ยีนเห็นแก่ตัว ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) ศาสตราจารย์เกียรติคุณในนามของชาร์ลส์ ไซมอนีด้านความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ของสาธารณชน (Charles Simonyi Professor for Public Understanding of Science) ประจ�ำมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ดอว์กินส์ เกิดที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา โดยมีบิดามารดาเป็นชาวสหราชอาณาจักร เริ่มเข้าเรียน ระดับมหาวิทยาลัยทีอ่ อกซ์ฟอร์ดและเรียนต่อถึงปริญญาเอกโดยมีอาจารย์ทปี่ รึกษาคือ นิโก ทินแบร์เคิน (Niko Tinbergen) นักพฤติกรรมวิทยารางวัลโนเบล ช่วงระหว่างปี 1967- 1969 ดอว์กนิ ส์ทำ� งานเป็นผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) แห่งเมืองเบิร์กลีย์ แล้วกลับมาเป็นอาจารย์ระดับเลกเชอเรอร์ (Lecturer) และต่อมาขึ้นเป็นระดับรีดเดอร์ (Reader) ด้านสัตววิทยาที่นิวคอลเลจ (New College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ก่อนจะเป็นคนแรกทีไ่ ด้รบั ต�ำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติยศไซมอนี ในปี 1995 ปัจจุบันดอว์กินส์เป็นภาคีสมาชิกของนิวคอลเลจ
The Self ish Gene ริชาร์ด ดอว์กินส์ เขียน เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ แปล
กายเราเป็นแค่พาหนะของยีนผู้เห็นแก่ตัว
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน 2559
ยีนเห็นแก่ตัว • รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ แปล
จากเรื่อง The Self ish Gene 30th, Anniversary Edition ของ Richard Dawkins Copyright © 1989 by Richard Dawkins “The Selfish Gene, 30th Anniversary Edition” was originally published in English in 1986 This translation is published by arrangement with Oxford University Press. Thai language translation Copyright © 2016 by Matichon Publishing House All rights reserved including the right of reproduction in whole or in part in any form. พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม 2559 พิมพ์ครั้งที่ 2 : สำ�นักพิมพ์มติชน, เมษายน 2559 พิมพ์ครั้งที่ 3 : สำ�นักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2559
ราคา 390 บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ดอว์กินส์, ริชาร์ด. ยีนเห็นแก่ตัว. พิมพ์ครั้งที่ 3- -กรุงเทพฯ : มติชน, 2559. 416 หน้า. 1. ยีน. I. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 572.86 ISBN 978 - 974 - 02 - 1483 - 0
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : ทิมา เนื่องอุดม • บรรณาธิการเล่ม : เฉลิมพล แพทยกุล พิสูจน์อักษร : ปารดา นุ่มน้อย • กราฟิกเลย์เอาต์ : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง ศิลปกรรม : วีระวัฒน์ ปัญญามัง • ออกแบบปก : วีระวัฒน์ ปัญญามัง ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม
หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9013 www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่ 5 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล บทน�ำส�ำหรับฉบับพิมพ์ครบรอบ 30 ปี ค�ำน�ำจากฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ค�ำนิยมจากฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ค�ำน�ำจากฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง
6 8 11 22 27 30
1 ท�ำไมต้องเป็นพวกเรา...มนุษย์? 2 ตัวจ�ำลองแบบ 3 เกลียวอมตะ 4 จักรกลแห่งยีน 5 ความก้าวร้าว : เสถียรภาพและจักรกลเห็นแก่ตัว 6 เปรียบยีนดังมนุษย์ 7 วางแผนครอบครัว 8 สงครามระหว่างวัย 9 สงครามระหว่างเพศ 10 เธอเกาหลังให้ฉัน ฉันจะขี่หลังเธอ 11 มีม : ตัวจ�ำลองแบบตัวใหม่ 12 คนน่ารัก มักได้ก่อน 13 ยีนก้าวไกล
37 49 58 85 106 129 150 165 182 208 231 245 280
ภาคผนวกท้ายเล่ม บรรณานุกรม (ฉบับปรับปรุง) บทวิจารณ์หนังสือบางส่วน
314 391 407
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ตั้ ง แต่ ชั้ น ประถม แบบเรี ย นไทยสอนให้ เ ราท่ อ งจ� ำ กั น ว่ า “สิ่ ง มี ชี วิ ต ทั้ ง หลายในโลก ล้วนวิวัฒนาการขึ้นมา และผู้ที่ค้นพบทฤษฎีนี้ก็คือชาร์ลส์ ดาร์วิน” ในระดับสูงขึ้นมาหน่อย ก็อาจมีชื่อ “เกรกอร์ เมนเดล” พ่วงเข้ามาว่า “เป็นผู้วางรากฐานพันธุกรรมศาสตร์” และ ส่วนมากมักจบลงตรงนั้น ดีกว่าหน่อยก็อาจอธิบายต่อไปว่า ปัจจุบันเราน�ำเอาแนวคิดของ ทั้งสองมาผนวกรวมกันเป็นพื้นฐานชีววิทยาสมัยใหม่อย่างไร จากนั้ น เราก็ ท ่ อ งจ� ำ เนื้ อ หาวิ ช ากั น โดยไม่ มี ก ารนึ ก เฉลี ย วใจหรื อ ตั้ ง ค� ำ ถามกั บ “วิวัฒนาการ” ที่เรารู้จักเลยแม้แต่น้อย ไม่ต้องเอ่ยถึงการตั้งค�ำถามหรือถกเถียงในระดับ ฐานองค์ความรู้ อาทิ จริงๆ แล้วหน้าตาเป็นเช่นไร? ท�ำงานแบบไหน? ผลของวิวัฒนาการ คืออะไรกันแน่? เราจะอธิบายวิวัฒนาการของการเสียสละหรือพฤติกรรมอันซับซ้อนอื่นๆ ในสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร? นั่นคือสิ่งที่ริชาร์ด ดอว์กินส์ตั้งค�ำถามแล้วลงมือเขียนยีนเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นชื่อที ่ หลายๆ คนในวงการชีววิทยา และบางส่วนในวงการสังคมศาสตร์อาจจะพอคุ้นหูกันบ้าง เพราะหนังสือเล่มนี้เรียกความสนใจ...และสร้างประเด็นถกเถียงจากผู้อ่านทุกคนที่เคยได้ สัมผัส สิ่งสะดุดตาแรกสุดของหนังสือเล่มนี้คงเป็นชื่อเรื่องที่ชวนให้เราสงสัยตั้งแต่ยังไม่ทัน 6 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
เปิดอ่านเสียด้วยซ�้ำ แม้แต่ดอว์กินส์ก็ยอมรับ (แกมผิดหวัง) ว่า ชื่อของหนังสือนั้นชวน เข้าใจผิดจริง และท�ำให้คนโยงชือ่ หนังสือไปไกลเกินกว่าขอบเขตทีต่ อ้ งการสือ่ สาร แต่ไม่วา่ จะอย่างไร ชื่อนี้ก็ยังเป็นชื่อที่เหมาะสมที่สุด อันที่จริงเรียกได้เลยว่าเป็นประเด็นส�ำคัญเสีย ด้วยซ�ำ้ เพราะมุมมองนีท้ ำ� ให้เราเห็นภาพใหม่ของทฤษฎีววิ ฒ ั นาการได้ชดั เจนและลึกซึง้ ขึน้ ... ยีนเห็นแก่ตัวของดอว์กินส์เปิดประเด็นด้วยข้อถกเถียงของวงการชีววิทยาทั่วโลก เมือ่ 40 ปีทแี่ ล้ว ว่าวิวฒ ั นาการท�ำการคัดเลือกทีจ่ ดุ ใดกันแน่ แม้จะมีอายุ 40 ปี แต่หลักการ หลายๆ อย่างที่เสนอไม่ได้ล้าสมัยแม้แต่นิดเดียว เรียกได้ว่าเป็นงานชั้นครูทั้งหลายที่แม้ เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ข้อเสนอก็ยังคงสดใหม่ ในแง่หนึ่ง งานของเขาก็ไม่ต่างไปจากงานปรัชญาคลาสสิกอย่าง เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟริดริช เฮเกล ที่ลากจากจุดเล็กๆ อย่าง “ความมีอยู่” และ “ความไม่มีอยู่” มาสู่ภาพรวม อันซับซ้อนคือ “จิตส�ำนึก” และ “สังคมรัฐ” ดอว์กินส์เริ่มจากแรกสุดว่า อะไรจะนับเป็น หน่วยของสิ่งมีชีวิตโดยแท้จริงได้? และอะไรคือลักษณะส�ำคัญของมัน? ลักษณะที่ว่าท�ำให้ เกิดอะไรตามมา? การร้อยเรียงจากหน่วยย่อยที่สุดของชีวิตน�ำมาซึ่งผลลัพธ์อันเหลือเชื่อ ความเห็น แก่ตัวของยีนในตอนต้น กลับเป็นพื้นฐานส�ำคัญของพฤติกรรมที่ซับซ้อนต่างๆ อย่างการ ระวังภัย การจับคู่ การเลี้ยงดู และการเสียสละ ทั้งหมดนี้รังสรรค์ออกมาเป็นธรรมชาติ อันยิ่งใหญ่น่าอัศจรรย์ใจดังที่เราได้เห็นกัน ด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย ประกอบกับข้อถกเถียงและการวิเคราะห์ที่ชวนให้คิดตาม ตั้งแต่ต้นจนตัวอักษรสุดท้าย การตีพิมพ์ครั้งต่อๆ มาจึงจ�ำเป็นต้องมีการอธิบายเพิ่มเติม เสริมเนื้อหาใหม่ๆ และข้อมูลข้อโต้แย้งในวงการชีววิทยาและวงการอื่นๆ โดยแยกไว้เป็น เนือ้ หาอ่านเสริมในภาคผนวก ส�ำนักพิมพ์มติชนจึงยึดรูปแบบการอ้างอิงของหนังสือต้นฉบับ เพือ่ รักษาเนือ้ หาและรูปเล่มไว้ เชิงอรรถท้ายเล่มดัง้ เดิมจะใช้เครือ่ งหมาย “*” เหมือนต้นฉบับ แต่เชิงอรรถเสริมท้ายหน้าโดยส�ำนักพิมพ์จะใช้เครื่องหมาย “+” ส�ำหรับ ยีนเห็นแก่ตวั ส�ำนักพิมพ์ขอยืนยันว่าต้องอ่านให้ครบจนจบเชิงอรรถท้ายเล่ม และรับประกันว่าคุ้มค่าแน่นอน ส�ำนักพิมพ์มติชน
ยีนเห็นแก่ตัว 7
ค�ำน�ำผู้แปล
“ชีวิตเกิดมาได้อย่างไรบนโลกนี้?” “อัตลักษณ์ต่างๆ มีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร?” “ท�ำไม มนุษย์เราถึงแตกต่างจากสิง่ มีชวี ติ อืน่ ?” และอีกสารพัดค�ำถามทีต่ อบล�ำบาก ฟังดูเป็นปรัชญา และเป็นประเด็นทางศาสนาที่เหมือนจะหาค�ำตอบสรุปครอบจักรวาลในสังคมที่หลากหลาย ได้ยากยิ่ง แต่เมื่อกว่า 150 ปีก่อน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ชื่อชาร์ลส์ ดาร์วิน หลังจากครุ่นคิดค�ำถามดังกล่าวนานกว่า 30 ปี ก็ได้ตพี มิ พ์แนวคิดวิวฒ ั นาการของสิง่ มีชวี ติ ผ่านหนังสือ “ก�ำเนิดสปีชีส์” หรือ “On the Origin of Species” ที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลง อันยิ่งใหญ่ทางวิชาการของโลกตะวันตก มนุษยชาติเริ่มมีเครื่องมือในการปฏิเสธการอ้างอิง ถึงพลังเหนือธรรมชาติ และสามารถหันกลับมาทบทวนว่า เราเองก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ของพัฒนาการทีส่ งิ่ มีชวี ติ ต่างๆ บนโลกมีรว่ มกันมากว่าพันล้านปี ผ่านกลไกส�ำคัญทีเ่ รียกว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) หลังผ่านการวิพากษ์โจมตีมาอย่างหนัก โดยเฉพาะจากผูท้ ยี่ ดึ มัน่ ในค�ำสอนทางศาสนา ในปัจจุบัน ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินกลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ถูก น�ำไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาอื่นที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับชีววิทยา ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์ เชิงดาร์วิน รัฐศาสตร์เชิงดาร์วิน หรือแม้แต่การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงดาร์วิน ค�ำถามเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการไม่ได้อยู่ที่ “มันเกิดขึ้นจริงหรือ?” อีกต่อไป แต่กลายเป็น 8 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
ว่า “การคัดเลือกโดยธรรมชาติที่น�ำไปสู่วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขึ้นที่ระดับใด?” ระดับสปีชีส์ ระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ ระดับปัจเจกแต่ละตัว ฯลฯ ค�ำตอบที่ชัดเจน คือการคัดเลือกนั้นเกิดขึ้นที่ระดับ “ยีน” และผู้ท่ีอธิบายและเน้นย�ำ้ ให้เราเข้าใจได้ถึงเรื่องนี ้ คือ ริชาร์ด ดอว์กินส์ ผ่านหนังสือ “ยีนเห็นแก่ตัว” ของเขาเล่มนี้ ริชาร์ด ดอว์กนิ ส์อาจจะไม่ใช่นกั คิดทีค่ นไทยส่วนใหญ่รจู้ กั กันนัก แต่ในระดับสากล แล้ว เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลส�ำคัญต่อความคิดของผู้คนในยุคร่วมสมัยทั่วโลก จาก พื้นฐานที่เป็นนักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการที่โดดเด่น (และศรัทธาในแนวคิดของดาร์วิน เป็นอย่างยิ่ง) และเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ฝีมือเยี่ยม ดอว์กินส์สร้างผลงานไว้มากมาย ทั้งงานเขียนบทความวิชาการ หนังสือวิทยาศาสตร์ส�ำหรับบุคคลทั่วไป สารคดีโทรทัศน์ ที่เน้นถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แม้แต่การตั้งมูลนิธิของตนเองเพื่อถ่ายทอดความรู้ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาสู่สังคม ตลอดจนแนวคิดของการปฏิเสธพลังเหนือธรรมชาติ และ การไม่นับถือศาสนา (atheist) เพียงแต่ว่า ถ้าถามว่าผลงานชิ้นไหนที่เป็นที่โด่งดังที่สุดของ ดอว์กนิ ส์ เชือ่ ว่าแฟนคลับของเขาทุกคน (รวมถึงคนทีไ่ ม่ชอบเขาด้วย) จะต้องตอบตรงกันว่า คือ “ยีนเห็นแก่ตัว” หนังสือยีนเห็นแก่ตัว ไม่ใช่หนังสือเล่มล่าสุดหรือเพิ่งเขียนมาไม่กี่ปี แต่มันถูกเขียน ขึ้นมาเป็นเวลา 40 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่ปี 1972 (ปีเดียวกับที่ผมเกิด) อาจเป็นด้วยชื่อหนังสือ ที่ดูน่าพิศวงงงวย “ยีนเห็นแก่ตัว ... ยีนมันจะเห็นแก่ตัวได้อย่างไร? พวกคนเห็นแก่ตัวนั้น เพราะว่ามียนี แย่ๆ อยู่ในตัวเหรอ?” ท�ำให้ค�ำว่า “ยีนเห็นแก่ตวั ” กลายเป็นทีส่ นใจของผู้อ่าน ทั่วโลก และเป็นหนึ่งในหนังสือที่ขายดีที่สุดตลอดกาลในหลายประเทศ ทุกครั้งที่มีการ จัดอันดับหนังสือวิทยาศาสตร์ทคี่ วรอ่านหรือต้องอ่าน “ยีนเห็นแก่ตวั ” ก็มกั จะติดอันดับด้วย เสมออย่างไม่ตอ้ งสงสัย ขณะทีผ่ ลกระทบจากหนังสือนัน้ หลากหลายมาก มีทงั้ เสียงส่วนใหญ่ ที่ตอบรับอย่างชื่นชม ยาวไปจนถึงเสียงวิพากษ์โจมตีรุนแรงไม่แพ้ท่ี “ก�ำเนิดสปีชีส์” ของ ชาร์ลส์ ดาร์วินเคยได้รับ ท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ยีนเห็นแก่ตวั เป็นศัพท์เฉพาะตามแนวคิดทีด่ อว์กนิ ส์รวบรวมมา เพือ่ อธิบายถึงกลไก การท�ำงานของเหล่ายีนต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้ (หรือแม้แต่ในดาว ดวงอื่นของจักรวาล) ที่ต่อสู้แข่งขันกันให้ตนเองอยู่รอดสืบทอดต่อไป ผ่านการบังคับ หุ่นยนต์ยักษ์ที่พวกมันสร้างขึ้นและเข้ามายึดครองอยู่ที่เรียกว่า จักรกลแห่งการอยู่รอด เรารูจ้ กั หุน่ ยนต์พวกนีใ้ นรูปลักษณ์ตา่ งๆ กัน ไม่วา่ จะแบบเรียบง่ายและเล็กจิว๋ จนมองไม่เห็น อย่างพวกแบคทีเรีย หรือแบบที่เก่งกาจในการสร้างอาหารได้เองอย่างพวกพืช หรือแบบที่ โลดแล่นเคลื่อนไปมาแคล่วคล่องอย่างพวกสัตว์ ไปจนถึงพวกมนุษย์ที่สามารถสร้าง วัฒนธรรมขึ้นมาและถ่ายทอดต่อกันไปได้ผ่าน “มีม” ผู้ที่อ่านหนังสือยีนเห็นแก่ตัว จะได้ติดตามวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ ยีนเห็นแก่ตัว 9
ดวงนี้ ตั้งแต่ตอนที่โลกยุคโบราณที่มีแต่สารเคมีต่างๆ ไม่มีชีวิตใดๆ อยู่เลย ก่อนที่จะ เริ่มเกิด “ตัวจ�ำลองแบบ” ขึ้นมาเป็นจ�ำนวนมหาศาลและแข่งขันกันอย่างดุเดือดในน�้ำซุป ยุคบรรพกาล เหล่าตัวจ�ำลองแบบหรือ “ยีน” ถูกคัดเลือกอย่างเข้มข้นและเรียนรู้ที่จะสร้าง จักรกลขึน้ มาใช้งานเพือ่ ความอยูร่ อดของพวกมัน จักรกลของกลุม่ ยีนถูกสร้างขึน้ และตายไป ซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่าตลอดช่วงเวลาของโลก แต่ยนี ทีโ่ ปรแกรม “ความเห็นแก่ตวั ” ฝังเอาไว้ตงั้ แต่ตน้ จะพยายามสรรหาเอา “กลยุทธ์” ต่างๆ ดังตัวอย่างของสัตว์หลายชนิดที่ดอว์กินส์อ้างถึงใน หนังสือ มาใช้ในการต่อสู้เอาชนะยีนคู่แข่ง หรือหาทางให้ยีนเดียวกันที่อยู่ในจักรกลตัวอื่นๆ ในเครือญาติตัวอื่นได้ด�ำรงชีวิตต่อไป แม้ว่าบางครั้งจะต้องเสียสละชีวิตตัวมันเองก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้ว ยีนเห็นแก่ตัวเหล่านี้จะได้รับการถ่ายทอดต่อไปเป็นนิรันดร์ ผ่านวลีที่ว่า “กายของเรา เป็นเพียงแค่พาหนะของยีน” ผมขอขอบพระคุณส�ำนักพิมพ์มติชนเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ และได้มอบหมายให้ผมแปลเป็นภาษาไทย “ยีนเห็นแก่ตวั ” เป็นหนังสือแปลเล่มแรกในชีวติ ซึ่งผมได้ทุ่มเทเวลาเป็นอย่างมากในการพยายามแปลให้ถูกต้องตรงกับความหมายที่ผู้เขียน สือ่ ไว้ให้มากทีส่ ดุ ขณะทีก่ ารท�ำงานปรับปรุงอย่างหนักของกองบรรณาธิการได้ชว่ ยให้หนังสือ เล่มนี้อุดมไปด้วยค�ำศัพท์และประโยคที่สละสลวยแต่เข้าใจง่าย สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าท่าน ผู้อ่านจะได้รับความรู้ ความประทับใจ และสนใจที่จะอ่านหนังสือเล่มอื่นๆ ของริชาร์ด ดอว์กินส์ รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
บทน�ำ ส�ำหรับฉบับพิมพ์ครบรอบ 30 ปี
ก็น่าใจหายอยู่เหมือนกัน เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าผมใช้ชีวิตไปแล้วเกือบครึ่งหนึ่งกับหนังสือ “ยีน เห็นแก่ตัว” ทั้งในแง่ดีและร้าย ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ แต่ละครั้งที่หนังสือของผมทั้ง 7 เล่มได้รับการตีพิมพ์ออกมา ส�ำนักพิมพ์จะพาผมออกเดินสายเปิดตัวหนังสือ ผู้ชมผู้ฟัง ก็ตอบรับหนังสือเล่มใหม่แต่ละเล่มเป็นอย่างดี ทั้งฟังด้วยความกระตือรือร้น ทั้งปรบมือให้ อย่างสุภาพ และถามค�ำถามที่น่าคิดทีเดียว เสร็จแล้วพวกเขาก็ตั้งแถวเข้ามาซื้อหนังสือให้ ผมเซ็น...ยีนเห็นแก่ตวั อันนีผ้ มออกจะพูดเกินจริงไปนิด มีหลายคนเหมือนกันทีซ่ อื้ หนังสือ เล่มใหม่ของผม ส่วนที่เหลือนั้นภรรยาผมปลอบใจว่าผู้อ่านที่เพิ่งจะเคยพบกับนักเขียนเป็น ครัง้ แรก มักมีแนวโน้มทีจ่ ะกลับไปอ่านหนังสือเล่มแรกสุดของนักเขียนคนนัน้ ก่อนเสมอเป็น ธรรมดา คือถ้าได้อ่านยีนเห็นแก่ตัวแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าพวกเขาจะอ่านต่อเนื่องไปจนถึงลูก คนสุดท้ายและลูกคนโปรด (ของพ่อแม่) ด้วย จริงไหม? ผมคงรู้สึกแย่กว่านี้อีกถ้าผมหาข้อสรุปได้ว่าหนังสือยีนเห็นแก่ตัวล้าสมัยเสียจน หนังสือเล่มอื่นมาแทนที่แล้ว โชคไม่ดีที่ว่า (ในแง่หนึ่ง) ผมไม่สามารถสรุปเช่นนั้นได้ ถึงแม้ว่ารายละเอียดบางอย่างของหนังสือจะเปลี่ยนไปและตัวอย่างจริงที่ยกมาประกอบ จะแตกประเด็นออกไปมากมายก็ตาม แต่ด้วยข้อยกเว้นที่ผมจะพูดถึงในไม่ช้า มีเนื้อหา ในหนังสือเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ผมอยากจะรีบถอดออกหรือกล่าวขออภัยอาร์เธอร์ เคน ยีนเห็นแก่ตัว 11
(Arthur Cain) ศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยาที่ลิเวอร์พูลผู้ล่วงลับไปแล้ว และเป็นหนึ่ง ในครูผู้ชี้แนะที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมสมัยเรียนที่ออกซ์ฟอร์ดในยุค 60 ท่านเรียกยีน เห็นแก่ตัว ฉบับปี 1976 ว่า “หนังสือของคนหนุ่ม” โดยจงใจยกค�ำวิจารณ์ที่พูดถึงหนังสือ “ภาษา ความจริง และตรรกะ” (Language Truth and Logic) ของ เอ. เจ. อายเออร์ (A. J. Ayer) มาใช้ ผมรู้สึกตัวลอยเมื่อได้รับการเปรียบเทียบเช่นนั้น แม้จะทราบดีว่า อายเออร์ต้องปรับปรุงเนื้อหาหนังสือเล่มแรกของเขาหลายส่วน และผมก็แทบจะไม่พลาด ความหมายโดยนัยยะที่ศาสตราจารย์เคนแฝงเอาไว้ ว่าผมก็ควรท�ำเช่นเดียวกันเมื่อถึงเวลา ที่เหมาะสม ขอผมเริ่มจากความคิดที่จะเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้ในปี 1975 หลังจากที่เดสมอนด์ มอร์รสิ (Desmond Morris) เพือ่ นของผม ช่วยเป็นตัวกลางติดต่อให้ ผมน�ำเสนอบางส่วน ของหนังสือที่เขียนเสร็จแล้วนี้ให้กับทอม มาส์ชเลอร์ (Tom Maschler) ผู้หลักผู้ใหญ่ ของส�ำนักพิมพ์ในลอนดอน เราทั้งคู่ถกกันเรื่องหนังสือเล่มนี้ต่อในห้องของเขาที่โจนาธาน เคป เขาชอบหนังสือแต่ไม่ชอบชื่อ บอกว่า “เห็นแก่ตัว„” เป็น “ค�ำที่ดูไม่ดี” ท�ำไมไม่เรียก มันว่ายีนอมตะ (The Immortal Gene) ล่ะ? อมตะเป็นค�ำที่ “ดูดี” ภาวะการด�ำรงอยู ่ อย่างอมตะของข้อมูลทางพันธุกรรมเป็นหัวใจหลักของหนังสือเล่มนี้ และค�ำว่า “ยีนอมตะ” ก็กระตุ้นให้รู้สึกถึงความฉงนน่าสนใจได้ไม่แพ้ค�ำว่า “ยีนเห็นแก่ตัว” เลย [ผมคิดว่าพวก เราไม่ทันนึกได้ว่าชื่อนี้พ้องกับหนังสือของออสการ์ ไวลด์ (Oscar Wilde) ที่ชื่อว่ายักษ์ เห็นแก่ตวั (The Self ish Giant)] ถึงตอนนี ้ ผมเริม่ คิดว่ามาส์ชเลอร์นา่ จะพูดถูกแล้ว มีนกั วิจารณ์หลายคนเท่าที่พบมา โดยเฉพาะพวกปากคอเราะร้ายที่เรียนสายวิชาปรัชญา มัก เลือกอ่านหนังสือโดยดูจากชื่อหนังสือเท่านั้น ไม่แปลกที่วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับหนังสืออย่าง เรื่องเล่าของเบนจามิน บันนี่ (The Tale of Benjamin Bunny) หรือความเสื่อมถอย และการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน (The Decline and Fall of the Roman Empire) ถึงกระนั้น ผมก็เห็นได้เช่นกันว่าถ้ามีเพียงแค่ชื่อ “ยีนเห็นแก่ตัว” โดยไม่มีเชิงอรรถ ตัวโตมาก�ำกับอธิบายเอาไว้ ย่อมไม่เพียงพอจะสร้างความประทับใจถึงเนื้อหาภายในได้ ทุกวันนี้สำ� นักพิมพ์ในอเมริกาจึงมักร้องขอให้ตั้งชื่อเรื่องรองคู่กันไปด้วย วิธที ดี่ ที สี่ ดุ ในการอธิบายชือ่ หนังสือคือหาว่าเน้นไปค�ำไหน ถ้าเน้นที ่ “เห็นแก่ตวั ” คุณ ก็จะคิดว่าหนังสือเล่มนีเ้ ป็นเรือ่ งเกีย่ วกับความเห็นแก่ตวั ทัง้ ๆ ทีห่ นังสือเล่มนีอ้ ทุ ศิ เนือ้ หาให้ กับการเห็นแก่คนอื่น (altruism) ต่างหาก จริงๆ แล้ว ค�ำที่ควรจะเน้นคือค�ำว่า “ยีน” ซึ่ง ขอให้ผมอธิบายให้ฟังว่าท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น โต้เถียงกันในแนวคิดแบบดาร์วิน (Darwinism) มีประเด็นส�ำคัญอยู่ที่หน่วย (unit) ใดกันแน่ที่ถูกคัดเลือกเอาไว้ หรืออัตลักษณ์ใด กันที่จะอยู่รอดหรือไม่อาจอยู่รอดในฐานะผลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) หน่วยที่ว่านี้จะกลายเป็นพวก “เห็นแต่ตัว” ตามนิยามข้างต้นไม่มากก็น้อย ส่วน 12 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
การเห็นแก่คนอืน่ อาจกลับกลายเป็นทีพ่ งึ ประสงค์ในระดับอืน่ ๆ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ นั้นมุ่งไปในระดับสปีชีส์หรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้น เราอาจคาดหวังได้ว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวจะ มีพฤติกรรมไม่เห็นแก่ตัว “เพื่อประโยชน์สุขของสปีชีส์” มันอาจจะลดอัตราการให้ก�ำเนิด ลูกลงเพื่อไม่ให้มีประชากรมากเกินไป หรือลดทอนพฤติกรรมการล่าเหยื่อเพื่อรักษาแหล่ง อาหารในอนาคตของสปีชีส์เอาไว้ ทว่าการที่ความเข้าใจในแนวคิดดาร์วินแบบผิดๆ เช่นนี้ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางนีแ่ หละทีก่ ระตุน้ ให้ผมลุกขึน้ มาเขียนหนังสือเล่มนีแ้ ต่แรก หรือว่าการคัดเลือกโดยธรรมชาตินั้นเกิดที่ระดับยีนต่างหาก ดังที่ผมเสนอไว้ใน หนังสือเล่มนี้? ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ไม่น่าที่จะประหลาดใจเลยที่เราจะพบสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวมี พฤติกรรมไม่เห็นแก่ตวั “เพือ่ ประโยชน์สขุ ของยีน” ตัวอย่างเช่น การหาอาหารและการป้องกัน ภัยให้ญาติพนี่ อ้ งของตนซึง่ มีชดุ ของยีนร่วมกัน การเห็นแก่ผอู้ นื่ ในหมูญ ่ าติพนี่ อ้ งเช่นนี ้ เป็น ทางเดียวทีก่ ารเห็นแก่ตวั ของยีนจะถ่ายทอดออกมาเป็นการเห็นแก่คนอืน่ ของสิง่ มีชวี ติ แต่ละ ตัวได้ หนังสือเล่มนีอ้ ธิบายว่าสิง่ เหล่านีเ้ กิดขึน้ ได้อย่างไร รวมทัง้ เรือ่ งการต่างตอบแทน ซึง่ เป็นปัจจัยหลักอีกอย่างของการเห็นแก่ผู้อื่นตามทฤษฎีของดาร์วิน ถ้าผมมีโอกาสกลับไป เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ใหม่ เพราะผมหันมาสนใจเรื่อง “หลักแห่งความบกพร่อง” (handicap principle) ของซาฮาวิและกราเฟน (Zahavi/Grafen) (ดูหน้า 363-368) ผมยัง ควรจะเพิ่มพื้นที่ให้แก่แนวคิดของอาโมตซ์ ซาฮาวิ (Amotz Zahavi) ที่ว่าการบริจาค อย่างไม่เห็นแก่ตัวนั้น อาจจะเป็นสัญญาณของการข่มแบบ “ประเพณีโปรยทาน” (Potlatch) นั่นคือ : ดูสิ ข้าเหนือกว่าเจ้า เพราะว่าข้ามีปัญญาบริจาคทานเจ้าได้! ขอผมย�้ำและขยายความเหตุผลของค�ำว่า “เห็นแก่ตัว” ในชื่อหนังสืออีกสักครั้ง ค�ำถามส�ำคัญที่ต้องใคร่ครวญให้ดีก็คือ ในล�ำดับชั้นของชีวิตนั้น ระดับชั้นไหนที่การคัด เลือกโดยธรรมชาติได้เข้าไปกระท�ำการ “อย่างเห็นแก่ตัว” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สปีชีส์เห็น แก่ตัว? กลุ่มเห็นแก่ตัว? สิ่งมีชีวิตเห็นแก่ตัว? ระบบนิเวศเห็นแก่ตัว? ค�ำถามเหล่านี้ส่วน ใหญ่แล้วสามารถโต้แย้งได้ และส่วนใหญ่กถ็ กู นักวิชาการหลายคนทึกทักไปโดยไม่ใคร่ครวญ เสียก่อน แต่คนเหล่านัน้ ผิดทุกราย เมือ่ สุดท้ายแล้วใจความส�ำคัญตามแนวคิดแบบดาร์วนิ นี้จะต้องลงเอยอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งที่ค�ำว่า อะไรสักอย่างเห็นแก่ตัว และผลก็ออกมาว่า เจ้าอะไรสักอย่างนั่นคือยีน ดังนั้น หากพิจารณาตามเหตุผลต่างๆ ที่หนังสือเล่มนี้ยกมา ประกอบ ไม่ว่าท่านจะเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งเหล่านี้หรือไม่ก็ตาม นี่ก็คือค�ำอธิบายถึงที่มา ของชื่อหนังสือ ผมหวังว่านี่จะช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดต่างๆ ที่ร้ายแรงยิ่งกว่า แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมองย้อนกลับไป ผมก็พบข้อบกพร่องของตัวเองในประเด็นเหล่านี้เช่นกัน จะเห็นได้ชัด ในบทที่ 1 ดังประโยคที่ว่า “ขอให้เราพยายามสั่งสอนเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเห็นแก่ ผู้อื่น เพราะเราเห็นแก่ตัวมาตั้งแต่เกิด” การสอนให้รู้จักเอื้อเฟื้อและเห็นแก่ผู้อื่นไม่ใช่เรื่อง ยีนเห็นแก่ตัว 13
ผิดแต่อย่างใด แต่ค�ำว่า “เห็นแก่ตัวมาตั้งแต่เกิด” นั้นชวนให้เข้าใจผิดได้ อธิบายคร่าวๆ ว่า จนถึงปี 1978 นั่นแหละที่ผมเริ่มคิดได้ชัดเจนขึ้นถึงความแตกต่างระหว่าง “ยาน พาหนะ” (vehicle) (ซึ่งมักจะหมายถึงตัวสิ่งมีชีวิต) และ “ตัวจ�ำลองแบบ” (replicator) ที่ขับขี่ยานพาหนะนั้น (ซึ่งก็คือยีนต่างๆ โดยเนื้อหาเรื่องนี้ทั้งหมดอธิบายไว้ในบทที่ 13 ซึ่ง เป็นบททีเ่ พิม่ เข้ามาในฉบับพิมพ์ครัง้ ทีส่ อง) ดังนัน้ โปรดลบประโยคทีไ่ ม่เข้าท่านีแ้ ละประโยค อื่นๆ ที่คล้ายกันออกไปจากใจ แล้วแทนด้วยเนื้อหาในแนวเดียวกับย่อหน้านี้แทน เมื่อเห็นอันตรายที่เกิดจากความผิดพลาดเช่นนั้น ผมจึงเห็นได้ในทันทีว่าชื่อหนังสือ จะถูกเข้าใจผิดได้อย่างไรบ้าง และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าท�ำไมบางทีผมน่าจะใช้ชื่อ ยีนอมตะ ชื่อ ยานพาหนะแห่งความเอื้อเฟื้อ (The Altruistic Vehicle) ก็เป็นชื่อที่พอ แทนกันได้ บางทีอาจจะฟังดูลึกลับเกินไป แต่ข้อถกเถียงระหว่างยีนและสิ่งมีชีวิตใน ฐานะหน่วยคู่แข่งส�ำหรับการคัดเลือกโดยธรรมชาติก็คลี่คลายลงแล้ว (ข้อถกเถียงที่เอิร์นส์ ไมยร์ (Ernst Mayr) ผู้ล่วงลับไปแล้ว โต้แย้งตลอดทั้งชีวิตของท่าน) ไม่ว่าจะในกรณี ใดก็ตาม นั่นคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติมีหน่วยอยู่ทั้ง 2 แบบและไม่ได้ขัดแย้งกันด้วย ยีนจะเป็นหน่วยเมือ่ พิจารณาในมุมของตัวจ�ำลองแบบ ส่วนสิง่ มีชวี ติ จะเป็นหน่วยในมุมของ ยานพาหนะ และทั้งคู่มีความส�ำคัญ ไม่ควรลดค่าของตัวใดตัวหนึ่ง ทั้งคู่เป็นตัวแทนของ หน่วยที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เราคงสับสนแน่ๆ ถ้าไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ อีกชื่อหนึ่งที่น่าจะดีส�ำหรับใช้แทนที่ยีนเห็นแก่ตัว น่าจะเป็นยีนแห่งความร่วมมือ (The Cooperative Gene) ชื่อนี้ตรงกันข้ามกับชื่อเดิม แต่ใจความหลักของหนังสือนี้ แล้วอภิปรายถึงรูปแบบการร่วมมือระหว่างยีนที่สนใจแต่ตัวเอง ข้อนี้ไม่ได้หมายถึงกลุ่ม ยีนที่ก้าวหน้าด้วยการหาประโยชน์จากสมาชิกของมัน หรือหาประโยชน์จากกลุ่มอื่นๆ กลับกันแต่ละยีนนั้นดูเหมือนแสวงผลประโยชน์ของมันท่ามกลางยีนอื่นๆ ที่อยู่เบื้องหลัง ในยีนพูล (gene pool) ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนของยีนที่จะผสมปนเปกันเมื่อสปีชีส์นั้นๆ ผสม พั น ธุ ์ กั น พวกยี น อื่ น ๆ เหล่ า นี้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ยี น แต่ ล ะยี น ด� ำ รงอยู ่ เหมือนกับภูมิอากาศ เหยื่อและผู้ล่า พืชพรรณอาหาร และแบคทีเรียในดิน ที่ล้วนเป็นส่วน หนึ่งของสิ่งแวดล้อมเช่นกัน จากมุมมองของแต่ละยีน ยีน “เบื้องหลัง” เหล่านี้ล้วนก�ำลัง อาศัยร่างกายเดียวกันเดินทางจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นสมาชิกอื่นๆ ของ จีโนม (genome) นั้นๆ หรือพูดให้ละเอียดขึ้นก็คือ เป็นยีนอื่นๆ ในยีนพูลของสปีชีส์นั้นๆ จากมุมมองของการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเห็นว่า กลุม่ ยีนทีเ่ ข้ากันได้อย่างเกือ้ กูลหรือแทบ จะกล่าวได้วา่ ร่วมมือกันนี ้ จะถูกคัดเลือกไว้เมือ่ ปรากฏอยูร่ ว่ มกัน วิวฒ ั นาการของ “ยีนร่วม มือ” เช่นนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของยีนเห็นแก่ตัวแต่อย่างไร บทที่ 5 จะเกริ่น อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดนี้โดยการอุปมาตัวอย่างกับทีมนักกีฬาพายเรือ และบทที่ 13 จะ อธิบายละเอียดยิ่งขึ้น 14 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
ทีนี้ ที่บอกว่าการคัดเลือกโดยธรรมชาติส�ำหรับยีนเห็นแก่ตัวมักจะเลือกเก็บเอา กลุ่มยีนที่มีการร่วมมือกันไว้ ก็ต้องยอมรับว่ามีอีกหลายยีนที่ไม่ใช่เช่นนั้น และท�ำงานสวน ทางผลประโยชน์ของทั้งจีโนม นักวิชาการบางท่านเรียกยีนพวกนี้ว่า ยีนนอกกฎหมาย (outlaw gene) บางคนก็เรียกว่า ยีนเห็นแก่ตัวยิ่งยวด (ultra-self ish gene) ขณะที่ คนอื่นเรียกแค่ “ยีนเห็นแก่ตัว” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดถึงความแตกต่างอันเล็กน้อยของยีน ที่ร่วมมือกันในโครงข่ายผลประโยชน์ส่วนตัว ตัวอย่างของยีนเห็นแก่ตัวยิ่งยวดนี้ ได้แก่ ยีนทีม่ ไี มโอติกไดรฟ์ (meiotic drive) ซึง่ อธิบายไว้ในหน้า 283-284 และ “ดีเอ็นเอปรสิต” (parasitic DNA) ถูกเสนอเป็นครั้งแรกที่หน้า 83 และถูกพัฒนาต่อโดยนักวิชาการอีก หลายคนภายใต้ชื่อคุ้นหูว่า “ดีเอ็นเอเห็นแก่ตัว” (Self ish DNA) การค้นพบตัวอย่างใหม่ๆ และประหลาดยิง่ กว่าเดิมของยีนเห็นแก่ตวั ยิง่ ยวดนีก้ ลายเป็นเรือ่ งเด่นแห่งปีตงั้ แต่ทหี่ นังสือ เล่มนี้เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก+ ยีนเห็นแก่ตัว ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการอุปมาเปรียบเทียบกับตัวบุคคล ซึ่งเป็นอีก เรือ่ งทีห่ ากไม่ขออภัยก็ตอ้ งอธิบายเพิม่ เติม ผมใช้การอุปมากับตัวบุคคล 2 ระดับ คือ ระดับ ยีน และระดับสิง่ มีชวี ติ การอุปมายีนเป็นบุคคลนัน้ ไม่นา่ จะเกิดปัญหา เพราะคงไม่มคี นสติ ดีคนไหนคิดว่าโมเลกุลดีเอ็นเอจะมีบุคลิกภาพเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้ และก็คงไม่มีนัก อ่านที่มีเหตุผลคนไหนกล่าวหาผู้เขียนด้วยความเข้าใจผิดเช่นนั้น ครั้งหนึ่งผมได้รับ เกียรติให้ไปฟังนักชีววิทยาเชิงโมเลกุลผูย้ งิ่ ใหญ่ ฌากส์ โมโนด์ (Jacques Monod) บรรยาย เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในวิทยาศาสตร์ ผมจ�ำค�ำพูดชัดๆ ไม่ได้แล้ว แต่ท่านกล่าว ประมาณว่า เวลาใคร่ครวญโจทย์ทางเคมี ท่านมักจะถามตัวเองเช่นกันว่าจะท�ำปฏิกิริยา อย่างไรถ้าท่านกลายเป็นอิเล็กตรอน ปีเตอร์ แอตกินส์ (Peter Atkins) เขียนหนังสือ อันเยี่ยมยอดเรื่องการสร้างโลกฉบับปรับปรุง (Creation Revisited) โดยใช้วิธีอุปมา ตัวบุคคลในแบบที่คล้ายๆ กัน เมื่อพิจารณาถึงการหักเหของล�ำแสงที่จะเคลื่อนที่ช้าลงเวลา เดินทางผ่านตัวกลางที่มีดัชนีหักเหแสงสูงกว่า ล�ำแสงนี้ประพฤติเหมือนกับพยายามหาทาง ลดเวลาเดินทางไปยังจุดหมายให้สั้นลง แอตกินส์เลยจินตนาการล�ำแสงว่าเหมือนกับยาม ชายฝั่งที่พยายามเร่งรีบไปบนชายหาดเพื่อช่วยชีวิตคนที่ก�ำลังจะจมน�้ำ เขาควรที่จะพุ่งตัว ว่ายน�้ำไปหาเลยดีไหม? ไม่ เขารู้ดีว่าเขาวิ่งไปบนทรายได้เร็วกว่าว่ายน�ำ้ และจะฉลาดกว่า +
หนังสือของออสติน เบิรต์ และโรเบิรต์ ไทรเวอร์ส ชือ่ ว่า ยีนในความขัดแย้ง : ชีววิทยาขององค์ประกอบ ทางพันธุกรรมที่เห็นแก่ตัว โดยส�ำนักพิมพ์ฮาร์วาร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ เพรส (Austin Burt and Robert Trivers, Genes in Conflict : the biology of selfish genetic elements, Harvard University Press, 2006.) ได้รับการตีพิมพ์ช้าเกินกว่าจะน�ำมาใส่ไว้ในการพิมพ์ครั้งแรกของฉบับครบรอบ 30 ปีนี้ ได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะกลายเป็นเอกสารอ้างอิงหลักส�ำหรับประเด็นส�ำคัญยิ่งเรื่องนี้ - ผู้เขียน
ยีนเห็นแก่ตัว 15
ถ้าใช้เวลาเดินทางบนพืน้ ดินมากกว่า เขาควรทีจ่ ะวิง่ บนหาดทรายไปจนถึงจุดตรงกันข้ามกับ เป้าหมายพอดีเป๊ะเพื่อลดเวลาว่ายน�ำ้ ลงดีไหม? ดีขึ้น แต่ยังไม่ใช่คำ� ตอบที่ดีที่สุด เพราะถ้า ท�ำการค�ำนวณเพิ่ม (ถ้าเขามีเวลาให้ท�ำ) จะเผยให้ยามชายฝั่งคนนั้นเห็นมุมที่เหมาะสมที่สุด ได้ส่วนผสมที่ลงตัวสูงสุดของการวิ่งอย่างรวดเร็วตามด้วยการว่ายน�ำ้ ที่ช้ากว่าอย่างช่วยไม่ ได้ แอตกินส์สรุปไว้ว่า เรื่องนี้ก็เหมือนกับพฤติกรรมของแสงที่เคลื่อนผ่านตัวกลางที่หนาแน่นกว่า แต่แสงรู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่าเส้นทางไหนคือเส้นทางทีส่ นั้ ทีส่ ดุ ? และถึงจะรู้ อย่างนั้น ท�ำไมแสงต้องสนใจเรื่องนี้ด้วย? เขาคิดโจทย์เหล่านี้ขึ้นมาใช้อธิบายได้อย่างน่าอัศจรรย์ด้วยแรงบันดาลใจจากทฤษฎีควอน ตัม (quantum theory) การอุปมาเป็นตัวบุคคลเช่นนี้ไม่ใช่แค่เครื่องมือการสอนแบบพิสดารเท่านั้น มันยัง ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มืออาชีพค้นพบค�ำตอบที่ถูกต้องอีกด้วยเมื่อต้องเจอกับส่วนที่ชวน ให้ผิดพลาดได้ง่ายๆ ดังเช่นกรณีของการน�ำแนวคิดแบบดาร์วินมาคิดค�ำนวณเรื่องการ เห็นแก่คนอื่นและการเห็นแก่ตัว เรื่องการร่วมมือและการมุ่งร้ายต่อกัน ซึ่งเรื่องพวกนี้นำ� ไปสู่ค�ำตอบที่ผิดได้ง่ายมาก การอุปมาเทียบยีนเป็นตัวบุคคลนั้น ถ้าเราท�ำด้วยความใส่ใจ และระมัดระวัง ก็จะเป็นทางลัดที่สั้นที่สุดส�ำหรับกู้ชีวิตนักทฤษฎีสายดาร์วินที่กำ� ลังจมปลัก แห่งความสับสนยุ่งเหยิง ระหว่างที่ผมพยายามระมัดระวังไว้ก่อน ผมได้รับก�ำลังใจจาก ผลงานชัน้ ปรมาจารย์ทอี่ อกมาก่อนหน้านัน้ ของ ดับเบิลยู. ดี. แฮมิลตัน (W. D. Hamilton) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 วีรบุรุษที่ผมระบุไว้ในหนังสือ จากบทความเมื่อปี 1972 (ซึ่งเป็นปีที่ผม เริ่มเขียนยีนเห็นแก่ตัว) แฮมิลตันเขียนไว้ว่า ยีนยีนหนึ่งจะถูกเลือกเก็บไว้จากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ถ้าผลรวม ของส�ำเนาของยีนนั้นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในยีนพูลทั้งหมด เนื่องจากเราต้อง พิจารณาถึงประเด็นทีว่ า่ ยีนน่าจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมทางสังคมของสิง่ มี ชีวติ ทีม่ ยี นี นัน้ ๆ เรามาลองเพิม่ สีสนั แก่ขอ้ ถกเถียงด้วยการยกบทบาทยีนให้มี สติปญ ั ญาและเสรีภาพในการเลือกระดับหนึง่ เป็นการชัว่ คราว ลองจินตนาการ ว่ายีนยีนหนึ่งก�ำลังใคร่ครวญถึงปัญหาในการเพิ่มจ�ำนวนส�ำเนาของมัน และ ลองจินตนาการว่ามันสามารถเลือกได้ระหว่าง... ประโยคเช่นนี้ก็มีเจตนารมณ์เดียวกันกับที่มใี นยีนเห็นแก่ตัว 16 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
แต่การอุปมาตัวบุคคลกับสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆ ดูจะมีปัญหามากกว่า เพราะว่าสิ่ง มี ชี วิ ต นั้ น ไม่ เ หมื อ นยี น ตรงที่ มั น มี ส มอง ดั ง นั้ น จึ ง อาจมี แ รงจู ง ใจให้ เ ห็ น แก่ ตั ว หรื อ เอื้ออารีในบางสิ่งบางอย่างดังที่ความรู้สึกส่วนตัวที่เรารับรู้ในใจเราเองก็เป็นได้ หนังสือที ่ ชื่อว่า สิงโตเห็นแก่ตัว (The Self ish Lion) อาจชวนสับสนจริงๆ ในแบบเดียวกับที่ ยีน เห็นแก่ตัว ไม่ควรจะเป็น แค่เราลองจินตนาการตนเองเป็นล�ำแสง แล้วใช้สติปัญญาเลือก เส้นทางที่ดีที่สุดในการเคลื่อนที่ผ่านเลนส์และแก้วปริซึม หรือ จินตนาการเป็นยีนที่ก�ำลัง เลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการเดินทางผ่านชีวิตแต่ละรุ่นแล้ว เราก็สามารถสมมุติตนเองได้ เช่นกันว่าเป็นสิงโตตัวหนึ่ง ที่ค�ำนวณหากลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ดีที่สุดเพื่อความอยู่รอด ของยีนในระยะยาว ของขวัญชิ้นแรกที่แฮมิลตันให้ไว้กับวงการชีววิทยาก็คือคณิตศาสตร์ อันแม่นย�ำ ที่สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวตามแนวคิดแบบดาร์วินดังเช่นสิงโตตัวนี้ จะต้องน�ำไปใช้ เมื่อต้องตัดสินใจผ่านการค�ำนวณเพื่อความยีนของมันอยู่รอดในระยะยาว ผมใช้ประโยค ค�ำพูดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือเล่มนี้ส�ำหรับการค�ำนวณดังกล่าวใน 2 ระดับชั้น ในหน้าที่ 172 เราได้สลับอย่างรวดเร็ว จากระดับชั้นหนึ่งไปอีกชั้นหนึ่ง เราได้พิจารณาถึงสภาวะต่างๆ ว่าผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าที่ตัวแม่ต้องเผชิญ จนยอมปล่อยให้ลูกท้ายครอกนั้นตายไป เราอาจคาดเดาตามสัญชาตญาณ ไปว่าลูกท้ายครอกนีจ้ ะต้องดิน้ รนต่อไปถึงทีส่ ดุ แต่ทฤษฎีกลับไม่จำ� เป็นต้อง ให้ค�ำท�ำนายออกมาเช่นนี้ ทันทีที่ลูกท้ายครอกเริ่มแคระแกร็นและอ่อนแอ จนอายุขยั ของมันลดลงจนถึงจุดทีป่ ระโยชน์จากการลงทุนของพ่อแม่มคี า่ น้อย กว่าประโยชน์ครึ่งหนึ่งของที่ลูกตัวอื่นๆ จะได้รับจากการลงทุนแบบเดียวกัน จากพ่อแม่ ลูกท้ายครอกตัวนัน้ ก็ควรจะตายลงอย่างสงบและเต็มใจ เพราะท�ำ ประโยชน์ให้กับยีนของมันจากการกระท�ำเช่นนั้นมากที่สุด นี่คือการทบทวนความรู้สึกนึกคิดของตนเองในระดับตัวสิ่งมีชีวิต สมมุติฐานนี้ไม่ได้บอกว่า ลูกท้ายครอกเลือกสิ่งที่ท�ำให้มันมีความสุขหรือรู้สึกดี แต่กลับบอกว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวใน โลกของแนวคิดแบบดาร์วินถูกสมมุติให้ต้องค�ำนวณหาว่าแนวทางใดที่จะดีที่สุดส�ำหรับยีน ของพวกมัน ประโยคในย่อหน้าต่อไปนี้จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้น ผ่านการเปลี่ยนสลับไปใช้การ อุปมาเชิงบุคคลในระดับยีนอย่างรวดเร็ว หรือจะพูดได้ว่า ยีนยีนหนึ่งที่ออกค�ำสั่งว่า “ร่างกายเอ๋ย ถ้าเจ้าตัวเล็กกว่า พี่น้องร่วมครอกของเจ้ามาก ก็จงเลิกดิ้นรนต่อสู้และตายลงเสียเถิด” ก็จะ ประสบความส�ำเร็จได้ในยีนพูล เนื่องจากยีนนี้มีโอกาส 50% ที่จะอยู่ในร่าง ยีนเห็นแก่ตัว 17
พี่น้องของมันที่รอดชีวิตต่อไป ในขณะที่โอกาสอยู่รอดในร่างลูกท้ายครอก นั้นมีน้อยมากๆ อยู่แล้ว และเมื่อย่อหน้านี้สลับกลับมาอย่างรวดเร็วถึงตัวลูกท้ายครอกที่พิจารณาตนเอง ว่า มันควรจะมีจุดที่ย้อนกลับไม่ได้แล้วในช่วงชีวิตของลูกท้ายครอก ก่อนที่ มันจะไปถึงจุดนั้น มันก็ควรจะยังต้องดิ้นรนต่อสู้ต่อไป และทันทีที่ไปถึง จุดนัน้ มันก็ควรจะยอมแพ้และปล่อยให้ตวั เองถูกจัดการโดยพีน่ อ้ งร่วมครอก หรือโดยพ่อแม่เสียดีกว่า ผมเชือ่ จริงๆ ว่าการอุปมาเชิงบุคคลทัง้ 2 ระดับนีไ้ ม่นา่ สับสนแต่อย่างไรถ้าได้อา่ นเนือ้ หาครบ ถ้วนทั้งหมดแล้ว “การค�ำนวณโดยการสมมุติ” ทั้ง 2 ระดับนี้จะน�ำไปสู่ข้อสรุปเดียวกันถ้า ใช้งานอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นก็คือใช้เป็นกฎเกณฑ์สำ� หรับการพิจารณาความถูกต้องของมัน ดังนัน้ ผมจึงไม่คดิ ว่าการอุปมาเชิงบุคคลจะเป็นสิง่ ทีผ่ มควรยกเลิกหากผมเขียนหนังสือเล่ม นี้ขึ้นมาใหม่ในตอนนี้ การยกเลิกสิ่งที่ได้เขียนไปก็เรื่องหนึ่ง การยกเลิกสิ่งที่ได้อ่านไปแล้วนั้นเป็นคนละ เรื่องเลยทีเดียว เราจะท�ำอย่างไรเมื่อพบกับค�ำตัดสินเช่นนี้จากนักอ่านคนหนึ่งในประเทศ ออสเตรเลีย? น่าอัศจรรย์มาก แต่ขณะเดียวกันฉันก็อยากให้ตัวเองไม่ได้อ่านมันเลย ... คือในแง่หนึ่ง ฉันมีอารมณ์ร่วมกับความมหัศจรรย์ที่ดอว์กินส์สามารถมอง เห็นอย่างประจักษ์แจ้ง จากกระบวนการอันสลับซับซ้อนนี้ ... แต่ในเวลา เดียวกันนั้น ฉันก็ขอต�ำหนิยีนเห็นแก่ตัวเป็นหลักในฐานะต้นเหตุอาการซึม เศร้าหลากหลายชุด ที่ฉันต้องทนทรมานมากว่าทศวรรษหนึ่งแล้ว ... ถึงฉัน จะไม่เคยเชื่อมั่นในวิถีชีวิตด้านจิตวิญญาณ แต่ก็ยังพยายามที่จะค้นหาบาง สิง่ บางอย่างทีอ่ ยู่ลกึ ลงไป พยายามทีจ่ ะเชือ่ แต่ไม่ค่อยจะส�ำเร็จเท่าไร ฉันพบ ว่าหนังสือเล่มนี้ได้พังทลายความคลุมเครือใดๆ ที่ฉันเคยมีมาก่อนทิ้งไปเสีย หมด และยังกีดขวางไม่ให้ความเชือ่ เหล่านีก้ ลับมารวมกันใหม่ได้อกี ครัง้ เรือ่ ง นี้ก่อวิกฤตตัวตนกับฉันอย่างรุนแรงเมื่อหลายปีก่อน
ก่อนหน้านี้ผมได้เคยเขียนถึงจดหมายตอบกลับจากผู้อ่านอีก 2 ฉบับที่คล้ายๆ กัน
18 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
คนของส�ำนักพิมพ์ต่างประเทศที่พิมพ์หนังสือเล่มแรกของผม สารภาพว่า เขานอนไม่หลับไปสามคืนหลังได้อ่านหนังสือนี้แล้ว อึดอัดทรมานใจด้วย สิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นสารแห่งความเย็นชาและสิ้นหวัง มีอีกหลายคนที่ถามว่า ผมสามารถฝืนลุกขึ้นมาจากที่นอนได้อย่างไรในตอนเช้า คุณครูคนหนึ่งใน ประเทศห่างไกลเขียนมาต�ำหนิผมว่าลูกศิษย์มาหาเขาทั้งน�้ำตาหลังจากอ่าน หนังสือเล่มนี ้ เพราะมันโน้มน้าวให้เธอเชือ่ ว่าชีวติ นัน้ ว่างเปล่าและไร้จดุ หมาย เขาแนะน�ำเธอว่าอย่าให้เด็กๆ คนอืน่ ดูหนังสือเล่มนี ้ เพราะกลัวว่ามันจะท�ำให้ พวกเขาแปดเปือ้ นด้วยการมองโลกในแง่รา้ ยไร้ความหวังอย่างนีไ้ ปด้วย [จาก หนังสือคลี่สายรุ้ง (Unweaving the Rainbow)] ถ้าจะมีความจริงอยู่สักอย่าง ก็คงเป็นเรื่องไม่มีความคิดความปรารถนาอะไรแก้ไขมันได้ นี่คือสิ่งแรกที่ผมอยากจะบอก แต่ประเด็นถัดมาก็ส�ำคัญไม่แพ้กัน ดังที่ผมได้เขียนต่อ ไปว่า ถ้าหากว่าจริงๆ แล้ว ชะตากรรมขั้นสูงสุดของจักรวาลนั้นไม่มีเป้าประสงค์ ใดๆ แฝงอยู่เลยสักนิด กระนั้นมีพวกเราคนไหนหรือที่ผูกความหวังในชีวิต ของเราเข้ากับชะตากรรมสูงสุดของจักรวาล? แน่นอนว่าไม่มีใครท�ำเช่นนั้น ถ้าเรายังปกติดีอยู่ ชีวิตของเราถูกก�ำหนดด้วยความทะเยอทะยานและ มโนทัศน์สารพัดอย่างของมนุษย์ซง่ึ แน่นแฟ้นและอบอุน่ กว่านัน้ มาก การกล่าว หาวิทยาศาสตร์วา่ ปล้นเอาความอบอุน่ แห่งชีวติ อันทรงคุณค่าต่อการด�ำรงชีวติ ไป นับว่าเป็นเรื่องที่ผิดพลาดไร้หลักไร้เหตุผลยิ่ง ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับ ความรู้สึกส่วนตัวของผมและเหล่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ท่ีท�ำงานกันอยู่ ผมโดนบีบคั้นจนแทบจะจมไปกับความสิ้นหวังจากการโยนข้อกล่าวหาให้ อย่างผิดๆ กระแสยิงเป้าคนน�ำสารแบบเดียวกันนี้ยังแสดงออกมาโดยพวกนักวิจารณ์อีกหลายคน ที่คัดค้านกับสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า ยีนเห็นแก่ตัว แฝงนัยยะอันไม่พึงประสงค์ทางสังคม การ เมือง หรือแม้แต่เศรษฐกิจ ไม่นานนักหลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีแธตเชอร์ (Thatcher) ชนะการเลือกตั้งหนแรกในปี 1979 เพื่อนของผม สตีเวน โรส (Steven Rose) ได้เขียน ข้อความนี้ลงในนิตยสารนิวไซเอนทิสต์ (New Scientist) ยีนเห็นแก่ตัว 19
ผมไม่ได้ก�ำลังสือ่ ว่า ซาทชิ แอนด์ ซาทชิ (Saatchi and Saatchi)+† ร่วมมือ กับทีมนักชีววิทยาเชิงสังคมเพื่อเขียนโพยให้กับแธตเชอร์ และก็ไม่ได้สื่อว่า เหล่าเจ้าส�ำนักแห่งออกซ์ฟอร์ดและซัสเซ็กซ์บางคน เริ่มยินดีกับผลอันเป็น รูปธรรมของความจริงอันเรียบง่ายเรื่องกลุ่มยีนเห็นแก่ตัว ซึ่งที่ผ่านมา พวกเขาดิ้นรนพยายามจะถ่ายทอด ที่จริงแล้ว ความบังเอิญที่ทฤษฎีที่ด ู ทันสมัยนี้ตรงกับเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ วุ่นวายกว่าที่เห็นเสียอีก ถึงกระนั้นผมก็เชื่อมั่นว่า เมื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเมืองปีกขวาช่วง ปลายทศวรรษ 1970 ถูกบันทึกลงเป็นประวัติศาสตร์ ว่าผละออกจากหลัก นิติธรรมไปสู่ลัทธิการเงินนิยม และไปสู่ (สิ่งซึ่งดูขัดแย้งกันยิ่งกว่า) การ โจมตีแนวคิดรัฐนิยมแล้วตามด้วยการสลับขัว้ ในกระแสนิยมทางวิทยาศาสตร์ แม้จะเป็นแค่การเปลี่ยนแบบจ�ำลองจากการคัดเลือกกลุ่มเป็นการคัดเลือก เครือญาติ ต่อไปจะถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระแสน�ำ้ เชี่ยว ที่ช่วยพัดพา กลุ่มแธตเชอร์และแนวคิดล้าหลังเรื่องธรรมชาติของมนุษย์คือการแข่งขัน ชิงดีและหวาดระแวงความแตกต่างแบบศตวรรษที่ 19 ให้ขึ้นมาสู่อ�ำนาจ
“เจ้าส�ำนักซัสเซ็กซ์” ทีว่ ่านีก้ ค็ อื จอห์น เมย์นาร์ด สมิธ (John Maynard Smith) ผู้ล่วงลับ ไปแล้ว ซึ่งทั้งผมและสตีเวน โรสนับถือเป็นอย่างมาก เขาตอบกลับอย่างมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวผ่านจดหมายในนิตยสารนิวไซเอนทิสต์ ว่า “แล้วจะให้เราท�ำอย่างไร? ให้ดุล สมการเล่นอย่างนั้นหรือ?” ใจความส� ำคัญประการหนึ่งในยีนเห็นแก่ตัว [ซึ่งได้รับการ สนับสนุนให้เด่นชัดขึ้นด้วยเรียงความชิ้นหลักบทแรกในหนังสืออนุศาสนาจารย์แห่งปีศาจ (A Devil’s Chaplain)] ก็คือว่าเราไม่ควรที่จะดึงคุณค่าจากแนวคิดของดาร์วินออกมา เอง เว้นเสียแต่ว่ามันจะมีเครื่องหมายลบก� ำกับ สมองเราได้วิวัฒนาการมาจนถึงจุดที่ สามารถก่อกบฏต่อยีนเห็นแก่ตัวของเราได้แล้ว ข้อเท็จจริงง่ายๆ และชัดเจนว่าเราท�ำได้ ถึงขนาดนั้นก็คือการคุมก�ำเนิด หลักการเดียวกันนี้สามารถและควรที่จะน�ำไปใช้ได้ในระดับ ที่กว้างขึ้นเช่นกัน หนังสือฉบับฉลองครบรอบนี้ต่างจากฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง เมื่อปี 1989 ตรงที่ไม่มี การเพิ่มเนื้อหาใหม่ใดๆ ยกเว้นเฉพาะบทน�ำนี้และบางส่วนที่ดึงมาจากบทรีวิวหนังสือ คัด เลือกโดยลาธา เมนอน ซึ่งเป็นบรรณาธิการให้ผมมาแล้วอย่างยอดเยี่ยมถึง 3 ครั้ง มีเพียง +
บริษทั เอเยนซีโ่ ฆษณาและการสารสนเทศ ก่อตัง้ ในอังกฤษปี 1970 ปัจจุบนั ส�ำนักงานใหญ่อยูท่ ลี่ อนดอน มีชื่อเสียงโด่งดังจากการรณรงค์ให้พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ จนนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ได้รับ ชัยชนะในปี 1979 - บรรณาธิการ 20 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
ลาธาเท่านั้นที่พอจะเทียบชั้นกับไมเคิล รอดเจอร์ บรรณาธิการมหัศจรรย์ ผู้เชื่อมั่นอย่างไม่ ย่อท้อต่อหนังสือเล่มนี้ว่าจะโด่งดังเป็นพลุแตกตั้งแต่เปิดตัวฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งนี้ได้น�ำเอาค�ำนิยมของโรเบิร์ต ไทรเวอร์สฉบับดั้งเดิมกลับมา พิมพ์อกี ครัง้ ซึง่ ผมรูส้ กึ ยินดีเป็นอย่างมาก ผมได้กล่าวถึงบิลล์ แฮมิลตันไว้วา่ เขาเป็น 1 ใน 4 วีรบุรุษทางสติปัญญาของหนังสือเล่มนี้ บ๊อบ ไทรเวอร์สก็เป็น 1 ใน 4 คนนั้น แนวคิด ของเขาโดดเด่นอยู่ในเนื้อหาส่วนใหญ่ของบทที่ 9, 10 และ 12 และอยู่ในบทที่ 8 ทั้งบท ค�ำนิยมของเขาไม่เพียงแค่ช่วยเกริ่นน�ำหนังสือเล่มนี้ได้อย่างสวยงาม เขายังท�ำในสิ่งที่น่า ประหลาดโดยเลือกหนังสือเล่มนี้เป็นสื่อส�ำหรับประกาศแนวคิดใหม่อันหลักแหลมของเขา ต่อชาวโลก นั่นคือทฤษฎีวิวัฒนาการของการหลอกตนเอง (self-deception) ผมรู้สึกยินดี เป็นอย่างยิ่งที่เขาอนุญาตให้ใช้ค�ำนิยมฉบับดั้งเดิมนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ฉบับฉลองการ ครบรอบนี้ ริชาร์ด ดอว์กินส์ ออกซ์ฟอร์ด, ตุลาคม 2005
ยีนเห็นแก่ตัว 21
ค�ำน�ำ จากฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง
หลังยีนเห็นแก่ตัวได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วสิบกว่าปี ใจความส�ำคัญของมันได้กลายเป็น หลักทีย่ ดึ ถือกันในต�ำราเรียน ฟังดูแล้วเหมือนจะขัดแย้งกันเอง แต่กไ็ ม่ใช่ในแบบปกติทเี่ ป็น กัน หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือที่ได้รับการเชิดชูว่าเป็นการปฏิวัติวงการตอนที่มันได้รับการ ตีพมิ พ์ แล้วจากนัน้ ก็เอาชนะและเปลีย่ นใจคนได้อย่างต่อเนือ่ ง จนกระทัง่ กลายเป็นหลักยึด เหนีย่ วขนาดทีพ่ วกเราตอนนีส้ บั สนว่าความวุน่ วายครัง้ นัน้ คืออะไรกัน กลับกัน หนังสือเล่ม นีใ้ นตอนแรกๆ ได้รบั ค�ำวิจารณ์เป็นเสียงชืน่ ชมอย่างน่าพอใจทีเดียว และก็ไม่ได้มที ่าทางจะ เป็นหนังสือทีก่ อ่ ให้เกิดการโต้แย้งกันเท่าไร ชือ่ เสียงของมันในด้านการชวนทะเลาะนัน้ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปตามปี จนมาถึงทุกวันนี้ที่ถูกกล่าวขวัญว่าเป็นงานเขียนของพวกหัว รุนแรงสุดโต่ง แต่ในระหว่างที่ชื่อเสียงเรื่องหัวรุนแรงของหนังสือเล่มนี้เพิ่มมากขึ้น เนื้อหา ที่แท้จริงของมันกลับดูรุนแรงน้อยลงๆ พร้อมกับกลายเป็นเรื่องปกติสามัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทฤษฎี ยี น เห็ น แก่ ตั ว เป็ น ทฤษฎี ข องดาร์ วิ น ที่ ถู ก น� ำ เสนอในแบบที่ ด าร์ วิ น ไม่ ไ ด้ เลือกที่จะท�ำ แต่ผมเชื่อว่าเขาน่าจะจ�ำมันได้ในทันทีและรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ความจริง แล้วมันเป็นการขยายขอบเขตในเชิงตรรกะของแนวคิดนีโอดาร์วิน (neo-Darwinism) ที่ยึดถือกันอยู่ แต่แสดงออกมาในมุมมองใหม่ๆ คือ แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่สิ่งมีชีวิตแต่ละ ตัว ก็อาศัยมุมมองของยีนในการมองธรรมชาติแทน ซึง่ เป็นแค่อกี วิธมี องสิง่ ต่างๆ ในอีกมุม 22 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
ไม่ใช่คนละทฤษฎี ในหน้าแรกๆ ของหนังสือฟีโนไทป์ทขี่ ยายออก (The Extended Phenotype) ผมอธิบายเรื่องนี้ไว้โดยอุปมาอุปไมยถึงลูกบาศก์เน็คเกอร์ (Necker cube) (รูป)
มันเป็นแค่ลายเส้นสองมิตขิ องหมึกทีเ่ ขียนลงบนกระดาษ แต่ดเู หมือนกล่องลูกบาศก์โปร่งใส สามมิต ิ ถ้าลองจ้องสักไม่กวี่ นิ าที มันก็จะเปลีย่ นทิศทีห่ นั หน้าไปในทิศทางอืน่ ได้ พอจ้องนาน ขึ้น หน้าที่ยื่นออกมาก็จะพลิกกลับมาทรงเดิม ลูกบาศก์ทั้ง 2 แบบนี้เปรียบเทียบกันได้เท่า เทียม หากเป็นข้อมูลลายเส้นสองมิติที่ไปปรากฏบนเรตินา (retina) แล้วสมองของเราจึง พลิกด้านไปมาอย่างสนุกสนาน ไม่มแี บบไหนถูกต้องมากกว่ากัน ประเด็นของผมก็คอื มีวธิ ี การมองเรือ่ งการคัดเลือกโดยธรรมชาติได้ 2 วิธ ี คือ ทัง้ ในมุมมองของยีนและของสิง่ มีชวี ติ แต่ละตัว ถ้าเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะเห็นว่าทัง้ 2 วิธเี ท่าเทียมกัน มองความจริงเดียวกัน สามารถพลิกกลับไปกลับมาจากแบบหนึง่ ไปอีกแบบโดยยังคงเป็นแนวคิดนีโอดาร์วนิ เช่นเดิม ตอนนี้ ผมเริ่มคิดว่าการอุปมาอุปไมยแบบนี้ดูจะหวาดระแวงเกินไป คือแทนที่จะน�ำ เสนอทฤษฎีใหม่หรือขุดค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ๆ สิ่งที่ดีที่สุดที่นักวิทยาศาสตร์สามารถอุทิศ ได้นนั้ กลับเป็นเพียงแค่คน้ พบวิธกี ารใหม่ในการมองทฤษฎีหรือข้อเท็จจริงเก่าๆ แบบจ�ำลอง ลูกบาศก์เน็คเกอร์ชวนให้เราหลงเข้าใจผิดได้ เพราะมันบอกว่าวิธีมองทั้งสองนั้นดีพอๆ กัน อุปมาอุปไมยนีม้ สี ว่ นถูกอยูบ่ า้ ง นัน่ คือ “มุมมอง” ไม่ใช่ทฤษฎี เพราะไม่อาจจะตัดสินได้ดว้ ย การทดลอง เราไม่อาจพึ่งพากฎเกณฑ์ที่คุ้นเคยกันอย่างการตรวจสอบและการพิสูจน์ว่าเป็น เท็จได้ แต่การเปลี่ยนแปลงมุมมองนั้นมีข้อดีที่สามารถท�ำในบางสิ่งบางอย่างได้งดงามกว่า ทฤษฎี มันสามารถน�ำไปสู่บรรยากาศใหม่ของกระบวนการคิดทัง้ หมด ซึง่ เป็นจุดก�ำเนิดของ ทฤษฎีทนี่ า่ ทึง่ และทดสอบได้มากมาย และข้อเท็จจริงทีไ่ ม่เคยนึกถึงทัง้ หลายถูกวางเผยหมด เปลือก เราจะเห็นว่าการเปรียบเทียบแบบลูกบาศก์เน็คเกอร์พลาดในส่วนนี้เต็มๆ เพราะ อาศัยเพียงแนวคิดเรื่องการหมุนพลิกมุมมอง แต่พลาดที่ไปตัดสินเรื่องคุณค่าของมัน สิ่ง ที่เราพูดถึงอยู่นี้จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องการพลิกหามุมมองที่เท่าเทียมกัน แต่เป็นการเปลี่ยน รูปร่างไปเลยในกรณีที่รุนแรงที่สุดต่างหาก ผมขอปฏิเสธคุณูปการใดๆ ก็ตามข้างต้นจากการอุทิศผลงานอันเล็กน้อยของผม อย่างไรก็ดี นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมเลือกที่จะไม่พูดแยกแยะให้ชัดระหว่างวิทยาศาสตร์ ยีนเห็นแก่ตัว 23
กับ “การท�ำให้นา่ เข้าถึง” การอธิบายแนวคิดต่างๆ ทีจ่ นบัดนีม้ เี ผยแพร่เฉพาะแต่ในวารสาร วิชาการนับเป็นศิลปะขัน้ สูง ต้องอาศัยลูกเล่นส�ำนวนภาษาและน�ำเสนอด้วยอุปมาอุปไมยให้ เห็นภาพอย่างชาญฉลาด ถ้าคุณใส่ส�ำนวนและอุปมาใหม่ๆ เข้าไปมากเพียงพอ คุณก็จะได้ วิธีการใหม่ในการมองประเด็นนั้นออกมา และด้วยวิธีการมองในมุมใหม่ดังที่ผมได้ยกขึ้น มาก่อนหน้านี้ ก็มีสิทธิที่จะนับเป็นผลงานชิ้นใหม่เพื่ออุทิศให้กับวงการวิทยาศาสตร์ด้วยตัว ของมันเอง ไอน์สไตน์ (Einstein) เองไม่เคยท�ำตนเป็นนักสร้างกระแสนิยม แต่ผมเองก็ เคยสงสัยอยูบ่ อ่ ยครัง้ ว่าอุปมาอุปไมยสวยๆ ทีเ่ ขาใช้นนั้ มีคา่ มากกว่าแค่ชว่ ยให้พวกเราเข้าใจ ได้งา่ ยขึน้ ? หรือว่าอุปมาเหล่านีจ้ ะมีสว่ นช่วยเติมเต็มพลังสร้างสรรค์แก่อจั ฉริยภาพของเขา? การมองแนวคิดแบบดาร์วินผ่านสายตาของยีนนั้นปรากฏเป็นนัยยะอยู่ในงานเขียน ของ อาร์. เอ. ฟิชเชอร์ (R. A. Fisher) และปรมาจารย์ผู้บุกเบิกแนวคิดแบบนีโอดาร์วิน อีกหลายท่านในยุคทศวรรษ 1930 ทว่าแนวคิดนี้ได้รับการเขียนออกมาอย่างชัดเจนโดย ดับเบิลยู. ดี. แฮมิลตัน และ จี. ซี. วิลเลียมส์ (G. C. Williams) ในทศวรรษ 1960 ส�ำหรับผมแล้ว มุมมองอันแหลมคมของท่านทั้งหลายนี้เป็นวิสัยทัศน์อันทรงคุณค่า แต่ผม พบว่าวิธที ที่ า่ นน�ำเสนอออกมานัน้ ดูหว้ นเกินไป ไม่ได้เปล่งเต็มเสียงมากพอ ผมเชือ่ ว่าถ้าน�ำมา พัฒนาและขยายความให้ดีขึ้น เราก็จะสามารถจัดเรียงทุกประเด็นเกี่ยวกับชีวิตให้ลงตัวได้ ทัง้ ในทางจิตใจและสติปญ ั ญาของเรา ผมคิดจะเขียนหนังสือทีช่ มู มุ มองของยีนต่อวิวฒ ั นาการ ซึง่ ควรจะเน้นไปทีต่ วั อย่างพฤติกรรมทางสังคมต่างๆ เพือ่ ช่วยแก้ไขแนวคิดการคัดเลือกกลุม่ แบบไร้จติ ส�ำนึก (unconscious group-selectionism) ซึง่ ขณะนัน้ ครอบง�ำกระแสนิยมใน แนวคิดแบบดาร์วนิ ผมจึงเริม่ เขียนหนังสือเล่มนีใ้ นปี 1972 ตอนทีม่ กี ารตัดไฟอันเนือ่ งจาก ความขัดแย้งรุนแรงในภาคอุตสาหกรรม+† จนท�ำให้ผมท�ำวิจัยในห้องปฏิบัติการไม่ได้ น่าเสียดายที่ (ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง) ไฟฟ้ากลับมาหลังผมเขียนไปได้เพียง 2 บท และผมก็ เก็บงานชิน้ นีข้ นึ้ หิง้ อีกนาน จนกระทัง่ มีโอกาสลาหยุดยาวในปี 1975 ระหว่างนัน้ เอง ทฤษฎีน ี้ ก็ได้พัฒนาขยายออกไปโดยเฉพาะด้วยความกรุณาของจอห์น เมย์นาร์ด สมิธและโรเบิร์ต ไทรเวอร์ส ผมเริม่ เห็นแล้วว่าช่วงนัน้ เป็นเวลามหัศจรรย์ทมี่ คี วามคิดใหม่ๆ ลอยอยูใ่ นอากาศ ผมจึงเขียนยีนเห็นแก่ตัวด้วยอารมณ์ท่เี หมือนกับก�ำลังพุ่งพรวดด้วยความตื่นเต้น เมื่อส�ำนักพิมพ์ออกซ์ฟอร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ เพรส (Oxford University Press) เข้า มาทาบทามให้ผมท�ำฉบับพิมพ์ปรับปรุง พวกเขายืนยันว่าการทบทวนเนื้อหาใหม่หมดทีละ หน้าๆ อย่างทีน่ ยิ มท�ำกันมานัน้ ไม่เป็นการสมควร จริงอยูท่ วี่ า่ มีหนังสือหลายเล่มทีต่ อ้ งพิมพ์ +
เหตุขัดแย้งระหว่างกลุ่มนายทุนพลังงานและแรงงานเหมืองที่ลุกลามบานปลาย จนมีการประท้วงใหญ่ และตัดไฟกรุงลอนดอนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 1972 ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึงเที่ยงคืนทุกวันต่อเนื่องเป็นเวลา ราว 1 สัปดาห์ - บรรณาธิการ 24 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
ฉบับปรับปรุงใหม่เรียงกันออกมาเรื่อยๆ แต่จากความคิดเห็นของพวกเขา ยีนเห็นแก่ตัว ไม่ใช่หนังสือท�ำนองนั้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งหยิบยืมความเยาว์วัยจากช่วงเวลาที่เขียนขึ้น มีกลิ่นอายของสายลมแห่งการปฏิวัติโชยมาจากต่างแดน ดังล�ำแสงในอรุณรุ่งอันโชติช่วงใน บทกวีของเวิรด์ สเวิรธ์ (Wordsworth) ด้วยความเสียดายทีจ่ ะต้องเปลีย่ นเด็กน้อยในยุคนัน้ ให้อ้วนขึ้นด้วยข้อมูลใหม่ๆ หรือเพิ่มริ้วรอยเหี่ยวย่นด้วยความซับซ้อนและค�ำเตือนต่างๆ เราจึงเลือกที่จะเก็บข้อความดั้งเดิม รวมถึงพวกส่วนเกิน สรรพนามที่มีจ� ำกัดเพศ และ อื่นๆ ไว้ทั้งหมด ภาคผนวกเพิ่มเติมท้ายเล่มจะครอบคลุมเนื้อหาส่วนของการปรับแก้ การ ตอบความคิดเห็น และการพัฒนาเนื้อหาเพิ่มเติม และมีบทที่เขียนขึ้นใหม่ทั้งหมดบนหัวข้อ ที่สดใหม่ในยุคที่มันถือก�ำเนิด ซึ่งจะช่วยส่งต่อบรรยากาศของอรุณรุ่งแห่งการปฏิวัติต่อไป ภายภาคหน้า ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือบทที่ 12 และ 13 ซึ่งผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ 2 เล่มในสาขานีท้ ที่ �ำให้ผมตืน่ เต้นอย่างยิง่ ในช่วงหลายปีทผี่ ่านมา นัน่ คือหนังสือวิวฒ ั นาการ ของการร่วมมือกัน (The Evolution of Cooperation) ของโรเบิรต์ แอ็กเซลร็อด (Robert Axelrod) ซึง่ หนังสือนีด้ เู หมือนจะช่วยมอบความหวังให้กบั อนาคตของพวกเรา และหนังสือ ของผมเองคือฟีโนไทป์ที่ขยายออก ซึ่งส�ำหรับผมแล้ว มันเป็นหนังสือที่โดดเด่นมาหลายปี และถ้าดูจากคุณค่าของมันแล้ว มันน่าที่จะเป็นงานเขียนที่ดีที่สุดที่ผมเคยเขียนมา ชื่อบทว่า “คนดี มักได้ก่อน” นั้น ผมหยิบยืมมาจากรายการโทรทัศน์ฮอไรซอน (Horizon) ของบีบีซี (BBC) ที่ผมได้ร่วมน�ำเสนอในปี 1985 มันเป็นสารคดีความยาว 50 นาที อ�ำนวยการสร้างโดยเจเรมี เทย์เลอร์ (Jeremy Taylor) เป็นตอนเกี่ยวกับการ น�ำเอาทฤษฎีเกม (game theory) มาใช้กับวิวัฒนาการของการร่วมมือกัน การสร้าง ภาพยนตร์เรื่องนี้และอีกเรื่องหนึ่งคือ ช่างท�ำนาฬิกาตาบอด (The Blind Watchmaker) โดยผู้อ�ำนวยการสร้างคนเดียวกันท�ำให้ผมเริ่มรู้สึกเคารพในอาชีพของเขา ในช่วงที่ดีท่ีสุด เหล่าผู้สร้างรายการฮอไรซอน [รายการบางตอนได้ออกอากาศในอเมริกา โดยปรับเปลี่ยน ใหม่เป็นชื่อโนวา (Nova)] มักผันตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทรงคุณวุฒิในหัวข้อที่ก�ำลังถ่าย ท�ำ บทที่ 12 นี้เป็นหนี้บุญคุณสารคดีนี้มากกว่าแค่ชื่อเรื่อง ยังรวมทั้งประสบการณ์ที่ได้ รับจากการท�ำงานใกล้ชิดกับเจเรมี เทย์เลอร์และทีมงานของฮอไรซอน ซึ่งผมรู้สึกยินดีเป็น อย่างยิ่ง ไม่นานมานี้ ผมได้รู้ถึงความจริงบางอย่างที่ผมรับไม่ได้ นั่นคือมีนักวิทยาศาสตร์ที่ เป็นที่ยกย่องบางคนมีนิสัยชอบน�ำชื่อพวกเขาใส่ลงไปในงานโดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมแม้แต่ น้อย มีนกั วิทยาศาสตร์อาวุโสบางคนทีข่ อใส่ชอื่ ร่วมเป็นเจ้าของบทความวิจยั ทัง้ ๆ ทีส่ งิ่ ทีท่ ำ� นั้นก็เพียงแค่ให้ผู้อื่นร่วมใช้โต๊ะทดลอง ให้เงินวิจัย และอ่านตรวจทานต้นฉบับบทความ เท่านัน้ จากเท่าทีผ่ มทราบ ชือ่ เสียงทางวิทยาศาสตร์ทงั้ หมดของคนเหล่านี ้ เอาเข้าจริงๆ แล้ว อาจจะมาจากน�้ำพักน�้ำแรงของนักศึกษาและผู้ร่วมงานเท่านั้น! ผมไม่ทราบว่าจะท�ำอย่างไร ยีนเห็นแก่ตัว 25
ได้บ้างเพื่อต่อสู้กับเรื่องน่าเสื่อมเสียเกียรติยศเช่นนี้ บางทีบรรณาธิการวารสารวิจัยควรจะ ขอให้การร่างหนังสือรับรองพร้อมลายเซ็นก�ำกับว่าผู้เขียนแต่ละคนมีส่วนร่วมอะไรบ้าง แต่ เอาเถอะ เหตุผลที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาตรงนี้ ก็เพื่อที่จะให้เห็นความแตกต่างเมื่อเทียบกับ เฮเลนา โครนิน (Helena Cronin) ทีท่ ำ� งานอย่างหนัก พยายามปรับปรุงทุกๆ บรรทัด ทุกๆ ค�ำทีเ่ ธอท�ำได้ แต่กลับยืนกรานปฏิเสธทีจ่ ะมีชอื่ เป็นผูเ้ ขียนร่วมในบทใหม่ๆ ของหนังสือเล่มนี ้ ผมซาบซึ้งบุญคุณของเธอเป็นอย่างยิ่ง และเสียใจที่ส่วนกิตติกรรมประกาศของผมมีเนื้อที่ จ�ำกัดเพียงแค่น ี้ ผมยังขอขอบคุณมาร์ก ริดลีย ์ (Mark Ridley) แมเรียน ดอว์กนิ ส์ (Marian Dawkins) และอลัน กราเฟน (Alan Grafen) อีกด้วย ส�ำหรับค�ำแนะน�ำและค�ำวิพากษ์ วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ต่อเนื้อหาหลายๆ ส่วน โธมัส เว็บสเตอร์ (Thomas Webster) ฮิลารี แมคไกลน์ (Hilary McGlynn) และคนอื่นๆ ที่สำ� นักพิมพ์ออกซ์ฟอร์ด ยูนิเวอร์ซิต ี้ เพรส ที่อดทนอย่างใจเย็นต่อความคิดเพ้อฝันและการผัดวันประกันพรุ่งของผม ริชาร์ด ดอว์กินส์ ค.ศ. 1989
26 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
ค�ำนิยม จากฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง
ลิงชิมแปนซีและมนุษย์นั้นมีประวัติศาสตร์วิวัฒนาการร่วมกันถึงกว่า 99.5% แต่เหล่า นักคิดเผ่าพันธุ์มนุษย์มักนับชิมแปนซีว่าเป็นเพียงแค่ตัวประหลาดรูปร่างผิดปกติท่ีไม่ เกี่ยวข้องอะไรกับพวกเขา ขณะเดียวกันกลับมองเห็นตัวเองเป็นดั่งบันไดขั้นต่อไปสู่พระ ผู้เป็นเจ้า ส�ำหรับนักวิวัฒนาการแล้ว เราไม่อาจคิดเช่นนั้นได้ ไม่มีหลักเกณฑ์พื้นฐานใดๆ ยกสปีชีส์หนึ่งให้อยู่สูงกว่าอีกสปีชีส์ ชิมแปนซีและมนุษย์ กิ้งก่าและเห็ดรา ก็ล้วนแล้วแต่ วิวัฒนาการมาด้วยกันกว่า 3,000 ล้านปี ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการคัดเลือกโดย ธรรมชาติในแต่ละสปีชสี น์ นั้ สิง่ มีชวี ติ บางตัวมีลกู หลานทีอ่ ยูร่ อดได้ดกี ว่าตัวอืน่ ๆ แล้วท�ำให้ ลักษณะทางพันธุกรรม (หรือยีน) ของตัวที่สืบทอดเผ่าพันธุ์ส�ำเร็จเพิ่มจ�ำนวนขึ้นมากมาย ในรุน่ ต่อไปนีแ่ หละคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือการสืบทอดยีนต่างกันไปอย่างมีทศิ ทาง การคัดเลือกโดยธรรมชาตินั้นท�ำให้เกิดพวกเราขึ้นมา และก็เป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ อีกเช่นกันที่เราต้องท�ำความเข้าใจหากเราต้องการรู้ซึ้งถึงตัวตนของเราเอง ถึงแม้ว่าทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จะเป็นแก่น กลางของการศึกษาพฤติกรรมทางสังคม [โดยเฉพาะเมื่อน�ำไปรวมกับหลักพันธุศาสตร์ของ เมนเดล (Mendel)] แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างกว้างขวาง องค์ความรู้ทั้งหมดที่ก่อตัวขึ้นมากับ การศึกษาด้านสังคมศาสตร์นั้น ทุ่มเทให้แก่การก่อสร้างโลกทัศน์ด้านสังคมและจิตวิทยา ยีนเห็นแก่ตัว 27
ก่อนยุคดาร์วนิ และเมนเดล แม้แต่ในวิชาชีววิทยาเอง ก็มกี ารปฏิเสธทฤษฎีของดาร์วนิ และ การน�ำไปใช้กนั ผิดๆ อย่างน่าประหลาดใจ แต่ไม่ว่าเหตุผลของพัฒนาการทีผ่ ดิ ปกติเช่นนีจ้ ะ คืออะไร ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามันก�ำลังจะมาถึงจุดยุติแล้ว งานเขียนอันยิ่งใหญ่ของดาร์วิน และเมนเดลถูกพัฒนาขยายขึ้นจากกลุ่มคนท�ำงานที่เพิ่มจ�ำนวนขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่น อาร์. เอ. ฟิชเชอร์, ดับเบิลยู. ดี. แฮมิลตัน, จี. ซี. วิลเลียมส์ และ เจ. เมย์นาร์ด สมิธ และนี่จะ เป็นครั้งแรกที่เนื้อหาส�ำคัญของทฤษฎีทางสังคมบนพื้นฐานของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ถูกน�ำเสนอในรูปแบบอ่านง่ายส�ำหรับบุคคลทั่วไปโดยริชาร์ด ดอว์กินส์ ดอว์กินส์อธิบายหัวข้อหลักๆ ของงานเขียนเล่มใหม่ในทฤษฎีทางสังคมนี้ทีละ เรื่อง ตั้งแต่แนวคิดต่างๆ ของพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัวและเห็นแก่ผู้อื่น ค�ำนิยามทางพันธุ ศาสตร์ของผลประโยชน์ส่วนตน วิวัฒนาการของพฤติกรรมก้าวร้าว ทฤษฎีเครือญาติ (ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างลูกหลานกับพ่อแม่ และวิวัฒนาการของแมลงที่อยู่เป็น สังคม) ทฤษฎีอตั ราส่วนของเพศ การเห็นแก่ผอู้ นื่ แบบตอบแทนกัน (reciprocal altruism) การหลอกลวง และการคัดเลือกโดยธรรมชาติต่อเพศที่แตกต่างกัน ด้วยความเชื่อมั่นจาก ความเข้าใจในทฤษฎีนอี้ ย่างถ่องแท้และลึกซึง้ ดอว์กนิ ส์คอ่ ยๆ คลีค่ ลายงานเขียนใหม่นดี้ ว้ ย ลีลาและความชัดเจนอย่างน่านับถือ ด้วยความรู้กว้างขวางในด้านชีววิทยา เขาให้ผู้อ่านได้ ลองลิ้มรสชาติงานเขียนที่เนื้อหาเข้มข้นและน่าตื่นเต้น เมื่อใดที่เขาคิดต่างไปจากงานที่มีคน เคยเขียนมาก่อน (เหมือนกับทีเ่ ขาวิพากษ์วจิ ารณ์การใช้ตรรกะผิดๆ ของตัวผมเอง) ก็จะพุ่ง เข้าหาประเด็นปัญหานัน้ โดยทันทีเกือบทุกครัง้ ดอว์กนิ ส์ยงั ยอมเหน็ดเหนือ่ ยอธิบายตรรกะใน ข้อถกเถียงของเขาจนชัดเจน เพือ่ ให้ผอู้ า่ นสามารถใช้ตรรกะนัน้ ๆ การขยายข้อถกเถียงต่างๆ ออกไป (หรือแม้แต่ใช้โต้แย้งกับดอว์กนิ ส์เอง) ค�ำโต้แย้งเหล่านีข้ ยายออกไปในหลายทิศทาง ตัวอย่างเช่น (ดังที่ดอว์กินส์ได้อภิปรายไว้ว่า) ถ้าการหลอกลวงเป็นพื้นฐานของการสื่อสาร ระหว่างสัตว์อยู่แล้ว มันก็ต้องมีการคัดเลือกอย่างรุนแรงส�ำหรับการตรวจจับการหลอกลวง และเมื่อมองมุมกลับ ก็ควรจะมีการคัดเลือกเอาการหลอกตัวเองเก็บไว้ระดับหนึ่ง ท�ำให้ ข้อเท็จจริงและแรงจูงใจบางอย่างไม่เป็นทีร่ บั รู ้ โดยมีรอ่ งรอยของการรูอ้ ยูแ่ ก่ใจอยูจ่ างๆ เพือ่ ที่จะได้ไม่ทรยศการหลอกลวงที่ใช้งานกัน ดังนั้นมุมมองเดิมๆ ที่ว่า การคัดเลือกโดย ธรรมชาติเอนเอียงคัดเลือกระบบประสาทสัมผัสอันน�ำมาซึ่งภาพลักษณ์ของโลกที่คมชัด เอาไว้มากกว่าก็ดูจะเป็นทัศนะต่อประเด็นวิวัฒนาการของสภาพจิตที่ไร้เดียงสาเป็นอย่างยิ่ง ความก้ า วหน้ า ของทฤษฎี ท างสั ง คมในปั จ จุ บั น นั้ น มี ม ากเพี ย งพอที่ จ ะสร้ า งแรง กระเพือ่ มแบบฝ่ายปฏิกริ ยิ าน้อยๆ ขึน้ มา มีการกล่าวหาเช่นว่า ความก้าวหน้านีท้ จี่ ริงแล้วเป็น ส่วนหนึ่งของการสมรู้ร่วมคิดกันเป็นวงจรเพื่อกีดขวางพัฒนาการทางสังคม ด้วยการท�ำให้ พัฒนาการเหล่านัน้ กลายเป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไปไม่ได้ทางพันธุศาสตร์ แนวคิดด้อยปัญญาคล้ายๆ กันนีไ้ ด้ถกู น�ำมาผูกเชือ่ มเข้าด้วยกันเพือ่ สร้างภาพลักษณ์วา่ ทฤษฎีทางสังคมแบบดาร์วนิ นัน้ 28 ริชาร์ด
ดอว์กินส์
ในเนือ้ แท้ทางการเมืองแล้วเป็นฝ่ายปฏิกริ ยิ า ซึง่ ห่างไกลความจริงเป็นอย่างมาก เช่น กรณี ความเท่าเทียมกันทางพันธุกรรมเพศนั้นได้รับการสถาปนาขึ้นอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกโดย ฟิชเชอร์และแฮมิลตัน ทฤษฎีและข้อมูลเชิงปริมาณเกีย่ วกับแมลงสังคมก็แสดงให้เห็นว่าไม่มี แนวโน้มทางพันธุกรรมทีพ่ อ่ แม่จะต้องอยูเ่ หนือกว่าลูกหลานของมัน (หรือในทางตรงกันข้าม ก็ตาม) อีกทัง้ แนวคิดเกีย่ วกับการลงทุนโดยพ่อแม่และโอกาสเลือกคูข่ องตัวเมียก็ให้หลักคิด พื้นฐานอย่างเป็นวัตถุวิสัยและไม่ล�ำเอียงต่อการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเพศ ซึ่งเป็น พัฒนาการส�ำคัญที่ก้าวหน้ากว่ากระแสความพยายามหยั่งรากสิทธิและอ�ำนาจของสตรีลงใน หนองบึงแห่งตัวตนทางชีวภาพอันไร้ค่า พูดสัน้ ๆ ก็คอื ทฤษฎีทางสังคมแบบดาร์วนิ นัน้ ช่วย ให้เราแลเห็นสมดุลและตรรกะที่อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเมื่อเราเข้าใจมันมาก ขึ้นแล้ว ก็จะช่วยฟื้นฟูความเข้าใจทางการเมืองของเราขึ้นใหม่และสนับสนุนองค์ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และการแพทย์ด้านจิตวิทยา จากความก้าวหน้านี้ มันยังช่วยให้เราเข้าใจราก แห่งความทุกข์ระทมต่างๆ ของตัวเราได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โรเบิร์ต แอล. ไทรเวอร์ส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กรกฎาคม 1976
ยีนเห็นแก่ตัว 29