แรงไฟจากใจฝัน

Page 1



สนับสนุนโดย



แรงไฟจากใจฝัน รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี​ ๒”

กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒ ๕ ๕ ๗


แรงไฟจากใจฝัน • รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒” พิมพ์ครั้งแรก : ส�ำนักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๗ ราคา  ๑๗๕  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม ผู้ชนะเลิศ “รางวัลมติชน ปี ๒” จ�ำนวน ๑๓ ท่าน. แรงไฟจากใจฝัน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๑๗๖ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. เรื่องสั้น I. ชื่อเรื่อง ISBN 978 - 974 - 02 - 1254 - 6

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม • ผู้ช่วยบรรณาธิการ : โมน สวัสดิ์ศรี พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม, ชัยรัตน์ เลิศรัตนาพร • กราฟิกเลย์เอาต์ : กรวลัย เจนกิจณรงค์ ออกแบบปก-ศิลปกรรม : อริญชย์ ลิ้มพานิช • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


ส า ร บั ญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำ

๗ ๑๐

เรื่องสั้นทั่วไป เครื่องแบบใหม่-สองขา เหตุการณ์การจับกุม สันติภาพ ไม่เศร้า-ภู กระดาษ โรงเรียนที่ไม่มีเสาธง-นลิน สินธุประมา หน้ากาก บิน ลาเดน-ภาณุพงษ์ คงจันทร์ โกหก-อรุณรุ่ง สัตย์สวี คาเฟ่ดั๊ชให้ดี-ปานศักดิ ์ นาแสวง

๑๙ ๓๑ ๔๗ ๕๗ ๖๙ ๘๑


เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ ทรงจ�ำ-นทธี ศศิวิมล เด็กพิเศษ-วรพล The Echoes of Silence  เงียบงันกัมปนาท-ธนเวศม์ สัญญานุจิต กวีนิพนธ์ บทอัศจรรย์-ชาลี ศิลปรัศมี ข่ายคลื่น-อุดร ทองน้อย เด็กชายในหมู่บ้านที่ผู้คนกลายเป็นฝูงแพะ -สันติพล ยวงใย ก้อนเมฆ-คมสัน วิเศษธร

แรงใจและไฟฝันของคนวรรณกรรม

6  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒”

๙๙ ๑๑๗ ๑๓๑ ๑๔๗ ๑๕๑ ๑๕๗ ๑๖๓

๑๖๗


คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์

ภายหลังสิ้นสุดการประกาศผล “รางวัลมติชนสุดสัปดาห์” เมื่อต้นปี ๒๕๕๖ บริษัทมติชนก็มิได้ละเลยที่จะสานต่อความตั้งใจ ของนักเขียนทั้งหน้าเก่า-หน้าใหม่ กระทั่งในที่สุด หลังผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิใน เครื อ มติ ช น ด้ ว ยการคั ด สรรเรื่ อ งสั้ น และกวี นิ พ นธ์ ที่ ส ่ ง เข้ า มา ราวกับภูเขาเลากาก็เป็นอันยุติลง พร้อมกับการปรับเปลี่ยนชื่อ รางวัลเป็น “รางวัลมติชน” ด้วยประจักษ์แก่สายตาของคณะกรรมาธิการแล้วว่า ค�ำ ครหาที่กล่าวถึงความตายของเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์นั้นมิได้เป็น ความจริงแต่อย่างใด  เนื่องจากยังมีบุคคลที่สนใจส่งชิ้นงานวรรณ กรรมเข้ามาอย่างต่อเนื่องหลังจากนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ป่าว ประกาศเชื้อชวนให้ส่งประกวดรางวัลเมื่อกลางปี ๒๕๕๖

แรงไฟจากใจฝัน  7


เรื่องสั้นดีๆ ของนักเขียนร่วมสมัย ซึ่งอาจได้แรงบันดาลใจ จากนักเขียนชั้นครูภายหลังรวมเรื่องสั้น “สายน�้ำไม่เหือดหาย” ตี พิมพ์ออกไปในช่วงเวลาดังกล่าว ควบรวมกับแรงผลักและผล สะเทือนของสังคมที่ขึ้น-ลงตามภาวะทางเศรษฐกิจและการเมือง บีบคั้นให้ปากกาของพวกเขาต้องกลับมาร่างร่ายเรื่องราวที่นักเขียน แต่ละท่านถนัดและช�่ำชอง กระทั่งออกผลเป็นรวมเรื่องสั้น “แรงไฟจากใจฝัน” ด้ ว ยเนื้อ หาของงานวรรณกรรม “รางวัล มติ ช น” ในครั้ง นี้ แบ่งเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ ตามประเภทของรางวัลที่ได้ระบุเอาไว้ ได้แก่ เรื่องสั้นทั่วไป เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ และกวีนิพนธ์ โดยประเภทเรื่องสั้นทั่วไปนั้น รางวัลชนะเลิศได้แก่เรื่อง “เครื่องแบบใหม่” โดย “สองขา” รางวัลรองชนะเลิศได้แก่เรื่อง “เหตุการณ์การจับกุม สันติภาพ ไม่เศร้า” โดย “ภู กระดาษ” และ เรื่อง “โรงเรียนที่ไม่มีเสาธง” โดย “นลิน สินธุประมา”  ขณะที่ รางวัลชมเชยได้แก่เรื่อง “หน้ากาก บิน ลาเดน” โดย “ภาณุพงษ์ คงจันทร์” เรื่อง “โกหก” โดย “อรุณรุ่ง สัตย์สวี” และเรื่อง “คาเฟ่ ดั๊ชให้ดี” โดย “ปานศักดิ์ นาแสวง” ส่วนประเภทเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ รางวัลชนะเลิศได้แก่ เรื่อง “ทรงจ�ำ” โดย “นทธี ศศิวิมล”  ขณะที่รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่เรื่อง “เด็กพิเศษ” โดย “วรพล” และเรื่อง “The Echoes of Silence เงียบงันกัมปนาท” โดย “ธนเวศม์ สัญญานุจิต” ขณะที่ประเภทกวีนิพนธ์ รางวัลชนะเลิศได้แก่เรื่อง “บท อัศจรรย์” โดย “ชาลี ศิลปรัศมี”  ขณะที่รางวัลชมเชยได้แก่เรื่อง 8  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒”


“ข่ายคลืน่ ” โดย “อุดร ทองน้อย”  เรือ่ ง “เด็กชายในหมูบ่ า้ นทีผ่ คู้ น กลายเป็นฝูงแพะ” โดย “สันติพล ยวงใย” และเรื่อง “ก้อนเมฆ” โดย “คมสัน วิเศษธร” ซึ่ ง คุ ณ ค่ า ของรางวั ล วรรณกรรมที่ ไ ด้ รั บ ดั ง กล่ า ว มิ ไ ด้ มี ความหมายเพียงเกียรติยศหรือเงินรางวัลเพียงเท่านั้น  แต่เพื่อ สร้างแรงบัลดาลใจอันดีงาม ต่อยอดไปถึงนักอ่านและนักเขียน ร่วมสมัยที่ก�ำลังพยายามเสกสร้างงานประพันธ์  และนี่แหละคือ “อ�ำนาจวรรณกรรม” ที่ผลักดันให้สังคม ด�ำเนินไปในวิถีทางที่ดีขึ้น ส�ำนักพิมพ์มติชน

แรงไฟจากใจฝัน  9


ค�ำน�ำ

พิจารณารายชื่อผู้ได้รับรางวัลมติชน “ชนะเลิศ” จากการ ประกวดเรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ ปีที่ ๒  ไม่ว่า “สองขา” ไม่ว่า ชาลี ศิลปรัศมี  ไม่ว่า นทธี ศศิวิมล  ต้องยอมรับว่า ‘เธอ’ และ ‘เขา’ มิใช่คนหน้าใหม่ในแวดวง วรรณกรรม กล่าวส�ำหรับ “ชาลี ศิลปรัศมี” แล้ว ต้องยกชั้นขึ้นระดับ “อาวุโส” หรือระดับ “ครู” ขณะที ่ “สองขา” มีผลงานที่คลอดสู่สาธารณะแล้ว ๖๐ เล่ม ส่วน “นทธี ศศิวิมล” มีเกียรติประวัติ รางวัลเรื่องสั้นยอด 10  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒”


เยี่ยมนายอินทร์อวอร์ด, เรื่องสั้นยอดเยี่ยมสุภาว์ เทวกุลฯ, รวม เรื่องสั้นดีเด่นส�ำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, รวมเรื่อง สั้นรองชนะเลิศเซเว่นบุ๊คส์อวอร์ด, เรื่องสั้นยอดเยี่ยมอิวากิ เป็น สิ่งการันตี   ขณะที่ผู้ได้รางวัลอื่นๆ อย่างภาณุพงษ์ คงจันทร์ ก็ถูกประดับช่อการะเกดจากเรื่อง สั้นชื่อ “บิลลี่ โจ นกกระจอก” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เคยได้รบั รางวัลเรือ่ งสัน้ จากมูลนิธสิ ภุ าว์ เทวกุลฯ, นิตยสาร สกุลไทย, นิตยสารบางกอก และรางวัลชมเชยบทวิจารณ์วรรณ กรรม รางวัลพานแว่นฟ้า ส�ำนักงานรัฐสภา จ�ำนวน ๓ ครั้ง และ ปี พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับรางวัลสารคดีดีเด่นเรื่อง “ตรุษจีนบ้านฉันสงกรานต์บ้านเธอ” โครงการจุดประกายอวอร์ด หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  ส่วนปานศักดิ์ นาแสวง เรื่องสั้น “ฝูงแร้งบนซากศพ” ได้ รับรางวัลช่อการะเกดยอดเยี่ยม ประจ�ำปี ๒๕๕๑ เรื่องสั้น “อยาก จะเห็นเขายิ้ม” รางวัลชมเชยประเภทเรื่องสั้นผ่าน blog ในงาน จุดประกายอวอร์ดส’๕๑ ด้านภู กระดาษ ก็เคยคว้ารางวัลเรื่องสั้นรางวัลนายอินทร์ อวอร์ด และได้รับรางวัลเรื่องสั้นยอดเยี่ยมของ ‘รางวัลพานแว่น ฟ้าแห่งรัฐสภาไทย’ ๒๕๕๖ จากเรื่อง “การยืนยันอีกครั้งหนึ่งของ สาวแม่ฮ้างแห่งหมู่บ้านตาเอกทะไม” ในนามปากกา ลูเธอร์-เทอ รัว แอนนาแบปติสต์ส อย่างร้อนแรงมาแล้ว แรงไฟจากใจฝัน  11


ขณะที่ คมสัน วิเศษธร, อรุณรุ่ง สัตย์สวี, อุดร ทองน้อย ก็ต่างมีผลงานกวีและเรื่องสั้นออกมาอย่างสม�่ำเสมอ พิจารณาเพียงแค่นอี้ าจสรุปอย่างรวบรัดว่าเวทีประกวดรางวัล มติชนหรือเวทีอื่นล้วนถูกผูกขาด โดย “นักเขียน” เหล่านี้ ซึ่งก็ อาจถูก แต่ถูกเพียงเศษเสี้ยวเดียว จริงๆ แล้ว การปรากฏนามของบุคคลเหล่านี้ ตั้งแต่ระดับ นักเขียนอาวุโส จนถึงนักเขียนที่ “ขึ้นชั้น” บนเวทีประกวด แล้ว ยังคงได้รับรางวัล นั่นย่อมสะท้อนถึง “มาตรฐาน” ของฝีมือที่คงเส้นคงวา และท�ำงานอย่างสม�่ำเสมอ จึงถูกต้องแล้วกับการได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน ขณะเดียวกัน ดูจะเป็นวัตถุประสงค์ของการประกวด โดย เฉพาะเวทีรางวัลมติชน ได้วงิ วอน เรียกร้อง เชิญชวน ให้นกั เขียน ทั้งอาวุโส วัยเยาว์ มืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ เข้าร่วมการ ประกวด ทัง้ นี ้ เพือ่ จะกระตุน้  ส่งเสริม และสร้างชีวติ ชีวาให้กบั แวดวง วรรณกรรมเรื่องสั้น กวีนิพนธ์ สืบเนื่องไป ซึ่งเชื่อว่าน่าจะบรรลุผลในระดับที่น่าพอใจ จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่เวที “รางวัลมติชน” ปีที่ ๒ นี้ ได้ต้อนรับ “วรพล” หรือ ปฐมฤกษ์ อิงสันเทียะ  12  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒”


ได้ปรบมือให้ ธนเวศม์ สัญญานุจิต ได้ส่งเสียงชมเชยถึง สันติพล ยวงใย ที่เริ่มหยั่งรากลงสู่ดินอุดมแห่งวรรณกรรม และพร้อมจะ ผลิยอด ออกใบ เป็นไม้ใหญ่ต่อไป  และที่ควรโห่ร้องยินดี ต้อนรับเป็นกรณีพิเศษ ก็คือการมาของ “นลิน สินธุประมา” สาวน้อยวัย ๑๙ ที่ได้ รับรางวัลจากเรื่องสั้น “โรงเรียนที่ไม่มีเสาธง” อันเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์ พื้นฐานจากการเป็นคนรักการอ่าน ชอบการเขียน และเริ่ม ขีดๆ เขียนๆ มาตั้งแต่สมัยประถมฯ และมีโอกาสได้เข้าค่ายกล้าวรรณกรรมซึ่งจัดโดยสมาคม นักเขียนแห่งประเทศไทย  จุดประกายให้เธอหันมาสนใจอ่านวรรณกรรมและเรื่องสั้น ตลอดรวมถึงเริ่มเขียนเรื่องสั้นส่งเข้าประกวด และ “โรงเรียนที่ไม่มีเสาธง” ก็เป็นก้าวอันส�ำคัญที่จะเป็น ก�ำลังใจให้เธอก้าวเดินไปบนเส้นทางนี้ต่อไป โดยเชือ่ ว่า “นลิน สินธุประมา” ซึง่ ถือเป็นรุน่ หลานของ “ชาลี ศิลปรัศมี” จะร่วมรับสืบทอดงานเขียนอันมีคุณค่าต่อไป เรื่องสั้น-กวีนิพนธ์ จะไม่ตาย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร บรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์ แรงไฟจากใจฝัน  13



แรงไฟจากใจฝัน


เรื่องสั้นทั่วไป



รางวัลชนะเลิศ

เครื่องแบบใหม่ สองขา

เช้านี้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เขาตื่นตั้งแต่ฟ้ายังมืดด�ำ ลองใส่เครือ่ งแบบใหม่ พันๆ ห่มๆ อยู่หลายรอบกว่าทีจ่ ะก้าวขาได้ เสียงไก่ขัน ฟ้าเริ่มสว่าง นกข้างหน้าต่างมาร้องเพลงเบาๆ เอาละ ต่อแต่นี้ไปอีก ๖ เช้า เขาต้องท�ำงานกะเช้า ถุงเท้า  รองเท้าไม่ต้องใส่ เปิดประตูออกไป ก�ำมือแล้วคลาย หงายมือขึ้น  พอเห็นเส้นลายมือ นั่นคือเวลาเริ่มงาน  พนักงานใหม่ในเครื่องแบบใหม่เดินไป เดินไป ท้องฟ้าสี  น�้ำเงินเข้มค่อยๆ จาง และสว่างขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเรื่อแสงทองของ  รุ่งอรุณ แดดอุ่นเสมือนค่อยๆ คลี่ฟ้า เปลี่ยนสีฟ้าจากมืดคล�้ำด�ำ  เข้มเป็นม่วง แดง ส้ม อมชมพู แล้วสว่างกระจ่างขึ้นจนเห็นหน้าคนใส่บาตรชัดเจน เครื่องแบบใหม่  19


หน้ายับย่นของแม่ ไม่ใช่สิ ต้องเรียกว่าโยมแม่ ตามภาษาพระ ที่กั้นและกันสถานะให้ต่างจากคนอื่นๆ    หน้ายับย่นของโยมแม่ฉายแววเศร้าโศกเจือปีติ โยมแม่คง  ปีติที่ได้เห็นผ้าเหลืองของผู้เป็นลูก  ลูกที่บวชหน้าไฟในงานศพ  พ่อตามที่แม่ขอร้อง  เช้านี้ผู้เป็นพระตื่นเช้า แต่โยมแม่ของพระ  ตื่นเช้ากว่านั้นมาก ด้วยอยากท�ำกับข้าวใส่บาตรของลูกเพื่อส่งไป  ให้ถึงสามีผู้ตาย  โยมพ่อของพระตายในหน้าที่ ตายในเครื่องแบบ    คนในครอบครัวเขาล้วนแต่เป็นคนในเครื่องแบบทั้งนั้น  เขาคุ้นกับเครื่องแบบมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะนอกจากเครื่องแบบลูก  เสือ ชุดพละ และเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนวัดของตัวเองแล้ว  ที่บ้านเขายังมีเครื่องแบบ พขร.(พนักงานขับรถโดยสาร) ของพ่อ  เครื่องแบบสีฟ้าของพนักงานท�ำความสะอาดของแม่ เครื่องแบบ  สาวโรงงานของพี่สาว เครื่องแบบ รปภ.ของพี่ชาย  พี่เคยอ�ำเขาว่า รปภ.ย่อมาจาก รองปลัดอ�ำเภอ  ทั้งๆ ที่  ต�ำแหน่งและเงินเดือนที่แท้จริงคือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  ที่มีกระบองสั้นๆ เป็นอาวุธ และมีหน้าที่เลื่อนแผงกั้นรถของทาง  เข้า-ออกหมู่บ้านจัดสรรเป็นงานหลัก เขาคงเป็นคนโชคดีที่สุดในบ้าน เพราะเป็นคนเดียวที่ได้ม ี โอกาสใส่เครื่องแบบนักศึกษาถึง ๔ ปี  พอเรียนจบเขาก็เปลี่ยน  ไปใส่เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทตามสาย  วิชาที่ได้ร�่ำเรียนมา  หนุ่มไอทีมีปริญญาอย่างเขาได้ต� ำแหน่งและเงินเดือนสูง  กว่าทุกคนในครอบครัว  แต่ก็ยังน้อยนิดเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วม  20  สองขา


รุ่น และกับคนอื่นๆ ในบริษัท  เขาตั้งใจท�ำงาน เรียนรู้งานอย่าง  เต็มที่ พร้อมทั้งฝันว่าวันหนึ่งข้างหน้า เขาจะมีกิจการเล็กๆ ด้าน  ไอทีเป็นของตนเองบ้าง  บางครั้งที่เขาท้อ พ่อมักปลอบว่า   “อย่าท้อ เอ็งเพิ่งฝันได้แค่ ๔-๕ ปีเท่านั้นเอง  ดูพ่อสิวะ  พ่อฝันอยากจะเป็นคนขับรถ ปอ.(ประจ�ำทางปรับอากาศ) ที่ติด  แอร์เย็นๆ มาตั้ง ๒๐ กว่าปีแล้ว  แม้ว่ามันยังไม่เป็นจริง แต่พ่อ  ก็ไม่ท้อ และยังฝันต่อไป”    แต่ฝันของพ่อยังไม่ไปถึงไหน ความตายก็มาเยือนพ่อเสีย  ก่อน    ตอนสามทุ่มของค�่ำวานซืน พ่อส่งรถเข้าอู่เสร็จแล้วเดินมุ่ง  ที่ป้ายรถเมล์เหมือนทุกๆ วัน  แต่ครั้งนี้พ่อเดินยังไม่ถึงป้ายก็เกิด  อุบัติเหตุถูกรถ ปอ.ส่ายพุ่งมาชนจนตายคาที่ตรงนั้น  แม้ว่าพ่อ  ตายในเครื่องแบบ แต่ก็ไม่มีธงชาติมาคลุมโลงศพ ทั้งฝันของพ่อ  ก็ทรุดซบถูกบดอยู่ใต้ล้อรถ ปอ.คันนั้น   แม่ขอให้เขาลางานสัก ๗ วันเพื่อบวชอุทิศส่วนกุศลให้พ่อ  เมื่อวานนี้เองที่เขาเพิ่งเปลี่ยนจากเครื่องแบบของพนักงานไอทีมา  ครองผ้าไตรของพระ  ด้วยการนุ่งสบง ห่มจีวร และพาดบ่าด้วย  สังฆาฏิ เมื่อคิ้วและผมถูกโกนออกไป แต่งกายด้วยเครื่องแบบใหม่ แห่งสมณเพศ ความพิเศษของสถานะก็ตามมา ภาษาพูดก็ต่าง  ออกไป ผู้คนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักต่างนอบน้อม สุภาพ และกราบ  เครื่องแบบใหม่  21


ไหว้เขาได้อย่างเสมือนว่าเป็นเรื่องธรรมดา  รวมทั้งแม่และพี่ๆ ที่  เขาเคยแต่เป็นคนไหว้ผู้ที่เกิดก่อนเหล่านี้ แม่ตักข้าวสวยอุ่นๆ ใส่ลงในบาตร ตามด้วยแกงเขียวหวาน  ผัดพริกขิง กล้วยบวชชี และดอกไม้ธูปเทียน พร้อมซองปัจจัย พระใหม่ตั้งใจจะท�ำหน้าที่เป็นบุรุษไปรษณีย์ที่ดีของโยมแม่  ด้วยการฉันอาหารเหล่านี้เพื่อส่งไปให้ถึงโยมพ่อ นอกจากแม่ แ ละพี่ๆ  แล้ ว  ยัง มีเ พื่อ นบ้ า นอีก หลายคนที่  มอบหน้าที่ให้เขาเป็นผู้ส่งอาหาร  เพียงไม่นานบาตรก็เต็ม พระ  บวชใหม่เดินกลับถึงวัดก่อนที่นกจะหาหนอนตัวแรกได้ ท�ำไมเรื่องอยู่เรื่องกินถึงกลายเป็นเรื่องง่ายดายถึงเพียงนี ้ ทั้งๆ ที่เมื่อเช้าวานซืนและเช้าก่อนหน้านี้ เขาต้องไปรุมล้อมรถ  เข็นเพื่อที่จะซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้ง หรือน�้ำเต้าหู้กับปาท่องโก๋ก่อน  ที่จะรีบๆ กิน และตาลีตาเหลือกขึ้นรถเมล์ไปให้ถึงที่ท�ำงานให้  ทันเวลา   กิจวัตรของสงฆ์ในผ้าไตร ช่างห่างไกลกับความกดดันเร่ง  รีบในโลกของฆราวาสเหลือเกิน  สวดมนต์ท�ำวัตรเช้า-เย็น บิณฑ  บาต กวาดวิหารลานเจดีย์ รักษาผ้าครอง เจริญสมาธิ ศึกษาเล่า  เรียนพระธรรมวินัย ซึ่งไม่ได้ยากเย็นแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ม ี ก�ำหนดเป็นชั่วโมงเรียน หรือมีการเรียน การสอน การสอบ เป็น  ที่แน่ชัดอย่างนักเรียนหรือนักศึกษา  พระเณรส่วนมากจึงมีเวลา  ว่างไม่น้อย   “คุ ณ ซ่ อ มคอมพิว เตอร์ เ ป็ น ไหม” พระปรีช าที่เ ป็ น พระพี ่ เลี้ยงถามพระใหม่ในค�่ำคืนที่สาม หลังจากที่เสร็จกิจในการฌาปน  22  สองขา


กิจศพโยมพ่อแล้ว เมื่อเขาตอบว่านั่นคืองานของเขาก่อนบวช  พระเก่าจึงเดิน  น� ำ พาเขาไปซ่ อ มคอมพ์ ที่ กุ ฏิ ก ว้ า งขวางของพระผู ้ ใ หญ่ รู ป หนึ่ ง  พอเปิดประตูเข้าไป พลันเขาก็คิดถึงบรรยากาศของร้านเกมขนาด  กลางที่ มี ค อมพ์ เ กื อ บ ๒๐ เครื่ อ ง  ทุ ก เครื่ อ งมี พ ระเณรนั่ ง อยู ่ หน้าจอ มีทั้งเกมคอมพ์และ PS2 หลายจอก�ำลังเล่นเกม GTA  และ HON มีท้าดวลกันในเกมข้ามเครื่องด้วย เขานึกแปลกใจในแวบแรกที่เห็นป้าย ๒๐ บาท/ชม.    “อย่างนี้แหละคุณ เขาเล่นกันมาตั้งแต่ก่อนบวชแล้ว ก็ไม่  อยากจะให้เณรคิดถึงบ้านกันเกินไป  ปัจจัยที่เก็บก็เป็นค่าน�ำ้  ค่า  ไฟ และเอาไว้ซื้อเครื่องรุ่นใหม่ๆ เกมใหม่ๆ ด้วย” พระปรีชาชี้แจง  ให้ฟัง    “มีให้ได้เล่นกันในนี้ ดีกว่าให้หนีออกไปเล่นที่ร้านเกมข้าง  นอกนะ เพราะจะดูไม่งาม และเสียชื่อวัด”   “คุณช่วยดูเครื่อง A5, C2 และ D4 ให้หน่อย  เสียมา  หลายวันแล้ว”  แล้วพระเก่าก็เปิดกล่องเครื่องมือให้พระใหม่ เมื่อ  มือได้จับด้ามไขควง จับเมาส์ เขาเริ่มรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง  พอซ่อมเสร็จเครื่องหนึ่ง สามเณรน้อยที่รอเล่นอยู่รีบกรูกันเข้ามา  และส่งเสียงชื่นชมกันใหญ่  “หลวงพี่เก่งจังครับ  ผมอยากท�ำเป็น  บ้าง”    “หลวงพี่ช่วยลงเกมนี้ให้พวกเราหน่อย”   “เครื่องผมอยู่ๆ จอดับวูบไปเลย ช่วยดูให้ด้วยครับ หลวง  พี่”  เพียงไม่ถึงสองชั่วโมง เขาก็เป็นเสมือนฮีโร่ของเณรน้อย ท� ำ  เครื่องแบบใหม่  23


งานมาตั้ง ๕-๖ ปี ยังไม่เคยรู้สึกดีเท่านี้  ไม่เคยได้รับค�ำชื่นชม  ขนาดนี้เลย  นี่เป็นความรู้สึกดีๆ ที่วาบขึ้นมา    “อีก ๕ นาทีสี่ทุ่ม” พระที่ประจ�ำห้องเกมตีฆ้องก่อนร้องป่าว   “ได้เวลานอนแล้ว พรุ่งนี้ต้องออกบิณฯ แต่เช้า”  และก็ด ู เหมือนว่าทุกคนเข้าใจ แม้ว่าบางคนยังอิดออดอยากเล่นต่อ เพราะ  ก�ำลังติดพันอยู่ก็ตาม   หลังฉันเช้าวันที่สี่   “คุณซ่อมไฟเป็นไหม ไปช่วยซ่อมไฟที่ศาลาให้แม่ชีทีเถอะ”  เมื่อเขาพยักหน้า พระปรีชาก็พาเดินไปหลังวัด จนถึงศาลาขนาด  ใหญ่ที่มีพานวางอยู่หลายสิบพาน และทุกพานมีผ้าปิดไว้  เมื่อ  ซ่อมไฟเสร็จ พระใหม่จึงถามถึงเหตุที่ต้องปิดพานด้วยผ้าขาว   “อ๋อ! เป็นพานแก้กรรมของญาติโยม มีสิ่งใดที่จะช่วยขจัด  ปัดเป่าทุกข์ได้ เราก็ช่วยเขาไป”  แม่ชีเพชรที่อาวุโสที่สุดบอกวิธี  แก้กรรม “คนเขามีทุกข์มาให้ช่วยท�ำนายโชคชะตา บางคนเจ็บไข้ได้  ป่วย บางคนของหาย หลายคนผัวหายไปมีเมียน้อย สารพัดสารพัน  เราก็ช่วยท�ำพิธีให้  บางคนเคราะห์กรรมมากก็ต้องให้เขาลดกิเลส  ให้เอาเงินสุจริตที่หาได้มาใส่ไว้ในพานจนกว่ากรรมจะหมด  ใคร  มีกรรมมากก็ใส่มาก กรรมน้อยก็ใส่น้อย ตามระยะเวลาไป  ที่  ให้เอาผ้าปิดไว้เพราะไม่อยากให้คนอื่นมาเห็นขนาดกรรมที่ไม่ใช่  ของตัว” แม่ชีวัยกลางคนพูดอย่างเมตตา  พานแก้กรรมที่อยู่บนโต๊ะหมู่บูชามีไม่ต�่ ำกว่า ๔๐ พาน...  รวมๆ แล้วคงมีเงินมากกว่าที่ห้องเกมของสามเณรหลายเท่า  24  สองขา


พอซ่อมไฟเสร็จ แม่ชียื่นซองที่มีปัจจัยอยู่ภายในเป็นสินน�้ำ  ใจให้พระบวชใหม่ สายๆ ของวันที่ ๕ พระปรีชาพาพระใหม่ชมรอบวัด และ  เดินไปจนถึงแปลงผักไร้สารพิษ    “กรรมการวัดแนะให้ท�ำ และไปเกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกัน  ทั้งช่วยยกแปลง ช่วยปลูก ช่วยดูแล”  ผักกาดขาวก�ำลังอวบ ลูก  มะเขือเปราะขบเผาะ ถ้ากัดกินคงกรอบดังเป๊าะทีเดียว คะน้าก้าน  เขียวใบสะพรัง่  เห็นแล้วชวนให้นกึ ถึงก๋วยเตีย๋ วราดหน้าขึน้ มาทันที  อีกสองวัน พอสึกแล้วจะออกไปกินให้หน�ำใจ   “วันนี้แม่ครัวเขาท�ำราดหน้าให้ฉันเพล” พระปรีชาเอ่ยขึ้น  เหมือนอ่านใจคู่สนทนาได้    “โยมสายแกเคยขายอาหารอยู่หลายปี อยากกินอะไรก็บอก  ญาติโยมจะได้ท�ำบุญได้ถูกปาก”   ใกล้ๆ แปลงผัก ต้นมะนาว ๓-๔ ต้น อวดดอกขาวพราว  ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง   “หลวงพ่อท่านปลูกไว้ เอาลูกมะนาวมาปลุกเสกแจกจ่าย  ชาวบ้าน เป็นของดีของวัดเรา”  หลวงพี่เอ่ยขึ้นอย่างภูมิใจ ไม่ไกล  จากต้นมะนาวคือต้นโพธิ์คู่   “จะมีบางฤดูบางปีที่ใบโพธิ์เปลี่ยนเป็นสีทอง ผู้คนจะแห่  กันมารอเก็บใบที่ลมพัดร่วงไปบูชา ถือกันว่าเป็นใบโพธิ์น�ำโชค”  พระปรีชาเล่ายิ้มๆ ว่า  “เมื่ อ ก่ อ นไม่ ไ ด้ ล ้ อ มรั้ ว ต้ น โพธิ์ ห รอกนะ แต่ มี อ ยู ่ ป ี ห นึ่ ง  คนข้ า งวัด ที่บู ช าใบโพธิ์ท องเป็ น ผู ้ โ ชคดีไ ด้ ท องจากฝาบริษัท ชา  เครื่องแบบใหม่  25


เขียวเท่านั้นแหละคุณเอ๋ย ใบโพธิ์เกือบจะเกลี้ยงต้นในพริบตา  เดียว หลวงพ่อท่านจึงสั่งให้ล้อมรั้ว และให้เก็บได้เฉพาะใบที่ร่วง  เท่านั้น” วันรุ่งขึ้น โยมแม่ลางานเพื่อท�ำอาหารมาถวายเพลให้พระลูก ได้ฉัน  สายตาตื้นตันของคนเป็นแม่ที่ได้เห็นชายผ้าเหลืองของ  ลูกชายท�ำให้รู้สึกคล้ายว่าบาปกรรมที่เขาท�ำมาทั้งชีวิตได้มลายหาย  สิ้นไปใน ๖ วันนี้   เครื่องแบบใหม่ท�ำให้เขากลายเป็นลูกกตัญญู กลายเป็น  ผู้ที่ได้รับการกราบไหว้ กลายเป็นขวัญใจของเณรน้อยหน้าจอ  กลายเป็นผู้ที่ก่อประโยชน์ให้กับแม่ชีและผู้ที่มาแก้กรรม กลาย  เป็นคนที่ทำ� ดีได้ในทุกวัน ฯลฯ ต่างจากชีวิตก่อนหน้านี้ยิ่งนัก ที่ไม่ว่าจะทุ่มเทท�ำงานหนัก  อย่างไร ก็ยังไม่ค่อยเป็นที่พอใจของลูกค้าและหัวหน้า แสงแดดยามบ่ายที่นอกกุฏิดูอบอ้าว ระหว่างที่เขาก้าวเดิน  ไปโดยในมือมีถุงเครื่องแบบพนักงานบริษัทชุดเก่าที่โยมแม่อยาก  ให้เขาเอาไปให้หลวงพ่อช่วยเจิม เพิ่มความเป็นสิริมงคล เพื่อเขา  จะได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ต้องกลับไปท�ำหลังสึก     “นึกไม่อยากให้คุณสึกเลย” หลวงพ่อเจ้าอาวาสเปรยและ  เอ่ยต่อไปว่า “อยากให้อยู่ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา ช่วยกันท�ำ  ให้วัดวาเป็นที่รู้จักของญาติโยม”  พระใหม่ยังนึกไม่ออกว่าเขาจะท�ำได้อย่างไร  เขาไม่ได้ใส่ใจ  26  สองขา


ในทางธรรม ไม่เคยนึกอยากเป็นพระนักเทศน์ ไม่ได้มีความเก่ง  พิเศษด้านประดิษฐ์ถ้อยธรรมะเหมือนพระชื่อดังหลายๆ รูปที่  เคยเห็นทางทีวีและสื่อต่างๆ  ที่ส�ำคัญคือเขายังต้องท�ำงานเพื่อ  หาเลี้ยงตัวเองและจุนเจือครอบครัว  โดยเฉพาะแม่ที่แก่เฒ่าลง  ทุกวัน   “หลวงพ่อท่านอยากให้คุณช่วยหลายด้าน”  พระปรีชาเอ่ย  ขึ้นอย่างเป็นการเป็นงาน   “ช่วยท�ำเว็บไซต์ให้วัด เพื่อที่จะได้เผยแพร่ของดีที่วัดเรา  มีอยู่ ช่วยดูแลเครื่องเล่นให้เณรน้อย คอยช่วยดูเรื่องเครื่องมือ  เครื่องไฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอีกหลายเรื่อง”   “ทั้งวัดไม่มีใครถนัดเรื่องพวกนี้เท่าคุณ” แล้วหลวงพี่ก็ถาม  ถึงเงินเดือนที่เขาได้รับอยู่   “จะเพิ่มให้มากกว่านั้นอีกแปดพัน”  หลวงพ่อเอ่ยจ�ำนวน  เงินนั้นออกมาง่ายๆ มันเป็นรายได้ตอ่ เดือนทีเ่ พิม่ ขึน้ ถึง ๕๐% และคงไม่มบี ริษทั   ไหนให้เขาได้อย่างนี้ในวันพรุ่งนี้ที่เขาจะสึกออกไป ภาพรถ ปอ.คันใหญ่ที่พุ่งเข้าชนโยมพ่อปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง  ความฝันของ พขร.คนหนึ่งดับไป และเป็นเหตุให้เขาได้ใส่เครื่อง  แบบใหม่ในวันนี้ วันที่งานใหม่ก�ำลังจะเริ่ม ความฝันของเขาก�ำลังจะเป็นจริง  เสียงกรุ๋งกริ๋งของระฆังเล็กๆ รอบอุโบสถลอยลมมาพร้อมกับภาพ  เว็บไซต์และเฟซบุ๊กของวัด ที่มีภาพต้นโพธิ์ทองคู่ แปลงผักปลอด  สารพิษ มะนาวปลุกเสก พานแก้กรรม เครื่องแบบใหม่  27


และกิจ กรรมอีก มากมายที่จ ะแพร่ อ อกไปด้ ว ยคลื่น แห่ ง  เทคโนโลยี พระใหม่ก้มกราบเจ้าอาวาส ถุงเสื้อผ้าแห่งฆราวาสค่อยๆ ห่างไปจากสายตา ใจประหวัดไปถึงเงินเดือนที่มาในซองปัจจัย  อย่างไม่ต้องถูกหักภาษี และการงานใหม่ด้านไอทีที่จะมีแต่คน  กราบไหว้     เช้าพรุ่งนี้พนักงานใหม่จะใส่เครื่องแบบใหม่ พันๆ ห่มๆ  อย่างมั่นใจในการก้าวเดินออกบิณฑบาต

พิมพ์ครั้งแรก : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๑๕ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ 28  สองขา


ปี ๒๕๕๕ คณะกรรมการในโครงการ Young Thai Artist Award 2012 ตั ด สิ น ให้ ไ ด้ รั บ รางวั ล ดี เ ด่ น สาขาวรรณกรรม  (ด้วยความเป็นห่วง) จากรวมกวีนิพนธ์ “เรื่องเล่าของประเทศ  ในอาณาเขตแห่งแสงเงา” คณะกรรมการบางท่านแอบกระซิบว่า  เป็นเรื่องจริงเกินไป ปีต่อมาจึงทดลองเขียนบทกวีในท�ำนองจริง  บ้างไม่จริงบ้าง ส่งประกวดโครงการมติชนอวอร์ด ปี ๒ มีผลงานกวีนิพนธ์มาแล้ว ๔ เล่มคือ เพียงกวีพเนจร, การ  เดินทางกลางแสงเงา, พลเมืองและประเทศในอาณาแห่งความเศร้า,  นิทานของนักเล่านิทานแห่งประเทศโกลาหล ทุกเล่มเป็นหนังสือ  ท�ำมือ    ยังไม่เคยมีผลงานตีพิมพ์รวมเล่มกับส�ำนักพิมพ์ใด

เด็กชายในหมู่บ้านที่ผู้คนกลายเป็นฝูงแพะ  161



รางวัลชมเชย

ก้อนเมฆ

คมสัน วิเศษธร

ไต่ไปตามก้อนเมฆ ที่ฟ้าเสกประทานให้ฉัน ลัดเลาะขอบเทาเข้มสารพัน เกาะกลุ่มอยู่บนนั้นกว้างไกล ฟากฟ้ามิกี่คราก็แปรเปลี่ยน เบื้องล่างมิหมุนเวียนจมแช่ใช่ จมกับสิ่งยิ่งรักดักดานใจ จมกีดกันแบ่งแยกให้จงเกลียดกัน มิหลอมรวมหนึ่งเดียวเมฆเกลียวกลม มิพร่างพรมฉ�่ำชื่นรื่นสุขสันต์ มีแต่แข่งยื้อแย่งประโยชน์พลัน มีแต่เร่งปัจจัยอันลุกลามเพลิง ณ แดนดินมีแต่ฝุ่นกระจายฟุ้ง ข้าวของแพงลิ่วพุ่งยุ่งเหยิง มีประท้วงมีคัดค้านแตกกระเจิง มีเรียกร้องกันทั้งเวิ้งผู้คน ไม่มีความเย็นฉ�ำ่ รื่น มีแต่ปลุกให้แตกตื่นสับสน ปลุกให้โลภอยากได้สนองตน ปลุกให้โกรธเคืองข้นลุกเปลี่ยนแปลง หลังม่านฟ้าห่าฝนหล่นกระหน�่ำ สุขเย็นล�้ำชั่วคราวทุกระแหง ก้อนเมฆ  163


แต่ผู้คนอาศัยอยู่ร้อนระแวง ไม่มีมวลความสุขผลิดอก ไม่มีมวลความเย็นบรรเทา

กระแสเร่งเร้าแรงมัวเมา เบ่งบานออกจากจิตปัดเป่า เผื่อแผ่รวมกันเข้าครอบคลุม

ไม่มีเมฆความเย็นทอถัก ทอดสายตาลัดเลาะเมฆเกาะกุม

ไม่มีแววตารักห่อหุ้ม เมื่อใดหนอเย็นครองคุ้มทุกจิตใจ!

พิมพ์ครัง้ แรก : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที ่ ๑๗๓๕ วันที ่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ 164  คมสัน วิเศษธร


คมสัน วิเศษธร

เป็นคนกรุงเทพฯ ศรัทธาในพลังแห่งถ้อยค�ำ มุ่งหวังผลิต  งานเขียนที่น�ำเสนอความสุข ความดีงามแก่สังคม รักงานวรรณ  กรรมเพราะเป็นกระจกสะท้อนสังคมได้ดี ชอบบทกวีเพราะมีพลัง  ทุกครั้งที่อ่าน เคยท�ำงานนิตยสาร พ็อกเก็ตบุ๊ก งานเรียบเรียง  หนังสือ ครูสอนพิเศษ มีผลงานพ็อกเก็ตบุ๊กแนวจิตวิทยาประยุกต์  บทกวีตามหน้านิตยสาร ยังคงขยันขีดเขียนสม�่ำเสมอ  ปัจจุบันมี  งานประจ�ำเขียนข่าวที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ก้อนเมฆ  165



แรงใจและไฟฝัน ของคนวรรณกรรม



เวทีประกวดถือเป็นโอกาสของนักเขียน โดยเฉพาะรุ่นกลาง-รุ่น ใหม่ที่จะได้แสดงฝีมือของตนในวันที่พื้นที่วรรณกรรมบนหน้ า  กระดาษลดน้อยถอยลงเรื่อยๆ และรางวัลมติชน (Matichon Awards) ก็ถอื เป็นอีกรางวัล  ที่ช่วยส่งเสริมแรงใจและสร้างไฟฝันให้แก่นักเขียนไทย ซึ่งแม้จะ  เป็นน้องใหม่ในถนนสายวรรณกรรม ทว่าก็ได้รับการตอบรับอย่าง  ดีเยี่ยม  โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร บรรณาธิการนิตยสารมติชน  สุดสัปดาห์ เล่าถึงความตั้งใจที่สร้างเวทีเรื่องสั้นและบทกวีขึ้นว่า  เป็นเพราะนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์นั้น นอกจากเป็นนิตยสาร  วิเคราะห์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่มียอดจ� ำหน่ายสูงสุดใน ประเภทนิตยสารเดียวกันแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวรรณ-  กรรมและกวีนิพนธ์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเช่นกัน  โดยมี  นักเขียนและกวีที่มีชื่อเสียงผลัดเปลี่ยนน�ำเสนอผลงานอย่างสม�่ำ  เสมอ แรงใจและไฟฝันของคนวรรณกรรม  169


“อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวรรณกรรมและกวีนิพนธ์มีภาวะที ่ ซบเซาลง เนื่องจากมีสื่อรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนมาก  หากไม่มีการกระตุ้นหรือสนับสนุนเพียงพอ วรรณกรรมและกวี  นิพนธ์ของประเทศอาจจะสูญหายไป  เมื่อตระหนักถึงปัญหา  ดังกล่าวจึงตั้งใจที่จัดโครงการประกวดขึ้น เพื่อที่จะกระตุ้นให้  แวดวงวรรณกรรมและกวีนิพนธ์คึกคักขึ้น  ขณะเดียวกันยังจะ  เป็นการกระตุ้นการอ่านในประชาชนทั่วไปด้วย”  สุวพงศ์เอ่ยด้วย  รอยยิ้ม และในปีนี้ผู้ที่ได้รางวัลจากเรื่องสั้นทั่วไป รางวัลชนะเลิศ  คือ “สองขา” จากเรือ่ ง “เครือ่ งแบบใหม่” รองชนะเลิศ “ภู กระดาษ”  จาก “เหตุการณ์การจับกุม สันติภาพ ไม่เศร้า” และ “นลิน สินธุ-  ประมา” จาก “โรงเรียนที่ไม่มีเสาธง”  ส่วนรางวัลชมเชยได้แก่  “อรุ ณ รุ ่ ง  สั ต ย์ ส วี ”  จาก “โกหก”, “ปานศั ก ดิ์   นาแสวง” จาก  “คาเฟ่ดั๊ชให้ดี” และ “ภาณุพงษ์ คงจันทร์” จาก “หน้ากาก บิน  ลาเดน” ประเภทเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ ชนะเลิศ ได้แก่ “นทธี ศศิ-  วิมล” จากเรื่อง “ทรงจ� ำ” รองชนะเลิศ “ธนเวศม์ สัญญานุจิต”  จาก “The Echoes of Silence เงียบงันกัมปนาท” และ “วรพล”  จาก “เด็กพิเศษ” ประเภทกวีนิพนธ์ ชนะเลิศคือ “ชาลี ศิลปรัศมี” จากบท  กวี  “บทอั ศ จรรย์ ”  รางวั ล ชมเชยได้ แ ก่  “อุ ด ร ทองน้ อ ย” จาก  “ข่ายคลื่น”, “สันติพล ยวงใย” จาก “เด็กชายในหมู่บ้านที่ผู้คน  กลายเป็นฝูงแพะ” และ “คมสัน วิเศษธร” จาก “ก้อนเมฆ” 170  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒”


และนี่คือความรู้สึกจากใจผู้คว้าชัย ๒ ท่าน เนื่องจากชาลี  ศิลปรัศมีนั้นสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง จึงไม่สะดวกให้สัมภาษณ์… “สองขา” นามปากกา “สองขา” คงเป็นที่คุ้นเคยส�ำหรับคนชอบอ่าน  วรรณกรรมเยาวชน ซึ่งส่งตรงมาจากอิสราเอล ประเทศที่เธอใช้  ชี วิ ต อยู ่  แต่ ส� ำ หรั บ เวที เ รื่ อ งสั้ น  เธอถ่ อ มตั ว ว่ า เป็ น มื อ ใหม่ หั ด  เขียน “จุดเริ่มต้นของสองขาเริ่มจากการอ่าน ด้วยรู้สึกว่าการเปิด  หนังสือเล่มหนึ่ง ไม่ต่างอะไรกับการเปิดโลกใบหนึ่ง “ตอนเด็กจนมาก ไม่ค่อยมีโอกาสไปไหน หรือท�ำอะไร ก็  ได้หนังสือนี่ละที่พาไปเที่ยว ไปรู้จักคนนั้นคนนี้” ครั้นพอมาเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ท� ำ  หนังสือ “ร่มนนทรี” ที ่ “พัชรินทร์ อยู่คง” และ “ธีรภาพ โลหิตกุล”  คอยช่วยแนะน�ำ  จากนัน้ เมือ่ ไปเป็นคนไทยไกลบ้าน ในเมืองหนาว  ก็ท�ำให้คิดถึงแดดอุ่นในเมืองไทย ประกอบกับสภาพที่ต้องเรียน  ไปท�ำงานเลี้ยงชีพไป แถมยังต้องดูแลลูกเล็ก ก็ท�ำให้ความรู้สึก  ยิ่งทวีมากขึ้น “เราเลยบ�ำบัดตัวเองด้วยการเขียนเรื่องไปลงที่สตรีสารภาค  พิเศษ” ที่ภายหลังเรื่องเหล่านั้นก็กลายมาเป็นหนังสือ “ดอกไม้บน  ภูเขา” ระหว่างวรรณกรรมเยาวชนที่ถนัดกับเรื่องสั้นซึ่งเป็นทาง  แรงใจและไฟฝันของคนวรรณกรรม  171


สายใหม่  เธอว่าในความรู้สึกแล้วมีทั้งความต่างและความเหมือน  “ต่าง” ในแง่ของวัย วุฒิภาวะ และความสนใจของกลุ่มคน  อ่าน  โดยการเขียนเรื่องสั้นเธอเป็นการเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนมุม  มองต่อเรื่องนั้นๆ เขียนอย่างเพื่อนคุยกัน อย่างที่คนเขียนและคน  อ่านมีวุฒิภาวะเป็น “ผู้ใหญ่” หากในส่วน “เหมือน” คือต้องเขียนให้กระชับ ชัดเจน ซึ่งประเด็นที่เธอ “แลกเปลี่ยน” ใน “เครื่องแบบใหม่” ที่  กระแทกใจกรรมการคื อ ประเด็ น ที่ ว ่ า ด้ ว ย “เครื่ อ งแบบ” และ  “พระ” ที่เสียดสีสังคมได้จี๊ดมาก “เราเห็นด้วยกับหลักๆ ของพุทธในเรื่องพุทธไม่มีพระเจ้า,  อริยสัจ ๔ คือสิ่งที่เอามาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้, กาลาม  สูตร หรือหลักแห่งความ (ไม่ควร) เชื่อ ๑๐ ประการ “จากสามหลักนี้น่าจะท�ำให้คนพุทธ โดยเฉพาะไทยพุทธ  น่าจะเป็นคนมีเหตุผล มีหลักคิดพิจารณา  แต่ผู้คนในสังคมไทย  ก็มีไม่น้อยที่ไม่ได้ใช้แนวทางเหล่านี้เลย  เมื่อมีปัญหาแทนที่จะใช้  อริยสัจ ๔ ซึ่งเป็น how to มาช่วยก็ไม่ เพราะกลับไปงมงายแก้  กรรมแทน  เมื่อเสพสื่อหรือได้รับข้อมูลมา คนส่วนมากก็เชื่อง่าย “ยิ่งถ้าเป็นพวกเป็นพรรคของตนพูดก็แทบจะเชื่อในทันใด  อย่างที่ไม่ไตร่ตรองตามหลักกาลามสูตรเลย “พระไทยและวัดไทยไม่น้อยรู้ว่าความงมงาย เชื่อง่าย ตรง  นี้เป็นบ่อเกิดแห่งรายได้ เครื่องแบบพระที่ดูเป็นสมณะ เป็นคนดี  ช่วยให้เกิดศรัทธาได้ง่าย ก็ช่วยให้หากินได้ดีและเนียนกว่าเครื่อง  แบบทหาร ต�ำรวจ หรืออื่นใด 172  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒”


“คณะสงฆ์ไทยไม่ได้มหี ลักการตรวจสอบเรือ่ งรายได้ อ�ำนาจ  และธรรมวินัยให้โปร่งใส ให้อยู่ในหลัก ในธรรม  การเข้าไปอยู่  ในวัดแทนที่จะช่วยให้คนผู้นั้นดีขึ้น สงบลง แต่กลับกลายเป็น  ตรงข้าม” สองขาอธิบาย และก็กลายเป็นที่มาของเรื่องสั้นที่คว้ารางวัลชนะเลิศมติชน  อวอร์ด   “นทธี ศศิวิมล” ส�ำหรับนักเขียนคนนี้แทบไม่ต้องแนะน�ำอะไรให้มากมาย  เพราะเธอคือนักเขียนวรรณกรรมสร้างสรรค์ที่มาแรงที่สุดคนหนึ่ง  แห่งยุค  แทบทุกเวทีงานเขียนในช่วง ๒-๓ ปีนี้ มักมีชื่อของเธอ  ในฐานะผู้คว้าชัยเสมอ “ยังรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ ภูมิใจทุกครั้งที่ได้รับรางวัลนะคะ ไม่  ว่าจะรางวัลไหน “การที่มีคนให้เกียรติมอบรางวัลให้เรา เป็นโอกาสพิเศษที ่ เราควรจะมีความสุข แล้วก็มีความสุขจริงๆ นั่นแหละ ไม่เคย  กดดันอะไรเลยจากการได้รับรางวัล มีแต่ก�ำลังใจที่เพิ่มขึ้นทุกๆ  ครั้ง  แล้วยิ่งรู้ว่ามีคนติดตามผลงานหรือจับตามองอยู่ไม่ว่าจะ  ประเด็นไหนๆ ก็ยิ่งท�ำให้เราอยากจะท�ำงานออกมาให้ดีๆ รักษา  คุ ณ ภาพให้ ส มกั บ ที่ เ ขาติ ด ตามดู เ รา”  คนเก่ ง เอ่ ย ด้ ว ยรอยยิ้ ม  สดใส เอกลักษณ์หนึ่งในงานของนทธีคือเรื่องเล่าเชิงจิตวิทยา ซึ่ง  เจ้าตัวอธิบายว่าจิตวิทยาคือแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์  เรื่อง  แรงใจและไฟฝันของคนวรรณกรรม  173


“ทรงจ�ำ” แม้จะเป็นแนววิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็จะมีจิตวิทยา  แอบแทรกอยู ่ เพราะทุกอย่างเกีย่ วโยงกันหมด ทัง้ ร่างกายและจิตใจ  นทธีบอกว่าส่วนตัวแล้วชอบอ่านเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์มาก  ถึงมากที่สุด เพราะมีเสน่ห์ต่างจากวรรณกรรมบันเทิงคดีทั่วไป  ตรงที่อ่านแล้วได้ทั้งความบันเทิงและความรู้ใหม่  แต่น่าเสียดาย  ที่เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดยคนไทยมีน้อย ส่วนใหญ่หาอ่าน  ได้จากงานแปล “เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ที่ดีน่าจะมีสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดเหมือน  เรื่องสั้นอื่นๆ คืออ่านแล้วต้องสนุก น่าติดตาม แล้วข้อมูลความรู ้ ค่อยตามมา และควรจะเป็นข้อมูลความรู้ที่ใหม่ ทันสมัย และถ้า  บวกมากับจินตนาการบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ด้วยก็จะสนุกขึ้น  อีกค่ะ” เมื่อถามถึงทัศนะที่ว่าด้วยเวทีประกวดในปัจจุบัน  นทธี  ก็ว่าอย่างน้อยก็สามารถช่วยกระตุ้นภาวะซบเซาของแวดวงวรรณ-  กรรมได้ดี คนอ่านมีทางเลือกมากขึ้น คนเขียนก็มีเรี่ยวแรงอยาก  จะพัฒนาผลงานมากขึ้น และเธอก็จะเขียนต่อไป อีกไม่นานผลงานของทุกคนจะปรากฏเป็นรูปเล่มสมบูรณ์ โปรดอย่ารอคอย แต่จงติดตามด้วยความระทึกในดวงหทัย  พลัน พิมพ์ครั้งแรก : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ 174  รวมผลงานนักเขียน “รางวัลมติชน ปี ๒”


แรงใจและไฟฝันของคนวรรณกรรม  175



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.