โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย
ว่าด้วยเพลง, ภาษา และนานามหรสพ
โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย
ว่าด้วยเพลง, ภาษา และนานามหรสพ
นิธิ เอียวศรีวงศ์
ราคา ๑๘๕ บาท
โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย ว่าด้วยเพลง, ภาษา และนานามหรสพ • นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม ๒๕๓๘ พิมพ์ครั้งที่สอง : ธันวาคม ๒๕๕๗ ราคา ๑๘๕ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม นิธิ เอียวศรีวงศ์. โขน คาราบาว น�้ำเน่าและหนังไทย. - -พิมพ์ครั้งที่ ๒.- -กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๑๖ หน้า.- -(ประวัติศาสตร์). ๑. ศิลปกรรมไทย- -ประวัติและวิจารณ์. ๒. ศิลปกรรมไทย I. ชื่อเรื่อง. 709.593 ISBN 978 - 974 - 02 - 1361 - 1
• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการเล่ม : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี
หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน
บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
สารบัญ
ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์ กุศโลบายและกุสุมรสในงานเขียนของนิธิ เอียวศรีวงศ์
(๖) (๘)
๑. ประวัติศาสตร์ที่เหนือประวัติศาสตร์ ใน ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ ๒. เพลงลูกทุ่งในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย ๓. คาราวาน หรือ คาราบาว “เหลา-สด-ไม่เนื้อ” ๔. ความล�้ำลึกของ “น�้ำเน่า” ในหนังไทย ๕. นาฏกรรมกับการสื่อความและอนาคต ๖. ความฉงนในรอบ ๗๐๐ ปี ๗. ภาษาไทยมาตรฐานกับการเมือง ๘. ภาษาไทย “อิเล็กทรอนิกส์” ๙. ไวรัสของภาษาไทย ว่าด้วยวรรคตอน
๓ ๑๘ ๕๖ ๖๗ ๘๓ ๙๙ ๑๑๔ ๑๔๔ ๑๖๗
งานเขียนของศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดัชนี
๑๗๙ ๑๘๓ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (5)
ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์
นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับแรกออกวางตลาดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ. หลังจากที่นิตยสารนี้ได้ด�ำเนินกิจการมาไม่นานนัก อาจารย์นิธิ เอียว ศรีวงศ์ ก็ได้เริ่มเขียนบทความให้ลงตีพิมพ์. บทความชิ้นแรกนั้นคือ “ความล�้ำลึกของ ‘น�้ำเน่า’ ในหนังไทย” ลงตีพิมพ์ในฉบับประจ�ำเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓. นับแต่นั้น อาจารย์นิธิก็ได้เขียนบทความส่ง มาให้นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยังไม่นับ ส่วนที่อาจารย์เขียนเป็นเล่มต่างหาก และได้มอบหมายให้พิมพ์ในชุด ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษอีกหลายเล่ม. งานเขียนของอาจารย์นิธิที่ทางส�ำนักพิมพ์มติชนน�ำมาจัดพิมพ์ รวมเป็นเล่มนี้ เกือบทั้งหมดเป็นบทความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงสิบสามปี แรกของนิตยสารฉบับนั้น. มีอยู่บางชิ้นได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารอื่นๆ ซึ่งในการน�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ด้วย ก็เป็นความประสงค์ของท่าน ผู้เขียนเอง โดยเหตุผลว่า เพื่อให้เนื้อหาของงานในชุดนั้นๆ สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น. และก็มีอยู่บางชิ้น ที่มิได้น�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ ทั้งด้วยเหตุผล ที่ว่า ผู้เขียนเห็นว่างานชิ้นนั้นๆ มีข้อบกพร่องอยู่, และทั้งด้วยเหตุผล (6) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย
ที่ว่า งานชิ้นนั้นได้เคยตีพิมพ์เป็นเล่มเฉพาะมาแล้ว. อย่างไรก็ตาม ทาง ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นก็ ไ ด้ จั ด ท� ำ บรรณานุ ก รมบทความของอาจารย์ นิ ธิ ทั้งหมดที่ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ปีที่ ๑ มาถึงปีที่ ๑๓ ไว้ด้วยในตอนท้ายของเล่ม. ส�ำหรับผู้อ่านที่ีปรารถนาจะติดตาม หาอ่านงานที่มิได้น�ำมารวมไว้นี้ ก็จะหาได้โดยง่าย. ในการรวมพิมพ์คราวนี้ ทางส�ำนักพิมพ์มติชนได้จัดแบ่งบทความ ทั้งหมดออกเป็นสี่เล่มตามลักษณะของบทความแต่ละชิ้น, ดังนี้. (๑) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย (๒) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ (๓) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย (๔) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ การจัดแบ่งหมวดหมู่ดังนี้ อันที่จริงก็เป็นการจัดโดยกว้างๆ เท่านั้น. ชื่อรองของหนังสือแต่ละเล่มดูเหมือนจะบอกไว้โดยชัดเจน พอสมควรแล้วว่า แต่ละเล่มนั้นมีบทความในประเภทใด. นอกจากจะได้จัดแบ่งเช่นนี้แล้ว ทางส�ำนักพิมพ์มติชนยังได้ ขอให้นักวิชาการสี่ท่านเขียนค�ำน�ำเสนอ (introduction) ให้กับแต่ละ เล่มด้วย. แน่ละ, ทรรศนะที่ปรากฏในค�ำน�ำเสนอดังกล่าวนั้น ย่อมเป็น ข้อความเห็นส่วนตนของนักวิชาการท่านนั้นๆ เอง. ข้อปรารถนาของ ทางส� ำ นั ก พิ ม พ์ ก็ คื อ ให้ ค� ำ น� ำ เสนอนี้ เ ป็ น ที่ เ ปิ ด ประเด็ น การวิ พ ากษ์ วิจารณ์ต่อไป-ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย. ส�ำนักพิมพ์มติชนหวังว่า งานรวมชุดนี้ของอาจารย์นิธิ เอียวศรี วงศ์ จะได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่วงวิชาการไทยและแก่สาธารณชน ในวงกว้าง, ดังที่บทความแต่ละชิ้นของท่านได้เป็นมาก่อนแล้ว. สุพจน์ แจ้งเร็ว
บรรณาธิการฉบับรวมพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๘
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (7)
กุศโลบายและกุสุมรส ในงานเขียนของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๘)
บทน�ำนี้ เป็นผลมาจากการอ่านบทความทั้งเก้าเรื่องของนิธิ เอียว ศรีวงศ์ ตามความสนใจของผู้เขียนบทน�ำ จะตรงหรือไม่ตรงกับเจตนา ของท่านผู้เขียนนั้นก็สุดที่จะเดา ออกจะเชื่อด้วยซ�้ำไปว่า เรื่องที่หยิบ ยกมากล่าวถึงนั้น ท่านคงจะคิดว่าเป็นเรื่องที่รู้ๆ อยู่แล้ว ไม่รู้จะเขียน ไปท�ำไม หรือไม่ก็อาจจะลงความเห็นด้วยส�ำนวนของท่าน ว่าเป็น จินตนาการที่ “ผาดโผน แต่ไม่ได้เรื่องเอาเสียเลย” (จาก “ผู้ชนะสิบ ทิศฯ”) ดิฉันรู้จักชื่อของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ สิบหกปีมาแล้ว จากการอ่านบทความเรื่อง โลกของนางนพมาศ และ หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้อ่าน วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้น รัตนโกสินทร์ ฉบับรายงานเสนอสถาบันไทยคดีศกึ ษา ธรรมศาสตร์ อ่าน เพียงสองชิ้นนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะท�ำให้หลงเสน่ห์งานเขียนของนิธิ เช่น เดียวกับผู้อ่านอื่นๆ เมื่อจ�ำเป็นต้องมาเขียนบทน�ำส�ำหรับหนังสือรวม บทความชุดนี้ จึงถือเป็นโอกาสที่จะได้ลองทบทวนดูว่า พลังที่ดึงดูดผู้ อ่านนั้นเกิดมาจากเครื่องปรุงใดบ้าง มีอะไรที่ท�ำให้คนอ่านกระหายใคร่ จะได้อ่าน เมื่อเห็นชื่อขึ้นปกก็จะต้องรีบพลิกหาเป็นเรื่องแรก และเมื่อ (8) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย
อ่านแล้ว ก็ยากที่จะไม่ได้รับความพึงพอใจ ส�ำหรับดิฉัน เนื้อหาสาระที ่ เกีย่ วกับ เพลง ดนตรี วรรณกรรม การแสดง อาจจะเป็นสิง่ แรกทีท่ ำ� ให้ เกิดฉันทาคติ เพราะอยากรู้จักเรื่องเหล่านี้ แต่เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น พระเจ้าตาก รัฐชายขอบ แบบเรียน รัฐธรรมนูญ ฯลฯ ก็ท�ำให้ติดใจ ได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จนเชื่อว่า ความดึงดูดมิได้อยู่ที่เนื้อเรื่องเพียง อย่างเดียว แต่มกี ลวิธกี ารเขียนบางอย่างซึง่ มีลกั ษณะเฉพาะตัวของนิธิ ทีท่ ำ� ให้งานเขียนมีพลังอย่างสูงเหนือคนอ่านกลุม่ หนึง่ ดังนัน้ จะเรียกว่า บทน�ำนีพ้ ยายามจะท�ำความเข้าใจกุศโลบายและกุสมุ รสในงานเขียนของ นิธิในระดับเบื้องต้นก็คงจะได้ ในเมื่อเรื่องราวหลายเรื่องของหนังสือเล่มนี้ มีความเกี่ยวข้องอยู่ กับการแสดงหลายรูปแบบในสังคมไทย คงจะเข้ากับบรรยากาศดีถา้ หาก จะเสนอความคิดว่า ถ้าเปรียบข้อเขียนของอาจารย์นิธิเป็นละคร และ ตัวอาจารย์เองเป็นนายโรง ทั้งแต่ง ก�ำกับ และแสดงเองด้วย ก็จะเห็น ได้ว่า กลวิธีของอาจารย์นิธิ คือการเล่นบทบาทหลักสองบทไปพร้อมๆ กัน บทหนึ่งคือบทพระฤๅษีที่ทรงภูมิ เป็นผู้ให้ความรู้และความเข้าใจ แก่ผู้อ่านหรือผู้ชม รวมทั้งให้คติเตือนใจไปด้วยเมื่อละครจบ ส่วนอีก บทหนึง่ นัน้ เป็นบทของตัวตลกทีเ่ ล่นสนุกสนานเฮฮากับคนดู คุยกับคน ดูด้วยส�ำเนียงภาษาแบบชาวบ้านจนคนดูติดอกติดใจ ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ บนพืน้ ฐานว่า คนดู หรือคนอ่านกลุม่ นี ้ เป็นคนทีพ่ ดู ภาษาเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกันกับอาจารย์นธิ ิ มีการศึกษาพอควร และมีรสนิยมบางอย่าง ทีท่ ำ� ให้เห็นว่าประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม เป็นเรือ่ งทีอ่ อกจะส�ำคัญ ในบทบาทของพระฤๅษีนนั้ อาจารย์นธิ เิ สนอการวิเคราะห์สอื่ ทาง วัฒนธรรมหลายประเภท กลุม่ หนึง่ เป็นเรือ่ งของภาษา ซึง่ ครอบคลุมทัง้ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษามาตรฐาน ภาษาโบราณในศิลาจารึก ภาษา คอมพิวเตอร์ และภาษาอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มเชิง ศิลปะและวรรณกรรม คือบทความวรรณกรรมเรื่องผู้ชนะสิบทิศ เพลง ลูกทุง่ เพลงของคาราวานและคาราบาว หนังไทย และนาฏกรรม แต่ถงึ แม้จะมีเนือ้ หาทีห่ ลากหลาย ประเด็นทีเ่ สนอในแต่ละเรือ่ งนัน้ มีแนวทาง นิธิ เอียวศรีวงศ์ (9)
ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจจะสรุปได้ว่าประกอบด้วยสามประเด็นหลักๆ ดังนี้ ประเด็นแรกเป็นการเสนอความคิดว่า สื่อชนิดต่างๆ ล้วนถือ ก�ำเนิด เติบโต และเสื่อมสลายลงไป ภายใต้สิ่งที่อาจจะเรียกรวมๆ ได้ว่า บริบททางสังคม ค�ำนี้ก็เป็นค�ำกว้างๆ ที่หมายรวมเหตุการณ์ และกระบวนการหลายๆ อย่างไว้ด้วยกัน ในบางบทความอาจารย์ อธิบายไว้วา่ บริบทนีห้ มายถึง (๑) ศาสนา ความเชือ่ โลกทัศน์ ปรัชญา อุ ด มการณ์ , (๒) รั ฐ ประศาสนศาสตร์ , (๓) มาตรฐานของความ สัมพันธ์ทางสังคม และ (๔) สื่ออื่น (จากเรื่อง “นาฏกรรมฯ”) แต่ท ี่ ส�ำคัญกว่านัน้ คืออาจารย์นธิ สิ ามารถอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมเหล่านี้ ได้อย่างมีชีวิตชีวา และมีรสชาติอย่างยิ่ง ในการวิเคราะห์แต่ละกรณี ตัวอย่างที่ท�ำได้ชัดเจนที่สุดคือเรื่อง “เพลงลูกทุ่งฯ” เรื่องนี้เป็นการชี้ ให้เห็นว่า เพลงลูกทุ่งถือก�ำเนิดขึ้นมาในเมือง ในยุคที่เมืองมีเทคโนโลยี ที่จะส่งผลิตผลทางดนตรีรูปแบบใหม่นี้ไปขายให้แก่ผู้ฟังในชนบท เพลง ลูกทุ่งจึงเป็นเพลงที่มีส�ำเนียงบ้านนอก อาศัยท�ำนองและทางร้องของ เพลงพื้นบ้านชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักคุ้นหูผู้ฟังชาวชนบท แต่ขณะ เดียวกัน เนื้อหาเป็นเรื่องของเหตุการณ์ประจ�ำวัน ปัญหา และวิธีคิด ของคนเมืองอยู่มาก ชีวิตของเพลงลูกทุ่งจึงหล่อเลี้ยงอยู่ด้วยความ สัมพันธ์ระหว่างเมือง (กรุงเทพฯ) กับชนบท เพื่อน�ำเสนอชีวิตแบบ เมืองให้แก่คนชนบท และในขณะเดียวกันก็ยกย่องคุณธรรม ความซื่อ บริสุทธิ์ของชาวชนบท แต่ต่อมา เมื่อวิถีชีวิตและประเพณีเพลงแบบ ดั้งเดิมเริ่มหมดอิทธิพลในจิตใจของคนชนบทรุ่นใหม่ เพลงลูกทุ่งก็เริ่ม จะเสื่อมคลายความนิยมลงไป และถูกแทนที่ด้วยดนตรีชนิดอื่นมากขึ้น ทุกที ใน “ผู้ชนะสิบทิศ” คนทั่วไปรู้จักพระเอกที่ชื่อบุเรงนองดี ในฐานะ นักรบและนักรัก ผู้มีก�ำเนิดอันต�่ำต้อย หากผงาดขึ้นเป็นผู้ชนะสิบทิศ ด้วยคุณธรรม และเพลงอาวุธของตนเอง แต่อาจารย์นิธิเป็นคนแรก ที่ชี้ให้เห็นว่า อุปนิสัยเหล่านี้ของบุเรงนอง เป็นสิ่งที่ผู้แต่งคือยาขอบ สร้างขึ้นมาอย่างระมัดระวังเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศทางสังคมและ ประวัติศาสตร์ขณะนั้น ท�ำให้บุเรงนองมีพฤติกรรมไม่ต่างจากพระเอก (10) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย
ในอุดมคติของวรรณคดีไทย คือครองใจตะละแม่ทกุ นครทีย่ าตราทัพผ่าน แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความคิดความอ่าน มีข้ออ้างที่ฟังดูมีเหตุผล พอที่คนสมัยใหม่จะรับได้ คือรักตะละแม่แต่ละคนด้วยอารมณ์ที่ต่างกัน ท�ำให้เข้ากันได้ดีกับรสนิยมของผู้อ่านชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ ของนิยายเรื่องนี้ “คาราวาน หรือ คาราบาวฯ” เป็นบทความเกีย่ วกับบทบาทของ เนื้อร้อง ในประเพณีเพลงของไทย วงดนตรีสองวงนี้ ดูเผินๆ มีความ คล้ายคลึงกันมาก คือนอกจากจะมีชอื่ คล้ายกันแล้ว ยังร้องเพลงประเภท ที่ใกล้เคียงกัน คือสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาต่างๆ ในสังคม วิจารณ์ การเมืองและผู้ใช้อ�ำนาจอย่างไม่เป็นธรรมด้วย แต่อาจารย์นิธิกลับ เสนอมุมการมองใหม่ว่า วิวัฒนาการจากคาราวานมาเป็นคาราบาว เป็นจุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญของการสื่อสารด้วยเนื้อร้อง คาราวานสื่อสาร กับผู้ฟังด้วยเนื้อร้อง ความคิด ความหมายต่างๆ แสดงออกมาด้วย ถ้อยค�ำของเนื้อเพลงอย่างเต็มที่ จะได้ความหมายเต็มที่ก็ต้องฟังเนื้อ กันอย่างเอาจริงเอาจัง ส่วนวงคาราบาวนั้น เนื้อร้องลดความส�ำคัญ ลงไปมาก กลายเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี ซึ่งรวมเสียงหลายอย่างไว้ ด้วยกันเสียมากกว่า อาจารย์นิธิสันนิษฐานว่า การเปลี่ยนนี้เป็นส่วน หนึ่งของการปฏิวัติการสื่อสารที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในโลกปัจจุบัน ค�ำพูดอย่างเดียวมีบทบาทน้อยลง การสื่อสารก� ำลังก้าวไปสู่การใช้ สื่อหลายชนิด ทั้งภาพเสียง การเคลื่อนไหว พร้อมๆ กัน ส่วนใน “ภาษาไทยมาตรฐานกับการเมือง” และ “ภาษาไทย ‘อิเล็กทรอนิกส์’ ” นั้น อาจารย์นิธิมองปรากฏการณ์ที่ครูภาษาไทย เห็นว่าเป็นอาการของ “ภาษาไทยวิบัติ” ว่าเป็นการปรับตัวของภาษา ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เมื่อคนกลุ่มที่เรียกว่าคนชั้นกลาง เติบโต และมีบทบาททางสังคมและการเมืองสูงขึ้น ภาษาที่ถือกันว่า เป็นภาษามาตรฐานก็เริ่มถูกกระทบกระเทือน อาจารย์นิธิอธิบายว่า ทั้งนี้เป็นเพราะภาษามาตรฐานพัฒนาโดยชนชั้นสูง และธ�ำรงรักษา ความเป็นชนชั้นสูงไว้ บางส่วนของภาษามาตรฐานซับซ้อนมากเกิน กว่าที่คนนอกกลุ่มจะสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง การใช้ราชาศัพท์ผิดๆ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (11)
ในสื่อมวลชน จึงเป็นการปรับเปลี่ยนให้ภาษาง่ายขึ้น สนองตอบความ ต้องการใช้ภาษาของคนกลุ่มใหม่ที่มิได้มีรากทางวัฒนธรรมในแวดวง ของชนชั้นสูงมาก่อน ประเด็นที่สอง คือการวิเคราะห์การท�ำงานของสื่อ ว่าสื่อประเภท ต่างๆ นัน้ ส่ง สาร มายังผูร้ บั อย่างไร นักคิดฝรัง่ คนทีอ่ าจารย์นธิ อิ า้ งถึง มากที่สุด และดูจะเป็นคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับเกียรติถึงขั้นเอ่ยชืื่อไว้ คือ Marshall McLuhan “ผู้สรุปแนวคิดของเขาไว้สั้นๆ และเป็นที่ รู้จักกันว่า ‘สื่อกลางคือตัวข่าวสาร’” (จากเรื่อง “หนังไทย”) แต่วัตถุ ประสงค์ของบทความ ไม่ได้ต้องการจะอธิบายแนวความคิด หรือวิธี วิเคราะห์ของแม็กลูฮนั แต่อย่างใด หากต้องการใช้ความคิดทีว่ า่ ลักษณะ และรูปแบบของสื่อเอง เป็นสิ่งที่สร้างความหมายให้แก่ผู้รับด้วยนั้น เป็นบันไดน�ำไปสู่การกล่าวถึงสื่อบางประเภทในสังคมไทยโดยเฉพาะ และด้วยวัตถุประสงค์บางอย่างโดยเฉพาะอีกด้วย จะสังเกตได้ว่า สื่อส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นสื่อ ประเภทกลางเก่ากลางใหม่ในสังคมไทย เกิดและแพร่หลายในช่วงที่มี การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หนังไทย เพลง ลูกทุ่ง วงคาราวาน หรือภาษาไทยที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ น่าจะเป็นตัวอย่าง ทีเ่ ห็นได้ชดั เจนว่าพัฒนาขึน้ มาในช่วงนี ้ อาจารย์นธิ อิ าศัยความกลางเก่า กลางใหม่นี้เอง น�ำไปสู่การอธิบายถึงจารีตของศิลปะในอดีต ซึ่งเรียก ชื่อเป็น ศิลปะแบบเก่าบ้าง ประเพณีบ้าง การแสดงแบบไทยบ้าง หรือ ฉันทลักษณ์นาฏกรรมจารีตบ้าง ซึ่งว่ากันโดยวิธีการแล้ว อาจารย์ไม่ เคยระบุอย่างชัดๆ ว่า ศิลปะแบบจารีตของไทยนี้คืออะไร การอธิบาย จะใช้วิธีน�ำของซึ่งเป็น “ฝรั่ง” หรือ “ตะวันตก” มาเปรียบเทียบว่ามี ความแตกต่างกัน แต่เมื่อน�ำมาใช้อธิบายตัวอย่างแต่ละตัวอย่าง ก็ดูจะ ท�ำให้มีตัวตนอยู่จริงๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนและมีชีวิตชีวาที่สุด คือเรื่อง การร้องเพลงแบบพื้นบ้าน ซึ่งเห็นร่องรอยอยู่มากในเพลงลูกทุ่ง (จาก “คาราวาน หรือ คาราบาวฯ”) ถ้าพลิกไปอ่านตรงที่บรรยายการร้อง ของคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ ก็จะซาบซึ้งทีเดียวว่า กลวิธีการเปล่งเสียง (12) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย
กล่อมเสียง เล่นลูกคอของนักร้องชาวบ้าน เป็นการสื่อถึงปฏิภาณและ ปัญญาได้ขนาดไหน เรื่องกลเม็ดเด็ดพรายในการร้องเพลงนี้ บรรยาย ได้มสี สี นั กว่าเรือ่ งอืน่ มาก จะเป็นด้วยเหตุทอี่ าจารย์เคยเป็นอดีตนักร้อง เพลงไทยเดิม ลูกศิษย์บ้านดนตรีสกุลพาทยโกศล หรือเพราะเหตุอื่น ก็ไม่ทราบได้ จารีตประเพณีจากอดีตนั้น จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือมี ความหลากหลายเพียงใด ไม่ได้กล่าวไว้มาก แต่ก็น่าสังเกตว่าส่วนที่ อาจารย์นิธิเน้นให้คนอ่านเกิดความเข้าใจเป็นพิเศษ คือจารีตประเพณี ที่มีรากฐานมาจากชีวิตของชาวบ้าน ทั้งที่เป็นชุมชนเกษตรในชนบท และสามัญชนในเมือง คนเหล่านี้จะเป็นใคร มีชีวิตอย่างไร มีตัวตนอยู่ ตรงไหน อาจารย์นิธิมิได้อธิบายไว้ แต่ดูเหมือนจะมีสมมุติฐานในใจ อยู่ว่า ปรัชญาชีวิตของคนเหล่านี้ ซึ่งแสดงออกได้จากสื่อต่างๆ ที่น�ำ มาวิเคราะห์ อาจจะถูกลืมเลือนไปแล้ว หรือถูกบดบังด้วยความคิด แบบอื่น จนไม่เป็นที่รู้จักชื่นชม รวมทั้งอาจจะถูกดูถูกดูแคลนเป็นอย่าง มาก โดยนัยนี้ อาจจะจัดได้ว่าอาจารย์นิธิเป็นนักคิดที่สังกัดในสกุล ภูมิปัญญาชาวบ้านท่านหนึ่ง ที่เน้นในเรื่องภูมิปัญญาของการสื่อความ หมายเป็นพิเศษ ส� ำ หรั บ ประเด็ น ที่ ส ามนั้ น อาจารย์ นิ ธิ เ ล่ น บทพระฤๅษี ที่ เ ตื อ นสติ คนอ่าน ให้เห็นถึงช่องว่างทางวัฒนธรรมทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ ในสังคมปัจจุบนั ละครของอาจารย์สว่ นใหญ่ใช้พล็อตหลักเรือ่ งเดียวกัน พล็อตนีอ้ าจจะ สรุปได้วา่ คนแต่ละกลุม่ ในสังคม ได้สร้างศิลปะ ภาษา และวรรณกรรม ที่มีเนื้อหาและรูปแบบเฉพาะของตนขึ้นมา เพื่อสื่อสารความหมายกัน ภายในกลุม่ การเปลีย่ นแปลงขนานใหญ่ทางเศรษฐกิจหรือทางการเมือง ท�ำให้เกิดมีคนกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้น คนกลุ่มใหม่นี้เมื่อมีพลังเพียงพอ ก็สามารถสร้างศิลปวัฒนธรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ตน เหมาะกับสภาพชีวิตของตน ปัญหาของความขัดแย้งเกิดขึ้นจาก การที่คนแต่ละกลุ่มไม่รู้จักวิถีชีวิตของคนกลุ่มอื่น จึงไม่สามารถเข้าใจ และชื่นชมกับศิลปะแบบอื่นที่ตนไม่รู้จัก พล็อตเรื่องนี้ท�ำให้อาจารย์ต้อง นิธิ เอียวศรีวงศ์ (13)
พยายามชี้ให้คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่า จารีตแบบพื้นบ้านนั้น มีความไพเราะ แสดงถึงสติปัญญาของคนในการสื่อสารอย่างไร และในขณะเดียวกัน ก็พยายามชี้ให้คนอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ภาษาไทยแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีหลักในการสื่อสารอีกอย่างหนึ่ง จะตัดสินด้วยไวยากรณ์ภาษาเขียน แบบเดิมแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้น บทความของอาจารย์จึงท�ำ หน้าทีเ่ ป็นสะพานเชือ่ มช่องว่างระหว่างความไม่เข้าใจระหว่างคนหลายๆ กลุ่มในสังคมเดียวกัน แต่หากจะถามต่อไปว่า จุดยืนของอาจารย์จากนี้ต่อไปคืออะไร แน่ หากในสังคมหนึง่ ประกอบด้วยกลุม่ คนทีแ่ ตกต่างกันอย่างมาก ต่าง มีรปู แบบศิลปวัฒนธรรมของตนทีต่ า่ งกัน และขัดแย้งกัน เราจะสามารถ ใช้ไม้บรรทัดอะไรวิจารณ์ หรือประเมินคุณค่าของสือ่ แต่ละแบบ หรือเรา จะไม่สามารถท�ำได้ เพราะสือ่ แต่ละแบบก็ยอ่ มจะต้องมีเหตุผลสนองตอบ วิถีชีวิตของกลุ่มคนที่สร้างมันขึ้นมา ฉะนั้นภาษาไทยแบบหนังสือพิมพ์ ก็เหมาะส�ำหรับสื่อมวลชน ภาษาไทยแบบภาษาเขียนก็เหมาะส�ำหรับ อาจารย์ครึๆ จะวิจารณ์ซึ่งกันและกันโดยพื้นฐานของอะไร ในเรื่องนี้ อาจารย์นิธิมิได้ให้ค�ำตอบที่ชัดเจน และคงจะทิ้งไว้ให้ผู้อ่านใช้สติปัญญา ไตร่ตรองกันเอาเอง แต่จะว่าอาจารย์เขียนโดยปราศจากอคติ ในความ หมายที่ว่าไม่มีความรู้สึกชอบพอ หรือหมั่นไส้คนกลุ่มใด หรือสื่อแบบ ใดเลยก็ไม่ใช่ เวลาที่เขียนถึงจารีตของชาวบ้านบางอย่าง เช่น เนื้อร้อง หรือวิธีร้องแบบพื้นบ้าน อาจารย์ก็เขียนถึงด้วยความรักและชื่นชม ในขณะที่เขียนถึงภาษาไทยมาตรฐานด้วยความขื่นขม แต่โดยรวมๆ แล้ว ข้อสรุปของอาจารย์ก็มีท่าทีที่ประนีประนอมสูง โดยปฏิเสธจุดยืน สุดขัว้ ไม่วา่ จะเป็นอนุรกั ษนิยมสุดโต่ง ทีโ่ หยหารูปแบบบริสทุ ธิบ์ างอย่าง เพื่อที่จะเก็บรักษาไว้เป็นมาตรฐานโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ หรือแบบ ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่ยอมเหลียวหลัง เช่น อ�ำนวยความสะดวกให้ คอมพิวเตอร์จนยอมให้ภาษาไทยหมดความสง่างาม เป็นต้น ในระหว่าง สองขั้วนี้ อาจารย์ดูจะมีความเห็นอกเห็นใจคนสองกลุ่มเป็นพิเศษ คือ ชาวชนบท และคนรุน่ ใหม่ หรือคนหนุม่ สาว ส่วนคนทีร่ งั เกียจเป็นพิเศษ คือคนที่ใช้อ�ำนาจเผด็จการ และคนที่เหยียดหยามวัฒนธรรมของคน (14) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย
อื่น ดังนั้น ละครของอาจารย์จึงจบโดยการให้คติแต่เพียงกว้างๆ ไว้ว่า “การเชื่อมช่องว่างนั้นจะท�ำได้ ไม่ใช่ด้วยการใช้อ�ำนาจหรือการ เหยียดหยาม แต่ท�ำได้ดว้ ยความพยายามจะเข้าใจวัฒนธรรมทีต่ ่างกัน” (จาก “คาราวาน หรือ คาราบาวฯ”) ที่กล่าวไปนั้นก็เป็นสาระโดยสังเขป ซึ่งคงพอจะท�ำให้เห็นประเด็น ความคิดในการมองสื่อและการเปลี่ยนแปลงของสังคมของอาจารย์นิธิ ได้บ้าง แต่เมื่อดิฉันลองอ่านดูสิ่งที่เขียนไปในช่วงแรกนี้แล้ว ก็รู้สึกว่า แห้งแล้งจืดชืดเกินไป ดูเป็นความคิดพืน้ ๆ ไม่มอี ะไรเหมือนกับงานเขียน ของอาจารย์นิธิเลย แถมท�ำให้อาจารย์นิธิดูไม่ต่างอะไรจากนักคิดร่วม สมัยท่านอื่นที่พูดถึงช่องว่างทางวัฒนธรรม รวมทั้งไม่ต่างจากนักคิด นักเขียนรุ่นเก่ากว่ามาก เช่น พระยาอนุมานราชธน ซึ่งก็สรุปถึงการ ผสมผสานของเก่ากับของใหม่ไว้ในท�ำนองเดียวกัน แต่ทั้งหมดนั้นเป็น บทพระฤๅษี ซึง่ เป็นเพียงซีกเดียวของเรือ่ งทัง้ หมด และเราไม่ควรจ�ำกัด อยู่เพียงเท่านั้น เพราะสิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่าอยู่ที่บทตลกต่างหาก ข้ อ สั ง เกตเกี่ ย วกั บ บทตลก เริ่ ม ได้ ตั้ ง แต่ ส ไตล์ ข องงานเขี ย น บทความของอาจารย์ ที่มีลักษณะทีเล่นทีจริง ก�้ำกึ่งระหว่างท่าทีเอา จริงเอาจังกับการเล่นสนุก บทความเหล่านี้เป็นงานวิชาการหรือไม่ ข้อ นี้คงเป็นเรื่องที่เถียงกันได้ไม่รู้จบ แล้วแต่ว่าใครจะมีภาพของวิชาการ ในอุดมคติว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่ส�ำคัญไม่ใช่จะมาตัดสินกันว่า เป็นหรือ ไม่เป็นวิชาการ ด้วยเกณฑ์อะไร แต่ต้องการจะชี้ให้เห็นในเบื้องแรกนี้ ว่าความคลุมเครือว่าเป็นหรือไม่เป็นงานวิชาการ หรือกึ่งวิชาการนี้ มี บทบาทส�ำคัญทีเดียวในการสร้างความสัมพันธ์บางลักษณะระหว่าง อาจารย์นิธิกับผู้อ่าน หนังสือ ศิลปวัฒนธรรม เป็นเวทีที่เปิดกว้างเรื่อง รูปแบบ ข้อเขียนทีส่ ง่ มาเป็นโคลงกลอน สารคดี บันทึกส่วนตัว บทความ คงแก่เรียน ก็ได้ทงั้ นัน้ หากท่านบรรณาธิการเห็นว่าเข้าท่าก็จะลงให้ แต่ จะว่าเป็นหนังสือไม่มเี นือ้ หาสาระก็ไม่ได้อกี ผูอ้ า่ นบางท่านก็ยงั เคยเขียน มาบอกว่า บทความทีล่ งได้รบั การอ้างอิงในฐานะเป็นงานวิชาการอย่าง เต็มภาคภูมิ ท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้ของหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม นิธิ เอียวศรีวงศ์ (15)