให้เขาพัฒนาเป็นผู้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ อ่านดู หรือถ้าอยากเก็บจริงๆ จะอุดหนุนเพิ่มอีกเล่มก็ไม่ว่ากัน รายได้ จากการแปลหนังสือเล่มนี้จะน�ำไปสนับสนุนสมทบทุนคานอะคาเดมี่ ภาคภาษาไทยครับ อ�ำนวย (ตี๋) พลสุขเจริญ t.ponsukcharoen@gmail.com
โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
15
โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
The One World Schoolhouse
จงอย่าจ�ำกัดเด็กๆ ให้อยู่ในกรอบการเรียนรู้ของคุณ เพราะเขาเกิดคนละยุคกับคุณแล้ว รพินทรนาถ ฐากูร
เด็กๆ ควรได้สัมผัสองค์ความรู้ต่างๆ...ตั้งแต่ยังเล็ก แต่ไม่ใช่ด้วยการบีบบังคับ ความรู้ที่ได้จากการบีบบังคับย่อมไม่ติดตรึงในจิตใจ ดังนั้นอย่าบังคับ แต่ปล่อยให้การศึกษาเป็นเรื่องสนุก มันจะช่วยให้คุณค้นพบพรสวรรค์ของเด็กเอง เพลโต The Republic
บทนำ� การศึกษาระดับโลก ฟรีสำ�หรับทุกคน ทุกหนแห่ง
ผมชือ่ ซาล คาน เป็นผูก้ อ่ ตัง้ และครูคนแรกของคานอะคาเดมี ่ สถาบัน
ทีม่ งุ่ มัน่ ให้การศึกษาฟรีแก่ทกุ คนไม่วา่ จะอยูท่ ี่ใดก็ตาม ผมเขียนหนังสือ เล่มนี้เพราะผมเชื่อว่าวิธีที่เราสอนและเรียนกันมานั้นด�ำเนินมาถึงจุด เปลี่ยนในรอบสหัสวรรษแล้ว ระบบชัน้ เรียนแบบเก่าไม่ตอบสนองความต้องการของเราทีเ่ ปลีย่ น ไป เพราะเป็นวิธกี ารเรียนในเชิงรับ ในขณะที่โลกต้องการประมวลข้อมูล ข่าวสารในเชิงรุกมากขึ้นทุกขณะ หลักการพื้นฐานของระบบเก่าคือ การผลักนักเรียนเข้ากลุ่มตามอายุโดยใช้หลักสูตรส�ำเร็จรูปแบบเดียวกัน หมด แล้วหวังว่านักเรียนจะเก็บเกี่ยวเรียนรู้ได้เอง ไม่มี ใครรู้แน่ชัด ว่าระบบดังกล่าวเคยเป็นระบบที่ดีที่สุดเมื่อ 100 ปีที่แล้วหรือไม่ แต่ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดในปัจจุบันอีกต่อไป ในขณะเดียวกัน นั้น เทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างความหวังว่าจะมีแนวทางการเรียนการสอน ที่ให้ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น กลับสร้างความสับสนหรือแม้กระทั่งความ กลัวขึ้นมาอีก เนื่องจากบ่อยครั้งเหลือเกินที่เราน�ำเทคโนโลยีใหม่ๆ อัน เจิดจรัสมาใช้เพียงเพื่อสร้างภาพให้ดูดีเท่านั้น 20
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
เกิดช่องว่างระหว่างระบบการสอนแบบเก่ากับโลกสมัยใหม่ และ เด็กๆ ทั่วโลกก็ตกลงไปในช่องว่างนั้นทุกวัน โลกแปรเปลี่ยนไปด้วย อัตราทวีคูณ ทว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบนั้นถึงแม้จะเกิดขึ้น แต่ก็ด�ำเนินไปอย่างเชื่องช้าและมักมุ่งไปผิดทาง ในทุกๆ วัน ทุกๆ คาบเรียน ช่องว่างระหว่างวิธีการสอนเด็กกับสิ่งที่พวกเขาจ�ำเป็นต้อง เรียนรู้จริงๆ ขยายกว้างออกไปทุกที แน่นอนว่าทุกสิ่งที่ว่านี้พูดง่าย ไม่ว่าจะดีร้ายอย่างไร ทุกวันนี้ ใครๆ ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์การศึกษา แม้แต่ ในการปราศรัยหาเสียง ของนักการเมือง ผู้ปกครองกังวลกันใหญ่ว่าลูกหลานจะล้าหลัง เพราะ อ้างอิงจากมาตรฐานบางอย่างที่แม้จะคลุมเครือและลึกลับ แต่กลับทรง อิทธิพล บ้างก็กลัวว่าลูกหลานจะแพ้คู่แข่งที่นั่งห่างไปสองแถว หรือ ห่างออกไปอีกซีกโลกหนึ่ง การถกเถียงในประเด็นการศึกษาก็เหมือน การพูดเรื่องศาสนา คือยึดติดกับความคิดเห็นอย่างดุเดือด และบ่อย ครั้งก็ไร้บทพิสูจน์ที่ตรวจสอบได้ เด็กๆ ควรเรียนอยู่ในกรอบโครงสร้าง มากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ เราทดสอบเด็กน้อยไปหรือมากไป เมื่อพูด ถึงการสอบ ข้อสอบมาตรฐานนั้นวัดการเรียนรู้ระยะยาว หรือวัดแค่ ทักษะในการท�ำข้อสอบมาตรฐานเท่านั้น เราก�ำลังกระตุ้นให้เด็กเกิด ความคิดริเริ่ม ความเข้าใจ และความคิดที่ ไม่ซ�้ำใคร หรือเราแค่วน เวียนอยู่กับหลักการไร้สาระกันแน่ ผู้ใหญ่กังวลเรื่องของตัวเองเช่นกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับศักยภาพ ในการเรียนรู้ของเราเมื่อการศึกษาในชั้นเรียนจบลง เราจะฝึกสมองเรา อย่างไรไม่ให้เกียจคร้านและเปราะบาง เรายังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้หรือไม่ แล้วจะเรียนรู้จากที่ไหนและอย่างไร การวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาทั้งหลายนี้มีประโยชน์ตรงที่ช่วย ยืนยันว่าการศึกษาเป็นหัวใจส�ำคัญในโลกแห่งการแข่งขันที่เชื่อมโยง ถึงกันโดยตลอด แต่ปญ ั หาอยูท่ กี่ ารวิพากษ์วจิ ารณ์นี้ไม่นำ� ไปสูก่ ารพัฒนา พอมีการลงมือแก้ไขจริงก็มักมาจากนโยบายรัฐเบื้องบน ซึ่งมีโอกาส ส่งผลด้านลบได้พอๆ กับช่วยให้ดีขึ้น มีครูและโรงเรียนดีๆ มากมาย โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
21
ที่แสดงให้เห็นว่าแนวทางสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษายังเป็นไปได้ แต่ ความส�ำเร็จนั้นปฏิบตั ติ ามหรือขยายผลได้ยาก แม้ท่มุ ก�ำลังงานและเงิน ทั้งหมดที่มีไปกับปัญหาแล้ว ทว่ามาตรวัดความก้าวหน้ากลับแทบไม่ ขยับเลย จึงน�ำไปสู่ความเคลือบแคลงที่ฝังลึกว่าการศึกษาจะพัฒนา อย่างเป็นระบบได้จริงหรือ ที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ ผู้คนดูจะมองข้ามความจริงพื้นฐานว่า วิกฤตนี้คืออะไรกันแน่ มันไม่ใช่เรื่องของอัตราการส�ำเร็จการศึกษาหรือ คะแนนสอบ แต่เป็นประเด็นที่ว่า ตัวชี้วัดเหล่านั้นส่งผลอย่างไรต่อชีวิต มนุษย์ ตัวชี้วัดดังกล่าวเสริมสร้างหรือท�ำลายศักยภาพมนุษย์ และตัว ชี้วัดนั้นเพิ่มพูนหรือลบล้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กันแน่ มักมีการอ้างถึงว่าปัจจุบนั นักเรียนมัธยมชาวอเมริกนั อยู่ในอันดับ ที่ 23 ของโลกในแง่สมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ใน มุมมองแบบอเมริกาเป็นศูนย์กลาง มันคือเรื่องน่าเศร้า แต่การทดสอบ พวกนี้เป็นเพียงการวัดตื้นๆ ต่อความเป็นไปในประเทศหนึ่งๆ ผมเชื่อ ว่าอย่างน้อยในอนาคตอันใกล้ สหรัฐอเมริกาจะยังรักษาต�ำแหน่งผู้น�ำ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ได้ แม้ว่าระบบโรงเรียนของเราจะ แย่ลงเพียงใด หากพิจารณาอย่างไม่ถึงกับตีโพยตีพาย สหรัฐอเมริกา คงยังไม่เสียต�ำแหน่งเพียงเพราะนักเรียนในเอสโตเนียแยกตัวประกอบ พหุนามเก่งกว่า ในแง่อนื่ ๆ ของวัฒนธรรมอเมริกนั อย่างเช่น การผสม ผสานที่ไม่เหมือนใครระหว่างความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดแบบผูป้ ระกอบ การ การมองโลกในแง่ดี และทุนนิยม ท�ำให้ประเทศนี้เป็นแหล่งบ่ม เพาะนวัตกรรมอันอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก และเป็นสาเหตุที่เด็กเก่งๆ จากทั่วโลกฝันจะได้กรีนการ์ด*เพื่อท�ำงานที่นี่ ถ้าเรามองไปข้างหน้า ในภาพรวมของทั้งโลกแล้ว การจัดอันดับเปรียบเทียบชาติต่างๆ นั้น ค่อนข้างไม่ตรงประเด็นเท่าใดนัก * ค�ำไม่เป็นทางการที่ ใช้เรียกบัตรประจ�ำตัวผู้มีสิทธิอยู่อาศัยถาวรและท�ำงาน ซึ่ง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ออกให้-บรรณาธิการ 22
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
แต่หากเราไม่ฟังเสียงเตือนเลย ความประมาทย่อมจะน�ำไปสู่ หายนะในที่สุด ไม่มีพันธุกรรมแบบอเมริกันส่วนใดที่ผูกขาดเราไว้กับ วัฒนธรรมผู้ประกอบการและการสรรค์สร้างนวัตกรรม และสถานะผู้น�ำ ของเราก็มีแต่จะถดถอยลงไปหากเราไม่สามารถเสริมทัพด้วยคนที่ได้ รับการศึกษาอย่างดีและมีความคิดใหม่ๆ ต่อไป แม้ในขณะที่อเมริกายังคงเป็นขุมพลังทางนวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ ทว่าใครกันที่จะได้รับประโยชน์ คงมีนักเรียนอเมริกันเพียงส่วนน้อย เท่านั้นที่ได้รับการศึกษาดีพอจนเข้าถึงส่วนแบ่งผลประโยชน์นี้ ซึ่งเป็น เหตุให้บริษัทอเมริกันต้องน�ำเข้าบุคลากรที่มีความสามารถมาทดแทน คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ของอเมริกาที่ยังคงตกงานหรือมีรายได้ต�่ำนั้นจะทวี จ�ำนวนขึ้นเพราะพวกเขาขาดทักษะที่จ�ำเป็นใช่หรือไม่ ค�ำถามในลักษณะเดียวกันควรถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเพื่อ เยาวชนทั่วโลก ศักยภาพของพวกเขาอาจถูกมองข้ามหรือถูกน�ำมา ใช้ในทางที่ผิดเนื่องจากขาดเครื่องมือหรือโอกาสสร้างส่วนแบ่งรายได้ หรือเปล่า ประชาธิปไตยทีแ่ ท้จริงในประเทศก�ำลังพัฒนาจะสูญเสียฐาน ที่มั่นไปเพราะโรงเรียนแย่ๆ กับระบบการศึกษาที่โกงกินและล้มเหลว หรือไม่ ค�ำถามเหล่านี้มีทั้งมิติ ในเชิงปฏิบัติและเชิงจรรยาบรรณ ผม เชื่อว่าเราแต่ละคนมีส่วนร่วมในการศึกษาของพวกเราทุกคน ใครจะรู้ ว่าอัจฉริยะจะเผยโฉมขึ้นมาจากที่ไหน อาจมีเด็กสาวจากหมู่บ้านใน แอฟริกาที่สามารถค้นพบวิธีรักษาโรคมะเร็งก็เป็นได้ หรือลูกชายชาว ประมงในนิวกินอี าจเข้าใจเรือ่ งสมุทรศาสตร์ได้ลกึ ซึง้ อย่างไม่นา่ เชือ่ แล้ว เราจะยอมให้ความสามารถพิเศษของพวกเขาเหล่านี้สูญไปโดยเปล่า ประโยชน์เช่นนั้นหรือ ไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่ให้การศึกษาระดับโลกแก่ เด็กๆ เหล่านี้ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีและทรัพยากรเอื้อให้ท�ำได้อยู่แล้ว เพียงแค่เรารวบรวมพลังวิสัยทัศน์กับความกล้าเดินหน้าให้เกิดขึ้น เท่านั้น โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
23
แทนที่จะลงมือท�ำ ผู้คนกลับเอาแต่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะขาดจินตนาการหรือกลัวจะเป็นการ กวนน�้ำให้ขุ่นก็ตาม บทสนทนามักสิ้นสุดลงโดยไม่ได้ตั้งค�ำถามที่ลงลึก เพื่อเยียวยาการศึกษาจริงๆ ผู้คนหันไปให้ความส�ำคัญกับองค์ประกอบ เดิมๆ ที่ไม่ตรงประเด็นอย่างเช่น คะแนนสอบหรืออัตราการเรียนจบ แม้ความกังวลเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่สิ่งที่ส�ำคัญอย่างยิ่งคือ ประชากรโลกในรุน่ ต่อไปจะเป็นผูม้ คี วามสามารถ มีพลังความสร้างสรรค์ และพรั่งพร้อมสมบูรณ์ รวมถึงดึงศักยภาพของตนออกมาได้อย่างเต็ม ความสามารถ และท�ำหน้าที่พลเมืองที่ดีตามระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริงได้หรือไม่ เมือ่ พูดถึงเรือ่ งนี ้ เราก็วกกลับมาทีค่ วามเชือ่ พืน้ ฐานอีกครัง้ จริงๆ แล้วคนเราเรียนรู้อย่างไร ระบบชั้นเรียนมาตรฐานอย่างการบรรยาย หน้าห้องเรียน หรือการท�ำการบ้านคนเดียวตอนเย็น ยังคงตอบโจทย์ หรือไม่ในยุคดิจิตอล ท�ำไมนักเรียนมักลืมสิ่งที่เขาสมควร ‘เรียนรู้’ ไป หมดเมื่อสอบเสร็จ ท�ำไมผู้ใหญ่ถึงรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่ง ที่ปฏิบัติในโลกความจริงนั้นไม่เกี่ยวข้องกัน เหล่านี้คือประเด็นพื้นฐาน ที่เราควรพิจารณา อย่างไรก็ตาม การคร�่ำครวญเรื่องภาวะทางการ ศึกษากับการลงมือท�ำอะไรสักอย่างนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ในปี 2004 ผมได้เริ่มทดลองตามแนวคิดที่ดูเหมือนจะได้ผล (จะ เรียกว่าเหตุบังเอิญก็ได้ ไว้ผมจะอธิบายรายละเอียดทีหลัง) ที่จริงแล้ว มันก็คือการหวนกลับมาของหลักการซึ่งผ่านการพิสูจน์มาก่อนแล้ว ใน ทางกลับกัน เมื่อแนวคิดดังกล่าวผสมผสานกับการเติบโตและเข้าถึง ได้ของเทคโนโลยีใหม่ๆ มันก็บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ในการปรับโฉมการ ศึกษาจากรูปแบบที่เรารู้จัก ในบรรดาการทดลองต่างๆ วิธีการหนึ่งที่ โดดเด่นด้วยตัวของ มันเองคือการลองลงบทเรียนเลขที่ผมสอนในเว็บไซต์ยูทูบ ผมไม่รู้ด้วย ซ�้ำว่ามันจะออกมาดีแค่ไหน วิธีนี้จะได้ผลหรือไม่ หรือแม้แต่จะมีใคร 24
อำ�นวย พลสุขเจริญ แปล
มาดูสงิ่ ทีผ่ มลงไว้หรือเปล่า ผมเดินหน้าต่อไปโดยการลองผิดลองถูก (ใช่ แล้วครับ เราท�ำผิดท�ำพลาดได้เสมอ) โดยมีขอ้ จ�ำกัดเรือ่ งเวลา เนือ่ งจาก ภาระจากงานประจ�ำทีห่ นักหนาในฐานะนักวิเคราะห์กองทุนบริหารความ เสี่ยง แต่ในเวลาไม่กี่ปี ผมก็รู้ตัวว่าสิ่งที่ผมหลงใหลและอาชีพที่เหมาะ กับผมจริงๆ คือการสอนเสมือนจริง ในปี 2009 ผมจึงลาออกจากงาน เพื่อใช้เวลาเต็มที่กับสิ่งที่ก่อร่างสร้างรูปกลายเป็นคานอะคาเดมี่ในเวลา ต่อมา ถ้าชื่อของสถาบันฟังดูอลังการละก็ ทรัพยากรของสถาบันนี้ก็ ถือว่าน้อยแสนน้อยเสียจนน่าขัน คานอะคาเดมี่มีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หนึ่งเครื่อง ซอฟต์แวร์จับภาพหน้าจอราคา 20 ดอลลาร์ และปากกา เขียนแท็บเล็ตราคา 80 ดอลลาร์ ผมวาดกราฟและสมการ (แบบเบีย้ วๆ ซะส่วนใหญ่) โดยใช้โปรแกรมฟรีที่ชื่อไมโครซอฟท์ เพนท์เป็นตัวช่วย นอกจากวิดีโอแล้ว ผมยังรวบรวมบรรดาซอฟต์แวร์ถาม-ตอบโจทย์ ต่างๆ มาใช้ในเว็บไซต์เช่าราคาเดือนละ 50 ดอลลาร์ของผม คณาจารย์ บุคลากรฝ่ายวิศวกรรม ทีมงานเบื้องหลัง และฝ่ายธุรการรวมอยู่ในคน หนึ่งคน คือ ‘ผม’ คนเดียว งบประมาณมาจากเงินเก็บของตัวเอง ผม ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชุดเสื้อยืดราคา 6 ดอลลาร์กับกางเกงวอร์ม พูดอยู่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ และกล้าที่จะฝันยิ่งใหญ่ ผมไม่ได้ฝันจะสร้างเว็บไซต์ยอดนิยมหรือเป็นกระแสชนิดดัง แล้วดับในแวดวงการศึกษา บางทีผมอาจคิดไปเอง แต่ผมฝันถึงการ สร้างสิ่งที่ยั่งยืนและสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นสถาบันของโลกที่คง อยู่ไปหลายร้อยปี และช่วยปรับความคิดพื้นฐานกันใหม่ว่าการศึกษาใน โรงเรียนควรเป็นอย่างไร ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะพิจารณาการศึกษาใหม่ตั้งแต่ขั้นพื้น ฐาน สถาบันการศึกษาและต้นแบบใหม่ๆ ต่างถือก�ำเนิดขึ้นตรงจุด เปลี่ยนในประวัติศาสตร์ ฮาร์วาร์ดและเยลก่อตั้งขึ้นไม่นานหลังจาก การสร้างอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ เอ็มไอที สแตนฟอร์ด และ โรงเรียนหลังใหญ่ โลกใบเดียวกัน
25