ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตส�ำนึก
ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตส�ำนึก นิธิ เอียวศรีวงศ์
ราคา ๑๘๐ บาท
ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตส�ำนึก • นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ พิมพ์ครั้งที่ ๒ : มิถุนายน ๒๕๔๗ พิมพ์ครั้งที่ ๓ : พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ราคา ๑๘๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม นิธิ เอียวศรีวงศ์. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์. --พิมพ์ครั้งที่ ๓.--กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๐๘ หน้า.--(ประวัติศาสตร์). ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์ I. ชื่อเรื่อง. 959.3 ISBN 978 - 974 - 02 - 1350 - 5
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน, พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อัสรี เสณีวรวงศ์ • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : กานต์สินี พิพิธพัทธอาภา
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์ ชาติไทย, เมืองไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์
(๖) (๘)
๑. วัฒนธรรมคือระบบความสัมพันธ์ ๒. คติที่เกี่ยวกับรัฐของประชาชนไทย จากวรรณกรรมปักษ์ใต้ ๓. ชาติไทยและเมืองไทย ในแบบเรียนประถมศึกษา ๔. สงครามอนุสาวรีย์กับรัฐไทย ๕. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย ๖. รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย ๗. ชาตินิยมในขบวนการประชาธิปไตย
๓
๔๐ ๗๕ ๑๐๕ ๑๑๔ ๑๔๔
งานเขียนของศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดัชนี
๑๖๔ ๑๖๘
๗
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (5)
ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์
นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับแรกออกวางตลาดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ. หลังจากที่นิตยสารนี้ได้ด�ำเนินกิจการมาไม่นานนัก อาจารย์นิธิ เอียว ศรีวงศ์ ก็ได้เริ่มเขียนบทความให้ลงตีพิมพ์. บทความชิ้นแรกนั้นคือ “ความล�้ำลึกของน�้ำเน่าในหนังไทย” ลงตีพิมพ์ในฉบับประจ� ำเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓. นับแต่นั้น อาจารย์นิธิก็ได้เขียนบทความส่ง มาให้นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยังไม่นับ ส่วนที่อาจารย์เขียนเป็นเล่มต่างหาก และได้มอบหมายให้พิมพ์ในชุด ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษอีกหลายเล่ม. งานเขียนของอาจารย์นิธิที่ทางส�ำนักพิมพ์มติชนน�ำมาจัดพิมพ์ รวมเป็นเล่มนี้ เกือบทั้งหมดเป็นบทความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงสิบสามปี แรกของนิตยสารฉบับนั้น. มีอยู่บางชิ้นได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารอื่นๆ ซึ่งในการน�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ด้วย ก็เป็นความประสงค์ของท่าน ผู้เขียนเอง โดยเหตุผลว่า เพื่อให้เนื้อหาของงานในชุดนั้นๆ สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น. และก็มีอยู่บางชิ้น ที่มิได้น�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ ทั้งด้วยเหตุผล ที่ว่าผู้เขียนเห็นว่างานชิ้นนั้นๆ มีข้อบกพร่องอยู่, และทั้งด้วยเหตุผล ที่ว่างานชิ้นนั้นได้เคยตีพิมพ์เป็นเล่มเฉพาะมาแล้ว. อย่างไรก็ตาม ทาง (6) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นก็ ไ ด้ จั ด ท� ำ บรรณานุ ก รมบทความของอาจารย์ นิ ธิ ทั้งหมดที่ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ปีที่ ๑ มาถึงปีที่ ๑๓ ไว้ด้วยในตอนท้ายของเล่ม. ส�ำหรับผู้อ่านที่ีปรารถนาจะติดตาม หาอ่านงานที่มิได้น�ำมารวมไว้นี้ ก็จะหาได้โดยง่าย. ในการรวมพิมพ์คราวนี้ ทางส�ำนักพิมพ์มติชนได้จัดแบ่งบทความ ทั้งหมดออกเป็นสี่เล่มตามลักษณะของบทความแต่ละชิ้น, ดังนี้. (๑) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย (๒) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ (๓) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย (๔) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ การจัดแบ่งหมวดหมู่ดังนี้ อันที่จริงก็เป็นการจัดโดยกว้างๆ เท่านั้น. ชื่อรองของหนังสือแต่ละเล่มดูเหมือนจะบอกไว้โดยชัดเจน พอสมควรแล้วว่า แต่ละเล่มนั้นมีบทความในประเภทใด. นอกจากจะได้จัดแบ่งเช่นนี้แล้ว ทางส�ำนักพิมพ์มติชนยังได้ ขอให้นักวิชาการสี่ท่านเขียนค�ำน�ำเสนอ (introduction) ให้กับแต่ละ เล่มด้วย. แน่ละ, ทรรศนะที่ปรากฏในค�ำน�ำเสนอดังกล่าวนั้น ย่อมเป็น ข้อความเห็นส่วนตนของนักวิชาการท่านนั้นๆ เอง. ข้อปรารถนาของ ทางส� ำ นั ก พิ ม พ์ ก็ คื อ ให้ ค� ำ น� ำ เสนอนี้ เ ป็ น ที่ เ ปิ ด ประเด็ น การวิ พ ากษ์ วิจารณ์ต่อไป-ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย. ส�ำนักพิมพ์มติชนหวังว่า งานรวมชุดนี้ของอาจารย์นิธิ เอียวศรี วงศ์ จะได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่วงวิชาการไทยและแก่สาธารณชน ในวงกว้าง, ดังที่บทความแต่ละชิ้นของท่านได้เป็นมาก่อนแล้ว. สุพจน์ แจ้งเร็ว บรรณาธิการฉบับรวมพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๘
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (7)
ชาติไทย, เมืองไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๘)
นิ ธิ เอี ย วศรี ว งศ์ มิ ไ ด้ เ ด่ น ดั ง เป็ น ข่ า วอย่ า งที่ ช าวบ้ า นร้ า นตลาด หรือแม้แต่ผู้คนในแวดวงการเมืองและธุรกิจจะรู้จัก แต่ในหมู่ปัญญาชน ซึ่งคงเป็นผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ ชื่อนิธิ เอียวศรีวงศ์ ไม่จ�ำเป็นต้องมีการ แนะน�ำ, มีหลายคนรู้จักใกล้ชิดนิธิทั้งในฐานะมิตรและศิษย์เสียยิ่งกว่า ผู้เขียน (ค�ำน�ำ), แต่ด้วยเหตุที่ผู้เขียนไม่เคยใกล้ชิดกับนิธิไม่ว่าในฐานะ ใดๆ, หากเป็นเพียงศิษย์ร่วมวิชาชีพและผู้นิยมผลงานของนิธิ ทั้งที่เป็น นักประวัติศาสตร์ และเป็นปัญญาชนของสาธารณชน จึงขอถือโอกาส วิเคราะห์นิธิ เอียวศรีวงศ์และข้อเขียนในเล่มนี้ตามสายตาของผู้ติดตาม อยู่ห่างๆ ซึ่งมีอิสระในการอ่านและตีความข้อเขียนของนิธิมากกว่าคน ใกล้ชิดทั้งหลาย สาระส�ำคัญของค�ำน�ำนี้คือ การวิจารณ์, ตั้งค�ำถาม จ�ำนวนมากต่องานของนิธิ เพื่ออภิปรายเลยออกไปถึงส�ำนึกในชาติและ ความเป็นไทยที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลง, ผู้เขียน (ค�ำน�ำ) ขออาศัยงานของ (8) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
นิธเิ ป็นตัวกลางเพือ่ สะท้อนบางแง่ทนี่ ธิ เิ องคงปฏิเสธ, สะท้อนผูอ้ า่ น, และ สะท้อนความเป็นไปในสังคมที่ข้อเขียนในเล่มนี้ช่วยสื่อให้เห็นได้ ๑ นิธิเป็นศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์และสารพัดอย่าง; เขาเป็น ชาวไทยจีนที่เข้าใจวัฒนธรรมไทยดีที่สุดคนหนึ่ง จึงมักจะพูด (เขียน) ถึงอะไรต่อมิอะไรจากมุมมองแบบไทยๆ บ่อยครัง้ (ใกล้เคียงกับ “จปล.” สุจิตต์ วงษ์เทศ และ “ไทยฝรั่ง” ไมเคิล ไรท์). คุณสมบัติข้อส�ำคัญ ของนิธิที่ท�ำให้เขาเป็นนักคิดนักวิจารณ์ที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือฐานความ รู้และภูมิปัญญาเกี่ยวกับสังคมไทยที่ศึกษาสั่งสมมานับสิบปี จนหล่อ หลอมเป็นแนวคิดมุมมองที่ไม่ค่อยเหมือนใคร. นอกจากนั้นนิธิยังมี ความสามารถในการใช้ภาษาความเรียงที่กระชับชัดเจนอย่างมีรสชาติ, รวมถึงความสามารถที่จะใช้และเล่นกับแนวคิดและทฤษฎีทางวิชาการ จากตะวันตกทั้งเก่าใหม่และตามสมัยนิยม โดยไม่ลืมที่จะย่อยแนวคิด เหล่านั้นจนกลายเป็นของเขาเองในภาษาไทยเสียก่อน. คุณสมบัติที่ขอฝากให้สังเกตดูอีกประการหนึ่งก็คือ ข้อเขียน ในนาม “นิธิ เอียวศรีวงศ์” ยังรักษาน�้ำเสียงลีลาของผู้ชายไทยๆ ไว้ เต็มเปี่ยม และไม่ค่อยปิดบังการใช้สายตาแบบผู้ชายในการวิเคราะห์ วิจารณ์หลายครั้ง. นิธิจึงมักจะเสนอแง่คิดที่ลึกซึ้งและผู้อ่านไม่เคยคิด มาก่อน. แต่ข้อเขียนของเขามักแฝงด้วยลีลาขี้เล่น และพลิกพลิ้ว (ซน) อยู่ลึกๆ แม้กระทั่งเมื่อเขากระเซ้าเย้าแหย่กับอ�ำนาจ. ข้อเขียนของ นิธิจึงจริงจัง แต่อ่านสนุก, ตรงไปตรงมาแต่ซับซ้อน, และทั้งคมทั้ง “ร้าย”, เปิดหูเปิดตาผู้อ่านจนสว่างไปหมด. ๒ ข้อเขียนส่วนใหญ่ในเล่มนี้เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๗ และชิ้ น หนึ่ ง เขี ย นเมื่ อ พ.ศ. ๒๕๒๖. ประเด็ น เรื่ อ ง รั ฐ ไทย, ชาติ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (9)
ไทย เป็นความหมกมุ่นของวงวิชาการไทยที่ผูกพันอยู่กับการเมือง ไทยในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ ท่ามกลางความผกผันเปลี่ยนแปลง ครั้ ง ใหญ่ ข องสั งคมไทย. ในครั้ งนั้ น เชื่ อ กั น ว่ า การวิ เ คราะห์ พั ฒ นา การของสั ง คมได้ ถู ก ต้ อ งเป็ น ภารกิ จ ชี้ เ ป็ น ชี้ ต ายว่ า สั ง คมไทยจะไป ทางไหนและด้ ว ยวิ ธี ใ ด. การวิ เ คราะห์ เ น้ น ไปที่ โ ครงสร้ า งอ� ำ นาจ, พั ฒ นาการของทุ น , รั ฐ , ชนชั้ น และประวั ติ ศ าสตร์ เ ศรษฐกิ จ สั ง คม ไทย ด้วยแนวคิดวิธีศึกษาที่เรียกอย่างกว้างๆ รวมๆ ว่า เป็นการ ศึกษาเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง. ความหมกมุ่นในประเด็นดังกล่าว ในช่วงนั้นทวีความส�ำคัญมากขึ้นเมื่อค�ำตอบส�ำเร็จรูปในแนวสังคม นิ ย มลดความน่ า เชื่ อ ถื อ ลงเรื่ อ ยๆ, ซ�้ ำ การค้ น คว้ า ทางวิ ช าการใน กระแสเช่ น นั้ น กลั บ มี ส ่ ว นท� ำ ให้ ค วามมั่ น ใจในค� ำ ตอบส� ำ เร็ จ รู ป ใดๆ พังทลายลง. เมื่อย่างเข้าสู่ปลายทศวรรษ ความผกผันและขัดแย้ง ของสั ง คมคลี่ ค ลายลง จนการวิ เ คราะห์ รั ฐ และชาติ ไ ทยในแบบดั ง กล่าวไม่เป็นเรื่องคอขาดบาดตายอีกต่อไป. นิธิมีส่วนร่วมในการค้นคว้าในช่วงดังกล่าวด้วยผลงานทาง ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ผลสะเทื อ นต่ อ ความรู ้ ข องเราอย่ า งน้ อ ย ในสองปริ ม ณฑลด้ ว ยกั น . ประการแรก คื อ การตรวจสอบวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ค วามรู ้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ต ามมาตรฐาน ทั้ ง ในแง่ อ งค์ ค วามรู ้ , ปรัชญา และแนวคิดทางประวัติศาสตร์ และวิธีการศึกษา, ประการ ที่ ส อง คื อ ข้ อ เสนอว่ า ด้ ว ยความเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ สั ง คม ขนาดใหญ่ ข องสั ง คมที่ ร าบลุ ่ ม น�้ ำ เจ้ า พระยา โดยเฉพาะกรุ ง เทพฯ เมื่ อ แรกเป็ น ราชธานี . ผลสะเทื อ นประการแรกปรากฏในรู ป ของ วิชาการ ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเปลี่ยนรูปโฉมไปอย่างมากใน ระยะ ๒๐ ปีที่ผ่านมา. ผลสะเทือนประการหลังยังไม่มีการประเมิน และยังไม่มีข้อวิจารณ์งานดังกล่าวของนิธิอย่างจริงจังแต่อย่างใด, เว้นเสียแต่ในหมู่นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้นอกประเทศไทย ที่ก�ำลังเพ่งมองคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ (ไม่ใช่ ๑๙) ว่าเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญของทั้งภูมิภาค. งานของนิธิเป็น ส่วนหนึ่งของการถกเถียงดังกล่าว. (10) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
การค้ น คว้ า อภิ ป รายเรื่ อ งรั ฐ ไทย, ชาติ ไ ทย ที่ ด� ำ เนิ น ต่ อ มา จนถึงขณะนี้ ซึ่งดูเหมือนเป็นมรดกตกทอดจากทศวรรษก่อน แท้ท ี่ จริงกลับอยู่ภายใต้ภาวการณ์ใหม่. การศึกษาค้นคว้ารัฐไทยในเชิง “เศรษฐศาสตร์การเมือง” ยังคงด�ำเนินต่อมา แต่เปลี่ยนภารกิจไป. สังคมไทยเร่งเป็นสังคมอุตสาหกรรมอย่างไม่คิดชีวิต และดูเหมือน จะเป็ น หนทางอนาคตที่ ย อมรั บ กั น โดยทั่ ว ไป ยกเว้ น แต่ เ พี ย งผู ้ รั บ เคราะห์ และกลุ่มองค์กรที่เป็นปากเสียงของเขาเท่านั้น ที่ยังพยายาม ทัดทานให้คิดถึงชีวิตกันบ้าง. “เศรษฐกิจการเมือง” ของวงวิชาการ ไทยดูเหมือนจะปวารณาตัวกับภารกิจทัดทานการกลายเป็นอุตสาห กรรมแบบไม่ ดู ต าม้ า ตาเรื อ . แต่ ก ารวิ เ คราะห์ รั ฐ , ทุ น และชนชั้ น แม้แต่ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ ก็ไม่มีผลกระทบเชิง ปฏิบัติการทางการเมืองของกลุ่มใดๆ อย่างที่เคยเป็นเมื่อทศวรรษ ก่อนหน้านั้น. งานเขี ย นของนิ ธิ จ� ำ นวนมากจั ด ได้ ว ่ า อยู ่ ใ นกระแสของฝ่ า ย ทั ด ทานอุ ต สาหกรรมแบบไม่ คิ ด ชี วิ ต . แต่ ดู เ หมื อ นนิ ธิ จ ะเป็ น นั ก สังเกตการณ์และนักรบทางวัฒนธรรมเสียมากกว่า. โจทย์ชุดใหม่ ในขณะนี้เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของแบบแผนการ ด� ำ รงชี วิ ต ทั้ ง ในกรุ ง , เมื อ ง และชนบท, ของค่ า นิ ย มและความรู ้ สึ ก นึกคิดของคนธรรมดาสามัญ ทั้งรวยและจน. การเปลี่ยนแปลงคราว นี้ อ าจจะทั่ ว ด้ า นลึ ก ซึ้ ง เสี ย ยิ่ ง กว่ า การสั่ น คลอนของโครงสร้ า งและ วั ฒ นธรรมทางการเมื อ งเมื่ อ ทศวรรษก่ อ น. ชาติ ไ ทยและสั ง คมไทย ไม่ ใ ช่ ป ระเด็ น เชิ ง เศรษฐกิ จ และการเมื อ งล้ ว นๆ แต่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของวัฒนธรรมในความหมายอย่างที่นิธิอธิบายไว้เอง ในบทแรกสุด ของเล่ ม นี้ . ตราบเท่ า ที่ เ ราลื ม ตามารู ้ จั ก โลกก็ มี ช าติ สั ง กั ด เสี ย แล้ ว , ความเป็ น ชาติ ย ่ อ มมี ค วามหมายใหญ่ ห ลวงเกี่ ย วพั น กั บ อั ต ลั ก ษณ์ (identity) หรือคุณสมบัติของคนไทย ของสังคมไทย ว่าเคยเป็นมา อย่างไร และจะผันผวนหรือปรับตัวกันอย่างไรในภาวะที่วิ่งเร็วจนร้อน ทุกวันนี้.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (11)
๓ ผิ ว โลกที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยชาติ ซึ่ ง เป็ น มรดกของคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ ๑๙ ก�ำลังเผชิญการท้าทายจากยุค “โลกานุวัตร” ของปลายศตวรรษที่ ๒๐. ด้านหนึง่ เกิดการรวมตัวกันเพือ่ ลดทอนสิง่ กีดขวางทางเศรษฐกิจ ระหว่างชาติ ซึ่งหมายถึงการลดทอนอ�ำนาจอธิปไตยของชาติในบาง ส่วน. ในเวลาเดียวกัน ทุน, เทคโนโลยี และข่าวสาร แพร่กระจาย อย่างไร้พรมแดน, ข้ามรั้ว ลอดรัฐเป็นว่าเล่น. อีกทั้งขณะนี้ยังจัดเป็น ยุคที่มีผู้ลี้ภัยพลัดถิ่นอพยพหรือย้ายไปลงหลักปักฐานนอกบ้านเกิด เมืองนอนของตนมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์; ความเป็นชาติที่มี สมาชิกอันมีคุณลักษณะร่วมกันหรืออดีตร่วมกันกลายเป็นเพียงความ ปรารถนาที่พ้นสมัย. แต่ในอีกด้านหนึ่งในโลกยุคเดียวกันนี้เองที่พลัง ของลัทธิชาตินิยมยังคงเป็นรากฐานของชาติ (เก่า) ที่เกิดใหม่จ�ำนวน มากมายที่ยังคงปรารถนาจะมีชุมชนของสมาชิกที่มีอดีตและอนาคต ร่วมกัน. ชาติยังเป็นพลังของความรัก, เกลียดชัง, การปราบปราม ภายในชาติและระหว่างชาติ. ปรากฏการณ์สวนทางกันนี้เองที่ท�ำให้ ชาติและชาตินิยมในเชิงวัฒนธรรมกลายเป็นประเด็นส�ำคัญขึ้นมาอีก ครั้งในวงวิชาการของโลกตะวันตก. ชาติสยามเพิ่งเกิดขึ้นมาได้ ๑๐๐ ปีเศษ พร้อมกับความหวาด วิตกต่อความมั่นคงของรัฐอย่างฝังจิตฝังใจ. ร้อยปีที่ผ่านมา ชาติ นิยมและความรักชาติจึงมักเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ส�ำคัญเพื่อ รักษาความมั่นคงของรัฐ เวลานี้ชาติไทยชนิดดังกล่าวก�ำลังก้าวไปสู่ ชาติไทยที่มั่นใจในความมั่นคง จึงทะเยอทะยานและเริ่มแผ่อิทธิพล. ชาติไทยที่มั่นใจในตัวเองมีความหนักแน่นมากขึ้นต่อความแตกต่าง หลากหลายในสังคม, ต่อความริเริ่มและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นของ ท้องถิ่น โดยไม่ถือเป็นภัยคุกคามต่อเอกภาพของชาติ. ชาติไทยชนิด ใหม่ก�ำลังก่อรูปก่อร่างขึ้นทั้งในทางปฏิบัติและในจิตส�ำนึกวิญญาณ ของผู้คน. ชาตินิยมทั้งที่เป็นแนวคิด จิตส�ำนึก และปฏิบัติการ จึง ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น. แสดงให้เห็นว่า ผู้วิจารณ์มิได้เป็นส่วนหนึ่ง (12) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
ของส�ำนึกในความเป็นชาติแบบเดิมอีกแล้ว. ภายใต้ภาวะเช่นนี้เท่านั้น ที่เราสามารถมีระยะห่างจากความเป็นชาติที่เคยเชื่อว่าชีวิตเราสังกัด อยู่ เพื่อเพ่งพินิจและเปิดเผยพลังอ�ำนาจที่ผูกมัดจ�ำกัดกรอบความรู้ ส�ำนึกของผู้คนในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน. ภายใต้ภาวะเช่นนี้แหละ ที่เกิดค�ำถามใหม่ๆ ที่มุ่งจะศึกษาให้เข้าใจความคิดเกี่ยวกับชาติไทย เมืองไทยในกระแสวัฒนธรรมของชีวิตสมัยใหม่. ณ จุ ด นี้ เ องที่ ข ้ อ เขี ย นของนิ ธิ ใ นเล่ ม นี้ ต ่ า งไปจากการศึ ก ษา ว่าด้วยรัฐและชาติในทศวรรษก่อน... ชาติไทยเมืองไทยในเชิงวัฒน ธรรมมิใช่เรื่องของอุดมคติหรือมายา และไม่ใช่จิตส�ำนึกจอมปลอม (ซึ่งบางคนถือว่าตรงข้ามกับสัจจะ). แต่ชาติไทยก็มิใช่ชุมชนการเมือง ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ตามธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือจะคงอยู ่ คู่ฟ้าดินตราบวันสุดท้ายของโลก; ไม่ใช่สังคมที่กงล้อประวัติศาสตร์ ใดๆ ก� ำ หนดให้ ต ้ อ งเกิ ด ขึ้ น มี ขึ้ น . ความเป็ น ชาติ เ ป็ น สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ทางวั ฒ นธรรม ซึ่ ง เมื่ อ ปรุ ง แต่ ง ด้ ว ยปั จ จั ย ต่ า งๆ ทางการเมื อ ง ก็ กลายเป็นความเป็นจริงขึ้นมา ทั้งบนผิวโลก, ในความรับรู้ของเรา และในชีวิตปรกติประจ�ำวันของเราท่านทั้งหลาย. ชาติ แ ละชาติ นิ ย มในแง่ นี้ ก� ำ ลั ง เป็ น ประเด็ น ซึ่ ง วงวิ ช าการใน โลกตะวันตกให้ความสนใจเช่นกัน เพราะภายใต้ปรากฏการณ์เกี่ยว กับชาติที่สวนทางกันดังกล่าวก่อนหน้านี้ ความไร้สาระของชาติเป็น เรื่องที่ตระหนักกันทั่วไป. ประเด็นของทศวรรษนี้จึงมิใช่ค�ำถามของยุค ต้นสมัยใหม่ว่า “ความเป็นชาติที่แท้จริงอยู่ที่ไหน” อีกต่อไป, แต่กลับ เป็นว่า ความเป็นชาติไทยได้รับการปรุงแต่งหรือถูกประดิษฐ์ขึ้นมา อย่างไร? ยืนยงอยู่ในความรับรู้ของเช่นนั้นได้อย่างไร? มีอิทธิพลต่อ ชีวิตของเรา, ร่างกายของเราอย่างไร? ๔ “ชาติ ไ ทย เมื อ งไทย ในแบบเรี ย นประถมศึ ก ษา” ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ สมบั ติ ข องชาติ ไ ทยที่ ส ะท้ อ นออกและสื บ ทอดโดยต� ำ ราเรี ย น. มโน นิธิ เอียวศรีวงศ์ (13)
ทั ศ น์ ชุ ด นี้ ท รงอิ ท ธิ พ ลแพร่ ห ลายอยู ่ ใ นศู น ย์ อ� ำ นาจทุ ก ระดั บ ไม่ ว ่ า จะเป็ น “นายธนาคาร, รั ฐ มนตรี , นายกรั ฐ มนตรี , หั ว หน้ า คณะ รัฐประหาร, ศาสตราจารย์หรืออธิการบดีมหาวิทยาลัย...ทั้งนี้เพราะ เมื่อได้อ่านหรือฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมของคนเหล่านี้...ไม่พบ ว่ า มี อ ะไรเกิ น กว่ า ที่ ป รากฏอยู ่ แ ล้ ว ในแบบเรี ย นประถมศึ ก ษาเลย” (หน้า ๘๘). ชาติไทยในมโนทัศน์มาตรฐานนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, มีความแตกต่างตามธรรมชาติที่สมัครสมานเข้าเป็นชาติอย่างสมดุล ราวกั บ อวั ย วะต่ า งๆ ของร่ า งกายที่ ส มบู ร ณ์ ดี หรื อ ครอบครั ว และ หมู่บ้านในอุดมคติที่มีอดีตอันงดงามมาร่วมกันและมีอนาคตสวยหรู ด้วยกัน, ส่วนปัญหาในชาติเป็นเพียงสิ่งแปลกปลอม ผิดปรกติที่ท�ำให้ ป่วยไข้ หรือท�ำให้ความราบรื่นสะดุดกึกเป็นครั้งคราว. ในบทความนี้ นิ ธิ อ ้ า งแต่ ต ้ น ถึ ง หนั ง สื อ ที่ ท รงอิ ท ธิ พ ลมากใน โลกวิชาการเกี่ยวกับชาตินิยม คือ Imagined Communities ของ Ben Anderson, โดยเฉพาะบทที่ว่าด้วยชาตินิยมของทางราชการ. ปั ญ หาส� ำ คั ญ ๆ ของหนั ง สื อ นี้ ก็ เ ป็ น ปั ญ หาของบทความนี้ ข องนิ ธ ิ เช่นกัน. ประการแรกคือค�ำว่าจินตนาการหรือจินตนกรรมในทั้งสอง ภาษามีนัยยะว่า สิ่งที่ก่อขึ้นในสมองและอยู่ในสมองได้แปร (แปล) เป็นความจริงตามที่สมองก�ำหนด. มีค�ำกล่าวในแนวคิดท�ำนองนี้ว่า ถ้าหากคนในวัฒนธรรมหนึ่งไม่มีความรับรู้เรื่องใด สิ่งนั้นก็ไม่ด�ำรง อยู่หรือไม่มีความหมายใดๆ ต่อพวกเขาเลย, หรือกล่าวให้กระชับและ ทื่อไปกว่านั้นก็ได้ว่า หากไม่มีค�ำก็ไม่มีความจริง. ความรู้ใช่เป็นเพียง การท�ำความเข้าใจและอธิบายสิ่งที่ด�ำรงอยู่แล้วในธรรมชาติและสังคม, ไม่ใช่ความพยายามเข้าถึงสัจจะที่ด�ำรงอยู่เป็นเอกเทศจากความรู้นั้น, และไม่ใช่การค้นพบ. ตรงกันข้าม, ความรู้กลับเป็น “พลังการผลิต หรือปัจจัยการผลิต” ด้วยเช่นกัน. ความรู้เป็นเงื่อนไขของการเกิดขึ้น ของสิ่ ง หนึ่ ง ๆ; ไม่ มี ค วามรู ้ ไ ม่ มี ค� ำ ก็ ไ ม่ ส ามารถประดิ ษ ฐ์ ค วามเป็ น จริงใหม่ๆ ขึ้นมาได้. Anderson ได้บรรยายไว้ในรายละเอียดว่า ส�ำนึก ในความเป็ น ชาติ มิ ไ ด้ จู ่ ๆ ปรากฏขึ้ น เป็ น ชุ ด ในสมองของปั จ เจกชน คนใด. แต่เป็นกระบวนการที่ก่อรูปร่างท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของ (14) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
วัฒนธรรม, การสื่อสาร, การพิมพ์ และปฏิสัมพันธ์ของคนจ�ำนวนมาก, แต่นิธิเน้นพรรณนามโนทัศน์ของความเป็นชาติไทย โดยมิได้อธิบายว่า ก่อรูปร่างมาอย่างไร. ประการที่สอง คือปัญหาของ “ชาตินิยมของทางราชการ”. ทั้ง Anderson และนิธิชี้ถึงกระบวนการที่รัฐปลูกฝังส�ำนึกในชาติผ่านระบบ การศึกษาสมัยใหม่, เรียกได้ว่า รัฐแพร่กระจายส�ำนึกแบบหนึ่งจากบน สู่ล่างส�ำเร็จอย่างราบรื่น โดยผ่านการกล่อมเกลาสมองกันตั้งแต่เด็ก จนโต. แต่อันที่จริงไม่มีความรู้ใดๆ ความหมายใดๆ ในเรื่องใดๆ เลย ที่ปราศจากคู่แข่ง คู่ขัดแย้งต่อสู้, ไม่มีความรู้ใดๆ เลยที่สามารถผลิต หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาตามล�ำพังอ�ำนาจของตน, แต่กลับจะ ต้องไปเกี่ยวข้อง, แลกเปลี่ยน, ปะทะขัดแย้ง หรือผสมผสานกับความ รู้ใกล้เคียงที่ด�ำรงอยู่ก่อนเสมอ. อย่างน้อยที่สุด ส�ำนึกในชุมชนแบบ เดิมต้องปะทะประสานกับส�ำนึกในความเป็นชาติ. ในแง่นี้บทความนี ้ ของนิธิท�ำได้ดีกว่าของ Anderson เพราะนิธิเน้นชัดเจนโดยตรงว่า มโนทัศน์ของชาติไทยมีรากฐานมาจากหมู่บ้านและครอบครัวในอุดม คติ (ของชนชั้นปกครองไทย?). บางคนอาจกล่าวว่าชนชั้นน�ำไทย สร้างมโนทัศน์นี้ครอบง�ำทั้งสังคม แต่ผู้เขียน (ค�ำน�ำ) กลับคิดว่าชน ชั้นน�ำไทยก็คงไม่สามารถจะส�ำนึกถึงความเป็นชาติได้โดยไม่คิดผ่าน สิ่งที่ตนเองรู้จักคุ้นเคยอยู่ก่อนแล้ว. ชาติ/หมู่บ้าน/ครอบครัวใหญ่ดูจะมี ความสัมพันธ์ที่สมเหตุสมผลที่สุดแล้ว.๑ ปัญหายังคงมีอยู่ว่า ผู้เรียน อย่างพวกเราได้รับการปลูกฝังมโนทัศน์ของหมู่บ้านและครอบครัว อุดมคติมาเช่นกันหรือ? อย่างไร? หรือเรายอมรับบทเรียนในต�ำรา มาทั้งดุ้นทั้งรูปธรรม นามธรรม และจิตใจส�ำนึก? โรงเรียนมีความ สามารถขนาดนั้ น เชี ย วหรื อ ? เด็ ก ทุ ก วั น นี้ แ ละในอนาคตอั น ใกล้ มี จ�ำนวนน้อยลงทุกทีที่เติบโตมากับครอบครัวแสนสุข, ครอบครัวขยาย และหมู่บ้านชนบท, แต่กลับคุ้นคยกับครอบครัวกลางถนน, ครัวเดี่ยว ๑
Eiji Muroshima, “The Origin of Modern Offfiicial State ldeology in Thailand.” Journal of Southeast Asian Studies 19 (1988), pp. 80-96. นิธิ เอียวศรีวงศ์ (15)
และหมู ่ บ ้ า นจั ด สรรมากกว่ า . ตั ว แบบอุ ด มคติ ข องชาติ จ ะยื น ยงคง กระพันไปได้อีกสักเท่าไร? นิธิดูจะพยายามชี้ให้เห็นอิทธิพลของโรงเรียนในตอนท้าย ซึ่ง ตรงกั น กั บ เราท่ า นที่ มั ก คิ ด กั น ว่ า โรงเรี ย นและแบบเรี ย นมี อิ ท ธิ พ ล ล้นเหลือในการกล่อมเกลาความรู้และจิตส�ำนึก. แต่เราท่านอีกนั่น แหละที่ มั ก จะวิ จ ารณ์ ป าวๆ ว่ า การศึ ก ษาล้ ม เหลวในแง่ ที่ อ บรมศี ล ธรรมจรรยาความประพฤติและวินัยเด็กไม่ส�ำเร็จ ทั้งๆ ที่จะหาตัวแบบ ที่ มี ศี ล ธรรมดี สุ ด ยอดไปกว่ า แบบเรี ย นและครู ข องกระทรวงศึ ก ษาฯ คงไม่ได้อีกแล้ว. นอกจากนี้ ยามที่เราพยายามอธิบายรากเหง้าของ “พวกหัวรุนแรง” ในยุคประมาณยี่สิบปีก่อน เรากลับมักจะไม่ค่อยพูด ถึงความล้มเหลวของโรงเรียนและแบบเรียนเลย. นิธิแสดงให้เห็นถึงการประสานกันของชาติ/หมู่บ้าน/ครอบครัว ในส�ำนึกของความเป็นชาติไทย. แต่ทั้ง Anderson และนิธิก็ยังคงมิได้ ชี้ไปถึงการปะทะขัดแย้งไม่ลงรอยกับมโนทัศน์อื่นที่ด�ำรงอยู่ก่อนหรือ แข่งขันกัน. เรามักเข้าใจกันว่า แนวคิดชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ ๖ และสมัยจอมพล ป. โดยหลวงวิจิตรวาทการ เผยแพร่กันอย่างราบรื่น แต่แท้ที่จริงต้องเผชิญค�ำวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง,การเยาะเย้ย ถากถางเสียดสีหนักหน่วง, โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ ๖.๒ ไม่เคย มีชาตินิยมของทางราชการจากบนสู่ล่างที่ปราศจากแรงปะทะขัดแย้ง. ความรู้เทียบเคียงที่พร้อมจะปะทะประสานหรือแข่งขันมาจาก ล่างสู่บนก็มีอยู่มาก. นิธิเองชี้ให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนในบทความเรื่อง “คติที่เกี่ยวกับรัฐของประชาชนไทยจากวรรณกรรมปักษ์ใต้.” ประเด็น ส�ำคัญโดยสรุปคือความรู้ว่าด้วยรัฐตามเอกสารราชการ, ตามสายตา ศูนย์กลาง เป็นคนละเรื่องกันกับรัฐตามสายตาของชาวบ้าน ซึ่งมักจะ เล็กๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนวิจิตรพิสดาร แต่ใกล้ชิดชาวบ้าน. บทความนี้ ๒
Matthew Copeland, “Contested Nationalism and the 1932 Overthrow of the Absolute Monarchy in Siam,” Ph.D. Thesis, Australian National University, 1994.
(16) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
เขียนขึน้ ในช่วงท้ายๆ ของการค้นคว้าถกเถียงว่าด้วยรัฐในเชิงเศรษฐกิจ การเมื อ ง นิ ธิ จึ ง มิ ไ ด้ เ พ่ ง ความสนใจไปที่ นั ย ยะส� ำ คั ญ ของความรู ้ คู่ขนานคนละชนิดเช่นนี้, หากยังคงอาศัยมโนทัศน์รัฐขนาดเล็กที่ไม่ซับ ซ้ อ นไปอธิ บ ายขอบข่ า ยและความเข้ ม ข้ น ของอ� ำ นาจรั ฐ ศู น ย์ ก ลาง สมัยโบราณ ซึ่งดูเหมือนจะมีอยู่จริงจังแค่ระดับเมือง แต่กลับเจือจาง เหนือหัวเมืองที่ห่างออกไป เช่น ทางปักษ์ใต้ และดูเหมือนแทบมิได้ แทรกแซงเข้าไปถึงหมู่บ้านภายใต้หัวเมืองเหล่านั้นสักเท่าไรนัก. รัฐ ในสายตาของชาวบ้านจึงสะท้อนภาวะอิสระห่างไกลจากอ�ำนาจรัฐที่ แท้จริง. ชุ ม ชนในจิ น ตนาการแบบอื่ น ๆ ที่ ป ะทะประสานกั บ ส� ำ นึ ก ใน ความเป็ น ชาติ มี อ ยู ่ ทั่ ว ไป; ชาติ นิ ย มแบบทางการไม่ มี ท างขจั ด หรื อ แทนที่ ไ ด้ ห มด หรื อ ไม่ เ คยพยายามและไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งขจั ด ให้ ห มด เพราะเราต่ า งนิ ย ามอั ต ลั ก ษณ์ ข องตนเองกั บ ชุ ม ชนหลายระดั บ ใน เวลาเดียวกัน (โรงเรียน, องค์กร, หมู่บ้าน, จังหวัด,ภาค, วิชาชีพ, ชาติ ) . ตราบเท่ า ที่ ค วามภั ก ดี ต ่ อ สั ง กั ด ระดั บ ต่ า งๆ ไม่ สั บ สนเป็ น อั น ตรายต่ อ ความเป็ น ชาติ ความรู ้ , พิ ธี ก รรม ปรั ม ปรา และคั ม ภี ร ์ ที่ สื บ ทอดค� ำ นิ ย ามและอั ต ลั ก ษณ์ ข องชุ ม ชนระดั บ นั้ น ๆ ย่ อ มคงอยู ่ และปฏิบัติได้เป็นปรกติ. ตัวอย่างได้แก่นิทานพื้นบ้านและพิธีกรรม ประจ� ำ ถิ่ น ทั้ ง หลาย. ๓ และเมื่ อ เกณฑ์ วั ด ระดั บ ความขั ด แย้ ง หรื อ อันตรายต่อความเป็นชาติผ่อนคลายลง อัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ ของท้ อ งถิ่ น กลั บ เป็ น สิ่ ง ที่ รั ฐ ส่ ง เสริ ม อย่ า งแข็ ง ขั น . ในระยะที่ รั ฐ ค่ อ นข้ า ง “เส้ น ตื้ น ” ต่ อ ความหลากหลาย ความรู ้ ส� ำ นึ ก ในชุ ม ชน ๓
Lorrain Gesick, In the Land of Lady White Blood : Southern Thailand and the Meaning of History, forth coming by Cornell Southeast Asia Program ชี้ให้เห็นการด�ำรงอยู่ของประวัติศาสตร์คนละชนิดกับประวัติศาสตร์ ของชาติที่เรารู้จักกันทั่วไป. อดีตคนละชนิดยังสืบทอดมาในชุมชนคนละชนิด กับชาติ, ไม่ถูกขจัดลบเลือนโดยส�ำนึกในความเป็นชาติ และยังคงมีชีวิตชีวา เคลื่อนไหวอยู่เป็นปรกติ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ (17)
จินตนาการแบบอื่นยังสามารถรักษาตัวรอดได้ด้วยการยอมรับความ “ไม่เป็นทางการ” ของตนเพื่อท�ำให้ชาติส�ำคัญเหนือสิ่งอื่นใดตามที่รัฐ ต้องการ. ดังนั้นแม้จะมีอิทธิพลจ�ำกัด แต่ความส�ำนึกในชุมชนแบบ อื่นๆ ก็สามารถรักษาตัวรอดได้. อันที่จริง เพียงแค่การด�ำรงอยู่ใน ขอบเขตจ� ำ กั ด ก็ เ ป็ น การปะทะขั ด แย้ ง อยู ่ ใ นที ต ลอดเวลาทุ ก ครั้ ง ที่ มี การเล่าขานนิทานปรัมปรา หรือเมื่อนิธิน�ำมาเล่าสู่กันฟัง. ความรู ้ แ ละส� ำ นึ ก ในชาติ แ บบต่ า งๆ มี ก รรมวิ ธี ก ารสื บ ทอด ตอกย�้ ำ ไปต่ า งๆ กั น ; ต� ำ ราและการเล่ า ขานผ่ า นวรรณกรรมเป็ น ส่วนหนึ่ง. แต่บางครั้งการต่อสู้ระหว่างความรู้คนละชุดแฝงอยู่ใน รู ป แบบที่ เ ราคิ ด ไม่ ถึ ง . “สงครามอนุ ส าวรี ย ์ กั บ รั ฐ ไทย” เป็ น บทที่ ดี ที่สุดในเล่มนี้ในทัศนะของผู้เขียน (ค�ำน�ำ) และเด่นที่สุดในแง่วิธีการ วิเคราะห์ตีความ. ในขณะที่หลายคนเริ่มพูดถึงวิธีการ Deconstruction จากแวดวงวรรณคดีวิจารณ์ นิธิไม่เอ่ยถึงหรืออธิบายวิธีวิทยา ชนิดนี้ แต่กลับลงมือท�ำเสียเลยในการวิเคราะห์สารและความหมาย ที่สื่อโดยอนุสาวรีย์การเมืองทั้งหลาย. นิธิจัดวางอนุสาวรีย์ลงในบริบทของประวัติศาสตร์และธรรม เนี ย มการจั ด สร้ า งรู ป เคารพหรื อ อนุ ส าวรี ย ์ ยุ ค ต่ า งๆ กั น , จากนั้ น จึ ง ท� ำ การจ� ำ แนกแยกแยะอนุ ส าวรี ย ์ อ อกเป็ น ส่ ว นๆ รวมไปถึ ง สัญลักษณ์,ศิลปะ, ภูมิสถาปัตย์ และพิธีกรรมประกอบ เพื่ออธิบาย (ตี ค วาม) ถึ ง “สาร” หรื อ ความหมายที่ อ นุ ส าวรี ย ์ สื่ อ ออกมา. สารหรื อ ความหมายที่ นิ ธิ ตี ค วามออกมานั้ น บางส่ ว นวิ เ คราะห์ ได้ว่าเป็นสิ่งที่ผู้สร้างประสงค์ หรือเป็นความมุ่งหมาย แท้จริง ของ อนุสาวรีย์ (ซึ่งดูเหมือนนักวิจารณ์วรรณกรรมบ้านเราจ� ำนวนมาก ยังคงหวงแหนห่วงใยเสียเหลือเกิน และยังคงให้ความส�ำคัญเหนือ สารอื่ น ๆ). แต่ ส ่ ว นที่ิ นิ ธิ เ องดู จ ะให้ ค วามส� ำ คั ญ มากกว่ า คื อ สาร และความหมายที่ เ ป็ น ผลมาจากค� ำ ถาม, มุ ม มอง และแนวคิ ด ที ่ นิธิเองใช้สอดส่องเข้าไปในการตีความ. วิธีการเช่นนี้ให้ความเคารพ ผู้สร้างเต็มเปี่ยม แต่ถือว่าผู้สร้างเองไม่สามารถบงการควบคุมความ หมายและผลงานของตนได้เท่าไรนัก. ทันทีที่สร้างเสร็จ ผู้เสพ (อ่าน, (18) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์
ชม) ย่ อ มเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในการก� ำ หนดความหมายของผลงาน นั้ น ๆ. ยิ่ ง เนิ่ น นานในประวั ติ ศ าสตร์ ความหมายหรื อ สารยิ่ ง พ้ น จากบงการของผู ้ ส ร้ า งไปโดยสิ้ น เชิ ง . เปลี่ ย นมื อ ไปสู ่ ผู ้ เ สพรุ ่ น ต่ อ ๆ มา (ซึ่ ง อาจอวดอ้ า งว่ า ตนเข้ า ถึ ง ความหมายดั้ ง เดิ ม ที่ แ ท้ จ ริ ง ก็ ไ ด้ ) . ผลลั พ ธ์ ที่ นิ ธิ เ สนอ คื อ การปะทะต่ อ สู ้ กั น ของมโนทั ศ น์ ห รื อ ส� ำ นึ ก ว่ า ด้ ว ยรั ฐ ไทยสองชุ ด สองสมั ย หรื อ สองกระแสการเมื อ ง. ฝ่ า ยหนึ่ ง คื อ รั ฐ สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ์ , อี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง คื อ (ยุ ค ที่ นิ ธิ เ รี ย ก ว่ า ) รั ฐ ชาติ ไ ทย. หน้ า ที่ ข องอนุ ส าวรี ย ์ คื อ การสถาปนาเค้ า โครง ประวั ติ ศ าสตร์ (“พล็ อ ตของอดี ต ”-ตามค� ำ ที่ นิ ธิ ใ ช้ ) เกี่ ย วกั บ รั ฐ ไทยตามที่ แ ต่ ล ะฝ่ า ยคิ ด , หรื อ จะเรี ย กว่ า เขี ย นประวั ติ ศ าสตร์ ด ้ ว ย อนุ ส าวรี ย ์ ค งจะตรงที่ สุ ด . ในทั ศ นะของนิ ธิ อนุ ส าวรี ย ์ ข องรั ฐ ชาติ ไทยพ่ายแพ้รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์แทบทุกด้าน. ตัวแทนของความพ่าย แพ้ยับเยินคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ “ไม่มีพลัง...จืดสนิทเท่ากับ ซีเมนต์กองใหญ่กลางถนน” (หน้า ๑๐๐). นอกจากชื่อซึ่งช่วยกู้ ความหมายไว้ได้บ้างแล้ว สัญลักษณ์อื่นๆ ของซีเมนต์กองนี้ก�ำกวม ลบเลือนและปราศจากพลังไปหมด. เค้าโครงประวัติศาสตร์ของรัฐ สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ์ จึ ง ยั ง มี ชี วิ ต และทรงพลั ง ยิ่ ง กว่ า กระทั่ ง สามารถ ช่ ว งชิ ง ความเป็ น เจ้ า บุ ญ นายคุ ณ ของประชาธิ ป ไตยไทยไปได้ อ ย่ า ง มหัศจรรย์, ทั้งยังรักษาสถานะผู้ให้ก�ำเนิดประเทศไทยสมัยใหม่ไว้ได้ อย่างเหนียวแน่นอีกด้วย. แต่ เ ราจะอธิ บ ายอย่ า งไรถึ ง พลั ง ของอนุ ส าวรี ย ์ แ ละประวั ติ ศาสตร์ (“พล็ อ ตของอดี ต ”) ของยุ ค สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ์ ที่ ป ราศจาก รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์มาเกินกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว? อะไรท�ำให้ความ หมายยั ง ทรงพลั ง สื บ เนื่ อ งมาได้ ป านนี้ ? ในระยะกว่ า ๓๐ ปี ห ลั ง สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ์ สิ้ น สุ ด ลง และรั ฐ ชาติ ( นิ ย ม)รุ ่ ง เรื อ งขึ้ น แทนที่ ซึ่ ง เป็ น ยุ ค ทองของอนุ ส าวรี ย ์ ป ระชาธิ ป ไตย, งานฉลองวั น ชาติ แ ละ รั ฐ ธรรมนู ญ นั้ น อนุ ส าวรี ย ์ แ ละอดี ต ของสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ์ ต กอั บ หรื อ ไม่ ? ขนาดไหน? สมมติ ว ่ า นิ ธิ ส ามารถใช้ วิ ธี ก ารเดี ย วกั น นี้ เขียนบทความเช่นนี้ในช่วงดังกล่าว นิธิจะมองเห็นฝ่ายใดทรงพลัง, นิธิ เอียวศรีวงศ์ (19)