ออมเงินให้อยู่หมัด

Page 1


Knock Down Money ออมเงินให้อยู่หมัด!

เรื่อง : ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ภาพประกอบ : อุบลโพยม องสารา

กรุงเทพมหานคร  สำ�นักพิมพ์มติชน  2557


สารบัญ

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ออมเป็นสุข (จริงๆ นะ) รู้จักนักเขียน รู้จักนักวาดภาพประกอบ

8 10 12 14

Chill Chill Level  16 ภาค 1 : Salary Girl เพราะฉัน “สวย” และ “รวย” มาก 17 Back to basic หยอดกระปุกน้อยแต่เก็บนาน 25 ฝากประจำ� ออมเงินภาคบังคับ 31 ช้อป (ไม่) เพลิน...ด้วยการจดรายการ 36 สักวันฉันจะทัวร์ยุโรป   41 ในกระเป๋าสตางค์ต้องมีบัตรอะไรบ้าง 48 Knock Down Money : ออมเงินให้อยู่หมัด 5


“เงินสด” หรือ “เงินผ่อน” จ่ายแบบไหนดี เรื่องภาษีเบาๆ ที่สาวออฟฟิศต้องรู้ สิทธิประกันสังคมกับเงินสงเคราะห์ชราภาพ สิทธิประกันสังคมระหว่าง “ลาออก” และ “ไล่ออก” สิทธิประกันสังคมอื่นๆ  สาวๆ รู้เรื่องการเงินของตัวเองแค่ไหน เคล็ดลับเด่น : The Best “Sale 90%”  ฉลาดเท่าทันคำ�ว่า “ลดราคา”   Medium Level  ภาค 2 : Up Level Up Money เพราะฉันจะทำ�เงินให้งอกเงย เปิด “ร้านค้าออนไลน์” ง่าย...ไม่ต้องลงทุน  อยากมี “บ้าน” สักหลังทำ�อย่างไรดี “ออมทองคำ�” มีเงินน้อยก็ออมได้เหมือนกัน ยืมเงินกันใช้ สไตล์คนเล่น “แชร์”   ซื้อ “สลากออมสิน” ลุ้นโชคกันดีกว่า การวางแผนเพื่อซื้อรถครั้งแรก Online Banking การเงินผ่านระบบออนไลน์ เปิดร้าน (เล็กๆ) ไม่ยากอย่างที่คิด เคล็ดลับเด่น : Short-Trem Fixed-Income Fund  ลงทุนหาเงินเพิ่มสไตล์คุณแม่ “กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น”

56 62 71 77 84 89 95 101 107 118 126 133 138 146 153 158 167


Serious Level   ภาค 3 : Which investment suits me best? ลงทุนแบบไหนถึงจะเหมาะกับสาวออฟฟิศ  ออกแบบชีวิตเพื่ออนาคต  “ประกันชีวิต” คล้ายการออมจนวันสุดท้ายของชีวิต “ประกันสุขภาพ” สำ�รองจ่ายยามฉุกเฉิน “ประกันอุบัติเหตุ” วงเงินสำ�รองสำ�หรับคน (ชอบ) เดินทาง พักเงินก้อนกับกองทุนรวมตลาดเงิน “ลงทุน” สำ�รองใช้ยามเกษียณ กับ “กองทุน RMF” ประหยัดภาษีด้วย “กองทุน LTF”  น่าสนใจนะ...พันธบัตรรัฐบาล  กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ  เคล็ดลับเด่น : คุณลุงนายธนาคารแนะกองทุนน้องใหม่  “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน”

172

บทส่งท้าย (infographic) จัดระเบียบเรื่องเงินๆ ทองๆ กันชัดๆ อีกสักครั้ง ว่าด้วยเรื่องของคนมีบัตร “เครดิต” รูปแบบการออมและการลงทุนแบบไหน ถูกใจใช่เลย! เราให้ความสำ�คัญกับการออมเพื่ออะไรกันบ้าง

249 250 250 254 255

173 180 187 195 202 209 215 221 227 232 238 244


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

เมื่อไหร่ฉันจะสวย??? เมื่อไหร่ฉันจะรวย??? เมื่อไหร่ฉันจะมีบ้าน??? เมื่อไหร่ฉันจะมีรถ??? เมื่อไหร่จะได้ไปเที่ยวต่างประเทศ??? . . . เมื่อไหร่...??? ค�ำถามเหล่านี้แทบจะเป็นปัญหาโลกแตกส�ำหรับหนุ่ม-สาวออฟฟิศ หลายๆ คน  บางคนถึงขั้นนั่งกุมขมับ ท�ำหน้านิ่วคิ้วผูกกันเป็นโบว์จนรอย 8 ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ


ตีนกาแย่งกันเกิด และอยากจะกรีดร้องให้ดังลั่นออกมาให้กับชีวิตการท�ำงาน ที่สุดแสนอาภัพ เพราะใช้เงินเดือนชนเดือนตลอด ท�ำให้ไม่มีเงินเก็บในบัญชี อีกทั้งยังมีรายจ่ายที่ยาวเป็นหางว่าว ทั้งค่าบ้าน ค่าน�้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต บลาๆๆๆ  โดยเฉพาะสาวๆ ที่ห่วงสวยตลอดเวลายังต้อง จ่ายค่าท�ำหน้า ท�ำผม ท�ำผิวอีกสารพัด จนต้องตกอับตอนสิ้นเดือน และนั่ง ซดมาม่าอย่างเปล่าเปลี่ยวเดียวดาย… สาวๆ จ๋า! ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเอง เรียกความ มั่นใจในตัวเองกลับคืนมา แล้วบอกลาปัญหาเหล่านั้นซะ  หนังสือ “ออมเงินให้อยู่หมัด” เล่มนี้จะทำ�ให้สาวๆ มีชีวิตใหม่ด้วย เทคนิคการออมเงินง่ายๆ 3 เลเวล พร้อมทั้งแนะวิธีการลงทุนที่จะช่วยให้มี เงินในบัญชีเพิ่มขึ้น  ส่วนสาวๆ คนไหนที่คิดว่า “การออมเงินเป็นเรื่องยาก  ฉันทำ�ไม่ได้หรอก” ขอให้ดีลีทความคิดนั้นทิ้งไป ขอให้นึกถึงบ้าน รถ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องสำ�อาง ฯลฯ ที่เราอยากได้  เพียงแค่มี “เป้าหมาย” และ “ความตั้งใจ” การออมเงินก็ไม่ใช่เรื่อง ยากอีกไป  เราขอเป็นกำ�ลังใจให้ และเชื่อว่าทุกคนต้อง “ทำ�ได้” อย่างแน่นอน   แล้วสาวๆ ก็จะบอกกับใครๆ ได้อย่างมั่นใจว่า  “ฉันฉลาด สวย และรวยมาก!” (พร้อมสะบัดบ๊อบแรงๆ หนึ่งที) สำ�นักพิมพ์มติชน Knock Down Money : ออมเงินให้อยู่หมัด 9


ออมเป็นสุข (จริงๆ นะ)

หลายครั้งที่เพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งคนรอบข้างมักบอกว่า “งก!”  ฉัน ยอมรับว่าตัวเองค่อนข้างงก!  แต่เรียกว่ารู้จักการใช้เงิน รู้จักการควบคุม รายรับ-รายจ่ายมากกว่า ไม่ใช่ตั้งหน้าตา “เก็บเงิน” จนลืมไปว่าเราหาเงิน ก็เพราะมาตอบสนอง “ความอยาก” นานาชนิดของตัวเองและคนที่เรารัก นับจากวันนี้ถึงอนาคต...หลายคนย่อมมีความฝัน การจะไขว่คว้าฝันให้ ส�ำเร็จ ปัจจัยหนึ่งที่ส�ำคัญก็คือ “เงิน” เพื่อเป็นใบเบิกทางในการเดินไปให้ ถึงความฝัน และอีกมากมายที่ต้องมี “เงิน” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ  หากวันที่เราสามารถบริหารจัดการควบคุมการเงินของเราได้ดี ชีวิต ของเราก็คงมีความสุข (จริงมั้ย?)   หากเราจัดสรรเรื่องเงินๆ ทองๆ ไม่ดี คิดแค่ว่ามีวันนี้ใช้วันนี้ พรุ่งนี้ ค่อยหาใหม่...ก็ไม่ผิด แต่มะรืนมันอาจจะฝืดขึ้นมาก็ได้  10 ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ


เพราะฉะนั้น ฉันจึงพยายามรวบรวมข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ เงินมาฝาก ส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง นอกนั้นก็หาข้อ มูลจากการสอบถามผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการเงินมาพอสมควร ผสม ผสานให้เกิดความรู้ส�ำหรับนักบริหารเงินมือใหม่ไปพร้อมๆ กับความรื่นรมย์ ในการอ่าน  และที่ส�ำคัญเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ทุกๆ คน รวมทั้งหนุ่ม-สาว สมัยใหม่รู้ไว้ก็จะสวย-หล่อยิ่งขึ้นค่ะ  อย่างไรก็ตาม ฉันหวังเพียงว่าข้อมูลที่พยายามเก็บหามาเล่าไว้ภาย ในหนังสือเล่มนี้จะท�ำให้ทุกคนที่หยิบจับแล้วรู้สึกว่าอ่านง่ายและสนุก พร้อม ทั้งจุดประกายให้อยากริเริ่มสิ่งใหม่ๆ และหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ตัวเอง สนใจมากขึ้น  ที่ส�ำคัญอย่าลืมบอกต่อเพื่อนๆ ด้วยล่ะ ทั้งหมดทั้งสิ้นก็เพื่อ ตัวของคุณเอง  และหากมีข้อผิดพลาดประการใด...ในฐานะผู้เขียนต้องขอ อภัยไว้ ณ ที่นี้   และสุดท้าย “ขอบคุณผู้อ่าน” ที่หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาพิจารณา เป็นอีกหนึ่งเล่มในชั้นหนังสือของคุณค่ะ ศรัญญา  โรจน์พิทักษ์ชีพ

Knock Down Money : ออมเงินให้อยู่หมัด 11


รู้จักนักเขียน

ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ ปัจจุบัน “แอร์” เป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ เคยมีพ็อกเก็ตบุ๊ก (แนวพัฒนา ตนเองด้านสุขภาพ) มาแล้วก่อนหน้านี้ชื่อหนังสือ “Lucky Health บลิ๊งก์ได้ ใกล้แค่เอื้อม” โดยสำ�นักพิมพ์มติชนนี่แหละค่ะ...ทำ�ให้ได้รับทั้งกำ�ลังใจและ คำ�ติชมจากผู้อ่านอย่างอบอุ่น จนมีพลังอยากจะสร้างสรรค์ผลงานเล่มต่อมา ...และหวังว่าจะมีอีกหลายๆ เล่ม (ยิ้มหวาน) ก่อนหน้านี้แอร์ทำ�งานกองบรรณาธิการนิตยสาร BE มาก่อน  ถาม ว่าทำ�ไมเป็นฟรีแลนซ์ บอกเลยว่าอยู่ในฐานะจำ�ยอม...ยอมจำ�นนต่อฟ้าดิน ให้เราเป็นนักเขียนอิสระ อิสระทางความคิดและทางการเงิน  แน่นอนค่ะว่า เมื่ออิสระขนาดนี้ เรื่องเงินเราจำ�เป็นต้องรัดกุม (ออกไปทางงกเบาๆ) ด้วย การที่เราต้องคอยอัพเดตเรื่องราวของเงินๆ ทองๆ  โดยเฉพาะ “วิธีการ ออมให้อยู่หมัด!” มิเช่นนั้นเราจะมีปัญหากับตัวเลขที่จะลดน้อยถอยลงอย่าง 12 ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ


ต่อเนื่องประหนึ่งดัชนีหุ้นที่พุ่งลงยามผันผวน ทำ�ให้แอร์เป็นอีกคนหนึ่งที่เล็ง เห็นถึงวิธีการออมเงินในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่หยอดกระปุก ยันซื้อกองทุน ซื้อพันธบัตรด้วยตัวเอง ก็เพื่อให้เงินก้อนน้อยๆ ของเรางอกเงยดอกผลขึ้น มาบ้าง ไม่หายไปตามสภาพคล่องทางความคิดหรืออิสระทางการใช้ชีวิต ของตัวเองค่ะ   นอกจากนี้ แอร์ยังมีอีกหนึ่งช่องทางที่จะสร้างเม็ดเงินให้กับอาชีพ นักเขียนอิสระ นั่นคือการสร้างธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง รวมทั้งการมองหา ต้นแบบธุรกิจสำ�หรับคนรุ่นใหม่มาเป็นแรงบันดาลใจ พร้อมทั้งเก็บข้อมูล ดีๆ เพื่อทำ�ธุรกิจของตัวเองต่อ  ยังไงก็ต้องขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ช่วยเป็น กำ�ลังใจให้นักเขียนอิสระตัวเล็กๆ คนนี้ด้วยนะคะ  ส่วนท่านใดอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วมีคำ�แนะนำ�ติชมการออมเงินสไตล์ แอร์ สามารถพิมพ์อีเมลมาหาแอร์ได้เลยค่ะที่ sarunya.magazine@gmail. com ยินดีน้อมรับทุกคอมเมนต์ค่ะ ขอบคุณจากใจอีกร้อยครั้ง   ป.ล. แอร์ยังคงรู้สึกขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่สละเวลาอ่านหนังสือเล่มนี้ และ หวังว่าข้อมูลที่นำ�เสนอไว้จะนำ�ทางให้เพื่อนๆ ได้พบกับรูปแบบการออมที่ เหมาะสมกับตัวเองในเร็ววันค่ะ

Knock Down Money : ออมเงินให้อยู่หมัด 13


รู้จักนักวาดภาพประกอบ

อุบลโพยม องสารา  สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านที่น่ารัก ขอแนะนำ�ตัวเองหน่อยนะคะ -- “ไหม” เป็นเด็กหัวฟูจาก ตจว. เรียนจบมาทางด้านการออกแบบกราฟิกและมัลติ มี เ ดี ย  คณะเทคโนโลยี อุ ต สาหกรรม มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนสุ นั น ทา ปัจจุบันทำ�งานอยู่ในตำ�แหน่งจูเนียร์กราฟิกดีไซน์ รักในงานออกแบบ ชอบ วาดภาพประกอบและการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ   สามารถส่งกำ�ลังใจและติชมผลงานวาดภาพประกอบของไหมได้ทาง instagram @illus_ongsara และเกาะติดไลฟ์สไตล์มุมมองการถ่ายภาพ แบบชิวๆ ได้ที่ instagram @u_ongsara หรือผ่าน E-mail : newfolderjb @gmail.com ขอฝากเนื้อฝากตัวและผลงานไว้ติดตามกันด้วยนะคะ  14 ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ


Knock Down Money ออมเงินให้อยู่หมัด!



ภาค 1

Salary Girl เพราะฉัน “สวย” และ “รวย” มาก

สาวๆ อย่างเราที่เพิ่งจะเริ่มต้นเข้าท�ำงานใหม่ๆ จนถึงวัยท�ำงานมา สักระยะหนึ่งแล้วก็เริ่มมีความต้องการที่จะ “ออมเงิน”  รวมทั้งต้องการที่ จะท�ำให้เงินที่นอนอยู่นิ่งๆ นั้น “งอกเงย” ขึ้นมาได้บ้าง  เพราะวัยท�ำงาน ซึ่งมีรายได้หลักมาจากเงินเดือนนั้นหลายคนอาจหมดไปกับการใช้จ่ายอย่าง เพลิดเพลินจนลืมเก็บออมบ้าง ติดลบบ้าง   จริงๆ แล้ว หากต้องการที่จะมีเงินเก็บเป็นเงินส�ำรองฉุกเฉินเพื่อใช้ ในอนาคต  หรือแม้กระทั่งเก็บออมเพื่อซื้อทรัพย์สินขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงๆ ก็ควรที่จะออมเงินตั้งแต่อายุยังน้อย  ยิ่งเริ่มออมเร็วได้เท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบ เพราะอย่างน้อยวัยท�ำงานก็ยังมีไฟที่จะหาหนทางเพิ่มรายได้และกระตือรือร้น ในการหาเงิน  แต่ปัญหาติดอยู่ตรงที่ว่า “อดใจช้อปปิ้งไม่ไหว” เงินเดือน ออกเมื่อไหร่จ่ายกระจาย สุดท้ายก็มานั่งท�ำหน้าเซ็งแล้วบ่นว่า  Knock Down Money : ออมเงินให้อยู่หมัด 17


“ไม่มีเงินเก็บเลย เงินเดือนชนเดือนตลอด” แย่จัง...   เพราะฉะนั้น หากสาวๆ คนไหนเคยมีอาการแบบนี้ น่าจะปรับชีวิต แสนเศร้านี้ใหม่ แล้วมาร่วมขบวนเป็นสาวออฟฟิศที่ “สวย” และ “รวยมาก” กันดีกว่า

จดรายรับ-รายจ่าย จากที่ไม่เคยสนใจว่าเราใช้จ่ายไปเท่าไหร่ ถึงเวลาแล้วที่เราจะปรับ ตัวเองใหม่ โดยเริ่มหยิบสมุดโน้ตน่ารักๆ ขึ้นมาแล้วจดสิ่งที่เราซื้อทุกอย่าง ลงไปตั้งแต่ครั้งแรกที่ควักเงินออกจากกระเป๋าเลย  นอกจากจะท�ำให้เรารู้ว่า หนึ่งวันเราใช้จ่ายอะไรไปบ้างแล้ว เราจะยังรู้อีกด้วยว่า เราจ่ายเงินไปมาก เสียจนลืมจดด้วยซ�้ำ เพราะปริมาณการควักเงินออกมันมากจริงๆ  โดยให้เริ่มต้นการจดตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือน จนถึงวันที่ 7 ของเดือน เรียกว่า “รอบที่ 1”  และท�ำอย่างนี้จนครบ 1 เดือน  สุดท้ายมาสรุปกันว่า เราใช้จ่ายไปมากน้อยเท่าไหร่ ใช้มากเกิน หรือใช้แบบยังพอเหลือเก็บ มา ลองดูกัน

18 ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ


เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่จะสามารถน�ำมาใช้ได้นั่นก็คือ ค�ำนวณราย จ่ายตายตัวของเราต่อเดือนไปเลย เช่น ค่าเดินทางไป-กลับระหว่างบ้านและ ที่ท�ำงาน ค่าอาหารเช้า ค่าอาหารกลางวัน ค่าซื้อของ และค่าพักผ่อนทุก กรณี น�ำมาหารเฉลี่ยรวมกันว่าในหนึ่งเดือนเราควรใช้เท่าไหร่ ซึ่งจะท�ำให้ เราสามารถจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ของเราได้ดีทีเดียว  อีกอย่างคือ กัน เงินส่วนที่ต้องจ่ายไว้ให้ตัวเองบริหารจัดการ ดีกว่ามานั่งเปิดกระดาษตังค์ แล้วพบความว่างเปล่าก่อนสิ้นเดือน...จนแทบจะสิ้นใจ

ท�ำปฏิทินหนี้สิ้น ส�ำหรับคนที่ต้องจ่ายค่าผ่อนช� ำระสินค้าต่างๆ อย่าลืมท�ำตาราง ปฏิทินก�ำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย หรือจ่ายค่างวดต่างๆ เอาไว้ในสมุดจดบันทึก รายรับ-รายจ่ายด้วย กันลืม และเพื่อกันเงินไว้จ่ายให้ทันและตรงก�ำหนด ป้องกันการเสียดอกเบี้ยที่มากขึ้น และโดนแบล็กลิสต์เพราะลืมจ่าย หรือ จ่ายไม่ตรงเวลานั่นเอง

Knock Down Money : ออมเงินให้อยู่หมัด 19


ตัวอย่าง : ตารางจดรายรับ-รายจ่าย  (àÃÒä´Œà§Ô¹¨Ò¡ä˹ áÅЫ×éÍÍÐäà ¨‹Ò¤‹ÒÍÐäÃ仺ŒÒ§)

1 / 01 / 56

à§Ô¹à´×͹

2 / 01 / 56

7 / 01 / 56

20 / 01 / 56

31 / 01 / 56

ÃÒÂÃѺ

ÃÒ¡ÒÃ

Çѹ/à´×͹/»‚

(ÃѺ-¨‹ÒÂÇѹä˹ãˌŧºÑ¹·Ö¡äÇŒ·Ø¡æÇѹ¡Ñ¹Å×Á)

(àÃÒä´Œà§Ô¹ÁÒËÅÑ¡ÊÔº Ì͠¾Ñ¹ ËÁ×è¹ ¡ç¨´à¢ŒÒä»)

ÃÒ¨‹ÒÂ

15,000

½Ò¡¸¹Ò¤ÒÃ

2,000

¤‹Òâ·ÃÈѾ· 2 à¤Ã×èͧ

1,500

¤‹ÒÍÔ¹àµÍà à¹çµºŒÒ¹

800

¤‹Òà´Ô¹·Ò§ÁÒ·Ó§Ò¹ÃÒÂà´×͹

3,000

¤‹Ò¡Òá¿Ê´Á×éÍઌÒ

30

¤‹Ò¢ŒÒÇà˹ÕÂÇ䡋‹ҧÁ×éÍઌÒ

30

¤‹ÒÁ×éÍà·Õè§

40

¤‹Ò»ˆÍ»¤Íà ¹áÅдÙ˹ѧ

300

ÊÃØ»ÃÇÁÃͺ·Õè 1

7,700

¤‹Òà´Ô¹·Ò§·‹Í§à·ÕèÂǾѡ¼‹Í¹

3,000

ãËŒ¤Ø³áÁ‹äÇŒ 㪌¨‹ÒÂ㹺ŒÒ¹

2,000

¤‹Òàºà¡ÍÃÕèÌҹâ»Ã´

150

ÃÇÁ

ËÁÒÂà˵Ø

(àÃÒ¨‹ÒÂà§Ô¹ÁÒËÅÑ¡ÊÔº Ì͠¾Ñ¹ ËÁ×è¹ ¨´·Ø¡ÃÒÂÅÐàÍÕ´)

15,000

(ºÑÞªÕ½Ò¡»ÃШӷÕèµÑ´ºÑÞªÕà§Ô¹à´×͹ ·Ø¡æ à´×͹)

ÃÒÂà´×͹ 1,000 àµÔÁà§Ô¹ 500

ẋ§¡Ñ¹äÇŒàÅÂ

¨Ñ§ËÇÑ´ÃÒªºØÃÕ 2 Çѹ 1 ¤×¹

12,850

ÊÃØ»à´×͹Á¡ÃÒ¤Á ÃÒÂÃѺÁÒ¡¡Ç‹ÒÃÒ¨‹Ò 2,150 ºÒ· (àÍÒä»ãÊ‹ 㹺ÑÞªÕÍÍÁà§Ô¹ÂÒÁà¡ÉÕ³ / ŧ·Ø¹ / ÍÍÁÊÓËÃѺ¡Òþѡ¼‹Í¹) ËÁÒÂà赯 : ÃÐËÇ‹Ò§ Çѹ·Õè 7 ໚¹ä»µŒ¹ àÃÒÊÒÁÒöÃٌ䴌àÅÂÇ‹Ò àÃÒ¨Ð㪌à§Ô¹ã¹¡ÒôÓçªÕÇ Ôµà©ÅÕèÂáÅŒÇä´ŒÇѹÅÐà·‹ÒäËË ËÒ¡àÃÒ·Ó໚¹µÒÃÒ§ÃÒÂÃѺ-ÃÒ¨‹ÒÂÍÍ¡ÁÒ ÃÒ¨‹ÒÂÁÒ¡¡Ç‹ÒÃÒÂÃѺ .......... ºÒ· (ËÒÇÔ¸¨Õ Ñ´¡ÒÃ˹ÕéÊÔ¹ãˌ䴌)


ตัวอย่าง : ปฏิทินหนี้สิน


แบ่งส่วนเงินออม หากเราตั้งใจจะออมเงินจริงๆ จังๆ แล้วละก็ เราต้องแบ่งเงินออม ไว้อย่างน้อย 10% ของรายได้ เช่น เงินเดือน 15,000 บาท ตัดยอดเป็นเงิน ออมทันที 1,500 บาท  หากห่วงว่าจะอดใจไม่ไหว แนะน�ำให้ตัดบัญชีเงิน เดือนเข้าบัญชีฝากประจ�ำไปเลย นี่คือการกันลืมเป็นอย่างดี  ทีนี้เราก็จะ อุ่นใจว่าเรามีเงินเก็บแล้ว  หรือเทคนิคส�ำหรับสาวช่างออมมือใหม่ที่อดใจได้อยากยิ่ง ขอน�ำ เสนอวิธีออมเพียงวันละ 20 บาท หรือเดือนละ 600 บาท  เก็บแบงก์ 20 บาท หรือเหรียญ 10 สองเหรียญใส่กระปุก แล้วหยอดทุกวัน พอครบ 1 เดือนก็น�ำไปฝากธนาคาร  ภายในระยะเวลา 1 ปี เราจะมีเงินเท่ากับ 7,200 บาท (ยังไม่ได้รวมดอกเบี้ยเงินฝาก)  และหากเราออมต่อไปเรื่อยๆ จนครบ 15 ปี รู้มั้ย...เราจะมีเงินเก็บถึง 108,000 บาท (ยังไม่ได้รวมดอกเบี้ยเงิน ฝาก) เลยทีเดียว  เพราะฉะนั้น สาวๆ จ๋ามาเริ่มเก็บวันละ 20 บาทตั้งแต่วันนี้กันเถอะ ชีวิตวันข้างหน้าจะไม่ล�ำบาก (ใจ)

เปิดบัญชีใหม่ชนิด “ห้ามถอน” ด้วยความเป็นสาวนักช้อปและชอบเที่ยวเป็นกิจวัตร สาวออฟฟิศ อย่างเรามักจะอดเปรี้ยวไว้กินหวานไม่ได้อยู่บ่อยๆ  เพราะฉะนั้น หากจะ เป็นสาวออฟฟิศที่ (อยาก) สวยและรวยมากแล้วละก็ แนะน�ำให้เปิดบัญชี ใหม่ล่าสุดเพิ่มขึ้นมาจากบัญชีเงินเดือนออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากประจ�ำ 22 ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ


ให้เป็น “บัญชีห้ามใช้” เพื่อเก็บเป็นเงินส�ำรองในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นค่า ดูแลรักษาพยาบาลพ่อ-แม่ยามชรา ค่าเลี้ยงดูลูกในอนาคต  เมื่อฝากเงินใส่ บัญชีนี้แล้ว อย่าลืมเสกคาถา “จงลืมมัน” ทุกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ต้องไม่ถอนมันออกมาใช้ก่อนเวลาที่ควรเป็นอันขาด

ส�ำหรับสาวๆ อย่างเรา นอกจากจะท�ำงานและหาเงินเก่งแล้ว จะ  ต้องบริหารการเงินให้เก่งตามไปด้วย  โดยเริ่มจากการออมเล็กๆ น้อยๆ  แล้วค่อยๆ เขยิบเข้าไปใกล้เรื่องของการเงินที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ  รวมทั้งยอมรับความเสี่ยงของการลงทุนที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรู้เท่าทัน และ  สนุกไปกับการจัดการวงจรชีวิตเงินเดือนของตัวเอง Knock Down Money : ออมเงินให้อยู่หมัด 23


24 ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.