กรุงแตก พระเจ้าตาก และประวัติศาสตร์ไทย

Page 1


กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย

ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์



กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย

ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ นิธิ เอียวศรีวงศ์

ราคา ๒๑๐ บาท


พิมพ์ครั้งแรก : มกราคม ๒๕๓๘ พิมพ์ครั้งที่ ๒ : กรกฎาคม ๒๕๓๙ พิมพ์ครั้งที่ ๓ : กันยายน ๒๕๔๐ พิมพ์ครั้งที่ ๔ : กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ พิมพ์ครั้งที่ ๕ : ตุลาคม ๒๕๔๓ พิมพ์ครั้งที่ ๖ : กรกฎาคม ๒๕๔๔ พิมพ์ครั้งที่ ๗ : พฤศจิกายน ๒๕๔๕ พิมพ์ครั้งที่ ๘ : กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ พิมพ์ครั้งที่ ๙ : สิงหาคม ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ : กันยายน ๒๕๕๓

กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ • นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๑ : ธันวาคม ๒๕๕๗ ราคา ๒๑๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์.  พิมพ์ครั้งที่ ๑๑.- - กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๒๖๐ หน้า- - (ประวัติศาสตร์). ๑. ตากสินมหาราช, สมเด็จพระเจ้า, 2277-2325. ๒. ไทย- -ประวัติศาสตร์- -กรุงธนบุรี.  I. ชื่อเรื่อง. 959.304 ISBN 978 - 974 - 02 - 1364 - 2

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการเล่ม : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน I พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : กิตติชัย ส่งศรีแจ้ง • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณ์รัตน์ • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนปาน • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กับประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย

(๖) (๘)

๑. ๒๐๐ ปีของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและทางข้างหน้า ๒. ท่านจันทร์ฯ กับประวัติศาสตร์ล้านนา ๓. เมื่อไม่มีต�ำแหน่ง “แม่ขุน” ก็ไม่มีต�ำแหน่ง “พ่อขุน” ๔. กรุงแตก : ราชอาณาจักรอยุธยาสลายตัว ๕. จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ๖. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จากอีกแง่มุมหนึ่ง ๗. จากรัฐชายขอบถึงมณฑลเทศาภิบาล : ความเสื่อมสลายของกลุ่มอ�ำนาจเดิมในเกาะภูเก็ต ๘. นครศรีธรรมราชในราชอาณาจักรอยุธยา

๓ ๓๖ ๔๓ ๕๐

งานเขียนของศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดัชนี

๙๔ ๑๓๑ ๑๔๒ ๑๙๐ ๒๒๘ ๒๓๒


ค�ำน�ำจากส�ำนักพิมพ์

นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับแรกออกวางตลาดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ.  หลังจากที่นิตยสารนี้ได้ด�ำเนินกิจการมาไม่นานนัก อาจารย์นิธิ เอียว  ศรีวงศ์ ก็ได้เริ่มเขียนบทความให้ลงตีพิมพ์. บทความชิ้นแรกนั้นคือ  “ความล�้ำลึกของ ‘น�้ำเน่า’ ในหนังไทย” ลงตีพิมพ์ในฉบับประจ�ำเดือน  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓. นับแต่นั้น อาจารย์นิธิก็ได้เขียนบทความส่ง  มาให้นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยังไม่นับ  ส่วนที่อาจารย์เขียนเป็นเล่มต่างหาก และได้มอบหมายให้พิมพ์ในชุด  ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษอีกหลายเล่ม. งานเขียนของอาจารย์นิธิที่ทางส�ำนักพิมพ์มติชนน�ำมาจัดพิมพ์  รวมเป็นเล่มนี้ เกือบทั้งหมดเป็นบทความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงสิบสามปี  แรกของนิตยสารฉบับนั้น. มีอยู่บางชิ้นได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารอื่นๆ  ซึ่งในการน�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ด้วย ก็เป็นความประสงค์ของท่าน  ผู้เขียนเอง โดยเหตุผลว่า เพื่อให้เนื้อหาของงานในชุดนั้นๆ สมบูรณ์  ยิ่งขึ้น. และก็มีอยู่บางชิ้น ที่มิได้น�ำมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ ทั้งด้วยเหตุผล  ที่ว่า ผู้เขียนเห็นว่างานชิ้นนั้นๆ มีข้อบกพร่องอยู่, และทั้งด้วยเหตุผล  (6) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย


ที่ว่า งานชิ้นนั้นได้เคยตีพิมพ์เป็นเล่มเฉพาะมาแล้ว. อย่างไรก็ตาม ทาง  ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ม ติ ช นก็ ไ ด้ จั ด ท� ำ บรรณานุ ก รมบทความของอาจารย์ นิ ธิ ทั้งหมดที่ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ปีที่ ๑ มาถึงปีที่  ๑๓ ไว้ด้วยในตอนท้ายของเล่ม. ส�ำหรับผู้อ่านที่ีปรารถนาจะติดตาม  หาอ่านงานที่มิได้น�ำมารวมไว้นี้ ก็จะหาได้โดยง่าย. ในการรวมพิมพ์คราวนี้ ทางส�ำนักพิมพ์มติชนได้จัดแบ่งบทความ  ทั้งหมดออกเป็นสี่เล่มตามลักษณะของบทความแต่ละชิ้น, ดังนี้. (๑) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย (๒) ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ (๓) โขน, คาราบาว, น�้ำเน่าและหนังไทย (๔) ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ การจัดแบ่งหมวดหมู่ดังนี้ อันที่จริงก็เป็นการจัดโดยกว้างๆ  เท่านั้น. ชื่อรองของหนังสือแต่ละเล่มดูเหมือนจะบอกไว้โดยชัดเจน  พอสมควรแล้วว่า แต่ละเล่มนั้นมีบทความในประเภทใด. นอกจากจะได้จัดแบ่งเช่นนี้แล้ว ทางส�ำนักพิมพ์มติชนยังได้  ขอให้นักวิชาการสี่ท่านเขียนค�ำน�ำเสนอ (introduction) ให้กับแต่ละ  เล่มด้วย. แน่ละ, ทรรศนะที่ปรากฏในค�ำน�ำเสนอดังกล่าวนั้น ย่อมเป็น  ข้อความเห็นส่วนตนของนักวิชาการท่านนั้นๆ เอง. ข้อปรารถนาของ  ทางส� ำ นั ก พิ ม พ์ ก็ คื อ ให้ ค� ำ น� ำ เสนอนี้ เ ป็ น ที่ เ ปิ ด ประเด็ น การวิ พ ากษ์  วิจารณ์ต่อไป-ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย. ส�ำนักพิมพ์มติชนหวังว่า งานรวมชุดนี้ของอาจารย์นิธิ เอียวศรี  วงศ์ จะได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่วงวิชาการไทยและแก่สาธารณชน  ในวงกว้าง, ดังที่บทความแต่ละชิ้นของท่านได้เป็นมาก่อนแล้ว.  สุพจน์ แจ้งเร็ว

บรรณาธิการฉบับรวมพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๘

นิธิ  เอียวศรีวงศ์ (7)


นิธิ เอียวศรีวงศ์ กับประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย หนังสือรวมบทความทางวิชาการในด้านประวัตศิ าสตร์ไทยของอาจารย์  นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นหนังสือที่มีความส�ำคัญและมีคุณูปการอย่างยิ่ง  ต่อวงการศึกษาและค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ไทย การจัดพิมพ์หนังสือ  เล่มนี้คาดว่าจะได้รับความสนใจและส่งสารไปยังผู้อ่านในแวดวงต่างๆ  อย่างกว้างขวางได้ เหตุผลประการหนึ่งคืออาจารย์นิธิไม่ใช่นักวิชาการ  โนเนมที่ไม่ใคร่เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักอ่าน (นักวิชาการไทยมีจุดอับอยู ่ อย่าง คือมักไม่ใคร่เป็นที่รู้จักกัน ไม่แต่ในแวดวงที่กว้างขวางภายนอก  มหาวิทยาลัยเท่านั้น แม้แต่ในมหาวิทยาลัยและชุมชนวิชาการด้วยกัน  ก็ยังไม่ใคร่รู้จักมักคุ้นในผลงานของกันและกันสักเท่าใด) อาจารย์นิธิ  เป็นนักวิชาการไทยคนแรกๆ ที่แหกด่านนี้ออกไปได้ ไม่ใช่ด้วยการ  โฆษณา หรือออกรายการ หากแต่ใครที่อ่านหนังสือพิมพ์รายวันมาก  กว่าหนึง่ ฉบับ  และนิตยสารรายสัปดาห์และรายเดือนมากกว่าหนึง่ เล่ม  ก็จะรู้หรือพอคุ้นเคยกับผลงานของอาจารย์นิธิ ยิ่งถ้าใครที่ขยันและ  ติดตามอ่านหนังสือวิชาการประวัติศาสตร์ไทยที่เอาจริงเอาจังก็จะยิ่ง  รู้จักอาจารย์นิธิมากยิ่งขึ้น นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักประวัติศาสตร์ที่ไม่เหมือนนักประวัติศาสตร์ ทั่วไป ข้อที่ไม่เหมือนใครอันเด่นชัดประการหนึ่งคือ ความผูกพันและ  (8) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย


พันธะที่เขามีต่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในวิชาประวัติศาสตร์นั้น ไม่  ได้การรับรองและกระตุ้นให้งอกเงยเติบใหญ่จากชุมชนวิชาการและ  สถาบันทางวิชาการเป็นส�ำคัญ หากแต่ค�ำถามและค�ำตอบเชิงวิชาการ  ประวัติศาสตร์นั้น เขาได้มาจากปฏิสัมพันธ์กับสังคมและรัฐ โลกของ  สังคมชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้เสียเปรียบและด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ  และการเมือง จะเป็นแหล่งบันดาลใจและเป็นแหล่งข้อมูลอันไม่รู้จบ  ให้แก่การศึกษาค้นคว้าของเขา นอกจากนั้น เขายังมีความสนใจและ  ติดตามศึกษาวิชาการด้านอื่นๆ ทั้งที่เป็นสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์  และปรัชญา ทั้งในส่วนที่เป็นของไทยและของต่างชาติอย่างเป็นกิจจะ  ลักษณะ  จึงพูดได้วา่  อาจารย์นธิ เิ ป็นนักวิชาการไทยคนหนึง่ ในจ�ำนวน  ไม่มากที่พูดและท�ำในเรื่องการเรียนการสอนแบบสหสาขาวิชาจริงๆ  ไม่ใช่ว่าไปตามคนเขาปาวๆ ข้อต่างอีกประการหนึ่งที่ท�ำให้ความเป็นนักประวัติศาสตร์ของ  อาจารย์นิธิเด่นกว่าคนอื่นๆ ก็คือความรู้อันลึกซึ้งด้านอักษรศาสตร์  ทั้งภาษาศาสตร์และวรรณกรรม (ในความหมายที่กว้าง) โดยเฉพาะ  ความดูดดื่มทางวรรณกรรมและภาษาได้เป็นเสมือนตาน�้ำอันไม่เหือด  แห้งในวิญญาณของวิชาการของนิธิ งานเขียนของเขาจึงไม่เคยแห้ง  เหี่ยวหรืออับเฉา  หากจะเต็มไปด้วยแง่มุมและหลากหลายสีสันแล  ลวดลายเหมือนก้นบึ้งแห่งทะเล หรือ “ป่าเหนือเมื่อหน้าดอกไม้บาน” การที่อาจารย์นิธิมีความผูกพันพิเศษต่อวิชาการ (ไม่แต่เฉพาะ  วิชาประวัติศาสตร์เท่านั้น) ในเชิงปฏิบัติการสังคมนั้น กล่าวได้ว่าเป็น  ผลพวงของการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านบวกและด้านลบ ที่ได้เกิดขึ้นใน  สังคมไทยนับแต่ทศวรรษปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ที่มีพลังอย่าง  หนักหน่วงต่อความเป็นปัญญาชนนักวิชาการของเขาก็ได้แก่เหตุการณ์  ในช่วงหลังการปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึงรัฐประหาร ๖  ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งเป็นช่วงที่อาจารย์นิธิเพิ่งกลับจากการศึกษาขั้น  ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และก�ำลังเริ่ม  สอนอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชี ย งใหม่ ใ นช่ ว ง ๓ ปี   จาก ๑๔ ตุ ล าคม ๒๕๑๖ ถึ ง  ๖  นิธิ  เอียวศรีวงศ์ (9)


ตุลาคม ๒๕๑๙ ไม่ใช่  “ถิ่นไทยงาม” ของสุนทราภรณ์ หรือ “ป่า  เหนือเมื่อหน้าดอกไม้บาน ลมฝนบนฟ้าผ่าน...” เหมือนในเพลง “มนต์  เมืองเหนือ” ของสมยศ ทัศนพันธุ์ หากแต่เชียงใหม่ช่วงนั้นก�ำลังแปร  สภาพเป็นสนามยุทธ์ทางการเมือง และไม่นานนักก็ต่อเนื่องด้วยการ  ใช้ก�ำลังอาวุธทั้งเปิดเผยและปิดลับ สภาพการณ์ของการขัดแย้งและ  เผชิญหน้าระหว่างกลุ่มการเมืองก็จะแผ่กระจายไปทั่ว ไม่แต่เฉพาะ  ในสังคมการเมืองเท่านั้น จากจุดที่ส�ำคัญจุดหนึ่งตอนนั้นคือภายใน  มหาวิทยาลัย ในท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองอันดุเดือดแหลมคมนั้น  อาจารย์นิธิก็เช่นเดียวกับนักวิชาการร่วมยุคสมัย ที่ต้องท�ำงานหนักขึ้น  เพื่อหาทางเดินที่เป็นของตนเอง หรือที่ตนจะท�ำความเข้าใจกับสภาพ  การณ์ที่เกิดขึ้นได้ คงกล่าวได้ว่าจุดยืนทางการเมืองที่อาจารย์นิธิใช้  ในงานเขียนรุ่นปัจจุบันและมรรควิธีในการวิเคราะห์ปัญหาสังคมและ  วิชาการ (ซึ่งแยกไม่ออกจากกัน) ก็ยังเป็นการต่อเนื่องและยกระดับ  จากประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมานั่นเอง นับแต่สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพเป็นต้นมา นักประวัติ ศาสตร์ที่เล่นเรื่องเมืองไทย ไม่ว่าในหรือนอกประเทศ ที่จะสร้างวิธี  การและเขียนประวัติศาสตร์ไทยอย่างท้าทายด้วยข้อเสนอทางวิธีการ  และการตี ค วามหลั ก ฐานประวั ติ ศ าสตร์ ใ หม่ นั้ น มี น ้ อ ยมาก ยิ่ ง งาน  ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ น� ำ เอาประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ ข องประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทย  ออกไปสู่โลกของประวัติศาสตร์ภายนอกได้ด้วยนั้น ยิ่งหายากขึ้นไป  อีก ในข้อนี้งานประวัติศาสตร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์จึงมีลักษณะเด่น  ที่ นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทยอื่ น ๆ ไม่ ใ คร่ มี   นั่ น คื อ การให้ ค วามสนใจต่ อ  “ประวัติศาสตร์นิพนธ์” (historiography) ซึ่งถือเสมือนเครื่องมือและ  กรอบความคิดอันประกอบขึ้นเป็นพื้นฐานหรือวิธีวิทยาของการสร้าง  และ “เล่น” ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อาจารย์นิธิอธิบายว่า ประวัติศาสตร์นิพนธ์คือการศึกษาถึงการ  เขียนประวัติศาสตร์ และรวมถึงการสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมา ในโลก  (10) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย


ตะวั น ตก ประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ และความรู ้ อั น จ� ำ เป็ น  ส�ำหรับการน�ำไปสู่การค้นหาค�ำตอบว่าประวัติศาสตร์คืออะไร และ  จะท�ำให้สามารถสร้างค�ำตอบทางประวัติศาสตร์ที่เป็นของตนเองได้  อันเป็นเงื่อนไขส�ำคัญที่จะท�ำให้คนคนนั้นเรียกตนเองได้ว่าเป็น “นัก  ประวัติศาสตร์” (ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก, หน้า ๒) ประเด็นนี ้ ส�ำคัญ เพราะอาจารย์นิธิจะตระหนักและระวังอย่างยิ่งที่จะใช้ค�ำว่า  “นักประวัติศาสตร์” กับตัวเองหรือคนอื่น หากแต่พอใจจะใช้ค�ำว่า  “นักเรียนประวัติศาสตร์” เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้ในบทความหลาย  บทในหนังสือเล่มนี้และในบทความอื่นๆ อีกมาก การเตือนให้ตัวเอง  และผู้อ่านตระหนักถึงภาวะของการเป็น “นักเรียน” ประวัติศาสตร์  ตลอดเวลานั้ น  ย�้ ำ เตื อ นสติ เ ราให้ ร ะลึ ก ถึ งความอ่ อ นด้ อ ยและยั งไม่  พัฒนาเต็มที่ดีนักของวิชาประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย  ซึ่งอาจารย์นิธิมีเรื่องจะต้องวิวาทะและวิพากษ์วิจารณ์อยู่มาก ทั้งนี้ก็  ด้วยจุดมุ่งหมายที่อยากจะเห็นประวัติศาสตร์ไทยก้าวไปบนเส้นทาง  แห่งวิวัฒนาการ ดังเช่นศาสตร์ทางสังคมและธรรมชาติอื่นๆ อย่างเป็น  แก่นเป็นสารและเป็นธรรม แต่ในโลกประวัติศาสตร์ไทย อาจารย์นิธิพบว่า ประวัติศาสตร์  นิพนธ์นั้นเป็นเพียงสมบัติของชนชั้นสูงเท่านั้น คือชนชั้นน�ำทางศาสนา  และชนชั้นน�ำทางการเมือง ข้อสังเกตดังกล่าวนี้จะเกิดมาได้ยากหาก  อาจารย์ นิ ธิ ไ ม่ ไ ด้ ม องประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ อ ย่ า งที่ มั น สั ม พั น ธ์ แ ละมี  ปฏิสัมพันธ์กับสังคม นั่นคือการมองว่า “ประวัติศาสตร์นิพนธ์นั้นเป็น การกระท�ำทางสังคม  กล่าวคือเป็นผลผลิตของการที่เจตนาจะสัมพันธ์ กับผู้อื่นในสังคม ไม่ใช่การกระท�ำที่เป็นส่วนตัวแท้ๆ เช่น การอาบน�้ำ หรือการแอบเขียนชื่อคนรักเพื่อฉีกทิ้ง” เมื่อเป็นเช่นนี้ในรอบ ๒๐๐  กว่าปีที่ผ่านมา การค้นคว้าศึกษาประวัติศาสตร์ไทยจึงไม่ได้เกิดขึ้น  เพียงเพราะวงวิชาการเกิดการตืน่ ตัวและได้รบั ผลกระทบจากพัฒนาการ  และความก้าวหน้าของศาสตร์อื่นๆ หากแต่วิชาประวัติศาสตร์ไทยเกิด  การพัฒนาและกระตือรือร้นก็ในยามที่สังคมไทยเกิดวิกฤตการณ์ ซึ่ง  เมื่อพูดให้จ�ำเพาะเจาะจงลงไปก็คือเป็นวิกฤตในเอกลักษณ์ของชนชั้น  นิธิ  เอียวศรีวงศ์ (11)


น�ำไทยมากกว่าเป็นวิกฤตการณ์ของสังคมโดยทัว่ ไป อาจารย์นธิ เิ สนอว่า  วิกฤตการณ์ทที่ ำ� ให้เกิด “จังหวะ” ก้าวของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทย  มีอยู่ ๓ ระยะหรือ ๓ จังหวะ คือ เมื่อต้นรัตนโกสินทร์ครั้งหนึ่ง เมื่อ  ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงสมัยสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ  ครัง้ หนึง่  และล่าสุด สมัยประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ มาถึงประมาณ พ.ศ.  ๒๕๒๕ อีกครั้งหนึ่ง น่าสังเกตว่าจังหวะก้าวเหล่านี ้ ด้านหนึง่ ท�ำให้วชิ าประวัตศิ าสตร์  ไทยก้าวไปข้างหน้า แต่อีกด้านหนึ่ง ดังที่อาจารย์นิธิวิเคราะห์ไว้อย่าง  ละเอียดและเป็นระบบ จะเห็นว่าทิศทางและพัฒนาการของประวัติ  ศาสตร์ไทยนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างเป็นเส้นทาง  ไม่ว่าเส้นทางประวัติศาสตร์นั้นจะเป็นเส้นตรงต่อเนื่องไปยังอนาคต  ที่ศิวิไลซ์ดังที่นักปราชญ์ส�ำนักแสงสว่างหรือเอ็นไลต์เทนเมนต์เชื่อ  หรือเป็นเส้นขดลวดที่ก้าวไปยังอนาคตอย่างวิภาษวิธีตามทางของ  เฮเกลและมาร์กซ์  หากแต่การก้าวไปของประวัติศาสตร์ไทยนั้นเป็น  อย่างที่อาจารย์นิธิเรียก คือก้าวไปอย่างเป็น “จังหวะ” อาจจะซ้ายที  ขวาที หรือไปข้างหน้าแล้วมาข้างหลังอย่างไรก็ได้ ขอให้มีจังหวะก็แล้ว  กัน ข้อส�ำคัญคือใครเป็นคนคุมจังหวะและให้จังหวะ นี่เป็นการวิเคราะห์และให้จินตนาการถึงพัฒนาการของวิชา  ประวัติศาสตร์ไทยอย่างถึงใจและเป็นรูปเป็นร่างอย่างดีของอาจารย์นิธิ  ลักษณะเด่นในการท�ำงานประวัติศาสตร์ของเขาอาจสรุปออกมาได้ดังนี้  คือการใช้วิธีการประวัติศาสตร์อันครอบคลุมถึงปรัชญาและวิธีการทาง  ประวัติศาสตร์ทั้งหลายแหล่ที่อาจารย์นิธิได้สังเคราะห์ขึ้นมาจากการ  ท�ำงานวิชาการของเขาเองชุดหนึง่  ประการที ่ ๒ คือการยึดหลัก “วิภาษ  ลักษณะ” คือการพิเคราะห์ถึงความขัดแย้งที่ด�ำรงอยู่ในสรรพสิ่งและ  ในวิชาการ เช่น ความขัดแย้งของหลักฐานตั้งแต่มีการ “ช�ำระ” หลัก  ฐานประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา เรียกร้องให้มีการ  เปิ ด โอกาสให้ นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ ศึ ก ษาหลั ก ฐานประวั ติ ศ าสตร์ ที่  “สกปรก” เสียบ้าง อันจะช่วยให้นักประวัติศาสตร์ไทยได้มีการเติบโต  และเรี ย นรู ้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ด ้ ว ยตั ว เองบ้ า ง ไม่ ใ ช่ ค อยรั บ แต่ ม ติ ข อง  (12) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย


“พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” อยู่ถ่ายเดียว ประการสุ ด ท้ า ยในลั ก ษณะการท� ำ งานหรื อ วิ ธี วิ ท ยาการทาง  ประวัติศาสตร์ของอาจารย์นิธิก็คือ การค�ำนึงถึงบริบทหรือสภาพแวด  ล้อมทางภววิสยั  ข้อนีส้ �ำคัญยิง่ เมือ่ การท�ำงานประวัตศิ าสตร์ไทยจ�ำต้อง  ท�ำกับงานของชนชัน้ น�ำเป็นหลัก การจะใช้หลักฐานและการตีความเพือ่   เข้าถึงความเป็นจริงของสังคมจะต้องอาศัยความเข้าใจในสภาพแวดล้อม  ด้านต่างๆ ในช่วงนั้นอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน เพื่อจะไม่ตกไปอยู่ใน  ขัว้ หนึง่ ขัว้ ใดของการอ่านและตีความประวัตศิ าสตร์เพียงว่าเห็นด้วยหรือ  ไม่เห็นด้วย, ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้, จริงหรือไม่จริงเท่านั้น ดังที่ผู้อ่านจะเห็น  ได้จากการวิวาทะกรณีพระเจ้าตากสิน “วิกลจริต” หรือไม่ในบทความ  เรื่อง “จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถึงสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชา  นุภาพ” ว่าเป็นปัญหาตัวอย่างอันหนึ่งในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย ซึ่ง  นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังๆ ไม่พยายามท�ำความเข้าใจบริบทและสภาพ  แวดล้อมของประวัตศิ าสตร์ ท�ำให้อาจารย์นธิ ติ อ้ งพูดออกมาตรงๆ และ  ดังๆ ว่า “การแย่งราชสมบัตเิ ป็นเรือ่ งธรรมดา” เพราะถ้าเข้าใจก็จะรูว้ า่   กิจกรรมการเมืองดังกล่าวมีหน้าที่จรรโลงกลไกการปกครองของไทย  โบราณมาอย่างต่อเนือ่ ง และมีนยั อันส�ำคัญยิง่  คนทีไ่ ม่เข้าใจเรือ่ งอย่างนี้  ก็มแี ต่แนวคิดฝรัง่ และนักวิชาการไทยทีไ่ ด้รบั ความคิดฝรัง่ ครอบง�ำจนเกิด  ความกระอักกระอ่วนในเรื่องการแย่งชิงราชสมบัติ อาจารย์นิธิวิพากษ์  อย่างแสบทรวงว่าดังนี้ : “และเมื่อขาดความนับถือตนเองขนาดที่จะ ขายวิญญาณของตนเองแก่ฝรั่งเท่านั้นที่ปัญญาชนไทยเริ่มหาทางกลบ เกลือ่ นการแย่งชิงราชสมบัตขิ องเจ้าพระยาจักรีดว้ ยการพูดถึงเรือ่ งวิกล จริตกันอย่างหนาหู” นอกจากลักษณะเด่นทางวิธีการประวัติศาสตร์อันเคร่งครัดแล้ว  คุณูปการอันส�ำคัญและท้าทายยิ่งในวงการประวัติศาสตร์ไทยก็คือ การ  เสนอการตีความใหม่ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะประวัติ  ศาสตร์รัตนโกสินทร์ ในเรื่องนี้มติและการตีความที่กลายเป็นสัจธรรม  ที่ไม่ต้องการการพิสูจน์ไปแล้วคือ ข้อสรุปที่ว่าประวัติศาสตร์และการ  เมืองไทยสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยผ่านกระบวนการ  นิธิ  เอียวศรีวงศ์ (13)


ส�ำคัญยิ่ง คือการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ ๕ นั่นเอง ดังเห็น  ได้จากวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในรอบ ๓๐ ปี  ที่ผ่านมา ในจ�ำนวนวิทยานิพนธ์ทั้งหมด ๓๒๗ เรื่อง  ๖๗ เรื่อง  ท�ำเรื่องรัชกาลที่ ๕  อีก ๑๘ เรื่องท�ำเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๖  ส่วน  รัชกาลที่ ๗ มีเพียง ๘  ฉบับ ในขณะที่วิทยานิพนธ์ ๔๐ ฉบับท�ำ  เรื่องเกี่ยวกับบทบาทของขุนนางและเจ้านาย  มีเพียง ๓ ฉบับท�ำเรื่อง  สามัญชน คือ ทองอินทร์ ภูรพิ ฒ ั น์, หะยีสหุ รง และหลวงวิจติ รวาทการ  อาจารย์นิธิเริ่มสร้างงานที่ค่อยๆ ก่อรูปขึ้นมาเป็นการตีความ  และให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ด้วยการเสนอว่า  ความเป็นไปได้และความส�ำเร็จของการปฏิรูปแผ่นดิน โดยเฉพาะทาง  การเมืองซึง่ เป็นการแสดงออกทีร่ วมศูนย์ทสี่ ดุ นัน้  จะไม่อาจเกิดเป็นจริง  ขึ้นมาได้เลยหากปราศจากการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงขนาดไม่น้อย  ที่ได้เกิดขึ้นก่อนแล้วในสมัยต้นรัตนโกสินทร์  ไม่ว่าในทางการเมือง  การปกครอง การศาสนาวรรณกรรม ปรัชญา และทางเศรษฐกิจ (ดู  “สุนทรภู่และวรรณกรรมกระฎุมพีต้นรัตนโกสินทร์”) และที่ส�ำคัญใน  หนังสือรวมบทความเล่มนี้คือการให้ภาพประวัติศาสตร์ไทยใหม่ ซึ่งจะ  เป็นพื้นฐานรองรับและช่วยการคลี่คลายในการเขียนประวัติศาสตร์ไทย  สมัยทีส่ ยามเผชิญหน้ากับอิทธิพลตะวันตกทีม่ าในบริบทของลัทธิอาณา  นิคมได้ ถ้าจะเปรียบให้ง่ายๆ ก็คือ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ปัจจุบัน  ถื อ ว่ า กุ ญ แจดอกส� ำ คั ญ ของการไขประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทยสมั ย ใหม่ ที่ จ ะ  เชื่อมต่อมาถึงปัจจุบันอยู่ที่การปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจารย์นิธิ  ถือว่ากุญแจดอกส�ำคัญอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยสมัยปลาย  อยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ที่ท�ำให้ “สยามใหม่” เกิดขึ้นมาและพัฒนา  มาสู่การเป็น “สยามเก่า” ทั้งหมดนี้ท�ำได้ภายในบริบทของการกลับไป  หาความเป็นไทและความเป็นไทยอันเป็น “เอกลักษณ์ของชนชั้นน�ำ  สยาม” ไปนับแต่การเกิดของรัตนโกสินทร์มาถึงกรุงเทพฯ และ กทม.  แม้กระทั่งวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์ไทยเชื่อว่าการ  ใช้หลักฐานชั้นต้นและชั้นรอง ทั้งในกรุงและนอกกรุงพัฒนามาจาก  สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพนั้น หลังจากอ่านบทความใน  (14) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย


หนังสือรวมบทความเล่มนี้แล้วจะรู้สึกว่า นักประวัติศาสตร์รุ่นสมัย  รัชกาลที่ ๑ เช่น สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ ก็ได้ลงมือศึกษา  ประวัติศาสตร์โดยใช้หลักฐานในภาษาบาลีจากล้านนา และผนวกเข้า  กับจารีตประวัติศาสตร์ของวัง อันได้แก่พระราชพงศาวดารมาก่อนแล้ว  สรุปก็คือ ก่อนที่สังคมและการเมืองสยามจะถูกท�ำให้ “ทันสมัย” ใน  สมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นก็ถูกท�ำให้ “ใหม่” เสียก่อนแล้วแต่ในสมัยรัชกาล  ที่ ๑ นั่นเอง ทั้งหมดที่ผมกล่าวถึงไปแล้วนั้น เป็นการสรุปและตีความของผมเอง  อาจารย์ นิ ธิ ไ ม่ ไ ด้ พู ด อย่ า งนั้ น ตรงๆ ทั้ ง หมด ผมคิ ด ว่ า งานวิ ช าการ  ประวัติศาสตร์ของอาจารย์นิธินั้นจะมีประโยชน์อันมหันต์ ถ้านักเรียน  ประวัติศาสตร์จะน�ำไปใช้ในการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ อ่านก็  สนุก  และยังมีแง่มุมข้อคิดข้อโต้แย้งถกเถียงและวิวาทะกันได้มากมาย  ท�ำให้เราสามารถท�ำงานต่อไปได้ การสร้างค�ำอธิบายขึ้นมาชุดหนึ่งซึ่ง  อาจเรียกว่าทฤษฎีก็ได้นั้นเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับนักวิชาการ ไม่เช่นนั้น  ก็ไม่รู้จะศึกษาวิเคราะห์อะไรขึ้นมาได้อย่างไร นอกจากเลียนแบบ “พระ  บิดาฯ” กันอยู่ร�่ำไป ไม่มีวันโตกันเสียที แต่ก็ไม่จ�ำเป็นว่าเราจะต้องเชื่อ  และยึดตาม “ทฤษฎี” ของใครคนใดคนหนึ่ง อาจารย์นิธิกล่าวว่า นัก  ประวัติศาสตร์ต้องสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายหรือ “แก้ให้หลักฐาน เหล่านั้นกลมกลืนกันหรือขัดแย้งกันโดยมีเหตุผลได้ ทฤษฎีอาจผิดหรือ ถูกก็ได้แต่นักเรียนประวัติศาสตร์ได้เรียนรู้จากการวิพากษ์และวิเคราะห์ ด้วยทฤษฎีนั้นๆ ที่จะมองเห็นความขัดแย้งและความหมายที่แท้จริง ของหลักฐาน แทนที่จะยึดถือแต่ความเห็นหรือมติของผู้รู้ทั้งในอดีต และปัจจุบันอย่างมืดบอด” ดังได้กล่าวแล้วว่า อาจารย์นิธิมองประวัติศาสตร์ในแง่ของการ  กระท�ำทางสังคมของมนุษย์ในเงือ่ นไขแห่งเวลาและสถานที ่ อาจารย์นธิ  ิ จึงไม่เคยกลัวว่าการเมืองจะเข้ามาท�ำให้ประวัติศาสตร์แปดเปื้อนหรือ  เลอะเทอะ ตรงกันข้าม อาจารย์นิธิยอมรับอย่างเต็มที่ว่าประวัติศาสตร์  ถูกใช้เป็นประโยชน์ทางการเมืองทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต  นิธิ  เอียวศรีวงศ์ (15)


ห้ามไม่ได้ ออกกฎหมายก็แก้และกันไม่ได้  สิ่งที่นักเรียนประวัติศาสตร์  และผู้สนใจควรท�ำก็คือ พึงระวังมิให้การเมืองครอบง�ำประวัติศาสตร์  ได้ง่ายๆ ด้วยการให้ “เสรีภาพ” แก่การศึกษาประวัติศาสตร์ คือการ  ให้ “เสรีภาพ” แก่นักศึกษาประวัติศาสตร์ในการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ถูก  “ช�ำระ” นั่นเอง อาจารย์นิธิจึงต่างจากนักวิชาการประวัติศาสตร์ล้วนๆ คือเชื่อ  ว่าความรู้ทางประวัติศาสตร์มาจากเสรีภาพ ไม่ใช่มาจากการท่องจ�ำ  และจากต�ำราเฉยๆ การมีเสรีภาพนีอ้ ย่างจริงจังก็พอทีจ่ ะท�ำให้งานวิจยั   บางชิ้น สัมมนาบางครั้ง และละครกะหลาป๋าบางเรื่องกลายเป็นสิ่ง  ชวนหัวส�ำหรับสาธารณชนไทยในปัจจุบันไปได้อย่างสบาย เห็นได้ว่า  อาจารย์ นิ ธิ มี ศ รั ท ธาในความเป็ น เหตุ เ ป็ น ผลและความเป็ น คนของ  สามัญชน มากกว่านับถือในความเก่งกาจหรืออัจฉริยภาพของผู้น�ำ  หรืออัศวินม้าขาวและ “ต้นผี” ไม่ว่าในยุคสมัยใดเป็นส�ำคัญ ปัญหาที่หนักหน่วงส�ำหรับการพัฒนาความรู้ด้านประวัติศาสตร์  ในสังคมไทยคือการที่เรายังมีทรรศนะเชิงอรรถประโยชน์ต่อวิชาประวัติ  ศาสตร์เหมือนกับที่เรามีต่อวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคนิควิทยาและ  ต่อวิชาตัดเสื้อตัดผมและการท�ำไร่ไถนา นั่นคือ แล้วเราจะได้อะไรจาก  การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การได้หมายถึงประโยชน์อันจับต้องได้ใน  เร็ววันด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้วิชาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยที่ผ่านมา  จึงประสบความส�ำเร็จเพียงแค่ผลิต “ช่างบัดกรี” (ค�ำของอาจารย์นิธิ  เอียวศรีวงศ์) ไม่เคยใกล้ถึงการสร้าง “นักวิทยาศาสตร์” อะไรกับเขา  ขึ้นมาได้ ส่วนวิชาประวัติศาสตร์ก็ได้แค่สร้าง “นักเล่านิทาน” และนัก  ชาตินิยมคับแคบ เป็นต้น แต่วิธีการของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ไม่ได้สอนหรือมุ่ง “ประ  โยชน์” ใช้สอยของประวัติศาสตร์เป็นส�ำคัญ ตรงข้าม “ประวัติศาสตร์  นิพนธ์ถกู พัฒนาขึน้ เพียงเพือ่ จะช่วยให้นกั ประวัตศิ าสตร์ประมาณความ  เป็นจริงได้ใกล้เคียงที่สุดเท่านั้น ส่วนความเป็นจริงที่นักประวัติศาสตร์  สร้างขึ้นมานั้นจะใช้ท�ำอะไรได้บ้าง นักประวัติศาสตร์ไม่อยู่ในฐานะที่จะ  ตอบได้ดีกว่าคนอื่น” (“ประวัติศาสตร์และการวิจัยทางประวัติศาสตร์”  (16) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย


ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สุชาติ สวัสดิ์ศรี บ.ก. ปรัชญาประวัติศาสตร์,  ๒๕๒๗, น. ๒๓๒) อันตรายของการคิดแต่จะ “ใช้” ประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์  หรือเพื่อเป็นเครื่องมืออะไรก็ตาม รังแต่จะท�ำลายความเป็นกลาง (ซึ่ง  โดยปกติก็ยากที่จะท�ำได้อยู่แล้ว) ของนักประวัติศาสตร์ลงไปจนด้อย  ในคุณค่าทางวิชาการของมัน อาจารย์นิธิจึงให้ข้อคิดอันส�ำคัญส�ำหรับ  การท�ำงานของนักประวัติศาสตร์ว่า แม้การเป็นกลางหรือการไม่มีอคติ  เป็นสิ่งที่ไม่อาจท�ำได้จริงๆ แต่ถ้าไม่มีส�ำนึกอันเต็มเปี่ยมถึงภยันตราย  ของอคติ นักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ก็จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ แม้นักประวัติ  ศาสตร์ที่ดีก็ยากที่จะเห็น เพราะว่า “นักประวัติศาสตร์ที่ดี (จึง) ไม่ม ี ชาติแม้ว่าจะรักชาติของเขา ไม่มีศาสนาแม้ว่าเขาจะเป็นนักบวช ไม่มี  อุดมการณ์แม้ว่าเขาจะเป็นมาร์กซิสต์” (น. ๒๓๓) ด้วยความเชือ่ มัน่ ในคนและสติปญ ั ญาร่วมกันนีเ้ อง ทีอ่ าจารย์นธิ ิ  ท�ำให้ประวัตศิ าสตร์มวี ญ ิ ญาณของมันขึน้ มา ดังทีเ่ ขากล่าวไว้ในบทความ  เกี่ยวกับ “ท่านจันทร์ฯ” ว่า “ปราศจากเสียซึ่งวิญญาณอิสระ, ความกล้าหาญ และความ  รัก ความจริงอย่างทีเ่ ป็นพระคุณสมบัตขิ องท่านจันทร์ฯ ประวัตศิ าสตร์  ก็จะเป็นเพียงอาถรรพเวทส�ำหรับการกดขี่เอารัดเอาเปรียบในโลกนี้  เท่านั้นเอง” ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

หลังวันไหว้พระจันทร์ ๒๕๓๙

นิธิ  เอียวศรีวงศ์ (17)


ภาพปราสาทพระราชวังแห่งกรุงศรีอยุธยาก�ำลังถูกเพลิงไหม้  หอราช กรมานุสรณ์  ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  วาดโดย ขรัวอินโข่ง (18) กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย


เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นิธิ  เอียวศรีวงศ์ (19)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.