บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา

Page 1


FROM AYEYARWADDY TO CHAO PHRAYA

บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา

Maung Swe Thet เขียน ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ แปล

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2558


บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา • ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ แปล

จากเรื่อง From Ayeyarwaddy to Chao Phraya ของ Maung Swe Thet  Copyright © 2013 by Maung Swe Thet. All rights reserved. Thai Language Copyright © 2015 by Matichon Publishing House. All rights reserved. พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีนาคม 2558 ราคา  340  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม หม่อง ส่วย แต๊ด. บันทึกทูตเมียนมาร์  จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. 416 หน้า. 1. ไทย- -ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ- -พม่า  2. พม่า- -ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ- -ไทย I. ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, ผู้แปล  II. ชื่อเรื่อง 327.5930591 ISBN 978 - 974 - 02 - 1396 - 3 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี บรรณาธิการพิเศษ : อพิสิทธิ์  ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการเล่ม : ทิมา เนื่องอุดม พิสูจน์อักษร : ปารดา นุ่มน้อย • กราฟิกเลย์เอาต์  : อรอนงค์  อินทรอุดม ออกแบบปก : ประภาพร ประเสริฐโสภา • ศิลปกรรม : ศศิณัฏฐ์  กิจศุภไพศาล ประชาสัมพันธ์  : ตรีธนา น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235  โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี  11120 โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596  โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ

ค�ำนิยม พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดอกเตอร์กระแส ชนะวงศ์ ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ วีระศักดิ์ ฟูตระกูล พิษณุ สุวรรณะชฎ พันเอกสาละวิน อุทรักษ์ ค�ำปรารภ ค�ำน�ำผู้เขียน กิตติกรรมประกาศ ค�ำน�ำผู้แปล เกริ่นน�ำ

ภาค 1 บทที่ บทที่ บทที่ บทที่ บทที่

1 2 3 4 5

5 7 8 10 12 15 17 23 25 27 32 37 53 76 113 141


ภาค 2

บทที่ 6 บทที่ 7 บทที่ 8

ภาค 3

บทที่ 9 บทที่ 10 บทที่ 11

ภาค 4 บทที่ บทที่ บทที่ บทที่

12 13 14 15

ค�ำตามหลังค�ำน�ำ หมายเหตุ จากใจผู้เขียน

156 184 213

232 259 282

314 355 369 376 409 412 414


ค�ำนิยม

ฯพณฯ อู โนย่น ส่วยได้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตเมียนมาร์  ประจ�ำประเทศไทยระหว่างช่วงปี พ.ศ.2529-2535 ซึ่งในเวลาดังกล่าว  ผมได้มีโอกาสท�ำงานอย่างใกล้ชิดกับ ฯพณฯ ในหลายเรื่องที่ส�ำคัญ  ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์  ตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่  ฯพณฯ อู  นยุ ่ น  ส่ ว ยปฏิ บั ติ ห น้ า ที ่ ในฐานะผู้แทนสูงสุดของรัฐบาลเมียนมาร์ในประเทศไทย ฯพณฯ ได้  ท�ำงานอย่างหนักในการกระชับสัมพันธไมตรี และส่งเสริมความร่วมมือ ในมิติต่างๆ ระหว่างสองประเทศ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย  กับเมียนมาร์ในช่วงที่ ฯพณฯ เป็นเอกอัครราชทูต ได้พัฒนาอย่างสนิท  สนมและแนบแน่น  เมื่อมีปัญหาใดๆ ที่อาจจะกระทบความสัมพันธ์  ระหว่างสองประเทศ ซึ่งเป็นธรรมดาของประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านกัน  และมีพรมแดนติดกันเป็นระยะทางถึงสองพันกว่ากิโล ฯพณฯ อู นยุ่น  ส่วยก็ได้พากเพียรที่จะแก้ไขปัญหานั้นๆ ให้ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ใน  การนี้ ฯพณฯ อู นยุ่น ส่วยก็ได้มีบทบาทที่ส�ำคัญในการเริ่มให้มีกลไก  ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามชายแดนของทั้งสอง


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

6

ประเทศทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันการเข้าใจ  ผิดและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ชายแดนของทั้งสอง  ประเทศ เพื่อให้ชายแดนไทย-เมียนมาร์เป็นชายแดนสันติสุข เกื้อกูล  ต่อการติดต่อไปมาและค้าขายระหว่างประชาชนไทยกับเมียนมาร์ ในหนั ง สื อ  บั น ทึ ก ทู ต เมี ย นมาร์  จากลุ ่ ม อิ ร วดี สู ่ เ จ้ า พระยา เล่มนี้ ฯพณฯ อู นยุ่น ส่วยก็ได้บรรยายถึงประสบการณ์ของ ฯพณฯ  ในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์โดยใช้ลุ่มน�้ำที่  ส�ำคัญของสองประเทศเป็นสัญลักษณ์  หนังสือเล่มนี้นอกจากจะมี  คุณค่าในด้านประวัติศาสตร์การทูตแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยบทเรียนที่ล�้ำค่า  ส�ำหรับผู้ที่มีบทบาทในการก�ำหนดและการด�ำเนินวิเทโศบายกับประเทศ  เพื่อนบ้าน ซึ่ง ฯพณฯ อู นยุ่น ส่วยก็เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่เสริม  สร้างสัมพันธไมตรีระหว่างสองประเทศให้พัฒนาอย่างยั่งยืน เสมือน  เสริมสร้างสะพานที่เชื่อมลุ่มน�้ำเจ้าพระยาและลุ่มน�้ำอิรวดีให้มั่นคง  ถาวรสืบไป  ผมจึงหวังว่าจะมีการเผยแพร่หนังสือเล่มนี้ให้เป็นที่รู้จัก  อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา   องคมนตรี


ค�ำนิยม

ผมดีใจและรู้สึกเป็นเกียรติที่ ฯพณฯ นยุ่น ส่วย เชื้อเชิญผมร่วมเขียน  ค�ำนิยมให้หนังสือ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา ซึ่งเป็น  บันทึกทางการทูตของท่านเอง  เมื่ออ่านแล้วก็พบว่าเข้าใจดี มีความสุข  และภาคภูมิใจที่เป็นคนไทยผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเมียนมาร์ ฯพณฯ นยุ่น ส่วย มารับราชการเป็นเอกอัครราชทูตเมียนมาร์  ประจ�ำประเทศไทยนานกว่า 6 ปี แม้จะออกตัวว่าไม่ใช่นักการทูต  อาชีพ  ทว่าท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตในการสร้างความ  เข้าใจระหว่างประเทศได้อย่างเยี่ยมยอดและน่าชื่นชมยิ่ง ท่านจึงเป็น  ที่รักของข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม อย่างกว้างขวาง และยัง  เป็นมิตรที่ประเสริฐของไทย หนั งสื อเล่มนี้เป็นบันทึก ประวัติศ าสตร์ ขั้นตอนทางการทูต  ผลงาน และความประทับใจของผู้เขียน แต่ก็ทรงคุณค่าและมีความ  หมายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ ฯพณฯ  ได้พูดถึงสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของไทยไว้ด้วย  ความยกย่องชื่นชมอย่างสูง ผมหวังและเชื่อว่าผลงานของอดีตนักการทูตเมียนมาร์เล่มนี ้ จะส่งเสริมความรู้ความเข้าใจอันดีระหว่างชาวไทยและชาวเมียนมาร์  ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดอกเตอร์กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


ค�ำนิยม

ผมรู้จักท่านรัฐมนตรีอู นยุ่น ส่วยมานานมากในระหว่างที่ท่านด�ำรง  ต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตเมียนมาร์ประจ�ำประเทศไทย ท่านเป็นคน  ทีม่ ีมนุษยสัมพันธ์ดีมาก ท่านมาปฏิบตั ริ าชการในประเทศไทยในช่วงที่  ประเทศไทยมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีเขตดินแดนติดต่อกัน  ผมท�ำงานร่วมกับท่านหลายเรื่อง โดยที่ทั้งสองประเทศต่างมี  ผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะในเรื่องการปักปันเขตแดน หรือความ  สงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน  เราพบปะหารือกันตลอด ทั้งตัวท่าน  และมาดามของท่านสนิทกับผมและภรรยารวมทั้งครอบครัวผมด้วย  เราและคณะทูตจากประเทศต่างๆ ที่ประจ�ำอยู่ในประเทศไทยร่วมเดิน  ทางไปทัศนศึกษาและดูงานโครงการตามพระราชด�ำริที่ดอยตุง และ  ได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารจากสมเด็จย่าด้วย  และเมื่อเราได้ออก  เดินทางไปสังเกตการณ์ชายแดนไทย-เมียนมาร์ ซึ่งขณะนั้นประเทศ  เมียนมาร์ไม่อนุญาตให้ชาวตะวันตกเข้าประเทศ แต่ท่านทูต อู นยุ่น  ส่วยได้ขอให้คณะทูตที่มาจากประเทศทางตะวันตกได้มีโอกาสผ่าน


บั น ทึ ก ทู ต เ มี ย น ม า ร์   จ า ก ลุ่ ม อิ ร ว ดี สู่ เ จ้ า พ ร ะ ย า

เขตชายแดนไทย-เมียนมาร์เป็นครั้งแรกที่อ�ำเภอแม่สายในประเทศไทย ข้ามไปยังอ�ำเภอท่าขี้เหล็กในประเทศเมียนมาร์ ยังความประทับใจ  มาสู่คณะทูตที่ร่วมเดินทางไปด้วยกันทั้งหมด  เรามีโอกาสพบปะกัน  เสมอ เมื่อมีภารกิจอะไรเราก็ปรึกษาหารือกัน ท�ำให้ความสัมพันธ์  ระหว่างสองประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นจวบจนถึงปัจจุบัน เมื่ อ อยู ่ ที่ เ มื อ งไทย ท่ า นทู ต อู  นยุ่ น  ส่ ว ยมี เ พื่ อ นมากมายใน  ระดับต่างๆ ทั้งผู้ใหญ่ในแวดวงการเมืองและวงการข้าราชการ  การที่  ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ถือว่าท่านเปี่ยมประสบการณ์ และประทับใจ  ในการท�ำหน้าที่ของท่านที่ประเทศไทย เชื่อว่าผู้อ่านจะได้ความรู้และ  ได้รับความประทับใจจากหนังสือนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์  อันดีที่มีต่อกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์       ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์

9


ค�ำนิยม

ผมได้รู้จัก ฯพณฯ อู โนย่น ส่วยในช่วงที่ ฯพณฯ ด�ำรงต�ำแหน่งเอก  อัครราชทูตเมียนมาร์ประจ�ำประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ.2529-2535  และเมื่อผมไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเอกอัครราชทูตไทยประจ�ำประเทศ  เมียนมาร์ ระหว่างปี พ.ศ.2535-2537 ฯพณฯ อู โนย่น ส่วย ซึ่งด�ำรง  ต�ำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น  ก็ได้ให้ความอนุเคราะห์แก่ผมเป็นอย่างมาก ช่วยให้การท�ำงานของผม  ในประเทศเมียนมาร์เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งผมต้องขอขอบพระคุณ  ท่านเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้  ฯพณฯ อู โนย่น ส่วย และคุณตะแยด มะ แต๊ด ส่วย ภริยาของ  ฯพณฯ เป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ  เมียนมาร์ในทุกระดับ  ฯพณฯ และภริยาได้รับเสด็จสมเด็จพระเทพ  รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชด�ำเนิน  เยือนประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่ก่อนที่ ฯพณฯ จะมาด�ำรงต�ำแหน่งเอก  อัครราชทูตประจ�ำประเทศไทย ทั้งยังได้รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตน  ราชสุดาฯ อีกครั้งในโอกาสเสด็จพระราชด�ำเนินเยือนนครเชียงตุง


บั น ทึ ก ทู ต เ มี ย น ม า ร์   จ า ก ลุ่ ม อิ ร ว ดี สู่ เ จ้ า พ ร ะ ย า

รัฐฉาน ในช่วงที่ ฯพณฯ ด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง  การต่างประเทศของเมียนมาร์  ในระหว่างที่ ฯพณฯ ด�ำรงต�ำแหน่ง  เอกอั ค รราชทู ต เมี ย นมาร์ ใ นประเทศไทย ฯพณฯ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ  ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประมุขของประเทศทั้งสอง รวม  ถึงบทบาทส�ำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่าง  ประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์หลายครั้งหลายครา จึงถือได้ว่า  ฯพณฯ เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง หนังสือ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา เป็น  อัตชีวประวัติของ ฯพณฯ อู โนย่น ส่วย ช่วงที่ ฯพณฯ มีบทบาทส�ำคัญ  ในการด� ำ เนิ น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งไทยกั บ เมี ย นมาร์  จึ ง ถื อ ได้ ว ่ า  หนังสือเล่มนี้เป็นเอกสารส�ำคัญชิ้นหนึ่งของประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์  ระหว่างไทยกับเมียนมาร์  เมียนมาร์เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่ที่สุด  และมีพรมแดนติดต่อกับไทยยาวที่สุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน  ทั้งหมดของไทย ฉะนั้นจึงเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่คนไทยทุกท่านควร  รู้จักและให้ความส�ำคัญ หนังสือของ ฯพณฯ อู โนย่น ส่วยเล่มนี้เป็นเสมือนหน้าต่างที ่ เปิดให้คนไทยได้เข้าใจประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่ที่สุดของไทยมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้น ก็ย่อมจะน�ำไปสู่การเข้าถึงและ  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชนไทยกับเมียนมาร์ อันจะน�ำไปสู่การ  พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ที่ยั่งยืนและสมานฉันท์  ต่อไปในภายหน้า  ผมจึงรู้สึกยินดีที่ ฯพณฯ อู โนย่น ส่วยได้เขียน  หนังสือเล่มนี้เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการเชื่อมลุ่มน�้ำเจ้าพระยา  กับลุ่มน�้ำอิรวดี เพื่อเป็นประทีปแก่คนรุ่นหลังในการเสริมสร้างสัมพันธ  ไมตรีระหว่างไทยกับเมียนมาร์ให้ยั่งยืนต่อไปชั่วกาลนาน                                                       วีระศักดิ์ ฟูตระกูล               อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจ�ำประเทศเมียนมาร์

11


ค�ำนิยม

ในฐานะเอกอัครราชทูตฯ ผมมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้รับเกียรติ  ให้เขียนค�ำนิยมส�ำหรับหนังสือ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดี สู่เจ้าพระยา เล่มนี้ ด้วยเหตุผลส�ำคัญ 3 ประการ ประการแรก ฯพณฯ โนย่น ส่วย เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ชาวเมียนมาร์  ที่น่าเคารพนับถือ  ท่านมีคุณูปการในการเสริมสร้างความสัมพันธ์  ไทย-เมียนมาร์ ตั้งแต่เมื่อครั้งด�ำรงต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตเมียนมาร์  ประจ�ำประเทศไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  เมียนมาร์ จนถึงปัจจุบันที่ด�ำรงต�ำแหน่งประธานสมาคมมิตรภาพ  เมียนมาร์-ไทย  ท่านเป็นก�ำลังส�ำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์  ไทย-เมียนมาร์มาโดยตลอด และท่านยังคงเป็นก�ำลังส�ำคัญต่อไปโดย  อาศัยกลไกของสมาคมมิตรภาพนี้และในฐานะที่ท่านเป็น “มิตรแท้”  ของประเทศไทย  ประการที่  2 หนั ง สื อ  บั น ทึ ก ทู ต เมี ย นมาร์  จากลุ ่ ม อิ ร วดี สู่เจ้าพระยา เล่มนี้ มิใช่เป็นเพียงบันทึกความทรงจ�ำที่บอกเล่าเรื่อง  ราวของ ฯพณฯ โนย่น ส่วย ในช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเอกอัครราช


บั น ทึ ก ทู ต เ มี ย น ม า ร์   จ า ก ลุ่ ม อิ ร ว ดี สู่ เ จ้ า พ ร ะ ย า

ทูตเมียนมาร์ประจ�ำประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังนับว่าเป็นหนังสือ  ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และทางวิชาการ อีกทั้งอ่านได้อย่างสนุก  สนานเพลิดเพลิน เพราะสะท้อนถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมุมมอง  ของท่านผู้เขียนด้วยใจบริสุทธิ์และตรงไปตรงมา ทั้งยังแฝงด้วยข้อคิด  และสอดแทรกด้วยเกร็ดความรู้เชิงประวัติศาสตร์ของเมียนมาร์ การ  ท�ำหน้าที่นักการทูตในต่างแดน พัฒนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-  เมียนมาร์ พระราชกรณียกิจของพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยในการ  กระชับความสัมพันธ์กับเมียนมาร์ และทัศนคติของชาวเมียนมาร์  ต่อชาวไทย  ผมจึงเชื่อมั่นว่า หนังสือเล่มนี้จะท�ำให้ผู้อ่านได้รับทราบ  มุมมองใหม่ๆ ในเชิงบวกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ และ  จะมีส่วนส�ำคัญที่ช่วยกระชับมิตรภาพของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้น  ยิ่งๆ ขึ้นไป ประการสุดท้าย หนังสือเล่มนี้เปรียบเปรยและบอกเล่าเรื่องราว  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ได้เป็นอย่างดี ดังเช่นที่สายน�้ำ  เป็นต้นก�ำเนิดแห่งชีวิต  หนังสือ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดี สู่เจ้าพระยา ก็ถ่ายทอดเรื่องราวที่เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นสายธาร  แห่งการสานสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เมียนมาร์  เนื่องจากช่วงที่ ฯพณฯ  โนย่น ส่วยด�ำรงต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตเมียนมาร์ประจ�ำประเทศไทย  (พ.ศ.2529-2535) เป็นช่วงที่มีเหตุการณ์ส�ำคัญเกิดขึ้นมากมาย ทั้ง  บนผืนแผ่นดินไทยและแผ่นดินเมียนมาร์  แต่ด้วยความมุ่งมั่นในการ  ปฏิบัติหน้าที่ ฯพณฯ โนย่น ส่วยได้มีส่วนส�ำคัญในการเสริมสร้างความ  สัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  การต่างๆ ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ และท่านก็ยังคงท�ำ  หน้าที่นั้นต่อเนื่องมาได้อย่างดีแม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว  หนังสือ  เล่มนี้จึงไม่ใช่เพียงบันทึกความทรงจ�ำในอดีต แต่เป็นแบบเรียนส�ำคัญ  ที่จะท�ำให้ผู้อ่านได้รับทราบความเป็นมาเป็นไป และ “คิดออก” ถึง  แนวทางในการจรรโลงความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ให้แนบแน่นใกล้ชิด

13


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

14

และเจริญก้าวหน้าต่อไป  ผมขอเชิญชวนให้ทุกท่านอ่านหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าท่านจะอยู่ใน  แวดวงนักการทูต การทหาร ธุรกิจ หรือวงการอื่นใดก็ตาม ท่านจะได้  ทั้งความรู้ ความสนุกสนาน  และที่ส�ำคัญที่สุด ท่านจะมองประเทศไทย  และเมียนมาร์ในมุมที่แตกต่าง มองด้วยความเข้าใจและมิตรไมตรี  ดังเช่นที่ ฯพณฯ โนย่น ส่วยได้แสดงไมตรีจิตของท่านต่อประเทศไทย  และถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวความทรงจ� ำ ที่ ดี เ หล่ า นั้ น ผ่ า นหนั ง สื อ เล่ ม นี ้ รวมทั้งขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์มติชนที่ได้ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวของ  หนังสือนี้จากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย เพื่อให้สังคมไทยได้รับทราบ  และเรียนรู้อย่างถูกต้องตรงกันอย่างที่พี่น้องชาวเมียนมาร์ได้มีโอกาส  ชื่นชมหนังสือเล่มนี้ไปแล้วก่อนหน้านี้ พิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง 9 กุมภาพันธ์ 2558


ค�ำนิยม

หนังสือ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา ที่อยู่ในมือ  ของท่านเล่มนี้ เป็นการน�ำเสนอความรู้และประสบการณ์จริงของท่าน  อู นยุ่น ส่วย (U Nyunt Swe) อดีตนายทหารจากกองทัพเมียนมาร์  ผู้มีบทบาทส�ำคัญในยุคสงครามเย็น  ในห้วงนั้นท่านเป็นผู้น�ำหน่วย  ทหารเมียนมาร์อีกท่านหนึ่งที่น�ำก�ำลังพลเข้าต่อต้านกับการแผ่ขยาย  ของลัทธิคอมมิวนิสต์จีนที่เข้าสู่เมียนมาร์  หลังจากนั้นท่านหันเหชีวิต  เข้าสู่เส้นทางเจ้าหน้าที่ภาครัฐฝ่ายพลเรือน และได้รับเลือกสรรให้เข้าสู่  สายงานด้านการทูตในเวลาต่อมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านได้รับ  แต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตเมียนมาร์ประจ�ำ ณ กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1986 ดังนัน้  หนังสือเล่มนี้จงึ นับเป็นแหล่งข้อมูลส�ำคัญเกีย่ วกับเมียน-  มาร์ ซึ่งนักอ่านทุกท่านจะได้ทราบความเกี่ยวพันในหลายมิติ หลาย  เหตุการณ์ หลายพื้นที่ของเพื่อนบ้านด้านตะวันตกของไทย และเชื่อม  โยงกับสถานการณ์ในไทยซึ่งรวมระยะเวลาประมาณ 3 ทศวรรษที ่ ผ่านมา อาทิ


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

16

การเลือกสรรบุคลากรของรัฐให้ไปปฏิบัติหน้าที่ส�ำคัญด้านการ  ทูตในต่างประเทศ การด�ำเนินนโยบายด้านต่างประเทศของเมียนมาร์ต่อไทย วิธีการและเทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยวิถีทางการทูตของ  เอกอัครราชทูตเมียนมาร์ท่านนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเมียนมาร์กับกองทัพไทย ซึ่งเป็น  พื้นฐานอันส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ทั้งสองกองทัพแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น  จนถึงยุคปัจจุบัน รวมทั้งข้อมูลประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจอื่นๆ  อีกมากมาย โดยเฉพาะการได้มีโอกาสรับเสด็จพระราชวงศ์ไทยใน  การเสด็จฯ เยือนเมียนมาร์และในประเทศไทย  ในมุมมองของท่าน  ได้เล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณของแต่ละพระองค์โดยละเอียดยิ่งจนเป็น  ที่ประจักษ์ชัดในสายตาของคณะทูตานุทูตและชาวเมียนมาร์อันน่า  ประทับใจในหลายๆ ตอน ผมมั่ น ใจเป็นอย่างยิ่งว่า บั น ทึ กทู ต เมี ยนมาร์  จากลุ่มอิรวดี สู่เจ้าพระยา เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งซึ่งจะน�ำมาทั้งคุณค่าและคุณ  ประโยชน์ต่อท่านนักอ่านดังเช่นที่ผมได้รับ พันเอกสาละวิน อุทรักษ์ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกไทย ประจ�ำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง


ค�ำปรารภ

โต๊ะท�ำงานของผมเต็มไปด้วยหนังสือที่กว้านซื้อมาในเดือนนี้ ทั้ง Myanmar Student Movement โดยอ่อง โทน  The 8888 Campaign โดยดอกเตอร์หม่อง เมี่ยน (มัณฑะเลย์)  A Successful Record on The Rough Trek of Myanmar Revolution โดยดอกเตอร์บ๊ะ หม่อ  ฉบับแปลของหม่อง วิน ตู่  หนังสือเหล่านี้จัดพิมพ์อย่างดีบนหน้า  กระดาษขนาดใหญ่ เข้าปกเป็นเล่มหนา และมีราคาตั้งแต่ 8,000   ไป  จนถึ ง 12,000  จั๊ต   ในขณะที่หนังสืออื่นๆ อย่าง Conflict Within The Crisis, Mass Uprising, Democracy Battles in Myanmar,  PR or Front, Myanmar Education and Democracy ฯลฯ กลุ่ม  หลังนี้มีขนาดย่อมลงมามากกว่าหลายเล่มที่พูดถึงก่อนหน้า เหล่านี้คือหนังสือคุณภาพแห่งปี 2013 จากในบรรดาหน้าปก  ทั้งหลายที่วางจ�ำหน่ายจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม และยังมีหนังสือเกี่ยว  กับเรื่องราวทางการเมืองหลากหลายอีกราว 10-15 ปก ที่ก�ำลังทยอย  ตีพิมพ์ออกมา  หนังสือเหล่านี้รวมตัวกันเป็นงานเขียนกระแสหลัก  ของร้านหนังสือทั้งหลาย พัฒนาการที่บรรดาเยาวชนของประเทศนี ้ หันมาอ่านงานวรรณกรรมทางการเมืองอย่างกระหายใคร่รู้เป็นก�ำลัง  ใจอย่างยิ่งว่า เยาวชนแห่งประเทศนี้ไม่มีวันขาดแคลนความรู้ทางการ  เมืองเป็นแน่แท้ ในเวลาเดียวกัน ผมมองย้อนกลับไปในห้วงเวลาที่ผ่านเลยมา  ในช่วงเยาว์วัย ผมใช้เวลา 3 ปี เพื่อเรียนชั้นอนุบาล เมื่ออายุได้ 8 ขวบ  จึงเริ่มต้นชั้นเรียนมาตรฐานชั้นที่ 1  ดังนั้น เมื่อผมผ่านชั้นเรียนมาตร  ฐานชั้นที่ 7 อายุก็ล่วงเลยเข้า 14 ปีเต็มแล้ว ด้วยความคุ้นเคยกับระบบ


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

18

การศึกษามาระดับหนึ่ง บวกกับแรงกระตุ้นจากธรรมชาติกระหายใคร่รู ้ ของวัยเยาว์ ผมได้อ่าน Asheiga Ne Wunhtwethipama ผลงานของ  เต็ง เผ่ เมี่ยน จนหลงใหลในฝีมือการเขียนของท่าน และเริ่มกว้านซื้อ  หนังสือทุกเล่มของท่านเอาไว้  ผมยังได้อ่าน Wartime Traveler,  Mahameikhnin’ Bama Setaman และ Boycott Student  บรรดา  หนังสือเหล่านี้เน้นที่เรื่องราวชีวิตของผู้คนอย่างนายพลออง ซาน,  อู นุ, อู บ๊ะ ส่วย, อู จ่อ เนยน, ตะขิ่น ตัน โทน, ตะขิ่น โซ และเหล่า  วีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของชาติ ด้วยความซาบซึ้งตรึงใจกับประวัติ  ศาสตร์ ส มั ย ใหม่ ข องเมี ย นมาร์  และถู ก ปลุ ก เร้ า ด้ ว ยวี ร กรรมอั น  ปราศจากความเห็นแก่ตัวเหล่านั้น ช่วยผลักดันให้ผมเริ่มมองหาหนังสือ  ในท�ำนองเดียวกันมาอ่านจนหมด  ดะโก่ง ตาหย่า ผูเ้ ขียน Youk Poun Hlwar ดึงดูดใจผมมากเป็นพิเศษ และน�ำไปสู่งานของตะขิ่น ติ่น มยะ  เรื่อง Boun Boun Hmar Hpyint ต่อด้วยหนังสือทั้งหลายของสะหย่า  ตะขิ่น มยะ ตัน และสะหย่า มยะ ตัน ติ้น  Capitalists’ Society  ของตะขิ่น บ๊ะ เฮง  Achieving Communism ของสะหย่า หม่อง  หม่อง ติ่น  Why only Communism? และ From Volga to Ganges ของสะหย่า ป่าระกู่  ต่อมาก็ตามอ่านวรรณกรรมฝ่ายซ้ายทั้งหลาย  ที่ร้านหนังสือจ่อ ลินตีพิมพ์ออกมาทั้งหมด หลังจากนั้นจึงไปวนเวียน  อยู่กับเดอะ กะหล่อง ปยั่น บุ๊กสโตร์ ที่เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม  การเมือง วอสต็อก บุ๊กช็อป และวิน หม่อ อู บุ๊กช็อป  ในปี 1962  กองทัพก่อรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง หลังจากนั้นก็ถึงยุคของบีเอสพีพี  ในปี 1965 ผมกลายเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ส�ำเร็จการศึกษาเมื่อ  ปี 1969 ขณะนั้นวรรณกรรมการเมืองยังคงเป็นที่นิยม ที่เยาวชนใน  ยุคนั้นโปรดปรานมากที่สุดเห็นจะเป็น Hitler และ Che Guevera งาน  เขียนของลินโหย่ง หม่อง หม่อง ผมสังเกตว่าระหว่างช่วงเวลาตั้งแต่ยุค 70 เรื่อยมาจนกระทั่ง  ถึงปี 2010 ในเมียนมาร์มีการตีพิมพ์วรรณกรรมทางการเมืองออกมา


บั น ทึ ก ทู ต เ มี ย น ม า ร์   จ า ก ลุ่ ม อิ ร ว ดี สู่ เ จ้ า พ ร ะ ย า

น้อยมาก  ส�ำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบงานวรรณกรรมใช้  อ�ำนาจในการเซ็นเซอร์อย่างไม่ปรานีปราศรัย ผลลัพธ์ก็คือบรรดา  เยาวชนทั้งหลายตกอยู่ในสภาพ “มืดบอด” ทางการเมือง การรับฟัง  เรื่องราวทางการเมืองของพวกเขาถูกปิดกั้น ปากถูกเย็บสนิทเมื่อใด  ก็ตามที่การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกคนตัดสินใจได้ตามแบบ  อย่างที่ถือว่าถูกต้องและท�ำตามสิ่งที่ต้องการให้กระท�ำโดยไม่รั้งรอ  แทนที่จะเปิดโอกาสให้มีการตัดสินใจอย่างเสรี ปลอดความส�ำนึกเสียใจ  ปล่อยให้เขียนบอกเล่าออกมาและเปิดให้กระท�ำการตามความจ�ำเป็น  ถ้าหากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้กระท�ำแล้วไซร้ ชะตากรรมของ  ชาตินั้นเล่าจักเป็นฉันใด... ในบรรดาหนังสือทั้งหลายที่สะหย่า หม่อง ส่วย แต๊ดเขียนขึ้นมา มี  2 เล่มที่เรียกความสนใจจากผมได้ เล่มแรกชื่อว่า From Kadooma to Mawhpa ว่าด้วยเรื่องราวการศึกของสงครามในความทรงจ�ำที่  ผู้เขียนได้ประสบมาตลอด 28 ปีที่รับราชการทหาร หนังสือเล่มนี ้ ควรนับเนื่องได้ว่าเป็นการบันทึกรายละเอียดกึ่งทางการที่ทรงคุณค่า  เชิงประวัติศาสตร์การทหารของกองทัพ อีกเล่มชื่อ My Mentor เป็น  การบันทึกความเสียสละของเจ้าหน้าที่อาวุโสจากมุมมองที่ได้เปรียบ  เหลือหลายในฐานะที่ผู้เขียนเคยเป็น “คนวงใน” และแตกต่างออกไป  อย่างใหญ่หลวงจากที่กล่าวขวัญกันทั่วไปเกี่ยวกับ “ชื่อเสียง” ของบุคคล  เหล่านั้น ชนิดที่ท�ำให้ใครก็ตามที่เคยให้ร้ายทั้งด้วยวาจาและใจอาจ  ต้องร้องขออภัยจากคนเหล่านั้น  หนังสือเล่มนี้เปิดหูเปิดตาผมอย่าง  แท้จริงให้พบในสิ่งที่ผมในฐานะสามัญชนผู้หนึ่งได้รับรู้ถึงการอุทิศตน  ของคนเหล่านั้นในอันที่จะให้บังเกิดผลดีต่อประเทศชาติ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา เล่มนี้ นับเนื่อง  ได้ว่าเป็นผลงานมาสเตอร์พีซของผู้เขียน เพราะร้อยเรียงขึ้นจากภารกิจ  ในความรับผิดชอบที่ต้องแบกรับในช่วงระยะเวลา 6 ปีที่ปักหลักอยู่

19


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

20

ในประเทศไทย  หากสะหย่า หม่อง ส่วย แต๊ดไม่เขียนหนังสือเล่มนี้  ออกมา ความทรงจ�ำของผมคงเว้าแหว่ง เพราะไม่มีโอกาสได้รับรู้ใน  หลายๆ จุด แรกสุดคงเป็นเรื่องราวในช่วงที่ความสัมพันธ์ทางการทูต  ระหว่างไทยกับเมียนมาร์เย็นชาลงในปี 1986 กลับกลายเป็นว่าตัว  ประธานพรรคบีเอสพีพีเองเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายจดหมายส่วนตัว  กราบบังคมทูลเชิญองค์สยามบรมราชกุมารี ให้เสด็จฯ เยือนประเทศ  ของเรา  ประจวบเหมาะกับในการเสด็จฯ เยือนเป็นเวลา 10 วันดัง  กล่าวนี้ อู เน วินอีกนั่นแหละที่ก�ำหนดให้อู โนย่น ส่วย ว่าที่เอกอัคร  ราชทูตเมียนมาร์ประจ�ำประเทศไทยคนต่อไป เป็นผู้เฝ้าฯ รับเสด็จ  และโดยเสด็จตลอดเส้นทางความเคลื่อนไหวด้วยวิสัยทัศน์ที่มองการณ์  ไกลเช่นนี้สมควรได้รับการชื่นชมและจ�ำแนกออกไปในอีกบริบทหนึ่ง  ซึ่งแยกขาดจากชีวิตในฐานะที่เป็นตะขิ่น ช่วงชีวิตในฐานะหนึ่งในคณะ  30 สหายในฐานะนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลรักษาการ ในฐานะผู้น�ำ  การก่อรัฐประหาร ประธานแห่งพรรคบีเอสพีพี และความอับเฉาใน  ช่วงหลายปีแห่งบั้นปลายชีวิต ยังมีตอนหนึ่งซึ่งน่าสนใจยิ่งในหนังสือเล่มนี้ ที่เป็นการบอกเล่า  ถึงเหตุการณ์เมื่อท่านเอกอัครราชทูตได้รับมอบภารกิจให้ต้อนรับด่อ  แจ่ หม่น วิน บุตรีของอู เน วิน ผู้ก�ำลังเดินทางออกจากเมียนมาร์ท ี่ ท่าอากาศยาน ในขณะที่ภริยาของท่านเอกอัครราชทูตถูกมอบหมาย  ให้ไปต้อนรับน้องสาวของพันเอกขิ่น หม่อง เอ ซึ่งก็คือด่อ ออง ซาน  ซู จี ผู้ก�ำลังเดินทางจากประเทศอังกฤษกลับสู่เมียนมาร์ ภารกิจหลัก  ของเอกอัครราชทูตและภริยาก็คือต่างต้องไปพบและให้การต้อนรับ  น� ำ บุ ค คลทั้ ง สองไปพั ก ยั ง สถานที่ เ หมาะสม และน� ำ ทางออกจาก  กรุงเทพฯ ไปยังจุดหมายปลายทาง  ดังนั้น แม้สุภาพสตรีทั้งสองจะ  อยู่ที่ท่าอากาศยานในเวลาเดียวกัน แต่ก็ไม่เคยได้รับการแนะน�ำให้  รู้จักกันเลย! ค�ำบอกเล่าจากถ้อยค�ำของผู้เขียนเองก็คือ “แม้ท่านทั้งสองจะ


บั น ทึ ก ทู ต เ มี ย น ม า ร์   จ า ก ลุ่ ม อิ ร ว ดี สู่ เ จ้ า พ ร ะ ย า

เป็นบุตรีแห่งวีรบุรุษผู้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศให้เป็นเอกราชเช่น  เดียวกัน ทว่าต่างก็ไม่รู้จักกันเนื่องจากไม่เคยพบหน้ากัน  และตอนนี้  ระหว่างที่ทั้งสองเดินมาตามเส้นทาง เราก็ไม่ได้แนะน�ำสุภาพสตรีทั้ง  สองให้รู้จักกัน” แม้หม่อง ส่วย แต๊ดจะออกตัวไว้ว่า เมื่อต้องก้าวเข้าสู่โลกการทูต  นั้น เขาไม่เคยได้รับการฝึกฝนอบรมคุณสมบัตินักการทูตที่ดีมาก่อน  ทว่าเขาก็ได้พานพบกับโลกใหม่หลายโฉมหน้า หลากเงื่อนไขและนานา  ภาระรับผิดชอบ เขาอยู่ที่เมืองไทยระหว่างห้วงเวลาของความโกลาหล  อันเนื่องมาจาก ‘วิกฤต 1988’ เมื่อนักศึกษาจ�ำนวนมหาศาลหลบหนี  ระบอบการปกครองของสลอร์กมายังเมืองไทย โดยส่วนใหญ่ไปปักหลัก  อยู่ตามพื้นที่แนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ เอกอัครราชทูตหม่อง ส่วย  แต๊ดเข้าเฝ้าฯ รับค�ำแนะน�ำจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประสาน  งานกับกาชาดสากล จัดตั้งศูนย์แรกรับและจัดส่งนักศึกษาคืนถิ่นขึ้น  มา 27 ศูนย์ด้วยกัน  ประวัติศาสตร์วันเวลาแห่งความโกลาหลนี้ได้รับ  การบันทึกเอาไว้โดยดอกเตอร์หม่อง หม่อง และในขณะเดียวกันผู้น�ำ  นักศึกษาหลายคนต่างก็บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ จากประสบการณ์ของ  ตนเอง ความในส่วนที่ยังเคลือบแคลงสับสนจึงกระจ่างขึ้นได้ในความ  รับรู้ของเราด้วยค�ำบอกเล่าของเอกอัครราชทูตอู โนย่น ส่วย (หม่อง  ส่วย แต๊ด) ต้องขอบคุณท่านทูตที่บอกเล่าแง่มุมของวิกฤต ซึ่งก่อนหน้า  นี้เคยว่างเปล่าออกมาให้ได้รับรู้กัน เพียงประการนี้หนังสือเล่มนี้ก็ทรง  คุณค่ามหาศาลนัก ท่านทูตไม่เพียงปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา  อย่างเป็นทางการเท่านั้น ในห้วงเวลาเดียวกันท่านยังมีโอกาสด� ำเนิน  งานในส่วนที่น่ายกย่องชื่นชมเป็นพิเศษอีกด้วย ในเหตุการณ์จี้เครื่องบินของสายการบินบีเอซีเที่ยวบินจากมเยก  (มะริด) สู่ย่างกุ้ง ที่กลุ่มนักศึกษาติดอาวุธสมคบกันด�ำเนินการ กัปตัน  ในเที่ยวบินนั้นให้บังเอิญเป็นอู ขิ่น โซ ผู้เป็นน้องของด่อ นี่ นี่ เมี่ยน  ภริยาของท่านประธานอู เน วิน ดังนั้น กัปตันเที่ยวบินนั้นก็คือน้อง

21


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

ภรรยาของท่านประธาน ข้อเท็จจริงประการนี้บรรดาผู้ก่อเหตุในครั้งนั้น  ไม่ได้รับรู้ และหลังจากการเจรจากับรองนายกรัฐมนตรีไทยซึ่งด�ำเนิน  ต่อเนื่องไปตลอดทั้งคืน สลัดอากาศก็ยินยอมวางอาวุธ ไม่มีผู้โดยสาร  รายใดในเที่ยวบินดังกล่าวได้รับอันตราย วาระการด�ำรงต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้มีอ�ำนาจเต็มในประเทศ  ไทยด�ำเนินควบคู่ไปกับความเคลื่อนไหวของคณะรัฐบาลพลัดถิ่น และ  การก่อความไม่สงบตามแนวชายแดน ซึ่งถูกบรรจุไว้ในหนังสือเล่มนี ้ เสมือนเป็นอาหารเรียกน�้ำย่อย ดึงดูดผู้อ่านได้สนใจติดตามรายละเอียด  เพิ่มเติมสมบูรณ์ในงานเขียนอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

22

ในปี 2005 ผมมีโอกาสแปลหนังสือภาษาอังกฤษเล่มหนึ่ง ว่าด้วย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะทรงเป็นนัก  คลาริเน็ตระดับโลกพอๆ กับที่ทรงเป็นจิตรกร ช่างภาพระดับสุดยอด  และแชมป์เรือใบ ทั้งยังเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ทรงริเริ่มบุกเบิกพันธุ ์ ข้าวพระราชทาน และยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ส� ำคัญพระ  องค์หนึ่ง หากผมมีความใกล้ชิดกับสะหย่า หม่อง ส่วย แต๊ดในครั้ง  กระนั้นเหมือนเช่นในยามนี้ ผมคงมีความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริง  หลายประการสมบูรณ์กว่านี้  อนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ มีรายละเอียดของ  พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานสโมสรสันนิบาต และพระราช  พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ บันทึกไว้โดยถี่ถ้วน ผมเคยอ่านงานเขียนเชิงอัตชีวประวัติของท่านเอกอัครราชทูต  อู หม่อง หม่อง โซ ติ้น และโทน อู ติ่น ที่รวบรวมประสบการณ์ด้าน  การทูตของพวกท่านมาแล้ว บัดนี้จึงมีโอกาสได้อ่านผลงานของอู โนย่น  ส่วย และไม่อาจรู้สึกเป็นอื่นได้นอกจากชื่นชม ผมยินดียิ่งที่ได้มีส่วน  เสริมเพิ่มเติมให้กับงานวรรณกรรมเช่นนี้ เฮง ลัต


ค�ำน�ำผู้เขียน

ผมได้ปฏิบัติหน้าที่ทุกประการตามที่ประเทศชาติเรียกร้องให้กระท�ำ  ลุล่วงแล้วด้วยดี ในห้วงเวลาของการท�ำหน้าที่ทหาร ผมใช้ชีวิตอยู่ตามชนบท  กับป่ารกชัฏ หรือไม่ก็บนภูสูง และในพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบางยิ่ง  ใช้ชีวิตที่ต้องปลีกตัว ห่างไกลจากครอบครัวในเวลานั้น จากนั้น เมื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโลกการทูต ผมต้องโยกย้าย  ไปยังต่างแดน ตอนนั้นนั่นเองที่ผมรู้สึกคิดถึงบ้านเกิดแรงกล้าอย่างยิ่ง กรุงเทพฯ มีผู้คนมากมายกว่าในย่างกุ้ง ทั้งยังมีความสะดวก  สบายและทันสมัยมากกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม พื้นเพของผมมาจากสะกาย ส่วนมะ แต๊ด ส่วย  ภรรยาผมก็มาจากตะแยด ทั้งสองเมืองตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น�้ำอิรวดี  ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เราคิดถึงอิรวดี เราจะไปที่ล�ำน�้ำเจ้าพระยา ทอด  ตาแลมอง จนกระทั่งความอึดอัดจากการถวิลหาผ่อนคลายลง กระนั้น เจ้าพระยาก็มิใช่อิรวดี และไม่อาจเข้าไปแทนที่อิรวดีได้


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

ในดินแดนห่างไกลที่ผมปฏิบัติหน้าที่อยู่นานถึง 6 ปี แม้เจ้าพระยาจะไม่สามารถแทนที่ล�ำน�้ำอิรวดีที่คุ้นเคยได้ แต่  ก็มีที่ทางของตนอยู่ในใจเรา เฉกเช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งต้องไกลห่าง  จากล�ำน�้ำอิรวดี ซึ่งเราได้แต่ถวิลหา เมื่อเราหวนกลับมา ณ ริมฝั่งอิรวดี  เราก็ยังคงจดจ�ำล�ำน�้ำเจ้าพระยาไว้ในใจ ด้วยเหตุนี้ ทั้งอิรวดีและเจ้าพระยาต่างก็สิงสถิตอยู่ในใจเราดุจ  เดียวกัน และเป็นเหตุผลที่หนังสือ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดี สู่เจ้าพระยา เล่มนี้ถูกเขียนขึ้น นี่คือบันทึกถึงห้วงเวลาของผมในโลกการทูตซึ่งหยั่งรากแนบ  แน่นกับอิรวดีและเจ้าพระยาอย่างลึกซึ้งยิ่ง 24

หม่อง ส่วย แต๊ด


กิตติกรรมประกาศ

ผู ้ ที่ มี ส ่ ว นช่ ว ยเหลื อ ให้ ห นั ง สื อ  บั น ทึ ก ทู ต เมี ย นมาร์  จากลุ ่ ม อิ ร วดี สู่เจ้าพระยา เล่มนี้ลุล่วงไปได้นั้นมีจ�ำนวนมากอย่างยิ่ง จึงจ�ำเป็นต้อง  เอ่ยถึงโดยสังเขป ดังนี้ ท่านประธานพรรคโครงการสังคมนิยมสหภาพพม่า (บีเอสพีพี)  ที่เรียกตัวผมเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ภายหลังการด�ำรงต�ำแหน่งที่ 2 ของผม  ในกระทรวงกิจการการค้า รัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งให้โอกาสผมได้รับใช้ในสถานะนี้เป็นเวลา  ยาวนานกว่า 6 ปี รัฐบาลไทยและสิงคโปร์ ผู้ให้การต้อนรับผมอย่างอบอุ่น และ  ช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรับใช้ประเทศชาติ บรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือ ส่งมอบเอกสารข้อมูลต่างๆ มาเพิ่ม  เติมสีสันให้หนังสือเล่มนี้ อาทิ บรรดานักศึกษาซึ่งกลับมาอยู่ร่วมกับ  ครอบครัวบิดามารดาอีกครั้งหลังจากไปรวมตัวตั้งกลุ่มกันบริเวณชาย  แดน บรรดารัฐมนตรีพลัดถิ่นซึ่งไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน และได้กลับ  สู่ปริมณฑลอย่างเป็นทางการ ณ สถานเอกอัครราชทูตอีกครั้ง บรรดา


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

26

ผู้ลงมือจี้เครื่องบินของสายการบินบีเอซี และเหล่าผู้ก่อความวุ่นวาย  อื่นๆ ทั้งหลายทุกรูปแบบ สะหย่า ซัน โทน กับเหน่า เหน่า ผู้ช่วยปรับปรุงภาพถ่ายเก่าๆ  ทั้งหมด โต่ง โต่ง หลานสาวผม สะหย่า ปัน สั่น, สะหย่า ลิน โทน อู,  ซุ ซุ มวย และเหนี่ยว เหนี่ยว ติน จากเฟรมมีเดีย ที่สานต่องานจาก  การริเริ่มของสะหย่า อู เฮง ลัต ผู้กรุณาเขียนค�ำปรารภ รวมถึงบรรดา  ผู้ดูแลเรื่องฟิล์ม การพิมพ์ และงานเข้าเล่มหนังสือ ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ และบรรดาผู้ช่วยสนับสนุนแหล่งข้อมูล  ภาพประวัติศาสตร์หายากทั้งหลาย ตะแยด มะ แต๊ด ส่วย ภรรยาที่รัก และนัย อู ส่วย บุตรชาย  ของผม ผู้ให้ความช่วยเหลือในการรื้อฟื้นข้อเท็จจริงต่างๆ และความ  ทรงจ�ำในอดีตกลับมา และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหา  จักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ผู้พระราชทาน  พระราชานุญาตให้ใช้ภาพทั้งหลายจากหนังสือพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ  เมียนมาร์ของพระองค์ ด้วยส�ำนึกขอบคุณสุดหัวใจ หม่อง ส่วย แต๊ด


ค�ำน�ำผู้แปล

ผมแปล บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา นี้ด้วยความ  ใคร่รู้เป็นล�ำดับแรก กระหายอยากรู้นักหนาว่าคนเมียนมาร์ หรือที่เรายังคงเรียก  กันติดปากว่าพม่า  มีความคิดเห็นต่อประเทศไทยเรา คนไทยเรา  อย่างไร คล้ายคลึงหรือแตกต่างเพียงใด กับทัศนะที่คนไทยมองออก  ไปสู่ประเทศเมียนมาร์และคนเมียนมาร์ เหตุเพราะมีงานเขียนจากเมียนมาร์น้อยมากที่ถูกถ่ายทอดเป็น  ภาษาไทย ท�ำให้ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนชิดติดกัน ดูเหมือน  ห่างไกลกันเหลือเกิน ผมคิดว่า ผู้เขียนซึ่งเคยด�ำรงต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตเมียนมาร์  ประจ�ำประเทศไทยยาวนานถึง 6 ปี และมีภูมิหลังเคยรับราชการทหาร  มาก่อน สามารถตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของผมได้ หลังเสร็จสิ้นกระบวนการแปล ผมเชื่อว่าตัวเองคิดไม่ผิด ด้ ว ยเหตุ ที่ผู ้ เ ขี ย นเป็ น อดี ต เอกอั ค รราชทูตเมีย นมาร์ป ระจ� ำ  ประเทศไทยมาก่อน ท�ำให้มองเห็น “ภาพรวม” ของความสัมพันธ์


ไ พ รั ต น์   พ ง ศ์ พ า นิ ช ย์   แปล

ระหว่างประเทศทั้งสองได้กระจ่างชัด และจากการที่ถูกหล่อหลอม  มาในกรอบของทหารอาชีพ ท�ำให้ข้อเขียนเชิงบันทึกเหตุการณ์ชิ้นนี้  เต็มไปด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมา กระชับและชัดเจนยิ่ง

28

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นตั้งแต่ย่างก้าวแรกของผู้เขียนที่ต้อง  เข้ามาข้องแวะกับโลกทางการทูต ซึ่งเป็นโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เพราะ  ถูกวางตัวให้เป็นผู้เฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม  บรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชด�ำเนินเยือนเมียนมาร์อย่างเป็น  ทางการ ท�ำไมจึงต้องเริ่มต้นจากจุดนั้น มีค�ำตอบอยู่ในเนื้อหาหนังสือ  เล่มนี้แล้วอย่างชัดเจน ผู้เขียนบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานความสัมพันธ์ของเมียน-  มาร์กับไทยไว้อย่างครบถ้วน นั่นหมายความว่านอกจากผู้อ่านจะได้รับ  ทราบเหตุการณ์บางอย่างที่เคยอยู่นอกเหนือการรับรู้แล้ว ยังจะได้รับ  ทราบความคิดอ่านต่อเหตุการณ์เดียวกันที่แตกต่างออกไปจากที่เคย  มอง หรือเคยคิดเห็นอีกด้วย ช่วงเวลาที่ครอบคลุมอยู่ในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ เป็นช่วง  เวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองมีสีสัน เต็มไปด้วยเหตุการณ์  สารพัดมากที่สุดช่วงหนึ่ง ตั้ ง แต่ เ หตุ ก ารณ์ ลุ ก ฮื อ ขึ้ น ต่ อ ต้ า นรั ฐ บาลครั้ ง ใหญ่ ใ นเดื อ น  สิงหาคม 1988 การหลบหนีของเหล่านักเรียนนักศึกษาเมียนมาร์  สู่ชายแดนไทย การส่งนักศึกษาเมียนมาร์กลับประเทศ เหตุการณ์  จี้เครื่องบินครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์เมียนมาร์ ฯลฯ บ่อยครั้งที่ผู้เขียนอาศัยสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มองย้อน  กลับไปเปรียบเทียบกับภายในประเทศตนเอง หรือแม้กระทั่งการสะท้อนทัศนะในเชิงลึกของความรู้สึกต่อ  ประเทศไทยออกมาให้ได้รับทราบกันในบางครั้งบางคราว


บั น ทึ ก ทู ต เ มี ย น ม า ร์   จ า ก ลุ่ ม อิ ร ว ดี สู่ เ จ้ า พ ร ะ ย า

หนังสือของอดีตเอกอัครราชทูตเมียนมาร์ประจ�ำประเทศไทยเล่มนี้  แสดงให้เห็นประจักษ์ว่าการด�ำเนินการทางการทูตบนพื้นฐานของ  มิตรภาพและเจตนารมณ์ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไร บุคคลที่จู่ๆ ก็ถูกผลักเข้าสู่แวดวงทางการทูต โดยยึดมั่นโอวาท  ส� ำ คั ญ ประการเดี ย วที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายก่ อ นหน้ า จะรั บ ต� ำ แหน่ ง ว่ า  ท�ำอย่างไรก็ได้ให้มิตรภาพระหว่างสองประเทศแน่นแฟ้นมั่นคงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเกิดเหตุย�่ำแย่ เลวร้ายเพียงใดขึ้น เพียงยึดมั่นในแนว  ทางเสริมสร้างมิตรไมตรีระหว่างกัน ศัสตราวุธก็สามารถเปลี่ยนเป็น  แพรพรรณได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่ง  ไมตรีนี้ไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 หลังจากนั้นพระบรมวงศานุวงศ์ทุก  พระองค์ก็ทรงดูแลใส่ใจไมตรีนี้ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จ  พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การได้โดยเสด็จหลายหัวเมืองในเมียนมาร์อย่างใกล้ชิด ได้เห็น  พระราชจริยวัตร และพระราชกรณียกิจนานาด้วยตาตนเอง ยังความ  ประทับใจและซาบซึ้งใจให้ผู้เขียนยิ่งนัก เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผู้เขียนบ่งบอกเอาไว้ชัดเจนแล้วในหนังสือ  เล่มนี้ ผมยอมรับว่า ไม่เคยพบเห็นใครพูดถึงสมเด็จพระเทพรัตนราช  สุดาฯ ไว้อย่างตรงไปตรงมาและน่ารักเท่านี้มาก่อนครับ ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ บ้านบางเขน 17 กุมภาพันธ์ 2558

29



บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา


เกริ่นน�ำ

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ครอบคลุมพื้นที่กว่า 261,228 ตาราง  ไมล์ โดยรวมนั้นเทือกเขาทั้งหลายและสายน�้ำ ล้วนทอดตัวเป็นแนว  ยาวจากเหนือลงใต้  เทือกเขาหลักๆ ของเมียนมาร์ก็คือ ยะไข่ โยมะ  (เทือกเขาอาระกัน) บะโก โยมะ (เทือกเขาหงสาวดี) และตะนินต่า  หยี่ โยมะ (เทือกเขาตะนาวศรี)  ล�ำน�้ำสายหลักประกอบด้วย แม่น�้ำ  ชินด์วิน อิรวดี ซิตตอง (สะโตง) และตั่นลวิน (สาละวิน)  ในจ�ำนวนนี้  อิรวดีเป็นล�ำน�้ำที่ไหลลงมาจากจุดสูงที่สุดและเหนือสุดของประเทศ  (ระดับความสูง 19,269 ฟุต) คือยอดเขาคากะโบราซี จากจุดบรรจบ  ของแม่น�้ำเมคะและแม่น�้ำมะลิคะ ล�ำน�้ำอิรวดีไหลคดเคี้ยวลงใต้เป็น  ระยะทางยาวที่สุด 1,250 ไมล์ สู่ทะเลอันดามัน ในเดือนตุลาคม 1935 ผมลืมตาดูโลกที่เมืองสะกาย ชนิดที่  อาจเรียกได้ว่า “ถือก�ำเนิดมา ณ ริมฝั่งอิรวดี” และเข้ารับการศึกษา  ที่นครย่างกุ้งในเวลาต่อมา ผมเข้าร่วมกับกองทัพในเดือนมีนาคม 1954 และรับต�ำแหน่ง


บั น ทึ ก ทู ต เ มี ย น ม า ร์   จ า ก ลุ่ ม อิ ร ว ดี สู่ เ จ้ า พ ร ะ ย า

ในสังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงกิจการการค้า กระทรวงการต่าง  ประเทศ และสหภาพคณะกรรมการเพื่อการคัดสรรและฝึกอบรม  ข้าราชการพลเรือน รวมเป็นเวลายาวนานกว่า 52 ปี ในห้วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษดังกล่าว ผมถูกผลักดันให้ก้าวเข้าสู ่ โลกแห่งการทูตโดยไม่คาดฝัน  โชคยังดีว่าภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  เป็นการไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย ผมไม่ใช่นักการทูตอาชีพและไม่มีประสบการณ์ เพียงแต่ถูก  ผลักดันให้เข้าสู่โลกแห่งการทูต  ทว่าภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ให้ด�ำเนินการนั้นทั้งหนักหน่วง เยี่ยมยอด และท้าทายอย่างยิ่ง ชนิด  ที่หลายเหตุการณ์ก็ไม่เคยมีนักการทูตรายอื่นใดเคยได้พบพาน  ผม  แก้ไขปัญหาเหล่านั้นไปพร้อมๆ กับที่ได้รับความส�ำเร็จและประสบการณ์  แสนวิเศษยิ่ง ดังนั้น การที่ได้ชื่อว่าถือก�ำเนิดมา ณ ริมฝั่งแม่น�้ำสายที่ยาว  ที่สุดของเมียนมาร์อย่างอิรวดี และถูกส่งไปประจ�ำการ ณ ริมฝั่งล�ำน�้ำ  เจ้าพระยา เจ้าของความยาว 232 ไมล์ เป็นเวลายาวนาน 6 ปี กับอีก  3 เดือน จึงกลายเป็นหมุดหมายส�ำคัญประการหนึ่งในชีวิต ในทัศนะของผม เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทุกอย่างตั้งแต่เรื่อง  เล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่โตทั้งหลาย ห้วงเวลาดังกล่าวเป็นก้าว  ส�ำคัญยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมาร์กับไทย ตัวอย่างจากความเข้าใจของผมสามารถติดตามอ่านได้ในแต่ละ  บทของ บันทึกทูตเมียนมาร์ จากลุ่มอิรวดีสู่เจ้าพระยา ต่อไป

33


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.