ยุทธมรรคา เส้นทางเดินทัพ ไทย เขมร

Page 1


ยุทธมรรคา เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร



๑ ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา กับเส้นทางไทย-เขมร


ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-กัมพูชาก่อนสมัยสุโขทัย ดินแดนภาคตะวันออกและอีสานใต้ของไทยมีความสัมพันธ์ กับเขมรโบราณในลุ่มน�้ำโขงและทะเลสาบเขมรมาเป็นเวลานาน ดัง ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะได้พบศิลาจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน และศิลา จารึกของพระเจ้าภววรมันที่ ๒ และของกษัตริย์อาณาจักรเจนละ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่จังหวัดสระแก้ว อาณาจักรเจนละ (อาจเป็นชือ่ ทีจ่ นี เรียกจากชือ่  “เศรษฐปุระ” ซึ่งเป็นชื่อของเมืองที่เป็นศูนย์กลางอ�ำนาจของเจนละ  ปัจจุบันคือ โบราณสถานเมืองเศรษฐปุระในเมืองจ�ำปาศักดิ์ ประเทศลาว) เป็นต้น ก�ำเนิดของอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่ที่ราบลุ่ม ทะเลสาบมาจนถึงลาวใต้และอีสานใต้ หลักฐานจากศิลาจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันและศิลาจารึก ของพระเจ้าภววรมันที่ ๒ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของอาณา จักรเจนละซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณปากแม่น�้ำมูล-จ�ำปาศักดิ์-วัดภู ซึ่งในสมัยโบราณเป็นบริเวณเดียวกัน  จากนั้นจึงแผ่ขยายพระราชอ�ำนาจไปทางตะวันตก ครอบคลุม บริเวณ ๒ ฝั่งแม่น�้ำมูล จนถึงบริเวณจังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน โดย ใช้เส้นทางส�ำคัญการขยายอ�ำนาจไปตามแม่น�้ำมูลและแม่น�้ำชี ดังที่พบ ศิลาจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมันกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ศิลา จารึกปากแม่น�้ำมูล ที่ประกาศอาณาเขตของพระเจ้ามเหนทรวรมัน ต่ อ มาในรั ช กาลพระเจ้ า อี ศ านวรมั น ที่   ๑ พระโอรสของ พระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์สามารถปราบดินแดนอาณาจักรฟูนัน ที่มีศูนย์กลางอยู่ทางภาคใต้ของประเทศกัมพูชาได้ และสร้างราชธานี ใหม่ที่เมืองอีศานปุระ  ครั้นถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ อาณา จักรเจนละสามารถยึดครองดินแดนของอาณาจักรฟูนันในบริเวณลุ่ม แม่น�้ำโขงตอนใต้และลุ่มทะเลสาบใหญ่ในกัมพูชาได้ส�ำเร็จ  ดังนั้น


รศ. ดร. ศานติ  ภักดีค�ำ

ศิลาจารึกปากโดมน้อย พบที่ริมฝั่งแม่น�้ำมูล ปากล�ำโดมน้อย ในเขตอุทยานแห่ง ชาติแก่งตะนะ ต�ำบลค�ำเขื่อนแก้ว อ�ำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี จารึกหลักนี้กล่าว ถึงพระเจ้ามเหนทรวรมัน ที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับเจนละ (ภาพจาก กรมศิลปากร. โบราณคดีเขื่อนปากมูล. ๒๕๓๕.)

5


6

ยุทธมรรคา

เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร

ดินแดนของอาณาจักรเจนละในเวลานั้นจึงครอบคลุมทั้งทางเหนือของ เทือกเขาพนมดงรัก รวมทั้งทางใต้ของเทือกเขาพนมดงรักไปจรดปาก แม่น�้ำโขง ภายหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ อาณาจักรเจนละได้เกิด แตกแยกเป็น ๒ แคว้น  ม้าตวนลินซึ่งเป็นชาวจีนที่ได้เดินทางเข้ามา เจนละได้บันทึกไว้ว่า “ครึ่งหนึ่งของภาคเหนือซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาและ หุบเขาได้เรียกว่าอาณาจักรเจนละบก  ครึ่งหนึ่งทางภาคใต้ซึ่งจดฝั่ง ทะเลและเต็มไปด้วยทะเลสาบ ก็เรียกว่าอาณาจักรเจนละน�้ำ” เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ผู้สืบเชื้อสายจากกษัตริย์แห่งอาณา จักรเจนละน�้ำ เสด็จกลับมาจากชวาและได้สถาปนาดินแดนบริเวณ ตอนเหนือของทะเลสาบเขมรเป็นราชธานี  ปัจจุบันคือบริเวณเมือง พระนคร ซึง่ อยูใ่ นจังหวัดเสียมเรียบ (เสียมราฐ) ประเทศกัมพูชา หลังจากนั้นพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ จึงทรงสถาปนาเมืองพระนคร ศรียโศธรปุระขึ้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรกัมพูชาสมัยพระนคร เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๕ สืบเนื่องถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ พุทธศตวรรษที่ ๑๕ นี้ กษัตริย์กัมพูชาโบราณได้ขยายอาณา เขตไปจนครอบคลุ ม ตอนเหนื อ ของเทื อ กเขาพนมดงรั ก  ซึ่ ง ได้ แ ก่ บริเวณอีสานใต้ของไทยในปัจจุบัน  และเป็นดินแดนเดิมของอาณา จักรเจนละบก รวมทั้งดินแดนบางส่วนของภาคตะวันออกของไทย หลักฐานทางด้านศิลาจารึกที่พบในประเทศไทยหลายหลักแสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรกัมพูชาโบราณซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองพระนคร กับบริเวณตอนเหนือของเทือกเขาพนมดงรัก และภาค ตะวันออกของไทยได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะในรัชกาล “พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑” พระองค์ได้ ขยายอ�ำนาจทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาโบราณซึ่งมีราชธานี อยู่ที่พระนครศรียโศธรปุระ เข้ามายังฟากตะวันออกของลุ่มแม่น�้ำ เจ้าพระยา อันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้ หรือลพบุรี (สฺรุกโลฺว หรือ ลโวทยปุระ)๑ ดังปรากฏหลักฐานส�ำคัญคือ ศิลาจารึก K.1198 (Ka.18)๒  ศิลาจารึกนี้มีทั้งที่เป็นภาษาเขมรโบราณและภาษาสันสกฤต


รศ. ดร. ศานติ  ภักดีค�ำ

ในข้อความจารึกในส่วนที่เป็นภาษาสันสกฤต๓  มีความที่ส�ำคัญตอน หนึ่ ง ซึ่ ง กล่ า วถึ ง พระเจ้ า สุ ริ ย วรมั น ที่  ๑ ยกทั พ มาตี เ มื อ งละโว้ (จารึกเรียกว่า “ลวปุระ”) ว่า

กาเลยโทไษรฺ ลวปูรฺ อรณฺยํ ปฺรนษฺฏรูปา หตสรฺวโศภา I วฺยาฆราทิภิรฺ วฺยาลมฤไคะ ปฺรกีรฺณา ศฺมศานภูเมรฺ อปิ ภีมรูปา II

เพราะความเสื่อมแห่งกลียุค เมืองลวปุระ (ลพบุรี) กลายเป็นป่า ปรากฏความพังพินาศไปทั่ว ความงดงามทั้งหมดมลายหายไป เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าทั้งหลายมีเสือโคร่งเป็นต้น ดูน่ากลัวยิ่งกว่าป่าช้าที่เผาศพ๔

ศิลาจารึกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในเวลานั้นเมืองลวปุระ หรือเมืองละโว้ถูกกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ยกทัพ เข้ามาโจมตีและสามารถท�ำลายเมืองลวปุระจนกลายเป็นป่า นอกจากนีย้ งั มีหลักฐานในจารึกของอาณาจักรกัมพูชาโบราณหลักอืน่ ๆ ซึ่งพบในบริเวณเมืองลพบุรี เช่น จารึกที่ศาลสูง หลักที่ ๑-๒ (หรือ จารึกหลักที่ ๑๙-๒๐) จารึกด้วยตัวอักษรเขมรโบราณพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ เป็นภาษาเขมรโบราณ๕ ซึ่งกล่าวถึงพระราชโองการของพระเจ้า สุริยวรมันที่ ๑ ว่า  “...ศักราช ๙๔๔ ขึ้น ๑๔ ค�่ำ เดือนภัทรบท อาทิตยวาร พระ บาทกัม รเตงก�ำ ตวนอัญ  ศรีสู รยวรรมัน เทวะ บัน ทู ลพระนิย มนี้ใ ห้ บุคคลทั้งหลายถือเป็นสมาจารให้ท�ำตาม  ณ สถานตบัสวี (ดาบส) ผองนั้น พระที่บวชเป็นภิกษุมหายาน สถวีระ ซึ่งบวชจริงนั้นอยู่ถวายตบะแด่พระบาทกัมรเตงก�ำตวนอัญศรี สูรวรรมันเทวะ  ผู้ซึ่งเข้ามาในตโปวนาวาสนั้นแม้ท� ำกังวล (ความเดือดร้อน)

7


8

ยุทธมรรคา

เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร

ไม่ได้ให้ตบัสวี (ดาบส) โยคี ทั้งหลายสวดมนตร์ถวายตบะแด่พระ บาทกัมรเตงก�ำตวนอัญศรีสูรยวรรมันเทวะให้จับน�ำเข้าสภาฟังคดีที่ ควรตัดสินอย่างเคร่งครัดที่สุด...” ๖ ศิลาจารึกศาลสูงหลักที่ ๑ ที่กล่าวมานี้พบที่ศาลสูง แสดงให้ เห็นว่าปี มหาศักราช ๙๔๔ ตรงกับพุทธศักราช ๑๕๖๕ เมืองลพบุรี ได้ถูกผนวกเข้าในพระราชอ� ำ นาจของพระเจ้าสุริย วรมัน ที่ ๑ แล้ ว สอดคล้องกับจารึก K.1198 (Ka.18) ที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ตี เมืองลวปุระ ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมืองลพบุรีในเวลานั้นมีการนับถือศาสนา หลายศาสนาปะปนกัน ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูและศาสนาพุทธ ซึ่งน่าจะเป็นศาสนาส�ำคัญดั้งเดิมของเมืองลพบุรี จึงมีการเน้นย�้ำว่า พระสงฆ์ที่บวชในศาสนาพุทธนั้นทั้งฝ่ายมหายาน และสถวีระ (เถรวาท) ต้องถวายตบะแด่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ด้วย นอกจากนี้ศิลาจารึกศาลเจ้าเมืองลพบุรี (ศิลาจารึกหลักที่ ๒๑) ซึ่งน่าจะจารึกขึ้นในรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เช่นเดียวกันก็ได้ กล่ า วถึ ง ขุ น นางของพระเจ้ า สุ ริ ย วรมั น ที่  ๑ กั ล ปนาที่ ดิ น กั บ คนใช้ และของต่างๆ ถวาย “พระกัมรเตงอัญศรีบรมวาสุเทวะ” หรือ “พระ นารายณ์” และมีข้อความที่กล่าวถึงชื่อเมืองลพบุรีโดยตรงว่า “...วาร นั้น โขลญพลกัมรเตง...และโขลญที่อยู่ประจ� ำวิษัย (เมือง) นี้ ประทวนไปยังโฉลญต�ำรวจวิษัย...พระกัมรเตงอัญศรีบรม วาสุเทวะอยู่นั้น ผลอันบูชาพระกัมรเตงอัญซึ่งได้ท�ำบูชาเราให้...เป็น ธรรม (หน้าที่) ของโขลญพลขอให้รักษาไว้ซึ่งกัลปนาของเรา  นั้ น พระในเมื อ งละโว้   (สฺ รุ ก โลฺ ว ) ซึ่ ง มี นั ก ระบ� ำ  นั ก จ� ำ เรี ย ง กัลปนานักระบ�ำ ๑ คน นักจ�ำเรียง (นักร้อง) ๑ คน นักดีด ๑ คน นักสี ๑ คน บ�ำเรอแด่พระกัมรเตงอัญบรมวาสุเทวะทุกวัน. ..” ๗ จากหลักฐานในด้านศิลาจารึกต่างๆ ที่กล่าวมาแสดงให้เห็น ได้อย่างชัดเจนว่า เมืองลวปุระ ซึ่งเป็นเมืองในกลุ่มวัฒนธรรมแบบ ทวารวดีได้ถูกกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ โจมตีและท� ำลาย เมืองจนเสียหาย


รศ. ดร. ศานติ  ภักดีค�ำ

ปรางค์แขก ที่เมืองลพบุรี แสดงถึงความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมร

9


10

ยุทธมรรคา

เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร

หลังจากนั้นเมืองลวปุระได้ปรากฏชื่อในจารึกว่า “สฺรุกโลฺว” หรือ “เมืองละโว้” โดยได้กลายเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อำ� นาจการปกครองของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ สอดคล้องกับหลักฐานที่กล่าวถึงชื่อขุนนางที่ อุทิศกัลปนาให้กับศาสนสถานในเมืองละโว้ เช่น โขลญพล โขลญวิษัย รวมทั้งโฉลญต�ำรวจวิษัย ซึ่งน่าจะเป็นขุนนางของพระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๑ ซึ่งปกครองเมืองละโว้อยู่ในเวลานั้น หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า แม้บางครั้งดินแดนฟากตะวัน ออกของลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาจะเป็นอิสระจากอาณาจักรกัมพูชาโบราณ สลับกับการตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ดังปรากฏหลักฐานว่า ในปี พ.ศ. ๑๖๕๘ ละโว้ได้ส่งทูตไปยังราชส�ำนัก จีน แต่ในเวลาต่อมาละโว้คงจะกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของ เมืองพระนครอีก ดังปรากฏหลักฐานในภาพสลักกองทัพเมืองละโว้ ในกระบวนทัพพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ที่ระเบียงปราสาทนครวัดด้าน ทิศใต้ปีกตะวันตก แต่อิทธิพลทางศาสนา ความเชื่อ สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งภาษาที่ใช้ในบริเวณลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา น่าจะ มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของอาณาจักรกัมพูชาโบราณโดยตรง หลังจากรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ อ�ำนาจทางการเมืองของ อาณาจักรกัมพูชาสมัยพระนครได้ลดลงเนื่องจากความวุ่นวายทางการ เมืองภายในเมืองพระนคร รวมทั้งถูกจามปายกทัพมาโจมตีและยึด ครองเมืองพระนครไว้ เมืองต่างๆ ในบริเวณลุ่มน�้ำเจ้าพระยาน่าจะ แยกตัวเป็นอิสระจากเมืองพระนครในช่วงหนึ่ง  ดั ง ที่ ป รากฏหลั ก ฐานในจารึ ก ดงแม่ น างเมื อ ง พ.ศ. ๑๗๑๐ พบที่นครสวรรค์๘ เป็นจารึกที่เขียนด้วยภาษาบาลีและเขมรโบราณ จารึกหลักนี้กล่าวถึงกษัตริย์พระนามว่า “กุรุงศรีธรรมาโศก” ซึ่ง หมายถึง “พระเจ้าศรีธรรมาโศก” และ “พระเจ้าสุนัต” กษัตริย์ ทั้ง ๒ พระองค์นี้ไม่ปรากฏพระนามในกษัตริย์กัมพูชาสมัยพระนคร นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับรัฐโบราณในเอกสารจีน


รศ. ดร. ศานติ  ภักดีค�ำ

11

ที่เรียกว่า “เจนลี่ฟู” ซึ่งน่าจะอยู่ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย กษัตริย์ของเจนลี่ฟูพระนามว่า “กัมรเตงอัญศรีมหิธรวรมัน” ได้ ส่งทูตไปยังราชส�ำนักจีนในปี พ.ศ. ๑๗๔๓ และส่งทูตชุดสุดท้ายไปใน ปี พ.ศ. ๑๗๔๘ แสดงว่าในเวลานั้นภาคกลางของไทยเป็นอิสระจาก การปกครองของกัมพูชา แต่จากพระนามของกษัตริย์แสดงให้เห็น ได้อย่างชัดเจนถึงวัฒนธรรมการปกครองของกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็น ต�ำแหน่ง “กัมรเตงอัญ” รวมทั้งพระนาม “มหิธรวรมัน” ต่อมาหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๗๒๔ ขับไล่จามปาออกจากเมืองพระนคร รวมทั้งปราบปราม ดินแดนต่างๆ ภายในกัมพูชา เช่น ปราบกบฏแคว้นมัลยัง  พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จากนั้นจึงรวบรวมเมืองต่างๆ ให้เข้ามา อยู่ในพระราชอ�ำนาจ เมืองต่างๆ เหล่านี้ปรากฏรายชื่ออยู่ในศิลาจารึก ปราสาทพระขรรค์ อย่างไรก็ดี เมืองเหล่านี้หลายแห่งยังไม่ทราบว่า หมายถึงเมืองไหนในปัจจุบัน ส่วนดินแดนที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองพระนครมาแต่เดิมนั้น นอกจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะทรงขยายดินแดนไปยึดครองอาณา จักรจามปาทางทิศตะวันออกได้แล้ว พระองค์ยังทรงขยายพระราช อ�ำนาจไปยังดินแดนอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะทางทิศเหนือและทางทิศ ตะวันตกของอาณาจักรกัมพูชา ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึก ปราสาทพระขรรค์ และปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่เป็นปราสาท หินและศิลาจารึกอื่นๆ โดยเฉพาะจารึ ก ปราสาทพระขรรค์   ซึ่ ง เป็ น จารึ ก ที่ พ บ ณ ปราสาทพระขรรค์ ในบริเวณเมืองพระนคร เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ จารึกปราสาทพระขรรค์มีขนาดใหญ่ สูง ๑ เมตร ๘๕ เซนติเมตร กว้าง ๕๘ เซนติเมตร มีการจารึกข้อความไว้ทั้ง ๔ ด้าน ด้ า นละ ๗๒ บรรทั ด  ข้ อ ความทั้ ง หมดในจารึ ก ปราสาทพระขรรค์ ประพันธ์ด้วยฉันท์ภาษาสันสกฤต เนื้อความในจารึกปราสาทพระขรรค์มีข้อความสรรเสริญพระ รัตนตรัย สรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ที่โปรดให้


12

ยุทธมรรคา

เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร

จารึกพระราชประวัติ รวมทั้งกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้าง เช่น นครชัยศรีและปฏิมากรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นต้น   อย่างไรก็ตาม ข้อความส�ำคัญของจารึกปราสาทพระขรรค์คือ ข้อความที่กล่าวถึงการสร้างพระชยพุทธมหานาถแล้วพระราชทานไปให้ เมืองต่างๆ ๒๓ แห่ง และในจ�ำนวนนี้มีนามของเมืองซึ่งศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในบริเวณภาคกลางของประเทศ ไทย คือ (๑๑๕) ศฺรีชยราชธานี ศรี- ชยสึหวตี จ ศฺรี- (๑๑๖) ลโวทยปุรํ สฺวรฺณ- ชยราชปุรี จ ศฺรี- (๑๑๗) ศฺรีชยวชฺรปุรี ศฺรี- ศรีชยราชคิริศฺ ศฺรี- (๑๑๘) ศฺรีชยวชฺรวตี ศฺรี ศฺรีชยเกฺษมปุรี ศรี- (๑๑๙) คฺรามศฺ ศฺรี ชยสึหาโทฺย คฺรามศฺ จ สมเรนฺทฺราโทฺย (๑๒๐) วิหาโรตฺตกศฺ จาปิ ตฺรโยวึศติเทเวษฺวฺ เอษฺวฺ (๑๒๑) ชยวุทฺธมหานาถํ ยโศธรตฏากสฺย

ชยนฺตนครี ตถา ชยวีรวตี ปุนะ ปุรํ ศมฺวูกปฏฺฏนมฺ ชยสึหปุรี ตถา ชยสฺตมฺภปุรี ปุนะ ชยวีรปุรี ตถา ชยกีรติปุรี ตถา วิชยาทิปุรี ปุนะ มธฺยมคฺรามกสฺ ตถา ยา ศฺรีชยปุรี ตถา ปูรฺวฺวาวาสฺส ตไถว จ เอไกกสฺมินฺน อติษฺ ฐิปตฺ ศฺรีมนฺตํ โส วนีปติะ ตีเร ยาคาะ ปุนฺร ทศ๙

ค�ำแปล บทที่ ๑๑๕ ศรีชยราชธานี ศรีชยันตนคร ชยสิงหวตี ศรีชย วีรวตี  บทที่ ๑๑๖ ลโวทยปุระ สุวรรณปุระ ศัมวูกปัฏฏนะ ชยราช ปุระ และศรีชยสิงหปุระ


รศ. ดร. ศานติ  ภักดีค�ำ

13

บทที่ ๑๑๗  ศรีชยวัชรปุระ ศรีชยสตัมภปุระ ศรีชยราชคิริ ศรีชยวีรปุระ บทที่ ๑๑๘  ศรีชยวัชรวตี ศรีชยกีรติปุระ ศรีชยเกษมปุระ ศรีวิชยาทิปุระ บทที่ ๑๑๙ ศรีชยสิงหคราม มัธยมครามกะ สมเรนทรคราม ศรีชยปุระ บทที่ ๑๒๐  วิหารอุตตรกะ ปูราวาส ในวิหารแต่ละแห่งทั้ง ๒๓ วิหารเหล่านี้ บทที่ ๑๒๑ พระราชาทรงสร้างพระชยพุทธมหานาถที่ท�ำให้ เกิดมีความสุขขึ้น เช่นเดียวกับพลับพลา ๑๐ หลังเพื่อเป็นของถวาย บนฝั่งยโศธรตฏากะ (บารายตะวันออก?)๑๐ จากข้อความในจารึกบทที่ ๑๑๖-๑๑๗ จะเห็นว่ามีชื่อเมืองที่ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าอยู่ในภาคกลาง  เมืองเหล่านี้ ได้แก่ ลโวทยปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ชยราชปุระ ศรีชย สิงหปุระ ศรีชยวัชรปุระ  นอกจากนี้ยังน่าสังเกตว่า เมืองเหล่านี้ขยาย ไปทางทิศตะวันตกของเมืองลโวทยปุระ (ลพบุรี) แม้ว่าในปัจจุบันจะมี นักวิชาการหลายท่านทั้งไทยและเทศที่มีความเห็นแตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อความในจารึก จะเห็นได้ว่า เจ้าชายวีรกุมารพระโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผู้แต่งจารึกหลักนี้ ได้กล่าวถึงต�ำแหน่งที่ตั้งของเมืองเหล่านี้ไว้อย่างเป็นระบบ  กล่าวคือ หากเริ่มที่ลโวทยปุระ หรือลพบุรี มาทางทิศตะวันตกจะมาถึงบริเวณ ที่มีโบราณสถานเนินทางพระในอ�ำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่ง พบร่องรอยหลักฐานที่ร่วมสมัยศิลปะบายน  จากโบราณสถานเนินทางพระลงมาทางใต้จะผ่านสุพรรณบุรี (เมื อ งสมั ย อยุ ธ ยา) ลงมาที่ โ บราณสถานจอมปราสาทและสระโกสิ นารายณ์ ในอ�ำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จะพบสระน�้ำโบราณขนาด ใหญ่ (บาราย?) รวมทั้งโบราณสถานจอมปราสาทซึ่งพบศิลปะแบบ บายน จากโบราณสถานจอมปราสาทและสระโกสินารายณ์มุ่งไปทาง


14

ยุทธมรรคา

เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร

เมืองลโวทยปุระ ในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์นั้น สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึง เมืองลพบุรี เพราะพบปรางค์สามยอด ที่เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นศิลปะแบบเขมรบายน


รศ. ดร. ศานติ  ภักดีค�ำ

15

ตะวันตก จะสามารถไปตามล�ำน�ำ้ แควจนถึงโบราณสถานปราสาทเมือง สิงห์ อ�ำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีร่องรอยเมืองโบราณ ใน วัฒนธรรมเขมรโบราณศิลปะแบบบายนขนาดใหญ่  จากโบราณสถานจอมปราสาทและสระโกสินารายณ์ หากลงไป ทางใต้จะไปถึงเมืองราชบุรี ซึ่งพบโบราณสถานร่วมสมัยศิลปะแบบ บายนที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชบุรี จังหวัดราชบุรี  และเมื่อลงไป ทางใต้จะไปถึงโบราณสถานวัดก�ำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งพบ หลักฐานเกี่ยวกับศิลปะแบบบายน นอกจากนี้หลักฐานส�ำคัญสิ่งหนึ่งที่พบคือ ประติมากรรมพระ โพธิ สั ต ว์ อ วโลกิ เ ตศวร ซึ่ ง พบที่ โ บราณสถานเนิ น ทางพระ จั ง หวั ด สุพรรณบุรี โบราณสถานจอมปราสาท จังหวัดราชบุรี โบราณสถาน ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และโบราณสถานวัดก�ำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งต่างสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมสมัยกันระหว่าง โบราณสถานเหล่านี้อีกด้วย ดังนั้น หากพิจารณาจากต�ำแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานแต่ละ แห่งที่พบ ประกอบกับหลักฐานในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ จึงอาจ สันนิษฐานได้ว่า ลโวทยปุระ น่าจะหมายถึง ลพบุรี สอดคล้องกับหลักฐาน ทางโบราณคดีที่พบว่ามีการสร้างพระปรางค์สามยอดในเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นศิลปะเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สุวรรณปุระ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองโบราณในจังหวัด สุพรรณบุรี ดังปรากฏร่องรอยหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุ ศิลปะแบบบายนที่โบราณสถานเนินทางพระ อ� ำเภอสามชุก จังหวัด สุพรรณบุร๑๑ ี ศัมพูกปัฏฏนะ เดิมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่า ปรากฏชื่อ ศามพูกะ ในจารึกที่พระพุทธรูปสมัยทวารวดีซึ่งพบที่เมือง ลพบุรี เมืองนี้จึงน่าจะอยู่ในบริเวณลุ่มแม่นำ�้ เจ้าพระยา  แต่จากหลัก ฐานทางโบราณคดีที่พบสันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึง โบราณสถาน จอมปราสาทและโบราณสถานสระโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.