ประชาธิปไตย คนไทยไม่เท่ากัน

Page 1


“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ความน�ำ

๕ ๘

บทน�ำ

๑๓

๑. โครงสร้างการเมือง “ประชาธิปไตยครึ่งใบ”  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กับการสร้างระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ - การสถาปนาพระราชอ�ำนาจพระมหากษัตริย์  :  พระผู้ทรงปกเกล้าฯ สังคมไทย - การเติบโตของพลเมืองภายใต้พระบรมโพธิสมภาร

๒๓ ๒๕ ๓๐ ๔๕


๒. ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมการเมืองในทศวรรษ ๒๕๔๐ - ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจกับบทบาทของรัฐ ในสมัยพันต�ำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร - บทบาทของคนใน “ชนบท” แรงกระเพื่อมต่อความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมการเมือง - ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาและการอธิบาย

ความเปลี่ยนแปลงในชนบท - ชนบทกับการเมือง - “การขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตรกรรม” ความเปลี่ยนแปลงอย่างส�ำคัญในชนบท

๕๗ ๕๙ ๖๗ ๖๙ ๗๓ ๗๗

๓. พัฒนาการการเคลื่อนไหวของประชาชน ภายใต้โครงสร้างอ�ำนาจที่เหลื่อมล�้ำ ๙๓ - การเคลื่อนไหวภายใต้มโนทัศน์  “วัฒนธรรมชุมชน”   ๙๕ - ผลของความเปลี่ยนแปลงในชนบทกับการเกิดขึ้นของ ชนชั้นกลางใหม่  และบทบาทของผู้หญิงในสังคมไทย ๑๐๕ - ความรู้สึกนึกคิดเรื่องความยุติธรรม/อยุติธรรม ภายใต้การเมือง “ไพร่-อ�ำมาตย์” ๑๒๘ - การเมืองเรื่อง “ความหวัง” ๑๓๖ บทสรุป

๑๔๙

บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน

๑๕๘ ๑๖๖


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

โครงสร้างสังคมที่ด�ำรงภายใต้ระบอบ “ประชาธิปไตย” ที่มีความเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา  หากจะนับเนื่องตั้งแต่การเปลี่ยน แปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เหตุการณ์ยุคตุลา ๒๕๑๖ และ ๒๕๑๙ ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์) กับการสถาปนาอ�ำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์  ไปจนถึงการ เกิดขึ้นของชนชั้นกลางใหม่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี  พันต�ำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ท�ำให้  “คนในชนบท” เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมทาง การเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ  กระทั่งปัจจุบันที่  “คนเมือง” มีความตื่นตัว ทางการเมืองอย่างชัดเจน การท�ำความเข้าใจความสัมพันธ์ของ “โครงสร้างอ�ำนาจทาง การเมือง” ในสังคมย่อมมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่กลุ่มคนเหล่านี้จะกลายเป็นเบ้าหลอม “ความจริง” และ “ความ “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 5


เชื่อ” ที่ท�ำให้คนในสังคมคิดและเชื่อไม่เหมือนกัน บางคนเชื่อว่า “๑ คน ๑ เสียง ไม่เหมาะกับสังคมไทย”  ขณะที่บางคนบอกว่า “คนเหล่านั้นคงลืมไป หรือไม่ได้มีความ รู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ทั่วทั้งโลกบอกว่าเท่าเทียมกัน” แม้จะแตกต่างทั้งชีวิตความเป็นอยู่และระดับการศึกษา แต่ ก็มีความเชื่อว่า “เงื่อนไขทางสังคม” เหล่านี้มิได้เป็นอุปสรรคส�ำหรับ การท�ำความเข้าใจประชาธิปไตย หนังสือเล่มนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้อ่านได้มองเห็นการสถาปนา โครงสร้างทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (ทศวรรษ ๒๕๒๐) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มอ�ำนาจเก่าได้ฝังรากลึกอยู่ ในเกมการเมืองของไทยทุกวันนี้   ทั้งยังฉายภาพความเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ-สังคมที่สั่นคลอนโครงสร้างทางการเมืองเดิม  และ เผยให้เห็นถึงกลุ่มสังคมอีกกลุ่มที่เป็นตัวแปรส�ำคัญของการเมือง ยุคปัจจุบัน นั่นคือ “คนในชนบท” งานเขียนชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยเรื่อง “โครงสร้าง อ� ำ นาจที่ ไ ม่ เ ท่ า เที ย ม”  ที่ มี   ศ.ดร.ธเนศ  อาภรณ์ สุ ว รรณ  ธรรมศาสตราภิ ช าน วิ ท ยาลั ย นานาชาติ   ปรี ดี   พนมยงค์   เป็ น หั ว หน้ า โครงการ พร้ อมด้วยคณะวิจัย-รศ.ดร.พอพัน ธุ์  อุยยานนท์, ผศ. พฤกษ์  เถาถวิล และ รศ.ดร.อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์   ส�ำนักพิมพ์จึง มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเปิดมุมมองทางการเมืองของไทย อีกด้านหนึ่ง เพื่อผู้อ่านจะได้ศึกษาและต่อยอดความรู้ความเข้าใจ รวมถึงท้าทาย “ความเชื่อ” และสิ่งที่เล่าขานสืบต่อกันมา ในสภาพที่สังคมเดินมาจนถึงจุดจุดนี้  สภาพที่หลายคนเริ่ม ตั้งค�ำถาม “เราจะอยู่ร่วมกันต่อไปอย่างไร?” 6 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


แน่นอนว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่อาจคลี่คลายลงได้โดย ง่าย  การเจรจาและเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้แสดงออกถึงความ ต้องการเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ให้เป็นธรรมก็อาจจะเป็นไปได้เมื่อ เกิดความสูญเสียรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง  สิ่งที่จะพอเป็นพลัง เป็น ความหวังของเราทุกคน ณ เวลานี้ไม่ใช่การโยนความผิด เคียดแค้น หรือสาปแช่งอีกฝ่ายให้ตายตกไปตามกัน ไม่ต้องอ้างความเป็น “คนไทย” เพื่อให้เรารักกันก็ได้ แค่เชื่อว่า เราต่างเป็น “คน” ผู้มีคุณค่าและเลือดเนื้อจิต ใจดุจเดียวกัน ส�ำนักพิมพ์มติชน

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 7


ความน�ำ

ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันซึ่งปรากฏ อย่างชัดเจนในการเคลื่อนไหวของ “มวลมหาประชาชน” ที่น�ำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์  กับการเคลื่อนไหว ของฝ่าย “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ  (นปช.)” พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เป็นนายก รัฐมนตรี  นับเป็นความขัดแย้งที่มีรากฐานมาจากปัญหาทางการ เมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อันฝังลึกอยู่ในสังคมไทย โดยที่ บทบาทของกลุ่มชนชั้นน�ำและนักการเมืองฝ่ายต่างๆ ท�ำให้ปัญหา ความขัดแย้งขยายออกไปทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างอย่างที่ยากจะ หาทางออกได้ ตัวละครทั้งหลายที่มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในพื้นที่ทางการเมือง แม้ว่ามีภูมิหลังและประสบการณ์แตกต่างกันอย่างหลากหลาย แต่ 8 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ทุกกลุ่มและทุกคนล้วนเป็นผลผลิตมาจากความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่ซับซ้อน และการปะทะ กันระหว่างอุดมการณ์  “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข” กับ “ประชาธิปไตยที่ให้ความส�ำคัญแก่เสียงข้าง มาก” ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ในสุญญากาศ หากแต่ได้รับการบ่มเพาะ หน่อเชื้อและผลิตซ�้ำสืบทอดกันมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ การพิจารณาความ “ถูก-ผิด” ทางการเมืองอย่างแยกปรากฏ การณ์ที่เกิดขึ้นออกจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์  ย่อมจะ ท�ำให้เกิดการรับรู้ภาพ “ขาว-ด�ำ” และไม่อาจน�ำไปสู่ความเข้าใจผู้ กระท�ำการทั้งหลายบนรากฐานของความเป็นจริง ท�ำให้ขาดความ เห็นอกเห็นใจผู้คนที่ออกมาเคลื่อนไหวที่มีจุดยืนแตกต่างกัน  แทนที่ จะมองเห็นว่าแต่ละฝ่ายล้วนไม่ได้เป็นอิสระอย่างแท้จริงจากเงื่อนไข เชิงโครงสร้าง กลับมองในแง่ผิดหรือถูก ดีหรือเลว และประณามอีก ฝ่ายหนึ่ง จนสร้างความเกลียดชังและความโกรธเคืองซึ่งกันและกัน อย่างรุนแรง ในระดับของประชาชนทั้งสองฝ่ายนั้น การท�ำความเข้าใจ การกระท�ำของอีกฝ่ายหนึ่งที่บางครั้งอาจจะดูโง่เขลาในสายตาของ เรา ว่าท�ำไมพวกเขาจึงท�ำเช่นนั้น และพวกเขารู้สึกอย่างไรจึงได้ แสดงออกเช่นนั้น นับเป็นเรื่องที่ส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับการหาทาง ออกจากปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น  เพราะนอก จากจะท�ำให้เกิดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ “ฝ่ายตรงข้าม” จน ท�ำให้โอกาสในการหาทางออกร่วมกันเปิดกว้างขึ้นแล้ว ยังท�ำให้ แต่ละคนได้ย้อนกลับมาส�ำรวจความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เกิด ความเข้าใจตัวเองชัดเจนขึ้น และวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองได้มากขึ้น อันน�ำไปสู่การก�ำหนดท่าทีและทางเลือกทางการเมืองของตนเอง “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 9


ได้อย่าง “ถูกต้อง” มากขึ้นอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า “การท�ำความเข้าใจโครงสร้างทางสังคม” ที่ก�ำหนดระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตัวเราและคนอื่นๆ จะ ท�ำให้เราพร้อมที่จะมองหาทางออกที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง และอาจน�ำไปสู่การที่ตัวเราเองจะวิพากษ์วิจารณ์หลักการ หรือจุดยืนของตัวเองและปรับเปลี่ยนการตัดสินใจทางการเมืองของ ตัวเราให้แตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย หนังสือเล่มนี้มาจากความพยายามที่จะแสดงให้เห็นกระบวน การทางประวัติศาสตร์ของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมในอดีต ที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนจ�ำนวน มากในสังคมไทย และท�ำให้คนเหล่านั้นออกมาเคลื่อนไหวทางการ เมืองในรูปแบบต่างๆ ทั้งบนท้องถนนและบนสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่อ ออนไลน์   พร้อมกันนั้นก็พยายามแสดงให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปลง ส�ำคัญๆ ที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดคนกลุ่ม ใหม่หรือชนชั้นใหม่ในสังคมไทยที่ไม่ยอมรับทั้งโครงสร้างอ�ำนาจ การเมืองแบบเดิมและค�ำอธิบายแบบเดิมๆ อีกต่อไป ส่งผลให้พวก เขามีปฏิบัติการทางการเมืองในหลายลักษณะ ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มติชนอย่างมากในการสนับสนุนให้ เกิดหนังสือเล่มนี้  และหากหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าอยู่บ้างในแง่ที่ช่วย ให้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ผู้เขียนขออุทิศ ให้แก่ผู้วายชนม์และผู้ได้รับบาดเจ็บทุกท่านจากปัญหาความขัดแย้ง ในสังคมไทยในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ 10 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน


บทน�ำ

ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยทวีความซับซ้อนในทุก มิ ติ   ไม่ ว ่ า จะเป็ น ทางเศรษฐกิ จ   สั ง คม  วั ฒ นธรรมและการเมื อ ง  ความไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงในสังคมจึงได้น�ำมาสู่ความขัดแย้ง  และปัญหาทางสังคมหลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย เพราะกรอบ  ความคิดที่เคยใช้ท�ำความเข้าใจสังคมไทยมาเนิ่นนานหมดพลังใน  การอธิบายได้อย่างเดิม ทุกสังคมในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญหน้ากับจังหวะของ  ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส�ำคัญเช่นนี้ด้วยกันทั้งสิ้น  โดยทั่วไป  แล้วแต่ละสังคมก็จะต้องใช้เวลาในการปรับตัวและปรับระเบียบ  สังคมให้สอดคล้องเหมาะสมไปกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปรับ  ตัวของสังคมเพื่อให้ด�ำรงอยู่ร่วมกันต่อไปได้ในแต่ละสังคมนั้นใช้  เวลายาวนานแตกต่างกันไป  บางสังคมที่เงื่อนไขหนักหน่วงเกินกว่า  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 13


จะสามารถปรับตัวได้ก็เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดยืดเยื้อยาว  นาน ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงอันน�ำมาซึ่งความขัดแย้งหลายมิติ  และหลายระดับของสังคมไทย คนหลายกลุ่มในสังคมไทยพยายาม  ที่จะท�ำความเข้าใจต่อปรากฏการณ์เหล่านั้นให้มากขึ้น  กล่าวได้ว่า  การขยายตัวของความปรารถนาที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงสังคม  ที่เกิดขึ้นนี้เป็นส่วนส�ำคัญในการเพิ่มศักยภาพสังคมไทย อันน่าจะ  ส่งผลให้การปรับตัวของสังคมไทยเป็นไปได้เร็วและมีประสิทธิภาพ  มากกว่าสังคมอื่นบางสังคม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความปรารถนาที่จะศึกษาและท�ำ  ความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น  แต่การศึกษาเท่าที่ผ่าน  มายังไม่เพียงพอต่อการท�ำความเข้าใจเบื้องลึกของสังคมไทยได้  ชัดเจนมากนัก  การท�ำความเข้าใจเพียงแค่ทางด้านความขัด แย้งการเมืองนั้นยังไม่เพียงพอ จ�ำเป็นที่จะต้องท�ำความเข้าใจ ทั้งในส่วนโครงสร้างของสังคมที่เปลี่ยนแปลงและตัวบุคคลที่ ได้เข้ามามีส่วนผลักดันความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างด้วย เพราะการต่อสู้ทางการเมืองที่เป็นปรากฏการณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน  นั้นเป็นผลของความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทุกมิติที่ซ่อนอยู่ หากพิจารณาทางด้านการเมืองไทย จะพบว่าไม่มีคนกลุ่มใด  สามารถครอบง�ำอ�ำนาจทางการเมืองไว้ในมืออย่างเด็ดขาดอีกต่อไป  คนหลากหลายกลุ่มได้เข้ามามีส่วนในการต่อสู้และต่อรองทางการ  เมืองในแต่ละช่วงเวลาที่ต่อเนื่องและแสดงออกทางการเมืองหลาก  หลายรูปแบบ  ด้านหนึ่งมองได้ว่าเป็นภาพสะท้อนสังคมการเมือง  ไทยที่มีความหลากหลายและกระจายอ�ำนาจออกไปมากขึ้น  แต่ใน  อีกด้านหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงของไทยในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นกระ  14 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


บวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยปัญหา  และความขัดแย้งนานัปการ   ความพยายามที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่สัมพันธ์กับกระบวนการไปสู่ประชาธิปไตยนั้น จ�ำเป็นต้องมี ความรู้อย่างชัดเจนว่า “ประชาธิปไตย” ของไทยได้คลี่คลาย เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด มีเงื่อนไขแวดล้อมหรือบริบท ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร บ้าง และบริบทเหล่านั้นส่งผลต่อการคลี่คลายและการเปลี่ยน แปลงของประชาธิปไตยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา๑ เพื่อที่จะเข้าใจได้ว่าปัจจุบันการเมืองในระบอบ  ประชาธิปไตยของไทยมีปัญหาอย่างไร  ความเข้าใจที่ชัดเจนใน  เรื่องความเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนเหล่านี้มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง  ต่อการผลักดันระบอบการเมืองของไทยให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น  ในอนาคต สังคมไทยต้องการแสวงหาทางออกให้แก่กระบวนการเคลือ่ น  ไหวไปสู่ประชาธิปไตย  ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อน  นี้จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องท�ำความเข้าใจในหลายด้าน  การท�ำความเข้าใจการสถาปนาโครงสร้างทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในทศวรรษ ๒๕๒๐ อันเป็นการเริ่มต้นของระบอบการ  เมืองที่กลายมาเป็นโครงสร้างทางการเมืองไทยอันด�ำเนินมาจนถึง  ปัจจุบัน  โครงสร้างทางการเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากความ  เปลีย่ นแปลงทางสังคมการเมืองหลังจากเกิดเหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม  ๒๕๑๖ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่แตกต่างไปจากช่วงก่อน  หน้า พ.ศ.๒๕๑๖ ที่กลุ่มทหารเป็นผู้ครอบครองอ�ำนาจสูงสุด การ  สถาปนาโครงสร้างทางการเมืองใหม่นี้ได้น�ำเอาสถาบันพระมหา  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 15


กษัตริย์ให้เข้ามามีส่วน “ค�้ำยัน” เสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น  ดังจะกล่าวในส่วนต่อไป ขณะเดียวกันการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม อันส่งผลให้เกิดการสั่นคลอนโครงสร้างทางการเมืองที่ มั่ น คงมาตั้ ง แต่ ท ศวรรษ ๒๕๒๐ ก็จะท�ำให้มองเห็นพลวัตของ  สังคมที่ก่อให้เกิด “คนกลุ่มใหม่” ที่มีวิธีคิดและความหวังที่แตกต่าง  ออกไป อันน�ำมาซึ่งปฏิบัติการทางการเมืองในอีกลักษณะหนึ่ง การศึกษาความเปลี่ยนแปลงทั้งสองด้านของสังคมเช่นนี้จะ  ท�ำให้ความเข้าใจพื้นฐานของความขัดแย้งทางการเมืองในทศวรรษ  ที่ผ่านมาชัดเจนขึ้น  เพราะหากอธิบายปมปัญหาโดยพิจารณาเพียง  แค่  “คู่ความขัดแย้ง” ระหว่างสองขั้วอ�ำนาจ ย่อมเป็นการลดทอน  ความซับซ้อนของปัญหา และโดยมากแล้วมักเป็นการอธิบายเพื่อ  มุ่งบรรลุผลประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะเดียวกันการลงความเห็นอย่างกว้างๆ ว่า ความขัดแย้ง  เกิดจาก “โครงสร้างอันอยุติธรรม” ก็เป็นการลดทอนความแหลมคม  ของปัญหาความขัดแย้งลงไป โดยไม่มีใครต้องรับผิดชอบกับความ  ขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น  ดังนั้น การอธิบายความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองใน  ปัจจุบันโดยพิจารณาความสลับซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงใน  เรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ด�ำเนินมา  แต่อดีต พร้อมกับพิจารณาถึงบทบาทของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องจึงมี  ความส�ำคัญเป็นพิเศษ  เพราะนอกจากจะช่วยให้เข้าใจปัญหาอย่าง  ลึกซึ้งแล้ว ยังช่วยให้มองเห็นลู่ทางที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง  ด้วยสันติวิธีอีกด้วย 16 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ปัญหาส�ำคัญประการหนึ่งของสังคมไทยในวันนี้ก็คือการ ขาดความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเป็นประวัต ิ ศาสตร์   แต่ละฝ่ายล้วนแต่เลือกเอาเฉพาะประเด็นที่จะท� ำให้ฝ่าย  ของตนได้เปรียบ และพยายามใช้ประเด็นที่กลุ่มของตนเองเลือก  สรรขึ้นมาเป็นสายใยร้อยรัดมวลชนให้เข้าร่วมกันเคลื่อนไหวทาง  การเมือง  แน่นอนว่าประเด็นที่ถูกเลือกสรรมาใช้เพื่อเคลื่อนไหว  ทางการเมืองนั้นย่อมมีส่วนสัมพันธ์อยู่กับปัญหาที่สลับซับซ้อนมาก  ทีเดียวจึงสามารถที่จะ “จุดติด” หรือสามารถระดมผู้คนเข้ามาร่วม  ได้อย่างมากมาย  แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลก็คือ การ “จุดติด” เฉพาะ  ในบางเรื่องบางประเด็นภายใต้เงื่อนไขทางสังคมที่ยุ่งเหยิง กลับจะ  น�ำสังคมไทยไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงและแก้ไขได้ยากมากขึ้น  การต่อสู้ทางการเมืองของฝ่ายหนึ่งในปัจจุบัน “พุ่งเป้า” ไป  ที่สถาบันพระมหากษัตริย์   การเกิดขึ้นของค�ำว่าปรากฏการณ์  “ตา สว่าง” มีความหมายอย่างชัดเจนว่า คนกลุ่มนี้ได้พบกับความจริง  อีกชุดหนึ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากชุดความรู้เดิม๒  วารสารของ  กลุ่มที่สมาทานความคิดชุดนี้  เช่น VOICE OF TAKSIN และเรด พาวเวอร์  (RED POWER)๓ ก็ได้น�ำเสนอประเด็นต่างๆ ภายใต้  กรอบคิดเช่นนี้ในบทความจ�ำนวนมาก    ในการต่อสู้ทางความคิดนี้  มีความพยายามมากขึ้นจากอีก  ฝ่ายหนึ่งในการเน้นระบบความคิดที่ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็น  ผู้ปกป้องทุกสรรพสิ่งรวมทั้งระบอบประชาธิปไตย๔ด้วยเช่นกัน ดัง  ปรากฏในรายการโทรทัศน์ต่างๆ และการรณรงค์ให้คงไว้ซึ่ง “ประ มวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒”  แน่นอนว่าความขัดแย้งทั้งหลายได้สะท้อนให้เห็นโครงสร้าง  สังคมไทยที่มีความอยุติธรรมด�ำรงอยู่   ดังจะเห็นจากผลการศึกษา  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 17


ของคณะกรรมการปฏิรูปชุดที่มีนายอานันท์  ปันยารชุน เป็นประ  ธาน ที่ได้ท�ำให้สังคมมองเห็น “ภาพรวมของปัญหาเชิงโครงสร้าง  ซึ่งเชื่อมโยงกันและก่อให้เกิดความเหลื่อมล�้ำอย่างรุนแรงในสังคม  ไทย”๕ได้ชัดเจนขึ้น  แต่ปัจจุบันนี้กลับปรากฏว่า “ปัญหาเชิงโครง  สร้าง” ถูกแปรเปลี่ยน/ยกระดับให้กลายมาเป็นการต่อสู้ทาง “อุดม  การณ์” ไปแล้ว  ดังนั้น จึงจะต้องศึกษาให้มากไปกว่าการท�ำความ  เข้าใจเรื่องโครงสร้างที่เหลื่อมล�้ำกันเท่านั้นด้วย การท�ำความเข้าใจในประเด็น “ความเหลื่อมล�้ำทางสังคม และความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�ำนาจในสังคม” ที่สะท้อน  ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย  ครึ่งใบ มาสู่การต่อสู้ทางการเมืองภายใต้ความคิด “ไพร่-อ�ำมาตย์”  ในที่นี้  จึงเป็นความพยายามวิเคราะห์โครงสร้างและความสัมพันธ์  ทางอ�ำนาจที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล�้ำก่อน  โดยโครงสร้างและ  ความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจนี้ได้เปิดโอกาสให้แก่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  ในสังคมได้รับประโยชน์จากความเหลื่อมล�้ำ และคนกลุ่มนี้ด�ำรงอยู่  อย่างไรในสังคม  ขณะเดียวกันก็ต้องท�ำความเข้าใจให้ได้ว่า ท�ำไม  ผู้คนกลุ่มหนึ่งที่เคยทนอยู่กับความเหลื่อมล�้ำมาได้เนิ่นนาน เหตุใด  และด้วยเงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงใดจึงท�ำให้พวกเขาสามารถ  แปรเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดไปจนกระทั่งไม่สามารถจะทนกับความ  เหลื่อมล�้ำเหล่านั้นได้อีกต่อไป กลุ ่ ม คนที่ ต กอยู ่ ภ ายใต้ โ ครงสร้ า งและความสั ม พั น ธ์ ท าง  อ�ำนาจที่เหลื่อมล�้ำและได้เปลี่ยนแปลงตนเองมาสู่ผู้ที่ไม่สามารถ  ทนกั บ ความเหลื่ อ มล�้ ำ ได้ อี ก ต่ อ ไปนี้   ก็ คื อ ผู ้ ค นที่ ด� ำ รงชี วิ ต อยู ่ ใ น  พื้ น ที่   “ชนบท”    ดั ง นั้ น   การศึ ก ษาเพื่ อ ความเข้ า ใจความเปลี่ ย น  แปลงของสังคมจึงต้องศึกษาความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของคน  18 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ในพื้นที่  “ชนบท” ด้วย ความเข้าใจปัญหาและความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม  ไทยตามแนวทางที่กล่าวมาข้างต้นนี้  ย่อมจะเป็นฐานประกอบการ  พิจารณาปรากฏการณ์และความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้น  ณ ปัจจุบันนี้อย่างรู้ถึงเหตุและที่มาที่ไป  และจะช่วยให้เห็นได้ชัด  เจนว่าการแก้ไขปัญหาไม่สามารถกระท�ำได้อย่างง่ายๆ เนื่องจาก  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีรากฐานหรือความเป็นมาทาง  ประวัติศาสตร์อันยาวนานและเต็มไปด้วยเงื่อนไขที่สลับซับซ้อน  ซึ่งจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างหรือระบบที่ต้องใช้  เวลาต่อไปพอสมควร ที่ ส� ำ คั ญ  ความเข้ า ใจความซั บ ซ้ อ นของความเปลี่ ย น แปลงนี้  จะท�ำให้ทุกฝ่ายต้องตระหนักในเงื่อนปมของปัญหาที่ ตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น นั ก การเมื อ ง ผู ้ น� ำ กองทั พ  ข้ า ราชการ นายทุนหรือ นักธุร กิ จ สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชนชั้นกลาง เดิมหรือชนชั้นกลางใหม่ก็ตาม อันจะท�ำให้สามารถด�ำรงตน หรือก�ำหนดจุดยืนทางประชาธิปไตยของตนเองได้อย่างชัดเจน และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 19


โครงสร้างการเมือง “ประชาธิป ไตยครึ่งใบ” อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งของกลุ ่ ม  “พั น ธมิ ต รประ ชาชนเพื่ อ ประชาธิ ป ไตย  (พธม.)”  ในช่ ว ง  พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๕๒  และ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย  ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  กปปส.” : พ.ศ.๒๕๕๖) ได้แสดงให้เห็นถึงการวางสถานะและบท  บาทของพระมหากษัตริย์ไว้ในลักษณะที่เหนือกว่าอ�ำนาจทางการ  เมืองอื่นๆ และการเคลื่อนไหวทางการเมืองของทั้งสองกลุ่มก็มุ่งเน้น  ในการขจัดอ�ำนาจกลุ่มที่ตนเห็นว่าจะมาเบียดบังพระราชอ�ำนาจ  ของพระมหากษัตริย์ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มการเมืองทั้งสองได้รับ  การสนับสนุนอย่างไพศาลจากชนชั้นกลางในเขตเมือง  ประเมินกัน  ว่าประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. ในวันที่  ๒๔ พฤศจิ-  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 23


กายน ๒๕๕๖ มีจ�ำนวนใกล้เคียงถึงหนึ่งล้านคน  ค�ำถามที่ส�ำคัญ  คือ ความปรารถนาของประชาชนที่ต้องการแสดงตนเพื่อปกป้อง  พระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์เช่นนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไรกัน บทบาทของพระมหากษัตริย์ในสังคมการเมืองไทยด�ำเนิน  มาสืบเนื่องยาวนาน และไม่เคยด�ำรงอยู่อย่างสถิตคงที่  หากแต่  สัมพันธ์กับเงื่อนไขทางการเมืองในประวัติศาสตร์ตลอดมา  ภาย  หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ พระราชอ�ำนาจของ พระมหากษัตริย์ถูกลดทอนอย่างมาก คณะราษฎรได้ครองอ�ำนาจ  การปกครองประเทศและพยายามที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตย  ขึ้นมา  จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ.  ๒๔๘๑ และพยายามสร้างระบอบการเมืองที่ไม่ได้ให้อ�ำนาจแก่  พระมหากษัตริย์   จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อจอมพล  ป. พิบูลสงคราม ไม่สามารถที่จะมีอ�ำนาจอย่างเดิมได้จึงท�ำให้กลุ่ม  ชนชั้นน�ำเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเรียกกันทั่วไป  ว่ากลุ่ม “รอยัลลิสต์” ได้สร้างการคืนสู่พระราชอ�ำนาจของพระมหา  กษัตริย์ขึ้นมา๑ ภายหลังจากที่กลุ่ม “รอยัลลิสต์” เกาะกลุ่มกันเหนียวแน่น  มากขึ้น และสามารถสร้างพันธมิตรกับกลุ่มทหารจนน�ำมาสู่การ  รัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์   พระมหากษัตริย์ได้รับพระ  ราชอ�ำนาจในเชิงประเพณีมากขึ้น เพราะจอมพลสฤษดิ์ได้สร้าง  ความชอบธรรมในการใช้อ�ำนาจของตนด้วยการอ้างอิงพระมหา  กษัตริย์๒  แต่อ�ำนาจการเมืองการปกครองทั้งหมดอยู่ในกลุ่มทหาร  น�ำโดยจอมพลสฤษดิ์ เหตุการณ์ส�ำคัญที่เปลี่ยนแปลงต�ำแหน่งแห่งที่ทางอ�ำนาจใน  สังคมการเมืองไทย อันท�ำให้พระมหากษัตริย์ทรงด�ำรงอยู่ในสถานะ  24 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ที่สูงเด่นและกลายเป็นเสมือนศูนย์กลางของความรู้สึกของผู้คน  จ�ำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นในภายหลังเหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่  กลุ่มทหารไม่สามารถที่จะมีบทบาททางการเมืองเช่นเดิมได้  และ  จ�ำเป็นที่จะต้องแบ่งปันอ�ำนาจให้แก่คนกลุ่มอื่นมากขึ้น  ขณะเดียว  กันการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ด�ำรงอยู่ในสถานะที่สูงเด่นและ  เป็นศูนย์กลางทางความรู้สึกของผู้คน กลับกลายเป็นเงื่อนไขทาง  การเมืองที่ท�ำให้เกิดความขัดแย้งในทศวรรษนี้ขึ้น การท�ำความเข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันให้  ชัดเจน จึงจ�ำเป็นต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐ  บาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  (พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๓๑) เพราะเป็น  รากฐานของโครงสร้างทางอ�ำนาจและกรอบความคิดทางการเมือง  ที่ด�ำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กับการสร้างระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ

ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�ำนาจและโครงสร้างสังคม  ไทยที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  เกิดขึ้นภาย  ใต้เงื่อนไขความพยายามที่จะสร้างเสถียรภาพทางการเมืองหลังจาก  การเคลื่อนไหวของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา ในช่วงระหว่าง  เหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และส่ง  ผลให้การเมืองไทยไร้เสถียรภาพอย่างมาก ในที่นี้จ�ำเป็นต้องท�ำความเข้าใจถึงความหมายของค�ำว่า  “เสถียรภาพทางการเมือง” ให้ตรงกันเสียก่อน “เสถียรภาพทางการเมือง” หมายถึงสภาวะที่  “การเมือง”  ถูกท�ำให้เป็นระบบระเบียบ โดยกลุ่มอ�ำนาจในสังคม สามารถหมาย  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 25


รู้ได้ว่ากลุ่มของตนจะด�ำรงอยู่  ณ ต�ำแหน่งแห่งที่ใด และจะได้หรือ  เสียอะไรในเงื่อนไขใด  ระบบการเมืองที่ถูกสร้างให้มีเสถียรภาพ  จะท�ำให้กลุ่มอ�ำนาจทุกกลุ่มยอมรับต�ำแหน่งแห่งที่และผลได้/ผล  เสียต่างๆ ของตน  และที่ส�ำคัญจะท�ำให้สามารถคาดการณ์และ  มีปฏิบัติการทางสังคมการเมืองในอนาคตได้ยาวไกลพอสมควร “เสถียรภาพทางการเมือง” จึงเป็นเป้าหมายส�ำคัญของการ  ต่อสู้เพื่อด�ำรงอยู่ของสังคมการเมืองหนึ่งๆ เพราะไม่มีสังคมการ  เมืองใดจะด�ำเนินกิจกรรมใดๆ โดยปราศจากการสร้าง “ข้อตกลง  ทางการเมือง”  ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนต้องมี  “ข้อที่ตกลงกันได้” แตก  ต่างกันจนหาหลักการหรือกฎเกณฑ์กลางได้ในที่สุด  ดังนั้น ในกระ  บวนการทางการเมืองทั้งหลายจึงต้องสร้างเสถียรภาพทางการเมือง  ขึ้นมา พร้อมๆ กับการพยายามสร้างอ�ำนาจน�ำของผู้น�ำทางการ  เมืองเพื่อจะสามารถก�ำกับกลุ่มอ�ำนาจต่างๆ ในโครงสร้างอ�ำนาจ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเมืองไทยประสบกับสภาวะไร้เสถียรภาพมาหลายครั้ง  และการปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพแต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลาในการต่อ  รองต่อสู้กัน  หลายครั้งก็เป็นเพียงเสถียรภาพชั่วคราว เพราะไม่  สามารถรักษาความ “เสถียร” ได้นานนัก  มีบางช่วงเวลาเท่านั้นที ่ สามารถปรับตัวจนสามารถสร้างสภาวะที่มีเสถียรภาพยาวนานได้ สภาวะไร้เสถียรภาพในสังคมไทยที่รุนแรงครั้งหนึ่ง นั่น  คือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังเหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม  ๒๕๑๖ เสถียรภาพทางการเมืองแบบเดิมที่เป็นระบบอุปถัมภ์ภายใต้  การน�ำของเครือข่ายจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส  จารุเสถียร ได้พังทลายลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะสูญเสียหัวขบวนไป  26 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


อย่างกะทันหัน  เกิดสภาวะการแตกกระจายของกลุ่มภายใต้ระบบ  อุปถัมภ์เดิม ท�ำให้แต่ละกลุ่ม (Faction) ถูกลดอ�ำนาจลงจนตกอยู ่ ในสภาพที่ไม่สามารถจะก้าวขึ้นมาแทนที่ผู้อุปถัมภ์เดิมได้ ในช่ ว งที่ ก ลุ ่ ม อ� ำ นาจทั้ ง หลายตกอยู ่ ใ นสภาวะที่ ไ ม่  สามารถมีอ�ำนาจมากพอที่จะน�ำใครได้นี้  หากกลุ่มใดต้องการ  ที่จะก้าวขึ้นมามีอ�ำนาจเหนือกลุ่มอื่น ก็จ�ำเป็นต้องสร้างการ  เชื่อมต่อระหว่างกลุ่มของตนกับ  “สถาบันพระมหากษัตริย์”  เพราะในขณะนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้กลายมาเป็น “ร่มโพธิ์-  ร่มไทร” ของกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม  กล่าวได้ว่าความจ�ำเป็นทาง  ประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นได้ท�ำให้สถาบันพระมหากษัตริย์แสดงบท  บาทในการชี้ขาดทางการเมือง โดยเริ่มต้นจากการพระราชทาน  นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์  และต่อมาก็ได้แก่พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ การที่กลุ่มการเมืองใดที่หวังจะขึ้นมามีอ�ำนาจน�ำเหนือผู้อื่น  จ�ำเป็นต้องแสดงตนแอบอิงอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์  ได้ส่ง  ผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจขึ้น  ด้านหนึ่งได้ท�ำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องกลายเป็นสถาบันที่  ท�ำหน้าที่แสวงหาดุลยภาพทางการเมืองเพื่อให้สังคมด�ำเนินต่อไป  ได้  หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นศูนย์กลางที่ท�ำให้เกิดดุลยภาพในความ  คิดเห็นของประชาชนทั่วไป     ในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการทางการเมืองนี้ได้ท�ำให้เกิดการ  ประสานกลุ่มการเมืองเข้ากับกลุ่มอ�ำนาจเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดมาก  ขึ้น  เพราะกลุ่มเศรษฐกิจทุกกลุ่มต่างก็ได้รับผลกระทบจากสภาวะ  ไร้เสถียรภาพในช่วง พ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๑๙ มาแล้วอย่างหนักหน่วง  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 27


ดังนั้น หากกลุ่มอ�ำนาจใดสามารถแสดงตนได้ว่าจะน�ำมาซึ่งความ  สงบเรียบร้อยและเสถียรภาพทางการเมืองก็ย่อมจะได้รับการสนับ  สนุนจากกลุ่มอ�ำนาจเศรษฐกิจกลุ่มอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นว่า ในช่วง พ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๑๙ มีการรวมกลุ่มของ  นักธุรกิจขนาดใหญ่จ�ำนวนเกือบร้อยคนเพื่อที่จะผลักดันและสนับ  สนุนผู้ที่สามารถขึ้นมารักษาเสถียรภาพทางการเมือง  และในท้าย  ที่สุดกลุ่มนักธุรกิจเกือบร้อยคนกลุ่มนี้ก็กลายมาเป็นพันธมิตรที่ใกล้  ชิดของผู้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้น�ำในการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง  อันได้แก่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทั้งนี้  ก่อนที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์จะเป็นนายกรัฐมนตรี  ได้ด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการ  ทหารบกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันทน์  (พ.ศ.๒๕๒๒-  ๒๕๒๓) และเป็นผู้ที่มีบทบาทในการเชื่อมพันธมิตรน�ำระหว่างกลุ่ม  นิยมเจ้าฝ่ายทหาร และนักการเมือง๓  ดังนั้น ภายหลังจากที่พลเอก  เกรียงศักดิ์  ชมนะนันทน์ลาออก พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ก็ได้รับ  การสนับสนุนจากหลายฝ่ายให้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี  พ.ศ.  ๒๕๒๓ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๕๒๑ ซึ่งผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง  นายกรัฐมนตรีไม่จ�ำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  การสถาปนาอ� ำ นาจน� ำ ผ่ า น “วิ ก ฤตหลั ง  พ.ศ.๒๕๑๖-  ๒๕๑๙” จึงเป็นการประสานอ�ำนาจหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน ได้แก่  ระบบราชการและกองทัพ โดยการน�ำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  รวมถึงการแบ่งปันอ�ำนาจบางส่วนให้แก่นักธุรกิจ ซึ่งเห็นได้ชัดจาก  การตั้ง “คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.)” ๔ และได้  ผลักดันให้ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง  ชาติได้ท�ำงานพัฒนาร่วมไปกับนักธุรกิจ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสาย  28 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


สัมพันธ์ที่ท�ำให้ข้าราชการผู้ช�ำนาญการระดับสูงกลุ่มนี้ได้เข้าไป  ท�ำงานให้แก่ธุรกิจเอกชนในภายหลัง๕  ขณะเดียวกันก็จ�ำเป็นต้อง  แบ่งอ�ำนาจส่วนหนึ่งให้แก่พรรคการเมืองที่อ้างอิงอยู่กับประชาชน  ดังจะเห็นได้จากการยอมรับระบบเลือกตั้งและเกิดการดึงเอาพรรค  การเมืองที่เกิดขึ้นจากกลุ่มนักธุรกิจหัวเมืองต่างๆ เข้าอยู่ภายใต้การ  ควบคุมของตน  การปรับคณะรัฐมนตรีหลายครั้งในช่วง ๘ ปีของ  การเป็นนายกรัฐมนตรีได้ท�ำให้เกิดการกระจายและเวียนต�ำแหน่ง  รัฐมนตรีที่มาจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ  ระบอบของอ�ำนาจที่ต้องประ  สานกันระหว่างหลายฝ่าย ทั้งระบบราชการ กลุ่มทุนการเงิน (กลุ่ม  หลัก) กลุ่มทุนอุตสาหกรรม และกลุ่มทุนท้องถิ่น โดยมี  “คนกลาง”  ที่ไม่จ�ำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นบุคคลที่สามารถก�ำกับ  และใช้ระบบราชการควบคุมกลุ่มอื่นๆ ได้  จึงเรียกกันว่า “ระบอบ  ประชาธิปไตยครึ่งใบ” โดยมีคนกลางหรือบุคคลที่มีศักยภาพใน  การควบคุมการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงหลังทศวรรษ ๒๕๒๐ นี้ได้แก่  พลเอกเปรม ติณสูลานนท์  ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรี(ในขณะนั้น)พลเอกเปรม ติณสูลา-  นนท์ได้วางน�้ำหนักการตัดสินใจทางการเมืองบนระบบราชการเดิม  ค่อนข้างมาก ท�ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างระบบราชการกับกลุ่ม  พรรค/นักการเมืองบ่อยครั้ง โดยเฉพาะ “กองทัพ” กับ “พรรคการ  เมือง”  เห็นได้จากการปรับคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง และขณะเดียว  กันการสร้างฐานอ�ำนาจในระบบราชการโดยเฉพาะทหารก็ก่อให้  เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกมากขึ้น จะเห็นได้ว่านายทหารชั้นผู้ใหญ่  พยายามสร้างกลุ่มอุปถัมภ์เพื่อเป็นฐานอ�ำนาจ  ขณะที่กลุ่มทหาร  หนุ่ม (กลุ่มยังเติร์ก) ได้เลือกใช้  “รุ่น” เป็นฐานอ�ำนาจแทนการอยู่  ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของนายทหารชั้นผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว๖ “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 29


การสถาปนาเสถียรภาพทางการเมืองที่ต้องแบ่งสันอ�ำนาจ  ให้แก่หลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอ�ำนาจทางเศรษฐกิจ พรรคการ  เมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ตลอดจนการควบคุมกองทัพไม่ให้เคลื่อน  ไหวท้าทายอ�ำนาจ เป็นเรื่องที่ยากล�ำบากไม่ใช่น้อย พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์จึงได้สร้างและรักษาเสถียรภาพทางการเมืองด้วยการ  เชื่ อ มต่ อ กั บ  “สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย ์ ”  ซึ่ ง ท� ำ ให้ มี ฐ านอ� ำ นาจที ่ มั่นคงและมีความชอบธรรมไปพร้อมกัน และส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อ  การสถาปนาอ�ำนาจทางวัฒนธรรมของพระมหากษัตริย์ การสร้างระบบการปกครองที่มีการเลือกตั้ง มีพรรคการ  เมือง แต่นายกรัฐมนตรีไม่จ�ำเป็นต้องผ่านการเลือกตั้ง  พล  เอกเปรม ติณสูลานนท์จึงได้เสริมสร้างอ�ำนาจให้แก่สถาบัน  พระมหากษัตริย์  เพื่อเป็นฐานความชอบธรรมของระบบการ  เมืองในขณะเดียวกันนั่นเอง

การสถาปนาพระราชอ�ำนาจพระมหากษัตริย์ :  พระผู้ทรงปกเกล้าฯ สังคมไทย

ความจ�ำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อกับสถาบันพระมหากษัตริย ์ เพื่อสร้างอ�ำนาจและความชอบธรรมเช่นนี้ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่  ท�ำให้รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ต้องส่งเสริมบทบาทของ  สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเข้มข้นในหลายมิติด้วยกัน ในที่นี้ได้แก่ ๑. การเสริมสร้างบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการ  พัฒนาชนบท  ๒. การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับ  กลุ่มนักธุรกิจ  30 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


๓. การขยายอิทธิพลของ “เครือข่ายของชนชั้นน�ำ” เข้ามา  ก�ำกับระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๔. การสร้างฐานอ�ำนาจในระบบทหาร ๕. อุดมการณ์ความเป็นไทยกับบทบาทของพระมหากษัตริย์

๑. การเสริมสร้างบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย ์ ในการพัฒนาชนบท

การปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนา “ชนบท” จนแตกต่าง  จากเดิม ท�ำให้การพัฒนาเป็นการหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของชาวนา  และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  กล่าวคือ แผนพัฒนาในช่วงต้นทศวรรษ ๒๕๐๐ ที่เน้นให้  ภาคเกษตรกรรมหันมาปลูกพืชเชิงพาณิชย์มากขึ้น ได้ท�ำให้ความ  เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชนบท  การเร่งขยายพื้นที่การเพาะปลูกได้  ท�ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลพื้นที ่ กับชาวบ้านที่ขยายพื้นที่เพื่อท�ำการเพาะปลูก  ความขัดแย้งนี้ได้  ผลักดันให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง  ประเทศไทย เช่น พื้นที่บางแห่งของนครราชสีมา สุราษฎร์ธานี  และ  หลายพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน  ประกอบกับการเร่งผลิตเพื่อขาย  ได้ท�ำให้ชาวบ้านประสบปัญหาหนี้สินและสูญเสียที่ดิน จึงท�ำให้เกิด  การเคลื่อนไหวเป็นระลอกๆ ตลอดมา การเคลื่อนไหวของชาวนาได้เพิ่มมากขึ้นภายหลังเหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ นักศึกษาร่วมกับชาวนาที่เดือดร้อนจากปัญหา  ที่ดินและหนี้สิน จัดตั้งกลุ่มชาวนาเป็น “สมาพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่ง  ประเทศไทย” (พ.ศ.๒๕๑๗) และเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้  ไขปัญหา  และบางส่วนก็ได้เข้าไปมีความสัมพันธ์กับพรรคคอม-  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 31


มิวนิสต์แห่งประเทศไทย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยขยายตัวมากขึ้นหลังเหตุ  การณ์  ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เมื่อเกิดการฆาตกรรมหมู่นักศึกษาใน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการรัฐประหาร นักศึกษาจ�ำนวนมาก  ได้หนีเข้าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในเขตป่าเขา    การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์ที่สามารถหาสมาชิก  ชาวนามากขึ้นเมื่อประกอบกับในปี  พ.ศ.๒๕๑๘ ที่พรรคคอมมิว-  นิสต์อินโดจีนได้รับชัยชนะทั้ง ๓ ประเทศ ได้แก่  เวียดนาม ลาว  และกัมพูชา จึงท�ำให้รัฐบาลหลังการรัฐประหาร ๒๕๑๙ พยายาม  ที่จะเข้าไปมีบทบาทในพื้นที่ชนบทมากขึ้นเพื่อยับยั้งการขยายตัว  ของพรรคคอมมิวนิสต์  เช่น รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันทน์ได้  ประกาศ “ปีแห่งเกษตรกรไทย” ขึ้นมา และได้พยายามสร้างโครง  การประกันราคาข้าวขึ้นมาเป็นครั้งแรกแต่ก็ประสบปัญหาการคอร์-  รัปชั่นจนไม่ได้เกิดผลดีต่อชาวนาแต่อย่างใด๗  ความเปลี่ยนแปลง  แนวทางในการพัฒนาชนบทที่เด่นชัดได้เกิดขึ้นในเวลาต่อมาในสมัย  ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ การปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาชนบทนี้ส่งผลต่อการ  ปรับตัวของชาวบ้านในชนบทอย่างไพศาล (ดังจะกล่าวต่อไปข้าง  หน้า)  พร้อมกันนั้นการส่งเสริมบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์  ในการพัฒนาชนบทก็ท�ำให้ระบบราชการเข้ามามีบทบาทโดยตรงใน  การด�ำเนินงานตามโครงการในพระราชด�ำริ   การศึกษาเรื่องโครง  การอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ  : การสถาปนาพระราชอ�ำนาจ  (พ.ศ.๒๔๙๔-๒๕๔๖) ของชนิดา ชิตบัณฑิตย์  ได้กล่าวไว้อย่าง  ชัดเจนว่า 32 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ลักษณะเฉพาะของโครงการพระราชด�ำริในยุคนี้ได้แก่ การเกิดขึ้นของ “องค์กรระดับชาติ” เพื่อท�ำหน้าที่ประสาน งานการปฏิบัติโครงการพระราชด�ำริภายใต้โครงสร้างระบบ ราชการ หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันในนาม “คณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (กปร.)” ๘

บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการพัฒนาชนบทได้  รับการตอกย�้ำผ่านสื่อต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลานับตั้งแต่รัฐบาล  พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นต้นมา ท�ำให้สถานภาพของสถาบัน  พระมหากษัตริย์สูงส่งขึ้นเรื่อยๆ ทุกฝ่ายในสังคมไทยจึงส�ำนึกว่า  สังคมไทยจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส�ำคัญ

๒. การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์  กับกลุ่มนักธุรกิจ

การเสริมสร้างบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการ  พัฒนาชนบท ท�ำให้การเชื่อมต่อและขยายเครือข่ายของกลุ่มธุรกิจ  การเกษตรกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นไปอย่างแนบแน่นมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างนายกรัฐมนตรี  พลเอกเปรม ติณสูลานนท์กับ  กลุ่มธุรกิจนี้เองท�ำให้เกิดการเชื่อมผ่านไปยังสถาบันพระมหากษัตริย ์ จนกลายเป็น “เครือข่ายของชนชั้นน�ำ” อย่างเห็นได้ชัด  นักธุรกิจ  จึงถูกรวมเข้ามาอยู่ในระบบเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์  ด้วย เช่น ในปี  พ.ศ.๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง  สถาปนา “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณา  ภรณ์”๙ ซึ่งเป็นระบบเกียรติยศที่ดึงดูดนักธุรกิจจ�ำนวนมากเข้ามา  อยู่ในโครงสร้างของระบบเกียรติยศนี้ “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 33


๓. การขยายอิทธิพลของ “เครือข่ายของชนชั้นน�ำ” เข้า มาก�ำกับระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา

๔. การสร้างฐานอ�ำนาจในระบบทหาร

มหากษัตริย์

ดังจะพบว่า นับจากสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  เป็นต้นมา ประธานและกรรมการสภามหาวิทยาลัยต่างๆ มักเป็น  บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์  โดยเฉพาะผู้ที่  ด�ำรงต�ำแหน่งองคมนตรี๑๐ ซึ่งส่งผลให้เกิดโครงการและการสร้าง  ถาวรวัตถุเพื่อเฉลิมฉลองสถาบันพระมหากษัตริย์ในวาระต่างๆ ขึ้น  ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ รวมทั้งท�ำให้มหาวิทยาลัยบางแห่งมี  บทบาทในโครงการตามพระราชด�ำริอย่างแข็งขันด้วย ได้แก่  การก่อตั้งกองก�ำลังทหารรักษาพระองค์ที่สัมพันธ์ใกล้  ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์  ปัจจุบันมีกองทหารรักษาพระองค์กระจายในเหล่าทัพต่างๆ  จ�ำนวนทั้งสิ้น ๕๙ หน่วยงาน  ในบางหน่วยงานได้ถูกขนานนามที่  แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์  เช่น “กรม  ทหารราบที่  ๒๑ รักษาพระองค์  ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ (ร.๒๑ รอ.)” เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์  เหล่าทหารราบ ขึ้นตรงต่อกองพลทหารราบที่  ๒ รักษาพระองค์  ทั้งนี้  กองทัพภาคที่  ๑ ได้รับพระราชทานสมญานามจากสมเด็จพระ  นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า “ทหารเสือนวมินทราชินี” อีกด้วย ๕. อุดมการณ์ความเป็นไทยกับบทบาทของสถาบันพระ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่าในการรับรู้ของประชาชนนั้น สถานะ

34 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่สูงสุดในการตัดสินข้อพิพาททางการ  เมือง  และที่ส�ำคัญ การตัดสินใจของสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อม  อยู่เหนือการเมืองทั่วไป เพราะเป็นการตัดสินใจเพื่อปวงประชาชน  ทุกหมู่เหล่า  การรับรู้ที่ถูก “ฝัง” มาเช่นนี้ก็เป็นเสมือนดาบสองคม  ที่จะท�ำให้ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนแปรเปลี่ยนไปได้หากถูก  ป้อนข้อมูลให้รับรู้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์วางตัวไม่เป็นกลาง  ทางการเมือง หรือไม่อยู่เหนือการเมือง ขณะเดียวกันการสร้างสถานะดังกล่าวได้ถูกน�ำไปซ้อนทับ  กับการสร้างความคิดเรื่อง “ความเป็นไทย” ท�ำให้ความจงรักภักดี  ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นส่วนส�ำคัญของความเป็นไทย  โดยมีคุณลักษณะที่ส�ำคัญ ได้แก่  การเน้นความไม่เสมอภาคระหว่าง คนในสังคม นั่นคือ “ความไม่เสมอภาค” กลายเป็นความถูกต้อง  ดีงาม เพราะผู้ใหญ่จะมีความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารีต่อผู้น้อย  และผู้น้อยก็ต้อง “รู้ที่ต�่ำที่สูง” เชื่อฟัง ซื่อสัตย์  และกตัญญูกตเวที  ต่อผู้ใหญ่  ท�ำให้สังคมมีระเบียบ เกิดความสงบสุข ความมั่นคง  และความเจริญก้าวหน้า๑๑  ดังนั้น ความเหลื่อมล�้ำจึงได้บาดเข้า  ไปสู่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของผู้คน ภาพพระมหากษัตริย์ที่คนไทยรับรู้จึงเป็นภาพของผู้ที่ด�ำรง  อยู่ในสถานะ “สูงที่สุด” แต่เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่จะ  โน้มพระองค์ลงไปช่วยเหลือพสกนิกรที่เดือดร้อนทุกข์ยาก  ดังที่มี  การอ้างถึงพระราชปณิธานที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อ ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”  และที่ส�ำคัญ ภาพนี้ได้ถูกฝัง  (embedded) เข้าไปสู่ระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชน  ผ่านสื่อต่างๆ อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง   “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 35


ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที ่ เด่นชัดคือ การเทิดทูนให้  “พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย”  กลายมาเป็น “พ่อแห่งชาติ”  บทเพลงและการเน้นการท�ำกิจกรรม  ที่ส่งเสริมการท�ำดีเพื่อ “พ่อ” ได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง  แม้กระทั่งการปราศรัยปลุกเร้าประชาชนของแกนน�ำ “แนว  ร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ  (นปช.)” ในช่วงที่ม ี ความขัดแย้งสูง ก็ได้แสดงให้เห็นถึงพลังของความคิดชุดนี้ว่าได้  ถูกฝังลงในการรับรู้ของผู้คนอย่างกว้างขวาง ดังความว่า “ปั ญ หาวิ ก ฤตทั้ ง หมดในประเทศนี้ มั น จะได้ รั บ การ แก้ไขเหมือนน�้ำทิพย์ชโลมใจ  วันนี้ไม่มีใครแก้ได้  เชื่อผม เถอะครับ  หมดครับคนเป็นกลางในประเทศนี้  เหลือพระเจ้า แผ่นดินพระองค์เดียวเท่านั้น  หมดแล้วครับ ไม่มีใครที่เป็น สิ่งมีชีวิตแล้วบอกว่าเป็นกลาง  เพราะฉะนั้น เสียงของคน ไทย เสียงของแผ่นดินที่ร�่ำไห้นั้น ฟากฟ้าย่อมได้ยินความ ทุกข์ยากทั้งหมด  มีหนทางที่จะดับด้วยน�้ำพระทัย ด้วยพระ หัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระองค์เท่านั้นที่จะ บ�ำบัดทุกข์สร้างความสุขให้พสกนิกรของพระองค์ท่าน”๑๒ กล่าวโดยสรุป การสร้างอุดมการณ์ที่เน้นว่าพระมหากษัตริย ์ ทรงมีพระราชอ�ำนาจสูงสุด ทรง “ปกครองแผ่นดินโดยธรรม” และ  ทรงอ�ำนวยความยุติธรรมแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้เกิดขึ้นภายใต้  บริ บ ทของปั ญ หาความไร้ เ สถี ย รภาพทางการเมื อ งในสั ง คมไทย  เนื่องจากการสูญเสียอ�ำนาจของระบบราชการเดิมอย่างกะทันหัน  หลังเหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ท�ำให้เกิดการปรับตัวด้วยการ  36 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


เชื่อมประสานกันระหว่างกลุ่มอ�ำนาจของข้าราชการเดิมและกลุ่ม  อ�ำนาจเศรษฐกิจเดิม โดยกลุ่มราชการที่ต้องการมีอ�ำนาจเหนือกลุ่ม  อื่นๆ จ�ำเป็นต้องสร้างความใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์  และ  ต้องขยายรวมเอากลุ่มทุนเข้ามาอยู่ในระบบเกียรติยศใหม่ที่ได้สร้าง  ขึ้ น     นั บ เป็ น การส่ ง เสริ ม อ� ำ นาจและบารมี ข องสถาบั น พระมหา  กษัตริย์ให้สูงเด่น สอดคล้องกับความหมายของ “ความเป็นไทย”  ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาในช่วงก่อนหน้านั้น การสร้ า งเสถี ย รภาพทางการเมื อ งนี้ ไ ด้ ขึ้ น สู ่ จุ ด เปลี่ ย น  แปลงที่ ส� ำ คั ญ เมื่อ มีการเปลี่ยนภาพประเทศไทยให้เ ป็นเสมือน  “พระราชสมบัติของพระราชวงศ์จักรี”๑๓ ด้ว ยการจัดงานสมโภช  กรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปีใน พ.ศ.๒๕๒๕

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรี  ได้กราบ บังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในปีพุทธ ศักราช ๒๕๒๕ กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้  ๒๐๐ ปี  นับ เป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ มาโดยสวัสดี  มีความร่มเย็นเป็นสุข ด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์  และด้วย พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยล�ำดับ  รัฐบาลและปวงชน ชาวไทยจึงมีความปีติยินดี  พร้อมกันแสดงความกตเวทิตา คุณ ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระมหากษัตริย์ในพระ บรมราชจักรีวงศ์  และบรรพชนไทยที่จรรโลงชาติให้มีความ รุ่งเรืองสันติสุขสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ ๑๔ “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 37


การสร้างกิจกรรมในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์  ๒๐๐ ปี  เป็นผลงานของหน่วยราชการทุกหน่วยที่นอกจากจะแสดงความ  ก้าวหน้าของการท�ำงานในหน่วยงานตนแล้ว ยังเน้นกิจกรรมต่างๆ  ที่แสดงให้เห็น “พระราชประวัติของพระมหากษัตริย์พระราชวงศ์  จักรี”๑๕ ซึ่งการจัดกิจกรรมเหล่านี้ได้รับความส�ำเร็จอย่างมาก  จะ  เห็นได้ว่าผลการส�ำรวจ “ความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถาบันชาติ  ศาสนา และพระมหากษัตริย์  อันเนื่องมาจากงานสมโภชฯ ๒๐๐ ปี”  ที่จัดท�ำโดยกระทรวงมหาดไทยเพื่อตีพิมพ์ในรายงานติดตามประ  เมินผลโครงการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์  ๒๐๐ ปี  พบว่า “ประชาชน ทั่วประเทศมีความรู้สึกที่ดีเพิ่มขึ้นต่อสถาบันชาติ  ศาสนา และพระ มหากษัตริย์...ความรู้สึกที่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เพิ่มมาก ที่สุด” ๑๖ ในช่วงของการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองโดยการแบ่งสัน  อ�ำนาจเช่นนี้  ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและน�ำไปสู่ความ  พยายามในการท�ำรัฐประหาร ๒ ครั้งเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๒๔  (เหตุการณ์นี้เรียกว่า “เมษาฮาวาย”) และเดือนกันยายน ๒๕๒๘  ซึ่งสะท้อนว่าเสถียรภาพทางการเมืองบนฐานของการแบ่งสันอ�ำนาจ  ยังมีความเปราะบางอยู่ไม่น้อย สังคมไทยจึงต้องพึ่งสถาบันพระ  มหากษัตริย์ในการปัดเป่าความขัดแย้งทางการเมืองตลอดมา  นครินทร์  เมฆไตรรัตน์ได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของพระบาท  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะผู้ทรงรักษาเสถียรภาพทางการเมือง  ท่ามกลางความขัดแย้งภายในกองทัพในช่วงของรัฐบาลพลเอก  เปรม ติณสูลานนท์  ในหนังสือเรื่องพระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชา  ธิปไตย : ๖๐ ปี  สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย  ความว่า 38 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ชัยชนะของพลเอกเปรมและการด�ำรงอยูข่ องดุลยภาพ ทางการเมืองที่ถูกคุกคามโดยคณะปฏิวัติ  คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ เลยหากปราศจากการสนับสนุนของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว  นอกจากนี้  พระองค์ยังทรงมีบทบาทส�ำคัญที่ช่วย ให้เหตุการณ์ความไม่สงบยุติลงอย่างรวดเร็วโดยปราศจาก ความรุนแรง๑๗ การรักษาเสถียรภาพทางการเมืองได้ท�ำให้เกิดกระบวนการ  สร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลด้วยการ “แอบอิง” และขอรับ  พระราชทาน “พระมหากรุณาธิคุณ” จากสถาบันพระมหากษัตริย์  อยู่เนืองๆ  ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองได้ด ี ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามา  สัมพันธ์กับการเมืองอย่างเด่นชัดมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านอุดม  การณ์  รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้สร้างความคิด/อุดม  การณ์ชุดหนึ่งที่เชิดชูบทบาทของพระมหากษัตริย์ให้สูงเด่นในทุก  ด้าน ดังจะเห็นได้ในรายละเอียดการจัดงานเฉลิมฉลองรัตนโกสินทร์  ๒๐๐ ปี  ซึ่งท�ำให้เห็นถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์  จักรี  แต่ก็เน้นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงงานในทุกๆ ด้านอย่างเด่นชัดด้วย โดยเฉพาะบทบาทในการ  แก้ไขปัดเป่าภัยที่เกิดกับสังคมไทย จนท�ำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดใน  หมู่คนทุกกลุ่มรวมทั้งประชาชนทั่วไปว่า สถาบันพระมหากษัตริย์  มีสถานะและอ�ำนาจสูงสุดในการตัดสินข้อพิพาททางการเมือง  และโดยหลักการแล้ว การตัดสินใจของสถาบันพระมหากษัตริย ์ ย่อมอยู่เหนือการเมือง เพราะเป็นการกระท�ำเพื่อประชาชนทุก  หมู่เหล่า  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 39


นอกจากการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองด้วยการแบ่งสัน  อ�ำนาจระหว่าง ๓ กลุ่ม อันได้แก่  ระบบราชการ นักธุรกิจ และ  ทหาร  การสร้างอุดมการณ์ที่เน้นบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์  ให้เป็นสถาบันที่รักษาเสถียรภาพทางการเมืองดังกล่าวได้ถ่ายทอด  สู่ประชาชนและสังคม ซึ่งส่งผลที่ส�ำคัญคือ ท�ำให้รัฐบาลของพลเอก  เปรม ติณสูลานนท์เป็นเสมือนรัฐบาลที่รับใช้สถาบันพระมหากษัตริย ์ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ   และด้วยกระบวน  การสร้างเสถียรภาพและอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นนี้เองที่ท�ำให้  พลเอกเปรม ติณสูลานนท์สามารถด�ำรงต�ำแหน่งได้นานกว่า ๘ ปี  และได้รับการยอมรับจากกลุ่มทางการเมืองและกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ  อย่างกว้างขวาง การจั ด ความสั ม พั น ธ์ ท างอ� ำ นาจที่ ท� ำ ให้ ส ถาบั น พระมหา  กษัตริย์กลายเป็นสถาบันที่ค�้ำประกันอ�ำนาจของรัฐบาลลักษณะดัง  กล่าวมานี้ได้ด�ำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการตอกย�้ำมากขึ้น  เมื่อความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะรักษาความสงบเรียบ  ร้อยแห่งชาติ  (รสช.) ซึ่งรัฐประหารยึดอ�ำนาจจากพลเอกชาติชาย  ชุ ณ หะวั ณ   กั บ กลุ ่ ม ผู ้ ชุ ม นุ ม ที่ น� ำ โดยพลตรี จ� ำ ลอง  ศรี เ มื อ ง  มี ผู ้ วิเคราะห์ว่า  ในการนี้พ ระบาทสมเด็จ พระเจ้า อยู่หัวได้ทรงมีบท บาทในการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองอีกครั้ง  โดยพระ องค์โปรดเกล้าฯ ให้พลเอกสุจินดา คราประยูร กับพลตรี จ�ำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้าฯ...หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและผู้ น�ำประท้วงก็ได้ปรากฏตัวทางโทรทัศน์  ร่วมกันเรียกร้องให้ ทุกฝ่ายด�ำเนินการตามพระราชกระแส ส่งผลให้การต่อสู้ที่ ด�ำเนินมาหลายวันยุติลงได้อย่างรวดเร็ว๑๘ 40 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


การจัดสรรอ�ำนาจระหว่างระบบราชการและกลุ่มธุรกิจได้  ท�ำให้เกิดการ “พึ่งพิง” พระราชอ�ำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย ์ มากขึ้น จนท�ำให้การรักษาเสถียรภาพลักษณะดังกล่าวกลับเป็นการ  ผลักภาระทั้งหลายให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องแบกรับปัญหาที ่ ไม่น่าจะต้องมาเกี่ยวข้องด้วย  เพราะการสร้างอุดมการณ์เช่นนี้ท�ำ  ให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็น “อ�ำนาจสูงสุด” ในการแก้ไข  ปัญหาต่างๆ ของชาติ  อันเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะ  แสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจ�ำนวนไม่  น้อย สามารถอ้างอิงตนเองในฐานะของผู้มีความใกล้ชิดกับสถาบัน  พระมหากษัตริย์ได้ ในด้านกลุ่มทุนการเงินหรือธนาคารพาณิชย์และกลุ่มทุน อุตสาหกรรมการเกษตรที่เข้มแข็งมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๒๐  ก็เริ่มต้องการสลัดหลุดออกจากอ�ำนาจของระบบราชการ  แต่ก็รู้ด ี ว่ายังไม่สามารถก้าวขึ้นมีอ�ำนาจโดยล�ำพังได้  จึงได้จัดสรรแบ่งปัน  อ�ำนาจกันกับกลุ่มราชการต่างๆ ทั้งทหารและพลเรือนโดยให้อ�ำนาจ  ทางการเมืองแก่กลุ่มราชการ  ขณะเดียวกันกลุ่มทุนก็ได้โอกาสใน  การขยายอ�ำนาจทางเศรษฐกิจออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะ  โดยการด�ำเนินธุรกรรมทางการเงินที่ครอบคลุมไปยังภาคการผลิต  อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมทุกๆ ด้าน และโดยการแอบอิงอยู่กับ  กิจกรรมการกุศลที่ด�ำเนินการโดยองค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์และ  โครงการในพระราชด�ำริต่างๆ  ดังที่จะเห็นว่าในทศวรรษ ๒๕๒๐  เป็นต้นมา กลุ่มทุนการเงินได้ขยายตัวออกไปในทุกปริมณฑลอย่าง  กว้างขวาง ซึ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มของตนเป็นอย่างมาก กลุ่มราชการโดยเฉพาะกลุ่มทหารก็ได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ของ  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 41


กองทัพอย่างชัดเจน ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ให้กลายเป็นกองทัพ  ของสถาบันพระมหากษัตริย์หรือ “ทหารเสือนวมินทราชินี”  ส่วน  ข้าราชการก็กลับไปมีฐานะเป็น “ผู้ท�ำการของพระราชา” อีกครั้ง  หนึ่ง  การเปลี่ยนแปลงความหมายของข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและ  พลเรือนเช่นนี้เอื้อให้ระบบราชการ “เป็นอิสระโดยสัมพัทธ์” จากนัก  การเมืองที่เป็นรัฐบาล และมีอ�ำนาจต่อรองกับนักการเมืองมากขึ้น  เช่น การโยกย้ายและการของบประมาณ เป็นต้น ภายใต้กรอบความคิดดังกล่าวนี ้ พลเอกเปรม ติณสูลานนนท์  ก็มีอ�ำนาจมากขึ้น ท�ำให้เกิดเสียงครหาในการโยกย้ายนายทหาร  ประจ�ำปีว่า กลุ่มที่เป็น “ลูกป๋า” จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนต�ำแหน่งเร็ว  กว่าคนอื่น๑๙  การรับรู้ปัญหาว่ามีการเล่นพรรคเล่นพวกเช่นนี้มีอยู่  ทั่วไป จนแม้แต่พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ลูกป๋า” คน  หนึ่ง ก็ได้เคยแสดงความรู้สึกท�ำนองว่า การเลื่อนต�ำแหน่งที่เป็น  ลักษณะของกลุ่มพรรคพวกได้ท�ำลายระบบขององค์กรไป๒๐ ในสภาวะที่อ�ำนาจทางการเมืองถูกแบ่งออกเป็นส่วน  ของ “อ�ำนาจทางการเมือง” และ “อ�ำนาจทางเศรษฐกิจ” โดย  มี  “อ�ำนาจของระบบราชการ” ควบคุมสูงสุด   นายกรัฐมนตรี  ซึ่งเป็นตัวแทนของอ�ำนาจราชการต้องคอยประสานไม่ให้เกิดความ  ขัดแย้งหรือคอยแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เช่น กรณีพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ใช้อ�ำนาจแก้ไขปัญหา “เทเล็กซ์น�้ำมันอัปยศ” และ  กรณีขาดแคลนน�้ำตาลของพรรคกิจสังคมช่วงปี  พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๔ เป็นต้น  ที่ส�ำคัญ ระบบราชการก็จะคอยเอื้ออ�ำนวยให้แก่กลุ่มทุน  อุตสาหกรรมสามารถขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง การอาศัยพลังทางอุดมการณ์ดังกล่าวข้างต้นของรัฐบาลภาย  ใต้การน�ำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  และการขยาย “เครือข่าย  42 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ของชนชั้นน�ำ” มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการขยายอ�ำนาจ  ทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนที่ได้สร้างความเข้มแข็งขึ้นมา โดยมีการ  แบ่งสันอ�ำนาจกับระบบราชการ ซึ่งขยายงานราชการออกไปอีก  จ�ำนวนมากในนามของการรับใช้  “อุดมการณ์” สูงสุด เช่น การ  สร้างโครงการรับเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อด�ำเนิน “โครงการพระ  ราชด�ำริ” เป็นต้น ผลที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ “กองทัพ” ซึ่งเป็นฐานอ�ำนาจ  ที่ส�ำคัญของรัฐบาลสามารถรักษาอ�ำนาจต่อรองเอาไว้ได้แม้ว่าจะ  มีรัฐมนตรีและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งก็ตาม  เพราะกองทัพมี  “ความเป็นอิสระโดยสัมพัทธ์” อย่างมากภายใต้พลังของอุดมการณ์  ดังกล่าว  ขณะเดียวกันอ�ำนาจทางการเมืองก็ถูกท�ำให้แยกออกจาก  กัน  และในความหมายของการถ่วงดุลและการตรวจสอบก็ไม่ได้  คานอ�ำนาจซึ่งกันและกัน หากแต่จะแบ่งแยกพื้นที่อ�ำนาจกันอย่าง  ชัดเจนด้วยซ�้ำ  โดยแต่ละฝ่ายจะต้องพยายามไม่ก้าวล่วงพื้นที่ทาง  อ�ำนาจและผลประโยชน์ของกันและกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความ ขัดแย้งขึ้น ท�ำให้เกิดการแบ่งแยกอ�ำนาจทางการเมือง อ�ำนาจทาง  เศรษฐกิจ และอ�ำนาจทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีส่วนที ่ เหลื่อมซ้อนกันอยู่บ้างก็ตาม  จะเห็นได้ว่าถึงแม้นักธุรกิจเข้ามามีอ�ำนาจทางการเมืองเพิ่ม  ขึ้นเรื่อยๆ แต่การตัดสินใจที่ส�ำคัญของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสู-  ลานนท์มาจาก “ขุนนางข้าราชการ” (Technocrat) ในองค์กรที่มี  ฐานะเป็นมันสมองของระบบราชการ และรับใช้นายกรัฐมนตรีที่  เป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยตรง  ส่วน “กลุ่มทุน” ทั้งในส่วนกลางและ  ในท้องถิ่นต่างๆ ยังคงมีบทบาทอยู่ในพื้นที่ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก  ในขณะที่  “สถาบันพระมหากษัตริย์” มีอ�ำนาจทางวัฒนธรรมอย่าง  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 43


เต็มเปี่ยม โดยที่  “ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ตกอยู ่ ในมือของนักบริหารมืออาชีพและกลายเป็นองค์กรที่มีบทบาทอยู ่ ในพื้นที่ทางเศรษฐกิจในฐานะของกลุ่มทุนกลุ่มหนึ่ง คล้ายคลึงกับ  กลุ่มทุนใหญ่อื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่ายชนชั้นน�ำ กล่าวได้ว่า “ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ” ได้รับการสร้าง ให้มีความมั่นคงอย่างมากในสมัยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  โดยคนทุกกลุ่มในสังคมไทยรับรู้ร่วมกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็น  ผู้อ�ำนวยเสถียรภาพและความมั่นคงแก่ชาติไทยเพราะทรงเป็นศูนย์  รวมจิตใจของคนทั้งชาติ   เมื่อเกิดความขัดแย้งหรือวิกฤตการณ์ใดๆ  ขึ้น พระองค์ก็ทรงแก้ไขด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงจนวิกฤต  ทุกเรื่องคลี่คลายไปได้ด้วยดี  ท่ า มกลางการสร้ า งกรอบความคิ ด หรื อ อุ ด มการณ์ ที่ เ น้ น  สถาบันพระมหากษัตริย์ว่าเป็นศูนย์กลางของอ�ำนาจเช่นนี้  การ  เกาะกลุ ่ มกั น เป็นเครือ ข่ายของชนชั้นสูง ระหว่า งกลุ่มข้า ราชการ  ระดับสูงและกลุ่มทุนใหญ่ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มทุนธนาคาร  พาณิชย์จึงแนบแน่นมากขึ้น  เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่ม  ทุนการเงินจึงได้รับการค�้ำประกันโดยรัฐจนสามารถกลายเป็นผู้กุม  ระบบเศรษฐกิจของไทยได้เป็นส่วนใหญ่ การประสานเชิ ง แบ่ ง สั น อ� ำ นาจลั ก ษณะนี้ จึ ง เป็ น เสมื อ น  “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของชนชั้นน�ำ” ที่ชนชั้นน�ำทั้ง ๓ กลุ่ม  อ�ำนาจได้ยึดถือกันมาตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๒๐  จนกระทั่งในทศวรรษ  ๒๕๔๐ จึงได้ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงจากความเปลี่ยนแปลงทาง  เศรษฐกิจและการเมือง  ดังจะได้วิเคราะห์โดยละเอียดในเนื้อหา  ส่วนต่อไป 44 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


กระบวนการสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้รับการตอกย�้ำและเน้นความ  ส�ำคัญตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาผ่านสื่อต่างๆ ทุกรูปแบบ ได้ท�ำให้  ชนชั้นกลางกลุ่มหนึ่งที่เติบโตมาในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ ได้รับผล  ประโยชน์ ท างด้ า นเศรษฐกิ จ จากการมี เ สถี ย รภาพทางการเมื อ ง  ดังกล่าว ไม่ว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น หรือโอกาสในการเลื่อนชนชั้นและ  สถานะ ชนชั้นกลางกลุ่มนี้จึงซึมซับความคิดหรืออุดมการณ์ที่เน้น  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลางของอ�ำนาจมากกว่าผู้ที่ได้รับข่าว  สารในภายหลัง เช่น กลุ่มชนชั้นกลางใหม่ที่เพิ่งถือโอกาสก้าวออก  มาจากสังคมชาวนาในทศวรรษที่ผ่านมา  ไม่ว่าจะเป็นการรับสื่อที ่ เน้นในเรื่องนี้มาก่อนหรือสัมพันธ์กับการน�ำเสนอบทบาทพระมหา  กษัตริย์ในการขจัดปัดเป่าปัญหาต่างๆ ของสังคม

การเติบโตของพลเมืองภายใต้พระบรมโพธิสมภาร

ผลส�ำคัญอีกประการหนึ่งของเสถียรภาพทางการเมืองภาย  ใต้ ก ารประสานเชิง แบ่ง สันอ�ำนาจดัง กล่าวข้างต้นนี้  ก็คือความ  เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ท�ำให้  “คนชั้นกลาง” ขยายตัวและ  เข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างกระตือ  รือร้นในช่วงปลายทศวรรษ ๒๕๔๐ เป็นต้นมา จึงจ�ำเป็นที่จะ  ต้ อ งเข้ า ใจระบบอารมณ์ค วามรู้สึกนึกคิด ของกลุ่มคนชั้นกลางที ่ เติบโตมาพร้อมกับ “ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ” ให้ชัดเจนด้วย   คนชั้นกลางในสังคมไทยเริ่มขยายตัวตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๙๐  เนื่องจากมีการขยายตัวทางการลงทุนของกลุ่มคนจีนที่ตัดสินใจ  อาศัยอยู่ในเมืองไทยอย่างถาวร เพราะจีนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เป็นคอมมิวนิสต์   กลุ่มพ่อค้าจีนเหล่านี้ได้ดัดแปลงตนเอง “กลาย  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 45


มาเป็นไทย” ในบางด้าน  พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มส่งลูกเข้าสู่ระบบ  การศึกษาของไทยอย่างจริงจัง๒๑ การดัดแปลงตนเองให้  “กลายเป็นไทย” เป็นกระบวนการ  ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส�ำคัญที่พ่อค้าจีนพยายามที่จะเปลี่ยน  แปลงชีวิตทางสังคมให้เป็นไทย  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อ-แซ่  การส่งลูกหลานเรียนและศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐบาลไทย  มีความพยายามจะสร้างชีวิตทางสังคมร่วมกับคนไทย เช่น ร่วมกัน  ท�ำงานในสมาคมการกุศล เป็นต้น  ที่น่าสนใจพบว่า นักเรียนที ่ สามารถเข้าสู่มหาวิทยาลัยในช่วงหลังทศวรรษ ๒๕๐๐ ส่วนใหญ่  เป็นลูกหลานคนจีนและลูกหลานข้าราชการที่อยู่ในเขตเมือง  งาน  วิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ พบว่า  สัดส่วนนักศึกษาที่มาจากชนบทหรือคนจนนั้นมีเพียงร้อยละ ๕-๘  เท่านั้น๒๒ ช่วงเวลาที่ลูกหลานคนจีนและลูกหลานข้าราชการ (ซึ่งเป็น  คนส่วนใหญ่ของคนชั้นกลางไทยในสมัยหลัง-ผู้เขียน) เข้าสู่มหา  วิทยาลัย เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลเผด็จการภายใต้การน�ำของจอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัชต์  และจอมพลถนอม กิตติขจรพยายามรักษาอ�ำนาจ  ของตนด้วยการประนีประนอมกับกลุ่มอนุรักษนิยมโดยการเพิ่มบท  บาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มากยิ่งขึ้น  อัตลักษณ์ของนัก  ศึกษาในขณะนั้นเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่สามารถปิดถนนเพื่อร้องเพลง  เชียร์ในงานฟุตบอลประเพณี   ขณะเดียวกันก็เป็นอภิสิทธิ์ชนที่ผูก  ตนเองเข้ากับสถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นชัด  ในช่วงก่อนการเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ เมื่อปรากฏข่าวลือ  เรื่องจอมพลประภาส จารุเสถียรไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจในบทบาทของ “ถนอม-ประภาส-ณรงค์”  46 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


มากยิ่งขึ้น ความรู้สึกผูกพันระหว่างนักศึกษากับสถาบันพระมหากษัตริย์  แสดงออกชัดเจนในการเคลื่อนขบวนในเหตุการณ์ตุลาคม ๒๕๑๖  ที่มีการอัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้า  อยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถน�ำขบวน รวมไป  ถึงการเคลื่อนขบวนไปพึ่งพระบารมีในช่วงที่วิกฤต ลูกหลานคนจีนที่เติบโตในสังคมไทยราวทศวรรษ ๒๕๐๐  เป็นต้นมาได้ท�ำงานในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้าน  หรือขยายบทบาทธุรกิจของครอบครัวตนเองในบริบทที่มีการขยาย  ตัวทางเศรษฐกิจอย่างดีมาโดยตลอด  คนกลุ่มนี้จึงสามารถที่จะ  สร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตนได้อย่างมั่นคง และมี  ความพอใจในเสถียรภาพทางการเมืองภายใต้  “ระบอบประชาธิป  ไตยครึ่งใบ” โดยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหา  กษัตริย์เป็นอย่างสูง เพราะรับรู้และส�ำนึกว่า เสถียรภาพทางการ  เมือง ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความสงบสุขและ  ความมั่นคงทั้งในเมืองและในชนบทเกิดขึ้นได้เพราะบทบาทของ  สถาบันพระมหากษัตริย์   ทั้งนี้  “เสถียรภาพ-ความมั่นคง” ได้ถูก  สร้างให้ยึดโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นตั้งแต่เกิดเหตุ  การณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เริ่มจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทยุติ  การนองเลือดในปี  พ.ศ.๒๕๑๖ ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างฝ่าย  ซ้ายกับฝ่ายขวาในเหตุการณ์  ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  พระองค์เสด็จ  ออกเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารตลอดช่วง  เวลาของการต่อสู้กับ “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ที่ส�ำคัญ  เมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้สร้างระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 47


ซึ่งต้องการความชอบธรรมลักษณะใหม่มารองรับ ยิ่งท�ำให้เกิดการ  ยึดโยงสถาบันพระมหากษัตริย์กับ “เสถียรภาพ-ความมั่นคง” มาก  ขึ้ น ดั ง กล่ า วมาแล้ ว ข้ า งต้ น     และการยุ ติ ก ารต่ อ สู ้ ท างการเมื อ ง  ระหว่างชนชั้นน�ำในระบบราชการที่น�ำโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  กับ “กลุ่มทหารหนุ่ม” และการยุติความขัดแย้งระหว่าง “กลุ่มนาย  ทหารรุ่นห้า” กับบางส่วนของ “กลุ่มนายทหารรุ่นเจ็ด” ในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๕ ยิ่งท�ำให้หลักการ “เสถียรภาพ-ความมั่นคง” ถูกโยงเข้ากับ  สถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น๒๓ อนึ่ง ตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ได้เกิดการอธิบาย  รวบยอด “ประวัติศาสตร์ของคนจีนในประเทศไทย” ภายใต้กรอบ  ความคิดที่ว่า “คนไทยเชื้อสายจีนได้อพยพหนีความเดือดร้อนมาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย จึงสามารถสร้างตัว กระทั่งได้มีฐานะมั่นคงจากเดิมที่มีเพียงสื่อผืนหมอนใบ”  การให้  ความหมายแก่ประวัติศาสตร์เช่นนี้มีพลังอย่างมากในการผลักดัน  ให้คนชั้นกลางซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนได้ทุ่มเทเสียสละเพื่อรักษา  “เสถียรภาพ-ความมั่นคง” อันมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกน  กลาง  เพราะหมายถึงการทดแทนบุญคุณที่บรรพบุรุษ ตลอดจน  ครอบครัวและลูกหลานของตนได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารจนอยู่เย็น  เป็นสุขและการค้ารุ่งเรืองตลอดมา  ดังนั้น ค�ำขวัญที่ว่า “ลูกจีนกู้  ชาติ” จึงมีความหมายต่อคนชั้นกลางเป็นอย่างมาก จ�ำเป็นต้องกล่าวไว้ด้วยว่า คนชั้นกลางกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่  สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ก่อนคนกลุ่มอื่นในสังคมไทย เช่น  มีโทรทัศน์ก่อนคนกลุ่มอื่นในสังคมไทย  ดังนั้น การท�ำให้รับรู้ด้วย  การเห็นภาพของพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานด้วยความเมตตาประ  ชาชน ประสบความยากล�ำบากในการเสด็จพระราชด�ำเนินไปใน  48 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ถิ่นทุรกันดารอยู่เนืองๆ จึงยิ่งส่งผลให้ภาพของพระมหากษัตริย์ท ี่ ทรงท�ำทุกอย่างเพื่อความผาสุกของประชาชนฝังลึกในระบบอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิด ด้วยกระบวนการทางสังคมทั้งหมด จะเห็นได้ว่า “เสถียร  ภาพ-ความมั่นคง” ในระบบความคิดของคนชั้นกลางไม่จ�ำเป็น  ต้องมี  “เสถียรภาพ-ความมั่นคง” ในระบอบประชาธิปไตยแต่  อย่างใด  และตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๙๐ ยังมีการสร้างความคิด  ความเชื่อที่ว่า นักการเมืองเป็นคนเลวที่เห็นแก่ตัว และเป็นผู้ที่  สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมืองจนกระทบต่อ “เสถียร  ภาพ-ความมั่นคง” ยิ่งเป็นการลดทอนความศรัทธาในระบอบประ  ชาธิปไตยที่ผู้ปกครองมาจากการเลือกตั้ง  ตรงกันข้าม หากนักการ  เมืองที่มาจากการเลือกตั้งสามารถแสดงตนว่ารักษา “เสถียรภาพ-  ความมั่นคง” ได้ส�ำเร็จ แม้ว่าจะใช้อ�ำนาจในลักษณะเผด็จการก็  จะได้รับการยอมรับ  ดังปรากฏว่าการใช้อ�ำนาจรวมทั้งการด�ำเนิน  นโยบายบางอย่างของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่เป็น  ไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ก็เคยได้รับความชื่นชม  และชื่นชอบ เช่น นโยบายปราบปรามยาเสพติดแบบ “ฆ่าตัดตอน”  ซึ่งคนชั้นกลางเห็นว่าเป็นการกระท�ำเพื่อรักษา “เสถียรภาพ-ความ  มั่นคง” ของรัฐและสังคม  แต่ เ มื่ อ เกิ ด ข่ า วลื อ /ข่ าวปล่ อ ยจากหลายฝ่า ยอ้ า งว่ า  อดี ต  นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เริ่มล�้ำเส้นเข้ามาในพื้นที่พระราช  อ�ำนาจของพระมหากษัตริย์  ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการสั่นคลอน  “ระบบ” อ�ำนาจเดิมที่อดีตนายกรัฐมนตรีได้ท�ำ จนก่อให้เกิดความ  ไม่ พ อใจสู ง ขึ้ น ของกลุ ่ ม ชนชั้ น น� ำ เดิ ม   และเกิ ด การพู ด คุ ย /แสดง  ความคิดเห็นในเชิงว่าอดีตนายกรัฐมนตรีนั้นเหิมเกริม ไม่แยแส  “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 49


ในพระราชอ�ำนาจและพระราชฐานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้า  อยู่หัว ซึ่งข่าวลือท� ำนองนี้ได้แพร่หลายมากในช่วง พ.ศ.๒๕๔๖  เป็นต้นมา  เมื่อน�ำมาพิจารณาประกอบกับข้อมูลข่าวสารที่ไหล  เวียนในสังคมเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นและการด�ำเนินนโยบายประชา  นิยมทีต่ อ้ งใช้เงินของแผ่นดินมหาศาล และในทัศนะของคนชัน้ กลาง  แล้ว ทั้งสองกรณีนี้ล้วนแต่กระทบกระเทือนต่อ “เสถียรภาพ-ความ มัน่ คง” อย่างรุนแรง  ดังนัน้  การต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีจงึ ขยาย  ตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวได้ว่า จากข่าวลือ/ข่าวปล่อยที่เกิดขึ้น และการปราศรัย  ที่เป็นเสมือนการยืนยันข้อเท็จจริงในข่าวนั้นโดย “กลุ่มพันธมิตรประ  ชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ผ่านรายการโทรทัศน์และการชุมนุมที่น�ำ  โดยนายสนธิ  ลิ้มทองกุล ตั้งแต่  พ.ศ.๒๕๔๘ ได้ท�ำให้เกิดการปะทุ  ขึ้นของความกังวลในเรื่อง “เสถียรภาพ-ความมั่นคง”  หลังจากนั้น  การสถาปนาตนเป็น “ลูกจีนรักชาติ-ลูกจีนกู้ชาติ” ก็ก่อก�ำเนิดและ  มีพลังแรงกล้าขึ้นมาทันที  แม้ว่าในความเป็นจริง ปัญหาในเรื่อง “เสถียรภาพ-ความ  มั่นคง” ยังมีสาเหตุมาจาก “ความไม่แน่นอน” ที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ  อีกมากมายหลายประการ เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  และการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม  ไทย ฯลฯ  แต่คนชั้นกลางกลับมองว่าสังคมไทยต้องสูญเสีย “เสถียร  ภาพ-ความมั่นคง” ก็เพราะอดีตนายกรัฐมนตรี   และยังรู้สึกด้วย  ว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไม่มีความจงรักภักดีและไม่เชื่อฟังพระองค์  “เสถียรภาพ-ความมั่นคงภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์” ของสังคม  การเมืองไทยจะกลับคืนมาได้ก็ต่อเมื่อท�ำการรัฐประหารเพื่อขจัด  อดีตนายกรัฐมนตรีออกไป  50 อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์


ดังนั้น เมื่อเกิดการรัฐประหารใน พ.ศ.๒๕๔๙ กระแสการ  ต้ อ นรั บ การรัฐ ประหารจึง เกิด ขึ้นอย่างหนาแน่นในเขตกรุงเทพฯ  และภายหลังการรัฐประหาร เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรียังไม่ยอมยุติ  การต่อสู้  การเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางเพื่อน�ำ “เสถียรภาพ-ความ  มั่นคงภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์” กลับคืนจึงด�ำเนินมาอย่าง  ต่อเนื่อง  หากมีผู้ใดที่แตะต้องกับพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์  ก็จะถูกโจมตีอย่างหนักหน่วง๒๔ หลังการรัฐประหาร พ.ศ.๒๕๔๙ รัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์ได้พยายามเน้นถึงความส�ำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์  ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของคนไทย เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการ  สลายความขั ด แย้ ง  ซึ่ ง ส่ ง ผลท� ำ ให้ ช นชั้ น กลางกลุ ่ ม นี้ ถั ก ทอสาย  สัมพันธ์ทางอารมณ์ความรู้สึกกันอย่างเหนียวแน่นมากขึ้น  ดังนั้น  จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของ “คณะกรรมการประชา  ชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)”  ชนชั้นกลางกลุ่มนี้จึงสามารถเคลื่อนไหวร่วมกันได้อย่าง  กว้างขวางและมีจ�ำนวนมากกว่าทุกครั้งที่เคยรวมกลุ่มเคลื่อน  ไหวกันในประวัติศาสตร์ไทย

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 51


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.