กำเนิดประเทศไทยภายใต้เผด็จการ

Page 1


ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ



ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

ราคา ๒๒๐ บาท


ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้เผด็จการ  ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม ๒๕๕๘ ราคา ๒๒๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้เผด็จการ.  กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๓๑๒ หน้า.- -(ประวัตศิ าสตร์). ๑. ไทย- -ประวัติศาสตร์.  I. ชื่อเรื่อง. 959.3 ISBN 978 - 974 - 02 - 1421 - 2

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


ส า ร บั ญ

ก�ำเนิด “ประเทศไทย”  ภายใต้เผด็จการ

คำ�นำ�เสนอ คำ�นำ�

(๙) (๑๔)

บทน�ำ

ปรากฏขึ้นจริง ด้วยพื้นที่ทางกายภาพ

๑๒

การสร้างระบบการขนส่งเพื่อเชื่อมโยง  “พื้นที่ประเทศไทย” เข้าด้วยกัน

๑๔

การท�ำให้ “พื้นที่ประเทศไทย”

การก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยง “พื้นที่ประเทศไทย”

การสร้างระบบมาตรฐานในการขนส่งทางบก จากภูธรสู่นครหลวงและมาตรฐานของระบบทางหลวง รถยนต์โดยสารประจ�ำทาง การเดินทางภายในประเทศไทย จัดตั้งสถานีขนส่ง ณ ศูนย์กลางประเทศ การเดินทางภายในจังหวัด ระบบทางหลวงแผ่นดิน ดัชนีชี้วัดของการกระจายตัวของการขนส่ง

๑๕ ๒๒ ๒๓ ๒๕ ๓๕ ๓๗ ๓๘ ๔๒

ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ (5)


การสร้างเอกภาพของ “พื้นที่ประเทศไทย”  ด้วยพื้นที่ที่ใช้ควบคุม “พื้นที่เมือง” พื้นที่จังหวัด-อ�ำเภอ

ตัวแทนอ�ำนาจรัฐยุคพัฒนา เมืองทันสมัย ศูนย์กลางความเจริญในยุคพัฒนา การเมืองเรื่องการวางผังเมือง หลักการของผังเมือง  อ�ำนาจครอบจักรวาลในการจัดการพื้นที่ ผังเมืองที่ไร้อ�ำนาจรองรับ นโยบายพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ  ความหมายใหม่ของเมืองทันสมัย ปัญหาเยาวชนและพื้นที่ต้องห้าม พื้นที่สาธารณะยุคพัฒนากับนโยบาย  “พื้นที่สันทนาการ” การใช้อ�ำนาจของพื้นที่ในการขัดเกลาเยาวชน พื้นที่สันทนาการรองรับเมืองทันสมัย พื้นที่แห่งการจับจ้อง อีกมิติหนึ่งของพื้นที่สันทนาการ

พื้นที่ทางสังคม ในฐานะประดิษฐกรรม สูค ่ วามสัมพันธ์ของสังคมใหม่ เครือข่ายกระทรวงมหาดไทยกับการสถาปนา ความสัมพันธ์ในพื้นที่ประเทศไทย พื้นที่การให้บริการของรัฐ การเข้าถึงระบบการสาธารณสุข

การเข้าถึงระบบการศึกษา บัตรประจ�ำตัวประชาชน กับต�ำแหน่งแห่งหนในประเทศไทย

(6)

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ

๔๔ ๔๕ ๔๗ ๔๘ ๕๐ ๕๒ ๕๕ ๕๗ ๖๐ ๖๒ ๖๔ ๖๘

๘๘ ๙๐ ๙๐

๙๑ ๙๒ ๙๘


จังหวัดภิวัตน์  พื้นที่แห่งการรวบอำ�นาจเข้าสู่ภูมิภาค การจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมใต้พื้นที่

“ความเป็นจังหวัด” ตัวแทน “พื้นที่ทางสังคม” ใจกลางจังหวัด กิจการลูกเสือที่เชื่อมร้อยระหว่าง  จังหวัด-ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ค่ายลูกเสือ พื้นที่รองรับกิจกรรม กิจการกาชาด เหล่ากาชาดจังหวัด อนุกาชาดจังหวัด พื้นที่ทางสังคมชนบทกับการจัดความสัมพันธ์ เชิงอ�ำนาจกับคนชนบท

๑๐๑ ๑๐๓ ๑๐๖ ๑๐๗ ๑๑๑ ๑๑๒ ๑๒๐

การขยายตัวของพื้นที่สื่อมวลชน เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ประเทศไทย

๑๒๓

ที่ขยายตัวผ่านวิทยุโทรทัศน์ วิทยุทรานซิสเตอร์กับอ�ำนาจของประชาชน สื่อสารมวลชน และชนชั้นในวิทยุ-โทรทัศน์

๑๒๔ ๑๒๗ ๑๓๐

พื้นที่ความมั่นคงและวัฒนธรรมบันเทิง

การหมุนเวียนข่าวสาร กับวัฒนธรรมการอ่านในพื้นที่เมือง พลังของการท่องเที่ยว กับการเสริมสร้าง “พื้นที่ประเทศไทย” การท่องเที่ยวภายใต้ก�ำกับของรัฐ

๑๓๓ ๑๓๙ ๑๔๑

ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ (7)


เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ทางความคิด

๑๖๙

คติเวลาที่ก้าวหน้าในยุคพัฒนา กับความหมายใหม่ของการนิยามพื้นที่

๑๗๐

การผลิตความหมาย “พื้นที่ประเทศไทย”

ยุคพัฒนา กาลเวลาแห่งความก้าวหน้า

เด็กและเยาวชน  นัยยะของความก้าวหน้าและอนาคตของชาติ กระบวนการท�ำพลเมืองให้เป็นเด็ก

คติเวลาแบบอนุรักษนิยม กับการรื้อฟื้นพื้นที่ความทรงจำ�ร่วม ชาติ แกนหลักในฐานะพื้นที่ชาตินิยมไทย

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร  ความขัดแย้งบน ๒ ชาตินิยม พื้นที่ความทรงจ�ำร่วมในกรอบประวัติศาสตร์แห่งชาติ พุทธศาสนา พื้นที่ทางศีลธรรม กับการเปลี่ยนแปลงในยุคพัฒนา  สถาบันพระมหากษัตริย์ การรื้อฟื้นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ ์ และสร้างพื้นที่แห่งความทันสมัย

การสร้างพื้นที่ “แห่งชาติ”  ตัวตนบนพื้นที่ “นานาชาติ”    พื้นที่แห่งการแข่งขันและการประกวด

เอกลักษณ์ไทยที่โดดเด่นบนเวทีโลก    การจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ๒๕๐๙

บรรณานุกรม

(8)

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ

๑๗๖ ๑๘๑ ๑๘๖

๑๘๙ ๑๙๑ ๑๙๓ ๑๙๘ ๒๑๔ ๒๒๐

๒๓๑ ๒๓๑ ๒๓๖ ๒๔๑

๒๘๐


คํ า นํ า เ ส น อ ก�ำเนิด “ประเทศไทย”  ภายใต้เผด็จการ

หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้ ความรู้สึก และความคิดอะไรบ้างที่ม ี คุ ณ ค่ า แก่ ผู ้ อ ่ า น? ค� ำ ถามท� ำ นองนี้ ย ่ อ มเกิ ด ขึ้ น ในใจของคนเขี ย น  “ค�ำน�ำ” ทุกคนที่จะต้องเขียน “ค�ำน�ำ” ให้แก่หนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง  ในความพยายามทีจ่ ะตอบค�ำถามดังกล่าวนี ้ ผูเ้ ขียนค�ำน�ำส�ำหรับหนังสือ  “ก� ำ เนิ ด  ‘ประเทศไทย’ ภายใต้ เ ผด็ จ การ” ของคุ ณ ภิ ญ ญพั น ธุ ์  พจนะลาวัณย์ ต้องประสบกับความยากล�ำบากมากทีเดียว เพราะ  ความรู้ใหม่ที่ได้รับการน�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้มีความหลากหลายและ  ซับซ้อน อีกทั้งยังพลิกความเข้าใจทั่วไปของผู้คน จนยากที่จะเลือก  หยิบเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งขึ้นมาแสดงให้เห็นคุณค่าได้อย่างง่ายๆ  ดังนั้นวิธีที่เลือกใช้ก็คือการหยิบเอาเฉพาะประเด็นหลักของหนังสือ  ขึ้นมากล่าวถึง  โดยหวังว่าผู้อ่านจะรีบพลิกข้าม “ค�ำน�ำ” นี้โดยเร็ว  เพื่อจะเข้าไปสัมผัสกับเนื้อหาที่น่าสนใจของหนังสือด้วยตัวของท่านเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหมุดหมายหนึ่งของความพยายามในการท�ำให้  การศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมไทยก้าวข้ามการศึกษาประวัติศาสตร์  แบบขนบ (Conventional History) เพื่อเปิดโอกาสให้คนในสังคมไทย  ได้สัมพันธ์กับ “อดีต” ในรูปลักษณะใหม่ๆ เพื่อที่จะจัดความสัมพันธ์  กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึงได้อย่างมีความหมายและคุณค่ามากขึ้น การศึกษาประวัติศาสตร์แบบขนบมักจะเน้นอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่ง  ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ (9)


ของมิติความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ เช่น “ประวัติศาสตร์การ  เมือง” จะเน้นอยู่ที่บทบาทของผู้น�ำทางการเมืองหรือสถาบันทางการ  เมือง  “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ” มักจะเน้นความเปลี่ยนแปลงทาง  เศรษฐกิจ ซึ่งอาจเป็นการผลิต การค้า หรือแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจ  เติบโตหรือถดถอยในช่วงเวลาต่างๆ อย่างไรบ้าง  ส่วน “ประวัติศาสตร์  สังคม” และ “ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม” ก็มักจะถูกท�ำให้เข้าใจผิดว่า  จะต้องแสดงให้เห็นภาพของชีวิตผู้คนและความสัมพันธ์ทางสังคมทั่วๆ  ไปโดยตัดมิติทางการเมืองออกไป เป็นต้น  ท่ามกลางพลวัตสังคมไทยที่มิติต่างๆ ของสังคมเปลี่ยนแปลง  อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น เราไม่มีทางที่จะจินตนาการ  ถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในปัจจุบันได้เลยหากไม่เข้าใจการคลี่คลาย  ของโครงสร้างสังคมที่ทวีความซับซ้อนมากขึ้นเป็นล�ำดับนับแต่อดีต  ยิ่งมองย้อนไปได้ไกลเพียงใดก็ยิ่งเข้าใจ “ภูมิหลัง/อดีต” ของสังคม  ได้ลึกซึ้งขึ้นเพียงนั้น และความเข้าใจ “ภูมิหลัง/อดีต” นี้เองที่เป็นราก  ฐานให้เข้าใจสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างกว้างขวาง ลุ่มลึก  และรอบด้าน การก้าวพ้นประวัติศาสตร์เชิงขนบก็คือการท�ำให้ประวัต ิ ศาสตร์ทั้งหมดของสังคมส่องสว่างให้มองเห็นความซับซ้อนของปัจจุบัน  และอนาคต ไม่ใช่กิจกรรมบางด้านในอดีตที่มีไว้เพื่อ “การเฉลิมฉลอง”  ด้วยความภาคภูมิใจของคนในยุคหลังเท่านั้น  คุณภิญญพันธ์ุ พจนะลาวัณย์ได้เลือกศึกษา “ยุคพัฒนา” ที่  แม้ว่านักวิชาการทั่วไปยอมรับว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไพศาล แต่  คุณภิญญพันธุ์ท�ำให้เรามองเห็น “ยุคสมัยของการพัฒนา” ว่ามีความ  เปลี่ยนแปลงในระดับลึกกว่าที่มีการศึกษากันมาแล้วเป็นอันมาก โดย  ได้น�ำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงในมิติของ “พื้นที่”  การใช้กรอบความคิดเรื่อง “พื้นที่” ซึ่งเดิมเป็นความคิดเชิง  ภูมิศาสตร์ที่มักจะมองกันเฉพาะในด้านพื้นที่กายภาพเป็นหลัก มาสู่  การแสดงให้เห็นว่า “พื้นที่” เป็นความหมายที่ได้รับการฝังเอาไว้ใน  อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ช่วยท�ำให้เข้าใจ “พื้นที่” ที่มีอะไรที่มากกว่า  ทางด้านกายภาพมากนัก คุณภิญญพันธ์ุ พจนะลาวัณย์วิเคราะห์ว่า (10)

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


ในทศวรรษ ๒๕๐๐ ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง เช่น  การสร้างหอนาฬิกา การขยายตัวของการสร้างถนนหนทางและโครง  สร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม  เช่น งานประจ�ำปีท่ีมีการแสดงและการเข้ามาร่วมงานของคนชนบท  อย่ า งหลากหลาย ตลอดจนการสร้ า งพื้ น ที่ ท างสั ง คมใหม่ ๆ  ขึ้ น ทั่ ว  ประเทศ เช่น พื้นที่การท่องเที่ยวและอนุสาร อ.ส.ท. รวมทั้งการจัด  กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าร่วมแข่งกีฬา  เรือใบ ได้ท�ำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด  (Regime of Emotion) ขึ้นมาในสังคมไทย น�ำไปสู่ความสัมพันธ์ทาง  สังคมชุดใหม่ที่ผู้คนจัดตนเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของยุคสมัยที่น่าตืน่ ตา  ตื่นใจที่เรียกกันว่า “ยุคพัฒนา”  การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างพื้นที่กายภาพ พื้นที ่ ทางสังคมแบบใหม่ และความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทางความรู้สึก  นึกคิดที่ได้รับการสร้างขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และมี  การขยายออกไปหลายเท่าตัวทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกในช่วงทศวรรษ  แรกของ “ยุคพัฒนา” ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนถึงกระบวนการที่ท�ำให้คน  ทุกพื้นที่ได้ตระหนักถึงอัตลักษณ์ของ “คนไทย” และเชื่อมโยงตนเอง  เข้ากับ “ชาติไทย” ซึ่งเป็นฐานที่ส�ำคัญที่สุดของการก่อรูปรัฐสมัยใหม่ ที่ส�ำคัญ การผลิตความหมาย “พื้นที่ประเทศไทย” ในส่วนที ่ เป็นพื้นที่ทางความคิด คุณภิญญพันธ์ุ พจนะลาวัณย์ได้ท�ำให้เห็นถึง  การปรากฏขึ้นอย่างส�ำคัญของสถาบันทางวัฒนธรรม ทั้งสถาบันพระ  มหากษัตริย์และสถาบันศาสนา ซึ่งได้ท�ำให้กลายเป็น “ศูนย์รวมจิตใจ”  ของคนไทยทั่ว “พื้นที่ประเทศไทย”  การศึ ก ษาการผลิ ต ความหมาย “พื้ น ที่ ป ระเทศไทย” ใน ๓  พื้นที่เช่นนี้ แม้ว่าจะมองจากแง่มุมที่เน้นบทบาทของรัฐ แต่ก็ได้ท�ำให้  มองเห็นถึงปฏิสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ระหว่างผู้คนในท้องถิ่นท่ามกลาง  การขยายตัวของรัฐและทุนนิยม ซึ่งเป็นประเด็นที่ส�ำคัญในการศึกษา  ประวัติศาสตร์  เพราะที่ผ่านมามักจะมองจากด้านเดียว  กล่าวคือนัก  วิชาการบางกลุ่มมองผู้คนในเชิงที่ถูกก�ำหนดจากรัฐและ/หรือระบบทุน ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ (11)


นิยม บางกลุ่มมองผู้คนที่เป็นอิสระจากรัฐและ/หรือระบบทุนนิยม และ  บางกลุ่มมองผู้คนที่ต่อต้านรัฐและ/หรือระบบทุนนิยม หนังสือเล่มนี ้ ได้ท�ำให้เห็นว่าคนในแต่ละท้องถิ่นได้ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตนเอง  ในบริบทและประสบการณ์ที่เปลี่ยนไป แน่นอนแม้ว่าคนจ�ำนวนมาก  ปรับตัวในเชิงการเข้าสู่พื้นที่ท่ีมีความหมายใหม่ที่เกิดจากบทบาทของ  รัฐ แต่ก็เป็นพลังหนึ่งที่ได้ร่วมสร้างรัฐและสังคมไทยใน “ยุคพัฒนา”  ในด้านหนึ่ง หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามศึกษา “ประวัต ิ ศาสตร์ของสังคม” (History of Society) ที่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์เฉพาะ  ส่วนของการเมืองหรือสังคมเท่านั้น  แต่อีกด้านหนึ่งที่ส�ำคัญ ได้แก่  หนังสือเล่มนี้ได้น�ำเสนอการศึกษา “การเมืองของสังคม” (Politics of Society)  เพราะหากต้องการจะเข้าใจ “การเมือง” ในความหมายที ่ ครอบคลุมทั้งหมดของสังคมทั้งในส่วนที่เป็นสังคมการเมือง (Political Society), ประชาสังคม (Civil Society) และรัฐ จ�ำเป็นที่จะต้องมอง  เห็นการเชื่อมสัมพันธ์กันของความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจทั้งหมดที่กอปร  กันขึ้นเป็น “รัฐ-องค์รวม” (Integral State)  คุณภิญญพันธ์ุได้ใช้  กรอบความคิดเรื่อง “พื้นที่” ในการแสดงให้เห็นถึงการประกอบขึ้น  ของ “รัฐ-องค์รวม” และท�ำให้เห็นและเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นถึงการ  ที่ประชาชนจ�ำนวนมากได้เข้ามามีส่วนในการสร้างรัฐและสังคมในยุค  พัฒนา และได้ซึมซับเอาสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ทางความคิดมาจรรโลง  จิตใจอยู่จนแม้กระทั่งในปัจจุบัน  การมองเห็นผู้คนธรรมดาจ�ำนวนมากที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้าง  ประวัติศาสตร์ในเงื่อนไขบริบทแวดล้อมของเขา แทนการเห็นว่าความ  เปลี่ยนแปลงทั้งหลายบรรดาที่เกิดขึ้นในอดีตเกิดขึ้นจากเจตจ�ำนงของ  ผู้น�ำเท่านั้น นับเป็นการเข้าถึง “ทิพยวิมาน” ของนักศึกษาประวัต ิ ศาสตร์ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หนังสือเล่มนี้ได้ท�ำให้นักศึกษา  ประวัติศาสตร์เดินเข้าใกล้ “ทิพยวิมาน” ของตนมากขึ้นอีกหลายก้าว สังคมไทยปัจจุบันก�ำลังต้องการความรู้ประวัติศาสตร์ที่ตอบ  ค�ำถามแก่ปัจจุบันมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา เพราะ “ยุคพัฒนา”  ได้ท�ำให้คนทุกคนกลายเป็นพลเมืองแห่งชาติไทยที่มีบทบาทและได้รับ  (12)

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


ผลกระทบต่างๆ ร่วมกันในแทบทุกเรื่อง มากบ้างน้อยบ้าง ประวัต ิ ศาสตร์ของสังคมจึงเป็นเรื่องที่คนทุกคนในสังคมไทยจ�ำเป็นต้องเรียนรู ้ และร่วมกันสร้างขึ้นมา หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่แค่หนังสือประวัติศาสตร์ที่จะท�ำให้คนอ่าน  รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น หากแต่เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ที่  เชื่อมโยงข้อมูลปลีกๆ ที่หลากหลายเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความหมาย  ใหม่ขึ้นมา จนสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนต่อการเกิดขึ้นของ “พื้นที ่ ประเทศไทยในยุคพัฒนา” และความเข้าใจต่ออดีตที่เป็นผลมาจาก  บทบาทของรัฐที่ท�ำให้คนทั่วประเทศรวมทั้งคนชนบทเข้ามามีบทบาท  ในด้านต่างๆ ร่วมกันเช่นนี้  ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยน  แปลงที่ซับซ้อนในปัจจุบันและอนาคตได้ดีขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ตระหนัก  ด้วยว่าการค�ำนึงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมมีความส�ำคัญต่อ  การท�ำความเข้าใจปัญหาและทางเลือกของคนไทย ไม่อาจละเลยหรือ  ปฏิเสธด้านใดด้านหนึ่งอย่างเด็ดขาดได้เลย ขณะเดียวกันก็ไม่อาจมอง  ด้านใดด้านหนึ่งในแง่ลบหรือแง่บวกอย่างสุดโต่งอีกด้วย  อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ (13)


คํ า นํ า

ก�ำเนิด “ประเทศไทย”  ภายใต้เผด็จการ

สถานภาพของประวัติศาสตร์ในทศวรรษ ๒๕๐๐ อันนับเป็น  ประวัติศาสตร์ระยะใกล้ ไม่ได้เป็นที่สนใจมากนักหลังจากข้อเสนอใน  งาน การเมืองระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ ที่เขียนโดย ทักษ์  เฉลิมเตียรณ งานดังกล่าวพุ่งเป้าไปที่ศูนย์กลางเผด็จการทหารอย่าง  จอมพล สฤษดิ ์ ธนะรัชต์ ทัง้ ทีท่ ศวรรษดังกล่าวเป็นช่วงเวลาทีส่ ำ� คัญยิง่   ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ทางสังคม การให้  คุณค่า ตลอดจนโลกทรรศน์ของสังคมไทย การอ้างถึงสฤษดิ์ ธนะรัชต์  มีท้ังในแง่ก่นด่าและชื่นชม  ในหนังสือเล่มนี้ที่ได้ปรับปรุงมาจากวิทยา  นิพนธ์ของผู้เขียนที่ได้น�ำเสนอการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ผ่าน  กรอบของความพยายามและความสามารถของรัฐในการสร้างหน่วย  วิเคราะห์ที่ผู้เขียนใช้ค�ำว่า “พื้นที่ประเทศไทย” ที่เกิดขึ้นภายใต้อ�ำนาจ  รัฐเผด็จการที่มีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพสูง  พื้นที่ดังกล่าวได้ถูก  สร้างขึ้นภายใต้ ๓ พื้นที่ ได้แก่ “พื้นที่ทางกายภาพ” “พื้นที่ทางสังคม”  และ “พื้นที่ทางความคิด”  การศึกษานี้นอกจากพยายามอธิบายให้เห็นพลังการเปลี่ยน  แปลงภายในอันเนื่องมาจากปฏิบัติการทางอ�ำนาจของรัฐแล้ว ยังรวม  ไปถึงการที่สังคมมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง “พื้นที่ประเทศ  ไทย” อีกด้วย  ปฏิบัติการในทศวรรษ ๒๕๐๐ นั้นได้ท�ำให้เกิดภาพ  (14)

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


ใหญ่ของ “ความเป็นเรา” ของคนไทยปรากฏไปในทางเดียวกันด้วย  การหล่อหลอมผ่านคติเวลาแบบใหม่ว่าด้วย “ยุคพัฒนา” อันมีใจกลาง  อยู่ที่การพัฒนาโลกทางวัตถุ  ส่วนคติเวลาแบบเก่านั้นก็เป็นการฟื้นฟู  สังคมอุดมคติแบบอนุรักษนิยมขึ้นมา สิ่งเหล่านี้ก็คือการเปลี่ยนแปลง  “พื้นที่ทางความคิด” ส่วน “พื้นที่ทางกายภาพ” นั้นได้เป็นประจักษ์  พยานแห่งความส�ำเร็จของรัฐที่สามารถเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและ  ภูมิทัศน์ของ “พื้นที่ประเทศไทย” ให้เข้าถึงได้จริง และเป็นตัวแทนของ  การพัฒนาโลกทางวัตถุอย่างเป็นรูปธรรม  นอกจากนั้น “พื้นที่ทาง  สังคม” ได้ท�ำให้เกิดการเชื่อมต่อภายในสังคมที่เคยอยู่กันอย่างกระจัด  กระจาย ให้มีเอกภาพในฐานะหนึ่งในตัวตนของประเทศ แต่ก็วางอยู่  ในโครงสร้างทางสังคมที่มีการล�ำดับขั้นสูงต�่ำอย่างชัดเจน และพื้นที่นี้  ยั ง ท� ำ ให้ เ กิ ด การ “พบเห็ น ซึ่ ง กั น และกั น ” รู ้ ต� ำ แหน่ ง แห่ ง ที่ ข องตน  ดังนั้น “พื้นที่ประเทศไทย” ในยุคพัฒนา ทศวรรษ ๒๕๐๐ นี้จึงเป็น  ความส�ำเร็จของการผลิตความหมายโดย “พื้นที่รัฐ” ขึ้นมาท�ำให้การ  ปกครองแบบเผด็จการทหารด�ำรงอยู่มาได้อย่างยาวนานจวบจนถึง  เวลาที่ท้องฟ้าทางการเมืองเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา  งานเขียนฉบับนี้เกิดขึ้นจากการปรับปรุงวิทยานิพนธ์ของผู้เขียน  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในชื่อว่า การผลิตความหมาย “พื้นที่ประเทศไทย”  ในยุคพัฒนา (พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๙)   ผู้เขียนต้องการแสดงความ  ขอบคุณนี้ไปถึงศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์  ที่ปรึกษาที่กระตุ้น ท้าทาย และสร้างแรงบันดาลใจต่างๆ จนมีงาน  เขียนชิ้นนี้ส�ำเร็จออกมา ศาสตราจารย์สายชล สัตยานุรักษ์ ที่ช่วยอ่าน  วิจารณ์ชี้แนะน�ำค�ำแนะน�ำอันละเอียดและประณีต ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ที่ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนและสนับสนุน  เอกสาร รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยันต์ รัชชกูล ที่เปิดโลกทรรศน์และ  พรมแดนทางสังคมศาสตร์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ขอขอบคุณศาสตราจารย์  สรัสวดี อ๋องสกุล ในฐานะประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และ  อาจารย์ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร ที่ให้เกียรติมาสอบวิทยานิพนธ์ ทั้งยัง  ชี้แนะและให้ข้อวิจารณ์อันทรงคุณค่า รวมไปถึงมิตรสหายร่วมเรียน  ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ (15)


ที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมิตรสหายร่วม  ความคิดอีกหลายท่านทั้งในโลกออฟไลน์และโลกออนไลน์ กระทั่งผู้กล้า  จ�ำนวนมากในสมรภูมิต้านรัฐประหารตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๕๐ เป็น  ต้นมา ผู้ท่ีควรจะได้รับค�ำขอบคุณอย่างน้อยอีก ๓ ท่านก็คือแม่ของ  ผูเ้ ขียนทีใ่ ห้โอกาสล�ำ้ ค่าของชีวติ โดยเฉพาะในส่วนของการศึกษา ทัง้ ยัง  สนับสนุนความเป็นอยู่ในชีวิตประจ�ำวันตลอดมา เช่นเดียวกับที่ผู้เขียน  ไม่ลืมน้องสาวของผู้เขียน และสุดท้ายภรรยาผู้เป็นคนส�ำคัญในชีวิต หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะได้มีโอกาสท�ำหน้าที่ในฐานะที่เป็นส่วน  หนึ่งที่จะต่อเติมพรมแดนความรู้เกี่ยวกับทศวรรษ ๒๕๐๐ ออกไปใน  จังหวะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อส�ำคัญของสังคมไทย ที่บางคนมองเห็นว่า  เป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ขณะที่บางคนอาจตระหนักว่าแสงแห่ง  ปลายอุโมงค์นั้นเป็นไฟนรกที่มอดลามอยู่ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

ล�ำปาง กลางพฤษภาคม ๒๕๕๘

(16)

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


บทน�ำ ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้เผด็จการ


“ความจ�ำเป็นขั้นแรกคือ  เราจะต้องพยายามให้ราษฎรเข้าใจและ เห็นชอบในเรื่องที่ว่า  ประเทศชาติจะต้องมีการพัฒนา  มนุษย์จะต้อง ก้าวหน้า วันพรุ่งนี้จะต้องดีกว่านี้”

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์. “สุนทรพจน์ในพิธีเปิดประชุมปฐมนิเทศงานพัฒนาท้องถิ่น” วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ใน ประมวลสุนทรพจน์ฯ, เล่ม ๑๑

ในปัจจุบันความเข้าใจและความรับรู้เกี่ยวกับ  “ยุคพัฒนา”  ถูก ท�ำให้กลายเป็นค�ำดาดๆ  ที่มีความหมายธรรมดา  เมื่อเทียบกับการ เปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในช่วงระยะเวลาอื่น  อาจเป็นเพราะ การมุ่งอธิบายยุคพัฒนาที่ผ่านมานั้นยังวนเวียนอยู่กับชุดความคิดเดิม ทั้งที่ความเปลี่ยนแปลงในทศวรรษ  ๒๕๐๐  ได้สร้างความหมายให้กับ ประเทศไทยอย่างมหาศาล  การที่อุดมการณ์รัฐในทศวรรษ  ๒๕๐๐ เป็นอุดมการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตย  โดยมีบางลักษณะที่ ถดถอยไปสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์  แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถ ย้อนกลับไปเป็นเช่นนั้นได้  ท�ำให้รัฐต้องมีการนิยามและสร้างอุดมการณ์ และความหมายใหม่ขึ้นมา  การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือ ที่เรียกว่า  “พื้นที่”  (Space)  ที่จะท�ำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ สังคมในอีกมิติ  ในที่นี้สันนิษฐานว่ารัฐได้ท�ำการสร้างพื้นที่ระดับชาติ ขึ้นมาใหม่ในนาม  “พื้นที่ประเทศไทย”  เพื่อรองรับโจทย์และเงื่อนไข ที่เรียกร้องเอกภาพและความชอบธรรมของรัฐทั้งจากภายในประเทศและ จากบริบทที่ต้องสัมพันธ์กับโลกภายนอกมากขึ้น  โดยรัฐจะต้องท�ำให้ ความหมายของ  “พื้นที่ประเทศไทย”  ที่รัฐสร้างขึ้นนี้ได้รับการปลูกฝัง สู่ส�ำนึกของประชาชนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง  ซึ่งมิอาจจะกระท�ำได้ อย่างง่ายๆ  ด้วยการใช้การสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษรเท่านั้น  เพราะ คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยในเวลานั้นยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  จ�ำเป็น ที่รัฐจะต้องด�ำเนินการสร้าง “พื้นที่ประเทศไทย”  ให้ปรากฏอย่างเด่นชัด ในการรับรู้และในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทั่วประเทศ  โดยการ เปลี่ยนแปลงทั้ง  “พื้นที่ทางกายภาพ”  “พื้นที่ทางความคิด”  และ  “พื้นที่ ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 3


ทางสังคม”  เพื่อท�ำให้คนส่วนใหญ่ในประเทศได้มีประสบการณ์ตรงกับ “พื้นที่ประเทศไทย”  ในทุกมิติอย่างเข้มข้นในชีวิตประจ�ำวัน  จนกระทั่ง ความหมายของ  “พื้นที่ประเทศไทย”  ที่รัฐต้องการปลูกฝัง  เป็นที่รับรู้ และยอมรับของประชาชนทั่วไปว่าเป็นความจริง  จนกระทั่งมีพฤติกรรม ทางสังคมสอดคล้องกับแนวทางที่รัฐได้วางเอาไว้  ซึ่งงานเขียนนี้จะได้ ท�ำการอธิบายอย่างละเอียดเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาท ของรัฐในการสร้าง  “พื้นที่ประเทศไทย”  อันจะส่งผลให้สามารถเข้าใจ การตอบรับของประชาชนต่อ “ยุคพัฒนา” ได้อย่างชัดเจน  ยุคพัฒนานี้มีความส�ำคัญในฐานะที่เป็นรากฐานของสังคมไทย ร่วมสมัยเป็นอย่างยิ่ง  แต่การสร้างค�ำอธิบายให้กับยุคสมัยอันเป็น หมุดหมายนี้  กลับขึ้นอยู่กับกรอบการวิเคราะห์เพียง  ๓  แบบอันได้แก่ การอธิบายทางเศรษฐศาสตร์  การอธิบายทางรัฐศาสตร์  และการอธิบาย แบบชุมชนนิยม  ซึ่งกรอบการวิเคราะห์ทั้ง  ๓  แบบดังกล่าวยังไม่เพียง พอที่จะท�ำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยที่ดึงดูดให้ประชาชน เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศด้วยความกระตือรือร้น การอธิบายแบบแรก  ในงานวิชาการสายเศรษฐศาสตร์  ถือว่า เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรือง  อันเนื่องมาจากผลการด�ำเนินการจาก นโยบายของรัฐ  และปัจจัยภายนอกอันได้แก่  การเข้ามามีบทบาทของ ประเทศสหรัฐอเมริกาและธนาคารโลก  ท�ำให้ประเทศเติบโตอย่างก้าว กระโดด  โดยเฉพาะจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ  ฉบับที่  ๑  พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๖  น�ำไปสู่การก่อรูปและขยายตัวของสถาบันเทคโนแครต ต่างๆ  ที่มีบทบาทในการบริหารการจัดการประเทศไทยด้วยวิสัยทัศน์ ทางเศรษฐกิจยุคใหม่  ซึ่งงานประเภทนี้เป็นงานที่เน้นตัวเลขการเติบโต ทางเศรษฐกิจ  (Growth) โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศ ท�ำให้เราไม่สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวอื่นๆ  ที่รัฐขยายอ�ำนาจเข้า ไปจัดความสัมพันธ์กับสังคมที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย  ซึ่งท�ำให้ประชาชน ทั่วประเทศสามารถรับรู้ซึ่งกันและกันและมีความสัมพันธ์กันหลากหลาย ด้านอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

4

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


ส�ำหรับงานวิชาการสายรัฐศาสตร์  ยุคนี้เป็นยุคที่รัฐดึงอ�ำนาจ เข้าสู่ศูนย์กลางอย่างเข้มข้น  หลังจากที่สมดุลของอ�ำนาจนิยม  จอมพล ป.  พิบูลสงคราม,  จอมพล ผิน  ชุณหะวัณ  –  พล.ต.อ. เผ่า  ศรียานนท์, จอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัชต์  -  จอมพล  ถนอม  กิตติขจร  –  จอมพล  ประ ภาส  จารุเสถียร  หลัง  พ.ศ. ๒๔๙๐  ขาดสะบั้นลงไป  จากรัฐบาลไทย ที่อ้างความเป็นประชาธิปไตยเป็นความชอบธรรมในการบริหารประเทศ กลับพลิกฝ่ามือมาสู่ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ  ซึ่งเห็นได้ชัดจากการ ประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๐๑ งานศึกษาทางประวัติศาสตร์ในยุคพัฒนาการที่โดดเด่นมากที่สุดได้แก่ การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ  ๒  โดย  ทักษ์  เฉลิมเตียรณ ที่ใช้อธิบายภาพรวมของการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองมาสู่ยุคพัฒนาการ หลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีจอมพล สฤษดิ์เป็นแกนน�ำในการเดินเรื่อง ใน ฐานะที่เป็นทั้งพ่อขุนอุปถัมภ์  และการใช้อ�ำนาจเผด็จการทางทหาร  ซึ่ง ครอบคลุมไปถึงค�ำอธิบายกว้างๆ  เกี่ยวกับยุคสมัยการพัฒนาที่อยู่ใต้ ร่มเงาความคิดของจอมพล สฤษดิ์  สุดท้ายเป็นกรอบการวิเคราะห์หรือแนวการอธิบายของนักวิชา การสายชุมชนนิยมหรือท้องถิ่นนิยม  ซึ่งเป็นปฏิกิริยาสืบเนื่องมาจาก การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างมหาศาล  แต่ส่งผลวิบาก ไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ  อย่างเข้มข้น  เกิดปรากฏการณ์  “การค้นพบความ ยากจน”  ความแร้นแค้น  ความไม่เท่าเทียมกัน  ช่องว่างระหว่างรายได้ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  เมื่อมองในแว่นนี้  จึงถือว่า  “ยุคพัฒนา”  เป็น ยุคแห่งตราบาป  เป็นต้นตอของความเสื่อมหรือการล่มสลายของสังคม ชุมชน  และชนบท  “อันดีงาม”  งานวิจัยในสายชุมชนนิยมหรือท้องถิ่น นิยมเหล่านี้เป็นงานวิจัยที่วางอยู่บนสมมติฐานที่ตัดสินจากผลของการ พัฒนา  และพยายามเน้นว่าชาวบ้านเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาของ รัฐอย่างไม่เต็มใจ โดยไม่ได้พิสูจน์ข้อสรุปดังกล่าวนี้อย่างเพียงพอ  กรอบการวิเคราะห์หรือแนวการอธิบายทั้ง  ๓  แบบล้วนละเลย การอธิบายความเคลื่อนไหว  และเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ที่ท�ำให้คน จ�ำนวนมากเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนา  โดยเฉพาะการอธิบายว่า ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 5


เหตุใดคนจ�ำนวนมากถึงเปิดรับ  และเป็นส่วนหนึ่งของยุคพัฒนาอย่าง กระตือรือร้น ฉะนั้น  การเข้าใจยุคพัฒนาที่ผ่านมาจึงยังมิได้ท�ำความเข้าใจ เงื่อนไขของประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อความคิด  ความหวัง  ความใฝ่ฝัน และการกระท�ำอันมหาศาลของกลุ่มคนต่างๆ  ในสังคมที่ก่อรูปและสร้าง เนื้อสร้างตัว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาวะหลังสงครามตั้งแต่ทศวรรษ ที่  ๒๔๙๐  มาสู่  “ยุคพัฒนา”  ในที่สุดงานเขียนนี้จึงแสวงหาแนวทาง การอธิบายยุคสมัยแห่งพัฒนาการ  ที่ต่างไปจากการศึกษาจากที่ผู้อื่น เคยศึกษามาแล้ว  กล่าวคือ  ถึงแม้ว่าจะยังคงเน้นการอธิบาย  “การ กระท�ำ”  ของรัฐแต่จะแสดงให้เห็นอย่างละเอียดชัดเจนถึงการที่รัฐไทย ในทศวรรษ  ๒๕๐๐  ได้ขยายอ�ำนาจอย่างมหาศาลเข้าไปจัดการเปลี่ยน แปลง  “พื้นที่”   ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ  จนเกิดบูรณภาพของ  “พื้นที่ ประเทศไทยยุคพัฒนา” ขึ้นมา งานเขียนนี้ยังพยายามจะน�ำการศึกษาเฉพาะด้านของนักวิชาการ จ�ำนวนหนึ่งที่อธิบายยุคพัฒนาในประเด็นปลีกย่อยในลักษณะที่มอง เป็นส่วนๆ  มาเชื่อมโยงกันให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและน�ำไป สู่การสร้างค�ำอธิบายใหม่จากปรากฏการณ์หลากหลายที่เกิดขึ้นในยุค พั ฒ นา  โดยมองผ่ า นการเปลี่ ย นแปลง  “พื้ น ที่ ”   จนเกิ ด เป็ น   “พื้ น ที่ ประเทศไทย”  ที่ ก� ำ ลั ง พั ฒ นาและก� ำ ลั ง ก้ า วเดิ น ไปข้ า งหน้ า ขึ้ น มาใน จินตนาการของคนทั่วประเทศ  อันส่งผลให้คนส่วนใหญ่เข้ามาร่วมใน “ยุคพัฒนา” นี้

กรอบคิดในการศึกษา

ค�ำว่า  “พื้นที่”  (Space)  เป็นค�ำที่มีความหมายกว้างขวาง  โดย เฉพาะกระแสการเปลี่ยนแปลงความคิดมาสู่ภูมิศาสตร์แบบใหม่ใน ทศวรรษ  ๑๙๙๐  นั้นได้ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญในสาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ไม่มองภูมิศาสตร์และพื้นที่เป็น เพียงพื้นที่ว่างเปล่า  หรือพื้นที่ทางเรขาคณิตที่สามารถจะน�ำเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปบรรจุได้ตามใจชอบโดยไม่มีความหมายหรือปราศจากความ

6

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


สั ม พั น ธ์ เ ชิ ง อ� ำ นาจใดๆ  ในทางกลั บ กั น การเกิ ด ขึ้ น ของพื้ น ที่ นั้ น อยู ่ ภายใต้อ�ำนาจของผู้สร้างพื้นที่ขึ้นมา  อ�ำนาจในการนิยาม  “พื้นที่”   มี ส่วนส�ำคัญในการก�ำหนดความสัมพันธ์ของคน  และความสัมพันธ์ทาง สังคม  โดยเฉพาะในรัฐสมัยใหม่แล้ว  ทุกๆ  รัฐก็มุ่งมาดปรารถนาที่จะ ผลิตความหมายก่อสร้าง  ควบคุม  ดูแล  “พื้นที่รัฐ”  เพื่อตอบสนองการ ด�ำรงอยู่และความเจริญก้าวหน้าของรัฐตามอุดมการณ์ของตน  งานเขียนนี้เน้นการศึกษา  “พื้นที่”  ในฐานะประดิษฐกรรมของ รั ฐ เพื่ อ ที่ จ ะท� ำ ให้ เ ข้ า ใจความเปลี่ ย นแปลงสั ง คมไทยในยุ ค พั ฒ นาที่ อ�ำนาจรัฐได้รวมศูนย์ไว้ในส่วนกลางอย่างมั่นคง  โดยพิจารณาว่ารัฐ นั้นเองเป็นตัวแทนและแกนหลักในการสร้างพื้นที่ต่างๆ  ขึ้นมา  และ สถาปนาอ�ำนาจเหนือพื้นที่ต่างๆ  จนเกิดเป็นโครงสร้างและอุดมการณ์ ของยุคพัฒนาที่มีความชัดเจนในความรู้สึกนึกคิดของคน  จากนั้นจะ วิเคราะห์ให้เห็นภาพของฝ่ายรัฐที่พยายามปรับเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ พื้นที่และเวลาใหม่ๆ  น�ำไปสู่การสร้างค�ำอธิบายที่ยึดโยงประเด็นต่างๆ เข้าหากัน  และสามารถขมวดสรุปเป็นภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลง ในยุคพัฒนาได้ในท้ายที่สุด พื้นที่จึงเกิดขึ้นมาเพื่อสะท้อนบทบาทหน้าที่และการให้คุณค่า ต่ า งๆ  ของรั ฐ   และตอกย�้ ำ ความเชื่ อ หรื อ อุ ด มการณ์ ท างสั ง คม  แต่ อย่างไรก็ตาม  การสร้างพื้นที่ต่างๆ  นั้นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทาง สังคม  ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจที่แสดงออกมาอย่างเป็นรูปธรรมในรูป ของสภาพแวดล้อมแบบต่างๆ  ที่ห้อมล้อมเราอยู่  จึงมิใช่เป็นเพียงรัฐ เท่านั้นที่มีบทบาทการสร้างพื้นที่อย่างเดียว  (บทบาทในการสร้างพื้นที่ นั้นครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ขนาดเล็กได้แก่  เรือนร่าง  ห้องนอน  บ้าน ไปสู่พื้นที่สาธารณะที่มีขนาดใหญ่)  แต่ในที่นี้ให้ความส�ำคัญกับการ เปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยรัฐเป็นส�ำคัญ๓  อันเนื่องมาจากความตั้งใจที่จะ เข้าใจเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงของ  “ยุคพัฒนา”  ที่รัฐไทยมีต้นทุนใน ความเป็นเอกภาพและมีอ�ำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  หรือกล่าวได้ว่ามี ฐานะเป็นรัฐเข้มแข็งที่มีอ�ำนาจเหนือสังคมไทยอย่างเห็นได้ชัด  ดังนั้น จึงน�ำไปสู่การวิเคราะห์ในสิ่งที่เรียกว่า  “พื้นที่ประเทศไทย”  ซึ่งก็คือ ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 7


การเลือกที่จะศึกษาในลักษณะภาพรวมทั้งประเทศ  เพื่อตอกย�้ำให้เห็น ถึงการมุ่งอธิบายความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลของรัฐไทยที่ให้นิยาม และก�ำหนด  “พื้นที่”  อันผูกพันอยู่กับอุดมการณ์ชาตินิยม  และการเร่ง พัฒนาท�ำประเทศให้ทันสมัยและก้าวไปข้างหน้า ส�ำหรับการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงผ่าน  “พื้นที่”   ผู้เขียน ตระหนั ก ว่ า รั ฐ ได้ ท� ำ การผลิ ต พื้ น ที่ ใ ห้ มี ลั ก ษณะเฉพาะมากพอที่ จ ะ ควบคุมให้เกิดยุคสมัยที่มีลักษณะเฉพาะในนามยุคพัฒนาขึ้นมาด้วย งานเขียนนี้จึงให้ความส�ำคัญกับหน่วยวิเคราะห์  “พื้นที่”  ที่มีขอบเขต ปริมณฑลครอบคลุมการวิเคราะห์พื้นที่ท่ีกว้างขวางมาก  เริ่มต้นตั้งแต่ พื้นที่ในเชิงกายภาพที่เห็นและจับต้องได้  ในที่นี้ขอเรียกว่า  “พื้นที่ทาง กายภาพ”  (Physical Space)  ต่อมาคือพื้นที่อันเป็นสนามของความ สั ม พั น ธ์ ท างสั ง คมของกลุ ่ ม คนที่ เ ปลี่ ย นแปลงใน  “พื้ น ที่ ท างสั ง คม” (Social Space)  และท้ า ยสุ ด ก็ คื อ พื้ น ที่ ข องอารมณ์   อุ ด มการณ์ โลกทรรศน์  และความรู้สึกนึกคิด  ซึ่งจะเรียกว่า  “พื้นที่ทางความคิด” (Mental Space)  ซึ่ ง อ� ำ นาจรั ฐ ที่ เ ปลี่ ย นพื้ น ที่ ท้ั ง สามในทศวรรษ ๒๕๐๐  นั้ น   ท� ำ ให้ พื้ น ที่ ทั้ งสามเกื้ อ หนุ น ซึ่ งกั น และกั น จนหลอมรวม ให้เกิดเอกภาพของ  “พื้นที่ประเทศไทย”  ในยุคพัฒนาขึ้นมา  ความเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนของยุคสมัยนี้มีรากฐานอยู่ บนสภาวะ  “รัฐเข้มแข็ง”  ซึ่งก่อตัวมาตั้งแต่ทศวรรษ  ๒๔๙๐  ในที่สุด ก็มาตกผลึกด้วยน�้ำมือของคณะปฏิวัติน�ำโดยจอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัชต์ รัฐไทยได้ท�ำการขยายอ�ำนาจรัฐผ่านการสร้าง หรือท�ำให้เกิดความเปลี่ยน แปลงของ  “พื้นที่รัฐ”  ทั้ง  “พื้นที่ทางกายภาพ”  “พื้นที่ทางสังคม”  และ “พื้นที่ทางความคิด”  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่รัฐในมิติทั้งสามนี้ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างลึกซึ้ง  และการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้เองได้  “ตราตรึงฝังลึก”  ลงในระบบอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อยุคสมัย ความเปลี่ยนแปลง  “พื้นที่ทางกายภาพ”  ได้แก่การเปลี่ยนแปลง พื้นที่กายภาพภายในประเทศ  ให้พื้นที่รัฐเชื่อมต่อกันโดยการสร้างเส้น ทางคมนาคม  และโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ  รวมทั้งการสร้างถาวร

8

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


วัตถุที่เป็นสัญลักษณ์ให้คนรับรู้จุดที่เป็นศูนย์กลางของแต่ละจังหวัด ที่เอื้อให้คนในท้องถิ่นและคนต่างถิ่นหมายรู้ต�ำแหน่งแห่งที่ของตนเอง และของคนอื่นในพื้นที่รัฐ  เช่น  สถานที่ราชการ  น�้ำพุ  หอนาฬิกา  สวน สาธารณะ  ฯลฯ  ทั้งนี้โครงการบางส่วนเป็นการสานต่อโครงการจ�ำนวน มากที่ ไ ด้ รั บ การริ เ ริ่ ม ในทศวรรษ  ๒๔๙๐  โครงการดั ง กล่ า วส� ำ เร็ จ สมบูรณ์ในระยะเวลาไม่นานหลังจากเปลี่ยนผู้น�ำ  ด้วยผลงานดังกล่าว ท�ำให้กลไกของรัฐไหลเวียนได้สะดวกขึ้น  ในอีกด้านก็เปิดให้ประชาชน เข้าถึงเส้นทางเพื่อการขนส่งมวลชนมากขึ้น  ผลงานดังกล่าวท�ำให้เป็น ที่จดจ�ำในวงกว้าง  และสร้างความชอบธรรมให้กับการกระท�ำของรัฐ เป็นอย่างมาก ในด้าน  “พื้นที่ทางสังคม”  รัฐได้สถาปนา  “สถาบันการปกครอง” หรือกลไกอ�ำนาจรัฐขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง  “หมู่บ้าน”  กับ “เมือง”  หรือจังหวัด  และการขยายตัวของรัฐได้ท�ำให้เกิดการ  “สร้าง ความเป็นเมือง-ชนบท”  แล้วรัฐได้ท�ำให้ความสัมพันธ์ภายในสังคม “กว้างไกลขึ้น”  ด้วยการขยายระบบการสื่อสารมวลชนโดยเฉพาะวิทยุ กระจายเสียงที่ได้ขยายตัวลงไปในพื้นที่ทั่วประเทศ  ส่งผลต่อการติดต่อ สื่อสาร  การผลิตและการบริโภคสื่อใหม่ๆ  ด้วยกลไกของระบบทุนนิยม การสนับสนุนการท่องเที่ยว  สร้างค�ำอธิบายประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้ากับ ชาติไทยอย่างเป็นรูปธรรม  ความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมนี้ ได้ท�ำให้เกิด  “พื้นที่ทางสังคมใหม่”  ที่คนทุกกลุ่มในสังคมไทยได้เข้ามา มีปฏิสัมพันธ์ด้วย  ดังนั้น  คนในเมือง  ชนบทจังหวัดต่างๆ  จึงถูกดึง เข้ามาสัมพันธ์กับชาติอย่างชัดเจน  ทั้งยังสร้างส�ำนึกรวมหมู่ที่ผลักดันให้ คนในเขตพื้นที่ห่างไกลต่างๆ  ต้องขวนขวายที่จะเข้ามาสู่พื้นที่ทางสังคม ใหม่นี้  ซึ่งพื้นที่นี้เป็น  “หน้าต่างแห่งโอกาส”  ที่ส�ำคัญในการรับบริการ จากรั ฐ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ระบบการศึ ก ษา  ระบบสาธารณสุ ข   ฯลฯ  ท� ำ ให้ ประชาชนจ�ำต้อง  “เปลี่ยนแปลงตัวเอง”  เข้ามาอยู่ในพื้นที่ทางสังคม ใหม่นี้  และเข้าสู่กระบวนการการกลายเป็นคนไทยอย่างถูกต้องตาม กฎหมายต่อไป  บัตรประชาชน  ส�ำเนาทะเบียนบ้าน  และเอกสารทาง ราชการต่างๆ  เริ่มมีความหมายมากขึ้น  เช่นเดียวกับสถานที่ราชการ ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 9


ทั้งหลาย  ซึ่งในสภาวะดังกล่าวรัฐสร้างความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจที่อาจ ให้คุณให้โทษกับประชาชนได้ชัดเจน ในด้ า น  “พื้ น ที่ ท างความคิ ด ”  นั้ น   มี อ ยู ่   ๒  มิ ติ   นั่ น คื อ พื้ น ที่ แบบใหม่ที่ทันสมัย  เจริญก้าวหน้า  ในทางกลับกันก็รักษาพื้นที่ตามคติ ไทยที่เน้นให้  “รู้ที่ต�่ำที่สูง”  ดังนั้น  ค�ำอธิบายดังกล่าวจึงจรรโลงโครง สร้างสังคมเดิม  แม้จะปฏิเสธการล้มล้างเปลี่ยนแปลงชนชั้น  แต่สังคม ไทยแบบนี้ ก็ เ ปิ ด โอกาสให้ เ ลื่ อ นชั้ น ทางสั ง คมได้   ซึ่ ง ความคิ ด เช่ น นี้ เบียดขับและท�ำให้ความคิดแบบคอมมิวนิสต์  สังคมนิยม  หรือแม้แต่ เสรีนิยมประชาธิปไตยไม่มีที่ยืนในยุคนี้  ค�ำอธิบายดังกล่าวจึงทรงพลัง อยู่ภายใต้บริบทของสงครามเย็นซึ่งขับเน้นให้เกิดชาตินิยมที่มีแกน กลางอยู่  ๓  ประการคือ  ชาติ  พุทธศาสนา  และพระมหากษัตริย์  โดย งานศึกษาชิ้นนี้จะแสดงให้เห็นปฏิบัติการส�ำคัญของการสถาปนา  “พื้นที่ ประเทศไทย”  ผ่านพิธีกรรมสมัยใหม่อันมีจุดสุดยอดอยู่ที่การแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์  พ.ศ. ๒๕๐๙ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  การอธิบายผ่านกรอบความคิด  “พื้นที่”  นี้ท�ำให้เห็นปฏิบัติการ ของรัฐที่หลากหลายซับซ้อน  เพื่อเปลี่ยน  “พื้นที่ประเทศไทย”  ให้สอด คล้ อ งกั บ วิ ถี แ ละความสั ม พั น ธ์ ท างการผลิ ต แบบทุ น นิ ย มที่ มี ส หรั ฐ อเมริกาเป็นศูนย์กลาง  มิใช่เพียงเห็นแต่นโยบายและการขยายตัวของ หน่วยราชการเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม  มิได้หมายความว่าพื้นที่ทั้ง  ๓ ส่วนเกิดขึ้นโดยแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน  หรือถูกสร้างขึ้นตามล�ำดับ ก่อนหลังแต่อย่างใด  แต่ต่างก็สอดประสานร่วมสร้างความหมายให้กับ “พื้นที่ประเทศไทย” ในกาละเทศะของตน อาจกล่าวได้ว่ารัฐไทยประสบความส�ำเร็จอย่างสูงในการสร้าง ภาพตัวแทน  “พื้นที่ประเทศไทย”  ใน  “ยุคพัฒนา”  ผ่านการสร้างพื้นที่ รัฐ  ซึ่งตกอยู่ภายใต้กรอบความคิด  ๒  ส่วน  กล่าวคือพื้นที่แห่งความ เจริญก้าวหน้าของยุคพัฒนาที่เปิดรับการเข้ามามีส่วนร่วมของกลุ่มคน ในสังคม  ขณะที่พื้นที่ตามคติไทยแบบอนุรักษนิยมก็ท�ำหน้าที่ครอบง�ำ เพื่อควบคุมมิให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง  จนกลายเป็นดุลย ภาพอ�ำพรางการที่ถูกใช้มาตลอดกว่าครึ่งทศวรรษ 10

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


เชิงอรรถ ๑ “สุนทรพจน์ในพิธีเปิดประชุมปฐมนิเทศงานพัฒนาท้องถิ่น” ใน ประ  มวลสุนทรพจน์ของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๔ (กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์สำ� นักท�ำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๗), น. ๒๕๕. ๒ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ แปล, การเมือง  ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต�ำราสังคม  ศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๘). ๓ อ่านเพิ่มเติมได้ใน ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, วาทกรรมการพัฒนา :  อ�ำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น (กรุงเทพฯ : วิภาษา,  ๒๕๔๒), น.๑๕๑-๑๕๒ และ Lefebvre, Henri. The production of space (Oxford : Blackwell Publishers), 1991. และ Lefebvre, Henri. “Space and the State,” State/space : a reader, (Malden, MA : Blackwell Pub., 2003).

ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 11


๑ การท�ำให้ “พื้นที่ประเทศไทย” ปรากฏขึ้นจริง ด้วยพื้นที่ทางกายภาพ


การสร้าง  “พื้นที่ประเทศไทย”  เป็นการกระท�ำของฝ่ายรัฐที่ต้อง การขยายอ�ำนาจครอบคลุมทุกส่วนของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการสร้างพื้นที่  รวมไปถึงการสร้างส�ำนึก ร่วมกันของคนใน  “ชาติไทย”  ให้มีเอกภาพมากที่สุด  การขยายอ�ำนาจ เพื่อเข้าไปท�ำการบริหาร  ปกครอง  และให้บริการในพื้นที่ต่างๆ  ทั่ว ประเทศนี้เป็นยอดปรารถนาของรัฐไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้นมา  แต่รัฐไทยก่อนหน้าทศวรรษ  ๒๕๐๐  ไม่สามารถกระท�ำได้ ปัจจัยส�ำคัญประการหนึ่งก็คือ  “พื้นที่ประเทศไทย”  ยังไม่เป็นที่รับรู้ อย่างกว้างขวางของประชาชน  เพราะรัฐยังไม่สามารถเปลี่ยน  “พื้นที่ กายภาพ”  เพื่อสร้าง  “พื้นที่ประเทศไทย”  ในส�ำนึกของคนส่วนใหญ่ ในประเทศขึ้นมาได้ แม้ ว ่ า จะมี ก ารศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ   “พื้ น ที่ ป ระเทศไทย”  ในแง่ มุ ม ต่างๆ  มาแล้วไม่น้อย  แต่การศึกษาเท่าที่ผ่านมายังขาดการวิเคราะห์ และอธิบายมิติส�ำคัญหนึ่งคือ  “พื้นที่ทางกายภาพ”  ซึ่งเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ ประชาชนส�ำนึกใน  “พื้นที่ประเทศไทย”  อย่างแท้จริง  อุดมการณ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างโดยแผนที่  แบบเรียน  อนุสาวรีย์  เพลงชาติ  วรรณกรรม ฯลฯ มาตลอดเวลานั้น  นับว่ายังไม่เข้าไปสู่การรับรู้ของประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท  จนกระทั่งมีการสร้าง  “พื้นที่ทางกาย ภาพ”  ขึ้นมา  ซึ่งส่งผลให้  “พื้นที่ประเทศไทย”  เป็นสิ่งที่สามารถสัมผัส ได้ด้วยประสบการณ์จริง  หรือกลายเป็นความจริงเชิงประจักษ์  ที่คน จ�ำนวนมหาศาลตระหนักได้ถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมที่ไม่เคย สัมผัสมาก่อน  จนสามารถจินตนาการได้ถึง  “พื้นที่ประเทศไทย”  ได้ อย่างชัดเจน  ความส�ำเร็จดังกล่าวจึงส่งผลให้พวกเขายอมรับอ�ำนาจ ของผู้น�ำในการพัฒนา  “พื้นที่ประเทศไทย”  ให้เจริญขึ้น  และเข้าไปมี บทบาทอย่ า งกระตื อ รื อ ร้ น ในกระบวนการพั ฒ นาประเทศ   อนึ่ ง   พึ ง ตระหนั ก ว่ า   “พื้ น ที่ ท างกายภาพ”  มิ ไ ด้ เ ป็ น พื้ น ที่ ที่ แ ยกขาดกั บ พื้ น ที่ ในมิติอื่นๆ  อย่าง  “พื้นที่ทางความคิด”  หรือ  “พื้นที่ทางสังคม”  และ “พื้ น ที่ ป ระเทศไทย”  อั น เป็ น ที่ รั บ รู ้ นี้ ก็ มิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น มาจากการสร้ า ง ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 13


“พื้นที่ทางกายภาพ”  ในสุญญากาศ  แต่ยังเกิดขึ้นภายใต้อ�ำนาจครอบง�ำ ของรัฐที่มีความเข้มแข็ง

การสร้างระบบการขนส่งเพื่อเชื่อมโยง  “พื้นที่ประเทศไทย” เข้าด้วยกัน ธงชัย  วินิจจะกูลอาจกล่าวว่า  แผนที่และวิชาทางภูมิศาสตร์ สมัยใหม่เป็นสิ่งที่สร้างตัวตนของรัฐสยามขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน กระนั้นก็เป็นเพียงการสร้างส�ำนึกความคิด  หรือในที่นี้เรียกว่าเป็นการ สร้าง  “พื้นที่ทางความคิด”  ที่ร่างภาพพื้นที่ประเทศไทยให้เก็บง�ำบันทึก ไว้ ใ นความทรงจ� ำ ร่ ว มของสั ง คมเพี ย งเท่ า นั้ น   ข้ อ จ� ำ กั ด ส� ำ คั ญ ที่ ไ ม่ สามารถท�ำให้รัฐไทยแผ่อ�ำนาจลงไปควบคุมประเทศไทยได้อย่างมี ประสิทธิภาพก็คือ  งบประมาณและการเชื่อมต่อของรัฐสู่ท้องที่ต่างๆ การเข้าถึงความเป็นรัฐไทยล้วนต้องผ่านนายอ�ำเภอ  โรงเรียน  สถานี อนามัย  หรือวิทยุ  นับว่าการเดินทางระยะไกลยังถือเป็นเรื่องพิเศษของ ชีวิต  หรือเรื่องเกินความจ�ำเป็น  จนลุล่วงมาถึงทศวรรษ  ๒๕๐๐  ทาง หลวงและท้องถนนได้กลายเป็นสิ่งที่สถาปนาตัวตนของประเทศไทย ขึ้นมาบนประสบการณ์เดินทางและการขนส่งของมวลชนที่ปลดแอก ข้อจ�ำกัดในการเดินทางลงอย่างน่าประทับใจ การเปลี่ ย นแปลงครั้ ง ส� ำ คั ญ ของรั ฐ สยามก็ คื อ ความสามารถ เชื่อมโยงพื้นที่ทางกายภาพระหว่างมณฑลต่างๆ  อย่างประสบความ ส�ำเร็จด้วยเส้นทางรถไฟที่สร้างเครือข่ายออกไปทางเหนือ  ตะวันออก เฉียงเหนือ  ตะวันออก  ตะวันตก  และทางใต้ของกรุงเทพฯ  นอกจาก จะท�ำให้รัฐสยามเข้าถึงการควบคุมทางการทหารและอ�ำนาจการปกครอง สยามต่อมณฑลต่างๆ  อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว  ผลพลอยได้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณการค้าและศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคต่างๆ สามารถรวบความเป็นศูนย์กลางเข้าสู่กรุงเทพฯ  อย่างที่ไม่เคยเป็นมา ก่อน๑  ซึ่งหากมองในแง่ประสิทธิภาพในเรื่องของความรวดเร็ว  ปลอด ภัยแล้ว  ถือได้ว่าทิ้งขาดจากการคมนาคมเดิมๆ  โดยสิ้นเชิง  แต่เส้นทาง 14

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


รถไฟก็มีข้อจ�ำกัดในการกระจายเส้นทางไปสู่พื้นที่รอบข้าง  การอาศัย ถนนจึงเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นอย่างมากที่เป็นการสานตาข่ายของการเดินทาง ให้ทั่วถึงในท้องที่ต่างๆ  การสร้างทางหลวงจึงเป็นความพยายามของ ทุกรัฐบาลที่จะสร้างจุดเชื่อมต่อส�ำคัญภายในประเทศให้สมบูรณ์แบบ จนหลังสงครามโลกครั้งที่  ๒  ได้มีความตื่นตัวในการจัดท�ำโครงการ ทางหลวงอย่างเป็นจริงเป็นจังขึ้น  แต่กระนั้นความด้อยคุณภาพของ ถนนในทศวรรษ  ๒๔๙๐  นั้นไม่สามารถท�ำให้เส้นทางเครือข่ายทาง หลวงทั่วประเทศใช้การได้ตลอดทั้งปี  โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มักสร้าง ปัญหาให้กับสภาพถนนตลอดมา ทศวรรษ  ๒๕๐๐  ได้มีการสร้างเครือข่ายทางหลวงอย่างกว้าง ขวางและครอบคลุมด้วยเหตุผลทางการเมืองและความมั่นคง  ถนน กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานส�ำคัญส�ำหรับยุทธศาสตร์ในสงครามเย็นที่มี สหรัฐอเมริกาเลือกประเทศไทยเป็นฐานทัพส�ำคัญในการต่อสู้กับคอม มิวนิสต์ที่ก�ำลังขยายอิทธิพลมาทางจีนและเวียดนาม  เช่นเดียวกันกับ เส้นทางรถไฟ  สิ่งที่คาดไม่ถึงจากโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าวก็คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าภายในประเทศหลังจากทางหลวง คุณภาพสูงแล้วเสร็จ

การก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยง “พื้นที่ประเทศไทย”

การเดินทางโดยรถยนต์นั้นแต่เดิมเป็นพาหนะของอภิสิทธิ์ชน ที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นปกครอง  อาจนับได้ตั้งแต่รัชกาลที่  ๗ ครั้งที่เสด็จประพาสมณฑลต่างๆ  ในสยามเมื่อทศวรรษ  ๒๔๗๐  จนมา ถึงรัชกาลที่  ๙  เสด็จประพาสภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน  พ.ศ. ๒๔๙๘ ด้วยรถยนต์พระที่นั่ง  ในภายหลังการเดินทางโดยรถยนต์ไปภูมิภาค ต่างๆ  ก็ยังถูกผูกขาดโดยผู้มีอ�ำนาจในสังคมเช่นเดียวกัน  เช่น  การ เดินทางไปเยือนอีสานของถนอม  กิตติขจร  นายกรัฐมนตรี  เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๐๑  หรือภาพที่คนสมัยนั้นเห็นกันเจนตาก็คือ  การไปตรวจราชการ ในท้องที่ทุรกันดารของสฤษดิ์  ธนะรัชต์ทั่วทั้งประเทศไทย  ไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคใต้  พ.ศ. ๒๕๐๓  การ ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 15


เดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งและภาคกลางในปีต่อมา๒ ยิ่ ง เส้ น ทางทุ ร กั น ดารเท่ า ใดก็ ยิ่ ง แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความมานะบุ ก บั่ น ติดดินของผู้น�ำเท่านั้น (แม้ว่าจะเดินทางด้วยรถยนต์ประเภทขับเคลื่อน สี่ล้อยี่ห้อจี๊ป  หรือแลนด์โรเวอร์)  ดังนั้น  การเดินทางโดยรถยนต์ล้วน มีนัยที่สะท้อนถึงอ�ำนาจการเดินทาง  การเดินทางประเภทนี้จึงถือว่ายัง ถูกผูกขาดอยู่ในมือคนส่วนน้อย  ไม่ได้เป็นการเดินทางเสรีที่เปิดกว้าง ในหมู่ประชาชนราษฎรทั่วไป  แม้การเดินทางโดยรถโดยสารประจ�ำทาง ก็ยังไม่แพร่หลายและสะดวกพอที่จะเป็นการขนส่งเพื่อมวลชน โครงการจัดสร้างถนนมิตรภาพที่เป็นเส้นทางเข้าสู่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือระหว่างสระบุรี-นครราชสีมา  เป็นโครงการน�ำร่องที่ได้รับ การสนับสนุนด้านงบประมาณและเทคนิคจากสหรัฐอเมริกา  ที่ลงนาม สัญญาความช่วยเหลือตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๙๘  ท�ำให้เกิดทางหลวงมาตร ฐานสูงขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย  อาจเรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง วิธีการด�ำเนินการใหม่  ตั้งแต่วิธีการก่อสร้างซึ่งก็แตกต่างจากเดิมอย่าง สิ้นเชิง  กล่าวคือให้บริษัทต่างประเทศท�ำการออกแบบ  ควบคุมงาน และก่อสร้าง  แทนการด�ำเนินการของกรมทางหลวงที่สมรรถนะของ กองก่อสร้างของกรมทางหลวงแผ่นดินไม่เพียงพอทั้งคุณภาพและ ปริมาณ  วิธีการก่อสร้างถนนใหม่นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิก หน้ามือเป็นหลังมือ  คือมีการเน้นคุณภาพของถนนที่เดิมเส้นทางเดิมใช้ ทางเกวียนที่ต้องผ่านชุมชนและคดเคี้ยวที่รถยนต์ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน ๕๐-๖๐  กิโลเมตรต่อชั่วโมง  เปลี่ยนมาเป็นการเลือกตัดถนนแนวตรง ที่สามารถวิ่งผ่านได้ด้วยความเร็ว  ๑๐๐  กิโลเมตรต่อชั่วโมง  วิธีการ ก่อสร้างก็ใช้เครื่องจักรก่อสร้างทันสมัยแทนที่จะใช้ก�ำลังคนเป็นหลัก ขณะที่ช่างควบคุมงานก็มีมากถึง  ๑๗  คนต่อระยะทาง  ๓๐  กิโลเมตร ในขณะนั้นมีช่างในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น  ๗๐  คนเท่านั้น  ทั้งยังมีการ ส่งเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงแผ่นดินและนักศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์ จ�ำนวน  ๑๗๘  ไปประจ�ำยังสถานที่ก่อสร้าง  นอกจากนั้นยังมีการใช้ แรงงานกรรมกรราว ๑,๖๐๐ คนต่อวัน๓ 16

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


แผนที่การสร้างถนนตามโครงการระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๑๓ ที่มา : ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ แปล, การเมือง ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการ ต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๘), น. ๔๐๙. ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 17


สถิติท่ีน่าสนใจก็คือปริมาณการจราจรในช่วง  พ.ศ. ๒๕๐๐  นั้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอยู่เบาบางมาก  ค่าเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่  ๘๐ คันเป็นอย่างน้อยในเขตการทางอุบลราชธานี  และ  ๑๕๗  คันเป็นอย่าง มากในเขตขอนแก่น  ส่วนภาคเหนือก็มีปริมาณต�่ำใกล้เคียงกัน  ขณะที่ กรุงเทพฯ  มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่  ๑,๑๙๗  คัน  ๖๗๗  คันในเขตสงขลา และ  ๕๑๕  คันในเขตลพบุรี๔  บริเวณถนนมิตรภาพสายเก่า  (ทางหลวง สายลพบุรี-นครราชสีมา)  มีปริมาณ  ๑๒๕  คันต่อวัน  การเปลี่ยนแปลง ที่ น ่ า จั บ ตามองก็ คื อ   หลั ง จากที่ ตั ด ถนนใหม่ บ นถนนสายมิ ต รภาพ ปริมาณรถพุ่งสูงเกิน  ๑,๐๐๐  คันต่อวันในเดือนมิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๐๑ ก่อนการเปิดตลอดทั้งสาย๕ ไม่เพียงเท่านั้น เส้นทางใหม่ยังเพิ่มมูลค่าตอบแทนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากช่วยลดระยะเวลาการขนส่งค่าใช้จ่ายในการขนส่ง  เช่น  การ เดินทางจากกรุงเทพฯ  ไปยังนครราชสีมา  จากเดิมที่ต้องอ้อมจังหวัด ลพบุรีกินเวลา  ๑๑  ชั่วโมง  ย่นเวลาเหลือเพียง  ๓  ชั่วโมง  เมื่อพิจารณา แล้วการขนส่งโดยรถยนต์ยังมีประสิทธิภาพเหนือกว่าโดยทางรถไฟ เมื่อใช้เวลาเดินทางเพียง  ๔-๕  ชั่วโมง  ค่าโดยสารอยู่ที่  ๒๐  บาท  ขณะ ที่รถไฟใช้เวลาถึง  ๗  ชั่วโมงครึ่ง  ค่าโดยสารอยู่ที่  ๔๓  บาท  เมื่อคิด ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดนครราชสีมา๖ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทางหลวงมาตรฐานสูงมาก ท� ำ ให้ ต ้ อ งแบกรั บ ภาระงบประมาณมหาศาลเป็ น เงาตามตั ว   ความ ทะเยอทะยานของรัฐในโครงการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงแผ่นดิน ๘  ปี   (พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๓) ๗  เป็ น อภิ ม หาโครงการที่ ใ ช้ เ งิ น สู ง มาก จนต้องเปลี่ยนแปลงเป็นโครงการ  ๕  ปี  (พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๒)  ใน เวลาต่อมา  ซึ่งโครงการดังกล่าวท�ำการลดค่าก่อสร้าง  ค่าเฉลี่ยค่าก่อ สร้างต่อกิโลเมตรในโครงการ  ๕  ปีอยู่ที่  ๗๕๐,๐๐๐  บาท  จากเดิม ๑,๓๙๐,๐๐๐  บาท  ค�ำนวณแล้วลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง๘  หลังการก่อสร้าง ถนนมิตรภาพบริษัทรับเหมาก่อสร้างของไทยก็เริ่มใช้เครื่องมือและ วิ ธี ก ารก่ อ สร้ า งอั น ทั น สมั ย เพิ่ ม สมรรถนะในการก่ อ สร้ า งขึ้ น   สหรั ฐ 18

ก�ำเนิด “ประเทศไทย” ภายใต้ เผด็จการ


อเมริกาก็พยายามส่งเสริมบริษัทดังกล่าวในการก่อสร้างทางหลวง  ให้ ความช่วยเหลืออบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ของไทย นอกจากนั้นยับพบว่ามีการเรียกร้องให้สร้าง  “ทางยุทธศาสตร์” โดยกองทัพและความกดดันของนักการเมืองเพื่อชักจูงผลประโยชน์ สู่ท้องที่ของตนนั้นถือเป็นโครงการนอกงบประมาณปกติ  โดยศูนย์ พัฒนาการกองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ  (กรป. กลาง)  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กรมทางหลวงจัดขึ้นในแต่ละจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕  เพื่อสร้างทางหลวงตามค�ำสั่งกองอ�ำนวยการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ  สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด  ศูนย์พัฒนา การนี้ตั้งขึ้นในภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคใต้ที่เป็น บริเวณชายแดน  และมีอิทธิพลคอมมิวนิสต์แทรกแซงอยู่  ทั้งยังแบ่ง เป็ น การสร้ า งทาง  “ในโครงการ”  และ  “นอกโครงการ”  ด้ ว ย  ทาง ประเภทหลังมีลักษณะโปรยงบฯ  และกรมทางหลวงมักด�ำเนินการเอง มากกว่าจะจ้างเหมาเอกชน๙ ความกระตือรือร้นทั้งจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงและ โดยอ้อมที่จะบรรลุภารกิจดังกล่าวจึงมีความหมายอย่างมากในการ เชื่อมโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกันของ  “พื้นที่ประเทศไทย”  นอกเหนือ ไปจากสภาพเส้นทางที่สะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแล้ว  เส้นทางที่จะ ปูลาดยาวจากจังหวัดสู่จังหวัด  จากอ�ำเภอสู่อ�ำเภอ  จากต่างจังหวัดสู่ กรุงเทพฯ  ย่อมหมายถึงโอกาสที่จะก้าวหน้าในยุคพัฒนา  การที่เปิดรอ วิถีชีวิตใหม่ๆ  ประสบการณ์จากการเดินทางที่หนทางไม่เป็นอุปสรรค ดังเดิม  จึงเปิดเสรีการเดินทางไปสู่ดินแดนใหม่ๆ  ใน  “พื้นที่ประเทศ ไทย”  อี ก ด้ ว ย  ดั ง ที่ เ ห็ น ได้ จ ากการเกิ ด ขึ้ น ของพื้ น ที่ ท างการเกษตร ระหว่างสองข้างทางหลวงจากเดิมที่เป็นป่าดงดิบ  การเติบโตของพื้นที่ เมืองอันเป็นย่านคมนาคมและย่านการค้า  เช่น  อ�ำเภอปากช่องที่ขยาย ตัวขึ้นเป็น  ๑๐  เท่า  จากที่เคยรองรับจ�ำนวนประชากร  ๕,๐๐๐  คน  ก้าว กระโดดไปเป็น ๖๕,๐๐๐ คนในต้นทศวรรษ ๒๕๑๐๑๐ ภิญญพันธุ์  พจนะลาวัณย์ 19


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.