หรรษาอาเซียน

Page 1


หรรษา อาเซียน ธีรภาพ  โลหิตกุล

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  ๒๕๕๗


หรรษาอาเซียน • ธีรภาพ โลหิตกุล

พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มิถุนายน ๒๕๕๗ ราคา  ๑๘๕  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ธีรภาพ โลหิตกุล. หรรษาอาเซียน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๑๖๘ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. กลุ่มประเทศอาเซียน ๒. สารคดี(ท่องเทียว)  I. ชื่อเรื่อง ๓๔๑.๒๔๗๓  ISBN  978 - 974 - 02 - 1287 - 4

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : เตือนใจ นิลรัตน์, ศุภชัย นาสมวาส • พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม กราฟิกเลย์เอาต์  : กรวลัย เจนกิจณรงค์  • ออกแบบปกและศิลปกรรม : สิริพงษ์  กิจวัตร ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕  โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี  บริษัทมติชนจำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่  ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์  ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖  โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน

๑. เล็กๆ แต่เอกอุในอาเซียน ๒. แกะรอยไดโนเสาร์ปริศนา ปราสาทตาพรหม ๓. ร้อยปี “คึกฤทธิ์” แซยิด “ถกเขมร” ๔. สด๊กก๊อกธม...อย่าเพิ่งตาย ถ้ายังไม่ได้ชม! ๕. ปิดต�ำนานเผด็จการแห่งลุ่มอิรวดี

๕ ๗ ๑๕ ๒๑ ๒๘ ๓๕ ๔๒


๖. อัศจรรย์รักข้ามขอบฟ้า จากมะเมียะถึงนางซิน ๗. ตะนะคา : เคล็ดลับพม่าผิวเนียน ๘. ชเวดากอง : อยู่ที่ทอง หรืออยู่ที่ใจ? ๙. สิเรียม สาวพราวเสน่ห์ ๑๐. วิถีแห่งเพื่อนบ้านอันประเสริฐ ๑๑. เมื่อ(ภาษา)ลาวเปลี่ยนไป ๑๒. “สินไซ” ไร้มายา อกาลิโก ๑๓. เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ๑๔. ดอกไม้งามแห่งอันนัม ๑๕. พญาครุฑสมานฉันท์แดนอิเหนา ๑๖. เตร็ดเตร่ “เกโรบัก” แดนยะวา ๑๗. ทอดน่องท่องบ้านมอญบางกระดี่ ๑๘. โปรตุเกส ๕๐๐ ปี กับสรรพสิ่งแรกมีในอาเซียน ๑๙. อ๊อดแอดอาเซียน เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ๒๐. ฝันบรรเจิด...ตระเวนทัวร์อาเซียน

4   ธีรภาพ  โลหิตกุล

๔๙ ๕๖ ๖๓ ๖๙ ๗๖ ๘๔ ๙๐ ๑๐๓ ๑๐๙ ๑๑๕ ๑๒๑ ๑๒๘ ๑๓๕ ๑๔๔ ๑๕๖


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

หรรษาอาเซียน อ่านได้เพลินๆ ชวนยิ้มหัวไปกับเรื่อง ราวแปลกๆ ข�ำๆ เรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวิถีผู้คน ศิลปะ  ภาษา และวัฒนธรรมของชาวอาเซียนที่ถูกถ่ายเทสู่กันและกัน  อีกทั้ง  ยังจะช่วยไขข้อข้องใจในสารพันปัญหาที่หลายคนอาจติดใจสงสัย หรือ  ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาก่อน  อาทิ  จริงหรือ...คนแต่ง “ซินเดอเรลล่า” ลอกพล็อตเรื่องมาจาก  “ปลาบู่ทอง”?  พระเจ้า ! ถ้าโปรตุเกสไม่เอามะละกอกับพริกขี้หนูมา  ปลูก แล้วสาวๆ จะมี  “ส้มต�ำ” กินมั้ย?  ท�ำไมคนไทยฟังเพลง “พม่า  ประเทศ” แล้วต้องยืนตรงเคารพธงชาติ?  เจ้าสาวเวียดนามร�่ำไห้ท�ำไม  ในงานแต่ง ?  ๗ ประเทศอาเซียนแต่งชุดรามเกียรติ์ต่างกัน แต่ท�ำไม  เล่นเรื่องเดียวกัน? เป็นต้น   บางเรื่องราวอาจถูกซุกซ่อนอยู่เพียงหลังฉาก ยังไม่ได้แพร่หลาย  สูก่ ารรับรูใ้ นวงกว้าง ยิง่ อ่านไปยิง่ จะท�ำให้เราทึง่ กับทีม่ าของเรือ่ งราวต่างๆ  ได้รับทั้งสาระความรู้และความเพลิดเพลิน หรรษาอาเซี ย น   5


การันตีความหรรษาและเกร็ดความรู้สนุกๆ จากประสบการณ์  ๒  ทศวรรษสัญจรของธีรภาพ โลหิตกุล ผู้คร�่ำหวอดในแวดวงสารคดีจนมี  ผลงานรวมเล่มมาแล้วไม่ต�่ำกว่า ๔๐ เล่ม อีกทั้งได้รับ ๒ รางวัลส�ำคัญ  ด้านงานเขียนและการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม คือ “นักเขียน  รางวัลศรีบูรพา” ในปี  ๒๕๕๖  และล่าสุดเมื่อต้นปี  ๒๕๕๗ ก็ได้รับการ  ประกาศเกียรติจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ให้เป็น “นักเขียน  รางวัลวรรณกรรมลุ่มน�้ำโขง” ของไทย (พร้อมกับ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  และกฤษณา อโศกสิน) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในแวดวงวรรณกรรมไทยที่ม ี รางวัลระดับนานาชาติส�ำหรับคนวรรณกรรมในประเทศแถบลุ่มแม่น�้ำโขง  ด้วยการเดินทางอันยาวนานบนเส้นทางนักเขียน ผูผ้ ลิตสือ่ สารคดี  ท�ำให้เขามีโอกาสพบเห็นและเรียนรู้ในวิถีที่แตกต่างกันของผู้คนต่างเชื้อ  ชาติ  ต่างศาสนา ต่างภาษาและวัฒนธรรม ผ่านการท�ำงาน รวมถึงภาพ  ถ่ายสวยงามก็ช่วยเพิ่มเสน่ห์และสีสันให้กับเรื่องราวที่หยิบมาถ่ายทอด  เชิญชวนให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการราวกับได้ร่วมเดินทางและเรียนรู้ไป  พร้อมๆ กับการอ่าน  มาถึงวันนี้ค�ำว่า “อาเซียน” ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวแต่อย่างใด มันใกล้  เสียจนแทบจะชิดปลายจมูก  หลายคนอาจคิดว่าการรับมือกับอาเซียน  นั่นคือการเรียนภาษา  จริงๆ แล้วภาษาก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการ  เรียนรู้ไม่ต่างไปจากการได้ไปสัมผัสผู้คน วิถีชีวิต อาหารการกิน  แต่  สิ่งที่ส�ำคัญกว่านั้นคือประวัติศาสตร์  ศิลปะ และวัฒนธรรมของชนชาติ  นั้นๆ ต่างหากที่จะท�ำให้เรารู้จัก “รากเหง้า” เพื่อความเข้าใจกันและกัน  อย่างแท้จริง  ส�ำนักพิมพ์มติชน

6   ธีรภาพ  โลหิตกุล


ค�ำน�ำผู้เขียน

ท�ำไมมีสัตว์ประหลาดคล้ายไดโนเสาร์  ปรากฏในลาย แกะสลักหินที่ปราสาทตาพรหม?       ชาวพม่าใช้รถพวงมาลัยขวา แล้วท�ำไมยังขับรถเลนขวา ช่างน่า  อันตราย ?       เที่ยวบิน DD4212 ของนกแอร์  เทคออฟจากสนามบินแม่สอด  ๐๙.๔๕ น. แต่ท�ำไมแลนดิ้งสนามบินมะละแหม่ง ๐๙.๔๐ น.? โกรธเคืองเรื่องอะไร ชาวลาวจึงโค่นอนุสาวรีย์  “ม.ปาวี” แล้วแบก  ไปทิ้งน�้ำโขง? จริงหรือ คนแต่ง “ซินเดอเรลล่า” ลอกพล็อตเรื่องมาจาก “ปลาบู่  ทอง”? พระเจ้า! ถ้าโปรตุเกสไม่น�ำมะละกอกับพริกขี้หนูมาปลูก แล้ว  สาวๆ จะมี  “ส้มต�ำ” กินมั้ย ?   ท�ำไม ๗ ประเทศอาเซียน แต่งชุดรามเกียรติ์ต่างกัน แต่เล่นเนื้อ  เรื่องเดียวกันได้ ?        “ขนมจีน” ไม่เกี่ยวกับจีน แต่ท�ำไมชาวอาเซียนชอบกินขนมจีน  เหมือนกันหลายประเทศ ? หรรษาอาเซี ย น   7


“สด๊กก๊อกธม” เหตุใด...อย่าเพิ่งรีบตาย ถ้ายังไม่ได้ชม? ตราครุฑของราชการไทย กับตราแผ่นดินครุฑของอิเหนา ต่าง  กันตรงไหน? “อ๊อดแอด” เพลงฮิตของเท่ง เถิดเทิง เกี่ยวอะไรกับประชาคม  อาเซียน? ท�ำไมคนไทยฟังเพลง “พม่าประเทศ” แล้วต้องยืนตรงเคารพธง  ชาติ ? เจ้าสาวเวียดนามร�่ำไห้ท�ำไมในงานแต่ง ? แต่จอหงวนดันหัวเราะ  ทั้งที่สอบตก ? “สิเรียมพม่า” กับ “สิเรียมไทย” ต่างกันตรงไหน ใครสวยกว่ากัน?  พิลึก ทหารพม่ายกเลิกแบงก์  ๕๐ กับ ๑๐๐ จัต แล้วออก ๔๕  กับ ๙๐ จัต ไปท�ำไม? ฯลฯ สารพันปัญหาชวนหรรษาของชาวอาเซียน คือสีสนั แห่งความแตก  ต่างและหลากหลายของภูมิภาคอาเซียน ที่หากเราไม่ใส่ใจจะเรียนรู้ซึ่ง  กันและกัน แล้วเราจะหลอมรวมเป็น “ประชาคม” เดียวกันได้อย่างไร?  ในเมื่อ “ประชาคมอาเซียน” ที่แข็งแกร่งมิอาจลอยลงมาจากสวรรค์ชั้นฟ้า  ตามจินตนาการของใครได้เลย ป.ล. จับเก้าอี้ไว้ดีๆ ขณะอ่าน !

8   ธีรภาพ  โลหิตกุล

ด้วยความปรารถนาดี ธีรภาพ  โลหิตกุล


หรรษาอาเซี ย น   9


10   ธีรภาพ  โลหิตกุล


สารคดีไม่ใช่เรื่องยากแบบที่เราคิด เพียงแต่ขอให้สนใจ  วิธีการน�ำเสนอแบบมีศิลปะ ไม่ใช่การเอาข้อมูลมาแปะแบบ  ง่ายๆ เท่านั้นเอง  ทีส่ ำ� คัญ สารคดีนำ� ผมไปสูอ่ งค์ความรูม้ ากมายบนโลก  ใบนี้ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาศาสตร์ ธรณีวิทยา  ท�ำให้ผมมีความรู้สึกว่ายังมีพื้นที่อีกมากมายบนโลก  ใบนี้ที่ผมยังไม่ได้ไปสัมผัส ยังมีเรื่องราวในโลกนี้อีกมากมาย  ที่ผมยังไม่ได้เรียนรู้  สารคดีท�ำให้ผมรู้สึกว่าเป็นนักเรียน ที่เรียนมิรู้จบ  สารคดี เ ป็ น ทั้ ง วิ ช าชี พ เลี้ ย งปากเลี้ ย งท้ อ ง และเป็ น  คุณค่าทางปัญญาที่ท�ำให้ผมมีความสุขที่ได้เรียนรู้อยู่เสมอๆ

” ธีรภาพ  โลหิตกุล นักเขียน “รางวัลศรีบูรพา” ประจ�ำปี ๒๕๕๖ และ “รางวัลวรรณกรรมลุ่มน�้ำโขง” (ประเภทสารคดี) ประจ�ำปี ๒๕๕๗

หรรษาอาเซี หรรษาอาเซียยน   11 น   11


หรรษา


อาเซียน



(๑)

เล็กๆ แต่เอกอุในอาเซียน

แม้โลกจะจดจ�ำว่า ในภูมิภาคอาเซียนหรืออุษาคเนย์มี งานสถาปัตยกรรมจากภูมิปัญญายุคโบราณหลายแห่งที่ใหญ่โตโอฬาริก  ติดอันดับโลก ไม่ว่าจะเป็นปราสาทนครวัดในกัมพูชา เทวาลัยในศาสนา  ฮินดูสร้างด้วยหินที่ใหญ่ที่สุด หรือ “บูโรพุทโธ” บนเกาะชวาในอินโด  นีเซียที่โลกยกให้เป็นพุทธสถานที่ใหญ่ที่สุด  รวมถึง “ชเวดากอง” มหา เจดีย์ที่อร่ามเรืองด้วยแผ่นทองหนักรวมกันมากสุดถึง ๑๑ ตันห่อหุ้มไว้  แต่ในความเป็นจริงยังมีสิ่งเล็กๆ ทว่าเอกอุอลังการด้วยความคิด  สร้ า งสรรค์ แ ละฝี ไ ม้ ล ายมื อ เข้ า ขั้ น  “งานชิ้ น เอก” (Masterpiece)  อีกมากมายในอาเซียน  บางชิ้น...แม้แต่เราชาวอาเซียนก็อาจมองข้าม  ไป  วันนี้จะลองยกตัวอย่างงานชิ้นเอกประเภทศิลปะเขมรที่กระจาย  อยู่ในหลายประเทศมาเล่าสู่กันฟัง

หรรษาอาเซี ย น   15


๑. ยิ้มอย่างมีเมตตา ที่ปราสาทบายน กัมพูชา ๒. มู่ลี่บายน นครธม กัมพูชา ๓. หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม สุโขทัย

16   ธีรภาพ  โลหิตกุล


ชิ้นแรกอยู่ที่เมืองเสียมเรียบในกัมพูชา เป็นองค์ประกอบส่วน  เล็กๆ ของปราสาทบายน ปราสาทประจ�ำรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่  ๗  วีรกษัตริย์ของชาวเขมร เมื่อราว ๘๐๐ ปีก่อน  เอกลักษณ์โดดเด่นของ  ปราสาทหลังนี้คือรอยยิ้มบนพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยิ้มอย่างมีเมตตา” ตามคติในศาสนาพุทธ  นิกายมหายาน ประดับอยู่รอบปรางค์ปราสาททั้ง ๕๔ ปรางค์ รวมทั้งสิ้น  ๒๑๖ พระพักตร์  นับเป็นรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรม “ปรางค์” ที่ไม่  เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน จนเป็นที่มาของสมญานามว่า กัมพูชา  ...ดินแดนศิลาแย้มสรวล (Cambodia-A Land Where Stones Can  Smile)  แต่ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือที่ช่องหน้าต่างบางช่องของปราสาท  หลังนี้  เห็นทีแรกเข้าใจว่าช่างเขมรโบราณแกะหน้าต่างบานนี้ไม่เสร็จ  คือแกะเสาลูกมะหวดค้างไว้ครึ่งเดียว  แต่ที่ไหนได้  สังเกตดูดีๆ เห็น  เส้นที่พาดเฉียงลงมา ๒ เส้น แล้วต้องอุทานว่าล�้ำลึก เพราะเขาตั้งใจ  แกะสลั ก หิ น เป็ น ภาพหน้ า ต่ า งที่ ชั ก มู ่ ลี่ ขึ้ น ครึ่ ง เดี ย ว คื อ ครึ่ ง ที่ เ ห็ น ลู ก  มะหวดอยู่ด้านล่าง  ผมจึงขนานนามว่า “มู่ลี่บายน” แล้วยกให้เป็น ๑  ในบรรดา “เล็กๆ แต่เอกอุ” ของอาเซียน ที่ใครมีโอกาสแวะเวียนไป  ปราสาทบายนแล้วไม่น่าพลาดชมด้วยประการทั้งปวง ชิ้นต่อมาเป็น “เล็กๆ แต่เอกอุ” ที่สุโขทัยบ้านเรา ชาวบ้านเรียก  “หลวงพ่อศิลา” พระพุ ท ธรู ป นาคปรกปางสมาธิ   หน้ า ตั ก กว้ า ง ๔๔  เซนติเมตร สูง ๘๕.๕๐ เซนติเมตร แกะสลักจากศิลาทรายด้วยศิลปะ  เขมรแบบ “บายน” ทีม่ พี ทุ ธลักษณะงดงามเป็นทีส่ ดุ  โดยเฉพาะพระพักตร์  ที่สลักเสลาพระขนงหรือคิ้วเป็นวงโค้งต่อกันดั่งลอนคลื่น พระเนตรเรียว  งามดั่งรวงข้าว พระนาสิกคมสัน กระทั่งพระกรรณหรือใบหู  ถ้าดูอย่าง  เพ่งพิศจะเห็นเส้นสายรายละเอียดอันวิจิตรตาเกินบรรยาย หรรษาอาเซี ย น   17


ส่วนถนิมพิมพาภรณ์  เริ่มจากศิราภรณ์  (เครื่องประดับพระเศียร)  เป็นมงกุฎเทริดลายดอกจัน ติ่งหูประดับกุณฑล (ตุ้มหู) ทรงกรวยห้อย  ยาวถึงอังสะ (บ่า) ต้นแขนประดับพาหุรัด (เครื่องรัดต้นแขน) สุดแสน  จะวิลิศมาหรา  โดยรวมแล้วช่างอ่อนช้อย ผิดจากพระพุทธรูปศิลปะ  เขมรทั่วไป จนสงสัยว่า “หลวงพ่อศิลา” อาจเป็นพุทธศิลป์อิทธิพลเขมร  ที่รังสรรค์ขึ้นโดยช่างชาวสุโขทัยหรือศรีสัชนาลัย  ซึ่งเรื่องนี้  ศาสตรา จารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเคยประทานความเห็ น ไว้ ว ่ า  “…แม้ลักษณะทั่วไปจะดูคล้ายกัน (กับศิลปะขอม) แต่พระพักตร์นั้นไม่  เป็นแบบขอม...”  แต่ที่แน่ๆ ความงามอย่างเอกอุท�ำให้ท่านถูกโจรกรรมไปอย่างไร้  ร่องรอย...นานถึง ๑๘ ปี   กว่าจะรู้ว่าถูกประมูลไปไกลถึงอเมริกา ก่อน  กลับคืนมาในปี ๒๕๓๙  ปัจจุบนั หลวงพ่อศิลาประดิษฐาน ณ วัดทุง่ เสลีย่ ม  อ�ำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย   ใครยังไม่เคยเห็นควรหาโอกาสไปกราบเป็นบุญตา...สักครั้งหนึ่ง  ในชีวิต ๑. เครื่องส�ำริดศิลปะเขมรที่มัณฑะเลย์ พม่า ๒. ชาวพม่านิยมลูบขอพรจากเครื่องส�ำริดเขมร

18   ธีรภาพ  โลหิตกุล


๓. ปวดท้อง ให้ลูบที่ท้อง

เล็กๆ ทว่าเอกอุชิ้นต่อมาต้องเรียกเป็นชุด เพราะเป็นเครื่อง ส�ำริดศิลปะเขมร ๖ ชิ้น  ประกอบด้วย รูปช้างเอราวัณ ๒ องค์ รูปสิงห์  ๒ องค์ รูปทวารบาล ๒ องค์   แต่ละชิ้นอลังการจนสันนิษฐานได้ว่าเป็น  ฝีมือช่างหลวงในราชส�ำนักกัมพูชา เพราะเครื่องส�ำริดชุดนี้มีสถานะเป็น  “เครื่องราชูปโภค” หรือเครื่องส่งเสริมสถานะกษัตริย์ ตั้งอยู่ที่เมืองยโศธร  ปุระ (นครธม)  ต่อมาเมื่อเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยายกทัพไปตี  นครธมใน พ.ศ.๑๙๖๖ ได้ยกเครื่องส�ำริดชุดนี้มาไว้กรุงศรีอยุธยา  ครั้น  พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๑๑๒ ก็ยกไปไว้ที่หงสาวดี  ก่อน  จะถูกยกไปยะไข่เมื่อเจ้าเมืองยะไข่รวมหัวกับเจ้าเมืองแปร อังวะ ตองอู  เผาหงสาวดีใน พ.ศ.๒๑๔๒  ท้ายที่สุดเมื่อพระเจ้าปดุงของพม่ายกทัพ  ไปล้างแค้นยะไข่ พ.ศ.๒๓๒๗ จึงยกมาไว้ทวี่ ดั มหามัยมุน ี เมืองมัณฑะเลย์  ตราบจนปัจจุบัน สะท้ อ นความจริ ง ว่ า การยกทั พ ไปตี เ มื อ งแล้ ว ขนทรั พ ย์ ส มบั ติ  กวาดต้อนเชลยศึก เป็นภาวะปกติของการท�ำสงครามสมัยก่อน ซึ่งแต่  ละเมือง เช่น กรุงศรีอยุธยา ล้วนเป็นทั้งผู้กระท�ำและถูกกระท�ำ (หาก  หรรษาอาเซี ย น   19


วันนี้เรายังคิดแค้นเคืองใคร ก็ต้องไม่ลืมว่ามีคนอื่นแค้นเคืองเราอยู่ด้วย  เช่นกัน)  แต่ที่น่าสนใจคือ ถึงวันนี้ได้แปรสภาพจากเครื่องราชูปโภค  กลายเป็นเครื่องรางของขลังของชาวพม่าไปเสียแล้ว  เราจึงได้เห็นชาว  พม่าที่มาสักการบูชาพระมหามัยมุนี  แล้วจะต้องหอบลูกจูงหลานมาเอา  มือลูบคล�ำ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต บางคนลูบเฉพาะท้องทวารบาลเพื่อขอลูก บางคนให้เด็กๆ ลูบ  หัวสิงห์ด้วยเชื่อว่าจะได้รับพรให้มีสติปัญญาฉลาดหลักแหลม และหลาย  คนก็ลูบเฉพาะจุดที่ตนเองเจ็บไข้ได้ป่วย  เครื่องส�ำริดศิลปะเขมรชุดนี้  จึงมิได้ถูกจัดวางไว้ในฐานะโบราณวัตถุล�้ำค่าในพิพิธภัณฑ์  เพราะได้  กลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวพม่าไปเสียแล้ว

20   ธีรภาพ  โลหิตกุล


(๒)

แกะรอยไดโนเสาร์ปริศนา ปราสาทตาพรหม อารยธรรมกัมพูชาสมัย  “เมืองพระนคร”  (Angkor) เมื่อ ๑,๒๐๐-๘๐๐ ปีก่อน เจริญก้าวหน้าเสียจนกระทั่งเมื่ออาณาจักร  นี้ล่มสลายไปแล้ว มีคนไม่เชื่อว่าชาวกัมพูชาจะมีความสามารถสร้าง  มหาปราสาทอย่าง “นครวัด” ได้  อย่างน้อยก็บาทหลวงชาวสเปนคน  หนึ่ง ชื่อ “กาเบรียล คิโรดา เดอ ซานอันโตนิโอ” ที่มาเผยแผ่ศาสนา  ในฟิ ลิ ป ปิ น ส์   แล้ ว เดิ น ทางไปส� ำ รวจเมื อ งพระนครเมื่ อ  พ.ศ. ๒๑๔๗  แล้ ว กลั บ ไปเขี ย นรายงานเผยแพร่ ไ ปทั่ ว ยุ โ รปว่ า เป็ น เมื อ งที่ ส ร้ า งขึ้ น  อย่างน่ามหัศจรรย์   แต่เขาเชื่อว่าเป็นฝีมือของชาวโรมัน! แต่เรื่องนี้กลายเป็น “โจ๊กใส่ไข่” ในแวดวงประวัติศาสตร์  เมื่อมี  หลักฐานทางโบราณคดีมากมายที่สนับสนุนว่าปราสาทหินอันอลังการ  ทั้งหลายในกัมพูชานั้นสร้างโดยบรรพชนชาวกัมพูชาเอง  แต่...ที่ยังเป็น  ปริศนาคาใจใครต่อใครมาตราบจนวันนี้   คือกรณีที่มีภาพจ�ำหลักสัตว์  ปริศนา รูปร่างคล้ายไดโนเสาร์ตระกูล “สเตโกซอรัส” ประดับที่กรอบ  ประตูด้านหนึ่งของปราสาทตาพรหม หนึ่งในปราสาทส�ำคัญสมัยพระเจ้า  ชัยวรมันที่  ๗ อายุเก่าแก่กว่า ๘๐๐ ปี  ทั้งๆ ที่องค์ความรู้เรื่องไดโนเสาร์  หรรษาอาเซี ย น   21


หรือวิชา “โบราณชีววิทยา” เพิ่งอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว ๑๕๐ กว่า  ปีมานี้เอง พระเจ้าชัยวรมันที่  ๗ วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ยุคสุดท้ายของเมือง  พระนคร สร้ า งปราสาทตาพรหมอุ ทิ ศ ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ลแด่ พ ระ  ราชมารดา ใน พ.ศ. ๑๗๒๙ โดยมีชื่อเรียกปรากฏในศิลาจารึกว่า “วัด เรียชวิเฮียร” (วัดราชวิหาร)  ส่วน “ตาพรหม” เป็นชื่อที่เรียกกันเอง  ก่ อ นการค้ น พบศิ ล าจารึ ก   วั ด นี้ เ ป็ น วั ด พุ ท ธนิ ก ายมหายาน ซึ่ ง เป็ น  ศาสนาประจ� ำราชอาณาจักรของพระเจ้าชัยวรมันที่  ๗ แต่รูปลักษณ์  ทางสถาปัตยกรรมยังเป็นทรงปรางค์ปราสาท หรือ “เทวาลัย” ตามคติ  ฮิ น ดู   (ศาสนาที่ ก ษั ต ริ ย ์ กั ม พู ช าก่ อ นหน้ า นั้ น นั บ ถื อ ) จึ ง มี ก ารจ� ำ หลั ก  หรือแกะสลักทั้งรูปเคารพตามคติพุทธมหายาน อาทิ  พระโพธิสัตว์อว  โลกิเตศวร พระอมิตาภะพุทธเจ้า ฯลฯ และคติฮินดู  อาทิ  นางอัปสรา  หรือเทพอัปสร และสัตว์มงคลต่างๆ เช่น ครุฑ นาค สิงห์  กวาง ฯลฯ  ประดับไว้โดยรอบ แต่ในช่องวงกลมที่กรอบประตูชั้นในทิศตะวันตกของปราสาท  ตาพรหม ยังมีรูปสัตว์ประหลาดตัวหนึ่งรูปร่างคล้ายหมูแต่มีหางยาว

๑. ทรวดทรงองค์ เ อวและครี บ สุ ด เท่ ข อง “สเตโกซอรั ส ”  ไดโนเสาร์กินพืชนิสัยดี (www.dinosaurs.about.com) ๒. กรอบประตู ป ราสาทตาพรหมที่ มี ภ าพจ� ำ หลั ก สั ต ว์  ประหลาดคล้ายสเตโกซอรัส ๓. ดูกันชัดๆ ว่าเป็นตัวอะไรกันแน่

22   ธีรภาพ  โลหิตกุล


ที่ส�ำคัญคือมีครีบที่แนวสันหลังจากคอจรดหาง ลักษณะใกล้เคียงกับ  ไดโนเสาร์กินพืชชนิดหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในโลกยุคจูราสสิคเมื่อราว ๑๔๐  ล้านปี  ซึ่งนักโบราณชีววิทยาเรียก “สเตโกซอรัส” (Stegosaurus) และ  เป็นดาราดวงเด่นตัวหนึ่งในภาพยนตร์  “จูราสสิคพาร์ค” อันลือลั่น จะ  ต่างกันเล็กน้อยก็ตรงส่วนหัวของสัตว์ประหลาดนี้โตกว่า “สเตโกซอรัส”  และยังมีเขาแหลมด้วย ธรรมชาติของสเตโกซอรัสมีนิสัยไม่ดุร้าย จึงปรับโครงสร้างของ  ร่ า งกายด้ ว ยการมี แ ผ่ น แข็ ง กลางหลั ง คล้ า ยคลี บ  ๒ แถว เป็ น เกราะ  ป้องกันอันตรายจากไดโนเสาร์กินเนื้อ  เรื่องนี้ยังไม่มีค�ำตอบที่แน่ชัด  จากนักวิชาการโบราณคดีของกัมพูชาว่า “สเตโกซอรัส” มาถึงปราสาท  ตาพรหมได้อย่างไร หรือว่ามีการขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ตั้งแต่  เมื่อ ๘๐๐ ปีที่แล้ว  ทว่า อาจารย์วราวุธ สุธีทร ผู้เชี่ยวชาญโบราณ  ชีววิทยา แห่งกรมทรัพยากรธรณีของไทย ให้ทัศนะว่ารูปร่างของสัตว์  ประหลาดตัวนี้คล้ายแรด เพราะสเตโกซอรัสจะมีหัวเล็กลีบกว่านี้   ส่วน  ที่เห็นเป็นคลีบอยู่ตรงหลังเหมือนสเตโกซอรัส น่าจะเป็นลายกลีบบัวที ่ หรรษาอาเซี ย น   23


๒ 24   ธีรภาพ  โลหิตกุล


๓ ๑. ปราสาทตาพรหมหรือวัดราชวิหาร เป็นอารามหลวงในสมัยพระเจ้า  ชัยวรมันที่ ๗ ๒. รากไม้สะปงอันลือลั่นที่ปราสาทตาพรหม เคยเป็นฉากถ่ายหนัง  “ทูมบ์ ไรเดอร์” ๓. พระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่ซุ้มประตูปราสาทตาพรหม

หรรษาอาเซี ย น   25


ช่างแกะสลักเป็นองค์ประกอบให้สวยงาม แทนที่จะปล่อยเป็นพื้นที่ว่าง  ไปเฉยๆ “...เพราะ ๘๐๐ ปีที่แล้ว องค์ความรู้เรื่องไดโนเสาร์ยังไม่เกิดขึ้น  ถ้าคิดว่าช่างเขมรแกะสเตโกซอรัสจากการเห็นตัวจริงในป่าก็ยิ่งเป็นไป  ไม่ได้   ผมคิดว่าน่าเป็นแรดมากกว่า...” ถ้าเช่นนั้น ท�ำไมจึงต้องจ�ำหลักรูปแรดประดับไว้   ความน่าจะ  เป็นคือ “แรด” หรือ “ระมาด” เป็นพาหนะทรงของพระอัคนี  เทพแห่งไฟ  ตามคติของชาวฮินดู เช่นเดียวกับ “กวาง” เป็นพาหนะทรงของพระพฤหัส  และพระพาย เทพแห่งลม  “นาค” เป็นพาหนะทรงของพระวรุณหรือ  พระพิรุณ เทพแห่งน�้ ำและฝน  “สิงห์” เป็นพาหนะทรงของพระเสาร์  ทวยเทพเหล่านี้เป็นเทพเจ้าในยุคแรกของศาสนาฮินดู  ก่อนที่จะพัฒนา  ไปสู่ลัทธิ  “ไศวนิกาย” ที่มุ่งนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นใหญ่  กับ  “ไวษณพนิกาย” ที่นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่  แล้วลด  ชั้นพระอินทร์  พระพรหม พระพาย พระวรุณ พระอัคนี  ฯลฯ เป็นเทพ  ชั้นรอง  แม้ปราสาทตาพรหมจะเป็นวัดพุทธ แต่ก็จ�ำหลักภาพเทพเจ้า  ฮินดู ทั้งมหาเทพและเทพชั้นรอง รวมทั้งพาหนะทรงของทวยเทพไว้โดย รอบ เพียงแต่ต้องอยู่ในต�ำแหน่งที่ต�่ำกว่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์  อย่างไรก็ตาม แม้องค์ความรู้เรื่องไดโนเสาร์ของมนุษย์จะเพิ่ง  เกิดขึ้นไม่ถึง ๒๐๐ ปี  และค�ำว่า “ไดโนเสาร์” (Dinosaur) ที่เกิดจาก  การผสมค�ำในภาษากรีกสองค�ำ คือ “deinos” แปลว่าใหญ่จนน่าสะพรึง  กลั ว  กั บ  “sauros” แปลว่ า สั ต ว์ เ ลื้ อ ยคลาน เพิ่ ง บั ญ ญั ติ ขึ้ น โดยเซอร์  โรเบิร์ต โอเวน นักโบราณชีววิทยาชาวอังกฤษใน พ.ศ.๒๓๘๕ แต่ก็ม ี หลักฐานว่ามนุษย์ค้นพบซากดึกด�ำบรรพ์ของไดโนเสาร์มานานนับพัน  ปีแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นซากของสัตว์อะไร ได้แต่คาดเดาไป  ตามความเข้าใจ เช่น คนจีนคิดว่าเป็นกระดูกมังกร ชาวยุโรปคิดว่าเป็น  ชิ้นส่วนที่หลงเหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน�้ำท่วมโลก  ครั้งใหญ่  26   ธีรภาพ  โลหิตกุล


เป็นไปได้ไหมว่าชาวกัมพูชาสมัยเมืองพระนคร (Angkor) ซึ่งมี  อารยธรรมสู ง ส่ ง  อาจขุ ด ค้ น พบซากฟอสซิ ล ไดโนเสาร์ กิ น พื ช อย่ า ง  “สเตโกซอรัส” แล้วให้ช่างจ�ำหลักภาพไว้เป็นหลักฐาน  ล่าสุดใน พ.ศ.๒๕๕๐ มีรายงานการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ในหิน  กลุ่มโคราช ที่อ�ำเภอรัตนคีรี  และหลายจังหวัดในภาคตะวันออกของ  กัมพูชา บ่งชี้ว่าดินแดนนี้เคยเป็นแหล่งไดโนเสาร์มาก่อน เช่นเดียวกับ  พื้นที่ภาคกลางของลาว ก็ขุดค้นพบซากไดโนเสาร์เมื่อราว ๒๐ ปีมานี้  โดยชาวบ้านในลาวเรียกสัตว์ดึกด�ำบรรพ์ชนิดนี้อย่างเท่และเป็นตัวของ  ตัวเองว่า “กะปอมหลวง” !

หรรษาอาเซี ย น   27


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.