นายทองมหาดเล็ก

Page 1


นายทองมหาดเล็ก


ปฐมบท


คงไม่ผิดไปจากความเป็นจริงนักหากจะกล่าวว่า ผู้คนจ�ำนวน ไม่น้อยมีความสนใจใคร่รู้ว่ารากเหง้าของตนมีที่มาจากแห่งหนต�ำบลใด ปูย่ ่าตายายของตัวเองมีเรื่องราวสีสันอย่างไรบ้าง ความรู้เหล่านี้ผมไม่ แน่ใจนักว่าเมื่อรู้เข้าไปแล้ว จะเกิดประโยชน์มากน้อยสักเพียงไร  แต่ ส�ำหรับผมเองซึ่งมีอัธยาศัยสนใจทางประวัติศาสตร์ ความรู้อย่างนี้เป็น ความสนุกอย่างหนึ่งของชีวิต อุปมาคล้ายๆ กับคนเล่นภาพต่อ หรือ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “จิ๊กซอว์”  ความรู้ที่ได้จากการปะติดปะต่อเรื่อง ราวแต่เก่าก่อนของบรรพชนท�ำให้ผมมีความสุขเพิ่มขึ้นในหัวใจ และ อยากจะแบ่งปันความรู้ที่สืบค้นได้นี้ให้คนอื่นช่วยรู้ไว้ด้วย อย่างน้อย ก็จะท�ำให้ความรู้เรื่องเก่าๆ ของเมืองไทยไม่สูญหายไปโดยรวดเร็วนัก    ตั้งแต่ผมเริ่มรู้ความและพอจะจดจ�ำอะไรได้ พ่อของผม (นาวา เอก ธัชทอง จันทรางศุ) ได้เคยบอกผมหลายครั้งว่า ปู่ของผมมีถิ่น ฐานบ้านเดิมอยู่ที่จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่คนไทยทั่วไปเรียก กันอย่างล�ำลองว่า “แม่กลอง”  ครั้นโตขึ้นมาหน่อยหนึ่ง เวลาเดินทางกลับจากไปเที่ยวที่หัวหิน ริมถนนพระรามสอง มีร้านขายเกลือที่ท�ำจากนาเกลือรวมถึงผลิตภัณฑ์ อาหารทะเล เช่น ปลาทู ปลาเค็ม พ่อเคยหยุดรถเพื่อให้แม่ซื้อของกลับ บ้าน จ�ำได้แน่นอนจนบัดนี้ว่ามีแผงขายของริมถนนแผงหนึ่ง เจ้าของ แผง นามสกุลจันทรางศุ โดยพ่อเรียกขานชายสูงอายุท่านนั้นว่า “ลุง วิง”  นี่ก็เป็นความทรงจ�ำอีกเรื่องหนึ่งที่ยืนยันว่า รากเหง้าเหล่ากอของ ผมด้านของคุณปู่นั้นมาจากเมืองแม่กลองจริงๆ  แต่ความรู้เรื่องนี้ของ ผมก็หยุดอยู่แต่เพียงนั้น เพราะไม่เคยคิดขวนขวายที่จะไปสืบค้นหรือ เยี่ยมเยียนแสวงหาเครือญาติที่อยู่ที่เมืองแม่กลองแต่ประการใด แม้ในช่วงสองสามปีหลังที่ผ่านมา ระบบการสื่อสารออนไลน์ ที่เรียกว่า “เฟซบุ๊ก” จะท�ำให้ผมได้รู้จักและติดต่อกับญาติพี่น้องหลาย คนที่อยู่ที่แม่กลองหรือในละแวกนั้นเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่เราก็ไม่ เคยได้พบหน้ากันสักที  จนกระทั่งเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ในโอกาสที่จะ ฉลองนามสกุ ล จั น ทรางศุ ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานจากพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาครบหนึ่งร้อยปี ผมคิดอุตสาหะจะท�ำหนังสือ ธงทอง  จันทรางศุ 3


ภาพหมูค่ รอบครัวคุณทวดส้ม จันทรางศุ ลูกพีล่ ูกน้องของคุณทวดเหม (คือ บิดาของพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์) จากซ้ายคือคุณทวดทองค�ำ (ภริยาคุณทวด ส้ม) อุ้มคุณย่าเขียน นั่งหน้าคือคุณย่าสังวาลย์ ผู้ที่ยืนต่อมาคือคุณปู่วิสิทธิ์ (พลเรือ ตรี วิสิทธิ์ จันทรางศุ) ภาพกลางคือคุณทวดส้ม ยืนขวาสุดในภาพคือคุณปู่จรูญ จันทรางศุ

เล่มเล็กๆ ขึ้นเพื่อแจกญาติพี่น้องเป็นที่ระลึก จึงจ�ำเป็นต้องท�ำหน้าที่ เป็นนักสืบเสาะแสวงหาเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับต้นตระกูลของ ตัวเองให้ได้มากที่สุด ท่ามกลางข้อจ�ำกัดด้านเวลาที่มีอยู่ไม่มากนัก  ผมเริ่มหยิบจิ๊กซอว์ชิ้นแรกจากงานเขียนที่พระยาสุนทรเทพ กิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ผู้เป็นปูข่ องผมทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้ใน หนังสือประวัติของท่านเองซึ่งเขียนยังไม่ทันเสร็จ และมีข้อความเพียง ห้าหกหน้า จากนั้นท่านก็ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๔ ในประวัติฉบับนั้นท่านเล่าว่าท่านเกิดที่บ้านของบิดามารดา ณ บ้าน เกาะ ต�ำบลบ้านปรก อ�ำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 4 น า ย ท อ ง ม ห า ด เ ล็ ก


จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ผมได้ใช้เฟซบุ๊กและโทรศัพท์ติดต่อนัด หมายญาติที่พอจะรู้จักกันบ้าง เพื่อขออนุญาตไปเยี่ยมเยียนและขอ แรงให้ช่วยพาผมไปดูตำ� บลสถานที่ที่เป็นบ้านเกิดของคุณปูผ่ ม  หลาย คนพูดตรงกันว่าต�ำแหน่งที่ตั้งของบ้านเกิดของคุณปู่ที่ว่านั้นรู้แน่ว่าอยู่ ตรงไหน แต่คงพาเดินไปไม่ได้เสียแล้ว เพราะทั้งบ้านที่ดินได้ถูกน�้ำ กัดเซาะและถล่มลงแม่นำ�้ แม่กลองไปหมดแล้ว  แม้รู้มาเพียงนี้ผมก็ยังไม่สิ้นมานะ ซ�้ำกลับรู้สึกสนุกเสียด้วย ที่จะได้พบญาติที่รู้จักกันแต่ห่างๆ และจะได้ดูบ้านเกิดของคุณปู่ ที่ว่า สถานที่ที่เรียกว่า “บ้านเกาะ” ต�ำบลบ้านปรกนี้อยู่ในเขตอ�ำเภอเมือง สมุทรสงครามนี้เอง

หมู่เรือนของคุณทวดส้ม จันทรางศุ และครอบครัว เรือนหมู่นี้เป็นสกุลฝ่าย ภริยาของคุณทวดส้ม คือคุณทวดทองค�ำ ซึ่งอพยพลี้ภัยจากอยุธยา เมื่อครั้งกรุง ศรีอยุธยาเสียแก่ราชศัตรู เมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๐ และยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของ ลูกหลานจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นหมู่เรือนที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดหมู่หนึ่ง ของจังหวัดสมุทรสงคราม ธงทอง  จันทรางศุ 5


ถ้านั่งรถยนต์จากศาลากลางจังหวัดมุ่งหน้าไปยังอ�ำเภออัมพวา ยังไม่ทันไปไหนไกล นิดเดียวก่อนถึงสนามกีฬาของจังหวัดซึ่งอยู่ด้าน ขวามือก็จะมีซอยแยกซ้ายมือ เข้าซอยนี้แล้วขับรถไปตามถนนลัดเลี้ยว อีกไม่นานก็ต้องจอดรถแล้วเดินเข้าตรอกที่เป็นแต่เพียงทางเดินเท้า เพราะชุมชนละแวกนั้นเป็นชุมชนเก่าแก่ แต่เดิมก็ใช้ทางสัญจรโดย อาศัยแม่น�้ำแม่กลองเป็นหลัก  การติดต่อไปมาระหว่างบ้านหลายหลังในชุมชนก็ใช้ทางเดินเท้า เป็นหลัก ถนนที่ผมขับรถไปนั้นมาเกิดขึ้นเอาในระยะหลังนี้เอง ญาติ ที่เป็นผู้น�ำทางพาผมไป ได้พาผมไปแวะตามบ้านสองสามหลังของเครือ ญาติ รวมทั้งลูกหลานโดยตรงของลุงวิง จันทรางศุ ที่ผมเคยพบท่าน เมื่อหลายสิบปีก่อนด้วย  หลังจากเดินวกวนไปมาไม่นานนัก ผมก็ไป ยืนอยู่ริมคลองขนาดใหญ่ชื่อ “คลองแม่กลอง” ที่เป็นสาขาแยกของ แม่น�้ำแม่กลอง มองไปทางฝั่งตรงข้ามเป็นที่ตั้งของวัดใหญ่ซึ่งเป็นวัด เก่าแห่งหนึ่งในละแวกนี้ ส่วนทางฝั่งที่ผมเดินอยู่นั้นยังคงเป็นบ้านญาติ ในสกุลจันทรางศุครอบครัวหนึ่ง ทุกคนชี้ให้ผมดูว่าตรงประมาณรอย ต่อระหว่างคลองแม่กลองกับแม่น�้ำแม่กลอง และอยู่ไม่ห่างไกลจากวัด ใหญ่ ตรงนั้นเคยเป็นแผ่นดินที่มีน�้ำล้อมเกือบรอบ ผู้คนจึงเรียกพื้นที่ ส่วนนั้นว่า “บ้านเกาะ” ลักษณะภูมิศาสตร์เช่นว่านี้เมื่อประมาณ ๔๐ ปีล่วงมาแล้ว ยังมีคนเห็นและจ� ำได้ แต่ต่อมาภายหลังมีเรือสัญจร ไปมามาก เรือหลายล�ำท�ำให้เกิดระลอกคลื่นกระทบ และกัดเซาะฝั่ง ที่ไม่ได้ท�ำเขื่อนป้องกันภัยอันตรายที่ว่าไว้ ด้วยเหตุนี้ที่ดินและบ้าน หลายหลัง รวมทั้งบ้านที่เป็นของปู่ผมด้วยก็เลยอันตรธานทีละเล็กทีละ น้อย และหายไปในท้องน�้ำในที่สุด แม่น�้ำแม่กลอง เป็นแม่น�้ำขนาดใหญ่ที่ไหลรินหล่อเลี้ยงคน ไทยมามิรู้กี่ชั่วคนแล้ว สองฝากฝั่งของแม่น�้ำเป็นบ้านเกิดและเรือน ตายของผู้คนจ�ำนวนมาก  แม้จนทุกวันนี้ชุมชนริมแม่นำ�้ แม่กลองก็ยัง มีสีสันและเรื่องราวน่ารู้น่าติดตาม  ความอุดมสมบูรณ์ของแม่กลอง นั้น มิได้จ�ำกัดอยู่แต่เพียงเรื่องของอาหารการกิน ทั้งปลา ทั้งผลไม้ เท่านั้น หากแต่ยังรวมตลอดถึงความร�่ำรวยทางวัฒนธรรมและประวัติ 6 น า ย ท อ ง ม ห า ด เ ล็ ก


พระบรมราชานุสาวรีย ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทีห่ น้าวัด อัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ศาสตร์  ดังจะเห็นได้ว่าจนทุกวันนี้เมืองแม่กลองและคนแม่กลองก็ยัง มีโอกาสได้ต้อนรับผู้มาเยือนจากต่างถิ่น แต่ละคนที่มาเยี่ยมแม่กลอง แล้วก็กลับคืนเรือนไปด้วยความประทับใจและอิ่มหมีพีมัน  ถ้าพลิก ผ่านประวัติศาสตร์หลายบทหลายตอน เมืองแม่กลองและท้องถิ่นใกล้ เคียงเช่นอัมพวาก็มีเรื่องราวที่จะบอกเล่าได้มิรู้จบ ในละแวกแถบบ้าน นี้เองสมเด็จพระมหากษัตริย์เจ้าพระองค์หนึ่งคือ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จสมภพมาสู่ชาติ ดังจะเห็นได้จาก อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ธงทอง  จันทรางศุ 7


อ�ำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ผู้มีก�ำเนิดเป็น เด็กลูกชาวบ้านเมืองแม่กลอง แต่ได้สิ้นชีพลงด้วยบรรดาศักดิ์ “พระยาโต๊ะทอง” เจ้ากรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย

8 น า ย ท อ ง ม ห า ด เ ล็ ก


และพระบรมราชานุสาวรีย์ที่หน้าวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพยานอยู่ ผมในฐานะที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวแม่กลองคนหนึ่งจึงอดเสีย ไม่ได้ที่จะร่วมภาคภูมิใจในประวัติและเรื่องราวของเมืองเก่าแก่แห่งนี้ กระแสน�้ำที่ไหลขึ้นลงในแม่น�้ำแม่กลองไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ ฉันใด ผู้คนที่อยู่ริมแม่กลองหรือเคยอยู่ที่เมืองแม่กลองแต่ละยุคแต่ ละสมัย ต่างก็มีชีวิตที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปฉันนั้น หลายคนเป็นชาว แม่กลองตั้งแต่เกิดจนตาย หมายความว่าตลอดทั้งชีวิตไม่เคยจากเมือง แม่กลองไปอยู่ถิ่นฐานอื่นเลย แต่อีกหลายคนเริ่มต้นชีวิตในฐานะที่เป็น ชาวแม่กลองแล้วโชคชะตาก็พัดพาให้ชีวิตก้าวเดินไปอยู่ต่างบ้านต่าง เมือง ปู่ของผมคือ อ�ำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ก็เป็นผู้หนึ่งในคนแม่กลองจ�ำพวกหลังนี้ที่เริ่มวันแรกของ ชีวิตริมแม่นำ�้ แม่กลองอย่างชาวบ้านสามัญในละแวกเดียวกันอีกจ�ำนวน มาก จากนั้นอีกหลายสิบปีผ่านไป ท่านก็สิ้นชีวิตในพระนครในฐานะ ข้าราชการผู้ใหญ่คนหนึ่งในยุคนั้น  การได้เริ่มต้นเขียนเรื่องราวที่จะเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้ด้วยการเล่า ถึงประสบการณ์ที่ไปยืนอยู่ริมคลองแม่กลอง มองไปเบื้องหน้าเห็น ท้องน�้ำผืนกว้าง ในต�ำบลสถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งบ้านเกิดของผู้เป็นปู่ ของผม แม้จะไม่หวือหวาหรือมีสีสันอะไรมากนัก แต่ก็เป็นความสุข ในใจยิ่งนักของผู้สืบสายเลือดจากชาวแม่กลองคนหนึ่งที่ได้ย้อนหลัง ยั้งอดีตไปหาร่องรอยแห่งความทรงจ�ำเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว  ต่ อ ไปนี้ จ ะเป็ น เรื่ อ งราวของคนคนหนึ่ ง ที่ เ กิ ด ริ ม แม่ น�้ ำ แม่กลองเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ปู่ของผมครับ

ธงทอง  จันทรางศุ 9


วัยเด็ก


ในบรรดาคนไทยจ�ำนวนเกือบ ๗๐ ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประ เทศไทยทุกวันนี้ ถ้าจะคาดคั้นกันจริงๆ ว่ามีจ�ำนวนร้อยละเท่าใดที่อาจ กล่าวได้ว่ามีสายโลหิตเป็นไทยแท้ ไม่มีเลือดต่างชาติเข้ามาปะปนด้วย แม้สักหยดเดียว  ค�ำถามอย่างนี้ผมว่าคงไม่มีใครกล้าตอบให้ชัดเจน ได้เป็นแน่ เพราะเอาเข้าจริงแล้วคนไทยทุกวันนี้ก็มีสายโลหิตที่ผสม ผสานปนเปกันระหว่างคนหลายเชื้อชาติ  จริงอยู่ว่าแผ่นดินไทยผืนนี้ มีคนไทยอยู่อาศัยมาแต่ไหนแต่ไร แต่ผู้ปกครองแผ่นดินสยามก็ใจ กว้าง และเปิดโอกาสให้คนต่างบ้านต่างเมืองเข้ามาตั้งหลักปักฐาน หรือ ทีเ่ รียกในส�ำนวนไทยว่า “เข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภาร” อยูม่ ไิ ด้ขาดสาย คนชาติหนึ่งที่เดินทางทิ้งบ้านเกิดมาอาศัยแผ่นดินไทยเป็นเรือน ตายเป็นจ�ำนวนมากหลายชั่วคนติดต่อกันเห็นจะได้แก่คนจีนซึ่งเป็น เพื่อนบ้านที่อยู่ไม่ห่างไกลกันนักจากเมืองไทย  ด้วยเหตุที่เมืองจีน มีแผ่นดินกว้างใหญ่ มีผู้คนอาศัยอยู่จำ� นวนมาก ภัยธรรมชาติบางคราว ก็ร้ายแรง เพื่อเปิดโอกาสใหม่ให้กับชีวิตจึงมีชาวจีนจากหลายเมือง ทิ้งถิ่นฐานเดิมแล้วเดินทางด้วยเรือส�ำเภาเข้ามาแสวงโชคในกรุงสยาม หลายยุคหลายสมัยต่อเนื่องกัน  เมื่ออยู่ไปนานเข้า เวลาผ่านไปหลาย ชั่วคน เมืองไทยและคนไทยก็กลืนคนจีนเหล่านั้นรวมตลอดถึงผู้สืบ เชื้อสายรุ่นลูกรุ่นหลานให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และกลายเป็น คนไทยได้สนิท  ปูข่ องผมก็เป็นคนไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่มีทั้งจีน และไทยสัมพันธ์กันเช่นนี้ด้วย โดยคุณปู่จดบันทึกไว้ว่าทวดของท่าน เป็นจีนนอกซึ่งหมายความว่าเป็นจีนที่เดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่เพื่อ เข้ามาแสวงโชคในเมืองไทย แต่ไม่มีร่องรอยหลักฐานชี้ชัดว่าท่านมา จากเมืองใดของประเทศจีนเป็นแม่นมั่น ชื่อเรียงเสียงไรก็ไม่ปรากฏ ทราบแต่เพียงว่าเป็นจีนแซ่ “จัน” เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้ว คงจะมา ท�ำมาหากินอยู่แถบเมืองสมุทรสงครามหรือแม่กลองนี่เอง เป็นธรรมดา ที่จะสบช่องโอกาสได้พบรักและแต่งงานกับสาวไทย  ทวดผู้หญิงของคุณปู่เป็นคนไทยชาวสมุทรสงครามแต่ดั้งเดิม ชื่อ ศุข ทั้งสองท่านมีบุตรชายหญิงด้วยกันสี่คน ลูกชายคนใหญ่ชื่อ ธงทอง  จันทรางศุ 11


จิ ต รกรรม ส� ำ เภาจี น  ในต� ำ หนั ก พระพุ ท ธโฆษาจารย์  วั ด พุ ท ไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เหงง มีภรรยาชื่อ จั่น ทั้งสองท่านมีบุตรชายหญิงเจ็ดคน บุตรชายคน หนึ่งชื่อนายเหม นายเหมผู้นี้แต่งงานกับนางเอม มีบุตรชายหญิงห้า คน เป็นชายสามหญิงสอง ลูกชายคนใหญ่ชื่อ อั๋น เสียชีวิตตั้งแต่ยัง เป็นเด็ก ส่วนหญิงที่ชื่อ นวม และ เนียม นั้นได้แต่งงานกับคนต�ำบล เดียวกัน และยังมีลูกหลานสืบสกุลมาจนบัดนี้ ลูกชายอีกสองคน คน หนึ่งชื่อ หงส์ เป็นพี่ชายที่เกิดก่อนปู่ผมหลายปี และอีกคนหนึ่งคือปู่ ของผมเองซึ่งเป็นลูกคนสุดท้องในจ�ำนวนพี่น้องทั้งหมดของครอบครัวนี้ 12 น า ย ท อ ง ม ห า ด เ ล็ ก


ปู่ของผม หรืออ�ำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ผู้มี ชื่อตัวเมื่อแรกเกิดว่า “ทอง” เกิดที่บ้านของครอบครัวในละแวกที่ เรียกว่า บ้านเกาะ ต�ำบลบ้านปรก ซึ่งอยู่ปากคลองแม่กลองตรงที่ต่อ แดนกันกับแม่น�้ำแม่กลองดังที่กล่าวแล้วข้างต้น  คุณปู่จดไว้ละเอียด ว่า ท่านเกิดเมื่อปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ ในวันพฤหัสบดี เดือนแปด อุตราสารท แรม ๘ ค�่ำ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธ ศักราช ๒๔๒๓ ปีนั้นตรงกับปีรัตนโกสินทรศก ๙๙ ในรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคุณปู่เกิดแล้วไม่นาน พอ อายุได้ประมาณ ๒ ปี เอมผู้เป็นมารดาของท่านก็เสียชีวิต เป็นอันว่า คุณปู่ต้องอยู่ในความเลี้ยงดูของผู้เป็นบิดาโดยล�ำพัง ผมไม่แน่ใจนักว่าการท�ำมาหากินของชาวเมืองแม่กลองในยุค นั้นเขามีอาชีพอะไรกันบ้าง แต่น่าจะเดาว่าส่วนมากเห็นจะเป็นอาชีพ ประมงหรือการงานที่เกี่ยวเนื่อง  แต่พอจะได้ร่องรอยจากบันทึกของ คุณปู่ว่าผู้คนในละแวกบ้านเกาะซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านนั้น โดยมาก มีอาชีพท�ำนาเกลือและค้าปลา  ที่ว่าท�ำนาเกลือนั้นน่าจะเดาว่าแต่ละวันก็ต้องเดินทางจากเรือน ที่อยู่ไปยังย่านที่เป็นนาเกลือ ซึ่งยังพอมองเห็นได้ว่าอยู่ละแวกริมถนน พระรามสอง ที่เราเห็นได้ชัดเวลาเราขับรถไปเที่ยวหัวหินนั่นเอง ส่วน อาชีพค้าปลานั้นคุณปู่ขยายความว่าเป็นการค้าย่อยคือซื้อมาแล้วขาย ไปในละแวกบ้าน หมายความว่าไม่ใช่การค้าเชิงธุรกิจประเภทขายส่ง ที่เป็นการใหญ่โตอะไร แต่ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ไม่ใช่อาชีพของนายเหมผู้เป็น ทวดของผม เพราะคุณทวดเหมของผมมีอาชีพสองอย่างสลับไปมา หรือท�ำคู่เคียงกันไป  อาชีพแรกคืออาชีพขายไม้แสมสาร แก่นของไม้แสมสารนี้ใช้ ส�ำหรับท�ำประสักคือไม้หมุดส�ำหรับตรึงกงเรือ บางคราวคุณทวดเหม ก็ไปรับจ้างต่อเรือร่วมกับช่างคนอื่นด้วย  แต่อีกอาชีพหนึ่งที่เป็น หลักยั่งยืนกว่าคืออาชีพรับจ้างจารหนังสือ ซึ่งย่อมท�ำให้ผมเข้าใจ ได้ว่าคุณทวดของผมท่านนี้เป็นมีความรู้ทางหนังสือพอสมควร และ อาจจะเกินกว่าขีดขั้น “พออ่านออกเขียนได้” ไปพอสมควรทีเดียว  ธงทอง  จันทรางศุ 13


นาเกลือที่สมุทรสงคราม (ภาพจาก วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติ ศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสงคราม, ๒๕๔๒)

การจารหนังสือนี้ต้องขยายความเพื่อความเข้าใจของคนรุ่นหลัง ว่าหมายถึงการใช้เหล็กแหลมส�ำหรับเขียนลงบนใบลานซึ่งเป็นวัสดุที่ หาได้ทั่วไปในบ้านเมืองครั้งกระนั้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนเขียน อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อบันทึกเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น ท�ำ เป็นคัมภีร์ส�ำหรับพระภิกษุใช้เทศนาสั่งสอน เพราะการพิมพ์จากโรง พิมพ์ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ใครต้องการสร้างคัมภีร์เอาบุญกุศลก็ต้อง ไปจ้างผู้ที่มีฝีมือและความรู้ในการจารหนังสือให้ช่วยท�ำให้ ประกอบ กับความรู้ด้านหนังสือของคนทั่วไปก็ยังไม่แพร่หลาย ผู้ที่มีความรู้ทาง หนังสือดีพอ และมีฝีมือจารหนังสือเช่นทวดของผมจึงสามารถยังชีพ ได้ด้วยอาชีพเช่นนี ้ นอกจากนั้นยังมีงานอีกชนิดหนึ่งที่คุณทวดได้ปฏิบัติอยู่บ้าง โดยไม่ได้ค่าจ้างค่าออนคือ การบอกหนังสือภาษามคธ หรือบอก พระปริยัติธรรมแด่พระภิกษุสามเณรที่มาขอเรียนตอนเช้าจน ถึงเพลในแต่ละวัน  คุณทวดของผมเคยเรียนภาษามคธมาบ้าง แต่ ไม่เคยสอบเป็นเปรียญ  ยิ่งกว่านั้นต้องถือว่าท่านเป็นคนใกล้วัดพอ สมควร เพราะคุณทวดเหมถือศีลแปดทุกวันอุโบสถ และพาปู่ของผม 14 น า ย ท อ ง ม ห า ด เ ล็ ก


ซึ่งเป็นลูกคนเล็กไปวัดด้วยทุกวันอุโบสถ ของมึนเมาทั้งปวงรวมทั้งสุรา ซึ่งชาวบ้านในละแวกนั้นเห็นเป็นของปกติ คุณทวดเหมของผมไม่เคย แตะต้องเลย  แม้ว่าคุณปู่ของผมเกิดมาในครอบครัวของชาวบ้านริมคลอง แม่กลอง แต่อาจจะกล่าวได้ว่าชะตาชีวิตหรือบุญกุศลส่งให้ท่านมีโอกาส ที่จะได้เล่าเรียนและเติบโตในราชการยิ่งกว่าผู้คนในละแวกบ้านเดียว กัน เพราะคุณทวดเหมเป็นผู้มีนิสัยน้อมไปในทางการศึกษาเล่าเรียน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งในเวลานั้นคนในละแวกบ้านนั้นยังไม่เห็น ประโยชน์ของการเรียนหนังสือ คุณปู่จึงบันทึกว่า “เปนโชคดีของข้าพ เจ้าเปนพิเศษที่เปนสะพานให้ข้าพเจ้าประสพฐานดังที่เปนอยู่ในเวลา เขียนประวัตินี้” ดังนั้นคุณปู่จึงได้เริ่มเรียนหนังสือเป็นคราวแรกเมื่ออายุย่างเข้า หกขวบ  ครูคนแรกของท่านคือ คุณทวดเหม บิดาของท่านเอง  ครั้น โตขึ้นหน่อยก็ขยับไปเรียนหนังสือกับพระที่วัดใหม่ที่เป็นวัดใกล้บ้าน การเรียนกับพระที่วัดนั้น ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่เห็นจะต้องบอกว่าพระ นั้น “ดุอย่างกับเสือ” อุบายที่จะให้นักเรียนมีความทรงจ�ำอ่านหนังสือ ได้คล่องนั้นมีอย่างเดียวคือการเฆี่ยน จนถึงกับคุณปูอ่ อกปากในภาย หลังว่า “ดูประหนึ่งว่าการเฆี่ยนนั้นเปนยาท�ำให้เกิดความทรงจ�ำ” ที่ว่า น�ำไปฝากไว้ที่วัดนั้นหมายความว่ากินอยู่ที่วัดเสร็จสรรพทั้งวันทั้งคืน แต่พอโดนเฆี่ยนเข้ามากๆ คุณปู่ก็ลงมือประกาศอิสรภาพคือหนีวัด และเป็นการหนีชนิดนับครั้งไม่ถ้วน แต่ละคราวที่หนีก็ไม่เคยคิดวาง แผนว่าจะหนีไปไหน และจะหนีไปอยู่กับใคร คิดแต่เพียงให้หนีพ้นไป จากวัดเสียเท่านั้นตามประสาเด็ก บ่อยครั้งที่ต้องหนีไปซ่อนในป่าช้า หรือตามเรือกสวนซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเมืองแม่กลอง หนีไปแต่ละคราว ก็ไม่เคยหนีพ้นสักที สุดท้ายก็ถูกจับได้ และถูกบิดาหรือครูอาจารย์ ลงโทษทุกทีไป การลงโทษในครั้งนั้นส�ำหรับคนยุคปัจจุบันย่อมเห็นว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง แถมเป็นสิทธิของเด็กเสีย ด้วย ดังจะเห็นจากที่คุณปู่เล่าว่า  ธงทอง  จันทรางศุ 15


“บางครั้งหนีติดๆ กันถูกเฆี่ยนซ�้ำหลายหนจนก้นแตกก้นช�้ำต้อง มีเบาะรองในเวลานั่ง รอยแตกเป็นแผลเป็นติดตัวมาจนบัดนี้ก็หลาย แผล ยืนถ่างขากางแขนตั้งชั่วโมง เมื่อยแขนจนเนื้อสั่น ถ้าแขนลดจาก ระดับก็ถูกไม้แหลมแทงหรือไม้เรียวตีให้ต้องยกขึ้นไป มัดมือติดกัน พับเอาศอกร่วมโอบเข่า เอาไม้สอดให้อยู่ในระหว่างขาพับกับแขนแล้ว ผลักให้นอนงอกลิ้งอยู่นานๆ สุดแต่ยุงริ้นจะกัด มัดดังว่านี้ทิ้งลงใน คูวัดซึ่งมีน�้ำพอที่จะส�ำลักได้...”  แต่ก็มหัศจรรย์ที่ปู่ของผมไม่ยักกะตาย กลับรอดชีวิตมาหนี วัดอีกหลายครั้งโดยไม่ท้อถอยต่อการหนีในทุกครั้งทุกคราวที่มีโอกาส ลงท้ายในที่สุดทั้งคุณทวดเหมและพระอาจารย์ที่สอนหนังสือก็ยอม แพ้แล้วให้กลับมาอยู่บ้าน เวลานั้นอายุคุณปูอ่ ยู่ในราวเก้าปี อยู่บ้าน ได้สักพัก คราวนี้คุณทวดพาไปฝากที่วัดธรรมนิมิตรที่อยู่ไกลจาก บ้านไปอีกสักหน่อย เรียนไป ถูกลงโทษไป หนีไป เป็นวงจรอยู่อย่างนี้ ประมาณหกเดือนก็เป็นอันว่าเลิกเรียนหนังสือ  พออายุย่างเข้า ๑๑ ปี คุณทวดเห็นว่าปู่ของผมจะเอาดีทางเรียน หนังสือไม่ได้แล้วจึงไปฝากบ้านญาติในเมืองเดียวกันให้ฝึกหัดเป็นช่าง ท�ำทอง ฝึกอยู่ไม่นาน พอจะเริ่มแผ่เงินแผ่ทองได้ก็เกิดความไม่พอใจ ขึ้นเนื่องจากบุตรของญาติผู้นั้นดูหมิ่นดูแคลน เพราะเห็นว่าครอบครัว ของคุณปู่ยากจน คุณปู่จึงประกาศอิสรภาพซ�ำ้ อีกรอบหนึ่ง โดยไม่ยอม ไปหัดท�ำทองอีกต่อไป  เล่ามาถึงเพียงนี้ คงพอเห็นได้แล้วว่าชีวิตวัยเด็กของปู่ผมไม่ได้ โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ได้เกิดขึ้นในครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ลาภยศ บางทีการมีชีวิตที่ยากล�ำบากในวัยเด็กอย่างนี้กระมังที่อาจจะ ท�ำให้ปขู่ องผมท่านทนอะไรได้อีกมากต่อมากในวันข้างหน้า และเป็น ส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ท่านประสบความส�ำเร็จในฐานะนักปกครองผู้ลือชื่อ คนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่ด้วยเหตุผลอะไรอื่น แต่เพราะท่านเป็น “ชาวบ้าน” แท้ๆ มาแต่ดั้งเดิมนั่นเอง 16 น า ย ท อ ง ม ห า ด เ ล็ ก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.