สมุนไพร รู้ใช้ ไกลโรค

Page 1


สมุนไพร รู้ใช้ ไกลโรค

ไพบูลย์ แพงเงิน

กรุงเทพมห�นคร  สำานักพิมพ์มติชน  ๒๕๕๖


สารบัญ

คํานําสํานักพิมพ์ คํานําผู้เขียน

๗ ๙

๑. สมุนไพรที่ใช้ในตํารับยาสามัญประจําบ้าน (แผนโบราณ)

๑๓

๒. คัมภีร์แผนนวดในเวชศาสตร์ฉบับหลวง

๑๙

๓. โคลงฤๅษีดัดตน คัมภีร์กายภาพบําบัดอันทรงคุณค่า

๒๖

๔. ไปเสาะหาตําราแพทย์แผนไทยในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

๓๗

๕. ตํารับยา “อายุวัฒนะ” ที่เข้าด้วยมะตูมนิ่ม

๔๕

๖. มะตูมนิ่มยักษ์ ของดีประจําเมือง

๕๐

๗. โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพรอเนกประสงค์

๕๗

๘. ปลาไหลเผือก ยาบํารุงกําลังยุคคุณปู่

๖๓

๙. ไคร้หอมและไคร้อื่นๆ ในเชิงของสมุนไพร

๖๗

๑๐. รางจืด สมุนไพรที่เกษตรกรไทยควรปลูกไว้ในบ้าน

๗๕


๑๑. ชมพู่น้ําดอกไม้ ของดีที่หายาก

๘๒

๑๒. พญายา พรรณไม้ที่เป็นได้ทั้งสมุนไพรและเครื่องสําอาง

๘๖

๑๓. ชะเอม...ในตํารับยาแผนไทย

๙๔

๑๔. ไม้ฝาง สมุนไพรที่มีคุณค่าตลอดกาล

๑๐๒

๑๕. ยาดํา…สมุนไพรที่ใช้ “ขับถ่ายของเสีย” ออกจากร่างกาย

๑๐๙

๑๖. ขลู่ สมุนไพรดีจากป่าชายเลน

๑๑๗

๑๗. เหงือกปลาหมอ...สมุนไพรดี แก้โรคน้ําเหลืองเสีย

๑๒๒

๑๘. ตะคริวกับการรักษาตามตํารับแพทย์แผนไทย

๑๒๘

๑๙. หางปลาช่อน ยาแก้ไข้และยาแก้ตานซาง

๑๓๓

๒๐. สมุนไพรที่เป็นประโยชน์ในช่วงน้ําท่วม

๑๓๖

๒๑. เที่ยวชมต้นไม้และสมุนไพรที่เมืองประจิม

๑๔๒

๒๒. ตําแยเครือ... สมุนไพรที่น่าทําความรู้จัก

๑๔๘


๒๓. หมามุ่ยใหญ่...สมุนไพรจากชายทะเล

๑๕๗

๒๔. เรื่องของ “ว่านหางช้าง” กับ “ว่านเพชรหึง” ในเชิงสมุนไพร

๑๖๔

๒๕. ส้มโอมือ...ไม้หอมที่หายาก และตํารับยาดมส้มมือ

๑๗๔

๒๖. สมุนไพรชื่อ “ลูกเขยตายแม่ยายชักปก” เอ๊ะ! มีด้วยหรือ?

๑๗๙

๒๗. โยทะกา สมุนไพรดอกสวยที่น่าปลูก

๑๘๕

๒๘. โรคของสุภาพสตรีในตําราแพทย์แผนไทย

๑๙๒

๒๙. กาฝาก ใช้เป็นสมุนไพรได้ด้วยหรือ?

๑๙๙

๓๐. หญ้าไผ่น้ํา สมุนไพรดีสําหรับโรคไต

๒๐๓

๓๑. เถาวัลย์เปรียง สมุนไพรแก้เส้นเอ็นขอด

๒๐๗

๓๒. ต่อมลูกหมากโตกับการรักษาด้วยสมุนไพร

๒๑๔

๓๓. สเตียรอยด์กับปัญหาการปลอมปนในสมุนไพรไทย

๒๑๙

๓๔. โรคงูสวัดกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย

๒๒๖


๓๕. ผักขวง...สมุนไพรบํารุงน้ําดี

๒๓๒

๓๖. ว่านนางคํา... ว่านดีที่ใช้แก้ลมและมุตกิด

๒๓๙

๓๗. กลอย...มีพิษแต่ก็เป็นสมุนไพรเหมือนกัน!

๒๔๔

๓๘. มะดัน...เป็นสมุนไพรก็ได้ ไม้เสริมก็ดี

๒๕๐

๓๙. สมุนไพรหลายอย่างมีพิษ...พึงระวังในการใช้!

๒๕๔

บทส่งท้าย

๒๖๒

ประวัติผู้เขียน

๒๖๔

บรรณานุกรม

๒๖๖


๑. สมุนไพรที่ใช้ในตํารับยาสามัญ ประจําบ้าน (แผนโบราณ)

ในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจ�าบ้าน ฉบับที่  ๒ ลง วันที่  ๒๙  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๗  ได้ก�าหนดชื่อยาสามัญประจ�าบ้าน  แผนโบราณ (หลายคนไม่ชอบ  แต่อยากจะให้เรียกชื่อว่า  “แพทย์แผนไทย”  ก็ขอให้เข้าใจว่า  คือ อย่างเดียวกัน)  ไว้จ�านวน  ๒๗  ต�ารับ  อันได้แก่  ยาหอมเทพจิตร, ยาหอมทิพโอสถ, ยามหานิลแทงทอง, ยาเขียวหอม, ยาประสะกะเพรา, ยาเหลืองปดสมุทร, ยาอํามฤค วาที, ยาประสะมะแวง, ยาจันทนลีลา, ยาตรีหอม, ยาประสะจันทนแดง, ยาหอม อินทจักร, ยาประสะไพล, ยาหอมนวโกฐ, ยาวิสัมพยาใหญ, ยาธาตุบรรจบ, ยา ประสะกานพลู, ยาแสงหมึก, ยามันทธาตุ, ยาไฟประลัยกัลป, ยาไฟหากอง, ยา ประสะเจตพังคี, ยาธรณีสันฑะฆาต, ยาบํารุงโลหิต, ยาประสะเปราะใหญ, ยามหา จักรใหญ และยาถาย โดยที่ยาเหล่านี้จะครอบคลุมการรักษาโรคลม บ�ารุงหัวใจ, แก้ ไข้  กระหายน�้า, แก้หัด อีสุกอีใส, แก้ตัวร้อน, ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ, ท้องเสีย, แก้ไอ ขับ เสมหะ,  แก้เด็กท้องผูก,  แก้คลื่นเหียน  อาเจียน  ลมบาดทะจิต,  แก้จุกเสียด  ระดูไม่ ปกติ  และขับน�้าคาวปลา, แก้ธาตุไม่ปกติ  แก้ปวดท้อง, แก้ปากเปนแผล, ขับน�้าคาว ปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่, แก้กษัยจุกเสียด และแก้กษัยเส้น เถาดาน และ ท้ อ งผู ก  ซึ่ ง ต้ อ งดู ส รรพคุ ณ เป น รายต� า รั บ ไป

สมุนไพร รู้ใช้  ไกลโรค

13


ยาสามัญประจ�าบ้านเหล่านี้  ถือว่าเปนยาที่มีความปลอดภัยและมีโอกาสที่จะ ใช้กันบ่อยๆ    ดังนั้น  หากเราจะลองไปส�ารวจกันดูว่า  ในต�ารับยาสามัญประจ�าบ้าน ดังกล่าวนี้  มีสมุนไพรตัวใดบ้างที่ถูกน�ามาใช้เปนวัตถุส่วนประกอบ  สมุนไพรชนิดใด ใช้มากใช้บ่อย และชนิดใดใช้น้อย ก็คงจะเปนประโยชน์ส�าหรับคนที่สนใจในเรื่องราว ของการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอยู่ไม่น้อย  นี่เองจึงเปนที่มาของบทความชิ้นนี้  กรุณาติดตามผู้เขียนมา...   ในหนังสือ “เภสัชเวทกับต�ารายาแผนโบราณ” ซึ่งจัดพิมพ์โดย  สถาบันการ แพทยแผนไทย กรมการแพทย กระทรวงสาธารณสุข  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๙    ได้มีการ ศึกษาถึงเรื่องการใช้สมุนไพรในต�ารับยาสามัญประจ�าบ้านดังกล่าว  ที่ผู้เขียนเห็นว่า น่าจะได้รวบรวมมาเล่าสู่กันฟงในสาระส�าคัญๆ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้ทราบว่า สมุนไพร ชนิดใดมีการใช้มาก สมุนไพรชนิดใดมีการใช้นอ้ ย อันจะเปนประโยชน์สา� หรับเกษตรกร ผู้ที่ผลิตสมุนไพรแต่ละชนิดอีกด้วย ที่จะได้ทราบว่าลู่ทางด้านการตลาดของสมุนไพร ชนิดใด  กว้างหรือแคบเพียงใด  สมควรจะปลูกเพื่อขายหรือเพื่อการอนุรักษ์แค่ไหน  เพียงไร? สมุนไพรที่น�ามาใช้ในการปรุงยาทั้ง ๒๗ ต�ารับ มีด้วยกันทั้งสิ้น ๑๙๙ ชนิด ที่ใช้ในต�ารับยามากที่สุด ก็คือ ๓๖ ต�ารับ (จันทน์เทศ) รองลงมา ๑๓ ต�ารับ (กานพลู  และโกฐสอ) ถัดมา ๑๒ ต�ารับ (โกฐเขมา เทียนขาว และเทียนด�า) ๑๑ ต�ารับ (กระวาน ขาว จันทน์แดง และดีปลี) และ ๑๐ ต�ารับ (พิกุล รากไคร้เครือ) จนที่มีความถี่ในการ ใช้น้อยที่สุด คือ ๑ ต�ารับ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน

หนังสือ “เภสัชเวทกับตํารายาแผนโบราณ”

14

ไพบูลย แพงเงิน


สมุนไพรที่มีความถี่ในการใช้มากไปหาน้อยคือ ๙ ต�ำรับ ได้แก่ การบูร โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง เทียนแดง ผักชีลา และพริกไทย, ๘ ต�ำรับ ได้แก่ โกฐหัวบัว เจตมูลเพลิงแดง เทียนข้าวเปลือก เปราะหอม และสารภี, ๗ ต�ำรับ ได้แก่ โกฐกระดูก โกฐพุงปลา น�้ำประสานทอง (สะตุ) บัวหลวง และสมอไทย, ๖ ต�ำรับ ได้แก่ กระเทียม กฤษณา โกฐก้านพร้าว เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี พิมเสน และสมุลแว้ง, ๕ ต�ำรับ ได้แก่ ขมิ้นอ้อย ชะลูด ช้าพลู บอระเพ็ด มะขามป้อม มะลิ สมอพิเภก และ สะค้าน, ๔ ต�ำรับ ได้แก่ ขิง (หรือขิงแห้ง) ชะมดเช็ด เทียนสัตตบุษย์ ฝาง แฝกหอม ใบพิมเสน มะกรูด ว่านน�้ำ สารส้ม และอบเชย, ๓ ต�ำรับ ได้แก่ กระวาน กระล�ำพัก กะเพรา เกลือสินเธาว์ โกฐชฎามังสี โกฐน�้ำเต้า ค�ำไทย งูเหลือม (กระดูกและดีงู เหลือม) เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ ไพล และหัวหอม (หอมแดง), ๒ ต�ำรับ ได้แก่ กระชาย กระดังงา กรุงเขมา (เครือหมาน้อย) ขมิ้นชัน ข่า ครั่ง โค (กระดูกเผาและดีวัว) จันทน์ขาว จ�ำปา ตองแตก เถามวกแดง พญารากขาว เพกา มหาหิงคุ์ มะนาว ระย่อม ส้มเขียวหวาน ส้มป่อย สมอเทศ สมอดีงู สันพร้าหอม แสมทะเล หญ้านาง หมากผู้ หมากเมีย หมึกหอม และแห้วหมู ส�ำหรับสมุนไพรที่มีความถี่เพียง ๑ ต�ำรับ มีค่อนข้างมาก ได้แก่ กระจับ กระดาด ขาว กระดาดแดง กระดูกกา กระดูกแพะ กระดูกเสือ กระทือ กระพังโหม กล้วยตีบ กลอย ก�ำมะถันเหลือง ก�ำยาน ก�ำลังวัวเถลิง โกฐกักกรา ขมิ้นเครือ ข่าต้น ขี้กาขาว ขี้กาแดง ขี้เหล็ก ขี้อ้าย จันทน์ชะมด เจตพังคี แจง ชะมด ชันย้อย ซิก (กะซิกหรือ พฤกษ์) ดองดึง ดินประสิว ดีเกลือฝรั่ง ดีงูเห่า ดีหมูปา่ ตานหม่อน เถามวกขาว เถาวัลย์เปรียง ทับทิม เทียนบ้าน เนระพูสี บัวขม บัวจงกลนี บัวเผื่อน บุก เบญกานี เบี้ยจั่น ปลาไหลเผือก ผักกระโฉม ผักชีล้อม ผักแพวแดง ไผ่ป่า พิษนาศน์ มหาสด�ำ มะกอก มะกา มะขาม มะค�ำดีควาย มะงั่ว มะปรางหวาน มะรุม มะแว้งเครือ มะแว้ง ต้น โมกมัน รงทอง ราชดัด เร่ว ล�ำพันแดง ลูกซัด ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สน สนเทศ รากข้าวสาร (รากสลิด) ส้มจีน ส้มซ่า สมอทะเล ส้มโอ สวาด สะบ้ามอญ สัก สักขี สารพัด พิษ สีเสียดเทศ สีเสียดไทย สุรามะริด แสมสาร หญ้าตีนนก หญ้าไทร หว้า หวาย ตะค้า หอยกาบ หอยขม หอยแครง หอยจุ๊บแจง หอยตาวัว หอยนางรม หอยพิมพการัง หอยมุกข์ หอยสังข์ หัสคุณเทศ เหมือดคน แห้วไทย โหระพา อบเชยญวน และ อบเชยเทศ ส�ำหรับกฤษณานั้น ต�ำรับยามักเรียกกันว่า กฤษณา เนื้อไม้หอม หรือเรียกแต่ เพียงสั้นๆ ว่า เนื้อไม้ ท�ำให้หลายคนงุนงงว่าหมายถึงไม้อะไร?

สมุนไพร รู้ใช้  ไกลโรค

15


สมอชนิดต่างๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรตํารับ

จันทน์ชนิดต่างๆ ที่ใช้ในตํารับยาไทย

ยังมีตัวยาอีกอย่างหนึ่งคือ  ยาด�า (หรือยาด�าสะตุ)  ซึ่งเปนยางของว่านหาง จระเข้ชนิดหนึ่ง (ต�าราบางเล่มอ้างว่า เปนว่านหางจระเข้ชนิดต้นใหญ่พันธุ์แอฟริกา) ก็เปนตัวยาที่น่าสนใจมากเช่นกัน   ปจจุบันนี้  ในแต่ละปประเทศไทยของเราต้องน�าเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศ หลายสิบชนิด  ไม่ว่าจะน�าเข้าจากจีน  อินเดีย  หรือประเทศใกล้เคียง  เช่น  ลาว  พม่า กัมพูชา เปนต้น  ทั้งนี้  ก็ด้วยเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น ขาดการส่งเสริมให้มีการ ปลูกอย่างจริงจัง  มีการลักลอบน�ามาจากป่าสงวน  วัตถุดิบในป่าธรรมชาติมีปริมาณ ลดลง  ขาดการศึกษาข้อมูลการผลิตอย่างจริงจัง  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการ ประสานงานกันทั้งในด้านการผลิตและการตลาด

16

ไพบูลย แพงเงิน


จากบทความ เรื่อง “สมุนไพรที่หายากและขาดแคลน” เขียนโดย แพทย์ หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ “การแพทย์แผนไทย สายใยแห่ง ชีวิตและวัฒนธรรม เล่ม ๒” ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ระบุว่า มีสมุนไพรที่ควรให้ความ สนใจอยู่ ๒ กลุ่มคือ ๑. สมุนไพรที่น�าเข้าจากต่างประเทศและใช้บ่อย ได้แก่ โกฐกระดูก โกฐ จุฬาลัมพา โกฐชฎามังษี หรือโกฐจุฬารส จันทน์เทศ จันทน์หอม ชะมดเชียง ชะเอม เทศ เทียนต่างๆ (เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนขาว เทียนแดง เทียนด�า เทียนเยาวภานี เทียนตากบ เทียนสัตตบุษ เทียนลวด เทียนเกล็ดหอย เทียนแกลบ เป็นต้น) โปยกั้ก พิมเสน เมนทอล เกล็ดสะระแหน่ ยาด�า รงค์ทอง โสม อ�าพันทอง อบ เชยญวน ๒. สมุนไพรที่หายากในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่ยังไม่ทราบถึง วิธีปลูกนอกป่าธรรมชาติ หรือปลูกได้แต่ขาดการส่งเสริม หรืออาจจะเป็นสมุนไพรที่ เป็นสัตว์หายากและผิดกฎหมาย ได้แก่ กระวาน กฤษณา กานพลู ก�ายาน กระบือ เจ็ดตัว ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ขี้กาแดง ขี้เหล็กเลือด เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิง แดง ต่อไส้ (ราก) เถาวัลย์เปรียง ทะนงแดง ปวกหาด (ได้จากต้นมะหาด) พญาปล้อง ทอง (ประดงข้อ) ฝาง ฝ้ายแดง พิกุล พริกไทย มะกอกไทย มะกล�่าตาช้าง มะกล�่า ตาหนู มหาละลาย ระย่อม เร่ว เลือดแรด (ต้น) ว่านกีบแรด ว่านชักมดลูก ว่านร่อน ทอง สะค้าน สมุลแว้ง สลัดได สักขี ล�าพันทั้งสอง อุ้มลูกดูหนัง (ยอป่า) ส�ารอง (พุง ทะลาย) ดีหมี และโคคลาน เป็นต้น

(ซ้าย) อุ้มลูกดูหนัง ยอป่า (ขวา) จันทน์ชะมด

สมุนไพร รู้ใช้ ไกลโรค

17


การที่จะผลิตสมุนไพรเพื่อทดแทนการน�ำเข้าให้เป็นจริงได้ จ�ำเป็นต้องอาศัย ทั้งข้อมูล การประสานงานอย่างจริงจังและเกิดผลในทางปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง อันได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัย ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม ควรจะต้อง เป็นแม่งานใหญ่ เรื่องราวของสมุนไพรที่มีโอกาสจะน�ำมาใช้ในต�ำรับยาแผนไทยบ่อยๆ ตลอด จนข้อมูลของสมุนไพรที่สมควรต้องช่วยกันผลิตชดเชยขึ้นภายในประเทศ โดยสรุป ก็มีแต่เพียงแค่นี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ส�ำหรับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องบ้าง หากพวกเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ ในไม่ช้าสถานการณ์ด้านการผลิตสมุน ไพรก็คงจะดีขึ้น การน�ำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศก็จะลดน้อยลงได้ในอนาคต

18

ไพบูลย์  แพงเงิน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.