พระเจ้าตาก เบื้องต้น ปรามินทร์ เครือทอง
ราคา ๑๕๐ บาท
เสมาหน้าพระอุโบสถเดิม วัดอินทาราม ธนบุรี มีเรื่องเล่ากันว่าเป็นที่ฝังพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สารบัญ
พระเจ้าตาก เบื้องต้น
คำ�นำ�
(๘)
๒ ๘ ๑๔ ๑๙ ๒๓ ๓๐ ๓๓ ๔๑ ๔๕ ๕๐ ๕๗ ๖๗ ๗๕ ๗๙ ๘๘
๑ ข่าวต่างประเทศ ๒ ศึกอลองพญา ๓ กรุงแตก ๔ เปิดตัวพระเจ้าตาก ๕ กำ�เนิดพระเจ้าตาก ๖ รับราชการ ๗ พิสูจน์ตำ�นานพระเจ้าตาก ๘ เปิดตำ�นานพ่อค้าเกวียน ๙ สงครามกรุงแตก ๑๐ “ทิ้ง” กรุงศรีอยุธยา ๑๑ หนี ๑๒ กู้กรุงศรี ๑๓ เป็น “พระเจ้ากรุงธนบุรี” ๑๔ สลายก๊ก ๑๕ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ปรามินทร์ เครือทอง (7)
๑๖ รวมแผ่นดิน ๑๗ ศึกเมืองเหนือ ๑๘ รบเชียงใหม่ ตีเขมร ๑๙ ศึกอะแซหวุ่นกี้ ๒๐ หยุดฆ่า เข้าหาธรรม ๒๑ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ๒๒ พระแก้วมรกต เสริมหรือลดพระบารมี ๒๓ เขมรจลาจล ธนบุรีร้อนรุ่ม ๒๔ เหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี ๒๕ พระยาสรรค์ยึดกรุงธนบุรี ๒๖ ปฏิวัติกรุงธนบุรี ๒๗ ศึกกลางเมือง ๒๘ ประหารพระเจ้าตาก
ภาคผนวก ๑ ภาคผนวก ๒ บรรณานุกรม
๙๓ ๙๙ ๑๐๔ ๑๑๑ ๑๑๗ ๑๒๕ ๑๒๙ ๑๓๔ ๑๓๘ ๑๔๖ ๑๕๐ ๑๕๖ ๑๖๑ ๑๖๕ ๑๗๓ ๑๘๔
คำ�นำ�
พระเจ้าตาก เบื้องต้น
“กรณีพระเจ้าตาก” เป็นเรื่องที่ผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ให้ความ สนใจเป็นพิเศษมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยที่ความสนใจดังกล่าว ไม่ ได้จำ� กัดอยูแ่ ต่เพียงเนือ้ หาทางวิชาการหรือในพระราชพงศาวดารเท่านัน้ แต่ยังขยายพื้นที่ไปยัง “ศาสตร์พิเศษ” ต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อ “ความเชื่อ” ของผู้คนจ�ำนวนมาก ถึงขนาดใช้เป็นข้อปฏิเสธเหตุผลทาง วิชาการหรือแม้แต่ในพระราชพงศาวดารก็ตาม ในขณะที่ ข้อมูลจาก “ศาสตร์พิเศษ” ข้อมูลทางวิชาการ หรือ ข้ อ มู ล จากพระราชพงศาวดาร ก็ ล ้ ว นแต่ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ “กรณี พระเจ้าตาก” ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะอย่างน้อย การ “ทักท้วงถกเถียง” ใดๆ ย่อมแสดงให้เห็นว่า มีความเคลื่อนไหวต่อกรณีนี้อยู่ นั่นคือเหตุผล ที่ท�ำให้ประวัติศาสตร์ตอนนี้ “มีชีวิต” ไม่เหี่ยวเฉาแห้งตายไปเหมือนใน ประวัติศาสตร์ตอนอื่นๆ อย่างไรก็ดี การ “ทักท้วงถกเถียง” ใดๆ ย่อมควรจะมี “หลักยึด” อันเป็นข้อมูลทีเ่ ข้าถึงได้งา่ ยทางใดทางหนึง่ เพือ่ เป็นพืน้ ฐานความเข้าใจ ในเรื่องนั้นๆ ก่อนจะ “ยึดหลัก” ความเชื่อเพียงประการเดียว “ศาสตร์พเิ ศษ” เป็นทางหนึง่ ทีเ่ ข้าถึงได้ยากอย่างไม่ตอ้ งสงสัย ใน ขณะที่บทวิเคราะห์ทางวิชาการ และพระราชพงศาวดาร แม้จะสามารถ “อ่านได้” แต่ก็เข้าถึงได้ไม่ง่ายนัก เพราะภาษาทางวิชาการก็ดี ภาษา พงศาวดารก็ดี เป็น “ภาษาพิเศษ” รวมทั้งการเผยแพร่ก็ยังมีข้อจ�ำกัด อยู่ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม รวมทัง้ พ็อคเก็ตบุก๊ ศิลปวัฒนธรรมฉบับ พิเศษ ได้พยายามที่จะก้าวข้าม “ภาษาอ่านยาก” ให้คนทั่วไปได้เข้าถึง ประวัติศาสตร์โดยง่ายมาตลอด
ปรามินทร์ เครือทอง (9)
โดยเฉพาะ “กรณีพระเจ้าตาก” นี้ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ก็ได้ น�ำเสนอแนวคิดและข้อมูลใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี ท�ำให้ผู้สนใจกรณีพระเจ้าตาก และผู้อ่านศิลปวัฒนธรรม เติบโตไป พร้อมๆ กันในประเด็นนี้ แต่ในขณะทีก่ ารเติบโตอย่างต่อเนือ่ งนี้ อาจท�ำให้ผอู้ า่ น “มือใหม่” จ�ำนวนไม่นอ้ ย ต่อไม่ตดิ ตามไม่ทนั ซึง่ ได้สะท้อนออกมาให้เห็นได้ชดั ด้วย การตั้งข้อสงสัย หรือข้อสังเกต ที่ส่วนใหญ่ได้เคยเสนอไปในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม รายเดือน และฉบับพิเศษ แล้วทั้งสิ้น และเป็นธรรมดาอยู่เองที่นิตยสารทั่วไป ย่อมจะหลีกเลี่ยงที่จะ น�ำเสนอประเด็นซ�้ำๆ ในหนังสือเล่มเดียวกัน เหตุนี้จึงเป็นข้อจ�ำกัดของ ผู้อ่านที่เพิ่งสนใจ “กรณีพระเจ้าตาก” ไม่สามารถหาย้อนความกระจ่าง ได้ หากไม่เข้าห้องสมุด หรือติดตาม “ฉบับเก่า” มาอ่าน พระเจ้าตาก เบือ้ งต้น จึงเกิดขึน้ มาจากเสียงสะท้อนของผูต้ ดิ ตาม “กรณีพระเจ้าตาก” ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งมือใหม่ มือเก่า ที่ ต้องการปูพนื้ หรือทบทวนความทรงจ�ำ “กรณีพระเจ้าตาก” กันอีกครัง้ โดยอาศัยพระราชพงศาวดาร บันทึก และเอกสารเก่า เป็น “หลักยึด” พระเจ้าตาก เบื้องต้น ได้ล�ำดับเรื่องโดยสรุป ตั้งแต่ปลายกรุง ศรีอยุธยา โดยเริ่มต้นตั้งแต่เหตุการณ์ในปีที่พระเจ้าตากเสด็จพระราช สมภพ ต่อด้วยเหตุการณ์ในรัชสมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่งถึงตอนอวสาน กรุงธนบุรี เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน (ที่ไม่ใช่ข้อสรุป) ส�ำหรับผู้อ่าน เพื่อจะ ได้การติดตาม “กรณีพระเจ้าตาก” ได้อย่าง “แข็งแรง” ต่อไป ปรามินทร์ เครือทอง
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
๑
ข่าวต่างประเทศ
ปรามินทร์ เครือทอง 3
ชะตาชีวิตของคนๆ หนึ่ง ที่ผกผันสุดขั้ว จากสามัญชนคน ธรรมดา ผ่านการรบไม่ถึง ๓๐๐ วัน กลายมาเป็นผู้มีอำ� นาจสูงสุดกว้าง ไกลเกินกว่าสายตาจะทอดไปถึง จนในที่สุดเป็นวีรบุรุษของชาติที่คน จดจ�ำไปตลอดกาล ย่อมต้องมีเหตุปัจจัยเหนือสามัญธรรมดา จุดเริ่มต้นในการแกะรอยพระราชประวัติพระเจ้าตาก จ�ำเป็น ต้องย้อนกลับไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กระโดดข้ามเทือกเขา ตะนาวศรี ไปดูความเคลื่อนไหวถึงในพุกามประเทศ ความเปลี่ยนแปลงในเมืองพม่า เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๒๘๐ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา เหตุ การณ์นี้ภายหลังได้ส่งผลกระทบต่อกรุงศรีอยุธยาอย่างมาก เวลานั้นพระเจ้าตากทรงเจริญพระชนมพรรษา ๓ พรรษา พระเจ้าอังวะมหาธรรมราชาธิบดี (พ.ศ. ๒๒๗๖-๒๒๙๕) ไม่สามารถ จะปราบปรามความวุ่นวายที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในอาณาเขตประเทศ ของพระองค์ได้ จนเกิดสภาวะ “เสื่อมสิ้นเดชานุภาพ” มังสาอ่อง ชาวพม่า เจ้าเมืองหงสาวดี สบโอกาสจะตั้งตัวเป็น อิสระจากอังวะ แต่ก็มี “ชาวมอญ” ที่ไม่เอามังสาอ่องและพร้อมจะ ต่อต้าน เพราะถือว่ามังสาอ่องนั้นเป็น “ชาวพม่า” ที่จะมาปกครองคน มอญในหงสาวดี ในขณะเดียวกันก็มีชาวมอญที่อยู่ฝ่ายมังสาอ่องด้วย เช่นกัน ฝ่ายเจ้าเมืองสิเรียม ซึ่งยังจงรักภักดีต่อพระเจ้าอังวะ จึงเตรียม จะยกทัพมาปราบกบฏมังสาอ่อง ท�ำให้ชาวมอญพวกที่ไม่เอามังสาอ่อง พากันหลบหนีไม่อยู่ช่วยรบ มังสาอ่องจึงจับบุตรภรรยาชาวมอญเหล่า นั้นไว้เป็นเชลย สุดท้ายชาวมอญที่บุตรภรรยาถูกจับเป็นเชลยก็พากัน โกรธแค้น ยกพวกเข้าโจมตี จับมังสาอ่องฆ่าเสีย แต่หลังจากผู้น�ำกบฏมังสาอ่องสิ้นชีพแล้ว พระเจ้าอังวะก็มอบ หมายให้เจ้าเมืองสิเรียมปกครองดูแลเมืองหงสาวดีตอ่ ไป เจ้าเมืองสิเรียม คิดจะปราบเสี้ยนหนามให้สิ้น จึงไล่จับเอาชาวมอญที่เข้ากับมังสาอ่อง ลงโทษลงทัณฑ์ไม่หยุดหย่อน ท�ำให้ชาวมอญลุกฮือกันขึ้นมาอีก แล้ว จับเอาเจ้าเมืองสิเรียมไปฆ่าเสียอีกคน
4 พระเจ้าตาก เบื้องต้น
จากนั้นชาวมอญทั้งหลาย ก็พากันไปนิมนต์พระภิกษุ ผู้มีวิชา อาคม เป็นผู้มีบุญ ลาสิกขามาช่วยกันสู้รบกับพม่า ภายหลังขนานนาม ว่าสมิงทอ ต่อมากองทัพของพระเจ้าอังวะจึงส่งคนลงมาปราบสมิงทอ แต่ ก็พา่ ยแพ้ไป ชาวมอญจึงพร้อมใจกันยกสมิงทอผูม้ บี ญ ุ ให้เป็น “พระเจ้า หงสาวดี” หัวเมืองใหญ่นอ้ ยก็พากันอ่อนน้อมยอมเข้ามาอยูฝ่ า่ ยหงสา วดีเป็นอันมาก พระเจ้าหงสาวดี (สมิงทอ) เมื่อตั้งตัวเป็นใหญ่แล้ว ก็ด�ำเนิน นโยบายการต่ า งประเทศ คิ ด ผู ก ไมตรี กั บ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาและเมื อ ง เชียงใหม่ เพื่อให้กรุงอังวะบังเกิดความย�ำเกรง ด้วยการ “ขอลูกสาว” ของพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาและเชียงใหม่ แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไม่โปรด และไม่ทรงรับไมตรี นั้น ต่างจากพระเจ้าเชียงใหม่ที่ทรงยก “นางสอิ้งทิพ” (บางแห่งว่า นาง เทพลีลา) ให้อภิเษกกับพระเจ้าหงสาวดี (สมิงทอ) เป็นไมตรีต่อกัน สาเหตุทสี่ มเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศทรงแสดงชัดเจนว่าไม่เป็น พวกกับหงสาวดี เพราะเมื่อเกิดเหตุความขัดแย้งระหว่างพม่ากับมอญ นั้น ชาวพม่าที่ปกครองชาวมอญอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ เมื่อพ่ายแพ้ ก็ไม่ สามารถหนีขึ้นเหนือกลับกรุงอังวะได้ เพราะมีเมืองหงสาวดีคั่นกลางอยู่ จึงหนีมาพึ่งบารมีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็ทรง ให้รับไว้ พระเจ้าอังวะถึงกับส่งพระราชสาส์นมาขอบคุณในไมตรีครั้งนี้ เท่ากับว่าเวลานัน้ พม่าฝ่ายเหนือคือกรุงอังวะยังเป็นไมตรีต่อกรุง ศรีอยุธยา ส่วนหงสาวดีนั้นจับมือกับเมืองเชียงใหม่ เหตุ ก ารณ์ นี้ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ พระเจ้ า ตากทรงเจริ ญ พระชนม พรรษาประมาณ ๑๐ พรรษา ขณะที่พระเจ้าหงสาวดี (สมิงทอ) มีก�ำลังเข้มแข็งมากขึ้นทุกที ท�ำให้พระเจ้าอังวะถึงกับหวาดๆ จนต้องผูกไมตรีกบั กรุงศรีอยุธยา เพราะ หากหงสาวดีจับมือกับกรุงศรีอยุธยาได้ในเวลานั้น กรุงอังวะเห็นทีจะ พังพินาศ แต่ไม่นา่ เชือ่ ว่าแค่เรือ่ ง “หลังบ้าน” ก่อความไม่สงบ กลับท�ำให้ พระเจ้าหงสาวดี (สมิงทอ) ผู้มีบุญ ต้องตกจากราชบัลลังก์
ปรามินทร์ เครือทอง 5
พระธาตุมุเตา ที่กรุงหงสาวดี (พะโค)
6 พระเจ้าตาก เบื้องต้น
เหตุเนื่องมาจาก “นางกุ้ง” บุตรีของพระยาทะละ อัครมหา เสนาบดีกรุงหงสาวดี ซึ่งยกให้เป็นมเหสีของพระเจ้าหงสาวดี (สมิงทอ) เกิดหึงหวงกับ “นางสอิ้งทิพ” มเหสีจากเมืองเชียงใหม่ ท�ำให้พระยา ทะละไม่พอใจ วางกลอุบายเพือ่ ชิงราชสมบัติ พระเจ้าหงสาวดี (สมิงทอ) สู้ไม่ได้ ต้องหนีไปเมืองเชียงใหม่ ฝากมเหสีไว้กับพ่อตา แล้วรวบรวม คนยกกลับมารบกับพระยาทะละ แต่ก็ยังสู้ไม่ได้อีก ในที่สุดก็หนีมาพึ่ง กรุงศรีอยุธยา แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศไม่โปรด “สมิงทอ” อยู่ก่อนแล้ว จึงให้จับตัวไว้ ฝ่ายพระยาทะละ เมื่อยึดเอากรุงหงสาวดีได้แล้ว ก็ตั้งตนเป็น พระเจ้าหงสาวดี (ทะละ) แล้วมีหนังสือมายังกรุงศรีอยุธยา ขอให้ ประหารสมิงทอเสีย แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเห็นว่าถึงจะ ไม่โปรดสมิงทอ แต่สมิงทอก็ไม่ใช่ศัตรู ครั้นจะเลี้ยงไว้ก็จะเกิดความ ยุ่งยากได้ในภายหลัง จึงจับสมิงทอใส่สำ� เภาเอาไปปล่อยที่เมืองจีน แต่ สุดท้ายสมิงทอก็หนีกลับมาเชียงใหม่ได้อีก ทางด้านเมืองหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดี (ทะละ) ตัดสินใจรวบรวม ไพร่พลเข้าตีกรุงอังวะจนแตก จับพระเจ้าอังวะได้ แล้วน�ำมาไว้ที่เมือง หงสาวดี การที่กรุงอังวะตกเป็นของมอญในคราวนี้ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ “ราชวงศ์ตองอู” ที่มีอ�ำนาจปกครองพม่ามายาวนานถึง ๒๖๖ ปี (พ.ศ. ๒๐๒๙-๒๒๙๕) เวลานั้นพระเจ้าตากทรงเจริญพระชนมพรรษาประมาณ ๑๓ พรรษา ในช่วงเวลาที่กรุงอังวะเสียให้แก่พระเจ้าหงสาวดี (ทะละ) นี้เอง ก็บังเกิดชาวพม่า “ผู้มีบุญ” ขึ้นมาอีก ๑ คน มีนามว่า “มังอองไจยะ” เป็นนายพรานและก�ำนันหมู่บ้านอยู่ไม่ห่างจากกรุงอังวะมากนัก ได้ รวบรวมก�ำลังต่อต้านการปกครองของชาวมอญ จนกระทัง่ รวบรวมก�ำลัง ชาวพม่าได้มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นหลายหมื่น มังอองไจยะจึงตั้งเมืองขึ้นที่บ้านเดิมของตนสถาปนาเป็นเมือง
ปรามินทร์ เครือทอง 7
หลวงชื่อ “เมืองรัตนสิงค์” ส่วนมังอองไจยะผู้มีบุญ ชาวบ้านพากัน เรียกว่า “พระเจ้าอลองพญา” แปลว่า พระโพธิสัตว์ พระเจ้าอลองพญาไม่ได้หยุดความยิง่ ใหญ่ไว้เพียงเมืองรัตนสิงค์ เท่านั้น แต่ยังบุกต่อไปยัง ร่างกุ้ง เมืองแปร อังวะ พะสิม สิเรียม และ หงสาวดี จนได้เมืองพม่าทั้งหมดในปีพุทธศักราช ๒๓๐๐ เป้าหมายต่อไปของพระโพธิสัตว์อลองพญาคือ กรุงศรีอยุธยา! พระเจ้าตากทรงเจริญพระชนมพรรษา ๒๓ พรรษา ไฟแห่ง สงครามเสียกรุงดวงแรก ก็ได้ลุกโชนขึ้นแล้ว
๒
ศึกอลองพญา
ปรามินทร์ เครือทอง 9
พุทธศักราช ๒๓๐๐ เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกรุง ศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แทนที่จะเป็น พระเชษฐาคือเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี เพราะทรง “โฉดเขลาหา สติปัญญาและความเพียรมิได้” และสั่งให้เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ไปบวชเสีย ครั้นปีรุ่งขึ้น พุทธศักราช ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็เสด็จสวรรคต แผ่นดินตกอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ผ่านพระราช พิธปี ราบดาภิเษกโดยสมบูรณ์ เรียกขานกันในพระนาม “สมเด็จพระเจ้า อุทุมพร” แต่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช กรมขุนอนุรกั ษ์มนตรีกลับ เสด็จขึน้ ยึดครองพระทีน่ งั่ สุรยิ าสน์อมรินทร์มหาปราสาท ไม่เสด็จไปทีอ่ นื่ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไม่รู้จะท�ำประการใดดี อยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๑๐ วัน (บางแห่งว่า ๓ เดือน) ก็ยอมถวายราชบัลลังก์ให้กับพระเชษฐา ธิราชไป ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกผนวช ภายหลังจึงมีอีกพระนาม ว่า “ขุนหลวงหาวัด” สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงผ่านพิภพ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามเรียกกันว่า “สมเด็จพระที่นั่ง สุรยิ ามรินทร์” แต่พระนามทีร่ จู้ กั กันดีกว่าคือ “สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ” สมเด็ จ พระเจ้ า เอกทั ศ ทรงครองราชสมบั ติ ชั่ ว ข้ า มปี ก็ มี ศึ ก ประชิดเมืองทางด้านตะวันตก พุทธศักราช ๒๓๐๒ เกิดศึกอลองพญา พระเจ้าตากทรง เจริญพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา เหตุผลที่พระเจ้าอลองพญาคิดโจมตีกรุงศรีอยุธยานั้น พระราช พงศาวดารไทยกล่าวเป็นท�ำนองว่า พระเจ้าอลองพญาได้แผ่อำ� นาจไปทัว่ ทั้งดินแดนพม่าและรามัญประเทศจนสิ้นแล้ว จึงปรารถนาจะแผ่เดชา นุภาพมายังดินแดนกรุงศรีอยุธยา แต่ในพงศาวดารพม่าบอกไว้ชดั เจนยิง่ กว่า ว่าข้าราชการฝ่ายไทย จับเรือในราชการและเรือพ่อค้าของพม่า และยังยึดสินค้าสิ่งของต่างๆ
10 พระเจ้าตาก เบื้องต้น
ซากพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์มหาปราสาท หนึ่งในพระที่นั่งหลายองค์ ใน พระราชวังที่พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองสมัย อยุธยาตอนปลาย ก่อนเสียกรุง
ปรามินทร์ เครือทอง 11
หลังจากทีส่ มเด็จพระเจ้าอุทมุ พรทรงมอบราชสมบัตใิ ห้กบั สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แล้ว ได้เสด็จออกผนวช ที่วัดประดู่ทรงธรรม
ไว้ไม่ยอมส่งคืน ฟางเส้นสุดท้ายถูกวางบนหลังลาแล้ว ต้นสายปลายเหตุของเรื่องนี้ เป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน เพราะ หลายครัง้ หลายคราทีร่ ามัญประเทศของชาวมอญซึง่ อยู่ตอนใต้ของพม่า เมือ่ มีปญ ั หาขัดแย้งกับรัฐบาลพม่า ชาวมอญเหล่านีก้ จ็ ะอพยพ “ข้ามฝัง่ ” มายังเขตปกครองของสยามหรือกรุงศรีอยุธยา และโดยส่วนใหญ่รฐั บาล กรุงศรีอยุธยาก็มักจะรับตัวไว้ไม่ส่งตัวผู้อพยพให้กับรัฐบาลพม่า ด้วย เป็นนโยบาย “รัฐกันชน” เพื่อให้ชาวมอญเป็นรัฐกันชนด่านแรกก่อนถึง เมืองหลวงสยามประเทศ เหตุการณ์ท�ำนองนี้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนเป็น “ปัญหาชายแดน” ที่รัฐบาลพม่าอึดอัดสั่งสมมานาน ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอลองพญา ก็เกิดปัญหาแบบเดียวกันนี้ขึ้น
12 พระเจ้าตาก เบื้องต้น
มาอีก ผิดกันแต่ที่เวลานี้พม่าเข้มแข็งกว่าแต่ก่อนมาก จึงถือเป็นจังหวะ เวลาอันสมควรที่จะ “ปิดบัญชี” ปัญหากวนใจนี้เสียที หนทางเดียวที่จะจบปัญหานี้ก็คือ ต้องท�ำลายกรุงศรีอยุธยาให้ “หมดสภาพ” เกินกว่าทีจ่ ะมีกำ� ลังเป็นทีห่ ลบภัยของใครต่อใครได้ และ พังพินาศเกินกว่าจะฟื้นก�ำลังลุกขึ้นมาตีโต้หรือก่อปัญหาได้อีก ปีจอ พุทธศักราช ๒๒๙๗ ฟ้าผ่าเมืองรัตนสิงค์ เมืองหลวงของ พระเจ้าอลองพญา วันเดียว ๑๖ แห่ง โหรท�ำนายว่าพระเจ้าอลองพญา จะมีเดชานุภาพแผ่ไปนานาประเทศทั้งปวง ปีฉลู พุทธศักราช ๒๓๐๐ พระเจ้าอลองพญาเป็นใหญ่เหนือพุกาม และรามัญประเทศทั้งปวง ปีเถาะ พุทธศักราช ๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญายกทัพเข้าเขตแดน กรุงศรีอยุธยา การโจมตีครั้งนี้ กองทัพของพระเจ้าอลองพญาสามารถตีฝ่า กองทัพหัวเมืองของกรุงศรีอยุธยาได้แบบ “ไฟเขียวผ่านตลอด” เริ่ม ตั้งแต่ ทวาย มะริด ตะนาวศรี เมืองกุย เมืองปราณ เมืองชะอ�ำ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี จนสามารถตั้งกองทัพประชิดก�ำแพงเมืองกรุง ศรีอยุธยาได้ภายใน ๗ เดือน แต่พระบารมีเห็นจะไม่ถึงขั้น “ผู้พิชิต” จึงทรงประชวรกลางศึก จนต้องถอยทัพกลับ และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง พระอาการประชวร ของพระเจ้าอลองพญานี้ หลักฐานฝ่ายไทยว่าทรงประสบอุบัติเหตุ ปืนใหญ่แตกใส่จนบาดเจ็บสาหัส จนกระทั่งต้องสั่งถอยทัพและสิ้น พระชนม์ระหว่างทาง แต่เอกสารฝ่ายพม่าว่ามีพระอาการประชวรตั้งแต่ เริ่มท�ำสงครามครั้งนี้ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ด้วย “โรคบิด” ระหว่างการ ท�ำศึก มังลอก ราชบุตรองค์ใหญ่สบื ราชสมบัตติ อ่ แต่มงั ลอกต้องเผชิญ กับปัญหา “ลองของ” จากบรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยที่แข็งเมืองท้าทาย พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ในจ�ำนวนนีร้ วมถึงเมืองเชียงใหม่ดว้ ยเมือง หนึ่ง ซึ่งหลังจากปราบเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว มังลอกก็ตั้งให้ “โปมะยุ ง่วน” เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ในอ�ำนาจพม่า
ปรามินทร์ เครือทอง 13
มังลอกหมดเวลาไปกับการ “ลองของ” ถึง ๒ ปี อยู่มาอีกราว ๒ ปี มังลอกก็สิ้นพระชนม์ รวมระยะเวลาครองราชสมบัติเพียง ๔ ปี (พ.ศ. ๒๓๐๓-๒๓๐๖) ราชสมบัตสิ บื ต่อมายัง “มังระ” พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ ของ พระเจ้าอลองพญา เอกสารพม่ากล่าวถึงนิสยั ใจคอของมังระไว้วา่ เป็นผูม้ อี ารมณ์รา้ ย ที่สุดในบรรดาพี่น้องด้วยกัน และมังระผู้นี้เอง ที่น�ำทัพบุกตะลุยตั้งแต่ชายแดนจนถึงก�ำแพง เมืองกรุงศรีอยุธยาใน “ศึกอลองพญา” นั่นเอง ดังนั้น เป้าหมายใหญ่ของ “พระเจ้ามังระ” คือการ “แก้มือ” กับ กรุงศรีอยุธยาให้จงได้! “สงครามกรุงแตก” ก�ำลังจะเริ่มขึ้น ขณะนัน ้ พระเจ้าตากทรงเจริญพระชนมพรรษา ๓๐ พรรษา
๓
กรุงแตก
ปรามินทร์ เครือทอง 15
แม้ว่าพระเจ้ามังระจะมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะ “ท�ำลาย” กรุงศรีอยุธยาให้จงได้ เพื่อขจัดปัญหากวนใจที่ชายแดน แต่การศึกต่อ กรุงศรีอยุธยาครัง้ นี้ พระเจ้ามังระกลับไม่ได้เสด็จน�ำทัพด้วยพระองค์เอง ทั้งที่ทรงมีประสบการณ์ตรงในการท�ำศึกกับกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นเหตุให้มีการ “ตีความ” กันว่า การที่พม่ายกทัพมาท�ำลาย กรุงศรีอยุธยานั้น เป็นการยกทัพมาอย่าง “กองโจร” ต้องการเพียงปล้น ชิงทรัพย์สมบัติตามหัวเมืองและในพระนครกรุงศรีอยุธยา เหตุเพราะ ไม่มีพระมหากษัตริย์เสด็จน�ำทัพอย่างสมเกียรติ ในขณะที่พระราชพงศาวดารไทย รวมถึงเอกสารต่างๆ ก็มุ่ง ประเด็นไปที่ “ความไม่เอาไหน” ของราชวงศ์บา้ นพลูหลวง และแน่นอนว่า “บาปทัง้ ปวง” ตกเป็นของพระมหากษัตริยใ์ นขณะนัน้ คือ สมเด็จพระเจ้า เอกทัศ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ พม่าเริ่มเข้าตีเมืองทวายตั้งแต่ปีวอก พุทธ ศักราช ๒๓๐๗ พอถึงปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ ยกมาถึง ราชบุรี นครสวรรค์ บ้านบางระจัน และยังใช้เวลาเฉพาะล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อีกถึง ๑ ปีกว่า จึงตีได้กรุงศรีอยุธยาในปีกุน พุทธศักราช ๒๓๑๐ จึงพอจะเห็นได้วา่ “สงครามกรุงแตก” ครัง้ นี้ ไม่ใช่งานง่ายๆ อย่าง ที่พระราชพงศาวดารกล่าวไว้ ในทางกลับกันก็สะท้อนให้เห็นว่า “ความ เสื่อม” ของกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นจริง จึงไม่สามารถป้องกันตัวเองจาก การรุกรานได้ แม้จะมีเวลาตั้งรับนานหลายปีก็ตาม “สงครามกรุงแตก” ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๐๗ เมื่อ พระเจ้ามังระให้มงั มหานรธาเป็นแม่ทพั ใหญ่บกุ ไปตีเมืองทวาย จัดการ กับ “หุยตองจา” ทีก่ อ่ การกบฏเมือ่ คราวผลัดแผ่นดินพม่า แล้วให้กองทัพ ของมังมหานรธาตีย้อนขึ้นไปทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา อีกกองทัพหนึ่งมีเนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพ ยกทัพลงมาจาก เมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าสู่กรุงศรีอยุธยา ทั้ง ๒ ทัพ “ตีดะ” ทะลุทะลวงฝ่าด่านหัวเมืองต่างๆ มาเรื่อยๆ กองทัพของมังมหานรธาบุกตะลุยตัง้ แต่เมืองกาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ธนบุรี นนทบุรี แล้วมีบางส่วนแยกไปทางวิเศษไชยชาญ จน
16 พระเจ้าตาก เบื้องต้น
ภาพปราสาทพระราชวังแห่งกรุงศรีอยุธยากำ�ลังถูกเพลิงไหม้ ที่หอราช กรมานุสรณ์ ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วาดโดย ขรัวอินโข่ง
ปรามินทร์ เครือทอง 17
ภาพบ้านเมืองในยามศึก ที่หอราชพงศานุสรณ์ วาดโดย ขรัวอินโข่ง
เกิด “ศึกบางระจัน” ที่โด่งดัง ในที่สุดก็เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ แต่ มังมหานรธาป่วยตายเสียก่อนที่จะเข้าพิชิตกรุงศรีอยุธยา ทางด้านเหนือ กองทัพของเนเมียวสีหบดีก็ “ตีดะ” ลงมาเช่น กัน ตั้งแต่ เชียงใหม่ สวรรคโลก สุโขทัย ก�ำแพงเพชร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี แล้วก็ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้เช่นกัน ฝ่ายกรุงศรีอยุธยายังคงเปิด “ต�ำราเล่มเดิม” คือ คิดว่าจะยือ้ เวลา จนถึงฤดูนำ�้ หลาก หวังว่ากองทัพพม่าก็จะถอยกลับไปเองเหมือนคราว ก่อนๆ แต่มาคราวนี้พม่าเปิด “ต�ำราเล่มใหม่” สู้ศึก สั่งยื้อเวลา ท�ำนา ปลูกข้าว หาที่ดอนอยู่ในหน้าน�ำ ้ รอจนหมดหน้าน�้ำ จึงโจมตีอย่างหนัก อีกระลอก
18 พระเจ้าตาก เบื้องต้น
ยุทธศาสตร์ ล้อมกรุง ตัดเสบียง ยืนหยัด รอน�้ำแห้ง แล้วเข้า โจมตีเป็นระยะๆ เช่นนี้อยู่ ๑ ปี ๒ เดือน จึงท�ำลายกรุงศรีอยุธยาส�ำเร็จ กรุงศรีอยุธยาแตกในวันเนาว์สงกรานต์ วันอังคาร ขึ้น ๙ ค�่ำ เดือน ๕ ปีกุน ศักราช ๑๑๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) เวลานี้พระเจ้าตากทรงเจริญพระชนมพรรษา ๓๓ พรรษา และเปิดตัวครัง้ แรกในพระราชพงศาวดาร แต่เป็นการเปิดตัวอย่าง ไม่สวยนัก