ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ

Page 1


ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ

Chad Orzel เขียน ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ แปล

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2556


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล

8 10

บทน�ำ ท�ำไมเราต้องชวนหมาคุยฟิสิกส์? บทน�ำสู่ควอนตัมฟิสิกส์

15

บทที่ 1 ทางไหนดี? ทั้งสองทางเลย : ทวิภาคของคลื่นและอนุภาค

24

บทที่ 2 กระดูกของฉันอยู่ไหน? ทฤษฎีความไม่แน่นอนของไฮเซนแบร์ก

54

บทที่ 3 หมาของชเรอดิงเงอร์ : การตีความแบบโคเปนเฮเกน

75

บทที่ 4 โลกหลายใบ ขนมหลายอัน : การตีความแบบโลกคู่ขนาน 105


บทที่ 5 เราถึงจุดหมายหรือยัง? ปรากฏการณ์ควอนตัมซีโน่

130

บทที่ 6 ไม่จ�ำเป็นต้องขุด : ปรากฏการณ์อุโมงค์ควอนตัม

145

บทที่ 7 เสียงเห่าหอนที่หลอกหลอนมาจากแดนไกล : ปรากฏการณ์ความพัวพันเชิงควอนตัม 165 บทที่ 8 บีมกระต่ายมาให้ฉันตัวนึงสิ : การย้ายมวลสารแบบควอนตัม 196 บทที่ 9 กระต่ายที่ท�ำจากเนยแข็ง : อนุภาคเสมือนและควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิกส์

221

บทที่ 10 จงระวังเหล่ากระรอกผู้ชั่วร้าย : การใช้ควอนตัมฟิสิกส์ในทางที่ผิด 244 ค�ำขอบคุณ อ่านเพิ่มเติม อภิธานศัพท์ เกี่ยวกับผู้เขียน เกี่ยวกับผู้แปล

265 267 271 285 287


ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ


บทน�ำ ท�ำไมเราต้องชวนหมาคุยฟิสิกส์? บทน�ำสู่ควอนตัมฟิสิกส์

สมาคมโมฮอว์กฮัดสันฮิวเมน (Mohawk-Hudson Humane  Society) ท�ำทางเดินเล็กๆ ไว้ใกล้กับโรงเลี้ยงสุนัขและแมวไร้เจ้าของที่อยู่ แถวๆ นอกเมืองทรอย  ถ้าหากคุณสนใจจะรับเลี้ยงหมาสักตัว คุณจะได้ ลองพามันไปเดินเล่น และผมก็ลองพามันออกมาตัวหนึ่ง ผมหยุดนั่งพัก บนเก้าอี้ยาวริมทางเดินใกล้กับลานเล็กๆ เพื่อจะมองเจ้าหมาน้อยตัวที่ผม พาออกมาเดิน มันนั่งอยู่ข้างๆ ใช้ปลายจมูกแตะมือผมเบาๆ ผมจึงเอื้อมไปเกา หลังหูของมันเบาๆ  ผมกับภรรยามองหาหมาสักตัวทีเ่ ราอยากจะรับมาเลีย้ ง ดูได้สักพักแล้ว แต่วันนี้เธอติดงาน ผมก็เลยต้องรับหน้าที่มาเลือกหมาเอง คนเดียว และดูเหมือนว่าเจ้าตัวนี้ก็น่าจะเหมาะสมกับเราดี มันเป็นหมาตัวเมีย อายุ  1 ปี  เป็นพันธุ์ผสมระหว่างเยอรมันเชพ เพิร์ดกับอะไรสักอย่าง  ขนของมันด�ำตามแบบฉบับของเชพเพิร์ดแม้ว่าตัว ออกจะเล็กไปสักหน่อย มันมีหูนุ่มนิ่ม ป้ายชื่อที่อยู่ตรงประตูกรงบอกว่า มันชื่อ ‘เจ้าหญิง’ ซึ่งฟังแล้วผมว่าไม่ค่อยจะเหมาะสมเท่าไหร่ “ว่าไงแม่หนูน้อย” ผมถาม “เราควรจะเรียกเธอว่าอะไรดี?” ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ

15


“เรียกฉันว่า ‘เอมมี่’ สิ” “ท�ำไมล่ะ?” “ก็เพราะว่ามันเป็นชื่อของฉันน่ะสิ  ซื่อบื้อ” การถูกหมาว่าซื่อบื้อ ฟังดูน่าแปลกใจเล็กน้อย  แต่จะว่าไปแล้ว เธอก็พูดถูกอยู่เหมือนกัน  “โอเค เรื่องนั้นฉันไม่เถียง แล้วเธออยากจะมาอยู่กับเรามั้ยล่ะ?”  “อืม ก็ขึ้นอยู่กับหลายอย่างนะ” “ว่าไงนะ?” “ฉันชอบวิ่งไล่อะไรหลายอย่างเลย ที่นั่นมีอะไรให้ฉันวิ่งไล่บ้างหรือ เปล่า?” “อ๋อ…มีสิ  บ้านเรามีสนามใหญ่พอดูเลย ที่นั่นมีนกกับกระรอกเต็ม เลย อ้อ…บางทีก็มีกระต่ายมาด้วยนะ” “โห! เริด่  ฉันชอบพวกกระต่าย” มันกระดิกหางพึงพอใจ “แล้ว…จะ มีใครพาฉันไปเดินเล่นบ้างหรือเปล่า?” “แน่นอนอยู่แล้ว” “แล้ว…แล้ว ขนมล่ะ ฉันชอบขนม” “ถ้าเธอเป็นหมาที่ดี  เธอได้กินขนมแน่” หน้าตามันเปลี่ยนไป ราวกับว่าก�ำลังโดนเหยียดหยาม “ฉันเป็น หมาที่ดี  ‘มาก’ คุณได้ให้ขนมฉันแน่ๆ  ว่าแต่คุณท�ำมาหากินอะไรเนี่ย?” “เฮ้ย! นี่ใครก�ำลังสัมภาษณ์ใครกันแน่เนี่ย?!?” “ฉันต้องรู้สิ  ว่าคุณคู่ควรกับหมาดีๆ อย่างฉันหรือเปล่า” ผมเริ่ม รู้สึกแล้วว่า ชื่อ ‘เจ้าหญิง’ ก็ออกจะเหมาะกับมันอยู่เหมือนกัน “คุณท�ำ มาหากินอะไร?” “เอ่อ…ภรรยาฉันชื่อเคท เป็นทนายความ ส่วนฉันสอนฟิสิกส์  อยู่ ที่วิทยาลัยยูเนี่ยน (Union College) แถวๆ สเกเน็กทาดี ฉันสอนและท�ำ วิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคและควอนตัมออปติกส์  (Quantum Optics)” “ควอนตัมอะไรนะ” “ควอนตัมออปติกส์  พูดง่ายๆ ก็คอื การศึกษาผลของการปฏิสมั พันธ์ 16

ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ แปล


กันระหว่างแสงและอะตอม  ในสถานการณ์ที่จะต้องอธิบายแสงหรือ อะตอมหรือทั้งสองอย่าง ด้วยควอนตัมฟิสิกส์  (Quantum Physics)” “ฟังดูซับซ้อนจัง” “ใช่…แต่มันก็น่าสนใจสุดๆ เลยนะ  ควอนตัมฟิสิกส์เต็มไปเรื่อง ประหลาดและมหัศจรรย์เยอะแยะเลย อนุภาคที่ประพฤติตัวเหมือนแสง แสงที่ประพฤติตัวเหมือนอนุภาค คุณสมบัติของอนุภาคที่ไม่แน่นอนจน กว่าเราจะวัดมัน หรือแม้แต่เรื่องที่สุญญากาศอันว่างเปล่ากลับเต็มไป ด้วยอนุภาคเสมือน ที่สลับกันปรากฏตัวและหายไปอย่างไร้ร่องรอย มัน เจ๋งที่สุดเลยละ” “อืม…” หน้ามันเหมือนก�ำลังใช้ความคิด “งัน้  บททดสอบข้อสุดท้าย” “อะไรล่ะ?” “ลองเกาพุงฉันหน่อยสิ”  ว่าแล้วมันก็นอนหงายท้อง ผมเอื้อมมือ ไปเกาพุงให้มัน ราวสักหนึ่งนาทีผ่านไป มันลุกขึ้นสะบัดขน แล้วว่า “โอเค คุณท�ำได้ไม่เลวเลย  งั้นเรากลับบ้านกัน” เราเดินกลับไปเพื่อกรอกเอกสารการรับเลี้ยงดูสุนัขที่กรงของมัน ระหว่างทางมันก็พูดขึ้นว่า “ควอนตัมฟิสิกส์เหรอ? เห็นทีฉันจะต้องเรียนรู้ อะไรเกี่ยวกับมันบ้างแล้วละ” “เหรอ? อืม…ได้สิ  ฉันยินดีจะอธิบายให้เธอฟังเอง” ผมก็เหมือนกับเจ้าของหมาคนอื่นๆ ทั่วไป ที่ใช้เวลาส่วนมากคุย กับหมาของตัวเอง  บทสนทนาของเราส่วนใหญ่เป็นเรื่องพื้นๆ เช่นพวก อย่ากินนั่น อย่าขึ้นไปบนนี้  ไปเดินเล่นกัน  แต่ก็มีบ้างบางทีที่เราคุยกัน เรื่องควอนตัมฟิสิกส์ ท�ำไมผมถึงคุยกับหมาของผมเรื่องควอนตัมฟิสิกส์น่ะเหรอ ก็เพราะ มันเกี่ยวกับอาชีพของผมไงครับ  ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สอนวิชา ฟิสิกส์  และนั่นก็ท�ำให้ผมใช้เวลามากมายไปกับการครุ่นคิดเรื่องควอนตัม ฟิสิกส์  คุณอาจจะถามต่อว่า ควอนตัมฟิสิกส์คืออะไร? ควอนตัมฟิสิกส์ ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ

17


เป็นส่วนหนึ่งของฟิสิกส์ยุคใหม่  (modern physics) ซึ่งหมายถึงฟิสิกส์ที่มี พื้นฐานมาจากกฎที่คิดค้นขึ้นหลัง ค.ศ.1900 กฎหรือทฤษฎีฟิสิกส์ที่คิด ค้นขึ้นก่อนปี 1900 ถูกจัดให้เป็นฟิสิกส์คลาสสิก (Classical Physics) ฟิสิกส์คลาสสิก คือฟิสิกส์ของสิ่งรอบๆ ตัวเรา เช่น ลูกเทนนิส ตุ๊กตา เตาอบ และก้อนน�้ำแข็ง แม่เหล็กและสายไฟ กฎการเคลื่อนที่ของ ฟิสิกส์คลาสสิกครอบคลุมการเคลื่อนที่ของสิ่งอะไรก็ตามที่เราสามารถ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  กฎเทอร์โมไดนามิกส์ของฟิสิกส์คลาสสิกอธิบาย เกี่ยวกับการรับและคายความร้อนของวัตถุ และอยู่เบื้องหลังการท�ำงาน ของเครื่องจักรและตู้เย็น  ส่วนกฎเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าของฟิสิกส์คลาสสิก อธิบายพฤติกรรมของหลอดไฟ วิทยุ และแม่เหล็ก ฟิสิกส์ยุคใหม่ พูดถึงโลกอันแปลกประหลาดที่เราจะได้เจอเมื่อเรา ข้ามพ้นเรื่องปกติประจ�ำวันทั่วๆ ไป  โลกใบใหม่นี้ถูกเผยโฉมขึ้นด้วยการ ทดลองในช่วงปีท้ายๆ ของศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นๆ ศตวรรษที่ 20 โลกใบ ใหม่นี้แสนประหลาด เพราะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยกฎของฟิสิกส์ที่เรา มีอยู่  มีสนามแรงแบบใหม่ที่ต้องใช้กฎฟิสิกส์ใหม่ๆ เข้าไปจัดการ ฟิสิกส์ยุคใหม่ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน  แต่ทั้ง 2 ส่วนก็ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากฟิสิกส์คลาสสิก  ส่วนแรก คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ถูกน�ำเสนอโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ในปี 1905 ว่าด้วยการอธิบายวัตถุที่ก�ำลังเคลื่อนที่ด้วยความ เร็วสูงมาก หรือไม่ก็เป็นวัตถุที่อยู่ในสนามโน้มถ่วงที่มีความเข้มสูง จริงๆ ส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากอีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามมันไม่ได้อยู่ ในขอบเขตของหนังสือเล่มนี้ อีกส่วนหนึ่งของฟิสิกส์ยุคใหม่ ก็คือส่วนที่ผมก�ำลังคุยให้หมาผม ฟังอยู่นั่นแหละ มันคือควอนตัมฟิสิกส์ หรือควอนตัมเมคคานิกส์1 ซึ่ง เป็นสาขาที่ใช้อธิบายเรื่องของแสงและอะไรที่เล็กมากๆ ระดับโมเลกุล ค�ำว่า ควอนตัมฟิสิกส์ ทฤษฎีควอนตัม ควอนตัมเมคคานิกส์ หรือกลศาสตร์ ควอนตัม มีความหมายใกล้เคียงกันและใช้แทนกันได้ 1

18

ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ แปล


อะตอม หรืออนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมลงไป มักซ์ พลังค์ (Max Planck) เป็นคนที่คิดค�ำ ‘ควอนตัม’ ขึ้นมา และไอน์สไตน์ก็ได้รับรางวัลโนเบลจาก ทฤษฎีควอนตัมของแสง2  หลังจากนั้นควอนตัมฟิสิกส์ก็ได้รับการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง และสมบูรณ์ในอีกประมาณ 30 ปีต่อมา บรรดานักฟิสิกส์ที่ช่วยกันสร้างทฤษฎีนี้ขึ้นมา นับตั้งแต่นักบุกเบิก ยุคแรกๆ เช่น พลังค์ และนีลส์ บอห์ร (Niels Bohr) ซึ่งผู้คิดโครงสร้าง อะตอมของไฮโดรเจนแบบควอนตัมขึ้น จนถึงนักพัฒนารุ่นถัดมาที่จัดว่า เป็นยักษ์ใหญ่ของวงการควอนตัมเช่นกัน เช่น ริชาร์ด ฟายน์แมน (Richard Feynman) และจูเลียน ชวิงเงอร์ (Julian Schwinger) ทั้งสองคนนี้แยก กันพัฒนาสิ่งที่เราเรียกว่าควอนตัมอิเล็กโทรไดนามิกส์ (Quantum Electrodynamics-QED)  โดยในปัจจุบันเนื้อหาบางส่วนของควอนตัมฟิสิกส์ ไม่ได้มีชื่อเสียงอยู่ในแค่วงการฟิสิกส์ แต่กลายเป็นจินตนาการที่น่าตื่นเต้น ของคนทั่วไปด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีความไม่แน่นอนของแวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (Werner Heisenberg’s uncertainty principle) หรือ ปริศนาแมวของแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ (Erwin Schrödinger’s cat paradox) หรือจักรวาลขนานตามค�ำตีความแบบโลกหลายใบของฮิวจ์ เอฟเวอเร็ตต์ (Hugh Everett’s many-worlds interpretation) เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะมีชีวิตในโลกยุคใหม่นี้ถ้าไม่มีควอนตัม ฟิสิกส์  เราไม่มีทางคิดค้นชิปของสารกึ่งตัวน�ำได้เลยหากว่าเราไม่เข้าใจ ธรรมชาติแบบควอนตัมของอิเล็กตรอน และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะประดิษฐ์ แสงเลเซอร์ที่เราใช้ส่งข้อมูลเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านใยแก้วน�ำแสง หากเรา ไม่เข้าใจธรรมชาติแบบควอนตัมของแสงและอะตอม ผลกระทบของทฤษฎี ค วอนตั ม ไม่ ไ ด้ ห ยุ ด อยู ่ เ พี ย งแค่ ก ารน� ำ ไป ประยุกต์ใช้งานเท่านั้น แต่ยังส่งผลลึกซึ้งไปถึงขั้นเปลี่ยนแนวความคิด ทางปรัชญาของเหล่านักฟิสิกส์ เพราะมันก�ำหนดขอบเขตของสิ่งที่เรารู้ การคิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพก็ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร  แต่เหตุผลอย่างเป็น ทางการที่ท�ำให้ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลก็คือทฤษฎีควอนตัมที่เกี่ยวกับ ปรากฏการณ์โฟโต้อิเล็กทริกของเขานั่นเอง 2

ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ

19


เกี่ยวกับจักรวาลและคุณสมบัติของวัตถุในจักรวาล ควอนตัมเมคคานิกส์ เปลี่ยนความเข้าใจของการวัดค่าต่างๆ ที่เราท�ำกันอยู่ในปัจจุบัน เราต้อง คิดใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสิ่งทุกอย่างลงไป ตั้งแต่ระดับที่เป็นพื้นฐานที่สุดของมัน ควอนตัมเมคคานิกส์อธิบายให้เราเห็นถึงโลกที่สุดแสนจะแปลก ประหลาด โลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรที่มีคุณสมบัติใดๆ ชัดเจนก่อน ที่เราจะลงมือวัด มันเป็นโลกที่วัตถุอยู่ห่างกันแสนไกล แต่กลับเชื่อมโยง กันอย่างประหลาด เป็นโลกที่เต็มไปด้วยเอกภพมากมายและมาพร้อม ประวัติศาสตร์แตกต่างกันที่เกิดขึ้นเคียงคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของเรา เป็น โลกที่เต็มไปด้วย ‘อนุภาคเสมือน’ ที่ผลุบๆ โผล่ๆ ออกมาจากสุญญากาศ อันว่างเปล่า ฟังดูราวกับว่าควอนตัมฟิสิกส์เป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์แฟน ตาซี แต่แท้ที่จริงแล้วมันเป็นวิทยาศาสตร์ของแท้ โลกที่ก�ำลังถูกอธิบาย ด้วยควอนตัมฟิสิกส์ เป็นโลกจริงๆ ที่เราอาศัยอยู่นี้ เพียงแต่เล็กจิ๋วในระดับ ไมโครสกอปิก3  ปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดที่ท�ำนายไว้โดยควอน ตัมฟิสิกส์เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริงๆ และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ทฤษฎีควอนตัมได้รับการทดสอบอย่างละเอียดที่สุด จนจัดว่าเป็นทฤษฎี ที่ได้รับการทดสอบอย่างถูกต้องที่สุดในประวัติศาสตร์ของทฤษฎีทั้งหมด ทางวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว  แม้แต่ปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดที่ ถูกท�ำนายไว้โดยทฤษฎี ก็ถูกพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วยการทดลอง (และเรา จะได้พูดถึงการทดลองเหล่านั้นในบทที่ 7, 8 และ 9) โอเค ควอนตัมฟิสิกส์เป็นเรื่องที่สุดยอดเลย แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ หมา? ระดับไมโครสกอปิก ส�ำหรับนักฟิสิกส์หมายถึงระดับที่เล็กกว่าที่จะมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า ซึ่งอาจจะเหมารวมตั้งแต่เล็กจิ๋วระดับแบคทีเรีย ไปถึงอะตอม จน ไปถึงอิเล็กตรอน ซึ่งก็เป็นค�ำระบุช่วงที่กว้างทีเดียว แต่เหล่านักฟิสิกส์คิดว่า คง เป็นการสับสนถ้าจะมีค�ำที่เรียกระดับที่เล็กจิ๋วหลายๆ ค�ำ 3

20

ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ แปล


หมาอยู่ในต�ำแหน่งที่ดีกว่ามนุษย์ในการเรียนรู้เรื่องควอนตัมฟิสิกส์ พวกมันไม่มีความรู้ที่ถูกปลูกฝังสั่งสอนมากมายอยู่ในหัว และพวกมันก็มี ความหวังว่าจะได้เจอเรื่องที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอๆ หมาสามารถเดินเล่นบน ทางเดิมๆ ดมก้อนหินเดิมๆ ทุกๆ ก้อน พุ่มไม้เดิมๆ ทุกๆ พุ่ม ต้นไม้เดิมๆ ทุกๆ ต้น ได้ทุกๆ วันเป็นปีๆ และมันก็ยังมีความสุขและตื่นเต้นทุกครั้งที่ ได้ดม ถ้าเกิดมีขนมหมาโผล่แว้บออกมาจากอากาศว่างเปล่ากลางห้อง ครัว พวกเราเหล่ามนุษย์คงตกใจกรี๊ดลั่นห้อง แต่พวกหมาจะยิ้มและกิน มันอย่างสบายใจ แน่นอนว่าพวกหมาคงไม่แคร์ว่าขนมที่แว้บขึ้นมา จะ โผล่มาจากไหน ใครส่งมา และพวกมันก็ยังหวังว่าขนมเหล่านั้นจะโผล่ มาอีกตลอดเวลาโดยไม่จ�ำเป็นต้องมีเหตุผลที่ชัดเจน ดูเหมือนว่าควอนตัมฟิสิกส์จะขัดแย้งกับสามัญส�ำนึกของมนุษย์ ในเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับโลก มันจึงสร้างความพิศวงงงงวยให้กับพวก เราเป็นอย่างมาก  แต่หมาเป็นผู้ฟังที่เปิดใจยอมรับอะไรได้ง่ายกว่า โลก ของเราเต็มไปด้วยเรื่องราวที่แปลกประหลาดและน่ามหัศจรรย์มากมาย ส�ำหรับพวกหมา  ด้วยเหตุนี้ผลลัพธ์ของควอนตัมฟิสิกส์จึงไม่ใช่เรื่องที่ น่าประหลาดหรือมหัศจรรย์มากไปกว่าการบิดลูกบิดเปิดประตู4  การพูดคุยกับหมาเกี่ยวกับควอนตัมฟิสิกส์  มีข้อดีในอีกแง่หนึ่งก็ คือ มันท�ำให้ผมรู้ว่าควรจะพูดเรื่องควอนตัมฟิสิกส์กับมนุษย์ยังไง  ส่วน หนึ่งของการเรียนรู้ควอนตัมฟิสิกส์ก็คือการพยายามคิดแบบที่หมาคิด ถ้าหากเรายอมรับได้วา่  โลกเต็มไปด้วยเรือ่ งมหัศจรรย์และเรือ่ งน่าประหลาด ใจ พวกเราก็จะเข้าถึงควอนตัมฟิสิกส์ได้ดีกว่านี้มาก หนังสือเล่มนี้รวบรวมเอาบทสนทนาที่ผมพูดคุยกับหมาของผม เกี่ยวกับควอนตัมฟิสิกส์เอาไว้  ในแต่ละบทสนทนาก็จะมีการพูดคุยเกี่ยว กับเรื่องทฤษฎีฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างละเอียด โดยค�ำนึงถึงผู้อ่านที่ ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นไปตามกฎดั้งเดิม เพียงแค่ต้องใช้นิ้วมือที่มีความสามารถ ขยุ้มเข้าหากันได้เท่านั้นเอง 4

ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ

21


เป็นมนุษย์  มีหลายๆ หัวข้อที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น ปรากฏการณ์ทวิภาค ของคลื่นและอนุภ าค (บทที่  1) และทฤษฎีความไม่แน่นอน (บทที่  2) ไปจนถึงหัวข้อที่มีความซับซ้อนที่สูงขึ้นไป เช่น อนุภาคเสมือน และ QED (บทที่   9)  เนื้ อ หาจะรวมไปถึ ง การพู ด คุ ย เกี่ ย วกั บ ค� ำ ท� ำ นายอั น แปลก ประหลาดทางทฤษฎี  (ทั้งทฤษฎีภาคปฏิบัติและทฤษฎีทางปรัชญา) และ รวมไปถึงการทดลองที่ยืนยันทฤษฎีเหล่านั้น  หัวข้อเหล่านี้ถูกบรรจงเลือก มาเฉพาะที่หมาเห็นว่าน่าสนใจและมนุษย์อ่านแล้วน่าตื่นเต้น “ฉันก็ไม่รู้น่ะ แต่ฉันว่า...มันต้องมีอะไร...อืม...มากกว่านั้น” “อะไรมากกว่านั้นคืออะไร?” “ฉันไง คือมีเรื่องเกี่ยวกับฉันให้มากกว่านั้น นายยังไม่ได้พูดว่าฉัน เป็นหมาที่ฉลาดมากที่สุดเลย” “ก็ได้นะ แต่...” “และเป็นหมาที่น่ารักที่สุดด้วย” “แน่นอน แต่ว่านะ...” “และก็อย่าลืม เรื่องที่ฉันเป็นหมาที่ดีด้วยล่ะ ฉันดีกว่าพวกหมา ทั่วๆ ไปพวกนั้น” “หมาพวกนั้น…พวกไหน?” “ก็หมาพวกที่ไม่ใช่ฉันยังไงล่ะ” “ฟังนะ...นี่เป็นหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์  ไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับเธอ” “เอ่อ...ฉันก็แค่พูดว่า ให้มีเรื่องของฉันมากขึ้น ก็เท่านั้นเอง” “ก็คงไม่ใช่ละ  แล้วเธอก็ต้องยอมรับมันแบบนี้ด้วย” “โอเค โอเค ก็ได้  แต่ยังไง นายก็ต้องการความช่วยเหลือจากฉัน เกี่ยวกับเรื่องฟิสิกส์อยู่ดีละ” “เธอหมายความว่าไง?” “ก็บางที...นายลืมพูดถึงเรื่องบางเรื่อง หรือบางที...ก็ไม่ได้ตอบ ทุกค�ำถามของฉัน ซึ่งนายไม่ควรท�ำอย่างนั้น” “เช่นอะไรล่ะ ลองยกตัวอย่างมาหน่อยสิ” 22

ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ แปล


“อืมมมม…ตอนนี้ฉันยังนึกไม่ออกหรอก แต่ถ้านายอ่านให้ฉันฟัง ฉันก็จะบอกให้  และจะช่วยแก้ไขให้ด้วย” “โอเค ฟังดูไม่เลว เอางี้นะ เราจะทบทวนหนังสือเล่มนี้ไปด้วยกัน ถ้ามีจุดไหนที่เธอคิดว่าฉันลืมอะไรไป เราก็จะคุยกัน แล้วเอาความเห็น ของเธอใส่เข้าไปในหนังสือ” “เราจะคุยกันเหมือนกับที่เราคุยกันตอนนี้ใช่รึเปล่า?” “ใช่  เหมือนที่เราคุยกันตอนนี้” “และนายก็จะเอามันใส่ไปในหนังสือด้วยใช่มั้ย?” “ใช่สิ” “ถ้างั้น เราก็ควรจะคุยกันเรื่องที่ว่า ฉันเก่งสุดๆ ฉันน่ารัก และฉัน ควรได้ขนมมากกว่านี้  แล้วก็...” “โอเค เราพอแค่นั้นดีกว่า” “แค่ตอนนี้นะ”

ฟิสิกส์ฉบับเจ้าตูบ

23


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.