บทเรียนชาวพุทธจากรณี ธรรมกาย

Page 1


บทเรียนชาวพุทธ จากกรณีธรรมกาย

เสฐียรพงษ์ วรรณปก



บทเรียนชาวพุทธ จากกรณีธรรมกาย

เสฐียรพงษ์ วรรณปก

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  ๒๕๕๘


บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย • เสฐียรพงษ์ วรรณปก พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม ๒๕๕๘ ราคา  ๑๕๐  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม เสฐียรพงษ์  วรรณปก. บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย.  กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘. ๑๘๔ หน้า. ๑. พุทธศาสนา--หลักคำ�สอน  I. ชื่อเรื่อง ๒๙๔.๓๑๕ ISBN  978 - 974 - 02 - 1402 - 1 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : โมน สวัสดิ์ศรี  • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ กราฟิกเลย์เอาต์  : อรอนงค์  อินทรอุดม • ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา ประชาสัมพันธ์  : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕  โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่  ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์  ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  ๑๑๑๒๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖  โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ใบปะหน้า พระกินอุจจาระ อานนท์เห็นอสรพิษไหม พระพุทธศาสนามิใช่ลัทธิ ธรรมกาย ปาฏิหาริย์หรือโกหัญญวิธี ลัทธิธรรมกาย สัทธรรมปฏิรูปแห่งยุคสมัย ไปไหนมาสามวาสองศอก ต้นธาตุ  ต้นธรรม พระนิพพานเป็นอัตตา หรืออนัตตา ท�ำไมต้องอ้างฝรั่ง จดหมายเปิดผนึก ถึงมหาเถรสมาคม องค์กรปกครองสูงสุดแห่งคณะสงฆ์ไทย

๗ ๑๐ ๑๓ ๑๕ ๒๑ ๒๗ ๔๑ ๖๕ ๗๑ ๗๗ ๘๗


ท�ำไมผมต้องยื่นจดหมายเปิดผนึก ทุมมังกุ  ก�ำลังท�ำร้ายพระพุทธเจ้า อยากเห็นศาสนาบริสุทธิ์ต้องใจเย็นๆ (ร่าง) รายงานเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย นิพพานเป็นอนัตตา กรณีธรรมกาย ภาพสะท้อนของชาวพุทธไทย?

๙๗ ๑๐๕ ๑๑๑ ๑๑๗ ๑๒๕ ๑๓๑

๑๘๐

ภาคผนวก :  ย้อนดูพระด�ำริพระสังฆราช-มติ  มส.ปี  ๒๕๔๒ ระบุชัด “อดีต” เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประพฤติผิด ๒ ส่วน


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

หนึ่งในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจตลอดระยะ  เวลาหลายสิบปี  นั่นคือการก�ำเนิดและด�ำรงอยู่ของ “วัดพระ  ธรรมกาย” อันมีภาพลักษณ์ที่แปลกต่างจากพุทธสถานนิกาย  เถรวาท ใช่เพียงศาสนสถานอันเด่นตระการเท่านั้น แต่ยังรวมถึง  หลักค�ำสอนที่หลวงพ่อสด (พระมงคลเทพมุนี  สด จนฺทสโร) วัด  ปากน�้ำ ภาษีเจริญ เป็นผู้ค้นพบ โดยกล่าวว่าเป็นวิชาของพระ  พุทธเจ้าที่เคยถูกปกปิดเป็นความลับ  ต่อเมื่อภายหลังปรินิพพาน  ในอีก ๕๐๐ ปี  จึงได้มีการรื้อฟื้นวิชชาธรรมกายขึ้นมาอีกครั้ง นั่นเป็นเพียง “ค�ำอ้าง” จากวัดพระธรรมกาย แต่ในความเป็นจริง วิชชาธรรมกายมิได้มีข้อพิสูจน์ว่าจะ  ท�ำให้ผู้ใดถึงแก่นนิพพาน  อีกทั้งในเวลาต่อมาหลวงพ่อสดเองก็  บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย

7


ยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่ผิดพลาด ถึงกับต้องขอให้พระเถระระดับ  วิปัสสนาจารย์จากวัดมหาธาตุชี้แนะหนทางที่ถูกต้องในเรื่อง  วิปัสสนากรรมฐาน  ทว่าหลังจากสิ้นหลวงพ่อสด วัดพระธรรม  กายกลับไม่ยุติความเชื่อเดิม แต่กลับน�ำเข้ามาผสมเข้ากับพุทธ  พาณิชย์  ชักจูงผู้คนให้แห่แหนเข้ามาทุ่มเทท�ำบุญอย่างไม่เคย  ปรากฏมาก่อน เป็นการท�ำบุญในลักษณะ “ซื้อบุญ” เพียงเพื่อหวังความ  ร�่ำรวยในชาติภพหน้า โดยมีเจดีย์วัดพระธรรมกายซึ่งมีลักษณะ  แปลกตาเป็นหมุดหมายส�ำคัญ ไม่เพียงเท่านั้น หลักค�ำสอนอันเป็นดุจแก่นหลักของพุทธ  ศาสนาก็ ถู ก เจ้ า ส�ำนั ก วั ด พระธรรมกายปรั บ แก้ เ สี ย ใหม่   จาก  “นิพพานเป็นอนัตตา” กลายเป็น “นิพพานเป็นอัตตา” โดยอ้างว่า  สถานที่ปรินิพพานสามารถคาดค�ำนวณได้ว่ามีลักษณะอย่างไร  จนทั้งฆราวาสและองค์กรสงฆ์ต่างตั้งค�ำถามว่าผิดหลักพุทธ  ศาสนาหรือไม่ ด้วยเหตุและผลเดียวกัน “เสฐียรพงษ์  วรรณปก” ราช  บัณฑิตของไทย ผู้ต่อสู้ให้แก่ความถูกต้องของพุทธศาสนามา  อย่างยาวนาน จึงได้รวบรวมข้อเขียนของตนเพื่อตอบโต้วัดพระ  ธรรมกายด้วยการอธิบายว่า “ข้อจริง” เป็นอย่างไร “ข้อเท็จ”  เป็นอย่างไร เหตุใดคนในสังคมจึงต้องร่วมกันปกป้องหลักธรรม  ค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ในหนังสือ “บทเรียนชาวพุทธจาก  กรณีธรรมกาย” เล่มนี้ 8

เสฐียรพงษ์ วรรณปก


ภายในเล่มกล่าวถึงต้นก�ำเนิดของความเชื่อเกี่ยวกับวิชชา  ธรรมกาย ค�ำถามถึงการ “อัดธรรมกาย” ว่าเป็นสิ่งที่บรรจุอยู่ใน  พุทธศาสนาหรือเป็นเพียงค�ำลวง การถวายภัตตาหารแด่พระ  พุทธเจ้าเป็นเรื่องจริงหรือโกหกมดเท็จ และการท�ำบุญอย่างชนิด  ทุ่มสุดตัวเพื่อหวังรวยในชาติหน้าเป็นค�ำสอนของพุทธศาสนา  หรือไม่ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีบทสัมภาษณ์จากกลุ่มเสขิยธรรม  และภาคผนวกซึ่งเป็นรายงานจากหนังสือพิมพ์มติชน เพื่อเติม  เต็มความสมบูรณ์ของเนื้อหาให้เข้มข้นอีกด้วย ทั้งนี้  เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจรรโลงพระพุทธ  ศาสนาอย่างถูกท�ำนองคลองธรรม และเพื่อให้เป็นไปตามขนบ  อันดีงามของพุทธศาสนาสืบไป ส�ำนักพิมพ์มติชน

บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย

9


ใบปะหน้า

คุณพี่เสฐียรพงษ์  (นามเดิม เสฐียรพงษ์  วรรณปก) ของผม เป็นเหมือนเจ้าของสวนพระพุทธศาสนาอันกว้างใหญ่  ท่านเป็นสามเณรเปรียญ ๙ รูปแรกของแผ่นดินล้นเกล้าฯ รัชกาล  ที่  ๙ ของเรานี้   ถ้าไม่สึกหาลาเพศมาเสียก่อนเพราะสิ้นวาสนา  วงการสงฆ์ก็คงมีสมเด็จอีกรูปหนึ่งที่มั่นคงในพระธรรมวินัยและ  ไม่บกพร่องในศีล ในฐานะผู้สั่นคลอนเชิงโลกียวิสัยและสอบตกในวิชาศีล  ธรรมหลายข้อ ยามวิบัติขัดข้อง ผมก็เร่ไปหาหลวงพี่เสฐียรพงษ์  ทุกที  แล้วก็ได้ปัญญาส่องทางคืนกลับมาทุกครั้ง  จู่ๆ หลังปีใหม่  พ.ศ.๒๕๕๘ ไม่กี่วัน หลวงพี่เสฐียรพงษ์ก็เดินมาบอกว่า ช่วย  เขียนใบปะหน้าหนังสือ บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย  ให้ที  เหมือนเณรน้อยโดนกระแทกด้วยศีล เหมือนกุมารเผลอ  10

เสฐียรพงษ์ วรรณปก


ขโมยของเล่น จนตรอกจนต้องขโมยมะพร้าวอ่อนไปคืนเจ้าของ  สวน หนังสือเรื่อง “บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย” เป็น  เรื่องน่าศึกษาเรียนรู้ทั้งนักบวชและฆราวาส เป็นข้อศึกษาที่ควร  ศึกษา เป็นความรู้ที่ควรปฏิบัติและจดจ�ำ ถ้าใครอ่านออกเขียน  ได้และมีความปกติอันควรแก่จริต ตอนเด็กๆ ผมได้ยินหลวงปู่  หลวงตาแถววัดข้างบ้านสอน  กรอกหูจนโตว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” ตอนเรียนวิชาโบราณคดีก็ยังจ�ำพระคาถาได้บทเดียวคือ  “นามะ รูปัง อนิจจัง, นามะ รูปัง ทุกขัง, นามะ รูปัง อนัตตา”  ถอดเป็นไทยงูๆ ปลาๆ ได้ว่า “ทุกนาม ทุกรูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์  ซ�้ำไม่มีตัวตน” ว่าไปแล้วก็เป็นพระธรรมบทที่กะเทาะกิเลสตัณหาจน  หมดรูปไปเลย  นักบวช นักพรต ผูถ้ อื ศีลเหล่าใด ตระหนักส�ำนึก  ในพระธรรมบทบทนี้  ความมีสติก็บังเกิด ยุคสมัยของเราก�ำลังอยู่ในท่ามกลางความขาดสติทุกเพศ  ทุกวัย เหมือนเหี้ยตะกวดก�ำลังกัดกัน เพื่อหมายขยายพันธุ์ให้  ตะเกี่ยเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น  กิเลสตัณหาบงการออกค�ำสั่งทุกอย่าง ความอยากปรุงแต่งนอกต�ำราเรียนปะทุ  มิจฉาทิฐิแสดงมหรสพ กลางเวทีใจทุกวี่วัน มโนสมมุติฉายเงาหลอกเงาทุกค�่ำคืน  ในความมืดแห่งยุคสมัยเช่นนี้  ถ้าเราช่วยกันตะกายขึ้นยืน  บนฝั่งได้บ้าง เมตตาและอารมณ์ขันจะตามมา กรุณาปรานีจะ  เป็นเครื่องผลักดัน อย่างน้อยก็จะหยุดยั้งเหี้ยตะกวดให้เงียบและ  บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย

11


หันไปศึกษาหาความรู้เรื่องศีลธรรมได้ระดับหนึ่ง แน่นอน “บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย” ของหลวง  พี่เสฐียรพงษ์จะช่วยท่านได้มาก ไม่ว่าจะธรรมกายหรือธรรมกวย  รายไหน ขรรค์ชัย บุนปาน

12

เสฐียรพงษ์ วรรณปก


พระกินอุจจาระ

ลาภสั ก การะ และเสี ย งเยิ น ยอ ทารุ ณ  แสบเผ็ ด  หยาบคาย ต่อการบรรลุนิพพาน เปรียบเหมือนตัว “กังสฬกะ”  (กุดจี่) กินอุจจาระเป็นอาหาร จนอิ่มท้องป่องด้วยอุจจาระ กอง  อุจจาระใหญ่ก็ยังอยู่ตรงหน้ามัน แล้วมันก็นึกดูถูก “กังสฬกะ” ตัวอื่นว่าไม่มีอุจจาระใหญ่  เท่ากับมัน  พวกเขามีบุญน้อย มีเกียรติน้อย ไม่รวยกองขี้เท่า  กับเรา ภิ ก ษุ บ างรู ป ก็ เ หมื อ นกั บ   “กั ง สฬกะ”  (กุ ด จี่ )   ถู ก ลาภ  สักการะและเสียงเยินยอครอบง�ำ เช้าถือบาตรเข้าไปบิณฑบาต  ได้ฉันจนอิ่มแล้ว เขานิมนต์ให้ฉันในรุ่งขึ้นอีกด้วย  เรารวยลาภ  ด้วยจีวร (ผ้าห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย)  คิลานเภสัช (ยารักษาโรค) บทเรียนชาวพุทธจากกรณีธรรมกาย

13


ภิกษุถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบง�ำ ย่อมนึก  ดูถูกภิกษุอื่นๆ ผู้มีศีลบริสุทธิ์  แต่มีลาภน้อย มีเกียรติน้อย ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย  การได้ ล าภของ  “โมฆบุ รุ ษ ”  (คนเปล่ า  ประโยชน์) ชนิดนั้น ย่อมเป็นทุกข์  ไร้ประโยชน์สิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอันตราย  ในเรื่องนี้  พวกเธอพึงส�ำเหนียกใจให้ดี “เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอ  ที่เกิดขึ้น  อนึ่ง ลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้นแล้ว ต้อง  ไม่มาห่อหุ้มที่จิตของเรา” พวกเธอพึงส�ำเนียกใจอย่างนี้แล นิทาน.สํ. ๑๖/๒๖๙/๕๔๗-๘

เสฐียรพงษ์ วรรณปก

๑ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๘

14  เสฐียรพงษ์ วรรณปก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.