สงครามเย็นในแดนโสม

Page 1


สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น



สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น

อนุช อาภาภิรม

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2558


สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น • อนุช อาภาภิรม พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มกราคม 2558 ราคา  200  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม อนุช อาภาภิรม. สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น.  กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. 272 หน้า.--(การเมือง). 1. ประชาธิปไตย 2. ไทย--การเมืองและการปกครอง  I. ชื่อเรื่อง 951.9042  ISBN  978 - 974 - 02 - 1372 - 7

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี บรรณาธิการเล่ม : สอง แสงรัสมี  • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ กราฟิกเลย์เอาต์  : อัสรี เสณีวรวงศ์  • ศิลปกรรม : สิริพงษ์ กิจวัตร ประชาสัมพันธ์  : สุชาดา ฝ่ายสิงห์

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235 โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  11120  โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596 โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำนิยม ค�ำน�ำผู้เขียน

1. ความตึงเครียดครั้งใหม่ในคาบสมุทรเกาหลี คาบสมุทรเกาหลี ประเทศเกาหลี : ลักษณะร่วมกันของสองเกาหลี 2. เกาหลีในยุคต่างๆ และแรงขับเคลื่อน ทางประวัติศาสตร์ของชาติ เกาหลีในยุคสมัยต่างๆ พลังขับเคลื่อนประวัติศาสตร์เกาหลี 3. วัฒนธรรมสงคราม เหตุใดมนุษย์จึงท�ำสงครามกัน? ประเทศที่ถูกกระหนาบ ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่น 3 ฝ่าย 4. พุทธศาสนาและลัทธิขงจื๊อในเกาหลียุคต้น อาณาจักรโครยอและบทบาทของพุทธศาสนา

10 12 14 19 21 24 29 30 34 39 39 43 44 47 48


อาณาจักรโชซอนและลัทธิขงจื๊อใหม่ 5. อิทธิพลลัทธิขงจื๊อใหม่ต่อการจัดระเบียบสังคมยุคโชซอน ลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucianism) ห้าความสัมพันธ์และความกตัญญู ระบบชนชั้นในอาณาจักรโชซอน บางข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบชนชั้น ความคงทนของลัทธิขงจื๊อ 6. ศตวรรษแห่งการลุกขึ้นสู้ของชนชั้นล่าง บทบาทและหน้าที่ของทาส ลักษณะเฉพาะบางประการของระบบทาสในเกาหลี ความเป็นมาและทาสประเภทต่างๆ ในเกาหลี ความเจริญและความเสื่อมของระบบทาสในเกาหลี นโยบายของรัฐบาลโชซอนแบ่งได้เป็น 2 ด้าน ศตวรรษแห่งการลุกขึ้นสู้ของชนชั้นล่าง 7. ศาสนาคริสต์กับการปะทะทางอารยธรรมที่นี่ จักรวรรดินิยมตะวันตก การแผ่อ�ำนาจในเอเชียตะวันออก การปะทะทางอารยธรรมที่เกาหลี 8. ญี่ปุ่นผู้เปิดประตูเกาหลีสู่โลกเสรี ญี่ปุ่นเมื่อครั้งเปิดประเทศ การรุ่งขึ้นด้วยสงครามของญี่ปุ่น การปฏิรูป จักรวรรดิเกาหลีและราชินีมิน 9. การปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียและเกาหลี ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น เรื่องของจักรวรรดิรัสเซีย ลัทธิมาร์กซ์และการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียกับเกาหลี เกาหลีภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น-ผลกระทบ 10. การแบ่งแยกเกาหลีอย่างถาวรเป็นสิ่งเลี่ยงไม่พ้น

50 55 55 56 58 59 61 63 64 65 65 66 66 68 71 72 74 76 79 79 82 84 89 89 90 92 97


ขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชประชาธิปไตยของเกาหลี สงครามโลกครั้งที่ 2 การแบ่งประเทศเกาหลี 11. สงครามเกาหลี : สงครามร้อนในสงครามเย็น สงครามเย็นและการปฏิวัติเดือนตุลาคม สงครามเย็น-บางด้านของการต่อสู้ สงครามเกาหลีเป็นสงครามอะไร ใครเป็นผู้ก่อ 12. จีนในสงครามเกาหลี ประธานเหมาและความฝันของชาวจีน ประธานเหมากับสงครามเกาหลี แมกอาเธอร์และการปักหลักแปซิฟิก 13. สงครามเกาหลี : หลุมด�ำทางประวัติศาสตร์ บางบริบทของสงครามเกาหลี บางเหตุการณ์ส�ำคัญในสงครามเกาหลี 14. รู้จักเกาหลีเหนือ ผู้น�ำที่ยิ่งใหญ่กับลัทธิจูเช่ รู้จัก คิมอิลซอง สังเขปประวัติ คิมอิลซอง ลัทธิจูเช่ (Juche Ideology) 15. เข้าใจเกาหลีเหนือต้องเข้าถึง “ลัทธิจูเช่” แหล่งที่มาของลัทธิจูเช่ ลัทธิจูเช่ในด้านต่างๆ ลัทธิจูเช่-ความส�ำเร็จและทางตัน 16. ความอัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ อเมริกันในเกาหลีใต้ : เผด็จการไว้ก่อน ลีซึงมัน : ทศวรรษแห่งการหลงทาง ปาร์คจองฮี : ทุนนิยมแบบชี้น�ำ ชอนดูฮวาน : ความเจริญบนกองเลือด 17. การรวมศูนย์ทุนในระบบแชบอล

98 100 102 105 105 108 109 113 114 117 118 121 122 126 129 129 132 134 137 138 140 141 145 146 148 149 151 155


คาร์เทลในเยอรมนี และไซบัตสึในญี่ปุ่น สังเขปพัฒนาการของกลุ่มไซบัตสึของญี่ปุ่น แชบอล (Chaebol) ในเกาหลีใต้ ความไพบูลย์ของแชบอลในเกาหลี 18. หนทางอันคดเคี้ยวของกลุ่มแชบอล แชบอลกับวิกฤตเศรษฐกิจ 1997 แชบอลหลังวิกฤต 19. แชบอล : ความภูมิใจและขุ่นเคืองของชาวเกาหลี ความซับซ้อนของแชบอล จุดแข็งจุดอ่อนและแนวทางแก้ไข แชบอล : ความภูมิใจและความขุ่นเคืองใจของชาวเกาหลี ความขัดแย้งทางสังคมในเกาหลีใต้ ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจกับแชบอล 20. เปรียบเทียบสองเกาหลี : ภูมิศาสตร์ ประชากร เศรษฐกิจ-การเมือง การเปรียบเทียบด้านภูมิศาสตร์ การเปรียบเทียบด้านประชากร การเปรียบเทียบทางด้านเศรษฐกิจ-การเมือง 21. เปรียบเทียบสองเกาหลี : การทหาร และสังคมวัฒนธรรม เปรียบเทียบทางด้านการทหาร การเปรียบเทียบทางด้านสังคมและวัฒนธรรม 22. นโยบายอาทิตย์ฉายแสงและข้อตกลงสันติภาพ ปัญหาเกาหลีเหนือกับวิกฤตเกาหลี นโยบายอาทิตย์ฉายแสงและข้อตกลงสันติภาพ 23. สงครามเย็นใหม่กับวิกฤตเกาหลี สงครามเย็นใหม่กับวิกฤตเกาหลี วิกฤตเศรษฐกิจใหญ่ปี 2008-2009 กับวิกฤตเกาหลี วิกฤตเกาหลี ปี 2013 เป็นอย่างไร

156 158 159 160 163 164 167 171 171 172 174 175 176 179 180 181 183 187 187 190 195 196 199 203 203 206 208


24. การสยายปีกของจีนในเอเชียและทั่วโลก จีน-ยักษ์ตื่นแห่งเอเชีย การสยายปีกของจีน จีนกับคาบสมุทรเกาหลี ลัทธิสีจิ้นผิง 25. สถานการณ์และแนวโน้มของคาบสมุทรเกาหลี จีน-แรงขับเคลื่อนใหญ่ เกาหลีเหนือ-เดินทางแคบสู่การปฏิรูป เกาหลีใต้-การทูตขายของ สหรัฐ-ยักษ์อ่อนล้าของโลก คาบสมุทรเกาหลีของทุกฝ่าย

211 211 212 214 216 219 219 221 223 224 225

226 247 270

บทลงท้าย : ชีวิตในเกาหลีเหนือ ภาคผนวก ประวัติผู้เขียน


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

เมื่อพูดถึง “เกาหลี” หลายคนจะนึกภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ “เกาหลีเหนือ” และ “เกาหลีใต้” เรารับรู้ข้อมูลข่าวสารคร่าวๆ ของทั้ง 2  ประเทศทีเ่ ป็นภาพกว้างให้เรา “รูจ้ กั ” เกาหลี  แต่นอ้ ยคนนักทีจ่ ะ “รูจ้ ริง” ว่า  แท้จริงแล้วนัน้ เกาหลีมเี บือ้ งหลังทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ  หรือแม้แต่วิถีชีวิตเช่นไร จึงนับเป็นโอกาสดีที่หนังสือ “สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยัง ไม่สนิ้ ” ได้รบั การตีพมิ พ์  เพราะถ้าจะกล่าวโดยตรง หนังสือเล่มนีไ้ ด้รวบรวม  เรื่องราวของเกาหลีไว้อย่างครบถ้วนและมีหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ  โดยเล่าตั้งแต่การเกิดขึ้นของประวัติศาสตร์ชาติเกาหลี   ภูมิศาสตร์  รกรากและถิ่นฐาน ตลอดจนการคิดตัวอักษรเกาหลีออกมาในปี  1446 ที่  มีส่วนท�ำให้เกาหลีเป็นนักอ่านติดอันดับโลกในปัจจุบัน การขับเคลื่อน  พลังประวัติศาสตร์เกาหลีที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งถือว่า เป็นจุดที่พลิก  โฉมประวัติศาสตร์เกาหลีเลยทีเดียว  นั่นคือ ความขัดแย้งภายนอกที่เกิด  จากการกระหนาบของจีนและญี่ปุ่น และความขัดแย้งภายในที่เกิดจาก  การที่กษัตริย์และขุนนางขัดแย้งชิงอ�ำนาจกันเอง 10 อนุช  อาภาภิรม


ความขัดแย้งเหล่านีย้ ดื เยือ้ และพัวพัน ประกอบกับชาติมหาอ�ำนาจ  หรือเปรียบได้กับ “เสือ” ใหญ่ทั้ง 2 ฝ่าย นั่นคือ สหรัฐ-ญี่ปุ่น (ฝ่ายหนึ่ง)  และ จีน-รัสเซีย (อีกฝ่ายหนึง่ ) เข้ามามีบทบาทท�ำให้เกิด “สงครามตัวแทน”  ที่นับวันก็ยิ่งลุกลามและทวีความลึกในรอยร้าวของความขัดแย้งมากขึ้น  จนเกิดเส้นขนานที่  38 สิ่งที่น่าคิดต่อมา คือ แล้วในอนาคตสองเกาหลีจะมีชะตากรรมเช่น ไร อาจเป็นค�ำถามที่หลายคนต้องการค�ำตอบ เพราะท้ายที่สุดแล้ว จุดจบ  ของสงครามย่อมด�ำรงซึง่  “ความสูญเสีย” ไม่มากก็นอ้ ย ไม่วา่ จะเป็นความ  สูญเสียทางกายภาพ เช่น ก�ำลังทหาร คน ฯลฯ หรือแม้แต่ความสูญเสีย  ที่ตีประเมินค่าได้ยากอย่างเช่น จิตใจหรือความรู้สึกถึงความมั่นคงของผู้  คนทั้ง 2 เกาหลี หนังสือเล่มนี้จึงให้เราได้เรียนรู้  และ “รับรู้” เกาหลีในหลายด้าน  หลายมิติ  ประกอบกับความรู้และความรอบด้านของ อนุช อาภาภิรม นัก  เขียนระดับอาจารย์  ที่รวมบทวิเคราะห์นี้จากคอลัมน์  “วิกฤตศตวรรษที ่ 21” ใน “มติชนสุดสัปดาห์” ยิ่งขับเน้นให้หนังสือเล่มนี้มีมิติการมอง-การ  วิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้งขึ้นอีกด้วย  เพราะภายใต้เสื้อคลุมของอุดมการณ์  มีผลประโยชน์แห่งชาติที่  แข็งแกร่งด�ำรงอยู่  วิกฤตแห่งสงครามเย็นนี้จึงดูจะยืดเยื้อและพัวพันภาย  ใต้ความหวังและความสูญเสียนานัปการ ส�ำนักพิมพ์มติชน

สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น 11


ค�ำนิยม

ข้าพเจ้ารู้สึกยินดี  ทุกครั้งเมื่อทราบว่าจะมีการตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับ ประเทศเกาหลี  ไม่วา่ จะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์  เศรษฐกิจ  การเมือง การศึกษาหรือวิถีชีวิตของชนชาวเกาหลี  ด้วยเพราะคนไทยส่วน  ใหญ่รู้จักประเทศหรือชาวเกาหลี  เพียงในฐานะต้นธารกระแสเค-ป๊อป (K-  Pop) หรือผ่านทางเพลงหรือซีรีส์ละครเกาหลี  เหตุผลหลักประการหนึ่ง  เป็นเพราะผลงานเหล่านั้นจ�ำต้องใช้การค้นคว้าวิจัยยาวนาน ทั้งต้องอาศัย  ประสบการณ์ของผู้เขียนในการถ่ายทอด ผิดจากงานแปลหรืองานบันเทิง  คดี  ซึ่งผลิตขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว่าหลายเท่า ครั้งนี้  ข้าพเจ้ายิ่งรู้สึกยินดีมากเป็นพิเศษ หนังสือ “สงครามเย็นใน  แดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น” ของอาจารย์อนุช อาภาภิรม เล่มนี้  นับว่าเป็น  ผลงานอันทรงคุณค่ายิง่  นอกจากให้ความรูค้ วามเข้าใจในเชิงสหวิทยาการ  ผู้อ่านรวมถึงข้าพเจ้า สามารถสัมผัสได้ถึงภาษาอันเรียบง่ายแต่ชัดเจน  กระชับแต่ครบความ ฉายภาพให้เห็นอย่างสมบูรณ์  ครบถ้วนทัง้ ด้านสังคม  วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์  เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา หรือกระทั่งด้าน  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  บทความแบ่งเป็นตอนสั้นๆ ท่วงท�ำนองเล่าเรื่อง อ่าน  12 อนุช  อาภาภิรม


ได้เพลิดเพลิน แต่แฝงด้วยบทวิเคราะห์เชิงวิชาการอันแยบยล   ผลงานเล่มนี้จึงเหมาะแก่การเสริมความรู้ความเข้าใจ ไม่เพียงแต่  ประเทศเกาหลี  ที่ซึ่งก�ำลังทวีบทบาทส�ำคัญฐานะหนึ่งในประเทศอาเซียน  +3 ร่วมกับประเทศจีน และญีป่ นุ่  แต่ยงั รวมถึงอุดมด้วยบริบทความสัมพันธ์  กับประเทศมหาอ�ำนาจ เช่น อเมริกา รัสเซีย และประชาคมโลกอีกทาง  หนึ่งด้วย ไพบูลย์ ปีตะเสน สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น 13


ค�ำน�ำผู้เขียน

หนังสือทีใ่ ช้ชอื่ ว่า “สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตทีย่ งั ไม่สนิ้ ” เล่มนี ้   เป็ น ความพยายามที่ จ ะเข้ า ใจประเทศเกาหลี ทั้ ง เหนื อ และใต้   อั น เป็ น  จุดเดือดใหญ่แห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออก ตั้งแต่สงครามเกาหลีปี  1950  จนถึงปัจจุบันที่ยังคุกรุ่นอยู่  ทั้งๆ ที่คาบสมุทรเกาหลีก็เป็นพื้นที่อับ ไม่ได้  มีทรัพยากรธรรมชาติอุดม แต่ก็มีความส�ำคัญทางยุทธศาสตร์  ที่น�ำชาติ  มหาอ�ำนาจอีก 4 ประเทศ ได้แก่  สหรัฐและญีป่ นุ่  ฝ่ายหนึง่  และจีน-รัสเซีย  อีกฝ่ายหนึ่ง มาเผชิญหน้ากัน และทั้ง 2 ฝ่ายต่างเป็นมหาอ�ำนาจทาง  อาวุธนิวเคลียร์  นอกจากนี้  เกาหลีเหนือยังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองขึ้นมา  เหตุการณ์ร้อนระอุบนคาบสมุทรเกาหลีที่ปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาพ  ต่อส�ำคัญของความสัมพันธ์ของมหาอ�ำนาจโลก ที่จนบัดนี้ดูไม่เปลี่ยนไป  จากสภาพสงครามเย็นเดิมเท่าใดนัก  (เริ่มปี  1947) นั่นคือ ยังคงมีความ  ขัดแย้งที่เข้มข้นระหว่างสหรัฐ-นาโต้ฝ่ายหนึ่งและแกนจีน-รัสเซียอีกฝ่าย  หนึ่ง และสามารถท�ำให้คาบสมุทรนี้กลายเป็นสมรภูมิเกิดสงครามตัวแทน  ระหว่างมหาอ�ำนาจของโลกได้ 14 อนุช  อาภาภิรม


เกาหลีเป็นประเทศเล็กถูกขนาบด้วยประเทศใหญ่  ท�ำหน้าที่คล้าย  รัฐกันชน ถูกบดบังด้วยอิทธิพลของจีนและญี่ปุ่นมาแต่โบราณ  จนกระทั่ง  ญี่ปุ่นผนวกดินแดนเกาหลีในปี  1910 หลังสงครามโลกครั้งที่  1 สหภาพ  โซเวียตส่งลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนินและสตาลินเข้ามาในจีนและเกาหลี  เมื่อ  ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประเทศเกาหลีที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทาง  เชื้อชาติและวัฒนธรรม แตกออกเป็น 2 ประเทศ ตามการแบ่งปันระหว่าง  สหรัฐกับสหภาพโซเวียต สงครามเกาหลียิ่งตอกย�้ำการอยู่คนละขั้ว  แต่  ทั้งสองเกาหลี  ยังคงแสวงหาทางรวมชาติกันอีกครั้ง ตราบเท่าที่การรวม  ชาติไม่ส�ำเร็จ คาบสมุทรเกาหลียอ่ มไม่สงบและสงครามเย็นยังไม่มอดสนิท เกาหลี เหนื อ มี การปกครองแบบลั ท ธิ ส ตาลิ น ที่ มี ลั ก ษณะเฉพาะ  ของตน คือ ลัทธิจูเช่  ส่วนเกาหลีใต้  ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐ  ผสมลัทธิแชบอล ต่างฝ่ายผ่านขั้นการพัฒนาของตน เกาหลีเหนือจาก  เข้มแข็งสู่ความโดดเดี่ยว ส่วนเกาหลีใต้จากชาติยากจนสู่มหาอ�ำนาจทาง  เศรษฐกิ จ ในภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออก เกาหลี เ หนื อ ก�ำลั ง ปฏิ รู ป ตนเอง  อย่างช้าๆ ตามแนวทางจีนเป็นละครการเมืองโลกที่ดูไม่จืด หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความที่พิมพ์เผยแพร่เป็นตอนๆ ใน  “มติชนสุดสัปดาห์”  ขอขอบคุณ วิรัสมัย อาภาภิรม ผู้ภรรยา ที่ได้ท�ำงาน  บรรณาธิการให้เหมาะส�ำหรับการตีพิมพ์ในรูปเล่มหนังสือ และเพิ่มล�ำดับ  เหตุ ก ารณ์ ท างประวั ติ ศ าสตร์ ข องเกาหลี ใ นภาคผนวก  ขอบคุ ณ กอง  บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์มติชนที่เอาเป็นธุระ และมอบหมายให้คุณสอง  แสงรัสมี  ท�ำหน้าที่เป็นบรรณาธิการเล่ม และที่ส�ำคัญ ขอขอบคุณ ดร.  ไพบูลย์  ปีตะเสน ที่ช่วยเขียนค�ำนิยมให้  รวมทั้งการปรับแก้การสะกดชื่อ  ต่างๆ ให้คล้ายส�ำเนียงเกาหลียิ่งขึ้น อันเป็นงานที่ละเอียดและใช้เวลา อนึ่ง ในการรวมเล่มที่ได้เพิ่มภาคผนวก แสดงล�ำดับเหตุการณ์ทาง  ประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีกับทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเกาหลี  ทั้งเหนือและใต้นั้น หวังว่าจะช่วยท�ำให้เข้าใจประเทศทั้งสองได้ดีขึ้น อนุช อาภาภิรม สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น 15


NORTH KOREA Demilitarized Zone (DMZ)

2nd Tunnel

38th Parallel 1st Tunnel 3rd Tunnel


Military Demarcation Line

4th Tunnel

สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น

SOUTH KOREA


ความน่ากลัวของวิกฤตนี้อยู่ที่ว่ามันไม่ใช่ สงครามตัวแทนธรรมดาระหว่างเกาหลีใต้กับ เกาหลีเหนือ แต่อาจผันแปรไปเป็นการเผชิญ หน้าโดยตรงระหว่างสหรัฐกับจีนได้


1 ความตึงเครียดครั้งใหม่ ในคาบสมุทรเกาหลี

สถานการณ์ที่คาบสมุทรเกาหลีเกิดความตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้งนับ ตัง้ แต่เดือนมีนาคม ปี  2013 โดยมีรปู แบบไม่ตา่ งจากเดิมนัก  เกาหลีเหนือ  รู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามและปิดล้อมจากกลุ่มแกนสหรัฐ-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น  จึงได้พยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อป้องกันตนเองขึ้น และฝ่ายสหรัฐ  ได้ทวีแรงกดดันมากขึ้นโดยการคว�่ำบาตร (Sanction) ทางเศรษฐกิจ การ  ซ้อมรบต่อเนื่อง ที่ส�ำคัญได้น�ำเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-52 และเครื่องบินล่อง  หนบี-2 ที่สามารถทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ได้  เข้าร่วมซ้อมรบ ความตึงเครียด  ทวีหนัก ทว่าวิกฤตครั้งนี้ต่างกับครั้งก่อน โดยที่มีการกล่าวย�้ำถึงสงคราม  นิวเคลียร์  การโจมตีก่อนทางนิวเคลียร์  และระบุเป้าหมายเป็นเมืองใหญ่  อย่างเช่น กรุงโซลและโตเกียว นับได้ว่าเป็นประเด็นใหม่ที่อาจก่ออันตราย  ได้ร้ายแรงยิ่ง มีความเข้าใจโดยทั่วไปว่าสงครามเย็นเป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์  ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม และถือกันว่าสิ้นสุดลงในปี  1991 พร้อม  กับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งก็มีหลักฐานรองรับมากมาย แต่  เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้รับรู้ว่าภายใต้เสื้อคลุมบางๆ ของอุดม  สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น 19


การณ์  มีผลประโยชน์แห่งชาติที่แข็งแกร่งด�ำรงอยู่  และยังคงต่อสู้ขับเคี่ยว  กันต่อไป แม้ว่าความขัดแย้งทางอุดมการณ์จะจบสิ้นแล้ว  วิกฤตเกาหลีครั้งนี้สะท้อนความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ หลายชาติด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่  (ก) สหรัฐ-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น ที่มีความได้เปรียบทั้งทางเศรษฐกิจ  และการทหาร ตลอดจนเสียงจากประชาคมโลก เป็นฝ่ายรุก โดยน่าจะมี  เป้าหมายใหญ่อยู่ที่การล้มระบอบคิมจองอุน  (ข) จีน-เกาหลีเหนือ-รัสเซีย ซึ่งกล่าวได้ว่าอยู่ในฐานะฝ่ายรับ  โดยเฉพาะเกาหลีเหนือซึง่ เป็นมากกว่าใคร ขณะทีจ่ นี สงบนิง่   อย่างไรก็ตาม  ฝ่ายหลังนี้ดูจะมีไพ่ส�ำหรับเล่นที่หลากหลาย วิกฤตเกาหลีครั้งนี้กล่าวได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ  ตลาดเก่าที่มีสหรัฐ-นาโต้เป็นแกน ที่ยังคงเป็นหลักในการรักษาระเบียบ  โลก กับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีจีน-รัสเซียเป็นแกน ถึงที่สุดแล้ว  เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีน โดยเฉพาะหลังจากโอบามาประกาศ  นโยบาย “ปักหลักเอเชีย”  ขณะขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐครั้ง  ที่  2  การมีข่าวในช่วงต้น ปี  2013 ออกมาว่า คิมจองอุน ผู้น�ำเกาหลี  เหนือคนปัจจุบัน ออกโรงเซ็นค�ำสั่งเตรียมพร้อมโจมตีสหรัฐด้วยอาวุธนิว  เคลียร์ก่อน โดยมีเป้าหมาย ได้แก่  ฮาวาย, ลอสแอนเจลิส, กรุงวอชิงตัน  และเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ดูเป็นเรื่องข�ำขัน กระทั่งมีกระแสความเห็น  ว่า เขาอาจจะสติไม่ดีไปเสียแล้ว แต่ก็มีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านความ  สัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการด้านเอเชีย-แปซิฟิก ได้กล่าวเตือนว่า  คิมจองอุน ไม่ได้สติฟั่นเฟือน และเสนอให้สหรัฐควรต้องมีความเยือก  เย็น อย่าเต้นไปตามเพลงของเกาหลีเหนือ และกดดันให้เกาหลีเหนือเปลีย่ น  นโยบายจากการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ (ดู บทความของศาสตราจารย์  Stephan Haggard ชื่อ Kim Jong Un is not crazy ใน cnn.com 020413) 20 อนุช  อาภาภิรม


ความน่ากลัวของวิกฤตนี้อยู่ที่ว่ามันไม่ใช่สงครามตัวแทนธรรมดา  ระหว่างเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แต่อาจผันแปรไปเป็นการเผชิญหน้า  โดยตรงระหว่างสหรัฐกับจีนได้  เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในสงครามเกาหลี  ครั้งหนึ่ง และวิกฤตครั้งนี้มีความซับซ้อน เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์อื่น มี  การวิเคราะห์กันไปต่างๆ ตามกลุ่มฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้เสีย  ดังนั้น เราจึงน่าจะเริ่มต้นที่ประวัติศาสตร์ประเทศเกาหลี  โดยเน้น  ประเด็นทางด้านความขัดแย้งและการสู้รบภายในของเกาหลี  และความ  สัมพันธ์ระหว่างเกาหลีกับประเทศต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการประชุม  6 ฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ1 ได้แก่  จีน, สหรัฐ,  เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, รัสเซีย และจีน ซึง่ เริม่ มาตัง้ แต่ป ี 2003 เป็นต้นมา คาบสมุทรเกาหลี ที่ ตั้ ง และสภาพภู มิ ศ าสตร์ ข องคาบสมุ ท รเกาหลี มี ที่ น ่ า สนใจดั ง  ต่อไปนี้คือ  (1) คาบสมุทรเกาหลีตงั้ อยูท่ างตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย  อยู่ระหว่างทะเลเหลืองทางด้านตะวันตกที่ติดกับแผ่นดินใหญ่ของจีน และ  ทะเลตะวันออกหรือทะเลญี่ปุ่น เป็นช่องแคบเกาหลี  ห่างจากญี่ปุ่นราว  200 กิโลเมตร ทางตอนเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศจีนและรัสเซีย (2) พบหลักฐานว่ามีผู้ตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรเกาหลี ตั้งแต่สมัยหิน เครื่องปั้นดินเผาบางแบบพบทั้งในเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่ง  แสดงว่ามีการติดต่อระหว่างกัน ในประวัติศาสตร์หลายพันปี  คาบสมุทรนี ้ เป็นเหมือนสะพานเชือ่ มระหว่างแผ่นดินใหญ่กบั เกาะญีป่ นุ่  โดยการอพยพ  จากแผ่นดินใหญ่มายังญี่ปุ่นก็ผ่านทางคาบสมุทรเกาหลี  ซึ่งกระท�ำกัน  หลายระลอก หรือการถ่ายเททางวัฒนธรรมจากจีนสู่ญี่ปุ่นก็กระท�ำผ่าน  คาบสมุทรนี้  เช่น เรื่องพุทธศาสนาและการปลูกข้าว หรือเมื่ออาณาจักร  การประชุม 6 ฝ่าย เพือ่ แก้ปญ ั หาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ (เพิม่ รายละเอียด พอสังเขป ดูจากวิกิพีเดีย) 1

สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น 21


บนแผ่นดินใหญ่ต้องการโจมตียึดครองญี่ปุ่น ดังเช่นสมัยกุบไลข่าน2 ก็ ต้องยึดคาบสมุทรเกาหลีเป็นฐาน และเมื่อญี่ปุ่นต้องการเข้าครอบครอง  แผ่นดินใหญ่ก็ต้องยึดครองเกาหลีไว้เป็นฐาน ดังที่ได้ผนวกดินแดนเกาหลี  ไว้ระหว่างปี  1910 ถึง 19453 (3) คาบสมุทรเกาหลีมีขนาดไม่ใหญ่และค่อนข้างอยู่ห่างไกล จากจีนที่เป็นอาณาจักรใหญ่  มีพื้นที่ราว 2.2 แสนตารางกิโลเมตร (ไม่  ถึงครึ่งหนึ่งของคาบสมุทรบอลข่าน) การมีพื้นที่เล็กย่อมเป็นการจ�ำกัด  ขนาดประชากรไปในตัว เป็นการยากที่เกาหลีจะต่อกรกับประเทศใหญ่ 2  ข้างทัง้ จีนและญีป่ นุ่  และเนือ่ งจากอยูห่ า่ งไกล จึงมีผอู้ พยพจากความวุน่ วาย  ในจีนมาตั้งรกรากที่นี่ด้วย  อย่างไรก็ตาม พบว่าในคาบสมุทรนี้มีจ�ำนวน  ผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานต่อขนาดพื้นที่อย่างหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดย  ในปี  2013  เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือมีประชากรทั้งหมดรวมกันถึง 72  ล้ า นคน  มากกว่ า ประชากรในไทยซึ่ ง มี พื้ น ที่ ร วมทั้ ง ประเทศประมาณ  513,115 ตารางกิโลเมตร4 (เกาหลีเหนือมีพื้นที่  1.2 แสนตารางกิโลเมตร  ประชากร 24 ล้านคน ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นที่เกือบ 1 แสนตารางกิ โ ล  เมตร ประชากรราว 48 ล้านคน5) (4) พื้นที่ส่วนใหญ่ราวร้อยละ 70 เป็นภูเขา มีที่ราบที่เหมาะ  แก่การตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวัน  ตก นอกนั้นมีที่ราบตามหุบเขาต่างๆ  การมีพื้นที่ราบไม่กว้างใหญ่  ท�ำให้ กุบไลข่าน (ปี 1215-1294) ต้นราชวงศ์หยวนของจีน ซึ่งเขาสถาปนาขึ้นเมื่อปี 1271 กุบไลข่านบุกยึดอาณาจักรโครยอหรือเกาหลี เมื่อปี 1260 และสร้างฐาน ที่มั่นทางทหารขึ้นที่นี่ เพื่อบุกยึดครองญี่ปุ่น รวมถึงพม่าและเวียดนาม 3 การผนวกดินแดนเกาหลีของญี่ปุ่นในช่วงปี 1910 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยว กับเรื่องนี้ในบทที่ 8 ) 4 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 65.4 ล้านคน มีรายได้ต่อหัว (จีดีพี-อ�ำนาจซื้อ) ประมาณ 10,849 ดอลลาร์สหรัฐ (สถิติปี 2555) 5 เกาหลีเหนือและใต้มีจีดีพี-อ�ำนาจซื้อต่อหัว ประมาณ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ และ 19,100 ดอลลาร์สหรัฐตามล�ำดับ 2

22 อนุช  อาภาภิรม


ผู้คนตั้งถิ่นฐานแบบกระจุกตัว เกิดการสร้างเมืองขึ้นโดยมีก�ำแพงป้องกัน  ได้ค่อนข้างเร็วตั้งแต่กว่า 2,000 ปีมาแล้ว ในอีกด้านหนึ่งเนื่องจากมีพื้นที่  แคบจึงได้มีการรบพุ่ง แย่งชิงที่ดิน ทรัพย์สินและความเป็นใหญ่ระหว่าง  เมืองใหญ่น้อยเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา  นอกจากนี้  พื้นที่ราบในหุบเขาก็ได้  แยกวิถีการด�ำเนินชีวิตให้ต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์  ก่อให้เกิดความ  แตกต่างทางวัฒนธรรม ประเพณีความเชื่อ การแต่งกาย ค�ำศัพท์ภาษา  ส่งผลให้เกิดเป็นชนเผ่าต่างๆ ขึ้นจ�ำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะมีความใกล้ชิด  ทางเชื้อชาติกันก็ตาม (5) แม่น�้ำยาลู  (ภาษาเกาหลีใช้ว่าแม่น�้ำอัมรกหรืออัมนก ยาว 795 กิโลเมตร) กับแม่น�้ำตูเมน ภาษามองโกล หมายถึงแม่น�้ำใหญ่ (ยาว 521 กิโลเมตร) เป็นแม่นำ�้ ทีก่ นั้ พรมแดนระหว่างประเทศเกาหลี เหนือกับจีน และรัสเซียในปัจจุบัน (พรมแดนติดต่อกับรัสเซียยาวเพียง  17 กิโลเมตร) ถือว่าเป็นเส้นแบ่งทางธรรมชาติของคาบสมุทรเกาหลี  นั่น  คือใต้แม่น�้ำยาลูลงมาเป็นคาบสมุทรเกาหลี  เหนือขึ้นไปเป็นแผ่นดินใหญ่  แต่ในการอพยพและตั้งอาณาจักรจริงไม่ได้ค�ำนึงถึงความหมายทางภูม ิ ศาสตร์นี้  เช่น ในบางช่วงของอาณาจักรเกาหลีมีอาณาเขตเลยไปจนถึง  แมนจูเรีย  อนึ่ง แม่น�้ำยาลูนี้เป็นสมรภูมิหลายครั้ง ได้แก่  ในช่วงของสงคราม  จีน-ญี่ปุ่น ปี  1894-1895 และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ปี  1904 ที่ญี่ปุ่นมี  ชัยได้เข้ามาครอบครองเกาหลี  และในปี  1950 เมื่อกองทัพสหรัฐบุกเข้า  ไปจนถึงแม่น�้ำยาลู  จีนก็ได้ทุ่มกองทัพนับแสนตีโต้  จนฝ่ายสหรัฐและพันธ  มิตรต้องถอยร่นไป (6) การอยู่ใกล้กับจีน ที่เป็นอู่อารยธรรมและเป็นอาณาจักร ใหญ่มายาวนานหลายพันปี  ท�ำให้เกาหลีเป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพล  จากจีนโดยตรงและยาวนานกว่าพื้นที่อื่น เช่น เวียดนาม ซึ่งส่งอิทธิพล  อย่างลึกซึ้งต่อประเทศเกาหลี  ไม่ว่าจะเป็นในด้านวัฒนธรรม ประเพณี  ความเชื่อ เทคโนโลยี  และภาษาตัวอักษร ไปจนถึงการศึก สงครามเย็นในแดนโสม : วิกฤตที่ยังไม่สิ้น 23


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.