การเมืองไทยวัยฮอร์โมน

Page 1


การเมืองไทย วัยฮอร์โมน


การเมืองไทย วัยฮอร์โมน


การเมืองไทยวัยฮอร์โมน ดร. วีรพงษ์  รามางกูร

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2557


การเมืองไทยวัยฮอร์โมน • ดร.วีรพงษ์ รามางกูร พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม 2557 ราคา  140  บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม วีรพงษ์  รามางกูร, การเมืองไทยวัยฮอร์โมน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 160 หน้า. 1. ไทย-การเมืองการปกครอง  I. ชื่อเรื่อง 320.9593  ISBN  978 - 974 - 02 - 1270 - 6

ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์ ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม • พิสูจน์อักษร : บุญพา มีชนะ, ชัยรัตน์  เลิศรัตนาพร กราฟิกเลย์เอาต์  : อัสรี  เสณีวรวงศ์  • ออกแบบปก : สินา วิทยวิโรจน์ ศิลปกรรม : ศศิณัฏฐ์   กิจศุภไพศาล • ประชาสัมพันธ์  : กานต์สินี  พิพิธพัทธอาภา

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235  โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี  บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  11120 โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596  โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน ทายาทอสูร มรดกอสูร  อลงกรณ์กับประชาธิปัตย์ ไม่หมิ่นศาล เศร้าสลดใจ ทัศนคติที่น่าห่วง เวทีปฏิรูปการเมือง จุดยืนของประชาธิปัตย์ การพิจารณาเรื่องขัดรัฐธรรมนูญ อ�ำนาจอธิปไตยกับปวงชนชาวไทย เสียดายโครงการพัฒนา

7 9 13 19 25 31 37 43 49 55 61 67


การบริหารการจัดชุมนุมใหญ่ เห็นใจต�ำรวจชั้นผู้น้อย เนลสัน แมนเดลา มาตรา 7 เจ้ากรรม สังคมวัยฮอร์โมน สังคมอารยะ คนกลางที่ไม่เลือกข้าง แนวร่วมมุมกลับ ปฏิวัติ  ปฏิรูป พัฒนาการ และวิวัฒนาการ ท�ำไปท�ำไม เลือกตั้งทั่วไป 2 กุมภาพันธ์  2557 พลวัตการเมืองไทย

75 83 89 95 103 111 117 123 129 137 145 153


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

“...วัยว้าวุ่นเป็นวัยที่เก็บกด สับสน ก้าวร้าว ต่อต้านสิ่งที่เป็นอยู่  ไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไรดี  เวลารักใครก็รักอย่างรุนแรง ยอมตาย  เพื่ อ ความรั กได้  ยอมตายเมื่ออกหัก  เกลียดใครก็เกลียดอย่าง  รุนแรง...” นิ ย ามความเป็ น วั ย รุ ่ น พลุ ่ ง พล่ า นทางอารมณ์   ที่   ดร.วี ร พงษ์  รามางกูรกล่าวไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้  อธิบายความเป็นไป  ของผู้คนในสังคมไทยได้อย่างชัดเจน ห้วงเวลาแห่งความขัดแย้งเรื่องหลักคิดทางการเมือง ที่คนไทย  แบ่งขั้วเป็นสองฝ่ายใหญ่ๆ ได้สร้างความแตกแยกร้าวลึกมาเกือบหนึ่ง  ทศวรรษ ตั้งแต่หลังเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อาการตื่นตัวทางการเมือง กระตุ้นความรู้เรื่องรัฐศาสตร์  นิติ  ศาสตร์  หลักกฎหมาย สิทธิความเป็นพลเมือง การเลือกตั้ง ฯลฯ ที่ทุก  ชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย ต้องกลับมาทบทวนวิชาพื้นฐานที่เคยศึกษาใน  ชั้นเรียน  โดยเฉพาะความรู้เรื่อง “หลักการประชาธิปไตย” ที่เราทราบ  กันดีว่าอ�ำนาจอธิปไตยนั้น โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้  การเมืองไทยวัยฮอร์โมน  7


อ�ำนาจอธิปไตยอยู่  3 องค์กร ได้แก่  อ�ำนาจบริหาร อ�ำนาจนิติบัญญัต ิ และอ�ำนาจตุลาการ ซึ่งความขัดแย้งบิดเบี้ยวที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ  ฉบับปี  2550 ได้สร้างความระส�่ำระสายต่อเสถียรภาพการตรวจสอบ  ถ่วงดุล เกมการเมืองที่รุนแรงเพื่ออ�ำนาจปกครองประเทศ การสร้างวาท  กรรม หรือ “Hate Speech” ของผู้น�ำม็อบทั้งสองฝ่าย ผ่านสื่อมวลชน  ทุกช่องทาง และการแพร่กระจายข้อมูลเชิงลบในสังคมออนไลน์   ส่งต่อ  ความเกลียดชังถึงทุกครัวเรือน สั่นคลอนหลักการที่ยึดปฏิบัติ  มองข้าม  ระบบเหตุผลที่มีขั้นตอน  กฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ไร้ความหมาย  ประเทศไทยก�ำลังจะเข้าสู่กลียุคหรือไม่  ? ดร.วีรพงษ์  รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง นักวิชาการคนส�ำคัญของ  ประเทศ อดีตรัฐมนตรีฯ  ผู้ผ่านยุคสมัยการเมืองของนายกรัฐมนตรี  9  คน เปิดมุมคิดวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองในรอบทศวรรษที ่ ผ่านมา เช่น การปฏิรูปการเมือง การพิจารณาและพิพากษาคดีของ  ศาลไทย การจัดการชุม นุม ต่อ ต้านรัฐ บาล  การเติบโตทางความคิด  ของคนไทยเรื่องการเมือง ฯลฯ  ต้นเหตุ–ปมความขัดแย้ง–วิธีแก้ไข ในวิกฤตการเมืองครั้งประวัติ  ศาสตร์รอบนี้  ดร.โกร่งเสนอแนะไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อการเติบโตสู่สังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ส�ำนักพิมพ์มติชน

8  ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


ค�ำน�ำผู้เขียน

หนังสือเล่มนีเ้ ป็นการรวบรวมข้อเขียนทีไ่ ด้ตพ ี มิ พ์ไปแล้วในหนังสือ  พิมพ์มติชนรายวัน  เป็นข้อเขียนที่เขียนในช่วงระยะเวลาที่ประเทศของ  เราก�ำลังมีปัญหาการแตกแยกทางความคิดทางการเมืองอย่างรุนแรง  ข้อเขียนต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่เขียนจึงเป็นปฏิกิริยาที่สนองตอบต่อ  เหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ทางการเมืองของผู้คนในสังคม  ย่อมมีทั้ง  ผูเ้ ห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เป็นของธรรมดา  เพราะผูค้ นย่อมจะมีอารมณ์  ร่วมหรือเชียร์กันไปกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นของธรรมดา ข้อเขียนทีป่ รากฏในหนังสือเล่มนี้  เป็นข้อเขียนทีพ่ ยายามขจัดอคติ  ส่วนตัว  พยายามยึดถือข้อเท็จจริงเท่าทีร่ แู้ ละหาได้  พยายามยึดหลักการ  ประชาธิปไตยอันเป็นการปกครองโดยเสียงข้างมาก  แต่เสียงข้างน้อย  ก็ตอ้ งได้รบั การปกป้อง ยึดถือตรรกะทางกฎหมาย หลักนิตริ ฐั  ประโยชน์  สุขของสังคมในระยะยาว ตามความคิดความเห็นและตัวหนังสือของผู้  เขียน  ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป  การเมืองไทยวัยฮอร์โมน  9


เมื่อวันเวลาผ่านไป จากเหตุการณ์หนึ่งผ่านไปสู่เหตุการณ์หนึ่ง  เมือ่ ทุกสิง่ ทุกอย่างกลายเป็นประวัตศิ าสตร์   กาลเวลาจะเป็นเครือ่ งพิสจู น์  ว่า ใครผิด ใครถูก อย่างไร  ขอใช้กาลเวลาเป็นตัวช่วยส�ำหรับทุกคน วีรพงษ์ รามางกูร  ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๗

10  ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


การเมืองไทย วัยฮอร์โมน


มรดก คมช.ทิ้งไว้มีอีกมาก หลักการการจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อช่วยรัฐสภาตรวจสอบรัฐบาล เป็นหลักการที่ดีใช้ ได้  แต่การสรรหาบุคลากร เข้าไปด�ำรงต�ำแหน่งต่างๆ ต้องดูคุณสมบัติ ความคิดเห็นเป็นกลาง บริสุทธิ์ยุติธรรม ที่จะท�ำให้ "ประชาชนไว้วางใจ" สถาบันอิสระเหล่านี้จึงจะเป็นสถาบัน อันทรงเกียรติ ไม่เป็นทายาท คมช.


ทายาทอสูร มรดกอสูร

ส.ว.ลากตัง้ ท�ำตัวเป็นทายาทคณะมนตรีความมัน่ คงแห่งชาติ (คมช.) อย่างแจ้งชัดในหลายๆ เรื่อง  คมช.ได้สลายตัวไปแล้ว หัวหน้า คมช.  ที่ท�ำการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็มาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ท�ำหน้าท�ำตาเป็นนักประชาธิปไตย  พร้อมๆ กับออกมาสารภาพว่ารัฐธรรมนูญปี  2550 มีบทบัญญัติหลาย  เรื่องไม่เป็นประชาธิปไตยและเสนอแก้รัฐธรรมนูญเสียเอง ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เหล่าขบวนการล้มล้าง  หรือผู้ต่อต้านรัฐบาลทั้งหลายในยุคนั้น ท�ำการปลุกปั่นปล่อยข่าวเท็จ  เป็นระลอกหลายเรื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน เริ่มจากเรื่องปฏิญญา  ฟินแลนด์  ซึ่งศาลก็ตัดสินจ�ำคุกแต่รอลงอาญาคนปล่อยข่าวไปแล้ว  ปล่อยข่าวขบวนการล้มเจ้า ซึ่งไก่อู  โฆษก คมช.ก็สารภาพไปแล้ว รวม  ทั้งข่าวฉ้อราษฎร์บังหลวงมากมาย จนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นการพิสูจน์อย่าง  แจ้งชัด ข่าวเรื่องมีผลประโยชน์ในการเจาะน�้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย  กับเขมรป่านนี้ก็ยังไม่ปรากฏความจริง รวมทั้งสารพัดข่าวเท็จที่ออกมา  เพื่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน การเมืองไทยวัยฮอร์โมน  13


มีพทุ ธวจนะบทหนึง่ ว่า “นตฺถ ิ อการิย ํ ปาปํ  มุสาวาทิสสฺ  ชนฺตโุ น”  ความว่า “คนพูดเท็จ จะไม่พงึ ท�ำบาป ย่อมไม่ม”ี  หรือแปลเป็นภาษาชาว  บ้านว่า “คนโกหกไม่ท�ำชั่วไม่มี” มุสาวาทาที่ขบวนการท�ำให้ประชาชน  แตกแยกก็กลายเป็นมรดก คมช.มาจนบัดนี้ มรดก คมช.ที่ส�ำคัญที่ยังคงอยู่คือ รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีบท  บัญญัติบ่อนท�ำลายการพัฒนาประชาธิปไตย และปกป้องมรดก คมช.  อยู่หลายเรื่อง การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 เรือ่ ง อันได้แก่  ขอให้การยืน่ ค�ำร้อง  ให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด การยุบพรรคการเมือง  และลงโทษกรรมการบริหารพรรคทีไ่ ม่ได้ทำ� ผิดท�ำไม่ได้  ยกเลิก ส.ว.ลาก  ตั้งเมื่อวุฒิสภาครบวาระแล้ว และการที่รัฐบาลจะไปเจรจาเรื่องต่างๆ  กับต่างประเทศต้องขออนุมัติรัฐสภาเสียก่อนทุกเรื่อง ซึ่งประเด็นต่างๆ  เหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาๆ ก็น่าจะแก้ไขทั้งนั้น ไม่เห็นมีอะไรจะเสียหาย  ต่อระบอบประชาธิปไตย 40 ส.ว. ที่เป็นเสมือ นทายาท คมช. ก็อ อกมาร้องโพนทะนา  อาละวาดทันทีว่า เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอัน  มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เหมือนๆ กับการขอตั้งสภาร่างรัฐ  ธรรมนูญ (สสร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  แทนฉบับมรดก คมช.  ฉบับนี้  ที่ทายาท คมช.ท�ำเกือบส�ำเร็จ มรดก คมช.ทิ้งไว้มีอีกมาก หลักการการจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ  เพื่อช่วยรัฐสภาตรวจสอบรัฐบาลเป็นหลักการที่ดีใช้ได้  แต่การสรรหา  บุคลากรเข้าไปด�ำรงต�ำแหน่งต่างๆ ต้องดูคุณสมบัติความคิดเห็นเป็น  กลาง บริสุทธิ์ยุติธรรมที่จะท�ำให้  “ประชาชนไว้วางใจ” สถาบันอิสระ  เหล่านี้จึงจะเป็นสถาบันอันทรงเกียรติ  ไม่เป็นทายาท คมช. แต่ถ้าสรรหาเอาบุคคลที่มีความเป็นมา มีความคิดความเห็น  เป็นทายาท คมช. เช่น “ตุลาการภิวัฒน์” ที่พูดจาแสดงความเห็นไม่  14  ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


เคารพต่อวิชาชีพ ไม่เคารพตนเอง เข้าไปเป็นผู้ด�ำรงต�ำแหน่งในองค์กร  อิสระ องค์กรอิสระนั้นก็เสียหาย “ไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน” 40 ส.ว. ออกมาปกป้อง มรดก คมช.เหล่านี้  โดยใช้เหตุผลข้างๆ  คูๆ ไร้เหตุผลหลักการ หลักวิชาการ ผิดเพี้ยนจนไม่รู้จะกล่าวอธิบาย  ความจริงอย่างไร ประชาชนคนไทยควรจะเรียนรู้จากประสบการณ์เสียทีว่า การ  ท�ำปฏิวัติรัฐประหารนั้นเป็นสิ่งเลวร้ายที่ทั่วโลกเขาประณาม การแทรก  แซงการเมืองโดยกองทัพ โดยทหารควรจะหมดสิน้ ไปจากเมืองไทยเสียที  ประชาธิปไตยแม้จะไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นระบอบ  การปกครองที่เลวน้อยที่สุด เรื่องนี้ยังคงเป็นความจริง  ส่วนระบอบการ  ปกครองโดยทหารหรือครอบง�ำโดยทหารเป็นระบอบที่เลวที่สุด เมื่ อ มี ก ารท� ำ การรั ฐ ประหาร  โดยเฉพาะการรั ฐ ประหาร  19  กันยายน 2549 กระท�ำในยุคที่โลกเขามีการพัฒนาการเมืองกันไปทั่ว  แล้ว ช่วงที่ก�ำลังดูถูกดูหมิ่นพม่าและยกย่องประเทศไทยว่ามีการพัฒนา  การเมืองไปได้เร็วทีส่ ดุ หลังการประกาศใช้รฐั ธรรมนูญปี  2540 พอ คมช.  มาท�ำการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ประเทศไทยก็ถอยไปอยู่แนว  หลังของพม่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งในกรมทหาร ออง ซาน ซูจ ี ยังรังเกียจไม่อยากพูดด้วย และไม่ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่จัด  ตั้งโดย คมช.หรือกองทัพที่ท�ำรัฐประหาร เมื่อเร็วๆ นี้  ก็มีทายาท คมช.ออกมาเรียกร้องให้ยึด ปตท.คืน  เพราะใต้แผ่นดินประเทศไทยมีน�้ำมันส�ำรองอยู่มหาศาล ซึ่งเป็นการ  กล่าวเท็จอย่างตรงไปตรงมา  บังเอิญกระแสนี้ในช่วงก่อนรัฐประหาร  ได้ซาลงจึงไม่มีใครเชื่อ ก็เลยแล้วกันไป มรดกของขบวนการประชาธิปไตยนั้นท�ำลายได้ง่าย เพียงแค่  ลากปืนออกมาท�ำปฏิวัติรัฐประหารก็ไม่มีใครกล้าหือ แม้จะมีคนที่เคย  ประกาศตนว่า “เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา”  แต่เมื่อมีการท�ำรัฐประหาร  ก็ไม่เคยเห็นหัว หลบหน้าหายตัวไปทุกที การเมืองไทยวัยฮอร์โมน  15


องค์กรมรดกรัฐประหารท�ำลายได้ยากแม้จะกลับมาเป็นระบอบ  ประชาธิปไตย เพราะขบวนการรัฐประหารจะสร้างรัฐธรรมนูญและ  องคาพยพบรรจุทายาทของตนไว้ทุกครั้ง การจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข  มรดกที่ทิ้งไว้จึงท�ำได้ยาก คมช.จึ ง เปรี ย บเสมื อ นอสู ร  ที่ ทิ้ ง มรดกคื อ รั ฐ ธรรมนู ญ และตั้ ง  “ทายาทอสูร” ไว้ท�ำหน้าที่แทน  ต่อต้านและบ่อนท�ำลายขบวนการ  ประชาธิปไตย อะไรคือมรดกอสูร ใครคือทายาทอสูร เจ้าตัวรู้ดี

จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่  18 เมษายน 2556 16  ดร.วีรพงษ์ รามางกูร



กล่าวคือ พรรคประชาธิปัตย์เป็นของแกนน�ำ หรือกรรมการ หรือกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้พรรคเป็นของสมาชิก 3 ล้านคน หรือผู้สนับสนุนอีก 8 ล้านคน หรือของประชาชนทั้งประเทศทั้งที่เป็นสมาชิก ผู้สนับสนุน และประชาชนทั่วไป


อลงกรณ์กับประชาธิปัตย์

ขณะนีม้ ขี า่ วร้อนแรงเกีย่ วกับบ้านเราอยูห่ ลายข่าว เป็นต้นว่า ราคา  ทองค�ำร่วงอย่างน่าใจหาย ข่าวเรื่องศาลโลกก�ำลังพิจารณาคดีเขาพระ  วิหาร และข่าวประธานคณะที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ออกมาต�ำหนิ  นายอลงกรณ์  พลบุตร แกนน�ำพรรคประชาธิปัตย์  ที่ออกมาเสนอการ  ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน   ประธานทีป่ รึกษาพรรคประชาธิปตั ย์ออกมาต�ำหนิวา่  การวิพากษ์  วิจารณ์พรรคไม่ควรท�ำอย่างเปิดเผย ควรท�ำในพรรค ก็แสดงจุดยืน  อย่างชัดเจนว่า ในทัศนะของประธานที่ปรึกษาพรรคที่เคยเป็นหัวหน้า  พรรคมาก่อนยังมีทัศนะแบบเดิมๆ กล่าวคือ พรรคประชาธิปัตย์เป็น  ของแกนน�ำหรือกรรมการ หรือกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น ไม่ได้มีจุด  มุ่งหมายให้พรรคเป็นของสมาชิก 3 ล้านคน หรือผู้สนับสนุนอีก 8 ล้าน  คน หรือของประชาชนทั้งประเทศ ทั้งที่เป็นสมาชิก ผู้สนับสนุนและ  ประชาชนทั่วไป   ส�ำหรับคนทั่วไปแล้ว ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นของเราด้วย  เพราะพรรคเอาเงินภาษีอากรของประชาชนไปใช้  ประชาชนทั่วไปจึง  ควรมีสิทธิได้รับรู้ความคิดเห็นของแกนน�ำและกรรมการพรรคแต่ละ  การเมืองไทยวัยฮอร์โมน  19


คนด้วยว่าใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูปพรรค  เมื่อถึงคราว  หย่ อ นบั ต รประชาชน  ทั้ ง ที่ เ คยสนั บ สนุ น และไม่ เ คยสนั บ สนุ น จะได้  ตัดสินใจถูก ไม่ใช่เป็นพรรคปิดลับ รู้กันแต่แกนน�ำพรรคแต่ละคนว่า  มีเหตุผล มีความคิดอย่างไร ใครมีอ�ำนาจครอบง�ำความคิดพรรคและ  ผู้ที่ครอบง�ำนั่นมีความคิดเห็นอย่างไร ไม่ใช่เป็นพรรคปิด รู้กันแต่ใน  ชมรม “นกแก้วนกขุนทอง” ที่หัดพูดหัดจ�ำตามที่ผู้เลี้ยงนกสอนให้พูด    เรื่องที่สองก็คือ ต้องปฏิรูปความคิดจากการเป็นพรรคปิดมา  เป็ น พรรคเปิ ด ต่ อ ประชาชน ต่อ สาธารณชน จะได้มีโอกาสฟังเสียง  ประชาชน ปฏิรูปความคิด ทัศนคติ  และการวิเคราะห์การเมืองและ  สังคมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์  มีข้อมูล หรือชาวฝรั่งเขาเรียกว่าวิเคราะห์  อย่างภาวะวิสัย “Objective” ไม่ใช่วิเคราะห์อย่างอัตวิสัย หรือ “Sub-  jective” เลิกคิดเรื่องที่ว่า เงินซื้อการเมืองได้ทุกอย่าง  คนไทยส่วนใหญ่  ถูกมอมเมาด้วยเงินและนโยบายประชานิยม เพราะขณะที่พรรคประชา  ธิ ป ั ต ย์ เ ป็ น รั ฐ บาลก็ ท� ำ อย่ า งเดี ย วกั น   ท� ำ ไมไม่ ไ ด้ ผ ล เลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป  เมื่อไหร่ก็แพ้เมื่อนั้น   เมื่ อ   ส.ส.พรรคตรงกั น ข้ า มออกมาสนั บ สนุ น การปฏิ รู ป พรรค  ประชาธิปัตย์  ก็ให้โฆษกพรรคออกมาบริภาษพรรคเพื่อไทยว่าไม่สนใจ  ท�ำงานของตัว แต่มาสนใจเรื่อง “ภายใน” พรรคประชาธิปัตย์  เพราะ  พรรคตั ว เองวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ไ ม่ ไ ด้   ต้ อ งรอสั่ ง ซ้ า ยสั่ ง ขวาทางสไกป์  (Skype) จากต่างประเทศ    การโต้ตอบแบบนี้ไม่มีประโยชน์  ไม่สร้างสรรค์  ไม่ได้สื่ออะไร  ถึงประชาชนเลย    น่าร�ำคาญ   ประการต่อไปคือ “จุดยืน” ของพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยได้รับ  การสนับสนุนอย่างมาก เพราะมีจุดยืนต่อต้าน “เผด็จการทหาร” แม้ว่า  เมื่อทหารออกมาจริงๆ จะหายตัวไปหมดก็ตาม แต่พอทหารให้รัฐธรรม  นูญก็ออกมาต่อต้านรัฐธรรมนูญและต่อต้านทหาร ซึง่ ได้ใจประชาชนและ  20  ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


ขบวนการประชาธิปไตย   แต่เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา พรรคกลับร่วมไม้ร่วมมือกับพันธมิตร  สร้างกระแสน�ำทางให้ทหารท�ำการปฏิวัติรัฐประหารเสียเอง   กระท�ำการหลายๆ อย่างตรงข้ามกับขบวนการประชาธิปไตย  เช่น ประณามเสียงส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดว่าเป็นเสียงไม่มีคุณภาพ  เป็นเสียงที่ซื้อได้  ไม่มีคุณภาพเท่ากับเสียงคนกรุงเทพฯ เรียกร้องให้  พระราชทานนายกรัฐมนตรีโดยใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ จนได้  สมญานามว่ า   “มาร์ ค   ม.7”  เมื่ อ มี ก ารยุ บ สภา  ก็ บิ ด เบื อ นหลั ก วิ ช า  ถามว่าสภาผู้แทนราษฎรมีความผิดอะไรจึงยุบสภา  ครั้งพอตนมาเป็น  นายกรัฐมนตรีมีคนมาเดินขบวนจ�ำนวนหลายแสนเรียกร้องให้ยุบสภา  กลับไม่ใช้การยุบสภาให้ประชาชนตัดสินโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ แต่  ใช้วิธี  “ขอพื้นที่คืน” กับ “กระชับพื้นที่” ด้วยก�ำลังทหาร มีคนตายเกือบ  100 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน จนเป็นคดีอยู่ในศาลไทยและอาจจะ  ต้องขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ   การตัดสินใจคว�่ำบาตรการเลือกตั้งทั่วไปหลังการยุบสภา ไม่  ส่งตัวแทนพรรคลงสมัครเลือกตั้ง โดยหวังให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ  โดยไม่มีเหตุอันควร เหมือนที่เคยคว�่ำบาตรการเลือกตั้งปี  2495 เมื่อ  จอมพล ป.พิบูลสงคราม น�ำเอารัฐธรรมนูญฉบับปี  2475 แก้ไขเพิ่ม  เติม พ.ศ. 2495 ที่มีบทบัญญัติให้มี  ส.ส.ประเภทสองมีจ�ำนวนเท่ากับ  ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะถ้าพรรคมนังคศิลาของจอมพล ป.  ได้  ส.ส.จากการเลือกตั้งอีกเพียงเสียงเดียวก็ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภา    ผูแ้ ทนสามารถจัดตัง้ รัฐบาลได้  ฝ่ายค้านไม่มที างเป็นรัฐบาลได้เลย    การคั ด ค้ า น  ขั ด ขวาง  ถ่ ว งเวลาการแก้ ไ ขรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ปี  2550 ที่มีรากฐานมาจากคณะรัฐประหาร คมช.เป็นการแสดงจุดยืน  ขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างตรงไปตรงมา ต่างกับเมื่อก่อน  ที่  ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช ที่เคยเรียกรัฐธรรมนูญที่มีรากฐานมาจากรัฐ  ประหารว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับฟันปลอม” และได้รับเสียงสนับสนุน  การเมืองไทยวัยฮอร์โมน  21


จากคนในกรุงเทพฯ อย่างมากจนเกิดเหตุการณ์  14 ตุลาคม 2516   การต่อสู้ขัดขวางการออกกฎหมายนิรโทษกรรมส�ำหรับประชาชน  ที่ร่วมการชุมนุมเป็นจ�ำนวนมาก  โดยอ้างว่าจะเป็นการช่วย พ.ต.ท.  ทักษิณ ชินวัตร ไม่ให้ต้องได้รับโทษ  เมื่อมีการเสนอกฎหมายไม่ครอบ  คลุม พ.ต.ท.ทักษิณและแกนน�ำทั้งสองฝ่าย จะนิรโทษกรรมประชาชน  คนชั้นล่างที่ถูกข้อหา “ผู้ก่อการร้าย” ศาลไม่ให้ประกันตัว  แต่กรณี  ยึดสนามบินยึดสถานที่ราชการ ศาลกลับให้ประกันตัว คนยากจน คน  ชั้นล่าง ก็ต้องอาศัยสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ก็คัดค้านขัด  ขวางหน่วงเหนี่ยวเท่ากับยืนอยู่กับคนชั้นสูง ซึ่งมีจ�ำนวนน้อยกว่าคน  ชั้นล่าง เคยแหย่ถามพรรคพวกที่อยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ค�ำตอบก็คือ  ต้องรักษาส่วนแบ่งของตลาดเอาไว้  มิฉะนั้นจะไม่เหลืออะไรเลย   ถ้าทัศนคติเป็นอย่างนี้ก็คงจะเป็นอย่างนี้ต่อไป พรรคพวกที่อยู่  เพื่อไทยเคยบอกว่าจะไม่รุกหัวหน้าพรรคและประธานที่ปรึกษาพรรค  ประชาธิปัตย์จนอยู่ไม่ได้  เพราะถ้าทั้งสองท่านนี้ยังอยู่  พรรคเพื่อไทย  สบาย มีเลือกตั้งเมื่อไหร่ก็ชนะ คดีความต่างๆ จึงไม่ต้องรีบเร่ง ปล่อย  ไปเรื่อยๆ  ถ้าหัวหน้าพรรคคนปัจจุบันหมดวาระแล้วได้รับเลือกให้อยู ่ ต่อก็ดี  ฟังวิธีคิดของพรรคเพื่อไทยแล้วก็  “เศร้าใจ” เหมือนกัน   มีร้านตัดผมที่ใช้บริการมาเกือบ 30 ปีแล้วอยู่หน้าซอยอินทามระ  22 ชื่อร้าน “ชายบาร์เบอร์” คุยกันเมื่อ 5-6 ปีก่อนว่า การเมืองไทยใน  ที่สุดจะเป็นอย่างไร ใครจะชนะ ช่างตัดผมยิ้มแล้วตอบว่า “ขบวนการ  ประชาชน”   ถ้าจุดติดแล้วไม่เคยไม่ชนะ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เพราะ  จ�ำนวนมีมากกว่าและนับวันจะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายตรงกันข้าม  จะเล็กลงเรื่อยๆ ไม่เชื่อท่านคอยดูก็แล้วกัน ประวัติศาสตร์การเมือง  ของประเทศต่างๆ ในโลกเป็นอย่างนั้น ฟังค�ำวิเคราะห์ของช่างตัดผม  แล้วสะดุ้ง เพราะพูดได้คมกว่าผู้น�ำพรรคการเมืองหลายๆ คนในหลายๆ  พรรค 22  ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


จุดยืนในเรื่องนโยบายต่างประเทศโดยเฉพาะกับประเทศเพื่อน  บ้าน พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยนึกว่าคนไทยที่ท�ำมาหากินอยู่ในบริเวณ  พรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือมีญาติพี่น้องอยู่ในประเทศเพื่อน  บ้านก็เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเหมือนกัน การไปตั้งแง่กับพม่า  ลาว  กั ม พู ช า  แล้ ว พยายามไปผู ก มิ ต รกั บ มหาอ� ำ นาจอย่ า งอเมริ ก า  อังกฤษ ยุโรป อาจจะมีคนไทยที่มีสิทธิออกเสียงอยู่บ้างแต่ก็ไม่มาก  ไม่คุ้มกับเสียงของคนไทยในบริเวณชายแดน  เสียงเชียร์จากประชาชน  ในประเทศเพื่อนบ้านอย่านึกว่าไม่ส�ำคัญ เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์  ไม่รู้เท่านั้นเอง เพราะไม่เคยเดินเข้าไปในเขมร ลาว พม่า หรือไทยสิบ  สองปันนา ถ้าเดินเข้าไปคุยกับแม่ค้าตลาดสดตอนเช้าก็จะได้ความรู้สึก  ว่าเขาสนใจการเมืองไทยมาก เวลามีการอภิปรายในสภาไทย  ประชาชน  เพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว กัมพูชา ฟังภาษาไทยออก เพราะเขาดูละคร  ทีวีไทยทุกวัน ฟังการอภิปรายในสภาไทย  วิพากษ์วิจารณ์พรรครัฐบาล  พรรคฝ่ายค้านอย่างตรงไปตรงมา เปิดเผยกว่าคนไทยเสียอีก ซึง่ สะท้อน  ความคิดเห็นของคนไทยตามแนวชายแดนได้ดี   สิ่งเหล่านี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยน�ำมาวิเคราะห์วิจัยเพื่อปฏิรูป  พรรค เอาแต่เชื่ออย่างเดิมๆ รักษาส่วนแบ่งตลาดไว้  พรรคตรงกันข้าม  ชนะเพราะมีเงินมากกว่า พรรคเรามีเงินน้อยกว่า คนอีสานและคนเหนือ  ซื้อเสียงได้  มีอะไรพูดกันในพรรคอย่าให้  “คนนอก” ได้ยิน   “คนนอก” หมายถึงใครกันแน่

จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่  25 เมษายน 2556 การเมืองไทยวัยฮอร์โมน  23


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.