ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

Page 1


ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา (ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ล�ำดับที่ ๒๒)

‘หนุ่มเมืองจันท์’

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  ๒๕๕๗


ความเชื่อคือเข็มทิศ  ชีวิตเป็นของเรา • ‘หนุ่มเมืองจันท์’ พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๗ ราคา  ๑๖๕  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ‘หนุ่มเมืองจันท์’, (นามแฝง). ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา.  กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๑๖ หน้า. ภาพประกอบ. ๑. การพัฒนาตนเอง  I. ชื่อเรื่อง ๑๕๕.๒๕ ISBN  978 - 974 - 02 - 1268 - 3 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์  วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี  หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม • ผู้ช่วยบรรณาธิการ : สอง แสงรัสมี พิสูจน์อักษร : ศรีวิไล ปานสีทา • กราฟิกเลย์เอาต์  : อัสรี  เสณีวรวงศ์ ออกแบบปก-ภาพประกอบ : วิธีท�ำ • ศิลปกรรม : มาลินี มนตรีศาสตร์ ประชาสัมพันธ์  : กานต์สินี  พิพิธพัทธอาภา

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ

เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕  โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองพิมพ์สี  บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่  ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์  ๒ ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  ๑๑๑๑๐ โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖  โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  ๑  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์  ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 109๐ Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


ส า ร บั ญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน

ปรัชญา “เต่า” ท�ำในสิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ เริ่มต้นที่ตัวเรา (๑) เริ่มต้นที่ตัวเรา (๒) ความเสี่ยง นวัตกรรม ชีวิตแบบ “มูจิ ” เล่าเรื่องใหม่

๕ ๗ ๑๕ ๒๓ ๓๑ ๓๙ ๔๗ ๕๕ ๖๕ ๗๕


ชีวิต “มหาเศรษฐี” ฟรี-ถูก-แพง  อ�ำนาจ “การฟัง” ไทยไฟต์ จุฑาเมพ  สุมาอี้ “ไม่มี” แต่ “มี” โนเบลเรียก “พี่” ความกลัว การเดินทางของ “คนอ้วน” โลกที่เปลี่ยนไป มหัศจรรย์ “ทัวร์จีน” ท�ำในสิ่งที่รัก ระยะที่เหมาะสม ที่สุดของการออกแบบ ลูกเหรียง (๑) ลูกเหรียง (๒)

๘๓ ๙๑ ๙๘ ๑๐๕ ๑๑๒ ๑๒๒ ๑๓๑ ๑๓๗ ๑๔๕ ๑๕๑ ๑๕๗ ๑๖๕ ๑๗๕ ๑๘๓ ๑๘๙ ๑๙๕ ๒๐๔


คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์

เพราะมีสองพี่น้องตระกูลไรต์  คนทั้งโลกจึงได้รู้จักเครื่อง  ยนต์บินได้ที่เรียกว่าเครื่องบิน เพราะมีนายเซอร์ไอแซค นิวตัน  ที่ช่างคิด เราจึงรู้จักกฎแรงโน้มถ่วงที่ไขปริศนาหลายๆ อย่าง  ของโลก เพราะการไม่ยอมแพ้ต่อความล้มเหลวนับพันครั้งของ  โทมัส อัลวา เอดิสัน โลกทั้งโลกจึงถูกจุดด้วยแสงสว่างของ  หลอดไฟแทนที่แสงธรรมชาติของดวงอาทิตย์ กว่าจะมีนวัตกรรมที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์  ผู้คน  ต่างต้องลองผิดลองถูก ผ่านความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้ง  ยังต้องเอาชนะสิ่งที่มองไม่เห็นและยังไม่เกิดขึ้นจริง ด้วยพลัง  ที่เรียกว่า “ความเชื่อ”  และความเชือ่ นีเ้ องทีเ่ ป็น “เข็มทิศ” น�ำทางให้เราประสบ  ความส�ำเร็จ ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

5


“ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา” คือผลงาน  ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ล�ำดับที่  22 ของ ‘หนุ่มเมืองจันท์’ หนุ่มรวย  อารมณ์ขันเจ้าประจ�ำที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตา ไม่ว่าจะในฐานะ  พิธีกรและคณะกรรมการในจอแก้ว, ครูใหญ่ในคอร์สสอนความ  คิ ด สร้ า งสรรค์   ABC, คอลั ม นิ ส ต์ ผู ้ เ ปี ่ ย มคมคิ ด ในคอลั ม น์  Market-Think แห่งประชาชาติธุรกิจ, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจในมติชน  สุดสัปดาห์  และที่เราคุ้นเคย คือพี่  “หนุ่ม” (จัง) ในอ้อมอกอ้อม  ใจแฟนหนังสือ ในเล่มนี้  ‘หนุ่มเมืองจันท์’ พูดถึง “ความเชื่อ” ซึ่งเป็น  “เข็มทิศ” ของชีวิต  “ความเชื่อ” ซึ่งเป็น “ความหวัง” ที่มีชีวิต เป็นความเชื่อ  ที่มองเห็น “พื้นที่ของโอกาส” ใน “ความเป็นไปได้” ของทุกสิ่ง  เป็นความเชื่อชนิดพิเศษ ในการมองเห็นโลกปัจจุบันใน  สายตาของ “อนาคต”  เป็นความเชื่อที่มั่นใจว่า เราสามารถท�ำอะไรได้เกินกว่า  ศักยภาพสูงสุดที่อยู่ในความคิดของเรา และเพราะคนทุกคนมีชีวิตเป็นของตัวเอง ความเชื่อนี้  จึงเป็นแรงผลักดันให้เราท�ำทุกสิ่งได้ ด้วยพลังที่มีในตัวเรา ‘หนุ่มเมืองจันท์’ เชื่อเช่นนั้น เชื่อว่าทุกคนมี “เข็มทิศ” เป็นของตัวเอง และเชื่อว่า “ชีวิตเป็นของเรา” ส�ำนักพิมพ์มติชน 6

‘หนุ่มเมืองจันท์’


คํ า นํ า ผู้ เ ขี ย น

สมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ผมไปค่ายอาสาพัฒนาชนบทเกือบทุกปิดเทอม มีอยู่ปีหนึ่งไปออกค่ายในหมู่บ้านที่ขอนแก่น ตอนเช้า ผมขีม่ อเตอร์ไซค์ของชาวบ้านไปซือ้ ของทีต่ ลาด ระหว่างทางเจอสะพานข้ามคลองยาวประมาณ ๒๐ เมตร สูงจากพื้นน�้ำประมาณ ๔-๕ เมตร สะพานกว้างประมาณ ๒ คนเดินสวนกันแบบเบียดๆ พอถึงคอสะพาน ผมชะลอรถช้าๆ แล้วจอด คิด-คิด และคิด จะขี่ข้ามไปหรือลงเดินจูง แม้ ส ะพานจะกว้ า งพอ แต่ ก ารขี่ ร ถมอเตอร์ ไ ซค์ ข ้ า ม  สะพานแคบๆ ก็เสียวเหมือนกัน ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

7


หันไปดู เห็นชาวบ้านขี่มอเตอร์ไซค์ตามหลังมาไกลๆ จะเดินจูงมอเตอร์ไซค์ข้ามสะพานก็กลัวชาวบ้านที่ตาม  มาจะต้องเสียเวลารอ แฮ่ม...อีกเรื่องหนึ่งคือ กลัวเสียฟอร์มครับ เอาวะ เป็นไงเป็นกัน ขับช้าๆ เลี้ยงตัวดีๆ น่าจะรอด ผมตั้งสมาธิ ตั้งสติ เชื่อ...เชื่อ และเชื่อมั่นว่าเราท�ำได้ ผมค่อยๆ เร่งความเร็ว  มอเตอร์ไซค์เคลื่อนตัวช้าๆ สบายครับ ข้ามไปอีกฝั่งอย่างปลอดภัย ระหว่างที่จอดรถชื่นชมตัวเอง ผมหันกลับไปดูชาวบ้าน  ที่ขี่มอเตอร์ไซค์ตามมา         เย้ยยย...      เขาลงจากมอเตอร์ไซค์ครับ แล้วเดินจูงรถข้ามสะพาน หน้าตาเฉย           ไม่มีท่าทีเสียฟอร์มอะไรเลย จะตลกไหมครับ ถ้าจะบอกว่านี่คือเรื่องหนึ่งที่ผม  นึกถึงทุกครั้ง         เวลาพูดถึงพลังของ “ความเชื่อ” 8

‘หนุ่มเมืองจันท์’


ยังจ�ำความรู้สึกที่บอกตัวเองว่า “เราท�ำได้” ในวันนั้นได้         จากวันนั้นจนถึงวันนี้  มีหลายครั้งที่ผมฟันฝ่างานยากๆ  มาได้ด้วยพลังแห่ง “ความเชื่อ”      เชื่อว่า “เราท�ำได้” เคยบอกน้องๆ หลายคนถึง “ความเชือ่ ” เรือ่ งหนึง่ ของผม ผมเชื่อว่า “มนุษย์” มี “ปีก” ครับ “ปีก” ที่ท�ำให้เราบินไปถึงเป้าหมายได้เร็วกว่า “การวิ่ง” ตามปกติมนุษย์เราจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เร็วที่สุด  ด้วยการวิ่ง เร็วกว่ากลิ้งและตีลังกาอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าเป้าหมายอยู่ห่าง ๑ กิโลเมตร ถ้าเราจะไปให้ถึงเป้าหมายเร็วที่สุด เราต้องวิ่ง  อาจใช้เวลาประมาณ ๓ นาทีก็ถึงเป้าหมาย นั่นคือศักยภาพสูงสุดที่เราคิดว่าเรามี แต่ถ้าเรามี “ปีก” ล่ะ เราคงบินไปถึงเป้าหมายได้เร็วกว่า ๓ นาที อาจจะแค่ ๑ หรือ ๒ นาที น่าเสียดายที่ “มนุษย์” ไม่มี “ปีก”   หลายคนคงคิดแบบนั้น แต่ผมไม่เชื่อ “มนุษย์” มี “ปีก” ครับ ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

9


“ปีก” ที่ท�ำให้เราสามารถท�ำอะไรได้เกินกว่าศักยภาพ  สูงสุดในความคิดของเรา ถ้าใครถามว่า แล้ว “ปีก” ของเราอยู่ที่ไหน ผมจะตอบอย่างมั่นใจ แหะ แหะ...ไม่รู้ครับ ผมไม่รู้ว่า “ปีก” ของเราอยู่ที่ไหน      รู้อย่างเดียว เวลาใดที่คุณเชื่อและศรัทธาในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มากพอ        จะมี “ปีก” ที่มองไม่เห็น งอกออกมาจากตัวคุณ         แล้วเราจะสามารถท�ำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด         มหัศจรรย์จริงๆ       ไม่เชื่อ…ลองดูสิครับ      ตลกไหมครับ ถ้าจะบอกว่าค�ำน�ำชิน้ นี ้ ผมเขียนขณะ  ที่ก�ำลัง “บิน”         ผมเริ่มเขียนค�ำน�ำชิ้นนี้ตอนกลางคืน เพราะตอนเช้า  ต้องไปต่างจังหวัด         แต่เขียนไม่จบ         ก็เลยต้องมาเขียนต่อบนเครื่อง         และบังเอิญเหลือเกินที่ที่นั่งของผมอยู่ตรงปีกเครื่องบิน  พอดี         แล้วผมก็เขียนเรื่อง “ปีก”         เขียนไปดู “ปีก” ไป 10

‘หนุ่มเมืองจันท์’


ในอดี ต คงไม่ มี ใ ครคิ ด ว่ า  “มนุ ษ ย์ ”  จะล่ อ งลอยอยู ่ บ น  อากาศได้        แต่เพราะมีพี่น้อง ๒ คนเชื่อว่า “เราต้องบินได้”         เราจึงมีเครื่องบิน        และพลั งความเชื่อของพี่น ้องตระกูลไรท์  ท� ำให้ผ มได้  เขียนหนังสือโดยมี “เจ้าปุยเมฆ” เป็นเพื่อนอยู่ข้างหน้าต่าง       ขออนุญาตจบ “ค�ำน�ำ” ลงเพียงเท่านี้         เจ้าปุยเมฆเพิ่งมากระซิบ     ให้จับตามองเธอให้ดี เดี๋ยวเธอก�ำลังจะแปลงกายครับ ‘หนุ่มเมืองจันท์’ www.facebook.com/boycitychanFC

ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

11


(ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ล�ำดับที่ ๒๒)



ปรัชญา “เต่า”

ไม่ได้เจอ “สมชาย เหล่าสายเชือ้ ” เจ้าของ “โตโยต้าดีเยีย่ ม”  นานทีเดียว คุยทางโทรศัพท์บ้าง แต่ไม่ได้เจอตัว   หรือไม่ก็เจอผ่าน “ถั่วตัด” หรือ “หมูเค็ม” ที่คุณสมชาย ฝากลูกน้องมาให้เป็นประจ�ำ แต่ในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมา ผมได้เจอตัว “สมชาย” จรด ปลายเท้าคนนี้ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรก เมื่อบริษัทยูนิลีเวอร์จัดงานเลี้ยงดีลเลอร์  และ ผู้บริหารคนหนึ่งเคยอ่านเรื่องของคุณสมชายในหนังสือของผม เขาเลยขอเชิญแบบ “แพ็กคู่” คือเชิญผมไปสัมภาษณ์ “สมชาย” บนเวที จากนั้นไม่นาน ผมก็เชิญคุณสมชายมาพูดที่หลักสูตร ABC ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม รุ่นที่ ๑ ปีที่ ๒ ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

15


คือ จริงๆ หลักสูตรนี้ต้องเรียนแค่ปีเดียว แต่นักเรียน กลุ่มนี้ไม่ยอมจบครับ อยากเรียนซ�้ำชั้น สุดท้าย ผมกับ “โจ้” ธนา เธียรอัจฉริยะ ก็เลยต้องท�ำให้ เกิดกิจกรรมปีที่ ๒ ขึ้นมา และ “สมชาย เหล่าสายเชื้อ” คือวิทยากรคนแรกที่เชิญ มาเปิดคอร์สปีที่ ๒ “สมชาย” วันนี้แตกต่างจากวันที่ผมเจอที่อุบลราชธานี เมื่อ ๓-๔ ปีก่อน ข้อแรก คือ หนุ่มขึ้น ถ้าใครเคยเจอ “สมชาย” เมื่อ ๔ ปีก่อน มาเจอวันนี้แล้ว จะตกใจ เขาปรับบุคลิกใหม่ ดูแลตัวเองมากขึ้น จาก “เถ้าแก่” ก็กลายเป็น “นักธุรกิจ” ที่ทันสมัย “สมชาย” บอกว่าเขาไม่อยาก “แก่ตาย” แต่อยาก “หล่อตาย” ข้อสอง รวยขึ้น ตอนนี้สินทรัพย์ของ “สมชาย” ทั้งหมด ๒๐,๐๐๐ ล้านบาทครับ ข้อที่สาม พูดเก่งขึ้น เรื่องราวของ “สมชาย” มหัศจรรย์อยู่แล้ว พอเพิ่มลีลา การเล่าที่มีสีสันเข้าไป เรียบร้อยครับ 16

‘หนุ่มเมืองจันท์’


พูดจบ ทุกคนลุกขึ้นยืนปรบมือให้เลย “สมชาย” เรียนจบแค่ ป.๕   เขาบอกว่าเป็นคนความจ�ำไม่ดี  ท�ำให้ต้องเรียนซ�้ำชั้น ตลอด นักเรียนในห้องมี ๖๒ คน เขาสอบได้ที่ ๖๑ หรือ ๖๒ “ครั้งไหนสอบได้ที่  ๖๑  หมายความว่ามีคนไม่มาสอบ ๑ คน” วั น ที่ เ ขาตั ด สิ น ใจลาออก คื อ วั น ที่ ค รู ป ระจ� ำ ชั้ น เอาข้ อ สอบมาให้ที่บ้าน อยากให้เขาสอบผ่าน ชีวิตของ “สมชาย” ผ่านความล�ำบากมามากมาย  เคย โดนเถ้าแก่คนหนึ่งโกง เถ้าแก่คนนีช้ วนเขามาท�ำงาน สัญญาว่าจะให้เป็นหุน้ ส่วน และแบ่งก�ำไรให้ แต่สุดท้ายก็เบี้ยวไม่ยอมจ่าย วันทีเ่ ขาเปิดโชว์รมู โตโยต้าดีเยีย่ ม “สมชาย” ส่งจดหมาย ไปหาเถ้าแก่ทุกคนที่เคยมีบุญคุณกับเขา ขอมอบรถให้  ๑ คัน มีคนถามว่า แล้วเถ้าแก่คนที่เคยโกงเขา “สมชาย” ส่ง จดหมายไปให้หรือเปล่า ถามเล่นข�ำ-ข�ำ ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

17


“ส่งครับ” เป็นค�ำตอบจริงๆ ของ “สมชาย” เขาบอกว่า เถ้า แก่ค นนี้มีบุญคุณมาก เพราะสอนวิชา “ความอดทนทางจิตใจ” ให้กับเขา ถ้าไม่มีเถ้าแก่คนนี้   เขาคงไม่สู้ชีวิตเหมือนทุกวันนี้ “สมชาย” เป็นคนที่มีวิธีการสอนลูกน้องที่น่าสนใจ เขาสอนหลักการขายง่ายๆ “คนที่ไม่ซื้อของคุณ ไม่ต้องคุยกับเขา ให้ไปคุยกับคนที่ ซื้อ” เอ้อ...จริง ที่ยากก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนจะซื้อ คนไหน ไม่ซื้อ แต่ในอีกมุมหนึ่งคือ คุณต้องขยันน�ำเสนอสินค้า และต้องมีสัญชาตญาณในการมองออกว่าลูกค้าคนไหน มีโอกาสที่จะซื้อ ถามว่าช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี ท�ำอย่างไร “สมชาย” บอกว่าให้ท�ำงานหนักกว่าเดิม อย่างช่วงปี ใหม่ โชว์รูมไหนหยุด “โตโยต้าดีเยี่ยม” ไม่หยุด โกยก่อนได้ก่อน เพราะปีใหม่เป็นช่วงที่คนหอบเงินโบนัสกลับบ้าน เป็นโอกาสที่จะได้คุยกับคนที่จะซื้อ ช่วงปีใหม่เขากวาดยอดขายไปแล้วประมาณ ๑๐๐ คัน ส่วนวิธีการบริหารการขายยามวิกฤตก็ง่ายครับ 18

‘หนุ่มเมืองจันท์’


สมมุติว่าเป้ายอดขายปี ๒๕๕๗ บริษัทแม่ตั้งไว้ ๑,๐๐๐ คัน “สมชาย” จะเอา ๑๐ เดือนหาร เฉลี่ยเดือนละ ๑๐๐ คัน ถามว่าท�ำไมเอา ๑๐ เดือนหาร ทั้งที่ ๑ ปีมี ๑๒ เดือน ค�ำตอบก็คือ เผื่อไว้ ถ้า ๑๐ เดือนไม่ได้ตามเป้า จะได้มีเวลาอีก ๒ เดือนไว้แก้ตัว ยัง...ยังไม่พอ เดือนละ ๑๐๐ คัน “สมชาย” เอา ๒๐ วันหาร ได้วันละ ๕ คัน ถามว่าท�ำไมเอา ๒๐ หาร ทั้งที่ ๑ เดือนมี ๓๐ วัน ค�ำตอบคล้ายกันครับ ถ้า ๒๐ วันขายไม่ได้ตามเป้า จะได้มีเวลาอีก ๑๐ วันไว้แก้ตัว แต่ถ้าขายได้ตามเป้ารายวัน คือ ๕ คันต่อวัน ก็แจ๊กพ็อตสิครับ ๓๖๕ วัน ก็ ๑,๘๒๕ คัน เกินเป้าประมาณ ๘๒.๕% แค่นั้นเอง และถ้าลูกน้องบ่นว่า “ท�ำไม่ได้” เขาก็ถามกลับว่าคุณชอบให้ใครดูถูกไหม “ไม่ค่ะ/ไม่ครับ” ลูกน้องแทบทุกคนตอบแบบเดียวกัน “ถ้าไม่ชอบให้ใครดูถูก คุณก็อย่าดูถูกตัวเอง” ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

19


และตบท้ายแบบให้ก�ำลังใจ “พวกคุณกลัวรวยเหรอ”

อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นหลักคิดง่ายๆ “โตโยต้าดีเยี่ยม” มีชุดที่เขาจะแจกให้พนักงานทุกคน “สมชาย” เรียกชุดนี้ว่าชุด “Make Money” คือ ใส่ชุดนี้เมื่อไร มีโอกาสได้เงิน เพราะใส่วันธรรมดาก็ได้เงินเดือน ได้ค่าคอมฯ จากการ ขายรถ ใส่วันหยุดก็ได้โอที ไม่มีเสียเงิน ไม่เหมือนกับการใส่ชุดไปเที่ยว เริ่มจากต้องเสียเงินซื้อชุด พอไปเที่ยวก็เสียเงินซื้อของ ชุดไปเที่ยวจึงเป็นชุด “Lose Money” จะเลือกใส่ชุดไหนก็ขึ้นอยู่กับเรา แต่เรื่องที่ผมชอบที่สุดคือ ปรัชญาชีวิตที่ท�ำให้  “สมชาย” ประสบความส�ำเร็จ ในขณะที่คนอื่นมักอ้างค�ำคมต่างประเทศ แต่ปรัชญาชีวิตของ “สมชาย” มาจากนิทานครับ นิทานอีสป เรื่อง “กระต่ายกับเต่า” เป็นปรัชญา “เต่า” 20

‘หนุ่มเมืองจันท์’


“ความเชื่อ” ที่เป็น “เข็มทิศ” ในชีวิตของเขาก็คือ คนเรานั้น “คิดเก่ง” ไม่เท่า “ก้าวก่อน” “ก้าวก่อน” สู้  “ก้าวยาว” ไม่ได้ “ก้าวยาว” สู้  “ก้าวเร็ว” ไม่ได้ “ก้าวเร็ว” เท่าไรก็ไม่เท่า “การวิ่ง” แต่  “วิ่ง” เร็วแค่ไหนก็สู้คนที่  “เดินไม่หยุด” ไม่ได้ ความส�ำเร็จในชีวิตของเขาจึงมากับ “ความดื้อ” ครับ เดินไปเรื่อยๆ ก้าวต่อไป ไม่เคยหยุด

ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

21



ท�ำในสิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ

มีคนเคยถาม “ตัน ภาสกรนที” เรื่องกลยุทธ์การท�ำธุรกิจ  ให้ประสบความส�ำเร็จ แทนที่จะตอบตรงๆ เขาถามกลับว่า ถ้าคุณเดินขายของ แล้วเจอซอยที่มีป้ายติดว่า “ระวัง หมาดุ” คุณจะท�ำอย่างไร ค�ำถามนี้ตอบง่ายครับ “ถอยสิครับ ไปหาซอยใหม่” แต่ส�ำหรับ “ตัน” เขาจะรีบเข้าไปขายของในซอยนี้ทันที เพราะถ้าทุกคนเห็นป้ายแล้วหนี  ก็แสดงว่าที่ผ่านมาไม่มี ใครไปขายของในซอยนี้เลย  ถ้าเขาเข้าไปก็มีโอกาสจะขายได้ “ผมชอบท� ำ อะไรที่ ค นไม่ ช อบท� ำ  ยิ่ ง บอกว่ า ยากหรื อ ล�ำบาก ผมยิ่งชอบ” ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

23


นี่คือ “ความเชื่อ” ของเขา ครับ เคล็ดลับหนึ่งของคนที่ประสบความส�ำเร็จคือ การ ท�ำในสิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ “สิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ” นั้นมีอยู่ ๒ แบบ แบบที่หนึ่ง คือมองเห็น “โอกาส” หรือคิดค้นนวัตกรรม ใหม่ๆ อย่าง “สตีฟ จ็อบส์” ที่พัฒนาโทรศัพท์ไอโฟนขึ้นมาด้วย การท�ำลายสิ่งประดิษฐ์เดิม นั่นคือคีย์บอร์ด ในอดีตโทรศัพท์มือถือจะมีปุ่มกด จะโทร.เบอร์ไหน หรือส่งข้อความไปหาใครก็ต้องกดปุ่ม กดบนเครื่อง แต่  “จ็อบส์” นั้นคิดเรื่องการน�ำ  “จอทัชสกรีน” มาใช้กับ โทรศัพท์มือถือ เขาต้องการให้  “ตัวเลข” หรือ “ตัวอักษร” ขึ้นมาบนหน้า จอ แล้วผู้ใช้ก็กดเลขหรือตัวอักษรบนหน้าจอเลย ไม่ใช่ “ปุ่มกด” จินตนาการที่มองเห็น “สิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ” คือเคล็ดลับ ความส�ำเร็จหนึ่งของ “สตีฟ จ็อบส์” แต่คนที่มีความสามารถแบบนี้ต้องมี “พรสวรรค์” ไม่ใช่ใครๆ ก็ท�ำได้ 24

‘หนุ่มเมืองจันท์’


แต่ “การท�ำในสิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ” แบบที่สอง เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ท�ำได้ นั่นคือ การท�ำเรื่องที่ยาก ล�ำบาก หรืองานที่คนทั่วไป รังเกียจ เพราะนี่คือสิ่งที่คนทั่วไปไม่ท�ำกัน มนุษย์ทุกคนชอบความสบาย ไม่มีใครอยากท�ำงานหนัก หรืองานที่ล�ำบาก ดังนั้น การที่ใครยอมลงแรงท�ำสิ่งที่คนอื่นไม่อยากท�ำ จึง กลายเป็นการสร้าง “โอกาสใหม่” ให้กับชีวิต “โชค บูลกุล” ตอนที่ตัดสินใจท�ำฟาร์มโชคชัย เขารู้ว่าการท�ำอาชีพเกษตรกรรมนั้นเป็นงานหนัก แต่ “โชค” ตัดสินใจท�ำเพราะเขายึดถือปรัชญาข้อหนึ่ง “งานที่ลงแรงน้อย ก�ำไรมาก คู่แข่งมาก แต่งานที่ลงแรงมาก ก�ำไรน้อย คู่แข่งน้อย” “โชค” เลือกงานที่ “คู่แข่ง” น้อย จากนัน้ ค่อยๆ พัฒนาฟาร์มโชคชัยจากธุรกิจเกษตร เป็น ธุรกิจท่องเที่ยว ถ้าการท�ำในสิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำ  แบบแรก ต้องอาศัย “พร สวรรค์” ของคนเป็นหลัก ในโลกนี้จะมีคนแบบ “สตีฟ จ็อบส์” น้อยมาก แต่แบบที่สอง เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็สามารถท�ำได้ เพียงแต่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมท�ำ ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

25


เคยได้ยินชื่อนักบาสเกตบอลเอ็นบีเอ ชื่อ “ลาร์รี่  เบิร์ด” ไหมครับ เขาเพิ่งสร้างปรากฏการณ์ครั้งส�ำคัญ ด้วยการเป็นคน แรกที่คว้ารางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยม โค้ชยอดเยี่ยม และผู้บริหาร ยอดเยี่ยมของบาสเกตบอลเอ็นบีเอ “ลาร์ร ี่ เบิรด์ ” เป็นนักบาสระดับต�ำนาน พอๆ กับ “ไมเคิล จอร์แดน” ตอนที่เป็นนักบาสของทีมบอสตัน เซลติกส์  เขาเคยคว้า แชมป์เอ็นบีเอ ๓ ครั้ง เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยม ๓ ครั้ง เมื่อมาเป็นโค้ชให้ทีมอินเดียน่า เพย์เซอร์ส เขาก็ได้โค้ช ยอดเยี่ยม จนขยับมาเป็นประธานฝ่ายปฏิบัติการของทีม เขาก็คว้า ต�ำแหน่งผู้บริหารยอดเยี่ยมเมื่อปีที่ผ่านมา การได้ต�ำแหน่ง “ยอดเยี่ยม” ทั้งตอนที่เป็นผู้เล่น โค้ช และผู้บริหาร หนังสือพิมพ์ใช้ค�ำยกย่องว่าเป็น “มนุษย์คนแรก” ที่ท�ำได้ ผมเคยอ่านเรื่องของ “ลาร์รี่ เบิร์ด” ตอนที่ยังเป็นนักบาส เชื่อไหมครับว่า “เบิร์ด” ไม่ได้โดดเด่นด้านใดด้านหนึ่ง เป็นพิเศษ ชาวอเมริกันนั้นชอบสถิติ ทุกเกมกีฬาจะต้องมีสถิติประกอบ เช่น เกมนี้ “เบิร์ด” ชู้ตกี่ครั้ง ลงห่วงกี่ครั้ง 26

‘หนุ่มเมืองจันท์’


มีแยกแยะด้วยนะครับระหว่างกระโดดชู้ต กับวิ่งแล้วชู้ต “เบิร์ด” มีสถิติ “กระโดดชู้ต” อยู่อันดับที่ ๒๐๐ กว่า ชู้ตระหว่างวิ่ง ติดอันดับที่ ๑๐๐ กว่า แต่เมื่อดูการเล่นโดยรวมแล้ว “ลาร์รี่  เบิร์ด” คือหนึ่งใน สุดยอดนักบาสเกตบอลเอ็นบีเอ ส่วนหนึ่งมาจาก “พรสวรรค์” ของเขา เก่งระดับหนึง่  แต่ไม่ได้สดุ ยอดเหมือน “ไมเคิล จอร์แดน” หรือ “เมจิก จอห์นสัน” มีคนบอกว่าเหตุผลที่ท�ำให้  “ลาร์รี่  เบิร์ด” ประสบความ ส�ำเร็จนั้นมาจาก “พิธีกรรม” ส่วนตัวของเขาก่อนลงสนาม เป็นเคล็ดลับความส�ำเร็จที่คนอื่นไม่มี และไม่ยอมท�ำ พิธีกรรมของ “เบิร์ด” เริ่มต้นจากการเดินทางไปที่สนาม ก่อนการแข่งขันหลายชั่วโมง ไปก่อนนักกีฬาคนอื่นๆ ทั้งหมด จากนั้ น เขาจะเริ่ ม พิ ธี ก รรมด้ ว ยการเลี้ ย งลู ก บาสช้ า ๆ ไปรอบสนาม หัวของเขาจะก้มต�่ำตลอดเวลา ตาจะเพ่งมองไปที่พื้นสนาม ครับ เขาก�ำลังส�ำรวจพื้นสนามทุกตารางนิ้วว่ามีจุดไหน ที่เป็นปัญหากับการวิ่ง หรือการกระเด้งกระดอนของลูกบาส หรือไม่ ถ้ารู้ว่าจุดไหนมีปัญหา เขาก็จะได้ไม่ไปยืนหรือเลี้ยงลูก ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

27


บาสตรงจุดนั้น “ลาร์รี่ เบิร์ด” ท�ำในสิ่งที่ใครๆ ก็ท�ำได้ แต่คนอื่นไม่ท�ำ แค่ไปถึงสนามก่อนใคร ยอมเสียเวลาเพือ่ ท�ำความคุน้ เคยกับ “สนาม” ทีจ่ ะแข่งขัน ให้มากที่สุด “ลาร์รี่ เบิร์ด” เชื่อว่า “สนาม” คือส่วนหนึ่งของเกม ยิ่งคุ้นเคย ยิ่งได้เปรียบ ครับ บางทีจดุ เปลีย่ นชีวติ อาจไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั  “พรสวรรค์” หรือ “ความฉลาด” เหนือใคร แต่อยู่ที่เราเลือกท�ำในสิ่งที่คนอื่นไม่ยอมท�ำ แค่นั้นเอง

28

‘หนุ่มเมืองจันท์’


ล้มเหลวเพราะ “ผิดพลาด” ไม่เลวร้ายเท่ากับความล้มเหลวเพราะ ไม่สรุป “บทเรียน” จาก “ความผิดพลาด” ครั้งก่อน ‘หนุ่มเมืองจันท์’



เริ่มต้นที่ตัวเรา (๑)

วันก่อนไปดูงานมาครับ ตื่นตาตื่นใจมาก สถานที่ไปดูงานไม่ใช่ต่างประเทศ ไม่ใช่โรงงานขนาดใหญ่ทันสมัยในเมืองไทย แต่เป็นชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งแถวรังสิต ปทุมธานี  ชื่อว่า “ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต” ครับ ชุมชนนี้เคยไปออกรายการ “ร้อยมือสร้างเมือง” ทาง โมเดิร์นไนน์มาแล้วครั้งหนึ่ง รายการนี้จะน�ำโครงการของชุมชนต่างๆ ที่ได้รับการ อนุมัติจากคณะกรรมการด�ำเนินโครงการพัฒนาเมืองมาแข่งขัน กัน ชุมชนไหนชนะได้เงินรางวัล ๒ ล้านบาท ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

31


ที่น่าสนใจก็คือ คนในชุมชนเป็นผู้ที่คิดโครงการเอง ไม่ใช่โครงการที่ลอยมาจากส่วนกลางหรือภาครัฐ เพราะคนทีร่ ปู้ ญ ั หาของชุมชนทีด่ ที สี่ ดุ  คือตัวชาวบ้านเอง มีปัญหาอะไร ก็คิดหาวิธีแก้ปัญหาของตัวเอง จากนั้นก็ให้เสนอโครงการขึ้นมา วงเงินที่ขออนุมัติไม่เกิน ๒ ล้านบาท โครงการที่เข้าสู่รายการ “ร้อยมือสร้างเมือง” จึงหลาก หลายมากครับ มีทั้งโครงการปรับปรุงตลาดสด, โครงการร่วมใจอาสา ป้องกันภัย, โครงการศูนย์กิจกรรมผู้สูงอายุ, โครงการถนนเด็ก เดิน, โครงการธนาคารกิ่งไม้ ฯลฯ ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิตก็เป็นชุมชนหนึ่ง เขาเสนอโครงการน�้ำประปาชุมชน ขยายเขตประปาริม คลองรังสิต เนื้อหาโครงการไม่มีอะไรเลยครับ ขอขยายเขตท่ อ น�้ ำ ประปาเข้ า ชุ ม ชน การประปารั ง สิ ต บอกว่ า  ถ้ า จะขยายเขตต้ อ งใช้ เ งิ น ๒,๐๕๐,๐๐๐ บาท เขาก็เลยยืน่ เรือ่ งขอเงินจากโครงการ “ร้อยมือสร้างเมือง” บอกตามตรงว่าโครงการนี้ไม่มีความคิดสร้างสรรค์อะไร เลย แต่เชื่อไหมครับว่าโครงการง่ายๆ แบบนี้ครองต�ำแหน่ง ที่ ๑ มานานมาก 32

‘หนุ่มเมืองจันท์’


เพราะแม้ว่าเนื้อหาโครงการจะธรรมดา แต่ที่มาของโครงการนั้นยิ่งใหญ่มาก

วั น นั้ น   คนที่ ม าน� ำ เสนอโครงการเป็ น ผู ้ น� ำ ชุ ม ชน  มีทั้ง “เอื้อง” กนกภรณ์, พี่นิเวศน์, พี่ฉลอง “เอื้อง” เป็นตัวหลักในการอธิบายเรื่องราวทั้งหมด เธอเริ่มต้นจากการเล่าที่มาของ “ชุมชนสร้างสรรค์นคร รังสิต” ชุมชนนี้เป็นการรวมตัวของ ๔ ชุมชนที่บุกรุกพื้นที่ของ รัฐและเอกชน เมื่อโดนไล่ที่ ทุกคนก็คิดอยากมีบ้านของตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็น “ความฝัน” ที่เกินจริงมาก คิดดูสิครับว่าชาวบ้านแต่ละคนอยู่ในสลัม หาเช้ากินค�่ำ แต่จะซื้อที่ดินสร้างบ้าน ที่ดินที่รังสิตก็แพงมาก แต่ด้วยการสนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. ในที่สุด ๔ ชุมชนนี้ก็ท�ำให้ความฝันเป็นจริงได้ เริ่มจากการเล็งที่ดินแปลงหนึ่งเป็นที่ตาบอด ที่ราคาพอ จะเอื้อมถึง “เอื้อง” เล่าว่า เริ่มประชุมกันตั้งแต่ปี  ๒๕๔๗ ออมเงิน คนละเล็กคนละน้อย ๑๙๐ ครัวเรือน ได้เงินรวมกัน ๕ ล้านบาท  ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

33


ออม ๑๐% กู้ ๙๐% ใครมีเงินน้อยก็ได้ที่น้อย ประมาณ ๑๐ ตารางวา มีเงินออมเยอะหน่อยก็ได้ที่ดินมากหน่อย สู้กันมาตลอดจนได้บ้านเป็นของตัวเอง ชาวบ้านลงแรงท�ำถนนเอง ท�ำสาธารณูปโภคทุกอย่าง เองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สุดท้ายก็ได้บ้านเป็นของตัวเอง ยิ่งฟังยิ่งชื่นชม “เอื้อง” บอกว่า หลักคิดของเธอและเพื่อนๆ คือ ไม่ว่า ปัญหาจะหนักหนาแค่ไหน เราต้องเริ่มต้นแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน “เราไม่อยากร้องขอใคร อะไรท�ำได้เราท�ำก่อน ให้ออม เงินซื้อที่ดินและบ้านใช่ไหม เราท�ำก่อน” ฟังแล้วอึ้งเลยครับ ใครที่คิดว่า “คนจน” ทุกคนคิดแต่จะแบมือขอความช่วย เหลือ ผมอยากให้ได้ยินเสียงของ “เอื้อง” ด้วยสถานะของเธอและเพื่อน ถ้าจะร้องขอความช่วย เหลือก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เธอไม่เคยมีความคิดเช่นนั้น “ความเชื่อ” ของเธอก็คือ “ทุกปัญหาถ้าแก้เองได้  ท�ำ ก่อน” อะไรไม่ไหวจริงๆ ค่อยเอ่ยปากขอ 34

‘หนุ่มเมืองจันท์’


ดังนั้น การที่เธอเสนอขอเงิน ๒ ล้านบาท เพื่อขยาย เขตประปาเข้าหมู่บ้าน แสดงว่าเรื่องนี้เกินก�ำลังจริงๆ เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ ชุมชนนี้ขอ “ประปา” เข้าหมู่บ้าน ขอเท่าไรก็ไม่ได้สักทีเพราะอยู่นอกเขต ต้องแก้ปัญหาด้วยการขอต่อก๊อกน�้ำจากบ้านหลังหนึ่ง ที่อยู่นอกหมู่บ้าน เพื่อไปใช้ทั้งหมู่บ้าน ต่อท่อเล็กๆ เข้าบ้าน ๑๙๐ หลัง น�้ำประปาที่ไหลจึงกะปริบกะปรอยมาก ต้นหมู่บ้านแรงหน่อย แต่ท้ายหมู่บ้านน�้ำแทบไม่ไหลเลย พี่ฉลองเล่าว่า ต้องตื่นนอนตอนตี  ๒ เพื่อมารองน�้ำ  ไม่ เช่นนั้นจะไม่มีน�้ำใช้ บางวันเด็กนักเรียนไม่มีน�้ำอาบตอนเช้า ทรมานมาก นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายเรื่องน�้ำก็สูง เพราะต่อท่อมาจาก มิเตอร์เดียว ในขณะที่การประปาคิดอัตราก้าวหน้า ๑๙๐ หลังคาเรือน ใช้น�้ำมิเตอร์เดียว ค่าน�้ำของหมู่บ้านนี้จึงสูงจนน่าตกใจ บางเดือนยูนิตละ ๔๓ บาท รายได้กน็ อ้ ย แต่ตอ้ งจ่ายค่าน�ำ้ กันบ้านละ ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ บาท ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

35


ทั้งที่บ้านทั่วไปเสียค่าน�้ำแค่หลักร้อยต้นๆ ถาม “เอื้อง” ว่า ถ้าไม่ได้เงินจากโครงการนี้จะท�ำอย่างไร เธอบอกว่าถ้าไม่ได้ก็จะช่วยกันออม  เก็บเงินเดือนละ ๑๐๐ บาท “สัก ๘ ปี ก็คงได้” สะอึกเลยครับ วั น นั้ น  ผมบอกกั บ  “เอื้ อ ง” ว่ า  เรื่ อ งราวของชุ ม ชนนี้ มหัศจรรย์และยิ่งใหญ่มาก ขอให้รู้ว่าเธอและเพื่อนๆ ไม่ใช่แค่เป็น “ต้นแบบ” ให้กับ ชุมชนต่างๆ เท่านั้น แต่ยังเป็น “ต้นแบบ” ส�ำหรับทุกคนที่มีปัญหาด้วย ผมยังจ�ำค�ำของ “เอื้อง” ได้ดี “ยิ่งเป็นปัญหาของเรา เราต้องพยายามแก้เองก่อน” อย่าแปลกใจที่ผมจึงอยากไปดูงานที่ชุมชนนี้ ชุมชนที่เชื่อว่า “ชีวิตเป็นของเรา” เราต้องก�ำหนดชะตากรรมของเราเอง ชุมชนของคนที่ไม่ยอมแพ้

36

‘หนุ่มเมืองจันท์’


“ความหวัง” ที่ไม่มี “ความเพียร” จะเป็นแค่ “ความสิ้นหวัง” ‘อองซานซูจี’


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.