วาทะเล่าประวัติศาสตร์

Page 1


วาทะเล่าประวัติศาสตร์ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย

ราคา ๒๔๐ บาท


สารบัญ

วาทะเล่าประวัติศาสตร์

ค�ำน�ำ

(๑๐)

“---ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้---”

“---รู้สึกคันอยู่ในเนื้อที่หนาๆ เช่น ซ่นเท้า---”

“---อันที่จริงฉันก็ได้คิดเสียก่อนที่จะกริ้วแล้ว---”

๑๔

“---เราเกิดมาเป็นไพร่ ได้มาเป็นเจ้าเป็นนาย เมื่อเวลาเป็นเบื้องปลายอายุแล้ว---”

๒๐

“---ฉันรักษาบ้านเมืองให้สุขสมบูรณ์ไม่ได้ อย่าให้ฉันใช้สมบัติของท่านเลย---”

๒๖

“---ชื่อฉันทูลกระหม่อมพระราชทาน ท่านทรงทราบดีว่า ฉันเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย---”

๓๒

“---แล้วเข้าไปนั่งเคียงไหล่สนทนากับพระเจ้าอยู่หัว มิได้มีความรู้สึกและสงสัย---”

๔๐

“---พ่อมันเก่างุ่มง่ามอยู่แล้ว ถ้าออกไปเร่อร่าประการใด ขอให้ตักเตือนบ้าง---”

๔๖

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (5)


“---รัชกาลที่ ๕ ทรงปลื้มพระทัย พระเจ้าลูกยาเธอ กราบพระบาท คราวเสด็จประพาสยุโรป---”

๕๒

“---เป็นคนไม่ใช่บุตรผู้มีตระกูล แต่เกิดมาเป็นช้างเผือก---”

๕๘

“---บัดนั้นชั่งเป็นคราวที่พวกเจ้านายตกต�่ำนี่กระไร---”

๖๔

“---ไหนใครๆ ว่าฉันมีบุญ จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท�ำไมถึงเป็นไปเช่นนี้---”

๗๐

“---แต่ข้าก็รู้อยู่ว่าเจ้าเป็นคนโรคจริงๆ จึงมีความเมตตาและให้อภัย---”

๗๘

“---อ้ายการเที่ยวเช่นนี้ มันช่างมีคุณจริงๆ---”

๘๔

“---เสวยน�้ำเพ็ชรเสียจนเคยแล้ว เสวยน�้ำอื่นไม่อร่อย---”

๙๒

“---ข้าฝันไปว่าเสด็จยาย ทรงปรุงข้าวคลุกกะปิให้กินอร่อยมาก---”

๙๘

“---เห็นว่าบางกอกแต่ก่อน กล่าวกันว่าเหมือนรูปกระดองปู---”

๑๐๖

“---เกรงแต่จะทรงพระเสียคน เมื่อคุ้นอากาศสบายแล้วจะทนที่ในวังไม่ไหว---”

๑๑๒

(6) วาทะเล่าประวัติศาสตร์


“---ฉันได้นายสุดจินดาเป็นคนใช้ เป็นที่เรียบร้อยพอใจมาก---”

๑๒๐

“---กรมด�ำรง เธอกับฉัน เหมือนกับได้แต่งงานกันมานานแล้ว---”

๑๒๖

“---ถ้าลูกโตตาย เป็นเลิกตั้งมกุฎราชกุมารเด็ดขาด เพราะอาถรรพ์เสียแล้ว---”

๑๓๔

“---ที่จริงการแต่งงานนั้นน่ะ ไม่ได้ดีจริงๆ อย่างเราคิดกัน---”

๑๔๐

“---เออ อยู่ดีๆ ก็ให้มาเป็นสมภารวัดร้าง---”

๑๔๘

“---ข้าพเจ้าว่าสมเป็นสวนสวรรค์ ส�ำหรับเหล่าสนมนางก�ำนัล---”

๑๕๔

“---ธงชาติรูปช้างเผือกผืนนั้น ปลิวสบัดอยู่ในลักษณะช้างนอนหงาย---”

๑๖๐

“---เขาดีกว่าคนจ�ำพวกที่คอยแต่สอพลอ เห็นเจ้านายท�ำอะไรก็ชมว่าดี---”

๑๖๖

“---ฉันเสียคนก็เพราะเกิดมาไม่มีก�ำลังพอ---”

๑๗๒

“---ถ้าเกิดไฟไหม้ไม่ต้องเก็บเครื่องเพชร ให้เก็บหนังสือก่อน---”

๑๗๘ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (7)


“---ลูกพ่องามเหมือนเทวดา---”

๑๘๔

“---ที่นี่มีดอกไม้หรูหลายอย่าง ที่วิเศษแท้นั้นคือกุหลาบ---”

๑๙๐

“---เรื่องทอดปลาทู ข้าอยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้ว ข้ากลืนไม่ลง---”

๑๙๘

“---จะให้มีโอกาสได้เล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้าว่าขุนนางว่าไพร่---”

๒๐๖

“---นิ่งอึ้งทึ้ดให้เขารับตามบุญตามกรรม---”

๒๑๔

“---ท�ำไมจึงเห็นหน้าเจ้ามากกว่าใครๆ หมด---”

๒๒๐

“---วันนี้เป็นอะไร ฟ้าเศร้าจริง นกสักตัว กาสักตัว ก็ไม่มาร้อง---”

๒๒๖

“---สวยมาก คล้ายๆ กล้องยาสูบเมียร์ชอม (Meerchaum) ที่ฝรั่งชอบเล่นกัน---” ๒๓๔ “---การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่า เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่พวกข้างฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขา---”

๒๔๐

“---ถ้าจะให้คุกเข่าลงเพื่อเงินแล้วไม่กลับ---”

๒๔๖

(8) วาทะเล่าประวัติศาสตร์


“---อุบะที่แขวนไว้ด้วยเชือกเส้นเดียว---”

๒๕๒

“---ว่าตามจริงแล้ว ฉันมิได้อาลัยด้วยชีวิตแลทรัพย์ ถ้าตายเสีย จะเป็นการกระท�ำให้ราชการเดินสะดวก---”

๒๕๘

“---เข้าไปตายก็ไม่เป็นไร ต้องมีศักดิ์ศรี มีสัจจะ---”

๒๖๔

“---ข้าพเจ้าเองก็ให้อภัย แก่ท่านทั้งหลายมานานแล้ว---”

๒๗๒

“---ขอท่านทั้งหลายจงสวมเสื้อ เข้ามาในที่เฝ้าจงทุกคน---”

๒๘๐

“---อย่าท�ำใจโตมือโตสุรุ่ยสุร่าย โดยถือตัวว่าเป็นเจ้านายมั่งมีมาก---”

๒๘๘

“---ที่นั้นก�ำลังเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป---”

๒๙๔

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย (9)


วาทะเล่าประวัติศาสตร์


---ลูกคนนี้รักมาก


ต้องนุ่งขาวให้---


“---ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้---” วาทะนี้เป็นพระราชด�ำรัสในพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะต่างรัชสมัยต่างกาลเวลา แต่ทรงพระราช ด�ำรัสนี้ในวโรกาสอย่างเดียวกัน คือในงานพระศพของพระราชธิดา อันเป็นที่รักยิ่งของแต่ละพระองค์ และเป็นพระราชด�ำรัสที่บ่งบอก ถึงความในพระราชหฤทัยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเศร้าโศกรักอาลัย ในพระราชธิดาอันเป็นสุดรัก คือเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ ในพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และกรมขุ น สุ พ รรณ ภาควดี ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ เ วลาแห่ ง การด� ำ รง พระชนมชีพของพระราชธิดาใน พระมหากษัตริยท์ งั้ ๒ พระองค์ จะต่างกันเกือบ ๑๐๐ ปี แต่ก็มี เรื่องราวบางอย่างที่คล้ายคลึง กัน นับแต่ทั้ง ๒ พระองค์เป็น พระราชธิดาทีป่ ระสูตนิ อกเศวต ฉัตรก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราช สมบัติ และเมื่อประสูตินั้นเป็น เวลาที่มีเหตุการณ์อันท�ำให้ต้อง พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัย ทรงจดจ�ำร�ำลึกถึงในฐานะลูก ลักษณ์ ก่อนโสกันต์ คู่ทุกข์คู่ยาก ลูกคู่ทุกข์คู่ยากพระองค์แรกคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง ศรีสุนทรเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระมเหสี ดั้งเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ ขณะที่พระราชชนกยังทรงด�ำรงต�ำแหน่งเป็น เสนาบดีนักรบคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังต้องกร�ำศึก 4 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


สงครามเพื่อความมั่นคง แห่งราชอาณาจักร เมื่ อ พระราชธิ ด า ประสู ติ นั้ น สมเด็ จ พระ อมรินทราฯ ทรงพระประสูติ กาลมาแล้วถึง ๔ พระองค์ แต่ทรงด�ำรงพระชนม์อยู่ แต่ พ ระราชโอรสเพี ย ง พระองค์เดียว เจ้าฟ้าหญิง จึงเป็นเสมือนพระราชธิดา พระองค์แรก ประสูติใน วันแรม ๑ ค�ำ ่ ซึง่ พระจันทร์ ทอแสงนวลกระจ่ า งฟ้ า จึ ง ทรงได้ พ ระนามว่ า “แจ่มกระจ่างฟ้า” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชธิ ด าน้ อ ย รัชกาลที่ ๕ ทรงอุ้มพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า จึ ง เป็ น เสมื อ นน�้ ำ ทิ พ ย์ ที่ ศรีวิลัยลักษณ์ หยาดมาชโลมใจพระราช ชนกชนนีให้แช่มชื่น ท่ามกลางความยากแค้นล�ำเค็ญของกลิ่นอาย สงคราม จนถึงแก่ทรงออกพระโอษฐ์วา่ พระราชธิดาน้อยนีท ้ รงเป็นลูก คู่ทุกข์คู่ยาก และเมื่อเจริญพระชันษาก็มีพระจริยวัตรอันงดงาม ท�ำให้ ยิ่งทวีความสนิทเสน่หาเพิ่มขึ้น ลูกคู่ทุกข์คู่ยากพระองค์ที่ ๒ คือ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิก์ ลั ยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี พระราชธิดาในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ประสูตแิ ต่เจ้าคุณจอมมารดาแพ ภาย หลังโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ หม่อมดั้งเดิม ประสูติก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อครั้งประสูติแม้บ้านเมืองจะมิได้อยู่ในยุคล�ำบากยากเข็ญ แต่ ก็มีเหตุที่ท�ำให้พระบรมราชชนกทรงจดจ�ำร�ำลึก นับแต่การที่หม่อมแพ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 5


ต้ อ งออกจากพระราชวั ง เพื่อไปประทับคลอดพระ หน่ อ ที่ พ ระต� ำ หนั ก สวน นั น ทอุ ท ยาน ริ ม คลอง มอญ ตามพระราชประ เพณี แม้จะเป็นพระราช ธิดาพระองค์ที่ ๒ แต่ด้วย เหตุ ที่ มี พ ระราชหฤทั ย ปฏิพัทธ์กับหม่อมแพเป็น อย่ า งมาก จึ ง มี พ ระทั ย จดจ่อกับทารกที่จะคลอด พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ และเมื่อคลอดแล้วก็ต้อง กรมขุนสุพรรณภาควดี พระทัยหาย เมื่อทารกนั้น เหมือนจะสิ้นพระชนม์ แล้วกลับทรงดีพระทัยเมื่อทารกกลับรอดชีวิต ความยากล�ำบากและเหตุการณ์ทั้งหลายคงจะประทับอยู่กับ พระทั ย และยิ่ ง เมื่ อ เจริ ญ พระชั น ษาพระจริ ย วั ต รของพระราชธิ ด า พระองค์นี้งดงามสมพระทัยถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ว่าทรงเป็นลูกคู่ ทุกข์คู่ยาก พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงมีวิถีแห่งพระชนมชีพคล้ายคลึงกัน จนแม้ท้ายสุดก็ทรง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาไล่เลี่ยกัน คือ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ พระชันษา ๓๘ ปี ล่วงมาอีก ๙๗ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๔๗ กรมขุนสุพรรณภาควดี พระราชธิดาสุดรักในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๓๗ ปี เหตุการณ์ครั้งคราวนั้น อาจคาดเดาได้โดยมิยากว่า พระมหา กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ทรงมีความรู้สึกมิได้แตกต่างจากกันเลยใน การที่ต้องทรงสูญเสียพระราชธิดาที่ทรงเรียกว่า “ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก” ดังนั้นในงานพระเมรุของพระราชธิดาทั้ง ๒ พระองค์ พระบรม ราชชนกจึงทรงพระราชด�ำรัสเป็นวาทะเดียวกันว่า “ลูกคนนี้รักมาก 6 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


ต้องนุ่งขาวให้” ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ ความว่า “---พระราชทานเพลิงในการพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงศรีสนุ ทรเทพ ครัง้ นัน้ ทรงพระภูษาลายพืน้ ขาวทุกวัน ด�ำรัสว่า ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้---” และในพระประวัติของกรมขุนสุพรรณภาควดี มีความว่า “---สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงสถาปนาเป็นกรมขุนสุพรรณ ภาควดี แต่เป็นกรมอยู่ปีเดียว พอถึงปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๔๗ พระชันษาได้ ๓๗ ปีก็ประชวรสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระอาลัยมาก ถึงทรง พระภูษาขาวในงานพระศพ ตามเยีย่ งอย่างครัง้ พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกเคยทรงภูษาขาว ในงานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง ศรีสุนทรเทพ โดยตรัสว่าลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้---” ในกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีแต่พระราชนารี ซึ่งเป็นพระราช ธิดา ๒ พระองค์นเี้ ท่านัน ้ ทีพ ่ ระเจ้าแผ่นดินทรงพระภูษาขาวในงาน พระศพ และมีพระราชด�ำรัสอันถือเป็นวาทะน่าจดจ�ำและเรียนรู้ ถึงที่มาว่า “ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้” [จาก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๓ (ตุลาคม ๒๕๔๓)]

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 7


---รู้สึกคันอยู่ใน เนื้อที่หนาๆ


เช่น

ซ่นเท้า---


“---นีเ่ หลือทีจ่ ะอดกลัน ้ รูส ้ กึ คันอยูใ่ นเนือ้ ทีห ่ นาๆ เช่น ซ่น เท้า เกาไม่ถึงก็ปานกัน---” เป็นวาทะตอนหนึง่ ในลายพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห ่ วั ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙ พระราช ทานแก่เจ้าพระยาธรรมศักดิม์ นตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (ขณะ ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไพศาลศิลปศาสตร์) เป็นข้อความแสดง ความอัดอั้นตันพระทัยเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาของราษฎรในรัชสมัย ของพระองค์ ที่ด�ำเนินไปอย่างล่าช้าไม่ทันพระทัย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเรื่องราวของฝาแฝดสยามอินจัน ซึ่งเป็น ฝาแฝดที่แปลกประหลาดกว่าฝาแฝดคู่อื่นๆ เพราะมีตัวติดกันตั้งแต่ หน้าอกถึงท้อง อินจัน เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๖ ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ปลาย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อเกิดนั้นเป็นเรื่อง ที่เลื่องลือกันมากถึงความแปลกประหลาด ถึงกับโหรหลวงท�ำนายว่า แฝดคู่นี้เป็นกาลีบ้านกาลีเมืองควรจะก�ำจัดเสีย แต่ก็มิได้มีการด�ำเนิน การอย่างใด ฝาแฝดอินจันจึงนับว่าเป็นแฝดคู่ที่คนไทยสมัยนั้นรู้จักกัน เป็นอย่างดี เมื่อแฝดคู่นี้อายุได้ ๑๘ ปี นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ ไปพบเข้า มองเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับจากคู่แฝดหากพาไปออกแสดงหาเงิน ที่อเมริกา แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มีพระบรมราชา นุญาตให้น�ำแฝดคู่นี้ออกจากประเทศ นายฮันเตอร์จึงขอให้กัปตัน คอฟฟิน ซึง่ เป็นทีโ่ ปรดปรานและเกรงใจของพระมหากษัตริย์ เนือ่ งจาก เป็นผู้ขายอาวุธที่ไทยต้องการ จึงมีพระบรมราชานุญาตให้น� ำแฝด อินจันออกนอกประเทศได้ อินจันจึงเดินทางออกจากประเทศไทยไป ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๗๒ อินจันได้รับความสนใจจากชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก จนมีชื่อ เสียงเป็นที่เลื่องลือรู้จักกันทั่วไป อาจจะเป็นเพราะชาวอเมริกันออก เสียงอินจันไม่ชัด จึงมักออกเสียงเป็นส�ำเนียงจีนว่า เอ็ง ชาง หรือ เอง ฉ่าง และอาจเป็นเพราะไม่ใคร่มีผู้รู้จักประเทศไทย ข้อเขียนเกี่ยว 10 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ฉลองพระองค์ชดุ เสด็จประพาสต้น ทรงฉาย ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 11


กับอินจันในภายหลังจึงมักเรียกไชนิสทวินส์ แทนไซมิสทวินส์ เป็น ส่วนมาก เมื่อหนังสือกรุงเทพเดลิเมล์ ได้แปลเรื่องอินจันเป็นภาษาไทย ก็ยังใช้ชื่อเอง และแฉ่ง และเนื้อเรื่องก็แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้เรื่อง ราวของเมืองไทยและของคนไทย ท�ำให้ทรงขัดพระทัยหลายประการ ดังที่ทรงพระราชปรารภไว้ในลายพระราชหัตถเลขาฉบับเดียวกันนี้ หลายประเด็น ประเด็นแรก คือความไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับบ้านเมืองของตนเอง ทรงพระราชปรารภว่า “---ด้วยชาติอื่นภาษาอื่น เขารู้กันหมด เป็นเรื่อง โด่งดัง แต่เราเจ้าของเองไม่รู้---” ประเด็นทีส ่ อง คือความรูแ้ ละความคิดอ่านคับแคบ ดังพระราช ปรารภข้อความที่ว่า “---เป็นน่าพิศวง นักเรียนชั้นแผ่นดินพระจุลจอม เกล้านี้ ความรู้หตู าและความคิดช่างคับแคบราวกับรูเข็ม ไม่ร้ไู ม่เห็นการ อะไรเกิน ๓ ปีขึ้นไป---” ประเด็นที่สาม การพูดไม่ชัดออกส�ำเนียงเป็นฝรั่งของคนไทย ทรงเปรียบเปรยไว้ว่า “---พูดไทยก็ไม่ชัดเป็นอันขาด เพราะถ้าจะพูด ออกมาให้ชัดส�ำเนียงฝรั่งจะแปร่ง---” ด้วยความรู้สึกอัดอั้นตันพระทัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท�ำให้ต้อง มีลายพระราชหัตถเลขาถึงพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ ซึ่งท�ำหน้าที่ เกี่ยวกับการศึกษาของราษฎรในขณะนั้น โดยทรงออกพระองค์ว่า เรื่อง นีม้ ไิ ด้กล่าวโทษพระยาไพศาลศิลปศาสตร์แต่อย่างใด เป็นแต่ทรงอึดอัด ขัดพระทัย จึงทรงเพียงระบายความรู้สึกเท่านั้น ดังที่ทรงสรุปไว้ท้าย พระราชหัตถเลขาว่า “---นี่แหละจะเป็นนักเรียนของพระยาไพศาลฦๅ มิใช่ ไม่มีใครจ�ำโนทย์โจทนา แต่มันคันไม่รู้จะเกาทางไหน ก็กล่าวโทษ พระยาไพศาลฯ ไปตามที่เคยกล่าวมาแล้ว---” ข้อความทั้งหมดที่ปรากฏในลายพระราชหัตถเลขา ท�ำให้ผู้ที่ได้ อ่านลายพระราชหัตถเลขารู้สึกได้ถึงความทุกข์ร้อนของพระองค์ในการ ที่มีพระราชประสงค์จะให้ราษฎรทั่วไปมีความรู้ แต่เพราะการศึกษาเป็น ของใหม่ในประเทศไทย ผู้คนส่วนมากยังไม่เห็นความส�ำคัญของการ 12 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


ศึกษา การด�ำเนินการของผูร้ บั ผิดชอบเต็มไปด้วยปัญหา ท�ำให้การศึกษา ของไทยเป็นไปอย่างล่าช้า แม้จะทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี แต่เมื่อมีเรื่องราวอันเกี่ยวกับการด้อยการศึกษาของประชาชน พระองค์ ก็จะทรงรู้สึกขัดพระทัยและกังวลพระทัยเหมือนกับเกิดความคัน แต่ มันเป็นความคันที่ไม่รู้จะจัดการหรือบ�ำบัดอย่างไรให้หายคัน เพราะ “---รู้สึกคันอยู่ในเนื้อที่หนาๆ เช่น ซ่นเท้า---” [จาก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๑ (พฤศจิกายน ๒๕๔๕)]

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 13


---อันที่จริง ฉันก็ ได้คิดเสียก่อน


ที่จะกริ้วแล้ว---


“---อันที่จริงฉันก็ได้คิดเสียก่อนที่จะกริ้วแล้ว ขออย่าให้ แม่เล็กตกใจว่าฉันแผลงฤทธิ์---” วาทะข้างต้น เป็นข้อความตอนหนึง่ ในลายพระราชหัตถเลขาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห ่ วั ทีท ่ รงพระราชทานแก่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จประพาส ยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ข้อความนี้บอกให้รู้ว่า มีเหตุการณ์ที่ท�ำให้ทรงกริ้วอย่างที่ทรง เรียกว่า “แผลงฤทธิ์” แต่การแสดงความกริ้วของพระองค์นั้นทรงมี ทั้งเหตุผลและพระสติในการแสดงออก สาเหตุทที่ รงกริว้ เกิดจากการเสด็จไปนมัสการพระทันตธาตุ ที่วัดมลิกาวะ เมืองแคนดี เกาะลังกา พระยาศรีสหเทพ (เส็ง) บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ในจดหมายเหตุ เสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ ความว่า “---พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงจุ ด ธู ป เที ย นนมั ส การ พระทันตธาตุเสร็จแล้ว มีพระราชประสงค์จะทรงจับพระทันตธาตุ แล ทรงยืมหนังสือจานในทองค�ำ ๒ ผูกมาตรวจ นายปาลาบอกกากราบ บังคมทูลพระกรุณาโดยไม่สเู้ ต็มใจ อ้างเหตุผลว่าไม่เคยมีใครได้จบั ต้อง พระทันตธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชด�ำริห์เห็นว่า การทีพ่ ดู ขัดขวางอย่างนัน้ เป็นการลบหลูพ่ ระบรมเดชานุภาพ จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คนื หนังสืออ่านถวายพระพร และสิง่ ของทีท่ ลู เกล้าฯ ถวายในวัดนั้นไปไม่ทรงรับไว้ แลให้น�ำสิ่งของต่างๆ ซึ่งได้น�ำไปจะถวาย เป็นเครื่องนมัสการพระทันตธาตุนั้นกลับคืนมาสิ้น---” ข้อความนี้เป็นเรื่องราวที่ปรากฏในจดหมายเหตุ จึงมิได้แสดง ถึงพระราชด�ำริอันเป็นเหตุผลที่อยู่ในพระราชหฤทัย ดังที่ปรากฏใน ลายพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีเป็นการส่วนพระองค์ ถึงสมเด็จพระศรี พัชรินทรา บรมราชินีนาถ และกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ซึ่งทรงเล่าถึง ข้ อ สั ง เกตของพระองค์ ที่ ท รงมี ต ่ อ ศาสนสถานแห่ ง นี้ ท� ำ ให้ ไ ม่ ท รง แน่พระทัยในการปฏิบัติพระองค์

16 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


พระองค์ทรงเคยได้ยนิ ข่าวมาก่อนหน้านีแ้ ล้วว่า มีพระเจ้าแผ่นดิน บางพระองค์มานมัสการและแสดงความเชื่อถืออย่างมาก ท�ำให้เป็นที่ ดูถูกและขบขันของชาวเมือง ดังที่ทรงบรรยายว่า “---พระเจ้าแผ่นดิน มอญถูกลังกามันเมกเสียยับ ยังเป็นที่หัวเราะกันอยู่ทุกวันนี้---” และ ทรงบรรยายในพระราชหัตถเลขาถึงกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสว่า “---ว่า ตามความจริงเจดีย์ฐานอันนี้ไม่เป็นเครื่องที่ก่อเกิดความยินดี เลื่อมใส เพราะเห็นเป็นการล่อลวงติดอยู่ในนั้น---” ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาพระเขี้ยวแก้ว ยังคงแวะเวียนมานมัสการที่วัดมลิ กาวะ เมืองแคนดี อยู่มิได้ขาด ความแออัดภายในห้องประดิษฐานและเหตุอื่นมา ประกอบกัน ท�ำให้พระพุทธเจ้าหลวงของไทยทรงกริ้วและทรงแผลงฤทธิ์ให้เห็น

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 17


ด้วยเหตุที่ทรงพระราชด�ำริเช่นนี้ในพระทัยอยู่ก่อนแล้ว เมื่อ ต้องมาทรงประสบเหตุเฉพาะพระพักตร์อกี หลายประการ อันเป็นเครือ่ ง ยืนยันถึงความถูกต้องของพระราชด�ำริ เช่น การรับรองซึ่งเต็มไปด้วย ความไม่มรี ะเบียบแบบแผนจนเกิดความโกลาหล อย่างเช่นทรงบรรยาย เรื่องพระแย่งกันสวดถวายพระพรต่อหน้าพระพักตร์ ความว่า “---พระหนุม่ ๆ อีกคนหนึง่ โดดเข้ามาแย่งเอาไปอ่านเปลีย่ นท�ำนอง ใหม่แต่ดคู ล่องแคล่วดี อ้ายเฒ่านัน้ มโหลงกล้าขึน้ เพราะมันนุง่ ผ้าเหมือน จะห่อลงโกศหรืออย่างไร ผลักให้พระอีกคนหนึ่งเข้ามา ตาพระนั้นก็ ทะลึง่ ไม่หยอก ดันอ่านขึน้ มาอีกคนหนึง่ ตาคนเก่าก็ไม่ยอมหยุด คราวนี้ มันเป็นไปด้วยกันหมด ตาพระอีกองค์หนึง่ เอาคัมภีรก์ รากเข้ามาให้ คราว นี้ฉันเลยไม่มีตัว ไม่รู้ใครเอาอะไรมาให้ แลส่งอะไรไปให้ใคร มันหนุบ หนับๆ ไม่มีอะไรจะเหมือนแย่งลูกมะนาวใต้ต้นกัลปพฤกษ์---” นอกจากเหตุการณ์วุ่นวายดังกล่าวแล้ว สถานที่ก็คับแคบ ผู้คน ที่เข้ามาแวดล้อมก็มากมายไม่มีระเบียบ บรรยากาศไม่ท�ำให้เกิดความ รู้สกึ เลือ่ มใสศรัทธาดังทีท่ รงบรรยายว่า “---มันแน่นเหมือนปลาเซดินใน หีบ เหงื่อไหลแต่กลางกระหม่อมจนส้นตีน---” จากความที่ทรงไม่รู้สึกเลื่อมใสอยู่แล้ว เมื่อทรงประสบเหตุที่ว่า คนดูแลพระทันตธาตุไม่ยอมให้ทรงจับพระทันตธาตุ จึงทรงเห็นเป็น เหตุสมควรทีจ่ ะต้องแสดงความกริว้ ให้ปรากฏ ทรงบรรยายพระราชด�ำริ ตอนนี้ว่า “---เห็นว่าไม่กริ้วไม่ได้ คนเป็นกองเสียพระเกียรติยศ---” และ อีกเหตุผลหนึ่งคือ “---แลในการที่จะให้เงินให้น้อยก็ไม่ได้ ให้มากก็ งุ่มง่าม ถึงจะไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ อายพวกฝรั่งมันหัวเราะเยาะ---” และใน ลายพระราชหัตถเลขาถึงกรมหมืน่ วชิรญาณวโรรส ทรงเล่าว่า “---เพราะ เห็นเป็นการล่อลวงติดอยู่ในนั้น ถ้าหากเราจะเข้าเรี่ยรายเล็กน้อยก็จะ ไม่สมควรแก่ที่เขาเป็นที่นับถือกัน ถ้าจะออกมากก็ให้นึกละอายใจ ว่า จะเป็นผู้หลงใหลไปตาม แลดูก็จะไม่เป็นประโยชน์อันใด แลไม่เป็น เกียรติยศอันใดทั้งฝ่ายศาสนาและฝ่ายพระราชอาณาจักร---”

18 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


ความโกรธของคนส่วนใหญ่มักเป็นพิษเป็นภัย น�ำมาซึ่งความ เสียหาย แต่ความโกรธของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น เป็นความโกรธที่ผ่านการไตร่ตรองจากข้อมูลที่ทรงศึกษามาก่อน และข้อสังเกตที่ทรงได้รับจากเหตุการณ์เฉพาะพระพักตร์ ท�ำให้ความ โกรธของพระองค์กลับมีคุณแก่เกียรติยศของบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะทรง มีทั้งเหตุผลและพระสติปัญญาในการโกรธ

[จาก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๔ (กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖)]

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 19


---เราเกิดมาเป็นไพร่ ได้มาเป็นเจ้าเป็นนาย


เมื่อเวลาเป็นเบื้อง ปลายอายุแล้ว---


“---เราเกิดมาเป็นไพร่ ได้มาเป็นเจ้าเป็นนาย เมื่อเวลาเป็น เบื้องปลายอายุแล้ว---” เป็นพระราชด�ำรัสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช ตรัสในพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ครั้งนั้นเกิดความไม่ลงรอยกันกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เมื่อเจ้าพนักงานเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเข้าขอบรรพชาก่อน ท�ำให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอทรงโกรธ และต่อว่าที่สมเด็จพระเจ้าลูก ยาเธอซึ่งมีพระชนมายุอ่อนกว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ แต่กลับได้เข้า ขอบรรพชาก่อน แม้ว่าเสนาบดีผู้ใหญ่จะกราบทูลว่าเป็นไปตามโบราณ ราชประเพณีที่พระบรมราชวงศ์เคยประพฤติปฏิบัติสืบกันมาช้านาน ความไม่ลงรอยกันในเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นผลเนื่องมา จากการที่ต้องทรงปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติพระองค์ให้ถูกต้องตาม โบราณราชประเพณีในพระราชส�ำนักของต้นราชวงศ์จักรี เพราะก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จะทรงปราบดาภิเษก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น แม้จะทรงเป็น เสนาบดีที่มีบรรดาศักดิ์สูงสุดในแผ่นดิน คือเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก แต่ก็มิได้ทรงสืบสายพระโลหิตจากพระราชวงศ์ใดทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อแรกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงต้องทรงปรับเปลี่ยน วิถีปฏิบัติในพระชนมชีพใหม่จากสามัญชนมาสู่ความเป็นเจ้า แผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พักอาศัย ซึ่งเปลี่ยนจากบ้านหรือจวน มาเป็นพระบรมมหาราชวัง ต�ำหนัก บรรดาพระญาติวงศ์ทั้งหลายต่างก็ ได้รับสถาปนาให้มีพระอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี การกินอยู่ การพูดจา การวางตัวจึงเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงตระหนักพระทัย ดีว่า การอ้างสิทธิธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติสถาปนาพระองค์ขึ้น เป็นกษัตริย์นั้นค่อนข้างยากล�ำบาก ด้วยเหตุผลส�ำคัญ ๒ ประการคือ ประการแรก มิได้ทรงมีสายสัมพันธ์ทางสายพระโลหิตจาก พระราชวงศ์ใดๆ ทั้งสิ้น 22 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


ประการที่สอง มิได้ทรงอยู่ในฐานะวีรบุรุษผู้แลกเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อบ้านเมือง ดังเช่นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ จึงต้องทรงแสวงหาความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น พระเจ้าแผ่นดิน ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เกิดการยอมรับในหมูข่ า้ ทหาร ข้าราชบริพาร ตลอดจนราษฎรทั้งปวง ทรงเลือกวิถีทางธรรมะเป็นหลักส�ำคัญ เพราะมีพระราชด�ำริว่า หัวใจของราษฎรทุกดวงพันผูกมั่นคงอยู่กับพระพุทธศาสนา จึงทรงเน้น พระราชภารกิจส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ประการหนึ่งคือ จะต้องทรง ท�ำนุบ�ำรุงพุทธศาสนา ทรงเป็นธรรมราชควบคู่ไปกับการปกป้องรักษา อธิปไตยของบ้านเมือง วิเทโศบายนี้บรรลุผลส�ำเร็จส่วนหนึ่ง เพราะทรงเป็นที่ยอมรับ ของราษฎรทั่วไป แต่ในบทบาทความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จ�ำเป็นต้องทรงปฏิบัติ พระองค์ตามโบราณราชประเพณี เพื่อเป็นการเสริมสร้างพระบารมีของ พระมหากษัตริย์ ที่ยังมีผู้เชื่อมั่นกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติ เทพ จึงต้องทรงศึกษาเกีย่ วกับโบราณราชประเพณี ทัง้ ส่วนของบ้านเมือง และส่วนพระองค์ ในขณะนั้น ต�ำ รับ ต�ำ ราที่เ กี่ย วกับ ขนบธรรมเนีย มที่ป ฏิบัติกัน ในพระราชส�ำนักถูกท�ำลายสูญหายไปครั้งเสียกรุงแก่พม่า พ.ศ. ๒๓๑๐ และในสมัยธนบุรบี า้ นเมืองก็ยงั ไม่อยูใ่ นภาวะสงบ ต้องท�ำสงครามป้องกัน ราชอาณาจั ก รจนตลอดรั ช สมั ย จึ ง ยั ง มิ ไ ด้ ท รงด�ำ เนิ น การเกี่ ย วกั บ เรื่องนี้มากนัก ในรัชสมัยของพระองค์จึงต้องทรงเร่งฟื้นฟูเกี่ยวกับ พระราชประเพณีในพระราชส�ำนักอย่างเร่งด่วน โปรดให้ผู้รู้เกี่ยวกับ โบราณราชประเพณี เช่น พระองค์เจ้าหญิงพินทวดี พระราชธิดาใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงถ่ายทอดแบบแผนขนบธรรมเนียม ในราชส�ำนักทีท่ รงเห็นและปฏิบตั สิ บื กันมาแต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยา โปรดให้ อาลักษณ์จดและคัดลอกไว้เป็นต�ำราส�ำหรับประพฤติปฏิบัติสืบไป แต่มีบางครั้งที่ทรงรู้สึกสะเทือนและน้อยพระทัยที่พระ ญาติวงศ์บางพระองค์ โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าพีน ่ างเธอไม่ทรง ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 23


เข้าพระทัยในพระราช วิเทโศบายทีท ่ รงด�ำเนิน อยู ่ จึ ง มั ก ทรงเอาแต่ พระทัยพระองค์เอง หรือ ท ร ง ป ฏิ บั ติ ต า ม ที่ ท ร ง เคยชิน มาแต่ ค รั้ง ยัง เป็ น สามั ญ ชน เช่ น การที่ ทรงวางพระองค์อยู่เหนือ พระมหากษัตริย์ เพราะ ทรงถือว่าเป็นสมเด็จพระ พี่นางเธอ ดังเช่นในพระ ราชพิธีทรงผนวชสมเด็จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ และ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สมเด็ จ พระพี่ น างเธอมี พ ร ะ ด� ำ ริ ต า ม พ ร ะ ทั ย พระองค์เอง แม้เสนาบดี กรมวั ง จะยกโบราณราช ประเพณี ม ากล่ า วอ้ า ง พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า สมเด็ จ พระพี่ น างเธอก็ จุฬาโลกมหาราช ประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพ มิ ท รงยิ น ยอม กลั บ ทรง บิดร โกรธเกรีย้ ว ท�ำให้ทรงต้อง ยอมตามพระทั ย สมเด็ จ พระพี่ น างเธอ โดยยอมให้ ส มเด็ จ พระเจ้ า หลานเธอ ซึ่ ง มี พ ระชนมายุ ม ากกว่ า สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอเสด็ จ น�ำหน้าเข้าขอบรรพชาก่อน เหตุการณ์ครั้งนั้นมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ถึงความสะเทือน และน้อยพระทัยถึงแก่น�้ำพระเนตรคลอ ขณะมีพระราชด�ำรัสว่า “---ถึงอย่างธรรมเนียมเก่าไม่มี ก็ธรรมเนียมใดที่ท่านทั้งหลาย 24 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


ว่าดี ธรรมเนียมนั้นให้ยกเลิกเสียเถิดอย่าใช้ จงเอาธรรมเนียมอย่าง ไพร่ๆ มาประพฤติเถิด ให้จัดล�ำดับตามอายุเถิด ใครแก่ให้ไปหน้า ใคร อ่อนให้ไปหลัง หรือตามล�ำดับบรรพบุรุษ ที่นับตามบุตรพี่บุตรน้องนั้น เถิด--- เพราะเราเกิดมาเป็นไพร่ ได้มาเป็นเจ้าเป็นนาย เมื่อเวลา เป็นเบื้องปลายอายุแล้ว---” โบราณราชประเพณีเป็นรากเหง้าส�ำคัญของวัฒนธรรมไทย แสดง ถึงความเป็นชาติเอกราชและยิ่งใหญ่ พระมหากษัตริย์ไทยได้พยายาม เพียรที่จะท�ำนุบ�ำรุงและรักษาไว้ให้คงอยู่ แม้จะล�ำบากยากเย็น ฟันฝ่า อุปสรรคต่างๆ จนแม้ถึงขั้นเสียพระทัย เสียน�้ำพระเนตร ดังบันทึกที่ ปรากฏในประวัติศาสตร์นี้นั้น น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจให้อนุชนรุ่นหลัง ตระหนักและไม่มองข้ามความส�ำคัญของค�ำว่าโบราณราชประเพณี [จาก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๖ (เมษายน ๒๕๔๖)]

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 25


---ฉันรักษาบ้านเมือง ให้สุขสมบูรณ์ ไม่ ได้


อย่าให้ฉันใช้สมบัติ ของท่านเลย---


“สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ดี พ่อขุนรามค�ำแหงฯ ก็ดี ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่สร้างความสุขสมบูรณ์แก่บ้านเมือง ฉันรักษาบ้านเมืองให้สุขสมบูรณ์ไม่ได้ อย่าให้ฉันใช้สมบัติของ ท่านเลย...” เป็นพระราชด�ำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว ก่อนวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ อันเป็นวันเตรียมการ เปิดสภาผู้แทนราษฎร ทรงมีรับสั่งกับเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องเตรียมการพระราชพิธีนี้ ได้ บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ว่าพระราชพิธีนี้จะต้องทรงเครื่องต้นเต็ม พระอิสริยยศตามขัตติยราชประเพณี ทรงพระราชด�ำรัสสั่งว่า “เจ้าคุณอย่าเอาพระสังวาลของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ มาให้ ฉันใส่นะ เอาเส้นจ�ำลองก็แล้วกัน” รับสั่งแล้วก็ทรงนิ่งไปพักหนึ่ง รู้สึก ว่าพระสุรเสียงแตกพร่าผิดปกติ สักครู่จึงรับสั่งต่อไปอีก “แล้วก็พระ แท่นมนังคศิลาของพ่อขุนรามค�ำแหงฯ ก็เหมือนกัน ให้เอาที่จำ� ลอง” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชด�ำริที่จะ พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทยก่อนทีจ่ ะเกิดการเปลีย่ นแปลง การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่ทรง ปฏิบัตินับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติตามล�ำดับดังนี้ เมื่อแรกที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ โปรดให้ตั้งอภิรัฐมนตรี เป็น การกระจายงานและกระจายอ�ำนาจ และเพื่อฝึกสอนข้าราชการให้มี ความคิดอ่านพูดจาและรู้จักออกความคิดเห็น พ.ศ. ๒๔๖๙ มีหลักฐานถึงพระราชปุจฉา ๙ ข้อ ที่ทรงบันทึก พระราชทานไปยังพระยากัลยาณไมตรี (ดร. ฟรานซิส ปีแซย์) ทรงขอ ค�ำปรึกษาว่า ไทยควรจะมีธรรมนูญการปกครองในรูปแบบใด และถึง เวลาสมควรหรือยังที่ไทยจะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นประชา ธิปไตย แต่อย่างไรก็ตามพระองค์ก็ทรงเตรียมปูพื้นฐานเพื่อมอบอ�ำนาจ การปกครองให้แก่ปวงชนชาวไทย เช่น มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย 28 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ในวันพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

เวลานั้น ให้เร่งรัดจัดการเกี่ยวกับเรื่อง ประชาภิบาล (คือเทศบาล ในสมัยต่อมา) เพื่อฝึกให้ประชาชนได้รู้จักใช้สิทธิในการออกเสียง ควบคุมการบริหารท้องถิ่น ก่อนที่จะเข้ าไปคุมการบริหารในระบบ รัฐสภาต่อไป ทรงตั้ง “สภาบ�ำรุงชายทะเลตะวันตก” ขึ้นที่หมู่บ้านชาย ทะเลตั้งแต่ต�ำบลบ้านชะอ�ำไปจนถึงต�ำบลหัวหิน เป็นการทดลองให้ ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเอง ใน พ.ศ. ๒๔๗๐ โปรดให้ตราพระราชบัญญัตอิ งคมนตรี ก�ำหนด ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 29


ให้มส ี ภากรรมการองคมนตรี ท�ำหน้าทีป่ ระชุมปรึกษาหารือข้อราชการ ตามแต่จะโปรดพระราชทานปัญหามาทรงปรึกษาขอความเห็น และใน พ.ศ. ๒๔๗๔ ขณะเสด็จพระราชด�ำเนินเยือนประเทศญีป่ นุ่ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ เมื่อ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔ ที่กรุงวอชิงตัน แสดงพระราชประสงค์ ที่จะทรงจ�ำกัดพระราชอ�ำนาจของพระองค์และพระราชทานอ�ำนาจนั้น แก่ราษฎรในการปกครองประเทศ โดยจัดในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อน เพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสภายหน้า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงวางพืน้ ฐานการปกครอง ระบอบประชาธิ ป ไตยที ล ะน้ อ ยตามล� ำ ดั บ เรื่ อ ยมาควบคู ่ ไ ปกั บ การ สนั บ สนุ น ให้ ป ระชาชนทั่ ว ไปได้ รั บ การศึ ก ษา เพื่ อ จะได้ รู ้ จั ก หน้ า ที่ ของตน เมื่อระบอบการปกครองของประเทศเปลี่ยนไป ทรงค่อยเพาะ ค่อยบ่ม เพื่อให้ได้รับผลที่สมบูรณ์และงดงามที่สุด เมื่อคณะราษฎรท�ำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น มิได้ทรงแปลกหรือตกพระทัยเลย เพราะทรงคาดการณ์อยู่แล้ว ทรงเสี ย ดายเพี ย งผลที่ ไ ด้ รั บ จะไม่ ง ดงามและสมบู ร ณ์ ดั ง เช่ น ที่ ท รง หวังไว้ แต่สิ่งที่ท�ำให้ทรงเสียพระทัยอย่างยิ่งก็คือ ค�ำประกาศของ คณะราษฎร ถึงเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งถือเอา เรื่องความประพฤติและการปฏิบัติตนไม่สมควรบางอย่างของพวกเจ้า เป็นเหตุผลส�ำคัญ ซึ่งทรงถือเป็นการเสื่อมเสียแก่พระเกียรติยศของ บูรพกษัตริย์ และเมื่อคณะราษฎรอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ทรงเปรียบการกระท�ำของ คณะราษฎรว่าเหมือนเอาผ้ามาจะท�ำธง แล้วเอามาเหยียบย�ำ่ เสียให้ เปรอะเปือ้ น แล้วเอาขึน ้ มาชักเป็นธงจะเป็นเกียรติยศงดงามแก่ชาติ หรือ แต่เพื่อความสงบของบ้านเมืองความสุขของราษฎร และเพื่อช่วย ให้เสถียรภาพของรัฐบาลมั่นคงเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จึงทรง ยินยอมที่จะด� ำรงต�ำแหน่งพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบ ประชาธิปไตย โดยทรงพระราชด�ำริว่า เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบ เรียบร้อยแล้วก็จะทรงสละราชสมบัติ 30 วาทะเล่าประวัติศาสตร์


ความเสี ย พระทั ย ที่ มิ อ าจท�ำ ในสิ่ ง ที่ น� ำ ความสุ ข สมบู ร ณ์ ม าสู ่ ประชาชนของพระองค์ตามเยี่ยงบูรพกษัตริย์ได้ จึงท�ำให้ทรงพระราช ด�ำริว่าไม่ควรจะน�ำสิง่ อันเป็นมงคลยิง่ ของบูรพกษัตริย์มาใช้ ดังพระราช ด�ำรัสที่ว่า “สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ดี พ่อขุนรามค�ำแหงฯ ก็ดี ท่านเป็น พระมหากษัตริย์ที่สร้างความสุขสมบูรณ์แก่บ้านเมือง ฉันรักษาบ้าน เมืองให้สุขสมบูรณ์ไม่ได้ อย่าให้ฉันใช้สมบัติของท่านเลย” [จาก ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๘ (มิถุนายน ๒๕๔๖)]

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 31


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.