ถอดรหัสพระจอมเกล้า

Page 1


ถอดรหัสพระจอมเกล้า พิชญา สุ่มจินดา

ราคา ๒๐๐ บาท


สารบัญ

ถอดรหัสพระจอมเกล้า

คำ�นิยม คำ�นำ� บทนำ� :

สัญลักษณ์และการถอดรหัส

สืบกำ�เนิดธรรมยุต

ผ่านพุทธศิลป์

พระพุทธรูป

หมวดพระพุทธชินราช (จำ�ลอง) ที่วัดราชประดิษฐ

(๗) (๑๐) ๓ ๑๕ ๖๗

แผ่นไม้จำ�หลัก

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ “ของเก่า” สุโขทัย หรือ “ของใหม่” รัชกาลที่ ๔

๘๙

บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎ

วัดราชประดิษฐ จาก “อินทรคติ” สู่ “พระบรมราชสัญลักษณ์”

แกะรอยสัญลักษณ์

บนหน้าบันพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ

พระพุทธรูปทรงเครื่อง

ฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๔ ที่รอการค้นพบ

บทสรุป บรรณานุกรม

๑๑๑ ๑๔๑ ๑๗๕ ๒๐๗ ๒๑๐


คำ�นิยม

ถอดรหัสพระจอมเกล้า

ผมเป็นผู้มีอัธยาศัยชอบพอที่จะศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่อยู่ในวัยเรียนหนังสือแล้ว แม้ ภายหลังจะได้ประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมายในฐานะเป็นครูสอนวิชานิติ ศาสตร์ แต่ในทางส่วนตัวก็ยังไม่ทอดทิ้งความสนใจเดิม หากมีเวลาว่างก็จะ แวะเวียนไปเยีย่ มชมวัดวาอารามหรือโบราณสถานต่างๆ รวมตลอดถึงพิพธิ ภัณฑ์ และแหล่งเรียนรูท้ ตี่ รงกับความสนใจของเรา หนังสือทีซ่ อื้ หามาอ่านก็เป็นหนังสือ แนวโบร�่ำโบราณเสียเป็นส่วนใหญ่ ถือเสียว่าเป็นความสุขส่วนตัวที่ไม่รบกวน หรือเบียดเบียนใคร ด้วยความสนใจเช่นนี้บางคราวจึงมีผู้คุ้นเคยมาขอร้องให้ไปเป็นวิทยากร หรือผูน้ ำ� ทัศนศึกษาวัดหรือวังอยูบ่ า้ งตามโอกาสทีว่ า่ งตรงกัน ผมก็เก็บรวบรวม ความรู้ที่ทรงจ�ำจากแหล่งต่างๆ ไปขยายความต่อแบบไม่ซับซ้อนนักเพื่อให้ ผู้ที่เป็นผู้ชมผู้ฟังพอได้ข้อมูลหรือข้อคิดประกอบการทัศนศึกษา เมื่อจบรายการ แต่ละครั้งมีผู้ร่วมคณะทัศนศึกษามาปรารภอยู่เสมอว่า สถานที่ที่ไปเยี่ยมชมนั้น ทีจ่ ริงแล้วก็เคยเดินผ่านอยูบ่ อ่ ยๆ ความรูส้ กึ ในใจก็บอกแต่เพียงว่าสวยและเป็น ของโบราณมีคุณค่า แต่พอได้มาเดินเที่ยวชมพร้อมทั้งมีคนเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟัง ได้ทราบที่มาที่ไป ได้มีการชี้ชมรายละเอียดต่างๆ ความสนุกสนานและ ความพึงพอใจทีไ่ ด้สมั ผัสใกล้ชดิ กับสถานทีจ่ ริง ของจริงพร้อมกับได้ฟงั เรือ่ งราว ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ก็ยิ่งท�ำให้ความรู้สึกภาคภูมิใจว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของ บ้านเมืองที่มีอารยะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นหลายเท่าทบทวี


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

(8)

ที่กล่าวมาข้างต้นดังนี้มิได้หมายความว่าผมเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ในเรื่อง ประวัตศิ าสตร์โบราณคดีอย่างเชีย่ วชาญ ตรงกันข้ามผมวางตนอยูใ่ นฐานะผูส้ นใจ ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้มาตลอดชีวิต ยังมีอีกหลายอย่างหลายเรื่องที่ผมไม่ ทราบ ในเมืองไทยของเรามีผู้ที่เป็นนักวิชาการและท�ำงานศึกษาค้นคว้าเรื่อง เหล่านี้อย่างจริงจังอีกเป็นจ�ำนวนมาก ท่านเหล่านี้อยู่ในฐานะเป็นครูของผมทัง้ สิ้น และน่ามหัศจรรย์ที่จะต้องบอกกล่าวกันว่า ความรู้เหล่านี้ยังคงงอกเงยและ เพิม่ พูนขึน้ ไม่รจู้ บ ต�ำรับต�ำราและงานวิจยั ในด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ และโบราณคดีที่มีผู้เรียบเรียงค้นคว้าวิจัยขึ้นใหม่ ได้เปิดพรมแดนความรู้ให้ กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้นกว่าแต่เดิมอยู่เสมอ ในบรรดานักวิชาการรุ่นใหม่ที่ท�ำงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมานานปี และมีผลงานการค้นคว้าเผยแพร่ต่อสาธารณะอยู่สม�่ำเสมอ คนหนึ่งในจ�ำนวน นั้นคือ อาจารย์พิชญา สุ่มจินดา อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชา ศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เป็นเจ้าของผลงานหนังสือ เรื่อง “ถอดรหัสพระจอมเกล้า” เล่มนี้ ซึ่งผมมีโอกาสได้รู้จักกันเป็นส่วนตัว ในฐานะผู้อยู่ในแวดวงผู้ที่มีความสนใจต้องตรงกัน อีกทั้งผมยังได้ติดตาม งานเขียนทางวิชาการของอาจารย์พิชญาด้วยความเพลิดเพลินใจและอิ่มใจใน ความรู้ที่งอกเงยขึ้นมานานปี หนังสือ “ถอดรหัสพระจอมเกล้า” ที่อยู่ในมือทุกท่านขณะนี้ได้น�ำศิลปะ ในยุครัตนโกสินทร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นขึ้น ไม่ ว่าจะเป็นในสมัยที่ยังทรงอยู่ในภิกขุภาวะ ทรงเป็นพระภิกษุสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ หรือพระวชิรญาณมหาเถระ หรือในสมัยที่ทรงผ่านพิภพเป็นพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว มาวิเคราะห์หรือถอดความเชิงสัญลักษณ์ตาม หลักวิชาที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Iconography หรือการอธิบายภาพ และ Iconology หรือการสืบสาวเหตุผลในการสร้างภาพอย่างละเอียดลออ โดยใช้ กรณีศกึ ษาจากงานศิลปะทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงประดิษฐ์ ขึ้น ทั้งที่เป็นโบราณวัตถุหรือโบราณสถานมาเป็นโจทย์แล้วแสวงหาค�ำตอบ การได้อ่านหนังสือเรื่อง “ถอดรหัสพระจอมเกล้า” เล่มนี้ จึงเปรียบ เสมือนการได้เดินตามนักวิชาการผู้สวมบทบาทเป็นนักสืบ แกะร่องรอยแล้ว พินจิ พิเคราะห์วา่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระราชด�ำริหรือ ทรงแฝงคติอะไรไว้บา้ งในงานศิลปะทีท่ รงประดิษฐ์ขนึ้ ตัง้ แต่ครัง้ กระนัน้ ยิง่ อ่าน ก็ยงิ่ ท้าทายความคิด และเห็นเป็นการสมควรแท้ทจี่ ะยกย่องเฉลิมพระเกียรติ


พิชญา สุ่มจินดา

(9)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ว่าทรงเป็นปราชญ์พระองค์สำ� คัญของ เมืองไทย ขอขอบคุณ อาจารย์พิชญา สุ่มจินดา ที่อุตสาหะเขียนหนังสือเล่มนี้ให้ เราได้อ่าน ท�ำให้ผมและอีกหลายๆ คนที่มีความสนใจในแนวทางใกล้เคียงกัน มีความสุขมากขึ้น มีความตื่นตาตื่นใจมากขึ้นเมื่อได้แวะเวียนไปชมงานศิลปะ ทรงประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันข้างหน้า ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ

ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี


คำ�นำ�

ถอดรหัสพระจอมเกล้า

หนังสือ “ถอดรหัสพระจอมเกล้า” เป็นการร้อยเรียงจากบทความวิชาการ อันมีเนือ้ หาสาระเกีย่ วข้องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ผูเ้ ขียน ได้เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในระหว่างพุทธศักราช ๒๕๔๘-๒๕๕๖ ทั้งในวารสาร ไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเฉพาะอย่างยิ่งบทความจ�ำนวน มากที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในการตีพิมพ์รวมเล่มครั้งนี้ ผู้เขียนได้น�ำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้มีความกระชับในบางบทความ รวมทั้ง เพิ่มเติมเนื้อหาสาระหรือประเด็นทางวิชาการที่ได้ค้นพบเพิ่มเติมใหม่ในหลาย บทความ หลายเรื่องแม้จะเป็นประเด็นปลีกย่อยเพียงหยิบมือหนึ่งในพระราช ประวัติอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็น “พระ จอมปราชญ์” แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในพระองค์ที่ทรงให้ความ ส�ำคัญกับการใช้สญ ั ลักษณ์ในการสือ่ ความหมายผ่านผลงานศิลปกรรมได้อย่าง ยอดเยี่ยมและแยบยล ความสนอกสนใจของผู้เขียนเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะของ ผู้เขียน คือ รองศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ผู้ชี้ให้เห็นถึงพระอัจฉริยคุณ ของพระองค์ที่สะท้อนให้เห็นในงานศิลปะ ความมุ่งหมายส�ำคัญอย่างหนึ่งของ อาจารย์ คือ การยกระดับของวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะมิให้เป็นเพียงภาพแทรก ในหนังสือเพือ่ ให้เกิดความสวยงาม หรือเพียงเพือ่ การพรรณนารายละเอียดปลีก ย่อยให้เห็นเพียงวิวัฒนาการในตัวของศิลปะเอง หากเพื่อให้งานศิลปะใช้งานได้ ในฐานะเป็นสือ่ สะท้อนความคิดและค่านิยมของผูค้ นในสังคมทีร่ งั สรรค์งานศิลปะ ทางสายนีแ้ ม้เป็นหนทางอันยากและมิใช่ทางสายหลัก แต่กเ็ ป็นแนวทางทีผ่ เู้ ขียน ได้ยดึ ถือมาตลอดในการท�ำหน้าทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะตามแนวทางทีอ่ าจารย์ ได้วางไว้ ความพยายามตามแนวทางดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดก็ได้เริ่มปรากฏใน หนังสือ “ถอดรหัสพระจอมเกล้า” แล้ว


พิชญา สุ่มจินดา

(11)

ในโอกาสนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์พเิ ศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี ผูเ้ ป็นแรงบันดาลใจของผูเ้ ขียนตัง้ แต่วยั เยาว์ให้เกียรติ เขียนค�ำนิยม รองศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ แห่งมูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์ ส�ำหรับภาพประกอบหายากและทรงคุณค่า คุณอพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ หัวหน้า กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ส�ำนักพิมพ์มติชน ผูเ้ ล็งเห็นคุณค่าในงานของ ผู้เขียนและช่วยผลักดันจนเกิดเป็นหนังสือเล่มนี้ และคุณธัชชัย ยอดพิชัย แห่ง กองบรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ผูใ้ ห้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ด้วยน�้ำใจและไมตรีจิตมาตลอดระยะเวลาที่ผู้เขียนได้เริ่มเข้าไปมีบทบาทในหน้า กระดาษของนิตยสารศิลปวัฒนธรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ทุนสนับสนุนการจัดท�ำต�ำราหรือหนังสือ และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ทุกท่านล้วนเป็นแรงผลักดันที่ท�ำให้หนังสือเล่มนี้ได้มีโอกาสเผยแพร่สู่ สังคมไทยในวงกว้าง พิชญา สุ่มจินดา

นิมมานเหมินท์ เชียงใหม่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๗


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

(12)

ภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร มีจิตรกรรมภาพประวัติศาสตร์ “ประวัติคณะ ธรรมยุต” สมัยรัชกาลที่ ๓ เช่นภาพนี้ เป็นภาพการสร้างโบสถ์และผูกพัทธสีมา ในภาพประกอบด้วยการสร้างอาคารซึง่ ยังก่อไม่เสร็จสมบูรณ์ ก�ำแพงก็กำ� ลังก่อ มีกลุม่ พระสงฆ์ ยืนอยู่รอบๆ อาคารบนพื้นซึ่งปูด้วยผ้าขาว บนฐานอาคารมีพานตั้งอยู่ ๙ ชุด บนผ้าขาว พิจารณา จากการครองจีวรของพระสงฆ์ในภาพเป็นการห่มเฉวียงบ่าแบบมอญของพระสงฆ์ธรรมยุต (ค�ำบรรยายภาพโดย ธัชชัย ยอดพิชัย)


พิชญา สุ่มจินดา

(13)

ภาพพระสงฆ์ในจิตรกรรมฝาผนังภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร หลายภาพยัง บ่งบอกชัดเจนได้เลยว่าเป็นคณะสงฆ์ธรรมยุต ดูได้จากท่านั่งแบบยองๆ ซึ่งเป็นท่านั่งของพระมอญ (ค�ำบรรยายภาพโดย ธัชชัย ยอดพิชัย)



บทน�ำ :

สัญลักษณ์และการถอดรหัส


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นที่รู้จักของชาวไทย ผู้คลั่งไคล้วิทยาศาสตร์เสมอด้วยความเลื่อมใสในสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ ใน ฐานะที่ทรงค�ำนวณปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่นสุริยุปราคาได้อย่างแม่นย�ำ โดยอาศัยวิทยาการที่ก้าวหน้าของชาติตะวันตกขณะนั้น ทรงเป็นชาวสยามผู้มี ใจกว้างขวางในการเปิดรับความทันสมัย และเรียนรู้สรรพวิทยาจากชาติตะวัน ตก ขณะที่ชาวสยามส่วนใหญ่ในตอนนั้นล้วนปิดหูปิดตาด้วยความหวาดระแวง ในด้านศิลปะเราอาจรู้จักจิตรกรรมฝาผนังแบบฝรั่งสกุลช่างขรัวอินโค่ง หรือศิลปะพระราชนิยม ดังเห็นได้จากเจดีย์ทรงลังกาในพระอารามหลวงของ คณะสงฆ์ธรรมยุตทีท่ รงสถาปนาขึน้ ใหม่ หากอีกในอีกแง่มมุ หนึง่ ส�ำหรับผูเ้ ขียน แล้วในทางศิลปะนับได้ว่าทรงเป็นผู้หนึ่งที่ชาญฉลาดในการใช้ “สัญลักษณ์” ในการสื่อความหมายทั้งในทางศาสนาและอาณาจักร ซึ่งในหลายครั้งเป็นไป อย่างแนบเนียนและลึกซึ้ง เวลากว่า ๒๐ ปีที่ทรงใช้ในการครองสมณเพศก่อนทรงเถลิงถวัลยราช สมบัติ มิได้เป็นเวลาที่สูญเปล่าเลย หากมองย้อนกลับไปแล้วก็นับเป็นโอกาส อันงดงามที่ท�ำให้ทรงศึกษาธรรมคดีต่างๆ ทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา อย่างลึกซึ้งแตกฉาน จน “มีค�ำยอพระเกียรติอยู่ว่าพระองค์เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นยอดเยี่ยม นับเป็นแก้ว (ดวงหนึ่ง) ในไตรโลก ทรงฉลาดทั้งในพระสูตร และพระอภิธรรม” ๑ ค�ำกล่าวเช่นว่านี้มิใช่เพียงค�ำอาศิรวาทสรรเสริญที่เกินเลย แต่เป็นข้อเท็จจริงที่สะท้อนพระอัจฉริยคุณในทางธรรมกถึกของพระองค์ได้ ตรงจุด ด้วยพุทธศาสนาที่พระองค์ทรงศึกษาก็นิยมใช้ภาษาของสัญลักษณ์ที่มี ความลุ่มลึกในการสื่อความหมายเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ สัจธรรม หรือ นามธรรมทีย่ ากต่อความเข้าใจนัน่ เอง ดังสะท้อนให้เห็นในสัญลักษณ์ (Symbol) และประติมานิรมาณวิทยา (Iconography) ทีท่ รงถ่ายทอดลงในงานศิลปกรรม อย่างแยบคาย นักมานุษยวิทยาผู้หันเหให้การศึกษามานุษยวิทยาแต่เอนเอียงไปในทาง มนุษยศาสตร์อย่างคลิฟฟอร์ด เกียทซ์ (Clifford Geertz) ผู้ล่วงลับ เสนอ ให้เข้าใจการกระท�ำของมนุษย์ว่าเป็นการกระท�ำที่มีความหมาย ถูกใส่ความ หมาย ไม่ต่างกับภาษา การกระท�ำอะไรก็แล้วแต่จึงอยู่ในระบบของความหมาย เป็นสัญลักษณ์ ผู้ก�ำลังศึกษาสังคมจึงไม่ได้ก�ำลัง “สังเกต” เหตุการณ์หรือ การกระท�ำต่างๆ อยู่ แต่กำ� ลัง “อ่าน” หรือ “ตีความ” เพือ่ “ท�ำความเข้าใจ” ความหมายของผู้กระท�ำการหรือของสังคมอยู๒่


พิชญา สุ่มจินดา

5

ศิลปะก็เป็นเช่นเดียวกับการกระท�ำอื่นๆ ของมนุษย์ คือ เป็นสิ่งที่ถูก มนุษย์ใส่ “ความหมาย” ลงไป จึงอาจกล่าวได้ว่าศิลปะมี “ภาษา” ในตัว ของมันเอง การมีภาษาของศิลปะเองย่อมเรียกร้องให้เราต้องอ่าน ตีความ หรือ ท�ำความเข้าใจศิลปะ ไม่ตา่ งจากภาษาทัว่ ไปทีม่ นุษย์ใช้ในการสือ่ สารเลย แต่ดว้ ย ความทีบ่ างครัง้ ศิลปะไม่ได้สอื่ สารด้วยภาษากับเราตรงๆ หากแต่ผกู้ �ำหนดเนือ้ หา หรือผู้สร้างได้ซ่อนความหมายและนัยยะนานาไว้อย่างซับซ้อน ลุ่มลึก ในบาง ครั้งก็คลุมเครือและซ่อนเร้น การ “อ่าน” และ “ตีความ” เพื่อ “ท�ำความเข้าใจ” ใน “ความหมาย” ของศิลปะอย่างมีอรรถรสจึงมิใช่เป็นเพียงแค่การอธิบาย สิ่งที่สองตาเห็นหรือสองมือจับต้องเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นเพียงแค่การ “สังเกต” หรือเป็นหนังสือก็เรียกได้ว่าเป็นการอ่านอย่างเผินๆ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันออก (Eastern Art History) มานานหลายปี สิ่งหนึ่งที่สร้างความหนักจิตกังวลใจ ให้กับนักศึกษาที่เรียนวิชานี้ก็คือ ศิลปะตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ อินเดียล้วนมีความหมายเชิง “สัญลักษณ์” แฝงเร้นไว้ในรูปรอยของงานศิลปะ เสมอ จนบางครั้งก็ยากที่จะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ท� ำให้ผู้เรียนรู้สึกเหมือน ก�ำลัง “ถอดรหัส” (Decode) อะไรบางอย่างอยู่ ไม่แปลกที่เป็นเช่นนั้น เพราะสัญลักษณ์ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันกับสัญลักษณ์ในบริบทของอินเดีย รวมถึงหลายแห่งในซีกโลกตะวันออก มีความแตกต่างกันอย่างฉกาจ เอเดรียน สนอดกราส (Adrian Snodgrass) ผู้เขียนหนังสือลือนามอย่างสัญลักษณ์ แห่งพระสถูป อธิบายว่า “สัญลักษณ์” (Symbol) หมายถึงวิธกี ารทีส่ ญ ั ลักษณ์ จะน�ำจิตของมนุษย์ไปยังสิ่งที่มันอ้างถึง สัญลักษณ์ที่เราใช้กันในชีวิตประจ�ำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตวิทยา ภาษาศาสตร์ ศิลปะแนวสัญลักษณ์ เป็นสิ่งที่เรา สัมผัสได้หรือเข้าใจได้ในทางความคิดโดยไม่ยากนัก เพราะมันก�ำลังอ้างอิง บางสิ่งในระดับเดียวกับความเป็นจริงที่เราเข้าถึงได้๓ เรารูว้ า่ ดอกกุหลาบสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความรักด้วยรูปทรงอันงดงาม กลีบละมุน รุ่มรวยด้วยกลิ่นหอม สีแดงของมันยังอาจสื่อถึงการเสียสละ ขณะ ที่หนามแหลมคมของมันเป็นการย�้ำเตือนให้เราตระหนักถึงความเจ็บปวดที่อาจ เกิดขึ้นจากมัน (ความรัก) ได้เสมอ ในทางตรงข้ามสัญลักษณ์ในโลกตะวันออกเช่นในอินเดียกลับแตกต่าง เพราะในขณะที่สัญลักษณ์ตามความเข้าใจของคนในปัจจุบันมักอ้างถึงสิ่งต่างๆ เพียงระดับเดียว แต่ในศิลปะอินเดียกลับมีการอ้างอิงถึง ๒ ระดับ ดอกบัวอาจ


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

6

สัญลักษณ์บนหน้าบันมุขโถงพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎและพระแสงขรรค์

เป็นไม้น�้ำที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในโลกแห่งประสบการณ์เชิงประจักษ์ ไม่ต่างจาก ดอกกุหลาบ ในอีกระดับหนึ่งดอกบัวอาจเชื่อมโยงได้กับห้วงน�ำ้ แห่งความเป็น ไปได้ทงั้ มวล ซึง่ มหาวิษณุบรรทมอยู่ในขณะทรงสร้างสรรค์สรรพสิง่ ดอกบัวใน ระดับนี้จึงเป็นมโนทัศน์ที่ไม่อาจเทียบกับสิ่งใดโดยตรงได้เลย๔ ศิลปะในโลกตะวันออกจึงมักใช้สัญลักษณ์ที่มีความลึกซึ้งในการสื่อ ความหมาย เพื่อบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่เหนือประสบการณ์ของมนุษย์ ไม่สามารถ รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส หรือความคิด หรือด้วยวิธีการใดๆ นอกจากใช้การ เปรียบเทียบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ สัญลักษณ์ในศิลปะตะวันออกจึงย่อมบ่งถึงตัว สิ่งที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส และการใช้เหตุผลของมนุษย์มากพอควร๕ ไม่แปลกที่นักศึกษาศิลปะสมัยใหม่ผู้คุ้นเคยกับกลิ่นอายแบบสากลจึงเข้าถึง ศิลปะเชิงสัญลักษณ์เหล่านี้ได้ยากในตอนต้นของการศึกษา อาจมีค�ำถามว่าศิลปะทุกชิ้นสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ และเราจ�ำเป็นหรือ ไม่ที่ต้อง “ถอดรหัส” สัญลักษณ์ในงานศิลปะทุกชิ้นเสมอไป ไม่ใช่ทั้งหมด


พิชญา สุ่มจินดา

7

ของศิลปะที่เป็นสัญลักษณ์และมีรหัสที่จะต้องถอด แต่การเข้าถึง “รหัส” เหล่า นั้นได้เป็น “ความท้าทาย” ของนักประวัติศาสตร์ศิลปะที่จะเข้าถึงหรือเข้า ใกล้ “ความหมาย” ของศิลปะเชิงสัญลักษณ์เช่นว่า ปัญหาที่ตามมาก็คือแล้ว นักประวัติศาสตร์ศิลปะมีวิธีการใดในการ “ถอดรหัส” สัญลักษณ์หรือความ หมายเหล่านั้น เพราะวิธีการท�ำงานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะดูราวกับเป็น เรื่องลี้ลับเหมือนรหัสที่พวกเขาก�ำลังถอด เออร์วิน ปานอฟสกี (Erwin Panoffsky) นักประวัติศาสตร์ศิลปะได้ สร้างระเบียบวิธกี ารศึกษาวิชาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะรูปแบบใหม่เมือ่ ครึง่ ศตวรรษ ก่อน โดยเปลีย่ นมาให้ความส�ำคัญกับเนือ้ หา (Content) มากกว่ารูปแบบ (Style) ของงานศิลปะ ด้วยการจ�ำแนก “เนือ้ หา” ของงานศิลปะออกเป็น ๒ ระดับ ระดับ แรก คือ เนื้อหาที่เป็นรูปธรรมกับเนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ การศึกษาในระดับ แรกนีเ้ รียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า “ประติมานิรมาณวิทยา” (Iconography) (ปัจจุบนั นิยมใช้วา่ “ประติมานวิทยา”) คือ การสืบสาวหาเรือ่ งราวมาใช้ในการอธิบายหรือ พรรณนางานศิลปะ๖ ระดับต่อมาเป็นการศึกษาสืบสาวหาที่มาในการสร้างภาพ (Iconology)๗ (ยังไม่มีศัพท์เฉพาะใช้) เพื่อหยั่งทราบถึงแนวคิดเบื้องหลังของ งานศิลปะ เราลองมาดูตัวอย่างของการ “ถอดรหัส” สัญลักษณ์บนหน้าบันมุขโถง ของพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นพระบรมราช สัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาสาธกเป็นอุทาหรณ์ หน้าบันนี้ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์สำ� คัญ คือ รูปพระมหาพิชัยมงกุฎและ พระแสงขรรค์บนพานแว่นฟ้า ระดับแรก คือ การศึกษาประติมานิรมาณวิทยาของภาพ (Iconography) ในเนื้อหาเชิงรูปธรรม เราทราบกันโดยทั่วไปว่ามงกุฎเป็นศิราภรณ์ประเภทหนึ่ง ในเชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ลึ ก ซึ้ ง กว่ า พระมหาพิ ชั ย มงกุ ฎ เป็ น หนึ่ ง ในเครื่ อ งราช กกุธภัณฑ์อันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพระราชาธิบดี ระดับต่อมา คือ การสืบสาวหาที่มาในการสร้างภาพ (Iconology) เรา ทราบกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้า มงกุฎ” จึงทรงใช้รูปพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจ�ำ พระองค์ ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ ด้วย หรือหากถอดความหมายให้ลึกซึ้งขึ้นอีก เราจะพบว่าพระมหาพิชัยมงกุฎ ยังเป็นสัญลักษณ์ของยอดวิมานพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็น


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

8

(ซ้าย) พระมหาพิชยั มงกุฎ หนึง่ ในเครือ่ งราชกกุธภัณฑ์ สัญลักษณ์แห่งความเป็นพระราชาธิบดี (ขวา) พระมหามงกุฎบนยอดพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สัญลักษณ์ของยอดวิมานพระอินทร์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

อินทรคติที่ริเริ่มในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาพิชัย มงกุฎจึงสื่อถึงความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์ในฐานะพระอินทร์ ได้เช่นกัน เมื่อถอดรหัสภาพออกแล้ว ความหมายของพระมหาพิชัย มงกุฎบนหน้าบันมุขโถงจึงสื่อได้ทั้งพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สัญลักษณ์แห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ และ อินทรคติในฐานะที่ทรงเป็นสมมติเทพ ต่อมา คือ พระแสงขรรค์ ในระดับแรกเราทราบดีเลยว่าพระขรรค์เป็น อาวุธประเภทดาบที่มีคม ๒ ด้าน ในเชิงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหา กษัตริย์ พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์เช่นเดียวกับพระ มหาพิชัยมงกุฎ นอกจากนี้ พระแสงขรรค์ชัยศรียังสื่อถึงพระราชอ�ำนาจของ พระมหากษัตริย์ได้ด้วย ในระดับต่อมาของการตีความเพื่อสืบสาวความหมาย ของภาพ เราอาจได้ข้อสรุปว่าเมื่อพระแสงขรรค์อยู่คู่กับพระมหาพิชัยมงกุฎ


พิชญา สุ่มจินดา

9

แสดงว่าพระแสงขรรค์ต้องเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอ�ำนาจของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ดี ในทางพุทธศาสนาพระขรรค์ยังเป็นสัญลักษณ์ของ ปัญญาหรือการท�ำลายอวิชชา เช่น ในปฐมสมโพธิกถา ก็เปรียบความว่า พระพุทธองค์ก�ำลังทรงต่อสู้กับมารด้วย “พระขรรค์แก้ว คือ พระวชิรญาณ ปัญญา” ซึ่ง “วชิรญาณ” ก็เป็นพระราชฉายาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเมื่อทรงพระผนวชก่อนครองราชย์ หมายความว่า ความหยั่งรู้อัน แข็งแกร่งประดุจเพชรหรือวัชระ ดังนั้นเมื่อลองถอดรหัสให้ลึกซึ้งอีกหน่อย เราจะพบว่าพระขรรค์แก้วในที่นี้อาจหมายถึง “วัชระ” หรือ “วชิราวุธ” ของ พระอินทร์ซึ่งเป็นอาวุธหลายง่ามที่มี ๒ ด้านทั้งหัวท้าย ดังตัวอย่างจากรูป พระอินทร์ทรงวัชระเหนือช้างเอราวัณบนแท่งศิลาจ�ำหลักจากปราสาทพนมรุ้ง แต่วา่ วัชระในสมัยรัตนโกสินทร์ได้กลายรูปเป็น “พระขรรค์แก้ว” เช่น รูปพระอินทร์ ทรงพระขรรค์บนหน้าบันพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น ดังนั้น พระแสงขรรค์จึงหมายถึง พระขรรค์แก้วคือ วชิราวุธหรือวัชระของพระอินทร์ สัญลักษณ์ของ “วชิรญาณปัญญา” อันสือ่ ถึงพระราชฉายาของพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “วชิรญาณ”

พระแสงขรรค์ชัยศรี หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สัญลักษณ์ของพระราชอ�ำนาจแห่งพระมหา กษัตริย์


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

10

(บน) พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และทรงถือ “วัชระ” หรือวชิราวุธ อาวุธของพระองค์ที่มี หลายง่าม (ล่าง) วัชระ หรือวชิราวุธของพระอินทร์ในรูปของพระขรรค์แก้ว (พระทีน่ งั่ อาภรณ์ภโิ มกข์ ปราสาท)


พิชญา สุ่มจินดา

11

วัชระในรูปของพระขรรค์แก้ว ที่หมายถึงพระราชฉายา “วชิรญาณ” (พัดรองงานฉลองวัดราชประดิษฐ พ.ศ. ๒๔๒๘)

ดังนั้น รหัสภาพที่เราถอดความหมายได้จากรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ และพระแสงขรรค์บนหน้าบันมุขโถงของพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐก็คือ สัญลักษณ์ที่สื่อถึงพระนามเดิมเมื่อแรกพระบรมราชสมภพ คือ “เจ้าฟ้า มงกุฎ” และพระราชฉายาเมื่อทรงพระผนวช คือ “วชิรญาณ” หรือเรา อาจอนุมานเพิ่มเติมได้อีกว่าทรงก�ำลังหมายถึงพระนามของพระองค์ ทั้งในทางโลกย์และทางธรรมไปพร้อมกันผ่านสัญลักษณ์ นี่คือตัวอย่าง ของการศึกษาเพื่อ “ถอดรหัสสัญลักษณ์” และเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระบาท สมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นการสื่ อ ความหมายถึ ง พระองค์ในสถานะต่างกันได้อย่างลึกซึ้งและแยบยล ใช่แต่การถอดรหัสสัญลักษณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลปะอาจน�ำมาซึ่งข้อมูลและเติมเต็มจินตนาการของอดีตจาก ความไม่สมบูรณ์ ตกหล่น หรือขาดหายไปของหลักฐานร่วมสมัย เช่น หลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรได้ด้วย ดังนั้น “ศิลปะจะเป็นกุญแจ ส�ำคัญน�ำไปสู่อดีต ดังนั้น การศึกษาแบบอย่างของศิลปะจึงไม่ใช่เป็นเพียงส่วน


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

12

ประกอบทีเ่ ป็นเนือ้ ไปหุม้ โครงร่าง แต่เป็นโครงร่างหรือแก่นของตัวประวัตศิ าสตร์ เอง” ๘ ความเรียงในหนังสือเล่มนี้จึงเป็นทั้งตัวอย่างของการพยายามท�ำความ เข้าใจสัญลักษณ์ หรือความหมายที่ซ่อนอยู่ในงานศิลปะ ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น รวมการใช้หลักฐานทางศิลปะในการ ศึกษาแนวพระราชด�ำริของพระองค์ในส่วนที่หลักฐานอื่นยังก้าวล่วงไปไม่ถึง แม้กระนั้นสัญลักษณ์ที่ทรง “เข้ารหัส” ไว้ก็ยังคงสร้างความฉงนสนเท่ห์ให้ กับเรา ราวกับว่าพระองค์ก�ำลังทรงทดสอบสติปัญญาของอนุชนรุ่นหลังว่าจะ สามารถ “ถอดรหัส” ความหมายของ “สัญลักษณ์” ที่พระองค์ต้องการสื่อสาร ได้เพียงใด เพราะ “ศิลปะที่แท้จริง...ก็คือตัวแทนทางสัญลักษณ์ที่ส�ำคัญ ประการหนึ่ง เป็นตัวแทนของสรรพสิ่งที่เราไม่อาจเห็นได้นอกจากใช้ ปัญญาพิจารณาเท่านั้น” ๙


เชิงอรรถ

๑ ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. “ ‘มงกุฎ’ พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำ�รัชกาลที่ ๔,” ศิลป

วัฒนธรรม. ๓๒ (กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) : ๑๓-๑๕. ๒ ดูรายละเอียดใน ยุกติ มุกดาวิจต ิ ร. “ทำ�ไมยังอ่านงาน Geertz กันอยู,่ ” http://blogazine. in.th/blogs/yukti-mukdawijitra/post/4268, (สืบค้นเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖). ๓ เอเดรียน สนอดกราส. สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์วิชาการ, ๒๕๔๑), น. ๓. ๔ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน. ๕ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน. ๖ พิรย ิ ะ ไกรฤกษ์. ประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะและโบราณคดีในประเทศไทย. (กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, ๒๕๓๓), น. ๒๖. ๗ พิริยะ ไกรฤกษ์. อารยธรรมไทย : พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม ๑ ศิลปะก่อน พุทธศตวรรษที่ ๑๙. (กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, ๒๕๔๔), น. ๑๙. ๘ พิ ริ ย ะ ไกรฤกษ์ . ข้ อ คิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ แบบศิ ล ปะในประเทศไทย คั ด เลื อ กจาก พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สาขาส่วนภูมภิ าค. (กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, ๒๕๒๕). (พิมพ์ ในโอกาสเปิดนิทรรศการพิเศษ ๒ สิงหาคม ๒๕๒๐). ๙ เอเดรียน สนอดกราส. สัญลักษณ์แห่งพระสถูป, น. ๔.



สืบก�ำเนิดธรรมยุต ผ่านพุทธศิลป์


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

16

ความน�ำ ธรรมยุติกนิกาย หรือคณะสงฆ์ธรรมยุต เป็นความเคลื่อนไหวทาง ศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ทมี่ คี วามพิเศษเป็นอย่างยิง่ เนือ่ งจากมีความสัมพันธ์ เกีย่ วข้องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห ่ วั ผูท้ รงสถาปนานิกายนีข้ นึ้ เมื่อครั้งทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุในพระราชฉายาว่า “วชิรญาโณ” หรือที่ รู้จักกันว่า “พระวชิรญาณ” “ธรรมยุติกนิกาย” อันมีความหมายถึง ผู้ประกอบด้วยธรรม ชอบด้วย ธรรม หรือยุติตามธรรมของพระพุทธองค์ มีจุดมุ่งหมายที่จะด�ำรงพุทธศาสน วงศ์ให้บริสุทธิ์เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองดีคราวที่ยังไม่เสียกรุงศรีอยุธยา และ ด�ำเนินตามรอยพระพุทธวจนะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยบุคลิกภาพ ขององค์ผ้ทู รงสถาปนานิกายนีท้ ที่ รงพร้อมจะน�ำความเปลีย่ นแปลงในรูปแบบ ใหม่มาเสนอต่อสังคมสยามตลอดมา และด้วยอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก จึงท�ำให้มีผู้มองว่าคณะสงฆ์ธรรมยุต คือความเปลี่ยนแปลงที่ได้รับผลกระทบ จากภายนอกเข้ามาก�ำหนดรูปแบบของแนวคิดทางศาสนา ซึ่งยังสะท้อนออก มาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในงานพุทธศิลป์ด้วย ในขณะเดียวกันก็มีความคิด อีกกระแสหนึ่งที่มองว่าคณะสงฆ์ธรรมยุตเป็นความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่ มีพัฒนาการขึ้นในประเทศไทยอย่างช้าๆ มิใช่การแตกหักของจารีตใหม่ของ ตะวันตกกับจารีตเก่าของไทย และได้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผล กระทบจากความเคลื่อนไหวนี้ในงานพุทธศิลป์เช่นเดียวกัน บทความชิ้นนี้จึงเน้นไปที่อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเถรวาทจาก ภายนอกทีม่ อี ท ิ ธิพลต่อแนวความคิดของการสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุต อันเป็นอิทธิพลทีม่ มี ายาวนาน ฝังรากลึกลงในความคิดของพุทธศาสนา นิกายเถรวาทในประเทศไทย โดยสะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดจากการสืบสาน ของจารีตทางศาสนาและยังสะท้อนออกมาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในผลงาน การสร้างสรรค์ดา้ นพุทธศิลป์ นอกจากผูเ้ ขียนจะได้แสดงให้เห็นมุมมองใหม่ของ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสมณวงศ์เถรวาทจากภายนอกที่ส่งอิทธิพล ต่อแนวความคิดในการสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุตแล้ว ยังจะได้แสดงให้เห็นถึง แนวความคิดดังกล่าวทีส่ ะท้อนออกมาในรูปของผลงานการสร้างสรรค์ทางพุทธ ศิลป์ด้วย เพื่อให้ภาพรวมของการศึกษามีความชัดเจนยิ่งขึ้น มุมมองใหม่นี้จึง น่าจะสอดคล้องกับจารีตทางพุทธศาสนาที่มีมายาวนานในสังคมไทยโดยผ่าน


พิชญา สุ่มจินดา

17

การศึกษาจากหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและพุทธศิลป์อันอาจจะน�ำไป สู่ความเข้าใจการก�ำเนิดแห่ง “ธรรมยุต” ในอีกแง่มุมหนึ่งได้ดียิ่งขึ้น

ก�ำเนิดธรรมยุตในมุมมองนักวิชาการ แนวความคิดในงานเขียนประวัติศาสตร์ที่อธิบายเกี่ยวกับการสถาปนา คณะสงฆ์ธรรมยุตสามารถแบ่งออกได้เป็นแนวคิดหลัก ๓ แนวด้วยกัน คือ แนวศาสนา แนวการเมือง๑ และแนวคิดทีอ่ ธิบายผสมผสานกันระหว่างแนวทาง ศาสนาและการเมือง

แนวศาสนา แนวคิดนี้มองว่าก�ำเนิดของคณะสงฆ์ธรรมยุตเป็นเรื่องของศาสนาเพียง อย่างเดียว โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือบริบทด้านอื่นๆ ของสังคม ต้น ก� ำ เนิ ด ของแนวศาสนานี้ ม าจากพระนิ พ นธ์ ข องสมเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์๒ ทรงพระนิพนธ์ถึงแนวคิดอันเป็นมูลเหตุ ของการสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุตของพระวชิรญาณอันมีวัตถุประสงค์เพื่อ กอบกู้สมณวงศ์ที่เสื่อมสูญไปตั้งแต่ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ และมี หัวใจอยู่ที่การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยอาศัยพุทธวจนะของพระศาสดา อย่างเคร่งครัด พระนิพนธ์ดังกล่าวถือเป็นต้นแบบที่ให้ภาพก�ำเนิดคณะสงฆ์ ธรรมยุตในเชิงศาสนาแก่งานเขียนชิน้ อืน่ ๆ ทีก่ ล่าวถึงคณะสงฆ์น๓ี้ เช่น พระราช นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ๔ และพระนิพนธ์ของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ๕ นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนจ�ำนวนหนึ่งที่เชื่อว่าพระวชิรญาณทรงเลื่อมใส ในสมณวงศ์ของมอญเป็นพิเศษ๖ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิเสธความคิดดังกล่าวว่า “ไม่ใช่ลัทธิธรรมยุติกามาจากลัทธิ รามัญ เป็นแต่พระสงฆ์รามัญเป็นผู้มาแนะทางให้เป็นเหตุที่ได้ทรงพระราช ด�ำริห์กว้างขวางออกไปอิกเท่านั้น ครั้นสืบมานานความประพฤติแลความรู้ของ พระสงฆ์คณะธรรมยุติกาก็กว้างขวางห่างเหินดีขึ้นกว่ารามัญเองเสียอิก” ๗ ยั ง มี ง านเขี ย นอี ก กลุ ่ ม หนึ่ ง ที่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ เรื่ อ งผลกระทบจาก อารยธรรมตะวันตกที่เริ่มเข้ามาอย่างแพร่หลายในสังคมไทยสมัยนั้น เช่น งานของอเล็กซานเดอร์ บี. กริสโวลด์ (Alexander B. Griswold) ได้


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

18

ยกให้ก�ำเนิดของธรรมยุตเป็นผลกระทบทางความคิดจากการเข้ามาเผยแผ่ คริสต์ศาสนาของมิชชันนารี๘ งานเขียนของอัจฉรา กาญจโนมัย ที่กล่าวว่า คณะมิชชันนารีก็มีส่วนส�ำคัญอย่างมากที่ท�ำให้ทรงกระตือรือร้นที่จะทรงศึกษา พระธรรมวินัยและเผยแผ่ศาสนาตามวิธีการของคริสต์ศาสนาโดยเฉพาะนิกาย โปรเตสแตนต์๙ อาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดของกริสโวลด์และอัจฉราจึงเป็น การมองคณะสงฆ์ธรรมยุตทั้งในแง่ของการฟื้นฟูมาตรฐานแบบเดิม และเป็น การปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และเหตุผลนิยมของตะวันตก๑๐ การอธิบายตามแนวข้างต้นได้รับการคัดค้านจากงานเขียนของนฤมล ธีรวัฒน์๑๑ ผู้มองว่าแนวคิดในการปฏิรูปศาสนาของพระวชิรญาณที่แยกออก มาจากรากเหง้าของศาสนาเก่านั้น เป็นหลักการ “สากล” ในการปฏิรูปศาสนา และการเมืองที่มีมานานแล้ว เพราะแม้พระวชิรญาณอาจจะทรงได้รับแนวคิด ในการเผยแผ่ศาสนารวมถึงความคิดทีใ่ ช้หลักการและเหตุผลตามแบบตะวันตก ก็ตาม แต่แนวคิดพื้นฐานของการก่อตั้งน่าจะเป็นพระด�ำริของพระองค์เองมิใช่ จากมิชชันนารีอเมริกัน วิธีคิดของนฤมลนับเป็นการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่าง “แนวคิด” และ “วิธีการ” ของพระวชิรญาณในแต่ละช่วงเวลา ท�ำให้สามารถ แลเห็นพัฒนาการทางความคิดของธรรมยุตได้ดีกว่าเดิมที่มักอธิบายไปใน แนวทางใดทางหนึ่ง และมักกระท�ำโดยไม่ค�ำนึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน แต่ละช่วงเวลาเสมอ

แนวการเมือง มีทั้งค�ำอธิบายที่มองการสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุตว่าเป็นเรื่องทางการ เมืองเพียงอย่างเดียว โดยแทบจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นหรือแม้แต่ศาสนาเลย เช่น แนวของกี ฐานิสสร๑๒ ที่มองว่าเป็นการสถาปนาอ�ำนาจในทางศาสนาเพื่อ ก้าวไปสู่อ�ำนาจทางการเมืองของพระวชิรญาณ เช่นเดียวกับทีก่ ระจ่าง นันท โพธิ๑๓ ก็มองว่าการก่อตั้งคณะสงฆ์ใหม่นี้นอกจากจะไม่มีเนื้อหาที่แตกต่างไป จากเดิมแล้ว ยังเป็นเพียงการสร้างฐานอ�ำนาจทางการเมืองของพระวชิรญาณ มากกว่า และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้งขององค์กรคณะสงฆ์ไทยในเวลา ต่อมาด้วย การอธิบายในแนวทางนี้ดูจะเน้นตลอดว่าธรรมยุตเป็นมูลเหตุให้ เกิดความขัดแย้งของคณะสงฆ์ไทย ไม่ได้มงุ่ ไปในด้านการฟืน้ ฟูหรือปฏิรปู อย่าง แท้จริง นฤมล ธีรวัฒน์ อธิบายว่าการก้าวไปสู่อำ� นาจทางการเมืองของพระวชิร


พิชญา สุ่มจินดา

19

ญาณเกิดจากการน�ำความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับการเมืองของสยาม มาปรับใช้ให้เข้ากับสถานะของพระองค์ การสถาปนาคณะสงฆ์ใหม่ของพระองค์ ในทรรศนะของนฤมลจึงเป็น “ภาพสะท้อนของทัศนคติที่มีต่อความสัมพันธ์ อย่างลึกซึ้งของการเมืองและศาสนา ในฐานะที่ศาสนาเป็นวิถีสู่อำ� นาจทางการ เมือง” ๑๔ ท�ำให้พระวชิรญาณทรงสามารถสร้างบารมีการเมืองจากศาสนาให้เป็น ที่ยอมรับได้ว่าทรงมีความเหมาะสมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ต่อจากพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว๑๕

แนวความคิดที่ผสมผสานกัน ระหว่างศาสนากับการเมือง แนวการอธิบายทีผ่ สมผสานกันของนฤมลได้รบั การเสริมต่อจากข้อเขียน ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่มองว่าความเคลื่อนไหวในทางการเมืองกับศาสนาต้อง ไม่ขัดแย้งกัน ความส�ำเร็จของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทาง การเมืองเกิดขึ้นได้เพราะมีความเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับความเคลื่อนไหว ทางศาสนาที่ดำ� เนินอยู่ในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานแล้ว เนื่อง จากการด�ำเนินงานทางการเมืองอันใดก็ตามจะประสบความส�ำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ เสนอสิ่งที่มีรากฐานอยู่ในสังคมนั้น ไม่ใช่เป็นการเสนอสิ่งใหม่อย่างเด็ดขาด๑๖ นิธิให้ความเห็นว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลการสถาปนาคณะสงฆ์ ธรรมยุตของพระวชิรญาณในงานเขียนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มักอธิบายและ เน้นว่าเป็นการกระท�ำเพือ่ เหตุผลทางศาสนา หรือไม่กเ็ ป็นปฏิกริ ยิ าทีม่ ตี อ่ อิทธิพล จากภายนอกซึ่งเข้ามาเป็นตัวแปรส�ำคัญผลักดันการสถาปนานิกายนี้ ค�ำอธิบาย การเกิดขึ้นของคณะสงฆ์ธรรมยุตในด้านที่เป็นความเคลื่อนไหวทางศาสนาจึง มักกระท�ำโดยตัดขาดความเข้าใจที่มีต่อกระแสของความเคลื่อนไหวทางศาสนา ที่มีอยู่ในสังคมขณะนั้น ดังไปยกให้กับแรงบันดาลใจจากนอกประเทศ ใน ทรรศนะของนิธิแนวความคิดที่ผ่านมาจึงไม่อาจอธิบายแนวคิดเบื้องหลังในการ สถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุตได้ดีพอ ข้อเสนอของนิธกิ ค็ อื แท้จริงแล้วความเคลือ่ นไหวของคณะสงฆ์ธรรมยุต เป็นความเคลือ่ นไหวทางศาสนาทีเ่ กิดขึน้ และมีพฒ ั นาการจากภายในสังคมไทย เอง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเคลื่อนไหวทางศาสนาครั้งใหญ่ในสมัยต้น รัตนโกสินทร์ ความพยายามของพระวชิรญาณที่อ้างถึงการ “ช�ำระ” หรือปฏิรูป พุทธศาสนาที่เน้นในเรื่องวินัยเป็นอย่างมากนั้น เป็นไปเพื่อให้เกี่ยวข้องกับการ


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

20

รักษาศาสนวงศ์ให้บริสุทธิ์ อันเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นพระธรรมิก ราชพึงกระท�ำ การกระท�ำของพระองค์มไิ ด้เป็นสิง่ ทีแ่ ปลกแยกออกไปจากความ เข้าใจของคนในสังคมขณะนั้นแต่ประการใด หากเป็นแนวทางเดียวกับที่พระ มหากษัตริยใ์ นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทรงประพฤติปฏิบตั ิ เป็นความเปลีย่ นแปลง ภายในทีเ่ กิดขึน้ อย่างช้าๆ จากขยายตัวทางความคิดของปัญญาชนสยามภายใน เองมากกว่าจะรับแนวคิดมาจากตะวันตก และในเมือ่ ความเคลือ่ นไหวนีไ้ ม่ได้เป็น สิ่งที่ยากแก่การเข้าใจของคนร่วมสมัย จึงสามารถใช้เป็นพลังผลักดันทางการ เมืองให้แก่ผู้นำ� การเคลื่อนไหว คือ พระวชิรญาณ ได้เป็นอย่างดี๑๗ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่าอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากภาย นอกเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เช่นกัน เพราะหากพิจารณาถึงบริบทความ สัมพันธ์ทางพุทธศาสนาทีม่ มี าอย่างยาวนานในดินแดนประเทศไทยปัจจุบนั ย่อม เห็นว่าได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนานิกายเถรวาท ระหว่างภูมิภาคอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าพัฒนาการความเคลื่อนไหวทางพุทธ ศาสนาภายในประเทศจะมีรากฐานมาจากความเปลีย่ นแปลงในสังคมอย่างชนิด แยกจากกันไม่ได้ก็จริง แต่พุทธศาสนาที่เข้ามาจากดินแดนภายนอกมักเป็น ตัวแปรส�ำคัญก่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ ที่มีผลต่อปรัชญาและคติความเชื่อ ในประเทศไทยมาโดยตลอด บทบาทของคณะสงฆ์นกิ ายเถรวาทจากภายนอกจึงเป็นสิง่ ทีไ่ ม่อาจละเลย ในการศึกษาถึงความเปลีย่ นแปลงของพุทธศาสนาในดินแดนทีเ่ ป็นประเทศไทย ปัจจุบันได้เช่นกัน ดังนั้น หากเราสามารถท�ำความเข้าใจลักษณะแห่งความ สัมพันธ์ดังกล่าวได้แล้ว ก็อาจท�ำให้เราเข้าใจความเคลื่อนไหวทางพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหว ดังกล่าวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจถึงความเคลื่อนไหวทางศาสนา ที่เรียกว่า “ธรรมยุต” ได้กระจ่างชัดขึ้นบ้าง

สมณวงศ์ของมอญ กับแรงบันดาลใจแรกของธรรมยุต

จุดเริ่มต้นของการสถาปนาธรรมยุตดังที่รับทราบกันเกิดขึ้นเมื่อพระ วชิรญาณทรงพบกับพระสุเมธมุนี (ซาย) พระเถระของมอญจากวัดบวรมงคล กรุงเทพมหานคร ผู้ “ฉลาดในพระวินยั รูพ ้ ท ุ ธวจน ช�ำนาญในอักขรุจจารณ


พิชญา สุ่มจินดา

21

วิธี”๑๘ อันเป็นคุณสมบัติของสมณสารูปที่ทรงพอพระทัย พระสุเมธมุนีได้ แสดงศาสนวงศ์ ข องคณะสงฆ์ ม อญถวายพระวชิ ร ญาณ ทั้ ง ได้ ทู ล อธิ บ าย ระเบี ย บวั ต รปฏิ บั ติ ข องคณะสงฆ์ ม อญคณะที่ ท ่ า นอุ ป สมบทให้ ท รงทราบ คุณสมบัติอันดีของพระสุเมธมุนีประกอบกับความเชื่อมั่นเรื่องความบริสุทธิ์ ของคณะสงฆ์ ม อญ จึ ง ท� ำ ให้ ท รงรั บ สมณวงศ์ ข องมอญมาเป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ ต่อมา๑๙ คณะสงฆ์มอญจึงได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในล�ำดับแรก ในฐานะ ที่เป็นแรงบันดาลใจแหล่งแรกของคณะสงฆ์ธรรมยุตเสมอ นฤมล ธีรวัฒน์ อธิบายว่าเนื่องจากพระมอญมีความเคร่งครัดในพระ วินัยเป็นอันมากและมีอ�ำนาจในทางพุทธคุณสูง หากมองในแง่การเมืองแล้ว การตั้งคณะสงฆ์ใหม่ของพระองค์โดยน�ำแบบแผนมาจากคณะสงฆ์รามัญอาจ ถือได้วา่ เป็นการดึงเอากลุม่ มอญทีเ่ คร่งศาสนามาเป็นเครือ่ งมือต่อรองกับอ�ำนาจ รัฐด้วย๒๐ อย่างไรก็ดี แนวคิดดังกล่าวยังขาดการอธิบายในแง่ความสัมพันธ์เกี่ยว ข้องระหว่างกลุ่มชาวมอญและวัฒนธรรมมอญที่มีในดินแดนประเทศไทย เพราะคณะสงฆ์มอญในประเทศไทยขณะนั้นมีความส�ำคัญเป็นรองก็เพียงแต่ มหานิกาย ดังทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงเรียกว่า “จุลนิกาย”๒๑ และมีพระบรมราชาธิบายถึงประวัติความเป็นมาของคณะสงฆ์มอญในสยามว่า “พระรามัญวงศ์ในสยามรัฐนี้ ขอท่านทัง้ หลายพึงทราบเถิดว่าได้ดำ� รงมาโดยล�ำดับ ได้ ๓๐๐ ปีแล้ว จ�ำเดิมแต่แรกมาในรัชกาลสมเดจพระนริสสราชเจ้า (สมเด็จ พระนเรศวร-ผู้เขียน) โดยประการฉนี้ฯ” ๒๒ กระนั้นก็ดี การอธิบายถึงความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์มอญโดยกล่าวถึง เพียงความส�ำคัญและความสัมพันธ์กับกลุ่มมอญในประเทศไทยดังที่กล่าวมา แล้วก็อาจจะยังไม่ชดั เจนนักในการสะท้อนแนวคิดของพระวชิรญาณได้อย่าง เพียงพอ เพราะต้องพิจารณาเชือ่ มโยงกับบริบทความสัมพันธ์ในทางพุทธศาสนา ระหว่างนิกายเถรวาทกับคณะสงฆ์นิกายเถรวาทจากดินแดนอื่นประกอบด้วย

สมณวงศ์ของมอญ ในฐานะสะพานเชื่อมสู่สมณวงศ์ของลังกา หลังการสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุตไม่นานนัก พระวชิรญาณก็ทรง บังเกิดความสงสัยเรือ่ งสีมาในวัดสมอรายนัน ้ ว่าอาจเป็นสีมาทีผ่ ูกไม่ถกู


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

22

ต้องตามพระอรรถกถาบาลี เพราะกระท�ำโดยฆราวาสทีป่ ราศจากความรูเ้ รือ่ ง สีมาลักษณะอย่างถูกต้อง เมื่อทรงขุดมาทอดพระเนตรก็พบว่าลูกนิมิตใต้สีมา วัดสมอรายนัน้ “เห็นว่าเล็กไม่ควรจะเป็นนิมติ รได้ ทรงสังเวชสลดพระไทย ด้วยสีมาพิบัติ” ๒๓ จึงทรงหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นข้อต�ำหนิคณะสงฆ์มหานิกาย ว่าเป็นพระภิกษุที่ไม่บริสุทธิ์๒๔ เพราะ “สีมาวิบัติ” คือ การมีสีมาไม่บริสุทธิ์ กระท�ำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามพระอรรถกถาบาลีนั้น เชื่อกันว่าส่งผลให้การ อุปสมบทเกิดความไม่บริสุทธิ์ตามมาด้วย ดังที่ทรงเปรียบเทียบว่า “อุประมา เหมือนคนจะปลูกต้นไม้ ก็จะต้องคิดบ�ำรุงที่ดินที่จะปลูก แลมูลรากต้นไม้ นั้น ยั่งยืนบริบูรณ์จึ่งควร ก็อันสีมาซึ่งเป็นที่แห่งสงฆกรรมทังปวงนี้ส� ำคัญ ยิ่งนักกว่าอื่นๆ เพราะเปนราก เปนมูลที่จะให้ชอบแห่งสังฆกรรมทั้งปวง” ๒๕ เนื่องจากเฉพาะคณะสงฆ์ที่บริสุทธิ์เท่านั้นที่จะประกอบอุปสมบทกรรมอัน ถูกต้อง ปราศจากมลทิน และสามารถด�ำรงสมณวงศ์ต่อไปได้๒๖ เรื่อง “สีมาวิบัติ” เป็นประเด็นที่คณะสงฆ์เถรวาทในดินแดนอุษาคเนย์ ทั้งในสยามและพม่า ที่ได้รับอิทธิพลจากคณะสงฆ์มหาวิหารของลังกา ดูจะ ให้ความส�ำคัญมากเป็นพิเศษ หากบังเกิดความสงสัยในความบริสุทธิ์ของการ อุปสมบท หรือตั้งข้อรังเกียจคณะสงฆ์ฝ่ายตรงกันข้าม ประเด็นเรื่องสีมา มักจะได้รับการหยิบยกมาใช้ในการกล่าวหาคณะสงฆ์อีกฝ่ายเสมอ ดังนั้น เพื่อให้การอุปสมบทของพระองค์ปราศจากมลทิน พระองค์ได้ทรงอาราธนา คณะสงฆ์ “กัลยาณีสีมา” ประกอบด้วยพระภิกษุมอญจากคณะสงฆ์เดียวกับ พระสุเมธมุนี และได้อุปสมบทมาจากสีมากัลยาณีในรามัญประเทศที่เชื่อกันว่า เป็นสีมาที่ผูกโดยพระอรหันต์ ๑๘ รูปมากระท�ำทัฬหีกรรม คือ อุปสมบทซ�ำ้ ให้ แก่พระองค์ในอุโบสถน�ำ้ หน้าวัดสมอราย๒๗ (ภาพที่ ๑) การอุปสมบทซ�ำ้ ในครัง้ นีม้ พ ี ระประสงค์ทจี่ ะให้หมดความเคลือบ แคลงสงสัย เพื่อให้ทรงมั่นในพระทัยว่าเป็นการอุปสมบทที่บริสุทธิ์ ถูกต้องอย่างแท้จริง และทรงถึงพร้อมด้วยความเป็นพระภิกษุมากกว่า พระภิกษุมหานิกายที่ศาสนวงศ์ได้อันตรธานไปแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าแล้ว๒๘ ควรกล่าวด้วยว่าคณะสงฆ์กัลยาณีสีมานี้นับเป็นคณะสงฆ์หลักของพระ มอญและเป็นนิกายที่มีต้นก�ำเนิดมาจากลังกา หลักฐานจากจารึกกัลยาณีที่จาร ขึ้นโดยพระเจ้ารามาธิบดีหรือที่พม่าเรียกว่า พระเจ้าธรรมเจดีย์ กษัตริย์มอญ ท�ำให้ทราบว่า เมื่อพุทธศักราช ๒๐๑๙ พระองค์ได้ทรงช�ำระคณะสงฆ์มอญ


พิชญา สุ่มจินดา

23

ภาพที่ ๑ จิตรกรรมภาพพระภิกษุในคณะสงฆ์ธรรมยุตและคณะสงฆ์มอญก�ำลังกระท�ำ อุปสมบทบนแพในนทีสมี า (อุทกุ กุปเขปปสีมา) หอไตรวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ประมาณ รัชกาลที่ ๓ (ภาพจาก ธัชชัย ยอดพิชัย)

นิกายเถรวาทใหม่ด้วยเหตุสีมาวิบัติ โดยให้พระภิกษุจำ� นวนหนึ่งไปอุปสมบท ให้บริสุทธิ์ในลังกาภายใต้คณะสงฆ์มหาวิหารของลังกา แล้วมาประดิษฐาน สมณวงศ์ใหม่ในรามัญประเทศ ทรงจัดการให้มีการอุปสมบทขึ้นใหม่เพื่อช�ำระ พระศาสนาให้บริสุทธิ์เช่นเดียวกับพระศาสนาในลังกา๒๙ วิธีปฏิบัติดังกล่าว แทบมิได้แตกต่างกันเลยกับการที่พระวชิรญาณทรงพระปรารภถึงสีมาวิบัติ และลาสิกขาเพื่อจะทรงผนวชใหม่ในคณะสงฆ์กัลยาณีสีมาของมอญ แสดงให้ เห็นว่าทรงด�ำเนินตามแนวทางเดียวกับพระเจ้าธรรมเจดีย์ผู้ทรงเป็นธรรมิกราช ของมอญ ดังเห็นได้จากสมณสันเทศ (จดหมายข่าว) ของพระสุมนเถระเจ้าคณะ ของนิกาย “มะรัมมะวงศ์” ของลังกาที่มีไปยังพระวชิรญาณในพุทธศักราช ๒๓๘๖ กล่าวถึงการช�ำระสมณวงศ์ของพระเจ้าธรรมเจดีย์เมื่อพุทธศักราช


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

24

๒๐๑๙ และทรงสรุปว่า “พระศาสนาเมืองมอญพม่าทั้งปวงนี้ คือ ประเวณีวงศ์ มหาวิหารในลังกาทีเดียวมิใช่อื่นเลย” ๓๐ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวว่าความส�ำเร็จของธรรมยุตภายใต้การสถาปนาของ พระวชิรญาณในอันที่จะด�ำรงรักษาความบริสุทธิ์ของพุทธศาสนานั้น นับว่าเป็น ความส�ำเร็จที่ล�้ำหน้าไปกว่าความพยายามช�ำระคณะสงฆ์ของพระมหากษัตริย์ นับแต่พระเจ้ากรุงธนบุรีลงมา แม้ว่าพระวชิรญาณในขณะนั้นไม่ได้ทรงพระ อ�ำนาจที่จะสามารถช�ำระพระสงฆ์แบบพระมหากษัตริย์ได้ก็ตาม แต่ความ พยายามในการสร้างคณะสงฆ์ใหม่ให้มีความบริสุทธิ์สามารถกระท�ำสังฆกรรม ได้อย่างปราศจากมลทินนั้น นับเป็นการกระท�ำที่เทียบเท่ากับการช�ำระพระสงฆ์ ของ “พระธรรมิกราช” ที่ได้เคยกระท�ำมาแล้วในอดีต อันเป็นการพิสูจน์ พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ในทางศาสนาได้ประการหนึ่ง๓๑ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่าการด�ำเนินพระกรณียกิจเช่นนี้มิได้เกิดขึ้น จากกระแสภายใต้การฟื้นฟูพุทธศาสนาในสังคมสยามเพียงล�ำพังเท่านั้น การ ฟื้นฟูสมณวงศ์ของพระองค์น่าจะเกิดจากแรงบันดาลพระทัยจากการ ศึกษาข้อมูลในอดีต และการสดับรับฟังเกี่ยวกับการช�ำระคณะสงฆ์ของ นิกายเถรวาท ซึ่งต่างก็ยึดถือเอาลังกาเป็นศูนย์กลางของความบริสุทธิ์ ถูกต้องในการบรรพชาอุปสมบท เพราะการช�ำระพุทธศาสนาในแต่ละครั้ง ในดินแดนซึง่ นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท จะมีการส่งพระภิกษุสงฆ์มากระท�ำ อุปสมบทใหม่ภายใต้คณะสงฆ์นิกายเถรวาทของลังกาให้มีความบริสุทธิ์เสมอ จึงกลับไปบรรพชาอุปสมบทใหม่ให้กับคณะสงฆ์ของตน ดังนั้น เมื่อ พระวชิร ญาณมีพระประสงค์ จ ะทรงช�ำ ระพุ ทธศาสนาให้ บริสทุ ธิ์ ย่อมเป็นไปได้ทจี่ ะท�ำให้ทรงย้อนกลับไปพิจารณาหาต้นก�ำเนิดสมณวงศ์ ทีเ่ ชือ่ กันว่าเป็นจุดเริม่ แรกของสมณวงศ์แบบเถรวาทของลังกาอีกครัง้ แบบเดียว กับที่พระเถรานุเถระหรือพระธรรมิกราชในอดีตได้กระท�ำมานั่นเอง ข้อยืนยัน นี้ปรากฏชัดเจนในพระสมณสาสน์ที่พระวชิรญาณทรงมีไปถึงพระเถระลังกาถึง ความปรารถนาอันแท้จริงของคณะธรรมยุต ดังนี้ “อนึ่ง ในเรื่องวงศ์นี้ พวกข้าพเจ้าขอบอกความมุ่งหมายของบัณฑิตฝ่าย ธรรมยุติตามความเป็นจริงโดยสังเขป คือ หากสีหฬวงศ์เก่ายังตั้งอยู่ในสีหฬ ทวีปมาจนถึงปัจจุบันนี้ไซร้ พวกธรรมยุติบางเหล่าจักละวงศ์เดิมของตนบ้าง บางเหล่าจักให้ทำ� ทัฬหีกรรมบ้าง แล้วน�ำวงศ์ (สีหฬ) นั่นไปเป็นแน่แท้ แต่เพราะ ไม่ได้วงศ์เก่าเช่นนั้น ไม่เห็นวงศ์อื่นที่ดีกว่า จึงตั้งอยู่ในรามัญวงศ์ซึ่งน�ำไปแต่


พิชญา สุ่มจินดา

25

สีหฬวงศ์เก่าเหมือนกัน ด้วยส�ำคัญเห็นวงศ์ (รามัญ) นั้น เท่านั้นเป็นวงศ์ดีกว่า เพื่อน โดยความที่ผู้น�ำวงศ์ไปนั้นเป็นผู้นำ� ไปจากสีหฬทวีปในกาลก่อนบ้าง โดย ความที่วิธีเปล่งเสียงอักขระของภิกษุรามัญเหล่านั้นใกล้เคียงกับสีหฬในบัดนี้ บ้าง” ๓๒ ด้วยเหตุนี้ แม้คณะสงฆ์มอญดูจะมีอิทธิพลต่อการสถาปนาคณะสงฆ์ ธรรมยุตเป็นอย่างมากก็ตาม แต่เมือ่ พิจารณาให้ลกึ ลงไปแล้วจะเห็นว่าคณะสงฆ์ มอญเป็นเพียงสะพานเชือ่ มต่อไปยังสมณวงศ์ดงั้ เดิมอันเชือ่ กันว่าเป็นต้นก�ำเนิด ของคณะสงฆ์นิกายเถรวาททั้งปวง คือสมณวงศ์ของลังกาเท่านั้น

พระวชิรญาณกับคณะสงฆ์ลังกา ในฐานะแรงบันดาลใจหลักของธรรมยุต สมณวงศ์ลงั กานับว่าเป็นสมณวงศ์ทมี่ คี วามส�ำคัญอย่างสูงต่อพุทธศาสนา นิกายเถรวาทในประเทศไทย เมื่อลังกากลับมาเป็นศูนย์กลางของนิกายเถรวาท อีกครั้งหนึ่งในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ท�ำให้ดินแดนที่นับถือนิกาย เถรวาทหันไปให้ความสนใจกับลังกาเป็นอย่างมากในฐานะที่เชื่อกันว่าลังกาเป็น ต้นก�ำเนิดของสมณวงศ์ของนิกายเถรวาท กล่าวเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่าง สมณวงศ์ของสยามและลังกาในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งปรากฏเป็นครั้งแรก (แต่ อย่างไม่เป็นทางการ) เริม่ ขึน้ ในพุทธศักราช ๒๓๕๒ ปีสดุ ท้ายในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อมีพระภิกษุและสามเณรเดินทางจากลังกา มาขึ้นฝั่งที่นครศรีธรรมราชและแสดงความประสงค์ที่จะเข้ามายังพระนคร๓๓ แต่ไม่ได้เป็นการเข้ามาอย่างเป็นทางการเนื่องจากไม่มีสมณสาสน์หรือ งานทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากฝ่ายลังกาแต่อย่างใด๓๔ แต่ฝา่ ยไทยก็ได้ให้ความนับถือ ในฐานะที่เป็นสมณวงศ์จากลังกาจึงให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยให้จำ� พรรษา ที่วัดมหาธาตุอันเป็นพระอารามหลวงและถวายนิตยภัตให้ถึงวันละบาท๓๕ แม้ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และรับพระราชทาน นิตยภัตเสมอมาด้วย๓๖ ในรัชกาลนี้เองได้มีพระสงฆ์ลังกาเดินทางเข้ามาเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๕๖ คือ พระศาสนวงศ์ซึ่งได้นำ� พระบรมสารีริกธาตุ ๒ องค์ พร้อมกับพระศรีมหาโพธิ์ ๑ กิ่ง จากลังกาเข้ามาถวาย แม้ไม่มีสมณสาสน์ก�ำกับ มาเช่นเคย แต่ทรงพระราชด�ำริวา่ เป็นพระบรมสารีรกิ ธาตุและพระศรีมหาโพธิแ์ ท้


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

26

จึงทรงรับให้เข้ามายังพระนคร สถิตยังวัดมหาธาตุ และพระราชทานนิตยภัต เดือนละ ๓ ต�ำลึง๓๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้นได้ทรงทราบข่าวการพระ ศาสนาทีล่ งั กาจากพระศาสนวงศ์ ซึง่ ถวายพระพรว่าลังกาอยูภ่ ายใต้การปกครอง ของอังกฤษแล้ว ก็ทรงพระราชปริวิตกถึงศาสนาที่ลังกาว่าจะถึงกาลวิปริตผัน แปรไปเพียงใด จึงได้ทรงแต่งสมณทูตอันประกอบด้วยพระภิกษุ ๘ รูปซึ่ง ประสงค์จะนมัสการเจดียสถานที่ลังกา ให้เดินทางไปสืบการพระศาสนาถึงใน ลังกาทวีป ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้น�ำของพระราชูทิศไปบูชา พระทันตธาตุและเจดียสถานในลังกาทวีปพร้อมกับพระราชสาสน์ด้วย การส่ง สมณทูตไปในครั้งนี้ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากบรรดาพุทธศาสนิกชนใน ลังกา๓๘ และบรรลุผลตามความมุ่งหมาย คือ ได้ทราบข่าวคราวของพระศาสนา ในลังกาว่าได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างดีจากอังกฤษที่ปกครองลังกา สามารถ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระสงฆ์สยามกับพระสงฆ์ลังกาด้วย ๓๙ ครั้งนั้นทางลังกาได้มอบปูชนียวัตถุที่ส�ำคัญให้แก่ฝ่ายสยาม เช่น เจดีย์จ�ำลอง ท�ำด้วยทอง เงิน และงา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพัชนี ทูลเกล้าฯ ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถวายสมเด็จพระสังฆราช และ สมเด็จพระพนรัตน์ รวมทั้งพระพุทธรูปและหน่อพระศรีมหาโพธิ์ ๖ ต้นมาปลูก ยังพระอารามต่างๆ๔๐ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๘๐ พระองค์ทรงปรึกษากับพระสงฆ์ ๓ รูป คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหมื่น นุชิตชิโนรส (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) และพระ วชิรญาณ ปรากฏว่าพระวชิรญาณทรงเป็นพระองค์เดียวที่เห็นสมควรจะให้ ส่งไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวชิรญาณทรงจัดการเรื่องนี้ แต่ เนื่องจากพระสงฆ์อยากไปลังกากันมากจึงก่อให้เกิดปัญหา และเมื่อพระสงฆ์ เหล่านี้เดินทางไปยังสิงคโปร์ก็ถูกเรียกตัวกลับ ท�ำให้พระวชิรญาณทรงพระ โทมนัสมากถึงกับทรงบันทึกเหตุการณ์ไว้ แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์และ คณะสงฆ์ธรรมยุตได้ให้ความส�ำคัญกับสมณวงศ์ของลังกาอย่างจริงจัง๔๑ จน กระทั่งต่อมาในพุทธศักราช ๒๓๘๓ พระกักกุสนธ์ชาวลังกาซึ่งอุปสมบทใน นิกายมะรัมมะวงศ์ของลังกาเดินทางเข้ามายังพระนครเพื่อนมัสการพระเจดีย สถาน และฟังข่าวพุทธศาสนาในสยามประเทศ๔๒ พระภิกษุรูปนี้สามารถ ชี้แจงข้อวัตรปฏิบัติได้อย่างแม่นย�ำจนพระวชิรญาณทรงชื่นชมว่า “แลคติ


พิชญา สุ่มจินดา

27

ปฏิบัติเล็กน้อยก็ร่วมกันกับเราทั้งปวงซึ่งอยู่ในวัดบวรนิเวศพระอารามหลวง โดยมาก” และโปรดให้พระกักกุสนธ์มาจ�ำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร๔๓ คณะสงฆ์มะรัมมะวงศ์เกิดขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๔๕ เนื่องจากมี สามเณร ๖ รูปจากลังกาไปกระท�ำอุปสมบทที่เมืองอมรปุระของพม่า เพราะ ฐานะทางสังคมต�ำ่ จึงถูกกีดกันไม่อาจอุปสมบทในลังกาได้ เมื่อกลับมายังลังกา จึ ง ได้ ม าสถาปนาคณะสงฆ์ ขึ้ น ใหม่ โ ดยใช้ ชื่ อ ตามคณะสงฆ์ ที่ พ ม่ า เรี ย กว่ า “มะรัมมะวงศ์”๔๔ แต่ก็นับเป็นคณะสงฆ์เดียวกับคณะสงฆ์กัลยาณีสีมาที่ได้ เผยแผ่ยังรามัญประเทศเมื่อพุทธศักราช ๒๐๑๙ ซึ่งเป็นคณะสงฆ์เดียวกับที่ พระวชิรญาณทรงผนวชใหม่และรับวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์นี้มาใช้นั่นเอง จึง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทรงพระปรารภว่าวัตรปฏิบัติของพระกักกุสนธ์ต้องตรง กับคณะสงฆ์ธรรมยุตของพระองค์ เพราะคณะสงฆ์ทั้งสามล้วนมีรากเหง้า มาจากคณะสงฆ์เดียวกัน คือ คณะสงฆ์ของลังกา ดังที่พระสุมนเถระเจ้าคณะ ของมะรั ม มะวงศ์ ไ ด้ ก ล่ า วไว้ ใ นสมณสั น เทศ (จดหมายข่ า ว) มี ม าถึ ง พระ วชิรญาณว่า “อันพวกมะรัมมะวงศ์ คือพวกเรานีจ้ ะเป็นเชือ้ สายอืน่ หามิได้กเ็ ป็นเชือ้ สาย ศาสนาในลังกานี้เอง...ประเวณีพระสงฆ์ลังกาเดิมที่โบราณจดหมายกับประเวณี พระสงฆ์เมืองมอญเมืองพม่าทุกวันนี้จึงถูกต้องร่วมกันโดยมาก ความอันนี้ ถ้าท่านผู้มีอายุทั้งปวงมิเชื่ออาราธนาไปสืบถามพระสงฆ์ทั้งมอญทั้งพม่าที่มีใน สยามประเทศดูเถิด แม้นอย่างไรความก็จะสมดังเราว่ามาเพราะว่าจดหมายเหตุ ในลังกามีอยู่เป็นแน่ เพราะดังนี้แลจึงได้รู้ว่าพระศาสนาเมืองมอญเมืองพม่า ทั้งปวงนี้ คือ ประเวณีวงศ์มหาวิหารในลังกาทีเดียวมิใช่อื่นเลย” ๔๕ จากหลักฐานที่ประมวลมาทั้งหมดนี้น่าจะแสดงให้ความสัมพันธ์ระหว่าง คณะสงฆ์ธรรมยุตและคณะสงฆ์ของมอญและลังกา การกล่าวว่า “พระศาสนา เมืองมอญเมืองพม่าทั้งปวงนี้ คือ ประเวณีวงศ์มหาวิหารในลังกาทีเดียว มิใช่อื่นเลย” คงเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่คณะสงฆ์กัลยาณีสีมาของมอญว่า ศาสนวงศ์ของตนนั้นสืบทอดมาโดยตรงจากลังกา ด้วยเหตุนี้ การทีพ่ ระวชิรญาณทรงรับเอาคณะสงฆ์กลั ยาณีสมี าของมอญ มาเป็นต้นวงศ์ของธรรมยุตมิใช่เพราะทรงเลือ่ มใสในคณะสงฆ์มอญอย่างแท้จริง หากแต่ทรงเล็งเห็นแล้วว่าคณะสงฆ์มอญได้สบื ทอดมาจาก “สีหฬวงศ์เก่า” อัน ถือเป็นต้นแบบของสมณวงศ์นกิ ายเถรวาททัง้ ปวง และแรงบันดาลพระทัยในการ สถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุตอันมีหัวใจส�ำคัญ คือ การกลับไปหาพุทธวจนะ


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

28

ดั้งเดิมย่อมเท่าเสมือนหนึ่งเป็นการกลับไปหารากเหง้าของพระศาสนา ดั้งเดิมที่ทรงเชื่อว่ามีความถูกต้องตรงตามพระวจนะมากที่สุด และราก เหง้าของพระศาสนาอันเป็นต้นก�ำเนิดของสมณวงศ์อน ั แท้จริงก็คอื คณะ สงฆ์ของลังกานั่นเอง พระด�ำริเช่นนี้ยังได้สะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรม ในพระพุทธรูปและเจดีย์แบบธรรมยุตที่ทรงสร้างขึ้นด้วย

พุทธศิลป์ของคณะสงฆ์ธรรมยุต ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหว่างดินแดนต่างๆ ในแถบนี้ นอกจาก จะเป็นส่วนส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในด้านค่านิยม และมุมมองใหม่ๆ ทีม่ ตี อ่ พุทธศาสนาแล้ว ก็ยงั เป็นสิง่ ทีก่ �ำหนดความเปลีย่ นแปลงของพุทธศิลป์ใน ดินแดนประเทศไทยปัจจุบันด้วย ดังนั้น นอกเหนือจากหลักฐานทางประวัติ ศาสตร์ทแี่ สดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหว่างคณะสงฆ์ธรรมยุต คณะสงฆ์มอญ และคณะสงฆ์ลังกาแล้ว การแสดงออกทางด้านพุทธศิลป์ของ ธรรมยุตที่แปรเปลี่ยนไปจากประเพณีปฏิบัติเดิมของการสร้างศิลปะในพุทธ ศาสนาอย่างเห็นได้ชัด ก็น่าที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลบางประการจากภาย นอกทีเ่ ข้ามามีผลต่อการก�ำหนดรูปแบบของพุทธศิลป์ในคณะสงฆ์ธรรมยุตด้วย โดยเป็นสื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอันผิดแปลกไปจาก พุทธศิลป์ที่เคยสร้างกันมาก่อนหน้า และท�ำให้คณะสงฆ์นี้มีความแตกต่างจาก คณะสงฆ์มหานิกายอย่างเด่นชัดจากผลงานทางพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้น อย่างไรก็ดี ความแตกต่างนีม้ กั ได้รบั การอธิบายกันหลายกระแส แนวคิด หนึ่งเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพุทธศิลป์ของคณะสงฆ์ธรรมยุต เกิดจากการที่พระวชิรญาณทรงพยายามท�ำให้คณะสงฆ์ใหม่ของพระองค์ต้อง มีความสอดคล้องกับพระอรรถกถาบาลี หรือไม่ก็ยกให้กับอิทธิพลของศิลปะ ของตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในสังคมสยามในขณะนั้น อันส่งผลโดยตรงต่อ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านพุทธศิลป์ หรือมิฉะนั้นก็เป็นการอธิบายที่ให้นำ�้ หนัก ความส�ำคัญกับเรื่องของพัฒนาการทางความคิดที่เกิดขึ้นภายในประเทศเอง ซึ่งส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงพุทธศิลป์ของคณะสงฆ์ธรรมยุต ในบทความชิ้นนี้จะวิเคราะห์พุทธศิลป์ที่เป็นศาสนวัตถุสถานอันเนื่อง ในคณะสงฆ์ธรรมยุตที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเบื้องหลังซึ่งมีอิทธิพล ต่อการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ของคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยมุ่งไปยังช่วงแรก


พิชญา สุ่มจินดา

29

ของการประดิษฐานคณะสงฆ์ธรรมยุตของพระวชิรญาณในระหว่างพุทธศักราช ๒๓๗๒-๒๓๗๓ อันเป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงสร้างปูชนียวัตถุอันเนื่องใน พุทธศาสนา เพือ่ แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของธรรมยุต และมีความแตกต่าง จากของมหานิกายไว้ ๒ สิง่ ส�ำคัญด้วยกัน ได้แก่ พระพุทธรูปแบบธรรมยุตและ เจดีย์ทรงลังกา

พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปแบบธรรมยุตองค์แรก พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเป็นองค์แรกภายใต้แนวความคิดแบบธรรมยุต ของพระวชิรญาณ เท่าที่มีหลักฐานปรากฏ คือ พระสัมพุทธพรรณี (ภาพที่ ๒) พระวชิรญาณโปรดพระราชทานให้ขุนอินทรพินิจ เจ้ากรมช่างหล่อ สร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๓๔๖ ในช่วงแรกเริ่มของการสถาปนาคณะสงฆ์ธรรม ยุตอย่างเป็นทางการ พระสัมพุทธพรรณีท�ำจากสัมฤทธิ์กะไหล่ทอง ประทับ สมาธิร าบ ปางสมาธิ พระพัก ตร์ ค ่ อ นข้ า งกลม มีพ ระอุ ณ าโลมที่กึ่ง กลาง ระหว่างพระขนง ทรงครองจีวรห่มเฉียงเป็นริ้วแลดูสมจริง สังฆาฏิพาดพระ อังสะพับทบกันยาวจนจรดพระหัตถ์ ประทับบนฐานสิงห์ทตี่ กแต่งด้วยลวดลาย พรรณพฤกษาและลายเครือเถาแบบฝรั่ง เช่นเดียวกับผ้าทิพย์ที่ทำ� เป็นรูปม่าน แหวกออกคล้องด้วยพวงอุบะแบบศิลปะตะวันตก ซึ่งยังแสดงความสัมพันธ์ กับคณะสงฆ์มอญอย่างชัดเจนด้วยจารึกอักษรมอญ ภาษาบาลีบนผ้าทิพย์ที่ กล่าวถึงพระนามของพระพุทธรูปองค์นี้ แม้พุทธลักษณะทั่วไปของพระสัมพุทธพรรณีโดยเฉพาะพระพักตร์ที่ ค่อนข้างกลมเหมือนหน้าหุน่ จะดูไม่แตกต่างจากพระพุทธรูปทีส่ ร้างขึน้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตาม แต่สิ่งที่ทำ� ให้พุทธลักษณะของพระ สัมพุทธพรรณีตา่ งจากพระพุทธรูปทีส่ ร้างขึน้ ในช่วงระยะเวลาเดียวกันอย่างเห็น ได้ชัดก็คือ พระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีพระอุษณีษะ คือ กะโหลกส่วนที่นูนขึ้น ออกมากลางศีรษะ ๑ ในมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการของพระพุทธองค์ เช่น เดียวกับรอยยับย่นจนเป็นริ้วของจีวรอย่างสมจริงก็ไม่เคยปรากฏมาก่อน ส่วน พุทธลักษณะอื่นๆ ยังคงเหมือนกับพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาใกล้ เคียงกัน ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระวชิรญาณมีพระด�ำริในการสร้างพระพุทธรูป องค์นเี้ ช่นไร โดยเฉพาะอย่างยิง่ ค�ำอธิบายเกีย่ วกับพุทธลักษณะของพระพุทธรูป


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

30

ภาพที่ ๒ พระสัมพุทธพรรณี ปัน้ หล่อโดยขุนอินทรพินจิ เมือ่ พ.ศ. ๒๓๗๓ สัมฤทธิ์กะไหล่ทอง สูง ๙๖ เซนติเมตร พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก พิริยะ ไกรฤกษ์)

ทีแ่ ปรเปลีย่ นไปจากเดิมทีเ่ คยสร้างกันมา เช่น การเว้นไม่ท�ำพระอุษณีษะ แม้แต่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระสานุศษิ ย์พระองค์ ส�ำคัญผู้ทรงพระนิพนธ์ประวัติของคณะธรรมยุตเมื่อแรกสถาปนาก็มิได้ทรง พระปรารภถึงพระพุทธรูปองค์นใี้ นเชิงเหตุผลเบือ้ งหลังการสร้าง นอกจากประวัติ ความเป็นมา ส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ก็ทรงพระราชนิพนธ์ ว่าเป็น “พระรูปอย่างใหม่ตามพระราชอัธยาไศรย” เท่านั้น๔๗ ความไม่ชดั เจนของหลักฐานเกีย่ วกับแนวคิดเบือ้ งหลังการสร้างพระพุทธ รูปแบบธรรมยุตของพระวชิรญาณ ท�ำให้นักวิชาการตีความให้ความเห็นที่แตก ต่างกันไป โดยให้อรรถาธิบายเป็น ๒ แนวทางด้วยกัน กล่าวคือ การตีความแนวแรก มีสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงเป็นผูน้ �ำ พระองค์ประทานพระอธิบายว่า พระวชิรญาณทรงสร้างพระสัมพุทธพรรณีขึ้น ตามที่ทรงเชื่อว่าถูกต้องแท้จริงตามพุทธลักษณะที่ปรากฏในพระอรรถกถาบาลี แนวการตีความนีเ้ ป็นการมองในเชิงความคิดทางศาสนาว่าการสร้างพระพุทธรูป


พิชญา สุ่มจินดา

31

แบบธรรมยุตเกิดจากการเน้นความถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎกของพระวชิร ญาณ ทรงพยายามสอบสวนพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าเพื่อสร้างพระพุทธ รูปให้มีความถูกต้องตรงตามพระอรรถกถาบาลีหรือไม่ก็พระคัมภีร์ต่างๆ๔๘ แต่ ก็ไม่ชัดเจนว่าปรับปรุงให้สอดคล้องกับพระบาลีในเรื่องใดบ้าง แนวการตีความกลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า พระพุทธรูปแบบธรรมยุต มีจุดเด่นอยู่ที่การปรับปรุงรูปแบบของพระพุทธรูปให้เข้ากับวิธีคิดของแนว สัจนิยมให้มีความสมจริงเป็นมนุษย์มากขึ้น๔๙ ด้วยการท�ำให้พระพุทธรูปมี พระวรกายเหมือนมนุษย์ธรรมดา เห็นได้จากการละเว้นไม่ทำ� พระอุษณีษะตาม มหาปุริสลักขณะและสอดคล้องกับลักษณะของจีวรที่ดูสมจริงด้วย๕๐ แนวการ ตีความแบบนีไ้ ด้ให้อรรถาธิบายว่าความเปลีย่ นแปลงนีเ้ กิดขึน้ โดยได้รบั อิทธิพล ทางศิลปะจากตะวันตกซึ่งเข้ามาอย่างแพร่หลายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว การตีความที่น่าสนใจอีกแนวหนึ่งเป็นของนิธิ ซึ่งให้ความเห็นว่าการ สร้างพระพุทธรูปของคณะสงฆ์ธรรมยุตเป็นการสร้างรูปแทนองค์พระพุทธเจ้าให้ มีความสมจริงเป็นมนุษย์มากขึน้ ถึงแม้วา่ นิธจิ ะมุง่ ไปทีป่ ระเด็นเรือ่ งพระอุษณีษะ เช่นกัน แต่เขาก็ปฏิเสธค�ำกล่าวอ้างของพระวชิรญาณว่าการละเว้นไม่ท�ำพระ อุษณีษะของพระพุทธรูปธรรมยุตเป็นการปรับปรุงให้สอดคล้องกับพระอรรถ กถาบาลี เพราะเห็นว่าข้ออ้างดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะอธิบายความสมจริงของ จีวรที่มีมากขึ้นอันเป็นสิ่งที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระบาลี นิธิจึงไม่เชิงเห็นด้วยกับ การตีความตามแนวที่ ๒ ว่าความสมจริงที่เกิดขึ้นกับพระพุทธรูปของธรรมยุต เป็นเพราะอิทธิพลแบบสัจนิยมสมจริงของตะวันตก เพราะในทรรศนะของนิธิ นัน้ อิทธิพลจากตะวันตกก็ไม่อาจอธิบายความเปลีย่ นแปลงของพระพุทธรูปของ ธรรมยุตได้อย่างเพียงพอ ด้วยเหตุดังกล่าว นิธิได้นำ� เสนอความเห็นเพิ่มเติมว่า ความสมจริงแบบมนุษย์ทเี่ กิดขึน้ กับพระพุทธรูปธรรมยุตเป็นความเปลีย่ นแปลง ทางความคิดของชนชั้นน�ำในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่มองพระพุทธเจ้าอย่างเป็น มนุษย์มากขึน้ “พระพุทธรูปทีม่ ขี ้อก�ำหนดตามจารีตบังคับซึง่ ไม่เป็นมนุษย์ ไม่มี เพศ ไม่เป็นบุคคล เป็นแต่เพียงภาพรวมโดยสรุปของหลักการอันหนึง่ นัน้ กลาย เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยน่าพอใจของชาวพุทธในประเทศไทย ความสมจริงเป็นความ พยายามที่จะส�ำแดงพระพุทธเจ้าชนิดที่สถิตอยู่ในดวงความคิดของคนไทย” ๕๑ แนววิเคราะห์ของนิธิเป็นการอธิบายโดยใช้บริบทของโลกทรรศน์แบบ กระฎุมพีในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่นิธิเชื่อมั่นว่ามีความเปลี่ยนแปลงทางความ คิดอย่างเป็นเหตุผลนิยมและมีความเป็นมนุษยนิยมมากขึ้น ส่งผลต่อการมอง


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

32

พระพุทธเจ้าอย่างเป็นมนุษย์มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดการสร้าง พระพุทธรูปอันเป็นรูปแทนองค์พระพุทธเจ้าให้เป็นมนุษย์มากขึ้นด้วย แต่ถึง กระนั้นก็ตาม แม้การมองพระพุทธเจ้าอย่างเป็นมนุษย์มากขึ้นจะค่อยๆ ก่อตัว ในวัฒนธรรมแบบกระฎุมพีในสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยอาจเห็นได้จาก ร่องรอยทางคัมภีร์ทางพุทธศาสนา เช่น ปฐมสมโพธิกถา ดังที่นิธิได้แสดงให้ เห็นก็ตาม๕๒ แต่โลกทรรศน์ดังกล่าวก็มิได้สะท้อนให้เห็นในพระพุทธรูปของ ธรรมยุตอันเป็นรูปแทนองค์พระพุทธเจ้าอย่างเด่นชัด หากพิจารณาที่องค์พระสัมพุทธพรรณี (ภาพที่ ๒) เราจะไม่พบว่าพระ พุทธรูปองค์นี้มีความเหมือนมนุษย์มากขึ้นแต่อย่างใด นอกจากความสมจริง ของจีวรซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสมจริงมากขึ้นจริงๆ ความยับย่นของจีวร เช่นนี้ไม่มีข้อกังขาเลยว่าเป็นอิทธิพลของศิลปะตะวันตก เพราะสอดคล้องกัน เป็นอย่างดีกับลวดลายที่ฐานสิงห์และผ้าทิพย์แบบฝรั่งอย่างชัดแจ้ง ในขณะที่ ไม่พบความสมจริงอื่นใดในพุทธลักษณะขององค์พระเอง การตัดพระอุษณีษะ ออกเพียงอย่างเดียวไม่ท�ำให้พระพุทธรูปองค์นี้มีความสมจริงเหมือนมนุษย์ไป ได้ เพราะยังคงรักษาพุทธลักษณะประการอื่นๆ อันเป็นมหาปุริสลักขณะที่เคย สร้างกันมาก่อนหน้านี้ไว้ได้อย่างครบถ้วน เช่น พระเกตุมาลาเป็นเปลวเหนือ พระเศียร ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอยเวียนทักษิณาวัฏ พระอุณาโลมกึง่ กลาง พระนลาฏ หรือนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เสมอกัน ทั้งหมดนี้มิใช่สามัญลักษณะของ มนุษย์ทั่วไป เหตุนี้ความสมจริงของจีวรพระสัมพุทธพรรณีจึงเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นถึงความเป็นมนุษย์ในองค์พระพุทธรูปได้นอ้ ยมากหรือแทบไม่ได้เลย เพราะ สาระส�ำคัญ คือ ขนาดพระวรกายและพุทธลักษณะของพระพุทธรูปบังคับให้ ผูส้ ร้างยังคงต้องประพฤติปฏิบตั ติ ามพระบาลีอยูไ่ ม่นอ้ ย เช่น ในกรณีพระนิพนธ์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เรื่องสุคตวิทัตถิ วิธาน ดังจะได้กล่าวถึงข้างหน้า นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างพระพุทธรูปให้มีพุทธลักษณะที่ดูแล้ว ไม่สมจริงเหมือนมนุษย์ก็ตาม หากแต่กระบวนการสร้างได้อ้างอิงความเป็นจริง แท้ที่ได้จากศึกษาค้นคว้ามาจากพระอรรถกถาบาลีแล้ว พระพุทธรูปองค์นั้น ก็ยังสามารถสะท้อนถึงแนวคิดมนุษยนิยม สัจนิยม ได้ โดยไม่ต้องสร้างพระ พุทธรูปให้มีความสมจริงเป็นมนุษย์มากขึ้น ดังนั้น โลกทรรศน์แบบมนุษยนิยม จึงไม่สามารถอธิบายความเปลีย่ นแปลงทีป่ รากฏในพระพุทธรูปของธรรมยุตได้ ดีพอ


พิชญา สุ่มจินดา

33

พระพุทธปริตร พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามหนังสือสุคตวิทตฺถิวิธาน การสอบสวนพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปให้ตรงตามพระอรรถกถา บาลีนนั้ มิได้เพิง่ เกิดขึน้ ในความคิดแบบธรรมยุตกิ นิกาย หากเกิดขึน้ มาก่อนหน้า นั้นแล้วอย่างน้อยที่สุดก็นับตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์กันเลยทีเดียว ความสนใจของชนชั้นน�ำที่ต้องการฟื้นฟูพระศาสนาหลักการที่ถูกต้องตามพระ อรรถกถาบาลี๕๓ ได้ก่อให้เกิดความเอาใจใส่ในความถูกต้องตรงตามพระคัมภีร์ เหล่านัน้ มากขึน้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึง่ มีการเชิญ พระพุทธรูปมาจากหัวเมืองที่รกร้าง นอกจากจะต้องปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เป็น องค์แล้ว “พระลักษณสิ่งใดมิต้องด้วยพระพุทธลักษณะให้ช่างซ่อมแปลงแต่ง ให้ต้องด้วยพระอรรถกถาบาลี” ๕๔ สมเด็จพระสังฆราช (มี) ในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ได้ทรงแปลพระพุทธลักษณะจากพระบาลีขึ้น มาแล้วเมื่อพุทธศักราช ๒๓๕๗๕๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวก็ได้มีความพยายามในการสอบสวนพุทธลักษณะเช่นกัน ดังปรากฏใน ปฐมสมโพธิกถา ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส๕๖ พัฒนาการของการสอบสวนพุทธลักษณะในสมัยรัตนโกสินทร์ไปไกลถึงขั้นมี การศึกษาขนาดพระวรกายของพระพุทธเจ้าให้ตรงกับพระอรรถกถาบาลี ดังที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงพระนิพนธ์เรื่อง “สุคตวิทตฺถิวิธาน” หรือ “วิธีก�ำหนดคืบพระสุคต” เป็นภาษาบาลี ด้วยการ ตรวจสอบพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าซึ่งในพระไตรปิฎกมิให้ผิดเพี้ยน เพื่อ ทรงพิสูจน์ว่า “แท้จริงในกาลนั้นพระผู้มีพระภาคหาได้มีพระกายใหญ่กว่ากาย ปกติของมนุษย์เกินไปไม่” ถึงขนาดทรงค�ำนวณเปรียบเทียบหน่วยวัดในสมัย พุทธกาลกับหน่วยวัดปัจจุบันเทียบกับความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกหรือถั่ว ราชมาส อันเป็นหน่วยวัดทีอ่ า้ งถึงในพระบาลี เมือ่ น�ำมาต่อกัน ๗ เมล็ดจะเท่ากับ ๑ นิ้วช่างไม้ หรือเท่ากับ ๑ นิ้วของมัชฌิมบุรุษ คือ บุรุษที่มีความสูงปานกลาง จนได้ความสูงของพระพุทธองค์ประมาณ ๑ วาถ้วน หรือ ๑๒๙ นิ้วของมัชฌิม บุรุษในสมัยพุทธกาล คือ ประมาณ ๒ เมตร ในขณะที่มัชฌิมบุรุษในสมัยนั้น สูง ๙๒ นิ้ว ๑ กระเบียด สมัยผู้ทรงพระนิพนธ์สูง ๗๕ นิ้ว๕๗ เชื่อกันว่าพระนิพนธ์นี้ได้เป็นต้นแบบที่ท�ำให้พระวชิรญาณทรง สร้างพระพุทธรูปองค์หนึง่ ด้วยโครงไม้ไผ่สานพอกปูนน�ำ้ มัน แล้วระบาย สี มีขนาดพระวรกายสอดคล้องกับพระนิพนธ์ดังกล่าว๕๘ ท�ำพระอวัยวะ


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

34

ภาพที่ ๓ พระพุทธปริตร (สาน) ประมาณรั ช กาลที่ ๓ ไม้ ไ ผ่ พ อกปู น น�้ำมันระบายสี สูง ๑๙๐ เซนติเมตร หอศาสตราคม หมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก พิริยะ ไกรฤกษ์)

ต่างๆ กล่าวกันว่าแม้จนคุยหฐาน (ของลับ) ก็สร้างขึ้น๕๙ อันได้แก่ พระพุทธ ปริตร หรือพระสาน๖๐ (ภาพที่ ๓) พระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางมาร วิชัย ปัจจุบันเป็นพระประธานของหอศาสตราคมในพระบรมมหาราชวัง เหตุ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธปริตรด้วยโครง ไม้ไผ่หุ้มปูนนั้น เพราะมีพระราชประสงค์เพื่อให้เบาจนสามารถอัญเชิญไปตั้ง เป็นประธานในพิธีเลี้ยงพระได้๖๑ นับเป็นการปรับขนาดจากเดิมที่เชื่อว่าพระ พุทธเจ้าทรงสูง ๑๘ ศอกหรือประมาณ ๙ เมตรที่เรียกกันว่า “พระอัฏฐารส” ให้เหลือลงประมาณ ๔ ศอกหรือ ๒ เมตร แต่ถึงจะปรับปรุงแล้วความสูงของ พระพุทธองค์รวมทั้งพระพุทธปริตรที่สร้างตามพระนิพนธ์ดังกล่าวก็ยังมีขนาด โตใหญ่กว่าคนปกติอยูด่ ี๖๒ และคงเพราะมีขนาดใหญ่เกินไปจนดู “ข่ม” พระสงฆ์ ภายหลังจึงทรงงดไม่เชิญประดิษฐานในการพิธ๖๓ ี การปรับปรุงพุทธลักษณะอีกประการหนึ่งซึ่งไม่เคยกระท�ำกันมา


พิชญา สุ่มจินดา

35

ภาพที่ ๔ เจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะ ทรงเปลื้องกุณฑลเมื่อคราวเสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ วิหารอนันทา เมือง พุกาม ประเทศพม่า

ก่อน หากปรากฏเป็นครัง้ แรกในพระพุทธรูปธรรมยุตในพระพุทธปริตร ก็คือ พระกรรณ โดยทั่วไปปลายพระกรรณของพระพุทธรูปทั่วไปจะยาวจน บางครั้งเกือบจรดพระอังสาและเป็นช่องกลวงตลอด แต่พระพุทธปริตรกลับ มีปลายพระกรรณเป็นปกติธรรมดามิได้แตกต่างไปจากของมนุษย์สามัญ ทั้งที่ ในมหาปุริสลักขณะทั้ง ๓๒ ประการและอสีตยานุพยัญชนะหรือลักษณะย่อย ๘๐ ประการ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องปลายพระกรรณ จึงอาจเป็นมูลเหตุที่ทรงท�ำให้ พระกรรณของพระพุทธปริตรและพระพุทธรูปธรรมยุตรุน่ หลังเป็นปกติ อย่างไร ก็ดี การที่พระพุทธรูปมีปลายพระกรรณเป็นช่องยาวเนื่องมาจากครั้นทรงออก มหาภิเนษกรมณ์ได้ทรงเปลือ้ งกุณฑลออกจึงท�ำให้ปลายพระกรรณเป็นช่องกลวง และหย่อนคล้อยลงมา การเปลื้องกุณฑลของพระองค์จึงเป็นสัญลักษณ์ของ การหันหลังให้กับโลกียสุขด้วย๖๔ ดังตัวอย่างจากภาพสลักในวิหารอนันทาที่ เมืองพุกาม ประเทศพม่า (ภาพที่ ๔)


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

36

พระวชิรญาณและพระสานุศิษย์เมื่อทรงร่วมกันสอบสวนพุทธลักษณะ ตามพระบาลีจนเป็นมติออกมาเป็นคัมภีรแ์ ละแสดงออกเป็นรูปธรรมในพระพุทธ ปริตร อาจจะไม่ทรงทราบความเป็นมาเรื่องปลายพระกรรณดังกล่าว แต่ด้วย ความ “เคร่ง” ในพระอรรถกถาบาลีพุทธลักษณะที่มีมายาวนานนับพันปีนี้จึงถูก ตัดออกไปจากพระพุทธปริตร อย่างไรก็ดี น่าสังเกตว่าการสอบสวนพุทธลักษณะนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่แรกสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุต ดังเห็นได้จากพระสัมพุทธ พรรณีซึ่งคงมีปลายพระกรรณยาวเหมือนพระพุทธรูปปกติ (ดูภาพที่ ๒) พุทธลักษณะที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งอันถูกเว้นไว้ไม่ท�ำในพระพุทธรูป ของธรรมยุต แต่เป็นจุดเด่นทีน่ กั วิชาการต่างก็หยิบยกมาอธิบายถึงแนวคิดเบือ้ ง หลังของการสร้างพระพุทธรูปของธรรมยุตก็คือ พระอุษณีษะ หลักฐานเดียว ที่กล่าวถึงการละเว้นไม่ท�ำพระอุษณีษะในพระพุทธรูปธรรมยุตมาจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเล่าถึงค�ำกราบทูลจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ (นายช่างส�ำคัญในการปั้นหล่อพระพุทธรูปและ ประติมากรรมถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายองค์) ในเรื่องพระราชด�ำริของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับพระอุษณีษะของพระพุทธรูป ถวาย สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ในลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ดังนี้ “ทูลกระหม่อม (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ผู้เขียน) ทรง พระด�ำริพิพักพิพ่วน (กังวล-ผู้เขียน) ในเรื่องพระเกตุมาลา (ในที่นี้หมายถึงพระ อุษณีษะ-ผูเ้ ขียน)๖๕ โดยพระราชด�ำริเห็นว่าไม่ควรมีพระเกตุมาลา ด้วยท่านพระ อรรถกถาจารย์กล่าวความไว้เกินเหตุว่า ทรงอัดพระอัสสาสะปัสสาสะบ�ำเพ็ญ เพียรเพือ่ ให้สำ� เร็จพระโพธิญาณ ลมจึงดันขึน้ ไปบนกระหม่อมท�ำให้เกิดเป็นต่อม ขึ้น ทูลกระหม่อมไม่ทรงเชื่อว่าจะเป็นได้ หากว่าเป็นจริงหัวเป็นปมก็นับว่าเป็น ลักษณะบุรุษโทษ หาใช่ลักษณะแห่งมหาบุรุษไม่ แต่ก็เหตุไฉนพระพุทธรูปที่ทำ� กันมาเก่าก่อนไม่ว่าประเทศไหนย่อมท�ำมีพระเกตุมาลาทั้งนั้น ทรงพระราชด�ำริ สงสัยจนถึงทรงอธิษฐานให้ทรงพระสุบนิ เห็นองค์พระพุทธเจ้าทีแ่ ท้จริงก็เห็นมีแต่ พระเกตุมาลาอย่างพระพุทธรูปนัน้ เอง ได้ทรงค้นพระสูตรต่างๆ ก็ไม่ปรากฏว่ามี พระเกตุมาลา เช่นในพระสูตรอันหนึ่งว่ามีใครต้องการอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าหา นายหน้าน�ำเฝ้า เวลานัน้ พระพุทธเจ้าประทับอยูก่ บั พระสงฆ์ในธรรมสภา ผูน้ �ำชีใ้ ห้ ผู้อยากเฝ้าเข้าใจว่าองค์ที่นั่งอยู่ข้างเสานั้นแลคือพระพุทธเจ้า ทรงพระวินิจฉัย


พิชญา สุ่มจินดา

37

ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีพระเกตุมาลาอย่างเดียว ยังปลงพระเกศาเหมือนภิกษุสาวก ทั้งหลายด้วย จนรู้ไม่ได้ว่าใครเป็นใคร บอกกันว่าองค์ที่หัวเป็นปมก็แล้วกัน ตกลงในที่สุดจึงทรงตัดสินไม่ให้ท�ำพระเกตุมาลา” ๖๖ ค�ำอธิบายนีน้ บั เป็นค�ำอธิบายโดยละเอียดเกีย่ วกับพระเกตุมาลาของพระ พุทธรูปที่สร้างในคณะสงฆ์ธรรมยุตซึ่งปรากฏเป็นครั้งแรก จนแม้สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพเองก็ไม่ทรงทราบมาก่อน ได้กราบทูลตอบไปว่า “เรือ่ งพระพุทธรูปนัน้ หม่อมฉันยังไม่เคยได้ยนิ พระราชปรารภของทูลกระหม่อม ถ้วนถี่เท่าที่ท่านทรงพรรณนามา นึกเสียดายที่ฝรั่งยังมิได้ตรวจค้นในสมัย เมื่อยังเสด็จอยู่ ถ้าทูลกระหม่อมทรงทราบรายการที่ตรวจพบดังคนชั้นหลัง ลักษณะพระพุทธรูปที่ทรงสร้างก็คงแปลกไปอีก” ๖๗ อย่างไรก็ดี ค�ำอธิบายเช่นว่านีด้ จู ะไม่สอดคล้องกับพระนิพนธ์ของสมเด็จ พระสังฆราช (มี) ที่กล่าวว่า “อุณฺหีสสีส นั้นบังเกิดด้วยอ�ำนาจกุศลที่พระองค์ เป็นใหญ่เป็นประธานแก่มหาชนในการกุศลธรรม”๖๘ เช่นเดียวกับพระนิพนธ์ ปฐมสมโพธิกถา ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ กล่าวไว้ว่าเป็นเพราะผลบุญที่พระพุทธองค์ “ได้เป็นใหญ่ในการกุศล ชักชวนให้ มหาชนกระท�ำบุญต่างๆ มีทานเป็นต้น แลขณะเมื่อท�ำการกุศลนั้นมิได้ก้มหน้า ย่อมเงยพระพักตร์ขนึ้ ด้วยจิตปรีดาปราโมทย์โสมนัส จึงได้พระมหาบุรษุ ลักษณะ นี้” ๖๙ นอกจากนี้ยังทรงพระนิพนธ์ถึงรายละเอียดของมหาปุริสลักขณะดังกล่าว ด้วยว่า “อุณหิสสีโส พระราชกุมารมีพระนลาตแลพระเศียรอันบริบูรณ์ประกอบ ด้วยอรรถ ๒ ประการ อธิบายว่าพื้นพระมังสะนูนขึ้นตั้งแต่หมวกพระกรรณ เบื้องขวาปกขอบพระนลาตมาถึงหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย งามเหมือนอุณหิส ปัฏ คือ กระบังหน้าประการ ๑ อนึ่ง พระเศียรนั้นกลมงามบริบูรณ์มิได้พร่อง แล่นขึ้นเบื้องบนมีสัณฐานดังต่อมแห่งน�้ำ แลพระลักษณะทั้งสองรวมเข้าเป็น อันเดียวกันว่า มีพระเศียรประดับด้วยพระอุณหิส” ๗๐ ดังนั้น ค�ำกราบทูลของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการถวาย สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ทรงพระปรารภถึงพระบรม ราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระอุษณีษะจึงไม่ สอดคล้องกับค�ำอธิบายเกีย่ วกับพระเกตุมาลาในบทพระนิพนธ์ปฐมสมโพธิกถา อันเป็นหลักการอธิบายที่แพร่หลายในยุคสมัยนั้น พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยแปลมหาปุรสิ ลักขณะว่า “มีพระเศียรประดุจ


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

38

ภาพที่ ๕ อุ ณ หิ ส หรื อ กรอบ พระพักตร์ แกะสลักบนบานหน้าต่าง กลางของพระอุ โ บสถ วั ด บวรนิ เ วศ วิหาร กรุงเทพมหานคร

ประดับด้วยกรอบพระพักตร์” ค�ำว่า “กรอบพระพักตร์” หรือ “กะบังหน้า” เป็นการแปลความหมายจากภาษาบาลี คือ “อุณหิส” ที่ไทยมักแปลว่ากะบัง หน้า หรือกรอบหน้า เชื่อได้ว่าพระวชิรญาณคงแปลมหาปุริสลักขณะนี้ คือ “อุณหิสสีโส” ว่ากรอบหน้าหรือกะบังหน้าเช่นกัน ดังเห็นได้จากรูปกรอบหน้าหรือ “อุณหิส” (ภาพที่ ๕) แกะสลักบนบานหน้าต่างกลางของพระอุโบสถ วัดบวร นิเวศวิหาร ด้านหนึ่งสลักเป็นรูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องหมายแห่งความ เป็นพระราชา อีกด้านเป็นรูปอัฐบริขารของพระภิกษุ มีจารึกทีพ่ ระวชิรญาณทรง พระนิพนธ์ก�ำกับภาพไว้ด้วยว่า “วาฬวีชนิ อุณฺหีสํ ขคฺโค ทณฺโฑ จ ปาทุกา” ๗๑ น่าสังเกตว่าในขณะทีเ่ รือ่ งพระรัศมีเป็นสิง่ ทีค่ อ่ นข้างจะก�ำ้ กึง่ กันว่าจะเป็น กรอบหน้าหรือต่อมกลางพระเศียร หรือจะผนวกทั้ง ๒ อย่างเข้าด้วยกัน นับ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสร้างความสับสนมิใช่น้อย๗๒ แต่พระวชิรญาณก็ทรงเลือก ที่จะสร้างพระสัมพุทธพรรณีโดยตัดพระอุษณีษะอันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะ คลุมเครือออกไป แต่ในขณะที่ปลายพระกรรณของพระสัมพุทธพรรณีซึ่ง


พิชญา สุ่มจินดา

39

แน่นอนว่าไม่มใี นมหาปุรสิ ลักขณะกลับคงเดิมและมาปรับปรุงให้สนั้ ลงภายหลัง ที่พระพุทธปริตรและพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ของธรรมยุต ดังนั้น หากมีการ ตรวจสอบพุทธลักษณะให้ตรงกับพระอรรถกถาบาลีอย่างถี่ถ้วนตั้งแต่แรก ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุตแล้ว การเปลี่ยนแปลงพุทธลักษณะต่างๆ จึง ควรที่จะเกิดขึ้นไปพร้อมกันมิใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง มาตรฐานที่แตกต่างกัน เช่นนี้ท�ำให้ดูเหมือนกับว่าพระอุษณีษะเป็นสิ่งเดียวที่พระวชิรญาณทรงให้ความ ส�ำคัญมาตั้งแต่แรกเท่านั้นโดยมิได้ทรงเปลี่ยนแปลงมหาปุริสลักขณะประการ อื่นของพระสัมพุทธพรรณี ค�ำอธิบายว่าการสร้างพระพุทธรูปภายใต้แนวคิด ของธรรมยุตเป็นไปเพื่อให้สอดคล้องกับความที่ปรากฏในพระบาลีเพียงอย่าง เดียวจึงไม่เพียงพอที่จะอธิบายพุทธลักษณะที่เปลี่ยนไปของพระพุทธรูปแบบ ธรรมยุตได้เช่นกัน

พระนิรันตราย กับรอยยับย่นของจีวร เมื่อพระวชิรญาณทรงครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปแบบธรรมยุตขึน้ อีกหลายองค์ แต่ทสี่ ำ� คัญและ รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ “พระนิรันตราย” (ภาพที่ ๖) ตามประวัติกล่าวว่าใน พุทธศักราช ๒๓๙๙ นายปั้นได้ไปขุดร่อนหาทองค�ำบริเวณดงพระศรีมหาโพธิ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองฉะเชิงเทราต่อกับปราจีนบุรี (ปัจจุบัน คือ อ�ำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี) พบพระพุทธรูปทองค�ำองค์หนึ่งสูงประมาณ ๔ นิ้ว กรม การเมืองจึงได้เชิญมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ๗๓ (ภาพที่ ๗) ทรงเชิญไปประดิษฐานยังหอเสถียรธรรมปริตรคู่กับพระกริ่งทองค�ำ องค์น้อย แต่ปรากฏว่าในพุทธศักราช ๒๔๐๓ ได้มีผู้ร้ายลักพระกริ่งไปแทนที่ จะลักพระพุทธรูปทองค�ำซึง่ เป็นของใหญ่กว่า ทรงพระราชด�ำริวา่ เป็นการบังเอิญ แคล้วคลาด เช่นเดียวกับผูข้ ดุ ได้กม็ แี ก่ใจน�ำมาถวายไม่เอาไปเป็นของตัวแต่แรก นับเป็นอัศจรรย์ จึงถวายพระนามพระพุทธรูปทองค�ำองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” (ดูภาพที่ ๖) แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปประทับสมาธิ เพชร ปางสมาธิ ให้ต้องตามพุทธลักษณะด้วยทองค�ำเพื่อครอบพระนิรันตราย องค์เดิมอีกชั้น และอีกองค์ทำ� ด้วยเงินบริสุทธิ์ให้เป็นคู่กัน (ภาพที่ ๘) เรียกว่า “พระนิรนั ตราย” ทุกองค์๗๔ ภายในพระนิรนั ตรายเงินยังประดิษฐานพระพุทธรูป ลังกาสลักจากงาช้างด้วย (ภาพที่ ๙)


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

40

(ซ้าย) ภาพที่ ๖ พระนิรันตรายทอง ปั้นหล่อโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ทองค�ำบริสุทธิ์ สูงเฉพาะองค์ ๒๐.๕ เซนติเมตร หอพระสุราลัยพิมาน หมู่พระ มหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก พิริยะ ไกรฤกษ์) (ขวา) ภาพที่ ๗ พระนิรันตราย (องค์เก่า) บรรจุในครอบพระนิรันตรายทอง ได้จากดง พระศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ทองค�ำ สูงเฉพาะองค์ ๘.๙ เซนติเมตร หอพระ สุราลัยพิมาน หมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก พิริยะ ไกรฤกษ์)

พระนิรันตรายทองค�ำและเงินที่ทรงสร้างขึ้นใหม่นี้นับเป็นที่สุดของการ ปรับปรุงพุทธลักษณะของพระพุทธรูปแบบธรรมยุตในระหว่างทีพ่ ระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระชนมชีพ กล่าวคือ นอกจากท�ำปลายพระกรรณ ให้สั้นลงเหมือนคนปกติแล้ว ช่างที่ปั้นหล่อพระนิรันตราย คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการยังทรงพระปรีชาสามารถในการปั้นจีวรให้มีความ ยับย่นดูสมจริงตามแบบศิลปะตะวันตก มากกว่าที่ขุนอินทรพินิจเคยท�ำไว้ที่ พระสัมพุทธพรรณี ความสมจริงทีเ่ กิดขึน้ นีเ้ นือ่ งมาจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าประดิษฐวรการทรงเข้าพระทัยในการถ่ายทอดความสมจริงของศิลปะตะวัน ตก ด้วยการลวงสายตาของผูช้ มให้เห็นว่าจีวรของพระนิรนั ตรายดูยบั ย่นสมจริง เพราะต้องปั้นให้จวี รดูยบั ย่นมากกว่าความเป็นจริง สายตาของผู้ชมจึงจะเห็นว่า


พิชญา สุ่มจินดา

41

(ซ้าย) ภาพที่ ๘ พระนิรันตรายเงิน ปั้นหล่อโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ เงินบริสุทธิ์ สูงเฉพาะองค์ ๒๐.๕ เซนติเมตร หอพระสุราลัยพิมาน หมู่พระมหา มณเฑียร พระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก พิริยะ ไกรฤกษ์) (ขวา) ภาพที่ ๙ พระพุทธรูปลังกา บรรจุในครอบพระนิรันตรายเงิน ประมาณปลายพุทธ ศตวรรษที่ ๒๔-ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ งาช้าง สูง ๑๑.๕ เซนติเมตร หอพระสุราลัยพิมาน หมู่ พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก พิริยะ ไกรฤกษ์)

เหมือนจริงได้ เนื่องจากจีวรจริงๆ ตามธรรมดาแล้วคงไม่สามารถยับย่นได้ ขนาดนัน้ ในขณะทีข่ นุ อินทรพินจิ ผูป้ น้ั พระสัมพุทธพรรณีซงึ่ อาจเข้าใจวิธคี ดิ แบบ นี้ยังไม่ดีพอจึงปั้นจีวรของพระสัมพุทธพรรณีตามความเป็นจริง (ดูภาพที่ ๒) ผลก็คอื เมือ่ น�ำพระสัมพุทธพรรณมาเปรียบเทียบกับพระนิรนั ตราย (ดูภาพที่ ๖) แล้ว ผู้ชมจะเห็นว่าจีวรของพระสัมพุทธพรรณีดูสมจริงน้อยกว่าพระนิรันตราย อย่างไรก็ดี การท�ำจีวรให้ดูสมจริงตามแบบศิลปะตะวันตกอย่าง เข้าใจในวิธีลวงสายตาผู้ชมนี้ไม่ได้หมายความว่าอิทธิพลของสัจนิยม สมจริงแบบตะวันตกได้เข้ามาครอบง�ำแนวคิดของธรรมยุตทั้งหมดก็ หาไม่ ในที่นี้มีความเห็นว่าตะวันตกเป็นเพียงการปรุงแต่งเปลือกนอก ตามรสนิยมร่วมสมัยให้กับธรรมยุตเท่านั้น โดยยังไม่อาจก้าวล่วงเข้าไป


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

42

จัดการเปลี่ยนแปลงหรือลบล้างความเชื่อดั้งเดิมเรื่องมหาปุริสลักขณะ คือ พระ วรกายของพระพุทธรูป อันเป็นสิ่งที่มีแบบแผนตามพระไตรปิฎกซึ่งยังคงด�ำรง ความจริงอย่างสูงสุด ยกเว้นเรื่องของจีวรไม่ได้เป็นสิ่งที่ระบุไว้ในพระอรรถกถา บาลีจึงสามารถท�ำได้โดยอิสระ อีกตัวอย่างหนึง่ ทีแ่ สดงให้เห็นว่า อิทธิพลของตะวันตกยังไม่ลงไปจัดการ เปลี่ยนแปลงทางด้านพุทธสรีระก็คือ จิตรกรรมภาพพุทธประวัติของคณะ สงฆ์ธรรมยุต ถึงแม้ว่าผู้วาดจะใช้เทคนิคการใช้ฝีแปรงของตะวันตกในการ วาดต้นไม้เพื่อให้ดูสมจริงมีมิติของแสงและเงา หรือแม้แต่วาดภาพในกรอบซึ่ง จบลงในตอนเดียวอันเป็นโลกทรรศน์ของจิตรกรรมตะวันตก ดังเห็นได้จาก พระบฏภาพพุทธประวัติ แต่ภาพบุคคล คือ พระพุทธองค์ เทวดา และสาวก ยังคงเขียนตามแนวจารีตของไทย (ภาพที่ ๑๐) โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์ ก็เปลี่ยนไปเพียงการละเว้นไม่วาดพระอุษณีษะตามแบบธรรมยุต หากแต่พระ

(ซ้าย) ภาพที่ ๑๐ พระบฏภาพพุทธประวัติ ประมาณรัชกาลที่ ๔ สีฝุ่นและปิดทองบนผืนผ้า สมบัติส่วนบุคคล (ขวา) ภาพที่ ๑๑ รายละเอียดภาพพระพุทธองค์ในพระบฏภาพพุทธประวัติ


พิชญา สุ่มจินดา

43

วรกายก็ยังคงปิดทองเพื่อแสดงคุณลักษณะอันพิเศษของพระพุทธองค์อยู่ เช่นเดิม (ภาพที่ ๑๑) ดังนัน้ อิทธิพลของตะวันตกบนจิตรกรรมของธรรมยุต จึงอาจเป็นเพียงเทคนิคและวิธีการที่น�ำมาใช้เพื่อช่วยในการมองโลกอีก แบบหนึ่งเท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าในทรรศนะของพระวชิรญาณ มหาปุริสลักขณะยังเป็น ส่วนหนึ่งของความรู้ “ทางธรรม” หรือ “โลกุตระ” ตามพระไตรปิฎก ในขณะที่ ความสมจริงของจีวรแม้จะเป็นความรู้แบบใหม่อันเหนือกว่าการท�ำจีวรแบบที่ดู ไม่สมจริงตามธรรมชาติ แต่กเ็ ป็นเพียงความรู้ “ทางโลกย์” หรือ “โลกียะ” เท่านัน้ ชนชัน้ น�ำสยามในขณะนัน้ ถึงแม้จะยอมรับความก้าวหน้าทางโลกย์ของตะวันตก ว่าเหนือกว่าของตนก็ตาม แต่ก็ยังคงเห็นว่าความรู้ทางพุทธศาสนาอันความรู้ ทางโลกุตระเป็นสิ่งที่เหนือกว่าอยู่เสมอ๗๕ ด้วยเหตุนี้ ตราบใดที่สาระส�ำคัญ คือ พระวรกายของพระพุทธรูปยังมีบงั คับให้ตอ้ งท�ำตามพระอรรถกถาบาลีอย่าง แข็งขัน ตราบนั้นอิทธิพลตะวันตกหรือแม้แต่ความเป็นมนุษยนิยมก็ยังไม่อาจ ก้าวล่วงเข้าไปเปลีย่ นแปลงโลกทรรศน์ทมี่ ตี อ่ การสร้างพระพุทธรูปตามจารีตเดิม ได้เลยนอกจากเปลือกนอก คือ จีวรเท่านั้น ดังนัน ้ โลกทรรศน์แบบตะวันตกหรือมนุษยนิยมจึงอาจจะยังไม่มี อิทธิพลเพียงพอต่อความเปลีย่ นแปลงด้านพุทธสรีระของพระพุทธรูปใน ธรรมยุตได้ ตราบใดที่โลกทรรศน์ของการสร้างพระพุทธรูปตามคัมภีร์ ยังไม่ถูกลบล้างไป

พระพุทธรูปแบบธรรมยุต กับพระพุทธรูปลังกา ที่น่าสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับพระนิรันตรายเงิน (ดูภาพที่ ๘) อันอาจ สะท้อนถึงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างพระพุทธรูปของธรรมยุตกับพระพุทธรูป ของลังกาก็คือ ภายในครอบพระนิรันตรายเงินได้บรรจุพระพุทธรูปลังกาสลัก จากงาช้างไว้ (ดูภาพที่ ๙) แม้ไม่ทราบที่มาของพระพุทธรูปองค์นี้แต่ก็อาจ สันนิษฐานได้วา่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั น่าจะทรงได้รบั การถวาย เป็นสมณบรรณาการจากทางลังกาเมื่อครั้งทรงพระผนวช ที่น่าสนใจก็คือการ ที่พระองค์ทรงเลือกที่จะบรรจุพระพุทธรูปลังกาไว้ในครอบพระนิรันตรายเงิน แทนที่จะเป็นพระพุทธรูปองค์อื่นๆ น่าจะแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปลังกาสลัก


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

44

ภาพที่ ๑๒ พระพุทธรูปลังกา ประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ ปูนปั้นระบายสี วั ด ถ�้ ำ ดั ม บุ ล ละ ใกล้ กั บ เมื อ งแคนดี้ ประเทศศรีลังกา

จากงาช้างองค์นี้คงมีความส�ำคัญต่อพระองค์เทียบได้กับพระนิรันตรายทองค�ำ องค์เดิมจากดงพระศรีมหาโพธิ อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าการสร้างพระพุทธรูปให้ปราศจากพระอุษณีษะ ยังเป็นลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในพระพุทธรูปของธรรมยุตและพระพุทธรูป ของลังกาเท่านั้น ดังตัวอย่างจากพระพุทธรูปลังกาสลักจากงาช้างในครอบพระ นิรันตรายเงิน (ดูภาพที่ ๙) นอกจากนี้หากพิจารณาพุทธลักษณะของพระพุทธ ปริตรโดยเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปของลังกาที่วัดถ�ำ้ ดัมบุลละ ศิลปะลังกา สมัยหลังประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๕ แล้ว (ภาพที่ ๑๒) ก็จะเห็นว่านอกจาก จะไม่มีพระอุษณีษะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปของลังกาแล้ว การลงสีพระเกศา พระโอษฐ์ และพระวรกายยังใกล้เคียงกันอีกด้วย ผู ้ เ ขี ย นสั น นิ ษ ฐานว่ า การละเว้ น ไม่ ท� ำ พระอุ ษ ณี ษ ะของพระพุ ท ธรู ป ธรรมยุตซึง่ มีพระสัมพุทธพรรณีเป็นองค์แรก น่าจะเริม่ มาจากการทีพ่ ระวชิรญาณ ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปของลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูปลังกาที่


พิชญา สุ่มจินดา

45

ภาพที่ ๑๓ พระพุทธรูปลังกา ประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ประมาณ ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ สัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง สูง ๑๑.๒ เซนติเมตร หอ พระสุราลัยพิมาน หมูพ่ ระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง (ภาพจาก ม.ร.ว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. พระพุทธปฏิมาใน พระบรมมหาราชวัง, น. ๕๖๖)

พระสงฆ์ลงั กาน่าจะถวายเป็นสมณบรรณาการ นับตัง้ แต่รชั กาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นต้นมา เช่น พระพุทธรูปลังกาในหอพระสุราลัย พิมาน หมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง (ภาพที่ ๑๓) ด้วยทรงพระ ด�ำริและทรงยึดถือเป็นหลักตั้งแต่แรกสถาปนานิกายใหม่ของพระองค์แล้วว่า สมณวงศ์ของลังกาเป็นต้นวงศ์ของนิกายเถรวาททั้งปวง และมีหลักปฏิบัติอัน บริสุทธิ์กว่าสมณวงศ์อื่นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ปรารภเหตุดังกล่าวจึงได้ทรงสร้าง พระพุทธรูปองค์แรกของธรรมยุต คือ พระสัมพุทธพรรณี ไม่ให้มีพระอุษณีษะ เช่นเดียวกับพระพุทธรูปของลังกาขึ้นบ้าง ภายหลังเมื่อความเคร่งครัดในพระ อรรถกถาบาลีได้กลายเป็นหัวใจหลักของธรรมยุตแล้ว พระองค์และสานุศิษย์ จึงได้ทรงตรวจสอบพุทธลักษณะอืน่ ๆ เช่น การละเว้นไม่ทำ� ปลายพระกรรณของ พระพุทธรูปให้ยืดยาวเพราะไม่ตรงกับพระบาลี ดังเห็นได้จากพุทธลักษณะที่ เปลี่ยนไปของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นภายหลังการสร้างพระสัมพุทธพรรณีตามที่ ได้กล่าวมาแล้ว


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

46

ปรารภเหตุดังกล่าว พระพุทธรูปลังกาสลักจากงาช้างในครอบพระนิรัน ตรายเงิน (ดูภาพที่ ๘) จึงน่าจะมีความส�ำคัญเกี่ยวเนื่องกับธรรมยุตในฐานะ ที่เป็นต้นแบบให้กับพระพุทธรูปของคณะสงฆ์ธรรมยุตก็เป็นได้ ข้อค้นพบที่ว่า นี้ท�ำให้เห็นประจักษ์ว่า นอกเหนือไปจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรจะแสดง ให้เห็นถึงความสนพระทัยในสมณวงศ์ของลังกาแล้ว พระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ภายใต้อิทธิพลของธรรมยุตอันเป็นงานพุทธศิลป์ที่สามารถปรากฏเด่นชัด เป็นวัตถุธรรมก็ยงั สะท้อนถึงพระด�ำริในการด�ำเนินตามแบบอย่างคณะสงฆ์ลงั กา ของพระวชิรญาณได้เช่นกัน

การฟื้นฟูเจดีย์ทรงลังกาของพระวชิรญาณ และคณะสงฆ์ธรรมยุต ปูชนียวัตถุทพี่ ระวชิรญาณมหาเถระทรงสถาปนาขึน้ หลังจากทรงสถาปนา คณะสงฆ์ธรรมยุตได้ปีเศษ นอกจากจะมีพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปที่ทรง

ภาพที่ ๑๔ เจดี ย ์ ป ระธานวั ด บวรนิเวศวิหาร ประมาณปลายพุทธ ศตวรรษที่ ๒๔ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร


พิชญา สุ่มจินดา

47

ภาพที่ ๑๕ พระสุทธเสลเจดีย์ สร้างโดยพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นราชสีหวิกรมและ ช่างศิลาจีน พ.ศ. ๒๔๐๔ วัดพระแก้วน้อย พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี

สร้างขึน้ เพือ่ แสดงลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปแบบธรรมยุตดังทีก่ ล่าวมาแล้ว ยังได้ทรงสร้างเจดีย์ขึ้นให้มีแบบเฉพาะเป็นอัตลักษณ์ของคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ทรงสถาปนาขึ้นอีกองค์หนึ่ง และกลายเป็นแบบอย่างของการสร้างเจดีย์ของ ธรรมยุตในเวลาต่อมาด้วย อันได้แก่ “เจดีย์ทรงลังกา” ปรากฏทั่วไปในวัด ธรรมยุตทั้งที่พระวชิรญาณทรงสร้างหรือวัดที่สร้างขึ้นโดยเจ้านายและขุนนาง เมื่อทรงครองราชสมบัติแล้ว๗๖ นักวิชาการก�ำหนดให้เป็นตัวอย่างของศิลปะ แบบพระราชนิยมอย่างหนึ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวอย่างเช่น พระเจดีย์ประธานวัดบวรนิเวศวิหาร (ภาพที่ ๑๔) พระสุทธ เสลเจดีย์ที่วัดพระแก้วน้อย พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี (ภาพที่ ๑๕) หรือ ปาสาณเจดี ย ์ ซึ่ ง เป็ น เจดี ย ์ ป ระธานของวั ด ราชประดิ ษ ฐสถิ ต มหาสี ม าราม (ภาพที่ ๑๖) เป็นต้น ลักษณะของเจดีย์ทรงลังกาแท้ประกอบด้วย ฐานบัว กลมรองรับชั้นมาลัยเถาหรือบางครั้งก็เป็นบัวถลาเรียงซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้น รองรับองค์ระฆังทรงฟองน�้ำ (ต่อมาไทยได้ปรับปรุงให้เป็นทรงโอคว�่ำหรือเพรียว ขึ้นอย่างทรงลอมฟาง) บัลลังก์สี่เหลี่ยมไม่เพิ่มมุมรองรับปล้องไฉนและปลียอด


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

48

ภาพที่ ๑๖ ปาสาณเจดีย์ พ.ศ. ๒๔๑๐ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร


พิชญา สุ่มจินดา

49

ภาพที่ ๑๗ พระสถูปถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา

เช่น สถูปถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา (ภาพที่ ๑๗) อย่างไรก็ดี ถึงแม้คณะสงฆ์ธรรมยุตจะได้ปรับทรวดทรงองค์ระฆังของเจดีย์ให้มีความสูง ชะลูดมากกว่าเจดีย์ทรงลังกาแท้ๆ และเพิ่มเสาหานที่ก้านฉัตร อันเป็นลักษณะ เฉพาะของเจดียท์ สี่ ร้างขึน้ ในประเทศไทยตัง้ แต่สมัยอยุธยา ซึง่ ไม่มใี นเจดียข์ อง ลังกาแต่ก็ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบอันแสดงให้เห็นว่าเป็นเจดีย์ทรงลังกาอยู่นั่นเอง ในสมัยแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์จนถึงก่อนหน้าที่พระวชิรญาณจะ ทรงสร้างเจดีย์ทรงลังกาที่เป็นเอกลักษณ์ของธรรมยุต เจดีย์ที่สร้างขึ้นในช่วง ระยะเวลาดังกล่าวมักเป็นเจดีย์เพิ่มมุม (ย่อมุม) เช่น พระมหาเจดีย์ประจ�ำ รัชกาลที่ ๑-๓ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ท�ำให้การสร้างเจดีย์ทรงลังกา ของธรรมยุตซึ่งปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการอธิบายว่า เป็นเจดียแ์ บบพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โดยทรง รื้อฟื้นรูปแบบของเจดีย์โบราณซึ่งเคยสร้างกันมาก่อนหน้านั้น เช่นที่อยุธยาและ สุโขทัยขึน้ ใหม่ หรือมิฉะนัน้ ก็มกี ารอธิบายให้เป็นคติเรือ่ งการสร้างเจดียใ์ ห้ถกู ต้อง ตรงตามพระบาลี๗๗ เช่น คัมภีร์มหาวงส์ ที่พระมหานามเถระชาวลังกาประพันธ์ ขึ้นเป็นภาษาบาลีประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ และพระยาธรรมปโรหิต


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

50

(ซ้าย) ภาพที่ ๑๘ พระเจดียล์ งั กาจ�ำลองจากประเทศศรีลงั กา โลหะกะไหล่ทอง ได้จากพระทีน่ งั่ จักรพรรดิพมิ าน หมูพ่ ระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ปัจจุบนั จัดแสดงในพิพธิ ภัณฑสถานแห่ง ชาติ พระนคร (ขวา) ภาพที่ ๑๙ พระเจดีย์ลังกาจ�ำลองจากประเทศศรีลังกา โลหะกะไหล่ทอง ประดิษฐาน ในคูหาพระเจดีย์ประธานวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร

แปลเรียบเรียงเป็นภาษาไทยเมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๙ ตรงกับรัชกาลพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กล่าวถึงพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะกษัตริย์ ลังกามีรับสั่งถามพระมหามหินทเถระ พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้น�ำพุทธศาสนาจากชมพูทวีปมาเผยแผ่ยังลังกา ถึงรูปทรงสัณฐานของมหา สถูปถูปารามที่จะทรงสร้างขึ้นว่า “เมื่อบรมกษัตริย์ได้พูนที่อันจะก่อพระสถูปส�ำเร็จแล้ว จึงตรัสถาม มหาเถระว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สันฐานพระสถูปนั้นควรที่โยมจะพึงกระท�ำ อย่างไร จะกระท�ำให้เหมือนด้วยสิง่ อันใดดี...พระมหาเถระถวายพระพรว่า ดูกร บรมบพิตรผู้ประเสริฐ สันฐานแห่งกองข้าวเปลือกนั้นฉันใด พระองค์จงให้ก่อ พระสถูปให้มีสัณฐานดังนั้น บรมกษัตริย์รับค�ำแห่งพระมหาเถระเจ้าว่าสาธุแล้ว ก็กระท�ำตามอธิบายแห่งพระผู้เป็นเจ้า” ๗๘


พิชญา สุ่มจินดา

51

(ซ้าย) ภาพที่ ๒๐ พระเจดีย์ทรงลังกาจ�ำลอง พ.ศ. ๒๓๘๗ สัมฤทธิ์กะไหล่ทอง ประดิษฐาน ในคูหาพระเจดีย์ประธานวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร (ขวา) ภาพที่ ๒๑ พระปฐมเจดีย์องค์เดิม (จ�ำลอง) ประมาณรัชกาลที่ ๔ ประดิษฐานด้าน ทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

มีความเป็นไปได้ว่าพระวชิรญาณทรงได้รบั แบบอย่างของเจดีย์ทรงลังกา จากเจดียจ์ ำ� ลองทีท่ างลังกามอบให้เป็นเครือ่ งราชบรรณาการและสมณบรรณาการ แก่สยาม ครั้งส่งคณะสมณทูตไปยังลังกาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย๗๙ เช่น เจดียท ์ รงลังกาจ�ำลองจากพระทีน ่ งั่ จักรพรรดิพมิ าน ในพระบรมมหาราชวัง (ภาพที่ ๑๘) หรือเจดีย์ทรงลังกาจ�ำลองในคูหา พระเจดียป ์ ระธานวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร (ภาพที่ ๑๙) พระอาราม ที่พระวชิรญาณทรงจัดให้เป็นที่จ�ำพรรษาของคณะสงฆ์ธรรมยุตคู่กับวัดบวร นิเวศวิหาร หมายรับสัง่ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ฉบับหนึง่ เมือ่ พุทธศักราช ๒๓๘๗ ระบุวา่ กรมหมืน่ ณรงค์หริรกั ษ์มรี บั สัง่ ให้ชา่ งหล่อเจดียล์ งั กา ขึ้นองค์หนึ่งส�ำหรับประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

52

กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงสันนิษฐานว่าน่าจะได้แก่ เจดีย์จ�ำลองท�ำจาก สัมฤทธิ์กะไหล่ทอง (ภาพที่ ๒๐) ปัจจุบันประดิษฐานภายในคูหาของพระเจดีย์ ประธานวัดบวรนิเวศวิหาร๘๐ เจดียอ์ งค์นตี้ รงกับลักษณะของเจดียท ์ รงลังกา ทุกประการ คือ ประกอบด้วยฐานเขียงทรงกลม ๒ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัว รองรับชั้นมาลัยเถา ๓ ชั้น ต่อจากชั้นมาลัยเถาไปเป็นทรงระฆังคว�่ำป้อมเตี้ย บัลลังก์สี่เหลี่ยมไม่เพิ่มมุมรองรับก้านฉัตรของเจดีย์โดยไม่มีเสาหาน ถัดขึ้นไป เป็นปล้องไฉนต่อด้วยปลียอด จากทรวดทรงขององค์ระฆังของเจดีย์ที่ยังไม่สูง ชะลูดและไม่มีเสาหานเหมือนกับเจดีย์ที่สร้างขึ้นในภายหลัง เป็นที่น่าสังเกตว่าเจดีย์สัมฤทธิ์กะไหล่ทององค์นี้สร้างขึ้น ๑ ปีหลังจาก พระสงฆ์ไทยชุดแรกที่ไปลังกาเดินทางกลับมาในพุทธศักราช ๒๔๘๖ คณะ สมณทูตที่ไปลังกาครั้งนี้คงน�ำเจดีย์จ�ำลองหรือน�ำรูปทรงของเจดีย์ทรงลังกา ที่ได้พบเห็นได้ทั่วไปในลังกาทวีปกราบทูลถวายพระวชิรญาณ จึงน่าจะท�ำให้ พระองค์น�ำมาปรับปรุงทรงสร้างเจดีย์สัมฤทธิ์กะไหล่ทองเลียนแบบเจดีย์ลังกา ขึน้ ดังทีส่ มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงพระนิพนธ์ ถึงพระปฐมเจดีย์องค์เดิม (จ�ำลอง) (ภาพที่ ๒๑) กล่าวคือ “พระเจดีย์บูราณเช่นพระปฐมเจดีย์นี้ มีอยู่ในลังกาประเทศอีกองค์หนึ่ง พวกเองคฤศห์ (อังกฤษ-ผู้เขียน) เห็นประหลาดจึ่งได้ชักรูปตีพิมพ์ไว้ องค์นั้น ยอดยังดีอยู่เป็นแต่บิ่นแตกไปบ้าง มีองค์เดียวเท่านั้นแปลกกว่าพระเจดีย์ใน ลังกา เมื่อทูตไทยออกไปได้เข้ามาถวายในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าสยาม ลวดลายเหมือนกันเห็นเข้าก็รู้จักทีเดียว” ๘๑ ข้อความข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า เจดีย์ทรงลังกาน่าจะเป็นที่รู้จักกันใน หมู่พระภิกษุของธรรมยุตก่อนหน้าที่จะมีการส่งสมณทูตไปแล้ว เพราะเห็นได้ ว่าพระสมณทูตเหล่านี้สามารถเทียบเคียงลักษณะของเจดีย์ทรงลังกาที่มีองค์ ระฆังเป็นรูปโอคว�่ำ กับรูปทรงของพระปฐมเจดีย์องค์เดิมที่คงเหลือเพียงแต่ ทรงระฆังรูปโอคว�่ำเช่นกันได้ เหตุนี้พระด�ำริในการสร้างเจดีย์ทรงลังกาของ พระวชิรญาณจึงน่าจะเกิดขึน้ ก่อนหน้าทีส่ มณทูตจะได้เดินทางไปยังลังกาและน�ำ ข้อมูลเกี่ยวกับเจดีย์ของลังกามาเผยแพร่ อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชปรารภถึง ลักษณะของพระปฐมเจดียอ์ งค์เดิมทีไ่ ด้เสด็จฯ ไปทรงนมัสการและทอดพระเนตร ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นพระภิกษุเมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๔ และต่อมาอีกหลายครั้งว่า “ชะรอยว่าเมื่อยอดพระมหาสถูปท�ำลายกระจายพังยับเยินไปแล้ว ผู้สัทธาส�ำรับ


พิชญา สุ่มจินดา

53

ใหม่ไม่รู้จักพระสถูปเจดีย์ของโบราณแรกตั้งพระพุทธศาสนา ว่ามีบังคับให้ท�ำ เป็นจอมเหมือนลอมข้าวแลกองข้าวเปลือก นับถือไปแต่ขา้ งของประดิษประดอย อุตตริอุตตรอยต่างๆ อย่างพระปรางค์แลพระเจดีย์ใหม่ๆ ชั้นหลังๆ ลงมา” ๘๒ ด้วยความเก่าแก่ของลวดลายและมีรปู แบบทีไ่ ม่เหมือนกับสถูปทีส่ ร้างกัน ในยุคสมัยของพระองค์ จึงท�ำให้ทรงเลื่อมใสว่า พระปฐมเจดีย์เป็นสถูปเก่าแก่ ทีส่ ดุ ในสยาม๘๓ “เป็นองค์พระมหาสถูปเจดียข์ องโบราณแรกตัง้ พระพุทธศาสนา เหมือนเป็นอย่างเดียวกับพระสถูปารามเจดียใ์ นกรุงอนุราธบุรใี นเกาะสิงหลทวีป” ได้ทรงตั้งพระปณิธานว่า เมื่อทรงครองราชสมบัติแล้วจะทรงบูรณะพระปฐม เจดีย์ขึ้นใหม่ให้ “พระสถูปเจดีย์เดิมจะได้คืนประดิษฐานตามรูปเดิม” ๘๔ การทีท่ รงเชือ่ ว่าพระปฐมเจดียอ์ งค์เดิมเป็นพระเจดียร์ นุ่ แรกตัง้ พุทธศาสนา ทั้งในอินเดียและลังกา องค์ระฆังมีลักษณะดังที่ทรงอ้างอิงข้อความจากคัมภีร์ มหาวงส์ ว่ามีรปู ทรงเหมือน “ลอมข้าวแลกองข้าวเปลือก” เป็น “รูปพระสถูปเดิม เหมือนอย่างของแต่แรกตัง้ พระพุทธศาสนาในลังกาทวีปและทีอ่ นื่ ๆ ไม่เป็นฝีมอื ไทยสามัญชั้นหลังๆ เลย” ๘๕ พระราชวินิจฉัยเช่นนี้จึงน�ำไปสู่ข้อสรุปที่ทรงแสดง ให้เห็นว่า พระปฐมเจดีย์องค์เดิมมีรูปลักษณ์เดียวกับสถูปเจดีย์ครั้งเมื่อแรก ตั้งพุทธศาสนาที่ลังกา ส่วนสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นในภายหลังรูปทรงต่างๆ เช่น ปรางค์หรือสถูปแบบอื่นๆ เป็นสถูปที่สร้างขึ้นด้วยความ “อุตตริอุตตรอยต่างๆ” ด้วยเหตุนี้ รูปแบบของสถูปเจดีย์ที่ถูกต้องตามแบบอย่างของสถูปแรก สร้างเมือ่ แรกตัง้ พุทธศาสนาในทรรศนะของพระองค์จงึ ได้แก่สถูปเจดียท์ รง “ลอม ข้าวแลกองข้าวเปลือก” เช่น ภาพพระสงฆ์นมัสการเจดียท์ รงลอมฟางในจิตรกรรม บนผนังพระอุโบสถวัดโสมนัสวิหาร (ภาพที่ ๒๒) ดังนั้น ทรวดทรงของเจดีย์ ใกล้เคียงที่สุดกับค�ำว่าทรงลอมฟางมากก็คงหนีไม่พ้นเจดีย์ทรงลังกานั่นเอง ในคัมภีรม์ หาวงส์ ซึง่ ช�ำระใหม่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกได้กล่าวถึงปูชนียสถานส�ำคัญ ๑๖ แห่งในลังกาทวีปซึ่งรวมถึงสถูป “ถูปาราม” ความส�ำคัญของถูปารามก็คือเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ประทับ นิโรธสมาบัติเมื่อครั้งเสด็จไปโปรดพญานาคมณิอักขิกะที่ลังกา และท้ายที่สุด ได้กลายเป็นสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องขวา ตามที่ พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไว้๘๖ ต�ำนานศาสนาเล่มนีน้ า่ จะทรงอิทธิพลต่อการรับ รู้เรื่องประวัติพระพุทธศาสนาและปูชนียสถานในลังกาทวีปของพระวชิรญาณ ไม่น้อย เพราะปูชนียสถานเหล่านี้ต่างก็ได้รับการระบุว่ามีความเก่าแก่มาแต่ครั้ง เมื่อแรกตั้งพุทธศาสนา จึงน่าจะเป็นหลักฐานที่ทำ� ให้ทรงเชื่อว่าเจดีย์ทรงลังกา


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

54

ภาพที่ ๒๒ จิตรกรรมภาพพระ สงฆ์ น มั ส การพระเจดี ย ์ ท รงลอมฟาง รัชกาลที่ ๔ พระอุโบสถวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร

เป็นรูปแบบของสถูปเจดีย์ซึ่งมีมาแล้วแต่แรกตั้งพุทธศาสนาในลังกาทวีป ซึ่ง สืบทอดมาจากการเผยแผ่พุทธศาสนามายังลังกาครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช อีกทอดหนึง่ ดังเห็นได้จากการถวายนามให้กบั เจดียป์ ระธานของวัดราชประดิษฐ สถิตมหาสีมารามว่า “ปาสาณเจดีย์” อันมีความหมายว่าเจดีย์ศิลา และทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หุ้มหินอ่อนทั้งองค์ให้ตรงกับความหมายนั้น นาม ของปาสาณเจดีย์ตรงกับนามของเจดีย์ศิลาที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้าง ขึ้นเหนือห้องที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูและพระมหา กัสสปะทรงสร้างขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพาน ดังปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร จึงท�ำให้ทรงน�ำแบบอย่างของเจดีย์ทรงลังกามาเป็นรูปแบบของเจดีย์ที่สร้างขึ้น ภายใต้คณะสงฆ์ของพระองค์หรือภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ เพราะทรงเชื่อว่า เป็นรูปแบบของสถูปเจดีย์ที่สืบต่อกันมาเมื่อแรกตั้งพุทธศาสนาของพระเจ้า อโศกมหาราชผู้เป็นธรรมิกราชนั่นเอง ดังนั้น เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระปฐมเจดีย์องค์ใหม่เป็นเจดีย์ทรงลังกา (ภาพที่ ๒๓) ก็ย่อม หมายถึงการ “คืนรูป” เดิมของสถูปเจดีย์รุ่นแรกนับแต่ตั้งพุทธศาสนาทั้งใน


พิชญา สุ่มจินดา

55

ภาพที่ ๒๓ พระปฐมเจดีย์ รัชกาล ที่ ๔ วัดพระปฐมเจดีย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ลังกาทวีปและในชมพูทวีปให้กับพระปฐมเจดีย์ด้วย เจดีย์อีกองค์หนึ่งที่น่าสนใจและแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกับสถูป ทรงลังกาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ก็คอื พระสุทธเสลเจดียท์ วี่ ดั พระแก้วน้อย พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี (ดูภาพที่ ๑๕) สร้างแล้วเสร็จ เมือ่ พุทธศักราช ๒๔๐๔ เป็นเจดียศ์ ลิ าขนาดเล็กซึง่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นราชสีห วิกรมทรงร่างแบบให้ชา่ งจีนไปท�ำทีเ่ กาะสีชงั แล้วน�ำมาประกอบเป็นเจดียป์ ระธาน ของวัดพระแก้วน้อยที่พระนครคีรี แบบร่างของเจดีย์องค์นี้ได้รับการระบุไว้ใน ร่างประกาศเทวดาวันสวดมนต์ในการบรรจุพระบรมธาตุไว้ในสถูปองค์ดงั กล่าว ว่า “ร่างรูปพระเจดียส์ ลิ าตามอย่างพระเจดียของโบราณทีม่ ใี นสิหทวีป”๘๗ อย่างไร ก็ดี ในฉบับร่างประกาศเทวดาดังกล่าวพบการแก้ไขโดยวงกลมค�ำว่า “สิหทวีป” ออกแล้วแทนทีด่ ้วย “สยามราฐชนบทฝ่ายเหนือแลกรุงเทพทวารวดีศรีอยุทธยา


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

56

ภาพที่ ๒๔ พระสมุทรเจดีย์ รัชกาลที่ ๔ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ให้เป็นเจดีย์ทรงลังกา วัดพระสมุทรเจดีย์ อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ราชธานีโบราณแลอืน่ ๆ” ข้อความทีไ่ ด้รบั การแก้ไขแล้วนีจ้ ะปรากฏในอีกประกาศ ฉบับหนึง่ ซึง่ เป็นค�ำประกาศทีไ่ ด้รบั การแก้ไขจนเป็นประกาศทีเ่ รียบร้อยสมบูรณ์ แล้ว๘๘ ผูเ้ ขียนเห็นว่าการแก้ไขดังกล่าวคงเป็นการหลีกเลีย่ งข้อครหาว่าทรงสร้าง สถูปเจดียแ์ บบลังกาแทนทีจ่ ะเป็นเจดียแ์ บบสยามทีผ่ คู้ นรูจ้ กั มักคุน้ กัน๘๙ ดังเห็น ได้จากสมุดไทยด�ำเรื่องพระเจดี ๔ กล่าวถึงพระสมุทรเจดีย์ (ภาพที่ ๒๔) ว่า “พระสฐูปเจดียองค์นี้ ผู้ดูผู้เหนทั้งปวง อย่าว่าพระเจดิยลังกาก็ดี พระ เจดิยอย่างมอญก็ดี ซุ่มซามงมงายไป ที่แท้นั้นพระเจดียอย่างไทยโบราณดอก พระเจดิยกลมอย่างนี้ที่กรุงศรีอยุทธยาเก่าแลเมืองพระพิษณุโลกย์ เมืองโอฆ บุรี เมืองศรีสชั นาไลยสวรรคโลกย แลเมืองสุโฃทัยเมืองก�ำแพงเพชร มีดนื่ ถมไป เมืองซึ่งออกชื่อมานั้น ก็เปนเมืองไทยโบราณไม่ใช่ฤๅ เปนเมืองลังกาเมืองพม่า เมืองมอญเมื่อไรเล่า คนที่ไปกรุงเก่ากันดูเอาหมิ่นๆ แต่ที่เหนง่ายได้ไกล้ๆ ตา พระเจดีย์วัดโปรดสัตจ พระเจดียวัดสวนหลวงพระเจดิย์วัดภูเฃาทองแล้วก็ถือ เอาว่านั้นเปนอย่างไทย” ๙๐


พิชญา สุ่มจินดา

57

ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าพระด�ำริแรกในการสร้างพระสุทธเสลเจดีย์ ตามแบบอย่างเจดีย์ของลังกาดูจะเป็นพระด�ำริที่แท้จริงในขณะที่ข้อความ ซึ่งกล่าวถึงการสร้างเจดีย์ตามแบบอย่างที่มีอยู่แล้วในสยาม เป็นเพียงข้ออ้างใน ภายหลังเท่านัน้ จึงเป็นทีช่ ดั เจนว่าเจดียท์ รงลังกาซึง่ สร้างขึน้ ในคณะสงฆ์ธรรมยุต มีตน้ แบบมาจากสถูปเจดียข์ องลังกาทีพ่ ระวชิรญาณทรงถือว่าเป็นสถูปทีม่ มี าแต่ แรกตัง้ พุทธศาสนาในลังกาทวีป จึงทรงเชือ่ ว่าเป็นเจดีย์ทมี่ รี ปู แบบทีถ่ กู ต้องกว่า เจดีย์แบบอืน่ อาจกล่าวได้ว่าเจดีย์ทรงลังกาทีส่ ร้างขึน้ ภายใต้คณะสงฆ์ธรรมยุต เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นความส�ำคัญของลังกาในฐานะต้นรากของสมณวงศ์ นิกายเถรวาททีพ่ ระวชิรญาณทรงน�ำพุทธศิลป์ของลังกามาใช้เป็นต้นแบบของการ สถาปนาคณะสงฆ์ของพระองค์ ให้มแี นวทางใกล้เคียงทีส่ ดุ กับสมณวงศ์ของลังกา เช่นเดียวกับพระพุทธรูปแบบธรรมยุตทีไ่ ด้รบั แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปลังกา นั่นเอง

บทสรุป ถึงแม้ว่าคณะสงฆ์ธรรมยุตที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง สถาปนาขึ้นเมื่อครั้งทรงพระผนวชในพระราชฉายาว่า พระวชิรญาณ จะไม่ได้ เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยขาดพัฒนาการและสัมพันธ์กับแนวโน้มทางความคิด ในทางศาสนาซึ่งมีตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นโดยตัดขาด จากความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหว่างสมณวงศ์นิกายเถรวาทจากภายนอก ไปด้วย หลักฐานทางประวัติศาสตร์นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ที่ธรรมยุตมีต่อคณะสงฆ์มอญและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคณะสงฆ์ลังกาแล้ว พระพุทธรูปและสถูปแบบธรรมยุตที่ทรงสร้างขึ้นแสดงอัตลักษณ์ของคณะสงฆ์ ธรรมยุตอย่างแท้จริง และสะท้อนให้เห็นถึงแนวพระด�ำริของพระองค์ที่ทรงให้ ความส�ำคัญกับลังกาในฐานะทีเ่ ป็นต้นรากของนิกายเถรวาท อันเป็นการสืบทอด จารีตทางพุทธศาสนาทีม่ มี าอย่างยาวนานในสังคมไทย แม้จะดูเหมือนการยึดถือ แนวทางของคณะสงฆ์ลงั กาจะเป็นแนวพระด�ำริทที่ รงรับมาจากภายนอกประเทศ ก็ตาม แต่แนวคิดของการช�ำระพระศาสนาตามแบบลังกาก็เป็นสิ่งที่อยู่ในจารีต อันยาวนานของพุทธศาสนานิกายเถรวาทในสังคมไทยอย่างช้านานก่อนหน้าที่ พระวชิรญาณจะทรงสถาปนาคณะธรรมยุตของพระองค์เสียอีก


ถอดรหัสพระจอมเกล้า

58

ดังนั้น สมณวงศ์ของลังกาจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่แปลกแยกจากโลกทรรศน์ สังคมไทย หากแต่มีบทบาทความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ในสยาม ประหนึ่งเป็นสมณวงศ์เดียวกันมาตลอดอย่างไม่ขาดสาย พระวชิรญาณเพียง แต่ทรงหยิบยกเอาจารีตของนิกายเถรวาทมาฟื้นฟูอีกครั้งในคณะสงฆ์ใหม่ของ พระองค์เท่านั้น พระพุทธรูปและเจดีย์ทรงลังกาของธรรมยุตยังแสดงถึงการผสมผสาน กันระหว่างคตินิยมทางพุทธศาสนาเข้ากับโลกทรรศน์แบบตะวันตก กล่าวคือ ในด้านหนึ่งก็เป็นการปรับปรุงพุทธลักษณะให้สอดคล้องกับพระพุทธรูปของ ลังกาเพือ่ ย้อนกลับไปหาต้นก�ำเนิดอันแท้จริงของสมณวงศ์เถรวาทและความถูก ต้องตามพระบาลี ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโลกทรรศน์ใหม่ให้กับกระแส ของตะวันตกที่ไหล่บ่าเข้ามาในช่วงระยะเวลานั้น ดังเห็นได้จากการท�ำจีวรให้มี ความยับย่นสมจริงตามแบบศิลปะตะวันตก การผสมผสานกันระหว่างจารีต ดั้งเดิมของพุทธศาสนาให้เข้ากับรสนิยมแบบตะวันตกจึงถือเป็นลักษณะเฉพาะ ของธรรมยุตที่ทรงสถาปนาขึ้น มิใช่ถูกครอบง�ำโดยตะวันตกทั้งในทางโลกและ ทางธรรมไปเสียทั้งหมด เพราะแก่นแท้ของการสถาปนาธรรมยุตของพระวชิร ญาณ คือ ความต้องการกลับไปสู่พระพุทธวจนะดั้งเดิมยังคงเกี่ยวข้องกับการ ด�ำเนินตามแบบอย่างของสมณวงศ์ของลังกา ซึ่งทรงเชื่อมั่นว่าถึงพร้อมไปด้วย ความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง บทความชิ้นนี้จึงเป็นการมองธรรมยุตจากภายใน โดยถอยกลับไปดู อดีต เพือ่ ส�ำรวจความสัมพันธ์กบั ภายนอกระหว่างคณะสงฆ์ในสมณวงศ์เถรวาท ด้วยกัน อันเป็นการสืบสานจารีตทางพุทธศาสนาที่มีมายาวนานอีกครั้งผ่าน พุทธศิลป์ของคณะสงฆ์ธรรมยุตที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง สถาปนา ปรับปรุงจากเรื่อง “ธรรมยุติกนิกาย : การศึกษาความสัมพันธ์กับสมณวงศ์ของลังกา ผ่านพุทธศิลป์.” พิมพ์ในวารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ ๓ (ตุลาคม-มีนาคม) หน้า ๑๖๑-๒๓๒ ผู้เขียนขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์อดิศร หมวกพิมาย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะคุณวารุณี โอสถารมย์ แห่งสถาบันไทย คดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ช่วยกรุณาตรวจแก้ไขรวมทั้งให้ค�ำแนะน�ำอันมีประโยชน์ และเห็นคุณค่าของบทความชิ้นนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ แห่งมูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์ เอื้อเฟื้อภาพประกอบ ส�ำหรับความรับผิดชอบในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.